ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

กระเบื้องจะฟูลอย

๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๓

 

กระเบื้องจะฟูลอย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เมื่อวันพระที่ผ่านมา กระผมฝันเห็นผี พอตื่นขึ้นมาก็รู้สึกกลัว กระผมภาวนาและสวดมนต์ก่อนนอน แต่ทำไมถึงฝันไม่ดี เป็นเพราะจิตเราไม่ดีหรือเปล่าครับ

หลวงพ่อ : เวลาเราปฏิบัติกันเห็นไหม ครูบาอาจารย์บอกว่าเราสวดมนต์ก่อนนอน เราทำคุณงามความดีกัน เวลาสวดมนต์ก่อนนอนนี่เห็นไหม คนนอนไม่หลับนะ เวลาคนไม่หลับแล้วไปหาครูบาอาจารย์ ท่านจะสอนให้พุทโธๆๆๆๆ พุทโธจนหลับไป

แล้วทีนี้ของเราเวลาเราพุทโธนี่เรามีแต่ง่วงนอน เวลาคนเป็นโรคเครียดเห็นไหม เขานอนไม่หลับนะ เขาต้องไปกินยานอนหลับกัน ไปกินยานอนหลับเพื่อจะให้หลับ พอเรากินแล้วนะ วันเริ่มต้นนี่กินครึ่งเม็ด เม็ดหนึ่ง หมอเขาจะให้ยาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะต้องการให้หลับ เพราะพอเราประสาทแข็ง ทุกอย่างยาต้องเพิ่มมากขึ้น แล้วพอกินยานอนหลับบ่อยๆ ครั้งเข้า จะทำให้จิตนี่แย่มากเลย เพราะมันกดประสาท

ทีนี้ถ้าเราจะฟื้นของเราเห็นไหม เราก็พยายามทำจิตของเราให้ดี เราพยายามหลับเองด้วยตัวเราเองให้ได้ พอหลับด้วยตัวเราเองได้ ไอ้เรื่องยานี่ก็จะผ่อนลงๆๆ จนเป็นปกติ แล้วก็กลับไปเป็นปกติ แล้วเป็นปกตินี่เราพุทโธๆๆๆ จนหลับไป ถ้าพุทโธจนหลับไปนี่ดีมากเลย เพราะอะไร เพราะพุทโธๆๆ นี่จิตเรามันมีที่เกาะ

มันเหมือนกับเราจัดสิ่งของเรียบร้อยในบ้าน ทำความสะอาดในบ้านเสร็จแล้ว เรานั่งในบ้านจะสบายใจไหม สบาย แต่ถ้าของในบ้านเราสกปรกรกรุงรังไปหมดเลย อู้ฮู อะไรก็กองเต็มไปหมดเลย เรานั่งอยู่ในบ้านนี่สบายไหม ไม่สบาย เพราะมันสกปรก มันรกรุงรัง

นี่ก็เหมือนกันการนอนนี่ พุทโธๆๆๆ นี่ เหมือนกับเราจัดของในบ้านเห็นไหม เราจัดของ วางของ เก็บของเรียบร้อยแล้วนี่ โอ้โฮ สบายมากเลย พุทโธ พุทโธ จิตนี่มันอยู่กับพุทโธตลอดเลย เวลามันหลับนี่มันหลับดีมากเลย แต่ถ้าเราจัดของไม่ดีนะเราก็ต้องหลับ เพราะอะไร เพราะเราทำงานมาเหนื่อยล้ามาก เราทุกข์ยากมาก เวลาเรานอนก็นอนหลับไป พอหลับไปมันก็เหมือนเราจัดบ้านไม่เรียบร้อยแล้วหลับไป หลับไปตื่นขึ้นมา มันก็อยู่ในสภาพอย่างนั้นล่ะ แล้วการได้หลับได้นอน ถ้ามันหลับลึกๆ เข้าไป มันจะได้พักผ่อน จิตได้พักผ่อนบ้าง

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เราเกิดมานี่ จิตเห็นไหมเหมือนเครื่องยนต์ ติดแล้วไม่เคยดับเลย ตั้งแต่เกิด ปฏิสนธิจิตอยู่ในครรภ์มันก็ดิ้นขลุกขลิกๆ อยู่นั่นล่ะ มันรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา มันไม่ได้ดับเลยไง แต่ถ้าเราทำสมาธินี่เหมือนกับได้พักผ่อน มันได้หลับเห็นไหม พอได้ดับเครื่องนี่เครื่องยนต์จะได้พักผ่อน จะรักษาได้ดีมากเลย

ฉะนั้นเวลาหลับไปแล้วมันฝัน พุทโธ พุทโธเห็นไหม จะบอกว่าจิตดีมาก เวลาจิตดีมาก หลวงปู่มั่นท่านนอนอยู่ที่หนองผือนะ หลวงตาท่านเดินจงกรมอยู่ใกล้ศาลา เพราะหลวงปู่มั่นท่านชราภาพ หลวงปู่มั่นท่านฝัน ฝันว่าไล่หมา โฮ้ โฮ้ ออกเสียงเลย ทีนี้หลวงตาท่านเดินจงกรมอยู่ ก็หลวงปู่มั่นท่านป่วย เราก็ต้องคอยระวัง พอเสียงไล่ พวกเราก็คิดว่าอาจารย์เราจะเป็นอะไรใช่ไหม รีบผลุนผลันขึ้นไปเลยจะไปดูแล พอขึ้นไปปั๊บ พอเสียงมันขยับ หลวงปู่มั่นท่านไวมากท่านก็ได้ยินเสียงปั๊บ ท่านก็ตื่น พอตื่นขึ้นมา

“ใครน่ะ”

“กระผมครับ”

“มาทำไมล่ะ”

“ก็เห็นเสียงอาจารย์ดังอยู่”

“เออ ฝันว่ะ ฝันว่ะ”

นี่ไงฝันเห็นหมา เห็นไหม ทีนี้เราบอกว่าการฝันมันฝันได้ ฉะนั้นเวลาเราฝันเห็นผีล่ะ นี่เราฝันเห็นผีใช่ไหม ธรรมดามันตกใจทั้งนั้นล่ะ มันเรื่องการฝันนะ เวลาเราฝันนี่มันเป็นสัญญาเก่า แล้วสัญญาเก่านะบางคนบอก อู้ฮู สิ่งที่ฝันไม่เคยเห็นเลย ไม่เคยรู้เรื่องเลย มันจะเป็นสัญญาได้อย่างไร ตั้งแต่เด็กมาผ่านมาทั้งนั้น จำได้หมดเลย นี่สัญญาได้อย่างไร

สัญญานี่นะมันย้อนอดีตชาติไปเลย สัญญานี่มันซ้อนๆๆ กันมาเลย ถ้ามันไม่ซ้อนๆ กันมานะ เวลาพระพุทธเจ้านี่ ทำไมระลึกถึงพระเวสสันดรได้ล่ะ พอบอกท่านเคยเป็นพระเวสสันดร นี่ก็คือข้อมูลเก่าเห็นไหม ข้อมูลในหัวใจ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกอดีตชาติ นี่มันไปได้เลย ทีนี้พอไปได้เลย เวลาฝันขึ้นมานี่มันเป็นสัญญาเก่า อ้าวสัญญาได้อย่างไร โอ้โฮ สมองนี่จำได้แม่นมาก ไม่เคยคิดเรื่องอย่างนี้เลย ไม่เคยเจออย่างนี้เลย แล้วฝันมาได้อย่างไร

มันเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรมนะ เรื่องบุญเรื่องเวรเรื่องกรรมนี่ ทีนี้การฝันอย่างนั้น เวลาเราชำระล้างนี่เราชำระล้างได้ ทีนี้พอฝันเห็นผี แล้วไปฝันเห็นเทวดา ดูสิเห็นไหมคนมีบุญมากเลย โอ้โฮ เวลานอนฝัน ฝันว่า โอ้โฮ มีช้างเผือกมานะ โอ้โฮ รุ่งขึ้นก็มีครรภ์ขึ้นมา โอ้โฮ นี่คนมีบุญมาเกิด ทำไมเขาฝันล่ะ

ฝันบอกดีก็ได้ ฝันเห็นสิ่งที่ดีก็ได้ ฝันสิ่งที่เห็นผีเห็นสางก็ได้ ทีนี้พอฝันเห็นผีเห็นสางนะ ก็แล้วกันไปไง สิ่งที่ฝันน่ะ ดูสิเวลาเราเป็นแผลเห็นไหม พอแผลเราหายแล้วเราจะมีแผลเป็น แผลเป็นจะอยู่กับเราตลอดไป แต่เดี๋ยวนี้ศัลยกรรมก็ตกแต่งได้นะ แต่ธรรมดานี่คนที่มีแผลเป็นก็จะมีแผลเป็นตลอดไป

จิตมันมีความรับรู้ของมัน สัญญานั่นคือแผลเป็นของใจ ทีนี้แผลเป็นของใจนี่ แผลเป็นของเรานี่ทำศัลยกรรมมันหายใช่ไหม แต่ถ้าแผลเป็นของใจ ทำอย่างไรมันถึงจะหาย เวลาเราภาวนาไป พวกเรามาภาวนากัน เรามาแก้ไข ก็ทำตรงนี้ไง ถ้าเรายังชำระล้างความลังเลสงสัยในใจของเราไม่ได้ เราสิ้นกิเลสไม่ได้ การสิ้นกิเลสก็เหมือนกับไม่มีแผลอะไรในหัวใจเลย หัวใจนี้จะเป็นปกติ สมบูรณ์แบบเลย “ธรรมธาตุ” นี่เรียบร้อยหมดเลย

ฉะนั้นการจะทำอย่างนั้นก็กำหนดพุทโธๆๆ พอจิตสงบเข้ามา แล้วก็ไปแก้ไขมัน ไปแก้ไขฐีติจิต เรื่องสิ่งฐีติจิตที่เป็นมา ฉะนั้นสิ่งนั้นไปแก้ไขเข้า มันก็จะทำให้สมบูรณ์ขึ้นมา พอสมบูรณ์ขึ้นมานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาคือความพร่องของใจ คำว่าความพร่องของใจมันคืออะไร คือความไม่รู้ไง พอความไม่รู้มันเกิดขึ้นมาใช่ไหม กายกับใจก็ต้องเป็นเราใช่ไหม

นี่เขาบอกว่า โดยธรรมเห็นไหม บอกกายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย ก็ขี้โม้กันไป ไม่ใช่แล้วมึงเสียใจทำไม เจ็บไข้ได้ป่วยนี่ อู้ฮู วิ่งหาหมอกันให้คึกเลย ก็ไม่ใช่เราก็ทิ้งแม่งเลย เจ็บไข้ได้ป่วย ตายปั๊บเป็นโสดาบันเลย เพราะมันไม่ใช่เรา

ใช่ทั้งนั้นล่ะ มันใช่เราตามความเป็นจริง จริงตามสมมุติ ทีนี้ความจริงตามสมมุตินี่เห็นไหม นี่มันเป็นผลของวัฏฏะ แต่ถ้าจิตมันดีขึ้นมามันแก้ไขตรงนี้ไง พอแก้ไขตรงนี้มันก็จะไปละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ใจมันจะเต็มขึ้นมาเห็นไหม อย่างแผลในใจมันก็มีลึกมีหยาบมีละเอียดเข้าไป

ฉะนั้นพอฝันเห็นผี การฝันแบบนี้ก็ฝันเข้าไปแล้ว มันเหมือนอดีตเหมือนประวัติศาสตร์ เราแก้ไขมันไม่ได้หรอก สิ่งที่ผ่านมาแล้ว แต่สิ่งที่มันให้ผลไง พอถึงฤดูกาลเวลามันให้ผลนะ ฝนตกแดดออกมันฤดูกาลของเขา ฤดูร้อนฤดูหนาวฤดูฝน นี่ก็เหมือนกัน จิตของเรามันไปสัมผัสสิ่งที่มันมีอยู่ มันก็ฝันออกมา พอฝันออกมาแล้วก็ตั้งสติ พอฝันไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไป

ฉะนั้นบอกว่า พอสวดมนต์ภาวนาแล้ว แต่ทำไมถึงฝัน สวดมนต์ภาวนานี่มันเป็นวิธีการ วิธีการว่าคนดีเห็นไหม อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ ที่บอกว่าคนเรานี่จัดบ้านทำความสะอาดแล้ว เราพักผ่อนเราก็สบาย นี่ก็เหมือนกัน สวดมนต์สวดพร เรากำหนดพุทโธหลับไปก่อนนอนนะ ทีนี้จัดดีขนาดไหน สิ่งที่จัดดีนี้เป็นวัตถุใช่ไหม แต่ถ้าเป็นหัวใจของเรา เราจัดดีในปัจจุบันนี้ แต่สิ่งที่มันซับซ้อนมาล่ะ มันมีของมันไง

มีคนนักภาวนามาคุยให้เราฟัง บางทีนี่บอก อู้ฮู ฝันนะ ฝันเรื่องอย่างนั้นๆ เลย ฝันเห็นอนาคตไง แล้วสุดท้ายพอถึงเวลาแล้ว มันเป็นเรื่องปกติ เพราะเขาไปเยี่ยมญาติเขา เขาบอกเห็นอย่างที่ฝันมาหมดเลย แล้วเขาพยายามจะบอกให้เราเห็นว่าเขามีความเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้นไง เราบอกไร้สาระๆ หมอดูมันทายแม่นกว่ามึงอีก หมอดูจะบอกเลยนะ เอ็งเป็นหนี้ใช่ไหม เดือนนั้นเอ็งจะใช้หนี้ได้นะ พอเราไปใช้หนี้ได้เราดีใจ โอ๋ย หมอดูทำ ไม่ใช่หรอก เราทำของเราเอง

นี่ก็เหมือนกัน เรื่องอย่างนี้ อาการของใจกับใจนี่ แตกต่างกันทั้งนั้นล่ะ แล้วจริตของคนมันแตกต่างหลากหลาย ฉะนั้นสวดมนต์นี่เพราะอะไร เพราะเรามั่นใจใช่ไหม ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว การสวดมนต์การกำหนดพุทโธจนหลับไปนี่ มันต้องเป็นปกติ มันเป็นปกติโดยข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงตามนี้เห็นไหม วิธีการสวดมนต์ภาวนา แล้วพุทโธนอนไป มันเป็นความดีที่เราจะทำให้ดี จัดบ้านให้เรียบร้อย ทำอะไรให้เสร็จเรียบร้อยแล้วพักผ่อน สุดยอดเลยๆ

แต่ทีนี้เรื่องของเวรของกรรม เรื่องของจิตนี่มันมีของมันไง ถ้ามีของมัน ดูสิทำไมเรานั่งกำหนดพุทโธกันนี่ เราพยายามจะให้พ้นจากทุกข์กันทั้งนั้นล่ะ แล้วเรากระเสือกกระสน แล้วมันได้ผลแค่ไหนล่ะ แล้วที่เราพุทโธนี่ผิดเหรอ ก็ไม่ผิด พุทโธทำอย่างไรก็ไม่ผิดทั้งนั้นล่ะ แต่กิเลสเรา จะบอกว่าเรานี้กิเลสหนา โยมกิเลสบาง โยมทำได้หมดเลย เรากิเลสหนา เอามันไม่ไหว ถ้าเอามันไม่ไหวอย่างนี้ เราก็สู้กันไป

ฉะนั้นวิธีการ วิธีการหมายถึงว่าการสวดมนต์หรือกำหนดพุทโธนอนเป็นของดีไหม ดี แล้วทำไมมันถึงฝันล่ะ อ้าว ฝันดีก็เยอะ เวลาฝันดีนี่ไม่ถามแน่นอน อันนี้ถ้าฝันดีไม่ถาม เก็บไว้คนเดียวเลย ฝันดี ไม่บอกใคร พอฝันแล้วตกใจนี่มาทันทีเลย อันนี้มันเรื่องปกติ

ฉะนั้นมันเป็นเรื่องของใจ พอเป็นเรื่องของใจเหมือนนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ทีนี้พอควบคุมไม่ได้ ถ้าเรามาตั้งสติของเรา เราจะควบคุมได้ไง ควบคุมได้เห็นไหม นอนให้หลับไปเลย นี่เรื่องของอย่างนี้นะเป็นเรื่องบุญกุศลนะ อย่างเช่น หลวงตาท่านเล่าให้ฟัง แต่ก่อนนี่ท่านปฏิบัติ ท่านตั้งกติกาของท่าน คนเรานะ เพราะท่านศึกษามามาก ท่านบอกว่าพระพุทธเจ้าสอนว่า ปฐมยามห้ามนอน ไปนอนเอาช่วงกลาง ๔ ชั่วโมงต่อคืนหนึ่ง แล้วถ้าตื่นต้องลุกเลย พอลุกแล้วนะ ฝึกจนเห็นไหมเวลาตื่นนี่แบบว่าดีดขึ้นมาเลย

ฝึกอย่างนั้นเลย ฝึกอย่างไรมันได้อย่างนั้นเห็นไหม พอฝึกอย่างนั้นแล้วประพฤติปฏิบัติควบคุมตัวเองตลอด ในการปฏิบัตินะ ถ้านอน ตื่นแล้วต้องลุกเลย ถ้าเราไม่ควบคุมตัวเองนะ ตื่นนอนปั๊บ ขออีกนิดหนึ่ง โอ๋ย เมื่อกี้ภาวนามาเยอะ นี่มันทำให้เราเสียหายได้ คือทำให้เรานี่ไหลไปกับความพอใจของเราได้ แต่ท่านตั้งกติกาของท่าน ฝึกมาจนสิ้นกิเลสแล้วนะ แล้วค่อยมาฝึกหัดวิธีการนอนใหม่

นี้ก็เหมือนกันไง ถ้าเราควบคุมตัวเราเพราะอะไร เพราะเรามีศรัทธาความเชื่อ เรามีบุญกุศลนะ เราเกิดเป็นชาวพุทธ คนเกิดเป็นชาวพุทธนี่มีบุญมาก มีบุญมากๆ โอ้โฮเรามีบุญ ทำไมชาวพุทธทิเบต ชาวพุทธเอเชียนี่ทั้งหมดเลย ทางตะวันตกเขาบอก ไอ้พวกตะวันออกนี้ไอ้พวกล้าหลัง ไอ้พวกตะวันออกนี่ไอ้พวกที่ว่ามันไม่เจริญเท่าเขา เขาไปมองกันแต่วัตถุไง เขาไม่มองที่หัวใจล่ะ

โธ่ เอากันจริงๆ นะตะวันตกนี่ เมื่อก่อนนะ ๒๐๐ ปี ตอนที่ยังไม่ปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็พอกัน ถ้ายังไม่ปฏิวัติอุตสาหกรรมใช่ไหม ยังไม่มีเครื่องจักรไอน้ำไม่มีอะไร มันก็เหมือนกันทั้งนั้นล่ะ เขาก็ไถนาด้วยวัวด้วยควายเหมือนกัน มันจะมีอะไรแตกต่างกัน แล้วทุกข์กว่าเราอีก ทุกข์กว่าเราเพราะอะไร เพราะว่าเวลาหิมะตกนี่เขาไม่มีอะไรกิน นี่เห็นไหม สิ่งที่เป็นอาหาร มันเป็นอย่างนั้น แต่คิดกันไปว่ากันไป

ฉะนั้นสิ่งที่เป็นเรื่องของนามธรรม สิ่งที่เป็นเรื่องของจิต มันเป็นอย่างนี้ เราจะบอกว่าที่เราพูดนี้ เราพูดขึ้นมาเพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ว่า เราทำดีแล้วจะได้ดี แต่ถ้าเราไม่มีหลักเกณฑ์นะ สวดมนต์ พุทโธนอนหลับไปเลย แล้วฝันเห็นผีนี่ ทำดีแล้วไม่ได้ดีนี่ เลิกเลย ที่เราพูดเราประกันว่า ไอ้สิ่งที่ทำคือสิ่งที่ทำ สิ่งที่ทำดีเห็นไหม

ในปัจจุบันนี้ใครเป็นคนดี แล้วทำหน้าที่การงานของเรา เพื่อประโยชน์ของเรานั้นเป็นคนดี แต่คนเราทุกคนเป็นคนดี ก็มีเวรมีกรรม คนทำความดีแล้วประสบความสำเร็จ คนทำความดีแล้วมีคนเชื่อถือศรัทธา คนที่เขาทำความดีแล้วมีผู้ใหญ่คอยดูแล นี่คนดีเขามีบุญ ไอ้เราก็ทำเหมือนกันเลย ทำเหมือนกันเปี๊ยบเลย ทำได้เหมือนกัน แต่ทำไมเราทำแล้ว คนเขาบอกว่าเราทำไม่ดี ทำไมเราทำแล้วมีแต่ทุกข์ยาก ทำไมเราทำแล้วไม่มีคนช่วยเกื้อกูลเลย

นี่ไง เวลาอย่างนี้เราเรียกร้อง แต่เวลาเสียสละ เวลาทำบุญของเรา เราสร้างของเราไม่ได้ทำ อีกคนหนึ่งเขาทำของเขา พอสิ่งนี้มันเกิดขึ้นมา ในปัจจุบันนี้นั่นคือการกระทำ แต่ไอ้เรื่องบุญกุศล ไอ้เรื่องสิ่งที่มันมีมาแล้ว เราไปแก้ไขอดีตไม่ได้นะ ฉะนั้นเราแก้ไขอดีตไม่ได้ เราเชื่อมั่นในการกระทำที่เราเป็นชาวพุทธ ทำบุญกุศลหรือว่าเรากำหนดพุทโธแล้ว เพื่อประโยชน์ในการแก้ไข

ถ้าไม่มีตรงนี้เลยนะ มีมากเป็นชาวพุทธนี่ เป็นชาวพุทธแล้วทำอะไรก็เสียสละ เสียสละ มีแต่เสียสละ เขาเปลี่ยนศาสนาเลย เราธุดงค์ไปเราไปเจอ เขาบอกว่าเสียสละ เสียสละ อะไรก็ต้องเสียสละ ไม่เอาแล้ว พอเปลี่ยนศาสนาไปนะเขาได้ ได้ ได้ มีแต่คนมาให้ไง โอ้โฮ ส่งไปเรียนเมืองนอกเลย ทำอย่างนั้นนะ อู้ฮู เขาได้หมดเลย เขาไปเลย

แต่สำหรับเรานะ เราไม่พูดที่นั่นแต่พูดตรงนี้ พูดว่า “คนขายจิตวิญญาณ คนนั้นดีได้อย่างไรวะ” คนขายจิตวิญญาณเป็นคนดีเหรอ แต่เราไม่ขายจิตวิญญาณของเรา ถ้าเราซื่อสัตย์กับจิตวิญญาณของเรา เราซื่อสัตย์กับศาสนาสิ่งที่เรายึดมั่นของเรา มันจะทุกข์มันจะยาก นั่นมันเป็นเรื่องข้างนอก ไอ้ว่าได้ๆ มานี่ ได้มานะหลักลอย ในเมื่อจิตวิญญาณเรานี่ เอ็งเชื่อมั่นอย่างนั้นจริงเหรอ เป็นอย่างนั้นจริงเหรอ

ฉะนั้นถึงบอกว่า สิ่งที่ทำแล้วนี่ ที่เราบอกว่าทำไมมันถึงฝัน ทำไมมันถึงฝัน สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ เห็นไหมดูลมหายใจ ทุกอย่างนี่ สติปัญญาศูนย์ประสาทเราควบคุมตัวเราเองได้ แต่เราควบคุมการไหลเวียนของโลหิตเห็นไหม การควบคุมลมหายใจ สิ่งที่เป็นลม เราควบคุมอย่างนั้นได้ไหม แต่ถ้าคนฝึกโยคะเขาว่าควบคุมได้นะ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราควบคุมได้ในปัจจุบันที่เราควบคุมได้ แต่เวลาเรานอนไปแล้วเราหลับไปแล้ว มันเป็นเวรเป็นกรรมเป็นบุญต่างๆ มันสะท้อนมา แต่ถ้ามันฝันดีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้นมันเรื่องของฝัน

เราจะบอกว่าการสวดมนต์ก่อนนอนก็พุทโธ แล้วมันยังฝันไหม ฝัน แล้วฝันดีก็ดีไป ถ้าฝันไม่ดีก็คือสิ่งที่มันไม่ดี ถ้าไม่ดีแล้วเห็นไหมเขาไม่ให้เชื่อความฝัน เขาไม่ให้เชื่ออะไรทั้งสิ้น แม้แต่การปฏิบัติยังไม่ให้เชื่อเลย แต่นี้พอเราไปฝันเองเห็นไหม เราต้องแก้ไขไป ความฝันของพระอรหันต์จะสะอาดบริสุทธิ์ จะถูกต้องตามข้อเท็จจริง ความฝันของปุถุชน ความฝันของอริยบุคคลแต่ละชั้นตอนนี่ก็ไม่เหมือนกัน เพราะมันบวกด้วยกิเลสเราไง

พระโสดาบัน เห็นไหมพระโสดาบันทำความสะอาดของใจได้ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ พระสกิทาคามีทำความสะอาดของใจได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ พระอนาคาทำความสะอาดของใจได้ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ พระอรหันต์ทำความสะอาดได้ครบถ้วนเลย พอครบถ้วนแล้วกิเลสมันไม่มี สิ่งเร้าที่จะเกิดให้ฝันไปทางไหนมันไม่มี พอไม่มีเท่านั้นน่ะ อันนั้นนี่ฝันสะอาดบริสุทธิ์เลย ก็ยังฝันอยู่ ทั้งๆ ที่ว่าสะอาดบริสุทธิ์แล้ว สะอาดบริสุทธิ์เพราะมันไม่มีตัวเร้า ไม่มีอุปาทาน ไม่มีอะไรไปเพิ่มค่ากับสิ่งที่จะประสบพบเห็น สิ่งที่เราเคยฝังใจกันมา ฉะนั้นพอมันฝันมันก็ฝันเรื่องจริงทั้งนั้นล่ะ พอเรื่องจริงขึ้นมามันก็เป็นฝันของพระอรหันต์เห็นไหม

เว็บไซต์ออกไป บอกพระอรหันต์ฝันได้นี่เป็นปัญหาอีกล่ะ เดี๋ยวถามมาอื้อเลยล่ะ ฉะนั้น พูดกับชุมชนใดชุมชนหนึ่ง แต่คนฟังทั่วไปนี่เขาไม่ได้อยู่ในชุมชนนั้น เขาไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น เขาตีความหมายไปคนละเรื่องกัน

อันนี้พูดถึงความฝันนะ แต่นี่เราพูดถึงการปฏิบัติ ทำไมเรามีความเครียด แล้วเรากำหนดเฉยๆ แล้วความเครียดหายไปได้อย่างไร ทำไมความเครียดเราถึงได้หายไป ทำไมการปฏิบัติของเรานี่จะเป็นสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ ที่เราทำนี่ มันจะเป็นจริงได้อย่างไร มันเป็นความจริงไปไม่ได้

อย่างเช่น ความฝันเวลามันฝันขึ้นไป พอเราหลับไปแล้วมันไม่มีสติ พอไม่มีสติมันจะมาโดยข้อเท็จจริง ที่หลวงตาบอกว่า “ฝันดิบฝันสุก” นี่เวลาฝันสุกเห็นไหม คือความฝันจริงๆ ความคิดเราก็คือความฝัน ฝันดิบๆ นี่ นี่ฝันดิบฝันสุก ฝันดิบคือว่าเพ้อเจ้อไง เสนอโครงการไง เวลาคิดนี่ฝันแล้ว ความคิดที่มันเกิดขึ้นนี่ ฝันแล้ว ฝันว่าจะเป็นอย่างนั้น ฝันเลย ความคิดนี่คือความฝัน แต่ฝันดิบๆ แต่พอเราหลับไปนี่ฝันสุก

ฉะนั้นเวลาเรากำหนดพุทโธๆๆ ของเรานี่เห็นไหม เพื่อความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบเข้ามาเห็นไหม สิ่งนี้มันจะแก้ไข สิ่งที่ว่าเมื่อก่อนนะ ถ้าเราไปดูว่าเรากำหนดแล้วมันสบาย มันดีขึ้นมา สิ่งนั้นเป็นความจริง มันสบายนะ คนเรานี่นะเวลามันมีปมในใจ พอมีปมในใจ แล้วมันไม่มีสิ่งใดที่จะปลดปมในใจนั้นได้เลย แต่พอเราตั้งสติหรือว่าเราจะทำคุณงามความดีของเรา มันไปแก้ปมนั้นได้ มันก็ปล่อย พอมันปล่อยแล้วมันว่าเป็นความว่าง มันเป็นสัมมาสมาธิ เป็นความสุขสะดวกสบาย เราจะบอกว่านั่นไม่ใช่ธรรมะไง

“กระเบื้องมันจะฟูลอยนะ น้ำเต้ามันจะจมน้ำไปข้างหน้า” นี่พระพุทธเจ้าพยากรณ์เอาไว้ กระเบื้องมันจะฟู กระเบื้องมันคืออะไร กระเบื้องมันคือของหนัก กระเบื้องคือความไม่จริง กระเบื้องมันลอยน้ำไม่ได้ กระเบื้องมีน้ำหนักมันจมน้ำทั้งนั้นแหละ แต่ผลน้ำเต้าที่มันแห้ง ผลน้ำเต้าที่ว่าเขาเอาไว้ใช้ทำความสะอาด มันเป็นใยเฉยๆ มันจะลอยน้ำ เห็นไหม นี้คือข้อเท็จจริงที่มันเป็นความจริง ตามข้อเท็จจริงที่มันเป็นจริง

แต่นี่กระเบื้องจะฟูลอย ฟูลอยก็คือความเห็นผิดของเรานี่ไง ถ้าเรามีความเห็นผิดในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเรามีความเห็นผิดจากศาสนา ถ้าเรามีความเห็นถูกตามศาสนา ตัวศาสนามันอยู่ที่ไหน เราว่ากันว่าตัวศาสนาอยู่ที่พระไตรปิฎกนะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมและวินัยนี้จะเป็นศาสดาของเธอ” เราก็ศึกษาธรรมและวินัยกัน แล้วก็ว่านี่เป็นศาสดาของเรา ศาสดาของเรา

ศาสดามันเป็นทฤษฎี ความเป็นทฤษฎีอย่างนี้มันเป็นทฤษฎีชี้นำขึ้นมาเห็นไหม ดูสิระดับของทาน ระดับของคนทำทาน ระดับของคนที่ถือศีล ระดับของคนที่ภาวนา ถ้าระดับของคนที่การภาวนา พุทธศาสนาที่ว่าเราเกิดเป็นชาวพุทธที่มีความสำคัญ เกิดเป็นชาวพุทธนี่เรามีโอกาสมาก เพราะว่าชาวพุทธนี่จะสิ้นกิเลสไง ชาวพุทธเห็นไหมมีความทุกข์ความร้อนนี่เป็นทุกขสัจ เป็นสัจจะความจริง ถ้ามีทุกขสัจเราเผชิญกับความทุกข์ใช่ไหม ทางยุโรปเขาบอกว่า ไอ้พวกนี้ทุกข์นิยม ไปกอดอยู่กับความทุกข์

ไม่ใช่ทุกข์นิยม เวลานั่งสมาธิไปมันเกิดความเจ็บปวดไหม มันแน่นอนอยู่แล้ว ถ้ามันแน่นอนอยู่แล้วนี่ไม่ใช่ทุกข์นิยม “สัจจะนิยม” สัจจะนิยมมันเป็นความจริง เพราะเราเผชิญหน้ากับความจริงเห็นไหม ถ้าเราเผชิญหน้ากับความจริง เพื่ออะไร เพื่อจะแก้ไขได้ตามความเป็นจริงนั้น ถ้ามันมีเหตุการณ์จริง

เวลาเราเกิด เราเกิดมาจากไหน ปฏิสนธิจิตนี่ใครเห็นมันบ้าง เวลาเกิดแล้วเราก็ว่าเกิดจากท้องแม่ แล้วเวลาผู้ที่เป็นหมันมันมีลูกไหมล่ะ แล้วเวลาเราเกิดจากท้องแม่ นี่มันเป็นสายบุญสายกรรม แต่มันเกิดมาจากกรรมของตัวเองไง เกิดมาจากปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตมันปฏิสนธิในไข่ มาเกิดปฏิสนธิในครรภ์

แล้วพอเกิดปฏิสนธินี่ พ่อแม่ก็ส่วนของพ่อแม่ แต่ส่วนของเรา ถ้าส่วนของเรา เราเกิดเป็นลูกของพ่อแม่ใช่ไหม เราก็เป็นลูกของพ่อแม่ในชาตินี้ พ่อแม่รักกัน ไอ้นี่เป็นเรื่องของโลกนะ ชีวิตความจริงเป็นสมมุติ ถ้าเป็นความจริงสมมุติ เราเกิดมาจริงไหม พ่อแม่จริงๆ ไหม จริง นี่พระอรหันต์ของลูก เห็นไหม

พระอรหันต์ของลูก เพราะให้ชีวิตเรามานะ หล่อเลี้ยงเรามา มีบุญคุณกับเรามหาศาลเลย แต่มันเป็นเรื่องของสมมุติ มันเป็นเรื่องของโลก คือมันเป็นเรื่องของวาระไง เป็นเรื่องของชีวิตหนึ่งใช่ไหม แต่จิตนี้มันยังเกิดอีก แล้วก็ผลัดกัน เปลี่ยนกันเกิดเป็นลูกเป็นพ่อเป็นแม่ ผลัดเปลี่ยนกันไปผลัดเปลี่ยนกันมา มันผลัดเปลี่ยนกันเพราะอะไร เพราะมันมีบุญมีคุณต่อกัน

แต่เวลาพุทธศาสนาสอนเรื่องปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตตัวที่จะมาเกิดนี่ เห็นไหมตัวจิตเราจะควบคุมมันอย่างไร ถ้าเราจะควบคุมอย่างไร เราก็ต้องตั้งสติก่อน แล้วเราใช้คำบริกรรม ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ สมาธิอบรมปัญญาก็ได้ ถ้าจิตมันสงบไง นี่ไงปฏิสนธิจิต เพราะจิตสงบคือฐีติจิต คือจิตเดิมแท้คือตัวจิต แต่ถ้าเรากำหนดเฉยๆ ห้ามมีสติ ห้ามควบคุม แล้วห้ามทำสิ่งใดๆ เลย มันก็อากาศ มันก็เป็นวัตถุเห็นไหม เราจะแก้ไขสิ่งใดได้ เราก็แก้ไขสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย เพราะว่าเราไม่เข้าไปถึงต้นเหตุ

ต้นเหตุคืออะไร ต้นเหตุคือใจเรา ต้นเหตุคือความรู้สึก ต้นเหตุคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นมา ฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นไปได้มันต้องเข้ามาสงบที่นี่ ถ้าจิตมันเข้ามาสงบเห็นไหม เข้ามาสงบขึ้นมา พอจิตมันสงบแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา “นี่ถ้าจิตสงบแล้วมันถึงมีปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นนี่ปัญญาโลกุตตรปัญญา” แต่ปัญญาที่เราคุยกันอยู่นี่ นี่ก็สติปัฏฐาน ๔ ไอ้นู้นก็สติปัฏฐาน ๔ นี่ พิจารณากายก็พิจารณาอยู่แล้ว ก็จับแล้ว

หมอมันผ่าตัดทุกวันนะ ยิ่งสัปเหร่อนี่มันเผาศพทุกวันเลย นี่มันเป็นกายไหมล่ะ ก็กายทั้งนั้นล่ะ นี่พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ไง กาย เวทนา จิต ธรรม สัปเหร่อมันเฉาะน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพนะ มันได้ตังค์นะ เวลาหมอเขาผ่าตัดมันเห็นกายไหมล่ะ แล้วอะไรเป็นสติปัฏฐาน ๔ ล่ะ ถ้าสติปัฏฐาน ๔ นะนักศึกษาแพทย์มันเป็นพระอรหันต์หมดแล้ว เพราะมันผ่าอาจารย์ใหญ่ ผ่ามันทุกอย่างล่ะ มันผ่ากายทุกวันเลย มันผ่าแล้วเย็บ เย็บแล้วผ่า ผ่าแล้วเย็บ เย็บแล้วผ่า

แล้วยิ่งเย็บยิ่งผ่ากิเลสยิ่งเยอะนะ เพราะอะไร เพราะพอศึกษาแล้ว เป็นหมอใช่ไหม พอหมอแล้วต้องเฉพาะทางใช่ไหม มันต้องเรียนขึ้นไปอีกใช่ไหม มันศึกษาใหญ่เลย อย่างนั้นเป็นสติปัฏฐาน ๔ ไหม หมอผ่าตัดอยู่ทุกวันน่ะ ผ่าเย็บผ่าเย็บผ่าเย็บ เย็บแล้วผ่า ผ่าแล้วเย็บนี่เป็นสติปัฏฐาน ๔ ไหม ถ้ามันมีความสลดสังเวชนะ ถ้าหมอคนนั้นเป็นคนดีนะ ร่างกายเขากับร่างกายเราก็เหมือนกัน ถ้าร่างกายเขากับเราเหมือนกัน นี่หมอก็เป็นโรคเป็นภัยเหมือนกัน หมอก็เสียชีวิตเหมือนกัน

ถ้ามันมีจิตใต้สำนึกนะ ในวิชาชีพของหมอเขาจะมีวิชาชีพของเขา เขาจะทำตามหน้าที่ของเขา แต่ถ้าหมอเขาเป็นธุรกิจ หมอที่เขาทำเพื่อผลประโยชน์ของเขา เขาทำเป็นอาชีพของเขา เขาหาผลประโยชน์ของเขานะ ถ้าหาผลประโยชน์ของเขานี่ คือจิตใจเขาต่ำ จิตใจเขาต่ำคือว่าเขาอยู่ของเขาด้วย เพื่อใช้ชีวิตของเขา แต่ถ้าจิตใจเขาสูงขึ้นมา เขาเห็นแล้วสลดสังเวชเห็นไหม

สังเวชนี่ กายอย่างนั้นน่ะ เราไปเที่ยวป่าช้า ที่พระพุทธเจ้าสอนให้ไปเที่ยวป่าช้านี่ ให้ขึ้นไปเหนือลม ไปเหนือลมพอไปเห็นซากศพขึ้นมาเห็นไหม มันสลดสังเวชมันก็สะเทือนใจไง พอมันสะเทือนใจมันก็ปล่อย ปล่อยอารมณ์ความรู้สึก ถ้ามันปล่อยความรู้สึกขึ้นมา นั่นคืออะไร นี่คือสมถะ นี่คือทำสมาธิไง ไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ ต้องจิตมันสงบก่อน พอจิตมันสงบแล้ว จิตมันออกรู้ขึ้นมา แล้วมันสะเทือนหัวใจเห็นไหม เพราะเวลาไปเที่ยวป่าช้านะ เวลาเขาไปเที่ยวป่าช้ากัน กลางคืนเราเข้าไปในป่าช้าสิ กลางวันนี่ไปได้ แต่กลางคืนนี่ไปไม่ได้ พอไปเที่ยวป่าช้าขึ้นมา เพราะจิตมันหดตัวเข้ามาไง ความที่กลางคืนเรากลัวผีนี่ เราทั้งกลัวผีกลัวสาง กลัวต่างๆ เห็นไหม มันสังเวช นี่มันจะคาย ถ้าเราไม่กลัวผี เราไม่กลัวสิ่งใดๆ อย่างคนนี่ คนไม่รู้สึกตัวเองเจ็บไข้ได้ป่วยนะ มันเห่อเหิมมาก มันจะทำอะไรตามใจมันเลย พอบอกว่านี่ โอ้โฮ พรุ่งนี้เจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว อีกไม่กี่วันจะตายนะ ใจมันจะทิ้งหมดเลย

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาเรากลัว พอกลัวขึ้นมานี่มันไม่คิดเรื่องอื่นเลย มันคิดแต่เรื่องกลัว แต่ถ้าไม่มีความกลัวนะ โอ้โฮ มันฟุ้งซ่าน มันคิดไปตามอำนาจมันเด็ดขาด ไปเต็มๆ แรงมันเลย เต็มกำลังของใจที่มันคิดได้หมดเลย แต่พอจะไปป่าช้า ไปพิจารณาซากศพ ไปกลางคืนด้วยนี่ มันขี้แตกเยี่ยวแตกเลย เพราะมันไม่คิดอย่างอื่นแล้ว มันคิดแต่เรื่องกลัวแล้ว เห็นไหมพอเรื่องกลัวนี่ ไปดูซากศพ ไปดูอย่างนี้มันยังเป็นสมถะเลย

สมถะหมายถึงว่า ถ้าจิตมันไปเห็นกายนอกขึ้นมา มันพิจารณาแล้วมันสลดสังเวชขึ้นมา มันปล่อยขึ้นมา นั่นคือสมาธิ ฉะนั้นมันไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ ใครจะรู้ได้ ไอ้ที่สอนสติปัฏฐาน ๔ นี่มันสอนทฤษฎี มันสอนตัวหนังสือไง มันสอนตัวหนังสือกัน “นี่ๆ ตัวหนังสือเป็นอย่างนี้นะ” แต่มันไม่มีความจริง ถ้ามีความจริงขึ้นมา ถึงบอกว่า นั่นน่ะมันสติปัฏฐาน ๔ ปลอม

ถ้าสติปัฏฐาน ๔ จริงนี่ จิตมันสงบเข้ามานะ คำว่า “จิตสงบ” นี่นะ มันเหมือนกับจิตเรานี่ได้พักผ่อน พอจิตเราพักผ่อน จิตมันเป็นเอกเทศ ถ้าจิตมันสงบเป็นเอกเทศมันมีความสุข ถ้าสงบจริงนะ แต่พวกเรานี้สงบไม่จริง เหมือนเศรษฐีเขามีความสุขเพราะเขามีเงินมีทอง เขาเป็นเศรษฐี ไอ้เราก็สมมุติว่ากูเป็นเศรษฐีนะมึง เขามีเงินพันล้านกูก็มีพันล้าน แต่เขามีพันล้านจริงๆ เขามีความสุข ไอ้เรามีพันล้านจริงๆ กูสมมุติกันว่ากูเป็นเศรษฐี

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันว่างจริง มันจะเป็นเศรษฐี มันเศรษฐีเพราะอะไร เพราะเศรษฐีนี่เขามีเงินจริงๆ เขาจับต้องได้จริง เขามีความสุขจริงๆ เขาอบอุ่นของเขาจริงๆ แต่เราสมมุติว่ากูมีเงินเหมือนกัน แต่กูไม่มีเงินเป็นตัวเลข กูว่ากูมีเงินเหมือนกันนะ แล้วมีความสุขไหม เราจะเทียบให้เห็นสมาธิจริงกับสมาธิปลอม ถ้าสมาธิว่าว่างๆ ว่างๆนี่ โดยที่มันไม่เป็นความจริง มันเหมือนเศรษฐีปลอม เศรษฐีปลอมนี้เราพูดได้ เราคิดเองได้ เราคิดอย่างไรก็ได้ คิดว่าเรามีเงินเท่าไรก็ได้

แต่ถ้ามันเป็นเศรษฐีจริงนี่เขาคิดเองไม่ได้ เขาจะเป็นเศรษฐีนี่เขาต้องทำธุรกิจการค้าของเขา เขาต้องทำงานของเขา เขาถึงได้เงินนั้นเพิ่มมา นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรากำหนดพุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิ ตามข้อเท็จจริงนั้น เห็นไหมไปเที่ยวป่าช้า เราไปป่าช้า เราไปเหนือลม พอไปเห็นซากศพขึ้นมา มันสลดเข้ามา ถ้าจิตสลดเข้ามา มันปล่อยเข้ามาได้ นี่จิตมันปล่อยเข้ามา ตัวมันเองเห็นไหม มันรู้ตัวมันเอง มันมีการกระทำ มันปล่อยเข้ามา

จิตเวลามันยึด เวลามันมีความคิดเกิดขึ้น เวลาความรู้สึกมันเกิดขึ้น เวลาความทุกข์เกิดขึ้น มันเป็นโดยสามัญสำนึก มันเป็นโดยสัญชาตญาณมันเป็นอย่างนี้ งานของจิตนี้ เรื่องนามธรรมมันทำงานของมันอย่างนี้ แต่เพราะเราศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้า แล้วเราทำตามความเป็นจริงเห็นไหม ถ้าไม่ทำตามความเป็นจริง มันก็เศรษฐีปลอม นึกเอาคาดเอา เป็นสติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมะเป็นอะไร เป็นเพ้อเจ้อ

เป็นเพ้อเจ้อเพราะมันมีธรรมะพระพุทธเจ้ามาเป็นที่แอบอ้าง ถ้าไม่มีธรรมะพระพุทธเจ้ามันก็เอาอะไรมาเพ้อเจ้อไม่ได้ ไม่มีความจริง ความปลอมจะเอามาเพ้อเจ้อไม่ได้ แต่เพราะมีความจริงขึ้นมา มันก็เลยเพ้อเจ้อ

แต่ถ้าเราเป็นเศรษฐีจริงนะ เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราทำหน้าที่การงานขึ้นมานี่ มันจะมีของมัน มันจะมีหลักมีองค์ความรู้ มีการกระทำ เราทำธุรกิจนี่เรารู้ขาดทุนกำไรอย่างไร เราทำบัญชีทุกวัน ทำบัญชีของเรา เงินมันจะสะสมขึ้นมา มันจะเพิ่มขึ้นมา ปฏิบัติไปนี่มันจะมีข้อเท็จจริงของมันตลอด แล้วข้อเท็จจริงที่มันทำบัญชีแล้ว ออกไปทำธุรกิจ ออกไปใช้จ่ายนั่นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง พอทำบัญชีขึ้นมานี่มันทบ บัญชีนี่มันสะสมขึ้นมาว่ากำไรขาดทุนมันมีมากน้อยแค่ไหน

เรากำหนด ทำจิตใจนี้ให้มันสงบเข้ามา มันจะทบในบัญชีของเราว่าบัญชีมีจริงหรือมีปลอม ถ้ามีจริงหรือมีปลอมแล้ว เวลาเรามีบัญชีแล้วใช่ไหม เรามีต้นทุนแล้วใช่ไหม เราออกไปทำธุรกิจ นี่ๆ อันนี้ออกไป มันถึงสติปัฏฐาน ๔ เกิดตรงนี้ไง ถ้าสติปัฏฐาน ๔ มันเกิดขึ้นนะเพราะอะไร เพราะเรามีเงินทุนใช่ไหม แล้วเราสั่งของเขามาเราจ่ายเงินได้ เราทำอะไรก็ได้ สติปัฏฐาน ๔ มันเกิดตรงนี้

ถ้าจิตมันสงบแล้ว พอจิตสงบมันไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันสะเทือนหัวใจ มันสะเทือนหัวใจนี่สั่นไหวหมดเลย แต่ถ้าเราไปเห็นกายนะ อย่างที่หมอเขาเห็นกาย เราไปเที่ยวป่าช้า สัปเหร่อมันทำอาชีพของมันนะ ในการเผาศพทุกวันน่ะ อย่างนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ มันต้องเป็นจิตเห็น แล้วถ้าจิตมันเห็นแล้วนะ จิตดวงนั้นเห็น จิตปฏิสนธิจิต จิตดวงนั้นเห็น จิตดวงนั้นจะคายสำรอกกิเลสของจิตดวงนั้น จิตดวงนั้นเห็น แล้วจิตดวงอื่นชำระกิเลส ไม่มี ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า เราเป็นคนกำหนด เป็นคนชี้ทางเท่านั้น พวกผู้ปฏิบัติต้องทำของผู้ที่ปฏิบัติเอง

ฉะนั้นเวลาเป็นสันทิฏฐิโก สันทิฏฐิโกคือรู้ตามความเป็นจริง ปัจจัตตัง เห็นเฉพาะหน้า สิ่งที่เห็นเฉพาะหน้า หรือรู้เฉพาะตนนี่มันจะถอดถอนกิเลสเฉพาะดวงนั้น นี่ไงเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วถึงทอดธุระว่าจะสอนได้อย่างไรๆ

เราไม่สบายนะ นี่เข้าโรงพยาบาล ผลัวะ! โรงพยาบาลนี่เอาเตียงเข็นมา แล้วรักษาหมดเลย นี่ไงนี่โรงพยาบาลรักษาคนไข้ได้ทั้งหมด แต่ธรรมะนี่จะรักษาเฉพาะบุคคล! บุคคล! บุคคล! แล้วจะต้องเป็นธรรมที่เกิดจากใจดวงนั้นเห็นไหม นี่กระเบื้องมันจะฟูลอย ฟูลอยเพราะกิเลสมันหนา กิเลสมันหนามันก็ว่านี่ธรรมะของพระพุทธเจ้า รู้ไปหมดเลย กระเบื้องมันจะฟูลอย

แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ มันเป็นสัจธรรม มันเป็นน้ำเต้า น้ำเต้ามันเบาใช่ไหม จิตใจมันเบาจิตใจมันดี นี่จิตใจที่มันเป็นธรรม มันไม่ใช่กระเบื้อง ถ้าจิตใจที่มันเป็นกิเลส กิเลสมันครอบงำอยู่ นี่กระเบื้องมันจะจมน้ำไง นี่ปฏิบัติธรรมนะ อู้ฮู ว่างหมดเลยนะ นั่นล่ะกระเบื้อง “กระเบื้องมันจะฟูลอย” แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ความจริงมันเป็นข้อเท็จจริงขึ้นมา มันจะไม่ฟูลอยของมัน มันมีข้อเท็จจริงของมัน

มันเป็นข้อเท็จจริง! ข้อเท็จจริงคือปัจจุบัน ถ้าข้อเท็จจริงอันนี้เกิดขึ้นมาเห็นไหม เวลาจิตมันสงบนะ พอสงบแล้วมันออกวิปัสสนา ออกแยกแยะออกทำลาย ออกทำลายอะไร ออกทำลายสักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในกาย อุปาทานในกาย ถ้าอสุภะของกายมันเป็นอนาคา แล้วถ้าเป็นตัวจิตล่ะ จิตที่ทรงรูปของมัน ที่ปฏิสนธิจิต จิตที่เป็นภพที่มันเกิดขึ้นมาล่ะ

มันเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี่ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมาเห็นไหม นี่สติปัฏฐาน ๔ มันอยู่ที่นี่ สติปัฏฐานคือเห็นตามความเป็นจริง แล้วสติปัฏฐาน ๔ ขึ้นมา คนที่วิปัสสนา สติปัฏฐาน ๔ นี่ แล้วเวลามันสำรอก กิเลสเต็มหัวทุกคนรู้ได้ แต่ถ้าเวลามันชำระกิเลส เห็นไหม มันถอดมันถอนอย่างไร มันทำอย่างไร มันได้ชำระสิ่งใดออกไป ถ้าชำระสิ่งนั้นออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น

ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติ ท่านผ่านมาเหมือนพ่อแม่เลย พ่อแม่ทำมาหากินมา แสนทุกข์แสนยาก พอแสนทุกข์แสนยากนี่ ลูกหลานทุกคนก็อยากจะให้ร่ำรวยเหมือนกับพ่อแม่ทั้งนั้นล่ะ แต่ลูกหลานเราจะร่ำรวยได้จริง จะรักษาสมบัติได้จริง ลูกหลานนั้นจะต้องฝึกงาน จะต้องทำงานเป็นตามความเป็นจริง

กรรมฐาน ในการปฏิบัติของครูบาอาจารย์เราเห็นไหม ครูบาอาจารย์เราแต่ละองค์นี่ คนเรานะ เอาหัวใจไว้ในอำนาจของเรา เอาความจริงไว้ในอำนาจของเราได้ คนๆ นั้นนะจะทำมาด้วยข้อเท็จจริงนี่ จะรู้ว่าทำมาด้วยความยากลำบากแค่ไหน

ฉะนั้นเวลาจะสอนลูกหลาน จะสอนให้คนอื่นทำให้ได้เหมือนเรา เหมือนเราเลย ถ้าเราประกอบธุรกิจสำเร็จขึ้นมา รักษาสมบัติของเราขนาดนี้ แล้วต้องการให้คนอื่นรักษาสมบัติของเรา เราจะต้องแนะนำเทคนิควิธีการให้ทันคน ให้รู้เท่า ไม่ให้ใครมาต้มตุ๋น ไม่ให้ใครมาหลอกลวง ฉ้อฉล เอาสมบัติของเราไปได้เลย เวลาเราปฏิบัติกับจิตของเราเอง มันจะเป็นอย่างนั้นล่ะ

ฉะนั้นคนที่เป็นอย่างนั้นแล้ว เวลาปฏิบัติขึ้นมา ครูบาอาจารย์ของเราถึงได้ถนอมรักษาลูกศิษย์ลูกหามากนะ การที่จะประพฤติปฏิบัติ สถานที่สัปปายะ ๔ เห็นไหม หมู่คณะเป็นสัปปายะ ถ้าหมู่คณะเป็นสัปปายะ เวลาเราปฏิบัติเห็นไหม เรารู้เราเกรงอกเกรงใจกันนะ ทุกคนต้องการความสงัด ทุกคนต้องการสถานที่ เราจะไม่ไปรบกวนใครเลย เห็นไหม นี่หมู่คณะเป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะ

ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะนี้หาได้ยากมาก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะวุฒิภาวะเราต่ำ วุฒิภาวะเราเป็นปุถุชน แล้วปุถุชนกับปุถุชนสอนกัน ก็เหมือนคนบ้ากับคนบ้าคุยกัน นะ น้ำท่วมทุ่ง แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรานะ นี่เป็นสัปปายะเพราะอะไร เพราะวุฒิภาวะเราต่ำใช่ไหม เราจะไม่รู้เลยว่าคนสูงกว่าเรานี่จะมีความรู้ จะมีเทคนิควิธีการสอนอะไรให้เรา

แต่ครูบาอาจารย์ของเรา ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเราแล้ว ท่านเคยผ่านวุฒิภาวะอย่างนี้มา เพราะท่านจะเป็นครูบาอาจารย์ได้ ท่านต้องประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ท่านต้องมีการกระทำของท่านขึ้นมา นี้การกระทำอันนั้น ดูสิเห็นไหม ทำไมหลวงตาเวลาท่านพูดเห็นไหม ให้ผ่อนอาหาร ให้มีสติ จะยืนจะกินจะอยู่นี่ให้มีสติตลอด สติมันจะฝึกมาจากพื้นฐานเห็นไหม แล้วถ้ามันพัฒนาขึ้นมาจะรู้ได้ จะเห็นได้ และจะพัฒนาขึ้นไปได้ ถ้าพัฒนาขึ้นไปได้เห็นไหม นี่เฉพาะตน เฉพาะจิตดวงนั้น

ถ้าจิตดวงนั้นปฏิบัติไป ตามจริตนิสัยที่จิตดวงนั้นปฏิบัติไปแล้ว จิตดวงนั้นจะรู้ตามความเป็นจริง ผลของความจริงมันอยู่ตรงนี้ไง สติปัฏฐาน ๔ มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นสติปัฏฐาน ๔ ที่พูดนั่น มันเหมือนเราไปปฐมนิเทศกัน แล้วก็ฟัง แล้วก็ว่ารู้แล้วไง รู้แล้ว ปฐมนิเทศแล้ว จบแล้ว แต่เรายังไม่ได้ทำ แต่พอมาทำนี่เราทำ ถ้าเราทำ เราก็ทำด้วยความเห็นของเรา

แต่ถ้าเป็นความจริง ความจริงต้อง ต้องเลย! ต้องเลย! ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามีสมาธิแล้ว ปัญญาโลกุตตรปัญญา ปัญญาที่จะชำระกิเลส ฉะนั้นพอปัญญาชำระกิเลสเพราะอะไร เพราะมีความเชื่อถือของสังคม แต่ในปัจจุบันนี้ว่าปัญญาของเรา ปัญญาที่เราจะประพฤติปฏิบัติกันนี่ เป็นปัญญาของเรา มันเป็นธรรมสังเวชนะ เพราะเราศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าใช่ไหม แล้วเรามาตรึกขึ้นมานี่มันใช้ได้ มันรู้ มันใช้ได้เพราะมันเป็นธรรม

ถ้าเราศึกษาทางโลก เราศึกษาอยู่กับโลกนี่ มันเป็นวิชาชีพ พอไปศึกษาทางธรรมนี่ จริงๆ เราก็จะบอกมันเป็นวิชาชีพเหมือนกันล่ะ วิชาชีพของใจ ถ้าใจได้ศึกษาธรรม มันสังเวช มันเห็นคุณค่าของชีวิต พอเห็นคุณค่าของชีวิต “ชีวิตนี่อยู่กับไฟ” เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม บอกว่ามนุษย์ทุกคนถือดุ้นไฟกันมาคนละท่อน แล้วก็บ่นว่าร้อน ร้อน ร้อน

มีกาลครั้งหนึ่ง มีมหาบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาด ได้ทิ้งดุ้นไฟนั้นไป แล้วประกาศบอกพวกสาธารณชนทั้งหลาย บอกว่าให้ทิ้งดุ้นไฟนั้น ทิ้งดุ้นไฟนั้น นี่ก็เหมือนกันเห็นไหม พลังงานในหัวใจของเรา ความคิดความฟุ้งซ่านในหัวใจของเรา มันมีอยู่กับเราตลอดไป ร้อน ร้อน ร้อน ฉะนั้นเวลาร้อน ร้อน ร้อนนี่ ที่ว่าปฏิบัติไปแล้วสบาย สบายนี่ ถามจริงๆ เถอะ สบายจริงหรือเปล่า มันเป็นมารยาททางสังคมเท่านั้นล่ะ มันไม่สบายจริงหรอก ถ้าสบายจริงแล้วมันต้องทิ้งดุ้นไฟนั้นก่อน ถ้าดุ้นไฟนั้นไม่ได้ทิ้ง เราถือดุ้นไฟอยู่ มันจะเย็นนี่มันเป็นไปไม่ได้ ถ้ามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจ มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ถ้าได้ทิ้งดุ้นไฟนั้นตามความเป็นจริงนะ ความร้อนนั้นจะหายไปโดยข้อเท็จจริงเลย

มหาบุรุษคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเป็นชาวพุทธ เราเกิดในพุทธศาสนา เวลาเราพูดถึงธรรมะเห็นไหม เวลาเราศึกษาธรรม เวลาเราเรียนปริยัติก็เป็นอย่างหนึ่ง เวลาเรียนปริยัติแล้วนี่มันเหมือนกับว่าไก่ได้พลอยไง เรียนปริยัติมีความรู้มาก ไอ้พวกปฏิบัติมันโง่ ไอ้ที่มันพุทโธ พุทโธยิ่งโง่เข้าไปใหญ่ กระเบื้องมันจะฟูลอย

เวลาประพฤติ เวลาศึกษาไปนี่รู้มาก รู้มากไง แล้วรู้นี่ รู้ไปหมดทุกอย่างเลย แต่ไม่มีเนื้อหาสาระเลย เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ก่อนเพื่อน ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ “ปริยัติ” คือทฤษฎีคือคำสอนคือวิธีการ “ปฏิบัติ” คือมีเหตุมีผลขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้าเป็นเศรษฐี ก็ต้องเป็นเศรษฐีตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่เราอุปโลกน์ว่าเป็นเศรษฐี เราไม่มีสิทธิอุปโลกน์ว่าเป็นเศรษฐี

อย่างเช่นเรานี่ในสังคมเห็นไหม เราไม่มีสิทธิว่าเราเป็นคนดี สังคมเขามองเราเอง สังคมเขาว่าเราดีหรือชั่ว สังคมเขาจะบอกเราเอง ไม่ใช่ว่าเราจะเขียนป้ายไว้ว่าเราเป็นคนดี นี่ปริยัติ แต่ถ้าปฏิบัติมันจะรู้ขึ้นตามความเป็นจริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติมีข้อเท็จจริงขึ้นมาต่างๆ แล้วนี่ ปฏิเวธ ปฏิเวธนี่คือผลไง

กุปปธรรม อกุปปธรรมนี้ยังแยกไม่ถูกเลยนะ กุปปธรรมคือสภาวธรรม ที่ว่าสัพเพ ธัมมา อนัตตา นิพพานก็ต้องอยู่ในอนัตตา นี่ไงในปริยัติที่ว่า ธรรมทั้งหลายต้องเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าสอนก็เป็นอนัตตา แล้วถ้าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนจะเป็นอนัตตาไหมล่ะ สมมุติว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เกิด ไม่มีพระพุทธเจ้านี่ มันจะเป็นอนัตตาไหม มันก็เป็นโดยตัวของมันเอง แต่ไม่มีใครรู้จริง

แต่นี่พระพุทธเจ้ารู้ รู้ขึ้นมานี่เห็นไหม สัพเพ ธัมมา อนัตตา แต่เพราะเป็นอนัตตา เพราะมันมีทฤษฎีที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติแล้วสอนไว้ แต่เวลาพระพุทธเจ้ารู้จริงขึ้นมา สัพเพ ธัมมา อนัตตา แต่มันมีอันหนึ่งไง อกุปปธรรมที่มันพ้นจากอนัตตาไป กุปปธรรม- อกุปปธรรม เห็นไหม

ฉะนั้น สิ่งที่เป็นอนัตตา สิ่งที่ว่าเป็นสมมุตินี่ ชีวิตนี้เป็นสมมุติ ทุกอย่างเป็นสมมุติ แต่มันมีวิมุตินะ มันมีความจริงนะ มันเป็นภาพเชิงซ้อน ภาพที่เราเห็นเป็นภาพทางโลก อีกภาพหนึ่งมันซ้อนอยู่ที่เราไม่รู้ไม่เห็น แล้วเราดูแต่ภาพที่เป็นวัตถุ แล้วเราเข้าใจว่าเราควบคุมภาพที่เป็นวัตถุได้ เราเข้าใจภาพที่เป็นวัตถุได้ แต่ไอ้สิ่งที่ซ้อนอยู่ข้างหลังภาพนั้นเราไม่รู้ แต่ถ้าปฏิบัติไป ภาพที่เราเห็นอยู่ ก็ชีวิตจริงเรานี่ไง ภาพที่เห็นอยู่ก็คือความรู้สึก ความนึกคิด ชีวิตจริงของเรานี่คือภาพที่เราเห็นได้ เราจับต้องได้

“มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” ภาพที่เรารู้เห็นอยู่เห็นไหม เราจับต้องได้นี่เห็นไหม นี่สิ่งที่ดำริชอบ ความคิดความเห็นต่างๆ เห็นไหม “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา บัดนี้เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีกแล้ว” แต่สิ่งที่เป็นความคิด ความรู้สึกของเรา มันเป็นความคิดความรู้สึกของเรา มันเป็นสิ่งที่มารสร้างมาเห็นไหม ภาพที่เราเห็นคือภาพความรู้สึกนึกคิดเรา ภาพที่เรารู้ได้เป็นสิ่งที่เราจับต้องได้ แต่หลังภาพนั้นน่ะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่หลังภาพนั้น เราเห็นมันไม่ได้เห็นไหม

แล้วขณะที่ว่าความคิดความเห็น ความคิดที่เป็นภาพที่เห็นได้ เราจับต้องได้ ทีนี้พอจับต้องได้แล้ว แล้วออกมาศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าอีกเห็นไหม นี่มันมีซ้อนเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง ถ้าซ้อนเข้ามาชั้นนี้ นี่ภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติจะรื้อเข้าไป แต่ถ้าภาคปริยัตินะ ปริยัติใช่ไหม นี่มันก็เป็นสิ่งที่ศึกษาจากสัญชาตญาณของมนุษย์ จากขันธ์ ๕ จากธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ก็ภาพที่รู้ที่เห็นไง ชัดเจนไง สติปัฏฐาน ๔ ก็เห็นภาพหมดเลย แต่ไอ้หลังภาพนั้นไม่รู้ เราถึงไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงของเราไง มันเป็นสติปัฏฐาน ๔ ของพระพุทธเจ้า สติปัฏฐานตามทฤษฎี สติปัฏฐาน ๔ ตามธรรมวินัย

แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงของเรา เราสำรอกกิเลสเลยนะ เราทะลุภาพจริงนั้น แล้วเราจะเห็นหลังภาพนั้น ตามความเป็นจริง ตามหลังภาพนั้น เรารู้เราเห็นของเราตลอดนะ อันนี้ในการปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติจริง เราจะรู้ของเราไปตามความเป็นจริง

โยม : หลวงพ่อคะ การที่พุทโธหลับไปนี่ จะทำให้ช่วงของภวังค์มันกว้างขึ้นหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อ : พุทโธหลับไป แสดงว่าตกภวังค์จริงๆ ใช่ไหม

โยม : ใช่ค่ะ มันหลับไปจริงๆ แต่ว่า ..........

หลวงพ่อ : จะย้อนกลับมาเศรษฐีธรรม ที่ว่าเป็นเศรษฐีจริงหรือเศรษฐีปลอม ถ้าเศรษฐีจริงๆ นะ มันพุทโธๆๆๆ นี่ แล้วพอพุทโธแล้วนะ เวลาปฏิบัติทุกคนจะมาถามปัญหาอันนี้มาก พอพุทโธ พุทโธไปแล้วนี่ มันมีอาการไหวของใจ ใจนี่มันจะไหว โดยปกติสามัญสำนึกของเรา มันก็เหมือนพลังงาน เห็นไหม อย่างเช่น เครื่องยนต์มันเป็นพลังงานที่มันผ่อนถ่ายไปที่เฟืองท้าย มันเจอของมันโดยที่เทคโนโลยีที่เขาบังคับมันต้องเป็นอย่างนั้น

ความรู้สึกของมนุษย์เห็นไหม ระหว่างความรู้สึกคือฐีติจิต คือจิตเดิมแท้ มันส่งผ่านมาไง มันส่งผ่านมา ความรู้สึกนี่มันเป็นพลังงานส่งไปที่สมอง ไปศูนย์ประสาทเห็นไหม มันจะควบคุมร่างกายนี้ โดยธรรมชาติของมัน ทีนี้เรากำหนดพุทโธๆๆๆ เราต้องการให้พลังงานนี้มันอยู่โดยเฉพาะตัวของมัน

เพราะเวลาทำสมาธิจริงๆ นี่นะ ถ้าอัปปนาสมาธินี่ จิตมันสักแต่ว่า จนไม่รับรู้ คำว่าไม่รับรู้ ความรู้สึกนี่มันอยู่ในกายเรานี่นะ แต่มันไม่รับรู้กายเราเลย ความรู้สึกนี่มันเป็นอิสรภาพจากกายนี้เลย แต่มันหดตัวเข้ามาเฉยๆ มันไม่ใช่ว่าพิจารณาจนขาด จนกายกับจิตนี้ขาดจากกัน ไม่ใช่ แต่มันเป็นการปล่อยกาย โดยที่จิตมันไม่รับรู้กาย นี้เราจะเปรียบเทียบให้เห็นไงว่า ถ้าพุทโธๆๆ ไป พอจิตมันสงบตามความเป็นจริง ถ้าเป็นเศรษฐีธรรมคือสมาธิจริง มันจะเป็นอย่างนี้

แล้วทีนี้พอเราพุทโธๆๆ ไป สิ่งที่ว่า พอจิตมันไหว เห็นไหม เราพุทโธ พุทโธไปเห็นไหม พุทโธ พุทโธนี่ ถ้าสมมุติว่าเราคิดจะพุทโธธรรมดา เราไม่ได้ตั้งสติ มันก็เหมือนกับพลังงานปกติ พลังงานปกติคือเครื่องยนต์ที่พอมันมีพลังงานแล้วนี่ มันต้องผ่อนถ่ายไปที่พลังงานเป็นชั้นขึ้นไป พอเราคิดเป็นธรรมดาก็เป็นธรรมดา แต่พอเราตั้งสติ ตั้งสติให้พุทโธๆๆ ให้จิตมันเกาะตรงนี้ คือพลังงานนี่ เวลาเครื่องมันติดแล้ว ไม่ให้ไปที่เฟืองท้าย ไม่ให้ผ่อนถ่ายไป

ทีนี้ผ่อนถ่ายไป พอมันมีกำลังของมันเห็นไหม จิตนี่มันอยู่ที่ว่ามันจะไหวตัวของมัน การไหวตัวของมัน มันจะเริ่มมีอาการแปลกๆ คนจะตกใจตรงนี้ไง พอภาวนาไปนะ หลวงพ่อมันวูบอย่างนั้น มันลงอย่างนี้ มันเป็นอย่างนู้น

ฉะนั้นเราจะบอกว่าพุทโธๆๆๆ เวลาคนพุทโธถ้ามันจะเป็นสมาธิใช่ไหม บางทีมันจะวูบลงเห็นไหม บางทีมันจะมีอาการเย็นยะเยือกไป นี่อาการไหวของใจไง ใจมันจะไหว เหมือนกับของที่เราจะจัดให้เข้าที่ไง ของที่เราจะจัดเข้าที่ ผ้านี่ เราจะพับผ้า เราต้องพับผ้าใช่ไหม “จิต” เราจะพับจิตให้เข้าที่ การพับนี่มันต้องมีการเคลื่อนไหวเป็นธรรมดา จิตจะเป็นสมาธินี่ มันก็ต้องมีอาการของมันเป็นธรรมดา ทีนี้คำว่ามีอาการเป็นธรรมดา ทุกคนจะไปตกใจไง วูบ อู้ฮู กลัวตาย กลัวเป็นกลัวตายกลัวไปหมด

นี่คือคนที่มีสตินะ แต่ถ้าคนไม่มีสติ พุทโธๆๆๆ พุทโธหายไปเลย หายไปเลยเห็นไหม ถ้าหายไปเลยนี่นะ เพราะพุทโธมันหายไปนี่เราก็ต้องแก้ไข เรารู้เองเห็นไหม นี่ปัจจัตตัง เรารู้เลย เพราะพุทโธๆ ไปนี่มันหาย แต่ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะนะ อ้าวก็ตรงกับตำราแล้วไง ตำราบอก ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าพุทโธ พุทโธ พุทโธ แล้วพุทโธมันจะหายนะ นี่มันก็เข้ากับตำราเปี๊ยบเลย แต่เข้าผิดไม่ใช่เข้าถูก เข้ากับตำราในทางที่ผิด

เพราะถ้าเวลาพุทโธมันหายนะ พุทโธจะหายไป พุทโธๆๆๆๆ พอจิตมันเป็นอิสระขึ้นมา มันทิ้งพุทโธแล้ว มันรู้สึกเต็มตัวมันแล้ว มันรู้สึกเด่นชัดมากเลย แต่เพราะพุทโธนี่เป็นความคิด จิตเป็นพลังงาน เราคิดพุทโธ พุทโธเห็นไหม

เพราะธรรมดานี่ พลังงานนี่มันจะคิดออกไปข้างนอกเลย พอเราคิดเรื่องพุทโธๆๆ คิดพุทโธไว้ เกาะที่พุทโธไว้ เพราะไม่ให้จิตมันส่งออก ให้มันสะสมในตัวของมันเอง พอมันสะสมในตัวของมันเอง พอพุทโธๆๆ พุทโธไปเรื่อยๆ เห็นไหม จนพุทโธไปเรื่อยๆ มีสติพร้อมตลอด จนพุทโธๆๆ “เอ๊อะ!” พอมันพุทโธไม่ได้ พุทโธมันจะหดตัวสั้นเข้ามา จากที่เราคิดพุทโธ มันเป็นสัญญาอารมณ์ สัญญาคือธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความคิด

เวลาเรานอนหลับนี่ หลับไปเลยไม่มีสติ ไม่รับรู้ตัวเอง แต่นี่จิตมันจะพัก เราจะบอกว่าหลับกับสมาธินี่จะเหมือนกันเลย แต่หลับไม่มีสติไม่รู้เรื่อง แต่สมาธินี่ สมาธิมันพักตัวมันเอง แต่รู้ตัวตลอดเวลา สติพร้อมนะ พุทโธ พุทโธ พุทโธนี่ มันพุทโธเรื่อยๆ พุทโธเรื่อยๆ จนมันพุทโธไม่ได้เลย นิ่งเลย นิ่งเลยเห็นไหม นี่เป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิมันเพราะอะไร เป็นสมาธิเพราะเป็นหนึ่ง

พลังงานนิ่งอยู่ นึกพุทโธไม่ได้ แต่ถ้ายังนึกได้ แล้วพอไอ้ที่ว่าว่างๆ นี่นะ นึกเมื่อไรก็ได้ แต่มันไม่นึก ไอ้ที่ทุกคนว่า “ว่างๆ ว่างๆ” นี่ ว่างๆ นี่ ความจริงมันไม่ว่าง แต่เราคิดให้ว่างไง เราคิดให้ว่างเห็นไหม มันก็เหมือนกับพุทโธเป็นความคิด เห็นไหม ตัวจิตนี้เป็นพลังงาน พุทโธเป็นความคิดใช่ไหม ทีนี้พอจิตนี้มันไม่ว่าง แต่มันคิดให้ว่าง

ถ้าเราคิดพุทโธมันก็เป็นพุทโธ เราคิดให้ว่างก็ตัวมันคิดให้ว่าง มันก็ยังเป็นสองอยู่วันยังค่ำไง คือไอ้ความว่างที่ว่าเป็น “ว่างๆ ว่างๆ” นั่น มันไม่ใช่ว่างจริง มันนึกเอาเอง เราถึงบอกว่าเศรษฐีจริงกับเศรษฐีปลอมไง ถ้าเศรษฐีจริง มันจะว่างโดยตัวมันเอง มันจะมีข้อเท็จจริงของมัน แต่ถ้ามันเป็นเศรษฐีปลอม มันคิดให้ว่างแต่มันไม่ว่าง แต่มันคิดให้ว่างได้ มันคิดเอาเองแต่มันไม่เป็นความจริง มันก็ไม่มีตัวนี้

ทีนี้เราพุทโธๆๆ ถ้ามันหายไป พุทโธมันหายไป ที่เราบอกพุทโธหายไปบ่อยๆ แล้วมันจะกว้างขึ้น คำว่ากว้างขึ้นหมายถึงว่า คนเราทำผิดครั้งที่ ๑ ทำผิดครั้งที่ ๒ ทำผิดครั้งที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ไปนี่ ความผิดนี้มันจะเคยตัวไหม แล้วมันจะมากขึ้นไหม แน่นอน แต่ถ้าเรารู้ว่าผิดเมื่อไร เราพยายามจะฝืนไม่ยอมทำความผิดอันนี้ ถ้าเรายังไม่ทำความผิดอันนี้ เราก็ต้องพุทโธชัดๆ ถ้าพุทโธไม่ชัดนี่ เราก็ต้องหาทางออก เดินจงกรมก่อน

คือว่าจะต้องแก้ไขให้ได้ว่าอย่างนั้น แล้วจะต้องพุทโธๆๆ จนมันไม่ขาด มันจะพุทโธไปเรื่อยๆ แล้วมันจะละเอียดขนาดไหนก็มีสติพร้อมมันไปเรื่อยๆ พุทโธไปเรื่อยๆ พอพุทโธไปเรื่อยๆ นะ จิตที่มีอาการไหว ขณะที่มันเป็นปกติ มันเป็นเรื่องสามัญสำนึก แต่พอมันมีธรรมะเข้าไปกล่อม เข้าไปกระทำ มันมีการไหว ทีนี้พุทโธๆๆ ไปเรื่อยๆ นี่ มันจะไหวขนาดไหน ถ้ามันมีการกระทำแล้ว ถ้ามันลงสมาธิมันก็ค่อยๆ ลง อันนั้นจะเป็นความถูกต้อง

ทีนี้อาการไหวต่างๆ นี่เราตั้งสติไว้ พลังงาน-รู้ สิ่งที่ถูกรู้คืออาการ คือความไหว แต่ตัวจิตมันมี ไหวขนาดไหนถ้ามีสติอยู่พร้อมนะ มันจะละเอียดเข้ามา เราจะบอกว่าอาการไหวอาการต่างๆ นี่ มันเป็นจริตนิสัยของแต่ละบุคคล มันเหมือนกับเริ่มต้นกลับมาที่ว่านอนฝันนั่นล่ะ ไอ้ที่ฝันนั้นน่ะ ฝันเห็นผีเห็นอะไรต่างๆ นั่น มันก็เป็นเวรเป็นกรรมของแต่ละบุคคล การปฏิบัติของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน อาการที่จิตมันไหวต่างๆ นี่ ไหวเพื่อจะเข้าสู่ความสงบ แต่ถ้าไม่เห็นอาการไหวเลย มันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาใช่ไหม

อาการไหวนี่คืออาการของใจ ถ้าอาการของใจนี่ ถึงเวลาองค์ของสมาธินะ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ เอกัคคตารมณ์ คือ เอก อารมณ์หนึ่ง ทีนี้ถ้ายังวิตกวิจารอยู่เห็นไหม วิตกวิจารนี่ก็พุทโธๆๆ หรือ ปัญญาอบรมสมาธิ มันจะวิตกวิจาร มันจะเป็นได้แค่นี้ พอเป็นแค่นี้ แล้วพอจิตมันเป็นอาการที่มันเริ่มไหว ที่มันเปลี่ยนไป มันจะเกิดตัวที่ ๓ คือเกิดปีติขึ้นมา มันไหว มีอาการปีติไง

บางคนพอพุทโธ พุทโธไปนี่ อู้ฮู ว่างหมดเลย มันปลอดโปร่งหมดเลย ขนพองสยองเกล้าเลย โอ้โฮ นี่มันจะมีตัวนี้ แต่! โทษนะ โดยปกตินี่มันจะเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นเวลาคนเราปฏิบัติ คนเรานี่จิตบกพร่อง เราจะบอกว่าจิตบกพร่อง คนป่วยทางจิต เพราะคนป่วยทางจิต เวลาอาการอย่างนี้มันเกิดเหมือนกัน เกิดเหมือนกันนะ! แต่ผลไม่เหมือนกันเพราะเขาป่วย

ถ้าเขาป่วยนะ ถ้าใครป่วยนี่เราจะบอกว่าปฏิบัติไปนี่ ถ้าเอาหลักนี้ไปจับ แล้วเวลา ที่เราพูดนี้เพราะอะไร เพราะว่า เราพูดนี่ส่วนใหญ่แล้วมันจะออกเว็บไซต์ เรากลัวคนเข้ามาดู แล้วพอเกิดอย่างนี้จะคิดว่ามันจะเป็นสมาธิไง แต่ถ้าคนเรามันป่วยทางจิต จิตมันมีการป่วยบ้าง มันจะมีภาพอย่างนี้ขึ้นมาเหมือนกัน แต่! แต่เพราะเราไม่สมบูรณ์ เรานี่มันป่วยอย่างนี้ มันเป็นภาพสร้าง พอเป็นภาพสร้างนี่มันจะทำให้อาการของตัวเองนี่ยึดมั่น พอยึดมั่นนี่มันจะทะลุไปอีก

มันต้องกลับมาเป็นปกติก่อน พยายามตั้งสติกลับมาเป็นปกติก่อน แล้วถ้าอาการไหวที่เกิดขึ้นมา อาการของปีติ อาการที่มันเป็นไป มันต้องเป็นตามข้อเท็จจริง ตามข้อเท็จจริงแบบเศรษฐีธรรม แต่ถ้ามันไม่เป็นตามข้อเท็จจริง มันเป็นเพราะจิตป่วยแล้วนี่ มันจะเหมือนกับเศรษฐีปลอม เศรษฐีปลอมมันสร้างเอง คิดเอง สร้างเองทำเอง

นี่การปฏิบัติ มันจำเป็นที่ต้องมีครูบาอาจารย์ จำเป็นตรงนี้แหละ เพราะถ้าเราปกติ จิตเราปกติ เราทำโดยปกตินี่ ทำไปเถอะไม่มีปัญหาหรอก แต่ส่วนใหญ่ที่ทำนี่ เพราะจิตมันไม่ปกติอยู่แล้ว พอมันไม่ปกติอยู่แล้ว ปิดบังตัวเองไว้ไง ส่วนใหญ่แล้วพอจิตไม่ปกติแล้ว ไม่กล้ายอมรับว่าจิตเราไม่ปกติ แล้วพอภาวนาไปนี่จิตไม่ปกติ แต่อยากจะเป็นพระอรหันต์ พอเป็นพระอรหันต์แล้วมันก็เลยเพริดแพร้วไปเลยนะ ภาพที่เห็นต่างๆ มันจะเป็นไปทั่วเลย

ในการปฏิบัติ ที่บอกว่ากลัวว่าปฏิบัติไปแล้วมันจะเสียหายๆ เสียหายเพราะจิตมันไม่ปกติ พอจิตไม่ปกติแล้วค่อยๆ คำว่าจิตปกติหรือไม่ปกตินี่ มันก็เหมือนกับเวรกรรมเหมือนกัน มันมีเวรมีกรรมมีพื้นฐาน นี่ไง เวลาปฏิบัติไม่ใช่ว่าทุกคนมีสิทธิ ทุกคนมีความรู้สึก ทุกคนมีหัวใจ แต่ในการปฏิบัตินี่มันต้องมีบารมี มีบารมีหมายถึงว่าเราสร้างบุญมา เราจะไม่เชื่อใครง่ายๆ พระพุทธเจ้าบอกไว้ในกาลามสูตรว่า ไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้น แม้แต่พระพุทธเจ้าสอน แม้แต่ใครสอนก็ไม่ให้เชื่อเลย ฟังไว้เพื่อเป็นศรัทธา เป็นคติ เป็นปริยัติ เป็นทฤษฎี เป็นวิชาการแต่เวลาปฏิบัติไปแล้ว ให้เชื่อความจริง ให้เชื่อความเห็น ให้เชื่อสิ่งที่จิตสัมผัส นี่สันทิฏฐิโกไง

ฉะนั้น วิธีแก้นี่ มีคนมาปฏิบัติแล้วมาพูดบ่อย หลวงพ่อ “นั่งหลับ” ไอ้พุทโธหายนี่คือนั่งหลับนี่แหละ หลวงพ่อ “นั่งหลับ” เราจะบอกว่า เวลาปฏิบัติแล้วนี่ทุกคนบอกเลยว่าปฏิบัติแล้วจะเอามรรคเอาผลทั้งนั้นเลย ไอ้นี่คือเป้าหมาย แต่เราไม่ดูความพร้อมของเราเลย ไม่ดูวิธีการเลย ถ้าดูวิธีการเห็นไหม เหมือนกับเราจะซักผ้า แล้วเราไปซักผ้าด้วยน้ำโคลน ผ้ามันจะสะอาดได้ไหม ถ้าเราจะซักผ้า เราก็ต้องซักผ้าในน้ำที่สะอาด

ฉะนั้นพอเวลาการดำรงชีวิตประจำวันนี่เห็นไหม การดำรงชีวิตประจำวันนี่ เรากินข้าวกินอยู่อย่างไร เวลาปฏิบัติแล้ว อาหารนี้เราคัดเลือกได้นะ พระนี่เลือกไม่ได้ ถ้าพระเวลาจะปฏิบัตินะ ข้าวเปล่าๆ ข้าวเปล่าๆ กินแล้วไม่ง่วงนอนหรอก แต่ถ้าเราเป็นฆราวาส เราคัดเลือกของเรา ถ้ามีอาการแบบนี้นะอาหารนี่เรากินให้น้อย กินให้น้อยนี่ประหยัด สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะ ถ้าเรากินน้อยๆ เงินจะเหลือด้วย กินให้น้อยๆ กินอาหารเบาๆ มันจะไปช่วยอาการนั่งหลับ พุทโธหายนี่แหละ

มันจะเริ่มต้นมาตั้งแต่นั่น เราต้องดูที่มาที่ไปก่อนว่าจิตเราควรจะทำอย่างไร ในวงกรรมฐานเขาเรียกว่า “ธาตุขันธ์ทับจิต” ธาตุคือพลังงานในร่างกาย กินอิ่มนอนอุ่นนี่มันจะสะสมพลังงานมาก แล้วมันจะทับจิตเรา แต่ถ้าธาตุขันธ์นั้นมันเบาลง เห็นไหม อาหารนี่เราพยายามให้เป็นพวกสลัดพวกผัก กินดิบๆ กินแต่ของอย่างนี้ อาหารในพุทธศาสนานะมันมี ๒ ประเด็น

ประเด็น ๑ คือว่า เนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์ ไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง ไม่ได้เจตนาทำเพื่อเรา อันนี้เนื้อสัตว์บริสุทธิ์

ประเด็น ๒ อาหารหยาบ อาหารกลาง อาหารละเอียด อาหารหยาบๆ ก็เนื้อสัตว์ อาหารอย่างกลางก็พวกผัดผัก ส่วนผสม อาหารอย่างละเอียดนะ ก็พวกผักพวกหญ้า คือไม่มีเนื้อสัตว์ เพราะมีเนื้อสัตว์นี่ทำให้ง่วงนอน เนื้อสัตว์ไขมันต่างๆ นี่ ทำให้ง่วงนอนหมด

ทีนี้พอธาตุขันธ์ เราก็กินอยู่ประจำวันนะ โอ๋ย แล้วปฏิบัติ จะเอาดี จะเอาดี ทีนี้จิตใจเรานี่มันพยายามจะทำ แต่ไอ้สิ่งที่มีกำลังคือธาตุขันธ์ ธาตุคือร่างกาย มันมีน้ำหนักกดทับ เราไม่ได้ช่วยเลยไง พอเราไม่ได้ช่วยเลย เราก็พยายาม คือว่าเรามีของแสลง มีอุปสรรคในการปฏิบัติของเราเอง แต่เราไม่ได้ตรวจเช็คตรงนี้ เราไปคาดหวังแต่พุทโธๆๆ คาดหวังแต่จะให้จิตมันว่าง จะให้จิตมันสงบ แต่เราไม่ได้ช่วยเหลือจิตเราเลย เราไม่ได้ช่วยเหลือตัวเราเองเลย

ถ้าเราช่วยเหลือตัวเราเอง เราก็ต้องกลับมาดูตรงนี้ไง กลับมาดูศีล ทำไมมีศีล นี่มีศีลเพราะอะไร มักน้อยสันโดษ มักน้อยแล้วนะ ของมันได้มาแล้วนะ ใช้ตามมีตามได้ ยังสันโดษอีก มีน้อยแล้วนะก็เท่านี้

ฉะนั้นเวลาพวกเรานะ อย่างพวกเราครูบาอาจารย์เรา ฉันข้าววันละคำสองคำ เขาเซฟอาหารเลย เขาล็อคเลย อย่างถ้าเร่งความเพียรนะ วันหนึ่งกินข้าว ๒ คำ ตั้งกติกาตัวเองไว้เลย วันนี้กินกี่คำกี่คำ ไม่ให้อิ่ม แล้วพอหิวก็น้ำ หิวไหม หิว แต่เวลาปฏิบัติแล้วได้ผลไหมล่ะ พอเราได้ผลนี่มันจะแลกกัน

อันนี้มันเป็นการแก้ทางปฏิบัติ แล้วถ้าเอาทางแก้โดยหัวใจก็ต้องตั้งสติ แล้วก็ใช้อุบายเพื่อกระตุ้นเรื่องการปฏิบัติของเรา นี่พุทโธ ทฤษฎีการทำธุรกิจใครเรียนบริหารธุรกิจมาก็รู้ทุกคนล่ะ แต่เวลาทำแล้วใครบ้างที่ประสบความสำเร็จ มีกี่คนล่ะ เพราะว่าอะไร เพราะความรอบคอบของเขา ด้วยการบริหารจัดการของเขาที่ดี

นี่ก็เหมือนกัน พุทโธนี่เป็นวิธีการ แต่เวลาปฏิบัติไปแล้วนี่ ไม่ใช่ว่า ผมทำพุทโธแล้ว ตะพึดตะพือเลย พุทโธอย่างเดียวเลย ทำไมยังไม่ได้ผล อู๋ย กูเลยเป็นจำเลยเลย ใครพุทโธแล้วกูต้องเอาสัมมาสมาธิไปประเคนให้เลย ใครพุทโธแล้วมาเบิกสัมมาสมาธิที่นี่ได้ ไม่ใช่ พุทโธเป็นวิธีการ แล้วอยู่ที่ว่าเราได้หรือไม่ได้เอง

แล้วบอกพุทโธจะต้องให้ได้ผลอย่างนั้น มันก็อยู่ที่ความตั้งใจของเรา อยู่ที่อุบายของเรานะ นี่พูดถึงว่าพุทโธมันหายไง เราอธิบายให้เห็นภาพกว้าง ทีนี้ถ้าพุทโธมันหาย ถ้ามันหายคือว่าประสาเรานะหลับไปแล้ว พอหลับไปแล้ว พอได้สติเราก็พุทโธใหม่ พุทโธใหม่

เวลาพูดนี่แก้ง่ายๆ นะ แต่ผู้ที่ปฏิบัตินี่ต้องพยายามให้มันอยู่ได้ ให้มันอยู่ได้คือสติกับจิตมันชัดเจนอย่างนี้ แล้วพอมันชัดเจนขึ้นมานะ แล้วพอมันพักได้บ้างนะ เฮ้อ มันผ่านได้หนหนึ่ง ตั้งใจให้ดีผ่านเพราะอะไร ผ่านเพราะ อู้ฮู ลงทุนลงแรงขนาดนี้นะ เช็คอาหารขนาดนี้ เช็คความเป็นอยู่ขนาดนี้ เช็คทุกอย่างเลย แล้วเราทำได้ ผ่านได้หนหนึ่ง โอ้โฮ เพราะฐานอันนี้ คราวต่อไปต้องเช็คให้ดีกว่านี้อีก

นี่ทำจริงทำจังต้องทำขนาดนี้มันถึงจะได้มา แล้วพอได้มาแล้ว เราจะบอกว่าการปฏิบัติ ในพื้นฐานที่เราฟังๆ อยู่นี้ สมาธิยังทำกันไม่ได้เลยนะ ถ้าสมาธิไม่ได้นะ ปัญญาที่เกิดขึ้นมาเขาเรียกโลกียปัญญา คือปัญญาเกิดจากตัวตนของเรา จะศึกษาธรรมะขนาดไหนก็ปัญญาโลกๆ แต่ถ้าสมาธิเกิดขึ้นมา

มีผู้ปฏิบัติมาที่นี่ปฏิบัติดีหลายคนมาก เวลาปฏิบัติไปแล้วดีมาก ดีมากนี่ แล้วมันไปถึงจุดหนึ่งมันไปแบบว่าไปตันไง พอไปตัน มันอยู่อย่างนั้นล่ะ พุทโธซ้ำสิ พุทโธเข้าไปสิ แหม.. ก็ผ่านมาขนาดนี้ พุทโธอะไร พุทโธสิ จนเขาตัดใจนะกลับมาพุทโธ พุทโธใหม่ พอพุทโธปั๊บนี่มันก็เพิ่มกำลังมากขึ้น พอเพิ่มกำลังมากขึ้นปั๊บ พอปัญญามันเกิด โอ้โฮ มาหาทุกคนแหละ “โอ้โฮ หลวงพ่อผ่านแล้ว พุทโธหลวงพ่ออย่างนี้เลย” ถ้าเขาไม่ได้สัมผัสเองนะ เขาก็ไม่เชื่อ

เราจะบอกว่าถ้าพุทโธจิตเป็นสมาธิแล้ว ปัญญาที่พวกโยมเป็นกันอยู่นี่นะ แล้วปัญญาที่เกิดจากสมาธินะ โยมจะเห็นว่าโอ้โฮ! โทษนะ ทำไมกูโง่ตั้งนานวะ ทำไมกูโง่ฉิบหายเลย ทั้งๆ ที่ปัญญามันเกิด แต่เพราะอะไร เพราะมันเกิดด้วยปัญญาสามัญสำนึกของเราไง แต่มันเกิดด้วยปัญญาจิตใต้สำนึก ปัญญาที่เกิดจากฐีติจิต ปัญญาที่ไม่ได้ผ่านสมองเลย ไม่ผ่านสติเลย แล้วมันเกิดขึ้นมาแล้วงงเลยนะ แล้วพองงแล้วมันปล่อยมันว่าง มันปล่อยหมด พอปล่อยขนาดนั้น นี่ตทังคปหาน มันปล่อยชั่วคราว ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

การปฏิบัติมานี่ เหมือนพวกโยมกว่าจะเป็นจะโตขึ้นมา ไม่ได้กินข้าวมื้อเดียวหรอก วันหนึ่งกิน ๓ มื้อ แล้วกินมากี่เดือนกี่ปี พอกินเข้าไปแล้วมันก็สะสม ปฏิบัติก็เหมือนกัน ผ่านหนหนึ่งก็เหมือนกินข้าวมื้อหนึ่ง พิจารณาตทังคปหานหนหนึ่งก็กินมื้อที่ ๒ มื้อที่ ๓ กินข้าวแค่ ๓ มื้อ ๔ มื้อมันดำรงชีวิตไม่ได้หรอก ไม่โต ไม่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาหรอก จะเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา ไปคำนวณสิ วันละ ๓ มื้อ แล้ว ๓๖๕ วันมันกี่มื้อ แล้วพอมันปล่อยสักหนเดียว จะเอาจะให้มันเป็นผู้ใหญ่เลย มันไม่เป็น เห็นไหม พอไม่เป็นปั๊บเราต้องสู้ เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา ผู้ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย

พระพุทธเจ้านะหลงอยู่ ๖ ปี พอมาเริ่มต้นอานาปานสติ กำหนดเลยคืนนี้ถ้าเรานั่ง ไม่สำเร็จจะไม่ลุก ทีเดียวไง พระพุทธเจ้าปฏิบัติหนเดียวทะลุหมดเลย แต่ที่ว่าเขาอ้างพาหิยะเห็นไหม นั่นก็ไม่ใช่เรา เราก็ไม่ใช่นั่น แล้วก็สำเร็จหมด แต่ไปย้อนประวัติสิ เป็นนักบวช ๖ รูป ขึ้นไปบนหน้าผาตัด แล้วปฏิญาณไปว่าเราจะอยู่บนนี้ ถ้าปฏิบัติไม่ได้ไม่สำเร็จไม่ให้ลง แล้วถีบบันไดทิ้งเลย คือเขาเสียสละชีวิตปฏิบัติมาหลายภพหลายชาติ

ไอ้ที่ว่าสักแต่ว่า นู้นก็สักแต่ว่า สักแต่ว่านี่ เขาปฏิบัติของเขามาหลายภพหลายชาติ แล้วเขาพร้อมมา พระพุทธเจ้านี่อนาคตังสญาณรู้หมดล่ะ โอ้โฮ คนนี้เขาพร้อมแล้วนะ พอจิตสงบนะ นั่นก็ไม่ใช่ นั่นก็ไม่ใช่ พอเขาพิจารณาตามก็ ผลัวะ! เขาเป็นพระอรหันต์เลย ไอ้เราบอกไม่ใช่ อะไรไม่ใช่ ทำไมถึงไม่ใช่ล่ะ เพราะความพร้อมเรามันไม่มี แล้วเวลาอ้างว่า โอ๋ย พระพุทธเจ้าสอนอย่างนั้น สอนอย่างนั้น สอนคนพร้อม สอนคนที่เขาสร้างสมบุญญาบารมีมาเป็นอย่างนั้น พอแหย่เข้าไปตรงจุด ผลัวะ! ไอ้เรานี่นะ ไม่ได้แหย่นะประเคนให้นะ จับมือมัดบอกนี่ของมึง ของมึงนะ อะไรๆ แล้วก็บอกสักแต่ว่า สักแต่ว่า

เวลาฟังเทศน์เวลาปฏิบัติต้องคิดอย่างนี้ ต้องพิจารณาอย่างนี้ว่ามันเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง แล้วเป็นจริงนี่เรารับรู้ได้มากน้อยแค่ไหน เหมือนการศึกษาเลย ถ้าครูบาอาจารย์นะเขาเห็นว่าผู้ศึกษานี่เขาเห็นว่าสมควรแล้ว อาจารย์จะให้ทันทีเลย แต่ถ้าเขายังไม่สมควร ปืน ไฟ มีด ไว้ใกล้มือเด็กไม่ได้ เด็กมันจะเอาไปทำเป็นโทษ ไฟ ปืนต่างๆ นี่ เขาใช้เป็นวิชาชีพของเขา ทหารเขามีปืนเพื่อเป็นวิชาชีพของเขา ปืนเก็บไว้ในที่สูง ให้พ้นมือเด็ก ทุกอย่างไว้ที่สูง

จิตใจเด็กๆ จิตใจอย่างพวกเรา ถ้าเอาปืนมามันก็ยิงหัวตัวเองตายหมดเลย มันใช้ไม่เป็น ไม่ใช่ดูถูกนะ นี่พูดให้เห็นข้อเท็จจริงไงว่า เวลาพูดอย่างนั้น ใช่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนั้นๆ นี่ แล้วเราพร้อมไหม ถ้าเราพร้อมนะ เราพิจารณาแล้วเราต้องเป็นอะไรขึ้นมาบ้างสิ เราต้องสลดสังเวชใช่ไหม เราต้องควบคุมตัวเราได้ใช่ไหม เราต้องสำนึกคุณความดีความชั่วได้ใช่ไหม ถามตัวเองสิ เวลาความคิดมันเกิดขึ้นมาควบคุมได้ไหม

โธ่ ต่อหน้านี่ก็ดีหมดล่ะ ดีทุกคนหมดล่ะ ไอ้ดีนี่มันดีไปหน้า ถ้ามันดีจริงนะ กุศล-อกุศล คิดดีเป็นกุศล คิดชั่วเป็นอกุศล สิ่งที่เป็นอกุศลนี่มึงคบมันทำไม มึงคบอกุศลทำไม ถามตัวเอง ถ้ามึงดีจริงนี่มึงคิดชั่วทำไม ถามมัน โธ่ความคิดนะใครก็ห้ามไม่ได้ ถ้าเราว่าเราดีจริงไง ดีจริงต้องอยู่กับกุศลสิ อยู่กับความดีสิ แต่ทำไมมันคิดอกุศลขึ้นมาล่ะ คิดความชั่วขึ้นมาล่ะ แล้วคิดอย่างไม่รู้ตัวด้วยนะ พอคิดขึ้นมานะ โอ้โฮใช่ ปัญญาเลิศ โอ้โฮ ไปเลย

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์นะ พอมันแว็บขึ้นมานะ อกุศล ถึงว่าอกุศลเกิดจากจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่ได้ เสวยอารมณ์ไง จิตพระอรหันต์ธรรมธาตุ ความคิดคือการเสวย คนเสวยคนกินนี่มันต้องอ้าปากไหม จิตที่มันจะคิดนี่มันจะรู้ตลอดไง จิตคิดดีคิดชั่วจะรู้ตลอดนะ ทีนี้มันจะเสวยอารมณ์ มันจะออกไปสู่ความคิด ถ้าไม่เสวยไม่มีความคิด นิ่ง พอขยับก็ออกเสวย ออกไปสู่ความคิด ถ้าความคิดชั่ว รู้ทันหรือยัง สติพร้อมนี่

นี่ไงพระอรหันต์ไง สติสมบูรณ์ไง ขยับมันก็มีสติแล้ว เสวยก็คือสติมันขยับไปพร้อม ถ้าคิดชั่วมันก็รู้ว่าคิดชั่ว คิดดีมันก็คิดดี ไอ้เราคิดชั่วนะ คิดจนจบ เอ้อดีว่ะ มันคิดจนจบแล้วนะ เอ้อดีว่ะ มันไม่ทันเห็นไหม มันไม่ทันหรอก โธ่ ภาวนาแล้วจะเห็น เข้าใจเรื่องนี้หมด ขบวนการของมันรู้หมด แล้วทันหมด ถ้าไม่ทันชำระไม่ได้ ถ้ามันทันแล้วอธิบายมัน มันถึงเข้าใจได้ เข้าใจได้หมด ถ้าเข้าใจได้หมด ถ้าเราเป็นคนดีจริงมันก็ต้องอยู่กับกุศล ทำไมไปอยู่กับอกุศลล่ะ

นี่มันก็ไปลงที่พระพุทธเจ้าเย้ยมาร ตรงนี้ไง ตรงที่กุศล-อกุศลนี่ “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” ก่อนความคิดนี่มันจะออกไปมันจะเสวยอารมณ์ มารเอย เธอเกิดจากตรงนี้ มารเกิดตรงนี้ มึงเกิดตรงนี้ แล้วถ้ากูไม่คิดมึงจะเกิดได้ไหมล่ะ ต้นไม้เราเป็นคนปลูกใช่ไหม กูไม่ปลูกต้นไม้ ต้นไม้จะมีไหม ต้นไม้นี่กูเอาปักดินทิ้งเลย กูไม่ปลูก ต้นไม้ก็เกิดไม่ได้ ดำริจะคิด ถ้ากูไม่คิดล่ะ ความคิดจะเกิดได้ไหม

“มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีกแล้ว เจ้าจะเกิดจากจิตดวงนี้ไม่ได้อีกเลย” มารตาย จำให้แม่นนะ พอจำให้แม่นนี่ รู้แล้วนี่ เศรษฐีธรรม จำแม่นๆ แล้วคิดตามนี้เลย กระเบื้องมันจะฟูลอย

ถาม : เคยใช้คำบริกรรมพุทโธพร้อมลมหายใจเข้าออก แต่ตอนนี้ใช้แต่ลมหายใจ นึกพุทโธไม่ค่อยได้ นี้แสดงถึงสิ่งใดหรือไม่ คือพัฒนาการขึ้นหรือถอยลงหรือเปล่า เพราะถ้าจะทำพุทโธพร้อมกับลมหายใจ ดูมันจะยากกว่าดูลมหายใจอย่างเดียว คือเหมือนต้องใช้สติมากกว่า

หลวงพ่อ : ถูกต้อง คำว่าถูกต้องนี่นะ เราจะเน้นคำว่าพุทโธ พุทโธคือพุทธานุสสติ ในการที่เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เราบวชในพุทธศาสนา ฉะนั้นเราต้องเคารพ เคารพเจ้าของศาสนา เคารพศาสดาของเรา ฉะนั้นด้วยความเคารพของเรา ถ้าคำบริกรรมหรือคำสอน เราจะเริ่มด้วยคำว่าพุทโธ คือเราจะกตัญญูกับพระพุทธเจ้าก่อน

แล้วกตัญญูกับพระพุทธเจ้าก่อน แล้วเขาก็เถียงมา มีคนเขาย้อนเรากลับมา บอกพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้กำหนดพุทโธ “เอ้อ ก็จริงของเขานะ เอ้อ กูก็แพ้เขาว่ะ” เพราะพระพุทธเจ้ากำหนดอานาปานสติ เพราะตอนนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่มี ตัวพระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้ายังไม่มีนะ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระพุทธเจ้ายังมีกิเลสเลย เพราะภาวนาแล้วไม่ได้นี่ พระพุทธเจ้าก็ทุกข์นะ

ฉะนั้นตอนที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้กำหนดพุทโธ เพราะพุทโธยังไม่มี ฉะนั้นพระพุทธเจ้าถึงกำหนดอานาปานสติ แต่เวลาพระพุทธเจ้าปฏิบัติ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เวลาพระพุทธเจ้าสอนเห็นไหม พระพุทธเจ้าถึงสอน เพราะถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า ทุกคนต้องดิ้นรนเองหาเอง แต่พระพุทธเจ้าพอตรัสรู้ขึ้นมานี่ พระพุทธเจ้านี่มีอนาคตังสญาณ พระพุทธเจ้าเป็นพุทธวิสัย พุทธวิสัยนี่จะรู้อนาคตังสญาณ จะรู้ไปหมดเลย จะรู้จิตมาจากไหน มองนี่รู้หมด

แล้วนี่คำว่ารู้หมดคือจะเห็นนิสัยของคนมากคนใช่ไหม พอเห็นนิสัยมากคนปั๊บนี่ คนนี้ควรทำอย่างไร คนนั้นควรทำอย่างไร เพราะมันให้ตรงกับหน้าที่ ตรงกับการงานของเขา ตรงกับจริตนิสัยของเขา พระพุทธเจ้าถึงวางกรรมฐานไว้ถึง ๔๐ ห้องไง

แต่เดิมพระพุทธเจ้ากำหนดอานาปานสติ แต่พระพุทธเจ้าเวลาตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้ากำหนดการทำความสงบไว้ ๔๐ วิธีการ ๔๐ อย่างเลย อ้าวไอ้พวกนี้ทำอย่างนี้ ศรัทธาจริตพุทโธ พุทโธ พุทโธ ไอ้พวกที่ปัญญาชนมันพุทโธไม่ได้ พุทโธมันโง่ พุทโธมันโง่ต้องใช้ปัญญาอบรมสมาธิเห็นไหม ตรึกในธรรม สอนพระโมคคัลลานะตรึกในธรรม ตรึกในธรรม ๔๐ วิธีการพระพุทธเจ้าสอนไว้หมดเลย

ฉะนั้นเวลาเราสอน นี่พูดถึงพระพุทธเจ้าสอน เพราะพระพุทธเจ้าสอนแล้ว แบบผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขา “สหชาติ” ผู้ที่ปฏิบัติมีสร้างบุญญาบารมีมา การเกิดพร้อมพระพุทธเจ้านี่มีบุญมาก พอบุญมากขึ้นมา ปฏิบัติขึ้นมา ก็อยากจะปฏิบัติ พอพระพุทธเจ้าสอนปั๊บมันก็เข้าตรงเลย แต่ขณะที่พระพุทธเจ้าสอน เทวทัตยังเป็นเทวทัต ยังอยากจะปกครองสงฆ์แทนพระพุทธเจ้าเลย

คือจะบอกว่าคนที่ปฏิบัติไม่ได้ก็มี คนที่ปฏิบัติไม่ได้นี่ก็เยอะ ฉะนั้นพอปฏิบัติไปๆ อย่างพวกเราตั้งใจปฏิบัติใช่ไหม เริ่มต้นสอนใหม่ๆ นี่ โยมต้องคิดถึงคนปฏิบัติใหม่ หรือคนที่เพิ่งเข้าวัดใหม่ๆ แล้วบอกเขาให้พุทโธ พุทโธนี่เขาจะทำได้ไหม เขาก็คิดไม่ออก แล้วกำหนดลมหายใจนี่มันก็ทำให้แบบว่า มันแบบเป็นนามธรรมจนเกินไป ขณะผู้ที่ทำบุญนี่นะ มีอาหารขึ้นมาถวายพระนี่ มันยังทำไม่ได้เลย แล้วให้ทำเป็นนามธรรมมันทำได้ยาก

ฉะนั้นครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า หายใจเข้าให้นึกพุท หายใจออกให้นึกโธ เพื่อเป็นวัตถุไง เป็นรูปธรรมมากขึ้น เราจะได้ปฏิบัตินี่ (หายใจเข้า) เออ “พุท” (หายใจออก) “โธ” นี่ทำอย่างนี้ ฝึกทำให้เป็น อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ว่าเศรษฐีธรรมๆ ให้จิตมันมีที่เกาะไว้ แต่พอทำๆ ไปนี่หลับหมด เพราะกว่าจะ “พุท” นะ หายใจเข้านึก “พุท” นึกไป ๒ รอบโลกเลย แล้วกลับมา “โธ” นี่ มันไม่ทันใช่ไหม พอไม่ทันปั๊บ

ครูบาอาจารย์ท่านถึงบอกว่า ถ้าปฏิบัติไปแล้ว พอเริ่ม จิตมันแบบคนทำงานเริ่มต้น ช่างไม้เห็นไหม เริ่มต้นยังไม่เป็นเอ็งก็โค่นต้นไม้ก่อน เอ็งก็ใช้ขวานถากไปก่อน พอเอ็งชำนาญขึ้นไปแล้ว ต่อไปเอ็งก็ใช้กบใช้ไสได้ใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน พอพุทโธ ลมหายใจเข้านึก “พุท” ลมหายใจออกนึก “โธ” ปั๊บ พอต่อไปนี่ทิ้งพุทโธ ทิ้งพุทโธเลยเอาลมหายใจอย่างเดียว ทิ้งลมหายใจเลยเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วจะแก้หลับ ถ้าหลับนะเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเอาสองอย่างนี่ คือจับปลาสองมือ ทั้งพุทโธด้วย ทั้งลมหายใจด้วย แต่เริ่มต้น จับปลาสองมือนี่มันยังละเอียดเกินไปกับคนที่ไม่เป็น แต่คนที่ปฏิบัติขึ้นมาแล้ว พอเป็นงานขึ้นมาแล้ว มันต้องเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้านั่งแล้วหลับนะ เอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าลมให้ชัดๆ ลมนี่ให้ชัดๆ ถ้าผู้ที่กำหนดลม ไม่ต้องพุทโธ เวลากำหนดลมไม่ต้องพุทโธเลย เพราะลมนี่คืออานาปานสติ เป็นกรรมฐานห้องหนึ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้ว

นี่ (สูดลมหายใจเข้า) นี่ลมหายใจชัดๆ ชัดๆ ชัดๆ คำว่าชัดๆจิตมันจะเกาะอยู่ ถ้าบอก พอกำหนดลมหายใจไปสักพักหนึ่ง ลมหายใจหายไปก็คือนั่งหลับ เหมือนพุทโธเหมือนกัน กำหนดพุทโธๆๆ ถ้าพุทโธหายไปก็คือหลับ กำหนดลมถ้าลมหายก็คือหลับ คำว่าพุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ กับลมชัดๆ นี่ ชัดๆ คือต้องให้จิตเกาะไว้ จิตต้องเกาะไว้ พอเกาะไว้แล้วจะเกิดอาการไหวที่เพิ่งอธิบายเมื่อกี้นี้

เกิดอาการไหวนะ พอเริ่มพัฒนาไปนะ เกิดอาการไหว คือจิตมันมีการกระทำ พอจิตมีการกระทำ จิตมันจะเริ่มปรับปรุงตัวมันเอง พอปรับปรุงตัวเองมันจะเกิดอาการของใจ มันจะมีร้อยแปดเลย โยกคลอน มันจะมีเวิ้งว้าง มันจะอะไร ไม่ต้องตกใจ นั่นคือจิตมันจะเข้าสู่ความสงบ ฉะนั้นไอ้ที่ว่า “แต่เดิมใช้คำบริกรรมพุทโธพร้อมกับลมหายใจ แต่ตอนนี้หายใจไม่ได้นึกพุทโธแล้ว”

ถูกต้อง! ถูกต้อง! แต่ต้องมีคำบริกรรม ต้องมีที่เกาะ จิตเป็นนามธรรม ปล่อยเร่ร่อนไม่ได้ ถ้าจิตไม่เกาะสิ่งใดเลย มันจะหายไปเหมือนอากาศ ถ้ามันเหมือนกับอากาศ พอมันหายไป คำว่าหายไปนี่เขาเรียกว่าจิตส่งออก เช่น เราส่งออก เราส่งไปรษณีย์ไปไม่มีผู้รับ เราส่งของออกไป ส่งสินค้าออกไป ไม่มีผู้รับ โรงงานผลิตเท่าไร ส่งออกไป ทิ้งถมทะเลไป เราจะไม่ได้อะไรเลย ถ้าไม่มีคำบริกรรม แต่ถ้ามีคำบริกรรม จิตส่งออกไปที่ไหนมันมีผู้รับ

จิตนี้ปล่อยไม่ได้ ปล่อยไม่ได้ แต่เพราะเขาสอนว่าไม่ต้องทำอะไรเลย ปล่อยให้มันหายไปเลย ถ้ากำหนดทุกอย่างผิดหมด เพราะเป็นเจตนา เป็นอัตกิลมถานุโยค มันเป็นตัวปลอม มันจะเป็นฌาน ๒ มันจะเป็นฌาน ๘ ไอ้คนสอนมันไม่รู้ คนสอนทำสมาธิยังไม่เป็น ถ้าสมาธิทำไม่เป็น ธรรมะอย่ามาคุยกัน เป็นไปไม่ได้

ถาม : ถ้าตัวเรามาทำบุญคนเดียว แต่พ่อแม่ไม่รู้ พ่อแม่และน้องๆ จะได้ไหม เพราะถ้าบอกไปก็จะมีเรื่องกันว่าไปทำแต่บุญ ตัวเองจะมีตังค์ไว้ใช้ไหม บางทีก็เลยไม่อยากเล่าให้ฟังว่ามาทำบุญ เพราะไม่อยากมีเรื่องกับที่บ้าน และจะทำอย่างไรดี พ่อแม่และน้องๆ จะได้เข้าใจการอยากทำความดีนี้ก็ทำได้ยาก

หลวงพ่อ : ใช่ วันนี้พูดเรื่องทำบุญใช่ไหม ว่าสมบัติเราทำแล้ว ถ้าเป็นของพ่อแม่ เราทำพ่อแม่ก็ได้ ถ้าอุทิศส่วนกุศลยิ่งได้เข้าไปใหญ่

ไอ้กรณีอย่างนี้ มันเป็นแบบว่าสายบุญสายกรรม มันมีเวรมีกรรมต่อกัน ไอ้กรณีนี้อย่างหนึ่ง ดูสิดูพระรัฐบาลนะ พระรัฐบาลนี่พ่อแม่เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีเลย พระรัฐบาลอยากจะบวช พ่อแม่ไม่ให้บวช อดอาหารเลย สละชีวิตเลย พ่อแม่กล่อมอย่างไรก็ไม่ฟัง สุดท้ายแล้วพ่อแม่ก็นึกถึงเพื่อนก็ไปพาเพื่อนมา ทีนี้ได้คุยกับเพื่อนไง เพื่อนก็มาขอร้องให้กินข้าว ไม่กิน แล้วเพื่อนเขารู้ว่าไม่กินต้องทำอย่างไร ก็ไม่กินอดให้ตาย คืออยากจะบวช ก็เลยไปพูดกับพ่อแม่ ถามพ่อแม่

นี่คำถามนี้ไง คนฉลาดนะถามพ่อแม่ว่าอยากเห็นหน้าลูกไหม อยาก ก็รักลูกไง ถ้าอยากเห็นหน้าลูกต้องให้ลูกบวช เพราะเพื่อนกับเพื่อนเขารู้ใจกัน ถ้าไม่ให้บวช รับประกันได้เลยว่า พระรัฐบาลนี่จะอดข้าวตาย แล้วตายเลย ถ้ารักลูกก็ต้องให้ลูกบวช ถ้าไม่รักลูก ก็อยู่กันอย่างนี้ ลูกตายเด็ดขาด นี้เราจะบอกถึงความขัดแย้งของพระรัฐบาลเห็นไหม พอพระรัฐบาลออกบวช พระรัฐบาลเป็นพระอรหันต์เลย

ฉะนั้นเรื่องในบ้าน ถ้าเราทำของเรานะแล้วเป็นบุญกุศล เราทำแล้วไม่เหนือกำลังของเรา เราก็ทำของเรา แต่พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าเราหาเงินมาบาทหนึ่ง ต้องเก็บสะสมไว้เป็นทุนสำรองแล้วหนึ่งสลึง เลี้ยงพ่อแม่หนึ่งสลึง ใช้จ่ายนี้หนึ่งสลึง เหลือแล้วถึงทำบุญ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่ามีเงินเท่าไรทำบุญให้หมด พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนนะ พระพุทธเจ้าบอกมีเงินแล้วให้รู้จัก นี่อยู่ในนวโกวาท พระพุทธเจ้าสอนหมดแหละ แต่พระพุทธเจ้าเวลาสอนฆราวาสสอนอย่างหนึ่ง สอนพระสอนอย่างหนึ่ง เวลาพระพุทธเจ้าพูด พูดกับใคร

ฉะนั้นเราจะบอกว่าถ้าเราทำของเราแล้วเราไม่เดือดร้อน เรามีพอใช้จ่าย เรามีของเราได้ เพราะอะไร เพราะถ้าอย่างนั้นเราจะไม่ทำ นี้เราดูประเด็นนี้ก่อน แล้วประเด็นที่ขัดแย้งกับในบ้านนี่เขาดูอย่างไร ถ้าเขาดูของเขาแล้ว หัวใจนี่มันสูงต่ำไง ถ้าหัวใจนั้นเป็นบุญกุศล เราก็อยากเสียสละ ใจของคนตระหนี่เขาก็อยากจะสะสมไว้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่จะให้เกิดมีการเข้าใจกันคลาดเคลื่อน ก็จะมีผลกระทบไง ฉะนั้นแล้วเราต้องดูอย่างนี้ด้วย ดูว่า

๑.สิ่งที่เราทำแล้วนี่มันเดือดร้อนไหม แล้วเราทำแล้วนี่มันไม่กวนใครใช่ไหม อย่างนี้เราทำของเรา แล้วสบายใจได้เลย แต่ถ้ามันเป็นปัญหา เราก็ต้องทำให้เราดีก่อนว่าอย่างนั้นเถอะ แล้วพอดีเสร็จแล้ว ในพี่น้องต่างๆ ที่เขาจะว่าเรา เขาก็ว่าเราไม่ได้

ถาม : ๒. เวลานั่งสมาธิทำไมมันเหมือนมีอะไรจะพยายามดันออกมาจากหัวเรา และทำไมรู้สึกว่าเหมือนตัวเรามันจะไม่หันหน้าไปอยู่ในทิศทางที่เรานั่งสมาธิตั้งแต่ทีแรก

หลวงพ่อ : เมื่อกี้บอกแล้วใช่ไหม บอกเวลานั่งสมาธิไปนี่ ถ้าจิตมันจะเริ่มมีหลักมีเกณฑ์ หรือจิตมันเริ่มปฏิบัติไป มันจะมีอาการปรับตัวอาการไหว นี่ไงเห็นไหม เวลานั่งไปนี่มันจะมี มีทุกคน มีมากมีน้อยมีเป็นอย่างไร

ฉะนั้นเวลานั่งสมาธิไป มันเหมือนมีอะไรพยายามดันออกมาจากหัว มันมีอะไรตุ้บๆ ตั้บๆ ยิ่งน้ำลายนะ พอเวลานั่งคุยกันปกตินะ พอนั่งสมาธิ อึ้ก อึ้ก กลืนทั้งวันเลย พอเลิกนั่งสมาธิหายแล้ว แปลกหรือเปล่า ไอ้นี่มันเป็นเรื่องธรรมดา

แต่จิตนะพอมันรับรู้อะไรปั๊บ มันจะฝังลงที่จิต เหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าโปรแกรมมันมีนะ เราคีย์เข้าไปมันจะออกทันทีเลย พอจิตนี้มันฝังใจกับอะไร แล้วพอน้ำลาย อึ้ก อึ้ก อึ้กนี่ พอเวลาแก้นะ อึ้กก็ช่างมึง อึ้กก็ช่าง แล้วเราก็ทนมันไปนะ พอมันหายไปมันก็ไปแสดงออกอาการทางอื่น

อาการที่มันแสดงออกมา ดันออกมาทางหัวนี่ไม่มีอะไรหรอก เหมือนกับเรานั่งเห็นไหม ทางการแพทย์นะ เรานั่งทับ นี่เห็นไหมเลือดลมมันไม่เดิน มันก็ปวดเป็นธรรมดา ฉะนั้นอาการที่มันดันขึ้นไป ถ้าทางการแพทย์มันก็ว่าลมมันดัน แต่ถ้าลมมันดันนี่มันเป็นเรื่องของทางร่างกายนะ

แต่ถ้าเป็นเรื่องอุปาทานคือว่าจิตนี่ สัญญานี่มันซับ พอสัญญามันซับนี่ที่ว่า มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา แล้วกิเลสนี่มันคอย กิเลสคือมาร คือจะทำให้การภาวนาของเรา คือทำให้ความตั้งใจของเราล้มเหลวไปทุกอย่าง นี้การล้มเหลวนี่มันอยู่ที่อุบาย อุบายว่าจะเกิดอาการอย่างนั้น โอ๋ยไม่ได้นะ พรุ่งนี้เช้าจะไปทำงานนะ นี่ อู๋ยยังไม่ได้เก็บของนั้นเลยนะ อู๋ย มันเป็นอุบาย นี่คืออุบายของกิเลสจะให้เราเลิกไง อุบายของกิเลสจะทำให้เราล้มเหลวตลอด

ฉะนั้นอาการดันอาการต่างๆ นี่ ถ้ามันเป็นเรื่องของจิตมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องของร่างกาย คือสรีระของร่างกาย มันเป็นเรื่องของทางการแพทย์ ถ้าทางการแพทย์ของเรานะ เราจะเช็คร่างกายของเราก่อน เวลาปฏิบัติ ๑.ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ จะปฏิบัติตลอดรุ่ง ไม่ยอม เป็นอย่างไรก็เป็นกัน แต่ถ้ามันมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ทำไม่ได้ เราควรจะรักษาไว้ ทำเท่าที่พอประมาณ เราต้องดูกำลังของเราไง

อย่างเช่น อดอาหาร มีพระอดอาหารนะจนช็อกเลยที่บ้านตาด เขาก็เอาไปบอกหลวงตา นึกว่าหลวงตาจะชมนะ หลวงตาใส่ขาดเลย คุณจะปฏิบัติ แล้วคุณก็รู้กำลังของตัวน่ะ เราจะอดอาหาร เราจะตั้งอะไร เราก็ต้องรู้กำลังเราสิ กำลังของเรานี่เราจะทนได้กี่วัน กำลังของเรา เราปฏิบัติเราก็ต้องรู้กำลังของเราใช่ไหม รถเรานี่ เราใช้รถเรา เรารู้ว่ากำลังรถเรามีเท่าไร จะบรรทุกหนักขนาดไหน รถเรามีน้ำหนักขนาดนี้ บรรทุกของได้ขนาดนี้ เราก็บรรทุกพอซัก ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ พอให้รถเราทนได้ รถเราบรรทุกได้ขนาดนี้ อัดเข้าไป ๒๐๐-๓๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย มันก็พังน่ะสิ อันนี้เวลาปฏิบัติมันต้องมีคำนวณอย่างนี้ด้วย

ฉะนั้นสิ่งที่มันดันออกมานี่คืออาการของใจทั้งนั้น แล้วอาการหลัก หลักมันคือเป็นอย่างนี้ แต่การแสดงออกนี่ร้อยแปดเลย ฉะนั้นเวลานั่งสมาธิแล้วมันเหมือนมีอะไรนี่ มันเหมือนมีเห็นไหม ถ้าพุทโธก็พุทโธเฉยๆ พอพุทโธไปเรื่อยๆ นี่มันจะดึง มันจะไปฟอก สิ่งที่จิตมันซับไว้ เหมือนกระดาษซับ มันซับสิ่งใดไว้ นี่มันก็จะไปฟอกว่าที่เอ็งซับมานี่ไม่มีปัญหา พอมันไม่มีปัญหาก็จบ

นี่ก็เหมือนกัน พอพุทโธ พุทโธแล้วเกลื่อนไป พุทโธเฉยๆ นี่แหละ มันจะรับรู้ก็พุทโธเฉยๆ พุทโธ พุทโธ มันจะไปรับรู้ พุทโธ พุทโธ จนมันไม่มีอะไร ก็เออ นั่นไม่มีอะไร มันไปฟอก มันไปเกลื่อน มันไปลบข้อมูลในใจปั๊บอาการนี้ก็หาย พออาการนี้หาย เรายังมีกิเลสอยู่ใช่ไหม มันจะเกิดอาการใหม่ มันเกิดอีก มันจะเกิดอาการใหม่ แต่พอเกิดอาการใหม่ เราเคยแก้อาการนี้ได้แล้วนะ อาการใหม่ก็ใช้หลักการแก้ด้วยวิธีนี้เหมือนกัน มันจะแก้ด้วยวิธีนี้เหมือนกัน

นั่งไป ไอ้สิ่งนี้ นี่ขณะทำสมถะทำสมาธิ กิเลสมันก็หลอกได้ขนาดนี้ กิเลสมันจะหลอก มันจะเอาข้อนี้มาอ้าง อ้างทุกอย่างเลย อู๋ย เวทนาเกิดแล้ว อู้ฮู นั่งไปนี่เดี๋ยวปวดน่าดูเลย พอปวดขึ้นมานี่ คิดไปนี่ปวดเป็น ๒ เท่า ๓ เท่า นี่คือการลองผิดลองถูก จิตของคนที่ไม่ปฏิบัติ กิเลสมันหลอกไปเรื่อยๆ แต่เราปฏิบัติมา เวทนานี่ ๗ ชั่วโมง ๘ ชั่วโมง ซัดกันจนเวทนาหายหมด ทุกอย่างหายหมดเลย พอมันเกิดข้างหน้านะ โอ๋ยทำมาแล้ว เหมือนคนชำนาญการทำอาหาร โอ๋ย แกงอย่างนี้แกงมาทุกวันแล้ว สบายมาก มาเลย มาเลย หลับตาแกงได้เลย

นี่ก็เหมือนกันพอเวลาเวทนาจะเกิดนะ เวทนาเอาอะไรมาเกิด ตั้งสติเลย ไหนเวทนา ไหนสู้กับมัน จบหมด ถ้ามันผ่านแล้วนะ มันมีปัญญา มันมีการยืนยันจากสันทิฏฐิโก มีการปฏิบัติที่ตัวเองยืนยัน มันจะเคลียร์ตรงนี้ได้หมดเลย แต่ถ้าเรายังไม่ได้ก็อย่างนี้ ยังจับพลัดจับผลูนี่ นู้นจะเป็นอย่างนั้น นี่จะเป็นอย่างนู้นไง มันก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พอถึงที่สุดแล้วจบ พอจบแล้วจิตมันปล่อยอาการปล่อยขันธ์ ๕ ปล่อยสัญชาตญาณที่ออกไปรับรู้ หดเข้ามาเป็นตัวมันเอง “สักแต่ว่ารู้” สักแต่ว่ารู้ รู้ละเอียด ไม่ใช่รู้ด้วยความคิด ไม่ใช่รู้ด้วยสัญญา ไม่ได้รู้ด้วยรับรู้ ไม่ได้รับรู้อะไรเลย แม้แต่ร่างกายนี้ยังไม่รับรู้เลย อายตนะ แม้แต่เสียงใครมาตะโกนที่หูก็ไม่ได้ยิน

มีพระองค์หนึ่งอยู่ด้วยกัน นั่งสมาธินะจิตมันลง ฟ้าผ่า เปรี้ยง! จนเรียบร้อยหมดแล้วนะ เขาออกมา เขาบอกว่า เฮ้ย เกิดอะไรขึ้นน่ะ เขาไม่รู้ว่าฟ้าผ่านะ ฟ้าผ่า เปรี้ยง!เลยนะ มันเป็นสมาธิอยู่ไม่ได้ยิน ไม่รู้เรื่องเลยล่ะ พอออกจากสมาธิมา นั่นอะไรน่ะ เขามีอะไรกัน มึงจะตายเอา ฟ้าจะลงหัวมึง นี่มีสมาธิเห็นไหม

นี่ก็เหมือนกันเวลามันหด มันเป็นนะ ไม่รับรู้อะไรเลย พอไม่รับรู้ปั๊บ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมานี่มันจะปล่อยไง เฟืองเกียร์นี่อยู่ในเกียร์เห็นไหมมันจะมีกำลัง ธรรมชาติความคิดกับพลังงานนี่มันอยู่ของมันอย่างนี้ อยู่ในเกียร์ ความคิดนี่มันต้องมีของมันตลอด พุทโธ พุทโธ พุทโธจนมันปล่อยเกียร์ว่างหมดเลย นั่นล่ะคือสมาธิ

ฉะนั้นพอมันจะปล่อยนี่ อู้ฮู มันก็ต้องมีอาการอย่างนี้ นี่ผู้ที่ปฏิบัติมันก็ตกใจ มันก็มีอาการอย่างนี้นะ แต่ถ้าอย่างเรานี่หญ้าปากคอก ปัญหาที่เราตอบๆ อยู่ทุกวันนี้ หลวงตาบอกไม่ใช่ปัญหา คือมันเล็กน้อยเกินไป ปัญหาที่เราตอบๆ ทุกวันนี่หลวงตาไม่ตอบ ท่านบอกไม่ใช่ปัญหา ท่านจะให้ภาวนาจนเกิดปัญหาแล้วท่านจะแก้ เพราะอะไร เพราะท่านนั่งฟังมาเป็นหลายสิบปี ไอ้ของเรามันเพิ่งเปิดร้านใหม่ เราตอบเยอะ แต่ตอบขนาดไหนก็แล้วแต่ เหนื่อยนะ

ที่เราตอบนี่เราจะตอบให้หลากหลาย แล้วเอาเข้าไว้อยู่ในเว็บไซต์ ต่อไปใครมานะมึงไปเปิดเอาในเว็บไซต์เถอะ ไปเปิดเอาในเว็บไซต์นะ เพราะนี่เราทำเหมือนกับ เวอร์ชั่น เหมือนกับที่หลวงตาทำก็คือผลงานของหลวงตา หลวงปู่มั่นทำก็เป็นผลงานของหลวงปู่มั่น อันนี้เป็นเราทำ เราตอบด้วยประสบการณ์ของเรา เห็นไหมจริตนิสัยของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเราตอบด้วยประสบการณ์ของเรา เพื่อประโยชน์กับโลก

ฉะนั้นสิ่งนี้ สิ่งที่ว่าที่ตอบ เราพูดไว้เดี๋ยวจะหาว่า เอ้ะ มันเหมือนกับว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เรามาพูดให้มันเป็นเรื่อง อะไรทำนองนั้น ถ้าพระเขาก็ โอ้ เรื่องอย่างนี้ก็ตอบเนาะ เรื่องไม่เป็นเรื่อง ก็พูดให้มันเป็นเรื่องขึ้นมา แต่นี้มันเป็นเรื่อง ปฏิบัติ

โยม : ถ้าเกิดเรากำหนดแล้วก็ดู ใช้พุทโธกับลมหายใจเฉยๆ แต่เราอยากลองดูว่าบางทีเราฟุ้งซ่าน คิด หรือว่าเผลอสติ เราอยากจะให้ความมีสติมีมากขึ้น เราก็เลยลองตามลม เข้า ออก แล้วกำหนดสติตามลมนั้นนะคะ ตามวิถี ทีนี้พอไปฟังเทศน์หลวงตา หลวงตาบอกว่า จะไปตามทำไมให้มันเพิ่มภาระอีก

หลวงพ่อ : ใช่! ใช่! เราก็จะพูดอย่างนั้นล่ะ เราจะพูดอย่างนี้ สมมุติว่าถ้าเราขาดสติใช่ไหม เราพุทโธใช่ไหม เรากำหนดลมหายใจนี่ แล้วถ้าเราจะเปลี่ยนแปลง อย่างที่พูดเมื่อกี้ ทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งใช่ไหม หรือเราเปลี่ยนแปลงอุบาย แต่ถ้าการตามอย่างนั้น ถ้าหลวงตาบอกไม่ให้ตาม แล้วถ้าตามแล้วนะ เราจะบอกว่าตามไปตามมา ตามมาตามไป พอตามขึ้นไปแล้วนี่ มันเหมือน

๑.เพิ่มภาระ

๒.ถ้ามันเคยตามอย่างนี้แล้วนี่ เหมือนพับผ้า เราพับผ้าจนเรียบร้อย คือการพับผ้าเสร็จใช่ไหม ไอ้นี่พับผ้าเสร็จแล้ว แล้วเราขยุ้มผ้าวางไว้ จะไปพับผ้าได้ไหม

ไอ้การตามมันเคลื่อนอยู่นี่ แล้วเราเคลื่อนอยู่จนเคยชิน เหมือนขยุ้มผ้ากองไว้ แล้วผ้าจะเก็บจะพับได้ไหม การพับผ้าต้องพับให้ผ้ามันเรียบใช่ไหม เรากำหนดลมหายใจจนกว่าลมมันจะสงบ หรือเราพุทโธจนสงบ แล้วการเคลื่อนไปเคลื่อนมา อาการไหวนี่มันสงบไม่ได้หรอก นี่อันหนึ่งนะ

อันที่ ๒ หลวงตาบอก ถ้ามันไปนี่ เราจะบอกว่ามันจะเคยตัวไง แล้วพอเคยตัวนะ อย่างที่พูดเมื่อกี้ กิเลสมันจะหลอก กิเลสนะ ถ้าสมมุติว่าเราพุทโธ หรือใช้ลมหายใจ เพื่อเป็นความสงบได้ สิ่งนี้มันจะฆ่าเราได้ พอมันเคลื่อนอย่างนี้ปั๊บนะ มันแบบว่ามันหยาบออกมาใช่ไหม กิเลสบอกอันนี้นี่ดี คือกิเลสมันจะบอกเราให้ถอยจากสิ่งที่ละเอียดมาอยู่ที่หยาบ หยาบ หยาบจนเอ็งต้องออกไปข้างนอก เอ็งจะล้มไปเลย

ฉะนั้นถ้าเราจะย้อนศรกิเลส อะไรที่มึงไม่พอใจ อะไรที่มึงไม่ชอบ กูจะดันกับมึง แต่ถ้าอย่างนี้มา มันหยาบออกมาใช่ไหม

โยม : มันไม่ได้อยากออก แต่เรา...

หลวงพ่อ : มันหยาบ มันหยาบออกมา เออไม่ใช่อยากออก หยาบออกมา หยาบกับละเอียด ถ้าละเอียดมันก็ต้องดีกว่าหยาบ จิตละเอียดขึ้นมาทุกอย่าง เพราะมันจะเข้าสู่ความสงบ แต่ถ้าหยาบออกมาคือห่างจากสงบออกมา

โยม : มันไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีในเรื่องของสติที่ดีขึ้น

หลวงพ่อ : สติไม่ใช่สมาธิ สตินะ หลวงตาบอกสติต้องการในทุกสถานทุกเมื่อ สติทำงาน พูดนี่ก็ต้องสติ ทำงานก็ต้องสติ แต่สติคือสติ แต่สตินี่ ถ้าไม่มีสติสมาธิเกิดไม่ได้ แต่สมาธิไม่ใช่สติ

ฉะนั้นถ้าเราไปเน้นสติ นั่นมรรค ๘ ไง มรรค ๘ มรรคสามัคคี มรรครวมตัว สมุจเฉทปหาน นี่ถ้าสติ สตินะ เราเคยอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ นั่งภาวนากันนี่ แล้วเราก็นั่ง มันเหมือนกับนั่งเพ่งไง พอออกมาแล้ว

“ไอ้หงบ มึงทำไมนั่งตัวเอียงๆล่ะ”

“โอ้โฮ โม้เลยนะ มันใสหมดเลยนี่ โอ้โฮโครงกระดูกนี่ใสหมดเลยนะ”

“นี่ไง สมาธิมึงมากเกินไป ต้องใช้ปัญญาเยอะๆ”

คือให้คิดเลย ไม่ให้อยู่ในสมาธิเลย ฉะนั้นเวลาถ้าสมาธิมากเกินไป เราจะให้มันแปรสภาพมันก็ไม่แปร มันมรรค ๘ เห็นไหม ความสมดุลของมันเห็นไหม ทีนี้พอมาเน้นสติตัวเดียว เออสติมันดี มันเด่นที่สติ ถ้าสติมันเด่นที่สติ แล้วสติมันจะเป็นสมาธิไหมล่ะ เห็นไหม

แต่สติสำคัญไหม สำคัญ แต่เราทำสติ เราตั้งสติ กำหนดพุทโธหรือกำหนดอะไรก็แล้วแต่เพื่อสมาธิ แต่เราไปเน้นสติเด่น เหมือนกับเอาตังค์มาให้ เขาเอาเงินมาให้ล้านหนึ่งเศษตังค์หมดเลย กับเช็คใบหนึ่งนะ กับเหรียญบาทล้านหนึ่ง โอ้ เหรียญบาทแบกไม่ไหวนะ โอ้โฮ ล้านบาทนี่แบกไม่ไหว แต่ถ้าเราแลกมาเป็นเช็คล่ะ เห็นไหมใบเดียว สติ สมาธิ ปัญญา ต้องดีขึ้น

โยม : เช่นอย่างที่อาจารย์สอนว่า เอาสมาธิก่อนดีกว่า เพราะมันจะทำให้เบา และก็ไม่ต้องลากมาก ไม่เหนื่อยมาก

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้ามีสมาธินะ ทำให้จิตสงบนี่แหละ ไม่ต้องสมาธิมาก พอจิตสงบแล้วให้ใช้ปัญญาเลย พอเรามีสตินิ่งๆ เราใช้ปัญญา เพราะปัญญาตัวนี้มันจะกลับมาทำให้สมาธินี่ดีขึ้น เร็วขึ้น สมาธินี่ อย่างเช่นคนถือศีล คนถือศีลต้องมีปัญญานะ ถ้าเราถือศีลแล้วไม่มีปัญญา ศีล ๕ นี่เกร็งนะ โอ้โฮผิด ถ้าถือศีล ๕ นั่งเลย ไม่ลุก เดี๋ยวผิดศีลไม่ยอมลุกเลย แต่ถ้าเป็นปกตินะ เรามีปัญญา อ้าว ก็ลุกเดินปกติใช้ชีวิตประจำวันไป ไม่มีเจตนาไม่ได้ตั้งใจทำผิดมันก็ไม่ผิด เขามีปัญญา

ฉะนั้น เรื่องสติเห็นไหม เราก็ต้องมีปัญญาของเราควบคุม เรื่องสมาธิเราก็ต้องมีปัญญา แล้วถ้าสมาธิดีขึ้น ปัญญามันละเอียดขึ้นมา ฉะนั้นพอมีปัญญาขึ้นมา พอมีสติมีความสงบแล้ว เราใช้ปัญญาได้เลย ปัญญามันจะเข้ามาทำให้สมาธินี่ง่ายขึ้น คือมันมีเหตุมีผลมันจะตรวจสอบกัน

โยม : (เสียงถามไม่ชัด)

หลวงพ่อ : ถ้าสมดุลนะ พอสมดุลอย่างที่ว่ามรรค ๘ สมดุล เราถึงบอกไงหลวงตาบอกว่า โลกนี้เขาไม่รู้จักภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา เพราะภาวนามยปัญญาจะเกิดต่อเมื่อมรรค ๘ สมดุล พอมรรค ๘ สมดุลนี่มันจะเกิดธรรมจักร มันจะหมุน พอมันจะหมุน นี่มรรคสามัคคี ความสามัคคีของมรรค ๘ แล้วรวมลงสมุจเฉทปหานฆ่ากิเลส นี่ภาวนามยปัญญา

แต่ที่เราคิดกันนี่มันมีส่วนใดส่วนหนึ่งหนักกว่ากัน คือมรรค ๘ ใช่ไหม มรรค ๘ คือดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ ปัญญาชอบ มันสมดุลของมันนะ แล้วมันรวมตัว โอ้โฮ นี่ภาวนามยปัญญา ถ้าจะเห็นตอนนั้นจะเป็นโสดาบัน

โยม : ถ้าเราจะประคองมันไป สมมุตินะคะ ให้มันได้ในขณะที่เราไม่ได้อยู่ในวัดละ เพราะเราออกมา ความต่อเนื่องมันต้องมี เราจะรักษาอันนี้เอาไว้ได้อย่างไร

หลวงพ่อ : ตั้งสติตั้งสมาธิไว้ ไปอยู่บ้านก็ต้องมีมรรค ๘ มาอยู่วัดก็ต้องมีมรรค ๘ ไม่ใช่ว่าประคองมรรค ๘ ไว้ที่วัด พอออกไปที่บ้านมีมรรค ๖ มรรค ๗ ไม่ใช่ อยู่ที่วัดก็มีมรรค ๘ ไปอยู่ที่บ้านก็ต้องมีมรรค ๘

ทีนี้เราพูดคำนี้มาเราไม่ให้กิเลสมันหลอก ถ้ามันโดนกิเลสหลอก คนจะน้อยใจว่าที่วัดมันจะดีกว่าที่บ้าน ที่บ้านก็คือเรา ที่วัดก็คือเรา ที่ไหนก็คือเรา เราสำคัญที่สุด ฉะนั้นอยู่ที่วัดก็มรรค ๘ อยู่ที่บ้านก็มรรค ๘ นอนบนเตียงก็มรรค ๘ เพราะชีวิตของเรา ชีวิตของคฤหัสถ์ มรรค ๘ หรือว่าสิ่งต่างๆ นี่มันอยู่ในหัวใจของเรา เราจะอยู่ที่ไหนมันก็คือมรรค ๘ ไอ้นี่มันคือเพศ เพศของสมณะ เพศของคฤหัสถ์ ไอ้เพศนี่มันเป็นเพศ

ฉะนั้นบอกว่ามันจะไปอยู่ที่พระ ทุกอย่างอยู่ที่พระ ไม่ใช่ ถ้าเราคิดอย่างนี้ นี่กิเลสมันจะคอยหลอก เราคิดแล้วจะน้อยใจ ถ้าเราไปอยู่วัดครบมันก็จะเป็นมรรค ๘ ไปอยู่ที่บ้านก็เหลือแต่มรรค ๗ นี่มันก็จะน้อยใจนะ นี่กิเลสมันค่อยๆ แหย่ ฉะนั้นแล้วเราอยู่ที่ไหนก็มรรค ๘ แล้วใช้ปัญญาของเราฝึกไปอย่างนี้

คำถามนี่ยิ่งกว่านี้อีก เมื่อก่อนนะพวกลูกศิษย์นี่ หลวงพ่อพูดบ่อยมากเลยว่า มรรคสมดุล มรรคสมดุลนี่สมาธิน้ำหนักเท่าไร ปัญญาน้ำหนักเท่าไร เขาจะคิดแบบวิทยาศาสตร์ไง แล้วจะมาตวงเลยนะ แล้วจะมาผสมกันให้มรรคมันสมดุล แล้วก็เครียด เราก็บอกว่ามึงจะบ้าเหรอ เพราะมรรค ๘ ของแต่ละคนมันก็ไม่เท่ากัน

โทสจริตนี่มันก็ต้องมีมรรค ๘ ที่มันจะควบคุมโทสะ โมหะจริตนี่มรรค ๘ นี่ มรรค ๘ ไม่เท่ากันนะ พอมรรค ๘ ไม่เท่ากันปั๊บ ความสมดุลของมรรคไม่เท่ากัน ไม่เท่ากันหมายถึงว่าคนกิเลสหนานี่ มันต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ จนสมดุล จนมันถอนรากถอนโคน แต่คนที่มันละเอียดอ่อน มันใช้ปัญญาไม่กี่รอบมันก็ถอนได้ ไม่อย่างนั้นมันจะมีขิปปาภิญญาที่ปฏิบัติง่ายปฏิบัติยากเหรอ

เหมือนกับคน นิสัยเห็นไหม บางคนขี้โกรธ หรือบางคนนี่ บางคนพ่อแม่รู้สอนลูกนี่ บางคนนี่จ้ำจี้จ้ำไชนะมันก็ไม่คิด บางคนบอกทีเดียวนะ แล้วบอกมากไม่ได้นะ บอกมากเขาจะเสียใจหาว่าพ่อแม่ไปว่าเขานะ ถ้าคนฉลาด บอกเขาทีเดียวนี่เขาจะเปลี่ยนแปลงเลย ถ้าคนไม่ฉลาด บอกแล้วบอกอีกๆๆ นะ ก็แม่ไม่บอก โอ๋ย กูบอกทุกวันเลย ก็บอกว่าแม่ไม่บอก แม่ไม่บอก

นี่ แล้วนี่ไอ้มรรคมันก็คนละมรรคแล้วเห็นไหม ความคิดต่างคนละความคิดแล้ว นี่เราก็บอกว่าสูตรสำเร็จไม่มี ใครสอนสูตรสำเร็จนะ คนนั้นไม่ใช่อาจารย์ ถ้าใครสอนสูตรสำเร็จ คอมพิวเตอร์มันสอนให้มึงดีกว่า คอมพิวเตอร์มึงไปกดมันออกมาตลอดเลย แล้วอาจารย์ของคนสอนคน สอนเป็นสูตรสำเร็จไม่มี พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนสูตรสำเร็จ วิธีการทำความสงบ ๔๐ อย่าง วิธีการของปัญญาไม่มีขอบเขต หลวงตาบอกปัญญานี่ ข่ายของปัญญาไม่มีขอบเขตเลย คิดได้ทะลุปรุโปร่ง สู้ได้เต็มที่เลย ปัญญาไม่มีขอบเขตเลย

โยม : หลวงพ่อ แล้วที่ครูบาอาจารย์เขาจะสอนว่า การทำความเพียรหรือการเพียรพยายามนี่ ต้องให้ทำให้ยิ่ง ทำให้ยิ่งนี่ ถ้าเราเคยทำแบบโอ้โฮ อุกฤษฏ์มา สมมุติในความรู้สึกเรา เราว่ามันโหดสำหรับเรามากแล้ว พอเราไปวัดอีก เราก็ต้องทำให้ยิ่งกว่าครั้งที่แล้ว หรือว่าน้อยกว่าครั้งที่แล้ว

หลวงพ่อ : น้อยกว่าหรือยิ่งกว่านี่ มันสำคัญที่จิตเราสงบไหม ผลมันตอบขึ้นมาไง เวลานั่งสมาธินี่ ทุกคนตั้งเวลาเลยชั่วโมงหนึ่ง แล้วถ้าเกิดเรานั่งไปสัก ๒ นาที เกิดสงบแล้วล่ะ บางคนตั้งไว้ชั่วโมงหนึ่ง ชั่วโมงครึ่งยังไม่ลงเลย ฉะนั้นเวลาเรานั่งสมาธิ ไอ้เรื่องทำให้ยิ่งหรือกาลเวลานี่มันเป็นโอกาส เหมือนบอล บอลนี่นะถ้าเวลายังไม่หมดยังมีโอกาสได้แก้ตัวใช่ไหม ถ้าหมดเวลาก็จบ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรานั่งให้นานนี่ มันก็คือเวลาไง เราได้เอาเวลาที่ได้มา ทีนี้มันไม่ใช่สงบไม่สงบอยู่ที่เวลานั้นนะ มันสงบหรือไม่สงบอยู่ที่จิตเราต่างหากล่ะ ฉะนั้นคำว่าทำให้ยิ่ง คือทำให้ต่อเนื่องคือทำอย่างนี้ ครูบาอาจารย์สอนอย่างนั้น นี่ยังดีนะ เราฟังลูกศิษย์บ่อยมาก ไปหาหลวงปู่ลี เวลาไปหาหลวงปู่ลีไปถามการแก้ปัญหา หลวงปู่ลีบอกว่า “ง่ายนิดเดียวเลย นั่งตลอดรุ่งก็รู้เอง” หลวงปู่ลีนี่ ถ้าไปหานี่ ใครๆ ก็รู้ ถ้าใครไปถามปัญหานะ เอ็งนั่งพุทโธตลอดรุ่งก็จบ หลวงปู่ลีตอบอย่างนี้ตลอดเลย

นี่ทำให้ยิ่ง เพราะเวลาของท่าน ท่านทำของท่านมาอย่างนี้ คือท่านจริงจังของท่าน ท่านตรวจสอบตัวของท่านเอง ถ้าใครไปถามปัญหาเรื่องภาวนานะ “นั่งตลอดรุ่งก็รู้ ต้องตลอดรุ่ง” จบเลยที่เอ็งถามนี่เอ็งจะรู้เองหมดเลย คือพอเรานั่งไปเวทนาก็จะเกิด ทุกอย่างก็จะเกิด ถ้าเราจะอยู่ได้นี่เราจะต้องบริหารมันได้ เราจะต้องควบคุมมันได้ เราต้องทำมันได้หมดล่ะ ถ้าเราทำได้หมดแล้ว จบ ไม่ต้องไปถามหรอกเพราะเรารู้แล้ว

ท่านบอกเลยว่าให้นั่งตลอดรุ่ง แล้วจะรู้เอง แล้วมันจะไม่ถามเลย ไม่ถามเพราะมันรู้ มันรู้ขึ้นมา แต่นี่เราไม่รู้ขึ้นมาเราถึงถามใช่ไหม ปัจจัตตัง ถ้าเราทำตลอดรุ่งนี่ อย่างที่หลวงปู่ลีสอนนะ พอรู้ขึ้นมาแล้วนะ นี่ไงหลวงปู่มั่นถึงบอกไง อยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ถาม เพราะเรารู้ขึ้นมาแล้วนี่จะไปถามใครล่ะ ไอ้ที่ถามอยู่เพราะไม่รู้ไง นี่หลวงปู่ลีตอบ

สติ ใช่ พอเราไปตั้ง เราไปคิดอย่างนี้เอาแต่สติ พอมีสติแล้วเกิดสมาธิ พอเกิดสมาธิฝึกไป แล้วเกิดอย่างนี้เป็นชั้นเป็นตอน ไอ้ที่เราพูดเราย้ำเราจะให้พวกโยมเห็น เพราะหลายคนตอนนี้หลายคนมากนะมาภาวนาที่นี่ พอมันอั้นตู้แล้วมันไปไม่ได้ แล้วเราบอกให้พุทโธ เขาพูดเอง หลายคนก็พูด ๒-๓ คนนั้นพูดอย่างนี้เลย พอหลวงพ่อพูดนี่มันก็แบบว่า “เราผ่านพุทโธมาแล้วน่ะ ทำไมต้องกลับไปพุทโธอีก เพราะปัญญามันเพริดแพร้วไปแล้วน่ะ เพียงแต่พอมันไปตันเฉยๆ ก็นึกว่าปัญญามันต่อไปไง” เขาไม่เชื่อ

สุดท้ายเขาพูดเองนะ ตัดสินใจเลย “ลองดูอีกสักทีเถอะวะ” กลับมาพุทโธ พุทโธ พอพุทโธจิตสงบปั๊บ ปัญญาที่มันเคยได้แล้ว พอจิตมันเป็นฐานขึ้นมานี่ ปัญญามันจะส่งต่อ พอส่งต่อนี่โอ้โฮ กลับมานะ ทีแรกก็ไม่เชื่อหลวงพ่อ พอมันจนตรอกก็เลยลองๆ ดูสักทีหนึ่ง กลับมาพูดอย่างนี้ทั้งนั้น

พอมันลง โธ่ มันก็เหมือนเรานี่แหละ เรามีเงินบาทหนึ่ง เราใช้อยู่บาทหนึ่งบาทหนึ่ง พอเรามีเงิน ๑๐ บาท ราคามันต้องต่างกันอยู่แล้ว พอบาทหนึ่งก็สมาธิขนาดนี้ พอ ๑๐ บาทเรามีสมาธิมากขึ้น ๑๐ บาทนี่มันซื้อของได้มากกว่าบาทหนึ่งอยู่แล้ว ทีนี้เพียงแต่มันใช้ไปใช้ไปนี่ มันใช้ปัญญามากไป พอสุดท้ายแล้ว พอปัญญามันเกิด เราใช้เงิน ๑ บาทเราพอใจแล้ว เพราะเราต้องการ ๑ บาท เราซื้อของมีค่า ๑ บาท เราซื้อแล้วไง เราก็พอใจ

ทีนี้พอใจ พอซื้อบ่อยๆๆ เงินมันหมดเห็นไหม แล้วเอาเงินบาทมาซื้อแล้วมันไม่ไปแล้ว แต่พอได้ ๑๐ บาทมานะ กูซื้อได้ ๑๐ เท่า พอจิตมันสงบ พอพุทโธ พุทโธ พอปัญญามันเกิด เป็นอย่างนี้ทุกคน เพียงแต่ว่า คิดว่าตัวเองทำหมดแล้วที่หลวงพ่อสอน ที่หลวงพ่อสอนมาหนูทำหมดทุกอย่างแล้ว ครบเลย แต่พอพุทโธเข้าไปมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

มนุษย์คิดอย่างนี้ เพราะเราเคยคิดอย่างนี้มาก่อน เวลาครูบาอาจารย์เทศน์มา เหมือนกูเลยๆ แต่จริงๆ แล้วไม่เหมือน กูหลอกตัวเองตลอดเลย แล้วพอมันไปอีกทีหนึ่งนี่ เราเป็นอย่างนี้มาก่อน กิเลสเป็นอย่างนี้หมด

นี่ไง จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง หลวงตาสอนบอก ใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง แล้วพอเราพูดไปนี่ แล้วทุกคนต้องอย่างนี้ ต้องปากกัดตีนถีบ ต้องหัวชนฝา แล้วไม่มีทางออก แล้วถึงบอกลองที่หลวงพ่อสอนหน่อยว้า พอทำไปนะ กลับมานะ เวลาจะลากลับบ้าน หลวงพ่อ กูบอกมึงแล้ว มึงไม่เชื่อกันเอง ถึงเชื่อก็บอกว่ากูทำแล้วทำแล้ว แต่พอไปเจอจริงๆ นะ อายก็อาย ไม่กล้าบอก มันเป็นอย่างนี้ กิเลสมันเป็นอย่างนี้ กิเลสมันหลอกอย่างนี้ หลอกจริงๆ

ทำไปเดี๋ยวรู้ แล้วเดี๋ยวจะนั่น เนาะ จบเนาะ เอวัง