เทศน์บนศาลา

ธรรมะมีบวก-ลบ

๔ ต.ค. ๒๕๕๒

 

ธรรมะมีบวก-ลบ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งสติไว้ ตั้งสติไว้แล้วฟังธรรม ธรรมะนะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราเกิดมาไม่พบธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม สุญกัป เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมดสิ้นสูญไป มันสุญกัป มันต้องปรับตัว พอถึงเวลาแล้วจะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ต่อไปๆ

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์เวลาตรัสรู้ขึ้นมา เพราะการสร้างสมมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอกํ นาม กึ หนึ่งไม่มีสอง ถ้าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว จะไม่มีใครสอดแทรกเข้ามา เป็นบารมีของท่านแต่ละองค์ๆ ไป เห็นไหม หนึ่งไม่มีสอง สิ่งนั้นเป็นความจริงอันหนึ่ง เป็นความที่สุดส่วน

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เผยแผ่ธรรมขึ้นมา ในสมัยพุทธกาลมันมีลัทธิศาสนาต่างๆ อยู่มหาศาลเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมไป เห็นไหม โลกนี้ร้อนนัก เวลาเทศน์ยสะแล้ว “เธอทั้งหลาย ทั้ง ๖๐ องค์ พ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ เธออย่าไปซ้อนทางกัน เธออย่าไปซ้อนทางกันนะ” เพราะว่าอะไร เพราะโลกเร่าร้อนนัก

คำว่า “โลกเร่าร้อนนัก” คือเขาต้องการ ทุกคนต้องแสวงหา ทุกคนต้องการธรรมะเพื่อจะดับทุกข์ เพื่อจะพ้นจากทุกข์ แต่ลัทธิศาสนา ลัทธิต่างๆ ที่เขาสอนอยู่มันก็มีมาเนิ่นนานอยู่แล้ว มันมีอยู่โดยดั้งเดิมอยู่แล้วนะ ทำไมเขาพ้นทุกข์ของเขาไม่ได้ล่ะ นี่มันเป็นพิธีกรรม มันเป็นศาสนาของเขา เขาก็เชื่อถือของเขา มันเป็นเครื่องอาศัย แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา สิ่งนี้จะพ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกข์นะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหัศจรรย์มาก มหัศจรรย์จริงๆ

การประพฤติปฏิบัติของเรา เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เราพบพระพุทธศาสนา นี่วางธรรมและวินัยไว้แล้ว เราเกิดมาไม่พบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราพบธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม นี่ธรรมวินัยจะเป็นศาสดาของเรา เราก็มีธรรมวินัยเป็นเครื่องศึกษา แต่สิ่งนี้ศึกษามาแล้วมันเป็นทฤษฎี เป็นวัตถุ เห็นไหม สัตว์สตัฟฟ์นะ สตัฟฟ์ไว้มันไม่โตหรอก เพราะสัตว์มันสตัฟฟ์ไว้ มันไม่มีชีวิต แต่หัวใจของเรามันมีชีวิต มันมีความรู้สึก นี่สิ่งที่มีความรู้สึกนั้น

สัตว์สตัฟฟ์เราก็ไปเห็น ดูสิ เสือสตัฟฟ์ไว้ โอ้โฮ! เสือ มันก็น่ากลัวนะ ถ้าเราไม่รู้ เราเห็นแต่ไกล เราคิดว่ามันมีชีวิต แต่พอเข้าไปใกล้มันเป็นสัตว์สตัฟฟ์ โอ้! ไอ้ความกลัวนั้นหายไปหมดเลยนะ เพราะมันไม่มีชีวิต มันทำอะไรเราไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน กิเลสของเรามันร้ายกว่านั้น สิ่งที่เราศึกษามามันกำจัดกิเลสเราได้ไหม ธรรมวินัยที่เราศึกษามา ไอ้เสือตัวนี้ ไอ้ขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลง มันกลัวไหม? มันไม่กลัวหรอก มันไม่กลัว มันประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันเป็นความจริงไหม ถ้ามันเป็นความจริง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าละเอียดลึกซึ้งอย่างนี้ เพราะมันเป็นมีสิ่งที่มีชีวิต

เพราะใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่โคนต้นโพธิ์ นั่นเป็นธรรม ธรรมอันนี้เป็นธรรมที่ว่าวิมุตติสุขในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมและวินัยไว้ สิ่งที่วางธรรมวินัยไว้ เห็นไหม คนรู้ ผู้รู้ วางทางเดินไว้ แต่พวกเรามันตาบอด มันไม่รู้ ทางเดินนั้นแหละ แต่เราเดินไปไม่ถูก เราเดินไปไม่ถูกหรอก เพราะทางเดินอย่างนี้มันไม่ใช่ทางเดินด้วยวัตถุ ไม่ใช่ทางเดินด้วยความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ทางเดินด้วยการคมนาคม

สิ่งที่ทางเอก มัคโค เป็นทางอันเอก มันเป็นบุคลาธิษฐานเพื่อเปรียบเทียบว่าทางอันเอกมีอยู่ทางเดียวเท่านั้นล่ะ มรรคญาณที่จะเข้าไปถึงหัวใจมันมีอยู่ทางเดียวเท่านั้น เข้าไปถึงเพื่อจะชำระไอ้เสือตัวนั้น ไอ้เสือสตัฟฟ์

เสือสตัฟฟ์มันสตัฟฟ์แล้วนะ พวกสัตว์สตัฟฟ์มันอยู่ของมัน มันผุพังของมัน มันเป็นวัตถุนะ แต่ไอ้กิเลสมันมีชีวิต มันมีเป็นความรู้สึก กิเลสก็มีชีวิต ใจเราก็มีชีวิต สิ่งที่เราเกิดมาก็เกิดมาด้วยชีวิต ปฏิสนธิจิต เกิดในไข่ของมารดา ถึงมาเกิดเป็นเรา สิ่งที่เกิดเป็นเรามันมีชีวิต มันมีความรู้สึกทั้งนั้น มันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น มันไม่มีอะไรตายตัวคงที่หรอก มันเป็นอนิจจัง มันแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่มันแปรปรวน มันแปรปรวนของมันไปตามธรรมชาติ มันแปรปรวนไปตามกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

แปรปรวนไปในทางที่ดี ที่เรามาทำกันอยู่นี่เป็นทางที่ดีไหม? เป็นทางที่ดี เพราะเราศึกษาธรรมมาแล้วธรรมเจริญรุ่งเรือง กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง แล้วมันเจริญขึ้นมาไหมล่ะ? มันก็เจริญขึ้นมาจริงๆ ศาสนาเจริญขึ้นมาอีกหนหนึ่ง เจริญขึ้นมาเพราะเหตุใด? เจริญขึ้นมาเพราะมีครูมีอาจารย์ของเรามีความองอาจกล้าหาญเข้าไปเผชิญกับความจริงในหัวใจ ถ้าเข้าเผชิญกับความจริงในหัวใจ ไปแก้ไขหัวใจนั้นแล้ว ความจริงอันนั้นมันสืบต่อกันมาด้วยใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง จากใจดวงหนึ่งนะ ใจของสิ่งที่มีชีวิตมันรับรู้ได้ สิ่งที่การประพฤติปฏิบัติ พื้นฐานของมัน ถ้าใครมีสติปัญญาขึ้นมา จิตมันสงบขึ้นมา มันมีขึ้นมา ความเป็นไปมันจะก้าวเดินของมันไป

แต่ถ้ามันยังเป็นโลกียปัญญา ปัญญาทางโลก ปัญญาจากต่างๆ นี่เสือสตัฟฟ์ สัตว์สตัฟฟ์ ทฤษฎี มันเป็นสภาวะแบบนั้น มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาหรอก เขาพูดขนาดไหนก็พูดได้ คำพูด เวลาพูดทางทฤษฎีนี้พูดได้นะ เหมือนเรา เราพูดได้หมดเลย เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เราไปหาหมอทำไม ทำไมเราไม่รักษาเอง เราก็มี ทฤษฎีเราก็มี วิชาการของแพทย์ก็มี ก็รักษาเองสิ รักษาเองได้ไหม? มันก็ไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน ทฤษฎีก็เป็นทฤษฎี แต่ในความเป็นจริง หัวใจมันไปอยู่ที่ไหน คนป่วยคนไข้อยู่ไหน คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยมันอยู่ไหน แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร มันเป็นสิ่งมีชีวิต มันไม่ใช่สัตว์สตัฟฟ์ มันไม่ตายตัวหรอก ทฤษฎีมันตายตัวคงที่ของมัน แต่ความเป็นไปของมัน มันละเอียดอ่อนของมัน มันตายตัวอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าตายตัวอย่างนั้นไม่ได้ เราจะทำอย่างไร

ครูบาอาจารย์ จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง พื้นฐานดูตรงนี้ ถ้าพื้นฐานยังไม่มี เห็นไหม ดูสิ อย่างตอนเช้าบอกเลยว่า พริกอยู่ในป่า แล้วเราไปกิน เราไม่รู้เรื่อง มันจะเป็นโทษได้อย่างไร

นี่ไง วิทยาศาสตร์ เด็กมันเข้าใจของมันอย่างนั้นใช่ไหม นี่เพราะเราไม่รู้เรื่อง เราไม่รับรู้อะไรเลย พริกตรงนั้นใครจะไปรู้ได้ว่ามันมาจากไหน นี่ไง อวิชชา อวิชชาของเรา เพราะเอาเราเป็นใหญ่ เอาตัวตนเราเป็นใหญ่ เอาความรู้ของเราเป็นใหญ่ เอาเราเป็นที่ตั้ง

แต่ถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นวัฏฏะใช่ไหม มันเป็นข้อเท็จจริงของมันใช่ไหม เราไปเจอมันทำไม ทำไมเราไม่ไปเจอพริกต้นอื่น ทำไมเราจะต้องไปเจอมัน นี่เวรกรรมมันมีของมัน เราเอาเราเป็นที่ตั้ง เราปฏิเสธสิ่งต่างๆ ทั้งหมดเลย แล้วเราจะไปขวางโลกได้อย่างไร นี่มันขวางโลก นี่ไง เพราะเราไม่ยอมรับอะไรเลย เราไม่ยอมรับความจริง ข้อเท็จจริงสิ่งใดๆ เลย เอาแต่ทิฏฐิมานะของตัวเป็นใหญ่ แล้วก็ว่า “ศาสนาอย่างนี้ ศาสนาประพฤติไม่ได้ พระพุทธศาสนานี้ประพฤติไม่ได้ พระพุทธศาสนานี้เราไม่เข้าใจ เราไม่รู้ มันก็ให้ผลกับเรา”

มันเป็นเวรเป็นกรรมของคน มันเป็นวาระของเขา ทำไมเขาต้องไปเจอวัดอย่างนั้น ต้องเป็นสภาวะแบบนั้น มันมีที่มาที่ไป มันมีกรรมเก่า-กรรมใหม่ กรรมมันหลากหลายมหาศาลนะ นี่เราเอาเราเป็นใหญ่ เราไม่เอาความเป็นจริงเป็นใหญ่ เอาผลของวัฏฏะเป็นใหญ่นะ ผลของวัฏฏะ เวลาเกิดมา เวรกรรมเกิดมามันเป็นสภาวะแบบใด นี่มันเป็นสภาวะ เห็นไหม ดูสิ กรรม คนที่มีอายุยืนต่างๆ ถือศีล ๕ มา มีทรัพย์สมบัติมากน้อยต่างๆ มันเป็นวาระของเขา แล้วบอกว่าสังคมรังแกเรา ทุกอย่างรังแกเรา ธรรมวินัยต้องเป็นอย่างนั้น

นี่ไง มันเป็นความสำเร็จรูป มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันมีชีวิต มันมีความรู้สึกในการกระทำ มันมีหยาบมีละเอียดมหาศาล นี่แค่พื้นฐานนะ พื้นฐานที่ประพฤติปฏิบัติจากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง เขาดูตรงนี้ ถ้าดูอย่างนี้แล้ว ครูบาอาจารย์ท่าน จากใจดวงหนึ่งใช่ไหม ถ้าใจดวงที่ขวางโลกอย่างนี้ เห็นไหม “เพราะเราไม่รู้ เราไม่รับทราบ เราจะมีโทษอะไร เป็นไม่ได้”...วุฒิภาวะอย่างนี้ แสดงว่าใจอย่างนี้มันปิดกั้น มันมีทิฏฐิมานะ

ทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นอย่างนี้มันจะเป็นสัมมาทิฏฐิได้อย่างไร มันต้องรอเวลาไง เราบอก “วุฒิภาวะของจิต” วุฒิภาวะของจิตมันมีกาลเวลาของมัน ต้องรอเวลา ถ้าคนเขาหลับ เขาไม่สนใจ เราจะป้อนอาหารหรือทำอย่างไรก็รักษาเขาไม่ได้ แต่ถ้าหัวใจมันเปิดมา นี่ก็เหมือนกัน ทำไมเราต้องมาเจอพริกต้นนี้ ทำไมเราต้องเข้ามาในเส้นทางสายนี้...นี่ผลของวัฏฏะไง มันมีของมัน เราจะปฏิเสธหรือไม่ปฏิเสธ เหมือนกับไฟ เราจะปฏิเสธไฟว่ามีหรือไม่มี เราเหยียบไปมันก็ร้อนทั้งนั้นน่ะ เราปฏิเสธของเราว่าเราไม่รู้ ไม่รู้มันก็ให้ผลกับความไม่รู้นั้น นั่นคืออวิชชา

เพราะไม่รู้ถึงได้มาเกิด เพราะไม่รู้ถึงได้ทุกข์ ถ้ามันรู้ จะมาเกิดทำไม เพราะเกิดมาแล้วมันทุกข์ จะเกิดมาทำไม นี่เพราะไม่รู้ เพราะอวิชชา แล้วสิ่งที่ว่าพริกนี้เราไม่รู้ เพราะอวิชชาไง เพราะความไม่รู้ เพราะอวิชชามันถึงเป็นไป

แล้ววิชชาล่ะ วิชชามันเป็นอย่างไร วิชชามันก็ต้องเป็นเวรเป็นกรรมของเราสิ เวรกรรมของเราเกิดขึ้นมาเพราะเหตุใด ถ้าเวรกรรมของเราเกิดขึ้นมาเพราะกรรมดี-กรรมชั่วอย่างไร แล้วเรามั่นคงในพระพุทธศาสนา เราเชื่อในศาสนา เราจะประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราเชื่อในศาสนา เราก็ทำบุญกุศลเพื่อดำรงชีวิตของเราให้มีความสุข แต่ถ้าเรามีความสุข เราศึกษาเข้าไป มีความสุข เราก็อยากได้สุขมากขึ้น สุขมากขึ้น สุขความเป็นจริงเป็นอย่างไร

สุขเวทนา-ทุกขเวทนา ไอ้สุขอย่างนี้คือสุขในขันธ์ เพราะทุกขเวทนา-สุขเวทนามันเป็นขันธ์ ๕ ทุกข์ในขันธ์ ความพอใจ ความบีบคั้นใจ ความสุขใจ ความพอใจ มันเป็นอนิจจัง แล้วอยากได้ความสุขแบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในธรรมวินัยที่สั่งสอนไว้ ที่วางเป็นแนวทางไว้ จะทำอย่างไร

เหมือนกับทางวิชาการ ดูการก่อสร้างสิ ทางวิชาการก่อสร้าง เห็นไหม เราผูกเหล็ก เราตีแบบ เราเทปูน เสร็จแล้วก็เสร็จใช่ไหม เสามันก็เสร็จ คานมันก็เสร็จ เป็นชิ้นเป็นอันนะ นี่วัตถุ มันเป็นวัตถุคงที่ตายตัว ใจมันเป็นอย่างนั้นไหม เอาสติมาตีได้ไหม ขึงสติให้ขึ้นมาในหัวใจได้ไหม ขึงสมาธิให้ขึ้นมาได้ไหม นี่ไง สิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นหัวใจ สิ่งที่มีชีวิต มันละเอียดอ่อนมาก แล้วทางทฤษฎีมันเป็นกฎตายตัวอย่างนั้น กับความละเอียดอ่อนในหัวใจ มันแตกต่างกันอย่างไร ถ้ามันแตกต่างกันนะ มันแตกต่างกันอย่างไร

สมาธิก็เป็นชื่อของมัน “ศีล สมาธิ ปัญญา” ศึกษาได้หมดเลย มรรคญาณต่างๆ วิธีการ รู้หมดเลย นี่ไง มันก็เหมือนกับไม้แบบ เหมือนกับเศษเหล็ก เหมือนกับเหล็กหินทรายปูนมันกองอยู่นั่น แล้วเราจะเอาขึ้นมาให้เป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าเป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมาแล้วนะ เป็นชั้นเป็นตอน บ้านมี ๔ ชั้น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี มันจะเริ่มต้นตั้งแต่ชั้น ๑ ชั้น ๒ ชั้น ๓ ขึ้นไปอย่างไร ถ้ามันเป็นบ้านขึ้นมา ปลูก ๔ ชั้นขึ้นมามันก็จบ นี่ทฤษฎี เข้าใจได้ พูดกันได้ แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติ มันจะเป็นอย่างนั้นไหม? ไม่เป็น ไม่เป็น ไม่เป็นเพราะว่าแบบของบ้านมันแตกต่างหลากหลาย เพราะการปลูกบ้านมันก็แตกต่างหลากหลาย นี่การปลูกบ้านเป็นการปลูกบ้านนะ แล้วการปลูกใจล่ะ

การปลูกใจ จิตมันจะเป็นสมาธิ จิตมันจะเป็นพื้นฐาน แค่หาวัตถุมานี่หามาอย่างไร แค่หาวัตถุนะ ในการก่อสร้างถ้ามีเงินสั่งได้หมด จะต้องการสิ่งใดได้ทั้งนั้น ถ้ามีสตางค์ ทำอะไรก็ทำได้ จ้างใครทำก็ได้ ศึกษาเอง ทำเองก็ได้ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติจริงๆ ขึ้นมา เวลาจิตเป็นสมาธิขึ้นมาจริง จริงได้ไหม? จริงไม่ได้ จริงไม่ได้เพราะอะไร จริงไม่ได้เพราะมันไม่เป็นตามความเป็นจริง

ถ้ามันเป็นความเป็นจริงนะ จิต ถ้าเราเริ่มมีความเชื่อมั่น ต้องมีความเชื่อมั่น แล้วตั้งสติของเรา แล้วใช้คำบริกรรม พุทโธๆๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ คือใช้สติไล่ความคิดของเราไป ความคิด จิตกินอารมณ์เป็นอาหาร ความคิดคืออารมณ์ ความทุกข์ความยาก ถ้ามันพอใจมันก็มีความสุขของมัน เวลามันไม่พอใจมันก็เป็นความทุกข์ของมัน แล้วสิ่งนี้มันก็ทำลายเรามาตลอดอยู่แล้ว แล้วเราเอาสติตามมันไป เอาสติตามมันไป

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ศีลคือความปกติของใจ ผลของมันนะ ผลของศีล ศีล ๕ คืออะไร ศีล ๕ ข้อห้าม ๕ ข้อนั้น หลวงปู่ฝั้นพูดชัดเจน “ศีล ๕ คือ ศีรษะ ๑ แขน ๒ ขา ๒” นี่ท่านพูดถึงร่างกายนะ แต่ศีล ๕ มันอยู่ที่ไหน ศีลคือความปกติของใจ แล้วใจมันอยู่ที่ไหน

ถ้าใจมีศีล จิตมันเป็นปกติของมัน ถ้าจิตเป็นปกติของมันแล้ว ปกติเฉยๆ ปกติโดยมีอารมณ์ ปกติมีความรู้สึก “ศีล สมาธิ” ถ้ามีศีลขึ้นมา มีขอบเขตขึ้นมา สมาธิเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้ามีสติขึ้นมา มีสติไล่ความคิดเข้าไป สิ่งที่ว่า อารมณ์ สัญญาอารมณ์ จิตกับความคิดมันเป็นสอง ความคิดเป็นอาหารของใจ อารมณ์ความรู้สึก สัญญาอารมณ์เป็นอาหารของใจ อาหารของจิต จิตมันต้องกินสัญญาอารมณ์เป็นอาหารตลอดเวลา แล้วมันก็กินแต่สารพิษ กินแต่ความทุกข์ยาก อยากปฏิบัติ อยากพ้นทุกข์ ความอยากนี้มันก็จูงความคิดไป กระเสือกกระสน ทุกข์ๆ ยากๆ ทุกข์ไปตลอดเลย แล้วตรงไหนมันจะเป็นความพอดี ตรงไหนมันจะเป็นสมาธิขึ้นมา

ความทุกข์ความยากมันเกิดจากตัณหาความทะยานยาก ความทุกข์ความยากมันเกิดนะ “ธรรมของพระพุทธเจ้านี้ โอ้โฮ! สุดยอดๆ” พอสุดยอดมันก็อยากได้อยากเป็น อยากได้อยากเป็นมันก็กระตุ้น ตัณหาซ้อนตัณหา มันก็เคลื่อนของมันไป ทั้งๆ ที่ความคิดมันเป็นอาหารของใจ แต่เราไปสร้างขึ้นมา มันก็ไปกินสิ่งต่างๆ มันก็กลับมาทุกข์ใจอีก นี่มันมีความพอดีตรงไหน

ในการก่อสร้าง ถ้าเขามีหินทรายปูนขึ้นมา เขาผสม เราเท มันก็จบ แล้วจิตมันเป็นไหม อ้าว! ศีล สมาธิ ปัญญา ก็รู้หมด อ้าว! ก็ผสมมันมาให้เป็นสิ ให้มันเป็นความจริงขึ้นมาสิ...มันไม่จริง เห็นไหม นี่ขนาดว่าสิ่งที่เป็นพื้นฐานมันยังมีของมันนะ ความผิด-ความถูกของเรา เราปฏิบัติขึ้นมา ความคิดของเรามันก็เป็นความทุกข์อยู่แล้ว แล้วก็ยังไปผูกมัด ไปผูกมัดกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ผูกมัดว่าเป็นอย่างนั้น เป็นสำเร็จรูป เป็นความคิด เป็นความจริงขึ้นมา...มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก

แม้แต่ความสงบของใจ สัมมาสมาธิ ถ้าใครทำความสงบของใจได้ ครูบาอาจารย์เราพูดบ่อย ถ้าใครทำความสงบของใจได้นี้พออยู่พอกิน มันมีความสุขนะ จิตที่มันกินสัญญาอารมณ์เป็นอาหาร แล้วจิตที่มันได้ธรรมะ คำบริกรรมพุทโธๆ จนมันอิ่มเต็มของมัน สมาธิคือจิตมันอิ่มเต็มของมัน มันไม่หิวโหย มันไม่กระหาย มันไม่กินเหยื่อ มันไม่กินเหยื่อเพราะอะไร

ดูสิ อย่างความคิด สัญญาอารมณ์ของเรา สังขาร ความปรุง ความแต่ง ความคิดทั้งหมด นี่มันทำให้จิตพร่อง เพราะอะไร มันกินเข้าไปแล้วมันพร่องใช่ไหม พุทโธๆ ถมให้มันเต็ม พุทโธๆๆๆ พอมันอิ่มเต็ม มันไม่พร่อง พอมันไม่พร่องของมัน ความคิด สัญญาอารมณ์ กับจิต พุทโธๆๆ จนมันเป็นหนึ่งเดียว นี่สิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว ถ้าเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ จิตมันเป็นสมาธิได้อย่างไร ถ้าเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ พระพุทธเจ้าจะไม่สอน “ศีล สมาธิ ปัญญา”

“ศีล สมาธิ ปัญญา” สมาธิคือความอิ่มของใจ คือใจมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน ความอิ่มของใจ คนที่มีความอิ่มเอิบในหัวใจ มันจะว่างๆ ว่างๆ...คนพูดอย่างนั้นคือคนพูดแบบขาดสตินะ คำว่า “ว่างๆ” มันเหมือนกับเรากินข้าวเสร็จแล้วก็ต้องไปถามว่าหนูอิ่มหรือยัง ผมอิ่มหรือยัง มันคนบ้าหรือ นี่มันคนบ้า แล้วว่างๆ ว่างๆ เหมือนคนบ้า

แต่ถ้าเป็นความจริง ไม่เป็นอย่างนั้น ความจริงมันมีสติของมัน มันรับรู้ของมัน แต่สิ่งนี้มันรักษาไว้ได้ยาก สิ่งต่างๆ สติเรายังตั้งได้ยากเลย ดูสิ แม้แต่หน้าที่การงานของเรา เรามีความชำนาญขนาดไหนมันยังพลั้งเผลอ มันยังมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา แล้วหัวใจเป็นนามธรรม แล้วสติของเรา สติ มหาสติ สติอัตโนมัติ สติที่มันจะไล่จิตเข้ามา มันจะไม่มีความผิดพลาดบ้างเลยหรือ ถ้ามีความผิดพลาด เราก็ต้องฝึกฝน มันต้องมีความขยันหมั่นเพียร มันต้องมีการกระทำ

เวลาเราทำหน้าที่การงานของโลก เราก็ทำหน้าที่การงานของเราเพื่อหาปัจจัยเครื่องอาศัย เราต้องลงทุนลงแรงขนาดนี้ แต่ขณะที่เราจะใช้สติปัญญา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่ารื้อภพรื้อชาติ ความที่ว่ารื้อภพรื้อชาติมันจะตั้งสติขนาดไหน

สติๆ ที่ใช้กันอยู่นี่ สติที่เขาพูดกันอยู่นี่มันเป็นสติทางโลกๆ เขา สติที่ว่ามีสติสัมปชัญญะต่างๆ มันก็เป็นเรื่องโลก มันสัมผัสได้ไง ฆราวาสธรรม ดูฆราวาสธรรมกับธรรมของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติที่เขาเห็นทุกข์สิ เวลาเขาทำของเขามันจะลึกซึ้งแตกต่างกันอย่างไร

สติ สมาธิมันก็ลึกซึ้งแตกต่างกัน ถ้าสติ สมาธิที่เรารับรู้ได้ มันเป็นสติ สมาธิของปุถุชน ปุถุชนคือคนมีสติ มีสมาธิโดยธรรมชาตินะ โดยธรรมชาติถ้าคนไม่มี มันขาดสติ มันเป็นคนบ้า เขาก็มีจิตกับหัวใจเหมือนกัน แต่เขาขาดสติจนบ้าไปเลย นั่นเพราะเขาไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ เรามีสมาธิของเรา เราควบคุมได้ สมาธิสั้น-สมาธิยาว เรามีของเรา เรามีของเรานะ แล้วเราศึกษาทฤษฎี เออ! นี่สติ นี่สมาธิ แล้วก็ปฏิบัติไป มันก็สร้างภาพ ว่างๆ ว่างๆ เพราะอะไร ความหยาบของจิตไง ความหยาบของมันไปผูกมัด เอาจิตนี้ไปผูกมัดกับทฤษฎี ผูกมัดกับสัญญาอารมณ์ให้เป็นตามข้อเท็จจริงอย่างนั้น มันเลยไม่เป็นข้อเท็จจริง

แต่ถ้ามันปล่อยมันวางไว้นะ สาธุ! ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามา เอกํ นาม กึ ไม่วางธรรมวินัยไว้แล้ว เราไม่ใช่ชาวพุทธหรอก เราไม่มีศาสดา พระพุทธศาสนาไม่เกิด นี่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาแล้ว แล้วเราเป็นสาวก-สาวกะ เราเป็นบริษัท ๔ เราอาศัยอยู่ในศาสนา เราไม่เชื่อ ไม่เคารพบูชาพระพุทธเจ้าได้อย่างไร

เราเคารพบูชาพระพุทธเจ้า แต่เคารพบูชาพระพุทธเจ้า การกระทำ ปริยัติ ปฏิบัติ การปฏิบัติมันต้องเป็นสัจจะความจริงขึ้นมาจากใจของเรา ถ้าสัจจะความจริงขึ้นมา สติก็ต้องเป็นสติของเรา สติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สาธุ! อยู่ในธรรมวินัย สาธุ! ถ้าสติของเรา เราพร้อมของเราขึ้นมา แล้วสติมันพร้อมขึ้นมา มันไล่ตามนะ

การประพฤติปฏิบัติให้อยู่โดยปกติ นั่งก็นั่งปกติ ทุกอย่างปกติ แล้วมันเกิดท่ามกลางปัจจุบันปกติ มันเป็นความจริง แล้วสติมันทันความคิดขึ้นมา ทันความคิดขึ้นมา ทันความคิดจนมันเป็นพลังงานที่มันอิ่มเต็มของมัน เห็นไหม มีความสุข มีความสุขนะ แล้วพยายามรักษา สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมา ที่ว่า “สรรพสิ่งทั้งหลาย สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สรรพสิ่งนี้เป็นอนิจจัง”...มันเป็นอนิจจัง เพราะถ้ามีขึ้นมา มันเป็นอนิจจังของมัน มันยังไม่เป็นอนัตตาหรอก

ถ้าเป็นอนัตตาของมัน มันมีจิตเข้าไป กระบวนการของมัน มันจะก้าวเดินต่อไป กระบวนการของพื้นฐาน บันไดเป็นบันได บ้านเป็นบ้าน สิ่งต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมา สรรพสิ่งนี้เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์...เป็นทุกข์ไหมล่ะ เวลาเป็นสมาธิแล้วสมาธิเสื่อมไปเป็นทุกข์ไหมล่ะ เพราะสมาธิเป็นอนิจจัง เราสร้างขึ้นมาได้ จิตเรามีความสงบมาก มีความสุขมาก อยากได้รสชาติอย่างนี้อีก พยายามขวนขวาย พยายามวิ่งเต้นแสวงหาขนาดไหนมันก็ไม่ได้

“สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” เป็นอนัตตาอย่างนี้เรายังไม่เห็นอะไรเลย สิ่งนี้เป็นอนัตตา เพราะทุกข์มันก็แปรสภาพ มันก็เป็นอนัตตา นี่เป็นอนัตตา เป็นอนัตตาแล้วได้อะไร

ถ้ามันเป็นอนัตตานะ จิตมันสงบ จิตเราต้องสงบให้ได้ พอจิตสงบนะ มันมีพื้นฐานของมัน ถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นสัจธรรม เห็นไหม ดูสิ เวลาจิตสงบแล้วธรรมเกิด สิ่งที่มันผุดขึ้น สิ่งมันรับรู้ขึ้นมาคือธรรมเกิด ธรรมอย่างนี้มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน บางคนไม่มีเลยนะ เป็นสมาธิก็เป็นสมาธิเฉยๆ แต่บางคนมันคึกคะนอง มันไม่ใช่ธรรมเกิด มันด้วยอำนาจของใจ เวลาจิตมันเริ่มสงบ มันรับรู้สิ่งต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ธรรมเกิด

ถ้าธรรมเกิด จิตมันต้องนิ่ง พอจิตมันนิ่ง ธรรมมันเกิด คือบุญอำนาจวาสนาของคนมันจะผุดขึ้นมา มันสอนนะ ดูสิ เวลาหลวงตาท่านพูด เวลาจิตของท่านว่างหมด “จิตนี้ทำไมมันสว่างไสวขนาดนั้น” ท่านพูดเองว่าธรรมะมาเตือน ธรรมมันเตือน ธรรมผุดขึ้นมาเตือนเลยนะ “จิตที่มันสุข มันสว่างขนาดไหน มันเกิดจากจุดและต่อมนะ”

หลวงตาท่านพูดเลย ท่านบอกว่าธรรมะกลัวท่านหลงทาง ธรรมะจะมาเตือน เตือนเฉยๆ นั่นน่ะเตือน พอเตือนเสร็จ ท่านบอกว่า ขนาดธรรมะมาเตือนแล้วก็ยังจับไม่ได้ ยังจับไม่ถูก ยังแสวงหา ยังหมุนอยู่ เพราะหลวงปู่มั่นท่านนิพพานไปแล้ว ท่านบอกถ้าหลวงปู่มั่นอยู่นะ ท่านไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นชี้โพละเดียวเท่านั้น ท่านจะย้อนกลับมา ทวนกระแสกลับมาในใจเลย

แต่นี่หลวงปู่มั่นไม่อยู่ พอหลวงปู่มั่นไม่อยู่ ธรรมะก็เตือนแล้ว ธรรมะก็เทศน์ให้ฟังแล้ว ธรรมะขึ้นมาแล้ว เพราะท่านก็มีบุญกุศลมาเหมือนกัน ธรรมะมาเตือนนะ เพราะเห็นใจของตัวเอง มัน โอ้โฮ! มหัศจรรย์ มองไป ภูเขาทะลุหมดเลย ว่างหมดเลย โลกนี้ว่างหมด ทำไมมันมหัศจรรย์ขนาดนั้น

ท่านพูดเอง ท่านเล่าประจำ ธรรมะมาเตือน ธรรมผุด ธรรมะมาเตือนเลย เพราะธรรมะกลัวเราจะผิดพลาด “ความสว่างไสวนี้เกิดจากจุดและต่อม” ฐีติจิต อวิชชา จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยกิเลส อวิชชา ความผ่องใส ความสว่างไสวขนาดไหน อวิชชาทั้งนั้นน่ะ แล้วก็เพลิดเพลินไปกับมัน นี่ธรรมะมาเตือน ธรรมผุด นี่ธรรมะที่มันเกิดจากใจ

แต่ถ้าจิตเราสงบ ธรรมะอย่างนี้ มันฟังธรรมๆ ธรรมจะมาเตือนเรา ถ้าเตือนแล้ว ธรรมเตือนเฉยๆ เราไม่ได้ก่อร่างสร้างตัว เราไม่ได้มีสติสัมปชัญญะ จิตมันไม่ได้ค้นคว้า ถ้าเราทำให้ชำนาญในวสี ให้จิตมันมีความสุขของมัน จิตจะมีความสุข สุขอันนี้มันเป็นอนิจจัง สุขอันนี้ไม่มั่นคงหรอก

เพราะเราเป็นชาวพุทธ ใครทำสมาธิได้นะ แล้วพอจิตสัมผัสกับสมาธินะ แหม! สุขมากๆ จนเชื่อมั่น จนศรัทธาในพระพุทธศาสนา เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันมีตุ๊กตาขึ้นมาแล้ว พอมีตุ๊กตาขึ้นมา พอจิตได้สัมผัส จิตได้รับรู้ มันคุยกันได้แล้ว มันคุยกันได้ ผู้ที่ปฏิบัติขึ้นมาพูดคำเดียว “อืม! เหมือนกันเลย เหมือนกันเลย”

แต่ถ้ายังไม่ได้ “ว่างๆ ว่างๆ”...จิตไม่ได้สัมผัสไง มันไม่ได้สัมผัส เราจะบอกว่ามันเป็นปริยัติในภาคปฏิบัติ คือปฏิบัติอยู่ แต่ยังพูดปริยัติอยู่ ยังพูดโลกียปัญญา คือปัญญาของโลกอยู่ โดยสามัญสำนึกของโลกๆ ใจดวงหนึ่งยังเข้าไม่ถึงใจอีกดวงหนึ่ง แต่ถ้ามันมีพื้นฐานขึ้นมานะ มันสัมผัสแล้วนะ จากใจดวงหนึ่งเข้าสู่ใจอีกดวงหนึ่งได้เลย เพราะมันอันเดียวกัน

ถ้าจิตมันสงบแล้วนะ รักษาให้ดีนะ...ไอ้ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ “รักษาอะไร นี่นิพพานนะ นี่ว่างหมดนะ แล้วรักษาอะไร”

แต่ครูบาอาจารย์ท่านจะบอกว่า “เออ! นิพพาน เดี๋ยวเอ็งจะหายเกลี้ยงเลย นิพพานของเอ็งเดี๋ยวมันจะเสื่อมหมดเลย”

ถ้าเชื่อ ถ้ารักษา มันจะดีขึ้น ถ้าไม่เชื่อ ไม่เชื่อเพราะอะไร เพราะมั่นใจ นี่ความมั่นใจตัวเองมันมี พอมันสัมผัสของมัน แล้วมันก็เสื่อม มันต้องเสื่อมเป็นธรรมดา พอมันเสื่อมไปแล้วก็ต้องขวนขวายใหม่ ตั้งต้นใหม่ พยายามขวนขวายใหม่ นี่ชำนาญในวสี ผู้ที่ทำงานไม่เคยผิดพลาดเลยไม่มี คนทำงานจะมีความผิดพลาดมาตลอดแนวทางเลย มากมายมหาศาล ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถูกต้องไปเลยเป็นไปไม่ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๖ ปี พิจารณาอยู่ ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ หัวหกก้นขวิดอยู่ ๖ ปี สุดท้ายทิ้งหมดเลย เพราะอะไร เพราะธรรมะมันไม่มีใช่ไหม ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม นั่นธรรมอะไร? นั่นก็เป็นลัทธิความเชื่อเฉยๆ แล้วทิ้งลัทธิความเชื่อหมดเลย กลับมาระลึกถึงโคนต้นหว้าเลย ต้องอานาปานสติ

นี่เขาบอกว่า “ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔”...ฌานก็ทิ้ง ไม่เอา พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเรื่องฌาน แต่ในเมื่อโลกเขามีเรื่องฌานใช่ไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปปฏิบัติกับอาฬารดาบส มันมีอยู่แล้ว เรื่องฌานมันมีอยู่แล้ว ไอ้อย่างนั้นมันทำให้จิตส่งออก ทำให้จิตมันมีกำลังของมัน เห็นไหม ทิ้งหมดเลย กลับมาอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นี่พระพุทธเจ้ามาค้นคว้าจนตรัสรู้ขึ้นมาเองโดยชอบ

พอตรัสรู้เองโดยชอบ พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ จักรมันหมุน หมุนที่ไหน? หมุนที่ตรัสรู้เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ความจริงมันมีในหัวใจแล้วใช่ไหม สิ่งที่เป็นความจริงที่มีอยู่แล้วก็เอาออกมาประกาศเป็นสัจธรรม เราก็ไปติดที่ไอ้ประกาศออกมา แต่หัวใจเราก็ทิ้งไปด้วยเลย ไปผูกมัดไว้เลย

สาธุ! วางไว้ แล้วกลับมาที่นี่ กลับมาในใจของเรา ทำใจของเราให้ชำนาญในวสีนะ ถ้าจิตมันสงบ ชำนาญในวสีแล้วดูแลจิตของเรา นี่ดูแล เราบอก ดูใจ รักษาใจ เขาก็บอกว่า “ดูจิต” อีกแล้ว

คำว่า “ดู” มันดูแลรักษาได้มหาศาลทั้งนั้นน่ะ มันไม่ใช่แค่ดูไว้เฉยๆ ถ้าดูไว้เฉยๆ นะ กล้องวงจรปิดมันดีกว่าเราอีก มันติดตั้งไว้ มันดูทั้งวันเลย วิทยาศาสตร์เดี๋ยวนี้พิสูจน์ได้หมดแล้ว สิ่งที่เราไปคาดคิดกัน แล้วมันได้ผลประโยชน์กับใคร? ผลประโยชน์มันทุกข์ของเรานะ ถ้าทุกข์ของเรา เราดูแลมัน ดูแลรักษามัน ชำนาญในวสี อย่าให้มันเสื่อมอีก เพราะมันเสื่อมมันถึงได้ทุกข์อยู่นี่ไง

ทำยาก ไม่ได้ทำง่ายๆ หรอก ถ้าทำขึ้นมาง่ายๆ พอจิตมันสงบแล้วตั้งมั่น แล้วมันออกไปพิจารณากาย เห็นกายต่างๆ เห็นก็ยังหลุดไม้หลุดมือ ปฏิบัติใหม่นี้ยากมาก แต่พอปฏิบัติเริ่มต้นมีพื้นมีฐานนะ แล้วจิตมันออกไปรับรู้ มันทำของมันได้ คนทำงานเป็น หรือทำงานมีหลักมีเกณฑ์ มันจะเริ่มเจริญก้าวหน้าของมันไป ถ้าเริ่มเจริญก้าวหน้าของมันไป ถ้าจิตมันออกเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมนะ นี่ธรรมะมันมีบวก มีลบ มีคูณ มีหาร มันยังไปอีกไกลแสนไกลเลย เห็นไหม

แม้แต่พื้นฐานเราต้องรักษา เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิต เหมือนต้นไม้ เหมือนสัตว์เลี้ยง มันมีชีวิต ต้องมีอาหารของมัน ต้องดูแลมัน เจ็บไข้ได้ป่วยต้องดูแลมัน สัตว์ตัวนั้นมันจะได้อยู่เป็นเพื่อนเรา ต้นไม้ เราดูแลรักษามัน ต้นไม้มันจะเจริญเติบโตของมัน

ศีล สมาธิ ปัญญาในหัวใจมันก็เป็นสิ่งที่มีชีวิต เพราะจิตมันมีชีวิตอยู่แล้ว จิตของเรามันธรรมชาติ ธาตุรู้มันธาตุอะไร สันตติ ธาตุรู้ ผู้รู้นามธรรมอันนี้ สสารที่มีชีวิตมันมหัศจรรย์มาก มันเป็นความมหัศจรรย์ของมัน ถ้าเราดูแลรักษาขึ้นมา สติ สมาธิ ปัญญา มันออกรู้ ออกวิปัสสนา นี่ธรรมะส่วนบุคคล

มรรคญาณ ที่ว่ามรรคญาณๆ...ยานอวกาศมันก็มีนะ ยานอวกาศมันออกไปนอกโลก มันหาสวรรค์ไม่เจอนะ สวรรค์ในอก นรกในใจ ย้อนกลับมาที่นี่ มึงจะเจอนะ พอมันเจอขึ้นมา มันย้อนมา นี่รักษาใจของเราให้ดี รักษาไปเรื่อยๆ ทำให้มันเข้มแข็งขึ้นมา แล้วพอจิตมันสงบ มันออกไปรับรู้ หลุดไม้หลุดมือบ้าง แล้วพอออกไปดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรม นี่ธรรมะบวก ธรรมะบวกแล้ว มันจะมีบวกของมัน

บวก เห็นไหม เริ่มต้นพื้นฐาน เราทำความสงบของใจ เราแค่หาโลกกับธรรมมาบวก กิเลสกับธรรมมาต่อสู้คัดค้านกัน มันมีการบวก เห็นไหม เริ่มบวก สองบวกสองเป็นสี่ สี่บวกสี่เป็นแปด แต่ว่าหนึ่งบวกสามล่ะ แล้วห้าบวกหนึ่งล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน จริตนิสัยของคนล่ะ การเห็นภาพกายของเราชัดเจนหรือไม่ชัดเจนล่ะ การเห็นกาย บางคนเห็นทั้งโครงสร้างเลยล่ะ บางคนเห็นเฉพาะส่วน การเห็นต่างๆ มันก็หลากหลาย คนคนเดียวกัน การพิจารณาแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกัน พิจารณาไปแล้ว จิตเห็นกาย พอจิตเห็นกาย เหมือนเห็นนิมิตไหม เห็นสิ่งต่างๆ ความเห็นอย่างนี้ แต่เวลาที่เขาพูดกันโดยทางวิชาการ “เห็นกาย รู้กาย” อันนั้นมันสร้างภาพทั้งนั้นน่ะ มันเป็นสัญชาตญาณ เรานึกภาพได้ทั้งนั้นน่ะ ใครก็นึกได้

นึกภาพ เห็นไหม ดูสิ กาย จิตกับความคิด จิตมันเป็นตัวอวิชชา ตัวปฏิสนธิจิต แล้วความคิดมันเกิดจากจิต แล้วเวลานึกภาพขึ้นมา จิตมันก็ไปนึกภาพขึ้นมา จิตมันไม่มีกำลัง แล้วมันนึกภาพขึ้นมา แล้วเราศึกษาทางวิชาการมา มันก็เป็นการบวกปลอมๆ เป็นการบวกโดยเครื่องคิดเลข กดไปสิ กดเข้าไป เครื่องคิดเลขมันก็ออกมาหมดล่ะ มันไปบวกในเครื่องคิดเลข เครื่องคิดเลขมันบวกเท่าไร มันชำนาญกว่าเราใช่ไหม

แต่ถ้ามันบวกในใจเราล่ะ มันไม่ได้บวกในเครื่องคิดเลข เพราะเครื่องคิดเลขบวกจบแล้ว คำตอบอยู่ในเครื่องคิดเลขนั้น แต่การบวกการวิปัสสนาของเรา มันพิจารณาในหัวใจ หัวใจเป็นผู้รับรู้ หัวใจเป็นผู้เห็น เวลาพิจารณาของเราไป สิ่งที่จิต ถ้าเราสร้างภาพ นี่จิตกับความคิด แต่ถ้าเราพุทโธๆ จนจิตมันเป็นตัวจิต ตัวจิตมันเป็นสัมมาสมาธิ พอเป็นสัมมาสมาธิ มันตั้งมั่นของมัน มันมีกำลังของมัน

แต่ถ้าพูดถึงนะ มันไปดูจิต แล้วจิตมันปล่อย มันไปดูความคิดแล้วความคิดปล่อยวาง นามรูปๆ คือดูที่ความคิดทั้งนั้นน่ะ แล้วเวลาว่างขึ้นมาแล้วใจอยู่ไหน ผู้รับรู้อยู่ไหน...มันก็เครื่องคิดเลขไง ใจเราก็อยู่ในเครื่องคิดเลข เครื่องคิดเลขมันมีตัวเลขหมดเลย แล้วตัวเองได้อะไร ตัวเองได้อะไร

แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เรากำหนดพุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิ จิตมันตั้งมั่น จิตมันตั้งมั่นแล้วมันออกรู้ พอมันออกรู้ การบวกของมัน การบวกนี้โดยธรรม เห็นไหม นี่ไง กายเห็นโดยสามัญสำนึก ความเห็นด้วยการสร้างภาพ มันเป็นเรื่องโลกๆ แต่เห็นโดยจิต เพราะอะไร เพราะปฏิสนธิจิตมันเกิดมันตาย มันรับรู้ข้อมูล มันมีเหตุมีผลของมัน มันมีบาปมีกรรมของมัน ถ้าบาปกรรมอันนี้มันออกรู้ มันกระเทือนบาปกรรม

นี่ไง ระหว่างการบวก เลขบวก ระหว่างต้นทุน ระหว่างอำนาจวาสนา ระหว่างการกระทำ ตัวเลขการบวกมันถึงไม่เท่ากัน การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ในการชำระกิเลสมันถึงไม่เหมือนกัน มันไม่เหมือนกัน บวกแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน กำลังของสติมีมาก กำลังของสมาธิมีมาก พิจารณากายไป เห็นกาย ภาพกาย กายใส ใสอยู่อย่างนั้น พิจารณาให้มันแปรสภาพ มันไม่แปร มันไม่แปรเพราะอะไร มันไม่แปรเพราะสมาธิมันแข็ง สมาธิมันมีกำลัง พอสมาธิมีกำลัง มันพิจารณา ใสไปหมดเลย นี่ไง มรรคไม่สามัคคี มรรค ๘ ไม่สมดุล ถ้ามรรค ๘ ไม่สมดุลต้องใช้ปัญญามากๆ

พอปัญญามากๆ กำลังของสมาธิมันใช้ออกไป กำลังสมาธิออกไป ปัญญามันออกไป พอใช้ปัญญาไป ปัญญามันเกิดมาจากใคร? มันเกิดมาจากสมาธิ พอสมาธิมันใช้ปัญญามากเข้าๆ ความสมดุลมันเกิด พอความสมดุลมันเกิดปั๊บ พิจารณากายให้กายแปรสภาพ ให้กายแปรเป็นต่างๆ ไป ให้เน่าให้เปื่อย ให้พุพองไป มันเป็น พับๆๆ เลย

การบวกระหว่างธรรมะที่กำลังต่อสู้กับกิเลสมันได้ผลของมัน มันมีผลตอบสนองว่า บวกออกมา หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง พอบวกถูกต้อง บวกเป็นสอง พับ! มันก็ปล่อย พับๆๆ นี่ความปล่อยของมัน พอปล่อยก็ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พยายามกระทำ ทำบ่อยครั้งเข้า การกระทำมันมีพื้นฐาน

มันไม่ใช่งานก่อสร้าง งานก่อสร้างผูกเหล็กเทปูนแล้วมันก็แข็งทื่ออยู่นั่นล่ะ มันจะคงที่ของมัน แต่ในการวิปัสสนาของเรามันเป็นนามธรรม มันเป็นงานของใจ จิตตภาวนา มันเป็นงานของใจ มันเป็นนามธรรมทั้งหมด มันเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งหมด มันเกิดขึ้นจากการกอบกู้ของเรา การกระทำของเรา กู้หัวใจ กู้ธรรมะ กู้ขึ้นมาเพื่อสู้กับตัวตนของเรา แล้วมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปรสภาพ มันเป็นนามธรรม มันจะทำอย่างไรที่จะให้มันชำนาญในวสี ให้มันขับเคลื่อนของมันไป ให้มันต่อสู้ของมันไป จิตมันมีของมันนะ นี่ธรรมมีบวก บวกแล้วบวกเล่า บวกจนมันมีความชำนาญของมัน

ถ้ามีความชำนาญของมัน พิจารณากายไป พิจารณากายไปบ่อยครั้งเข้า กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ปล่อย บวกแล้วบวกเล่าๆ ผลตอบความชำนาญของจิตมันยังไม่สมดุลพอ พอความสมดุลไม่พอ มันยังมีอาการของมัน เพราะมันไม่ถอดถอนอุปาทาน ถึงที่สุดแล้วมันถอดถอนนะ

เวลามันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า การที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าสำคัญมาก เพราะพวกเรา คนไม่เคยเห็นไม่เคยเจอ สามล้อถูกหวย ไม่เคยได้มรรคได้ผล ไม่เคยได้ความสุขขนาดนั้น พอได้ความสุขขนาดนั้น พอพิจารณาหนเดียวนะ “แหม! บรรลุธรรม บรรลุธรรม”...บรรลุกิเลส มันยังไม่บรรลุธรรม

ถ้ามันบรรลุธรรม มันต้องถอนชัดเจนมาก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า กิเลสขาดดั่งแขนขาดเลย แขนขาดเลย สังโยชน์ขาดเลย สักกายทิฏฐิความเห็นผิดของกาย เพราะในสามัญสำนึกของจิต ทุกคนเกิดมา สรรพสิ่งต้องเป็นเรา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดอยู่ปากเปียกปากแฉะเลย “ไม่ใช่เรา กายกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน” ปากเปียกปากแฉะ แต่ใจมันไม่ยอมรับ จิตใต้สำนึกมันค้าน ความรู้สึกผูกพันในใจมันมี มันไม่มีมรรคญาณเข้าไปถอดไปถอน มันเป็นไปไม่ได้เลย มันต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนถึงที่สุด ถ้ามันถอดมันถอนนะ

คำว่า “ถอดถอน” ดูสิ เสี้ยนตำหนามตำอยู่ในเท้า เวลาบ่งมันออก เห็นเสี้ยนออกมา มันโล่งอกไหม นี่เสี้ยนตำเท้านะ แล้วอวิชชามันตำอยู่คาหัวใจ ถ้าถอดถอนออกมามันจะมีความรู้สึกอย่างใด มันขาดอย่างใด มันเป็นอย่างใด นี่เวลาผลตอบสนอง เวลามันขาดนะ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ปล่อยหมดเลยๆ นี่ธรรมะบวก พอธรรมะบวกแล้วพิจารณาต่อไป มันต้องมีการกระทำต่อไป เพราะมรรค ๔ ผล ๔ นะ

พูดถึงเรามีพื้นฐาน พื้นฐานของเรา เราต้องหามาด้วยความมุมานะ ความวิริยอุตสาหะของเรา พื้นฐานที่เป็นของกรรมฐาน การทำงานของจิต จิตมันมีที่ทำงานของมัน มันมีภวาสวะมีภพขึ้นมา แล้วงานเกิดขึ้น กับการกระทำของเราเป็นวิปัสสนา แล้วผลตอบสนองมาที่ภพ มาที่ใจ แล้วพอพิจารณาไป มันมีเหตุมีผล มีความสุขของมันนะ มันมรรคสามัคคี เวลามันจะรวมนะ มรรค ๘ มันรวมเข้ามา แล้วมันใช้การฝึกฝน มันใช้การประพฤติปฏิบัติในการชำนาญของเรา เวลามันรวมเข้ามา แล้วมันทำลายตัวมันเอง ทำลายกิเลสขาดออกไป กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วจิตรวมลง โอ้โฮ! นี่ดั่งแขนขาด มันรู้ของมัน รู้อยู่เต็มหัวอกเลย

แล้วความเต็มหัวอก ในความรู้สึกของเรา จากที่เราเป็นปุถุชน เราเป็นคนหนาด้วยกิเลส ที่ว่าเราศึกษาขึ้นมา เราคิดว่ามันจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ พอมันเป็นจริงขึ้นมาแล้วมันจะไปพูดกับใคร ไม่มีใครเข้าใจเรา เว้นไว้แต่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ พอไปอ้าปากนะ ครูบาอาจารย์ท่านจะบอก “เออ!” เพราะอะไร เพราะครูบาอาจารย์ท่านจะเป็นครูบาอาจารย์ของเรา ท่านต้องมีประสบการณ์ของท่าน ถ้าท่านไม่มีประสบการณ์ของท่าน ท่านจะเอาอะไรมาสอนเรา ตำราก็สาธุ! ตำราก็คือตำรา ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมานะ มันมีหลักของมัน แล้วพิจารณาไป ถ้าเรามีหลักของเรา เราจะทำต่อไป เห็นไหม

เวลาเราทำจิตสงบอีก เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เป็นสัมมาสมาธิในโสดาบัน กับสิ่งที่เป็นสมาธิในสกิทาคามีมันแตกต่างกัน มันแตกต่างกัน ความลึกซึ้งระหว่างมรรคหยาบ-มรรคละเอียด ดูสิ เวลาพูดกับฆราวาส มรรคของฆราวาส การทำมาหากิน ถ้ามรรคของนักบวชมันเป็นการทำงานในหัวใจ พอทำงานในหัวใจ มรรค โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค นี่มรรคหยาบ-มรรคละเอียด

เวลามรรคหยาบ-มรรคละเอียดนะ มรรคก็คือมรรค มรรค ๘ ก็คือมรรค ๘ สัมมาทิฏฐิก็คือสัมมาทิฏฐิ แล้วสัมมาทิฏฐิมันแตกต่างกับสัมมาทิฏฐิอย่างไร มรรค ๘ กับมรรค ๘ มันต่างกันตรงไหนล่ะ

“อ้าว! อย่าพูดวกวนสิ ซ้ำๆ ซากๆ มรรคแล้วมรรคอีกอยู่นั่นน่ะ”

นี่มรรคของบวก แต่ถ้าเป็นสกิทาคามิมรรคเป็นมรรคของลบ เห็นไหม บวก ลบ คูณ หาร มีความหลากหลายแตกต่างกันทั้งนั้น ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ใครแสดงธรรมขึ้นมา แสดงธรรมขั้นไหนฟังออกหมด

ถ้าพูดถึงโลกียปัญญา มรรคขนาดไหนมันก็สัมมาสมาธิ จะพูดมรรคขนาดไหนนะ พื้นฐานของมัน มันก็เข้ามาสงบเท่านั้นล่ะ มันไปไหนไม่รอดหรอก ผลของการประพฤติปฏิบัติทั้งหมด มันเป็นสมถะทั้งหมด เพราะจิตมันไม่สงบ จิตมันไม่ออกวิปัสสนา จิตมันไม่มีงานทำหรอก มันบวก ลบ คูณ หารไม่เป็น มันไปบวก ลบ คูณ หารในเครื่องคิดเลข ในเครื่องคิดสตางค์ก็จ่ายสตางค์อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก มันเป็นเรื่องของโลกๆ มันเป็นความเป็นอยู่ของโลก

แต่ความเป็นอยู่ของธรรม เวลามันพิจารณาเข้าไป จิตมันสงบเข้าไปแล้วออกรู้นะ ออกไป เพราะว่าจิตเริ่มสงบเข้ามา นี่ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด เริ่มต้นจากการพิจารณากายเข้าไป ระหว่างกายหยาบ กายในกาย มันจะสืบต่อกันไปได้ พอจิตสงบแล้วน้อมใจไปให้เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถ้ามันเห็นของมัน มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน อยู่ที่ความถนัดของคน อยู่ที่กิเลสของคน กิเลสของคนมันติดในสิ่งใด

ครูบาอาจารย์ท่านพิจารณากายๆๆ ท่านก็เป็นพระอรหันต์ของท่านไปได้ บางองค์ท่านพิจารณาจิตอย่างเดียว ท่านก็เป็นพระอรหันต์ได้ บางองค์ท่านพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิตแต่ละขั้นตอน แต่ละขั้นตอนของมรรคอย่างหยาบ มรรคอย่างกลาง มรรคอย่างละเอียดต่างๆ มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน อยู่ที่จิตที่มันสร้างอำนาจวาสนามา มันจะออก เห็นไหม อย่างเช่นหนามตำที่ไหน ถ้าเราไปบ่งหนามที่นั่น หนามมันก็จะออกมา หนามตำที่เท้า เราไปบ่งที่อื่นมันก็ไม่ออกใช่ไหม

จิตก็เหมือนกัน สิ่งใดที่มันฝังหัวใจ กรรมที่มันฝังหัวใจ สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันฝังใจ ฝังใจด้วยสิ่งใด ฝังใจด้วยเชื้อสิ่งใด ต้องแก้กันด้วยธรรมประเภทนั้น ธรรมประเภทนั้นจะเข้าไปทำลายกิเลสประเภทนั้นในหัวใจของใจดวงนั้น ถ้ากิเลสในดวงใจดวงนั้นมันเป็นประเภทหนึ่ง เราทำสิ่งที่ไม่ตรงกับเชื้อโรคนั้น มันก็ทำให้เราเก้อๆ เขินๆ ทำให้เราเข้าไปชำระสิ่งนั้นไม่ได้

ฉะนั้น เวลาจิตมันภาวนาเข้าไป ถ้าจิตมันสงบแล้วออกรู้ ออกกาย ออกเวทนา ออกจิต ออกธรรม แล้วลบมัน ไม่ใช่บวก เพราะบวกมันเป็นมรรคของโสดาปัตติมรรค ลบมันเป็นสกิทาคามิมรรค ลบมันๆ ลบมันเท่าไร ลบออกไป มันคนละมรรค มันไม่เหมือนกัน นี่พิจารณาของมันไป มันจะคืนสู่สภาพของมัน ถ้าคืนสู่สภาพของมัน ลบๆๆ ลบไปบ่อยครั้งเข้า

เพราะเราเคยบวก บวกขึ้นมาแล้วมันได้ผล ถ้าเรามาลบล่ะ ลบแล้วเราจะไปบวก...อ้าว! บวกก็ผิด แล้วถ้าลบล่ะ ลบแล้วมันจะได้ค่าเป็นอย่างไร สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหามันจะได้ค่าอย่างไร ความลบ เห็นไหม สองลบด้วยหนึ่งเหลือหนึ่ง สองลบด้วยสอง หมดเลย เหลือศูนย์ จิตที่มันพิจารณาของมัน มันจะปล่อยอย่างไร มันปล่อยของมันอย่างไร มันคลายตัวของมันอย่างไร สิ่งที่มันเหลืออยู่ในจิต สิ่งที่อุปถัมภ์ในหัวใจมันจะออกไปจากใจได้อย่างไร

การกระทำของจิต จิตถ้ามันกระทำบ่อยครั้งเข้า มันจะโดนกิเลสหลอกนะ มันจะพาระหกระเหินไปเลยล่ะ พาระหกระเหินเพราะอะไร เพราะเราเคยทำ เห็นไหม บวกกับลบแตกต่างกัน เราเคยทำบวกมา แล้วพอจะมาลบมันลบไม่ได้ ลบแล้วมันก็ติด เห็นไหม คำว่า “กิเลส” มันมีเล่ห์เหลี่ยมมหาศาล มันก็บอกว่า “นี่ได้บวกแล้วไง ก็บวกอีกสิ พอบวกแล้วมันก็เป็นธรรมะ”...มันก็เสียเวลา

การงานของใจนะ ใจถ้ามันทำงานของมัน แล้วมันออกใช้ปัญญาของมัน มันทำงานของมัน มันก็ด้อยค่าไป พอสมาธิมันอ่อนไป มันก็เป็นการใช้ปัญญาโดยสัญญา เป็นการใช้ปัญญาโดยสามัญสำนึก พอใช้ปัญญาโดยสามัญสำนึกมันก็ทุกข์มันก็ยากนะ การใช้ปัญญา ดูสิ เราบริหารจัดการสิ่งใด เราต้องใช้ความคิดไหม แล้วเราใช้ความคิดของเรา เราคิดขึ้นมาในหัวใจ แล้วพยายามเข้าไปต่อสู้กับมัน มันเป็นความคิดไหม มันเหนื่อยยากไหม พอมันเหนื่อยยากเดี๋ยวก็เสื่อม ก็ต้องกลับมาทำสัมมาสมาธิ กลับมาทำความสงบของใจ แล้วต่อสู้กับมันไป ต่อสู้กับมันไปด้วยการลบ พอลบเข้าไปมันจะเห็นค่าเรื่อยๆ...ลบ! อืม!

เพราะถ้าทำความสงบของใจ จิตมันสงบเฉยๆ ความสงบของใจนี้เรามาพัก เวลาเราเหนื่อยยากนัก เราก็มาพักผ่อนเพื่อให้เรามีสติปัญญา ถ้ามีดของเรา อาวุธของเราใช้มันบ่อยครั้งเข้า ความคมกล้ามันก็น้อยลง เราต้องกลับมาลับ กลับมาพักมาผ่อน กลับมาทำความสงบของใจ พอมันสดชื่น ลับมีดจนคมแล้ว เรากลับไปสู้มันใหม่

ลบมัน ลบมันไปเรื่อย ลบจนถึงที่สุดนะ มันขาด กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ราบแล้วมันเหลืออะไร เห็นไหม กามราคะ-ปฏิฆะมันอ่อนลงนะ ด้วยการลบๆๆ กามราคะ-ปฏิฆะมันอ่อนลงเฉยๆ นี่อ่อนลง เห็นไหม พระสกิทาคามีก็ละสังโยชน์ได้ ๓ ตัว กามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลงเท่านั้น พออ่อนลง ถ้าไม่มีครูมีอาจารย์นะ แล้วเราติดของเรา ด้วยความรู้สึก ด้วยความคิดของเราว่า “ขณะจิตมีหนึ่งเดียว ขณะจิตมีหนึ่งเดียว” พอมันเป็นแล้วนี่ติดนะ ติดของมันได้ การติด เห็นไหม ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไม่ใช่ว่ามันปฏิบัติไปแล้วมันจะทะลุปรุโปร่ง จะไปได้ถึงปลายทาง เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ มันมีกิเลส

กิเลสนะ ดูสิ ดูอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นไป พญามารคอตกเลยนะ นางตัณหา นางอรดีไปถาม “พ่อเสียใจอะไร”

“พระพุทธเจ้าพ้นจากมือเราไปแล้ว”

“ไม่ต้อง เดี๋ยวจะไปล่อมาให้” ไปฟ้อนรำๆ

นี่มันมีพ่อมีลูก โสดาบันนี่เหลนของมัน สกิทาคามีนี่หลานของมัน อนาคามีนี่พ่อแม่มัน ตัวปู่ของมัน อวิชชายังอยู่ข้างหน้า เห็นไหม มีบวก มีลบ มีคูณ มีหาร มันแตกต่างทั้งนั้นน่ะ ความแตกต่างของการเดินอริยมรรค ความแตกต่างของการประพฤติปฏิบัติ นี่มันแตกต่าง ถ้าคนไม่ประพฤติปฏิบัติ ไม่เห็นความแตกต่าง ไม่รู้จักความแตกต่างว่ามรรคหยาบ-มรรคละเอียดมันแตกต่างกันอย่างไร นี่ขนาดเป็นมรรคหยาบ-มรรคละเอียดในอริยมรรคนะ

แต่ถ้าในการประพฤติปฏิบัติของเรา มรรคหยาบ-มรรคละเอียด มันก็เป็นความคิดของเรา ความเห็นของเรา มันไม่ใช่มรรคด้วย แต่เราจะสวม เราจะบังคับให้เป็นมรรค เพราะเรามีทฤษฎี เรามีความรู้ เราได้ศึกษามาหมดแล้ว ทำไมจะไม่รู้ มรรคก็คือมรรคไง มรรคประกอบด้วยอะไร อ้าว! ก็ก่อสร้างไง มันก็มีเหล็กหินทรายปูน ทำอย่างไรก็ได้ ทำอย่างไรก็ได้แล้วมันมีชีวิตไหม มันเป็นความจริงไหม หินทรายปูนมันเป็นวัตถุ มันทำไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

แต่เวลาเทศน์ธรรมะก็อ้างวัตถุนี่แหละ อ้างวัตถุเป็นบุคลาธิษฐาน เป็นสิ่งที่ให้เห็นโครงสร้างของการประพฤติปฏิบัติ แต่โครงสร้างในการประพฤติปฏิบัติของวัตถุอย่างหนึ่ง โครงสร้างของการประพฤติปฏิบัติในหัวใจเป็นอีกอย่างหนึ่ง ในเมื่อหัวใจเป็นนามธรรม ก็เอาไปเป็นบุคลาธิษฐานนี้เพื่อให้เป็นโครงสร้างขึ้นมาให้เห็นรูปภาพ ให้เป็นความชัดเจนขึ้นมา ชัดเจนว่า ถ้ามันทำมาจะมีส่วนประกอบอย่างนั้นๆๆ

แต่ส่วนประกอบของจิต ส่วนประกอบของการกระทำ ถ้าจิตมันสงบ มันปล่อยกาย กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส มันจะว่างมาก โลกนี้ราบ ราบเลย จิตมันโดนหลอก มันจะอยู่กับความว่างอย่างนั้น แต่ถ้าทำความสงบของใจเข้าไปนะ จิตนี้ให้ทำความสงบของใจเข้าไปอีก แล้วออกรู้นะ ออกรู้ ถ้าออกรู้แล้วมันจะตื่นเต้น มันจะกระเทือนหัวใจมาก เพราะมันจะเป็นการคูณ ถ้ามรรคมันเดิน กามราคะ เห็นไหม

บวก มันเป็นผลบวกใช่ไหม ผลบวกมันได้ค่าเท่ากับบวก ผลลบมันลบออกไปแล้วให้ค่าเท่ากับลบ ผลคูณมันให้ผลมหาศาลเลย เราคูณด้วยตัวเลขเท่าไร เราคูณด้วยจำนวนเท่าไร เราคูณด้วยกำลังของจิตเท่าไร คนที่มีอำนาจวาสนามากน้อยแค่ไหน คูณด้วยจำนวนตัวเลขที่มาก ตัวนี้มันก็คูณด้วยกำลังสอง กำลังสาม มันก็จะเพิ่มค่ามากขึ้น

ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ดูสิ จิตนี้มันเวียนตายในวัฏฏะ กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันเวียนตายเวียนเกิดขนาดไหน แล้วคนเราที่เกิดขึ้นมา สิ่งใดมันจะพ้นไปจากกามโอฆะ สิ่งที่เป็นกามโอฆะมันฝังอยู่ในหัวใจทุกๆ ดวงใจทั้งนั้น มันเป็นสัญชาตญาณเลยล่ะ มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง

เวลาปฏิบัติขึ้นไปนะ เวลาจิตขึ้นมา เห็นไหม อะไรเป็นกาม? จิตนี้เป็นกาม ความรู้สึกนี้เป็นกาม เป็นกามเพราะอะไร ถ้ามันไม่มีความรู้สึกจากใจแล้ว สิ่งอื่นมันจะเป็นกามขึ้นมาได้อย่างไร ไอ้กามราคะมันเกิดมาจากไหน มันเกิดมาจากไหน คนตายมันจะมีกามราคะไหม เวลาคนเจ็บไข้ได้ป่วย สิ่งนี้มันจะทอนไปไหม สิ่งที่มันเป็นโอฆะ มันเป็นกามราคะ มันอยู่ที่ไหน

“อสุภะๆ จิตเป็นอสุภะ”...อสุภะเพราะจิตมันสงบแล้วมันเห็นอสุภะนะ เพราะอะไร เพราะเอาสิ่งนั้นมาเทียบเคียง มาสอนมัน มาสอนจิตดวงนี้ว่าสิ่งนี้มันสกปรกนะ อสุภะเพราะอะไร เพราะจิตมันเป็นปัจจุบัน จิตเป็นสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นปัจจุบัน มันเห็นสิ่งใดมันถึงเป็นกามราคะ มันเห็นเป็นอสุภะ เห็นอสุภะเพราะจิตมันเป็นธรรม นี่ที่ว่าจิตที่เห็น เห็นโดยธรรม

อสุภะ เห็นเพราะอะไร เห็นเพราะจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นธรรม จิตเป็นอนาคามิมรรค ถ้าจิตไม่เป็นอนาคามิมรรค สิ่งที่เห็นอยู่ข้างล่างมันเป็นการพิจารณากาย เห็นไหม พิจารณากายนอก-กายใน สิ่งที่พิจารณากายเป็นกามราคะ กามราคะมันเยิ้มขนาดไหน มันเยิ้มออกไปจากใจ ใจมันเยิ้มออกก่อน มันไปสัมผัสกับสิ่งภายนอก สิ่งภายนอกเป็นวัตถุนะ สิ่งภายนอก นามธรรม นี่กามฉันท์ ความพอใจ ความพอใจก็คือสิ่งที่พอใจ ดูสิ เราพอใจเรื่องอะไร ถ้าไม่พอใจมัน มันจะพอใจเยิ้มออกไปสู่กามราคะได้อย่างไร

ตัวจิตนี้เป็นตัวกาม ตัวความพอใจของเรา ตัวกามฉันท์ นี่กามอันละเอียดไง

ถ้ากามอย่างหยาบมันกามของโลกๆ เขา กามของโลกเขา กามราคะนี่มันกามของโลก แต่การประพฤติปฏิบัติ กามฉันท์มันอยู่ที่ใจ ถ้ากามฉันท์มันอยู่ที่ใจ จะต่อสู้กับมันอย่างไร

ถ้ามันคูณด้วยธรรมะ คูณด้วยกำลังของสมาธิ คูณด้วยกำลังของปัญญา ดูสิ จิตที่มันเกิดตายๆ ในวัฏฏะ มันเกิดตายมาไม่มีต้นไม่มีปลาย ถ้ามันไม่คูณการกระทำของมัน มันยังจะไปอีกนะ เพราะอะไร เพราะสกิทาคามีก็ยังเกิด เพราะมันมีกามราคะ มันมีอวิชชาอยู่ในหัวใจ มันยังมี ๒ ชั้น ๓ ชั้น พิจารณาของมันเข้าไป มันพิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะเพราะอะไร พิจารณาอสุภะเพราะจิตมันเป็นมหาสติ

มรรค บวกเป็นสติปัญญา เป็นมรรค ๘ ลบก็เป็นสติเป็นปัญญา แต่ถ้ามันจะขึ้นมาเป็นคูณ มันต้องเป็นมหาสติ-มหาปัญญา

มหาสติกับสติมันต่างกันตรงไหน บอกว่าสติไม่ต้องฝึกๆ...ไม่ต้องฝึกมันจะเติบโตขึ้นมาได้อย่างไร ต้นไม้ใหญ่กับต้นไม้เล็ก ต้นไม้คนละประเภท ดูสิ อ้อ แขม มันจะโตขึ้นมาได้อย่างไร ดูต้นไม้ยืนต้นสิ กับอ้อกับแขมมันต่างกันอย่างไร แล้วจิตที่มันพัฒนาขึ้นมาแล้ว จากอ้อจากแขมแล้วมันพัฒนาขึ้นมาเป็นต้นไม้ยืนต้น แล้วต้นไม้ยืนต้นมันพิจารณาไปเป็นต้นไม้เก่าแก่ ต้นไม้ฟอสซิลเลย มันจะกลายเป็นหินไปนู่นน่ะ มันพิจารณาของมันขึ้นมาอย่างไร มันแตกต่างอย่างไร มันพิจารณาของมัน มันถึงว่า มันเป็นมหาสติ-มหาปัญญา นี่กำลังมันมีมากกว่ามันถึงคูณได้

บวก ลบ คูณ คูณด้วยมรรคญาณ คูณด้วยปัญญาญาณ คูณกับมัน พิจารณาของมัน พิจารณาจิต ชำระล้างมัน ชำระมารด้วยมรรคญาณ ชำระมารด้วยธรรมจักร ชำระล้างด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ชำระล้างบ่อยครั้งๆ เข้า มันเห็นโทษ พอมันเห็นโทษขึ้นมา “แหม! ทำไมมันเป็นอย่างนี้”

แล้วพอพิจารณาบ่อยครั้งเข้า นี่ความชำนาญนะ จากทีแรกเราพิจารณามันรอบหนึ่ง มันก็ปล่อยหนหนึ่ง บางทีสมาธิ มหาสติ-มหาปัญญามันมีกำลังน้อยลง มันไปไม่ได้นะ แล้วพอไปไม่ได้ พิจารณาไปแล้วกิเลสมันหลอกก็เยอะ กิเลสเราเองมันจะหลอก “อ้าว! พิจารณาอย่างนั้นเลย ธรรมะพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้นเลย พิจารณาแล้วก็ปล่อยเลย ปล่อย ว่าง ว่าง” มันก็ทำอย่างนั้นจริงๆ นะ

เพราะขณะที่ไปต่อสู้ กิเลสมันฉลาดกว่า จิตใจของเรา วุฒิภาวะของจิตที่มันโดนกิเลสครอบคลุมจิตดวงนี้มาไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่มีกาลไม่มีเวลาที่จะกำหนดได้เลยว่า ไอ้พวกอวิชชามันคุมจิตนี้มาขนาดไหน แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ทั้งๆ ที่มันมีพื้นฐานนะ เราได้บวกได้ลบมาแล้ว เราได้บวกได้ลบมามันก็มีกำลัง มันก็มีสติปัญญา มีพื้นฐานพอสมควรแล้ว แล้วเวลาจะมาคูณอยู่กับมัน มันยังโดนหลอกว่า “นี่พิจารณาแล้ว ปล่อยแล้ว นี่ใช่แล้ว ว่าง ว่าง”

มีมากที่ปฏิบัติขึ้นไปแล้วถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นะ มันไม่มีจุดสรุปโครงการ มันเป็นไปไม่ได้ โครงการการประพฤติปฏิบัติมันจะจบของมัน คูณขนาดไหน ผลตอบมาได้เท่าไร คูณอย่างใด มันถึงจะมีผลกับการปฏิบัติ นี่คูณแล้วไปโกงเขา “พิจารณาไปแล้วปล่อย ว่าง ผ่านแล้วๆ”...เสร็จ ไปไม่รอดหรอก มันไม่ผ่าน โครงการอย่างนี้ ผลตอบสนองอยู่ที่เครื่องคิดเลข อยู่ที่เรื่องของโลก ไม่ใช่เรื่องธรรม ถ้าเรื่องของธรรมนะ สิ่งที่เป็นธรรมมันต้องกระเทือนหัวใจ หัวใจนี้เป็นผู้ที่ฝักใฝ่

หัวใจนี้ กามฉันท์ ความพอใจของใจ แล้วมันออกไปเยิ้ม ออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ จากกามราคะ จะทำลายมันอย่างไร ถ้ามันทำลายไม่ได้ มันยังมีสิ่งที่เป็นตอของใจ มันยังสะดุดที่ใจ มันยังรับรู้หัวใจได้ มันเสียวเจ็บแปลบในหัวใจนะ สิ่งที่มีความพอใจ สิ่งที่มีความต้องการของใจ มันสะเทือนใจทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันสะเทือนใจ ถ้าใจมันยังมีเล่ห์กลอยู่ ใจมันยังไม่ชำระล้างของมัน มันจะสะอาดขึ้นมาไม่ได้ เรายังไว้ใจสิ่งใดไม่ได้หรอก เพราะอะไร เพราะถ้าเราตายเดี๋ยวนี้ โอกาสเราไม่มี มันก็ไปเกิดอีก

แต่เราประพฤติปฏิบัติเดี๋ยวนี้ ประพฤติปฏิบัติด้วยอะไร? ประพฤติปฏิบัติด้วยมหาสติ-มหาปัญญา ไม่ใช่ประพฤติปฏิบัติด้วยร่างกาย ร่างกายภายนอกมันเป็นการดำรงชีวิตทั้งนั้นน่ะ สิ่งที่เคลื่อนไหวไป จิตมันเคลื่อนไหวไป ดูสิ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาทั้งวันทั้งคืน ใครทำได้ พอประพฤติปฏิบัติขึ้นมาแล้วมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันมีเหตุมีผลในการตอบสนองของมัน มันมีผลตอบสนอง มันมีความรับรู้อย่างนี้ มันจะต่อสู้ได้ มันมีกำลังของมัน มันพอใจจะทำของมัน มันไม่กินไม่นอนเท่าไรก็ได้ เพื่อจะเอาชนะตนเอง มันจัดการต่อสู้กับมัน

นี่ไง ธรรมะคูณ คูณเข้าไป คูณด้วยมหาสติ คูณด้วยมหาปัญญาต่อสู้กับมัน ต่อสู้กับมัน มันเป็นใคร กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเป็นใคร ตัณหาความทะยานอยากมันก็เป็นจิตที่มันพาเราเกิด ที่มันครอบงำจิตมาอยู่นี่

แต่เรามาเป็นสาวก-สาวกะ เรามาเจอธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามีครูบาอาจารย์คอยชี้นำของเรา เราประพฤติปฏิบัติของเรา มันจะต่อสู้กับใคร มันจะต่อสู้กับใคร แล้วเอาอะไรไปต่อสู้ เอามีดผาหน้าไม้อะไรไปต่อสู้ ถ้าไม่เอาสติปัญญาเข้าไปต่อสู้ เอาสติปัญญาเข้าไปต่อสู้กับมัน

ต่อสู้นะ ต่อสู้แล้วกิเลสมันก็ต่อต้าน กิเลสมันทำลายก็ล้มลุกคลุกคลาน หัวหกก้นขวิด เวลาประพฤติปฏิบัติหัวหกก้นขวิดมาก ต้องใช้สติต้องใช้ปัญญา พระปฏิบัติเราถึงต้องการเวลา ไม่คลุกคลี ถ้าใครคลุกคลี ภาวนาไม่เป็น ภาวนาไม่ได้ ไม่มีทาง แต่ถ้าคนเป็นนะ ไม่มีทางเลยที่จะไปคลุกคลีกับใคร เพราะอะไร เพราะเวลาเรามันไม่พอ ความที่เราจะตั้งสติดูแลตัวเองยังไม่มีเวลา แล้วเราจะไปยุ่งกับใครอีก ไอ้ยุ่งกับคนอื่นมันไม่มีทางหรอก มันเหมือนตัวหนอน มันอยู่ในฐานส้วม ดูตัวหนอนในฐานส้วมยุบยับๆ อยู่นั่นน่ะ กินแต่ขี้ แล้วมันจะได้ธรรมะอะไรมา ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาต้องกินธรรมสิ นี่กินธรรม พระพุทธเจ้าสอนให้วิเวก สอนให้สงัด สอนให้หลบหลีก สอนให้ต่อสู้กับตัวเอง

ถ้าเราต่อสู้กับตัวเอง เราจะต่อสู้กับมัน ใช้มหาสติ-มหาปัญญาต่อสู้ พิจารณาบ่อยครั้งๆ พอมันชำนาญขึ้นมา กำลังพอกันแล้ว พอกำลังพอกันนะ ผลของคูณ พอเราคูณขึ้นไปแล้ว มันคูณได้ กำลังเริ่มพอนะ เริ่มยันกันได้ก่อน พอยันกับมันได้นะ มันหลอกเราไม่ได้มากแล้ว

สิ่งที่มันหลอกเรา มันหลอกแค่ฉาบหน้าหน่อยเดียวเราก็ไปตามมันแล้ว แล้วพอยันกันได้นะ พอเริ่มยัน สติปัญญามันทันแล้ว พอทันขึ้นมา กิเลสหลอกไม่ได้ แต่หลอกไม่ได้มันก็ต้องยันไว้ ฝึกฝนบ่อยครั้งเข้า ต้องมีความชำนาญมาก จนมันละเอียดเข้ามานะ จากเห็นภาพจากข้างนอก อสุภะ มันจะละเอียดเข้ามาชิดกับความรู้สึกมากเข้าๆ ความชำนาญต้องซ้ำแล้วซ้ำอีก

พิจารณากาย พิจารณาจิต ถ้าพิจารณากายเป็นอสุภะ ถ้าพิจารณาจิต พิจารณาด้วยนามธรรม กายเป็นนามธรรม มันก็ใช้ปัญญาไล่เข้ามาๆ จนมีความชำนาญมาก ชำนาญจนละเอียดเข้ามา จนเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะมันต้องถอดถอนกันที่นั่น

ธรรมะคูณ เวลามันปล่อย มันไม่ปล่อยเหมือนธรรมะบวก-ธรรมะลบหรอก เวลามันขาดนะ มันขาดคนละเรื่องเลย เวลามันขาด ครืน! ครืน! ในหัวใจ หัวใจนี้หวั่นไหว โลกธาตุไหวหมดเลย ไหวเพราะอะไร ไหวเพราะมันจะไม่มาเกิดในกามภพนี้อีกแล้ว กามภพนี้ไม่ต้องพูดกัน มันขาดออกจากใจนะ พอมันขาดออกจากใจ นี่สวรรค์ในอก นรกในใจ ในเมื่อในใจมันถอดถอนแล้วมันจะไปเกิดบนสวรรค์ชั้นไหนภพไหนอีกล่ะ เห็นไหม มันก็ไปเกิดบนพรหม นี่ไปเกิดบนพรหมถ้ารู้ตัวนะ ถ้าไม่รู้ตัวมันก็ว่านี่เป็นนิพพาน

รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา...อุทธัจจะมันเป็นความเพลินในจิต มันก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เพราะมันเป็นสังโยชน์ พอเป็นสังโยชน์มันก็ผูกใจไว้ เพราะพระอนาคามีตัดสังโยชน์ออกไป สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ แล้วสังโยชน์เบื้องบนล่ะ ขนาดพระอนาคามีกับพระอรหันต์ ดูสิ ๓ ขั้น ได้สังโยชน์ ๕ ตัว อีกขั้นข้างบนที่ละเอียดอ่อนมาก รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

รูปราคะ-อรูปราคะ จิตมันว่างอยู่แล้ว รูปราคะ-อรูปราคะ รูปฌาน-อรูปฌาน จิตที่เป็นนามธรรม-รูปธรรม มันก็เป็นของมันอยู่แล้ว พอจิตมันปล่อยออกมา มันปล่อยร่างกายหมดแล้ว มันปล่อยกามราคะ มันปล่อยมาหมดแล้ว นี่ถ้ามีสติมีปัญญาขึ้นมา ถ้ามันไม่มีสติปัญญาก็จะไม่เห็นมัน ถ้ามีสติปัญญามันก็ไม่เห็น ไม่เห็นหรอก ไม่เห็นเพราะอะไร เพราะขณะที่ว่าจิตไม่ใช่ความคิด พอมันทำลายความคิดหมดแล้ว เพราะความคิดเป็นขันธ์ ๕ พอทำลายขันธ์ ๕ ทั้งหมดแล้วเหลือจิตเดิมแท้ แล้วมันจะคิดอย่างไรล่ะ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺาณํ ที่ว่าจิตเป็นกี่ดวงๆ พอมันไล่เข้ามาแล้ว มันจะกี่ดวงล่ะ แล้วตัวจิตมันจะจับตัวมันอย่างไร นี่ธรรมะหาร

บวก ลบ คูณ แล้วหาร มันแตกต่างกันหมด ถ้าหาร หารนี้ทำอย่างไร ทำอย่างไรมันถึงจะหารได้ แล้วจะไปหารกับใคร ไปหารที่ไหน ในเมื่อมันเป็นตัวมันเองแล้วมันจะไปหารกับใคร มันไม่ยอมให้ใครหารมันหรอก ไม่มีใครเห็นมันด้วย ไม่มีทาง

ถ้ามีทาง ทำไมครูบาอาจารย์เราขณะปฏิบัติอยู่ในหมู่คณะ ยังมีครูบาอาจารย์ที่ท่านยังติดของท่าน ท่านยังไปติดว่า “โอ้โฮ! พุทโธสว่างไสว พุทโธผ่องใส ผู้รู้ พุทโธสว่างไสว”

สิ่งต่างๆ พอมันเป็นตัวมันเอง ที่ว่าครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าท่านมองโลกว่างหมดเลย ธรรมะเตือนเลย เตือนนะ แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราจะไม่เตือนหรอก เราจะให้ค่ามันเลย เห็นไหม มันจะหารไม่ได้ หารไม่ได้เพราะว่าเราโดนกิเลสหลอก กิเลสมันจะหลอกอยู่

กิเลสตั้งแต่กามราคะนี่เป็นพ่อมัน แต่ไอ้นี่เป็นปู่มัน เล่ห์กลของปู่ เล่ห์กลของผู้เฒ่า ผู้ที่ผ่านโลกมายาวนาน เจ้าวัฏจักร มันละเอียดลึกซึ้งเพราะมันเป็นอันเดียวกับใจเลย จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส มันใสมาพร้อมกัน มันออกมาก็ออกมาพร้อมกัน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วนะ “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีกแล้ว เจ้าจะเกิดจากจิตของเราไม่ได้อีกเลย เจ้าจะเกิดจากจิตของเราไม่ได้อีกเลย เพราะเราจะไม่ดำริถึงเจ้า”

แต่ถ้าความผ่องใส ใครดำริล่ะ มันมาด้วยกัน อ้าว! ความผ่องใส ใสหมดเลย แล้วเอาอะไรไปจับมันล่ะ แล้วใครจะไปรู้กับมันล่ะ...นี่ไม่มีครูมีอาจารย์นะ ถ้ามีครูมีอาจารย์ ต้องเป็นครูบาอาจารย์ที่แท้จริงด้วย เพราะครูบาอาจารย์ท่านจะรู้ว่าขั้นไหน วิธีไหน ควรจะทำอย่างไร ขั้นไหนตรงไหนจะปฏิบัติอย่างไร แล้วตรงไหนในทางปฏิบัติมันไม่เหมือนกันสักชั้นหนึ่ง ไม่เหมือนกัน มรรค ๔ ผล ๔ ไม่เหมือนกัน ถ้าเหมือนกัน พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติ มรรค ๔ ผล ๔ บอกมรรค ๑ ก็พอ มรรค ๑ แล้วลุยไปเลยนะ มันจะชำระกิเลสหมดเลย ทำไมมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ล่ะ

เพราะมรรคมันไม่เหมือนกัน มันมีบวก มีลบ มีคูณ มีหาร แล้วหารจะไปหารกับใคร หารกับใครไม่ได้ มันต้องตั้งสติขึ้นมา สติเป็นอัตโนมัติเลย มรรคญาณมันเกิด ถ้ามันจับได้จะหารมันอย่างไร

การหารนะ หารด้วยที่ว่าไม่ใช่การกระทบ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา...อุทธัจจะนะ ความเพลิน การกระทำ ขยับเป็นอุทธัจจะ จิตขยับเป็นสังโยชน์ จิตขยับ ติดทันที จิตขยับ ติดทันที เห็นไหม ปัญญามันละเอียดขนาดไหน ปัญญาของเรา ปัญญาในอนาคามิมรรค ดูสิ ยังพิจารณา มีจิต มีการกระทำ มีการพิจารณาอสุภะ จิตพิจารณาอสุภะได้ แล้วถ้าตัวจิตจริงๆ มันจะพิจารณากับใคร มันจะไปพิจารณากับใครล่ะ ตัวมันเป็นตัวมัน มันจะพิจารณาจากไหน

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺาณํ ปัจจยาการของมัน เพราะมีสิ่งนั้นถึงมีสิ่งนั้น เพราะสิ่งนั้นมีถึงมีสิ่งนี้ มันเกี่ยวเนื่องกันไป แต่ถ้าเป็นขันธ์ ๕ ล่ะ ถ้าเป็นปัญญาญาณล่ะ มันแตกต่างกันอย่างไร นี่ไง บวก ลบ คูณ หาร ของอริยมรรค มรรคต่างๆ มรรค ๔ ผล ๔ มันลึกลับมหัศจรรย์สำหรับคนไม่รู้ แต่มันจะเปิดแจ้งสำหรับผู้ที่ผ่านการกระทำมาทั้งหมดสิ้น ถ้าไม่ผ่านการกระทำมา มันจะผ่านมาได้อย่างไร มันจะรู้เช่นเห็นชาติไอ้อวิชชา ไอ้ตัวมารที่มันครอบคลุมจิตตัวนี้ได้อย่างไร ถ้าไม่รู้เช่นเห็นชาติของมัน จะเอาตัวรอดได้อย่างไร เอาตัวจิตนี้รอดจากอวิชชา ไม่ให้อวิชชามันครอบงำอย่างไร

สิ่งที่ไม่ครอบงำขึ้นมาต้องมีการโต้แย้ง ต้องมีการกระทำ ต้องมีการต่อสู้ ไม่ต้องไปห่วงว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ต้องไปห่วง อัตตกิลมถานุโยคอยู่ที่เราทำจริงทำจังขึ้นมามันเป็นประโยชน์กับเราเท่านั้นล่ะ ถ้าเป็นประโยชน์ เป็นความจริงขึ้นมา เราต้องต่อสู้ทั้งนั้น เพราะอะไร

เพราะครูบาอาจารย์นะ เวลาท่านไปพักที่นี่แล้วติด เวลาท่านเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา ท่านยังบอกเลย ไม่อยากตาย ไม่อยากตาย เพราะตายแล้วต้องเกิดอีก ไปเกิดบนพรหม แล้วอายุของพรหมมันยาวไกลด้วย แต่ถ้าเราต่อสู้นะ ด้วยชีวิตของเรา ชีวิตของเรา ๑๐๐ ปี เราปฏิบัติขึ้นมากี่ปีก็แล้วแต่ ถ้ามันได้มาถึงระดับนี้ ไอ้ตรงนี้เราขวนขวายได้ เพราะเราประพฤติปฏิบัติมาต้องบวก ต้องลบ ต้องคูณ มันมีประสบการณ์ หัวใจมีการกระทำ หัวใจได้พัฒนามาแล้ว แล้วมันจะดันไปถึงที่สุด อีกนิดเดียวจะถึงที่สุด อีกนิดเดียว แต่อีกนิดเดียวมันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนมากๆ

ดูสิ อย่างจักรวรรดิต่างๆ ศูนย์กลางของเขาก็คือเมืองหลวงของเขา แต่เขาครอบงำจักรวรรดิกว้างไกลขนาดไหน นี่ก็เหมือนกัน อวิชชา มันอยู่ที่กลางหัวอก มันอยู่ที่จิตเดิมแท้ แต่มันครอบงำออกไป ที่ว่า อย่างหยาบ อย่างกลาง สายบังคับบัญชาของจิตที่มันออกมาเป็นความรับรู้ นี่มันออกไป แล้วจิตนี้มันเวียนตายเวียนเกิด มันครอบงำมาขนาดไหน แต่เวลาเข้าไปสิ่งที่ละเอียดอ่อน เราจะต้องละเอียดอ่อนกับการกระทำอันนั้น นี่ตั้งสติ ตั้งสติแล้วทวนกระแสกลับ ทวนกระแสกลับไป ถ้าไปเจอตัวอวิชชานะ เซ่อเป็นไก่ตาแตกเลย

“จิตเห็นจิต จิตรู้จักจิต” ตำราพูดไว้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเราเข้าไปประสบกับมัน มันเป็นอีกอย่างหนึ่ง แล้วเป็นอีกอย่างที่มันละเอียดลึกซึ้งขนาดไหน มรรคญาณที่มันจะเข้าไปทำลายมัน มันจะกลืนตัวอย่างใด

หลวงตาท่านพูดบ่อย เป็นกระดาษซับกระดาษซึม มันจะซึมเข้าไปๆ มันเป็นปัญญาญาณ มันเป็นปัญญาที่ซึมเข้าไป ไม่ใช่ปัญญาการตอบสนอง ปัญญาการกระทบ

ปัญญากระทบมันเป็นเรื่องขันธ์กับจิต แต่ถ้าเป็นตัวจิตจริงๆ ที่มันจะซึมเข้าไป พอซึมเข้าไป มันตั้งจิตของมัน สมดุลของมัน นี่จิตมัธยัสถ์ แล้วทำลายตัวมันเอง นี่ธรรมะหาร พอทำลายตัวมันเอง พลิก สัมปยุต วิปปยุต คลายออกมา อรหัตตมรรค อรหัตตผล สัมปยุต วิปปยุต คลายออกมา มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ที่มันหลุดพ้นออกไปจากการกระทำของมรรคญาณในหัวใจที่สิ้นสุดกระบวนการของมัน เห็นไหม มันตอบสนอง แล้วมันมีเหตุผลอยู่ที่ไหนล่ะ

มันมีเหตุผลอยู่ที่ว่า ไอ้จิตโง่ๆ ไอ้จิตที่เวียนตายเวียนเกิดที่เราทุกข์เรายากกันเพราะจิตมันโง่ พอจิตมันโง่ มันก็โดนกิเลสหลอก เห็นไหม ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สาธุ! เคารพบูชามาก แล้วมันก็ไปยึดอันนั้นมาว่าเป็นอย่างนี้ ต้องเดินตามให้เป็นกรอบ เป็นทฤษฎี เป็นสิ่งต่างๆ ที่ตายตัว ทฤษฎีนั้นมันตายตัว มันเป็นสัตว์สตัฟฟ์ แต่ไอ้ความเป็นจริงมันมีชีวิต มันมีเล่ห์มีเหลี่ยม มันมีกลอุบายของมัน ดูสิ เวลาเรามีเล่ห์มีกลของเรา เราไปหลอกลวงคนอื่น เราใช้มารยาสาไถย เรายังหลอกลวงคนอื่น มันเป็นประโยชน์กับเรามหาศาลเลย แล้วกิเลสในใจของเรามันหลอกลวงใจเรา มันมีเล่ห์กลกับเราโดยอ้างธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “พุทธพจน์ๆ”

พุทธพจน์ ก็สาธุ! พุทธพจน์ สาธุ! แต่กูเถียงไอ้คนพูดพุทธพจน์ ไอ้คนที่มันพูดพุทธพจน์มันรู้อะไร ธรรมะพระพุทธเจ้าพูดก็พุทธพจน์...ใช่ พุทธพจน์ใครก็พูดได้ เครื่องคอมพิวเตอร์พูดได้ดีกว่ามึงอีก เพราะคอมพิวเตอร์มันจำได้หมดเลย แล้วมันขยายความได้ด้วย แต่ไอ้พุทธพจน์ในหัวใจของเราล่ะ ในหัวใจเรามีกิเลสทั้งนั้นนะ

พุทธพจน์ก็สาธุ! สาธุมาก มันถึงมี “ปริยัติ ปฏิบัติ” ถ้าเราปฏิบัติโดยภาคปริยัติ นี่ไง ที่มันขัดแย้ง มันเตะมันถ่วง หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า มันขัดมันแย้งกัน มันขัดมันแย้งกันตอนปฏิบัติ แต่ถ้ามันปฏิบัติจบสิ้นกระบวนการแล้วไม่ขัดแย้งกันเลย ไม่ขัดแย้ง เพราะรู้จริงแล้วธรรมะมีหนึ่งเดียว สัจธรรมนี้เป็นอันเดียว

แต่ขณะที่ทำ ขณะที่เราจะทำ เราทำขึ้นมา มันขัดแย้ง หมายความว่า กิเลสมันสร้างภาพ กิเลสมันบังเงา กิเลสมันอ้างธรรมะพระพุทธเจ้า “ปฏิบัติเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้ปล่อยแล้ว วางแล้ว พอปล่อยหนหนึ่งนี่โสดาบัน พอปล่อยอีกหนหนึ่งนี่สกิทาคามี”...การปล่อยนี้ปล่อยโดยสามัญสำนึก การปล่อยโดยสร้างภาพแล้วปล่อยเอง นี่สร้างภาพแล้วปล่อยภาพ สร้างภาพหนึ่ง ปล่อยภาพหนึ่ง ก็โสดาบัน สร้างภาพปล่อยภาพอีกหนึ่ง ก็เป็นสกิทาคามี สร้างภาพปล่อยภาพอีก ก็อนาคามี สร้างภาพ ปล่อยภาพ แต่มันไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริงเพราะอะไร การสร้างภาพ เราสร้างขึ้นมา เราสร้างเอง เราทำลายเอง แล้วเราก็หลอกตัวเอง

แต่ถ้าเป็นสัจธรรม เป็นบวกนะ มันไม่สร้างภาพ ถ้าสร้างภาพมันก้าวเดินไปไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมันบดขยี้กิเลสไม่ได้ ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา มันได้บดได้ขยี้กัน พอได้บดได้ขยี้ มันทำลายกัน นี่ธรรมะลบ ยิ่งลบ ยิ่งหาร ยิ่งทำลายกัน ยิ่งธรรมะคูณมันจะมีผลขึ้นมานะ มันมีผลขึ้นมา มันรื่นเริงอาจหาญนะ เวลามันปล่อยทีหนึ่งมันมีความสุขนะ เดินไปเหมือนตัวเบาตัวลอยนะ เวลาพิจารณาไป เคลื่อนไหวไปไหน ขณะที่ปฏิบัติอยู่ เหมือนเราเคลื่อนไป มันอิ่มเอมใจ มีความสุขมาก นี่ขณะที่ต่อสู้ขณะนั้นยังมีความสุขขนาดนั้น แล้วถ้ามันขาดจริงๆ มันยิ่งมีความสุขขนาดไหน

พอมันขาดขึ้นไป อืม! คิดดูสิว่า เทวดา อินทร์ พรหมมันจะมาฟังเทศน์พระพุทธเจ้า เทวดา อินทร์ พรหมยังมาฟังเทศน์หลวงปู่มั่น แล้วมันขาดนี่ ภพชาติที่จะไปเกิดตั้งแต่เทวดา อินทร์ พรหมมันขาดออกไปจากใจ ใจดวงนี้รู้จักความรู้สึกของเทวดา อินทร์ พรหมที่เขาดำรงชีวิตกันอยู่ แล้วมันอยู่ในหัวใจผู้ที่รู้อันนั้น มันจะมีความรู้สึกอย่างไร แล้วยิ่งทำลายธรรมะหารหมดแล้ว ในวัฏฏะมันไม่ไปอีกแล้ว

ในวัฏฏะที่จิต อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺาณํ อวิชชาพาเกิด ไอ้ตัวไม่รู้พาเกิด เพราะไม่รู้ถึงเกิด เพราะไม่รู้แล้วก็เถียงว่า “ไม่รู้ไม่เป็นไร เพราะไม่รู้มันจะมีโทษได้อย่างไร” ก็เพราะไม่รู้ เพราะอวิชชามันถึงพาเกิดนี่ไง เพราะอวิชชามันพาเกิดใช่ไหม แล้วเราไปถอนไอ้ตัวไม่รู้ออกหมดแล้ว ไอ้คนที่ไม่รู้ก็คือสัตว์โลก ไอ้สัตว์ที่มันเป็นไปตามกรรม แล้วแต่เวรกรรมมันหมุนเวียนไป

แต่ไอ้ความรู้จริง มันพ้นจากสัตตะผู้ข้อง มันไม่ใช่สัตว์อีกแล้ว ความข้องของใจมันปลดหมดแล้ว มันถึงเป็นธรรมะแท้จริงจากผู้ที่ปฏิบัติที่เราจะปฏิบัติกัน

วันนี้บรรยากาศมันดี เราฟังธรรมเพื่อเรา สิ่งที่ฟังธรรมกัน เอามาสอนใจ ธรรมะอย่างนี้ฟังแล้วเราเอามาเป็นเครื่องเตือนใจเรา เพื่อให้เราได้มีโอกาส แล้วได้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ทำมาแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติมาแล้ว ครูบาอาจารย์ของเราท่านทำมาแล้ว ท่านได้ผลของท่านมาแล้ว ถ้าไม่ได้ผลของท่าน นี่มันยืนยันกันได้ มันขัดแย้งได้ มันขัดแย้ง มันโต้แย้งได้

แต่ถ้าเป็นธรรมะตามความจริงนะ อ้าว! โต้มา ตรงไหนมันบกพร่อง โต้มา โต้มาได้เลยถ้ามันบกพร่อง ถ้ามันบกพร่องแสดงว่ามันไม่เต็ม ถ้ามันบกพร่องมันจะเป็นความจริงไปไม่ได้ มันต้องสมดุลของมัน มรรคสามัคคี ทางอันเอก มรรคญาณที่เข้าไปชำระกิเลสโดยผู้ที่ปฏิบัติตามความเป็นจริงอันนั้น เอวัง