เทศน์เช้า

อดอาหารเป็นอุบาย

๑๙ ก.ย. ๒๕๔๒

 

อดอาหารเป็นอุบาย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๒
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

มันไม่ได้ชำระกิเลส

๑. ไม่ได้ชำระกิเลส

๒. มันเป็นการอดแบบตีโพยตีพายไง

นี่ถึงบอกว่า พระพุทธเจ้าถึงสอน เห็นไหม สอนบอกว่า เวลาเทศน์เทศน์เรื่องทานก่อน เรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องภาวนา เรื่องทาน เรื่องสวรรค์ นี่สวรรค์ก็เป็นที่พักเฉยๆ สวรรค์ไง ทำบุญแล้วได้บุญ นี่ได้บุญ ทำบุญแล้วได้บุญหมด บุญนี้ก็สะสมไว้อยู่ที่หัวใจ เวลาตายไปก็เสวยผลบุญนั้น นี่สวรรค์ พูดถึงไปสวรรค์ สวรรค์มีค่าอะไร? ท่านบอกให้เห็นสวรรค์ ให้ใจคนหยาบเข้ามาก่อน ให้ใจที่หยาบกระด้างควรแก่การงานไง ให้ซึ้งใจในบุญกุศล

ดิน เขาจะปั้นโอ่งเขาต้องขยำก่อน ใจของผู้ปฏิบัติมันต้องเชื่อเรื่องบาป บุญ คุณ โทษก่อนไง เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วก่อน ทำดีแบบอะไร? แบบโยมทำดี นี่ทำดี ทำความดีสะสมลงที่ใจ พอดับขันธ์นี่ถ้าสะสมไว้พอสมควรมันก็ไปสวรรค์ ไปอยู่สวรรค์ก็ไปเสวยในสวรรค์ หมดสวรรค์ก็เกิดใหม่ วนอยู่นั่น เห็นไหม มันไปดี มันไปชั่วคราวนี่ แต่ศาสนาเราสอนถึงอริยสัจ เรื่องทุกข์ เรื่องการดับทุกข์ เรื่องกำจัดทุกข์ เรื่องทำหัวใจ เชื้อที่ให้ไปเกิดบนสวรรค์ เกิดบนพรหมนี่หมดไปไง

เชื้อ เชื้อคือบุญกุศลที่ต่อไป เห็นไหม ข้ามทั้งบุญและบาป บุญก็ยังต้องข้ามเลย บุญที่ชอบๆ กันยังต้องสละเลย นี่ทำความดี ทำความดีขนาดนั้น ทำความดีเพื่อสะสมมาที่ใจ สะสมมาๆ นี่ดี ไอ้การฆ่าดีนี่แหละ มันถึงว่าควรแก่การงาน มันถึงจะเห็นงานที่ละเอียดเข้าไป ถึงว่าผู้บริหารไง ผู้บริหารคนเดียว บริหารอย่าว่าแต่บริษัท เครือของบริษัทเป็นร้อยๆ บริษัท ผู้บริหารสั่งการได้หมดเลย แต่ต้องคุมคนทั้งหมดใช่ไหม?

นี่ปัญญาของผู้ที่พ้นกิเลส มันถึงว่ามีกี่คนล่ะที่ปฏิบัติแล้วพ้นจากกิเลส มีกี่คน? พระนี่เป็นแสนนะ เป็นแสน แล้วคิดดูสิตั้งแต่...อาจารย์มหาบัวบอก พระที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่นเป็นหมื่นๆ เพราะหลวงปู่มั่นทั้งชีวิต แล้วเหลือที่ว่านับเป็นหลักชัยกี่องค์ นี่ก็เหมือนกัน ผู้ปฏิบัติมีเท่าไหร่? แล้วเหลือเป็นหลักชัยกี่องค์? ฉะนั้น มันถึงเข้าจุดเข้าถึงได้ยาก ฉะนั้น จะเข้าถึงมันต้องทุ่ม อดนอนนะ บางทีอดนอน ๓ เดือน ๔ เดือน อดนอนเป็นปี อดนอน..ทุกข์มาก หิวนอนกับหิวข้าว อันไหนหิวกว่ากัน?

ภาษาอีสานนี่ถูกต้อง หิวนอน ทางนี้เขาบอกง่วงนอน หิวนอน ง่วงนอนนี่หิวมาก อยากนอนมาก อดนอนก็เหมือนอดอาหารนี่แหละ เนสัชชิกไง เนสัชชิกเวลาไม่นอนเลย ขนาดข้อเนสัชชิกข้อนี้พระพุทธเจ้าไม่ให้ถือตลอด อย่างพวกอัพโภกาสิกังคะ อยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ได้ ๘ เดือน หน้าฝนไม่ให้อยู่ เพราะแบบว่ามันสุดวิสัยเกินไป มันทรมานเกินไป นี้อดนอนก็เหมือนกันให้เป็นชั่วครั้งชั่วคราว อดนอนนี่

ถามสิว่าอดนอนกับอดข้าว อันไหนมีความทรมานกว่ากัน? อดข้าวนี่ยังเป็นครั้งเป็นคราวนะ เพราะอดข้าวแต่เขาไม่อดน้ำ ไม่ใช่ว่าอดทั้งหมดเลยนะ น้ำนี่อดไม่ได้ ถ้าอดอาหารบางคนไม่มีน้ำร้อน บางทีก็น้ำเย็นธรรมดา น้ำนี่จะประทังไปตลอด จะมีน้ำหล่อเลี้ยงไปตลอด มีน้ำหล่อเลี้ยงไป แล้วเดี๋ยวนี้มันสบาย อาจารย์มหาบัวบอก ท่านพูดเองนะ เวลาท่านพูดกับลูกศิษย์ “สมัยท่านนะอย่าว่าแต่น้ำตาลเลย รูปภาพน้ำตาลที่ถ่ายมายังไม่มีเลย”

เดี๋ยวนี้อดอาหารนี่น้ำตาล กาแฟ เต็มไปหมด มันให้ลำไส้ไม่ถึงกับไม่มีอะไรย่อยเลย สมัยนั้นรูปภาพถ่ายของน้ำตาลยังไม่มี อย่าว่าแต่น้ำตาล เดี๋ยวนี้มีน้ำตาล มีโกโก้ มีกาแฟ มีอะไรมาประทัง น้ำตาลนี่ได้ประโยชน์มาก น้ำตาลนะ แม้แต่ทอฟฟี่เม็ดเดียว อมเม็ดเดียวนะ น้ำซักแก้ว ๒ แก้วนี่ โอ้โฮ ฟื้นพลังงานขึ้นมากเลย เพราะเคยทำมา เคยทำมาอย่างนั้น ทอฟฟี่เม็ดเดียวนี่ไปได้อีกวันสบายๆ เลย พอมันลงไป ขนาดเพลียมาก เวลาเพลียนะ อ่อนเพลียไปหมดเลย พอได้น้ำตาลเข้าไปสักเม็ดหนึ่ง แล้วน้ำตาลเข้าไปมันจะฟื้นขึ้นมา เดินจงกรมได้อีกหลายชั่วโมงเลย ไม่อย่างนั้นเดินจงกรมแทบไม่ไหวนะ

ขณะที่ร่างกายมันผ่อนหมด มันปล่อยหมด มันไม่มีพลังงานแล้ว ไอ้นี่เข้าไปเสริมมันถึงให้แรงมาก แล้วพออย่างนั้นให้แรงขึ้นมานะ มันเป็นพลังงานสะอาดไง หมายถึงว่า มันไม่ทับธาตุขันธ์อยู่แล้ว อดอาหารไปหลายๆ วันมันจะว่างนะ ว่างหมายถึงว่าร่างกายนี้จะเบา เหมือนคนฟื้นไข้ คนทุกคนเคยเป็นไข้ แล้วตอนเป็นไข้หายใหม่ๆ คือเหมือนกับอดอาหาร อดอาหารจะเป็นสภาพแบบนั้น บางทีมากกว่านั้นอีก แล้วก็ฟื้นมา พอฟื้นมามันก็ไม่มีแรงเดินอยู่แล้ว พอน้ำตาลเข้าไปช่วยให้มีพลังงาน นี่มันจะเดินจงกรม โอ้โฮ มันจะโล่งมากนะ เดินจงกรม จนอาจารย์พูด เห็นไหม แต่ทุกคนไม่เคยเป็นอย่างนั้นหรอก มันอยู่ที่นิสัย

เวลาออกมาฉันข้าวมันเถียงกันเลยแหละ ไม่อยากกิน อีกอันหนึ่งไม่กินก็จะตาย อีกอันหนึ่งก็จิตมันกำลังเต็มที่ มันไม่อยากกิน ขนาดไม่อยากกินข้าว เพราะใจมันเสวยธรรมไง มันมีที่พึ่ง โอ้โฮ มันสบายของมัน แต่ทรมาน ทรมาน ฟังสิเวลาท่านพูด ถ้าย้อนกลับไปอยู่ที่ความคิดตอนท่านเร่งความเพียรนะ คิดแล้วเสียวจนไม่อยากทำ ไม่กล้าทำ แต่ตอนนั้นยังกล้าทำเพราะอะไร? เพราะว่าเราเป็นหนุ่ม

ทุกคนนี่เป็นหนุ่ม ทุกคนมีทุกข์ ทุกคนอยากฆ่ากิเลส ไอ้ความอยากฆ่ากิเลสนี่คือว่าความอยากที่เป็นมรรคไง ความอยากชำระกิเลส แต่คนที่สิ้นกิเลสไปแล้วมันไม่มีความอยาก มันก็คิดอย่างนั้นแหละ หนึ่งกิเลสสิ้นไปแล้ว สองร่างกายเป็นผู้เฒ่าแล้ว อายุตั้งเกือบ ๘๐ กว่าแล้วอย่างนี้ พอคิดถึงตอนที่หนุ่มๆ ทำแล้วมันเสียว ทำมาได้อย่างไร? แบบมุมานะมาได้อย่างไร? แต่ตอนที่มีกิเลสอยู่ คนเราเป็นไข้มันก็อยากหา อยากรักษาไข้ เป็นไข้ เจ็บไข้ได้ป่วยมันอยากหาย ความอยากหายนี่มันสู้ เห็นไหม คนมีกิเลสถึงว่าความอยากของมรรคอันนี้มันถึงทำให้มีการต่อสู้ มีการมุมานะมา แล้วไข้ไม่มี คนไม่เป็นไข้จะไปฉีดยาทำไม?

โอ้ ไม่เป็นไรเลย มาฉีดยาๆ มันก็เลยถึงว่าไม่มีความอยากตัวนี้ ก็เลยคิดแล้วมันแหยง นี่ขนาดต้องเป็นอาชาไนยนะ การอดอาหารเป็นวิธีการอันหนึ่ง ใครจะพูดอย่างไรให้พูดไป ถึงว่านี่สัปปายะ ถ้าไปอยู่กับคนที่ไม่เคย ไปอยู่กับคนไม่เคยทำ มันจะเห็นว่าเป็นการทรมานกายอย่างหนึ่ง แล้วถ้ามันไม่ได้ปฏิบัติเลย เสวยสุขอยู่ มันไม่ได้ทรมานอะไรเลยมันได้อะไร? นี่ถามตัวเองกลับสิว่ามันได้อะไร? มันถึงว่าเพราะมันต้องการจะเอาชนะตน

เอาชนะตน เห็นไหม ตนก็อยากออกมาเสวยข้างนอกนี่แหละ ออกมาอยากกิน เอาชนะตนก่อน เอาชนะตนขณะว่าบังคับไม่ให้กินก่อนแล้ว แล้วเอาชนะตนแล้วยังเอาชนะกิเลสในตนนั้นอีก เพราะตนนี้เป็นมานะ ต้องชำระไอ้มานะตัวนั้นอีกทีหนึ่ง ชำระเข้าไปๆ นั่นแหละกิเลสมันอยู่ที่นั่น กิเลสไม่ได้อยู่ที่อาหาร แหม ไม่กินอาหารเป็นโทษ ก็อย่างที่ว่านั่นแหละ โอ้ โรงสีมันขนาดไหนน่ะ กินไม่หมดหรอก มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น สรรพสิ่งนี้เป็น ถึงว่ารูป รส กลิ่น เสียงไม่ใช่กิเลส

“รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร”

ตัณหาความทะยานอยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง ในสัมผัส ในอาหารนั้นต่างหากเป็นกิเลส ฉะนั้น ถึงว่าใครเห็นอาหารเป็นโทษไม่มีหรอก แต่เห็นกิเลสของเราที่ไปติดในอาหารนั้น นี่ในเมื่อพระผู้ปฏิบัติมันไม่ได้ติดในรูป รส กลิ่น เสียงภายนอก มันไม่มีอะไรที่กระทบ มันกระทบอาหารนี้ ก็ต้องเอาตรงนี้เป็นชัยภูมิต่อสู้สิ อย่างของเรานี่ก็ดูอย่างอื่นเป็นที่ต่อสู้ แต่พระ เห็นไหม ผู้ปฏิบัติมันมีเท่านี้แหละที่จะกระทบกันอยู่ ก็เลยเอาอันนี้มาเป็นเครื่องต่อสู้ พอต่อสู้กัน มันจะเป็นกิเลสไปไหนล่ะ?