เทศน์บนศาลา

วันเกิดพุทธศาสนา

๑๗ พ.ค. ๒๕๔๓

 

วันเกิดพุทธศาสนา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ศาสนาพุทธ ในสมัยของสมณโคดม เห็นไหม แต่มีมาแล้ว ๓ พระองค์ พระองค์เป็นองค์ที่ ๔ กัปนี้มี ๕ พระองค์ วันนี้เป็นวันเกิดของศาสนาพุทธในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นมาเพราะตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ธรรม ธรรมนั้นเข้าถึงดวงใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันเกิดของศาสนาพุทธ พุทธศาสนาสอนอย่างนี้ สอนเรื่องอริยสัจ สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท ความเคลื่อนไปของใจ เห็นไหม วันนี้วันกำเนิดขึ้นมาของศาสนาพุทธ ถ้ากำเนิดขึ้นมา กำเนิดขึ้นมามีคุณประโยชน์มหาศาล เกิดแล้วไม่เคยตาย ถ้าชีวิตนี้ตายๆ เกิดๆ อยู่อย่างนั้น เกิดแล้วไม่เคยตาย เกิดแล้วเกิดเลย

ดวงใจถึงธรรมแล้วถึงบริสุทธิ์ผุดผ่องไปตลอด การเกิดที่แปลกประหลาด เกิดที่มหัศจรรย์ เกิดแล้วไม่มีตาย ถ้ายังเกิดมาในวัฏฏะวนนี้ การเกิดการตายนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ทำให้เกิดเป็นทุกข์โศก ในธรรมบทว่าไว้ เกิดมาในวัฏฏะในชีวิตๆ หนึ่งนี้ ถ้าเอามาคำนวณกันแล้ว น้ำในมหาสมุทรนั้น เราร้องไห้ค่ำควรกันในโลกนี้ยังน้อยเกินไป นั่นน่ะ ชีวิตๆ หนึ่งเกิดขึ้นมาทุกข์ๆ ร้อนๆ ทุกข์ๆ เศร้าๆ อยู่ในวัฏฏะวนนี้ตลอดไป

แต่การเกิดของศาสนาพุทธ ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดแล้วไม่มีวันตาย เกิดแล้วจีรังตลอดไปในหัวใจดวงนั้น

แต่การเกิดสิ เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็เหมือนกับมีความทุกข์อย่างเรานี่ล่ะ มีความทุกข์อย่างเราเพราะอะไร เพราะว่า ราหุลเกิดขึ้นมานี่ตกใจนะ เขามาบอกว่า “ราหุลเกิดแล้ว” ช็อกเลยเพราะอะไร เพราะบ่วงเกิดแล้ว เห็นไหม บ่วงสมบัติ บ่วงลูก บ่วงหลาน บ่วงญาติ บ่วงวงศ์ตระกูล บ่วงเกิด บ่วงเกิดขึ้นมา

ธรรมดาของหัวใจผู้ที่ทำคุณงามความดี บุรุษอาชาไนย จะสะสมไว้แต่คุณงามความดีทั้งนั้นน่ะ แล้วดวงใจดวงไหนบ้างที่จะไม่รับผิดชอบเรื่องบุตรเรื่องภรรยา ต้องรับผิดมาก ความรับผิดชอบมากนั้นคือบ่วงมากไง บ่วงในหัวใจนั้น ความที่ดึงให้ใจนั้นเป็นที่กังวล เป็นที่เศร้าหมอง คิดดูว่าจะขนาดไหน ต้องมีความทุกข์มากสิ ความทุกข์ในขนาดที่ว่าพุทธศาสนายังไม่เกิด

จนสละออกไปแสวงหาโมกขธรรมอยู่ ลัทธิศาสนาไหน สอนวิธีการไหนไปศึกษากับเขาหมดเพราะอะไร เพราะว่าในเมื่อทางที่ว่า เขามีครูบาอาจารย์สอนอยู่ ควรที่จะเข้าไปศึกษา เพื่อจะได้หาทางออกไปให้ได้ ไปศึกษามาขนาดไหนแล้วมันก็ไม่สมความปรารถนา ไม่สมความปรารถนาเพราะต้องการให้หลุดพ้นออกไปจากทุกข์จริงๆ

ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริงของแต่ละดวงใจ ไม่มีใครสามารถที่จะมาลบล้างให้ได้ ไม่มีใครสามารถมาลบล้างให้ได้ แล้วไม่มีใครสามารถมาบอกว่า สุข-ทุกข์ขนาดไหนถึงจะเป็นกำหนดของบุคลที่ทุกข์นั้น ทุกข์ในใจดวงใดดวงนั้นก็เป็นทุกข์ของใจดวงนั้น ทุกข์ดวงนั้น ในเมื่อ จิตสงบขนาดไหนมันก็มีทุกข์เจือบนไปตลอด มีความทุกข์เจืออยู่ในจิตนั้นเพราะอะไร เพราะเวลาจิตนี้สงบเข้าไปนี่ความทุกข์นั้นหลบหน้าไง เวลาธรรมเกิดขึ้น ธรรมเกิดขึ้นความทุกข์นั้นต้องหลบหน้าออกไป ธรรมเกิดขึ้น สมาธิธรรมเกิดขึ้น

สมาธิธรรมนี้ เป็นพื้นฐานมา ทั้งๆ ทุกๆ ลัทธิศาสนาสอนแต่ทำความสงบมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไปเรียนกับเขา ได้สมาบัติ ๖ และสมาบัติ ๘ ด้วย จนอาฬารดาบสบอกว่า “มีความรู้เสมอเรา ให้อยู่สอนกับเราเถิด อยู่กับเราเพื่อจะสอนผู้ที่จะมาศึกษาต่อไป”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เอา ไม่เอาเพราะว่าอันนี้เป็นความสงบเฉยๆ ความสงบเข้าไป จิตมันสงบเข้าไป ความทุกข์มันก็เจือจางเข้าไป มันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป แต่มันก็ไฟสุมขอนอยู่ในใจนั้น นี่ความสุขของสมาธิธรรม มีอยู่แล้วในก่อนพุทธกาลที่ศาสนายังไม่เกิดก็มีอยู่แล้ว มีอยู่แล้ว แล้วการศึกษามาขนาดนั้นก็จินตนาการว่าอันนี้เป็นพระอรหันต์ไง ต่างๆ ก็ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ มีมากมายเลย ก่อนสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ก็มีเขาว่าเป็นพระอรหันต์กันหมด แล้วก็ไปศึกษาเล่าเรียนกันมา ศึกษาเล่าเรียนมาแล้วมันก็ชำระไม่ได้จริง มันไม่ได้จริงเพราะมันไม่ใช่ของจริง มันเป็นของอนิจจังไง ความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป

ในการเวียนว่ายตายเกิดของใจ ใจนี้หมุนไป สมาธินี้ทำให้สงบขึ้นมา มันก็สงบขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน ทั้งๆ ที่ว่าเราไม่ได้ฝึกฝนสมาธิ จิตนี้มันฟุ้งซ่านไปถึงที่สุดแล้วมันก็ต้องพักของมัน เปรียบเหมือนเวลาอยู่ทางโลก เราทุกข์โศกมากมหาศาล ความทุกข์โศกมหาศาลนั้นถึงจุดหนึ่งก็ต้องเจือจางไปโดยธรรมชาติของมัน เห็นไหม ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ แล้วทุกข์ก็ต้องดับไป

แต่เวลาเราเกาะเกี่ยว ความเกาะเกี่ยวทุกข์นั้น เราไม่ใช่เกาะเกี่ยวที่ทุกข์ เราเกาะเกี่ยวที่ตัณหาความไม่พอใจ อย่างเช่น การพลัดพราก เราไม่ต้องการพลัดพราก เราไม่ได้มองที่ทุกข์ เราไปจินตนาการกัน หรือไปผลักไสกันตรงที่ตัณหา ตรงที่สมุทัย เพราะความไม่ยอมพลัดพราก ต้องการให้อยู่กับเราคงที่ไปตลอดไป นั่นน่ะ มันถึงว่าความทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็ไปจินตนาการกันตรงนั้น ความทุกข์ถึงโชติช่วงชัชวาลในหัวใจดวงนั้น เพราะเขาไม่ได้มาดูทุกข์ไง เขาผลักไส ผลักไสแต่สิ่งที่ตัวเองติดเป็นตัณหาทะยานอยากอยู่ ความต้องการ ความอยากเป็น ความดึงไว้ อันนั้นเป็นตัณหา

แต่ในเมื่อยังไม่มี ยังไม่เป็น เพราะไม่ได้เข้าถึงจุดนั้น ฉะนั้น จิตที่เป็นสมาธิ มันถึงเวียนไปเวียนเกิดอยู่อย่างนั้น เวียนไปเวียนเกิดคือว่า มันเป็นอนิจจังที่ว่าหมุนเวียนแปรสภาพไปอยู่ตลอดเวลา มันก็เข้ากันได้กับจิตที่เวียนตายเวียนเกิดอยู่ตลอดเวลา มันก็เวียนไปเวียนเกิดนั้นน่ะ การเวียนไปเวียนเกิดนั้นศาสนายังไม่เกิดขึ้น

ศาสนาเกิดขึ้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกแสวงโมกขธรรมก่อน ออกแสวงหาโมกขธรรม ไปศึกษากับเขามาขนาดนั้นแล้วปล่อยวางของเขาไว้ไง แล้วระลึกถึงว่าในเมื่อตัวเอง สร้างสมบารมีมาแสวงหาทางออก สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับมาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเองที่จะต้องเป็นผู้ที่ขวนขวายหาทางออกเอง

ถึงว่าได้กำหญ้าคาของคฤหัสถ์ที่เขาเอามาให้ ปูออกไปแล้วนั่งอยู่

“คืนนี้ถ้าไม่สำเร็จ จะนอน จะให้กระดูกป่นตายไป ก็ขอให้ตายไป”

กลับมาอานาปานสติ อานาปานสติกำหนดลมหายใจเข้าออก อานาปานสติตามลมหายใจเข้าออกอยู่ ลมหายใจกระทบที่กาย “อานาปานสติ” กำหนดดูจนจิตสงบเข้าไป

ปฐมยาม บุพเพนิวาสานุสติญาณ จิตการส่งออกไป การรู้ต่างๆ รู้การเกิดการตาย ของจิตแต่ละดวงๆ ตายแล้วไปไหน แม้แต่จิตของตัวเองก็เหมือนกัน เห็นว่าตัวเองย้อนอดีตชาติไป เกิด ตาย เกิด ตายมา กี่ภพ กี่ชาติ ถึงยืนยันกันด้วยวิชชา ๓ ไงว่าจิตนี้มันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าเวียนว่ายตายเกิดเข้าไป เราจะไปแก้ที่เวียนว่ายตายเกิดนั้นมันเป็นอดีต เห็นไหม เราไม่สามารถไปแก้อดีตได้ ไม่สามารถแก้ได้ก็ปล่อยวางไว้ตามความเป็นจริง อดีตนั้นปล่อยวางไว้ตามความเป็นจริง

กลับมา จุตูปปาตญาณ ก็เห็นว่าตายแล้วไป เป็นอนาคต อดีต-อนาคตแก้กิเลสไม่ได้ แก้กิเลสไม่ได้แต่เขาตามสิ่งนั้น ถ้าทางลัทธิศาสนาต่างๆ เขาปฏิบัติ เขาว่าอันนั้นมันเป็นคุณวิเศษแล้วไง คุณวิเศษแต่ให้ความกระเพื่อมของใจ ใจนี้ไม่สงบ ใจนี้มีความกระเพื่อมเพราะความรู้

เวลาธรรมมันเกิด “ธรรมเกิด” สิ่งที่ความรู้เกิดขึ้นกับใจนั้น ใจนั้นจะรับรู้สิ่งนั้นแล้วใจนั้นจะยึดสิ่งนั้น ยึดว่าตัวเองรู้สิ่งนั้นไง นี่ความจริงว่า การเป็นธรรมมันเกิด แต่เวลาเกิดขึ้นมาจริงๆ แล้วความยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่เห็นนั้นเกิด พอความยึดมั่นถือมั่นสิ่งที่เห็นแล้วมันจะพาไปไหน มันก็วนเวียนอยู่กับอาการของใจอยู่อย่างนั้น อาการของใจก็วนเวียนอยู่กับอารมณ์นั้นมันก็เกิดตาย เกิดตายอยู่กับอารมณ์นั้น อารมณ์ที่ตัวเองยึดมั่นถือมั่น แล้วอารมณ์นั้นก็จืดจางไป

พอมันชินชาเข้าต้องจืดจางลง พอจืดจางลงก็ต้องหาอารมณ์ใหม่ขึ้นมา นั่นน่ะ เวลาอารมณ์ใหม่ขึ้นมา ถ้ายังทรงความหลักของใจคือทำสมาธิอยู่ได้ มันก็ยังหาอารมณ์ใหม่มาเสพได้ ถ้าสมาธินี้เจือจางลง “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ธรรมทั้งหลายมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ความเวียนไปของหลักใจนี้มันจะเวียนไปตลอดเวลา พอเวียนออกไปคายออกมา มันไม่ได้สิ่งนั้นขึ้นมาตามใจหมาย สิ่งที่เป็นทุกข์ซ้อนเข้ามา นี่ทุกข์ซ้อนทุกข์

๑. ปฏิบัติไม่ได้สมความปรารถนาของตัวเองเป็นทุกข์

๒. การประพฤติปฏิบัติเข้าไป ทุกข์ในการปฏิบัติ แล้วยังไม่สมควร แล้วปรารถนา ตัณหาซ้อนตัณหาเข้าไปนะ ทำให้ความทุกข์เพิ่มซับซ้อนเข้าไป

“ทุกข์” ธรรมชาติของมัน ทุกข์คือการเกิดขึ้นมาโดยธรรมชาตินี่ทุกข์อยู่แล้ว เพราะอันนี้เป็นสัจจะความจริง เป็นอริยสัจ แต่ยังไม่เห็นไง เพราะศาสนายังไม่ได้เกิด วันเกิดของพุทธศาสนาวันนี้ไง

ย้อนกลับมาจนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปล่อยหมด ทั้งๆ ที่ไม่มีคนสอนนะ แต่พวกเรามาเก็บเอา พยายามยึดเอา สิ่งที่ว่าไม่เป็นอาสวักขยญาณไง “อาสวักขยญาณ” ญาณสุดท้าย อาสวักขยญาณ ชำระกิเลสเข้าไป พอความชำระกิเลสเข้าไป สิ่งที่จะชำระกิเลสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเป็นอะไร?

ต้องเป็นญาณหยั่งรู้ภายในใจ ญาณหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นจากการสมบุกสมบันมา รู้ผิดมาตั้ง ๖ ปี ความปฏิบัติรู้ผิดมาตามแต่ที่ว่าลัทธิศาสนาต่างๆ สอนกันมา ๖ ปีนี่มันทำให้จิตใจนี้เข้มแข็งขึ้นมา รู้เหตุรู้ผลขึ้นมาว่าความที่ใฝ่ออกไปนั้นเป็นการใฝ่ที่ผิด นี่อาการของใจ ปัญญาไง ปัญญาเป็นอาการของใจที่เกิดขึ้นจากใจ แล้วใจนี้สงบเข้ามา สงบเข้ามา แรงของการอดอาหารที่อดอาหารอยู่ แรงของการหันกลับมาประพฤติปฏิบัติ นั่นน่ะ อันนี้เป็น “มรรค” มันจะรวมตัวกัน มรรครวมตัวหมายถึงกำลังพอ ความเห็นพอ แล้วดำริชอบ ความดำริออกมาจากอาสวักขยญาณ นี่ความดำริชอบ มรรคเพิ่งเกิดขึ้น นี่พุทธศาสนาเกิดเกิดตรงนี้ไง

“วันเกิดของพุทธศาสนา” ศาสนาเกิดในที่ไหน? เกิดในใจขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดแล้ว เวลาดับไม่มีวันดับ เกิดแล้วเกิดเลย เกิดแล้วถึงธรรม ถึงธรรมแล้วถึงเลย ไม่มีการหลุดออกมาจากตรงนั้น ไม่มีการตกต่ำมาเพราะเป็นอกุปปธรรม จะไม่มีการแปรสภาพอีกแล้ว ใจดวงนั้นถึงฝั่งของสิ้นสุดแห่งกิเลสตัณหาทั้งหมด อาสวักขยญาณกำจัด ใจนั้นสิ้นไป ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานก็ปรินิพพานวันนี้ไง

มันมหัศจรรย์ที่ว่า เกิด ตรัสรู้ แล้วปรินิพพานในวันเดียวกัน เพ็ญเดือน ๖ เหมือนกันเป็นวิสาขบูชา เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปไม่ได้เอาธรรมไปด้วย เห็นไหม ไม่ได้เอาธรรมไปด้วย ธรรมประทานไว้ตามความเป็นจริง แต่ธรรมในดวงใจดวงนั้น ดวงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนั้นต่างหากที่ท่านเอาไป

เรามีความทุกข์อยู่ เราแสวงหาอยู่ ถ้าธรรมเกิดขึ้นกับใจของผู้ที่ปฏิบัติผู้ใดผู้หนึ่ง นั่นคือการเกิดแล้วที่ไม่มีการแปรสภาพอีกเลย แต่ในเมื่อยังไปไม่ถึง เราก็ต้องพยามขวนขวายจะเข้าถึงธรรมดวงนั้นให้ได้ เข้าถึงธรรมดวงนั้นให้ได้คือว่าเปิดตาของใจขึ้นมาให้ได้ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปก็เอาแต่ธรรมในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพพุทธเจ้านั้นไป

แต่สัจจะที่ประทานไว้อีก ๕,๐๐๐ ปีนี่สัจจะความจริง อริยสัจ สิ่งต่างๆ มีพร้อมอยู่สติปัฏฐาน ๔ มันอยู่ที่ไหน สิ่งที่ว่าเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้สมบุกสมบันมา แล้วรู้ตามความเป็นจริง แล้วเป็นสิ่งที่เป็นภายในขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขนาดที่สร้างสมบารมีมาขนาดนั้นยังออกประพฤติปฏิบัติทุ่มทั้งชีวิตไง

แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมอย่างนั้นมันจะต้องขวนขวายขนาดไหน ถึงว่าต้องย้อนกลับมาที่ใจ ถ้าไปมองสิ่งภายนอกคือมองสมบัติของคนอื่น ความมองสมบัติของคนอื่น แล้วเขามีแต่ความร่ำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี จะทำให้เราขาอ่อน ทำให้พวกเราไม่มีกำลังจะต่อสู้ไป เศรษฐี มหาเศรษฐีก็ต้องขึ้นมาจากเริ่มต้นประกอบอาชีพของเขา

“เศรษฐีธรรม” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเศรษฐีธรรม ธรรมในหัวใจเต็มดวงใจดวงนั้น แต่สร้างสมมา ดูสิ ๔ อสงไขย แสนมหากัป กำลังสร้างมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่แล้วเราสร้างมากันกี่ปี เราสร้างมากี่ชาติ เราก็ไม่มีความสามารถจะรู้ได้ แต่ในการประพฤติปฏิบัตินี้ก็คือการสะสมบารมี การสร้างสมบารมีของเรา

“อานนท์ เธอบอกเขาเถอะว่าอามิสทานกับปฏิบัติบูชา อามิสบูชากับปฏิบัติบูชา ให้ปฏิบัติบูชา” การปฏิบัติบูชาอย่างประเสริฐ แล้วเรานี้เราก็ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่เป็นการสะสมบารมีที่สูงสุดนี้เราเป็นผู้ที่ได้กระทำอยู่ เรากระทำสิ่งที่ว่าสูงสุดในการที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานไว้ว่า “การปฏิบัติบูชานั้นเลิศที่สุด” เพราะเพราะการปฏิบัติบูชามันให้ผลกับดวงใจดวงที่ประพฤติปฏิบัติโดยฉับพลัน ใจดวงไหนประพฤติปฏิบัติอยู่มันจะสัมผัสกับใจเข้าไปตลอดเวลา สัมผัสกับใจตลอดเวลา

จากที่ว่าไม่เชื่อเรื่องสัจจะความจริงเลย เพราะมันไม่เคยเห็นจะไปเชื่อได้อย่างไร ความเชื่อจากภายนอก ความเชื่อจากภายนอกนั้นเป็นสุตมยปัญญา สุตมยปัญญาการศึกษามาขนาดไหน จะอุกฤษฏ์ จะดีเด่นขนาดไหนนั้นเป็นสิ่งที่เราศึกษาเข้ามา เรายังจะต้องประพฤติปฏิบัติเผชิญศึกข้าศึกไง ข้าศึกคือเรา นี่ในการประพฤติปฏิบัตินี้เป็นการตนเอาชนะตน อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ข้าศึกก็คือเรา ข้าศึกคือความคิดชั่วของในหัวใจ คิดในทางอกุศลในหัวใจ

“ธรรม” ธรรมคือความคิดดี เป็นกุศลขึ้นมา ความคิดดี คิดอยากประพฤติปฏิบัติ คิดอยากจะออกจากทุกข์ คิดจะออกหาที่พึ่งของหัวใจให้ได้ นี่ความคิดนี้เป็นธรรม ความคิดนี้เกิดขึ้นต้องมีความนึกคิดนี้เกิดขึ้น แล้วสติสัมปชัญญะพยายามตั้งไว้ๆ ให้สืบต่อ ความสืบต่อทำให้จิตเข้มแข็งขึ้นมา จิตจะเข้มแข็งขึ้นมาเพราะว่ามีธรรมเป็นเครื่องอิ่ม เอิบอิ่มใจ

ธรรมนี้ ใจสัมผัสกับความจริง สัมผัสกับความจริง สัมผัสจากภายนอก สัมผัสจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัมผัสธรรมของครูบาอาจารย์ไง ครูบาอาจารย์ชี้นำทางขึ้นมา อันนี้เป็นการชุบมือเปิบแล้วนะ ชุบมือเปิบเพราะอะไร เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์มาตลอด เป็นใคร ใครเป็นคนบอกทาง เพราะไม่มีใครบอกทางเลย

ครูบาอาจารย์เริ่มต้นยุคฟื้นฟูใหม่ก็ทุกข์มาตลอด ของเรานี้มีคนชี้นำทางตลอด ชี้นำทางตลอด เห็นไหม ชี้เข้ามาที่ไหน? ชี้เข้ามาที่ใจ เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถพลิกใจออกมาไง พลิกใจออกมาจากสิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่า นี่มาร ฝ่ายมารในหัวใจของเราเอง มีอำนาจเหนือกว่า กดหัวใจดวงนั้นให้เป็นขี้ข้าอยู่ตลอดเวลา ให้เป็นขี้ข้า ให้เป็นที่อยู่ที่อาศัยของกิเลสฝ่ายมารไง

นี่มารนี้ มันก็เป็นนามธรรม แต่นามธรรมนี้เกิดดับ เกิดดับ พร้อมกับธรรมที่เกิดดับ เกิดดับในหัวใจของเรา จนฝ่ายมารนี้มีอำนาจเหนือกว่า มีอำนาจเหนือกว่าปกครองใจ เพราะเวลาวิปัสสนาไป ถ้ากิเลสหลุดออกไป มารนี่หลุดออกไปเป็นชั้นๆ ออกไป มารนี้จะหลุดออกไปเป็นชั้นจะเห็นเลย กิเลสขาดนี้ดั่งแขนขาด สิ่งที่มารปล่อยใจออกไปเป็นชั้นๆ ขึ้นมานี่ สังโยชน์ขาดเป็นชั้นๆ จะเห็นเป็นชั้นๆ เข้ามา

แต่ขณะที่ว่า สืบต่อเข้าไปจนเป็นกระแส เป็นผูกมัดเปิดกั้นใจไว้ทั้งหมด หัวใจทั้งหัวใจมืดบอดเพราะพญามารปิดคลุมไว้ เพราะว่าเป็นที่อยู่ที่อาศัยไง เราอาศัยบ้านเรือน อาศัยร่มไม้ชายคาเป็นที่อาศัย แต่มารนี้อาศัยหัวใจสัตว์โลกเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งที่เป็นสัตว์โลกที่อยู่อาศัย เขาถึงต้องพยามสงวนรักษาสิ่งที่อยู่อาศัยของเขาไว้ให้อยู่ในอำนาจของเขาอยู่ตลอดเวลา

แต่เพราะความเชื่อธรรม นี่วันสำคัญของโลกเขา วันสำคัญที่ว่า วันสำคัญเพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน นี่วันสำคัญของโลกเขา นั่นน่ะ แสงสว่างไง ความเชื่อนี่เป็นแสงสว่าง ศรัทธาความเชื่อ เพราะมีความเชื่อ มีศรัทธาขึ้นมา จะทำให้เราเริ่มก้าวเดินออกไป ก้าวเดินออกจากจุดเริ่มต้นของใจ ใจอยู่ในอำนาจของมาร อยู่ในความมืดบอดของมาร ความขยับออกไปจากที่มืดเพื่อให้เป็นที่สว่าง ให้ใจนี้ได้สว่างเข้ามา ให้แสงสว่างเข้าถึงใจไง

นี่ความแสงสว่างเข้าถึงใจ กำหนดพุทโธ พุทโธ แสงสว่างจะส่องเข้าไปในหัวใจ ส่องเข้าไปๆ ส่องเข้าไปในใจให้ใจนี้มีแสงสว่าง ให้มีที่ทำงาน ให้มีแสงสว่าง พอแสงสว่างขึ้นมาก็จะเห็นหน้ากิเลสไง อยู่ในที่มืดเราไม่สามารถเห็นพญามาร หรือเห็นลูก หลาน เหลนของพญามารได้เลย ว่าพญามารนี้มีอำนาจเหนือใจของเราได้อย่างไร แต่พอมีแสงสว่างโผล่เข้ามา แสงสว่างส่องเข้ามาให้เห็นหน้าพญามาร นี่ก็เหมือนกัน เราทำใจของเราให้มีความสงบขึ้นมาให้ได้ พยามกำหนดให้ใจนี้สงบเข้ามา สงบเข้ามาด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรรมฐาน ๔๐ ห้อง กำหนดเข้าไป ความกำหนดอันนั้น นี่ใจมันพาดเกี่ยวกับสิ่งที่ว่าปกคลุมให้ใจมันมืดบอด อารมณ์มันคลุมใจอยู่มันมองไม่เห็นใจหรอก มันคลุมอยู่ทั้งหมด

แล้วพุทโธๆ นี้มันก็อาการที่เกิดขึ้นจากใจที่เรานึกขึ้นมา วิตก วิจารเกิดขึ้น นึกพุทโธขึ้นมา พุทโธก็เป็นอารมณ์ ความคิดดั้งเดิมของใจก็เป็นอารมณ์ เห็นไหม มันถึงเปิดออกไง ความคิดที่ความคิดเคยใจมันหมุนไป ความคิดมันหมุนตลอดไปนี่ความคิดของเราปกคลุมใจ ความคิดขึ้นมาก็เป็นรูปสำเร็จของความคิด พอรูปสำเร็จของความคิดก็คือเราคิด...มืด มืดทันที ถ้าพุทโธนี้ก็เป็นความคิด แต่ความคิดนี่เปิดให้แสงสว่างส่องเข้าไง “พุท” “โธ” “พุท” “โธ” ความคิดไม่สืบต่อ แต่ความคิดพอคิดเรื่องนั้นไปก็ต่อเรื่องนั้น พอเรื่องนั้นต่อเรื่องนั้นๆ เรื่องเดียวกันนั้นก็เป็นขั้นเป็นตอน มีความเข็มข้น มีความอ่อน หมุนไปเรื่อยๆ เห็นไหม กับพุทโธที่ตัดให้มีช่อง มีแสงส่องเข้าไปถึงหัวใจ นี่มีพุทโธขึ้นมามันก็ส่องเข้ามาถึงหัวใจ

แต่มันทำใหม่ๆ เริ่มต้นมันต้องมีความฝืนกัน การฝืนกันเพราะสิ่งนี้ ภูเขาทั้งลูก เราเข้าไปแบกภูเขาทั้งลูก “ภูเขา ภูเรา” ภูเขาคือภูหัวใจไง ความมีอำนาจเหนือผลักไสให้จิตนี้เกิดตาย เกิดตายในวัฏสงสารนี้ ผลักไสมาให้ตลอดเวลา มันมีอำนาจเหนือขนาดที่ว่า ชักนำมาให้หมุนเวียนตาย ถึงทำบุญกุศลขนาดไหนมันก็เกิดบนเทวดา บนพรหม มันก็หมุนไป นี่ความผลักไสนี่มีอำนาจเหนือมาก มันถึงว่า “ภูเขา ภูเรา” ภูในหัวใจไง มันถึงมีอำนาจมาก

พอเราจะเริ่มนั่งสมาธิ เราจะเริ่มทำปฏิบัติ อันนี้มันต้องเข้ามาต่อต้าน แต่เพราะความศรัทธา เพราะศรัทธาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศรัทธาในธรรม เราศรัทธาว่าอันนี้เป็นอาวุธที่จะถากถางเข้าไปให้มีแสงสว่างเข้าไปในใจ กำหนดเข้าไป กำหนดเข้าไป ต้องมีความกำหนด ต้องมีความมุมานะ ความมุมานะ ชัยชนะมันจะเกิดขึ้นมาจากความมุมานะ ความมุมานะขึ้นมา มุมานะขึ้นมา ตั้งใจขึ้นมาให้ดี ความตั้งใจ พอตั้งใจขึ้นมา กำหนดพุทโธขึ้นมา มันเกิดขึ้นได้ แต่เดิมใจก็ไม่มี จะไปไหนก็ไม่รู้ว่าใจอยู่ไหน ความคิดก็คิดลอยๆ มา อาการของใจไม่ใช่ใจ พอมันคิดตั้งใจขึ้นมา ตรงนั้นเป็นตัวฐาน เป็นภวาสวะ เป็นภพใหญ่

นึกตั้งใจขึ้นมาก็มีฐานที่ตั้งของการงาน “กรรมฐาน” ฐานของการงาน งานที่จะทำลงอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิดอันนั้นขึ้นมา แล้วกำหนดพุทโธเข้าไปจนแสงสว่างเข้าไป พอแสงสว่างส่องเข้าไปถึงความมืดอันนั้น นั่นน่ะ มันสงบลงๆ มันก็จ้าขึ้นมา นี่ความสว่างกับความสุขที่เกิดขึ้นกับใจพร้อมกันที่ประพฤติปฏิบัติเข้าไป พอแสงสว่างขึ้นมาก็ยกขึ้น มีแสงสว่างแล้ว มีสิ่งควรแก่การงานแล้ว นี่ยกขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาในพญามารที่มันปกคลุมใจอยู่ ไฟมันปกคลุมใจมันถึงมีอำนาจเหนือกว่าใจนั้น มันคิด มันคิดมาจากไหน? มันมีสิ่งยั่วยุในหัวใจไง ตัณหาความทะยานยากในใจ มันยั่วยุให้ความคิดนั้นมันหมุนไปโดยธรรมชาติของมัน แล้วมันก็หมุนตามกันไป หมุนตามกันไป

ความหมุนออกไป ความเคยใจหมุนออกไป ความเคยใจ กิเลสมันพาหมุนอยู่แล้วมันก็หมุนไป ความหมุนออกไป หมุนออกไป อารมณ์เกิดขึ้น แล้วเป็นพายุขึ้นมาเลย เป็นพายุมาพาเรากลิ้งเกลือกไปตลอดเวลา นี่เราแพ้มาตลอด แต่ในเมื่อแสงสว่างเกิดขึ้น พายุนี้มันจะสงบตัวลง สงบตัวลง สงบตัวลง นี่แสงสว่างเกิดขึ้น แล้วก็ดูอำนาจพญามารที่มันผลักไสความคิดนี้หมุนออกไป นั้นคือให้เห็นโดยความสัจจะ เห็นโดยจับต้องได้ จับต้องได้ พิสูจน์ได้พลิกแพลงดูอาการของใจ ความเคลื่อนไปของใจ นั้นคือวิปัสสนา

แต่ทำความสงบเข้ามา ให้แสงสว่างเข้ามา อันนั้นก็ว่าเป็นการใช้ปัญญา ต้องใช้ปัญญามันถึงตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิไง ถ้าไม่เป็นปัญญา มันถึงเป็นธรรมชาติของมัน จิตนี้สงบก็สงบชั่วคราว แล้วจับต้องไม่ได้ มันบังคับไว้ไม่ได้ สิ่งที่บังคับไว้ไม่ได้ มันเป็นอิสระตัวมันเอง ไม่เป็นไปตามอำนาจของธรรม อำนาจของธรรมคือจิตที่สงบ แล้วจับต้องได้ แล้วผลักไส รำพึงขึ้นมาให้ยกขึ้นวิปัสสนาให้มองเข้าไปในความหมุนไปของจิต ความหมุนไปของจิต

พอจับต้องจิตได้นี่ “จับต้องจิต” จับต้องจิตคือจับอารมณ์ของจิต จิตกับอารมณ์นี้เป็นเนื้อเดียวกันโดยธรรมชาติของมัน เพราะมนุษย์สมบัตินี้มีธาตุ ๔ กับขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คืออาการเคลื่อนไปของใจ การทำงานของความคิด การทำงานของฝ่ายนามธรรม ร่างกายนี้มีไว้สมมุติ สมมุติไว้เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์นี้ เพราะมันเป็นร่างกาย ร่างกายนี้มีไว้เพื่อไปทำงานของโลกเขา เพื่อทำงานดำรงชีวิตไง เพื่อเป็นการงานที่เราสืบต่อเป็นมนุษย์ เราอยู่ในโลกของโลก เราก็เหมือนกัน ความเหมือนนี้เป็นญาติของธรรม ญาติของธรรมก็ต้องแปรสภาพไป ญาติธรรมคือเกิดขึ้นกลับมาเป็นมนุษย์สมบัติเท่ากันทั้งหมด ความเสมอภาคของมนุษย์ มีความเสมอกัน การงานของร่างกายก็เป็นการงานของร่างกาย แต่ต้องใช้ความคิดไปด้วย

นี่มนุษย์มีกายกับใจ “กายกับใจ” การวิปัสสนา วิปัสสนาในหัวใจ วิปัสสนาใจหมายถึงว่า ความคิดที่เกิดขึ้นออกมา วิปัสสนาอยู่ภายใน นั้นร่างกายนี้เป็นธาตุ ๔ ความคิดนี้เป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับเป็นอารมณ์ อันนั้นน่ะมันหมุนเป็นขันธ์ ๕ แต่เราจับต้องไม่ได้ เราแยกไม่ได้ เราแยกความคิดเราไม่ได้ มันถึงคลุกเคล้าไปตลอด มันต้องแยกความคิดของเราออกเป็นส่วนๆไง ความคิดที่หมุนออกไปเราจะแยกเป็นส่วนๆ ว่าส่วนใด เป็นส่วนนึกคิด ส่วนใดเป็นส่วนนึกคิด

สัญญานี่เป็นความจำได้หมายรู้ก่อน สังขารปรุงแต่ง ความปรุงแต่ง วิญญาณรับรู้ วิญญาณนี่รับรู้ วิญญาณข้างนอกที่ว่าวิญญาณที่รับรู้ข้างนอก อันนั้นแสงสว่างส่องผ่านเข้ามาแล้ว เมื่อมันผ่านเข้ามามันถึงเป็นวิญญาณภายใน วิญญาณภายในวิญญาณรับรู้แล้วมันซึมซาบเป็นเนื้อเดียวกันไปพร้อมกับอาการนี้ทั้งหมดไง เวทนาเกิดขึ้น รับรู้ หมุนไป ความหมุนไปของอาการของใจ มันหมุนอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา แล้วพร้อมกับพญามาร

พญามารบังคับบัญชาสิ่งที่หมุนไปโดยธรรมชาติของมัน เพราะพญามารอาศัยสิ่งนี้เป็นเหยื่อหากินนะ พญามารอาศัยอยู่บนร่างกายของเรา อยู่บนหัวใจของเรา พญามารอาศัยอยู่บนหัวใจของเรา แล้วก็เอาอารมณ์ของเรานี้เป็นเหยื่อหาอาหารกินไง เอาอารมณ์ของเรานี่ไปโกรธ ไปโลภ ไปหลงเข้ามา พอไปโกรธ ไปโลภ ไปหลงเข้ามา เราก็โกรธ โลภ หลง เข้ามา เราว่าเราโกรธ โลภ หลง เพราะคนอื่นยุแหย่เรา คนอื่นทำเรา คนอื่นทำให้เราเจ็บปวด คนอื่นๆๆ

แต่พญามาร นั้นคือสมบัติ นั้นคืออาหารของพญามาร พญามารกินอารมณ์นั้นด้วยความสุขใจ ด้วยความพอใจ ความเจ็บปวดแสบร้อนยกไว้ให้เราที่เป็นเจ้าของหัวใจ เพราะมีความทุกข์อยู่ที่เรา แต่ความคิดอันนั้นมารพอใจมาก เพราะเป็นเหยื่อของเขา แล้วก็หมุนออกไปอยู่ตลอดเวลาอย่างนั้น

อตฺตา หิ อตฺตโนโถ เราต้องการชนะสิ่งนี้ไง เราต้องการชนะสิ่งนี้ เราถึงต้องใช้แสงสว่าง แสงสว่างคือสมาธิธรรม แสงสว่างยับยั้งสิ่งนี้ไว้ ยับยั้งสิ่งนี้ ย้อนกลับเข้าไป ย้อนกลับเข้าไปเห็น ความเห็นอันนั้นเห็นจากตาใน เห็นจากตาธรรม ตาธรรมจะเห็นได้ แต่ถ้าเป็นความคิดจากโลกียะ เป็นภายนอก มันก็เป็นการคาดคำนวณเท่านั้น การคาดการคำนวณหมายนี้ มันเป็นการคาดหมาย เป็นธรรมะด้นเดา เห็นไหม ศาสนาพอเกิดขึ้นมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้เลย

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนั้นจะไม่สิ้น ไม่ขาดวรรค ขาดตอนจากพระอรหันต์ เลย”

ผู้ใดปฏิบัติธรรมด้นเดาธรรม ความด้นเดาธรรม การคาดการหมายถ้ามันไม่ด้นเดาแล้วมันเป็นอะไร นี่สิ่งที่คาดหมายเพราะไม่เห็น ถ้าไม่เห็นเป็นการคาดการหมาย การคาดการหมายนั้นจะไม่เป็นธรรมขึ้นมาโดยปัจจุบันธรรม มันเป็นอดีตอนาคตโดยธรรมชาติของมันเลย การคาดการหมายไว้ มันเป็นชั่ววินาทีของการคาดการหมายนั้นมันก็เป็นอดีตไปแล้ว เป็นอนาคตไปแล้ว มันไม่เป็นปัจจุบัน นั่นน่ะ มันถึงว่า คิดขนาดไหน ปรุงขนาดไหน มันก็เป็นการคาดการหมาย

แต่ในเมื่อจิตสงบเข้ามาจนแสงสว่างส่องเข้าไปถึงใจ แล้วไปจับต้อง จับต้องนะ จับต้องจากใจจับใจ ต้องเอาใจจับใจ เอาสมาธิธรรม เอาสมาธิ วิริยอุตสาหะ จับเข้าไปตรงกลางหัวใจนั้น นี่เกิดขึ้นมาได้จากการเราค้นคว้า เราฝึกฝนของเราเองขึ้นมา นี่วิธีการที่เราจะทำให้ศาสนาเกิดในหัวใจของเรา เราต้องอาศัยของเราเอง เราทำขึ้นมาของเรา การเกิดของเรา เกิดที่จะไม่ตายอีกเลย การเกิดตาย เกิดตายนี้ก็เป็นบุญวาสนาที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ เจริญรุ่งเรืองมาก เพราะเจริญรุ่งเรือง จนเข้าถึงเนื้อของธรรมกันได้ไง ถ้าไม่เจริญรุ่งเรือง เราจะเข้าถึงแผนที่หลักของศาสนา คือการศึกษามาแล้วจดจำกันเข้ามา แล้วเอามาเป็นปรัชญาการดำรงชีวิต มันก็เป็นสิ่งที่ประเสริฐมหาศาลอยู่แล้ว

แต่ในเมื่อรุ่งเรือง จนหัวใจบากบั่น ฝ่าฝืนพญามาร จนใจนี้เข้าไปถึงจับต้องธรรมได้นี่มันจะมีความพอใจ มันจะมีความสุขใจขึ้นมา ความสุขใจว่า “เราเป็นคนหนึ่งที่จะข้ามพ้นจากสิ่งที่กีดขวางใจนี้ได้” นี่พอจับต้องอาการของใจอย่างนี้ ความอุ่น ความสุขใจมันจะเกิดขึ้นว่า เราเป็นคนหนึ่งผู้ปฏิบัติผู้นั้น ผู้ที่มีอาการของใจที่จับอาการของใจได้ นั่นน่ะ ผู้นั้นจะมีความอิ่มเอมใจอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งคือว่ามันจับต้องได้แล้ว มันจับต้อง มันแยกแยะออกมา จากที่ว่า ถ้ามันจับต้องอย่างนี้ไม่ได้มันก็เป็นการคาดการหมาย หมายถึงที่ว่ามันไม่มีที่เริ่มต้น

วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นมาได้จากการวิปัสสนากาย เวทนา จิต ธรรม วิปัสสนาจะเกิดขึ้นได้เราต้องมีเหตุมีผล ระหว่างเรื่องของมรรคเดินตัวไป มรรคจับอาการของใจแล้ววิเคราะห์วิจัยในอาการนั้น วิเคราะห์วิจัยในกลางหัวใจในกลางสิ่งที่ตั้งมั่นที่ใจตั้งมั่นนั้น ใจตั้งมั่นนั้น นั่นเป็นโรงงาน เป็นสิ่งที่การต่อสู้กับกิเลสกับธรรม ต่อสู้กันอยู่ที่นั่น นี่เราก็ตั้งมั่นเข้าไปแล้ววิเคราะห์วิจัย วิเคราะห์วิจัยเข้าไป

การวิเคราะห์วิจัยนั้นคือการจับต้องแล้วแยกออก แยกอาการของใจให้ออกเป็นส่วนๆ ไป มันจะแยกออกจากกัน สิ่งที่แยกออกจากกันมันจะเคลื่อนไปไม่ได้ สิ่งที่รวมตัวกันมันเป็นสิ่งที่รวมตัวอาศัยเนื่องกัน สิ่งที่อาศัยเนื่องกันมันส่งต่อกัน ความส่งต่อกันนั้นคืออารมณ์ อารมณ์สิ่งนั้นเป็นเหยื่อของกิเลส เป็นเหยื่อของพญามารที่อาศัยสิ่งนั้นเป็นอาหารของมัน

ธรรมนี้ เข้าไปแยกแยะออกมา แยกแยะสิ่งที่จะคิดคำนวณออกไปให้เป็นสิ่งที่แยกออกๆ สิ่งที่แยกคือการตัดตอน การตัดตอนให้ความก้าวเดินออกไปของมารที่ออก จะไปกินเหยื่อกินไม่ได้ เห็นไหม การตัดตอน แค่ตัดตอนนี้เราก็จะเห็นความมหัศจรรย์ของการวิปัสสนาเกิดขึ้นไปในหัวใจตลอดเวลา ใจนี้จะมหัศจรรย์ขึ้นไปเรื่อย ขึ้นไปเรื่อย เพราะอะไร

เพราะว่าแสงสว่างที่ส่องเข้ามานั้นเป็นแสงสว่างที่ส่องเข้ามาให้มีความสุขใจ มีความตั้งมั่น แต่แสงสว่างจากความเข้าใจ ปัญญาญาณเกิดขึ้น ปัญญาญาณเกิดขึ้นพร้อมกับสมาธิที่มันปล่อยวางเข้ามา นั่นน่ะ มันจะมีความสุขมากขึ้น นี่ความมหัศจรรย์เกิดจากตรงนี้ไง เกิดจากตรงที่เราเข้าไปสัมผัสกับสิ่งที่เป็นความจริงบนหัวใจของเรา สิ่งที่หัวใจจับต้องได้แล้วแยกออก สลัดออก ทิ้งออกไป แล้วจนปล่อยว่างออกไป อันนั้นมันยิ่งสว่างไสว

ความสว่างไสว จิตมันมหัศจรรย์ขึ้นมาอีกนะ มหัศจรรย์ว่า “โอ้! มันสว่างขนาดนี้ จิตของเราทำไมมันมหัศจรรย์ขนาดนี้” มหัศจรรย์เพราะมันเป็นมหัศจรรย์โดยธรรมชาติของมัน เพียงแต่พวกเราลืมกัน มองข้ามกัน ไม่เคยเอาสิ่งนั้นมาเป็นเครื่องที่เอามาเป็นจุดวิเคราะห์วิจัย หรือว่าเป็นจุดที่ว่าความสำคัญของเราอยู่ตรงนี้ไง ความสำคัญของเราอยู่ที่หัวใจในร่างของมนุษย์นี้ เพราะมนุษย์นี้มันต้องตายไป แล้วจิตนี้อาศัยร่างนี้ก็ต้องตายไป

แต่ในเมื่อถ้าได้วิปัสสนาแล้ว เกิดแล้วไม่มีวันตาย เกิดเป็นศิษย์ตถาคตไง เกิดมาเป็นลูกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดมาเข้าถึงธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานไว้ เกิดเข้าไปเรื่อยๆๆ จนถึงเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นเอโกธัมโม การเกิดเกิดขึ้น เริ่มต้น

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องแปรสภาพทั้งหมด”

แล้วอารมณ์ที่เกิดขึ้นในหัวใจเป็นสายๆ อยู่นี้ มันไม่เป็นสิ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่หรือ มันเกิดมันดับอยู่กลางหัวใจวันหนึ่งนี่ไม่รู้ นับครั้งไม่ได้ แล้วทำไมเราไม่เห็นความแปรปรวนในใจของเรา

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องแปรสภาพทั้งหมด สิ่งใดที่แปรสภาพทั้งหมด สิ่งใดที่ไม่คงที่ สิ่งนั้นเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นต้องเป็นทุกข์ สิ่งใดที่เป็นทุกข์ สิ่งนั้นต้องเป็นอนัตตา นี่ไตรลักษณะ มันเป็นความจริง สัจจะความจริง คงที่คงวามาแต่ครั้งไหน

ธรรมะนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม โดยธรรมชาติของธรรมะก็มีอยู่ดั้งเดิม แต่มันละเอียดลึกซึ้งอยู่ในหัวใจขึ้นมา อยู่ในหัวใจจนเราจับต้องไม่ได้ แต่เราเห็นแต่สิ่งที่แปรสภาพอยู่ภายนอกไง สิ่งที่แปรสภาพอยู่ภายนอกเราเห็นกันทั้งนั้นนะ สิ่งนั้นก็แปรสภาพ สิ่งนั้นก็แปรสภาพ...

(เทปขัดข้อง)

...เหมือนกัน อยู่ข้างนอก คือวัตถุที่ตาไปเห็นไง พอตาไปเห็น...

(เทปขัดข้อง)

...การส่งออกจะแคนนอนเข้ามาถึงภายใน

ถ้าใจเป็นธรรม มองสิ่งใดก็เป็นธรรม ความเป็นธรรม คือมันจะเข้ามาเปรียบเทียบ เราจะย้อนกลับเข้ามาเทียบในใจทันทีเลย เข้ามาเทียบ สิ่งนั้นมีคุณหรือมีโทษ สิ่งนั้นผิดหรือสิ่งนั้นถูก นี่ถ้าใจนั้นมีพื้นฐานของธรรม มันจะมองแล้วจะย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามา

แต่เริ่มต้นเข้ามา เราดูข้างนอกก่อน เราดูข้างนอกเข้ามามันก็สงบเข้ามาเป็นสมาธิเฉยๆ นี่กายนอก-กายใน แต่ในเมื่อเห็นกายในแล้ว กายในคือเห็นอาการของขันธ์แล้วมันหมุนไป ทีนี้ อาการของขันธ์หมุนไป อาการของวิปัสสนาตามเข้าไป ตามเข้าไป นี่มันเห็นความแปรสภาพของมันโดยธรรมชาติของมัน มันอนิจจังโดยธรรมชาติของมัน มันเกิดดับ เกิดดับของมัน มันอยู่ได้เพราะอะไรล่ะ มันอยู่ได้เพราะความยึดมั่นถือมั่น มันอยู่ได้เพราะความไม่รู้ไง

นั่นปัญญาเข้าไปแยกต่อหน้า พอแยกต่อหน้ามันก็ดับ มันเหมือนกับสิ่งที่อยู่บนมือของเรานะ เราพิสูจน์กันบนมือ เห็นจะๆ ต่อหน้าต่อตานะ แล้วมันจะไม่ทิ้งสะบัดมือทิ้งไปได้อย่างไร

นี่ในธรรมถึงบอกไง เหมือนกับเราจับงูขึ้นมา เราเข้าใจว่าเป็นปลาไหล พอลืมตาขึ้นมาดู นี่มันงูเห่า มันกัดตายนะ สลัดทิ้งทันทีเลย นี่เหมือนกัน วิปัสสนาเห็นต่อหน้าต่อตา อันนี้มันเป็นโทษ อันนั้นทำให้เราลุ่มหลงมา อันนี้ทำให้เราเกิดตายมาตลอดไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ อันนี้ต่างหากที่ทำให้เรามีความทุกข์ นี่วิปัสสนาแล้วมันก็แยก แยก ความแยกนี่มันปล่อย ปล่อยขาดออกไปเลย พอปล่อยขาดออกไป ขันธ์นี้เป็นขันธ์ ขันธ์ ๕ นี่เป็นขันธ์ ๕ จิตนี้เป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันจะแยกออกจากกันโดยความจริง โดยสัจจะความจริง ขันธ์นี้แยกออกไป

ขันธ์นี้คืออารมณ์ อารมณ์ที่มันเกิดขึ้นนี่มันแยกออกไปเป็นอีกส่วนหนึ่ง แต่เดิมอารมณ์กับเราเป็นอันเดียวกัน พอมันแยกออกไปทำไมอารมณ์ไปตั้งอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นไหม ขันธ์ ๕ เป็นอีกส่วนหนึ่ง ความให้ค่าทุกข์ ทุกข์เป็นส่วนหนึ่ง แล้วจิตของเราหลุดออกไป ความหลุดออกไปอันนี้มันยิ่งเวิ้งว้างเข้าไปใหญ่ นี่ดวงตาเห็นธรรม

เห็นจริงๆ เห็นธรรม ปล่อยธรรม เห็นแล้วปล่อยวางไว้ตามความเป็นจริง ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ นี่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องสลาย สิ่งนั้นสลายออกเป็นธรรมดา สิ่งนี้เป็นธรรมดาแล้ว แล้วยังปล่อยวางไว้เป็นธรรมดาอีก เห็นไหม นี่ใจที่เห็นโทษจริง สว่างไสวจนเห็นพญามาร เห็นลูกหลานของพญามารมันปล่อยออกไป ความปล่อยออกไป อันนั้น อันใจดวงนั้นมันก็สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาส่วนหนึ่ง นี่ใจนั้นสะอาดขึ้นมาส่วนหนึ่ง มีธรรมในใจส่วนหนึ่ง

นี่มันยังต้องก้าวเดินๆ ก้าวเดินๆ ไปเรื่อยๆ ก้าวเดินไปจนถึงกับว่าไปจำกัด ถึงที่สุดแล้วมันจะหยุดอยู่คงที่ไปตลอด คงที่ของใจดวงนั้นไง แต่ต้องอาศัยสิ่งที่ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องแปรสภาพทั้งหมด สิ่งที่แปรสภาพทั้งหมดควรยึดหรือไม่ควรยึด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์อนัตตลักขณสูตร

“ขันธ์ ๕ นี้มันเป็นเราหรือไม่เป็นเรา” ถามปัญจวัคคีย์

“ไม่ใช่พระเจ้าค่ะ”

“สิ่งที่ไม่ใช่เรา ควรยึดหรือไม่ควรยึด”

“ไม่ควรยึดเลย”

“แล้วไม่ควรยึดทำไมไม่ปล่อย”

แต่เพราะเราไม่รู้ มันไม่รู้เพราะเราไม่เห็น มันต้องเห็น เห็นขึ้นมาแล้วเราต้องใคร่ครวญไปตามหลักความจริงอันนั้น นี่เพราะเราศึกษากันมา เรารู้อย่างนี้พอเข้าไปสัมผัสปั๊บ เราว่าเราจะปล่อยทันที จะสัมผัสแล้วปล่อยเลย สัมผัสเข้าไปสัมผัส ความสัมผัสอันนี้มันเป็นการสัมผัสอาการของใจ การสัมผัสอาการของใจยังไม่เกิดเห็นอาการใจ

“อาการของใจ” กับ “ใจ” ฟังดูสิ “อาการของใจ” ดูเวลาอารมณ์เราเกิดขึ้นมานี่อาการของใจ อาการของใจ เวลาโกรธก็รู้ว่าโกรธ เวลาหลงไปนี่แทบไม่รู้เลยว่าหลง ไม่รู้นะว่าหลง จนกว่าจะเข้าใจตามความเป็นจริงว่า อ้อ! นี่หลง พึ่งรู้ว่าหลงมาเอง หลงเพราะรู้ว่าถูกผิด ถึงจะรู้ว่าหลง นั่นน่ะ อาการของใจ

แต่ตัวที่ว่า สิ่งที่โกรธกับหลงมันเกิดมาจากไหน? นั้นคือตัวใจ คือตัวใจ

ใจนี้โดยธรรมชาติของมัน นี่มันหน้าสงสารนะ ธรรมชาติของใจอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้เลย ต้องเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ตลอดไป ต้องเกาะเกี่ยวอารมณ์ถึงอาการมันจะแสดงตัวออกมา นี่มันถึงต้องอาศัยพวกเราทำความสงบเข้าไปไง ทำความสงบเข้าไป ไม่ต้องมีอารมณ์ก็เป็นรูปร่างของจิตขึ้นมาได้ นี่ก็ควรแก่การงาน หมุนออกไป หมุนออกไป

อันนี้ก็เหมือนกัน แม้แต่จะเห็นธรรม ปล่อยธรรม วางธรรมไว้ตามความเป็นจริงส่วนหนึ่ง แต่ทุกข์มันยังมีอยู่ ขันธ์นอกขาดออกไป แล้วขันธ์ในล่ะ? ขันธ์นอกขาดออกไปยังมีขันธ์ใน นี่เวทนานอก-เวทนาใน-เวทนาในเวทนา เห็นไหม นี่ขาดออกไป อาการของกายนี่หลุดออกไป มันปล่อยวางกายไว้ตามความเป็นจริง ใจก็เป็นใจ กายก็เป็นกาย เก้อๆ เขินๆ กันอยู่พักหนึ่งเท่านั้นเอง แต่เสร็จแล้วก็สมานมาเป็นเนื้อเดียวกันอย่างเดิม อย่างเดิมเพราะอะไร เพราะยังมีชีวิตอยู่

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วตั้งแต่วันนี้ วันวิสาขบูชา ก็ยังสั่งสอนโลกมาอีก ๔๕ ปี เอาอะไรสั่งสอน? ก็กายกับใจนี้ยังอยู่

เวลาปรินิพพานก็ว่าเอาธรรมไปด้วย

กิเลสเวลามันคิด มันคิดเรื่องของกิเลส มันคิดเอาเข้าข้างตัวมันเองนะ เวลาสงสัย สงสัยว่า แล้วมันเป็นอย่างไร เวลาพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแล้วเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าปรินิพพานก็ยังว่าจะเอาธรรมไปอีก คือว่าหมดเขตหมดสมัยไง พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว พระอรหันต์สมัยพุทธกาลนิพพานไปแล้วจะไม่มี ธรรมไม่มี นั้นเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ปรินิพพานไป

แต่อาการของใจ ความทุกข์ในใจทุกดวงใจมีอยู่ เห็นไหม ธรรมะก็ต้องมีอยู่ เข้ามาแก้ทุกข์อันนี้ในใจดวงนั้น ถ้ากิเลสพาวิเคราะห์วิจัย กิเลสนี้จะให้หาแต่เรื่องขวากเรื่องหนามมากั้นไม่ให้ตัวเองเดินช่องทางไปไม่ได้ จะให้ล้มลุกคลุกคลานไง ให้คิดอยู่แต่ในวงอำนาจของเขา ให้คิดแต่บ่วงอำนาจของมาร แล้วก็เกิดแต่ยาพิษขึ้นมา ให้ได้ตัวเองหลงใหลไปในความคิดของตัวเอง นั่นน่ะ มารมีเท่านั้น แต่เป็นใหม่สดร้อนๆ ตลอดเวลานะ ความคิดใหม่ สด ร้อนๆ ตลอดเวลา แต่เวลาทำไปแล้วมีเท่านี้

ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัย โลกนี้เขาหากัน หาแค่ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัยนี้เท่านั้น อย่างอื่นจะมีอะไรมาเกินปัจจัย ๔ มันก็แค่ส่วนเกินของโลก แต่ส่วนที่เป็นความจริงในโลกนี้อาศัยกันก็ปัจจัย ๔ ก็วิ่งหากัน ปัจจัย ๔ ตั้งสมัยพุทธกาลก็วิ่งหาปัจจัย ๔ สมัยปัจจุบันนี้ก็วิ่งหาปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ ทั้งนั้น อย่างอื่นส่วนเกิน ถึงว่า สิ่งที่สำคัญกับชีวิตที่ดำรงชีวิตได้นั้นคือปัจจัย ๔ แล้วเราก็ลุ่มหลงอยู่ในสิ่งนั้น

มันเกิดขึ้นมา มันใหม่-ไม่ใหม่? ความคิดนี้ใหม่ เพราะเวลาคิดขึ้นมาแล้วมันก็ต้องหมุนออกไป ยึดมั่นถือมั่นออกไป แต่เราหมุนกลับมา นี่ทวนกระแส ธรรมะนี้ทวนกระแส กระแสของโลกหมุนไปตามกระแส บุญกุศลที่เราสร้างมาเป็นอามิสบูชานั้นก็เป็นไปตามกระแส บุญสิ่งที่ตามกระแสไปก็เวียนไป เวียนไปตามกระแส ชีวิตนี้ก็เวียนไปตามกระแส เวียนไปมาจนเวียนไปๆ จนเราวนกลับมา นี่ด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่เราสร้างมา เราต้องสร้างมา ถ้าเราไม่สร้างมาเราไม่พบพระพุทธศาสนาหรอก ดูในประชากรโลกเขามีเท่าไร ในศาสนาพุทธมีเท่าไร แล้วในศาสนาพุทธที่ออกมาประพฤติปฏิบัตินี้มีเท่าไร

เพราะการออกมาประพฤติปฏิบัตินี้มันต้องทุ่มแรงกายแรงใจ แรงของกาย กรรมกรแบกหามเขาก็แบกหามกันไปอย่างนั้น เขาด้วยความชินของเขา เขาแบกหามไปตลอด แต่แรงใจ แรงของใจ แม้แต่กิริยาจะนุ่มนวลขนาดไหน ถ้ากำลังใจเข้มแข็งขึ้นมา ต้องมีกำลังใจเข้มแข็ง นั่งทีหนึ่ง จะกี่ชั่วโมงนี่ต้องกำหนดของเรา ต้องมีสัจจะเราขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา นี่กำลังใจ การประพฤติปฏิบัติมันถึงต้องอาศัยทั้งกาย กายที่ไม่วิกลวิการ อาศัยทั้งหัวใจที่เข้มแข็ง

เพราะว่าการเป็นนามธรรม สิ่งที่จับต้องได้ยากมันละเอียดจนจับต้องไม่ได้เลย แล้วเราค่อยๆ เคาะ ค่อยๆ เข้าไปจับ เข้าไปต้อง เห็นไหม ต้องอาศัยเวลา เราถึงต้องยอมให้เวลากับตัวเองบ้าง ให้เวลาคือว่ามีเวลาขึ้นมาจะได้ประพฤติปฏิบัติไปเรื่อยๆ ถ้ากำหนดว่า เมื่อนั้นๆ ความกำหนดอันนั้นมันดีอย่างหนึ่ง ดีที่ว่ามีเป้าหมาย แต่มันก็ว่าถึงจุดนั้นแล้วเราไม่ได้สมปรารถนา มันก็จะทำให้เราเลิกจากการประพฤติปฏิบัติไป ถึงว่า มีเวลา ต้องให้เวลาตัวเอง ให้เวลาตัวเอง เพราะเราเข้ามาเจอสิ่งนี้แล้ว

อำนาจของใจ อำนาจของกำลังใจวนกลับมาๆ นี่ทวนกระแสเข้าไป ทวนกระแสเข้าไปในกลางหัวใจ สิ่งที่มันแยกออกไปนั้นมันเป็นอาการส่วนหนึ่ง ระหว่างกายกับใจที่มันเคยธรรมชาติ ธรรมชาติที่มันเกาะเกี่ยวโดยธรรมชาติของมัน ด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน เหนือธรรมชาติ ได้ทำลายธรรมที่มันเคยเป็นสัจจะเป็นความจริง แยกออกจากกันเป็นอริสระเสรี จริงสุดส่วนของใจ จริงสุดส่วนของขันธ์ จริงสุดส่วนของทุกข์ แยกออกจากกันโดยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเกิดขึ้นจากใจของผู้ปฏิบัตินั้นตามความเป็นจริง แยกออกตามความเป็นจริง เห็นไหม พอความจริงสุดส่วนมันก็แยกออกสุดส่วน แต่ในกำลังใจนั้นก็หมุนเวียนขึ้นไป

การหมุนวนเข้าไปจะหมุนเข้าไปถึงกลางอำนาจของพญามาร อันนี้มันวนเข้าไป ความสว่าง ความสว่างไสวของใจ นี่จิตนี้โดนปกคลุมไปด้วยขันธ์ มันยังไม่สว่างไสวโดยธรรมชาติของมัน เพราะขันธ์ในขันธ์ ขันธ์ส่วนละเอียดมันยังปกคลุมอยู่ วิปัสสนาไป วิปัสสนาว่าความยึดมั่นถือมั่นของใจที่ไปเกาะเกี่ยวกับกายนี่มันอาศัยอุปาทานผ่านไปนี้ มันใช้อะไรผ่านออกไป

เพราะว่านี้มันเป็นช่องทางหากินของพญามารใช่ไหม มารหากินอยู่สิ่งนี้ นี่คือกิเลส กิเลสหากินอยู่กับเรื่องโลภ โกรธ หลง เรื่องความลุ่มหลง เรื่องความไม่รู้ เรื่องอวิชชา ถึงเป็นไปตามกระแสของใจที่พุ่งออกมา นี่ถึงขันธ์ข้างนอกขาดออกไปมันก็ยังต้องอาศัยกิน เพราะเขายังมีชีวิตอยู่ในหัวใจ เขายังไม่ได้โดนจำกัดออกไปจากใจ เขาก็ต้องทำตามหน้าที่ของเขา นี้คืองานของเขาไง

งานของอกุศล ความเป็นอกุศล ความเป็น “อะ” คือความไม่รู้เท่าในหัวใจนั้น มันทำงานของมันโดยธรรมชาติของมัน การทำงานธรรมชาติของกิเลสของฝ่ายมารในหัวใจนั้นมันก็สร้างความทุกข์ไง ความทุกข์ที่ตกตะกอนไปในหัวใจของเรา มันต้องคายสิ่งที่ว่า คล้ายว่า คายขี้ของที่มันกินเหยื่อเข้าไปแล้ว รดไว้ในหัวใจของเรา มันก็มีแต่ความรุ่มร้อนในใจ

ต้องหมุนกลับมา หมุนกลับมาวิปัสสนาเข้าไปอีก นี่ผู้ที่วิปัสสนามันถึงจะเห็นโทษ ความเห็นโทษ เห็นโทษเพราะว่าเห็นทุกข์ เห็นทุกข์เพราะเราจับต้องทุกข์นั้นได้ เราจับต้องทุกข์นั้นได้เราถึงจับวิปัสสนาได้ ถ้าเราจับต้องทุกข์นั้นไม่ได้ การจับต้องทุกข์นั้นไม่ได้คือจำกัดเรื่องของกิเลส เรื่องของพญามารไม่ได้ เราจับกิเลสไม่ได้ เราจับฝ่ายจำเลยไม่ได้ เราจับผู้ทุจริตไม่ได้ เราจะไปตัดสินได้อย่างไรว่าใครทุจริตหรือใครไม่ทุจริต

นั้นถ้าเราเดินวิปัสสนาไปหรือเราหมุนใจของเรา ทำความสงบเข้าไป มันไปพร้อมกับพญามาร พร้อมกับกิเลสไปพร้อมเรา ฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติของเราถึงได้ลุ่มๆ ดอนๆ เพราะเวลาเราทำปฏิบัติธรรมอยู่นี้ กิเลสมันก็อยู่ในท่ามกลางในหัวใจของเรา มันก็ปฏิบัติธรรมกับเราด้วย แต่เพราะเราเชื่อธรรม เพราะหัวใจเรายึดมั่น หัวใจเราเข้มแข็ง หัวใจเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนเราเชื่อยา

เรากินยา ยาขมขนาดไหนเราก็ฝืนใจกิน ฝืนใจกิน เพราะรู้ว่ายานี้จะไปทำให้โรคเราหายได้ นี้เหมือนกัน ประพฤติปฏิบัติเจ็บแข้งเจ็บขา มันจะป่วยขนาดไหนเราก็ฝืนทน นี่คือฝ่ายธรรม ฝ่ายธรรมเข้าไป กิเลสที่ปฏิบัติกับเราด้วยมันก็ต้องเปิดช่องให้ธรรมนี้เจริญขึ้นมาได้ พอธรรมเจริญขึ้นมาได้ อำนาจของธรรมเจริญขึ้นมา เจริญขึ้นมาแล้วยังต้องกลับเข้ามาค้นคว้าหาทุกข์อันนี้อีกนะ ทุกข์ที่มันเกิดขึ้นมานี้ก็ทุกข์อย่างที่เราว่าเมื่อกี้ เราไปอยากหาย ไปอยากไม่ให้เป็นไป เราไปอยากก็ตัณหาอีกล่ะ เราไม่ได้จับตัวของทุกข์ได้ เพราะใจเราไม่มั่นคงพอ

ถ้าใจเรามั่นคงพอ เหมือนใจเรามีหลักพอ ใจเรามีหลักพอ เราทำสมาธิแสงสว่างนั้นพอ แสงสว่างนั้นพอมันก็จับอาการทุกข์นี้ได้ จับอาการทุกข์ได้มันก็สาวไปหาเหตุ สาวไปสมุทัยนั่นน่ะ ต้องจับอาการทุกข์แล้วแยกออก แยกออก แยกออก แยกอะไรออก?

แยกความมั่นหมาย ความยึดมั่นถือมั่น แยกความที่จะให้มันเป็นไปตามสิ่งที่เราพอใจไง สิ่งนี้เกิดขึ้นมาแล้วเจ็บปวด ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย อยากให้หายไปไวๆ สิ่งที่เย็น พอใจ อบอุ่นเข้ามาอยากให้อยู่กับเรานานๆ ตัณหา-วิภวตัณหา แล้วถ้าไม่เกิด วิภวตัณหา ยังอุเบกขาอีกล่ะ อุเบกขาความอยู่เฉยๆ นี่นะ

ถ้าเรานอนใจ เราประพฤติปฏิบัติ เรานั่งอยู่ เรานอนใจ คิดว่า วันนี้เรามีกำลังใจมาก เราตั้งใจดีมันจะอยู่ได้นาน เดี๋ยวเถอะ นี่เพราะเราไม่มุมานะ เรานอนใจ ความนอนใจนี่มันอยู่ที่ว่า สิ่งของใจ ในอำนาจของกิเลสมันทำได้ ทำให้ลุ่มหลง ทำให้เป็นไป นี่เพราะอำนาจของกิเลสปกคลุมใจอยู่

เราประพฤติปฏิบัติก็ต่อสู้กับกิเลส ๑ ยังต่อสู้กับอะไร แม่ไม้หรือว่าเล่ห์เหลี่ยมของมันในการที่ว่าเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ของเรา เกิดขึ้นพร้อมกับที่ว่าเราวิปัสสนาอยู่นี่ไง ถึงว่าวิปัสสนา ถ้าถูกต้อง หลักความเป็นจริง สติสัมปชัญญะ สมาธิพร้อม สมาธิ สัมมาสมาธิ-สัมมาสติ สติ-สมาธิ พร้อมหมุนออกไปมันก็เป็นปัญญา มันเป็นปัญญา ความคิดสังขารปรุงแต่งนี่แหละ ถ้ามีสมาธิเข้าไปมันเป็นปัญญา

แต่ถ้ามันคิดตามตัวมันเอง หรืออิสระของมันเอง นั้นคือกิเลสล้วนๆ เลย นั่นน่ะ มารพาคิด กิเลสพาคิด วิปัสสนามันถึงมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งวิปัสสนาแล้วมันจะได้ผล ได้ผลคือว่ามันปล่อย ถ้าวิปัสสนานี้ ธรรมจักรนี้หมุนไปมันจะปล่อย ปล่อยหมายถึงว่า มันเข้าใจ เห็นจะๆ แล้วปล่อยออก ปล่อยออก แต่ถ้ามันคิดหมุนไป มันหมุนออกไปเหมือนกัน แต่มันไม่ปล่อย ความคิดนี่หมุนไป เราเข้าใจว่านี่เป็นวิปัสสนา แต่มันหมุนไปพร้อมกลับกิเลสมันพาคิดไปด้วย เห็นไหม เล่ห์เหลี่ยมของมันในขณะที่เราประพฤติปฏิบัติ เล่ห์เหลี่ยมของกิเลส

กิเลสอยู่กับเรา ไปกับเราพร้อมกัน เพราะมันเกิดมา มันพาเราเกิดมา เราอยู่กับมัน มันอยู่หลังความคิดเราอีกต่างหาก แต่เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นถึงส่องเห็นหน้ามัน พอส่องเห็นหน้าก็จับมันได้ นี่ถ้าจับได้ถึงเป็นวิปัสสนา ถ้าจับไม่ได้ หมุนออกไปนั้น หมุนไปเราว่าเป็นวิปัสสนา มันเป็นแค่ทำความสงบเท่านั้น ทำความสงบแล้วเป็นเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสทำให้เราเนิ่นช้าไปด้วย

วิปัสสนาไปจนเห็นกายกับจิตนี้แยกออกจากกัน แยกออกจากกันอีก เห็นไหม ความแยกออกจากกัน ทีนี้กลายเป็นใจล้วนๆ มันปล่อยสุขมาก ความสุข นี่ใจล้วนๆ ก็ขันธ์ล้วนๆ ใจล้วนๆ ใจล้วนๆ เลย เพราะมันปล่อยกาย การปล่อยกายคราวนี้ปล่อยโดยสัจจะความจริง เพราะกายกับใจแยกออกจากกันแล้ว มนุษย์เรามีกายกับใจสมานเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ในเมื่อธรรมนี้แยกออก แยกออก จนใจเป็นใจเฉยๆ พิจารณาใจนี่แหละ แต่มันปล่อยกายออกมา จนกายนี้หลุดออกไป เห็นตามความเป็นจริง ทีนี้การวิปัสสนา วิปัสสนาใจ ใจวิปัสสนาใจ มันยิ่งละเอียดเข้าไป

มันถึงว่า มหัศจรรย์ธรรม ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะมหัศจรรย์ตัวเองนะ มหัศจรรย์ธรรมะของพระพุทธเจ้ายังไม่พอ ยังมหัศจรรย์ตัวเองว่า

“สิ่งนี้รู้ได้อย่างไรหนอ สิ่งนี้รู้ได้อย่างไรหนอ แต่ก่อนก็ว่าฉลาดมาก เป็นผู้มีปัญญาทางโลกประกอบอาชีพ ทำงานนี้ทำงานมาประสบความสำเร็จมามากมาย”

อันนั้นปัจจัย ๔ ใครก็ทำได้ แต่ธรรมในหัวใจของเรานี่ ผู้ใดปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม มันมหัศจรรย์ตัวเองเข้าไปตลอด นี่จิตนี้สงบเข้าไป เส้นทางการหากินหาเหยื่อของกิเลส กิเลสมันหากินของเหยื่อ มันก้าวตามออกไปจากหัวใจที่เป็นตอของจิต มันหมุนออกมาจากขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ของจิตนี้ แล้วก็หมุนออกไประหว่างกายกับจิต หมุนออกไป นี่เส้นทางหากิน เส้นทางหาเหยื่อของพญามาร เราตัดเส้นทางของมันสั้นเข้ามาไง

มันมีเมืองขึ้น ๔ เมืองขึ้น เราทำลายเมืองขึ้น เราให้เป็นไทไปแล้ว ๒ เมืองขึ้น ๒ เมืองขึ้นเส้นทางการคมนาคมของเขาก็ต้องสั้นเข้ามา ความสั้นเข้ามานี่ สั้นเข้ามา ระยะสั้น ระยะที่จับต้องได้ยาก นี่เราต้องตั้งสติเพิ่มมากขึ้น เพราะว่ามันมาเร็วไปเร็ว

สิ่งที่มาเร็วไปเร็ว กับสิ่งที่มาจากธรรมชาติ ธรรมชาติกับธรรมชาติทันกัน จนธรรมนี้เหนือธรรมชาติ ปล่อยธรรมชาติไว้ตามความเป็นจริงเข้ามา แต่สิ่งที่มันระยะสั้นเข้ามา เราต้องตั้งสติเพิ่มขึ้นไป ฝึกเข้าไปเรื่อยๆ ฝึกสติเข้าไปเรื่อยๆ ฝึกเข้าไปเรื่อยๆ ทำใจให้สงบเข้าไป การจะค้นคว้าการจะจับต้อง นี่จับต้องตัวทุกข์อันนี้ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ความยากเข้าไปใหญ่ อันนั้นปล่อยไว้ถึงกาลเวลาแล้วมันจะเป็นไปเอง นี่ธรรมมันจะเกิดขึ้น

ความเกิดขึ้น ความยาก ความง่าย มันก็อยู่ที่อำนาจวาสนา วาสนาบารมีด้วย นี่ผู้ใดปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ผู้ใดปฏิบัติยากรู้ยาก ผู้ใดปฏิบัติยากรู้ง่าย ปฏิบัติง่ายรู้ยาก ปฏิบัติง่ายๆ แต่ต้องอาศัยเวลานานๆ เพราะมันรู้ยาก นี่มันเป็นเพราะเราทำบุญกุศลกันมา ต้องอาศัยบุญกุศลนะ บุญและกุศล บุญกุศลนะ บุญเป็นปัญญาไง บุญกุศลนี้ เกิดให้เราคิด เราใคร่ควร เราฉุกคิด ความฉุกคิดอันนี้มันเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ เขามองสิ่งใดๆ เขาจะฉุกคิดให้เป็นเหตุเป็นผลขึ้นมา

ความฉุกคิดในใจ ใจที่มันหมุนออกไป หรือสิ่งที่เกิดดับในหัวใจ สิ่งที่เกิดดับคือทุกข์ คือทุกข์นั่นแหละ ทุกข์นี้แบ่งได้ไปอีก ทุกข์นี้แบ่งได้เป็นละเอียด เป็นหยาบขึ้นไปอีก ทุกข์ที่เกิดขึ้นในกลางหัวใจ นั่นน่ะ มันจับได้ สิ่งที่จับได้ พอมันจับอาการของใจ เพราะเราฝึกฝนเรื่อยๆ เราพิจารณาบ่อยๆ เราพยายามเทียบเคียงหาเหตุหาผล

สิ่งที่เกิดขึ้นมันแยบมา ต้องจับต้องได้ ความจับต้องได้ อาการ นี่ขันธ์ภายใน ฟังสิ ขันธ์ภายในนะ ขันธ์ของใจ ไม่ใช่ว่าขันธ์ภายนอก ขันธ์ภายในแล้ว นี่เพราะอาศัยว่าเราใคร่ควรอยู่บ่อย เพราะอันนี้มันเป็นมหาสติ จากสติปัญญา มันมหัศจรรย์ตัวเอง มหัศจรรย์หลายชั้นหลายตอน จากสติปัญญา สติปัญญาที่เราใคร่ควรเข้ามา จนมันเป็นสิ่งที่แยบออกมาจากใจ แล้วใจจับได้

แต่เดิมขึ้นมา อาการของใจก็ไม่รู้ ความเป็นไปของอารมณ์ก็ไม่รู้ แล้วมันปล่อยมา ปล่อยนั้นเข้ามา ปล่อยเข้ามา มันปล่อยมันก็เห็นเข้ามาสิ ระยะห่าง-ระยะแคบขนาดไหนมันก็รู้ กำหนดใจของตัวเองได้ สิ่งที่เป็นวัตถุมันก็ปล่อยออกไปเรื่อยๆ ปล่อยออกไปเรื่อยๆ สิ่งที่ปล่อยแล้วมันก็หมดปัญหากันไป

สิ่งที่ไม่ปล่อยนี้มันก็ให้ผลเป็นทุกข์ มันคายตัวออกมาเป็นความร้อน พลังงานคายตัวออกมาเป็นความร้อนให้ใจนี้วูบวาบอยู่ตลอดเวลา แล้ววูบวาบไม่วูบวาบเปล่านะ วูบวาบตรงนี้ทำให้เกิดในครรภ์ของมารดาอีกต่างหากด้วย วูบวาบไป วูบวาบไปเพราะว่ามันทำให้เกิด เกิดภพเกิดชาติไง ความเกิดยังเกิดอยู่ เพราะใจดวงนี้ยังเกิดอยู่ พระอริยบุคคลเป็นพระอริยบุคคลขึ้นมา แต่ถ้ายังไม่ถึงที่สุด พระอริยบุคคลตายแล้วเกิด ก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นเทวดาพระอริยบุคคล ฉะนั้นในเทวดาก็ยังมีเทวดาพระอริยบุคคลกับเทวดาปุถุชน

ระหว่างการปฏิบัติของเรานี้ไม่ใช่ว่ามันจะสิ้นสุดในชาติหนึ่งก็ได้ มันจะไม่สิ้นสุดก็ได้ ถ้ามันไม่สิ้นสุดแล้วแต่วาสนาบารมี นี่ถ้าวาสนาบารมีไม่ถึง มันไม่สามารถจะเข้า ไม่มีความฉุกคิดอันนี้ ไม่มีญาณหยั่งหันกลับมาไง ไม่มีเรดาร์หันกลับไปค้นคว้าความคิดภายใน ความคิดภายใน

ความคิดภายนอก เป็นความคิดที่ว่าผ่านออกมา หลายซับหลายซ้อน

ความคิดภายใน นี่มันอุ่นกินอยู่ข้างใน ตัวนี้ตัวให้หลง ตัวหลงคือว่าตัวที่ไม่รู้ไง ตัวหลงคือตัวอาการของใจที่มันให้ค่า มันถึงหยุดออกมาข้างนอก มันให้ค่า

“สัญญา” สัญญาคือความจำได้หมายรู้ จำได้หมายรู้จากเด็กขึ้นมา เกิดขึ้นมา เด็กเกิดขึ้นมาบริสุทธิ์ไม่รู้เรื่องเลย ก็ต้องบอกว่านี่สีแดงนะ นี่สีขาวนะ นี่เทียบไว้ มันก็จำเข้าไป จำเข้าไป จำเข้าไปจนสามารถ สัญชาตญาณบอกเลย จำจนชำนาญ จนสัญชาตญาณบอกว่า จิตนี้เหมือนผ้าสะอาด สิ่งใดที่ไปเลอะที่จิตแล้วมันจะจำได้ นี่เด็กๆ ก็เหมือนผ้าขาว พอสอนเข้าไปก็จำเข้าไป นี่ร่องสมองก็จำเข้าไป ว่าร่องสมองนะ วิทยาศาสตร์ว่านี้ร่องสมองจดจำไว้ แต่ความจริงคือสัญญาต่างหากที่มันจำไว้ แล้วสังขารที่เราปรุงแต่งหัดฝึกฝนออกมา จนชำนาญงาน จนชำนาญงานออกมา สัญญาความจำได้หมายรู้ นี่มันจะทิ้งเข้าไป ผู้ที่ปฏิบัติก็จะเห็นเข้าไปเป็นชั้นๆ เข้าไป พอเห็นเป็นชั้นๆ เข้าไป

มันถึงว่า พอจับต้องได้ โอ้! ขนพองสยองเกล้า ความขนพองสยองเกล้าเพราะอะไร เพราะว่ากิเลสกับธรรมมันแสดงตัวไง เพราะ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นี้ปกคลุมไว้ พญามารปกคลุมไว้ เขาพยายามจะไม่ให้เห็นตัวเขาไง เขาพยายามจะเล่นเล่ห์เพื่อจะใช้กลอุบายปกคลุมหัวใจนี้ เป็นที่อยู่อาศัยโดยตลอดไป ถึงจะมีสถานที่คับแคบเข้ามา แต่ถ้ายังรักษาชีวิตไว้ได้นี้มันก็ยังเป็นเมืองของเขา เห็นไหม เป็นเมืองของเขา ยังพาเกิดพาตายอยู่ ยังพาเกิดในครรภ์ของมารดา ยังพาเกิดอยู่ นี่ในเมืองยังเป็นเมืองขึ้นของเขา เขายังเอาอันนี้ไว้เป็นอำนาจของเขา เขาถึงไม่ยอมให้ใครเข้าไปเห็นกิริยา หรือเห็นปฏิกิริยาของเขาได้

แต่ธรรมเข้าไปจับต้องจนจับต้องได้ พอจับต้องได้นี่อาการที่ฟั่นเฟือน อาการที่ว่าความเหมือนกันจังหน้ากัน พลังงานกับพลังงานนั้นส่งถึงกัน นั่นน่ะ ขนพองสยองเกล้าเกิดจากตรงนั้นในเมื่อพลังงานกับพลังงาน พลังงานของธรรมกับพลังของกิเลสเข้าถึงเนื้อเดียวกันแล้วมันจะเกิดการตะลุมบอนกันเกิดขึ้น มันจะเกิดการวิปัสสนากันเกิดขึ้นไง เพราะนี่จับต้องได้ การจับต้องได้คือการเริ่มต้นของวิปัสสนา

การวิปัสสนาต้องมีเหตุมีผล มีเหตุมีผลระหว่างธรรมกับกิเลสจับต้องกันแล้วขับเคลื่อนไป ถ้าเป็นระหว่างเรื่องของธรรมขับเคลื่อนไปธรรมดากิเลสมันก็หลบตัวลง มันหลบตัว หลบเฉยๆ เหมือนเครื่องบินหลบกระสุนเฉยๆ เครื่องบินนั้นก็บินไป กระสุนก็ไปคนละทาง ไม่เข้าหากันเลย แต่ถ้ากระสุนยิงโดนเครื่องบิน ยิงโดนเครื่องบิน เครื่องบินต้องระเบิดทำลายเพราะนั้นเป็นวัตถุ

แต่กิเลสกับธรรมในหัวใจสมานกันจับต้องกันได้นี่มันจะเกิดอาการขนพองสยองเกล้า แต่มันไม่ได้ทำลายกันเพราะเป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมจะทำลายได้อย่างไร เราจะทำลายกิเลสออกจากหัวใจต่างหาก เราไม่ใช่ทำลายหัวใจเราให้บุสลายไปที่ไหน แต่เพราะกิเลสมันปกคลุมอยู่ที่ใจเราถึงต้องทำลายมัน ความทำลายมันด้วยวิปัสสนาญาณ นี่มันระเบิดออกนะ ความระเบิดออก

การเกิดและการตาย มันยังเกิดตายอยู่อีกส่วนเดียว แต่การเกิดการตายอันนี้มันโดนทำลายไปเพราะเมืองโดนทำลาย พอโดนทำลายมันหดตัวเข้าไปอยู่ในที่จุดศูนย์เดียว จุดกึ่งกลางของเขา นั้นคือตัวพญามาร

นี่การรุกเข้าไป การรุกเข้าไปถ้าไม่มีธรรมแล้วไม่มีทาง ไม่มีครูบาอาจารย์ยิ่งไม่มีทาง มันจะเห็นจุดของความเริ่มต้นของความคิด จุดของอวิชชานี้เห็นได้ยาก แต่ในเมื่อใคร่ครวญอยู่ มีธรรมอยู่ เพราะวันนี้วันวิสาขบูชา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปทำลายตรงนั้น ทำลายจุดเริ่มต้น จุดของความคิด จุดทุกๆ อย่าง ถึงไปเย้ยพญามาร

“มารเอยเธอเกิดจากความดำริชอบ”

เกิดจากความดำริชอบ เห็นไหม เพราะความดำริชอบขึ้นมา เพราะความดำริ นี่มารเกิดตรงนั้น แต่ถ้าตรงนั้นดับแล้วหมด นี่ธรรมที่เกิดแล้วไม่ตายเลย จุดนี้ก็โดนทำลาย จุดที่เป็นเจ้าวัฏจักร จุดที่พาเกิดพาตาย พาสัตว์เวียนว่ายตายเกิดทั้งหมดโดนทำลายออกไปจากหัวใจ โดนทำลาย

พอทำลาย หัวใจนั้นต้องบริสุทธิ์ หัวใจนั้นต้องผ่อง หัวใจนั้นบริสุทธิ์ หัวใจนั้นเป็นธรรม ความเป็นธรรมคือการเกิด เกิดอีกหนหนึ่ง เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะขึ้นมานั้นเป็นเจ้าชายสิทธัตถะที่โดนอวิชชาปกคลุมอยู่ แต่วิปัสสนาญาณจนทำลายอวิชชาออกจากหัวใจทั้งหมด เกิดเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เกิดเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา ใจดวงนั้นเป็นธรรมล้วนๆ พอเกิดอย่างนี้แล้ว พญามารตามไม่ทัน พญามารเองก็โดนทำลายไปแล้ว ไม่เห็น พญามารมองไม่เห็น แล้วจะเอาอะไรไปเกิดอีก สิ่งที่เป็นเชื้อไข สิ่งที่จะพาเกิดคือสิ่งที่เริ่มต้น จะไปนับหนึ่งมันไม่นับ สิ่งที่ไม่นับ สิ่งที่เริ่มต้นไม่ได้ สิ่งที่เริ่มต้นไม่ได้จะเอาอะไรไปเริ่มต้น สิ่งที่เริ่มต้นไม่ได้ สิ่งที่เกิดอีกไม่ได้ เห็นไหม มันจะไม่มีการเกิดอีกเลย เกิดแล้วไม่ตาย ความเกิดนี้มหัศจรรย์มาก

“วันเกิดของศาสนาพุทธ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเกิดตรงนี้ แล้วก็สอนพระอัญญาโกณฑัญญะ ปัญจวัคคีย์ไปก่อน สอนขึ้นมา นี่ศาสนาเกิดเกิดตรงนั้น

ศาสนาเกิดท่ามกลางหัวใจของผู้ประพฤติปฏิบัติ

ศาสนาเกิดท่ามกลางหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน

แล้วเกิดท่ามกลางหัวใจอัญญาโกณฑัญญะ เป็นสงฆ์องค์แรกของโลก เป็นพี่ใหญ่ของในพระสงฆ์ทั้งหมด นี่พระพุทธเจ้าเกิดเกิดตรงนั้น นักปฏิบัติเกิดก็เกิดตรงนั้น ศาสนาพุทธเกิด เกิดที่หัวใจ สิ่งต่างๆ นี้เป็นสิ่งแวดล้อมของศาสนา ในศาสนวัตถุ ในวัดวาอารามนี้เกิดขึ้นมาจากศีลธรรมจริยธรรมที่ว่าผู้ที่เป็นธรรมแล้ววางหลักการไว้ เลยเป็นศีลธรรม แล้วเราเดินตามไป

เราเดินตามมา เราเป็นชาวพุทธคนหนึ่ง ชาวพุทธภูมิใจในความเป็นชาวพุทธ เพราะชาวพุทธนี้เป็นสิ่งที่ว่า แม้แต่เทวดา อินทร์ พรหม เวลาพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมานี่สาธุการไปทั้งหมดเลย แม้แต่พระอินทร์ในเทวดาต่างๆ ยังสาธุการต่อศาสนา เราเป็นมนุษย์ แล้วเราเป็นเจ้าของศาสนาทำไมเราไม่ภูมิใจในศาสนาของเรา นี้ชาวพุทธถึงภูมิใจในศาสนาของตนเอง ภูมิใจในศาสนาของเรา ภูมิใจแล้ว เราก็ภูมิใจด้วย แล้วไม่ใช่ภูมิใจแบบไก่ได้พลอย ภูมิใจแล้วพลอยกินไม่ได้นี่ กินไม่ได้ก็ไม่กิน จะขอข้าวเม็ดเดียว พลอยกับข้าวจะมีค่าขนาดไหน นี่ภูมิใจแล้วยังได้ออกมาประพฤติปฏิบัติ

ประพฤติปฏิบัติให้เห็นคุณค่า แม้แต่จะเป็นไก่ เป็นไก่ ข้าวกินได้ พลอยกินไม่ได้ แต่ถ้าหลักความจริงพลอยมีค่ากว่า นี้หัวใจมีค่ากว่าร่างกายไง เราคิดแต่อาหารของร่างกาย เราคิดแต่สิ่งที่ว่าประดับประดาร่างกายนี้ ในโลกนี้ สิ่งที่ประดับร่างกายนี้ ความเจริญรุ่งเรืองของเราเราอยากเป็นไป นั่นข้าวสาร

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราเข้าใจ หัวใจมันเอิบอิ่มนะ หัวใจเอิบอิ่ม หัวใจมีความสุข สุขของเรา สุขท่ามกลางใจของเรา เรามีความสุขในใจของเราขึ้นมาโดยใจ โดยธรรมชาติของมัน แล้วสิ่งอื่นขึ้นมานี่เป็นของเกินมาทั้งหมด นี่ถ้าใจไม่เกิดแล้วนะ สิ่งนั้นมันอิ่มในตัวมันเอง สิ่งที่เข้าไปกระทบนั้นมันเป็นสิ่งที่เกิน สิ่งที่เกินถึงทำใจดวงนั้นให้หวั่นไหวไม่ได้ ให้ใจดวงนั้นอยากได้ อยากดีกับสิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้ ความเป็นไปไม่ได้ นั่นน่ะ “พลอย” เพชรนี่ต่างหาก อย่าว่าแต่พลอย เพชรเม็ดงามๆ อยู่บนหัวใจของผู้ที่ปฏิบัตินั้น

ศาสนาเกิดท่ามกลางหัวใจของชาวพุทธทั้งหมด ชาวพุทธทั้งหมดที่ประพฤติปฏิบัติ ไม่มีหรอกที่ว่าเกิดเป็นชาวพุทธ หรือเกิดเป็นมนุษย์แล้วปฏิบัติไม่ได้ ในเมื่อมีหัวใจ หัวใจนี้เป็นภาชะนะรองรับธรรม หัวใจนี้ สุข-ทุกข์อยู่ที่ใจ มีความสุขความทุกข์เกิดขึ้น แล้วใจนี่มันโดนทุกข์ควบคุมอยู่โดยธรรมชาติของมัน

การประพฤติปฏิบัติคือการทำลายความทุกข์นั้นออกจากใจ ความทุกข์นั้นออกไปออกไป พอความทุกข์นั้นออกจากใจมันไปเรื่อย มันก็สว่างไสวขึ้นมาเรื่อยๆ สว่างไสวขึ้นมาเรื่อยๆ ความสว่างไสวคือความเข้าใจธรรมไง ความเข้าใจธรรม ความเข้าใจลึกซึ้งเข้าไป

ความเข้าใจลึกซึ้งเข้าไปมันก็ทำให้มีความองอาจกล้าหาญ รื่นเริง องอาจกล้าหาญในที่ต่างๆ องอาจกล้าหาญในการว่า เราเป็นชาวพุทธ ไม่อย่างนั้นชาวพุทธจะมีความด้อยค่านะ จะไม่กล้าว่าเป็นชาวพุทธ ไม่เป็นชาวพุทธ ไม่กล้าว่าเป็นชาวพุทธ เพราะชาวพุทธนี้เป็นศาสนาที่ว่ามีผู้นับถือน้อย เป็นพุทธศาสนาที่ไม่เชิดหน้าชูตา เห็นไหม ถ้าไม่กล้าอย่างนั้น

แต่ถ้าเราเข้าใจหลักความเป็นจริง “เหนือ” เหนือทุกอย่าง เหนือทุกอย่างแล้วเราเป็นเจ้าของ เราเป็นเจ้าของนะ นี่ทำไมเป็นเจ้าของ สมาธิธรรมในหัวใจของเราใครมาแย่งเราได้ บุญกุศลที่เราสร้างออกไปจากหลักของศาสนา เราสร้างขึ้นไปเพื่อเนื้อหาบุญของโลก เราสละออกไป แต่มันย้อนกลับมาในหัวใจของเรา บุญนั้นก็เป็นของเรา ศาสนาก็เป็นของเรา ทุกอย่างเป็นของเรา สะท้อนกลับเข้ามา เราสละออกไปขนาดไหนมันจะยังวนกลับเข้ามาให้ใจนี้อิ่มเต็มขึ้นมาในหัวใจของเรา แล้วสิ่งใดจะมีคุณค่ากับสิ่งนั้นล่ะ

เพราะสิ่งใดที่หาๆ มานี้ก็หามาเพื่อใจ เพื่อให้ใจมันได้สุขได้สบาย เพราะความหลงผิด แต่เดี๋ยวนี้มันไม่หลงผิด หูตาสว่างขึ้นมามันก็เป็นปกติของเรา นี่ความปกติของใจ นั่นน่ะ คือสิ่งที่สูงสุดในหลักของศาสนา

สุขใดเท่าความสุขสงบไม่มี

สุขจากความสงบในหัวใจนี้ประเสริฐที่สุด เอวัง

เพิ่มเติมท้ายกัณฑ์

“วันเกิดพุทธศาสนา” หมายถึง ว่าวันที่ศาสนาเกิดขึ้นในโลก ในวันเกิดของศาสนาพุทธเรา วันเกิดของศาสนาในศาสนาพุทธ ในโลกนี้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบขึ้นมาไง ค้นพบศาสนา วิสาขะจึงเป็นวันเกิดของศาสนาด้วย วันเกิดของพระพุทธเจ้าด้วย วันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าด้วย แต่ศาสนาเกิดแล้วเกิดเลย ๕,๐๐๐ ปี ถึงจะสิ้นไป แล้วพอหมดยุคหมดสมัยแล้ว ศาสนาพุทธก็จะมาเกิดซ้ำๆๆ กัน พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ยังเกิดต่อไป

ในศาสนาเรา พุทธศาสนาประเสริฐ ประเสริฐเพราะว่าทำให้คนพ้นจากทุกข์ทั้งหมด พ้นจากทุกข์แล้วยังมีความบริสุทธิ์ในหัวใจด้วย มีความสุขในใจนั้นด้วย ความสุขนั่นเกิดขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัติ จากความทุกข์นั้นก่อน ความทุกข์ที่มีความพยายามต่อสู้กับความเคยใจของตัวเอง ใจของตัวเองจะเอาแต่ความสะดวกสบาย แต่ความทุกข์นั้นเพื่อจะให้มีความสุขจริงขึ้นมา เห็นไหม ศาสนานั้นถึงจะเกิดขึ้นมาในหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจริงนั้น ประพฤติปฏิบัติจริงนั้นก็ได้ผลตามความเป็นจริงที่มีอยู่จริงแล้วในศาสนาพุทธนี้

ศาสนาพุทธเรา พุทธศาสนาเกิดวันนี้ เกิดในวันวิสาขบูชา พุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราถึงภูมิใจกันมากที่เป็นลูกศิษย์ตถาคต พบพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ แล้วประพฤติปฏิบัติเพื่อจะให้พ้นจากความทุกข์ ก้าวเดินตามครูบาอาจารย์ไป ก้าวเดินตามครูบาอาจารย์ไปถึงที่สุดแห่งทุกข์นั้นให้ได้ นี้คือหลักชัยของศาสนา ธงชัยพระอรหันต์คือ (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)