ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ประสบการณ์หลวงปู่เจี๊ยะ

๒๖ ธ.ค. ๒๕๕๒

 

ประสบการณ์หลวงปู่เจี๊ยะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

อันนี้มันเป็นประเพณีว่าบวชทำไมต้องโกนคิ้วด้วย เพราะการบวชตั้งแต่ทีแรกแล้วพระพุทธเจ้าเวลาบวชต้องเอหิภิกขุไง เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด แค่นี้เอง สมัยพุทธกาล เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ถ้าผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้วนะ พระพุทธเจ้าเทศน์จนเป็นพระอรหันต์นะ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด เห็นไหม เพื่อความสุขเห็นไหม แต่ถ้าพูดถึง ถ้าพูดถึงคนที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ เวลาขอบวชเอหิภิกขุเหมือนกัน เธอจงเป็นภิกษุมาเถิดเพื่อพรหมจรรย์ เห็นไหม เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป

ถ้าเป็นพระอรหันต์นะ เป็นพระอรหันต์ปั๊บ เวลาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าปั๊บเป็นพระอรหันต์เลย พอเป็นพระอรหันต์ปั๊บขอบวชเอหิภิกขุ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด แต่ถ้าพูดถึงถ้ายังไม่สุดนะ มันมีบางเวลาไปขอบวชยังไม่สิ้นเป็นพระอรหันต์ไง เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด เพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของพรหมจรรย์ เพราะพรหมจรรย์ยังไม่สะอาดบริสุทธิ์ใช่ไหมต้องปฏิบัติต่อไป นั่นบวชครั้งแรก

บวชครั้งที่ ๒ ถือไตรสรณคมน์ แล้วพอสุดท้ายแล้วก็มาบวชไอ้นี่ ญัตติจตุตถกรรม เพราะมันเป็นพิธีกรรมมาหมด นี่เวลาบวชนะ เวลาบวชพระพุทธเจ้านะ สมัยนั้นอินเดียเนี่ยสมัยเป็นพราหมณ์น่ะเขาจะไว้ผมยาว ถ้าใครตัดผมนะถือว่าคนนั้นเป็นจัญไรเขาไม่รับเลย ฉะนั้นเวลาฤาษีชีไพรเขาจะไว้หนวดไว้เคราเห็นไหม ไว้หนวดไว้เคราเนี่ย

ทีนี้ถ้าเป็นภิกษุเนี่ยเห็นไหม เนี่ยต้องโกนหนวด โกนเครา โกนหนวด โกนเคราหมด ถ้าโกนหนวด โกนเครา โกนผม โกนศีรษะหมดแล้วบวชเห็นไหม บวชพอบวชมีคนอยากบวชมาก ที่ว่านาค ๆ บวชนาค ที่ว่าเนี่ยนาคพญานาคก็อยากบวชมากก็ไปปลอมเป็นมนุษย์มาบวช พอบวชเสร็จแล้วพอเวลาอยู่ในกุฏินอนไงหลับไป พอหลับเนี่ยฤทธิ์มันไม่ได้ เพราะคนหลับมันก็กลับไปเป็นพญานาค มีพระเปิดเข้าไปเจอตกใจ พอไปเจอพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าเดรัจฉานบวชไม่ได้ ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น ก็เลยไม่ให้บวช แต่เขาอยากบวชมาก อยากบวชมากว่าอย่างนั้นขอฝากชื่อไว้ ถ้าบอกว่าจะบวชให้เรียกว่าบวชนาค ๆ

นี้หมายถึงว่าทำไมต้องโกนคิ้วไง โกนคิ้วเนี่ยในพระไตรปิฎกชัดเจนมาก โกนเครา โกนหนวด โกนเครา โกนผม แต่ว่าคิ้วเนี่ยมันเราว่าอยู่ในนั้นด้วยไง ทีนี้เพียงแต่ในปัจจุบันนี้เขาบอกว่าพระที่โกนคิ้ว กับพระไม่โกนคิ้ว มหายานเขาไม่โกนคิ้วนะ พระจีนไม่โกนคิ้ว พระจีนไม่โกนคิ้ว พระพม่าไม่โกนคิ้ว เนี่ยแล้วทางนี้เขาในพระไทยเขาบอกจะไว้คิ้วบ้าง เขาก็อ้างว่าเมื่อก่อนเนี่ยมีคิ้วหมด เนี่ยไม่ได้โกนคิ้ว เพราะโกนหนวดโกนเครา โกนศีรษะ ไม่ได้โกนคิ้ว

แล้วบอกเขาอ้างว่าเวลาศึกระหว่างพม่ากับไทยไง ทีนี้พม่ากับไทยเนี่ย ในการสงครามใช่ไหม มันก็มีการสืบราชการลับมีต่าง ๆ เข้ามาเนี่ย พระก็มาสืบราชการลับได้ เขาเลยแบ่งแยกไงให้เห็นว่าพระพม่ากับพระไทย พระไทยต้องโกนคิ้ว พระพม่าไม่โกนคิ้ว นี้เขาอ้างกันอย่างนี้นะ แต่เราไม่เชื่อ เราไม่เชื่อตรงนี้ เราเชื่อตั้งแต่พระไตรปิฎกมาว่าทำไมต้องโกนคิ้วด้วย ทีนี้โกนคิ้วเนี่ยมันก็โกนมาตลอดใช่ไหม เพราะเราโกนเป็นประจำอยู่แล้ว การปลงผม ปลงหนวด ปลงผม ปลงทุกอย่างแล้วถึงจะบวชพระได้

เพราะการบวชพระได้นี้ ในพระไตรปิฎกเห็นไหม นกต่างหลากสีเวลาเข้ามาถึงมาในพุทธศาสนา เหมือนกับนกพิราบสีขาวหมด เราจะมาจากชนชั้นหลากหลายมาก กษัตริย์ กุฎุมพี คนทุกข์ คนเข็ญใจ พอบวชแล้วเสมอภาคหมดไง นี้พอเสมอภาคหมดนะ แล้วเราไว้ตรงนั้นมันจะแตกต่างไหม ฉะนั้นคำว่าเสมอภาคหมด พระพระพุทธเจ้ามองจากข้างนอกแล้วข้างในด้วยไง มองจากข้างนอกคือสมณสารูป แล้วพอโกนผมโกนคิ้วขึ้นมาแล้วมาบวชเห็นไหม ธรรมวินัยนี้เป็นตัวหลัก นี้ถึงว่าทำไมถึงต้องโกนคิ้วด้วย โกนคิ้วก็ตามธรรมวินัย ตามพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้

แต่นี้ไอ้เรื่องอย่างนี้ ถึงว่าประเพณีวัฒนธรรมแต่ละพื้นถิ่น มันต่างกัน อย่างเช่นเห็นไหม ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ เนี่ย ประเพณีแตกต่างหลากหลายนะ นี่ประเพณีวัฒนธรรมเห็นไหม เนี่ยเวลาพุทธศาสนาเผยแผ่มาเนี่ย เผยแผ่ไปในสังคมใด สังคมใดเนี่ยมันก็แบบว่าพื้นถิ่นเห็นไหม ความพื้นถิ่น ไปเมืองจีน ไปต่าง ๆ มันก็มีหลากหลายกันไป

อันนี้พูดถึงมันก็มี ถ้าพูดถึงว่าเวลาห่มผ้าเห็นไหม เวลาห่มผ้า ๆ อย่างนี้ แล้วยังมีอีกนะ ตอนนี้เขาบอกว่า เวลาจะเข้าไปในสโมสร ในสังฆกรรมต้องรัดอก เขาว่ากันไปนะ แต่เราดูแล้วอันนี้มันไม่มีในธรรมวินัย เราก็เรื่องของเขา เนี่ยเราจะพูดตรงนี้บอกว่า เวลาพระจีน พระญวนนี่ เขานุ่งกางเกงไง อ้าวแล้วเขาผิดไหมล่ะ อ้าว แล้วเขาผิดไหม มันเป็นนิกายไง มันเป็นพื้นถิ่นสมัยนั้นคนเข้าไปในเมืองจีน เมืองจีนเป็นเมืองหนาว

ตอนนี้นะพระไทยเราเนี่ยไปธรรมทูตน่ะ เขาไปเผยแผ่ใน.. เพื่อนไปมาไปเยอรมันน่ะ บอกไม่เคยออกมาจากกุฏิเลย หิมะตกตลอด อยู่แต่ในห้องปิดหมดเลยออกมาไม่ไหวเพราะหิมะมันตกตลอด แล้วเวลาเนี่ยหลวงปู่สุวัจน์จะไปเนี่ย พระเขาจะเอาผ้านวม ผ้าขนสัตว์หนา ๆ เนี่ยมาตัดจีวร ตัดสังฆาฯให้ เขาเอาไว้เผื่อกันหนาวไง ฉะนั้นนี่พูดถึงเราอยู่ในเมืองร้อน แล้วเราจะไปเผยแผ่ในเมืองหนาวเห็นไหม เราก็เตรียมเครื่องนุ่งห่มของเราไปตัดเย็บให้มันถูกต้อง ที่นี้ตัดเย็บถูกต้องเนี่ย เรามีสิ่งเปรียบเทียบเนี่ย

แต่ถ้าคิดดูพระในอินเดียเนี่ยแล้วเดินเท้ามาเนี่ย เข้าไปในเมืองจีน มันอินเดียมัน ๓ ฤดูใช่ไหม เข้าไปในเมืองจีนนี่หิมะตกตลอดงี้ แล้วประชาชนพื้นถิ่นเขานุ่งห่มอย่างนั้นเห็นไหม สมัยโบราณแล้วเราย้อนกลับไปเป็นพัน ๆ ปี คิดตอนนี้ไม่ได้ ถ้าคิดตอนนี้มันก็คิดได้หมด เพราะอะไร เพราะเราเห็นภาพหมดแล้ว

แต่สมัยโบราณเมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปีที่แล้วยังไม่เห็นนะ กว่าข่าวสารจะมาถึง กว่าเราจะเห็น โอ้ เกือบปีกว่าจะเดินมาถึง แล้วเดินมาแล้ว ดูสิ ดูเนี่ยพระถังซัมจั๋งที่ว่าจะไปอะไรนะไปอินเดียเห็นไหม ฝึกเดินก่อนนะ แล้วเดินแล้วต้องผ่านทะเลทราย เนี่ยจากจีนเนี่ย มันจะผ่านทะเลทราย ข้ามเข้าไปในอินเดีย แล้วต้องลงทะเล ต้องอะไร ต้องฝึก ฝึกฝนนะ

อ้าวสมัยอยุธยาเนี่ย สมัยอยุธยาเห็นไหมสยามวงศ์ ลังกาวงศ์เนี่ย เวลาลังกาวงศ์เนี่ยไม่มีพระเขามาขอที่สยามวงศ์ แล้วสยามวงศ์นี่ให้ ให้พระอุบาลีไปที่ไปบวชที่สยามวงศ์ไง ให้พระ ๕ องค์ ๑๐ องค์ นั่งเรือออกทะเลไป ออกทะเลไป เพื่อไปถึงลังกา ไปลังกาก็คณะสงฆ์ไปใช่ไหม คณะสงฆ์ก็บวชพระเข้ามา เขาเรียกว่าสยามวงศ์ สยามวงศ์ ลังกาวงศ์ เห็นไหม

เนี่ยสยามวงศ์ก็เพราะเอาพระจากเมืองไทยนี้ไปบวชที่ลังกา เพราะลังกาพระไม่มี แล้วยิ่งตอนหลังนี้ สมัยอาณานิคมจนหมดเลยเหลือเณรอยู่องค์เดียวลังกาเนี่ย ก็สยามวงศ์รอบที่ ๒ เอาพระจากเมืองไทยเนี่ยไปบวชอีกรอบหนึ่ง พอไปบวชอีกรอบหนึ่ง มันก็เกิดสยามวงศ์รอบ ๒ ขึ้นมา นี่ที่ลังกานะ

นี่เราพูดถึงเนี่ยเหตุเพราะโกนคิ้ว โกนผม โกนหนวด เนี่ย เราต้องดูประวัติศาสตร์ ดูประวัติศาสตร์แล้วก็ดูวัฒนธรรมพื้นถิ่น แล้วเราก็มาเทียบธรรมวินัย ฉะนั้นครูบาอาจารย์เราทำอย่างนี้ แล้วยิ่งพูดภาษาเรา เรายิ่งมั่นใจมาก มั่นใจว่าก่อนหน้าที่พระกรรมฐานเราจะเข้มแข็งขึ้นมาเนี่ย สมัยนั้นพระก็เรรวนมาก เพราะมันเริ่มตั้งแต่เสียกรุงมานะ พระเจ้าตากกอบกู้ขึ้นมา กอบกู้ขึ้นมาเห็นไหม

ดูสิ ดูไอ้เนี่ย ดูพระไตรปิฎกเนี่ย รวบรวมครบ ๔๕ เล่มมาสมัย ร.๕ นี่เอง โดนเผาแล้วเผาเล่า สมัยอยุธยาโดนเผาไปกี่รอบ ตำรับตำรานี่โดนเผาทิ้งหมดน่ะ ใครจะเก็บถนอมรักษาไว้แค่นั้นเอง แล้วพอเนี่ยมันเริ่มจะฟื้นตัวขึ้นมา เริ่มฟื้นตัวสมัยสงคราม สงครามหมดแล้ว สงครามจนไม่มีอะไรเหลือแล้วเนี่ย ความประพฤติของพระมีขนาดไหน เนี่ยแล้วหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นมารื้อฟื้นน่ะพอรื้อฟื้นเนี่ย

เราพูดตรงนี้เพราะ เพราะเวลาหลวงตาท่านเล่าไง ว่าหลวงปู่มั่นน่ะ ท่านเห็นพฤติกรรมของสงฆ์เนี่ยมันไม่น่าเชื่อถือศรัทธา ท่านนั่งกำหนดเลยล่ะ กำหนดไปสมัยพุทธกาลเลยว่าพระนุ่งห่มอย่างไร หลวงตาจะพูดบ่อย ว่าหลวงปู่มั่นเวลาถามนะ ถามว่าถามพระพุทธเจ้าเลย เนี่ยว่าสีของพระสีที่ควรจีวรของพระนี่สีอย่างไร มีสีกรักอย่างแก่ สีกรักอย่างกลาง สีกรักอย่างอ่อน แล้วสีเหลือง ๆ เหลือง ๆ ทองที่เขาห่มกันนี่มีไหม ไม่มี นี่หลวงปู่มั่นพูดนะ ไม่มี

ที่เราห่มอยู่เนี่ย หนึ่งเราพูดถึงทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์คือตำรับตำรา ทางวิชาการ พระไตรปิฎก กับขบวนการของจิต จิตที่สะอาดที่ย้อนอดีตของหลวงปู่มั่น นี่เวลาเราดูตำราแล้วนะ เรายังเทียบถึงประสบการณ์ของหลวงปู่มั่นมาเทียบกัน มาเทียบกัน เราถึง เราเชื่ออันนี้ เราเชื่ออันนี้ เราไม่ทิ้งทางวิชาการ เราไม่ทิ้ง ตำรับตำรานี่ไม่ทิ้ง

แต่ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์เนี่ย แล้วประสบการณ์แล้วเราก็เทียบด้วยว่า ระหว่างเมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปีกับปัจจุบันเนี่ย สังคมมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เนี่ยมุมมองของสังคม ความคิดของสังคมเนี่ยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่อริยสัจนี่อันเดียวกัน ทุกข์นี่อันเดียวกัน นี่พูดถึงโกนผม โกนคิ้วนะ

นี่พูดถึงการปฏิบัติแล้ว นี่พอพูดถึงหลักการปฏิบัติ ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติเห็นไหม เนี่ยเรากำหนดพุทโธ ๆ หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เนี่ยพุทโธ ๆ เห็นไหม จิต พลังงานกับความคิดเห็นไหม ความคิดเนี่ย พลังงานกับความคิดเนี่ย เราเห็นต่อเมื่อเราศึกษาแล้วเราจะเข้าใจ

แต่ถ้าเรายังไม่ศึกษา เราไม่เข้าใจ เราจะว่าความคิดเนี่ยเป็นเรา สรรพสิ่งเนี่ยเป็นเรา แล้วเราศรัทธามาก เราศรัทธาในพุทธศาสนา เราจะประพฤติปฏิบัติเพื่อให้จิตเราสงบ เราพุทโธ ๆ ๆ หรือกำหนดลมหายใจเข้าไป กำหนดลมหายใจเข้าออกเนี่ย กำหนดลมหายใจเข้าออกจนกว่ามันจะดับหมด ที่ว่าเนี่ยมันจะดับหมดนะ จนกว่ามันจะดับหมด นี่เป็นความคิดนะ นี่เป็นความคิด เป็นความเข้าใจ

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ไม่เป็นอย่างนี้ เป็นความจริงมันจะฟ้องเลย สมมุติเรากำหนดลมหายใจ หรือกำหนดพุทโธ ๆ ๆ จนหายจนดับหมดเนี่ยนะ มันประสาเรานะคนรู้ไม่ถาม คนถามไม่รู้ พุทโธ ๆ ๆ ๆ จนละเอียดเข้ามา ๆ ๆ พอละเอียดเข้ามาจนมันพุทโธไม่ได้เลย มันสักแต่ว่ารู้เลยเนี่ย อื้อฮือ มันดับหมด นี่ไง ถ้าเป็นสมาธิเนี่ย สมาธิสามารถแยกกายกับจิตออกจากกันได้ด้วยสมถะ คือจิตมันหดตัวเข้ามา

เหมือนเราจะเปรียบส้มกับเปลือกส้ม แต่ที่เปลือกส้ม ๆ มันตายตัวใช่ไหม เหมือนกับความรู้สึกกับผิวของมันเนี่ย เนี่ยอายตนะความรับรู้เนี่ย ความคิดเนี่ยเป็นผิวของใจนะ เป็นเปลือก เป็นเปลือกนอก แต่ตัวจิตนี่เป็นตัวพลังงานเฉย ๆ นี่พุทโธ ๆ เนี่ย มันอาศัยผิว ถ้าไม่อาศัยผิว เราจะจับส้ม เราจะหยิบผลส้ม เราต้องหยิบผลส้มโดนเปลือกส้มแน่นอน เราจะหยิบผลส้มไปที่ไหน เราจะหยิบเปลือกส้มตลอด แต่เนื้อส้มมันอยู่มันในส้มนั้น

ความคิดของเราพลังงานเนี่ยมันคือจิต แล้วไอ้พุทโธ ๆ ไอ้ขันธ์ ๕ นี่มันต้องมีธรรมดา เราถึงต้องพุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ พุทโธจนมันละเอียดเข้าไปจนมันเป็นพลังงาน มันเป็นพลังงาน มันจะพุทโธ ๆ มันละเอียดเข้าไปจนพุทโธไม่ได้ พุทโธไม่ได้คือว่ามันมีแต่เนื้อส้มไม่มีเปลือก เปลือกนี้มันปอกออกได้หมดเลย แล้วมันสติพร้อม พุทโธ ๆ ๆ หรือกำหนดลมหายใจเนี่ย ถ้ามันดับ มันดับ มันขาดเนี่ย สติมันพร้อมตลอด แต่พุทโธ ๆ ๆ แล้วแว้บไปเลยเนี่ย พุทโธ ๆ หายหมดเลย นี่ไงส่วนใหญ่เป็นแบบนี้

ส้มนะ เราหยิบส้ม แล้วเวลาหยิบส้มขึ้นมาเนี่ย เราหยิบส้มขึ้นมา แต่ในส้มนั้นน่ะในส้ม ส้มนี่นะมันเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นส้มที่เขาทำส้มสมมุติ คือส้มที่เขาทำพลาสติก มันมีรูปส้ม แต่พอปอกเข้าไปข้างในว่างเปล่ามีแต่อากาศเห็นไหม นี่ก็พุทโธ ๆ ๆ พอพุทโธ ๆ ๆ ๆ พุทโธจนมันแว้บหายไปเลย เพราะเปลือกส้ม เนื้อส้มนี้เปิดออกข้างในมีแต่อากาศไง มันไม่มีเนื้อส้ม มันมีอากาศ เนี่ยเรียกว่าตกภวังค์ มันหายแว้บไปหมดเลย

แล้วทีนี้พอมันหายนะ ถ้าพูดว่าเราปอกส้มนะ ถ้าส้มจริงเนี่ยเราปอกส้มพอปอกส้มไปมันจะมีเนื้อส้ม ชัดเจนเลย แต่ถ้าเป็นส้มพลาสติกที่เขาเอาไว้โชว์กันเนี่ย ถ้าเราปลอกเปลือกส้มออกข้างในมันว่างเปล่ามีแต่อากาศ นี่เหมือนกัน ถ้าเรากำหนดพุทโธ ๆ ๆ ๆ น่ะ ถ้ามันละเอียดเข้าไปเนี่ย แหม มันปอกเปลือกส้มนะมันมีกลิ่น มันมีกลิ่น มันมีต่าง ๆ โอ้ แล้วมันจะมีกลิ่นหมด แล้วมันจะจับได้ พุทโธ ๆ ๆ ละเอียดเข้าไป ๆ ๆ ๆ ละเอียดเข้าไปจนมันพุทโธไม่ได้เลย นี้ถึงเป็นสัมมาสมาธิ

แต่ส่วนใหญ่แล้วเนี่ย การปฏิบัติมันจะเป็นอย่างนี้หมด มันจะเป็นว่าพุทโธ ๆ ๆ แล้วมันจะแว้บหายไปเลย เนี่ยการตกภวังค์ ถ้าการตกภวังค์เนี่ยมันจะแก้อย่างไร เนี่ยเราถึงบอกว่าสติคือสภาวะจำน่ะ ไม่มี เนี่ยเพราะว่าพุทโธ ๆ ๆ น่ะ เราสติมันอ่อนพอสติมันอ่อนเนี่ยพุทโธมันก็หายไป

แต่ถ้าพุทโธ ๆ โดยสตินะ พอมันหายไปใช่ไหม เราก็ตั้งพุทโธ ๆ ๆ ขึ้นมา แล้วพุทโธแรง ๆ พุทโธเร็ว ๆ พุทโธต่าง ๆ นี่ พุทโธเนี่ย เพราะมีพุทโธปั๊บมีสติ ถ้าขาดสติพุทโธก็หาย สติคือการฝึก สติก็คือสติ สติคือการฝึกด้วยการบริกรรม การกำหนดพุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ เนี่ย ถ้าสติพร้อมนะ มันละเอียดเข้าไป ๆ เพราะมีสติ มันชัดเจนมาก แล้วพอมันละเอียดแล้วมันสงบนะ โอ๋ มันละเอียดเข้าไปเรารู้ตลอด

น้ำเนี่ยอุณหภูมิมันแตกต่าง เราเอามือจุ่มในน้ำเนี่ยอุณหภูมิที่แตกต่าง เราจะรู้ไหมว่าอันนี้อุณหภูมิอย่างหนึ่ง น้ำมันอุณหภูมิมากขึ้น มันก็ร้อนขึ้น ร้อนขึ้น มือเราจุ่มไปต้องรู้ถึงความร้อนตลอดเวลาจริงไหม เพราะอุณหภูมิมันแตกต่าง จิตถ้ามันพุทโธ ๆ เนี่ย เวลามันละเอียดเข้าไปเนี่ย อุณหภูมิมันแตกต่าง มันจะชัดเจนมาก มันจะ.. เรารู้ละเอียดเข้าไปเนี่ย รับรู้ตลอดเวลา เพราะ เพราะสติขาดไม่ได้ ถ้าสติขาดปั๊บนี่พุทโธมันหายปั๊บนี่ มันจะหายไปเลย

ทีนี้ถ้าอย่างนี้ปั๊บนี่ ถ้ามันเป็นอย่างนี้เราจะแก้อย่างไร เราจะแก้อย่างไรเห็นไหม ถ้าเราแก้อย่างนี้เราก็พุทโธชัด ๆ เราจะเปรียบอย่างนี้บ่อยมากว่าเวลาเราไปบนถนนนี่ มันจะมีคอสะพาน สะพานที่ระหว่างนั้นมันจะมีคอสะพาน ถ้าคอสะพานมันขาดเนี่ย เราจะข้ามสะพานนั้นไม่ได้ นี้พุทโธ ๆ เนี่ยเราต้องถมคอสะพานนั้นให้เต็ม พุทโธ ๆ ฝึกสติไว้ ถ้าถมคอสะพานนั้นเต็ม พุทโธเนี่ย มันผ่านจากคอสะพานข้ามสะพานนั้นไป พอข้ามสะพานนั้นไปมันก็ทะลุถนนอีกฝั่งหนึ่งไป เนี่ยมันจะเข้าสู่สมาธิไป

แต่ถ้างั้นมันจะตกตรงนี้หมด เนี่ยตกภวังค์หมด เป็นตรงนี้เกือบทั้งนั้นเลย แล้วเป็นอย่างนี้เกือบทั้งนั้นปั๊บ ย้อนกลับมาดูพระนะ พระเราเนี่ยที่ว่าอดอาหาร ผ่อนอาหารเพราะเหตุใด ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ทับจิต ความเคยชินของเราเนี่ยมันเป็นเรื่องนามธรรมไง เรื่องความรับรู้เนี่ย เรื่องของจิตเนี่ยมันละเอียดอ่อนมากเป็นเรื่องนามธรรม แล้วเรากำหนดพุทโธ ๆ ๆ เนี่ย มันสติเราไม่ทัน มันไม่ทันความละเอียดอ่อนของใจ พอไม่ทันความละเอียดอ่อนของใจเนี่ย มันจะหายแว้บไปเลย

ทีนี้ถ้าเราตั้งสตินะ พุทโธ ๆ เรามีความรู้สึกอันนี้ไว้เนี่ย มันจะข้ามอันนี้ได้ คือว่าความละเอียดอ่อนของใจ สติเราก็ละเอียดอ่อนตามด้วย มีคนพูดมากนะ ว่าเวลาเราใช้ปัญญาเนี่ย ใช้ความคิดเนี่ย โอ๋ มันจะเร็วมาก มันจะไปได้ มันจะ.. ความคิดเรามันจะไปได้ไกลมาก ไปได้เร็วมาก อู๋ ความคิดเราทำไมขนาดนั้น ท้อแท้นะ หลวงตาพูดไว้เห็นไหม ถ้ามีสติมันปิดกั้นได้หมดเลย ถ้ามีสติ ไอ้ที่ว่าความคิดเร็วมากทุกอย่างเร็วมากเนี่ย สติยับยั้งได้หมดเลย

นี่ย้อนกลับมาที่ไอ้พุทโธเนี่ย ถ้าสติดี ความรู้สึกดีเนี่ย มันไม่หายแว้บไปอย่างนั้นหรอก ถ้ามันไม่หายแว้บไปอย่างนั้นปั๊บนี่ ฝึกนี่… การฝึกยากพอสมควร พอยากพอสมควรปั๊บนี่เขาถึงต้องพุทโธชัด ๆ ไม่ ไม่ก็ต้องเนี่ยเห็นไหมการผ่อนอาหารเนี่ย ที่เราทำกันไม่ได้เนี่ยเพราะว่าร่างกายเนี่ยธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ทับจิต ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เนี่ย การกินอยู่ดี ยิ่งไขมันเนี่ย กินเข้าไปดี ๆ นี่นั่งสัปหงกทั้งนั้นนะ กินดี ๆ เนี่ย

ทำไมเขาต้องมีศีล ๘ เห็นไหม ศีล ๘ เขาไม่กินข้าวเย็นเห็นไหม ไม่กินข้าวเย็นเนี่ยนะพูดถึงเราหิวไหม หิว ถ้าคนไม่เคย แต่ถ้าคนเคยทำประจำแล้วนะ มันอิ่มบุญนะ แล้วพอเนี่ยพอไม่กินข้าวเย็นเห็นไหม ไม่กินข้าวเย็น ในกระเพาะอาหารเรามันไม่มีอาหาร เราก็กินน้ำสิ กินน้ำปานะก็ได้ กินอะไรก็ได้ รองท้องไว้ เพราะอะไร เพราะเราไม่ให้มันมีกำลังทับจิตเราไง ถ้าธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ กำลังไม่มาทับจิต ไอ้ตรงเนี่ยจะมาช่วยผ่อนแรง เราแค่มันจะผ่อนแรงเราใช่ไหม พุทโธก็ง่ายขึ้น สติมันก็ตื่นตัวดีขึ้น เอ้าขนาดที่มันหิวมากนะ ร้องจ้อก ๆ เนี่ยมันจะหลับไหม นี่ นี่คืออุบาย

พระพุทธเจ้าบอกเห็นไหมการอดอาหาร พระพุทธเจ้าบัญญัติเลยห้ามอดอาหาร ไม่อนุญาต เพราะถ้าเราไม่เข้าใจว่า เราจะไปเอาตรงอดอาหารนี่คือมรรคผล แล้วก็อดแข่งกันนะ ตายหมดเลย เพราะคนเนี่ยปัญญาคนไม่เท่ากันใช่ไหม พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าห้ามอดอาหาร เพราะพวกเรามันโง่ ถ้าอดอาหารจะเข้าใจว่าอดอาหารแล้วเก่งไง อดอาหารแล้วเก่ง ถ้าอดอาหารเก่งตายหมดเลย

พระพุทธเจ้าบอกว่าห้ามอดอาหารโดยพื้นฐานเลย แต่ แต่ถ้าผู้ใดจะอดอาหารไว้เป็นอุบายวิธีการ เป็นอุบายวิธีการเครื่องดำเนินที่จะต่อสู้กับตัวเอง การอดอาหารอย่างนี้ เราตถาคตอนุญาต อยู่ในบาลี อยู่ในพระไตรปิฎกมี เวลาห้ามนี่ห้ามชัด ๆเลย แต่ถ้าผู้ใดปฏิบัติแล้วเนี่ย อย่างเราทำงานแล้วเนี่ย มันมีข้อผิดพลาด มันมีเทคนิคอะไรที่เราต้องการอย่างนั้นน่ะ เอาสิ่งนี้มาเป็นวิธีการเพื่อจะรองรับ หรือสิ่งต่าง ๆ เพื่อจะให้การปฏิบัตินี้มันก้าวเดินเนี่ย เราตถาคตอนุญาต มี…

ฉะนั้นถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าอนุญาตแล้วนี่ ถ้าเรามันตกภวังค์มันหายไปเลยเนี่ย หายไปเลยอย่างนี้นะ คำถามเนี่ยมันฟ้อง พอหายไปเลยอย่างนี้นะ เราพูดแบบสามัญสำนึก แต่ถ้าพุทโธ ๆ ๆ ๆ จนจิตมันพุทโธมันหายไปนะ คนพูดเนี่ยมันจะเกิดความมหัศจรรย์มาก ถ้าจิตมันสงบนะ สักแต่ว่ารู้เนี่ย โอ้โห

โอ้โห คำพูดนะ มันเหมือนเราไปเจอขุมทรัพย์ เข้าไปแล้วเจอถ้ำทองคำนะ ทองคำหมดเลยนะ แล้วพอออกมาเล่าให้เขาฟังเนี่ย อื้อฮือ มันทองคำนะ มันเต็มไปหมดนะ มันจะพูดอย่างนั้น แต่บอกว่าเดินผ่านร้านขายทองน่ะเห็นทองแขวนอยู่เต็มเลยน่ะ มันไม่ใช่ทองของเราไง มันก็เลยเนี่ย เนี่ยมันหายไปหมดเลย คำพูด…

นี่ไงรสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง ถ้าใครเข้าไปสู่ความสงบนะ เข้าไปสู่ความจริงนะ มันจะตื่นเต้นมาก ได้รับความตื่นเต้นเนี่ย มันพูดออกมาเนี่ย มันเทียบเคียงไม่ได้เลย เราเข้าไปในถ้ำทองคำ อย่างที่ในหนังเขาจินตนาการกันเห็นไหม เป็นทองคำทั้งหมด โอย มันจะลึกลับมหัศจรรย์มาก แต่มันจะไม่มีหรอก มันจะมีแต่แร่ทองคำในพื้นดินเนี่ยต้องเอามาหลอม แต่ไอ้อย่างนั้นมันด้วยฤทธิ์ ด้วยเดช ด้วยบุญอย่างนี้ มันจะมหัศจรรย์มาก

ความมหัศจรรย์เนี่ย เราจะเอาภาพที่เราเห็นประทับใจอย่างนั้นนะ มาพูดออกมาให้ได้ทุกอย่างที่เราอยากสื่อเนี่ย ไม่ได้เลยจริงไหม เราไปเห็นอะไรที่ว่ามันฝังใจมาก เราจะสื่อออกมาให้คนเข้าใจได้ทั้งหมดเนี่ย เป็นไปไม่ได้เลย อันนี้ถ้าจิตมันสงบเข้าไป มันไปรู้ไปเห็นของมันเนี่ย เราจะสื่ออย่างนี้ออกมาไม่ได้เลย เพียงแต่พูดว่า โอ้โห มันเป็นถ้ำทองคำนะ มันเหมือนกับเราพยายามเปรียบเทียบออกมาให้เขารู้ แต่จะเอาความรู้อันนั้นออกมาพูดทั้งหมด เป็นไปไม่ได้

เนี่ยความมหัศจรรย์ของปฏิบัติมันอยู่ตรงนี้ มันอยู่ที่ตรงไปรู้จริงเห็นจริงนี่ มันเหนือคำพูด เหนือทุกอย่างหมดเลย นั้นถ้าคนไปเห็นจริงเนี่ยคำพูดของผู้ที่เห็นจริง กับคำพูดที่ว่าเราเห็นโดยจินตนาการ เห็นโดยความเข้าใจของเราเนี่ย เราเข้าใจไงว่ามันหายจริง ๆ มันแว้บหายไปเลย พอหายไปเลย มันไปเข้ากับตำราเพราะเราเทียบได้ว่า พุทโธ ๆ ๆ จนพุทโธหาย ทุกอย่างหายหมดเลย

พอหายหมดเลยเนี่ย มันเทียบกันได้ไง มันเทียบได้ว่ามันหายเหมือนกัน แต่ผลตอบรับมันต่างกัน ความรับรู้หรือผลตอบนี่มันแตกต่างกัน ถ้าผลมันเป็นความจริงนะ อื้อฮือ มันมหัศจรรย์มาก อึ๊ อึ๊เลย แล้วพออี๊ปุ๊บ เราพยายามทำให้ได้อย่างนั้นอีก เพราะมันเหมือนกับสิ่งที่เราสัมผัส สิ่งที่เราได้รับเนี่ยมันจะฝังใจมาก แล้วเราจะต้องการสิ่งนี้อีก

เนี่ย มันตรงนี้นะ ถ้าคนภาวนาไม่เป็น ไม่มีหลักเกณฑ์เนี่ย มันอธิบายตรงนี้ไม่เคลียร์หรอกเพราะเราเจอพระมาก มีพระมาหานะ เขามาหาเนี่ย เขาพูดด้วยความจริงของเขา เขาบอกเนี่ยพุทโธ ๆ ๆ จนต้องให้พุทโธหายไป ถ้าคำพูดอย่างนี้น่ะ เรารู้แล้วผิดแล้วนี่คือ นี่คือทฤษฎีนะ เพราะเขาบอกว่าอาจารย์บอกว่าพุทโธต้องจนพุทโธหายไป พอพุทโธจนพุทโธหายไป ถ้าเรามีความเข้าใจอย่างนี้นะ เราก็พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ มันก็หายไป คือเรารู้แล้วว่าเป้าหมายมันคืออะไรไง

เรารู้ว่าเป้ามันคือพุทโธมันต้องหายใช่ไหม เราก็พุทโธ ๆ ๆ ๆ พุทโธมันก็จางไปเรื่อย ๆ อ่อนไปเรื่อย ๆ ใช่ไหม แล้วมันก็หายไป หายไปด้วยความจงใจให้หายไง หายไปเพราะเราต้องการให้มันหายไป เพราะเรารู้ว่าเป้าหมายคือพุทโธหาย เราถึงได้บอกเขา เราบอกพระองค์นั้นเลยบอกว่าไม่มีทาง พุทโธไม่มีทางหายไป แต่จริง ๆ แล้วมันจะหาย แต่มันจะหายแล้วเราพยายามพุทโธ เราพยายามพุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ พุทโธขนาดไหนก็พุทโธไม่ได้ เพราะมันเป็นเนื้อเดียวกันกับจิตแล้วเนี่ย มันจะพุทโธไม่มีไปเอง มันจะไม่มีไปเองโดยข้อเท็จจริงของมัน

แต่ถ้าผู้ปฏิบัติใหม่ ๆ เนี่ย พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ หลับไปเลย พุทโธหายแล้วไง มันเป็นอย่างนี้หมดเพราะอะไร เพราะความเข้าใจใช่ไหม เพราะครูบาอาจารย์ท่านพูดอย่างนี้จริง ๆ เวลาครูบาอาจารย์ท่านจะเทศน์นะ ท่านบอกว่าถ้าพุทโธยังพุทโธได้ มันเป็นสองไง พุทโธเรานึกขึ้นมาวิตกวิจารใช่ไหม เรานึกขึ้นมาเนี่ยคือวิตกขึ้นมา พุทโธ ๆ เนี่ย เรานึกขึ้นมา มันยังหยาบอยู่ เพราะจิตนี้เป็นนามธรรม มันแสดงตัวไม่ได้ เราถึงต้องเอาพุทโธนี่เข้าไปเทียบ ให้มันเด่นชัดขึ้นมาด้วยการอาศัยพุทโธให้แสดงตัวออกมา พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ เห็นไหม

ถ้าเราไม่นึกพุทโธ มันนึกเรื่องอื่น เราก็นึกพุทโธซะ พอนึกพุทโธให้ชัดเข้ามา แต่ แต่ถ้านึกเรื่องอื่นมันมีความพอใจเพราะมันมีอารมณ์ สัญญาอารมณ์ มันมีความพอใจ นึกเรื่องอื่นมันจะพอใจมากเลย แต่พอบังคับด้วยพุทโธมันขี้เกียจ มันลำบาก เหมือนเด็กเนี่ย เด็กให้เล่นคอมพิวเตอร์ ให้เล่นเกมส์เนี่ยทั้งวันเลย ให้ถูบ้านนะ มันไม่เอา ให้ทำงานนะมันต่อต้านทันทีเลย

นี่ก็เหมือนกันแต่ถ้าให้มันเล่นเกมส์ทั้งวันนะ มันนั่งได้ทั้งวันเลย จิตถ้าปล่อยให้มันคิดตามธรรมชาติมันไปได้ทั้งวันเลย แต่พอนึกพุทโธเนี่ย มันแบบว่ามันมีการบังคับแล้ว มันไม่พอใจแล้ว เนี่ยเราถึงได้พุทโธกันแล้วมันอึดอัดขัดข้องก็ตรงนี้ไง แต่ถ้าพุทโธ ๆ ๆเนี่ย พุทโธเนี่ยมันเป็นพุทธานุสสติ มันเป็นธรรมะ ระลึกถึงพระ พระพุทธเจ้ามันสะอาดบริสุทธิ์ไง มันจืดสนิท มันเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์กับร่างกาย

พุทโธ ๆ ๆ ๆ พุทโธไปเรื่อย ๆ แล้วมันชัดเจนมาก ตะโกนเลย พุทโธ ๆ ๆ ก็อย่างนี้ เราพูดเอามาเป็นหลักฐานประจำ เพราะเราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะนี่แหละเพราะตอนที่มาสร้างวัดที่ปี ๒๗ ปี ๒๖แล้วพอออกมาตั้งแต่ปี ๒๖ แล้วมันพรรษา ๒๗ เรามาจากบ้านตาดไง เพราะอยู่ที่บ้านตาด หลวงปู่เจี๊ยะเนี่ยมีพระอยู่ ๒ องค์ ๓ องค์เนี่ย ท่านบอกว่าท่านต้องการพระปาติโมกข์ เราก็คิดว่าเราได้ปาติโมกข์ เราก็จะมาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ แล้วเราก็ท่องปาติโมกข์ด้วย เพื่อสังฆกรรม

เราก็ลาหลวงตามาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ นี่มาอยู่นี่ก็มาสร้างวัดใหม่ ๆ ปี ๒๗พอ ๒๗ นี่พอสร้างใหม่ ๆปั๊บนี่ โอ๋ย มีพระมาเยอะมากเลย เพราะสมัยนั้นกรรมฐานมันกำลังยังไม่ค่อยมี พระเข้ามาเยอะมาก ใครมาก็หาหลวงปู่เจี๊ยะนะ “หลวงปู่นั่งหลับ” หลวงปู่เจี๊ยะก็ “พุทโธ ๆ สิ พุทโธไว ๆ พุทโธแรง ๆ พุทโธสิ” เราพระอุปัฏฐากเราก็นั่งอยู่ข้างหลังเนี่ย เพราะพระมาต้องอุปัฏฐาก ฟังแล้ว ฟังอีกนะ พุทโธไว ๆ พุทโธไว ๆ นี่

แล้วไม่ธรรมดานะ เวลาพวกเราปฏิบัติใหม่เนี่ย เราไปหาหลวงปู่เนี่ย มันก็ต้องพูดถึงเราเป็นไข้ คนเจ็บไข้ได้ป่วยเนี่ย จะบอกอาการไข้กับหมอ มาหาหลวงปู่ก็ “นั่งหลับครับ” มาหาหลวงปู่ก็ นั่งหลับ ทั้ง ๆ ที่รู้นะแต่แก้ไม่ได้ หลวงปู่เจี๊ยะก็ “พุทโธชัด ๆ พุทโธไว ๆ” ไอ้เราก็นั่งฟังทุกวั้นทุกวันนะ มันก็ชักแหม.. ทำไมมันสูตรสำเร็จ อะไร ๆ ก็ต้องพุทโธ พุทโธเนี่ย เราก็คุยกับท่าน เราก็อยู่กับท่าน ก็คุยกับท่านทุกวัน

เพราะเรามันใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เรามาจากหลวงตาเนี่ย เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิตลอด แล้วท่านบอกว่าต้องพุทโธ แล้วทีนี้เพียงแต่มันเห็นไหม พอพุทโธเนี่ย ท่านก็บอกด้วย บอกว่า ถ้าพุทโธ พุทโธไว ๆ พุทโธชัด ๆ เนี่ยถ้าพุทโธสัก ๕ ชั่วโมง มันจะเป็นสมาธิสัก ๒ นาที ถ้า ๑๐ ชั่วโมงมันจะเป็นสมาธิ ๕ นาที ถ้า ๒๐ ชั่วโมง ๓๐ ชั่วโมง มันจะมากขึ้น ฉะนั้นพุทโธ พุทโธอย่างเดียว

เพราะเหตุพุทโธ สมาธิมันถึงจะเป็นอย่างนั้น เราก็พุทโธทั้งวันทั้งคืน หลาย ๆ เดือนเลย พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ถ้ามีสตินึกพุทโธตลอด ปากเรานี่ตะโกนพุทโธตลอดนะ แต่เวลาจิตมันลงนะ มันไม่เกี่ยวกับพุทโธมึงเลยนะ วื้ด วื้ด วื้ด วื้ด วื้ด เหมือนกับเราโดดหอ แล้วมันควงลง จิตนี่มันควงลง วื้ด ๆ ๆ มันไปเต็มที่ของมันเลยนะ กึ๊ก นิ่งเลย มันพุทโธไม่ได้แล้ว เห็นไหม มันพุทโธไม่ได้ แล้วหลายชั่วโมงมาก

เหมือนกับตะกอนในก้นแก้วเนี่ย เราเขย่าปั๊บตะกอนมันก็จะขึ้นมาใช่ไหม จิตมันลงไปแล้วน้ำมันใสหมดเลย ความรับรู้เนี่ยมันอยู่ตรงนั้น แล้วเวลามันคลายตัวออกมาเนี่ย มันคลายตัวเหมือนตะกอนในน้ำมันเห็นไหม มันจะคลายตัวออกมา อ๋อ… ฉะนั้นเราจะพูดอย่างนี้เพราะยืนยัน ถ้าหลวงปู่ หลวงปู่เจี๊ยะท่านไม่เคยประสบการณ์มาก่อน ท่านไม่แน่ใจของท่านมาก่อน ทำไมท่าน ใครมาก็ “พุทโธไว ๆ พุทโธชัด ๆ พุทโธไว ๆ” แก้หลับนะ

เพราะพระมาเป็นพระผู้ใหญ่ที่เรารู้จักทั้งนั้นน่ะ แล้วเรานั่งอยู่ข้างหลัง ตอนที่เราอยู่อีสานด้วยกัน เราว่าพระพวกนี้มีศักยภาพนะ พอมาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะนะ ใครมาก็ เขาพูดอย่างนี้จริง ๆ นะ “หลวงปู่นั่งหลับครับ” คือเขารู้ตัวเขาเองไง “หลวงปู่นั่งหลับครับ” เพราะทุกคนก็ต้องการ ต้องการให้หมอรักษาเราให้หาย หลวงปู่ก็ “พุทโธไว ๆ พุทโธ ๆ ๆ เนี่ย” แล้วเราก็พิสูจน์กับหลวงปู่มาแล้ว ลง.. แล้วลงแล้ว เนี่ยมันเป็นอย่างนั้น

นี่พูดถึงเวลาพุทโธนะ แต่เวลาเราปฏิบัติของเรา เริ่มต้นมาก่อนหน้านั่นน่ะ เราใช้อานาปานสติ ไม่ได้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ กำหนดลมที่ว่าเนี่ยแล้วมันรวมใหญ่เนี่ยเหมือนกัน เพราะเรามีพื้นฐานการกำหนดลม แล้วจิตมันลงเต็มที่เลยอย่างที่ว่าเนี่ย กายเป็นโพธิจิตเป็นกระจกใสเนี่ยมันแยกอย่างไร มันเป็นอย่างไร มันเคยทำมาอย่างนั้น มันมีประสาเราเนี่ย เรามีข้อมูลอยู่ อยู่ทาง…ข้อมูลของทางการเดินรถ การคมนาคมทางบกเนี่ย เรามีของเราอยู่ เราเคยมีการคมนาคม เราเคยมีรถมีราเนี่ย เราวิ่งบนบกเนี่ย เราสื่อสารได้หมดเลย แต่การคมนาคมทางน้ำเนี่ย เราไม่รู้เพราะเราไม่เคยลงไปเลย ฉะนั้นพอมาหลวงปู่เจี๊ยะเนี่ย ท่านเสนอทางคมนาคมทางน้ำ ว่าทางน้ำเนี่ย เรือนี่นะมันบรรทุกได้มากกว่ารถอีกนะ มันใหญ่กว่า มันไปได้ไกลนะ มันออกทะเลได้ด้วย มันไปมหาสมุทรได้ด้วย

เราก็พุทโธ ๆ ๆ ลองเห็นมะ มันถึงมี พอมันทำนะ เออ การคมนาคมทางบกก็อย่างหนึ่ง การคมนาคมทางน้ำก็อย่างหนึ่ง แต่การคมนาคมก็คือการคมนาคม มันขนส่งสินค้า ขนส่งหัวใจเราไปสู่เป้าหมายได้เหมือนกันเนี่ยมันพิสูจน์ไง เราพิสูจน์ เราทำมาก่อนหน้านั้นแล้ว ฉะนั้นเวลาทำมาก่อนหน้าเนี่ย สาธุ เราพูดด้วยความเคารพบูชา เราไม่ได้พูดด้วยความว่า เราคลางแคลงใจอาจารย์เราเลยนะ

อยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะใหม่ ๆ เรางงมากนะ ใครมาก็ต้องพุทโธ ๆ นะ แล้วท่านบอกด้วยอานาปานสติก็ไม่ได้ ใช้อย่างอื่นไม่ได้เลย หลวงปู่เจี๊ยะเนี่ยถ้าทำอย่างอื่นนะ ท่านไม่ยอมเลยนะ ใครบอกมาพูดอย่างอื่นกับท่านนะ ท่านบอกไอ้นั่นภาวนาไม่เป็น ท่านไล่ออกไปเลย ท่านไม่เอาเลย ท่านเอาพุทโธอย่างเดียว นี่พูดถึงนะ

นี่เรามาย้อนกลับว่า เพราะว่าท่านภาวนามาตั้งแต่อยู่วัดทรายงาม พรรษา ๑ พรรษา ๒ พรรษา ๒ เนี่ยจิตท่านแยกหมดแล้ว แล้วท่านไม่บอก ไม่บอกหลวงปู่กงมาด้วย ท่านบอกว่าความลับอันนี้ คุณธรรมในหัวใจนี้ จะบอกคนเดียวคือหลวงปู่มั่น ท่านถึงขึ้นไปเชียงใหม่ไง แล้วพ่อแม่นะไม่รู้กับท่านเห็นไหม พี่สาวกับพ่อแม่เนี่ยไม่ยอม พี่สาวกับพ่อแม่บอกว่าจะไปได้อย่างไรเพราะแม่เลี้ยงลูกมา ลูกเราเลี้ยงมานะ อยู่บ้านน่ะกินอาหารน่ะ ถ้าของทะเลขึ้นมาถ้าไม่สดก็ไม่ยอมกิน อาหารอะไรที่เก็บไว้นะแรมคืนนะ ท่านไม่ยอมแตะเลย คือลูกเราเนี่ยกินอยู่ยากมาก

แล้วท่านจะต้องไปกับหลวงปู่มั่นเนี่ย เผชิญชีวิตในป่าเนี่ยมันจะทุกข์ยากขนาดไหน แม่นี้ไม่ยอมให้ไป ทั้งแม่ทั้งพี่สาวไม่ยอมให้ไป แต่ด้วยหัวใจที่มีคุณธรรมของท่านน่ะ ไม่มีใครรู้ด้วยเห็นไหม ท่านจะไป โอ๊ย ..ในประวัติท่านน่ะมีการโต้แย้งกันมาก นี่ท่านเล่าให้ฟังเยอะมาก เพราะเราอยู่กับท่าน เนี่ยเวลาท่านไป ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นน่ะ พอไปเล่าให้หลวงปู่มั่นครั้งแรกน่ะ เออ เหมือนเราที่ถ้ำสาริกา แล้วทำอย่างไรต่อไป ก็พุทโธอย่างเก่านั่นแหละ

หลวงปู่เจี๊ยะบอกว่า แล้วถามหลวงปู่มั่น ก็ให้หลวงปู่มั่น ถามว่าให้ทำอย่างไรต่อไป ก็พุทโธอย่างเก่านั่นแหละ พิจารณากายอย่างเดิมนั่นแหละเห็นไหมกายนอก กายใน กายในกายเนี่ย คนไม่เข้าใจหรอก แต่หลวงปู่เจี๊ยะเนี่ย ท่านมีพื้นฐานมาจากวัดทรายงาม จากหลวงปู่กงมา แต่ตอนอยู่กับหลวงปู่กงมาเนี่ยเห็นไหม ด้วยความเคยชิน ด้วยความที่พระมันเยอะเนี่ย แล้วด้วยคุณธรรมของท่าน ท่านไม่พูดให้ใครฟัง ท่านขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น

เนี่ยท่านเล่าให้เราฟังเยอะมาก เพราะตอนที่อยู่กับท่านน่ะ พระที่อยู่ใกล้ท่านก็มีเรากับท่านน่ะ ตอนที่อยู่ด้วยกัน เพราะเราอุปัฏฐากท่าน ตอนกลางคืนท่านจะเล่าอะไรให้ฟังทุกคืนทุกคืน เยอะ ฉะนั้นเรามีข้อมูลอย่างนี้เห็นไหม เวลาท่านเสียแล้ว เราไปเทศน์ใจสู่ใจ ที่เจดีย์วัดภูริทัตตะ ไปฟังได้ใจสู่ใจเนี่ย เราบอกเลยใจดวงหนึ่งคือใจของหลวงปู่เจี๊ยะ จะต้องเอาใจดวงนี้ไปสู่ใจหลวงปู่มั่น ให้หลวงปู่มั่นเป็นผู้วินิจฉัย ไม่ให้ใครเป็นผู้วินิจฉัย เพราะเราได้ข้อมูลอย่างนี้มา จากปากของท่านที่พูดกับเรา

เราถึงไปเทศน์นะ เวลาท่านเสียแล้วเนี่ย เราไปเทศน์ ในเทปมี ในเว็บไซต์ก็มี ของเราก็มี เพราะเราไปเทศน์ที่เจดีย์นั่นน่ะ “ใจสู่ใจ” ใจดวงหนึ่งถนอมรักษามาตั้งแต่วัดทรายงาม ถนอมรักษามาจนมันมีหลักมีเกณฑ์ของมันขึ้นมาแล้ว แล้วจะพูดให้ใครฟังเนี่ย ด้วยความไม่ไว้ใจใครเห็นไหม ใจดวงนี้ต้องบุกบั่นขึ้นไปหาใจดวงหนึ่งอยู่ที่เชียงใหม่ แล้วไปเคลียร์กันอยู่ที่นั่น แล้วพอเคลียร์เสร็จแล้วเห็นไหม หลวงตาจะบอกว่า หลวงปู่มั่นจะรักหลวงปู่เจี๊ยะมาก นี่เพียงแต่หลวงปู่เจี๊ยะเวลาท่านเป็นนิสัยของท่าน ถึงเวลาไปอยู่ที่นั่นนะ ที่บ้านโคกแล้ว ท่านถึงลาออกมาเที่ยวไง

เนี่ยพูดถึงว่าพุทโธ ๆ เนี่ย เราพูดอย่างนี้ขึ้นมาเนี่ย เราจะยืนยันว่าพุทโธ ๆ เนี่ย ที่มันแก้หลับแก้ความ… เนี่ย หลวงปู่ท่านทำของท่านมาแล้ว แล้วเมื่อก่อนเนี่ยสังคมของเราเนี่ย เรานี่แปลกนิสัยเรานะ ถ้าเราเชื่อมั่น เราพบครูบาอาจารย์องค์ไหน เราจะอยู่ที่นั่น ถ้าครูบาอาจารย์องค์ไหน เนี่ย ข่าวคราวหรือการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เข้าทางเนี่ย เราจะไม่เข้าไปสุงสิงเลย

เราถึงว่าบางองค์การสอนรายละเอียดเราไม่เข้าใจไง นี่พอบอกหลวงปู่เจี๊ยะ พุทโธไว ๆ พุทโธไว ๆ เนี่ย สุดท้ายเนี่ยพอเราธุดงค์มา เราเที่ยวมาเนี่ย ถึงหมู่คณะก็บอกว่า หลวงปู่ชอบก็สอนอย่างนี้ หลวงปู่ชอบก็สอนพุทโธไว ๆ เหมือนกัน พุทโธ ๆ ๆ ๆ เนี่ย หลวงปู่คำดีก็สอนอย่างนี้ พุทโธ ๆ ๆ เนี่ย เพียงแต่ว่ารายละเอียดอย่างนี้ เราไม่ได้เข้าไปสัมผัสกับท่าน เราไม่ได้ข้อมูลอย่างนี้มา

แต่ที่เราสัมผัสโดยคลุกคลี โดยใกล้ชิดเลยก็มี ๒ องค์นี้ ๒ องค์นี้ที่เราคุ้นชินมาก เพราะว่ามันเหมือนกับอะไรนะ ควาญช้าง กับช้าง หรือว่าคนไข้กับหมอ ถ้าคนไข้มีหมอประจำตัวไง นี่หมอประจำตัวคนไข้ พอคนไข้มีหมอประจำ เวลาผิดพลาดก็หาหมอนี้เลย มันก็เลยได้ตรงนี้มา

ฉะนั้นเราถึงยืนยันตรงนี้ ยืนยันที่ว่าถ้ามันหายเนี่ย มันหายด้วยเราความเข้าใจผิดเพราะ เพราะคำสอน คำสอนบอกว่าถ้าพุทโธไป พุทโธไปเนี่ย พุทโธจะหาย แล้วถ้าหายแล้วนี่ ทำไม ๆ หายแล้วนี่ มันกำลังของจิตเรามันไม่มีล่ะ แล้วความแน่ชัดเห็นไหม ปัจจัตตังรู้เฉพาะตน สันทิฏฐิโกนี่รู้ชัดเจนมากเลย

แล้วถ้าเราไม่ชัดเจนอย่างนี้เห็นไหม เราไม่ชัดเจนหรอก เพราะเหมือนกับ โทษนะ เหมือนเรานอนหลับ ขณะที่เรานอนหลับเนี่ย ขณะที่เราหลับเรารู้ตัวไหม เราก็ไม่รู้ตัว ฉะนั้นเวลาเราตื่นขึ้นมานะ ตอนที่ผมหลับนี่มันมีอะไรบ้าง เวลาถามนะ ตอนที่หลับไปเนี่ย มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างก็ไม่รู้ ไม่รู้ แต่ถ้าเราตื่นอยู่เนี่ย เราเห็นหมด เราจะไม่ถามหรอกว่า เมื่อกี้นี้มันมีอะไร ก็เราเห็นอยู่ชัดเจน พุทโธ ๆ ๆ จิตมันลงนี้มันชัดเจนมาก มันชัดเจนมาก

หนึ่ง หลวงปู่เจี๊ยะ แล้วครูบาอาจารย์น่ะท่านสอนอย่างนี้ แล้วเราก็ได้พิสูจน์นะ เราเคยทำอย่างนี้มา เราถึงเชื่อมั่นมาก แล้วถ้ามันหายนะ มันหายจริง ๆ แต่ต้องมันหายโดยข้อเท็จจริงของมัน ไม่ใช่ที่มันหายโดยขาดสติ มันหายโดย… แล้วเราตามมันไม่ทัน มันหายเพราะกิเลสมันหลอกเรา มันหายเพราะตกภวังค์ ที่มันหายนี่มันหลากหลาย วิธีหายนี่หายเยอะมากเลย

แต่ถ้ามันหายด้วยข้อเท็จจริงนะ หายคือคำหยาบ ๆ คำบริกรรมหายไป แต่ตัวมันไม่ได้หาย ตัวมันกลับชัดเจนขึ้นมา เพราะธรรมดาจิตกับอารมณ์มันเป็นสอง พุทโธ ๆ จนอารมณ์กับจิตเป็นอันเดียวกัน มันชัดเจน มันตื่นสว่างโพลงหมด มันหาย หายแบบตื่นรู้ หายแบบตื่นตัวอยู่ ไม่ใช่หายไป หายโดยคำบริกรรม แต่ตัวมันชัดเจนไง

แล้วนี่เราคิดว่าหายไปก็คือหายหมดเลย พุทโธหายก็คือนอนหลับเลย เมื่อกี้หลับไปเนี่ยมันอะไรบ้าง ตอนหลับไปเนี่ย มีใครเอาน้ำกรอกจมูกบ้างไหม เนี่ยถ้ามันหายอย่างนี้หมายถึงว่า หมายถึงว่าเพราะมันหายอย่างนี้ เพราะคำพูดมันบอก เพราะมันพูดแบบว่า พุทโธหายไป มันพูดแบบปกติไง มันไม่มีได้รับรสไง แต่ถ้ามันจริง ๆ โอ้โห โอ้โห เลยนะ

ถ้าโอ้โหปั๊บนะ คำว่าโอ้โหเพราะอะไร คำว่าโอ้โหเพราะเราพุทโธตั้งแต่คำแรกจนคำสุดท้ายที่มันหายไปเนี่ย สติเรารู้พร้อมหมดเลย คนที่มันรู้พร้อมหมดเลยเนี่ย มันจะสงสัยอะไรไหม มันจะมีช่วงใดที่ขาดไปที่ให้เราสงสัยต้องถามไหม ไม่ต้องเลย แล้วพอคำสุดท้ายที่มันจางเลือนหายไปแล้วเนี่ย เรามีรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ที่มันชัดเจนเนี่ย มันชัดเจนไหม นี่คือสัมมาสมาธิ

เราถึงได้กล้าพูดไงว่าพวกเขา พวกดูจิตเนี่ย เขายังไม่รู้จักสมาธิเลย ถ้าเขารู้จักสมาธิเนี่ยนะ เขาไม่กล้าพูดหรอกว่า ถ้าดูจิต ดูไปจนรู้เท่าการเกิดดับ แล้วจิตมันจะรวมลงสู่อัปปนาสมาธิไง สู่อัปปนาสมาธิเนี่ย สู่ฌาน ๔ เนี่ย แล้วปัญญาจะเกิดตรงนั้นน่ะ เพราะอะไร เพราะถ้ามันเข้า มันพุทโธจนพุทโธหายไปเนี่ย มันสักแต่ว่ารู้เนี่ย มันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร ถ้าคนทำสมาธิเป็นนะ ไม่กล้าพูดอย่างนั้นนะ

เพราะมันขัดแย้งกันโดยข้อเท็จจริง ว่าจิตมันสู่อัปปนา จิตมันจะรู้เท่าสามัญลักษณะแล้วลงสู่อัปปนา แล้วจะเกิดปัญญาตอนนั้น มันเป็นไปไม่ได้ แค่คนทำสมาธิเป็นนะก็รู้แล้วว่าคำพูดนั้นน่ะ มันขัดแย้งกับข้อเท็จจริง มันเป็นไปไม่ได้ แล้วยิ่งคนภาวนาเป็นด้วยนะ ยิ่งไปใหญ่เลย เพราะสมาธิเนี่ยมันรู้ รู้ตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

สมาธิเริ่มใหม่ ๆ เราก็รู้ว่าเราเป็นสมาธิ ขณิกสมาธิเริ่มต้นรู้ อัปปนาเนี่ยมันรู้นะเป็นสมาธินะ แล้วสมาธินี่มีกำลังคือว่าออกรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ แต่ถ้าเป็นสามัญสำนึกเราเนี่ยไม่มี สามัญสำนึกเราคิดได้ เราใช้ข้อคิดได้ เราใช้ปัญญาได้ แต่ปัญญานี่จิตคิดโดยสมองเนี่ยมันคิดได้ แต่มันไม่ลง ที่ว่าญาณทัสสนะ ญาณทัสสนะ มันไม่มีญาณ ไม่มีกำลังของจิตไง ไม่มีญาณทัสสนะไง ไม่มีสิ่งที่เข้าไปรื้อค้นจิตไง เพราะมันเป็นสามัญสำนึก

แต่ถ้าเข้าไปสมาธิจนเป็นอุปจารสมาธิเนี่ย มันลงสมาธิเนี่ยคือญาณ ญาณคือกำลังของใจ ญาณเนี่ยความรับรู้คือญาณทัสสนะ แล้วถ้าเกิดญาณอย่างนี้ มันออกใช้ปัญญาเห็นไหม นี่ญาณทัสสนะมันเกิดตรงนี้ แล้วถ้าบอกว่าอัปปนานะ มันมีญาณ มีญาณมีกำลังของจิตแต่ไม่มีทัสสนะ เพราะมันสักแต่ว่า มันคิดไม่ได้ ถ้ามันคิดมันลงอย่างนั้นไม่ได้ ลงอย่างนั้นมันคิดไม่ได้ ถ้าคิดมันต้องถอนออกมา

อย่างน้ำใสเนี่ยเราไม่รู้ว่ามีน้ำ แต่เราจะรู้ว่าน้ำนี่จะมีน้ำหรือไม่มีน้ำ ต้องมีสีมีสันมันถึงรู้ว่าจะมีน้ำ นี่ก็เหมือนกันพอลงใสหมดเลยเนี่ยมันทำงานไม่ได้ แต่เราจะรู้ว่ามีไม่มีเนี่ยมันต้องถอนออกมาจนอุปจาระคือว่ามันมีสีสันของมัน ฉะนั้นถ้าแค่ทำสมาธิเป็นนะ คนที่เขาทำสมาธิได้นะ ฟังเขาพูดนะรู้เลยว่าผิดหมด

แล้วยิ่งขั้นของปัญญาไปนะ ตายเลย เพราะขั้นของปัญญาเนี่ยไม่มีพื้นฐานอย่างนั้นรองรับนะ มันเป็นปัญญาไม่ได้ ปัญญาอย่างนั้นเรียกว่าโลกียปัญญา ปัญญาอย่างนั้นคือปริยัติ ปัญญาอย่างนั้นคือท่องจำตำรา เอาตำราไง สังเกตพวกอภิธรรมไหม เวลาเขาจะตั้งข้อธรรมะขึ้นมาแล้วเถียงกันปากเปียกปากแฉะเลย นี่ไง ความรู้ในตำราไง ความรู้จำไง เขารู้ตรงนี้

แต่รู้โดยข้อเท็จจริงโดยการปฏิบัติ ไม่มี ถ้ามีไม่พูดอย่างนั้น พูดอย่างนั้นไม่ได้ พูดอย่างนั้นมันเหมือนกับเด็ก เหมือนลูกเราตอนมันหัดพูด มันพูดทุกอย่างเลยเห็นไหม เด็กเราตอนหัดพูดมันพูดทุกอย่างเลย แต่มันไม่รู้ มันถามนี่คืออะไร นี่มันพูดทุกอย่างเลย นี่เหมือนกันพอจำตำรามาได้นะ พูดทุกอย่างเลย แต่ผิดหมด ผิดหมด เด็กตอนหัดพูด กับเราเนี่ยเราพูด เราคิดว่าเราพูดด้วยสมอง เราพูดด้วยข้อเท็จจริงเนี่ย เราจะพูดอย่างเด็กที่หัดพูดได้ไหม เด็กหัดพูด มันพูดประสามันเลย พูดตามความรู้สึกมันเลย

แต่เราเป็นผู้ใหญ่แล้วเราพูดอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเรารู้ว่าอะไรควรไม่ควร ควรพูดไม่ควรพูด มันจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง นี่ขบวนการของจิต แต่ถ้าคนไม่มีขบวนการอย่างงั้น แล้วมันน่าสังเวชตรงนี้ ตรงที่โลกเนี่ยไม่มีขบวนการอย่างนี้ โลกเลยเชื่อตรงนี้กัน เชื่อสิ่งที่เขาพูด เชื่อสิ่งที่เขาทำกัน แต่ถ้าเรามีเหตุมีผลโต้แย้งได้นะ เราจะไม่เชื่อสิ่งนั้นเลย นี่พูดถึงพุทโธ ๆ จนพุทโธหาย หรือจิตนี่มันหายไป เราจะบอกว่าหายนี่มันมีหลากหลายมาก ถ้าหายตามความเป็นจริงนั้นประเสริฐมาก

นี่ไหมหลวงตาบอกว่า ถ้าจิตสงบเนี่ยพออยู่พอกิน ถ้าใครทำได้ขนาดนี้เรียกพออยู่พอกินมีหลักมีเกณฑ์ คือจิตนี่มันมีพื้นฐานมันแล้ว มันพออยู่พอกินคือสร้างเนื้อสร้างตัวได้ แต่ถ้ายังไม่มีเลยเนี่ยเราต้องพยายามต่อสู้ ถ้าจิตสงบเนี่ยพออยู่พอกินแล้ว มันถึงมีประโยชน์มากตรงนี้ แล้วเราพยายามทำของเรา

ผิดมาก่อนทั้งนั้นน่ะ พระพุทธเจ้า ๖ ปี หลวงปู่มั่นน่ะ ค้นคว้ามาขนาดไหน ผู้ที่ปฏิบัติมาเนี่ยหัวหกก้นขวิดทั้งนั้นล่ะ ผิดมาทั้งนั้นน่ะ การปฏิบัติถูกเนี่ยหายากมาก มันต้องผิด โอ้โห แล้วผิด ผิดทั้งนั้น เพราะเรามีความเห็นผิด กิเลสเรามหาศาลเลย แล้วถ้าเรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านมาแล้วน่ะ ท่านจะรู้ ท่านจะค่อย ๆ แก้เรา

ที่นี้พอแก้เรานี่ เหมือนเด็ก ๆ เลย เด็ก ๆ นี่พ่อแม่สอนเนี่ยรำคาญมาก นี่เหมือนกันเราปฏิบัติมันเห็น ทั้งรู้ทั้งเห็นเลย พอไปหาครูบาอาจารย์ท่านบอกไม่ใช่ ก็เห็นกับตานี่ไม่ใช่ได้อย่างไรน่ะ ก็เห็นกับตานั่นน่ะไม่ใช่ สิ่งที่เห็นนั่นน่ะเห็นจริง ๆ แต่ความเห็นนั้นไม่จริง แต่เราเห็นกับตานี่ แล้วเขายังบอกไม่ใช่ ๆ นี่ เราโดนอย่างนี้มาเยอะ

แล้วนี่เวลาไปพูดกับคนอื่นเนี่ย พอมาบอกไม่ใช่ ๆ เนี่ย เขาก็แหม… หลวงพ่อเนี่ย อะไร ๆ ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่เลยนี่แย่มาก ๆ เลย เห็นใจนะ เพราะเราก็เป็นอย่างนั้นมาก่อน ไปหาครูบาอาจารย์นี่ โอ้โหย ก็เห็น ๆ จับให้มั่นคั้นให้ตายเนี่ย จับใส่กระสอบมาเนี่ยแล้วบอกไม่ใช่ ๆ ก็มันอยู่ในกระสอบเนี่ยบอกไม่ใช่ แล้วพอปฏิบัติไป ไม่ใช่จริง ๆ ไม่ใช่จริง ๆ

แต่เราเองเนี่ย เราจับมันมาเลยเนี่ย เนี่ยเรารู้จริงเห็นจริง แต่ความรู้ความเห็นของเราไม่จริง เพราะเรามีกิเลส มันสร้างภาพ อย่างที่ว่าเนี่ยมันสร้างขึ้นมา ตำราบอกว่าอย่างนี้ใช่ไหม เราก็สร้างเหตุการณ์ให้มันสมจริงเลยนะ แล้วก็เอามาให้ท่านเลย บอกเนี่ยได้แล้ว ท่านบอกก็มึงสร้างมามันจะจริงได้อย่างไร มันไม่เป็นความจริง แต่ตอนนั้นไม่เข้าใจนะ ท่านบอกไม่ใช่ ไม่ใช่

แต่มันดีอย่างหนึ่งเราเนี่ยจะใช่หรือไม่ใช่เนี่ย มันไม่ทิ้ง ไม่ทิ้งความเพียรไง มันจะเร่งความเพียรไปเรื่อย ๆ ไปเรื่อย ๆ มันก็พอความเพียรมันไปเรื่อย ๆ ปั๊บเนี่ย พอมันพอแบบว่าเราผ่านจากจุดนั้นไป เออ ไม่ใช่จริง ๆ ไม่ใช่จริง ๆ นี่ไงมันถึงพระพุทธเจ้าถึงบอกว่าจะสอนได้อย่างไร จะสอนได้อย่างไร

การสอนจิตแก้จิตนี่หลวงปู่มั่นยังบอกเลย การแก้จิตนี่ยากนะ คนไม่เป็นแก้ไม่ได้นะ ถ้าคนไม่เป็นก็เหมือนเราเนี่ย ใครพูดอะไรมาก็เหมือนกัน ก็จับต้องได้เหมือนกัน จับใส่กระสอบมาเหมือนกันไง แล้วก็จับต้องได้อย่างนี้ แล้วไม่ใช่ได้อย่างไร วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ชัด ๆ เนี่ย แต่ไม่ใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่แล้วไม่ได้จับมา มันเป็นปัจจัตตัง มันเกิดขึ้นจากความรู้จริง แล้วความรู้จริงเนี่ยเรียกภาวนามยปัญญา ไอ้นั่นมันสุตมยปัญญา

ฉะนั้นเวลาพูดธรรมะนะ เราพูดแล้วเนี่ย อย่างเพิ่งไปเครียด อย่างเพิ่งไปวิตกกังวล ฟังนะ แล้วกลับไปพิจารณา แล้วเอามาเป็นประโยชน์กับเราไง ดูหนังดูละครเอามาเปรียบเทียบกัน พระพุทธเจ้าบอกกาลามสูตร อย่าให้เชื่อ อย่าให้เชื่อพระพุทธเจ้าสอน อย่าให้เชื่อใด ๆ ทั้งสิ้น ฟังสิ่งนี้แล้วเอาไปเทียบเคียงกับผลปฏิบัติของเรา อย่าเพิ่งเชื่อว่าเราพูดจริงหรือไม่จริง เทียบเคียงเอาประสบการณ์จริงอันนั้น ถ้าประสบการณ์นั้นเกิดขึ้นมานะ โอ้ อันเดียวกันเลย

หลวงตาท่านพูดกับพระประจำตอนเราอยู่กับท่าน ท่านบอกว่าปฏิบัติไป ถ้ารู้จริงแล้วจะกลับมากราบศพผม ท่านพูดอย่างนี้เลย คิดดูสิ กว่าท่านจะร่วงไปนี่เวลากี่สิบปี แล้วเราปฏิบัติไปกว่าจะถึงนะ ถ้าเราถึงแล้วเราจะไปกราบ กราบขอขมาท่านเลย ท่านบอกนะ เชื่อไม่เชื่อเก็บไว้ก่อน แล้วถ้าถึงเวลาแล้วจะมากราบศพ คือท่านตายไปแล้ว เรายังไม่ทันเลย วุฒิภาวะของจิตยังไม่ถึง ถ้าถึงแล้วจะกราบขอขมาเลย เห็นไหมท่านอาจหาญขนาดนั้น ท่านไม่ได้สนใจว่าเราจะเห็นจริงหรือไม่เห็นจริง จะเชื่อหรือไม่เชื่อนะ แต่ท่านพูดความจริงไว้ก่อน

ถ้าเราปฏิบัติความจริงก็คือความจริงอันเดียวกัน แล้วเราจะไปกราบขอขมาท่าน นี่พูดให้กำลังใจ ฉะนั้นค่อย ๆ ทำไป พยายามตั้งสติ แล้วบางอย่างที่มันเป็น มันส่งเสริมกิเลส พยายามทอนมันออก แล้วปฏิบัติไปเดี๋ยวจะเห็นความ… อันที่มันหายไปอย่างนี้ กับถ้ามันหายจริง เราจะมาเทียบกันได้เลย อันไหนจริง อันไหนปลอม แล้วเราเองเป็นผู้ปฏิบัติจริง มันจะเป็นประโยชน์กับเราเนาะ เอวัง