ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ปัญญาอบรมสมาธิ

๕ มิ.ย. ๒๕๕๒

 

ปัญญาอบรมสมาธิ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ประสาเราเลย เวลาไปพูด ใครก็บอกไปหาพระองค์นี้สิพระดี พระดี นี้คำว่าดีของเรานี่ ใครพูดอย่างนี้ปั๊บนะ ส่วนใหญ่มาจะให้ยาแรง พอให้ยาแรงเขาจะกระเทือน คำว่า ดีของเราคือธรรมะต้องเข้มข้น นี้คำว่าดีของเขา เราพูด เราก็เข้าใจนะ แต่บางทีเราวัดระดับตรงนี้ไม่ได้ คำว่า ดีของเขา เขาก็จินตนาการในความเห็นมุมมองของเขาว่าดี

ถ้าดีของเขาก็ต้องพระพุทธรูปไง เรียบร้อย นิ่ง

ก็กราบพระพุทธรูปที่บ้านก็จบ!

ถ้าของเราเพราะถ้าพูด ถ้าสนิทมานะหรือทันนะ เราพูด โอ้โฮ แรง เพราะมันแรงมันประสาเรามันพูด เราพูดสะดวก เพราะมันออกมาจากความรู้สึกของเรา เราพูดตรงๆ เหมือนเด็กไร้เดียงสา พูดตามนั้นน่ะ แต่ถ้ากับสังคมนะ เราพูดประสาเรานะ เราต้องตอแหล จะพูดอย่างนั้นไม่ได้อย่างใจหรอก มันไปสะเทือนเขา

นี้เวลาพูดกับพวกโลก เวลาเราคุย เมื่อสองวันนี้โยมเขามาพูด แล้วโยมถามนี่แหละ เขาบอกว่า “การปฏิบัตินี่ผิดหมดเลย ผิดหมดเลย” เขาไปฟังซีดีนะ เขาตกใจ เขาเรียกเราบ้าแล้ว การปฏิบัติทั้งหมดผิดหมดเลย แล้วเขาก็ฟังไปเรื่อยๆ ไง พอสุดท้ายแล้วที่โยมมาถามเรื่องสีลัพพตปรามาสอะไรน่ะ พอสุดท้ายเขาบอก อ๋อ การปฏิบัติของคนมีกิเลสมันก็เป็นอย่างนั้นเอง หลวงพ่อมาเฉลยทีหลัง พอทีแรกผมฟังผมสะดุ้งหมดเลย นึกว่าหลวงพ่อบ้าไปแล้ว

เวลาคนฟังเขาคิดไม่ถึงนะ ถ้าการปฏิบัติผิดหมดเลย มันก็ผิดหมดเลย ทีนี้เราพูดกันด้วยปรมัตถธรรม คนเราเกิดมาสกปรกทั้งนั้น แล้วทำไมเราไม่ปฏิบัติกัน เราไม่ทำกัน มันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่พอปฏิบัติแล้วนี่ในมุมกลับของความคิดพวกเรา กลัวผิดไง

นี้เราหักมุมไง หักมุมเหมือนกัน ผิดหมดล่ะ ผิดหมดเพราะอะไร เพราะเรามีกิเลสอยู่ ธรรมชาติของมัน นี้การปฏิบัติก็เพราะว่าผิดนั่นแหละถึง..เพราะอะไร เพราะเราก็ผิด ก็เรามีความคิดแบบนี้ทั้งนั้นน่ะ เกร็งไปหมดเลย ปฏิบัติกลัวแต่ผิด แล้วอยู่อีสานนะ เราไปอีสานนะ เราก็เลาะไปตามตะเข็บ เวลามันท้อใจ มันทุกข์ใจ มันก็เป็นเหมือนที่หลวงตาท่านเป็นน่ะ ท่านบอกเลย ท่านเรียนจบมหามา แล้วเราจะปฏิบัตินี่ ถ้ามีใครบอกเราว่า

“มรรคผลนิพพานมีจริง” เราจะทุ่มทั้งชีวิตเลย คือมันลังเลไง เราก็เป็นอย่างนั้น เราก็ลังเล เวลาลังเลขึ้นมา เอาที่พึ่งที่ไหนรู้ไหม ไปวัดป่าสุทธาวาส ไปดูพระธาตุ พระธาตุหลวงปู่มั่น มันมีจริงๆ นะ ทั้งๆ ที่ไม่เห็นนิพพาน เห็นพระธาตุก็ยังดี ไปดูพระธาตุ ก็ฮ้า ชื่นใจมาพักหนึ่ง ก็เที่ยวต่อ ปฏิบัติเวลามันท้อใจมันอะไรก็ ไปดูพระธาตุ

นี่ๆ ผลมันอยู่นี่ ผลมันอยู่นี่ ตอกย้ำ!

เราก็แก้ไขของเรามา เราก็เป็นเหมือนโยมนี่แหละ ทีนี้พอเราคิดว่า เราเป็นเหมือนโยม แล้วเรามาจากไหน เราก็มาจากฆราวาสไง แล้วฆราวาสทุกคนมันเป็นอย่างนี้ พอเป็นอย่างนี้ปั๊บมันก็วิตกกังวล เราก็หักมุม หักมุม เพราะเราก็เป็นมา นี้พอโยมถาม เราเข้าใจหมดล่ะ อะไรเป็นสีลัพพตปรามาส อะไรไม่เป็น นี่กลัวผิดแล้ว กลัวอย่างไรก็ผิด เพราะใจมันมีอวิชชาอยู่

นี้การปฏิบัติเราไป นี้มันก็มาตรงนี้ มาที่เวลาเราพูดธรรมะกัน พวกอภิธรรม

“ปฏิบัติอย่างวัดป่าเรานี่ผิดหมด ต้องไม่มีความอยาก ถ้ามีความอยากปฏิบัติไม่ได้”

นี่โดยความคิด โดยทางวิทยาศาสตร์ จริงไหม การที่เราทำทดลองทางวิทยาศาสตร์ การทำวิจัยทุกอย่างต้องดีหมด มันถึงจะดีใช่ไหม แล้วการปฏิบัติต้องดีสิ ทุกอย่างมันต้องไม่มีความอยาก อยากมีกิเลส มันต้องไม่มี มันถึงจะปฏิบัติได้

ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติ หรือเราไม่มีหลัก เราก็เชื่ออย่างนั้น!

แต่พอปฏิบัติไปแล้ว มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะคนเกิดมาคืออวิชชาพาเกิด แล้วอวิชชาพาเกิด อวิชชามันอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว มันมีความอยากเป็นธรรมดา!พระพุทธเจ้าฉลาดมาก ฉลาดที่ว่า เอาความอยากเห็นไหม พระพุทธเจ้าพูดเอาความอยากแปรเป็นแบบว่า เอาความอยากแปรเป็นมรรค คือเอาความอยากแปรเป็นสิ่งที่เป็นคุณธรรม อย่างที่ว่านี่ แปรเข้าไป

ทีนี้อภิธรรมเขาบอกเป็นไปไม่ได้ อยากคือกิเลส มันจะแปรเป็นธรรมได้อย่างไร แต่ถ้าปฏิบัติได้ ได้หลวงตาท่านถึง..

เราพูดกับพวกโยมด้วยประจำนะ พูดกับพวกโยมว่า “ทางพวก ๙ ประโยค หรือพวกทางนักวิชาการเขาบอกสังคมไทยเรา บางทีเริ่มต้นผู้นำของเราแปลบาลีมาเป็นไทยนี่ผิดพลาด พอผิดพลาดปั๊บ มันเข้าไปในเนื้อของสังคม คือเข้าไปในวัฒนธรรมแล้ว เราจะไปเปลี่ยนใหม่ มันเปลี่ยนไม่ได้ อย่างเช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุ ๔ แปลผิดเลย เราไปแปลกันว่าลม แต่ความจริงคืออากาศ

ทีนี้เราแปลว่าเป็นลมไปแล้วนี่ พอดิน น้ำ ลม ไฟ ลมแปลว่าลม ลมก็แปรปรวน นี้ปฏิบัติแล้ว ลมมันคืออากาศ นี้มันก็มีธาตุ ๖ ดิน น้ำ ลม ไฟ ใช่ไหม แล้วก็ธาตุรู้ กับอากาศธาตุ ธาตุ ๖ ล่ะ นี้ถ้าเราแปลผิดออกมา หรือเราแปลสังคมมันยอมรับไปแล้ว เราจะมาแก้ไขเปลี่ยนแปลง เราต้องไปฝืนกระแสสังคมแล้ว พอจะไปแปลปั๊บ

“เอ็งเก่งมาจากไหน เอ็งดีมาจากไหน เอ็งจะเอาชนะสังคมได้อย่างไร”

มันก็เลย...ตัวเราเองไม่ไหวหรอก ทีนี้ย้อนกลับมาตรงที่ความอยาก ในเมื่อผู้นำเขามีความเห็นอย่างนั้น แล้วเขาฝึกฝนมาจนมันเข้าไปในกระแสสังคม ทางอภิธรรมบอกว่า อยากปฏิบัติไม่ได้ (เราไปเห็นอยู่ เขาชวนกันไป) เขาพูดทำนองนี้ แล้วเขารุนแรงมาก เขารุนแรง

เมื่อก่อนเราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ อยู่กับหลวงตา เราก็แปลกใจ ตอนเป็นพระเด็กๆ ว่าทำไมพวกอภิธรรม พวกนี้พวกเขาปฏิบัติ เขามีมุมมองแบบที่ว่าคลาดเคลื่อน พอคลาดเคลื่อน ทำไมครูบาอาจารย์เราไม่ไปแก้ไข แล้วพอเราปฏิบัติใหม่ๆ มันก็ฮึดไง แล้วพอเราเข้าไปปะทะ อ๋อ! อย่างนี้เอง ที่ครูบาอาจารย์ท่านไม่ทำ คือมันเป็นเรื่องสุดวิสัย เรื่องของกิเลสมันบังตา มันมีความเห็นกันอย่างนั้น

ใหม่ๆ เราคิดว่าเราไม่มีประสบการณ์ เราคิดว่าได้ เราไปคุยกับยาย.... แกเป็นนักอภิธรรมเลย แล้วแกเป็นคนสอนอภิธรรมเลย แกก็บอก

“มีความอยากปฏิบัติไม่ได้ ไม่มีการศึกษาก็ปฏิบัติไม่ได้ ไม่มีการศึกษาปฏิบัติได้อย่างไร เก่งกว่าพระพุทธเจ้า!”

“ท่านเป็นพระอรหันต์เหรอ?” ชี้มาที่เรานะ “ท่านเป็นพระอรหันต์เหรอ?”

บอก “หลวงปู่มั่น! หลวงปู่มั่น! ” ชี้ไปที่หลวงปู่มั่น

โอ๊ย ปะทะกันแรงมาก มันเลยจับประเด็นได้ไง ว่ามีอยากปฏิบัติไม่ได้เลย เราพยายามจะแก้ไขเขา เราบอกว่า “พวกเราทำงานแล้วนี่ไม่รับเงินเดือนได้ไหม ทุกคนทำงานต้องได้เงินเดือนใช่ไหม ถ้าเราบอกเราไม่รับเงินเดือน การทำงานของเราทำงานโดยที่ว่า เราไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน เราไม่มีสิ่งรายได้ เราทำงานโดยซังกะตาย จิตก็เหมือนกัน ถ้ามีความอยากได้ อยากดี อยากนิพพาน คนเราทำงานแล้วจะได้เงินเดือนตอบแทน ในการปฏิบัติไป เราก็หวังมรรคผลนิพพาน แล้วบอกไม่มีความอยาก ไม่มีความอยาก เหมือนกับทำโดยที่ไม่มีเงินเดือน”

นี้เราพยายามเปรียบเทียบให้เขาเห็นว่า ถ้าคิดอย่างนั้นแล้ว การปฏิบัตินั้นมันสักแต่ว่าทำ เหมือนหุ่นยนต์ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันไปปฏิเสธผลตอบรับ ในการปฏิบัติต้องมีผลตอบรับ เราปฏิบัติเพื่อผลตอบรับ แต่เขาปฏิเสธว่าผลตอบรับนั้นคือกิเลส นี้ถ้าผลตอบรับนั้นคือกิเลส แล้วเอ็งจะปฏิบัติกันเพื่ออะไร ฉะนั้นเราพยายามอธิบายนะ อธิบายเขามากเลยเพราะด้วยความสงสาร แต่ตอนนั้นเขามีอายุมากแล้ว คือว่า เขาฝังรากลึกมาก

แล้วเขาก็เอาเทปนี้ไปให้พวกเขาฟัง พระที่วัดเขาไปหาเราเลย พระบอกว่า “ผมฟังเทปหลวงพ่ออย่างนี้เลย หลวงพ่อมีโอกาสฆ่า แต่หลวงพ่อไม่ฆ่า” เขาฟังนะ เวลาเรารุกน่ะเวลาเขาถามเรานี่ เราตอบไปเรื่อยนะ อยู่ที่ปริเฉทที่เท่าไร อยู่บรรทัดที่เท่าไร ในพระไตรปิฎก บอก “อูย กูจำไม่ได้” เขาไล่เข้ามา ไล่เราไม่ทัน เขาไล่เข้ามา เขาพยายามจะให้เราพูดตรงกับพระไตรปิฎก ห้ามคลาดเคลื่อน

บอกอย่างนี้เราปฏิบัติมา ตรงนี้เราไม่ชำนาญ เราให้ผลัดกันถามปัญหา เขาถามเรา เราก็ตอบไปเรื่อย ยิ่งตอบเขาก็ยิ่งโมโห “ท่านนี่ฉลาดเกินไป” ประสาเราเรื่องปริยัติเราไม่เอาเลย แล้วเขาก็บอกว่า เก่งกว่าพระพุทธเจ้า! หลวงปู่มั่นไม่มีการศึกษาเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร เก่งกว่าพระพุทธเจ้า โอ๋ย ใส่ใหญ่เลยนะ ไล่เราจนจบ

ผลัดกันบ้าง เราถามเขากลับบ้าง เพราะให้เราถามบ้างว่าทำอย่างไร โอ้โฮ เราสังเกตเห็นนะ แกตัวสั่นหมดเลยนะ เพราะว่าลูกศิษย์นั่งเยอะ กลัวเสียหน้า ตัวสั่นหมดเลยนะ เพราะเราถามเขาจุก ถามเขาจุก นี้พอตอบเราไม่ได้ เมื่อก่อนเราไปคุยกับใคร เราพยายามจะพูดเตือนให้เขารู้ตัว ให้เขารับรู้ แต่เราจะไม่รุกจนเสียหาย มันจะทำให้เขาไม่มีโอกาสได้พลิกใจ

พระองค์นี้ก็ไปฟังตรงนี้ วิ่งไปหาเรา เราไปจำพรรษาปีนั้นเราจำได้ที่หัวหิน เขาเอาเทปไปเลย เขาเอาเทปไปกดเลยว่า “หลวงพ่อมีโอกาสฆ่า แต่หลวงพ่อไม่ฆ่า” ด้วยความรู้สึกของเขา แต่ใจเราก็คิดอย่างนั้นจริงๆ คือเราต้องการพูดให้เขารู้สึกตัวเท่านั้น เราไม่ต้องการทำลายใคร เราไม่ต้องการทำลายเขาต่อหน้าลูกศิษย์ของเขา

เขาไปพูดกับเรานะ “ โอ๋ย หลวงพ่อมีโอกาสฆ่า แต่หลวงพ่อไม่ฆ่า สุดยอดเลย”

แต่หลวงพ่อพูดอะไรนี่ ผมยังสงสัยอีกอันหนึ่ง “โคตรภูเป็นอย่างไร หลวงพ่อ” แล้วเขากดเลยนะ “โคตรภู” เวลาจิตมันพลิก นี่ไง มันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า คนที่ปฏิบัติไม่เป็น คนที่ไม่เคยเห็น ที่หลวงตาพูดบ่อย “ไม่รู้พูดไม่ได้ ไม่เห็นพูดไม่ได้” เขาศึกษาขนาดไหน โคตรภู โคตรภูมันพลิก อย่างเราปฏิบัติเห็นไหมโคตรภู ญาณ ๑๖ ไง ญาณ ๑๖ มันแก้ไข โคตรภูคือมันพลิกกิเลส มันฆ่ากิเลส มันทำอย่างไร

เขาท่องกันปากเปียกปากแฉะ เขาคาดการณ์ทุกอย่างได้หมดเลย เขาคาดการณ์สรุปว่าโคตรภู การพลิกของปุถุชนเป็นพระโสดาบัน เขาไม่รู้เรื่อง แล้วเราอธิบายให้เขาฟังอย่างไร เขาก็ไม่รู้

แล้วเราอธิบาย ถ้าอธิบายอย่างครูบาอาจารย์ พวกเราอธิบายกันเห็นไหม พลิกจิต เวลาจิตมันพลิก มันต้องพลิกนะ เวลากิเลสมันขาด มันพลิก คำว่าพลิก หมายถึง การเปลี่ยนแปลง จิตนี้มันเปลี่ยนแปลง ครูบาอาจารย์ท่านบอกจิตนี้กลั่นออกมาจากอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มีกระบวนการเห็นไหม เหมือนรีไซเคิลอีกล่ะ

นี่กระบวนการ อริยสัจเหมือนกระบวนการการผลิตอันหนึ่ง แล้วจิตเราเข้าไปในกระบวนการนั้น แล้วได้กลั่นกรองออกมาจากอริยสัจ จิตนี้หลุดออกมาจากอริยสัจเป็นโสดาบัน กลั่นออกมาจากอริยสัจเป็นสกิทา กลั่นออกมาจากอริยสัจเป็นพระอนาคา แล้วกระบวนการจะกลั่นต่อไปจะกลั่นอย่างไร เพราะจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส มันเหมือนว่างหมดแล้ว จับอะไรไม่ได้เลย ถ้ากระบวนการกลั่นยังมีอยู่นะ

นี่ที่เขาพูดกันไง “เข้านิพพาน เข้านิพพาน” เป็นไปไม่ได้!

ถ้าเข้านิพพานไป เราเข้าไปทั้งตัวนี่ พระอนาคาเห็นไหม เรือนว่าง บ้านว่างหมดเลย ยังไม่ว่างเพราะเรายังอยู่ในนั้น ดึงเราออกมา ถ้ากระบวนการการเข้า ต้องมีผู้เข้าใช่ไหม แต่จิตกลั่นออกมาจากอริยสัจ ถ้าพูดจริงๆ นิพพานกลั่นออกมาจากอริยสัจ

ไม่ใช่! ไม่ใช่! ไม่ใช่หรอก! มันกลั่นจากอริยสัจเป็นชั้นเป็นตอน แต่ถึงที่สุดแล้ว ถึงที่สุดตัวมันเองทำลายตัวมันเอง

เราบอกว่า เราถึงพูดนะ เราเปรียบเทียบหมด มันจะเหมือนร้อยเปอร์เซ็นต์ ปรมัตถธรรมโดยชัดเจนไม่ได้ จิตนี้เป็นนิพพานได้ แต่จิตนี้เข้านิพพานไม่ได้ ตัวจิตเป็นนิพพานได้ คือมันทำลายตัวมันเองไว้หมดแล้ว ถึงบอกว่าพระอรหันต์ไม่มีจิตไง ถ้ามีจิตก็มีภพ มีภพก็มีที่ตั้ง มีที่ตั้งก็มีอวิชชา พระอรหันต์ถึงไม่มีจิต

ทีนี้ใครบอกว่า จิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้น อย่างนั้นนะ

แต่หลวงตาท่านก็พูดบ้าง พูดบ้างหมายถึงว่า เวลาเราพูดกับเด็กทารก เด็กที่มันไม่รู้เรื่อง เราต้องสื่อให้มันเข้าใจ ใช่ไหม แต่พูดกับผู้ใหญ่ต้องพูดความจริง แต่เด็กทารกมันไม่รู้หรอก ถึงบอก เออ จิตเป็นอย่างนั้น อย่างนั้นนะ ก็พูดกับเด็กทารกไง

นี้เวลาเราฟังต้องจับประเด็นนี้ด้วย อย่างพระพุทธเจ้าพูดในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าพูดกับใคร ถ้าพระพุทธเจ้าพูดกับพระสารีบุตรนะ พระสารีบุตรเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ พูดธรรมะ มันธรรมะขั้นปรมัตถธรรมที่เข้าใจกันได้ ถ้าพระพุทธเจ้าไปพูดกับฆราวาส ไปพูดกับเด็กเห็นไหม

ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าไปพูดกับใคร (เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู เช่น พูดกับปัญจวัคคีย์) มันจะขึ้น พระไตรปิฎกจะมี พอบอกว่า เขาบอกความอยาก กระบวนการเราปฏิบัติมาเราเข้าใจ แล้วเราก็ไปบอกเขา คือว่าไปบอกเขาแต่พอเห็นแรงต้าน เห็นการไม่รับ เราถึงสังเวช สังเวชหมายถึงว่า เราก็ย้อนกลับมาดูสังคมไง อ๋อ สังคมมันเกิดทิฏฐิกันไง แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย ว่าทางเอ็งผิด ทางข้าถูกนะ

“อย่างพวกพุทโธ พุทโธ พวกนี้สมถะ พวกนี้ไม่มีปัญญา พวกนี้ปฏิบัติไม่ได้ พวกนี้โง่ต้องใช้ปัญญาสายตรง” เราถึงบอก เวลาเราพูด เราต้องการให้เขาเข้าใจ

ปัญญาสายตรง ปัญญาสายตรง วิปัสสนาโดยปัญญาสายตรง แต่ถ้าพุทโธ พุทโธ นี่สมถะคือปฏิบัติไม่ได้

เราฟังแล้วเราเศร้าใจ เพราะอะไร เขาแบบเหมือนกับเอามาสอนกันทางวิชาการในการปฏิบัติ แต่ในการปฏิบัติของเรา หลวงปู่มั่นสอน มีครูบาอาจารย์ต้องไปหาหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่นบอกจะสอนเป็น ๒ อย่าง เดี๋ยวจะเข้าตรงนี้ หลวงปู่มั่นบอกมีการสอนแบ่งเป็น ๒ ประเภท

ประเภท ๑ คือคนที่มีการศึกษามา พวกนี้ปัญญามาก ดิ้นรนมาก ต้องมีเหตุผลมาก ประเภท ๑ กรรมฐานเรานี่ คือว่าปฏิบัติ มันก็เหมือนเราเข้าฝึกงาน ถ้าโรงงานฝึกงาน เราฝึกงานมาเลย เห็นไหม อย่างเช่น เด็กอู่อย่างนี้ มันมีความชำนาญเรื่องเครื่องหมดเลย เห็นไหม ถ้าปฏิบัติมันเหมือนอย่างนั้น ถ้าฝ่ายปฏิบัติ คือปฏิบัติเลย แต่ทางวิชาการมันมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

แต่เวลาครูบาอาจารย์เราสอน หลวงปู่มั่นบอกท่านจะแบ่งเป็น ๒ ประเภท ประเภท ๑ มีการศึกษามา มีการศึกษามาต้องเข้มงวด ต้องมีสติ ต้องจดจ่อมาก เพราะมันรู้แล้ว เหมือนในสำนักงานเรา ถ้าคนที่ทำงานคล่อง ทำงานเป็น ถ้ามันจะโกงนะ โอ่ มึงฉิบหาย เจ๊งเลย เพราะมันรู้ช่องหมด กูจะโกงตรงไหนก็ได้ แต่ถ้าคนนอกเขาไม่รู้นะ นี้ผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ไม่มีการศึกษา เขาไม่มีตรงนี้

ไอ้คนเรานี่ พวกเรานี่อยู่ในวงใน อยู่ในบริษัท โอ๋ คล่องแคล่วหมดเลย หุ้นใครใครอยู่ตรงไหน ใครไปเก็บไว้ตรงไหน มันรู้หมดเลย ถ้าคนดีมันก็ดี แต่ถ้าคนมันจะโกง มันเอาหมดเลย มีการศึกษามาเป็นอย่างนี้ การปฏิบัติจะยากขึ้น ๒ เท่า

แต่พระป่าเรานี่เราปฏิบัติเลย นี้พอปฏิบัติไป นี้การศึกษา เวลาการศึกษา ฟังนะ แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย มีการศึกษามา เขาจะบอกผิดอย่างนั้น ผิดอย่างนั้น ที่เขาถียงๆ กันอยู่นี่ เสือกรู้มาก่อนไง นี้เราปฏิบัติอย่างครูบาอาจารย์เรามา.. ไม่ต้องเลยพุทโธคำเดียว

อู้ พุทโธมันจะมีประโยชน์อะไร พุทโธมันต่ำต้อย พุทโธ..

หลวงตาบอกพุทโธสะเทือน ๓ โลกธาตุ เพราะอะไร เพราะเราไม่ต้องเอาวิชาการมารองรับไง อย่างเช่น กระบวนการของจิตที่มันเป็นอย่างไรนี่ จิต กระบวนการของจิต ครูบาอาจารย์ท่านรู้อยู่แล้วว่าจิตธรรมดาของจิตมันส่งออกหมด โดยธรรมชาติของจิตมันส่งออกหมด มึงจะตรึกในธรรมะอะไร มันก็ส่งออกทั้งนั้นน่ะ

นี้พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธมันเป็นพุทธานุสสตินะ พุทโธมันเป็นธรรม มันเป็นธรรมเพราะอะไร พุทโธ พุทโธ พุทโธแล้วก็พุทโธอีก พุทโธมันไม่ต่อเนื่อง แต่ถ้าเป็นอารมณ์ทางโลกใช่ไหม เราคิดเรื่องอะไรล่ะ เรื่องเงิน อ้าว เงินนี้มาจากไหน เราจะหากินอย่างไร มันก็เงินนี้ เรามีเงินอยู่แล้ว จะสร้างประโยชน์อะไรต่อไป

มันสืบต่อ มันสัมพันธ์กันไป มันไม่จบ ถ้าส่งออกมันเป็นอย่างนั้นตลอดไป แล้วกิเลสมันชอบ มันไปเรื่อยเลย

แต่พุทโธนี่ พุทโธน่าเบื่อ เครียดฉิบหายเลย พุทโธทำยากฉิบหายเลย

ก็มันยากสิ แต่กระบวนการมันเป็นอย่างนี้ แต่ครูบาอาจารย์ท่านไม่อธิบายว่า ถ้ามันเป็นพุทโธ มันเป็นคุณธรรม คือพลังงานมันคงที่ไง พลังงานมันไม่สืบต่อไปเป็นอารมณ์ความรู้สึกความคิดของโลกไง มันคิดออกมาเป็นพลังงานเหมือนกันใช่ไหม พอมันคิดพุทโธมันก็จบใช่ไหม มันคิดพุทโธต่อไปใช่ไหม

มันก็เหมือนเล่นเทนนิส เราตีลูกเทนนิสเข้า.. ฝึกเล่นเทนนิสใหม่ๆ เขาไม่ตีกับมึงหรอก รำคาญ เขาต้องตีกับกำแพงไง พุทโธนี่กำแพงไง มันก็เด้งกลับจิต พุทโธ พุทโธ เห็นไหม มันถึงสงบได้ไง

แต่ทางผู้มีปัญญามาก อู้ พุทโธมันจะมีอะไร สมถะไม่มีประโยชน์อะไรหรอก ทั้งๆ ที่มันใช้ปัญญาทั้งหมด จะเข้าปัญญาอบรมสมาธิไง พุทโธ พุทโธ พุทโธตลอด นี้โดยธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ เราบอกธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนี้ แล้วมันไม่เคยตาย มันเป็นสันตติ พลังงานส่งไป มันก็เกิด เหมือนเทียนทั้งเล่มมันจุดติดตลอดไป ถ้าไฟมันติดอยู่นะ ถ้ามันไม่มีอุบัติเหตุ มันติดของมันอย่างนี้

จิตของเราเหมือนกับเทียน มันติดอยู่อย่างนั้นตลอดไป แต่เทียนมันหมด แต่จิตมันไม่เคยหมดไง เพราะจิตไม่เคยตาย มันเกิดได้ตลอดไป สสารอันนี้แปลกมาก ธาตุ ๖ ธาตุรู้ ธาตุรู้นี้แปลกมาก มหัศจรรย์มาก แล้วธาตุรู้ตัวนี้มันทำให้เราพ้นได้

นี้พอเรามีการศึกษามามากเห็นไหม โอย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา พุทโธไม่ได้ พุทโธไม่มีปัญญา เราใช้ปัญญาไปเลย

ลืมไปไง ลืมไปว่าตัวจิตมันสกปรกอยู่ เห็นไหม เมื่อกี้เราบอก จิตถ้ามันไม่ดีตรึกธรรมะมันก็ทุกข์ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะธรรมะเราตรึกมันอยู่ข้างนอก แต่กูทุกข์ฉิบหายเลย กูตรึกธรรมนะ โอย กูนี่พูดธรรมนี่จ้อย จ้อย จ้อย ธรรมะกูรู้หมดเลยนะ แต่กูทุกข์ฉิบหายเลย

อ้าว มึงทำไปสิ อ้าว ทำไป มึงใช้ปัญญาใช้ไปสิ วิปัสสนาสายตรง มึงวิปัสสนาไปเลย อ้าว วิปัสสนาให้ได้สิ วิปัสสนาให้ได้ วิปัสสนาไป ก็วิปัสสนาไง ธรรมะ ตรึกฉิบหายเลย โอ๊ย ปัญญาวิปัสสนาสายตรง แต่ตัวจิตเป็นอย่างไร เพราะการปฏิเสธไง

ทีนี้ของเราไม่ใช่ทำอย่างนั้น หลวงปู่มั่นท่านสอน ครูบาอาจารย์หลวงตาท่านเขียนเลย ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาเหมือนกัน แต่เรามีสติตามปัญญาเราไป แต่เวลาเราคิดไง เวลาเราคิด สติตามความคิดไป โดยธรรมชาติของมันเกิดดับ

โดยธรรมชาติของมัน มันเกิดดับ แต่เพราะเวลาเราทุกข์เรายาก เรามีอารมณ์ความรู้สึก กิเลสมันอยู่กับความคิดเราไป มันมีแรงกระตุ้นไง คิดแล้วคิดเล่า คิดจนนอนไม่หลับ ลองบอกสิ เอาเงินมากองไว้นี่ ใครนับได้เท่าไรให้หมดเลย โอ้โฮ มันนั่งทั้งวันทั้งคืน มันนับใหญ่เลยนะ มันจะเอาสตางค์ (หัวเราะ) เวลาพุทโธมันไม่ทำ

นี้เหมือนกัน เวลามันคิด มันคิดมันก็ไปหมดเห็นไหม แต่พอเราคิด เราคิดแบบโลก ถ้าเราคิดแบบธรรม เงินมีค่าของเงิน เงินมีประโยชน์อะไร เงินเป็นสมบัติสาธารณะ แล้วสมบัติของเราล่ะ ถ้าเราเห็นตัวของเราล่ะ เรารู้จักตัวเราล่ะ คำว่าเห็นตัวเรานะ มันเห็นความคิด เห็นผู้คิด เห็นไหมเขาว่า ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ เขาว่ากันไปอย่างนั้นน่ะ ไอ้นั่นนกแก้วนกขุนทอง ผู้รู้ สิ่งที่ให้ถูกรู้

มันตัดตอนความคิดเราให้เป็นอย่างนั้น จิตเรามันมหัศจรรย์นะ ไปตรึกในธรรมะมาปั๊บ มันจะจัดกระบวนการให้เป็นอย่างนั้นหมดเลย แล้วกูนิพพาน มันจัดรูปจิตให้ได้หมดเลย แล้วกูนิพพานแล้ว เพราะกูรู้หมด กูเข้าใจหมดเลย จริงๆ ไหม

นี่ตรึกในธรรม!

แต่ถ้าเรามีสติตามมันไป ความคิด ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น แต่เราไม่เคยเห็น แล้วมันปิดไม่ให้เห็น ถ้าเห็นแล้วมันจะหลอกเราไม่ได้ สติเราตามไป ตามไป โดยธรรมชาติมันต้องหยุด แต่ใหม่ๆ มันไม่หยุดหรอก มันจะคิดไปต่อเนื่องเพราะอะไร

เพราะมันกลัวเราเห็น มันกลัวเรารู้เท่า กิเลสมันกลัวเรารู้เท่า คนอื่นไม่สำคัญนะ ธรรมะพระพุทธเจ้า ชนะตัวเอง คือ สติเรา จิตเรา เห็นความรู้เท่าในจิต พอรู้เท่ามันหยุด พอมันหยุดปั๊บ ปั๊บเดียวคิดอีกแล้ว นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ไล่เข้าไป แล้วมันหยุด มันหยุด

พอมันหยุดขึ้นมาเห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต วิปัสสนามันเกิดตรงนี้ แต่ของเขาไม่มีตรงนี้ วิปัสสนาสายตรง สายตรงไปเลย เพราะอะไร เพราะเราถึงเศร้าใจไง เพราะเราพิจารณาตรงนี้แล้ว เราเศร้าใจว่า ผู้ที่เขาเอามาอธิบาย ผู้ที่เขาเอามาสอน เขาเข้าไม่ถึงตรงนี้กัน เขาอยู่แค่เห็นว่ามันเกิดดับ เกิดดับ

คำว่าเกิดดับ จิตเกิด จิตดับ สภาวะปัจจุบันธรรม สภาวธรรม..

สภาวธรรมคืออารมณ์! ตัวธรรมะไม่ใช่สภาวะ ตัวธรรมะคือตัวธรรม

แต่เขาบอกสภาวธรรมที่กำหนดปัจจุบัน อภิธรรมเขาพูดอย่างนี้ ไม่อยากจะพูดถึงเลยนะ เดี๋ยวนี้ พออย่างนี้มันก็กลับเข้ามาที่ดูจิต เขาพูดกันอย่างนี้ “สภาวธรรมที่เกิดปัจจุบัน สภาวธรรมที่กำหนด สภาวธรรมที่เกิดในปัจจุบัน สภาวะที่เกิดเห็นเกิดดับ”

ประสาเราเลยนะ “กูนอนหลับ กูตื่นมา กูก็เกิดดับ กูนอนตื่นกูก็ไปนิพพานเลย” เขาคิดกันอย่างนั้นเห็นไหม ถ้าคนรู้จริง คนเป็นจริง จะพูดอย่างนี้ไม่ได้ คำพูดอย่างนี้คือเราจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ มันก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ของที่มันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แล้วเราไปเห็นของที่มีอยู่ ที่มันเกิดดับเป็นธรรมชาติ มันจะละกิเลสได้ตรงไหน

ของมันมีอยู่แล้ว ของมันเป็นอย่างนี้อยู่แล้วโดยธรรมชาติ พระพุทธเจ้าก็รู้แล้ว พระพุทธเจ้าก็เห็นแล้ว แต่พระพุทธเจ้ารู้แล้ว เห็นแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าท่านใคร่ครวญของท่าน จนท่านใช้มรรคญาณทำลายของท่าน แล้วท่านสอนออกมา ท่านไม่ได้หวังอย่างนี้ ท่านถึงได้แบ่งออกมาเป็นสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา แล้วกระบวนการของปัญญาที่มันจะรู้จะเห็น มันจะรู้เห็นได้อย่างไร

พระกรรมฐานเรา ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติเป็น ท่านถึงเน้นว่าภาวนามยปัญญาเกิดอย่างไร ปัญญาเกิด เกิดอย่างไร ปัญญามีฐานอะไรรองรับของฐานปัญญาอันนี้ ถ้าไม่มีสมาธิอันนี้เกิดไม่ได้ มันเกิดไม่ได้เพราะอะไร มันเกิดด้วยตัวตนของเรา มันเกิดด้วยกระบวนของจิต ที่มันธรรมชาติของมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว คำว่าธรรมชาติ คือมันมีอยู่แล้วในธรรมชาติใช่ไหม

มันมีของมันอยู่อย่างนั้น แล้วมันก็เกิดดับ มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่ แล้วมันเกิดดับอยู่ของมันอยู่อย่างนั้น แล้วไม่มีใครรู้ ใครเห็น ใครเข้าไปจัดการไง มันก็เกิดดับอยู่อย่างนั้น แต่พอภาวนาเข้าไปเห็นสภาวะอย่างนั้น ทึ่ง! นิพพาน นิพพานกันเลย ไปรู้ไปเห็นหมายถึงว่าก็เหมือนสมถะนั่นแหละ

กระบวนการปฏิบัติทั้งหมดคือสมถะ คือเข้าไปรู้ไปเห็น แต่รู้เห็นแล้วถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าสอน ถ้ารู้เห็นแล้วไม่มีการกระทำขึ้นมา ไม่มีสติขึ้นมา มันจะเห็นเป็นอย่างนั้นไม่ได้ นี้ปัญญาอบรมสมาธิไง นี้เราอธิบายยาว เพราะเราจะให้เห็นว่า ทำไมถึงเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ทำไมถึงเป็นสมาธิอบรมปัญญา พุทโธ พุทโธ พุทโธคือสมาธิอบรมปัญญา เพราะจิตมันสงบแล้ว เห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ทำจิตให้สงบก่อน จิตสงบแล้ว แล้วถึงเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ถึงเป็นปัญญา ต้องจิตสงบก่อน

ถ้าจิตไม่สงบ ไม่ใช่เป็นปัญญา เป็นสัญญา ในทางสมาธิอบรมปัญญานะ ปัญญาอบรมสมาธิ เพราะของที่มันรู้มันเห็น มันก็สร้างภาพ พอเราตามทัน เราใช้สติตามความคิดไป ความคิดธรรมชาติเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เรายังไม่รู้ไม่เห็น มันไม่เกิดสมาธิกับเรา สิ่งที่มันจะเกิดสมาธิกับเราคือเราจัดการมันได้ไง ถ้าเราจัดการกระบวนการนี้ไม่ได้ เราฟังเขามา ฟังพระพุทธเจ้ามา ฟังธรรมะมา ก็ของเขา!

กระบวนการนี้ไม่เกิดขึ้นมา เราไม่รู้อะไรเลย เราจะรู้จริงขึ้นมา ต้องกระบวนการนี้ต้องเกิดขึ้นกับเรา แล้วถ้ากระบวนการถ้ามันเกิดขึ้นมากับเรา เขาจะพูดผิดอย่างนั้นได้ไหม คนที่พูดผิดคือไม่เคยเห็นกระบวนการนี้ คนที่ไม่เคยเห็นกระบวนการมันยังพูดได้จ้อย จ้อย จ้อยของมัน

แต่ถ้าคนที่เห็นกระบวนการเป็นอย่างนี้แล้ว จะพูดอย่างนั้นอีกไม่ได้เลย แต่เขาพูดกันอย่างนั้น เราถึงบอกผลงานมันบอกไง ใครมาบอกว่า หลวงพ่อเชื่อไหมว่าเขารู้ไหม เราว่าเขารู้ ไอ้รู้ผิดรู้ถูกทุกคนรู้หมดล่ะ แต่เขายังไม่เห็นกระบวนการอีกกระบวนการหนึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้น คำว่ากระบวนการนี่ เราปฏิเสธสภาวธรรมที่เมื่อกี้นี้เขาบอกว่า

นี้กระบวนการคือสภาวธรรม กระบวนการคือจิตที่มันเปลี่ยนแปลง จิตที่มันเป็นไป ถ้าสติเราตามมันทันบ่อยๆ เห็นไหม มันก็เริ่มหยุด หยุดเดี๋ยวก็คิดอีก เพราะอะไร เพราะกระบวนการเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว มันหยุดไม่ได้ ชีวิตสันตติมันเกิด มันดับ แล้วดับตายเลยไม่มี มันดับเพราะอะไร ที่มันดับที่เราเห็นเพราะสติเราทัน สติปัญญาเราทัน มันจะหยุดให้เราเห็น คิดอีก ไล่ไป ไล่ไป พอไล่ไปปั๊บมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิใช่ไหม ปัญญามันจะบอกจิตเห็นไหม การคิดอย่างนี้ทุกข์

ถ้ามีปัญญาคือสติตามความคิด มันหยุดได้ คือสุข สุขคืออะไร สุขคือเรารู้แล้ว เรารู้จักตัวเอง ธรรมะของพระพุทธเจ้าเห็นไหม การชนะตัวเองสำคัญที่สุด การชนะคนมาเป็นหมื่นเป็นแสนไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าเรารู้สถานที่ เรารู้ถึงกระบวนการที่เราจะหยุดมันได้ ที่เราจะชนะได้ คือเราเห็นที่ไง กรรมฐาน กรรมฐาน ถ้ามึงไม่มีกรรมฐาน ไม่มีที่ตั้ง อย่างนี้กลับมานี่ไปไหนกันเวลากลับบ้าน กลับบ้านหมดล่ะ บ้านคือบ้านเรา บ้านของเราใช่ไหม เราต้องกลับไปพักบ้านเรา

แต่ไม่เห็นบ้านของจิต สมาธิคือบ้านของจิต สมาธิคือที่กำเนิดของความคิด สมาธิคือตัวฐานของจิตคือตัวภพ ถ้าเรารู้เท่า ถ้ามันไม่ส่งออก รู้เท่ารู้ทันใช่ไหม ปัญญาอบรมสมาธิมันปล่อย ปล่อยก็กลับมาที่ตัวมัน ก็ตัวภพ แล้วเรารู้เราเห็น นี่คือสมาธิ นี่คือตัวฐาน ถ้าตัวฐานตรงนี้ พอสงบมาถึงฐานนี้ปั๊บ แล้วพอถึงฐานเห็นไหม ถ้าถึงฐาน ฐานนี้ออกรู้ เราเปรียบบ่อยนะ ฐานนี้ออกรู้

เราเปรียบจิตนี้เหมือนส้ม ความคิดคือตัวเปลือก ตัวจิตคือตัวเนื้อส้ม ส้มกับเปลือกส้ม มันมีอยู่แล้วใช่ไหม โดยธรรมชาติ ส้มกับเปลือกส้ม มันก็มีอยู่ด้วยกันนั่นน่ะ แต่โดยธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ขันธ์ ๕ คืออาการของจิต ความคิดเป็นธรรมชาติของมัน จิตมันอยู่ใต้ความคิด มันอยู่ในความคิด พอจิตสงบขึ้นมา มันก็เข้าไปถึงตัวจิต พอถึงตัวจิต จิตออกรับรู้ หลวงปู่ดูลย์ท่านสอน “ต้องดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต”

ทีนี้ส้มมันไม่มีชีวิต มันไม่รับรู้หรอก แต่ถ้าจิตเราทำเป็นนะ ตัวพลังงานมันออกรับรู้นี่ โอ้โฮ! โอ้โฮ! มันตื่นเต้นมาก การตื่นเต้นนั้น การจับ ในกรรมฐานเราเห็นไหม การจะค้นหา การจะปฏิบัติ การจะฆ่ากิเลสมันต้องหาผู้ร้าย หาจำเลยให้ได้ ถ้าเราเอาจำเลยนี่ขึ้นศาลได้ เราจะได้การไต่สวน ได้การฟ้องร้องกัน กระบวนการของศาลจะเกิดขึ้น

ถ้าจิตไม่เห็นอาการของจิต กระบวนการทำไม่มี กระบวนการกระทำเห็นไหม ถึงบอกวิปัสสนาเกิดตรงนี้ไง หลวงปู่ดูลย์พูดไว้ใน “หลวงปู่ฝากไว้” มี พิจารณาจนจิตเห็นอาการของจิต แล้วฆ่ามัน หลวงปู่ดูลย์พูดอย่างนี้ จิตเห็นอาการของจิต แล้ววิปัสสนาแก้ไขมัน ชำระมัน

ไอ้นี่ความคิด ความคิด ทีแรกปัญญาอบรมสมาธิ เรารู้ทัน เรารู้เห็นประโยชน์ก็จะหลบเข้ามา แต่พอมันมีฐานมีสมาธิเห็นไหม มีฐานมีสมาธิ มีที่ตั้ง คือมีข้อมูลอยู่ที่นี่ กิเลสอยู่ที่นี่ สักกายทิฏฐิอยู่ที่นี่ พออยู่ที่นี่ พอที่นี่มาใคร่ครวญปั๊บนี่ ถ้ามันพิจารณาไปแล้วมันปล่อยวางปั๊บ มันจะกลับมาที่นี่

หลวงปู่มั่นท่านพิจารณากายของท่านอยู่ แล้วพิจารณาอยู่ตลอดเวลา มันออกมาก็เหมือนเดิม ออกมาก็เหมือนเดิม ออกมาพิจารณาครั้งแรก จนมาพิจารณาของตัวเองว่าทำไมเป็นอย่างนี้ อ๋อ เพราะเราสร้างพุทธภูมิมา เราสร้างบุญมา ต้องไปลาตรงนั้น พอลาเสร็จก็กลับมาพิจารณากายอย่างเดิม พอพิจารณากายอย่างเดิม ท่านบอกเลยมันเบาลง มันสะอาดขึ้น มันดีขึ้น อารมณ์มันเปลี่ยนแปลงขึ้น ไม่เหมือนเดิม

เราจะยกมาเปรียบเทียบตรงนี้ ตรงที่จิตเห็นอาการของจิต จิตมีการวิปัสสนา สิ่งต่างๆ เวลามันจะไม่เหมือนกับการปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิทำจิตให้สงบคือสมถะ คือทำให้เป็นสมาธิ แต่ถ้าปัญญาออกใคร่ครวญแล้ว เพราะจิตเห็นอาการของจิต เห็นความคิด ระหว่างส้มกับเปลือกส้ม มันทำความสะอาดต่อกัน เปลือกส้มกับส้มมันอยู่ด้วยกันได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ตัว สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส มันยึดเหนี่ยวอันนี้ไว้ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

พอวิปัสสนาไป เราชำระชะล้างไป ไอ้สังโยชน์ ๓ ตัวนี้สะอาดได้ ขาดได้ ขาดเลย ส้มกับเปลือกส้มแยกออกจากกันโดยธรรมชาติเลย ถ้าส้มกับเปลือกส้มมันแยกออกจากกันแล้ว มันคนละชิ้นส่วนกัน นี้พอมันแยกออกหมดเลย สังโยชน์ขาดหมดเลย แล้วกลับมาเหมือนเดิม แต่สังโยชน์ไม่มี ความคิดทุกอย่างเหมือนเดิม แต่สังโยชน์ไม่มีแล้ว แต่กลับมาอยู่เหมือนเดิม

มันถึงเปรียบถึงพระอรหันต์ไง สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังมีความคิดเหมือนปกตินี่แหละ พระอรหันต์ยังพูดได้ ยังคุยได้ ยังกินได้ ยังหัวเราะได้ ยังด่าคนได้ เหมือนเดิม! แต่ไม่มีสังโยชน์ ทีนี้กระบวนการมันเป็นอย่างนี้

แล้วเวลาเขาพูดถึงวิปัสสนาสายตรง สายตรง มันทำอย่างนั้นนั่นน่ะ มันก็เหมือนทางการศึกษา เรายิ่งมีการศึกษามาก เรายิ่งรู้มากเข้าไปนะ มันก็ยิ่งลึกเข้าไป แล้วไม่ได้ชำระกิเลสอะไรเลย

ถ้าชำระกิเลส มันจะกลับมาตรงนี้ กลับมาไม่ปัญญาอบรมสมาธิ ก็สมาธิอบรมปัญญา แล้วมันจะเห็นกระบวนการระหว่างโลกียปัญญา กับโลกุตตรปัญญา มันแตกต่างกันอย่างไร จะเข้าใจว่ากระบวนการของภาวนามยปัญญา มันแตกต่างกันอย่างไร ภาวนามยปัญญากับจินตมยปัญญา สุตมยปัญญามันแตกต่างกันอย่างไร

มันแตกต่างกันหมด ถ้าไม่แตกต่างกัน ทำไมเราต้องมาจัดสีเหลือง สีเขียว สีแดงล่ะ ก็มันคนละสี แล้วปัญญาๆ เหมือนกัน มันก็คนละปัญญา แต่ถ้าคนแยกนี้ไม่ออกนะ ก็เอาสีมารวมกันกลายเป็นสีเทา ทุกสีรวมกันหมดเลย ปัญญาเป็นอย่างนี้ แล้วก็บอกว่า คิดก็ผิด อะไรก็ผิด ต้องเป็นอย่างนั้น

โอ้ ปัญญานี่หลากหลายมาก โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตตมรรคแตกต่างกันหมด นี้เมื่อก่อนใหม่ๆ เรามาเทศน์ ลูกศิษย์เขามาพูด หลวงพ่อพูดวกไปวนมา มรรคแล้วมรรคเล่า

มันไม่รู้ว่ามรรค ๔ ผล ๔ ไง มันนึกว่ามรรคมีอันเดียวไง มรรคเขาไม่ได้มีอันเดียวนะมึง ข้าวมึงกินหมดไหมวันนี้ วันนี้สำรับนี้กินหมดแล้ว พรุ่งนี้ทำสำรับใหม่มา มันคนละสำรับนะมึง สำรับนี้กินไปแล้ว จบไปแล้ว นี้สำรับใหม่มา มันก็เป็นมรรคใหม่ มันคนละมรรค

แต่เราพูดไปปั๊บ เอ้ ทำไมวกวนอยู่อย่างนั้น ถ้าใช้ปัญญาไง เราพูดไว้แล้วกับเขาทีแรก พูดถึงพุทโธไง ถ้าพุทโธ พุทโธต้องเน้นๆ พุทโธย้ำไว้ตลอด ย้ำไว้ตลอด ย้ำไว้ตลอด ถ้าพุทโธนะ แต่บางทีทำไปแล้ว บางทีมันตึงเครียดมาก เรามาใช้ปัญญาบ้างก็ได้ เราใช้ปัญญาแล้ว เราก็กลับไปที่พุทโธได้

หลวงตาท่านพูดบ่อย เวลาเราฟังเทศน์กัน แล้วเราก็จะยึดให้มั่นคง เราจะทำให้ได้อย่างนั้น หลวงตาบอกว่า คนเราต้องมีปัญญาเว้ย ทำอย่างนี้กิเลสมันขี่คอตายห่า มันต้องมีอุบายนี่ไง เวลาพลิกแพลง ปฏิบัติไม่ใช่ปฏิบัติเซ่อๆ ท่านสั่งมาอย่างนี้ ทำอย่างนี้ แหม ไม่เปลี่ยนเลย กิเลสก็ขี่คอนั่นน่ะ ท่านบอกมันต้องมีอุบาย เราต้องพลิกแพลงของเรา เราเปลี่ยนแปลงของเรา พอเราเปลี่ยนแปลง ความเพียรของเราจะก้าวหน้ากิเลสขึ้นหนึ่งก้าว กิเลสตามไม่ทัน พอเราปฏิบัติกิเลสมันตามทันแล้ว เราต้องก้าวไปก้าวหนึ่ง อยู่อย่างนี้

ถ้าจริงๆ แล้วนะ เวลาเราปฏิบัติไป เราจะเห็นเลยว่าความคิดเรา กิเลส ตัวจิต กิเลสมันอยู่หลังความคิดเรา มันสามารถคอนโทรลความคิดเราได้นะ เพราะอะไร เพราะกิเลสเป็นเรา กิเลสกับจิตอยู่ด้วยกัน แล้วพอเราจะปฏิบัติ พอจะเริ่มต้นกิเลสมันแบ่ง ๕๐ เปอร์เซ็นต์เลย มึงจะไหวเหรอ มึงจะเอาจริงเหรอ กิเลสมันแบ่งไปแล้ว ๕๐ เปอร์เซ็นต์ มันแบ่งไว้ครึ่งหนึ่งเลย เหลืออีกครึ่งเดียวสู้ไหวหรือไม่ไหว

นี้พอกิเลสเป็นเราเห็นไหม พอกิเลสเป็นทุกอย่าง มันเป็นเราอยู่แล้ว ถ้าเห็นผลเป็นอย่างนี้ เห็นกิเลสเป็นอย่างนี้ปั๊บ ในการปฏิบัติมันถึงเห็นคุณธรรมที่สูงส่งมาก แล้วการชนะกิเลสนี่สุดยอดมาก แล้วพูดประสาเราด้วยว่า ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมาแล้วทุกๆ องค์ ท่านสงสารพวกเรามากด้วย สงสารมากที่ไหนรู้ไหม สงสารมากว่า กิเลสมันเป็นโรคที่ร้ายกาจมาก แล้วเราเหมือนเอามือเปล่าไปสู้เสือ แล้วการปฏิบัติต้องเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น

ฉะนั้นเวลาหลวงปู่มั่นท่านให้ลูกศิษย์เข้าป่าเห็นไหม ท่านถึงให้ปัญญาไป หลวงตาท่านบอกเลยน่ะ ท่านให้อาวุธมาสู้กับเสือ พอเข้าป่าไปนะ หลวงปู่มั่นท่านให้ไปอยู่นั่น พอไป พอก้าวออกไปนะ โอ้โฮ เสือล่ะ ผีล่ะ อาหารไม่มีจะกิน เข้าแล้ว ท่านให้อาวุธไปสู้กับมัน บังคับเลยต้องไป! ไปก็ไป กลัวก็กลัว แต่ก็ไป เอาชนะตนเองให้ได้ พอชนะได้หนสองหนน่ะ อื้อ กูก็ทำได้ ขอให้มีการชนะขึ้นมาบ้าง กูก็ทำได้ ไม่ใช่ แหม ต้องฟังจากคนอื่น เราจะเริ่มดีขึ้น มั่นคงขึ้น แล้วเราทำของเราขึ้น

ครูบาอาจารย์สำคัญมาก แต่ไม่สำคัญเท่ากับความเพียรของเรา ครูบาอาจารย์สำคัญขนาดไหน เราไม่ทำตามท่าน เราก็ได้ฟังท่านไปทุกวัน ทุกวัน..ฉะนั้นมันอยู่ที่เรา ต้องจับประเด็น ต้องเข้มแข็ง ต้องสู้ เราบอกนะ อย่างพวกโยมนะถ้าดื้อกับเรานะ สบายมากเลย กูเอาคนมายกไปได้เลย แต่ถ้าจิตมันไม่เอานะ จะทำอย่างไร จะเอาขวานผ่าเข้าไปกลางหัวอกมันเหรอ พูดมันก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ไม่ฟัง ทำไมล่ะ ในใจมันท้าด้วยใช่ไหม แล้วจะแก้มันอย่างไร

จิตติดนี่แก้ยาก แล้วดื้อๆ อย่างนี้ โธ่ เดี๋ยวเกณฑ์มาเลย ยกออกไปเลย เอาเปลหามไปเลย แก้ง่ายๆ วัตถุนี่แก้ง่ายๆ เลย แต่จิตมันติดนี่สุดยอดเลย แล้วเวลาพูดไป โอ๊ว...

อย่างนี้คิดถึงชฎิล ๓ พี่น้อง พระพุทธเจ้าจะไปทรมาน

“อื้อ สมณะองค์นี้เก่งเนาะ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา”

เห็นพระพุทธเจ้าไปจับพญานาค อื้อ สมณะนี้เก่งนะ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา ทิฐิ ไม่ฟังหรอก จนพระพุทธเจ้าแก้แล้วแก้อีกจนทนไม่ไหวนะ

“ท่านไม่ใช่พระอรหันต์”

โอ๋ รู้ใจ คอตกเลยนะ ยอมรับ ยังดียอมรับนะ พอยอมรับ รอฤๅษีบวช ขอบวชนะ พอออกบวช คนเรามันทำสมาธิอยู่แล้ว บูชาไฟ ตบะ เหมือนเราเพ่งไฟ ตบะธรรม จิตมันมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มีอยู่แล้วมันคุมพญานาคได้อย่างไร แต่ไม่มีปัญญา แล้วปัญญาอย่างนี้เกิดไม่ได้ บารมีของคนไม่มีปัญญามันเกิดไม่ได้ พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบเลย

“เพราะบูชาไฟใช่ไหม”

“ไฟเป็นของร้อนไหม” เพราะบูชาทุกวันก็รู้ เอาของที่คุ้นเคย ที่คุ้นชินกับกิเลสเลย แล้วหักมันเลย

“ไฟเป็นของร้อน ตาเป็นของร้อน หูเป็นของร้อน จมูกเป็นของร้อน” ร้อนนี่โทสัคคินา โมหัคคินา มันก็เทียบเข้ามา นี่ปัญญามันเกิดตรงนี้ แต่เดิมเพ่งเฉยๆ พอเกิดปัญญาขึ้นเห็นไหม

“ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นของร้อน ร้อนเพราะโทสะ ร้อนเพราะโมหะ”

มันก็คิดตาม พอคิดตามปัญญามันเกิด ปิ๊ง! เป็นพระอรหันต์เลย

สอนคนอื่นถ้าจิตมันติดนะ แล้วการปฏิบัติ ทีนี้เวลาทำอย่างนี้ปั๊บ มันจะดูถึงปฏิกิริยาด้วย เราอยู่กับครูบาอาจารย์มาเยอะ ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นนะ อยู่ที่บ้านตาด ทำไมท่านให้ลุกฉับไว ทุกอย่างฉับไวเพราะสันดานของมนุษย์ไปนั่งที่ไหนก็รากงอก เอ้อระเหย ท่านถึงบังคับเลย พอเจอทุกคนน่ะพรวด พรวดเลย เราก็ เอ้ ทำไมพระที่นี่ต้องเร็ว ทำไมพระที่นี่ต้องทำอย่างนั้น

ก็ฝึกให้เป็นนิสัย ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นนะ ครูบาอาจารย์ที่เป็นนะ เห็นคนเราเดินด้วยขาดสติ เรายืนด้วยความเหม่อนี่ ท่านรับไม่ได้แล้วนะ เวลาท่านอัดแรงๆ “ศพเดินได้” เหมือนกับไม่มีจิตวิญญาณ เหมือนกับซากศพ มันโดนช็อตเข้าไปทีก็สะดุ้ง สะดุ้งหูตาสว่างเลย เออ สติพร้อมเลย แต่เดิมนี่...

นี่ผู้ที่ปฏิบัติครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นคุณธรรมมีคุณธรรมนี่ ท่านมองปฏิกิริยาของเรา เหมือนเรา เราทำงานด้วยความเข้มแข็ง แล้วมีคนมาเอ้อระเหยอย่างนี้ เราจะคิดอย่างไร มันก็ช็อตเข้าไปสิ พลั๊ว พลั๊ว ถ้าพวกเราเคารพนับถือ อืม สุดยอดเลย วันนี้ แหม สดชื่น ได้ยาขนานดี แต่ถ้ามันเป็นกิเลสนะ โอย! วันนี้เสียหน้า ไม่น่าด่าเรากลางชุมชนเลย แต่ถ้าเรามีจิตใจนะ แหม วันนี้ได้ยาแรง แหม วันนี้สดชื่น เดินจงกรมได้ทั้งคืนเลยคืนนี้ หูตาสว่าง

เราสังเกตตรงนี้ด้วย เราไปวัดที่ไหน เราสังเกตตรงนี้ หลวงตาท่านไปดูที่ไหนนะ ถ้าที่ไหนมีข้อวัตรอยู่ ข้อวัตรนี่รู้เลยนะ เข้าไปในวัดนั้น ถ้าเข้าไปในวัดนั้น ความเป็นอยู่ พฤติกรรม เพราะอะไรรู้ไหม ใครมาจะถาม ศาลานี้สะอาดนัก สะอาดนัก สะอาดเพราะอะไร เขาไม่เคยเห็น แต่ถ้าใครมาเจอตอนถูนะ สะอาดเพราะเขาถูทุกวันไง ถูเช้าถูเย็น แต่มาไม่เห็นตอนถู ทำไมสะอาดนัก นี่พฤติกรรมเห็นไหม ส้วม ความเป็นอยู่ ถ้าเข้าไปวัดนี่ ดูพั้บเดียวเท่านั้นน่ะ

ถ้าจิตใจมันสะอาด ถ้าจิตใจมันดี จิตใจนี้มันสะอาดมาเพราะอะไร หลวงตาเห็นไหม ท่านบอกเลย เวลาโลกธาตุท่านหวั่นไหวหมดเลย เสวยวิมุตติสุขตลอดเวลา เอ้ เราจะไปสอนเขาได้อย่างไร สอนเขาได้อย่างไร เพราะของมันลึกลับมหัศจรรย์ขนาดนี้ พูดเหมือนกัน ถ้าไม่เหมือนกันนะ พูดเหมือนกันนี่แหละ ไม่เหมือนหรอก แล้วจะไปบอกมันได้อย่างไร บอกมัน มันบอกรู้แล้ว คอตกจะไปสอนได้อย่างไร

แล้วท่านทบทวนของท่านเห็นไหม อ๋อ เราปฏิบัติมาเพราะเหตุใด เราปฏิบัติมาก็ข้อวัตรปฏิบัตินี่ไง เรามาได้เพราะข้อวัตรปฏิบัติ ฉะนั้นไอ้ข้อวัตรปฏิบัติที่พฤติกรรมที่การกระทำ มันจะดัดแปลงจิตใจของคน ทุกดวงใจโดยธรรมชาติขี้เกียจ ไม่ทำ อยากจะให้ทุกคนคอยบริการ

เราพูดอย่างนี้แล้ว เราคิดถึงหลวงตา เวลาเราไปสืบค้นไง แบบว่าตอนที่หลวงตาท่านยังอยู่บ้านตาดใหม่ๆ ท่านจะทำข้อวัตรด้วย แล้วสมัยนั้นยังไม่มีรถเข็น ท่านจะเอาปี๊บน้ำใส่น้ำ แล้วเอาตะขอเกี่ยว แล้วเอาไม้นี่หามหน้าหลัง นี้อาจารย์สิงห์ทองท่านเป็นลูกศิษย์ ท่านก็อยากให้อาจารย์ได้พักผ่อน ไม่อยากให้อาจารย์ทำ นี้หลวงตาท่านเป็นหัวหน้า ท่านก็ทำด้วย ลูกศิษย์ทำ หัวหน้าก็ทำด้วย

นี้อาจารย์สิงห์ทองท่านอยากจะให้พักผ่อน ไม่อยากให้ทำ นี่หาบเอาปี๊บน้ำ แล้วมันมีสายยูใช่ไหม แล้วก็เอาไม้ร้อยแบกหน้าแบกหลังเพราะพระหาบไม่ได้ พระคอนได้ พระหาบเหมือนชาวบ้าน อาชีพที่ชาวบ้านเขาทำกันทำมาหากิน พระทำอย่างนั้นไม่ได้ พระพุทธเจ้าห้ามหมด เพราะเขาหาว่าพระเดี๋ยวไปทำแข่งขันกับโลก จะไปค้าขายแข่งกับเขา พระห้ามทำหมด ฉะนั้นพระหาบไม่ได้ พระคอนเอา ก็หัวท้าย

หลวงตาท่านอยู่หน้า อาจารย์สิงห์ทองท่านอยู่หลัง ท่านดันใหญ่เลย ท่านจะดันให้ล้ม ล้มแล้วบอกว่า ไม่ต้องทำ ไม่อยากให้ทำ แต่พูดอย่างไรท่านก็จะทำ แต่ด้วยความรักของลูกศิษย์นะ ทำเพราะรักนะ ทำเพราะรัก เพราะเคารพ อยากให้อาจารย์สอนเฉยๆ ไม่ต้องมาทำข้อวัตร แต่ท่านจะทำ อาจารย์สิงห์ทองก็พยายามๆ จะให้ท่านหยุดให้ได้ แต่พูดอย่างไรพูดกันก็ไม่ยอม (หัวเราะ)

เห็นไหม ผู้นำที่ดี สิ่งที่ดี ข้อวัตรที่ดี เข้าวัดไปเราจะเห็น ข้อวัตรปฏิบัติมันจะฟ้อง ใครมามันจะบอกหมด ถ้าใจเรามีหลักมีเกณฑ์นะ เราจะเข้าใจเลย อย่างเช่น ความสะอาด ความสะอาดก็ต้องมาจากการกระทำทั้งนั้นน่ะ มันจะสะอาดไปได้อย่างไร พระอยู่ในหลักในเกณฑ์ก็ต้องโดนช็อตบ่อยๆ มันก็ต้อง..ถ้าพระโดนช็อตนะ ไปวัดไหนนะ ก็มีแต่พระเดินกันเกลื่อนเลย เดินกันจีวรปลิวไปก็ปลิวมา นั่นเพราะอะไร เพราะหัวหน้าไม่คุม แต่ถ้าหัวหน้าดีนะ พระไม่ทำตัวกันอย่างนั้น

นี่ถ้าพูดอย่างนี้แล้ว คนถ้ามีเซนส์ คนเข้าใจนะ อย่างครูบาอาจารย์ท่านไปไหน ท่านรู้หมด มองแป๊บเดียวเท่านั้นน่ะ เพียงแต่ว่าโทษนะ พูดหรือไม่พูด พูดออกมาแล้ว ถ้ามันเป็นประโยชน์ไง คือช็อตเขาให้เขาได้รู้สึกตัวก็ดี ดูอย่างเช่น ท่านไปทางเหนือเห็นไหม มีอยู่วัดหนึ่งไม่มีทางจงกรมเลย กลางคืนท่านไปหาทางจงกรมไม่ได้เลย เช้าขึ้นมาศาลา พังเลย ด่าเช็ดเลย ๒-๓ วันส่งข่าวมา ทางจงกรมเต็มวัดเลย

นั่นมันเกินไป มันเกินไป หมายถึงว่า ท่านไปพักที่นั่น แล้วท่านไปหาทั่วเลย แล้วท่านพยายามหา มันเลยสะเทือนใจท่านมาก ท่านเลยอัดแรงหน่อยหนึ่ง นี่ครูบาอาจารย์เราถ้าปฏิบัติเป็นนะ มันมาจากไหน การปฏิบัติมาจากข้อวัตรปฏิบัติ มาจากความจริงจังของพวกเรา นี่ถ้าเราทำจริงทำจังขึ้นมา มันได้ผลนะ น้ำหยดลงหิน หินมันยังกร่อน แล้วเราปฏิบัติทำไมมันจะไม่ได้

เวลาเราปฏิบัติเราเจออย่างนี้ ต้องได้ ต้องได้ ต้องได้แล้วเราก็มาฝึก ลุยอย่างเดียว ลุยอย่างเดียวเราเปรียบเหมือนวิ่ง ๑๐๐ เมตร พอวิ่งไปถึง ๕๐ เมตรมันก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ วิ่งไปถึง ๘๐ เมตร กลับมาเริ่มต้นใหม่ แล้วเมื่อไหร่มันจะถึงเส้นชัยวะ พอปฏิบัติไปแล้วดันแม่งเลย ไปเรื่อย ดันมันเรื่อย

แล้วมาอ่านในพระไตรปิฎกไง การปฏิบัติของการฝ่ายปฏิบัติไม่ได้ผล เพราะปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ ในพระไตรปิฎกพูดไว้อย่างนั้นมีอยู่ข้อหนึ่ง การปฏิบัติที่ไม่ปฏิบัติสม่ำเสมอ แต่ถ้ามาในปัจจุบันเราก็ไม่เสมอต้นเสมอปลาย ลุ่มๆ ดอนๆ ถ้าเสมอต้นเสมอปลายแล้ว ดันไปเลย นี้ดันกันไป จะดันแค่ไหน อย่างเราฮึดอย่างนี้ เหมือนขึ้นชกมวย เมื่อไหร่จะหมดเวลาสักทีวะ เกือบตายอยู่แล้ว รอแต่ระฆังจะช่วย

แต่ถ้าเราปฏิบัติแล้วเหมือนกัน คนปฏิบัติเมื่อไหร่จะได้ผลสักทีวะ แล้วมันก็คากันอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่สำหรับเรานะ ตอนเราปฏิบัติ เราดันอยู่อย่างนี้ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ ปีกูอัดแม่งอย่างนั้นน่ะ ไปไหนก็แล้วแต่ จะไปธุดงค์ที่ไหนก็แล้วแต่ ไปพักที่ไหนก็แล้วแต่จะมองเลยว่า เขามีโอกาสให้เราได้ปฏิบัติไหม ถ้าไม่มีเวลานะ ถ้าทำงานมากเกินไป เราอยู่ไม่นาน เราก็ไปแล้ว แต่ที่ไหนให้เราได้มีโอกาสได้ปฏิบัติบ้าง เพราะตอนนั้นมันกำลังเร่ง แล้วเร่งจริงๆ เร่งเต็มที่เลย

จิตมันเป็นอย่างนี้ ถ้าคนปฏิบัติเป็น คนรู้เป็น มันมองออกหมดเลย แล้วเวลาพูดออกมา ถ้ามันเป็นจริง ขนาดเราพูดถึงเรื่องอภิธรรม อภิธรรมในพระไตรปิฎก อภิธรรมมันเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แล้วบอกกระบวนการของจิต ที่จิตมันสะอาดบริสุทธิ์มันเป็นอย่างนี้ มันกี่ดวง กี่ดวง กี่ดวงน่ะ คือกระบวนการของมันไง คือสูตรสำเร็จที่เป็นพระอรหันต์แล้ว แล้วเราไปเอาสูตรสำเร็จมาปฏิบัติ แต่เรายังไม่เป็น มันขัดแย้งกัน

เราไม่ได้ปฏิเสธในพระไตรปิฎกนะ เราปฏิเสธพิธีกรรม วิธีการกระทำของเขา เราถึงย้อนกลับมาเรื่องหลวงปู่มั่น ต้นคดปลายตรงไม่มี แล้วเขาบอกพุทโธ พุทโธ พุทโธมันจะมีอะไร แล้วนามรูปๆ มันผิดอย่างไร พวกพระมาเถียงเรานะ

พุทโธ พุทโธ มันไม่ผิดเพราะเราตั้งใจว่า เราจะทำสมถะ เราต้องการความสงบของใจ ในเมื่อเริ่มกระบวนการเริ่มต้น เราไปถูกทาง เราไม่ได้ต้องการสิ่งใดเลย เราต้องการความสงบของใจ พุทโธ พุทโธ พุทโธเพื่อความสงบของใจ แล้วใจสงบแล้ว เราค่อยวิปัสสนา เราค่อยใช้ปัญญาต่อไปภายข้างหน้า กระบวนการของต้นมันตรง

แต่นามรูป นามรูป นามรูปนี้เขาบอกเป็นวิปัสสนาสายตรง เห็นการเกิดดับแล้ว กระบวนการที่สิ้นสุดแล้ว คือต้นมันเบี่ยงเบนไง ต้นบอกว่าพิจารณานามรูป รูปนาม พิจารณารูปนาม คือวิปัสสนาใช้ปัญญาสายตรงใช่ไหม

กิเลสน่ะ มึงไม่ต้องเป็นอะไรกับมัน มันก็หลอกมึงอยู่แล้ว อันนี้ไปปูเสื่อให้มันเลย บอกว่าวิปัสสนาสายตรง มันก็ขี่คอมึงเลยน่ะสิ พระเขาย้อนเราเลย

“อะไรก็ผิด ก็ผิด แล้วกำหนดเหมือนกัน มันผิดได้อย่างไร”

“พุทโธก็กำหนดพุทโธ พุทโธ นามรูปก็กำหนดนามรูป เขาก็ดูนามรูป เขาผิดตรงไหน”

มันผิดที่ว่า “เราบอกว่านามรูปเป็นวิปัสสนา คือเราคิดว่า เราไปเห็นอย่างนั้นจริงๆ เราไปเห็นพัฒนาการของจิตเป็นอย่างนั้นจริงๆ ถ้าเราตั้งใจจริง แล้วเรากำหนดจริงๆ มันก็เห็นเกิดดับจริงๆ แล้วก็ปล่อยว่างๆ ว่างอย่างนั้นจริงๆ ที่เขามา “หลวงพ่อมาว่างๆ น่ะ ว่างๆ”

บางทีสังคมเขาใหญ่ ลูกศิษย์เขามาเยอะนะ เราบอกว่า

“โยมภาวนาเพื่ออะไร ถ้าโยมภาวนาเพื่อภาวนาก็จบแล้วล่ะ”

“ไม่ ผมภาวนาเพื่ออยากได้มรรคผลเหมือนกัน”

“ถ้าเพื่อมรรคผล มันผิดหมดล่ะ”

ช็อคเลย! บางคนร้องไห้เลย! แล้วต้องทำอย่างไร ต้องกลับมาพุทโธ ถ้าพิจารณานามรูป เอ็งก็ต้องใช้จิตอย่างที่ว่า ใช้ปัญญาเข้าไป พอมันสงบแล้ว มันว่างแล้ว เดี๋ยวมันก็เกิดอีก เอ็งต้องไล่เข้าไป เพราะเราต้องเข้าใจว่า เราเข้าไปเพื่อให้จิตสงบ เพราะปัญญายังไม่เกิดหรอก ถ้าเกิด ปัญญาที่เกิดมันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธินี่แหละ เราถึงบอกผลของการปฏิบัติทุกวิธีการ ทุกแนวทาง ผลของมันคือสมาธิ ถึงเขาบอกจะเป็นวิปัสสนาสายตรง ผลตอบสนองนั้นก็เป็นสมาธิ แล้วเพราะความเข้าใจผิดเลยเป็นมิจฉาสมาธิไง

ถ้ากระบวนการเริ่มต้นถูก มันจะเป็นสัมมาสมาธิ เพราะอะไร เพราะมันว่างแล้วมีสติ อย่างใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไป เราไล่เข้าไป เราเห็นมันปล่อยอย่างไร เราตามเข้าไป แล้วมันปล่อย มันมีสติพร้อม คำว่าพร้อมใช่ไหม พอพร้อมจิตเห็นอาการของจิต คือจิต ธรรมชาติของมัน มันส่งออก พลังงานมันส่งออก นี้พอมันไปส่งออกมันไปกระทบกับอะไร ส้ม พลังงานของพลังงาน เรดาห์เห็นไหม พลังงานมันจับสิ่งที่เข้ามาในสัญญาณมันไง

นี้ก็เหมือนกัน จิตมันกระทบกับเปลือกใช่ไหม เนื้อส้มกระทบกับส้มเห็นไหม กระบวนการมันกระทบ มันเป็นคนละมิติกับใช้ปัญญาเรานี่ไง เพราะมันเป็นจิตที่คนละระดับกัน ทีนี้เขาบอกว่าเขาพิจารณานามรูป นามรูปมันดับ ดับไป ดับไป พอดับไป จิตเห็นอาการของจิตไหม พอดับแล้วเขาว่า ถ้ามันว่างนะ เขาบอกว่างๆ เขาบอกว่างนี้เป็นสมถะเหมือนกัน แต่พอว่างแล้ว เขาเข้าใจว่าพอมันว่างแล้ว เพราะว่านิพพานคือความว่าง คือการปล่อยวาง แล้วดำเนินการอย่างไรต่อไป

อย่างเช่นเรา เราดื่มน้ำ ดื่มน้ำเข้าไป รสของน้ำ ก็ดื่มน้ำได้ตลอดไป นี้ว่างแล้ว จะว่างอย่างไรต่อไป เพราะมันไม่จบ กระบวนการมันไม่จบ แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิเพราะเราเข้าใจอยู่แล้วเป็นสมาธิ มึงว่างขนาดไหน ใครเป็นเจ้าของว่าง นี่สัมมาสมาธิไง เพราะมีสติมีความรับรู้ทัน ฉะนั้นใครมา เขาบอกว่า มันมีหลายคนนะ ข้าราชการผู้ใหญ่มาก เขามาเขามาบอกว่า เขาอยากจะพ้นทุกข์นี่แหละ เขาพิจารณานามรูป เขาได้ข่าวว่า เราบอกว่าเขาผิด เขาเลยมาขอคุยด้วย

เราบอกว่า ข้าราชการผู้ใหญ่ เขาจะผิดได้อย่างไร หลวงพ่อ มันเป็นวิทยาศาสตร์เลย มันพิสูจน์ได้หมด มันอธิบายได้หมดเลย เราก็บอกว่า ก็มันผิดตรงวิทยาศาสตร์นี่ ตรงที่มึงว่านี่ผิดหมดเลย เพราะเราพิสูจน์ได้ เราพูดได้ ก็คือโลกไง วิทยาศาสตร์คือโลก เกิดจากโลกียปัญญา

ธรรมมันเหนือโลก ผิดตรงที่มันอธิบายได้ มันพูดได้ มึงก็สร้างกระบวนการที่มึงเข้าใจแล้ว มันก็เข้ากระบวนการ เราก็สร้างความคิด สร้างความว่าง แล้วเราอธิบายความว่างนั้นได้ทั้งหมดเลย แต่ถ้าเป็นสมาธินะ มึงสร้างไม่ได้! มันจะเกิดโดยธรรม พอจิตมันสงบ เอ๊อะ แล้วอยากได้อย่างนี้อีก อย่างนี้อีก อดแดก มันสร้างไม่ได้! สร้างก็คือปลอมไง พอมันปลอมขึ้นมา บอกมันเป็นวิทยาศาสตร์ มันจับต้องได้หมด มันพูดได้หมด

ก็มันผิดตรงนี้ ผิดตรงนี้ ผิดที่วิทยาศาสตร์นี่ เพราะธรรมะไม่ใช่วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์คือกรอบ กติกานี้ตายตัว อย่างเช่น อภิธรรม เรียนพระไตรปิฎกมา แล้วอย่ากระดิกเลยนะ ผิดพุทธพจน์ ผิดพุทธพจน์

เราบอก เฮ้ย ไม่ใช่ กูไม่เถียงพุทธพจน์หรอก กูเถียงไอ้คนอธิบายพุทธพจน์นี่ พุทธพจน์กูก็เคารพอยู่ ถ้าเราทำถูกต้อง มันก็เหมือนกฎหมาย เหมือนวิธีการทำงาน แล้วการทำงาน เราทำงานโดยเถรตรง งานจะไปรอดไหม การทำงานมันก็ต้องมีวิธีการทำงานใช่ไหม มันต้องแตกต่าง

พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า พระไตรปิฎกเหมือนใบไม้ในกำมือ ใบไม้ในป่า วิธีการหรือการแตกแขนงออกไปในการปฏิบัติ อีกหลากหลายมหาศาลมากเลย เพียงแต่รู้จริง ถ้ารู้จริงมันจะกลั่นกรอง แล้วชักนำกันจริงได้

เวลาพอพูดอย่างนี้มันเป็นดาบสองคม ถ้าอีกคมหนึ่งก็แบบว่า ถ้าเรามันเป็นกิเลส เราจะต้องการเบี่ยงเบน เราต้องการให้หลบหลีกใช่ไหม เราก็อ้างตรงนี้ได้ คืออ้างเป็นกิเลสก็ได้ กิเลสคือว่าเอาแต่ใจตัว เอาแต่ความสบายของตัวไง ใบไม้ในป่าเว้ย นอนกันทั้งวัน ใบไม้ในป่าเว้ย ใบไม้ในป่า กูจะกินสบายๆ เว้ย ใบไม้ในป่า มันก็อ้างได้ อ้างเล่ห์เห็นไหม

แต่เราไม่ได้อ้างอย่างนั้น เราทำแล้ว เราต้องพิสูจน์ด้วย เพราะธรรมะนะ อย่างหลวงปู่มั่นท่านพิสูจน์เลย พอวิปัสสนาไป ปัญญาไปแล้ว ออกมาแล้ว อืม ดีขึ้นไหม ถ้าพิสูจน์ได้ ใจเราเบาลงรู้ไหม สิ่งที่หมักหมมมันได้ชำระไปบ้างไหม เรารู้ คราวนี้เป็นสมาธิดีมากเลย แล้วคราวหน้าก็เป็นอย่างนี้อีก แล้วคราวต่อไปก็เป็นอย่างนี้อีก

แล้วมึงจะอยู่อย่างนี้ตลอดไปเหรอ ถ้าอย่างนี้ปั๊บหาอาจารย์แล้ว ผมเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ทำอย่างไร ถ้าตอบไม่ได้เป็นอาจารย์กูไม่ได้ เราไปหาอาจารย์มาเยอะแล้ว ถามใครก็.. ถามอย่างมันตอบอย่าง อู้ฮู ปวดหัวๆๆ เราหามาเยอะ แล้วอาจารย์อย่างนี้มีเยอะ เขาต้องการพวกเราไว้เป็นฐานเฉยๆ

บางวัดลูกศิษย์มาหา พระไปอยู่กับเขาแล้วกลับมาเล่าให้ฟังบอก หลวงพ่อ บางทีผมภาวนาดีนะ แล้วไปอธิบายให้ท่านฟัง ขึ้นไปถามปัญหานี่แหละ พอท่านรู้ปั๊บ ท่านพาทำงานเลย เราก็เศร้าใจมากเลย เราเข้าใจเกม ถ้าปล่อยภาวนาไปนี่ แล้วตอบไม่ได้ แล้วถ้าสูงไปมันจะยุ่งไง

แต่ถ้าออกมาทำงานแล้ว เหมือนกูเลย ซื่อบื้อ ซื่อบื้อ อย่างนี้พอ ไม่ต้องทำอะไร ซื่อบื้อแบบกู พอแล้ว ถ้าภาวนาเดี๋ยวไปไกล แล้วก็มาหาเรา โทษนะ ฟังแล้วเศร้าใจ น้ำตาจะไหล นี้เราพูดเล่นเฉยๆ แต่ฟังแล้วมันเศร้าใจ คิดดูว่าหัวหน้าซื่อบื้ออย่างนี้ มันจะสร้างพระขึ้นมาได้อย่างไร แล้วในศาสนาเราจะเหลืออะไร จริงๆ เราเศร้านะ เศร้าใจมากเลย

แล้วพอเราทำอะไรออกไปแล้วนี่ อวดดีอวดเด่น! อวดดีอวดเด่น!

จะไปดีอะไร ครูบาอาจารย์ท่านทำยิ่งกว่าเราอีก กูยังไม่ได้ทำอะไรเลย กูไปอวดดีตรงไหน แต่เขาก็ว่ากันอย่างนั้นนะ เพียงแต่เราพูดใช่ไหม อ้าว เด็กมันมาถามใช่ไหม ลูกเรามาถามว่า อันนั้นถูก อันนี้ผิด แล้วเราไม่บอกเขา เขาก็ซื่อบื้อน่ะสิ เราก็ต้องบอกถูกบอกผิดเขา ถ้าบอกผิดเอ็งเชื่อกูหรือไม่เชื่อล่ะ บอกเขา เขาก็ยังไม่เชื่อนะ

อย่างที่หลวงปู่ดูลย์ว่า “นิมิตจริงหรือไม่จริง” “จริง” “เห็นนิมิตไหม” “เห็น” “นิมิตเห็นจริงไหม” “เห็นจริงๆ”

แต่สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง เป็นอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะจิตเรายังมีกิเลสอยู่ อย่างที่โยมพูด จะเห็นกาย เห็นอะไรน่ะ เห็นใหม่ๆ หลวงปู่เจี๊ยะท่านบอก พิจารณากายเป็นได้ทั้งสมถะและเป็นได้ทั้งวิปัสสนา เราพิจารณาไปอย่างนี้ เราพิจารณาไปเรื่อยๆ พิจารณามันก็ปล่อยเหมือนกัน มันก็ว่างเหมือนกัน เป็นสมถะ คือ มันจะละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ

ถ้าจิตละเอียดแล้ว พอมันเห็นกาย เราจะมีความรู้สึกเลยว่ามันเห็นต่าง เราพิจารณามาแล้ว เห็นกายโดยปกติ คือเห็นกายโดยซื่อบื้อ ซื่อบื้ออย่างนี้แหละ แต่ถ้าไปเห็นโดยสมาธิโดยที่จิตมันสงบนะ เห็นทีมันช็อคเราเลย เห็นครั้งแรกมันช็อคเลย

เราเปรียบเทียบอารมณ์อย่างนั้นเวลาเราพูด เวลาเราเปรียบเทียบอย่างนั้น ถ้าเราเห็นกายโดยสมถะ มันก็เห็นโดยสามัญสำนึกนี่แหละ เห็นโดยธรรมชาติ แต่ไปเห็นอย่างนั้น มันสะเทือนกิเลสไง เราเปรียบเทียบว่าไดโนเสาร์มันขยับตัว

เราเปรียบว่าจิตของเรามันเกิดตาย เกิดตายในวัฏฏะ เหมือนไดโนเสาร์ สัตว์ดึกดำบรรพ์ จิตนี้เหมือนสัตว์ดึกดำบรรพ์ กิเลสเหมือนสัตว์ดึกดำบรรพ์ในใจ แล้วไม่มีใครเคยเห็นมัน นี้พอเราไปเห็นกายโดยสมาธิ โดยสมาธิเห็นนะ มันสะเทือนไดโนเสาร์ตัวนั้น โอ้โฮ ขนพองขนลุกหมดเลย มันสะเทือนถึงหัวใจ สะเทือนมากๆ แล้วพอพิจารณาไป พอจิตมันสะเทือนปั๊บหลุดเลย เพราะอารมณ์สะเทือนนี่มันไหวมาก ไหวมากภาพนั้นจะอยู่ไม่ได้

แล้วเรากลับมาทำความสงบอีก พยายามดึงให้จิตสงบแล้วดึงภาพนั้นขั้นมา พอดึงภาพนั้นขึ้นมาแล้ว มันเป็นอุคคหนิมิต ขยายส่วน แยกส่วน อย่างมือนี่ขยายออกเห็นเป็น ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง มันขยายส่วนได้ พอขยายส่วนได้ โอ้โฮ โอ้โฮ โอ้โฮนี่ไม่ใช่สมองนะ จิตมันโอ้โฮแล้ว เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโดยสามัญสำนึก โดยปัจจุบัน โดยที่มันคิดว่ามันรู้จริง มันคิดว่าเป็นของมันไง เราพูดกันที่ปากนะว่ากายไม่ใช่เรา แต่จิตใต้สำนึกมันยึด

พอมันขยายส่วน แยกส่วน มันตกใจ จิตเองมันสะดุ้งของมันเอง มันตกใจ โอ้โฮ โอ้โฮนะ แล้วเราฟังใครมาพิจารณากาย มันไม่พูดอย่างนี้ ถ้าไม่พูดอย่างนี้นะ กูไม่เชื่อ กูไม่เชื่อ มันเห็นโดยสัญญาไง บังเอิญมันเคยเห็นมา ฉะนั้นใครมาพูดอะไร มันถึง..แต่เริ่มต้นกระบวนการต้องเป็นอย่างโยม กระบวนการจะเป็นอย่างนั้น เราจะบอกเลย เวลาปฏิบัติเราจะให้กำลังใจ ว่าไม่ต้องกลัวผิด แล้วโทษนะ ผิดทุกที ผิดทุกคน แต่ผิดไว้ก่อนไง เพราะว่ามึงไม่ต้องกลัวผิด ถ้ามึงกลัวผิด มึงไปไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วต้องผิดทุกคน จะผิดมาก ผิดน้อย

ฉะนั้นกระบวนการที่มันเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว มันเป็นกระบวนการแบบเปลี่ยนผ่านไง แบบจิตมันจะพัฒนา มันต้องมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านของมัน นี้กระบวนการเปลี่ยนผ่านของมัน กระบวนการนี้เปลี่ยนผ่านนี้เห็นครั้งแรก มันจะถูกได้อย่างไรใช่ไหม มันจะเปลี่ยนผ่านไปอันที่ถูกใช่ไหม แล้วถ้าไม่มีกระบวนการเปลี่ยนผ่าน มันจะพัฒนาตัวมันไหม เราถึงให้กำลังใจไง ภาวนาเถอะ ทำเถอะ

นี้เวลาเทศน์โน้นก็ผิด นี่ก็ผิด นี่ก็ผิด จนผู้ถามเกร็งไปหมดเลย

ไม่ใช่ เวลาเทศน์บอกโน่นผิด นี่ผิด เราพูดมันเป็นกระบวนการ มันเป็นขั้นตอนไปแล้ว เราต้องบอกขั้นตอน ๑ ๒ ๓ ๔ มันถูกมันผิดอย่างไร แล้วของเรา ยังไม่ขึ้นบันไดเลย มึงไปกลัวทำไม แต่ทุกคนจะเกร็ง จะกลัวมาก กลัวผิด กลัวผิด

นี้ประสาเรามันพูดไว้เยอะไง เดี๋ยวก็ถูก เดี๋ยวก็ผิด โอ๋ย คนงงกันน่าดูเลย แล้วใครมาถามปัญหาทุกคนจะบอกว่า หลวงพ่อไม่ได้ตอบปัญหาเลย อ้าว กูตอบแล้วไง เวลาเราตอบ เราอธิบายหลากหลาย แล้วเขาจะเคลียร์เขาเอง แล้วเวลาตอบคนที่ภาวนาติดมา เอ็งเข้าใจไหม ถ้าไม่เข้าใจ เราก็จะตอบอีก

เราอธิบายเรื่อยๆ อธิบายจนกว่าจะเข้าใจ แล้วเราก็สงสาร เรารู้ เราพูดทุกคนหัวเราะหมดล่ะ ต่อหน้ากูนี่เข้าใจนะ ลงบันไดไปมันก็ลืมแล้ว ยิ่งไปที่บ้านยิ่งปวดหัวใหญ่เลย

มันเป็นอย่างนี้เอง เพราะมันมีอวิชชาอยู่ มันเป็นอย่างนี้เอง ก็หมั่นทำเข้า แล้วก็ตั้งประเด็นนั้นไว้ เวลาคุยกันต่อหน้า เคลียร์หมดนะ แหม ขาวสะอาดเลยนะ พอลงบันไดไป เอ้ จริงหรือเปล่าวะ ขอถามใหม่ได้หรือเปล่า มันเป็นอย่างนี้เพราะเราเป็นมา มันเป็นอย่างนี้เอง แล้วเราจะหลบจนไม่มีเลย มันเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นถึงบอกไม่ต้องกลัวผิด

มันเหมือนเราปิ้ง ย่างเนื้อนี่ มันก็ต้องโดนความร้อน เราก็ต้องกลับ เราก็ต้อง..จิตเรามันโดนตบะธรรมปิ้งย่าง สมาธิเข้าไปเป็นตบะธรรม มันแผดเผามัน กิเลสเข้าไปแผดเผามัน มันมีอาการของมัน เราไม่ต้องไปเดือดร้อน เพราะก็เราจะฆ่ามัน เราจะสู้กับมัน แล้วเราไปเผชิญหน้ากับมัน แล้วเราไปตกใจทำไม นี้จะทำดีจะให้ถูกเลย นี้มันก็ไม่มี

เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญามันสร้างมาตั้งแต่อดีตชาติเยอะมาก คือสละตายมาหลายรอบ พอมันขิปปาภิญญาเพราะมันพร้อมแล้ว พั้บ! ไปเลย อย่างนั้นยอมรับ

แต่เวไนยสัตว์ ผู้ที่จะต้องเสือกคลานอย่างพวกเราระดับกลาง จะต้องแถกกันไป คำว่าแถกกันไปนี้ดีมากนะ ดีมากตรงที่มันมีธรรมะพระพุทธเจ้าแล้วไง ถ้าอย่างเวไนยสัตว์ แล้วไม่มีคนสอน มันแถกไปไม่ไหว ไอ้นี่มันแถกไปไหว แถกซะ พอมันทำไปแล้วมันคุ้มค่านะ ดูสิ เราจะมีเงินมีทองตำแหน่งหน้าที่การงานขนาดไหน เราก็ต้องตายไป แล้วเวลาเราจะตายไป เราเทียบอารมณ์ความรู้สึกตอนใกล้ตายสิ เราจะพะวักพะวนไหม เราจะพะวักพะวนอะไรบ้าง

แล้วถ้าเราฆ่ากิเลสเดี๋ยวนี้ กิเลสหมดแล้วนะ อะไรตาย อะไรตาย อะไรตายวะ อะไรตาย พอกิเลสตายแล้วจิตมันสะอาดบริสุทธิ์แล้ว ไม่มีแรงขับแล้ว มันไม่มีอะไรตายแล้ว พอคนไม่ได้ตาย จิตมันเป็นธรรมชาติของมัน มันต้องสลัดกายนี้ทิ้ง แล้วออกเป็นอิสระเท่านั้นเอง

เพราะขณะที่มันมีร่างกายนี้ สอุปาทิเสสนิพพาน สะคือเศษส่วนความคิด ร่างกายเป็นเศษ เศษเหลือทิ้งที่จิตบริสุทธิ์อาศัยอยู่ พอถึงเวลามันก็สลัดออก สอุปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน สะคือเศษส่วน คือนิพพานแท้ๆ เลย ไม่มีความคิดไม่มีรูปร่างอะไรแล้ว เป็นธรรมชาติของมันแล้ว

แต่ขณะที่มีชีวิตอยู่ เราบอก ถ้ามันวิตกกังวล โทษนะ เราเคยคิดของเราเอง เมื่อก่อนที่ภาวนาใหม่ๆ มาคิดถึงตาย เอ้ มันก็มีความรู้สึกนะ จะเกิดเป็นอะไร จะเป็นอะไร มันก็งง มันไม่ทะลุปรุโปร่ง แต่พอภาวนาไป ภาวนาไป เดี๋ยวนี้พอคิดเลย บางทีนะ เราคิดนะ มรรคผลไม่มี คิดแบบกิเลสไง มรรคผลไม่มี มันก็ถามตัวเองแล้ว แล้วมึงโกหกตัวเองได้หรือเปล่า เรานี่เวลาอยู่เฉยๆ มันชอบคิด ชอบเปรียบเทียบ ชอบหาหลักหาเกณฑ์ คิดนะ มรรคผลไม่มี ไม่มี มันถามแล้วมึงหลอกตัวเองได้หรือเปล่า ก็เหมือนเราทุกข์ ไม่มี อะไรไม่มี มีหรือไม่มีมันเปรียบเทียบ

แต่เมื่อก่อนอย่างที่ว่า ไม่แน่ใจ กลัวมาก ทุกข์มาก ต้องหาที่รองรับอารมณ์ตลอด เราถึงคิดถึงโยมไง ทีนี้เราบอก นี่ที่บอกว่าเสือกคลาน ว่าทำแล้วมันคุ้มค่า แต่เราคุ้มค่าเวลามาแล้วเหนื่อยไหม ถ้าทางโลกเขาจะบอกเลย ไอ้พวกมาวัดเวลามันว่างเยอะ มันเดินไปเดินมาไม่ทำอะไรเลย มาทำไมกันน่ะวัด ไอ้พวกนี้ไม่มีงานทำ ไอ้พวกนี้มีเวลาว่างเยอะ แต่ไม่คิดหรอกว่า เรากว่าจะเจียดเวลามาได้ กว่าเราจะสับหลีกเวลามาได้ เพราะมันก็เหมือนกับเราเห็นคุณค่าของมัน เราเห็นคุณค่าที่เราอยากจะขวนขวาย

ถ้าเรามีคุณค่าอย่างนี้ มันอยู่ที่มุมมอง อยู่ที่ทัศนคติ เพราะลูกศิษย์ ตอนเรามาอยู่ใหม่ๆ เราอยู่ที่โพธาราม ขนาดเขาถือปิ่นโตมาวัดนะ ไอ้พวกที่ไม่ไปวัดมันยังแซวเลย แล้วก็มาถามเรา เราบอกธรรมชาติเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะเขาทำความดีแล้วเราไม่ทำ เราก็อายอยู่แล้ว

อย่างเช่น เราทุจริต คนสุจริต เอ็งทุจริตอายเขาไหม แต่นี่เราไม่ได้ทำ เขาทำ จิตมันมี มันก็แซวเล่น คือตัวเองก็ไม่ทำ เห็นคนอื่นทำมันก็ แหม มันสะเทือนใจกู ก็ขอแซวหน่อย มันจะโดนอย่างนั้นบ่อยๆ มันจะโดนอะไรก็เรื่องของเขา เขาพูดอย่างนั้นปั๊บ ถ้าเขาไม่ได้พูดเล่น โดยที่เขาคุ้นเคยกับเรานะ ถ้าเขาพูดโดยความคิดเขา มันจะย้อนถึงความคิดเขาได้เลย ว่าจิตใจสูงต่ำแค่ไหน

แต่ถ้าเว้นไว้แต่เราก็มาวัดด้วยกัน แต่เราพูดเล่น ไอ้อย่างนี้มันวัดค่าอย่างนั้นไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่คำพูดจากการถือมั่นของจิตเขา แต่ถ้าพูดถึงการถือมั่นของจิตเขารู้เลยว่า นี้จิตต่ำมาก เราพูดอย่างนี้เลย เราคิดถึงหลวงตาเล่าประจำ มันมีคนที่เมืองจันท์ลูกศิษย์หลวงตา เขาเป็นนักเลง แล้วมีคนมาชวนเขาไปวัด เขาคิดแค้นในใจแต่ไม่กล้าพูด เพราะมันแบบว่าคนคุ้นเคยกัน สุดท้ายแล้วหลวงตาไปเทศน์ ไปอยู่ที่น้ำตกพลิ้ว เขาศรัทธามาอยู่วัด เขาภาวนาอย่างนี้เลย ภาวนาดีมาก

แล้วเขามาสารภาพกับหลวงตาบอก “เมื่อก่อนมีคนมาชวนเขาไปวัด คิดจะฆ่าเขาเลย” มันเหมือนกับมันแทงใจตัวเอง แล้วพอเขามาสารภาพกับหลวงตา พอท่านมาพูด “ก็เขาชวนเราไปวัด” ก็เขาชวนไปวัด มันสะเทือนใจไงว่า เขาชวนเราไปทำความดี แต่ตัวเองในใจคิดจะฆ่าเขา แล้วพอมันเปลี่ยนแปลงใจแล้ว มันโทษตัวเองไง ก็แค่เขาชวนไปวัด ทำไมคิดได้ขนาดนั้น

ดูใจคน ถ้ามันเปลี่ยนดีแล้วนะ เห็นโทษนะ มันจะซึ้งใจมาก แต่ถ้ายังไม่เปลี่ยน ยิ่งไปคลุกคลีกันอย่างนั้นมันจะไปกับเขา กิเลสร้ายนะ แล้วมีทุกคน แล้วสองวันนี้หลวงตาท่านพูด เรา แหม ฟังแล้ว เราสะเทือนใจมาก

เขาบอกว่า “ที่วัดบ้านตาดนี่ดีไปหมดเลย” “ที่ไหนดีดีจะมีคนชั่วแทรกเข้ามาทุกที่” โอ้โฮ ท่านพูดออกมาสะเทือนใจมาก มันสะเทือนใจที่ว่าต้องระวังตัวตลอดไง

ที่ไหนดีดี ดูสิ ดูงานมหรสพสิ มันจะมีคนไปกรีดกระเป๋า ที่ไหนมีอะไร ต้องมีคนชั่วเข้าไปแทรกทุกที่ คำพูดคำนี้มันจะฝังใจเรา ทำให้เราตื่นตัวตลอดไม่นอนใจกับอะไรทั้งสิ้น จะดีขนาดไหนก็คนชั่วแทรกเข้ามา

คำพูดคำนี้จะทำให้ระวังตัวตลอด ใครจะว่าดี จะกราบขนาดไหนก็ต้องระวังตัว ต้องระวังๆ จะดีขนาดไหนก็ต้องมีความชั่วเข้ามาแทรก โอ้โฮ ท่านพูดเลยนะ ท่านฟันธงเลย เขาชมดีอย่างนั้น “ที่ไหนดีดีขนาดไหนก็มีความชั่วเข้ามาแทรก” ไม่ฟังใครด้วย นี่คือทัศนคติ ที่ท่านฟันธงเลย โอ้โฮ คำนี้จะฝังหัวไปเลย เราถือว่าสุดยอดธรรม สุดยอดเลย ทำให้เราไม่ลืมตัว

“จะดีขนาดไหนจะต้องมีความชั่วเข้ามาแทรก ฉะนั้นเราต้องตื่นตัวตลอดเวลา” นี่คือคำพูดของท่านนะ

นี่พูดถึงเราพูดถึงปัญญาอบรมสมาธิ พูดถึงที่มาที่ไปของมัน ถ้าเราเข้าใจกระบวนการของมัน นี่เพราะที่หลวงปู่มั่นบอก มันมีสองประเภท พวกที่มีการศึกษา เขามีการศึกษา สอนคนละอย่าง มีการศึกษาต้องสอนให้ละเอียดรอบคอบ เพราะว่ามีการศึกษามาก เพราะมีการศึกษาอยู่แล้ว พอจิตมันสงบ จิตมันมีการเปลี่ยนแปลง ไอ้ตรงนี้ปัญญามันจะไบร์ทมาก แล้วมันจะทิฏฐิว่ารู้จริงเห็นจริง ฉะนั้นคนที่จะควบคุมได้ ต้องของจริง แล้วต้องหัก หักเลยนะ หักให้สำนึก

แต่ถ้าไม่มีการศึกษามา มันปฏิบัติของมันไป มันก็ต้องประคองกันไป หลวงปู่มั่นท่านมีหลัก แล้วพูดถึงหลวงตาบ่อยมากที่ไปหาท่านทีแรก อู้ มหาก็เรียนมาถึงมหาเนาะ มีการศึกษามามาก นี้การปฏิบัติ มันจะมาเตะ มาถีบกัน ฉะนั้นต้องเอาการศึกษานี้ใส่ลิ้นชักไว้ก่อน แล้วลั่นกุญแจมันไว้ อย่าให้มันออกมานะ แล้วถ้ามันปฏิบัติไปแล้ว ถึงจุดหนึ่งแล้ว

การศึกษานี้ กับการปฏิบัตินี้ เพราะมันจริงต่อจริงด้วยกัน มันจะประสานเป็นเนื้อเดียวกันเลย แล้วหลวงตาท่านก็บอก ท่านก็ทำตามนั้น แล้วเวลามันมาประสาน ท่านบอกคือหลวงปู่มั่นพูดอะไรไว้ พูดทายล่วงหน้าไว้หมดเลย แล้วเป็นอย่างนั้นหมดเลย

นี้เราก็ย้อนกลับมาพวกการศึกษาพวกอภิธรรม เขาศึกษามามาก เราจะบอกว่าเวลาจิตมันสงบหรือจิตมันอย่างนี้ ดูสิเวลาเรานั่งกันเห็นไหม บางทีเรานั่งมันกลวงหมดเลย มันว่างหมดเลย

แล้วคิดดูสิ มันมีปัญญาขึ้นมา แล้วสิ่งนั้นมารองรับ มันก็จินตนาการไปหลากหลายมหาศาลนะ แล้วพอมาเทียบกับธรรมะพระพุทธเจ้า โอ้ย เหมือนเปี๊ยบเลย นี้ถ้าคนจริงปั๊บ ถ้าหักต้องให้รู้ทันให้ได้ ต้องทำให้ได้ ปัญญาอบรมสมาธิ ว่าเป็นสมาธิ มันเป็นรากเป็นฐาน เราก็รู้ของมัน เราก็รักษาของมัน แล้วยังไปข้างหน้าอีกไกลมาก คำว่าอีกไกลมาก เรามีครูบาอาจารย์เป็นที่ปรึกษาไง บางทีเห็นไหม ลูกศิษย์มาเยอะมากเลย

“โอ้โฮ หลวงพ่อ มันละเอียดมากเลย ฮู้ มันไม่น่าละเอียด ทำไมมันละเอียดขนาดนั้น”

เราคิดในใจนะ เดี๋ยวมึงจะรู้ได้อีก ละเอียดกว่านี้อีก เดี๋ยวมึงดูสิ มันไปมากกว่านี้อีกเยอะเลย

แต่คนไม่เคยเห็นนะ จะบอก โอ้ฮู มันละเอียด อู้ฮูววว

มันแค่รากเลย มันยังไม่ได้ขยับอะไรเลย เดี๋ยวมึงขยับไป มึงจะเห็นอีกเยอะกว่านี้อีกเยอะเลย เราจะเทียบว่า จิตธรรมะนี้มันมหัศจรรย์ขนาดไหนไง แล้วพอเราเข้าไปสัมผัส เราก็ว่าสุดยอด อู้ฮู อู้ฮู คาดการณ์เลยว่านิพพานทั้งนั้นล่ะ แต่ในใจเรานะ เดี๋ยวมึงจะรู้ มันจะไปกว่านี้อีกเยอะ เดี๋ยวๆ ใครมาก็ อู้ฮู ละเอียดมากเลย อู้ฮู อู้ฮู เลยนะ

เออ ใช่ ใช่ ใช่ แต่เดี๋ยวมึงดู ไม่อย่างนั้นมันจะมีสติ มหาสติ สติอัตโนมัติ ถ้าสติเฉยๆ นะ มันจะไม่ทันกับไอ้ปัญญาข้างบนนั้น สติโสดาบัน สกิคา นี่สติทันได้ เริ่มอนาคานี่ ทำไมมหาสติขึ้นตรงนั้นไม่ได้ เราเปรียบเทียบเมื่อก่อนเราปฏิบัติบ่อยๆ นะ

เปรียบเทียบสติก็เหมือนฟุตบอลจังหวะสอง มหาสติคือจุดโทษจังหวะเดียว ระหว่างคนเตะกับประตูเท่านั้นล่ะ ทีเดียวเข้าเลย แต่ถ้าเป็นสตินะ ยังมีกำแพงกั้นนะ กูยังต้องเตะ ต่างกันอย่างนั้นเลย แล้วละเอียดละเอียดเข้าไป เดี๋ยวๆ เต็มที่เลย เยอะมาก แล้วมันก็อยู่ที่ ๑. วาสนา ๒. เราสร้างมามากมาน้อย

ถ้าเราไม่สร้างมามาก เหมือนหลวงปู่ชาท่านพูด คือถ้าคนบ้านหลังใหญ่ คือ เรามีบารมีมาก เราสร้างมามาก สงสัยเยอะ ฮูย กว่าจะชะจะล้างออกนะ ถ้ากูมีกระต๊อบหลังเดียวนี่สบายมาก กูมีแค่กระต๊อบ กูนอนสบาย กูปัด ปัด นอนได้แล้ว นี่ไงตรงนี้ ถ้าเรามีแต่กระต๊อบ คือเราไม่สงสัยมาก เราไม่มีการโต้แย้งมาก เราไม่มีอะไรมาก เราก็ปัญญามันจะไล่ได้ทัน

แต่ถ้ามันมีบ้านหลังใหญ่นะ โอ ห้องมันเยอะด้วย ห้องนั้นห้องนี้ คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้ คิดทุกเรื่องเลยนะ ฮูย เหนื่อยฉิบหายเลย ต้องล้างให้สะอาดหมดบ้าน ถ้าไม่สะอาดนะ กิเลสมันซุกอยู่ตรงนั้น เราใช้คำว่าเหลือบ แบบว่า สิ่งที่หลบซ่อนของจิต ตรงไหนที่มีเหลือบมีมุม มีบังได้นะ มันอยู่ตรงนั้น

ที่อื่นสะอาดหมดเลย มันอยู่ที่ตรงนั้น พอจิตมันคลายนะ มันก็ครอบหมดเลย พอเราไล่เข้าไปนะ มันก็ไปหลบตรงนั้น ฉะนั้นเวลาสะอาดต้องเกลี้ยงเลย ไม่มีตรงไหนที่มันจะหลบได้เลย ขาด ตายไปเลย กิเลสตายแล้ว แล้วพลิกศพมันได้ด้วย เห็นชัดเจน ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ กิเลสขาดแล้ว จิตปล่อยแล้ว รวมหมดเลย แล้วรู้ว่าขาด ชัดเจนมาก เวลาปฏิบัตินะ

ฉะนั้นเวลาเขาพูดกันว่างๆ ว่างๆ คนนั้นผ่าน คนนี้ผ่าน เราฟังไว้หูหนึ่ง แต่ไม่เชื่อ ไม่เชื่อหรอกเพราะอะไร แต่เราก็สงสาร สงสารหมายถึงว่า เวลาปฏิบัติทุกคนลงทุนลงแรง ทุกคนต้องเหนื่อยทุกคน เขาเหนื่อยมาแล้วไง เราก็สงสารอยู่ แต่ถ้าใครมาหาส่วนใหญ่เราจะยุ ซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป คือลุกเข้าไปสิ ลุกเข้าไป มึงต้องเห็น ถ้ามึงไม่ลุกนะ มึงเชื่อมั่นตัวเองแล้วปล่อยนะ คือมันจะถดถอยไง พอมันถอยออกมาแล้วนะ พอรู้ตัวอีกทีแล้วจะเอาเข้าไปนะ ตานี้มันต้องเหนื่อยแล้วเป็นสองเท่า มึงจะทุกข์มากกว่านั้น

ฉะนั้นมาหาเราส่วนใหญ่แล้วเราจะยุ เราจะแนะ เพียงแต่อยู่ที่บุญกรรมของเขา ถ้าบุญกรรมเขาดี เขาอาจเฉลียวใจฉงนใจแล้วสู้ แต่ถ้าเขาบุญกรรมเขาไม่ดี เขาจะบอกว่า โอ เขาพูดไปอย่างนั้นน่ะ เราทำมาเกือบตายแล้ว เราก็สุดยอดของเราแล้ว แล้วเดี๋ยวมันเสื่อม พอเสื่อมขึ้นมานะ เวลาเราแนะนำเขา เราปรารถนาดีกับเขานะ แต่เขาแปลเป็นผิดหมดเลย โอ้ ใครๆ ก็ปฏิบัติก็ไม่ได้สักที อะไรๆ ก็ไม่ยอมรับเขา หวงมาก

สมบัติของโยมไปหวงได้อย่างไร! ก็ปัญญาของมึงทั้งนั้น กูไปหวงอะไร กูจะไปได้อะไรกับมึงด้วย เพียงแต่จริงหรือไม่จริง คนรู้จริงเขาอุตส่าห์บอก จริงหรือไม่จริง แหม เขาพูดมา มึงก็เก็บไปพิจารณาหน่อยหนึ่ง มันจะเป็นอะไรไป แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพูดอย่างนี้ไง ส่วนใหญ่เพราะมันมีลูกศิษย์เป็นพระมาหา เราก็บอกว่า ตทังคปหาน มันชั่วคราว เขาก็ถามกลับเลย ทำไมต้องสมุจเฉทปหานด้วยล่ะ ก็ปหานเหมือนกัน ทำไมมันปหานไม่ได้เรอะ ที่ไหน ที่ไหนเขาตทังคปหานทั้งนั้นน่ะ หลวงพ่อต้องสมุจเฉทๆ ทุกที

ก็ตทังคปหานกูเป็นมาตลอดแล้ว แล้วกูก็อยู่กับมัน แล้วกูก็โดนมันหลอกมาพอแรงแล้ว แล้วเห็นไหม อย่างที่หลวงตาบอก “อย่างที่หลวงปู่มั่นพูดเวลากิเลสขาด ขาดหนเดียว” สมุจเฉทมีหนเดียวไม่มีสอง ตทังคปหานมีได้บ่อยๆ มีได้เรื่อยๆ เหมือนซ้อม เขาซ้อมกีฬาได้ตลอดเวลา แต่แข่งชนะหรือแพ้ได้หนเดียวนะเว้ย

แต่ถ้าซ้อม ซ้อมได้ทั้งวันทั้งคืนนะ ซ้อมอย่างไรก็ได้ แล้วเวลาซ้อมเก่งด้วยนะ ชนะทุกที ลงแข่งแพ้ทุกที เขาบอกว่า “ทำไมต้องสมุจเฉทด้วยล่ะ ที่ไหนๆ เขาก็ตทังคปหานทั้งนั้นน่ะ เขาปหานแล้วก็จบ” พระนะ บางทีพระมาอยู่กับเรา บางทีเขาเจออย่างนี้บ่อยๆ เข้า เขาก็เครียด หรือบางทีเขาก็น้อยใจ บางทีถ้าเขาทิฐิ บางทีเขาก็คิดว่าเรานี่เหมือนเราตระหนี่บุญ ตระหนี่ธรรมะ

มันธรรมะไม่ใช่ของใคร!

ใจที่สัมผัสธรรม ใจเป็นเองใช่ไหม เราจะไปห้ามให้เป็นหรือไม่ให้เป็นได้ไหม คือเราไม่มีสิทธิอะไรเลยนะ มันเป็นสัจธรรมที่พวกเราปฏิบัติกันเองใช่ไหม เรามีสิทธิอะไร เราจะไปตระหนี่ไม่ให้ใครเป็นได้อย่างไร หรือจะใช้ใครผู้อื่นเป็นก็ไม่ได้ เพียงแต่บังเอิญว่าเรามีประสบการณ์เท่านั้นเอง เรามีประสบการณ์มา เราก็บอก เราก็แนะ แล้วเราแนะอย่างนี้มาก พระมาอยู่ด้วยกัน เวลาปฏิบัติจากที่ไหนมา มาหาเราส่วนใหญ่แล้ว พอเราซักแล้วมันไม่มี แล้วเราจะพยายามจะลุ้น จะกระตุ้น ให้เขาขยัน

ธรรมดาพวกเราก็อยากมีพรรค มีพวก อยากจะมีสิ่งที่ดีๆ แต่นี่เพียงแต่บางทีเขาน้อยใจ บางองค์มา เอ็ดเอาเลยนะ มาถึงมาพูดกับเราแล้วเราบอกว่า “ต้องทำต่อไป”

“ท่านอาจารย์พรรษาเท่าไร พระที่รับรองผมพรรษาที่เท่านั้น เท่านั้นเลย ท่านอาจารย์อ่อนกว่าทำไมไม่ยอมรับ”

อุ้ย กูพูดไม่ออกเลย ก็ใส่นะสิ “คนเราไม่ใช่แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นานเนาะ คนมันจะฉลาดมันมีปัญญาของมัน ไม่ใช่เพราะอายุเว้ย” บ่อยมาก เขาจะไปหาพระที่มีชื่อเสียงก่อน พระที่มีชื่อเสียง พระที่มีแต่ชื่อเสียง แต่ไม่มีความรู้จริง เขาก็จะเออออกันไปเพราะเขาไม่มีความรู้จริง แล้วพอมาหาเรา เราบอกไม่ใช่ คำว่าไม่ใช่ของเรา คือว่าเราเตือนเพื่อจะให้เอ็งรุก ได้มุมานะ เพราะเอ็งมีความเพียรอยู่ ถ้าเอ็งไม่มุมานะนะ เอ็งเสื่อมไปแล้วนะ เดี๋ยวเอ็งจะทุกข์ แต่เขากลับมองว่าเราไม่เห็น ไม่ยอมเขา

อ๊า! เราพูดคนเดียวเลย สงสัยว่ามา มีอะไร

โยม ๑ : ปัญญาอบรมสมาธิที่หลวงพ่อพูด เป็นคล้ายๆ กับเป็นสติปัฏฐาน ๔ หรือยังครับ

หลวงพ่อ : ยัง เขาจะอ้างอย่างนี้บ่อยว่าเป็นสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เราบอกเลย อย่างเช่น สติปัฏฐาน ๔ อสุภะ อะไรก็แล้วแต่ทุกอย่าง ต้องมีจิตรู้จิตเห็น สติปัฏฐาน ๔ คือต้องมีสมาธิก่อนว่าอย่างนั้น ถ้าจิตรู้จิตเห็น สติปัฏฐาน ๔ คือจิตตานุสติปัฏฐาน คือจิตรู้ จิตเห็น จิต ประสาเรา เอ็งยังหาจิตกันไม่เจอเลย แล้วจะไปสติปัฏฐาน ๔ ได้อย่างไร คือมันขาด ขาดเจ้าทุกข์ เอ็งจะฟ้องศาล เอ็งต้องมีเจ้าทุกข์ ตัวจิต ตัวสมาธิคือตัวเจ้าทุกข์

แต่ไปติดสมาธิมันจะมีความสุขมากนะ มันนึกว่ามันไม่ใช่เจ้าทุกข์หรอก แต่จริงๆ น่ะ มึงน่ะเจ้าทุกข์ เพราะมึงยังไม่รู้จักอะไรเลย มึงเป็นสมาธิใช่ไหม แล้วมึงน้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถึงเป็นสติปัฏฐาน ๔ ถ้าอย่างนี้เราเถียงกับอภิธรรม ตลอดเวลาเรื่องนี้ เขาบอกเขาจะเป็นกายานุสติปัฏฐาน จิตตานุสติปัฏฐาน เป็นไปไม่ได้! ในเมื่อจิตยังไม่สงบ

โยมนี่นะยังไม่มีบริษัท โยมยังไม่มีบัญชีในธนาคาร เขาจะโอนเงินเข้าบัญชีโยมได้ไหม ถ้าโยมไม่ได้เปิดบัญชีธนาคารไว้ ถ้ามึงไม่มีตัวจิตออกเป็นสติปัฏฐาน จิตออกไปรับรู้ จิตออกไปวิปัสสนา ใครจะไปรับผลของการวิปัสสนา หรือรับผลดีหรือชั่วของวิปัสสนานั้น ขณะที่เราทำกันอยู่นี่เราหลักลอย เรายังไม่รู้อะไรเลย แต่ดันรู้ธรรมพระพุทธเจ้านะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างนั้น อย่างนั้น ก็สร้างภาพไง พอความรู้สึกคิดถึงกาย เออ กายนี่กายานุสติปัฏฐาน ไอ้นี่มันลอยลม ลอยลม

อะไรก็แล้วแต่ต้องจิตสงบ ต้องจิตสงบ นี้การทำจิตสงบ เราใช้ว่าปัญญาอบรมสมาธิ นี่ไงที่ว่าต้นคดปลายคด เพราะว่าเขาคิดโต้แย้งตรงนี้ เขาบอกว่าการดูนามรูปเป็นจิตตานุสติปัฏฐาน การดูนามรูปเขาว่าอย่างนั้น แต่สำหรับเราจิตเขายังไม่สงบ ถ้าเป็นความคิดเขาก็เป็นจินตมยปัญญา มันไม่ใช่ภาวนามยปัญญา มันปัญญาคนละมิติ ฉะนั้นปัญญาที่จะเป็นวิปัสสนา มันต้องเป็นปัญญาในสมาธิ ในสมาธิปัญญาของจิต ในความคิดจินตมยปัญญา ปัญญาสมอง

ปัญญาสมอง โดยในความคิดทางวิชาการ เราคิดจากสมอง เพราะสมองมันจำข้อมูลไว้ แล้วสมองมันคิดเองไม่ได้ เพราะสมองเป็นวัตถุ มันต้องใช้พลังงานขึ้นมากระตุ้นสมอง สมองจะได้คิด แต่พอจิตมันสงบเข้ามา พอสงบ จิตสงบมันอยู่กลางหัวอก มันเป็นตัวจิต ธรรมชาติของมัน นี้พอปัญญาเกิดจากจิต ปัญญาเกิดจากจิตหมายความว่า พลังงานนี้ไม่สื่อมาที่สมอง มันเป็นจิตสงบแล้วมันออกเดี๋ยวนั้น มันออกรับรู้กันเดี๋ยวนั้น มันถึงไม่มีอดีต อนาคต มันถึงจะเป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาที่เขาคิดกันนี่มันปัญญา จิตมันออกมาที่สมองแล้ว แล้วสมองนี่คาดการณ์ สมองนี่คาดหมาย คือสัญญาข้อมูล

นี้ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาสมองนี่แหละ เพราะมันยังไม่เป็นสมาธิ เพราะมันยังไม่ทวนกระแสกลับไปที่ตัวจิต ปัญญาอบรมสมาธิก็ปัญญาสมอง คือโลกียปัญญา ปัญญาสัญญานี่แหละ แต่เพราะเรามีสติควบคุม สมองนี่มันถึงไม่คิดถึงวัตถุข้องนอก สมองนี่กลับคิดย้อนกลับไปที่จิต พอย้อนไปที่จิต ตัวจิตมันเป็นตัวอิสระแล้ว นี้ตัวจิตคือตัวส้ม เปลือกส้มไง มันกระทบถึงจะเป็นสติปัฏฐาน ๔

เขาบอกว่าเขาเป็นสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติสายตรง สติปฏิฐาน ๔ โดยจริง

มึงโม้ มึงโม้ เขาอธิบายตามตำรา แต่เราอธิบายด้วยการ..เพราะถ้าอย่างนั้นมันฆ่ากิเลสไม่ได้ไง เพราะเราคิด เราทำกันอย่างนั้น เราถึง.. โทษนะ ปฏิบัติฟรีไง ปฏิบัติสักแต่ว่าทำกัน เหมือนสอบ ไม่มีสิทธิสอบ แต่เอ็งส่งข้อสอบ ไม่มีสิทธินะ คะแนนเอ็งไม่ถึง แต่เอ็งก็มานั่งสอบกับเขา เขาไม่ตรวจให้มึงหรอก

จิตมันยังไม่ถึงสมาธิ แต่นี้คำว่ามันก็มีข้อโต้แย้งอย่างนี้ แล้วเมื่อไหร่จิตผมจะเป็นสมาธิล่ะ แล้วเมื่อไหร่ผมจะได้วิปัสสนาล่ะ เราถึงบอกว่า จิตเป็นสมาธิแล้วก็ฝึกปัญญาได้ ฝึกปัญญาไปเรื่อยๆ จิตพอสงบแล้วฝึกปัญญา แต่ปัญญาอย่างนี้ มันก็ย้อนตอบกลับมาให้จิตเป็นสมาธิที่มั่นคงขึ้น จนจิตมันมั่นคงเต็มที่แล้ว

เห็นไหม หลวงตา หลวงปู่เจี๊ยะ เราจะยกสององค์นี้เท่านั้น เพราะเรามั่นใจสององค์นี้มาก หลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกเลย “อายตนะทั้งหลาย ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา” หลวงตาพูดบ่อยมาก แต่คนจับประเด็นนี้ไม่เป็น หลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก เห็นไหม

วันนี้ตอนเช้าเราก็พูดบอกว่า ที่เวลาเขาภาวนากันเห็นไหม อย่างที่ว่าเขาฟังแล้วเขาไปรายงานกัน เขาบอกหลวงตาท่านบอกนะ นี่ดีนะเป็นฆราวาส ถ้าเป็นพระเราจะตีให้หลงทิศเลย แล้วพอเขาภาวนาแล้วเขาไปถามหลวงตาว่าใช่ไหม

ใช่ ก็ใช่ของสมถะไง แต่เขาบอกว่า ใช่ เขานึกว่าวิปัสสนา เพราะคนมันอยากได้ตรงนั้น อ้าว โยมทำแล้วจิตมันสงบแล้วใช่ไหม ก็ใช่ แต่เขาไม่ถามว่าอันนี้เป็นวิปัสสนาหรือเป็นสมถะ ถ้าถามอย่างนี้ปั๊บ หลวงตาจะเขกเลย เราไม่พูด สมถะวิปัสสนาอย่ามาพูด ไอ้พวกฌานอย่ามาพูด เพราะพูดแล้วคนมันติด หลวงตาจะไม่ตอบปัญหาเรื่องอย่างนี้ หลวงตาจะไม่พูด ถ้าเอ็งพัฒนาไปเดี๋ยวเอ็งจะรู้เอง

แต่ของเขานี้เขาพูดว่านี้เป็นวิปัสสนาๆ

แล้วกูขอดูผล เราพูดบ่อยนะว่า ในวงปฏิบัติในพวกอภิธรรมทั้งประเทศไทยเลย

แต่วงกรรมฐานเรามันแค่ ๕ เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทยนี้ แต่เวลาเสร็จแล้วนะ ครูบาอาจารย์เราเวลาล่วงไปแล้ว เผากระดูกเป็นพระธาตุหมดเลย แล้วของเขามีสักคนไหม เราจะบอกว่าทำเปล่าๆ ทำแล้วไม่มีผลตอบสนอง ของเราตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นมา แม่ชีแก้วกระดูกเป็นพระธาตุหมด นี้คือผลตอบความเป็นจริง

แล้วของเขามันมากกว่าเราใช่ไหมทั้งประเทศเลย ทั้งประเทศเลยขอดูคนเดียว ก็ตรงนี้ไง สติปัฏฐาน ๔ ไง เพราะมันไม่มีจิตไง จิตตานุสติปัฏฐาน ตัวจิต ตัวจิตสงบนี้ เราถึงโต้แย้งพวกอภิธรรมที่เขาพิมพ์อสุภะแจก อสุภะแจก เราบอกอสุภะไม่ได้เกิดที่นั่น อสุภะเกิดเพราะจิตเห็น จิตเห็นจึงเป็นอสุภะ แต่เขาไปพิมพ์หนังสืออสุภะมาแจกบอกนี้เป็นอสุภะ กูบอกถ้าอย่างนี้เป็นอสุภะนะ กูจะแขวนรอบตัวกูเลย แล้วกูเป็นอสุภะ กูจะได้เห็นอสุภะ

คิดแบบโลก คิดแบบวิทยาศาสตร์ นี่ไงที่ว่าผิด ผิด วิทยาศาสตร์ เวลาเราอธิบายธรรมะ เราก็พยายามอธิบายให้เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อจะให้เราเข้าใจได้ แต่เวลาปฏิบัติแล้วมันไม่เป็นอย่างนี้หรอก แล้วพอเขาคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสำเร็จรูปใช่ไหม เขาก็คิดว่าทำอย่างนั้น อย่างนั้น จะเป็นอย่างนั้น

ไม่ใช่! ไม่ใช่เพราะตัวแปรมหาศาลเลย ตัวแปรเพราะกรรม ตัวแปรเพราะวาสนา บารมี การกระทำ จริตนิสัย เราพูดโต้แย้งเรื่องนี้บ่อยมาก ว่าผู้ที่ปฏิบัติพิจารณากายทั้งหมด เวลาปฏิบัติแล้วไม่เหมือนกันสักคน เพราะไอ้ตัวแปรนี้มันไม่เหมือนกัน ทำเหมือนกันหมด เหมือนนักเรียนในห้องเรียนเหมือนกันหมดเลย แต่ความรู้ไม่เท่ากันนะ เกิดจากการศึกษาของเขา จากสมองของเขา เรียนตำราเดียวกัน คนสอนอาจารย์คนเดียวกัน เหมือนกันหมดเลย แต่ความเข้าใจความรู้ของคนไม่เท่ากัน

จิตก็เหมือนกัน ฉะนั้นไม่ต้องไปตกใจ มีคนถามเยอะมาก แล้วเมื่อไหร่มันจะได้สงบล่ะ แล้วเมื่อไหร่มันจะได้วิปัสสนาล่ะ

มีปัญญาแล้วไล่เลย ใช้ปัญญาได้ มันจะเป็นสมถะที่หลวงตา กับ หลวงปู่เจี๊ยะท่านว่านะ มันเป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา สมถะคือเก็บกำลัง เก็บให้จิตมั่นคง แล้วทำซ้ำๆๆ ไปอย่างนั้นน่ะ แล้วพอมั่นคงมีกำลังแล้ว พอมันทำไปอีก มันจะเป็นวิปัสสนาโดยสัจจะ แล้วเป็นวิปัสสนาจิตนี้รู้เองเลย

หลวงตาบอกจิตนี้รู้ก่อน ใครจะเป็นโสดาบัน เป็นสกิทา เป็นอนาคา ตัวเองต้องรู้ก่อน นี้ตัวเองไม่รู้ ผมเป็นอะไรครับ ผมเป็นอะไรครับ ก็เป็นหมาไง

นี่ตรงที่จิตสงบ เราถึงบอกหลวงปู่มั่น หลวงตาท่านพูดบ่อย หลวงปู่มั่นเวลาเทศน์นะ ทำความสงบของจิตก่อนเลย เริ่มจากความสงบก่อน แล้วขยับขึ้นไป แต่ถ้าเป็นคนอื่นเทศน์ทั่วไปนะ ศีลก่อน เพราะอะไร เพราะเขาไม่รู้จักความสงบ ไม่รู้เลยวิปัสสนา เขาไม่รู้อะไรเลย แต่เขาพูดตามตำรา แล้วตำราไหนจะอธิบายได้ล่ะ ก็ศีลไง ต้องทำกันอย่างนั้น อย่างนั้นนะ ต้องมีอย่างนี้อย่างนี้นะ

โทษนะ มึงทำเป็นหรือเปล่า มึงทำได้จริงหรือเปล่า

สติปัฏฐาน ๔ ต้องจิตสงบก่อน ตรงนี้เป็นหลักเลย ถ้าจิตยังไม่สงบ มันเป็นสมถะไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔ ไม่ใช่วิปัสสนาไง สติปัฏฐาน ๔ อริยสัจ ๔ มันเป็นหัวใจ มันเป็นสิ่งที่เราจะก้าวเดินออกไป นี้พอจิตเรายังไม่ถึง มันก็ฤๅษีชีไพรนี่ ทำความสงบของจิต แต่เพราะเขาไม่มีสติปัฏฐาน ๔ เขาก็เลยเป็นฤๅษีชีไพรตลอดไป แต่ถ้าเขาทำจิตเขาสงบแล้วก็มาวิปัสสนาเป็นสติปัฏฐาน ๔ เขาจะเป็นพระอริยบุคคลขึ้นมา แต่พวกเราบอกเป็นสติปัฏฐาน ๔ โดยที่ฤๅษีชีไพรยังไม่ได้เป็นเลย

มันกลับกัน มันกลับกันเพราะอะไร เพราะนี้เป็นปัญญาชนไง เพราะเรามีการศึกษา แล้วเราศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น เราเข้าใจว่า..เราถึงบอกไง ใจสกปรกกำเพชรมาไง เพราะใจมันสกปรกกำธรรมะพระพุทธเจ้ามา แต่ถ้าใจมันสะอาดนะ ธรรมะพระพุทธเจ้ามาอยู่ในหัวใจเราแล้วใช่ไหม

หลวงตาจะบอกเลย “หนอนแทะกระดาษ” ปลวกมันกินทั้งเล่มเลยนะ ปลวกมันไม่ได้เป็นพระอรหันต์นะมึง พระไตรปิฎกนี่ ตามวัดปลวกมันกินนะ เขาต้องป้องกันปลวก ปลวกมันกินเข้าไปเลย เราแค่อ่าน (หัวเราะ) เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย

ถ้าใจมันดีแล้ว โธ่ ธรรมะเรามันเข้าเป็นอันเดียวกันนะ มันเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ฉะนั้นทำจิตให้สงบ ไม่ต้องไปห่วง แล้ววิวัฒนาการของมัน พัฒนาการของมัน มันเป็นของมันโดยธรรมชาติเลย เป็นที่ดีขึ้นไปเลย ถ้าเราดีอย่างนั้น เราทำตามนั้น เราดีตามนั้น เราเป็นตามนั้น ถ้าเราจะเอาใจเราอัพเกรดให้ขึ้นเป็นอย่างนั้นๆ

ไม่มีทาง แล้วเสียหายด้วย

โยม ๒ : หลวงพ่อคะที่มีพระอาจารย์ท่านหนึ่งสอนเวทนาวิปัสสนา ให้ดูแต่เวทนา พิจารณาไป... ให้ดูแล้วก็จับ... แล้วบอกเป็นทาน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแนวทางสติปัฏฐาน ๔ …(เสียงถามไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ถ้ามันพิจารณาเวทนา อ้าว ถ้าพิจารณาเวทนา เราก็เวทนาอยู่ พิจารณาเวทนาอยู่ แล้วเราเป็นสติปัฏฐานหรือยัง มันก็หลักการอันเดียวกัน หลักการคือหนึ่งเดียว ถ้าเขาพิจารณาเวทนา ผลของมันก็คือสงบเท่านั้นแหละ จนจิตมันสงบแล้วมันไปเห็นเวทนา มันถึงจะเป็น อย่างเช่นเวทนานี่เห็นไหม บางทีเราเอาไม่อยู่ มันก็ปวดขึ้นมา พอจิตเราสงบแล้วเราออกไปพิจารณาเวทนา มันทันนะ มันปล่อยหมด แต่ถ้ามันไม่ปล่อยนะ ปวดตายห่าเลย

แต่นี่ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บนี่ ถ้ามีองค์ไหนก็แล้วแต่บอกว่า ต้องเป็นทางเดียวนี่ เราสงสาร บางคนบอกต้องผ่านกาย บางคนว่าต้องผ่านจิต

แล้วอย่างหลวงปู่เจี๊ยะไม่พิจารณาจิต พิจารณากายอย่างเดียว หลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระอรหันต์ เออ หลวงตาท่านพิจารณากายด้วย พิจารณาจิตด้วย แล้วอย่างถ้าเป็นปัญญาวิมุตตินะ อาจารย์สิงห์ทองกับหลวงปู่ดูลย์นี่เป็นสุกขวิปัสสโกนี่ปัญญาล้วนๆ เลย

ทีนี้จะบอกว่า ถ้าพูดอย่างนี้แล้วนี่ ที่เราสลดใจตรงไหนรู้ไหม ถ้าพิจารณาเวทนาอย่างเดียว หรือกายอย่างเดียวเลยนี่ มันไปปิดกั้นคนอื่นไง เหมือนจริตนิสัยคนมันหลากหลายใช่ไหม ไอ้คนตรงมันก็ทำได้ดี ไอ้ตรงๆ สายงานนี่มันทำได้ดีมากเลย แล้วที่ไม่ตรงสายงานนี้ล่ะ ทีนี้สติปัฏฐาน ๔ ของพระพุทธเจ้า หรือมันหลากหลาย คือ ให้ทุกสายงาน ทุกความสามารถ ทุกคนที่มีเข้าได้หมดไง ถ้าเป็นจุดใดจุดหนึ่ง มันเท่ากับไปตัดความชำนาญของคนอื่นหมดเลย

มันก็แปลกใจอยู่ แต่ถ้าเขาสอน..แต่ถ้าเป็นเรานะ ถ้าอย่างนี้ปั๊บนะ เราจะบอกว่า เหมือนกับเขายังไม่เคยเห็น คือว่าไม่เห็นโลกกว้าง เหมือนกบในกะลา นึกว่ากะลานี้คือโลก พอออกไปข้างนอก โอ้โฮ เฮ้ย ทำไมโลกมันกว้างขนาดนี้วะ เขาไปสอนอย่างเดียว ใครจะบอกว่าของกูถูก ของคนอื่นผิดนะ กูถูกนะ อย่างเราบอกคนอื่นผิด ผิด ผิด

เราบอกผิดเพราะเขาสอนผิด แต่เราไม่บอกว่าวิธีการนี้ผิดหมดเลย เพราะว่าพระพุทธเจ้าเปิดกว้างมาก กรรมฐาน ๔๐ ห้อง หลวงตาบอกขั้นของปัญญาไม่มีขอบเขต คือปัญญานี้ไปได้ในอากาศ อวกาศได้หมดเลย แล้วมึงจะจำกัดว่ารูไหนของมึง นี้เป็นสัจธรรมนะ แล้วพอเราสอนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันก็เหมือนไปจำกัดเฉพาะส่วน อันนี้เราไม่ค่อยเห็นด้วย ไม่ค่อยเห็นด้วย หรือว่าพูดอย่างนี้ไม่เห็นด้วยเลย

โธ่! เมื่อก่อนพวกโยมมา พอบอกปฏิบัติแล้วงงๆ ไม่มีคุณค่า ไปโกเอ็นก้าดีกว่า บอกโกเอ็นก้าสอนดี กูถามว่า

“โกเอ็นก้าเป็นใคร”

“อ้าว โกเอ็นก้าเขาสอนภาษาอังกฤษน่ะ”

เขาต้องมีเกรดของเขาแล้ว เวรกรรม!

“ โกเอ็นก้าดีอย่างโน้นดีอย่างนี้”

“แล้วพระไม่ดีเหรอ เจ้าของศาสนาเลย พระพุทธเจ้าสอนมาอย่างนี้เลย” นี่มันไปดูเปลือกนอก แล้วหลงกันไปเอง แต่นี่เวลาสอนเฉพาะส่วนนี้ แหม แปลกๆ เนาะ แต่ใจเราไม่เชื่อเลยนะ ถ้าเราเชื่อเพราะอะไร เพราะว่าสติปัฏฐาน ๔ ทุกอย่างมันทำกันไปแล้ว เหมือนเราเห็นอาหารทั่วทุกภูมิภาคแล้ว เราบอกอาหารในโลกนี้มีชนิดเดียวนี่กูไม่เชื่อ แต่ถ้าเขาจะคิดของเขาอย่างนั้น ก็เรื่องของเขา

แต่เรามองไปทั่วทุกภูมิภาคนะ มันหลากหลายขนาดไหน อาหารน่ะ เราจะบอกถ้าใครพูดอย่างนี้ เราจะบอกน้ำพริกถ้วยเดียว ทั้งโลกต้องกินน้ำพริกถ้วยนี้ มีอาหารชนิดเดียว น้ำพริกกะปิ ฝรั่งไม่กินแน่ๆ เลย ก็มีอย่างเดียวไง แต่พระพุทธเจ้านี่ โอ้โฮ เปิดหมดเลย

ถ้าใครพูดอย่างนี้ปั๊บ เราจับประเด็นอย่างนี้ปั๊บ เราไม่เชื่อเลย เราไม่เชื่อเลย เว้นไว้แต่เขาปฏิบัติยังไม่เป็น เพียงแต่เขาคิดของเขาเอง สูตรของเขาที่เขาคิดขึ้นมาเอง แล้วความจริงไม่เป็นอย่างนั้นด้วย แล้วบางทีเราสงสารมาก

มันมีลูกศิษย์อยู่คนหนึ่ง เขาบอกต้องผ่านตรงนี้แหละ เขาเรียกว่าผ่านเวทนา มันนั่งที ๑๘ ชั่วโมง ๑๘ ชั่วโมงมันทนนั่งได้ ๑๘ ชั่วโมงนะจนกระดูกนี้ลั่นหมดเลย แล้วพอออกจาก ๑๘ ชั่วโมงนั้นเข้าโรงพยาบาลเลย

โยม ๑ : ทำขนาดนั้นไม่ได้เลย

หลวงพ่อ : เขาคิดอย่างนั้นไง ก็คิดว่าต้องผ่านเวทนาใช่ไหม เราต้องไปเผชิญกัน หลวงตาท่านนั่งตลอดรุ่งตลอดเลยเห็นไหม แต่ท่านบอกไปเรื่อย เพราะอะไรรู้ไหม พอจิตมันลงแล้ว มันอยู่ได้ไม่ตลอดหรอก ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง หรือ ๓ ชั่วโมง ต้องคายออกมา แล้วก็ต้องสู้เข้าไปใหม่

การนั่งหลายๆ ชั่วโมงนี่นะ ท่านบอกเลยนะ หลานเวทนามาก่อน คือเจ็บปวดเล็กน้อย ลูกเวทนามา พ่อเวทนามา ปู่เวทนามา ชั่วโมงมากขึ้น ความเจ็บปวดจะแรงขึ้น ฉะนั้นถ้าพิจารณาอย่างเดียวนี่ทุกข์มาก เราจะบอกว่า ถ้าพิจารณาอย่างนี้มันจะ..ของเราทุกข์นิยมอยู่แล้ว ใครๆ ว่าศาสนาพุทธทุกข์นิยม

บอกไม่ใช่! สัจจะนิยม แต่นี่ดันจะไปจับให้แบบให้มันเป็นเวทนาอย่างเดียวอีก พวกเราสัจจะนิยมนะ มันเป็นสัจจะความจริง ไม่ใช่ทุกข์นิยม สัจจะนิยมเพียงแต่จริตใครชอบอย่างไร ต้องเผชิญอย่างนั้น ไม่ใช่ทุกข์นิยม สัจจะนิยม อริยสัจ! เพียงแต่พวกมึงไม่ยอมรับความจริง

บอกจะไม่มีความทุกข์ จะมีความสุขอย่างเดียว

เป็นไปไม่ได้ ไอ้พวกเรายอมรับความจริง ไอ้นี่ประเด็นหนึ่ง เดี๋ยวนี้สมองมันไว พอพูดอย่างนี้ปั๊บนะ ในสมองนี่มันต้านแล้ว แต่เพียงแต่หาเหตุผลอธิบายให้เข้าใจ ถ้าต้านบอกไม่ใช่เลย! เดี๋ยวโกรธตายเลย หลวงพ่อไม่ฟังเลยนะ แหม หาว่าใช้อารมณ์ไง แต่ความจริงคือข้อมูลมันแน่นอยู่แล้ว แค่อ้าปากมันก็จบแล้ว แต่ก็ต้องอธิบาย

โยม ๑ : แล้วจะอยู่กับเวทนา...(เสียงถามไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ถ้าคนเขาเชื่อ คนเขาวิริยะอุตสาหะเขาก็ได้ของเขา แต่คนไม่เป็นอย่างนี้ ไม่ต้องทำหรอก แค่เอ่ยชื่อยังกลัวแล้ว แค่เอ่ยว่าต้องสู้เวทนายังไม่สู้เลย มันมีอยู่ลูกศิษย์ มีพระอยู่องค์เขาล่วงไปแล้ว นั่นพิจารณากามอย่างเดียว เวลานั่งภาวนา โทษนะ ผู้หญิงนึกถึงเพศผู้ชาย ผู้ชายนึกถึงเพศผู้หญิง แล้วมาเล่าให้เราฟังบอก

“โอ้โฮ ทุกข์ฉิบหายเลย”

“มึงไม่ต้องพิจารณาหรอก เดี๋ยวไปถึงอสุภะต้องเจอแน่นอน ไอ้เรื่องกามราคะขั้นอนาคานี่ มึงต้องมาผ่าน มึงต้องเผชิญ ต้องไปเจอมันข้างหน้าอยู่แล้ว”

แต่เราไปทำตั้งแต่ตอนนี้นะ ให้สู้กับมันอย่างเดียวนี่ โอ้โฮ รุนแรงนะ เราไปเอาสิ่งนั้นมากระตุ้นเราตลอดเวลา ทุกข์ตายห่า แล้วพอไปเจอความจริงนะ มันยิ่งกระตุ้นแรงอีกสองเท่า ทุกคนปฏิบัติไปต้องผ่านกามราคะ ต้องเจอทุกคน แต่ถึงเวลาให้เราจิตใจร่างกายเข้มแข็ง ค่อยเจอมันก็สู้ได้ใช่ไหม นี่เอามาเผชิญตั้งแต่ขั้นแรกเลย

แล้วเขาก็โอ้โฮ เขาเอามาเล่าให้เราฟัง เราก็สงสารนะ แต่เขาศรัทธา เขาเชื่อ เขาก็ทำกัน มันก็ได้ผลนะ ก็เออ ก็สาธุ แต่บอกถ้ากูไม่สอนอย่างนี้ กูกลัวลูกศิษย์กูสู้ไม่ไหว

โยม ๑ : ผมอ่านถึงบทนี้ ที่ท่านอาจารย์เขียนว่าจะมีสองขั้ว แล้วบอกถึงตรงนี้มันมีขั้วเดียว แล้วมันขึ้นมาได้อย่างไร ที่ท่านอาจารย์พูดถึงตอนพิจารณาเรื่องกามนี่

หลวงพ่อ : พิจารณาตรงกามนี่มัน สองขั้วโลกมันสองขั้ว แต่ของมันแล้วมันต้องเป็นตัวมันเอง เราพิจารณาของเราไปนี่ กามราคะนี่นะ กามราคะนี่มันเป็นเรื่องของโลก กามฉันทะ ขั้วเดียวนี่กามฉันทะ คือจิตมันต้องพอใจตัวมันก่อน คือถ้าเราไม่มีจิต เราจะบอกเลย ผู้หญิงหรือผู้ชายนี่ถ้าไม่ถูกสเป็ก มันไม่เอาหรอก คำว่าสเป็กคือข้อมูลที่มันพอใจ ถ้ามันพอใจอยู่แล้วนะ สิ่งใดมาถึงมันนี่ มันมีความพอใจ นี่กามฉัน แล้วพอใจสิ่งใดออกไปถึงเกิดเป็นกามราคะ ถึงเกิดอารมณ์ความรู้สึก

ทีนี้เราอยู่กับความรู้สึกจนเคย เราคิดว่าสิ่งนี้คือกามไง แต่ไม่เข้าใจหรอกว่าตัวมันเองเป็นกามโดยธรรมชาติ เราอธิบายอย่างนี้ คือตัวมันเองมีฐานะอยู่แล้ว พอสิ่งใดที่มันพอใจ มันออกเลย ถ้าตัวฐานะนี้ไม่มี ตัวรองรับข้อมูล ตัวกามฉันไงคือมีเรา ถ้าไม่มีเราใครจะไปเสพกาม เราท้าประจำนะ เอาศพผู้หญิง ศพผู้ชายมาก่ายกัน มันจะมีอารมณ์ความรู้สึกไหม เอาศพผู้หญิงผู้ชายมานอนติดกัน ดูสิ ศพมันจะเสพกามกันไหม

มันเกิดจากตัวจิต มันเกิดจากตัวกามฉันทะคือตัวมันเองก่อน แล้วตัวมันเองมันรับรู้อออกมา มันเลยหยาบ หยาบก็คิดว่าแบบอสุภะนี่ไง อสุภะ สุภะ สุภะคือชอบ อสุภะคือผลักไส แต่ถ้าไม่มีตัวมัน มันจะมีอสุภะ สุภะไหม หลวงตาท่านบอกไง “พอพิจารณาไปมันจะละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ ไวขึ้นเรื่อยๆ จนถึงตัวมันเอง” คนไม่เคยทำพูดไม่ได้หรอก พูดไม่ถูก แต่มันมาถึงตรงนี้ปั๊บมันไล่เข้ามา มันถึงทำลายตัวมันเองได้ ครืน!!

แต่มันต้องหยาบเข้ามา อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ มันต้องหยาบเข้ามา คือว่าพอพิจารณาไป มันเหมือนภาพใหญ่แล้วเราต้องเลาะไปเรื่อยๆ เหมือนภูเขาเราจะย้ายมัน เราจะทำอย่างไร กามราคะ โอฆะ เราเกิดตายมากี่แสนกี่ล้านชาติ แล้วมึงจะไปทำอะไรง่ายๆ เราก็อยากให้ง่ายแหละ แต่โดยทิฐิมานะ ยิ่งนิ่มนวลมันยิ่งอ่อนโยน โอ้โฮ มันยิ่งร้ายกาจนะ กินแบบว่ามึงไม่รู้สึกตัวเลยล่ะ ซึมไป เอ้อ มึงยังไม่ตื่นเลยนะมึง มึงอยู่ในอาณัติกูแล้ว (หัวเราะ)

แต่จิตจะละเอียดกว่า ธรรมะจะละเอียดกว่า เข้าไปตามทัน เข้าไปชำระล้างกันได้ แล้วทำลายกันได้ นี่ไงธรรมเหนือโลก แล้วเหนือจริงๆ แล้วมหัศจรรย์มาก

โยม ๑ : เคยฟังซีดีหลวงตาท่านเทศน์ ท่านก็ว่าท่านสิ้นแล้ว พอดีท่านมาพิจารณาอีกทางหนึ่ง ย้อนกลับเข้ามา

หลวงพ่อ : ตอนนั้นท่านพิจารณาไป เราเอาคตินี้มาอ้างบ่อยกับโยมนี่ พอภาวนาเสร็จแล้ว เสร็จแล้วถ้าไม่มีเหตุมีผลเป็นอย่างนี้ ท่านบอกพิจารณาอสุภะไป อสุภะไปแล้ว มันอสุภะไปนะ แล้วอสุภะใช่ไหม แล้วตัวตนเห็นไหม พอพิจารณาไปมันหายหมด แต่ตัวตนมันยังอยู่ไง พอหายไปปั๊บท่านบอกว่า หายหมดเลย ว่างหมดเลย ว่างเพราะตัวตนเราอยู่ เราเห็นว่างไง เราคิดว่าว่าง เพราะเรารู้ว่าว่างหมดเลย เรารู้ว่าไม่มีอะไรเลยนี่ ท่านบอกเลยว่า อย่างนี้ไม่เอา เพราะท่านเรียนเป็นมหามา

อย่างนี้ไม่เอาเพราะอะไร เพราะไม่มีเหตุมีผล แล้วพิจารณาอะไรก็ไม่ได้เพราะจิตมันกำลังดี พอจิตมันดีมันว่างหมดล่ะ แล้วทำอย่างไร แต่ไม่มีเหตุมีผลด้วย แต่มันว่าง ท่านก็เลยอย่างนั้นเอาสุภะ เอาสวยงามมาแนบไว้ คือว่าเอาสวยงาม เอาสเป็กเรา เอาที่เรารักที่สุด ที่เราชอบที่สุด ที่ยอดที่สุดของกูนี่มาผูกมันไว้เลย ท่านบอก ๒-๓ วันแรกท่านยังไม่รู้สึกตัวนะ วันที่ ๓ ถึงได้ขยับไง ๓ วันนะ

คิดดูสิ ขนาดเอาของที่มันชอบที่สุดไปให้มันกินนะ ๓ วันมันถึงแสดงตัว พอมันขยับ ขยับหมายถึงว่า มันอารมณ์มันจะเกิดไง พอมันขยับ นี่ไงไหนว่าไม่มีไง ก็เลยไล่เข้าไปเลย นี่เชาว์ปัญญาอำนาจวาสนาบารมี

อย่างของเราพอว่างๆ กูก็จะไปนิพพานแล้ว อ้างหมดแล้ว ไอ้นี่ขนาดอย่างนั้น ท่านยังไม่ยอมรับเลย วาสนาของคนนะ คนเราถ้ามีวาสนามันจะมีอย่างไรก็แล้วแต่ มันยังต้องหาเหตุหาผล จนถึงที่สุดถึงจะยอมรับความจริงอันนั้น ถ้ายังไม่ถึงที่สุดไม่ยอมรับความจริงอันนั้น ทั้งๆ ที่ความจริงอันนั้นเราทำขึ้นมาเอง มันความจริง ๗๐ - ๘๐ เปอร์เซ็นต์ที่มันอยู่กับเราแล้ว

แต่อย่างที่ว่ามันยังหลบอยู่ แล้วถ้าปล่อยนะ เดี๋ยวมันก็แข็งแรงขึ้นมา แล้วกว่าจะไล่เข้าไป หดตัดทอนมันจนกว่าจะเหลือแค่นั้น ทุกข์มากนะ ทุกข์มากหมายถึงลงทุนลงแรงมาก คติธรรมอันนี้ เรามาอ้างให้ลูกศิษย์ที่มันบอกว่า มันจะเป็น จะเป็น ถ้าไม่มีเหตุมีผล ใช้ไม่ได้ หลวงตาท่านทำอย่างนี้ อย่างนี้เลย ว่างๆ มา กูก็สร้างภาพว่างได้ทั้งนั้นล่ะ แล้วทำไมมันว่างล่ะ ไม่รู้ ทำไมมันว่าง ไม่รู้นะแต่ว่าง แล้วจะให้รับประกันด้วย เวรเอ้ย เราก็เลยเป็นอาจารย์ซื่อบื้อน่ะสิ

แต่นี่จะพูดอะไรเอง บางทีมันพูดได้ไม่ถนัดใจ มันต้องเอาครูบาอาจารย์มาอ้าง กันตัวเราออกไป มันจะได้ไม่มีเขากับเราทะเลาะกันไง กันไว้ทะเลาะกันด้วย กันแบบว่าเขาจะหาว่าเราอวดดิบอวดดีด้วย อวดดิบอวดดีต่อไปมันจะเป็นโทษกลับมาทำลายเรา เพียงแต่เราจะพูดสัจจะความจริง แล้วเอาครูบาอาจารย์มาอ้างอิง เพื่อไม่ให้โทษมันย้อนกลับมาถึงเรา

ฉะนั้นเวลาปัญหามันเกิด มันเป็นอย่างนั้น แล้วถ้าคนเป็นนะ มันจะเคลียร์ได้ แล้วถ้ายังไม่เชื่อหรืออย่างไร ก็พิสูจน์กัน พิสูจน์ก็ทำไป เดี๋ยวเขาต้องเป็นเอง ไฟเอ็งจับเมื่อไหร่ก็ร้อน กิเลสยังมีอยู่เดี๋ยวมันแสดงตัว ของมีอยู่ ลืมไว้ที่ไหนก็แล้วแต่ เดี๋ยวก็เจอ ของลืมอยู่ข้างนอก แต่จิต กิเลส มันอยู่ด้วยกัน ลืมขนาดไหนเดี๋ยวมันเหมือนเห็ดเลย หุบ ขึ้นมาแล้วบานเลย เดี๋ยวมึงจะรู้

มันต้องมีอย่างนี้ การจะผ่านขั้นตอนแต่ละขั้น มันจะล้มลุกคลุกคลานทุกคน มันจะต้องสมบุกสมบั่น การสมบุกสมบั่นมันจะเห็นผล แล้วพอคนอื่นมาทำ มันถึงเวลาใครมาจะสงสาร สงสารเพราะอะไร เพราะเราสมบุกสมบั่นมาแล้ว เราทุกข์ยากมาแล้ว แล้วเขาเป็นอย่างนั้นค่อยว่ากัน ข้างหลังเบื่อแล้วน่ะ

โยม ๒ : หลวงพ่อเจ้าคะ หลวงพ่อบอกว่าสมมุติว่าจิตเป็นเนื้อส้มนะคะ แล้วสติ

หลวงพ่อ : สติไม่ใช่จิต สติเกิดจากจิต สติเกิดได้ทุกเมื่อ ระลึกถึงได้ตลอด ถ้าเป็นส้ม เปลือกส้มแล้วนี่ มันต้องมีสติพร้อม ถ้าไม่มีสติพร้อม มันจะเกิดอย่างนี้ไม่ได้ สติมันเกิดแล้ว นี้สติเกิดจากจิต เช่น เราระลึกพุทโธ พุทโธนี่ ใหม่ๆ สติจะดีมากเลย แล้วเดี๋ยวก็เลือนหายไป สติเราต้องฝึกตลอดจนมันจะชำนาญ จนเราเข้าใจเลย เราขยับ เอ๊อะ เอ๊อะ สติมันจะดีกับเราตลอด

สติเกิดจากจิตไม่ใช่จิต มรรค ๘ สติด้วย ฉะนั้นสติมันก็เป็นอันหนึ่งในมรรค ๘ ถ้ามันสมดุลแล้วมันเกิดพร้อมมา คือมันมีสติในนั้นในตัวพร้อม ถ้าไม่มีสติงานที่ทำอยู่ ไม่มาถึงส้ม เปลือกส้ม แน่นอน เพราะมันมีสติรองรับขึ้นมาตลอด มันถึงเห็นเนื้อส้ม เปลือกส้ม กระทบกัน เพราะสติมันพร้อม ถ้าไม่พร้อมนะ เออ เออ มั่วเลย แต่นี้จะไปแยกสติเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ได้

มันถึงเวลาแล้วมรรค ๘ เห็นไหม มรรค ๘ ส่วนผสมของ ๘ หน่วยกิตนี้ มันจะรวมตัวกันเป็นมรรคสามัคคี วื๊บ ไอ้ตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่จะรู้ว่าเป็นหรือไม่เป็น จุดที่มรรครวมตัวแล้วสมุจเฉทปหาน สมุจเฉทปหานคือการที่มรรครวมตัว เป็นมัชฌิมาปฏิปทาที่สมดุลแล้วรวมตัว พั้บ แยกออกหมดเลย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จิตรอดออกไปเลย

หลวงตาบอก “เหมือนกับความคิดกับจิตแยกออกจากกันเป็น ๓ ทวีปเลย”

ชัดเจนมากๆ ขยัน ขยันคือทรัพย์ของเรานะ

เวลาลูกศิษย์มา เขาบอกว่า “เขาก็สบายแล้ว ดีแล้ว ทำไมต้องมาทำ”

เราบอก “นี่สมบัติสาธารณะนะ โยมไม่มีสมบัติประจำตัวกันเลยนะ”

แก้ว แหวน เงิน ทอง มันเป็นสมบัติสาธารณะ เราตายไปมันไม่ไปกับเราหรอก มันจะไปกับเราความดีความชั่ว แต่เราปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว นี่สมบัติของเรา เพราะมันเกิดจากจิต มันอยู่กับจิต เวลาตายคือจิตมันออกจากร่าง คือเขาเอาสมบัติของเขาไปด้วยไง จิตนี้ สมบัตินี้ มันอยู่กับจิตเลย มันไปกับจิต แต่แก้ว แหวน เงิน ทอง มันเป็นวัตถุอยู่ข้างนอก มันไม่ไปกับเราหรอก เราตายไป มันก็ไม่ไปกับเรา มันนอนอยู่ที่นั่น มันไม่ขยับมากับเราหรอก

อันนี้ถึงให้ทำ ครูบาอาจารย์ของเรา เราถึงได้เปรียบเทียบ หลวงตานี่หาเงินเป็นหมื่นๆ ล้านเลย แต่ตัวท่านเองไม่ได้อะไรเลย ท่านไม่เอาอะไรเลย เพราะจิตของท่านอิ่มพอแล้ว แต่เราไปดูกัน โอ้โฮ นั่นวัตถุมาก นี่เหมือนกัน ข้าวของหรือสัมภาระ การกระทำนี้ก็เพื่อสังคมโลก แต่พวกเราต้องเอาสมบัติของเรากันให้ได้ สมบัติส่วนตัวคือใจเรานี่ ไม่มีอะไรมีคุณค่าเท่าใจ

เราก็พูดเหมือนเลียนแบบหลวงตานี่ ใจสำคัญมากที่สุด

“ถ้าสำคัญมากที่สุดก็ไม่ต้องกินสิ” นึกว่ากินแล้วก็พอ เขาว่ากันอย่างนั้น

เวรเอ๊ย ใจมันสำคัญ แต่นี้สำคัญมันต้องมีอาหารที่สมดุลของมันด้วย คือ ธรรม คิดเองเออเองไม่ได้ เราต้องหาของเราเนาะ จบเนาะ เอวัง