ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

อุบายบวช

๒๕ เม.ย. ๒๕๕๓

 

อุบายบวช
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : การปฏิบัติจากประสบการณ์หลวงพ่อแล้ว คิดว่าการที่เราต่อสู้ยื้อกันกับกิเลสที่มีกำลังนะคะ ระหว่างเราถูกมันลากไป เราก็ดูมันไปด้วย ยื้อกันก็ดูไปด้วย หรือว่าควรจะแบบไม่ตามไปเลย มันจะเก็บเกี่ยว

ตอบ : มันเป็นจังหวะ

ถาม : ประสบการณ์จากด้านไหนมากกว่า

ตอบ : มันอยู่ที่คน อยู่ที่จริต เพราะเวลาพูดอย่างนี้ เพราะธรรมดาทุกคนมีเป้าหมาย ก็อยากจะไปให้ได้ทุกคน แล้วหลวงตาบอกเห็นไหม บอกให้พวกเราต้องตั้งสติ ธรรมะนี้แก้ปัญหาทุกๆ อย่างได้ เพราะทุกๆ อย่างเกิดขึ้นจากเราขาดสติ เราไม่มีความยับยั้ง แม้แต่เราเป็นผู้ใหญ่ทั้งชีวิต เวลาเราเป็นเด็กเราโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ เรามองย้อนกลับไปในชีวิตสิ ว่าตอนนั้นเราควรแก้ไขปัญหาอย่างใด ถ้าเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา ปัญหาในตอนที่เรายังอายุน้อยอยู่ ปัญหาอย่างนี้เราคิดอย่างไร พอโตขึ้นมาปัญหานี้เราจะแก้ไขอย่างไร

ถ้าพูดถึงอายุขัยใช่ไหม ด้วยวัย เราจะเข้าใจปัญหานั้น แต่ขณะที่เราเป็นเด็ก เราเข้าใจปัญหานั้นไหม ปัญหานั้นใหญ่โตมาก เรายังไม่เข้าใจปัญหานั้นเลย ฉะนั้นถึงบอกว่า ธรรมะแก้ปัญหาชีวิตได้ทุกๆ ปัญหา ทีนี้ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ปั๊บ เพราะพระนิยมพูดอย่างนี้ ว่าธรรมะนี่แก้ได้หมดเลย ทีนี้คำว่าธรรมะแก้ได้หมดเลย มันก็มีธรรมะอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ธรรมะอย่างหยาบๆ เห็นไหม อย่างเรามีศีล มีธรรม เรามีสติ มีปัญญา มีศีล มีธรรมของเรา ชีวิตของเรา

มันจริงอยู่ เวลาเราเกิดขึ้นมาแล้ว มันมีความทุกข์ประจำธาตุขันธ์ มันมีทุกข์ไปตามความจริงของมัน แต่ถ้าเรามีศีลมีธรรมของเรา นั่นก็ทุกข์ ชีวิตถ้าเรากระเสือกกระสน เราก็กระเสือกกระสนของเราไปนี่แหละ แต่มันอยู่ในศีลในธรรมเห็นไหม เราไม่ไปสร้างปัญหาให้ใคร แต่ถ้าเราไม่มีศีลมีธรรมขึ้นมา มันประชดสังคมเห็นไหม เด็กที่มันประชดสังคมต่างๆ เพราะอะไรล่ะ เพราะมันบอกว่า พ่อแม่ไม่รัก สังคมไม่รักเห็นไหม แล้วมันก็ทำให้เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา ถ้ามีศีลมีธรรมขึ้นมา สิ่งนั้นไม่เสียหาย

แต่ในที่นี้คำว่าศีลธรรม ศีลธรรมเฉพาะเด็ก เฉพาะวัยรุ่น แล้วศีลธรรมของเราล่ะ ฉะนั้นเด็กมันก็จะบอกว่า ผู้ใหญ่ที่เป็นตัวอย่างล่ะเห็นไหม ทุกคนจะบอกเลยเวลามีปัญหาขึ้นมา ต้องเริ่มที่การศึกษา ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก แต่มันไม่มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กได้เอาเป็นตัวอย่างเลย ตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ที่ให้เด็กเอาเป็นตัวอย่างมันอยู่ที่ไหน พอพูดถึงศีลธรรม เราก็ย้อนมาที่เด็กเลย เด็กต้องมีศีลธรรม วัยรุ่นต้องมีศีลธรรม แล้วคนที่เป็นผู้ใหญ่ต้องมีศีลธรรมหรือเปล่าล่ะ เห็นไหม อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด

ฉะนั้นถึงบอกว่าธรรมะแก้ปัญหาได้ทุกๆ อย่างเลย แต่ธรรมะมันแก้ปัญหาของใคร แก้ปัญหาอะไร เราปรารถนาสิ่งใด ในชีวิตประจำวันเราก็เป็นเรื่องหนึ่ง เราบอกชีวิตประจำวันเห็นไหม แล้วเราคิดกันเองว่า ธรรมะเป็นยาประจำบ้าน พอธรรมะเป็นยาประจำบ้านปั๊บ เราก็ใช้ของเราเองไง ยาประจำบ้านเราใช้ผิดก็ได้ ใช้ถูกก็ได้ ยาหมดอายุก็ได้ นี่ก็เหมือนกันธรรมะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ธรรมะเป็นยาประจำบ้าน คือว่าเราคิดแบบโลกไง เราคิดแบบความเห็นของเราใช่ไหม ถ้าเราคิดด้วยความเห็นของเรานะ มันก็เท่านั้นล่ะ

สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา ศีลเห็นไหม ศีลทำให้เกิดความปกติ ศีลให้เกิดเป็นโภคทรัพย์ สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมะย่อมคุ้มครอง ถ้าธรรมะย่อมคุ้มครอง แล้วศีลของใคร ศีล อาราธนาศีล วิรัติศีล ศีลสมุจเฉท สมุจเฉทเกิดจากเป็นพระโสดาบัน ศีลมันแตกต่างกันแล้ว สมุจเฉทปหานของพระโสดาบันนั้นมันเกิดจากใจ ศีลมันเกิดจากที่นี่เลย ศีลมันเกิดจากใจเลย ถ้าศีลมันเกิดจากใจแล้ว มันจะทำอกุศลของมันไม่ได้ เพราะมันไม่ได้ลูบคลำ

ฉะนั้น ถ้าธรรมะคุ้มครองเห็นไหม ถึงบอกว่าธรรมะเป็นยา ธรรมะนี่แก้ปัญหาได้ทุกอย่างเห็นไหม แต่เราใช้มุมมองของเรา ที่ว่าใช้ความเห็นของเรา ไปตรึกในธรรมะไง จะเข้ามาตรงนี้แล้ว ไปตรึกในธรรมะใช่ไหม เราจะบอกว่า ถ้าเราตรึกในธรรมะ คำถามที่ถามขึ้นมาเห็นไหม ว่าถ้าปฏิบัติขึ้นไป แล้วเราเจอกิเลสมากมายเลย แล้วกิเลสนี้ เราจะต่อสู้กับมัน เราจะยื้อกับมัน หรือจะสู้กับมันอย่างไร

ธรรมะเป็นยาประจำบ้าน แล้วคนใช้ยาใช้เป็นไหม อ้าว ธรรมะแก้ปัญหาได้ทุกๆ อย่างเลย ทีนี้แล้วพอเราเปิดตู้ยามาก็งงเลยเว้ย เอ้ยแล้วตู้ยา แล้วกูเป็นโรคอะไร แล้วเราจะกินยาอะไร ย้อนกลับมาที่พระไตรปิฎก นี้คือตู้ยา ธรรมพระพุทธเจ้าสุดยอดเลย แล้วเราศึกษากันมา เราจะใช้ยาอะไร เราใช้ยาเป็นไหม เราจะใช้สิ่งใด นี่ไงย้อนกลับมา ย้อนกลับมา เวลาปฏิบัติกันเราคิดกันอย่างนั้นไง

เวลาปฏิบัตินะ เราจะบอกว่า ถ้ามีมุมมอง มีความคิดกันอย่างนี้ มันก็เป็นความคิดเรื่องโลกียปัญญา ความคิดแบบโลกๆ ไง ถ้าโลกียปัญญาความคิดแบบโลก มันก็ดูๆ แบบโลกๆ มันอาศัยความเป็นเรื่องโลก แล้วก็ไปตรึกในธรรมะกัน เห็นไหม บอกว่าธรรมะแก้ได้ทุกอย่าง แล้วอย่างสิ่งที่ทำกันไป เราจะบอกว่ามันเป็นกระแส มันเป็นความเห็นของเขา แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเราเห็นไหม

เวลาโยมมาทำบุญกันนะ มาวัดมาทำกิจกรรมกัน อย่างนี้เราสร้างบุญกุศล แต่สังเกตได้ไหม เวลาถ้าเรามาส่วนตัว ๒๔ ชั่วโมงนี้เป็นเวลาที่เราปฏิบัติใช่ไหม ถ้าเรามาถือศีล เรามาปฏิบัติ ๒๔ ชั่วโมงโยมปฏิบัติหมดเลย อันนั้นเห็นไหม อันนั้น มันจะทำให้เราได้เข้าไปสัมผัส ได้เข้าไปประสบความจริง แต่อันนี้มันเป็นกิจกรรมเป็นคณะมาใช่ไหม เป็นคณะมามีกิจกรรม ทำกิจกรรมอย่างนั้น พอทำกิจกรรม เราเห็นแต่ตรงนี้ไง พอทำกิจกรรมขึ้นมา เรื่องโลกเห็นไหม เรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องภาวนา ถ้าเทียบเวลาโยมมาจำศีล โยมมาทำอย่างนี้หรือเปล่าล่ะ ทีนี้ส่วนที่โยมมาทำอย่างนี้ก็มี เพราะเขาตั้งใจทำอย่างนี้ เขาว่าสิ่งนี้เป็นบุญกุศลของเขา

เวลาเราปฏิบัติเป็นพระเห็นไหม พระเวลาปฏิบัติขึ้นมา จะมีข้อวัตร ฉันน้ำปานะตอนบ่าย ฉันเสร็จแล้วทำกิจกรรม มีข้อวัตรเหมือนกัน เพราะมันมีเรื่องให้ผ่อนคลาย ไม่ให้กดดันในความคิดของเรา ทีนี้มันกดดันใช่ไหม เราบอกว่า นี่คือเรื่องโลก ข้อวัตรปฏิบัติ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นไปแล้วเห็นไหม พระเวลาปฏิบัตินะ เวลามีกิจกรรม เราบอกว่าเราไม่มีเวลา เราจะปฏิบัติ เวลาให้ปฏิบัติให้นั่งภาวนาก็นั่งไม่ได้นะ ก็อยากออกมาทำกิจกรรม การทำกิจกรรมต่างๆ นี้มันจะทำให้ผ่อนคลาย

นี่เราบอกว่า โลกมันก็มีความจำเป็นเหมือนกัน เรามาปฏิบัติเพราะอะไร เพราะเราเกิดมาในโลกเห็นไหม เราอยู่กับโลก ทีนี้พอเราอยู่ในโลก ความเห็นของเราก็เป็นโลก ทีนี้พอถ้าเราจะพยายามสู้กับเรา เพื่อทำให้จิตสงบเข้ามา เพราะเราปรารถนาให้จิตสงบเข้ามา พวกเราเวลาปฏิบัติกัน เราเคยมีจิตที่ปลอดโปร่ง จิตที่มันมีรากฐานของมัน สังเกตไหมว่าความคิดในตอนนั้น เราจะมองโลกไปอีกแง่หนึ่งเลย โลกนี้น่าอยู่ น่าอาศัย

แล้วเราจะสงสารคนที่ไม่มีทางออก เราจะสงสารเขามาก เพราะอะไร เพราะเวลาจิตเรา มันมีความสงบ มันมีพื้นฐานขึ้นมา มันเข้าใจปัญหาไง เราจะชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเรื่องโลกกับธรรม พอเราจิตสงบเข้ามา แล้วปัญหาที่เกิดขึ้น เราจะยื้อกับมัน ถ้ากำลังเราไม่พอ คำว่าควรจะยื้อกับมัน หรือไม่ควรยื้อกับมัน

ถ้าหากว่ายื้อกับมัน พอยื้อกับมัน ปัญหามันเกิดแล้ว จิตใจเราไม่มีรากฐาน เรายื้อกับมันนะ มันฉุดกระชากเราไปตลอดเวลาเลย ถ้ามันฉุดกระชากเราไปตลอดเวลา เราไม่มีกำลังเห็นไหม เราต้องวาง วางเข้ามาเพื่อให้ เพราะคำว่าวาง คำว่าวาง มันไม่มีเหตุผลไง เพราะถ้ามันยื้อกับเรา เราสู้กับมัน กำลังเราไม่มี กำลังเราไม่พอใช่ไหม แล้วถ้าไปยื้อกับมัน มันจะไปอย่างนั้นตลอด

แต่ถ้าพูดถึงว่า โดยที่ไม่มีเหตุผลอะไรเลย ก็ทิ้งเลย พุทโธๆๆๆ เลย ถ้าพุทโธจนมีกำลังขึ้นมานะ พอกำลังมันมี แล้วจิตใจมันปลอดโปร่งเห็นไหม เรากลับมาที่ปัญหาเดิมนั่นน่ะ จะไม่เป็นปัญหาเลย เพราะอะไร เพราะมันเหมือนมีดมันคมกล้านะ มันจะฟันสิ่งใด มันจะคาสิ่งใด ปัญหานั้นมันฟันได้ขาดหมด คือปัญญามันชำแรก ปัญญามันแก้ไข มันขาดหมดเห็นไหม

กรณีอย่างนี้ มันก็อยู่ที่ผู้ประพฤติปฏิบัติ เพราะผู้ที่ปฏิบัติไม่มีประสบการณ์ไง เราถึงบอกว่า เวลาผู้ที่ปฏิบัติไปแล้วมีประสบการณ์ใช่ไหม พอมีประสบการณ์ คนถามปัญหา อย่างนี้ควรทำอย่างไร อย่างนี้ควรทำอย่างไร ไอ้คนที่ทำอยู่ไม่มีประสบการณ์ใช่ไหม มันแบบว่า มันตัดสินใจอะไรไม่ได้ แต่คนที่ปฏิบัติมาแล้ว มันผ่านมาแล้ว มันรู้หมด พอรู้หมดหมายถึงว่า ถ้าเอ็งยื้ออยู่อย่างนี้ เอ็งยื้ออยู่อย่างนี้นะ ถ้าจิตเอ็งไม่สงบลงก่อน เอ็งยื้ออยู่อย่างนี้ เอ็งก็เป็นแค่นี้

แล้วมันไม่ใช่แค่ธรรมดานะ มันจะเหนื่อยยากมาก มันเหนื่อยยากหมายความว่า มันจะน้อยเนื้อต่ำใจ มันเหมือนเรายกไม่ขึ้น เราต้องพยายามยก แล้วกลางแดด กลางฝน เราทุกข์ไหม ไอ้นี่ความคิดเหมือนกัน เราต้องการปล่อยวางมัน แต่เราปล่อยวางมันไม่ได้ ทุกข์ไหม ทุกข์ แล้วทุกข์ทำไมเอ็งไม่วาง อ้าว มันก็ละล้าละลังเห็นไหม

แต่ถ้าคนเป็นแล้ว ถ้าเอ็งไม่วางนะ ครูบาอาจารย์เวลาตอบปัญหา เขาตอบปัญหากันอย่างนี้ ถ้าอาการอย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างนี้ แล้วยังดื้อดึง แล้วกระทำต่อไปนะ เอ็งจะทุกข์อย่างนี้ แต่ถ้าเอ็งทิ้งได้นะ เอ็งทิ้ง ทิ้งไม่มีเหตุผล ทิ้งโดยไม่มีเหตุผลเลย พอไม่มีเหตุผลปั๊บ มันจิตใจมันไม่ยอมทิ้ง ทิ้งมันยังต้องมีสติบังคับเห็นไหม พุทโธๆๆ บังคับมันเลย

ถ้าคำว่าทิ้ง วัตถุทิ้งก็จบนะ ความคิดทิ้งแล้วมันก็เกิดอีก มันทิ้งไม่ได้ มันทิ้งแล้วมันก็ยังคิดอยู่ คือว่าก็ทิ้งมันแล้ว ทิ้งแล้วมันก็ยังคิดอยู่ มันทิ้งไม่ลง ต้องตั้งสติแล้วบังคับ พุทโธๆๆ ที่ว่าคำว่าทิ้ง ทิ้งโดยการตัดสินใจ แต่ความคิดมันหลุดไปไหม เราทิ้งโดยการตัดสินใจ เพราะถ้าคนเป็นแล้ว ตัดสินใจเลยว่าสิ่งนี้ทำมาอย่างนี้ปั๊บ ถ้ายื้ออยู่อย่างนี้นะ ประสาเรานะ จิตมันอ่อนแออยู่แล้วใช่ไหม

พอความคิดมันมีกำลังลากไป พอลากไปปั๊บ จิตมันพอมันยิ่งพลังงานโดนลากไปมากๆ เข้า มันยิ่งอ่อนแอลงเรื่อยๆ ผลเสียมันส่งผลถึงตรงนี้ไง แต่ถ้าเรารู้ว่ามันมีผลเสีย พอรู้ว่ามีผลเสียปั๊บ พอเราจะทิ้งก็ทิ้งไม่ได้ เพราะว่ามันมีตัณหามีความทะยานอยาก อวิชชามันอยู่ในใจ เราตัดสินใจว่าทิ้ง ตัดสินใจแล้วว่า ทิ้งละ พอทิ้งแล้วมันขาดไหม มันไม่ขาด

มันเป็นอย่างนี้ ถ้ามันไม่ขาดปั๊บ ถ้าเราตัดสินใจว่าทิ้งแล้ว ถ้าครูบาอาจารย์นะ ถ้าคำว่าตัดสินใจแล้วว่าทิ้ง นี่มันแค่ตัดสินใจว่าทิ้ง คิดว่าจะทำ ทำแล้วมันไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริง ก็ต้องตั้งสติไง พุทโธๆๆ หรือจะขืนมันเลย พุทโธๆๆ บังคับไง บังคับไม่ให้พลังงานไปคิด ถ้าบังคับไม่ให้พลังงานไปคิด บังคับให้มันอยู่กับพุทโธ นี่คือการเสริม

เราสังเกตได้ไหม นักฟุตบอล เวลาแข่งฟุตบอล มันก็วิ่งรอบสนามนั่น นักฟุตบอลเวลามันซ้อม มันก็วิ่งรอบสนามนั้น แต่เวลามันซ้อมนะ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ เวลามันแข่งจริง มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ

นี่ก็เหมือนกันจิตเวลาถ้ามันไปตามกิเลสที่มันลากไป มันโดนกิเลสลากไปนะ มันเหมือนกับการซ้อม มันไม่ได้ประโยชน์อะไร นักกีฬาที่ซ้อม เหมือนกับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เหมือนกับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แต่การซ้อมนะทำให้ร่างกายเขาแข็งแรง เขาฝึกทักษะของเขา เขาทำประโยชน์ของเขา

ถ้ามันโดนลากไปอย่างนั้น ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ทีนี้ถ้าลงแข่งล่ะ พอลงแข่งขึ้นมา แข่งขึ้นมา เพราะมันเป็นการแข่งขันใช่ไหม มันเป็นการแพ้ชนะกัน ฉะนั้นถ้าเราบังคับจิตเราเลย ไม่ให้คิด มันมีการบังคับกันแล้ว เป็นข้อเท็จจริงแล้ว กลับไปที่พุทโธเลย บังคับเลย พุทโธๆๆ ๆไปอย่างนั้น แล้วได้ไม่ได้ การแข่งที่ว่าจิตมันจะสงบได้ไหม ถ้ามันสงบได้นะ มันจะเห็นเลยว่า อ๋อ เพราะการที่ว่ากำลังมันไม่พอ มันเป็นอย่างนี้ กำลังไม่พอเป็นอย่างนี้

แล้วการกระทำอย่างนี้ มันจะมีวัฏจักรของมัน มันจะมีวงรอบของมันนะ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน เดินไปด้วยกัน ในวัฏจักรของมันเห็นไหม เราต้องทำความสงบของใจ ถ้าใจมันมีพื้นฐานสงบขึ้นแล้ว พอมันจะทำอะไรเข้า มันเป็นชิ้นเป็นอัน พอความเป็นชิ้นเป็นอัน มันสันทิฏฐิโก จิตมันได้สัมผัส เราได้สัมผัสเอง เราได้สัมผัสเอง เราได้ทำกันเองเห็นไหม เวลามันกระชากไป เราก็รู้ว่ามันกระชากไป ทั้งๆ ที่ว่าปฏิบัติธรรม ทั้งๆ ที่เป็นยาประจำบ้าน

ธรรมะมีประโยชน์มาก ทุกอย่างมีประโยชน์มาก ถ้ามีสติเห็นไหม คนเรามีสติ จะไม่คิดนอกลู่นอกทาง นอกลู่นอกทางเลย แต่มันจะมีสติกับเราตลอดไปไหม นั่นคือเป็นยาประจำบ้านนะ แต่ถ้าเป็นปัญญาในหัวใจ มันประจำหัวใจของเรา เรารู้อะไรควรและไม่ควร มันก็มีประสบการณ์อย่างนี้ มีประสบการณ์อย่างนี้ว่า ถ้าจิตมันลากไปอย่างนี้จะมีทุกข์อย่างนี้ แล้วถ้าเราบังคับขึ้นมา เราจะได้ประโยชน์อย่างนี้ พอทำขึ้นไปนะ พอทำขึ้นไปกิเลสมันรู้ทันนะ มันก็สร้างปัญหาขึ้นมาตลอดไปเหมือนกัน ตลอดไป

เราต้องพัฒนาขึ้นไป พัฒนาหมายถึงว่าเราจับหลักได้ เราจับหลักได้ว่า เรารู้ทันแล้ว เป็นอย่างนี้เห็นไหม เขาเรียกภาวนาเป็น เห็นไหม เวลาเราพูดถึงว่าคนว่าภาวนาเป็น อย่างใดเขาเรียกคนภาวนาเป็น อย่างใดเขาเรียกคนภาวนาไม่เป็น คนภาวนาไม่เป็นนี้จับหลักอะไรไม่ได้เลย พอจับหลักอะไรไม่ได้ มันภาวนาไปแบบว่าจับพลัดจับผลูไง จับพลัดจับผลูไปอย่างนั้น เราไม่มีหลักการ

แต่คนภาวนาเป็น มันรู้มันเห็นว่าจิตสงบเป็นอย่างนี้ พอจิตสงบเป็นอย่างนี้ เรารู้แล้ว เหมือนกับคนบริหารได้ พอจิตมันสงบได้แล้วนะ จิตมันสงบเป็นอย่างนี้ใช่ไหม แล้วเราออกใช้ปัญญา มันเป็นอย่างนี้ แล้วถ้าใช้ปัญญาไปแล้ว มันจะฟั่นเฟือน จิตมันใช้พลังงานไป เราต้องกลับมาที่ความสงบ ถ้ามีความสงบมีพื้นฐานปั๊บ ก็กลับมาใช้ปัญญาอีก อย่างที่ว่า ถ้าสมาธิพอ เวลาเราใช้ปัญญาขึ้นมา สิ่งใดที่เกิดขึ้นมา มันเป็นปัญหา มันพิจารณาไปแล้ว มันจะปล่อย มันจะปล่อย นี้คือสมาธิพอ

ถ้าสมาธิไม่พอนะ คิดสิ่งใดก็แล้วแต่ มันจะดึงเราไปด้วย สังเกตได้ไหม เวลาเรามีความฟุ้งซ่าน เรามีความทุกข์ขึ้นมา เราใช้ปัญญาพิจารณาแล้ว มันไม่จบ นั่นล่ะกำลังไม่พอ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาพิจารณาของเรา แล้วปัญหานี้จบ มันจบได้เลย เพราะอะไร เพราะกำลังพอ มันจบได้เพราะเหตุใด มันจบได้เพราะมันมีเหตุมีผล เหตุนี้เกิดเพราะอะไร ทุกปัญหา ทุกเหตุการณ์ มันมีเหตุปัจจัยของมันใช่ไหม

พอเราใช้ปัญญาเราไล่ต้อนเข้าไปถึงที่สุดแล้ว ปัญหามันจบสิ้น พอจบสิ้นจบแล้วมันคือจบ จบมันก็ปล่อย ปล่อยเพราะเหตุใด ปล่อยเพราะจิตมันไม่มีตัณหาความทะยานอยากตามอำนาจของมัน แต่ถ้าเวลาจิตที่กำลังมันอ่อน ตัณหาความทะยานอยากมันมี คือว่ามันมีสมุทัยรวมมาในพลังงานนั้น เวลาคิดไปปัญหาจะไม่จบหรอก เหตุปัจจัยเดียวกัน แต่ไม่จบ ไม่จบเพราะอะไร ไม่จบเพราะตัณหาไง ตัณหาสมุทัยนะ เพราะเหตุปัจจัยมีเท่านี้ใช่ไหม

แต่ตัณหาของเราว่า มันควรเป็นอย่างนั้นไง มันควรเป็นและไม่ควรเป็น ในใจเรา ในใจเราว่า มันไม่น่าเป็นอย่างนี้ คนนี้ไม่รักเรา เขาจะรักหรือไม่รักมันเกี่ยวอะไรกับเอ็ง มันเกี่ยวอะไรกับเอ็งด้วย แต่เราดูที่เหตุผลสิ ถ้ามีเหตุผลพอเห็นไหม คือตัณหาความทะยานอยาก มันจะมองภาพนั้น มองเหตุการณ์นั้น ด้วยสมุทัยไง อยากให้เป็นและไม่อยากให้เป็นตามที่เราคิด จบไหม

เหตุที่ไม่จบเพราะตรงนี้ไง เพราะกำลังของจิตมันไม่มีกำลังพอไง แต่ถ้าตัวของจิตมีกำลังพอ ตัณหาความทะยานอยากมันสงบตัวลงจริงไหม ถ้าตัณหาความทะยานอยากมันสงบตัวลง สิ่งที่เป็นพลังงานนี้มันเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ มันเป็นพลังงานโดยความสะอาด เวลามันใช้ปัญญาใคร่ครวญไป มันก็ใคร่ครวญปัญหานั้นแหละ ใคร่ครวญตามข้อเท็จจริงในปัญหานั้น ไม่มีตัณหาความทะยานอยากบวกไง

แต่นี้เวลามันบวกเห็นไหม ที่มันแบบว่าควรจะเห็นไหม ควรจะพิจารณาหรือไม่ควรจะพิจารณา ควรจะยื้อหรือไม่ควรจะยื้อ คำว่าควรจะยื้อหรือไม่ควรจะยื้อ มันมีเหตุผลนะ แต่เราก็มีตัณหา มันจะเป็นอย่างนั้น มันจะเป็นอย่างนี้ไง อยากและไม่อยาก ตัณหาคืออะไร อยากให้เป็น ไม่อยากให้เป็น ผลักไสมัน ดึงมันมาเห็นไหม เพราะเราไปบวกไง ดึงมันมาแล้วผลักมันไป ที่ไม่พอใจก็ผลักมันไป ยิ่งผลักมันไป มันก็วิ่งเข้าหาเรา

ถ้าเราดึงมันมา คนรักกันเห็นไหม ไม่อยากพลัดพรากจากกัน อยู่ด้วยกัน ยังไงเขาก็วิ่งหนีมึงอยู่แล้ว เขาไม่อยู่หรอก อยากให้อยู่กับเราเขาก็ไม่อยู่ นี่คือตัณหาของเรา ถ้าเราเอานี้บวกเข้าไป ปัญหานี้ไม่จบหรอก เห็นไหม ใช้ปัญญาเหมือนกัน ถ้ากำลังมันไม่พอ กำลังเราไม่มี แต่เราพูดกันไป มันก็พูดกันไปอย่างนั้น

ฉะนั้นเราบอกว่า พอมันเป็นอย่างนั้นปั๊บ เราไล่ไป มีความสบายไหม ที่เขาบอกเขาควบคุมได้ จิตเขาสบายน่ะ เราพูดจริงๆ นะ เราไม่เชื่อเลยนะ ไม่จริงสักอย่าง ไม่จริงหรอก มันเป็นกระแสสังคมโลก คำว่าโลกนะ โลก คือ สัตตะ โลก คือ จิต โลก คือ ความรู้สึก ความรู้สึกเราเทียบเคียงกันได้ไหม ความรู้สึกเราแชร์กันได้ไหม เราคุยกันได้นะ แล้วพอคุยกันได้ขึ้นมานะ ปฏิบัติธรรมต้องมีความสุขใช่ไหม ปฏิบัติธรรมต้องมีปัญญาใช่ไหม เราก็ว่าเรามีความสุขไง มีความสุขเพราะอะไร หน้ากากไง แต่ตัวจริงเป็นอย่างไร

แต่ถ้าเป็นความสุขจริง มันเป็นจริงขึ้นมา มันมีหลักเกณฑ์ของมันขึ้นมา ความสุขจริงอันนั้นมันเป็นสัจจะ มันเป็นความข้อเท็จจริง ที่มันเกิดขึ้นมาโดยสัจจะของมัน ความสุขอย่างนี้ ดูสิเวลาลมมันพัด ความสุข เวลาลมมันพัด เวลาอากาศเปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุใด อุณหภูมิแตกต่างใช่ไหม มันเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ความรู้สึกของคน ความสุขมันเปลี่ยนแปลง แล้วมันเร็วกว่านั้นอีก

เราจะบอกว่าความสุขหรือสิ่งต่างๆ อารมณ์ความรู้สึก มันอยู่กับเราไม่ได้หรอก มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วเอ็งบอกว่าเอ็งมีความสุข กูจะเชื่อมึงเหรอ แล้วเราจะทำอย่างไร เราก็พยายามตั้งสติของเราเห็นไหม พุทโธๆ พุทโธๆ พุทโธๆ เหตุเห็นไหม ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ในเมื่อความสุขมันเกิดมาจากเหตุใช่ไหม เราก็กลับไปรักษาที่เหตุนั้น คือ เราตั้งสติของเรา เราฝึกปัญญาของเรา เราสร้างปัญญาของเรา ไอ้ความปล่อยวางอย่างนั้น สมาธิที่เราเคยสัมผัสนั้น ถ้าเหตุผลมันพอ เหตุและผลมันรวมลงแล้วมันเป็นธรรม มันจะเป็นสภาวะแบบนั้น

เพียงแต่ว่าถ้าเราได้สัมมาสมาธิ เราได้ความสุขแล้ว เราชอบอย่างนี้ เราพอใจสิ่งนี้ แล้วเราจะให้สิ่งนี้อยู่กับเรา มันเป็นไปไม่ได้หรอก เราถึงบอกว่าชำนาญในวสี สมาธิหรือปัญญานี้มันเสื่อมหมด เกิดเท่าไหร่ก็เสื่อมเท่านั้น เพราะมันเป็นอนิจจัง มันเป็นความแปรปรวน เหมือนอากาศมันจะแปรปรวนอยู่แล้ว มันต้องเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน แต่มันก็อยู่ของมันอยู่อย่างนี้ ฤดูกาลมันอยู่กันอย่างนี้ ตั้งแต่เรายังไม่เกิด แล้วก็เกิดมา แล้วตายแล้วก็เป็นอย่างนี้ มันจะเปลี่ยนแปลง โลกร้อนต่างๆ มันเปลี่ยนแปลง เรื่องนี้มันธรรมดา มันเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วจากธรรมชาติของมัน อารมณ์ความรู้สึกเราก็เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน ทีนี้พอเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน เราก็คิดของเราเองไงว่า ถ้ามันเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ เราก็เกาะธรรมะพระพุทธเจ้าไว้ พระพุทธเจ้าบอกว่านี้เป็นอนิจจัง นี้เป็นอนัตตา นี่มันเป็นความคิดความเชื่อทั้งนั้น แต่ถ้าเราไปรู้ไปเห็นเป็นจริงขึ้นมาสิ

เวลามันรู้เห็นเป็นจริงขึ้นมาเห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติเป็น หลวงตาท่าน ตอนสมัยท่านเด็กๆ ฟังพระผู้ใหญ่บอกว่า “นิพพานเป็นอนัตตา อะไรก็เป็นอนัตตา” พอเราฟังแล้วมันสะเทือนใจมากนะ แล้วมันเก็บไว้ในใจ เวลาท่านเทศน์จบแล้วก็ตามไปที่กุฏิเลย

“อาจารย์ นิพพานเป็นอนัตตาได้ไง”

“อ้าว มันเป็นอนัตตาเพราะมันควบคุมไม่ได้ มันควบคุมไม่ได้ มันก็เป็นอนัตตาสิ”

“แล้วนิพพานเป็นนักโทษของใคร ท่านถึงจะไปควบคุมมัน”

เห็นไหม เพราะคนไม่เคยสัมผัสเห็นไหม เราจะบอกว่าเวลาศึกษามา เราเข้าใจมา เขาว่า นิพพานเป็นอนัตตา สรรพสิ่งเป็นอนัตตาใช่ไหม แล้วความแปรปรวนของโลก ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง เราพูดเราเข้าใจได้ทั้งนั้น

แต่เขาบอกว่า นิพพานมันเป็นอนัตตา เพราะมันไม่มีหลักเกณฑ์ มันไม่มีความรู้จริง แต่ถ้าเรารู้จริง นิพพานมันเป็นนักโทษของใคร มันเป็นนักโทษของใคร ถึงต้องให้กฎกติกาอย่างนั้นมาควบคุม คือ คำว่าอนัตตามันเป็นทฤษฎีหนึ่ง มันมีการเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง แล้วถ้าบอกว่า นิพพานเป็นอนัตตา มันก็อยู่ใต้กฎใต้ทฤษฎีอย่างนั้นใช่ไหม แต่นิพพานมันพ้นออกไป ถ้านิพพานพ้นออกไป เราถึงบอกว่าถ้าฤดูกาลเปลี่ยนแปลง จิตเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง มันน่ากลัวไง มันน่ากลัว แล้วจะเริ่มต้นตรงไหน จะจับประเด็นตรงไหนไง แต่ถ้าปฏิบัติไปแล้ว ถ้าโสดาบันมันมีหลักของมัน มันจะน่ากลัวอะไร เราเป็นคนบริหารจัดการเอง เรารู้หมด โสดาบันเป็นอย่างนี้ สกิทาคา อนาคาเป็นอย่างนี้ พระอรหันต์เป็นอย่างนี้ มันไม่ใช่อนัตตา มันเป็นอิสรภาพ มันไม่ตั้งอยู่ในกฎของอะไรเลย

แต่สิ่งที่มันเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นกฎ ที่ธรรมะเขาสอน มันเป็นวิธีการเข้าไปสู่เป้าหมาย คำว่าวิธีการมันจะมีการเปลี่ยนแปลงเห็นไหม จิตมันเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของมันเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ตลอดเวลา มันเป็นอนิจจังหมดตลอดเวลา แล้วความเป็นไป มันก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่เพราะเราอาศัยความเปลี่ยนแปลงนี้ แล้วให้มีหลักเกณฑ์ เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ ชำระสะสางการเปลี่ยนแปลงนี้ จนมันไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะมันสละได้

อารมณ์เกิดเพราะอะไร ฤดูกาลมันเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุใด ความรู้สึกของคนที่มันเปลี่ยนแปลงมันเพราะเหตุใด อะไรเป็นความรู้สึก อะไรเป็นตัวขับเคลื่อน พอจิตมันสงบ มันจะเห็นของมัน พอจิตสงบ มันมีอิสรภาพในตัวของมัน พอมีอิสรภาพในตัวของมันปั๊บ จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิต ตัวมันเป็นพลังงาน มันจะเคลื่อนไป ฤดูกาลมันเปลี่ยนแปลง เป็นรูปร่างของเขาใช่ไหม ฤดูกาลมันเปลี่ยนแปลงเพราะถึงฤดูกาลของเขา

เวลาจิตมันเปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุใด มันเปลี่ยนแปลง มันต้องมีเหตุมีผลของมัน ถ้ามีเหตุผลของมัน มันขับเคลื่อนอย่างไร อารมณ์มันคิดอย่างไร จิตมันรับรู้อย่างไร แล้วมันตกผลึกอย่างไร มันถึงตกผลึกถึงตัวจิตนั้น ฉะนั้นกำหนดพุทโธๆๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปจนจิตมันสงบไง ต้องจิตมันสงบก่อน ถ้าจิตไม่สงบก่อนนะ มันเป็นความเปลี่ยนแปลง ความคิดมันเปลี่ยนแปลงอยู่ใช่ไหม อารมณ์ความรู้สึกมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาใช่ไหม ธรรมะพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาใช่ไหม ความรู้สึกเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาใช่ไหม นี่มันเป็นเรื่องโลกไง

ที่เราเห็นไง ปฏิบัติธรรมกันนะ โอ๋ ธรรมะเป็นยาประจำบ้าน นี่ไงถึงบอกเปิดตู้มาแต่ใช้ยาไม่เป็น เปิดตู้แล้วงง เพราะอะไร เพราะตัวเองไม่มีข้อเท็จจริง ไม่มีความสัมผัสตามความจริง ไม่มีสันทิฏฐิโก ไม่มีจิต ไม่ได้สัมผัสไง พอจิตมันไม่ได้สัมผัส มันก็เอาทฤษฎี เอาความจำตรงนั้นมาบอกว่ามันต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันสงบเข้ามาด้วยคำบริกรรม หรือสงบด้วยปัญญาอบรมสมาธิ มันจะเห็นของมัน จิตมันจะสงบของมัน

ถ้าจิตสงบ “เอ๊อะ!! เอ๊อะ!!” เพราะอะไร เพราะมันไม่มีเหตุปัจจัยไง จิตสงบ มันมีอิสรภาพในตัวของมันเอง แต่ขณะที่มีอิสรภาพในตัวมันเอง มันมีพลังงานใช่ไหม พลังงานก็ยังเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดอีกชั้นหนึ่งอีก แต่มันจะเปลี่ยนแปลงอีกชั้นหนึ่ง ขณะที่พลังงานนั้นมันจะละเอียดขนาดไหน แต่พลังงานที่มันเป็นอิสรภาพแล้ว มันอิสรภาพจากเหตุและปัจจัยที่จะให้มันเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงเพราะมีขันธ์ ๕ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันทำให้จิตที่มีความรู้สึก มันคิดไง

ลองเปรียบเทียบสิ เปรียบเทียบระหว่างสุขกับทุกข์ เห็นไหม มันเป็นสัญญาแล้ว สุขกับทุกข์ สุขที่เราพอใจ ทุกข์ที่เราไม่พอใจ เราขับไส เพราะมันมีความชอบและไม่ชอบ พอชอบไม่ชอบ นี่คือสัญญา สัญญามันมีเวทนา ชอบ ชอบมาก ชอบน้อย สุขกับทุกข์ มันมีเวทนา ความรู้สึกอย่างนี้ มันเป็นความคิด มันอาศัยอารมณ์เห็นไหม

เหมือนลม ลมมันหมุนไปเพราะเหตุใด เพราะลมมันเปลี่ยนแปลง นี่ก็เหมือนกันความคิดมันก็หมุนอยู่อย่างนี้ เกิดดับอยู่อย่างนี้ เขาว่าเกิดดับ เกิดดับนะ เราถึงบอกเกิดน่ะมึงรู้ รู้เพราะอะไร เพราะเวลาเกิดแล้วร้องไห้ เวลาดับเราไม่รู้ เวลาเกิดน้ำตาไหลทุกทีเลย ทุกข์ทีไร เกิดน่ะรู้นะ เพราะมันสั่นไหวไปทั้งหัวใจไง เวลาเกิดนี่สั่นไหวไปหมดเลยนะ เวลาดับแล้วไปไหนล่ะ เวลาดับไปไหน มันไปอยู่ไหน เราไม่เห็นไง

แต่ถ้าจิตมันสงบนะ พอเกิดมันก็รู้ พอรู้มันจับเกิดได้ พอจับเกิดได้ มันใช้ปัญญาพิจารณาของมัน เวลามันดับนะ เวลามันปล่อยนะ อ๋อๆๆ มันปล่อยนะ ยิ่งดับยิ่งเห็นชัดเจนนะ เกิดก็เห็น ดับก็เห็น

แต่นี่ก็พูดกันไปนะ ยาประจำบ้านไง เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ นกกูมันขันได้ดีกว่ามึงอีก เกิดดับ เกิดดับ แต่ถ้ามันเป็นจริงนะ เกิดมันกระเทือนใจเรานะ ทุกข์เกิดขึ้นมาน้ำตาไหล เวลามีอะไรเกิดขึ้นมา น้ำตาไหล แล้วเวลาดับ ดับไปเพราะกาลเวลามันสมานเอง

แต่ถ้าจิตมันสงบ ไอ้เกิดดับข้างนอก อย่างที่หลวงตาว่า กิเลสนะมันมาขี้รดหัวใจแล้ว คือความคิดไง มันขี้รดหัวใจแล้ว ข่าวสารที่เรารับรู้ในสิ่งใด มันก็ได้รับความคิดมา มันก็ขี้รดหัวใจ แล้วมันก็ไป เราก็เสียใจร้องไห้ ร้องไห้ใหญ่เลย ไม่เห็นกิเลส มันขี้รดหัวใจแล้วมันก็ไปแล้วนะ คือความคิดมันทำให้เราเสียใจไง แล้วมันก็ไปแล้ว เราก็คิดหมักหมมอยู่นั่นล่ะ เสียใจๆ ร้องไห้อยู่นั่น ฉะนั้น เพราะมันไม่รู้ มันไม่เห็นของมัน เวลากิเลสมันไม่เข้าใจตัวมันเอง แล้วมันก็ทำลายตัวเราตลอดเวลา

ทีนี้ธรรมะโดยสามัญสำนึกด้วยโลก เราเห็นบ่อยที่เราพยายามจะพูดอยู่นี้เพื่อจะให้คนเข้าถึงสัจจะอันนี้ให้ได้ แต่ถ้าคนมันไม่เข้าถึงสัจจะอันนี้นะ แล้วพยายามบอกว่า ที่พิจารณาอยู่นี้ ปัญญาที่เรารู้อยู่นี้ เราเข้าใจของเราแล้วอยู่อย่างนี้ มันก็อยู่เป็นเรื่องโลกๆ ไง พอเรื่องโลกๆ มันก็ไม่เข้า เราจะไม่ได้สันทิฏฐิโก เราจะไม่ได้สัจจะความจริง

ถ้ามันเกิดสัจจะความจริงนะ มันจะเห็นต่างจริงๆ พอเห็นต่างขึ้นมา เราก็คิดว่าเราเป็นคนนอกโลก ไม่ใช่หรอก เราไม่ใช่คนนอกโลก แต่มันจะเห็นวุฒิภาวะเลยว่า ความคิดของโลกเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าความคิดของธรรมจะเป็นอย่างนี้ แล้วถ้าความคิดของธรรม มันเหมือนถอนต้นหญ้าเลย เราถอนขึ้นมาจากดินเลย ถอนต้นหญ้า ไอ้นี่ก็เหมือนกันมันถอนออกมาจากใจเลย มันถอนออกมา มันถอนกิเลสมาเห็นๆ เลย ถ้ามันถอนกิเลสอันนั้น แล้วมันเอาอะไรไปถอน สติปัญญามันจะถอนอย่างไร เวลามันถอนขึ้นมา มันรู้ มันถึงบอกว่า ถ้าคนรู้จริงเห็นจริงนะ ทำไมหลวงตาท่านพูดเห็นไหม เวลามันเห็นจริง ธรรมดาหลวงปู่มั่นนี้จะเคารพนบนอบตลอด เวลามันเห็นจริงขึ้นไปนะ โอ้โฮ ขึ้นไปรายงานเลย เวทนาขาดอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น แล้วมันองอาจมาก แล้วรอให้ท่านตอบว่าผิดหรือถูกเลย ท่านเลยไม่ตอบว่าผิดหรือถูกเลย เพราะคนฟัง เพราะคนผ่านมาแล้วมาพูดอาการอย่างนี้ คนมันรู้ไง เอ้อ จิตมันไม่ตายตามอัตภาพเว้ย ได้หลักแล้ว ลุยเข้าไปเลย ได้หลัก คือ จับถูกทางแล้ว คำว่าได้หลักนะ เหมือนเราเคาะประตูเลย ถ้าเคาะประตูได้นะ ไปได้ละ

ถ้าเข้าโสดาบันก็เข้าสู่กระแส โสดาบันนี่เข้าประตูนะ โสดาบัน สกิทาคา อนาคา มันเข้ากระแสละ โสดาบันก็พาดกระแสนิพพาน พาดกระแสเพราะมันเปิดหัวใจเข้าได้แล้ว เพราะนิพพานมันไม่ได้อยู่ที่ไหน นิพพานมันจะไปอยู่ในตู้ในตำราหรือ ไม่มีหรอก ขนาดพระพุทธเจ้าเทศน์ออกมา คือกิริยาของธรรม หลวงตาบอก คือกิริยาของธรรม ธรรมแท้ๆ อยู่ที่ใจพระพุทธเจ้า ใจพระพุทธเจ้านั้นเป็นธรรม แต่เวลาพูดออกมาทางวิชาการ แล้วเราก็จดจารึกกันไว้

แล้วเราก็เอาวิธีการมาส่องกล้องกันใหญ่เลยนะ ว่าพระพุทธเจ้าว่าอย่างไร ไอ้ส่องกล้องนั้น พระพุทธเจ้าบอกว่าให้ย้อนกลับมาที่ใจ พระพุทธเจ้าให้ตั้งสติขึ้นมา เวลาเกิดขึ้นมาก็เกิดมาที่เรา ทีนี้เรามาปฏิบัติก็ต้องเอาจริงเอาจังนี่แหละ แล้วถ้ามันผิดถูก มันมีครูบาอาจารย์คอยแก้ไขนะ ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยแก้ไข เราจะได้ประโยชน์กับเรา ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์แก้ไขนะ มันก็เป็นปัญหาของเรานะ อันนี้เราก็ทำของเราไป ประสบการณ์มันจะฟ้อง ประสบการณ์มันจะบอกหมด

หลวงพ่อ : บวชนี้ใครจะบวชล่ะ พ่อแม่ให้บวชหรือ บวชอย่างไร

โยม : ไม่ได้ขอค่ะ ก็คิดไว้แต่ว่ายังไม่รู้จะยังไง

หลวงพ่อ : ไอ้กรณีอย่างนี้นะ ธรรมดาแล้วเราจะพูดเลย พูดถึงเวลาที่พระพุทธเจ้าออกบวช พ่อแม่สะเทือนใจมากนะ เวลาสำเร็จแล้วเป็นขนาดเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ก็อยากได้บุญเหมือนกัน ก็นิมนต์มาฉันที่บ้าน แล้วนางพิมพาให้ลูกขอ ขออะไร ขอสมบัติไง พอขอสมบัติ พระพุทธเจ้าท่านก็มีมุมมอง

เราจะเทียบให้เห็นมุมมองของพ่อแม่ กับมุมมองของธรรม มุมมองของพ่อแม่นี้ เป็นมุมมองของโลก พ่อแม่รักลูกไหม รักแน่นอน ถ้ารักลูกแล้วจะเอาไว้อย่างไร ก็ต้องเอาลูกไว้ อยู่เพื่อชาติ เพื่อตระกูล เพื่อสังคม พระเจ้าสุทโธทนะก็คิดอย่างนั้น ก็คิดอยากให้พระพุทธเจ้าเป็นจักรพรรดิ ถ้าเป็นจักรพรรดิขึ้นมาก็จะรวมแว่นแคว้นในอินเดียไง สมัยโบราณก็เป็นแว่นแคว้น เป็นแต่ละประเทศๆ ก็อยากให้พระพุทธเจ้าเป็นจักรพรรดิ คือ รวมอินเดียทั้งหมดเป็นประเทศเดียวได้ นี่พูดถึงเรื่องโลก

แต่พระพุทธเจ้าได้สร้างบุญญาธิการมาเพื่อสิ่งนี้อยู่แล้ว คนดีจะเกิดในกลุ่มที่มีคนดีไง พระเจ้าสุทโธทนะก็ปรารถนาเพื่อโลก เพื่อสังคม เพื่อต้องการให้ประเทศรวมเป็นแว่นแคว้นเดียวกัน ให้เป็นจักรพรรดิ ทีนี้ ตัวเองเป็นกษัตริย์อยู่แล้ว ก็ต้องการให้ลูกเป็นจักรพรรดิ ก็ส่งเสียเล่าเรียนมาเตรียมตัวพร้อมนะจะให้เป็นจักรพรรดิ แต่ทีนี้คนจะปกครองคนนั้นต้องมีการศึกษา ต้องมีความรู้ทางวิชาการเยอะมาก

สุดท้ายแล้ว เพราะบุญกุศลเห็นไหม ออกบวชเอง หนีออกบวชโดยม้ากัณฐกะไปออกบวช พอบวชเสร็จแล้ว ต้องพยายามฝึกฝนอยู่ เพราะบุญญาบารมีต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว พอกลับมาเห็นไหม พอไปหานางพิมพา พิมพาก็ให้สามเณรราหุลมาขอสมบัติ

มุมมองเรื่องขอสมบัติของพระพุทธเจ้า อยู่ในพระสูตร สุตตันตปิฎก ท่านก็พิจารณาไง เราจะให้สมบัติอะไรกับลูกเรา ถ้าไปขอสมบัติ ทางโลกเขาก็ต้องให้อยู่แล้ว เพราะว่ามันจะบวกมานะ เพราะพระเจ้าสุทโธทนะก็หมายตาไว้ ไว้ ก็เสียลูกไปแล้วก็เหลือหลาน ก็หวังว่าหลานจะเป็นกษัตริย์แทนพ่อ ฉะนั้นมุมมองของพระเจ้าสุทโธทนะ เสียลูกไปแล้ว แต่หลานก็เก็บไว้เพื่อจะเป็นกษัตริย์ เพราะจะได้สืบทอดราชวงศ์

ทีนี้นางพิมพาให้มาขอสมบัติ พระพุทธเจ้าก็คิดว่า ถ้ามาขอสมบัติ เราจะให้สมบัติอะไรกับลูก พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาใช่ไหม เป็นพระอรหันต์ใช่ไหม ถ้าเป็นทางโลกให้สมบัติก็ต้องสมบัติของราชวงศ์ จะเป็นกษัตริย์ พระพุทธเจ้าก็บอก จะให้สมบัติอะไรดี ก็ต้องให้สมบัติทางธรรม เพราะถ้าสิ้นกิเลส มันมีคุณสมบัติมากกว่าตั้งเยอะ

ทีนี้มุมมองแต่ละมุมมอง พออย่างนั้นปั๊บ พระพุทธเจ้าบอก ถ้าจะให้สมบัติก็ให้อริยสมบัติ คือ มรรค ผล นิพพาน ก็ให้พระสารีบุตรบวชเลย โอ้โฮ ช็อก ช็อกเอาเลย แล้วให้พระสารีบุตรเป็นคนสอนจนสามเณรราหุลเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่เป็นเณร พอให้บวช โอ้โฮ พระเจ้าสุทโธทนะก็เจ็บอีกชั้นหนึ่ง อันนี้พระเจ้าสุทโธทนะถึงได้มาขอพระพุทธเจ้าไง ว่าต่อไป ถ้าใครจะบวช ต้องขอพ่อแม่ก่อน ถ้าไม่ขอพ่อแม่ก่อน ห้ามบวช

นี่ก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าก็บวชแล้ว สามเณรราหุลก็บวชแล้ว กรณีอย่างนี้นะ มันก็เกิดกับพระสารีบุตรเหมือนกัน พระสารีบุตร พระจุนทะ พระเรวัตตะ พี่น้องเป็นพระอรหันต์หมดเลย แต่แม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่อยากให้บวช ลั่นต้องปิดตาย ฉะนั้นในธรรมวินัย บอกว่าจะบวชต้องขอพ่อแม่ พระสารีบุตรประกาศกับพระไว้หมดเลย ถ้าน้องชายหรือว่าคนในตระกูลของท่านจะบวชให้บวชได้เลย เพราะพ่อแม่ผมเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าจะไปลาจะไปขอพ่อแม่ มันจะเป็นไปไม่ได้หรอก

ตระกูลของพระสารีบุตร บวชโดยยกเว้นพระวินัยข้อนี้ ข้อที่ให้พ่อแม่ต้องอนุญาตก่อน เพราะว่าอะไร พระเรวัตตะ ในพระไตรปิฎก พ่อแม่ก็อยากให้มีคู่ครอง จับแต่งงานตั้งแต่อายุ ๗-๘ ขวบเหมือนกัน จับแต่งงานเลย กลัวจะออกบวช สุดท้ายเขาฉลาดนะ พอไปแต่งเสร็จกลับมาเห็นไหม กลับมาก็มาเรื่อย แวะข้างทางเรื่อย ก็ปัสสาวะมาเรื่อย พอปัสสาวะ แล้วมันก็ไม่มีสิ่งใดนะ ก็สังเกตมาเรื่อย พอเห็นพระ ปัสสาวะเสร็จก็ขอบวชเลย นี่พูดถึงพระสารีบุตร

ฉะนั้นกรณีอย่างนี้ การจะพูดกับพ่อแม่นี่นะ มันก็ต้องมีอุบายว่าเราต้องทำตัวให้ดีก่อน แต่ยิ่งดีพ่อแม่ยิ่งอยากเอาไว้ เพราะเป็นคนดี เราจะพูดอย่างนี้นะ ชีวิตการบวชนี้ เราเห็นนะ มันมีลูกศิษย์คนหนึ่ง ผู้หญิงเหมือนกัน เขาเป็นเพื่อนกัน แล้วเขาพามาหาเรา เขาตั้งปฏิภาณไว้ว่า เขาเรียนวิศวะนะ ถ้าจบแล้วจะบวชเอง จะเข้าป่าไปแบบไม่เหลียวกลับเลย แล้วเพื่อนเขาที่สนิทมาก เขาพามาหาเรา คนโพธารามนี้แหละ เขาพามาหา เราบอกว่าเอ็งเป็นผู้หญิง เอ็งคิดอย่างนี้ได้อย่างไร

ถ้าเอ็งคิดอย่างนี้ เอ็งบวชแล้วเอ็งไปของเอ็งคนเดียวอย่างนี้ มันอันตรายกับความเป็นผู้หญิง ตั้งแต่สมัยนั้นนะ เมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว แล้วเขาพาเพื่อนคนนี้มาหาเรา เราก็พยายามจะพูด ถ้าจะบวชหรือถ้าจะปฏิบัติ มันก็ควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัย แต่เขาแบบว่าไฟแรง เรียนวิศวะยังวัยรุ่น บอกเลยว่าจะบวชเอง บวชตัวเองนี่แหละ เป็นผู้หญิงนี่แหละ แล้วก็จะสะพายบริขารเข้าป่าไปปฏิบัติจะให้เป็นพระอรหันต์ให้ได้เลย โอ้โฮ คิดขนาดนั้นนะ

เราเข้าใจเรื่องอย่างนี้ เราเข้าใจหมายความว่า ถ้าคนที่มีมุมมองอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ แล้วยังเป็นวัยรุ่นมันจะไปมากเลย มันจะไปประสาตัดสินใจแบบว่าไปเต็มที่ เราก็อยากให้ไปเต็มที่ แต่ให้ปลอดภัยด้วยไง ๑.ให้ปลอดภัยด้วย ๒.ไม่ให้สะเทือนใจพ่อแม่เขาจนเกินไป เราถึงบอกว่าต้องคุยกัน ต้องบอกกันก่อน นี่ถ้าบอกกัน มันก็อยู่ที่เวรที่กรรมนะ เห็นไหม

ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ เราถึงบอกว่าเห็นไหม เวลาคนเราบอกว่า ทำไมหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เราทำไมเกิดอีสานหมดเลย ทำไมเกิดทุกข์ๆ ยากๆ เห็นไหม ทำไมไม่เกิดเป็นคนรวยๆ ทำไมไม่เกิดมามั่งมีศรีสุข ถ้ามั่งมีศรีสุข มันก็ติดคุกทั้งนั้น แต่ท่านไปเกิดอยู่นั่น ไปเกิดในประเทศอันสมควรไง เพราะประเพณีวัฒนธรรม เขาเชื่อมั่นศรัทธาทางนี้

ก็เหมือนเมื่อกี้ที่ว่า พระเจ้าสุทโธทนะกับมุมมองพระพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะก็มีมุมมอง เพราะด้วยความรักด้วยความผูกพัน แต่มันก็ยังเกิดตายในโลกนี้ แต่ของพระพุทธเจ้า เวลาให้มรรค ผล นิพพาน แล้วมันหมดเลย มันเป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ที่เหนือกว่ามหาศาลเลย แต่โลกมองกับเราไม่เห็นหรอก ฉะนั้นเราเกิดมาเป็นมนุษย์ใช่ไหม เรามีพ่อแม่กันทุกคน ในเมื่อเรามีพ่อแม่กันทุกคน พ่อแม่ก็ต้องหวังอย่างนี้กับเราทั้งนั้น พ่อแม่ต้องหวังกับเรา หวังให้เราสืบทอดสกุลแน่นอน ไม่มีพ่อแม่คนไหนหรอก ไม่อยากให้ลูกสืบทอดสกุล เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย

แต่ถ้าเรามีหัวใจนะ อภิชาตบุตร บุตรที่ดีกว่าพ่อแม่ไง ถ้าบุตรที่ดีกว่าต่อพ่อแม่ เราเข้าใจน้ำอกน้ำใจของพ่อแม่ เราก็ทำตัวของเราให้อยู่ในกรอบ ให้เป็นคนดี แล้วเรามีเหตุมีผล ต้องค่อยๆ อธิบายไป เราออกอุบายให้หลายคนนะ ที่จะไปพูดกับพ่อแม่อะไรอย่างนี้ เราบอกว่าให้ไปปรึกษาพ่อแม่ แล้วบอกว่าไปนิดเดียวก่อน พอไปได้แล้วนะ แล้วค่อยๆ ขยายไปเรื่อยๆ บอกว่า ถ้าไปขอพ่อแม่นะ ว่าจะบวช! จะไม่สึก! โอ๋ มึงอด มึงไม่มีทาง อดทันทีเลย ต้องบอกว่า แม่ขอบวช ๗ วัน พอบวชเสร็จแล้วนะ แม่ขอต่ออีก ๑๐ วัน ไปเรื่อย จริงๆ แล้วคือเราจะบวชไง

เราแนะนำคนไปหลายคนนะ เขาบอกเขาจะไปคุยกับพ่อแม่ก่อนอย่างนั้น เราบอก มึงไม่มีสิทธิ์ อด ก็บอกว่าเอ็งกลับไปนะ เอ็งไปขอพ่อแม่เอ็ง แต่บอกว่าขอนิดเดียว แต่เขาบอกว่านิดเดียวก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ เอ็งค่อยๆ ไปคุยเอา อะไรก็ไม่ได้ นิดเดียวก็ไม่ได้นะ เพราะพ่อแม่เลี้ยงลูกมา พ่อแม่รู้นิสัยของลูก ตอนเลี้ยงมาเด็กๆ ตีนเท่าฝาหอย มันจะเห็นจริตนิสัย ว่าคนๆ นี้มีมุมมองอย่างไร มีหัวคิดอย่างไร พ่อแม่รู้ความคิดลูกเลยล่ะ ฉะนั้นไอ้อย่างนี้นะ มันเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรมนะ

เพราะในสมัยพุทธกาลมีเยอะมาก ดูอย่างพระรัฐบาล รวยมากเหมือนกัน ลูกคนเดียวไม่ให้บวช ยังไงก็ไม่ให้บวช ขอบวชก็ไม่ให้บวช อดอาหารเลย พออดอาหารปั๊บ พ่อแม่พูดอย่างไรก็ไม่ฟัง ก็ไปเอาเพื่อนมาช่วยพูด พอเพื่อนช่วยพูดเสร็จแล้ว กลับไปหาพ่อแม่ ถามพ่อแม่เลยนะ พ่อแม่อยากเห็นหน้าลูกไหม อยากเห็น ถ้าอยากเห็นต้องให้บวช ถ้าไม่ให้บวช จะไม่ได้เห็นหน้าแน่นอน เพราะว่าไปพูดไปคุยกับลูกแล้ว เพราะลูกมันจริง อดอาหารจนตาย ถ้าพ่อแม่ไม่อยากเห็นหน้าลูกอีก ลูกตาย แต่ถ้าพ่อแม่อยากเห็นหน้าลูก ต้องปล่อยให้ลูกบวช

นี่เวลาคนกลางมาพูดเห็นไหม มันมีน้ำหนักไง แต่ถ้าไม่มีคนกลางมาพูดนะ ระหว่างลูกกับพ่อแม่ มันต้องวัดใจกันอยู่แล้ว ทุกคนมีทิฏฐิไง ไอ้แม่ก็จะเอาชนะ ไอ้ลูกก็จะเอาชนะ ตายแน่นอน แต่เพราะมันมีเพื่อนมาพูดใช่ไหม มาพูดกับพระรัฐบาล พูดเสร็จแล้วพระรัฐบาลไม่ยอม พอไม่ยอม ก็รู้อยู่แล้วว่านิสัยเด็ดขาดอย่างนี้ มันก็กลับมาพูดกับพ่อแม่ ว่าอยากเห็นหน้าลูกไหม พ่อแม่บอกว่าอยากเห็น ถ้าอยากเห็นต้องให้บวช ถ้าไม่ให้บวช จะไม่ได้เห็นหน้าลูกอีกเลย ทีนี้ไอ้คำพูดอย่างนี้ ลูกกับพ่อแม่ไม่ได้คุยกัน

ฉะนั้นพ่อแม่พอได้ยินคำนี้ปั๊บ พ่อแม่ก็ตัดสินใจให้บวช พอให้บวชไปแล้วนะ พระรัฐบาลบวชไปแล้วนะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พอสำเร็จเป็นพระอรหันต์นะ พระรัฐบาลนี่รวยมาก กลับมาเยี่ยมพ่อแม่ ทีแรกไม่กลับมาเยี่ยมหรอก บิณฑบาตมา พอกลับไปบ้านก็กลัวพ่อแม่จะล็อกตัวนี่แหละ ทีนี้พอไปบิณฑบาต โฮ ลูกเศรษฐีนะ พอไป บิณฑบาตกับยาจก ข้าวบูดแล้วเขาจะไปทิ้ง พระรัฐบาลบอกว่าโยมเอาไปทำไม จะเอาข้าวไปทิ้ง โยมอย่าทิ้งเลย ทิ้งใส่บาตรอาตมาเถิด เขาก็เทใส่บาตรนะ ของบูด เทใส่บาตรพระรัฐบาลนะ

ฉะนั้นไอ้คนใช้ มันเห็น คนใช้ของพ่อแม่รัฐบาลเห็นไง เห็นพระรัฐบาล โอ้โฮ ขนาดลูกเศรษฐีขนาดนี้ ไปกินของอย่างนั้น เสียใจนะ ไอ้เขาก็นิมนต์บิณฑบาต ไม่กล้ามานะ ก็บิณฑบาต บิณฑบาตที่บ้านแล้วก็มาใส่บาตร พอใส่บาตร จำได้ ก็นิมนต์มาฉันในบ้านไง เสร็จแล้ว ก็บอกว่าให้คนในบ้าน ขนเงินขนทองมาหมดเลย มากองไว้ โอ้โฮ กองไว้เต็มเลยเพราะมีลูกคนเดียว ถามพระรัฐบาลเลยว่า ลูก ไอ้เงินทองนี้จะทำอย่างไร เอ้อเงินทองจะทำอย่างไร

พระรัฐบาลบอกว่า แม่ เข็นใส่รถนะ แล้วดัมพ์ใส่แม่น้ำไปเลย ดัมพ์ทิ้งไปเลย โฮย แม่ช็อกเลย ไอ้พ่อแม่ก็นึกว่าเงินทองมากมายขนาดนี้เนาะ ลูกมันต้องเห็นดีเห็นงามกับเราเนาะ อันนี้โยมคิดสิ คนที่มีอริยภูมิในหัวใจ กับไอ้เงินทอง มันเป็นของนอกกายใช่ไหม แต่ไอ้พ่อแม่ ก็เห็นว่าเงินทอง โอ้โฮ กองเท่ามหาศาล ไอ้ลูกเรา ต้องเห็นใจพ่อแม่ เงินทองนี้ใครจะรับผิดชอบต่อล่ะ ก็เข็นใส่รถสิ ใส่ล้อสิแล้วดัมพ์ทิ้งแม่น้ำไปเลย เพราะไปติดมันเห็นไหม ติดมันพอไปเกิดก็ต้องไปเฝ้ามันเห็นไหม กรณีอย่างนี้มันเกิดขึ้นมา ในพระไตรปิฎก เรื่องอย่างนี้มีหลายองค์

เราจะพูดอย่างนี้อีกคำหนึ่ง เราอย่าตัดบัวโดยไม่เหลือเยื่อใย เพราะการปฏิบัติของเรานี้ ใครจะรู้ว่าใครจะไปได้มากน้อยแค่ไหน เราจะบอกว่า ถ้าเราไปแล้ว มันถอยหลังได้นะ แต่ถ้าตัดบัวไม่เหลือใย เวลาถอยหลัง จะถอยหลังอย่างไร มีอยู่องค์หนึ่งเห็นไหม พระที่เลี้ยงพ่อแม่ ลูกเศรษฐีมหาเศรษฐีเหมือนกัน เราจำชื่อไม่ค่อยได้นะ แต่เราอ่านพระไตรปิฎกมา ก็ออกบวชอย่างนี้ พ่อแม่นี่ร่ำรวยมาก พอแก่เฒ่าชรา พวกคนใช้มันโกงไง มันลักเล็กขโมยน้อย จนหมดตัวนะ พอหมดตัวก็ไปเป็นขอทาน

ข่าวก็ร่ำลือไปถึงพระองค์นี้ พระองค์นี้บวชมา ๑๐ กว่าปี ภาวนายังไม่ได้ ภาวนายังไม่ได้นะ บางองค์ออกบวชแล้วภาวนาได้เลย ทีนี้พอภาวนาไม่ได้ คนที่ภาวนาไม่ได้ คิดถึงที่ว่า พ่อแม่เราต้องไปเป็นขอทาน พ่อแม่เราโดนคนใช้โกง ทุกอย่างโกงหมดเลยจะทำอย่างไร ก็คิดมาก พอคิดมากก็จะกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ พอถึงทางสองแพร่ง

วันนั้น ตัดสินใจว่าทางสองแพร่ง แพร่งหนึ่งคือพระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ อีกแพร่งหนึ่งก็ไปหาพ่อแม่ จะไปทางไหนก่อนก็กลับไปหาพระพุทธเจ้าก่อน ไปหาพระพุทธเจ้า โฮย ทุกข์มากนะ คิดจนขนนี้ร่วงหมด ไปถามพระพุทธเจ้าว่าทุกข์มากเลย ก็ไปถามพระพุทธเจ้าว่า จะมาเยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่ เยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่ทำไม เยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่เพราะว่าพ่อแม่โดนเขาโกงหมดเลย ไม่มีใครเลี้ยงดู ดูแล ก็จะไปดูแลพ่อแม่ พระพุทธเจ้าบอก ถ้าจะดูแลพ่อแม่ เอาพ่อแม่มาไว้ที่วัดก็ได้ แล้วบิณฑบาตมาเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ไม่ผิดหรอก

นั่นก็เอาพ่อแม่มาไว้ที่วัด แล้วก็บิณฑบาตมาเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ โฮย ประชาชนเขาติฉินนินทากันนะ ว่าบิณฑบาตมาเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ไง พระพุทธเจ้าบอกว่า แม้แต่คฤหัสถ์เขายังรักพ่อรักแม่เขา แล้วนี่พระจะรักพ่อรักแม่มันผิดตรงไหน พระพุทธเจ้าอนุญาตให้บิณฑบาตเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ได้ ก็เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ แล้วอุปัฏฐากพ่อแม่ไป แล้วปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนพ่อแม่เสียหมดแล้วนะ พระองค์นี้ถึงได้สำเร็จได้ การปฏิบัติของเรา บางทีปฏิบัติมันก็จะสำเร็จได้ง่าย ถ้าเราสร้างบุญญาธิการมา แต่การปฏิบัติของบางองค์ มันก็ลุ่มๆ ดอนๆ มันไม่เหมือนกัน

ฉะนั้นเราจะบอกว่า เราเห็นใจ เพราะความคิดอย่างนี้นะ นี่เราพูดอารัมภบทมามาก แล้วเราจะย้อนกลับมาไง เวลาเราพูดกันด้วยกิเลส เราพูดกันด้วยที่ว่า เราไม่ได้เอาธรรมะมาเป็นตัวตั้งใช่ไหม ถ้าเราไม่เอาธรรมะมาเป็นตัวตั้ง เราคิดประสาโลกๆ กันไง อย่างพระเจ้าสุทโธทนะกับพระพุทธเจ้าคิดแตกต่างกัน โลกเวลาเขามองนะ เขาบอกว่าพระพุทธเจ้าเห็นแก่ตัว

ถ้าคนเป็นคนดี ต้องรักบุตร รักภรรยา รักพ่อแม่ใช่ไหม ต้องเลี้ยงดูใช่ไหม แต่นี่ หนีออกไปบวช มันเห็นแก่ตัว แต่ถ้าไม่ออกไปบวช มันจะได้ธรรมมาไหม ถ้ายังรักษากันอยู่ ยังรักกันอยู่ มันก็อยู่อย่างนั้น นี่คิดในมุมมองของโลกนะ กรณีอย่างนี้เวลามุมมองของโลกนะ

เพราะเราธุดงค์มาเยอะ เวลาธุดงค์ไป เวลาตกเย็นขึ้นมา โยมเขาจะมาหา จะคุยเรื่องนี้เยอะ เขาจะถามปัญหาธรรมะไง บอกว่าพระพุทธเจ้าเห็นแก่ตัว พระพุทธเจ้าไม่รับผิดชอบ พระพุทธเจ้าทิ้งภรรยาทิ้งลูก เอาตัวรอด นี่ถ้าคิดอย่างนั้น คิดแบบโลก ถ้าคิดแบบโลกอย่างนี้ เราจะทำอะไรกันไม่ได้เลย แต่เราบอกว่าคนเรามันต้องมีต้นทุนใช่ไหม การจะทำอะไรมันต้องมีต้นทุน มันต้องมีของมัน

นี่พูดถึงพระพุทธเจ้าตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์มาแล้ว กัณหาชาลี นางมัทรี มันสร้างบุญสร้างกรรมกันมาตลอด ทีนี้พอมาเจอสภาพแบบนี้ มันก็เป็นเรื่องบุญเรื่องกรรม เพราะมาเกิดร่วมกันหมดนี่ล่ะ แรงปรารถนาทุกคนมันก็เรื่องของโพธิญาณ เรื่องของที่สุดแห่งทุกข์ใช่ไหม แต่พอมาเจอในโลกเห็นไหม เราอยู่กับโลกไง พออยู่กับโลกเขาก็มองว่าเห็นแก่ตัว แต่เขาไม่มองว่าสิ่งที่สร้างมา ความจริงมันเห็นใจกันมาตลอด มันสร้างบุญมาด้วยกัน แล้วมันจะมาสำเร็จไง

แต่ในเมื่อถ้าเราอยู่กับโลก เราสละโลกไม่ได้ ถ้าโลกคิดกันอย่างนี้ แล้วเราก็อยู่กับโลกตลอดไปอย่างนี้ ประสาเรานะ มันก็ตายเปล่าไป ฉะนั้นถ้าพูดถึงว่า เราจะออกมาให้ได้ หรือเราจะบวชของเรา หรือจะทำของเรา เราก็ทำได้ เราทำได้ทั้งนั้น เพียงแต่ที่พูดนี้ เราต้องการให้รักษาน้ำใจ กรณีอย่างนี้นะ เราก็เป็น เรากว่าจะได้บวชได้แหมเกือบตาย เกือบตาย เรากว่าจะบวชได้ มันไม่ธรรมดานะ เพราะอะไร เพราะที่บ้านเรา ที่นี่บ้านเรา เราโกหกไม่ได้หรอก เพราะอะไรนะ เพราะญาติโกโหติกายังอยู่เต็ม เราโกหกไม่ได้หรอก

เพราะในครอบครัวของเรา มันบังเอิญว่าในลูกทั้งหมด มันเหมือนกับเรา มันมีเชาวน์ปัญญา มันรู้สึกว่ามันจะไบรท์กว่าเขา พอมันไบรท์กว่าเขา พ่อแม่คนไหน เขาก็ต้องการให้คนนี้เป็นคนสืบทอด มันก็เรื่องธรรมดา โอ้โฮ กว่าจะออกมาได้นะ กว่าจะออกมาได้ ใช้อุบาย ใช้วิธีการเยอะมาก เยอะจริงๆ กว่าจะออกมาได้ คิดอย่างนี้ เราคิดถึงย่า คิดถึงย่ามาก เพราะย่านี่มาจากซัวเถา พอย่ามาซัวเถา มาถึงแล้วก๋งเสียก่อน ก็มีลูกสองคน มีเตี่ยกับน้องชาย ทำมาหากินมานะ จนขึ้นมาจนแบบว่าเป็นคนชนชั้นกลาง พออยู่ได้

ทีนี้พอเราจะออกบวช เขารู้ไง เขารู้ เขาเอาเก้าอี้มานั่งที่ประตูบ้านไง เราจะออกจากบ้านนะ จับมือไว้ทุกทีเลย โอ้เราเห็น แหมอันนี้เราฝังใจมาก เพราะประสาเรา เราอยู่ในบ้านเรารักย่ามากที่สุด เพราะเรารู้ว่าย่า สมบุกสมบั่น ทุกข์ยากมาขนาดไหน เรารักย่าที่สุด แต่ที่เราไป เราก็ไปเพื่อประโยชน์ทุกๆ คนเหมือนกัน ใจเรา เรารักย่าที่สุด เพราะเราเห็นย่ามาตลอด แม้แต่พ่อกับแม่เรายังไม่รักเท่าย่าเลย เพราะเราอยู่ในบ้านมา เราเห็นมาตลอดไง แล้วอย่างนี้ ขนาดว่าครอบครัว เขาจะมองมาที่เรา แต่เราก็มาของเราได้ ฉะนั้นมาของเราได้

ไอ้กรณีอย่างนี้ แล้วมาอยู่ในวงการพระ มันมีเยอะมาก พระที่บวชแล้วพ่อแม่อยากให้สึกอะไร มีเยอะ แต่ทีนี้ถ้าบวชแล้ว ถ้าพูดถึงนะ ถ้ามันมีหลักมีเกณฑ์แล้ว ถ้ามันเป็นไปได้ เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดาว่าพ่อแม่เขารักลูก พ่อแม่ก็ห่วงลูก พ่อแม่ก็อยากให้ลูกมีความมั่นคง ฉะนั้นเขาคิดว่าบวชพระมันจะไม่มั่นคง แต่ถ้าบวชพระนะ เราอยู่ในศีลในธรรม หลวงตาพูดประจำนะ ถ้าพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อยากรู้ว่าพระองค์ไหน ไม่มีปัจจัย ๔ ที่อาศัยอยากรู้นัก ถ้าเราอยู่ในศีลธรรม ปัจจัย ๔ พอคำว่าปัจจัย ๔ ก็สิ่งที่โลกเขาหากันนี่ไง มันมีไม่แน่นอน แต่ถ้าเราเอง มันไม่มั่นคง

นี่พูดถึงเวลาอุบาย เรายกอันนี้มาก่อน เรายกตัวอย่างมาให้เห็นว่าโลกมันเป็นอย่างนี้ ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้

ฉะนั้นเวลา คำว่าอยากบวช ก็ลองๆ ขอดู ถ้าท่านไม่ให้เนาะ ลองขอดู ลองบอกดู แล้วมันก็อยู่ที่เราด้วย มันอยู่ที่เราด้วยว่าเราทำแล้ว เราจะได้มากน้อยแค่ไหน แล้วยังคิดโทษนะ เวลาทางโลกเรามีครอบครัวระหว่างหญิงกับชาย มันก็เป็นการเลือกคู่ใช่ไหม ถ้าได้คู่ดีจะสุดยอดเลยใช่ไหม อันนี้การบวช เราก็เหมือนเลือกคู่กับศาสนา เราก็คิดว่าบวชแล้ว มันจะสะดวก การปฏิบัติมันจะราบรื่น ทีนี้พอเราเข้าไปอยู่ในศาสนาเห็นไหม

เวลาในทางโลกเขาคุยกันไง เขาบอกว่าเขาไม่มีครอบครัว เขาแต่งกับงาน เขาจะทำงานตลอดไป เขาแต่งกับงานแล้ว เขาจะไม่มีครอบครัว นั่นเขาอยู่กับงานเขาก็มีความสุขของเขา ทีนี้ถ้าเราเป็นนักบวชเห็นไหม เราก็เลือกศาสนา เราก็ว่าการปฏิบัติของเราจะราบรื่น ฉะนั้นเราจะบอกว่า เวลาเข้าไปในสังคม มันก็เป็นสังคมทั้งนั้น เห็นไหม เวลาเรามีครอบครัวเห็นไหม เราเลือกไปแล้ว พอมีครอบครัวขึ้นมาแล้ว เราบอก อืม อย่างนี้ไม่เลือกดีกว่า อยู่คนเดียวสบายกว่าเยอะเลย พอเลือกแล้วมันยุ่งมากเลย

ฉะนั้นคนในอยากออกคนนอกอยากเข้า ทีนี้เราจะบอกว่ามาบวชเหมือนกัน เวลาบวชก็คิดว่าจะปฏิบัติ เวลาบวชเข้ามาแล้วนะ กิเลสมันจะหลอก เรายกตัวอย่างนี้ประจำ ตัวอย่างของอาจารย์สิงห์ทองเห็นไหม อาจารย์สิงห์ทองเป็นคนขี้ดื้อ แล้วญาติบอกว่าบวชไม่ได้หรอก ทีนี้พอบวชไปแล้ว คนมีบุญนะพอบวชไปแล้วนะ สวดมนต์นะ ท่านบอกทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น โฮ จิตมันจะลง โฮ มันสะดวกมันสบาย โฮ ปฏิบัตินี่ง่ายมาก โฮย มันมีแต่ความสุข เอ้ ถ้าอย่างนี้บวชตลอดชีวิตน่าจะดี เพราะทีแรกไม่ได้ตั้งใจบวชไง ก็ปฏิญาณเลยว่าจะบวชตลอดชีวิต ตั้งสัจจะเลยว่าจะบวชตลอดชีวิต เท่านั้นน่ะ สวดมนต์เท่าไรก็ไม่ลง อู้ย หายเกลี้ยงเลยนะ หายหมดเลย

เวลากิเลสมันหลอก นี่เราจะบอกว่าเวลาเราคิดว่าเราจะบวชกับศาสนา เราจะเลือกทางศาสนา พอเราจะบวช พอเข้ามาแล้วนะ มันก็จะมีปัญหาบ้าง เราบวชใหม่ๆ นะ โอ้โฮ มันหักดิบมา มันอยู่กับโลกทั้งหมด พอหักดิบมา มันคิดตลอด ทั้งๆ ที่เราตั้งใจจะบวช มันจะคิด เพราะเมื่อก่อนตอนตกเย็นนะ ทางบ้านเขาไม่ค่อยไว้ใจเรา เพราะอะไรรู้ไหม เพราะรักเพื่อน เพื่อนเยอะ แล้วเพื่อนจะมา โอ้โฮ แบบว่ารัก รักกันเต็มที่ ฉะนั้นเขาเห็นอย่างนั้นปั๊บ ทางบ้านเขาคิดว่าเราโดนเพื่อนหลอก เพราะมีอะไรส่วนใหญ่แล้ว เราจะให้เพื่อนไง เขาว่าเราโดนเพื่อนหลอก

จนเตี่ยเขาไม่ค่อยกล้าให้เรา อย่างที่พูดเมื่อกี้ว่าเราไบรท์นี่แหละ แต่เขาจะไม่ให้เราดูอะไร ไม่ปล่อยอย่างเด็ดขาด ตรงนี้มันทำให้เราก็มีปัญหาอยู่ ฉะนั้นพอเราอยู่กับเพื่อน รักเพื่อน แล้วทุกอย่างมันก็เที่ยวมาด้วยกัน วัยรุ่นจะรักเราก็รู้ว่าคนรักเพื่อนรักขนาดไหน คนติดเพื่อนมาก คนติดเพื่อนขนาดไหน อย่าว่ารักเพื่อนเลย ติดเพื่อนๆ พอคนติดเพื่อน มันจะคิดขนาดไหน แล้วบวชไปเลย อยู่คนเดียวในป่า คนติดเพื่อน แล้วก็ฉีกไปเลย โอ้โฮย มันเต็มที่นะ

สุดท้ายแล้วอะไรก็เอาไม่อยู่ พุทโธๆๆๆ อยู่กับพุทโธทั้งวันเลย มันก็ไม่อยู่ พอไม่อยู่เห็นไหม เนสัชชิกเลย ไม่นอน เหตุที่ไม่นอน มันหลายเรื่อง ไม่นอนเลย ไม่นอน ๓ เดือน ไม่นอน สู้กับมัน เพราะนิสัยเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เราจะสู้อะไรสู้เลย ไม่นอน ไม่นอน พอไม่นอนปั๊บเต็มที่ กว่าจะเวลากิเลสเราคิดอย่างหนึ่ง มันเป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง แต่เวลาเราเข้าไปแล้ว พอกิเลสมันอีกอย่างหนึ่ง

เหมือนกับการปฏิบัติ เวลาปฏิบัติไป เห็นไหม หลวงตาบอกเลย เวลาเราปฏิบัติไม่ได้ มันก็เหมือนถ่านดำปี๋จุดไฟไม่ติด แต่เวลาปฏิบัติได้นะ มันก็เหมือนถ่านที่มันติดไฟร้อนๆ เผาเรา นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัตินะ ถ้าปฏิบัติไป ถ้ามันไม่ได้เรื่องเห็นไหม มันก็คิดถึงเพื่อน ติดเพื่อน ทีนี้พอปฏิบัติไปๆ พุทโธๆๆๆๆๆ พอมันปฏิบัติไป มันปฏิบัติไป มันแบบว่า ถ้าไฟแดงจี๋ มันก็เผาอีกทางหนึ่ง ถ้ามันยังไม่ลงตัวของมัน มันไปทางหนึ่ง มันก็โดนกิเลสเผา ไปทางหนึ่งมันก็โดนกิเลสที่มันบังเงาเผาเหมือนกัน พอมันเผาขึ้นมา เราจะลงตัวอย่างไร

เรากลับมาดูเรา เรากลับมา ถ้าสมดุลกับเรา พอมันปฏิบัติได้หลักได้เกณฑ์ไป แล้วค่อยๆ ค่อยๆ ทำไป นี่เราจะบอกว่า ในการปฏิบัติ เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา คือ สร้างบุญมาดีนะ ปฏิบัติปั๊บ มันจะบรรลุธรรมได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่มี เราไม่ได้สร้างบุญญาธิการมา เราก็ต้องกระเสือกกระสน สาวก สาวกะ ต้องกระเสือกกระสนไป เพื่อประโยชน์กับเรา ถ้ามันทำได้นะ เรื่องบวช มันไม่ใช่มีตั้งแต่ตอนนี้ไง ชีวิตของพวกเรา เกิดตายๆ วัฏฏะมันวนมาอย่างนี้ ในพระสูตรในพระไตรปิฎกก็มีเยอะมาก

แต่เมื่อก่อนเราบวชใหม่ๆ เราไม่เคยศึกษานะ ตอนบวชใหม่ๆ ห่วงอย่างเดียว ห่วงกลัวตัวเองจะติด ฉะนั้นไอ้เรื่องการศึกษาเรื่องอะไรนี้กลัวมาก ขนาดเราธุดงค์ไปเจอนะ เจอมหาอุดร อยู่วัดบวรฯ ๙ ประโยค ไปเจอกันในป่า คุยกันเรื่องธรรมวินัย เพราะตอนนั้นเราปฏิบัติใหม่ๆ บางทีมันสงสัย เพราะเขา ๙ ประโยคใช่ไหม คุยกันเรื่องวินัย ก็ถูกใจ เขาขอร้องให้เราเรียนก่อน เขาบอกต้องเรียนก่อน พาไปวัดบวรฯ เลย สุดท้ายเราก็หาทางออก หนีออกมาจนได้ เราไม่เรียน

เราไม่เรียน เราไม่ยอมเรียนอะไรทั้งสิ้น มีคนปรารถนาดี เจอเรื่องอย่างนี้ เราไม่เรียนเพราะเราต้องการให้มันเกิดขึ้น เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริง เรา เรานี่เพียวๆ เลย โดยการเผชิญหน้า ต่อสู้กับมันมาโดยเฉพาะเลย ประสบการณ์ตรงหมด พอประสบการณ์ตรงหมด แล้วพอเราปฏิบัติไป เราฟังหลวงตาเทศน์บ่อย หลวงตาบอกกับหลวงปู่มั่นท่านก็รื้อค้นพระไตรปิฎก แล้วหลวงตา ท่านเป็นมหา

เวลาเราปฏิบัติไปแล้ว ถึงจุดหนึ่งว่า เราคิดว่า เราไว้ใจตัวเราได้แล้ว เราถึงมาเปิดดูพระไตรปิฎก เปิดดูหมด เราดูหมดนะพระไตรปิฎก ตู้นี้ดูหมด ๒ รอบ เราก็ดูของเรามาเหมือนกัน ๒ รอบเพื่ออะไร ๒ รอบเพื่อเวลาเราคุยกับนักวิชาการ คุยกับทางโลกเขา เขาพูดอะไรมา เราจะรู้ว่ามันอยู่ตรงไหน หน้าไหน เพราะเรามั่นใจเราขนาดนี้นะ เรามั่นใจในตัวเอง แล้วเรามาอ่านพระไตรปิฎก มันมีความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมาในหัวใจเลยนะ

ถ้าเมื่อก่อนเราไม่ได้ปฏิบัติก่อน เรามาอ่านพระไตรปิฎกนะ ยิ่งอ่านโทษนะ คิดพูดกับตัวเองนะ มึงยิ่งอ่านยิ่งโง่ ยิ่งอ่านยิ่งโง่ ยิ่งอ่านยิ่งโง่ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันตีความไม่ออก แต่พอเราปฏิบัติจนเราไว้ใจตัวเราได้ แล้วมาเปิดอ่าน อื้อฮืม มันเข้าใจ ความเข้าใจที่ว่าเราอ่านแล้วเราเข้าใจ ถ้าเป็นเมื่อก่อนนะ ถ้ามันปฏิบัติยังไม่อย่างนี้ เอ็งเข้าใจเรื่องนี้ไม่ได้ มันรู้เลยนะ ว่าเอ็งจะเข้าใจเรื่องอย่างนี้ไม่ได้เด็ดขาด ยิ่งอ่านมันก็ยิ่งงง ยิ่งอ่านมันยิ่งงง ทีนี้ ถ้าพูดถึงตอนนั้น ถ้าเรามาศึกษาก่อน ยิ่งอ่านมันยิ่งงงใช่ไหม

เพราะอย่างนี้ เราอยู่อีสาน เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดเห็นไหม บอกว่า มันมี ๙ประโยคองค์หนึ่ง ไปถามหลวงปู่ฝั้น ว่าผม ๙ ประโยค คำว่า ๙ ประโยคคือการศึกษาทางบาลีสิ้นสุด สูงสุดแล้ว ก็ไปถามหลวงปู่ฝั้น สมัยนั้นเพราะท่านเป็นเลขาของเจ้าคณะภาค ไปถามหลวงปู่ฝั้น เพราะหลวงปู่ฝั้นตอนนั้นมีชื่อเสียงมาก ผม ๙ ประโยค พระไตรปิฎกรู้ไปหมด รู้ทุกคำพูด จำได้หมดเลย พระพุทธเจ้าสอนใคร พูดอะไร รู้ได้หมดเลย แล้วข้าพเจ้าอยากปฏิบัติแล้วให้ปฏิบัติอย่างไร

เพราะว่ารู้ใช่ไหม มันยิ่งศึกษา มันยิ่งเลือก มันยิ่งงง เพราะเขาพูดอย่างนี้นะ เขาบอกว่าพระพุทธเจ้าสอนพระสารีบุตรอย่างหนึ่ง สอนพระโมคคัลลานะก็อย่างหนึ่ง สอนพระอุบาลี เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์ไง เทศน์สอนบุคคลคนๆ หนึ่งก็อย่างหนึ่ง สอนคนหนึ่งก็อย่างหนึ่ง แล้วเสือกศึกษาหมดเลย รู้หมดเลย รู้จนวิธีการนะ รู้ไปหมดเลย แต่ใช้กับตัวเองไม่ถูก แล้วจะใช้อย่างไรกับตัวล่ะ ไปถามหลวงปู่ฝั้นนะ ถ้าไปถามครูบาอาจารย์ที่เป็นนะ เวลาตอบมานะ มันเหมือนหมัดน่ะ สวนมาน็อคทุกที

หลวงปู่ฝั้นบอกว่า ทุกข์ของเอ็งอยู่ที่ไหน ทุกข์ของคุณน่ะอยู่ที่ไหน ต้องเข้าหาทุกข์ของตัวเอง อย่าเข้าไปหาทฤษฎี อย่าเข้าไปหาการสอนที่พระพุทธเจ้าสอนคนอื่น ทุกข์ของเราอยู่ที่ไหน ความขัดข้องหมองใจ ความทุกข์ของเราอยู่ที่ไหน แต่เราไม่ได้ดูตรงนี้ไง เราไปดูแต่ธรรมะของพระพุทธเจ้าไง อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มันยิ่งมันทุกข์ พอมันปล่อยมันไม่ทุกข์ แต่กูทุกข์ฉิบหายเลย ไอ้คนพูดน่ะกำลังทุกข์ มันไม่รู้ตัวมันเองนะ มันพูดธรรมะแจ้วๆๆ เลย แต่ไม่รู้ตัวมันเองเลย

กรณีอย่างนี้ พอเรามาศึกษา เราว่าเราไว้ใจได้แล้ว เราก็มาค้นพระไตรปิฎกของเรา เราเห็นกรณีอย่างนี้ เราถึงบอกว่าเราคิดถูก เราคิดถูกตั้งแต่ทีแรก บวชใหม่ๆ นะ ตำรับตำราทางวิชาการไม่อ่านเลย อ่านแต่ประวัติหลวงปู่มั่น ประวัติครูบาอาจารย์ พอเราเจอปั๊บ เราอ่านพวกนี้ เพราะว่านี่คือประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติ เราอ่านแล้วเอามาเป็นตัวอย่าง เอามาเป็นแบบอย่าง เอามาเป็นประเด็น เอามาให้เราปฏิบัติ เราอ่านถ้าเรื่องประวัตินะ เรื่องคำเทศน์ของครูบาอาจารย์ เราอ่าน

แต่ถ้าเป็นวิชาการ ไม่แตะเลย พอไม่แตะเลย ศึกษามาถึงระดับนี้ พอไว้ใจได้แล้วค่อยกลับไปรื้อ รื้อมาแล้วตอนนี้ พอเห็นที่ว่าเขาเถียงกันทางวิชาการ เขาก็เถียงกันไป แต่เราศึกษามา แล้วตอนนี้ พอมาถึงในปัจจุบันเห็นไหม เวลาคนถามปัญหา เวลาเขาถามปัญหา แล้วเขาทำทางวิชาการที่เขาออกมาเห็นไหม คนที่แบบว่าเขาศึกษาเล็กๆ น้อยๆ เห็นไหม

แล้วเขาก็บอกว่า เป็นพุทธทำนาย หนังสือพุทธทำนายอะไรออกมา พุทธทำนายเยอะแยะเลย เราไม่เคยเชื่อเลยนะ เราไม่เคยเชื่อเพราะอะไร พุทธทำนายมันก็อยู่ในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกเราก็อ่านแล้ว สิ่งที่บอกว่าพุทธทำนาย โลกจะแตก โลกจะอะไร มันไม่มีในพระไตรปิฎก เราถึงถามว่า ถ้าเป็นพุทธทำนาย มึงเกิดทันพระพุทธเจ้าเหรอ แล้วพระพุทธเจ้าบอกมึงเหรอ

ธรรมะจากพระโอษฐ์ เขาก็รื้อค้นจากพระไตรปิฎกนี่แหละ องค์นั้นก็ว่าธรรมะจากพระโอษฐ์ องค์นี้ก็ธรรมะจากพระโอษฐ์ ใครก็จากพระโอษฐ์ กูก็อ่านพระโอษฐ์เหมือนกัน แล้วกูไม่เห็นอย่างที่พวกมึงบอกเลย นี่ไง เพราะเราปฏิบัติมา แล้วเราไว้ใจเรา แล้วเราไปศึกษาพระไตรปิฎกมาอย่างนี้ แล้วโลกมันทำกันอย่างนี้

เราถึงบอกว่าบางที มันก็เหมือนไอ้แอ๋ม (เด็กอายุ ๖ ขวบ) ไอ้แอ๋ม มันนึกอ่านพระไตรปิฎกมา มันก็ไปเขียนแล้ว ไอ้แอ๋ม มันไปเขียนลงสมุดประจำวันมันเลย แล้วก็ไปแจกกัน แล้วสังคมก็เชื่อ พออ้างว่าธรรมะจากพระโอษฐ์ เชื่อทันทีเลย เพราะถ้าธรรมะจากพระโอษฐ์มาทีไรนะ โทษนะ เราเผาทิ้งหมด ถ้าใครมาวัดนี่เผาทิ้งหมด เพราะมึงไม่ต้องพระโอษฐ์หรอก พระไตรปิฎกเขามีอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าสอนกูทุกวันเลย กูจะเปิดเมื่อไหร่ กูเจอพระพุทธเจ้าแล้ว แล้วเอ็งเอามาจากไหน

เพราะพวกเราอ่อนแอกัน วุฒิภาวะของพวกเราอ่อนแอกัน แล้วใครพูดนะ เยอะมากนะ ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก พิมพ์แจกกันใหญ่ ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เราก็เห็นมีมุมมองอย่างนี้ เราก็เห็นมีมุมมองอย่างนี้ เราก็นี่ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ไอ้คนนั้นก็เห็นมุมมองอย่างนั้น แล้วยอดพระไตรปิฎกมึง กับยอดพระไตรปิฎกกู ใครถูกวะ นู่นก็ยอดพระไตรปิฎก นี่ก็... มันเป็นกระแสสังคมนะ กระแสสังคมเกิดขึ้นมา

ถ้าพวกเรามีจุดยืนแล้วนะ กระแสสังคมเราก็รับรู้ได้นะ เพราะเราอยู่ในสังคม แต่ถ้าเราอยู่ในสังคมแล้ว เราจะมีหลักมีเกณฑ์ของเรา เพื่อประโยชน์กับเรา อย่าไปกับโลก คำว่าอย่าไปกับโลกเขา แล้วพวกโยมมีจุดยืนตรงไหน ถ้าไม่ไปกับโลก เราบอก เรากล้าพูดนะว่าพวกโยม ฟังเราบ่อยๆ มีจุดยืน

มันมีลูกศิษย์คนหนึ่งอยู่ในโพธาราม เขาฟังเราบ่อยๆ แล้วเขาก็มาเล่าให้ฟัง ตอนเช้าขึ้นมา มีพระธุดงค์มา เขาอยากใส่บาตร เขาจะใส่บาตร ทีนี้พระก็ธุดงค์มา มันธุดงค์ปลอมไง ไปถึงก็บอกว่า บาตรเต็มแล้วโยม ขอเป็นปัจจัยได้ไหม ลูกศิษย์เรานะ บาตรนี้ไว้ใส่ภัตตาหาร บาตรนี้เขาไม่ได้เอาไว้ใส่ปัจจัย พระหน้าแตกเลย เห็นไหม ทำไมเรากล้าพูดกันอย่างนี้ล่ะ เพราะเราศึกษาธรรมะใช่ไหม

เราเป็นเจ้าของศาสนาใช่ไหม ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระพุทธเจ้าได้ฝากศาสนาไว้ใช่ไหม มารเอย เมื่อใด ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่เข้มแข็ง กล่าวแก้คำจาบจ้วง ของลัทธิต่างๆ ได้ เราจะไม่ยอมนิพพาน จนวันมาฆบูชาเห็นไหม บัดนี้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เข้มแข็ง สามารถกล่าวแก้คำจาบจ้วงของลัทธิต่างๆ ได้ อีก ๓เดือนข้างหน้า เราจะปรินิพพาน

แล้วถ้าเราศึกษาธรรมะแล้ว ทำไมเราจะพูดไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับเรา เราเป็นสาวก เราเป็นอุบาสก อุบาสิกา หรือเปล่า เป็น ถ้าเราเป็นอุบาสก อุบาสิกา ทำไมกูจะพูดไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับกู เอาว่ามาเลย ถ้าเราเข้มแข็ง เรามีจุดยืนอย่างนี้ มันจะตรวจสอบกัน แล้วพระในสังคมมันจะดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราก็ไปดูไปเห็นเขาไหม

เว้นไว้แต่เทศกาลฤดูกาลนะ เทศกาลของเขา วัฒนธรรมของเขา เขาแสดงออกวัฒนธรรมของเขา มันเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรม ไอ้อย่างนี้ไม่ถือว่าขัดแย้ง เพราะมันวัฒนธรรมประเพณีแต่ละพื้นถิ่น ดูสิ เวลาภาคกลางลอยกระทงเห็นไหม เราไปทางเหนือเห็นไหม มันไม่มีแม่น้ำอยู่ทางภูเขา เขาก็ลอยโคมกันเห็นไหม วัฒนธรรมอย่างนี้ มันเป็นความจำเป็นของพื้นถิ่น แต่ละพื้นถิ่น เขามีความจำเป็นของเขา วัฒนธรรม เขาทำคุณงามความดีของเขา เขาทำบุญของเขา อันนั้นเราอย่าไปวิเคราะห์วิจัย ผิด เราไม่ควรทำ

เพราะว่าอะไร ถ้าเราวิเคราะห์วิจัย เราจะเอาแต่ทางวิชาการ ไปดูหรือไปจับผิดเขา มันผิดทั้งนั้น แต่ถ้ามันเป็นพื้นถิ่นของเขา มันเป็นวัฒนธรรมของเขา เราเข้าถึงวัฒนธรรมของเขา เราจะเห็นมุมมองที่ดีๆ นะ ฉะนั้นถ้าเราย้อนกลับมาที่ว่าเรื่องอย่างนี้ เรื่องในพระไตรปิฎก เรื่องประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์ของศาสนาเห็นไหม ๒,๐๐๐ กว่าปีนะ แล้ว ๒,๐๐๐ กว่าปี เราบอกว่าเถรวาทเรา ถ้าศึกษาแล้วทำการวิจัยกัน เถรวาทเรายังรักษา แล้วยังเข้าถึงได้ง่าย

แต่เดิมนะ ก่อนที่โลกจะเจริญขึ้นมา มันเป็นวัฒนธรรมโบราณ การสื่อสาร การคมนาคม มันไปถึงกันยาก หนังสือสิ่งพิมพ์มันก็ยังไม่มี การสิ่งพิมพ์มันเพิ่งมาเกิดไม่กี่ ๑๐๐ ปีนี่เอง ฉะนั้นสิ่งพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมา พอเกิดขึ้นมา มันก็มีทางวิชาการ พอมีวิชาการ เราก็คิดเอาเองว่า มันจะเป็นอย่างนี้ไง เราถึงไม่เห็นคุณค่าการถนอมรักษามาตั้ง ๗-๘ ร้อยปีไง

จากพระรุ่นหนึ่งสู่พระอีกรุ่นหนึ่งมาตลอดนี่ไง เราไม่เห็นประโยชน์ตรงนี้ไง เพราะปัจจุบันนี้ ทางวิชาการโลกมันเจริญแล้วใช่ไหม เราจะรื้อค้นที่ไหนก็ได้ กดเข้าไปคอมพิวเตอร์มันก็ออกมา แต่กว่าที่มันจะมีรากเหง้าของวัฒนธรรมมาจนป่านนี้ มันมีสิ่งใดตกผลึกมา ทีนี้ความตกผลึกมาอย่างนี้ นี่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมนะ

เวลาเราพูดถึงเห็นไหม วัฒนธรรมไม่ใช่ธรรม ถ้าธรรมมันเกิดจากสัจจะความจริงในหัวใจ ธรรมอันนี้สำคัญกว่าวัฒนธรรม

วัฒนธรรมมันเป็นประเพณี แต่ไอ้ตัวธรรม ตัวธรรมหมายถึงว่า ไอ้บรรลุธรรม ไอ้ความรู้จากธรรม พระพุทธเจ้าปรารถนาตรงนี้ เพราะอะไร เพราะว่า สิ่งนี้ต่างหาก มันให้สุขให้ทุกข์ มันให้คุณประโยชน์กับชีวิตไง มันให้คุณประโยชน์กับจิตใจจริงไง ถ้ามันให้คุณประโยชน์กับจิตใจจริง มันเปลี่ยนแปลงได้ไง มันเปลี่ยนแปลงหัวใจ จากปุถุชนเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคาได้ไง แล้วมันเป็นได้ มันไม่ได้เป็นได้แบบโลกปัจจุบัน ที่เขาเป็นได้ด้วยการสรรเสริญเยินยอกัน ด้วยโลกธรรม ไม่ใช่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริง มันต้องมีเหตุปัจจัย ต้องบอกว่าโสดาบันเป็นอย่างใด ฉะนั้นพระโสดาบันเป็นอย่างใดนะ ครูบาอาจารย์ของเรานะ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เช่นหลวงปู่มั่น เวลาเราพูดสนทนาธรรม อย่างเช่นหลวงตาเห็นไหม เวลาท่านนั่งถึงตลอดรุ่งเห็นไหม ท่านฆ่าเวทนาได้ เวทนาหน้าไหนมันจะหลอกเราได้อีกวะ เวทนาหน้าไหนก็จะหลอกเราไม่ได้อีกแล้ว เพราะเราผ่านไปทำได้ขนาดนี้ แล้วขึ้นไปรายงานท่านเห็นไหม เพราะท่านผ่านมาแล้ว

เพราะหลวงปู่มั่น พวกเราก็ยอมรับว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ฉะนั้นเวลาฟังนะ มันรู้เลย นี่ไงพอรู้ นั่นน่ะ ใช่ จิตมันไม่ตาย หากอัตภาพเว้ย จิตมันไม่เกิดตายตลอดไปไง ถ้ามันได้หลักแล้ว ลุยเลย ลุยเลย นี่ไง ความจริงอันนี้ คำว่าธรรม ธรรมอันนี้ไง แล้วการถึงธรรมอันนี้ได้ เราต้องเข้มแข็ง ทีนี้ คำว่าเข้มแข็งหมายถึงว่าปฏิบัติแล้วเข้มแข็ง เหมือนกับคนวิ่งมาราธอนถึงเป้าหมายแล้ว เขาก็มีความสุขของเขา

ไอ้เรานี่นะ จะเริ่มต้นวิ่งกัน จะเริ่มออกจุดสตาร์ท เริ่มวิ่งมาราธอน การสมบุกสมบั่น ในการปฏิบัติไง ในการสมบุกสมบั่นในการปฏิบัติ เราต้องเข้มแข็ง เราต้องมีความตั้งใจ ถ้าโดยทั่วไปเห็นไหม โดยทั่วไป ถ้ามองในแง่เดียว ถ้าบอกอย่างนี้ อยากบวชนะ โฮย เราจะยุใหญ่เต็มที่เลย ยุให้เต็มที่เลย แต่นี่เราก็ยุ เพราะสมมุติถ้าเป็นเรา มันจะผิดพลาดในสิ่งใดมา เราก็ตั้งต้นใหม่ได้ ถ้ามันปฏิบัติแล้วมันไม่ถึงที่สุด หรือว่าเราท้อถอย

มันมีนะ เรามาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ พระฝ่ายปกครอง เขาพยายามจะขอให้เราเรียนมาก แล้วเขาบอกว่าให้เรา เรียนนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เรียนเพื่อทางวิชาการ เวลาสึกไปแล้ว จะได้มีความรู้ไง เราคิดในใจเนาะ โอ้ ปรารถนาดี ขนาดว่ากลัวสึกแล้วไม่มีวิชาติดตัวเลยเนาะ เขาเป็นห่วงแทนเราหมดเลย นี่เราคิดของเราไง คนเรามันจะสึกออกไป มันก็ต้องไปดิ้นรนของเขา มันก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเขาคิดกันอย่างนี้เห็นไหม เราถึงมีพระบวชเข้ามาเพื่อศึกษา จบปริญญาตรี ปริญญาโท แล้วก็สึกออกไปเห็นไหม ก็อาศัยเป็นทางผ่านไง

แต่ของเรา เราไม่ได้คิดกันอย่างนั้นนะ ถ้าเอ็งอยู่ไม่ได้ด้วยเวรด้วยกรรม มันก็นั่นก็อีกเรื่องหนึ่งใช่ไหม แต่ถ้าทำของเราได้ เราปฏิบัติของเราได้ มันปฏิบัติ มันก็เหมือนน่ะ เราเวลาเราพูดกับพระ อย่างเช่นการศึกษาเห็นไหม นักธรรมโท นักธรรมตรี นักธรรมเอกเห็นไหม ต้องท่อง เริ่มต้นเลยนะ แล้วบอกต้องไหว้ก่อนเลย ต้องจบ ท่องนวโกวาทได้หมดทุกตัว ทุกอย่างท่องได้หมดเลย คำว่าท่องเห็นไหม คำว่าท่อง คือ การจำ

แต่ถ้าเราปฏิบัติใช่ไหม พุทโธๆ คือ การลบ มันขัดแย้งกันไง มันขัดแย้งกัน เพราะเราต้องการให้ใจเรา ให้ไม่มีข้อมูลสิ่งใดเลย นี่เวลาปฏิบัติมันก็ ถ้าจับปลาสองมือมันไปไม่รอด เราถึงบอกว่า ถ้าเรียน เราไม่ได้ปฏิเสธการปริยัติ เราไม่เคยปฏิเสธปริยัติเลยนะ แม้แต่มีเณรมาอยู่กับเรา ถ้าบอกว่าอยากเรียนเราจะส่ง ไปวัดเทพศิรินทร์ เพราะเรามีเพื่อนอยู่วัดเทพศิรินทร์ ถ้าจะเรียน เราส่งเรียนเลย เพราะเขาจะเอาดีทางนี้ใช่ไหม เรียนมาเป็นคันถธุระ เป็นฝ่ายปกครอง เป็นทางวิชาการ เราก็เห็นด้วยนะ ถ้าเรียนก็เรียนเลย ถ้าปฏิบัติก็ปฏิบัติเลย ฉะนั้นพอปฏิบัติแล้วก็จะมาเรียน เราไม่เห็นด้วย ถ้าจะเรียนส่งไปเรียนเลย

ถ้าปฏิบัติ ปฏิบัติเลย จับให้มั่นคั้นให้ตาย แล้วเอาให้จริง แม้แต่ปฏิบัติจริงๆ มันยังเอาตัวไม่รอด เอาตัวไม่ได้ ถ้าปฏิบัติจริงเอาตัวได้ มันถึงจะเป็นประโยชน์กับเรา เราอยากให้ อย่างที่เราพูดเมื่อกี้ ถ้าเราคิดได้ เราทำได้ เราก็ ค่อยๆ นิดเดียว แค่นี้ก่อน แค่นี้ก่อน แล้วถ้าเราทำได้จริงเห็นไหม เราทำได้จริง มันอยู่ที่เราแล้ว เราจะมีอุบายวิธีการจะพูดอย่างไร แต่ถ้ายังไม่ได้ก็ใจเย็นไปก่อน

เราฟังหลวงตาสอนนะ มันมีคนไปถามหลวงตาอย่างนี้เหมือนกันว่าพ่อแม่ไม่ให้บวช หลวงตาท่านบอกเลย ไม่เหมือนพ่อแม่ท่านอยากให้บวช พ่อแม่ท่านอยากให้บวชมากเลย แต่ท่านไม่อยากบวชตอนนั้น แต่ตอนนี้ท่านก็ลุล่วงเป็นครูบาอาจารย์เราแล้ว กรรมของคนนะ เราจะบอกว่า พ่อแม่เราเป็นพระอรหันต์ของลูก ท่านมีคุณกับเรามาก เราค่อยๆ พูดค่อยๆ จา อย่าไปหักหาญน้ำใจ แล้วแต่ถ้าเราถึงที่สุด เราอยากจะออกบวชจริงๆ เราก็ค่อยหาวิธีของเรา มันมีวิธีได้สิ มันมีวิธี จะทำอะไร เราก็ฝืนของเราไปเรื่อย เราฝืนของเราไปเรื่อย เรารู้อยู่ ถ้าพ่อแม่นะ พ่อแม่เขาจะถึงเวลานะ เขาก็ปิดประตูตีแมวเลย คือไปไหนไม่รอดไง

แต่ถ้าอย่างนี้มันก็เป็นการพิสูจน์เหมือนกันว่าเรามีบารมีจริงหรือเปล่า ว่ามีอะไรขึ้นมา เราก็ใจแข็ง เราก็หาทางออกได้ แสดงว่าคนมีบารมี คำว่าบารมีเห็นไหม อย่างคนบางคน มีฐานะมาก แต่ไม่มีบารมี แต่บางคนไม่ได้มีฐานะ แต่มีบารมี บารมีเกิดจากการเสียสละ เกิดจากการกระทำนี่แหละ ฉะนั้นถ้ามีบารมีเห็นไหม เวลาอะไรกระทบขึ้นมา มันทนได้ไง มันทนได้ มันรักษาได้ มันแก้ไขได้ แต่ถ้าเราไม่มีบารมี มันก็ล้มลุกคลุกคลานไป ฉะนั้นมันก็เทียบบารมีเรา

วันนี้พูดเรื่องบวชนะ ดีมากเลย ดีมากหมายถึงว่า เวลาพูดถึงมุมมองไง เพราะเราธุดงค์มา มุมมองของโลกเขามองอย่างหนึ่ง เราบวชใหม่ๆ โอ้โฮ แล้วเพื่อนมันด่านะ มึงไม่สู้สังคม มึงเป็นคนล้มเหลว โอ้ อย่างที่ว่าเราติดเพื่อนไง เพื่อนก็ติดเรา แล้วพอเราบวชไปแล้วนะ โอ้โฮย เพราะเขาพูดอย่างนี้ แล้วเรานี่เป็นคนจริง เราประกาศกับเพื่อนเลยนะ พูดไปเดี๋ยวจะหาว่าโม้ ไม่สึก บวชไม่สึก บวชไม่สึก ไอ้คำว่าบวชไม่สึกนี่แหละ มันเป็นโซ่คล้องคอ บวชพรรษา ๑ พรรษา ๒ โอ้โฮย

นี่เราเตือนไว้ก่อนไง อย่าคิดว่าเลือกทางพระ แล้วบวชแล้วจะราบรื่นนะ เมื่อก่อนเราคิดอย่างนั้น พอบวชไปเป็นพระแล้วนะ พระโอ้โฮย พระด้วยกันนะ ต้องส่งเสริม ต้องปฏิบัติอย่างนี้เลย พอปฏิบัติแล้วโดนแกล้งไง พรรษา ๑ พรรษา ๒ โดนแกล้ง ธรรมดาดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไปอดนอนน่ะ ไม่นอนเลยน่ะ แล้วในวัดเขาไม่ทำ ทำอยู่องค์เดียว คิดดูสิว่ามันจะโดนอะไรบ้าง มันก็โดนมาทุกลูกเลย ตอนนั้นก็ยังไม่รู้นะ ตอนโดนยังไม่รู้ เพราะเข้าใจว่าพระต้องสองโป้งเลย

โดนเขาแกล้ง ยังไม่รู้ว่าเขาแกล้งนะ จนอยู่ไป เอ๊ะมันบ่อยๆ เว้ย เอ้ยทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไมเป็นอย่างนี้ ชักเริ่มดู อ๋อ เพราะหนึ่งถือธุดงค์หมดเลย บิณฑบาตทุกอย่าง แล้วไม่นอนด้วย ทีนี้พอไม่นอนขึ้นมา โอ้โฮ คนก็อยากใส่พระองค์นี้ โฮย เขาเขม่นกันหมดเลย เพราะเด่นมันจะเป็นภัย เขาจะแกล้งขนาดไหน มันจะโดนขนาดไหน พอออกพรรษานะ คิดไว้ในพรรษา คิดใหญ่เลยนะในใจ ออกพรรษาแล้วจะไป ไปเสร็จแล้วจะไม่ย้อนกลับมาอีกเลย

แล้วตอนนั้นบวชใหม่ๆ ไม่รู้จักใคร ไม่มีอะไรเลย ออกพรรษาก็นู่น กะพุ่งออกพม่า จะไปไม่มีที่สิ้นสุดเลย เพราะตอนบวชนะ ออกจากบ้านไปแล้วจะไม่มีกลับ ไม่มีการย้อนกลับมา ใจเรา จะไม่ได้เห็นหน้ากันอีกแล้ว นี่พอบวชแล้วไม่เป็นอย่างนั้น ย่าไปร้องไห้ที่วัด ย่าไปร้องไห้ที่วัด ร้องไห้แล้วร้องไห้อีก ขอร้อง เราถึงย้อนกลับมา ไปร้องไห้ที่วัด ใครก็ไปร้องไห้ที่วัด เพราะทุกคนรู้นิสัยเรา คือ ถ้าไปแล้วนะ จะไม่ได้เห็นหน้ากันอีกแล้ว ไปแล้วไม่มีวันกลับ ทีนี้พอออกไป ในพรรษาโดนแกล้ง โดนแกล้ง โดนแกล้ง ไม่รู้จะไปไหน จะออกพม่าเลยนะ โอ้โฮย แล้วจิตมันเสื่อม

เราถึงบอกว่าที่ประกาศว่าไม่สึก แต่ใจมันไม่ยอมสึกอยู่แล้ว แต่ขณะพอโดนปัญหาขึ้นมาเห็นไหม มันเหมือนกับมันปิดตัน ต้องไปอย่างเดียว พอจิตเสื่อม ธุดงค์ไป โฮย ทุกข์มาก เริ่มต้นได้ ก็ตอนกลับมาเจออาจารย์จวนนี่แหละ มันหมดแล้ว มันว่างหมดน่ะ มันว่าง พอจิตมันก็รักษาได้แค่นั้นน่ะ อวิชชาอย่างหยาบเอ็งสงบตัวลง อวิชชาอย่างกลางเอ็งยังไม่เห็นมันเลย อวิชชาอย่างละเอียดในหัวใจเอ็งเต็มเลย เอ้อจริง พอเอ้อ จริง มันก็พลิกกลับ พอพลิกกลับตรงนี้ปั๊บ พอมันเริ่มพลิกกลับ แล้วเริ่มตั้งฐาน พอตั้งฐานได้อะไรได้นะ มันเริ่มลุยเข้ามาแล้ว ได้ขั้นได้ตอนตรงนั้น พอได้ขั้นได้ตอนมาก็ไล่เข้ามาเลย

แต่ก่อนหน้านั้นนะ โคตรทุกข์เลย โคตร ! ทุกข์เลย ไม่ใช่ทุกข์ธรรมดานะ โคตรเลย โคตรเพราะอะไร เพราะว่าภาษาเรา มันผู้น้อย เด็กอ่อน เราจะรู้สังคมเขาได้อย่างไร เราเข้ามาใหม่ในสังคม สังคมพระนี้ แล้วก็คิดว่าต้องทำความดี เราทำความดีโดยเปิดเผยตลอดเวลา แล้วมันก็มีทุกรูปแบบทิ่มเข้ามาตลอดเวลาเลย คิดถึงไหม ใครก็คิดไม่ถึงหรอก ฉะนั้นเวลาเราโตมาอย่างนี้แล้ว เราถึง พระเรา เราถึงพยายามคอยบอก คอยเตือน แล้วเราไม่ เราสอนพระบ่อย เวลาพระมาอยู่กับเรานะ

เราเหมือนกับนักศึกษาเห็นไหม เวลาเอ็นท์ติด รับน้องใหม่ๆ แม่งรับกันอยู่เรื่อย เราจะบอก เฮ้ย เอ็งอย่ารับน้องใหม่สิ เราโดนเขารับมาแล้ว เราอย่าไปรับคนอื่น คือ โดนเขาทำมาแล้ว อย่าทำใคร นิสัยเรามันเป็นอย่างนี้ เราจะบอกเลยนะ เข้ามาอยู่ในสังคม มันมีปัญหามาขนาดนี้แล้ว เราต้องให้เมตตาคนอื่น เราจะใช้คำว่า ถ้าเราโดนรับน้องมานะ แล้วเอ็งอย่าไปรับต่อไง อโหสิ อย่าไปรับต่อ อย่าไปรังแก อย่าไป คนเราไม่ใช่รังแกหรอก บางทีมันทิฏฐิ อยากเอาแพ้เอาชนะกัน อยากอะไรกัน มันก็มีเป็นธรรมดา นี่ในวงการนะ เขาเรียกลิ้นกับฟัน

พระพุทธเจ้าเห็นไหม พระอลัชชีบุตรเห็นไหม ที่แตกกัน พระพุทธองค์อย่าขวนขวายน้อยเถิด อย่าเลย พระทะเลาะกันเห็นไหม แล้วสุดท้าย สุดท้ายแล้วก็แยกกับพระพุทธเจ้า เข้าป่าเลย พอเข้าป่า กลับมา พอกลับมา พระก็บอกให้พระพวกนี้ มันไม่มีใครใส่บาตรแล้วก็กลับมา ย้อนกลับมา พระพุทธเจ้าเทศน์นะ พระนี้เป็นพระอรหันต์หมดเลย

เวลาโยม หลวงตาพูดบ่อย มีโยมเข้ามาอัดพระนั้นไง แม้แต่ในบ้าน ลูก ๒ คน ๓ คนยังทะเลาะกันเลย แล้วลูกศิษย์เรา เป็นร้อยเป็นพัน มันไม่กระทบกระเทือนกัน มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันก็มีบ้าง นี่เรื่องของเรา อย่ามายุ่งๆ จัดการกันเอง แต่ทีนี้เรา สมัยเรา พวกเรา มันแบบว่า คิดแบบโลก มันแบบว่าไร้เดียงสา คิดด้วยความสะอาดไง เรามองอะไรด้วยความไม่สะอาด

เราจะพูดอย่างนี้เพราะว่าเราโดนมาหมด แล้วเราคิดว่าตอนถ้าเราก่อนจะบวช เราก็เหมือนโยม มองเข้ามาในวงการพระ แหม มันใสสะอาด มันคิดแบบไร้เดียงสาน่ะ นี่ไร้เดียงสา นี่อยากบวชๆ โฮย มันมองภาพน่ะ โฮย สะอาดไปหมดเลย เจอเข้าไป ๒ ดอก โฮย งงเลยนะ โอ หันไม่ถูกเลย แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องโลกนะ ถ้าเรื่องธรรม แล้วถ้าเรามีจิตของเรา อยู่ที่ไหนก็โดน โลกเป็นอย่างนี้ เราจะอยู่กับเขา เราจะสู้ ถ้าเราจะสู้นะ เราจะกระเสือกกระสนมาได้

หลวงตาท่านเป็นผู้ใหญ่ เพราะหลวงตาท่านอยู่กับวัด มันมีปัญหานี้มามาก นี่ปัญหาอย่างนี้มา มันมีมา ฉะนั้นเวลามีมา มันมีมาแบบโยมก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้าพระอย่างเรา ถ้าเรามีสถานะนะ โอ้โฮ พัดยศ แหลมๆ ทั้งนั้นเลย คิดดูสิว่า โอ้โฮ อีโก้ ตัวเราจะขนาดไหน ใครจะมาพูดขัดแย้งกับเรานะ อื้อหืม มันแค้นฝังหุ่นเลยล่ะ ต้องเอาคืนเลยล่ะ

เราจะบอกว่ากิเลสมันมีอยู่แล้วไง แล้วสถานะ มันไปหนุนให้กิเลสเข้มขึ้นมา ถ้าเราไม่มีพัดแหลมๆ ไม่มีอะไรเลยนะ โอ เราก็เป็นหลวงตาองค์หนึ่งเนาะ ใครจะว่าอะไรก็ไม่เท่าไร โฮ มีพัดแหลมๆ ด้วยนะ มีตำแหน่งด้วยนะ มีรถประจำตำแหน่ง โฮย มีลูกศิษย์ลูกหานะ แล้วใครมาว่าให้ผิดใจ แหม ฝังหุ่นเลย ทิฏฐิพระ มานะกษัตริย์ ถ้าสังคมมันเป็นอย่างนั้น เราพูดเอาไว้ก่อน เราเห็นใจ เราอยากให้สังคมทุกสังคมดีหมด แต่มันสุดวิสัยที่ใครจะทำได้ มันเป็นเรื่องของสังคม มันเป็นเรื่องของผลของวัฏฏะ

ฉะนั้นเวลาเราย้อนกลับมาอีกทีหนึ่ง เวลาเราพูดกับโยมบ่อยเห็นไหม ว่าเราภูมิใจมากว่าเราเกิดมาร่วมกับครูบาอาจารย์ของเรา ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ของเรา เวลาเราปฏิบัติไป อย่างที่พูดเมื่อกี้ ๒ ปีแรกนะ เราไฟมันแรงมาก ไฟมันแรงมาก โฮ ทำอะไรนี่ทำจริง เหมือนหลวงตาพูดเลย มีคนช่วยบอกที มีทางไป ให้คนบอกที จะไปให้ได้ มีใครบอกที แต่มันยังไม่มีใครบอกไง มันก็ลุยของมันไปอย่างนั้น

แล้วพอมาเจออาจารย์จวนเห็นไหม แล้วขึ้นไป อยู่กับหลวงตา ซัดกันตลอด เช้าๆขึ้นมาใส่แล้ว โดนด่าทุกวัน วันโดนด่า ๕ รอบ ๑๐ รอบ โดนด่าทุกวัน โดนด่าตลอด โดนด่าจนร่ำลือมาก แต่ในปฏิบัติของเรา เราว่าเราได้ประโยชน์ๆ แล้วถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นะ อย่างที่ว่า เพราะเราเห็นทางนี้มา เห็นการเปลี่ยนแปลงมา เห็นการเปลี่ยนแปลงของความคิด เห็นการเปลี่ยนแปลงของใจมา แล้วถ้าโยมไม่มี

ความคิด มันเป็นสำเร็จรูป ความคิดอันเดียว วิทยาศาสตร์คิดตายตัว คิดถูกคิดผิด คิดอยู่อย่างนั้นน่ะ ไปไม่รอด โสดาบันน่ะ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตตมรรค ไม่เหมือนกันเลย มันเหมือนกับตรี โท เอก ปริญญาตรีเรียนจบอย่างไร ปริญญาโทเรียนจบอย่างไร ปริญญาเอกอย่างไร ศาสตราจารย์ทำอย่างใด โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค มันแตกต่างหลากหลายทั้งนั้น แล้วถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นะ มาคอยชัก คอยนำ

ตอนอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ ซัดกันอยู่อย่างนั้นน่ะ เถียงกันไปเถียงกันมา หน้าดำหน้าแดง เถียงกันทุกคืนเลย สุดท้ายแล้ว เอ้อ น่าจะนะ มันไม่ยอม น่าจะ หรือว่า ไม่ยอมรับหรอก โฮย มันไม่ยอมรับหรอก เพราะว่าง ว่างกูก็ว่างแล้ว มีอะไร กูเป็นหมดแล้ว กูนึกเอาเอง กูเป็นหมดเลย พูดอะไรกูรู้หมด สุดท้ายแล้ว แล้วมึงทำอย่างนี้ได้เปล่า ท่านท้าเลย ทำอย่างนี้ได้เปล่า เอ้อ กูไม่รู้จัก

พระปฏิบัตินะ เวลาครูบาอาจารย์นะ ถ้าเป็นโสดาบัน พอพูดปั๊บรู้เลย ทำอย่างนี้ๆ เรารู้เลย อย่างเช่น เมื่อกี้ โยมไปที่ไปตากแดดกันมา ใครพูดถึงตรงนั้นปั๊บ บอกว่า เราไปตากแดดวันนั้นๆ ทุกคนจะรู้เหมือนกันหมดเลย ถ้าโสดาบัน พอพูดถึงจุดนั้นปั๊บ โสดาบันจะรู้ทันที ถ้าไอ้จุดที่เราไปตากแดดกันวันนี้ แล้วไอ้คณะที่มันไม่เคยมา ไปพูดให้มันฟังสิ มันบอกว่าไปไหน ไปปลูกต้นไม้ที่หลวงพ่อมา อ๋อ ในกำแพงนั่นใช่ไหม มันจะบอกเลยว่าในกำแพง เพราะมันเคยมาทำในกำแพงนั้นไง มันจะบอกว่าในนั้นใช่ไหม มันไม่รู้ที่โน่นหรอก มันไม่รู้ มันรู้แต่ในกำแพง ถ้าบอกว่าไปปลูกต้นไม้ใช่ไหม โอย ไปแล้ว โอ๋ย ในกำแพง เข้าออกทุกวันเลย ไม่ใช่ เขาไปนู่นกันมา ไอ้บ้า

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าบอกโสดาบันเท่านั้น แล้วเอ็งพูดไม่ถึงตรงนั้นนะ ไม่ใช่ มันตรวจสอบกันได้ตลอด เป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคา พระจะรู้ทันทีเลย พูดมา ผลัวะๆ ผลัวะเลย แล้วเอ็งทำอย่างนี้ได้ไหม ทำอย่างนี้ได้ไหม เอ้ เราก็งงไง ธรรมดานะเมื่อก่อนอยู่กับหลวงตานะ หลวงตาพูดธรรมะขนาดไหนนะ เรา เอ้ เอ้อยู่นะ เอ้ ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างนี้ เราก็คิดของเราไปอย่างหนึ่ง ก็เหมือนกับสองคนยลตามช่องนั่นแหละ เพราะหลวงปู่เจี๊ยะก็ทำอย่างนี้ เอ้ย งง เถียงกันอยู่อย่างนั้น เถียงกันอยู่อย่างนั้น สุดท้ายต้องพิสูจน์ เอ้ ถ้าอย่างนี้ อย่างนี้เราไม่รู้

ก็อย่างว่า ปลูกต้นไม้ใช่ไหม ใช่ ในกำแพง ไอ้นั่นกูไม่เคยไป เอ้ มันเป็นอย่างไร มันไม่รู้ ไม่รู้ หรือว่าวะ หรือว่ามันคนละที่ มันไม่ใช่ที่เดียวกันแน่ๆ เลย น่าจะนา น่าจะ กว่ามันจะพิสูจน์นะ มันไม่ยอม มันไม่ยอม มันกลัวเสียเกียรติมัน โอย พอมันหันกลับมานะ พอหันกลับมา พอมาเจอ โฮย คนละที่เลย ไม่มีต้นไม้สักต้น ไอ้เรามันนอนอยู่ใต้ต้นไม้ มันคนละเรื่องเลย พอทำนั้นเสร็จ อ้าว อะไร อ้าว เข้าใจแล้ว เออใช่ ใช่ เข้าใจเข้าใจ

ถ้าการปฏิบัติ มีครูบาอาจารย์ เวลาเราพูด เราจะย้อนกลับมาว่า เรามีครูมีอาจารย์ เราเกิดมาพบ เราจะย้อนกลับมาถึงบอกตลอด ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นะ โธ่ หลวงตาท่านบอกนะ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ หลวงตาท่านเข้าใจว่าท่านจะมาไม่ได้ละ หลวงตาท่านพูดบ่อยเลย ถ้าไม่มีคนชี้นำ เราจะมาได้อย่างไร มันถึงว่า เวลาท่านพูดเห็นไหม หลวงปู่มั่นเป่ากระหม่อมเรามา ครูบาอาจารย์เป่ากระหม่อมเรามา ชุบเลี้ยงเรามา ชุบเลี้ยงโดยธรรมนะ ไอ้ชุบเลี้ยงด้วยอาหาร โยมใส่บาตรทุกวัน ไอ้ชุบเลี้ยงด้วยธรรม ชุบเลี้ยงด้วยการชี้นำ ด้วยการชี้แนะ หัวใจมัน โอ้โฮ มันลงไง มันรู้คุณมาก

ฉะนั้นนี่พูดถึงเรื่องบวช มันเป็นเวรเป็นกรรม แล้วเราหาทางออกได้ แต่เราไม่อยากให้มันรุนแรง ไม่อยากให้กระเทือนมาก ได้เมื่อไรก็เมื่อนั้นเว้ย ยังไม่ได้ก็ตื๊อไปเรื่อยๆ ตื๊อไปเรื่อยๆ นี่ดีนะ ดีที่เป็นผู้หญิง ถ้าเป็นพระนี่หมดสิทธิ์ เพราะพ่อแม่ไม่อนุญาตไง เรานี้กว่าจะพ่อแม่อนุญาต แต่ท่านไม่ได้อนุญาต จริงๆ ท่านไม่ได้อนุญาต ถ้าพูดถึงตามกฎหมายไม่ได้อนุญาต เพราะเราทำตัวเราประชดอยู่อย่างนั้น จนท่านหลุดปาก ท่านไม่ได้อนุญาตด้วยนะ ท่านบอกมึงจะไปไหนก็ไปเถอะไป โดยท่านรำคาญน่ะ มึงจะไปไหนก็ไปเถอะ

เราไปวัดเลย อนุญาตแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อนุญาตนะ ท่านบอกไม่ได้อนุญาตให้บวชนะ ท่านบอกว่า มันแบบว่า เราก็ดื้ออยู่อย่างนั้นในบ้านนั่น สุดท้ายแล้วท่านคงจะรำคาญ เตี่ยเป็นคนพูดเอง ไปไหนก็ไปเหอะ เอ็งจะไปไหนก็ไปเหอะ คือท่านไล่ออกจากบ้าน ท่านไม่ให้ไปบวช กูไปบวชเลย เราได้มาด้วย ยังจำคำนี้ได้ เอ็งจะไปไหนก็ไปเถอะ เราไปหาอุปัชฌาย์เลย พ่อแม่อนุญาตแล้ว นี่นะ ได้เป็นพระ ไปบวชพระมันลำบากตรงนี้

ไอ้นี่เป็นผู้หญิงเว้ย มันยังไม่มีตรงนี้ โอ้โฮ เรากว่าจะได้มา กว่าจะได้นี่มา มันไม่ใช่ของง่ายเลย ฉะนั้นเวลาพูดถึงว่าทำไมครูบาอาจารย์ถึงไปเกิดอยู่ในป่าในเขา ในป่าในเขา โฮ มึงไปเกิดในบ้าน เกิดในยิ่งตระกูลใหญ่ด้วยนะ แล้วมึงคนไม่มีปฏิภาณ ไม่มีปัญญา บวชแล้วมันจะเอาปัญญาอะไรไตร่ตรองธรรมะให้มันพ้นจากกิเลส คนโง่ดักดานเห็นไหม หลวงตาบอกคนฉลาดทางโลกนะ ประกอบอาชีพทางโลก จะประสบความสำเร็จมาก มาบวชพระ พระองค์นี้จะรุ่งเรืองมาก

ถ้าคนโง่นะไปอยู่ทางโลกนะ มันก็ทุกข์ยากของมันนั่นแหละ มาบวชแล้วมันก็เป็นพระโง่นั่นน่ะ แต่ถ้านะ พูดถึงนะเห็นไหม ถ้ามีปฏิภาณไหวพริบอย่างนั้น อยู่ทางโลกเห็นไหม มันก็มีปฏิภาณไหวพริบ เวลาบวชมาแล้ว มันก็มีปฏิภาณไหวพริบของมัน ปฏิภาณไหวพริบ ปัญญาอันนี้แหละ ที่จะทำให้เราชำระกิเลสของเราไป มันถึงบอกว่า มันเป็นบุญเป็นกรรมของคน ทีนี้เป็นบุญกรรมของคน เกิดมาก็เจอสภาพแบบนี้อีก เจอสภาพแบบนี้อีก เราก็ต้องหาทางแก้ไข แก้ไข คือ อย่างเรานี้ไม่อยากให้สะเทือน

แต่เราก็อยากให้บวช จริงๆ นะอยากให้บวช อยากให้เป็น เพราะเวลาเทศน์เกือบเป็นเกือบตาย เห็นไหม เทศน์เพื่อให้เนกขัมมะ เวลาเทศน์นะ ให้พวกเรา ให้พวกโยมเห็นไหม เห็นไหมบวชพระ พอบวชพระมีโอกาสไง แล้วพอมาบวชเสร็จแล้วนะ ก็ต้องมาคอยแงะ แงะกันปฏิบัติให้เป็น โฮ งัดอีก งัดแล้วงัดอีก หน้าที่ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ สร้างพระ เวลาเทศน์กับโยมนะ เวลาพูดกับโยมเห็นไหม

โยมพูดเสร็จจากศีล ๕ ก็เป็นศีล ๘ เห็นไหม ถือพรหมจรรย์ จากศีล ๘ เป็นศีล ๑๐ จากศีล ๑๐ ก็เป็น ศีล ๒๒๗ จริงไหม เทศน์เกือบตายก็เพื่อจะให้บวช บวชนะ บวชกาย บวชใจ แต่เวลาจำเป็นจริงๆ จริงๆ แล้วเราอยากให้บวช อยากมาก อยากให้บวช เพราะความบวช เขาเรียกว่า มันบุญกุศลมันสูงขึ้น แต่เราก็ไม่อยากให้กระเทือนกับหัวใจของในครอบครัว เราก็ไม่อยากให้กระเทือน ฉะนั้นต้องค่อยๆ หาทางออก เพื่อความเป็นไปเห็นไหม เราจะสรุปว่า ถ้ามีบุญ มีโอกาส มันก็จะประสบความสำเร็จ ถ้ายังไม่ถึงโอกาส เราก็สร้างบุญของเราไป เพื่อประสบความสำเร็จเนาะ เอวัง