เทศน์เช้า

รูปเคารพ

๓o ม.ค. ๒๕๔๓

 

รูปเคารพ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๓
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

แต่เดิมเรานี่ หลักของความเชื่อ มันอยู่ที่ความเชื่อไง หลักของศาสนา แต่เดิมมันไม่มีหลักศาสนา มีแต่ความเชื่อเฉยๆ คนเราเชื่อดินฟ้าอากาศ เชื่อภูเขา เชื่อพระอาทิตย์ ความเชื่อไง เคารพพระอาทิตย์ กลัวมากเลย เชื่อผีเชื่อสาง เห็นไหม นี่เชื่อผีเชื่อสางเพราะอะไร เพราะว่า ผีสางมันแสดงตัวให้เห็นได้ เชื่อผีเชื่อสาง เพราะยังไม่มีหลักของศาสนา นี่ความเชื่อเป็นอย่างนั้น

ทีนี้พอหลักศาสนา ศาสนาเราเกิดขึ้นมาแล้วพระพุทธเจ้าสอน เห็นไหม ไม่ให้เชื่อผี ไม่ให้เชื่อสาง ไม่ให้เชื่อภูเขา ไม่ให้เชื่อดินฟ้าอากาศ ไม่ให้เชื่อ...ให้เชื่อธรรม ฟังสิ ให้เชื่อธรรม หลักของธรรม ธรรมนี่มันแก้ไข แก้ไขคือว่า ถือผีที่เกิดเป็นผีนั่นน่ะ ให้ดวงใจดวงนั้น ให้ใจดวงนั้น ปฏิสนธิจิตอันนั้นมันจะสะอาดจะบริสุทธิ์ แล้วถ้าสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาแล้ว ถ้าเชื่ออันนี้แล้ว เห็นไหม จิตนั้นคือใคร? คือให้เชื่อตนเองไง ให้เชื่อเรา

เรามีหัวใจ เรามีความเชื่อ แต่เดิมหลักศาสนาไม่มี ให้เชื่อเรื่องต่างๆ ทีนี้ความเชื่อของเขา ความเชื่อของเขาเชื่ออย่างนั้นปั๊บ พอเชื่ออย่างนั้นมามันมาขัดกับหลักศาสนาที่ว่า เชื่อดวงใจดวงที่จะเป็นไปได้ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่ใช่เชื่อดินฟ้าอากาศ เชื่อภูเขา เชื่อผี

ผีมันเป็นว่า เราไปแล้วถึงเป็นผี เราตายไปถึงเป็นผี ในเมื่อเรายังไม่ตายไป เรามีโอกาสดัดแปลงตนอยู่นี่ เรามีโอกาสดัดแปลงตน ดัดแปลงหัวใจ เห็นไหม ดัดแปลงตนนี่ทำสมาธิเข้ามา ความเห็นเข้ามา มันข่มกิเลสให้ได้ จนตัดกิเลสออก นี่ตัวกิเลส ตัวที่เนื่องไปกับหัวใจมันพาให้เกิดในสวรรค์ในนรก ในเป็นผีเป็นเปรตนั้นน่ะ

แล้วในเมื่ออาจารย์บอกว่า เชื่อนรกสวรรค์มีนี่ แต่หลักการเขาว่าตรงนี้มันไม่มี เขาก็เลยแอนตี้ในหัวใจอยู่แล้วโดยความเชื่อของเขา เห็นไหม ความเชื่อของเขาว่านรกสวรรค์มันไม่มี นรกสวรรค์นี่ไว้หลอกกันเอง สวรรค์ในอก นรกในใจ...ถูกต้อง สวรรค์ในอก นรกในใจ แต่ความเชื่อที่ถือผี ผีที่มันตายมานั้นอะไร ความเชื่อนี้ไม่มีหลักของศาสนา

แต่พอมีหลักศาสนาแล้ว ความเชื่อที่ว่าเชื่อเรื่องนรกสวรรค์นั้น เชื่อเพราะเวลาเราตายไปแล้ว ถ้าคนเราไม่ถึงที่สุด จิตดวงนั้นไม่สามารถทำให้ถึงที่สุดได้ มันต้องเกิดต้องตาย ถึงว่าให้เชื่อนรกสวรรค์ไง

ความไม่เชื่อนรกสวรรค์อันนั้นมันก็ค้านอยู่ในหัวใจอยู่แล้วอันหนึ่ง แล้วถึงว่า ความเชื่อในนรกสวรรค์ เชื่อกับใคร? เชื่อจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนตรัย

เห็นไหม บริโภคเจดีย์ คนที่ปฏิบัติดี คนที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบขึ้นมานี่ แม้แต่เรื่องบริขาร อัฐบริขารยังสร้างเจดีย์ไว้เคารพบูชากัน เห็นไหม อันนี้เราก็เชื่อ ในเมื่อเราไปไม่ถึงที่สุดนั้นเราก็ต้องอาศัยสิ่งนี้เป็นที่พึ่งไปก่อน ในเมื่อเราอาศัยสิ่งที่เป็นที่พึ่งไปก่อน มันจะไม่ให้คุณค่ากับเราได้อย่างไร มันต้องมีคุณค่ากับเราสิ เราถึงได้เคารพ เห็นไหม เรื่องที่ว่า สิ่งที่ว่าเราเอารูปเคารพ มันก็มีส่วนที่มีคุณค่าอยู่ แต่มันไม่ใช่ทำให้เราถึงตรงนั้นได้ แต่ในเมื่อเราไปไม่ถึง เราก็ต้องเคารพ ความเคารพอันนั้นมันจะผิดไปตรงไหน

ถ้าเคารพ ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นครูบาอาจารย์ของเรา เป็นผู้ชี้นำของเรา เป็นดวงตาของโลก แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาองค์เอก เห็นไหม เวลาจะนิพพานน่ะ พระอานนท์บอกว่า “ดวงตาของโลกดับแล้ว” อันนี้ครูบาอาจารย์ของเราก็เป็นผู้ชี้นำทางให้เราน่ะ ทีนี้เราเคารพครูบาอาจารย์ อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยว ในเมื่อคำสอนนั้นเราไม่สามารถเข้าใจได้ เราก็ต้องอาศัยนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว พอเครื่องยึดเหนี่ยว

ในหลักพระไตรปิฎกบอกไว้ นี่บริโภคเจดีย์ บริขารที่ใช้อยู่นี่ แม้แต่ผ้าจีวรเขาก็เอามาเลี่ยมแขวนคอกันนี่ นี่ที่เจดีย์เขาเอาไว้เคารพบูชา แล้วนี่เราก็เอามาไว้ผูกคอ ไว้เป็นที่เคารพบูชาของเรา เป็นที่ยึดเหนี่ยวของเรา

อันนี้ความไม่เชื่อของเขา เขาก็พูดไป มันก็พูดไป แต่เพราะเขาไม่ได้เข้ามาเห็นความประพฤติปฏิบัติน่ะ ใจเขาลงเชื่อตรงนี้ไม่ได้ไง เขาถึงได้พูดขนาดนั้นน่ะ พูดว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วนี่...มันเทียบกันไม่ได้ ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กับอลัชชีผู้ที่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เราก็ไม่เอาอยู่แล้ว แล้วนี่เทียบมาถึงกับคฤหัสถ์นะ แล้วเทียบถึงกับสิ่งที่ว่ามันต่ำทรามอย่างนั้นเอามาเทียบกัน นี่ความเชื่อของเขามันสุดโต่ง

ไม่ได้ไปโทษเขา ไม่ได้ไปแก้ไข ไม่ได้ไปอะไรเขา เพียงแต่ให้ความเห็นไง ให้ความเห็นว่า ความเห็นของเรา เราก็ต้องว่าอย่างนี้ ว่าในเมื่อความเชื่อของเขา เขาปฏิเสธหลักการมาตั้งแต่แรก ตั้งแต่นรกสวรรค์แล้ว แล้วในเมื่อคนที่ปฏิบัติคุณงามความดีมาถึงที่สุดแล้ว ในการเคารพบูชานี่ แม้แต่พระอรหันต์ที่ตายไปแล้วยังต้องทำเจดีย์ไว้เพื่อเอาพระธาตุไว้เคารพบูชา

การกราบไหว้ทุกหน การอ่อนน้อมใจลงทุกที เห็นไหม เราอ่อนน้อมต่อครูบาอาจารย์ของเรา เท่ากับเรากดกิเลสของเราลงไป กิเลสของเรานี่ ทุกคนมันต้องยึดมั่นถือมั่นในตัวเองทั้งนั้นน่ะ แล้วมันทำให้เราเดือดร้อนไง แล้วมันไม่ลงใคร มันจะลงต่อเมื่อคนที่มันเชื่อ ทีนี้ คนที่มันเชื่อ เห็นไหม มันเชื่อ “มัน” คือกิเลสไง มันอยู่ มันยังฝืนตนอยู่ แต่ในเมื่อเราเชื่อครูบาอาจารย์ของเราน่ะ เราก็ทำให้กดกิเลสของเราลงไปแล้ว บุญกุศลของเราคือความเห็นดีเห็นงามของเราเกิดขึ้นมหาศาลเต็มที่แล้ว ขนาดว่า เชื่อจนเอามาแขวนคอนี่ เชื่อจนว่ากราบไหว้มันก็ไม่ซึ้งใจ เชื่อจนเอาไว้ติดตัว

จริงอยู่ มันเป็นเปลือก ก็ยอมรับอยู่ว่าเป็นเปลือก แต่ในเมื่อต้นไม้มันมีเปลือกมาก ศาสนานี่ถ้าไม่มีพระ เห็นไหม ของจริงอยู่กับของปลอม อาจารย์บอกเลยว่า ของจริงก็มีอยู่ ของปลอมก็มีอยู่ ถ้ามีแต่ของจริงอยู่ มันของจริงทั้งหมด มันก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์น่ะสิ เป็นเรื่องที่อัศจรรย์ของโลกเขา มันมีของจริงอยู่มันก็มีของปลอมหุ้มอยู่ๆ

อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อสิ่งที่เคารพบูชานี้จะเป็นเปลือกอยู่ แต่เปลือกอยู่ก็หุ้มแก่นธรรมอันนั้นไว้ ในเมื่อเราเคารพแก่นธรรมของเรา เราเข้าไม่ถึงแก่นธรรมของเรา เราก็เอาเปลือกนั้นมาเคารพบูชา

แต่เมื่อเขาติเขาเตียน นี่ก็ต้องอย่างว่า โลกธรรม ๘ ต้องทำใจแล้วอโหสิกรรมไป เราให้อโหสิกรรมนะ ไม่ให้ผูกแค้นผูกโกรธ แต่ในเมื่อเขาพูดมาเราต้องแก้สิ เราต้องแก้ไขเราได้ เราต้องแก้ไขว่า เราทำถูกต้องของเราได้ เราทำถูกต้องของเรา ถูกต้องตามพระไตรปิฎก เห็นไหม

“ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเธอตลอดไป อานนท์ เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือ” ถ้าพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ธรรมและวินัยคือคำสอนนั้นน่ะ แล้วนี่คำสอนมันก็มีอยู่ในพระไตรปิฎก บริโภคเจดีย์มีอยู่ที่พระไตรปิฎก มีอยู่ เห็นไหม นี่เราก็เชื่อ เชื่อตั้งแต่องค์ศาสดามาแล้ว เราเชื่อว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ในเมื่อเราเข้าไม่ถึง เราก็อาศัยสิ่งนี้พาใจเราเข้าหาธรรม

เชื่อพระไตรปิฎกหนึ่ง เชื่อครูบาอาจารย์อีกหนึ่ง เห็นไหม แล้วก็เอาธรรมของครูบาอาจารย์มากดกิเลสในใจของเราให้อ่อนน้อม กราบไป บริโภคเจดีย์ กราบไปทุกทีจะได้บุญกุศลทุกหน การกราบ การอ่อนน้อมถ่อมตน นี่นั่งสมาธิ เห็นไหม เอากายบูชาพระพุทธเจ้านี่ก็ได้บุญกุศลแล้ว นี่นั่งสมาธิอยู่ แล้วนี่ก้มลงคารวะ

คารวะ ๖ เห็นไหม คารวะผู้ใหญ่ คารวะนี่ การอ่อนน้อมถ่อมตนมันมีในศาสนาของเรา ในศาสนาพุทธ ในทางเอเซียเรานี่ จะมีการอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะสอนไว้อย่างนั้น ให้อ่อนไว้ อ่อนเพื่อกดกิเลส ไอ้ความยึดมั่นถือมั่น ไอ้ความแผลง ไอ้ที่จะพาเราไปตกทะเลนั่นกดมันลงไปๆ

ความกดกิเลสลงไปให้มันเกิดความเสมอภาค พอใจมันเสมอภาค ใจเป็นสิ่งที่ตั้งมั่น ความคิดมันก็จะเกิดขึ้น แต่ถ้ากิเลสมันพาคิดไปก่อน มันคิดเข้าข้างตนเอง เห็นไหม คิดเห็นตนเองเป็นใหญ่ คิดความคิดของตัวเองเป็นใหญ่แล้วเหยียบย่ำความคิดคนอื่น ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่นไง ไม่ยอมรับความเห็นของคนอื่น ไม่ยอมรับสิ่งที่แปลกจากความคิดของตัว นี่เพราะความยึดมั่นถือมั่น นี่กดตรงนี้ลงไป

“เอ๊ะ! เขาพูดนี่มีเหตุมีผลไหม เหตุผลเราพอไหม เทียบเคียงกัน” เห็นไหม นี่มันจะเกิด มันถึงยอมรับเหตุผลของคนอื่นได้ ถ้ายอมรับเหตุผลของคนอื่นได้ เห็นไหม กิเลสมันเปิดช่อง ยอมรับเหตุผลของคนอื่นได้ ธรรมก็เข้ามา ความถูกต้องเข้ามา ความถูกต้องรวมลงแล้วเป็นธรรม

อาจารย์สอนว่า เหตุและผลรวมลงก่อน เหตุก็ยังไม่ใช่ ผลก็ยังไม่ใช่ เพราะผลนั้นเป็นผลของคนอื่น สิ่งที่ไม่ใช่เพราะเป็นของคนอื่น จนกว่าเราไตร่ตรอง เราใคร่ครวญจนเป็นเหตุผลของเรา ใจเรายอมรับ ถึงเป็นผลของเรา ถึงเป็นธรรมของเรา ถึงเป็นความเห็นของเรา ความเห็นของเราถึงจะเป็นประโยชน์กับเรา เห็นไหม แต่ก็อาศัยข้างนอกเข้ามา นี่ในเมื่ออาศัยไม่ได้ มันจะห้อยคอ เป็นอะไรไป ในเมื่อจากเกสาของครูบาอาจารย์ออกมาจากร่างกายนั้นน่ะ มันเคารพบูชาจนสุดหัวใจ มันทำได้

ในเมื่อความเห็นเป็นอย่างนั้น ความเห็นมันขัดแย้งมาแล้ว ความเห็นน่ะ แล้วอีกอย่างหนึ่งเวลาโต้แย้งไปๆ การโต้แย้งเหมือนกัน อาจารย์บอกอยู่ เวลาจะพูดนี่ท่านก็พูดเป็นเหตุผลไว้ แต่เรื่องจะไปชนกันนี่ไม่ชน เพราะไปชนกันนั้นไม่ใช่ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เห็นไหม การพูดอย่างนั้นไม่ใช่ ธมฺมสากจฺฉา เพราะว่ามันสร้างทิฏฐิเอาไว้แล้วต่อฝ่ายตรงข้าม

แต่ถ้าเวลาหลวงปู่มั่นอยู่ที่หนองผือ เวลาครูบาอาจารย์ออกมาจากป่าน่ะ ไปรายงานหลวงปู่มั่นก่อน หลวงปู่มั่นจะเทศน์มาหนหนึ่ง เสร็จแล้วก็จะมาเทศน์กลางศาลาอีกหนหนึ่ง เทศน์เสร็จแล้วนะ ผู้ที่อยากฟังธรรมยังไปหาพระที่ออกมาจากป่าที่ว่ามารายงานหลวงปู่มั่น เห็นไหม นี่ธมฺมสากจฺฉา

ออกจากป่ามา เอาความประพฤติปฏิบัติ เอาความเห็นที่เกิดขึ้นจากหัวใจมาคุยกันไง นี่ความเห็น เห็นอย่างไร คนนั้นเห็นในป่านั้นอย่างไร พระองค์นั้นเห็นอยู่ในป่านั้นอย่างไร พระองค์นี้เห็นอยู่ในป่านี้อย่างไร แล้วเอาความเห็นมาคุยกันด้วยเหตุด้วยผล เห็นไหม มันจะลงแขนงเดียวกัน ลงแขนงคือว่าลงไปทางเดียวกันไง ทางว่าทางนี้ถูกต้อง แต่การเดินมานี่เดินมาคนละทิศคนละทางก็แล้วแต่ แต่จะลงมาอันเดียวกัน

ถ้าตรวจสอบแล้วลงอันเดียวกัน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฟังเหตุฟังผล ฟังแล้วมันลงได้ๆ นี่ก็ฟังขึ้น การฟังขึ้นมันก็เข้าใจเข้ามา แล้วคนที่อ่อนกว่า คนที่ต่ำกว่า ฟังสูงขึ้นไปมันก็เป็นหลักการขึ้นไปๆ นี่ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

แต่ถ้ามันไม่มีเหตุมีผล (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)