หาทางออก
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ถาม : เรื่อง “ยืดเวลาการภาวนา”
ผมขอความเมตตาถามการปฏิบัติภาวนาครับ คือเมื่อทำความสงบได้แล้วก็เดินปัญญา คือพยายามไม่คิดหาเหตุผล สังเกตเวทนาที่กายสลับกับดูความคิดที่ผุดขึ้นแล้วพยายามสลัดมัน ทำไปเรื่อยๆ สภาวะที่ปรากฏขึ้นตามตำราได้ สภาวะที่ปรากฏขึ้นตามตำราได้ รับรู้หมด มีความอิ่มใจ และเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตตามที่ได้เรียนรู้มาทุกประการ เชื่อในคำสอนเต็มร้อย
แต่ในการฝึกเกือบทุกวัน มันจะทำได้ประมาณว่า ต่อยมวยได้ยกเดียวแล้วก็เลิก (ไม่รู้เป็นกิเลสหรือเป็นความเพียร) ผมอยากจะได้วิธีการพักยก แล้วต่อยต่อครับ ฟังหลวงตาท่านบอกว่า ต้องสลับสมถะพักบ้าง ไม่ใช่เดินปัญญาอย่างเดียว ผมพยายามกลับมาพุทโธๆ หรือหายใจแรงๆ ก็เอาไม่อยู่
ขอวิธีการพักยกครับ ผมจะฝึกให้แข็งแรงขึ้นสักหน่อย จะไปกราบหลวงพ่อครับ
ตอบ : แหม! เดี๋ยวดูก่อนนี่แสดงว่าไม่เคยเจอกันเลยนะ แต่ คำถามนี่ถามมาเยอะมาก เพราะว่ายังไม่เคยเห็น แต่เวลา ความเห็นสิ่งที่เขาถาม เขาถามมามาก
แต่นี้เพียงแต่ว่า คำถามคือ “ยืดเวลาการภาวนา” คือภาวนาไปแล้วมันอั้นตู้ ภาวนาไปแล้วไม่มีทางออก เวลาภาวนาไปแล้วนะคิดว่าตัวเองได้เหตุได้ผล คิดว่าตัวเองมีหลักมีเกณฑ์ แต่ความจริงยังไม่ใช่ทั้งนั้นเลย คำว่า “ยังไม่ใช่” เพราะว่าคำถามจะบอกไง เวลาคำว่า “คำถาม” เนี่ย อย่างเช่น เช่น เรามีความสงสัย เรามีอุปสรรคสิ่งใด เราจะถามใคร เราก็ เอาความสงสัย หรือเอาอุปสรรคเรานี่เป็นคนถาม
นี่ก็เหมือนกัน เวลาคำถามๆ ของคน เวลาคำถามของคน คนมีความสงสัยอย่างใด คนมีสิ่งใดคาใจไว้ เวลาเขาไปหาคน ผู้รู้ เขาจะเอาความสงสัยในใจเขานี่ถาม คำสงสัยในใจเขาถาม นั่นมันจะบอกวุฒิภาวะของใจว่าสูงต่ำแค่ไหน ความสูงต่ำแค่ไหน มันจะบอกหมดล่ะ นี้คำถามก็เหมือนกัน คำถามเวลาถาม พอเห็นคำถามแล้ว เราเห็นแล้ว เราโอ้โฮ! แสดงว่า แสดงว่านะ เดี๋ยวจะค่อยอธิบาย แสดงว่ามันลัดขั้นตอนมามาก
แต่ถ้าเป็นคำถามที่ถามกันมา ถามกันมา เห็นไหม ถามกันมาตลอดว่าภาวนาแล้วเป็นอย่างไร เพราะอะไร เพราะคำถามนี่ สิ่งที่เป็นคำตอบของเรา สิ่งที่ว่าเวลาเราให้ยาผู้ปฏิบัติไว้ ถ้าของเรา เราจะบอก พุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ไม่ก็หายใจแรงๆ นี่เป็นยาพื้นบ้านของเรา ให้พุทโธชัดๆ เนี่ย เพราะพุทโธชัดๆ มันมาพร้อมกับสติ มาพร้อมกับคำบริกรรม
แต่ถ้าเป็นอธิบายแบบอนุบาล อธิบายผู้ที่ปฏิบัติใหม่ เขาจะบอกว่าต้องตั้งสติ แล้วพยายามกำหนดนะ ท่องบ่นขึ้นมา ให้ได้ เวลาท่องขึ้นมาให้พุทให้โธขึ้นมา มันอธิบายเยิ่นเย้อไง
แต่เวลาของเราพุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ถ้าเอ็งพุทโธชัดๆ ได้แสดงว่ามันสมบูรณ์ แล้วถ้าหายใจแรงๆ หายใจแรงๆ คำว่า “หายใจแรงๆ” เวลาคนจะตกภวังค์ คนจะตกภวังค์คนมันจะ เผอเรอให้หายใจชัดๆ ไว้ ชัดๆ ไว้ อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ เป็นหลักเลย แล้วถ้าเอาให้ได้จริง โดยถ้าอย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้ง พุทโธ ถ้าโดยหลักแล้วถ้าทำโดยหลักแล้ว สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่มันจะเป็นขวากหนาม มันจะหายไปโดยธรรมชาติเลย
แต่! แต่คนเรามันมีกิเลส มันอยากรู้อยากเห็น มันอยากพิจารณา มันอยากใคร่ครวญ อยากรู้เหตุรู้ผลไง อยากรู้เหตุรู้ผลนี่เป็นเหยื่อทั้งนั้น นี่พูดถึง สิ่งที่ว่าเรามันตอบ-ถามปัญหากันมามาก แล้วพอตอบ-ถามมามากสิ่งที่เราให้ยาไว้ สิ่งใดเราให้อุบายไว้ แล้วเวลาเขาถาม เขาก็ถามมาบอกว่า “กระผมพยายามจะกลับไปพุทโธ ผมจะหายใจแรงๆ ก็เอาไม่อยู่ๆ” เอาไม่อยู่เพราะอะไร สิ่งที่เราทำ เราทำเป็นความเคยชิน แต่กิเลสในใจมันมากกว่านั้น แล้วมันมากกว่านั้น
พอมาเห็นคำถาม เห็นคำถามเนี่ยถึงบอกว่า ใครสงสัยอย่างไรก็ถามอย่างนั้น ใครมีอุปสรรคสิ่งใดก็เอาอุปสรรคในใจ ของตนถาม นี้คำว่า “อุปสรรคของคนมันไม่เหมือนกัน” โทสจริต นี่ความโกรธเป็นอุปสรรค อุปสรรคมาก โลภจริตความโลภ เป็นอุปสรรคมาก โมหจริตความหลงเป็นอุปสรรคมาก คำว่า “อุปสรรค” มันอยู่ที่จริตของคน จริตของคนมันลุ่มหลงอย่างนี้ไง คือมันตรงกับความชอบของเรา แต่ถ้าคนอื่นไม่ชอบ เขาก็ไม่ติดนะ แต่ถ้าใครชอบคนนั้นน่ะติด
ฉะนั้น คำว่า “อุปสรรค” อุปสรรคเป็นอุปสรรค เป็นมาตรฐาน แต่! แต่อุปสรรคของใคร มันมีพื้นฐานมาแตกต่างกัน ฉะนั้น สิ่งที่อย่างว่าถ้าเป็นอุปสรรคเป็นกิเลสกีดขวางกางกั้น มันก็ต้องดูตามข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล ของแต่ละบุคคลไป นี้ของแต่ละบุคคลไป แต่นี้คำถาม เห็นไหม คำถามที่บอก เราถามเราตอบกันมานาน
เขาเลยบอกว่า “ผมจะฝึกให้แข็งแรงสักหน่อย แล้วผม จะไปกราบหลวงพ่อ” ถ้ากราบหลวงพ่อแสดงว่าหลวงพ่อยังให้ ยาแล้วถูกใจอยู่ ถ้าหลวงพ่อให้ยาแล้วผิดใจ ไม่มองหน้าเลย เวลาจะปัสสาวะจะไม่หันหน้ามาทางนี้เลยนะ เวลาคนที่มันโกรธแค้นเนี่ย เวลาจะปัสสาวะจะไม่หันหน้าไปทางนั้นเลยล่ะ แค้นมาก แต่ถ้าว่าถ้าแข็งแรงแล้วจะไปหาหลวงพ่อ
ถ้าคำว่า “มาหาหลวงพ่อ” สิ่งใด เห็นไหม คนเราจะไม่เคยเห็นหน้ากันเลย เรารู้จักกันแต่ชื่อ เรามีอุดมการณ์เหมือนกัน คนที่อยู่ห่างกัน คนที่ไม่เคยพบหน้าเห็นตากันเลยนะ แต่มีความระลึกถึงกันอยู่น่ะมันใกล้ชิดยิ่งกว่าญาติ เพราะญาติอยู่ในบ้านเดียวกันยังไม่สนใจกันเลย อยู่ด้วยกันเดินชนกันยังไม่เคยถามหาความเป็นอยู่เลย แต่คนอยู่ตั้งไกลแสนไกลแต่เขาระลึกถึงอยู่นี่ เห็นไหม มันคุ้นเคยยิ่งกว่าญาติ นี่พูดถึงว่าความเป็นจริงนะ
นี่คำถาม คำถามที่มันบอกมา เห็นไหม เขาบอกว่า “ผมขอความเมตตาถามในการปฏิบัติครับ เมื่อทำความสงบแล้วก็จะเดินปัญญา” คำว่า “เดินปัญญาๆ” โดยพื้นฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา คนเรามีศีลความปกติของใจ ถ้ามีศีล มีศีลมันจะเป็น สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิหมายความว่าถ้าทำความสงบแล้วเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าทุศีล ทุศีลคือคนก้าวร้าว คือคนทำร้ายคนอื่น คนเหยียบย่ำเขา เวลาถ้าเกิดสมาธิขึ้นมา สมาธินั้นมันก็จะส่งออก มันก็จะไปทำร้าย มันก็เป็นมิจฉา เห็นไหม
คำว่า “ศีล” ศีลคือความปกติของใจ สีละ สีละคือ ความปกติคือความมั่นคง แต่เวลามันทำสมาธิได้ขึ้นมาก็เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิขึ้นแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญา จะเกิดขึ้นต่อสัมมาสมาธิเป็นพื้นฐาน แต่ถ้าปัญญามันเกิดขึ้น ปัญญามันเกิดขึ้นมันเป็นสัญญา สัญญาคือเรามีการศึกษา เรามีสมอง เรามีความเข้าใจสิ่งใดไว้ แล้วมันก็ใช้สมองนั้นๆ เราก็ว่า เป็นปัญญาๆ ไม่ใช่! มันไม่ใช่ตรงไหน มันไม่ใช่ตรงคำถามนี่ไง “คือพยายามจะไม่คิด คือพยายามไม่คิดหาเหตุผล สังเกตที่เวทนา เห็นไหม”
แม้แต่การพิจารณาเวทนาเขาก็ต้องใช้ปัญญา ถ้าเวทนาเวลาเกิดเวทนาขึ้น แล้วจิตสงบแล้วนะ จิตมันสงบ เห็นไหม จับเวทนาได้ ถ้าจิตไม่สงบเวทนาเป็นเรา เวลาผู้ที่นั่งภาวนาใหม่ๆ เวลานั่งไปๆ มันจะเจ็บปวดมาก นั้นเวทนาเป็นเรา แต่ถ้าเราทำความสงบของใจให้ได้ เรากำหนดพุทโธก่อน จิตมันสงบก่อน ก่อนที่เวทนาจะมา จิตสงบแล้วถ้ามันจับเวทนาได้ เหมือนกับเรามีคีมไปคีบถ่านแดงๆ โดยคีบเอาถ่านแดงๆ ไปไว้ที่เตาอื่นได้เลย จากเตานี้ไปไว้เตานั้น จากเตานั้นไป... โดยที่เราคีบได้เลย แต่ถ้า เราเอามือไปจับมือพองทันที มือนี่จับบาดเจ็บแน่นอน ถ้าจิต มันไม่เป็นสมาธินะเหมือนเอามือไปจับถ่านแดงๆ ทั้งเจ็บปวดแสบร้อนทั้งนั้น
แต่ถ้าจิตเป็นสมาธินะ จิตมันสงบแล้วถ้าไปจับเวทนาเหมือนมีคีม เรามีคีม มีเครื่องมือไปจับถ่าน เราคีบถ่านไปไว้เตาไหนๆ ก็ได้ นี่ไงถ้าจิตมันสงบแล้วถ้ามันจับเวทนาได้ มันใช้ ปัญญาได้ แต่ถ้าจิตมันไม่สงบไง จิตมันไม่สงบขึ้นมาเวทนาเป็นเราๆ ไง ถ้าพอจิตมันสงบแล้ว เห็นไหม ถ้าจับเวทนาได้ พอมัน จับเวทนาได้มันพิจารณาเวทนา
เวทนา ตัวเวทนาเป็นอย่างไร ตัวความทุกข์มันเป็นอย่างไร มันเป็นนามธรรมทั้งนั้น ถ้ามันใช้ปัญญาไล่ไปๆ เห็นไหม หัวเข่าเป็นเวทนา แข้งขาเป็นเวทนา เอวเป็นเวทนา ไม่มีอะไร เป็นเวทนา อะไรเป็นเวทนา เราจะบอกว่าการใช้ปัญญาไง โยมบอกว่า “สังเกตเรื่องกายสลับมาดูเวทนา สลับมาดูเวทนา แล้วเวลาถ้าสลับมาดูที่กาย สลับมาดูที่ความคิด ถ้าผุดขึ้นมาแล้วพยายามสลัดมันทิ้ง” นั่นแหละพยายามสลัดมันทิ้ง สลัดมันทิ้ง มันก็มีอยู่กับเรา สลัดมันทิ้งอย่างไร
คนที่เขาจะทิ้งกาย ทิ้งเวทนา ทิ้งๆ เนี่ย เขาทิ้งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาพิจารณาจนละลายออกไป ปัญญาพิจารณาจนมันปล่อยวาง ไม่ใช่ไปสลัดทิ้ง คำว่า “สลัดทิ้ง” ถ้าภาษาเรา เขาเรียกว่ากำปั้นทุบดินไง ถ้าการพิจารณาแบบนี้ ไม่ใช่ทางหมดเลย ภาษาเราว่าผิดหมด นี่ขนาดว่าผิดหมดนะ “แต่ทำไปเรื่อยๆ สภาวะที่ปรากฏ ปรากฏขึ้นตามตำราได้ ทำไปเรื่อยๆ สภาวะที่ปรากฏขึ้นตามตำราได้ รับรู้หมด มีความอิ่มใจ และเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต”
นี่ขนาดว่าเวลาคนที่เขาศึกษา เห็นไหม คนที่ศึกษา ธรรมะ ศึกษาธรรมะแล้วเขาเอาธรรมะเป็นเข็มทิศในการดำรงชีวิต คนเรานะถ้าไม่มีธรรมะเป็นเข็มทิศการดำรงชีวิต เราจะทำสิ่งใดทุกๆ อย่างตามความพอใจของตน ตามแต่ตัณหาความทะยานอยาก แต่ถ้ามีธรรมะ มีธรรมะมันเป็นเครื่องดำรงชีวิต แล้ว ชีวิตของเขามันก็เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธใช่ไหม เป็น คนที่มีศีลมีธรรมนะ มีศีลมีธรรมโดยปุถุชน
แต่เวลาคนที่ปฏิบัติขึ้นไปแล้ว เห็นไหม เขาทำความสงบของใจของเขาขึ้นมา ถ้าใจสงบแล้วเขาเกิดศีล เกิดสมาธิ แล้วถ้าเกิดปัญญามันเป็นภาวนามยปัญญา มันไม่ใช่ปัญญาอย่างนี้ มันไม่ใช่ว่าปัญญาที่ปรากฏขึ้นตามตำรา ปัญญาที่ปรากฏขึ้นตามตำรามันเป็นการศึกษา มันเป็นสัญญา สัญญาจำธรรมะขององค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ของเรา ถ้าของเราๆ มันจะเกิดตามความเป็นจริง ถ้าของเราเกิดขึ้นตามเป็นจริงมันเป็นภาวนา-มยปัญญา ปัญญาที่มันเกิดขึ้นมันจะมีการสำรอก มันจะมีคายกิเลส มันจะเป็นอย่างนี้
ไอ้นี่มันถ้าเป็นคำถาม คำถามมานี่ เห็นไหม เพราะ คำถามบอกว่า “จะหาทางออกต่อการภาวนาไง” จะหาทางออก จะหาทางไป พอมันทำ ทำแล้วมันทำแล้วเขาเรียกถ้าการประพฤติปฏิบัติแบบนี้ หลวงตาท่านใช้คำว่า “ทำเป็นพิธี ทำ เป็นพิธี” ทำให้เป็นพิธี พิธีในการปฏิบัติ ทำให้มันจบไง เหมือนกับทางราชการเอกสารไง ทำเอกสารให้มันครบ ถ้าทำเอกสารให้ครบ ผู้อำนวยการก็ต้องอนุมัติ ส่งขึ้นไปนายก นายกก็อนุมัติ เอกสารมันสมบูรณ์ไง นี่ก็เหมือนกันทำตามเอกสารไง
นี่ก็เหมือนกัน เวลาพิจารณาไปแล้ว เห็นไหม เพราะว่าพอเห็นคำถาม ภาษาเรานะสะดุ้งเลยนะ เพราะอะไร เพราะ บอกว่า “สังเกตที่เวทนา สลับดูความคิด ไม่คิดหาเหตุผลอะไรทั้งสิ้น พยายามไม่คิดหาเหตุผล” พยายามไม่คิดหาเหตุผลใช้ ไม่ได้ อย่างนี้ผิด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย พยายามไม่คิดหา เหตุผลมันเหมือนกำปั้นทุบดินไง
ไอ้นี่นะ เวลาหลวงตาท่านไปอยู่กับหลวงปู่มั่น เวลาท่านพิจารณากายของท่านๆ ไง พิจารณากายไปหลายๆ ชั่วโมงเลย จนมันเหนื่อยแล้ว เห็นไหม ท่านก็ใช้ขันติ เห็นไหม ยันไว้ ใช้ ขันติธรรมอดทนไว้ แล้วหลวงปู่มั่นส่งจิตไปดูตอนนั้น หลวงปู่มั่นส่งจิตไปดูหลวงตาการภาวนา แล้วพอตกบ่ายหลวงตาท่านไปทำ ข้อวัตรหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านทักนะ
“มหา มหาพิจารณาอย่างนั้นเหรอ พิจารณาแบบหมากัดกัน”
คำว่า “หมากัดกัน” เวลาหมากัดกัน หมากัดกันแล้วมันฝังเขี้ยว มันไม่ยอมปล่อยปากเลยนี่ มันจะกัดคาบกันอยู่อย่างนั้น ดิ้นกันอยู่อย่างนั้น เหมือนหมากัดกัน เวลาหมากัดกันมันกัด แล้วมันไม่ยอมทิ้ง กัดแล้วมันแบบว่าขากรรไกรมันไม่เปิดเลย กัดกันอยู่อย่างนั้น แล้วหลวงปู่มั่นท่านบอก “มหา มหาพิจารณาอย่างนั้นหรือ พิจารณาเหมือนหมากัดกัน” นี่พูดถึงว่าพูดถึง ท่านเห็นตอนนั้น หลวงตาท่านก็ “ครับ”
แต่ท่านมาอธิบายให้ลูกศิษย์ฟังทีหลังนี่ไง บอกว่า “เวลาครูบาอาจารย์ท่านจะสอนเรา ท่านจะเอาโจษ เอาเหตุผลขึ้นมาเป็นตัวอย่าง เหตุผลว่าท่านเคยทำแบบนี้ แล้วได้รับการทักท้วงจากหลวงปู่มั่นว่าอย่างนี้” แต่ท่านบอกว่า “ก่อนหน้านั้นท่านพิจารณาโดยปัญญาของท่าน พิจารณาจิตสงบแล้ว จิตเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ท่านพิจารณา ของท่าน ใช้กำลังของท่าน แล้วใช้กำลังอย่างนี้ ๓ - ๔ ชั่วโมง มันเหนื่อยมาก พอมันเหนื่อยมาก ท่านจะพัก ท่านจะพักท่านก็ถอยปัญญาออกมา ถอยปัญญาออกมาอยู่ที่สมาธิแล้วก็ยันไว้”
การยันไว้อย่างนั้นพอดีหลวงปู่มั่นท่านส่งจิตมาดูพอดี ถ้าหลวงปู่มั่นส่งจิตมาดูก่อนหน้านั้น เวลาหลวงตาท่านขึ้นไปทำ ข้อวัตร หลวงตาจะได้รับคำชมเชยเลยล่ะ “แหม! มหาพิจารณา สุดยอด มหาพิจารณาถูกต้องดีงาม มหาทำอย่างนี้ดีแล้ว” แต่บังเอิญว่าท่านได้พิจารณาของท่านจนเหนื่อยล้าเต็มที พอเหนื่อยล้าเต็มทีท่านก็ใช้ขันติยันกันไว้ก่อน เพราะมันถอยไม่ได้ แล้วท่านจะเข้าสมาธิมันก็เข้าไม่ได้ใช่ไหม มันก็ยันกันไว้ก่อน หลวงปู่มั่นท่านส่งจิตมาดูพอดี
เวลาส่งจิตมาดูพอดีแล้วเวลาท่านเลิกจากการภาวนาแล้ว ท่านไปทำข้อวัตรตอนบ่ายกับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านรักของท่านนะ รักมหามาก เพราะอะไร เพราะท่านอยากจะปั้นมาให้เป็นธรรมทายาท ให้เป็นผู้ที่คุ้มครองดูแลพระภิกษุด้วยกัน ต่อไปข้างหน้า ท่านพยายามปั้นของท่าน ท่านก็เห็นความบกพร่องไง ก็ติไง
“มหา มหาพิจารณาอย่างนั้นเหรอ พิจารณาอย่างกับหมากัดกัน”
มหาท่านรู้อยู่แล้ว เพราะคนภาวนาเป็นท่านจะรู้กัน “ครับ ครับ ครับ ผมจะแก้ไขครับ” แล้วท่านก็มาเล่าให้ลูกศิษย์ ลูกหาฟัง เห็นไหม ขนาดพิจารณา พิจารณาแล้ว แล้วใช้ ขันติธรรมยันไว้ หลวงปู่มั่นท่านยังติเลย
แต่อันนี้บอกว่า “พยายามไม่คิด คือพยายามไม่คิดหา เหตุผล สังเกตแต่ที่เวทนากับกาย สลับกันไปมา ดูความคิดที่ ผุดขึ้น แล้วพยายามสลัดทิ้ง” ความพยายามสลัดทิ้งมันไม่มีเหตุผลไง เหมือนเรานี่ถีบสามล้อแล้วถูกหวย พอเราถูกหวย ขึ้นมา เพราะเราไม่เคยหาเงิน เราถีบสามล้อก็ได้แค่เลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง ถูกรางวัลที่ ๑ ๖ ล้าน เลี้ยงๆๆ พาเพื่อนไปเที่ยว หมดเนื้อหมดตัวเลย กลับมาถีบสามล้ออย่างเดิม พอเงินหมดเพื่อนหายหมดเลย กลับมาถีบสามล้ออย่างเดิม
นี่ไง การสลัดทิ้งนี่ไง การสลัดทิ้งไม่มีเหตุไม่มีผล การ สลัดทิ้งแบบไม่มีเหตุไม่มีผล เป็นคนที่ไม่มีหลักการ คนจะร่ำ จะรวย คนจะมีฐานะ เขาต้องทำธุรกิจของเขา เขาต้องทำหน้าที่การงานของเขา ด้วยการประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักการเก็บหอม รอมริบ เขาถึงมีเงินมีทรัพย์มีสมบัติขึ้นมา เขารู้จักประหยัดมัธยัสถ์ เขามีสติปัญญาของเขา เขาจะรักษาเงินรักษาทองของเขาไว้ได้ นั่นคนที่จะมีเงินมีทองเขาต้องมีสติมีปัญญา การรักษาคุ้มครองทรัพย์สินของเขา เขาถึงจะมีทรัพย์สินของเขา ไม่ใช่ว่าสามล้อถูกหวย
คำว่า “สามล้อถูกหวย” ไม่ใช่ดูถูกกรรมกรนะ ไม่ได้ดูถูกใครทั้งสิ้น สามล้อที่ขยันหมั่นเพียร สามล้อที่เป็นเศรษฐีก็มีมากมายทั้งนั้น เจ้าของอู่สามล้อเขาก็เป็นคนมีตังค์ทั้งนั้น แต่เราพูดให้เห็นเหตุผลว่าให้เห็นถึงการกระทำไง เห็นถึงการกระทำ สิ่งที่ได้มาด้วยการถูกต้องดีงาม มันต้องมีสติมีปัญญาการคุ้มครองดูแล การรักษามันถึงจะเป็นสมบัติของเรา ไม่มีการคุ้มครอง ไม่มีการดูแล ไม่มีการสงวนรักษา สลัดทิ้งๆ มันจะเป็นไปได้อย่างไร
พอเห็นคำถามนี่ช็อก คำว่า “ช็อกของเรา” หมายความว่า ถ้าการกระทำด้วยเหตุผลอย่างนี้ มันไม่สมควรแก่ธรรม มันไม่ใช่ธรรม เพราะมันทำโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากไง ทำโดยการเราต้องมีเป้าหมาย เหมือน เหมือนเราตั้งเป้าหมายไว้ แล้วเราพยายามทำธุรกิจของเราให้ถึงเป้าหมายนั้น ถ้าเป้าหมายนั้น เห็นไหม มันจะคดโกง มันจะทำผิดกฎหมายก็ขอให้ถึง เป้าหมายนั้น ไอ้นั่นเป็นการทุจริต แต่ถ้าเราตั้งเป้าหมายของเราแล้ว เราทำด้วยความสุจริต เราทำด้วยความดีงามของเรานะ ถ้ามันถึงเป้าหมายนั้น เราก็ทำด้วยความสุจริตดีงามไง
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราจะมีสติปัญญาของเรา เห็นไหม เรามีศีล เราทำสมาธิได้ เราฝึกหัดใช้ปัญญาของเรา ถ้าปัญญามันเกิดขึ้นมันจะเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา นั่นน่ะเป็นอกุปปธรรม นั่นเป็นธรรมะของเราแท้ๆ ไง ถ้าธรรมะของเรา แท้ๆ มันต้องทำอย่างนั้น ไม่ใช่ทำแบบคำถามนี้ ถ้าคำถามนี้ มันผิด ๒ ข้อ มีผิดอยู่ ๓ ประเด็น
ประเด็น ๑. เวลาฝึกหัดใช้ปัญญาคือพยายามไม่คิดหาเหตุผลนี่ผิดประเด็นที่หนึ่ง คือไม่คิดหาเหตุผล การไม่คิดหาเหตุผลเหมือนกับทางอภิธรรม เขาติเตียนพวกกรรมฐาน พวกทำสมาธิเนี่ย บอกว่า “หินทับหญ้า หินทับหญ้า” การไม่คิดหาเหตุผล มันเหมือนกับการทำสมาธิแล้วหินทับหญ้าไว้เฉยๆ ยกหินออกหญ้าก็ขึ้นอีก มันต้องมี ต้องเอาสมาธิจับ เอาปัญญาตัด ไม่ใช่ ทับหญ้า ตัดรากถอนโคนด้วยมรรค ตัดรากถอนโคนด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ไม่ใช่ว่าพยายามไม่คิด
ที่เขาติเตียนกรรมฐานอยู่นี่ เห็นไหม ว่า “สมาธิๆ ทำสมถะๆ นี่ เหมือนหินทับหญ้าไว้ๆ” พยายามไม่คิดหาเหตุหาผลเหมือนกับเอาหินทับหญ้าไว้ “สังเกตเวทนาที่กาย สลับไปดูที่ความคิดที่มันผุดขึ้น พยายามสลัดมันทิ้ง สลัดทิ้ง” เวลามันเกิดขึ้นก็เอาหินทับหญ้าไว้ เวลามันมาทางอากาศก็พยายามหลบหลีกไม่ยอมรับรู้มัน
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สอนแบบนี้ สอนให้ตั้งสติไว้พยายามทำความสงบของใจก่อน เวลามันฟุ้ง มันซ่าน เวลาฟุ้งซ่านเวลาจิตใจความคิดให้แต่ความทุกข์เรา เราตั้งสติบริกรรมพุทโธ อย่างนี้เราพยายามหาความสงบ นี่ทำสมถะ แต่พอสมถะแล้วเวลาถ้าจิตสงบแล้ว เห็นไหม จิตเห็นอาการ ของจิต จิตที่สงบแล้วเห็นอะไร เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง
แล้วถ้ามันใช้ ใช้ปัญญา โอ้ฮู! มันใช้ปัญญานะ สงครามธาตุ สงครามขันธ์ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ กับจิตที่สงบแล้ว เวลามันจับได้มันเกิดสงครามนะ ระหว่างกิเลสกับธรรมมันประหัตประหารกัน มันต่อสู้กัน เวลาหลวงปู่มั่น เวลาหลวงตาท่านเทศน์ “สงครามระหว่างธรรมกับกิเลสมันรบกันกลางหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ นี่คนที่ปฏิบัติตามความเป็นจริง มันเกิดสงครามพันตูบนกลางหัวใจ” มันจะเป็นการสลัดทิ้งไม่คิดอย่างนี้มันคนละเรื่องเลย มันตรงข้าม
แต่เราจะบอกว่า เพียงแค่เขาทำตามพิธีกรรม เขาก็ยัง ได้รับความสงบ เชื่อมั่นเต็มร้อยในศาสนา ในการฝึกฝนทำเกือบทุกวัน แต่ทำไปแล้วมันก็เหมือนมวยต่อยยกเดียวแล้วหมดกำลัง แล้วพยายามศึกษาค้นคว้าไปฟังเทศน์หลวงตา เทศน์หลวงตา ท่านบอกว่า ทำสมถะบ้าง ไม่ใช่ใช้เดินปัญญาอย่างเดียว ไม่ใช่ว่าไม่ใช้เดินปัญญาอย่างเดียวนะ มันต้องมีสมถะเป็นพื้นฐานเลย มันถึงจะเกิดปัญญาได้ ถ้าเกิดปัญญาได้มันเป็นภาวนามยปัญญา
แต่ถ้ามันเกิดปัญญาอย่างนี้ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิ หมายถึงว่าปัญญาของเรา ปัญญาสามัญ สำนึก ปัญญาของมนุษย์นี่แหละ แต่เรามีสติปัญญา เราใคร่ครวญโดยธรรมๆ มันเป็นธรรมๆ โดยปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาใคร่ครวญในธรรม ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา ปัญญาอย่างนี้ฆ่ากิเลสไม่ได้ แต่ฆ่าความฟุ้งซ่าน ควบคุมความฟุ้งซ่าน ความอึดอัด ความเครียดของจิตได้ แต่ไม่เป็นการฆ่ากิเลส ขนาดไม่เป็น การฆ่ากิเลส เห็นไหม เวลาเขาทำแล้วเขายังบอกเลย “โอ๊ย! มันมหัศจรรย์ เชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาเต็มร้อย”
เราจะบอกว่า แม้แต่การศึกษาธรรมะนะ คนที่เขาศึกษาธรรมะ เห็นไหม แล้วใช้ในชีวิตประจำวันของเขา ใช้เป็นเข็มทิศเครื่องดำรงชีวิตของเขา เขายังเป็นคนดีเลย ธรรมะนี่สุดยอดมาก เพียงแต่คนใช้มันใช้ได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน แต่ใช้ได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน เวลาเราใช้ประโยชน์อยู่แล้ว เขามาประพฤติปฏิบัติ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาแล้วก็เขียนคำถามมาถามมาก เขียนคำถามมาถามมาก เห็นไหม
ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา เราก็ฝึกหัดใช้ ปัญญานี่แหละ แต่ปัญญาเพราะอะไร เพราะมันกำหนดพุทโธ แล้วไม่ลง กำหนดพุทโธแล้วทำสมาธิไม่ได้ๆ กำหนดพุทโธสมาธิไม่ได้ก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิใช้ปัญญา ใคร่ครวญไปๆ ใคร่ครวญไปผลของมันก็คือสมถะ ผลของมันก็คือมันหยุดคิดไง หยุดคิด คิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด แต่ก็ต้องใช้ความคิด ความคิดที่ใช้ปัญญาใคร่ครวญ คิดให้มันหยุดคิด พอหยุดคิดแล้วจิตเห็นอาการของจิต ถ้ามันเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมา เห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต นั่นเป็นมรรค แต่ถ้ามันดูความคิดๆ มันเป็นสมถะ
นี่พูดถึง ถ้าคนเป็นมันจะรู้จังหวะจะโคน ว่าแค่ไหนคือ แค่ไหนไง แค่ไหนหมายความว่าวุฒิภาวะแค่ไหน เรามีความสามารถแค่ไหน เราทำได้มากน้อยแค่ไหน คำว่า “แค่ไหน” ก็แค่นั้น แต่ถ้ามันยังไม่รู้ถึงผลของภาวนามยปัญญา ปัญญาจะเกิดจากการภาวนา เรายังไม่รู้แจ้งอันนั้น เราจะรู้ธรรมไม่ได้ แต่ที่เวลาเราทำ เราเข้าใจของเราเอง เราเข้าใจว่าที่เราใช้ เราใช้อยู่นี่คือภาวนามยปัญญา แต่ความจริงแล้วมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาที่ใคร่ครวญให้หยุดจากความฟุ้งซ่าน ให้หยุดจากความคิด ถ้ามันหยุดจากความคิดได้แล้ว เห็นไหม เดี๋ยวก็คิดอีก ต้องใช้ปัญญาต่อเนื่องไปๆ แล้วเมื่อมีสติมีปัญญาขึ้นมาแล้ว พยายามให้มันเห็นตามเป็นจริง
ถ้ามันเห็นตามเป็นจริงจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกิเลส จิตเห็นเวทนา อย่างที่ว่าถ้าจิตเห็นเวทนา เห็นไหม พอจิตสงบแล้วจิตจับเวทนาได้ ถ้าจิตสงบแล้วจับเวทนานะ มันเรื่องปกติ มากนะ แต่ถ้าจิตยังไม่สงบ คนที่นั่งที่ว่าโอดโอย คนที่นั่งแล้วทนความเจ็บปวดไม่ได้ นั่นน่ะเวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เวทนา กับเราเป็นอันเดียวกัน พอจิตสงบแล้ว จิตสงบจิตเป็นอิสระ เวทนาเป็นเวทนา เวทนาไม่ใช่เรา พอเวทนาไม่ใช่เรา ไม่เห็นเวทนาอีกนะ พอจิตสงบแล้ว อุ้ย! ว่าง อุ้ย! มีความสุขมาก ไม่เห็นอะไรเลยไง จิตไม่เห็นอาการของจิต จิตไม่เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง
มันเป็นขั้นตอนของมันนะ ขั้นตอนแรกคนเรามีความทุกข์ความยาก ความทุกข์ความยากในชีวิตประจำวัน พยายามจะหาพุทธะของตน พยายามจะหาความสงบของตน ถ้าใครทำความสงบของตนได้ นั้นคือจิตเป็นสมาธิ นั่นน่ะเราเข้าไปถึงพุทธะ ของเรา พอเข้าไปถึงพุทธะของเรา จะใช้ปัญญาใช้ไม่เป็นอีก มันเป็นขั้นเป็นตอน เวลาเป็นขั้นเป็นตอนเวลาจะใช้ปัญญาขึ้นมา ถ้าใช้ปัญญาโดยเริ่มต้นปัญญาโดยสามัญสำนึก ปัญญาโดยมาตรฐานของมนุษย์ ปุถุชนมันมีทุกคน แล้วก็คิดว่าอย่างนี้เป็นปัญญา อย่างนี้เป็นปัญญา อย่างนี้เป็นปัญญาของปุถุชน เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา
ภาวนามยปัญญามันรออยู่ข้างหน้า รออยู่ที่จิตสงบแล้ว แล้วจิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง แล้วถ้าพิจารณา ได้มันจะเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาชำระล้างกิเลสมันอยู่ข้างหน้านู่น ถ้าอยู่ข้างหน้านู่นมันก็จะเป็นการภาวนาโดยสมบูรณ์ เป็นการภาวนาโดยถูกต้อง แล้วถ้าภาวนาเป็นถูกต้องเราก็จะรู้เลยว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ตามแต่วุฒิภาวะของจิตที่มีความสูงต่ำมากน้อยขนาดไหน
นี่พูดถึงว่าในการภาวนานะ แต่! แต่พอเขาทำไปแล้ว คนที่ภาวนาไปแล้วมันจะตัน ถ้าภาวนาไม่ถูกต้องนะมันจะเข้าไปสู่ไปชนกำแพง พอชนกำแพงแล้วไปไม่ถูก ไปไม่ได้ เพราะมัน คิดว่าสิ่งนี้ถูกต้องแล้ว ถ้าถูกต้องแล้ว เห็นไหม เขาถึงพยายามหาทางออก คำว่า “หาทางออก” หมายความว่า พอภาวนา เป็นแล้ว มันเหมือนกับเป็นการต่อยมวยยกเดียวๆ แล้วพอไป ฟังเทศน์ของหลวงตา หลวงตาท่านบอกว่าต้องสลับมาสมถะบ้าง แล้วเขาก็ยังใช้ปัญญาๆ
สมถะคือกำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วเขาก็พยายามทำ โดยที่การที่ว่าเข้าไปพุทโธชัดๆ หายใจแรงๆ เห็นไหม พยายาม จะเอาให้อยู่ มันก็เหมือนว่าเราเห็นใครทำงานก็แล้วแต่ เราเห็นแล้วเราว่าเราทำได้ แต่เวลาเราทำจริงๆ เราทำไม่ได้ ถ้าเราจะทำให้ได้ เราก็ต้องฝึกหัดของเรา ถ้าเราฝึกหัดของเรา พุทโธชัดๆ หรือลมหายใจแรงๆ เราจะต้องมีสติแล้วบำรุงรักษาให้ดี แล้วถ้ามันสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา มันก็เหมือน เหมือนนักกีฬา นักกีฬาที่มีความชำนาญ นักกีฬาที่มีชื่อเสียง เขาฝึกแล้วฝึกเล่าๆ ฝึก จนเป็นนิสัย ฝึกจนมีความชำนาญ ไอ้ของเราอยากเป็นอย่างนั้นแต่เราฝึกไม่ได้ เราทำไม่ได้ๆ เราก็พยายามฝึกฝนของเรา เป็น การหาทางออก หาทางออก หาทางไปต่อไป
การภาวนานะ คนที่มีศรัทธามีความเชื่อ มีความเชื่อแล้วมาฝึกหัดภาวนา มันก็มีน้อยอยู่แล้ว แล้วคนที่มีน้อยอยู่แล้ว เวลาภาวนาแล้วเนี่ยมันจะได้มรรคได้ผล จะมีความถูกต้องดีงาม เพราะกิเลสมันกีดมันขวาง กิเลสของแต่ละคนมันกีดมันขวาง มันทำลายทั้งนั้น มันทำลาย แต่คนที่กิเลสอยู่กับเรา กิเลสเป็นเราไง ดีงามไปหมด ถูกต้องไปหมด นี่ไง เขาถึงบอกเลย แค่เขาทำ เขาทำโดยที่เฉพาะเป็นความเห็นของเขานะ นี่ เห็นไหม บอกว่า “พยายามไม่คิดหาเหตุผล พยายามสลัดทิ้ง” การสลัดทิ้งไปแล้ว ไม่รับผิดชอบ การสลัดทิ้ง การไม่คิดหาเหตุหาผล คือการ กดทับไว้เฉยๆ
แต่ผลของมัน เขายังบอกว่า เขายังเรียนรู้ใช้ประโยชน์กับชีวิตได้มหาศาล เรียนรู้เรื่องธรรมะได้ทุกประการ เชื่อมั่นในคำสอนเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นี่ที่เขาทำอยู่ ขนาดทำที่มันไม่ใช่หนทางความเป็นจริง แต่เข้าไปคลุกคลีไง เข้าไปคลุกคลีเข้าไปฝึกฝนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง มันก็ได้รสได้ชาติสิ่งนั้นมาไง มันก็ได้ความมั่นใจนั้นมา ถ้ามันได้ความมั่นใจนั้นมาก็ว่าตัวเองเป็นชาวพุทธๆ มันก็มีเหตุซาบซึ้งในพระพุทธ-ศาสนา ก็ได้เท่านั้นไง
แต่ถ้ามันเป็นจริงๆ นะ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต เวลาพิจารณาไปแล้ว ธรรมะเป็นในใจของพระสารีบุตร พระ- สารีบุตรไม่เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย องค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามพระสารีบุตร “สารีบุตรเธอไม่เชื่อเราเหรอ” “ไม่เชื่อ” เพราะเป็นของพระสารีบุตรเอง เวลาเป็น จริงๆ มันเป็นจริงของใจดวงนั้น มันเป็นจริงของใจผู้ที่ปฏิบัติ
นี่เขาบอกว่า “เขาเชื่อเต็มร้อย เห็นไหม เขาเชื่อเต็มร้อย ในการดำเนินชีวิตประจำวัน” ทั้งๆ ที่ปฏิบัติ ถ้าพูดภาษาเรานะ ปฏิบัติไม่ตรงต่อธรรม ปฏิบัติด้วยความเห็นของตน แล้วมัน ในความเชื่อของตน ยังได้ผลอย่างนี้
แต่ถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริงนะ ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก ตามเป็นจริงมันจะได้อริยภูมิอย่างที่ตามเป็นจริงที่ปรารถนา ที่คนที่ประพฤติปฏิบัติต้องการความปรารถนาไง ถ้ามีความปรารถนา ความปรารถนานั้นมันต้องมาจากเหตุจากผลจากตามความเป็นจริง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ มันต้องมีเหตุ เหตุมันต้องสมบูรณ์ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ความสมบูรณ์ พอดี มัชฌิมาปฏิปทาสมบูรณ์พอดีของแต่ละคน
เพราะคนแต่ละคน กิเลสของคนไม่เหมือนกัน โทสจริต โมหจริต โลภจริต เห็นไหม ที่มาไม่เหมือนกัน ที่มาไม่เหมือนกัน มันก็ต้องใช้เหตุและผลแตกต่างกัน ถ้ามันสมดุลสมบูรณ์พอดี มัชฌิมาปฏิปทามันสมุจเฉทปหานเหมือนกันหมด มรรคมี หนึ่งเดียว อริยสัจมีหนึ่งเดียว ขาดเหมือนกันหมด แต่! แต่เหตุผลต่างกัน เหตุผลต่างกันเพราะว่าที่มาต่างกัน ทุกอย่างมันต่างกัน ความต่างกันอันนั้น ฉะนั้น การต่างกันอย่างนั้น มันถึงต้องกลับมาฝึกฝนที่เราเอง กลับมาฝึกฝน กลับมาประพฤติปฏิบัติด้วยสติสัมปชัญญะของเรานะ
นี้พูดถึงว่าเวลาปฏิบัติไปแล้ว เริ่มต้นที่อธิบายมา เขาถามตั้งแต่ต้น แสดงว่าเขาทำมาแบบนี้ แล้วขนาดทำมาแบบนี้ เขา ยังได้ผลว่าเชื่อ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา ทุกอย่างพร้อม แต่! แต่ทำแล้วเหมือนมวยต่อยยกเดียวคือ ไม่ก้าวหน้า ไปชนกำแพง ไปชนกับพญามาร พญามารมันหลอกไว้อย่างนี้ไง วางให้หมด แล้วทำตามความเป็นจริงของเรา ถ้าทำความเป็นจริงของเราแล้ว เราปฏิบัติไปแล้วมันจะสมประโยชน์กับเรา
ถ้าทำความเป็นจริงของเรานะ พุทโธชัดๆ หายใจแรงๆ หายใจให้จิตมันสงบให้ได้ สงบให้ได้แล้วให้เห็นตามเป็นจริง ให้เห็นกิเลสแล้วค่อยพิจารณามัน แล้วการพิจารณาไม่ใช่ อย่างนี้ ไม่ใช่การว่าไม่คิดหาเหตุผล ไม่ใช่! ต้องคิดหาเหตุผล แบบขั้นของปัญญานะ ไม่มีที่หลบซ่อน ไม่มีขอบเขต ขั้นของสมาธิ เห็นไหม น้ำล้นฝั่งๆ น้ำล้นแก้ว น้ำเต็มแก้ว น้ำล้นแก้ว แต่เวลาเป็นขั้นของปัญญาไม่มีขอบเขต ไล่เต็มที่เลย
แหม! พอเห็นคำถามแล้วมันเขี้ยว พอมันเขี้ยวปั๊บเพราะเป็นความเห็นของเขาไง ถ้ามันเป็นความจริงตั้งแต่ต้นนะ ต้องคิดหาเหตุผลทั้งนั้น แล้วถ้าจับเวทนาได้ต้องพิจารณาเวทนา ต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญมัน แล้วเวลาจับสิ่งใดได้แล้ว คำว่า “สลัดทิ้ง” นี่คือยอมจำนน อย่างที่หลวงปู่มั่นท่านเอ็ดหลวงตา “มหา มหาพิจารณาอย่างนี้เหรอ พิจารณาแบบหมากัดกัน” คือมัน ไม่มีเหตุมีผล แต่ก่อนหน้านั้นที่ท่านทำดีแล้ว ท่านไม่ได้ส่งจิต มาตอนนั้น
นี่ก็เหมือนกัน เราทำไม่สมบูรณ์ของเรา ไม่เป็นความจริงของเรา นี่สำคัญ เห็นไหม ถ้ามีครูบาอาจารย์ แค่คำถามมัน เปิดอกคนถามหมดล่ะ คำถามที่ถามมันเปิดอกหมด ถ้าเปิด อกหมดแล้ว เห็นไหม ตอบปัญหาแล้ว แล้วกลับไปทำใหม่ มันขาดแต่ความชำนาญ มันขาดแต่เป็นจังหวะและโอกาส ใช้ สิ่งใดก่อน ใช้มีศีลเป็นปกติก่อน ทำความสงบของใจเข้ามา ให้ได้ก่อน
แล้วก็ใช้ปัญญา พอใช้ปัญญาเสร็จแล้วถ้ามันใช้ไปมาก เห็นไหม มันฟั่นเฟือนเพราะสมาธิมันอ่อน สมาธิมันเบาลง กลับมาพุทโธ กลับมาสมถะ สมถะจิตมันสงบมีกำลังแล้ว เรากลับไปใช้ปัญญา สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน การ กระทำ ๒ ฝั่ง เท้าสองเท้าจะเดินไปด้วยกัน แล้วถ้ามัน ประสบความสำเร็จนี่คนภาวนาเป็น ถ้าคนภาวนาเป็นนะ ทำแล้วมันมีความชำนาญ
คนภาวนายังไม่เป็นมันก็มาแบบคำถามนี้ชัดเจนมาก วันนี้คำถามนี่โอ้โฮย! บอกว่าเห็นแล้วช็อก เห็นคำถามนี่ช็อกเลยนะ พยายามไม่คิดหาเหตุผล พยายามสลัดมันทิ้ง โอ้โฮ! ช็อก เลยนะ
แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติอย่างนี้ นี่แหละจุดตายทั้งนั้นเลย คำถามนี่มีจุดตายในตัวมันเองหลายจุด คำว่า “จุดตาย” หมายความว่า คนที่ภาวนาแล้ว คิดว่าตัวเองได้ผลแล้ว นี่จุดตายทั้งนั้น คำว่า “จุดตาย” มันจะเกิด เกิดมรรคเกิดผลไม่ได้เลย เพราะเหตุมันปิดกั้น เหตุมันปิดกั้นเลยนะ ไม่คิดหาเหตุผลนี่จบ ปัญญาเกิดไม่ได้ สลัดทิ้ง ปัญญาเกิดไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เลย
แต่ถ้าเป็นปัญญา นี่ไง เป็นปัญญา จิตเห็นอาการของจิต แล้วพิจารณาของมันไป นี่เริ่มต้นใหม่ สิ่งที่ทำมาแล้วก็เพราะว่ามันเป็นอำนาจวาสนาของเราไง เราทำมาได้แค่นี้ก็ยังดีว่าทำมาได้แค่นี้ แต่ถ้ามันทำเป็นความจริงนะ มันต้องศีล สมาธิ ปัญญา สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน เวลาไป ไปด้วยกัน แล้วถ้ามันได้ผลแล้วเป็นปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก กลางหัวใจ เอวัง