ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ภพน้อย ภพใหญ่

๒ ม.ค. ๒๕๕๓

 

ภพน้อย ภพใหญ่
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบปัญหาธรรม วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

หลวงพ่อ : ทีแรกเห็นไหมเขาพูดถึงทีแรก วันแรกที่บอกว่า ที่เห็นร่างกาย กำหนดอะไร

โยม : เห็นร่างกาย

หลวงพ่อ : ยุบหนอพองหนอเหมือนกัน

โยม : ใช่.. เพราะว่าที่นั่นเขาเป็นหลัก ต้องยุบหนอ พองหนอ

หลวงพ่อ : ต้องหนอหมด นี้เราจะเทียบให้เห็นไง แล้วอย่างนี้ที่ว่าถ้ามันเข้าถึงตรงนั้นได้เห็นไหม เข้าถึงเวลาถ้ายุบหนอ พองหนอ แล้วถ้าจิตมันลงอย่างนั้นใช่ไหม พอจิตมันลงอย่างนั้นเพราะจิตมันเห็นกายอย่างนั้นนะ เราบอกเลย ถ้าพูดถึงเพราะเราพูดเมื่อกี้นี้ เวลาเขามาถามปัญหาจิตหลุดนี่ เราถามว่าใครสอน ถ้าใครสอนนี่ เราจะจับประเด็นเขาแล้วว่าหลักการมาจากใคร

อันนี้ก็เหมือนกัน อันนี้บอกว่าไปยุบหนอพองหนอเหมือนกัน แต่เวลาถ้ามันลงเห็นไหม มันลงต่างจากยุบหนอพองหนอ ยุบหนอพองหนอเมื่อกี้เห็นไหม บอกยุบหนอพองหนอเห็นไหม เสียงหนอ ทุกอย่างหนอ ยุบหนอพองหนอเพราะอะไร เพราะสิ่งที่ยุบหนอพองหนอหรืออย่างที่เราพูดเมื่อกี้นี้ว่า พวกอภิธรรมมันจะอยู่ด้วยปัญญาสามัญสำนึก คำว่าปัญญาสามัญสำนึก ปัญญานี่ วิญญาณอายตนะ

วิญญาณอายตนะ วิญญาณกระทบ นี่วิญญานโลก วิญญาณรับรู้เขาเรียกวิญญาณอายตนะ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น นี่วิญญาณอายตนะ วิญญาณโดยพื้นฐาน ถ้าใช้ปัญญาอย่างนี้นะ เท่าไรก็ไม่บ้า ไม่หลุดหรอก เพราะมันสามัญสำนึกคิดได้ แต่ก็ยังหลุดนะ คนคิดมากยังเครียด ยังเป็นบ้าอยู่ แต่ถ้าปัญญาสามัญสำนึกนี่มันไม่ลงสู่จิตหรอก ไม่ลง

เพราะมันเป็นวิญญาณอายตนะเห็นไหม วิญญาณอายตนะกับวิญญาณปฏิสนธิคนละวิญญาณ วิญญาณอายตนะคือวิญญาณในขันธ์ ๕ วิญญาณปฏิสนธิคือวิญญาณตัวเกิดตัวตายคือ ฐีติจิต สมาธิคือตัวจิต จิตเป็นสมาธิ วิญญาณอายตนะวิญญาณรับรู้จากข้างนอก วิญญาณอายตนะนี่ ยุบหนอพองหนอ อภิธรรมนี่ รู้หนอ สักแต่ว่าหนอ ทุกอย่างหนอ มันเป็นวิญญาณอายตนะ วิญญาณกระทบหมด นี่ไงถึงบอกว่า เวลาเขาพูดนะบอกว่าอะไรนะ อย่าสร้างสิ่งใหม่กับสิ่งที่มีอยู่ อย่าสร้างสิ่งใหม่

แล้วนี่ไม่ได้สร้างเหรอ เช่นเราดื่มก็ดื่มแล้ว ดื่มนี่คือดื่มนะ หลวงปู่มั่นใน มุตโตทัยเห็นไหม การดำรงชีวิตของเรา การเหยียด การดื่ม การคู้อยู่ดำรงชีวิตเรา เรารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ดื่มก็ดื่มเดี๋ยวนั้นเลย ดื่มหนอก็ดื่มไปแล้ว ดื่มส่วนดื่มนะ แต่ดื่มหนอนี่จิตมันสร้างอีกเห็นไหม นี่ก็เหมือนกันเวลายุบหนอพองหนอ สิ่งที่เรารู้เสียงเห็นไหม มันอย่างนี้ แต่อันแรกมันยุบหนอพองหนอเหมือนกัน แต่ถ้าจิตมันลงนะมันไม่ได้ยินอะไรเลยใช่ไหม

โยม : ไม่ได้ยิน แต่ตรงนี้...

หลวงพ่อ : มันลงสู่จิต ถ้าลงสู่จิตนะ ถ้าจิตเห็น จิตเห็นกาย ถ้าจิตเห็นกาย ตามประสาเราเข้าอริยสัจแล้ว เข้าสติปัฏฐาน ๔ กายานุปัสสนา เพราะมันเห็นกายนี่สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เราพูดถึงสติปัฏฐาน ๔ ของเรานะ ผู้ที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นี่ผิดหมดเลย ผิดหมดเลยเพราะจิตเราเป็นโลกๆ เห็นโดยสามัญสำนึกไม่เป็นสติปัฏฐาน ๔ หรอก สติปัฏฐาน ๔ วิปัสสนาญาณจะเกิดต่อเมื่อจิตสงบ จิตสงบไม่พ้นจากจิตสงบเลย ไม่ใช่พระสงบนะ นึกว่าพระสงบถูกคนเดียวคนอื่นผิดหมด ไม่ใช่.. จิตสงบไม่ใช่พระสงบ พระสงบนี่เขาตั้งชื่อให้

ถ้าจิตมันสงบ ตัวจิตสงบ เพราะจิตสงบ จิตเป็นกลางตัวจิตเห็น ถึงจะเป็นสติปัฏฐาน ๔ นอกนั้นถ้าจิตไม่สงบ สติปัฏฐาน ๔ ผิดหมด! โกหกหมด! แล้วพอจิตมันสงบขึ้นมามันเห็น เห็นไหม เห็นกาย พอเห็นกายอย่างนี้ปั๊บนะ ไปถามคนที่ไม่เคยเห็น มันตอบไม่ได้หรอก แล้วถ้าไปถามเขานะ เขาจะถามว่าเห็นอย่างไร เพราะเขาไม่เคยเห็น อย่างเราเอาภาษาโบราณมาให้นักศึกษาสมัยปัจจุบันอ่าน มันอ่านไม่ออกหรอก

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราไปเห็นของเรา ความรู้สึกของเรา แล้วเราเอามาให้คนอื่น ให้คนอื่นให้เรานี่อ่านไม่ออกหรอก พอไปเห็นกายอย่างนี้ปั๊บ เขาก็ตีความเลย อันนี้เป็นนิมิต เหมาลงเข่ง อะไรอีกเยอะ นิมิตหมดเลย แล้วนิมิตไม่ดีด้วยนะ อ้าว..เวรกรรม อ้าว..ไม่ดีก็เอากูไปฆ่าสิ นี่กูเห็นเองจะทำยังไง แล้วเป็นนิมิตแล้วเอ็งจะแก้นิมิตอย่างไร นี้พอแก้นิมิตแล้ว ถ้าจิตมันสงบแล้ว พอมันเห็นอย่างนั้นนะ ถ้าเห็นจริงน่ะ พอเห็นจริงนะ ขนพองสยองเกล้า แล้วพอเห็นออกมานะ โหย! โล่งไปหมดเลย ว่างไปหมดเลย เพราะอะไร เพราะมันได้ มันเหมือนทำความสะอาดทีหนึ่งน่ะ จิตนี้ได้ล่อนสักทีหนึ่ง จิตมันจะปล่อยวางสักทีหนึ่ง ปล่อยวางชั่วคราว

นี่ถ้าข้อเท็จจริงมันเกิดมันเกิดอย่างนี้แล้วฝังใจมาก แล้วทำอีกจะได้ไหม ไม่มีทาง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะคำพูดมันฟ้องว่าส้มหล่น ส้มหล่นคือว่าทำโดยที่ว่า มันเหมือนกับเราทำไปโดยที่ไม่รู้ว่าต้นสนกลใน ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ มันผลัวะ! มาเลยอย่างนี้ โอ้โฮ.. เออกูก็รู้อยู่ ผลัวะๆ มาก็เห็นใช่ไหม แต่กูไม่รู้ว่าทำอย่างไรมันมาถึงตรงนี้ได้ว่ะ แล้วจะทำอีก เออ.. กูทำไม่ถูกล่ะ

โยม : ทีนี้เวลาหลักการที่ว่าเราเจออะไรที่มันปรากฏอย่างนี้ เช่นเขาบอกให้อะไร ให้วิภาคะถ้าเห็นนิมิตอะไรเยอะแยะ

หลวงพ่อ : ใช่ ใช่ ใช่ วิภาคะนะนี่พูดโดยหลัก นี่โดยหลักแต่เวลาทำนะ เวลาทำเข้าไปแล้วนี่ วิภาคะ จะเอาอะไรไปวิภาคะ แล้วจิตอยู่ตรงไหนนะ แล้วสติจะตั้งมันอย่างไรล่ะ แม่ง!ขยับไม่ถูกเลย ทีนี้พอถ้ามันทำบ่อยๆ มันต้องทำบ่อยๆ นี่คือจิต นี่คือกำลัง แล้วนี่ๆ คือความรำพึง รำพึงนะ เวลาเราบังคับจิตให้วิภาคะอย่างนี้ๆ มันอยู่ที่เราฝึกจิตเรา วิภาคะใครทำ สมองทำหรือจิตทำ

โยม : ต้องจิต

หลวงพ่อ : ต้องจิตทำ ถ้าจิตทำ ถ้ามันชำนาญมันสงบเข้ามาเห็นไหม เวลาเจออย่างนั้น เจอไล่เป็นส่วนๆ ไปนะ ไล่กายๆ พอไล่กายไปแล้วนี่ถ้ามันเห็นก็เห็น ถ้ามันเห็นกลับมา นี้พอกลับมานี่ ถ้ามันยุบหนอพองหนอมันก็ว่าไปเรื่อยๆ แต่ถ้าพูดถึง เป็นพุทโธ ก็ต้องพุทโธ พุทโธให้มันชัดๆ ขึ้นมา พอจิตสงบก็ออกไปอีก อันนี้อันหนึ่ง อันนี้ได้เห็นตามข้อเท็จจริง แต่อย่างพูดครั้งนี้ครั้งที่ ๒ เห็นไหม เวลาเขาก็ยุบหนอพองหนออยู่เห็นไหม รู้หนอเสียงหนอทุกอย่างหนอไปหมดเลย เป็นหนอไปหมดเลย ทีนี้หนอ นี่วิญญาณอายตนะเห็นไหม ความรู้มันหยาบไหม มันไม่เข้ามาสู่นี่ ไม่เข้าหรอก

โยม : แต่ว่าคือวันนั้นมันจะหลายวันแล้วมันเป็นช่วงที่เราฝึก ฝึกอย่างต่อเนื่อง อารมณ์มันบางครั้งก็ขณิกะ บางครั้งก็อุปจาระ มันก็จะคือมันค้างมานะค่ะ เรารู้สึกว่ามันยังโยก มันยัง...

หลวงพ่อ : เห็นด้วย อันนี้เห็นด้วย อันนี้เห็นด้วย

โยม : มันก็เลยปรากฏตรงนั้นขึ้นมา แต่ทีนี้ว่าภาวะที่อย่างนี้ หนูก็คิดว่าหนูจับถูกแล้วว่า จิตมันเข้าไปจับตรงนั้น แล้วก็ถอยกลับมา ก็พยายาม แต่มันก็ยังไม่ชัด แต่ก็ปล่อยมันเป็นธรรมชาติว่าให้มันชัด

หลวงพ่อ : แล้วตอนนี้กำหนดอะไร หนอ.. ?

โยม : ตอนนี้หรือค่ะ ตอนนี้ก็กลับมาพุทโธ แต่ก็รู้ชัดว่าพอถึงตรงนั้น รู้ว่าเป็นอย่างนั้น รู้หนอ.. แต่ก็ใช้พุทโธด้วย

หลวงพ่อ : ใช่.. เราจะพูดนะ คำว่าหนอ หรือคำว่านามรูปต่างๆ ความจริงแล้วนี่มันก็เป็นสมมุติอันหนึ่งเหมือนกันหมดเลย แต่มันผิดคือมันผิดตรงที่ว่า มันผิดตรงเป้าหมายเจตนาไง เพราะเจตนาบอกว่าสมถะเป็นสิ่งที่น่ากลัว

เราก็เลยไม่ยอมให้จิตมันลงสมถะ เราต้องการวิปัสสนาไง ความจริงไอ้หนอไม่หนอ หรือว่าพุทโธต่างๆ นี่ ถ้าท่องโดยข้อเท็จจริงนะ มึงจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าข้อเท็จจริงมันเกิดนะ มันจะไปเกิดอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่มึงคิด นี่มันผิดที่ตรงเป้าหมาย เพราะเป้าหมาย เราไปตั้งเป้าหมายไว้อีกอย่างหนึ่ง แล้วข้อเท็จจริงมันจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง

นี่..มันขัดแย้งกันตรงนี้ไง แต่ถ้าพุทโธๆ นี่คือว่า เราพุทโธไปโดยพุทโธเลย เป้าหมายให้มันลงตามความเป็นจริงของมันเลย เราไม่มีเป้าหมาย

แต่อภิธรรมนี่เขามีเป้าหมาย เป้าหมายคือว่ารังเกียจสมาธิ รังเกียจสมถะ เพราะสมถะไม่เกิดปัญญา

พอรังเกียจปั๊บนะ เราตั้งเป้าหมายไปอีกเป้าหมายหนึ่ง แต่เราทำไป ความจริงมันไม่เป็นเป้าหมายนั้นหรอก เพราะอย่างที่ว่า พูดเมื่อกี้นี้น่ะ วิญญาณที่พวกมึงเข้าใจกันนะว่าปัญญาๆ มันเป็นปัญญาเปลือก เป็นปัญญาอายตนะหมดเลย อายตนะนี่มันเป็นอายตนะของจิต เพราะอายตนะ ตาหู จมูก ลิ้นกายนี่ ถ้าไม่มีจิตรับรู้นะ มันภาพนี่เบลอหมดไม่รับรู้หรอก

แล้วถ้าไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจจริงๆ มันก็คิดของมันเองได้ จริงๆ ก็ลงสู่จิตหมดนี่แหละ จริงไหม อันนี้พอเสียงมันรับรู้อยู่นี่ ที่ว่าหนอ มันกระทบๆ อยู่นี่ เมื่อกี้ที่บอกว่ามันแตกต่าง แตกต่างตรงอารมณ์ที่ลงอันนั้น เราจะชี้ให้เห็นเลยนะ ถ้าคนมีประสบการณ์ มันเหมือนกับเอาประสบการณ์เขามาอธิบาย มันมีพยานเลย ไม่ใช่หลวงพ่อพูดคนเดียวแล้วห้ามคนอื่นเถียง นั่นๆ พูดอยู่นั่นน่ะ มันต้องมีพยานไง

พยานว่าถ้าจิตมันลงเห็นกาย อารมณ์เป็นอย่างไร จิตที่ยุบหนอพองหนออยู่ ที่มันรับรู้ตรงนั้นน่ะ อารมณ์เป็นอย่างไร แล้วเอามาเทียบกันว่าสมาธิกับไม่สมาธิแตกต่างกันอย่างไร แล้วภาพที่เกิดจากสมาธิกับภาพที่เกิดจากจินตนาการน่ะแตกต่างกันอย่างใด

นี่ปัจจัตตัง พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ พระพุทธเจ้าบอกไม่ให้เชื่อพระพุทธเจ้านะ ไม่ต้องเชื่อ เอ็งไม่ต้องเชื่อ เพราะเชื่อไม่มีประโยชน์เลย แต่ถ้าทำขึ้นมา แล้วตอนนี้พอมันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ เป็นคนเกิดเอง เราถึงจะชี้ให้เห็นเองเลยว่า ถ้าจิตมันลงเป็นอย่างนี้ แล้วถ้าจิตไม่ลง จิตไม่ลง หรือจิตไม่ลงแล้วนะ มันอยู่ที่เจตนาน่ะ

เพราะเจตนาบอกใช่ไหม เจตนาบอกสมถะมันเป็นสมถะ เพราะอภิธรรมมา โอ้โฮ.. บอกสมถะ ทุกคนกระโดดเลย กลัวมากเลยกลัวสมถะ

“บอกไอ้ห่าเอ้ย.. พวกมึงนี่แปลกเนอะ กลัวตังค์ว่ะ ถ้าตังค์ไม่เอาให้กูเถอะ”

โยม : เขาจะกลัวว่าเราไปติดที่สมถะ แต่เราไม่ติด

หลวงพ่อ : ใช่.. เพราะเจตนาเขาอย่างนี้ใช่ไหม คิดดูสิว่า เรายังบอกเลยพวกนี้นะ เขาบอกเขาทำงานกัน แต่เขาไม่มีความอยาก เขาไม่ต้องการตังค์ เอ้อ..แปลกเนอะ แล้วคนที่ทำงานที่ไม่ต้องการตังค์นี่นะ ผลงานนะ มันก็เละนะ เพราะเราไม่ต้องการตังค์ใช่ไหม แต่ถ้ามึงต้องการตังค์ขอผลตอบแทนใช่ไหม มึงก็ต้องตั้งใจทำ แล้วจะได้ผลตอบแทนมา แล้วผลตอบแทน ตังค์คือทุน ทุนคือสมาธิ สมาธิเราใช้คำว่าทุน ถ้าไม่มีทุนจะทำอะไรไม่ได้เลย ไม่มีสมาธินะไม่มีฐานที่ตั้ง ศีล ปัญญาทุกอย่างเกิดบนจิตหมด สติ อะไรทุกอย่างเกิดบนจิตหมด

แล้วอย่างที่ว่าภพนี่เห็นไหม ที่เขาว่าภพนะ ภพก็คือตัณหาเป็นคนสร้าง ถ้าคิดขึ้นมาก็เป็นภพ ไม่คิดก็ไม่เป็นภพ ภูตรูป มหาภูตรูป ภพหยาบ ภพละเอียด นี่ภพหยาบๆๆ นะ แล้วถ้าภพละเอียด แล้วถ้าคิดว่าละเอียดมันก็ต้องใหญ่กว่าๆ

ไม่ใช่.. ดูหลวงตาพูดสิ อวิชชาคือนางสาวจักรวาล เราว่าอวิชชาคือยักษ์คือมาร โอ้โฮ.. อวิชชาน่ากลัวมากเลยนะ หลวงตาบอกว่าอวิชชา โอ้โฮ.. เข้าไปเห็นอวิชชามันสว่างไสว มันผ่องใส ไหนว่าอวิชชาเป็นยักษ์วะ อวิชชามันหลอกกูด้วย มันเรียกกูไปนอนด้วย กูไปจมอยู่กับมัน อวิชชานี่.. ความคิดเรากับความจริงแตกต่างตลอด ถ้าเราไปคิดว่าสิ่งที่เป็นกิเลส อวิชชามันน่าเกลียดน่ากลัว เพราะเราเห็นเป็นโทษของมัน พระพุทธเจ้าเห็นโทษของมัน

พระพุทธเจ้าถึงอธิบายให้เห็นถึงว่าเป็นโทษของมัน แต่ถ้าเวลามันอยู่กับเรา มันผ่องใส มันละเอียดลึกซึ้งเกินกว่าเราคาดการณ์มันไม่ได้ เหมือนกับคอมมิวนิสต์ เขาวาดคอมมิวนิสต์เลยนะ ยักษ์ใหญ่โตไปหมดเลยนะ แต่คอมมิวนิสต์คือความเสมอภาค คอมมิวนิสต์คือการเห็นใจต่อกัน

นี่ก็เหมือนกัน กิเลสเป็นของน่าเกลียดน่ากลัวเป็นของร้ายกาจ ไอ้เราก็ขึ้นเลยนะ แม่ง ยักษ์ตัวใหญ่ๆ เลยนะ

หลวงตาเข้าไปบอกว่า “โอ้โฮ.. มันสวยยิ่งกว่านางสาวจักรวาลอีก”

ไหนว่าอวิชชามันน่ากลัววะ เพราะมันเป็นอย่างนี้เราถึงติดมัน นี่มันกลับกันเห็นไหม นี่ภพน้อย ภูตรูป มหาภูตรูป ภูตรูปเขาว่าภพมันจะเกิด เขาว่าภพมันจะเกิด เกิดเพราะตัณหา ไม่มีตัณหาก็พระอรหันต์ไง แล้วไม่มีตัณหานะ ตัณหามันอยู่บนอะไร ภพน้อย ภพใหญ่ เวลาเขาอธิบายตรงนี้เรางงมากเลย กิเลสสวะ อวิชชาสวะ ภวาสวะ มันเป็นตัวหลักเลย

แล้วที่ว่าภพที่เกิดจากตัณหา คือตัณหามันสร้างภาพ มันคิดขึ้นมามันถึงมีภพ เขาเรียกความคิดเป็นภพไง ภพน้อยภพใหญ่ เพราะเขาไม่เคยรู้จักภพน้อยภพใหญ่ เขาไม่รู้จักอะไรเลย อันนี้มาตรงนี้ไง มาตรงนี้เห็นไหม เวลาเรียกวิญญาณอายตนะนี่ภพน้อย

แล้วนี่โลกเขารู้กันได้แค่นี้ไง ธรรมะพระพุทธเจ้านี่สุดยอดเลย แต่คนสอนนะวุฒิภาวะไม่ถึง พระพุทธเจ้าพูดอย่างหนึ่งตัวเองตีความไปอีกอย่างหนึ่ง

แล้วถ้าตีความต่างจากความคิด เราคิดได้จะหาว่าเราเป็นคนครึ คนล้าสมัยไง ต้องตีความเป็นวิทยาศาสตร์ไง ถ้ากูพูดถึงภพ ภพเห็นไหม เวลาความคิดเกิดขึ้นมา เสียงเกิดขึ้นมานี่รู้นะภพ เออ.. ภพว่ะภพ ไอ้ภพนี่มันภพอาศัย ภพมันจรมาน่ะ ไอ้ภพแท้ๆ นี่ ห่า..มึงไม่เคยเห็นมันนะ เขาถึงบอกว่าไม่มีภพเป็นพระอรหันต์เลย ปล่อยวาง เวรกรรม.. ยิ่งอ่านยิ่งดูนะ ยิ่งเศร้าใจ นี่พูดถึง..เพราะแนวคิดอย่างนั้นกับแนวคิดอย่างนี้ มันอันเดียวกัน

เพราะแนวคิดอย่างนี้เป็นแนวคิดแบบโลก เพราะแนวคิดแบบโลก แล้ววางสเต็ปไว้ พอวางสเต็ปไว้ก็สอนกันมาแบบนี้ไง พอสอนกันมาแบบนี้ พอใครทำได้อย่างนี้ก็ถูกต้อง แล้วพอไปเห็นของจริง พอไปเห็นกาย ถ้าไปบอกเขานะ นี่ยังดีนะ เขาบอกเขาไม่ตอบนะ

ถ้าเขาบอกนี่ผิดแล้ว นี่เห็นนิมิต คนเห็นนิมิตนี่ผิด เอ๊อะ! เห็นนิมิตนี่ผิด งั้นก็ต้องกลับมาถามคนที่เห็น ว่าคนที่เห็นนะผิดหรือถูก ผิดหรือถูกตรงไหน ผิดหรือถูกว่าเห็นแล้วมันได้สลดสังเวช ธรรมะ! ธรรมะไง ปลงธรรมสังเวช! ปลงธรรมสังเวช! สภาวธรรมเกิดแล้ว แล้วจิตเป็นคนปลง พิจารณา แล้วมันสลดสังเวช มันถอดมันถอนอารมณ์ความรู้สึก เอ้.. แล้วว่าใครผิดวะ เอ้.. ใครผิดวะ

ทีนี้เพียงแต่ของอย่างนี้เวลามันเกิด นี่เกิดจริง นี่ปัจจัตตัง เกิดจริง แต่เกิดจริงมันก็ผลจากที่เราปฏิบัติมา ไอ้คำบริกรรมอะไรต่างๆ เห็นไหมเราจะพูดบ่อย เวลาพุทโธๆๆ หลวงปู่เจี๊ยะบอกเลยเขาว่าพุทโธโง่

หลวงปู่เจี๊ยะไปพูดกับพระมหา ถามว่า “แล้วถ้าคนมันโง่ มันอยากปฏิบัติ มันบอกว่าขี้ ขี้ ขี้ มันสงบได้ไหม”

เออ.. เขาบอกว่า “ได้” กำหนดขี้ ขี้ ขี้ ยังสงบได้เลย แล้วยุบหนอพองหนอทำไมสงบไม่ได้ มันสงบได้ แต่มันไปขัดแย้งกันตรงที่เจตนาไง เพราะเจตนาบอกสมถะ มันเป็นสมถะ มันไม่ดี มันไม่เกิดปัญญา

ตรงนี้ ตรงเจตนา ไอ้ตรงเจตนาที่ตั้งเป้ากัน ตรงนี้มันผิด เพราะคนมันไม่เคยผ่านทางมันไม่รู้ ทีนี้พออย่างของพวกเรา ไอ้สมถะคือพื้นฐาน ต้องทำจิตสงบก่อน แล้วอย่างเราพูดบ่อยตอนนี้พยายามมาพูดบ่อย เดี๋ยวพอมันจืดเราก็คงจะข้ามไปแล้ว

เพราะหลวงปู่มั่นบอกว่า ต้นคดปลายตรงไม่มี ต้นคดไง ปฏิเสธไง มันคดไปก่อนละ ถ้าต้นตรงเห็นไหม ต้นตรง ศีล สมาธิ ปัญญานี่ต้นตรง ถ้าต้นไม้มันขึ้นลำต้นตรงประคองไว้ดี มันจะชะรูดขึ้นไปเลย ต้นไม้พอเสร็จแล้ว คดลงดินไปเลย แล้วจะให้มันทะลุไปงอกใต้โลกไปโผล่อีกโลกหนึ่งไง

โยม : อีกอันหนึ่งอันนี้สุดท้าย จริงๆ มีเยอะค่ะ อันนี้ประมาณวันที่ ๒๐ ได้ละ เพราะเข้ามานี่ ๑๓ วันค่ะ ประมาณตี ๒ ก็ลุกขึ้นมานั่งสมาธิ แล้วก็พอจิตนิ่งก็แผ่เมตตาธรรมอัปปมัญญา ทีนี้พอไปน่ะจะเห็นจิตมันเป็นคลื่นนะค่ะ เป็นกระจาย เป็นวง วง วง วง วงออกไป แล้วเราก็ไม่แช่ตรงนั้นนะ พอปล่อยไปแล้วมันเป็นเวลานานเหมือนกัน เพราะนั่งช่วงนั้นมันจะประมาณ ๑ ชั่วโมงน่ะค่ะ ก็กลับมาก็จิตมันก็ยังออกวิปัสสนาได้ แต่ก็ได้ยินข้างนอกก็ยังรู้อยู่ พอกลับมาเสร็จก็ยังเห็นจิตมันเคลื่อนๆ ตัวไปเหมือนกัน ความรู้สึกตอนนั้นที่เมตตามันก็ส่งออกไปค่ะ ก็ทำไปก็รู้สึกดีตรงนั้น ก็เล่าให้พระอาจารย์ฟังเสร็จแล้ว มันเป็นภาวะค่ะ ทีนี้ว่าทำแล้วอย่างนี้ถูกไหมว่า เรารู้

หลวงพ่อ : ถูก.. เมื่อวานพูดใช่ไหม เมื่อวานพูด ฝึกปัญญาเห็นไหม ถ้าเริ่มต้นอย่างนี้ ถูก.. ถูกหมด ถ้าบอกว่าผิดเดี๋ยวเราจะเริ่มต้นกันตรงไหน บอกว่าถูก แต่ถูกนี้ไม่ใช่เป้าหมายว่าที่เราทำสิ้นสุดแล้ว ถูก.. ถูก.. แต่ต้องทำไปเรื่อยๆ ถูกทางไง อย่างเช่นเรา แผนที่ ดูนี่ถูกไหม ถูก.. แต่ยังไม่ได้เดินเลย ยังไม่ถึงที่หรอก นี่มันถูกไหม ถูก..

โยม : คือมันก็ขึ้นทั้งสมาธิไปกับวิปัสสนาไปอย่างนี้ค่ะ แล้วตอนหลังนี่พอรู้สึกหนูเหนื่อย หนูเลยกลับมาพุทโธ พุทโธ ตรงนี้มันไม่ให้หนูพัก หนูก็พุทโธแอบมาพัก

หลวงพ่อ : เหมือนเมื่อกี้ ที่เราพูดล่ะนะ เมื่อกี้เราพูดไอ้ที่เมื่อวานที่เราพูดน่ะ เวลามันฝึกปัญญา มันไม่ใช่ว่าจิตจะลงอัปปนาสมาธิแล้วเกิดปัญญา แล้วปัญญาจะฆ่ากิเลสเลย มันไม่ใช่หรอก มันต้องฝึกไปเรื่อยๆ ไง ปัญญาต้องฝึก หลวงตาจะพูดบ่อยเลย ปัญญาต้องฝึกฝน ปัญญาจะเกิดเองไม่ได้ ถ้าปัญญาเกิดเองฤๅษีชีไพรเป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้ว ปัญญานี่เราต้องฝึกฝนเหมือนกัน

การฝึกของเรา ฝึกโดยถ้าเป็นปุถุชนนี่ฝึกเป็นโลกียปัญญา ก็ฝึกเข้ามาสู่สมถะนี่แหละ ฝึกเข้ามาสู่ใจสงบ ใจสงบเป็นฐานแล้วนี่เกิดปัญญาอีก มันจะเป็นโลกุตตรปัญญา มันจะเป็นวิปัสสนาไปละ แล้วเรารู้เองนะ รู้เองตรงไหน รู้เองที่ว่า โอ้โฮ..ทำไมมันถอนมันเบาขนาดนี้วะ เมื่อก่อนมันก็ว่างเหมือนกัน ทำไมไม่ว่างอย่างนี้วะ มันว่างต่างกันมากเลย แต่ว่างต่างกันขนาดไหน ถ้ายังไม่สิ้นสุดนะ ว่างอย่างนี้นะ เดี๋ยวเสื่อมหมดเลย

ตอนนี้ว่างมากเลย พอมันเสื่อมหมดเลย มันก็ทุกข์หมดเลยเหมือนกัน นี่มันว่างขนาดไหนแล้ว เราก็ต้องรักษามัน แล้วถ้ามันเสื่อมไปแล้ว เสื่อมก็เสื่อมไป เพราะมันเป็นความจำเป็นของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องมีอาชีพ มนุษย์ต้องออกไปทำงาน ถ้ามันเสื่อมก็คือเสื่อม พอถ้ามันเสื่อมตูมนะ ไปคิดแต่ไอ้นู้นนะ ไอ้ปัจจุบันแม่งไม่เอานะ แล้วเมื่อไรมันจะกลับไปตรงนั้นอีกล่ะ

โยม : คือพอออกมาจากสมาธิเสร็จ ก็กลับมาอยู่ในภาวะชีวิตปัจจุบัน มันก็รู้ว่า เออ.. เรากลับไปทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว ก็เข้าใจว่า เออ.. มันเสื่อมแล้วเรา เอ่อ.. เขาเรียกอะไร ตอนนั้น มันก็จะเห็นว่าปัญญาที่เราเห็นว่ามันอยู่ ว่าเราเข้าใจว่ามันเกิดขึ้น แล้วมันก็หายไป แล้วเราก็ไม่ไปติดกับสิ่งที่เราได้ปฏิบัติมาค่ะ แล้วก็มองไปอย่างนี้ธรรมดา

หลวงพ่อ : เดี๋ยวก็เกิดอีก มันมีได้มันก็เสื่อมได้ เสื่อมได้ก็ต้องมีได้ มันมีได้มันก็เสื่อมได้ มันเสื่อมได้มันก็ต้องมีได้ หลวงตาก็คิดอย่างนี้ ทุกคนคิดอย่างนี้ มันมีมาแล้วก็เสื่อมไป เสื่อมไปมันก็ต้องกลับมา เวลาเราพูดตอนเย็นๆ นะ เราพูดกับพวกนั้นบ่อยเห็นไหม ว่าสมาธิเสื่อม สมาธิเสื่อม ถ้ามึงอยู่ที่เหตุนะ มึงกำหนดพุทโธตั้งสมาธิไว้นะ มึงถีบสมาธิ สมาธิยังไม่หนีจากมึงไปเลย เพราะเราสร้างเหตุของเราไว้

อันนี้พอมันเสื่อมเข้าไปแล้ว เหตุไม่ได้สร้างไง เจอแต่ผลไง โอ๊ย.. สมาธิเสื่อมๆ แล้วพอ เห็นไหม เขาบอกว่าบางทีเขาพูด ตรงนี้เรารับไม่ได้ เขาบอกว่า สติ สมาธิ ปัญญาเป็นอนัตตา กูบอกว่า สติ สมาธิเป็นอนัตตาได้ยังไง สติ สมาธิเป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มันเป็นอนิจจัง ใครบอกมันเป็นอนัตตา

เพราะถ้าเป็นอนัตตานะ อนัตตาคือมันไม่มี ไม่ต้องทำอะไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นอนิจจังนะ มันเกิดได้เสื่อมได้ มันเสื่อมได้ มันเกิดได้ เพราะเป็นอนิจจัง มันมาก็ได้ มันไปก็ได้ มันมีของมันตลอดเวลา นี่มันเป็นอนิจจัง เขาบอกสติมันเป็นอนัตตา ทุกอย่างเป็นอนัตตา

อนัตตาคือมันไม่มี ไม่มีก็ไม่ต้องทำ แล้วอยู่เฉยๆ แม่งเกิดเอง ไอ้ของเราไม่เกิดเองหรอก มันเป็นอนิจจัง มันมีได้ก็เสื่อมได้ มันเสื่อมได้ก็มีได้ พอมีได้เราก็ทำขึ้นมา พอมันเป็นอนิจจัง เราสร้างขึ้นมาจนมันมั่นคง จะว่าเป็นอนิจจังก็ไม่ได้ มันก็มั่นคงของมัน มันจะชำนาญของมัน แล้วชำนาญของมัน มันเข้าไปรื้อค้นขึ้นมา ไปรื้อค้นขึ้นมามันเห็นสภาวะอนัตตา

สภาวะอนัตตานี้ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นที่เหยียบย่ำไปของจิต อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา มันก็เป็นการเหยียบย่ำไปของจิต แม้แต่ตัวอนัตตาก็ไม่ใช่ธรรม เพราะตัวอนัตตานี้เป็นตัวสภาวะ

สภาวธรรม.. สภาวธรรม.. สภาวธรรมเป็นอนัตตาใช่ไหม มันแปรปรวนใช่ไหม แล้วถ้าอนัตตาเป็นสภาวธรรม แล้วสภาวธรรมมันเป็นอนัตตา แล้วมันแปรปรวนอยู่อย่างนั้น แล้วมันเป็นธรรมตรงไหนวะ เออ! มันเป็นธรรมตรงไหนวะ ก็มันยังแปรปรวนอยู่นะ มันยังเป็นอนัตตาอยู่ มันเป็นธรรมตรงไหน โอ๋..เมื่อวานก็มาให้นั่นน่ะ เขาบอกนิพพานก็เป็นอนัตตา

เออ..กูว่า ก็ไหนมึงไปเถียงกับเขา ไปเถียงกับเขาว่า นิพพานเป็นอัตตากับธรรมกาย ว่านิพพานเขาเป็นอัตตานี้ นี่หลวงตาบอกนิพพานเป็นนิพพาน มันก็บอกนิพพานเป็นนิพพานแล้วนี่ ทำไมบอกนิพพานเป็นอนัตตาอีกแล้ว

คือคนมันไม่มีหลักไง พูดวันนี้อย่างหนึ่ง พรุ่งนี้อีกอย่างหนึ่ง เดี๋ยวพูดคราวหน้าผิดอีกแล้ว เขาก็บอกนิพพานเป็นอนัตตานะ สภาวธรรมเป็นอนัตตา นิพพานเป็นอนัตตา

คือว่าเวลามันพูดไปนี่นะ คนมันไม่มีหลักเวลาพูดๆ อะไรไป มันไม่มีหลักไง มันพูดแบบว่ากลอนพาไปนะ เสร็จหมดล่ะ! แล้วไปจำไอ้คนโน้นมาหน่อยหนึ่ง จำคนนี้มาหน่อยหนึ่ง อะไรคำไหนเป็นคำไฮไลท์ ก็จำเขามาหน่อยหนึ่ง พอจำเขามา ไอ้... รู้แต่จำมา ขยายความไม่ถูก เขาหมายความว่าไง.. ไม่รู้

เพราะไอ้คำนี้นะขอพูดอีกทีหนึ่ง ไอ้คำว่าได้ฌาน ๒ แล้วนี่ ได้ฌาน ๒ ผิด.. ได้ฌาน ๒ ถ้าได้ฌาน ๒ นี่ยังพอฟังได้นะ ไอ้นี่ได้ฌาน ๒ ได้ฌาน ๒

ถ้าฌาน ๒ นี่มันต้องมีระดับของจิต ระดับของจิตนี่มันพัฒนาขึ้นมา ฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ นี่ แล้วฌานนะ ฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ แล้วก็อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มันเป็นอันหนึ่ง

ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันเป็นอีกอันหนึ่ง ถ้ามันเป็นฌานทำไมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพูดถึงสมาธิล่ะ ทำไมไม่พูดถึงฌานล่ะ แล้วหลวงตาท่านก็บอกไม่พูดเรื่องฌานเลย อันนี้พอบอก ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ มันเป็นระดับไหนว่าฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔

แล้วใครว่า ฌาน ๒ ฌาน ๒ เขาพูดคำนี้ขึ้นมาเขาจะอวดว่ากูรู้ได้กว่าพวกมึง ฌาน ๒ นะ กูสูงกว่าไง แต่ในความรู้สึกเรานะ ไอ้คนพูดก็ไม่มี ไอ้คนตอบก็ไม่มี ถ้ามีพูดอย่างนี้ไม่ได้หรอก

เพราะไอ้ที่มันเห็นๆ มันเป็นอุปจาระ ไอ้ฌานมันเป็นกำลัง ฌานนะนี่จิต ในตัวจิตมีพลังงานมันออกมาอยู่ที่ตัวขันธ์ มันขึ้นก็ลง มันจะมีกำลังของมัน แล้วที่มันเหาะเหินเดินฟ้านี่ มันอยู่ที่ตัวนี้ มันไม่ได้อยู่ที่ตัวจิต ทีนี้พอมันเข้ามาอยู่ที่ตัวจิตไง ตัวสมาธิมันอยู่ที่ตัวจิต ทีนี้ตัวจิต ตัวจิตมันเป็นตัวรู้

ฉะนั้นตัวรู้อย่างที่ว่าเวลาเข้าอัปปนาสมาธิเลย คำพูดนะ นี่มันพูดไม่ได้อันนี้ อันหนึ่ง แล้วตอนนี้นะ คำพูดของเขา มันจะไม่ไปไหนหรอก มันจะย้อนกลับมาที่อภิธรรม เพราะอภิธรรมกับดูจิต สรุปแล้วก็คือสัญญาทั้งหมด

คือจำธรรมะพระพุทธเจ้ามาท่องบ่นด้วยกันทั้งหมด แล้วมันจะลงอันเดียวกัน แล้วสุดท้ายแล้ว อภิธรรมบอกว่ากึ่งพุทธกาลไม่มีพระอรหันต์

แต่พระอรหันต์ที่นั่นมันกลับไม่มี มันจะไปคุยกันยังไงก็ไม่รู้ละ เพราะอภิธรรมบอกไม่มีพระอรหันต์ แล้วเขาบอกว่าเขาจบกระบวนการแล้ว รู้เรื่องมรรคผล

ถ้าเป็นคลื่นอย่างนี้ เราบอกถ้าเป็นคลื่น มันเป็นนิมิตมันเป็นความเห็น นั่นนะจิตส่งออกแล้วล่ะ จิตเห็นนิมิตไง ที่ว่าที่หลวงปู่ดูลย์บอกว่า เห็นนิมิตจริงหรือไม่จริง จริง แต่ฝ่ายหนึ่งจริง มันเห็นจริงๆ นั่นแหละ ถ้าเห็นอย่างนี้มันไม่เป็นประโยชน์ใช่ไหม เราถึงทิ้งกันไง แต่ถ้าเห็นกาย เราบอกว่าเห็นนิมิต มันมีอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต

นิมิตเห็นได้มากมาย แล้วจิตที่เห็นนิมิตเห็นไหม จิตเห็นนิมิตบางคนก็เห็น แล้วนี่คราวนี้ก็เห็นอย่างนี้ บางทีก็อยากเห็นก็ไม่เห็น ไม่อยากเห็นมันก็มา มันมาเพราะอะไร มันมาเพราะคลื่นวิทยุไง คลื่นวิทยุถ้าตรงคลื่นปั๊บ เสียงมันจะมาทันทีเลย

ถ้าจิตของเรามันมีเวรมีกรรม มันมีวาสนาของมัน พอคลื่นวิทยุมันตรงแล้ว พอตรงแล้วมันมา ไม่อยากเห็นนะ ไม่อยากเห็นมันก็มา ถ้าอยากเห็น อยากเห็นว่าคลื่นวิทยุ วอลุ่มมันผิด อื้ออ่า! เสียงมันกวน คืกค่าก! มันก็ไม่เห็นอีกแล้ว จิตมันไวมากนะ พูดถึงนิมิตนี่มันเห็นโดยธรรมชาติของมัน มันเห็นอย่างนี้ ถ้าคลื่นมันตรงปั๊บ มันมาละ แล้วมานี่ มันเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ถ้าไม่เป็นประโยชน์

ถ้าคนเป็นนะ ถ้าภาวนาเป็นนะ พอมันเห็นปั๊บ มันตั้งสติไว้นะ ดับได้ รู้.. จิตถือว่ารู้ นี่คือสิ่งที่ถูกรู้ ถ้าเรารักษาผู้รู้ไว้ สิ่งที่ถูกรู้ดับเลย แล้วเวลาเกิดนิมิตขึ้นมานะ เราไปเห็นอะไรก็แล้วแต่ เห็นเป็นภาพต่างๆ ขึ้นมา แล้วเราสงสัยกันไง ครูบาอาจารย์ท่านชำนาญของท่าน ถ้าจิตมันเป็นกลางนะ ให้ถามตัวเองเลยให้ถามจิตเลย จิตเห็นนี่แล้วย้อนถามตัวมันว่า อะไร! มันจะตอบออกมาเลย

โยม : ถามได้หรือคะ หลวงพ่อคะ สงสัย อย่างนั้นก็เราสงสัยหรือเปล่า ถ้าเราใช้คำถามอย่างนั้น เพราะมันไม่กล้าถาม

หลวงพ่อ : ถามจิตตัวเองเลย แต่ไม่กล้าถาม ถามไม่ได้ นี่พูดถึง คนที่พูดอย่างนี้ต้องคนชำนาญ ถ้าคนไม่ชำนาญนะ พอเราเป็นสมาธินะ คิดดูสิว่าสมาธิเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา แล้วเราจะพูดออกมากับใคร แล้วเราจะถามใคร แล้วเราจะถามยังไง ถามได้เหรอ ถามได้เหรอ ตัวเองยังไม่รู้จักตัวเอง แล้วจะเอาอะไรไปถามล่ะ

แต่ถ้ามันชำนาญนะ พอมันเห็นสมาธิปั๊บ โอ้..เห็นนิมิตปั๊บ..คราวนี้เป็นอย่างนี้โว้ย เออ.. เอามาทบทวน เข้าไปใหม่ ออกมาทบทวน เข้าไปใหม่ อ้าว.. คราวหน้ากูจะทำอย่างนี้ ถ้ามันเห็นอย่างนี้ปั๊บ กูจะตั้งโปรแกรมอย่างนี้ อย่างนี้กูตั้งตรงนี้ มาเริ่มทำกัน อ้าว.. ทำมาแล้วอย่าหัวเราะ

เมื่อก่อนบวชใหม่ๆ นะ เรามีภาค ๑ ภาค ๒ ภาค ๓ เลยล่ะ นั่งสมาธิกลางคืน ทำวัตรตอนกลางคืน ทำวัตรเสร็จนะ นั่งไปทุ่มสองทุ่มจน ๔-๕ ทุ่มเลิกน่ะ

โอ้โฮ.. นี่มันไปเห็นได้หมดเรื่องร้อยแปดพันเก้าเลย แต่ถ้ามันคนภาวนาใช่ไหม พอทำวัตรเสร็จขึ้นศาลา กลับไปกุฏิก็ต่อเลยนะ ภาค ๒ ต่อเลย มีภาค ๒ ภาค ๓ โอ้โฮ.. เป็นอย่างนี้อยู่นานนะ ก็คิดว่า โฮ..กูเก่งโว้ย กูรู้โว้ย บางทีเห็นก็จดไว้เลยนะเหตุการณ์เป็นอย่างนั้นๆ พอถาม ถูกบ้างผิดบ้าง อ้าว.. อ้าว.. เอ้.. มันก็ผิดนี่หว่า ไม่จริงแล้ว พอเริ่มไม่จริงแล้วปั๊บ

แล้วพอไปอ่านประวัติ พอดีไปเจอประวัติหลวงปู่เทสก์กับหลวงปู่หลุย องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๗ ปี องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๑ ปี กลัวนักกลัวหนาเลย พอกลัวนักจะแก้ยังไง จะแก้ยังไง ก่อนนั่งสมาธิ นิมิตไม่เอา สรรพสิ่งไม่เอา เอาความสงบของใจเท่านั้น

พอนั่งพอจิตมันสงบไป พอเรามีสติแล้ว มันก็พุทโธไปเรื่อยๆ พอจิตมันจะลงบ้างไม่ลงบ้างเป็นบางวัน มันไม่ใช่ทุกวันไป เราปฏิเสธตั้งแต่ทีแรกเลยว่า ไม่เอา.. พอมันมาในสมาธิไม่เอา..ไม่เอา..ไม่เอา.. สิ่งที่มันเกิดขึ้น ไม่เอา..ไม่เอา..จิตมันเข้า ลงสู่สมาธิเลย เข้าสู่สมาธิ พอจิตมันมีฐานขึ้นมา

เพราะตอนนั้นพรรษาแรกไม่นอน ๓ เดือนไม่เคยนอนเลย พอจิตมันเริ่มลง เริ่มลงจริงๆ ปั๊บ มันเห็นเป็นของจริง ของจริงมาแล้ว เห็นเป็นก้อนเนื้อ ก้อนเนื้อที่เขาย่างลูกวัว ที่หมุนๆ เห็นไหม ก้อนเนื้อนั่นละ มันหมุน หมุนเข้าหาเราอย่างนี้เลย นั่งสมาธิอยู่นะ นั่งสมาธิอยู่ ที่ว่าเห็นกาย ที่ดูพิจารณากาย เราเห็นเป็นก้อนเนื้อเลย มันกลิ้งมาทับเราเลย นั่งสมาธินี่ก้อนเนื้อวิ่งมาทับ แตกออกจากสมาธิหมดเลย โอ้..ขนาดนั้นเลยนะ ของจริง.. ของจริงก็ทำไม่เป็น

พรรษาแรกทำไม่เป็น รู้เห็นเหมือนกันเพราะมุมานะมาก แต่ทำไม่เป็น พอทำไม่เป็น พอออกพรรษาแล้ว ตอนนี้ก็ไม่มีครูบาอาจารย์สอนไง กูก็ไปกูเรื่อยธุดงค์ไป โอ้โฮ.. หัวหกก้นหวิด สมาธิมันเสื่อมไง โอ๋.. แบกบริขารไปนะ ไปแม่งทั่ว ไป.. ไป.. สุดท้ายก็กลับมา อย่างนั้นก็ไปไม่รอดละ พอไปไม่รอดก็กลับมาพิจารณาจิตน่ะ ปัญญาอบรมสมาธิน่ะ แล้วมันลงเรื่อย ลงเรื่อยนะ เอ้..ทางนี้ดีนี่หว่า ทางนี้ดีนี่หว่า พอมันมาถูกทาง พอมาถูกทางซัดเข้าไป คราวนี้ได้เรื่องเลย ไปเลย

ทีนี้เราทำมาหมดแล้ว ฉะนั้นถึงบอกที่ว่าถามเถิม มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้เพราะอะไร เพราะเรา..คิดดูสิบวชพรรษาแรกนะ ไม่นอนเลย ๓-๔ เดือนแล้วทำนี่ เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง มันก็อย่างนี้ผิดๆ ถูกๆ อย่างนี้ แล้วพอผิดๆ ถูกๆ เราพูดนี่นะ มันเป็นสิ่งที่จับต้องได้หมด แล้วเวลาจิตของมันเป็น มันเหมือนเราคันอยู่กลางหัวอก อื้อฮือ.. ทำอะไรไม่ได้เลยอย่างนี้ เวลามันเป็นน่ะ แล้วมึงจะทำยังไง มันก็ฝึกของมันไป พลิกของมันไป ทำงานไป จนมันทำของมันได้

อันนี้พอมันเห็นคลื่นนี่ เห็นคลื่น เห็นอะไรต่างๆ นี่ เราเห็นอย่างนี้ ถ้าเห็นกายนี่ถูก

โยม : มันอย่างนี้ค่ะ จิตเป็นอย่างนี้ มันก็เห็นเป็นอย่างนี้ ไป.. แต่เราไม่ปรารถนาจะเห็นมัน

หลวงพ่อ : หยุดสิ ก็พุทโธหยุดมัน

โยม : ก็ออกไปข้างนอก กลับมามันก็ยังปรากฏอยู่อีก

หลวงพ่อ : อย่างนี้นะ ได้ยืนยันเลย ยืนแบบหลวงตา หลวงตาบอกว่าทุกคนมันต้องตรวจสอบ ทุกคนมันฝึก ลองมาทั้งนั้นน่ะ ถ้าไม่ลองมันคาใจ หลวงตาท่านบอกว่าท่านเคยเป็นนะ พอจิตท่านสงบขึ้นมา มันจะเห็นแบบไฟพะเนียงน่ะ หลวงตาพูดบ่อยเห็นไหม เห็นเป็นไฟพุ่งขึ้นมา

หลวงตาท่านพูด แล้วท่านก็อยากจะรู้ว่า ไฟมันจะพุ่งขนาดไหน ตามไฟนี่ไป ไฟพะเนียงนี่ตามมันไปเรื่อยๆ มันไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ ไป ไป ไป ไป ไปไม่มีวันจบ เอ้ย.. กูไม่ไปดีกว่า กูกลับ

นี่..หลวงตาท่านพูดเองไปฟังสิ ตามไฟพะเนียงไปไง พอจิตมันเป็นเหมือนไฟพุ่งออกไปใช่ไหม ท่านก็ตาม ตามไปดูว่า มันจะจบสิ้นที่ไหนไง สงสัยไง วันหลังนะ เอ้อ..กูไม่ไปกับมึงหรอก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันเกิดจากจิต กลับมาที่จิตมันก็จบ มันเกิดจากจิตนี่แหละ แล้วจิตมันตามมันไปมันก็เป็นเงา มันก็ไปเรื่อย

คลื่น! เกิดจากจิตแล้วออกดูมันไป มันเดี๋ยวเห็น เดี๋ยวไม่เห็น เพราะเห็นไม่เห็นปั๊บ ว่าจิตมันสงบหรือไม่สงบ ถ้าจิตมันดีก็เห็นใส พอจิตมันขุ่นมัว มันก็มัวๆ ว่ะ ถ้าจิตมันดีไอ้นี่ก็ดีด้วย จิตมันไม่ดีไอ้นี่มันก็ไม่ดีด้วย แล้วต่างคนก็ต่างดูกันไปดูกันมา

โยม : แสดงว่านะคะหลวงพ่อ มันก็ไปเสร็จแล้วเราก็กลับ ไปตรงอื่นน่ะวิปัสสนาไปจุดนั้นจุดนี้อีก กลับมาเสร็จก็ยังเห็นมัน แล้วอีกสักพักหนึ่ง เราก็จะเห็นกำลังคลื่นมันอ่อนตัว เราก็รู้ละ เอาละมันเริ่มเสื่อมละ

หลวงพ่อ : นั่นล่ะ.. ดูจิตเห็นไหม นั่นล่ะ.. คลื่นมันเกิดจากจิต

โยม : แล้วก็จบ

หลวงพ่อ : ฉะนั้นพุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ทำให้ตรงนี้มันมั่นคง แล้วอย่างนี้เราก็เห็นใช่ไหม แล้วอย่างนี้ปั๊บ เราก็ออกดูออกรู้ ออกพิจารณาได้ นี่ฝึกปัญญาไปเรื่อยๆ ทุกคนไปจากนี่แหละ เราไปจากที่เราเป็นไม่เป็นก็นี่แหละ เวลามันจิตมันดี เราก็ลองพิจารณาดู ใช้ปัญญาดู ว่าหลวงพ่อบอกว่า ไม้ดิบๆ เว้ย มันก็ถูไปเรื่อย ไฟขึ้นไม่ขึ้น กูก็ลองถูดู ไม่ขึ้นก็เออ.. กูได้ลองแล้ว นี่ก็ใช้ปัญญาคิดไปเรื่อย พิจารณาไปเรื่อย ไม่เป็นไร

โยม : ค่ะ คือมันเป็นอย่างนี้นะค่ะ ระหว่างจิตคิดกับจิตรู้ ตอนหลังพอมันจะเริ่มละเอียดขึ้น มันจะรู้ว่าโอเค จิตรู้นี่นะมันจับตรงนี้นะ แล้วพอคิดนะมันจะเริ่มขยับสูงขึ้นนะ

หลวงพ่อ : เห็นยัง เห็นยัง

โยม : มันจะแบบไวขึ้น ที่จะจับความคิด

หลวงพ่อ : ใช่.. ใช่.. มันสลัดทิ้งได้ไง

โยม : ค่ะ แล้วพอเรารู้คิดปุ๊บ เราก็ทิ้ง

หลวงพ่อ : ห้ามไม่ให้มันสงสัย ถ้ามันสงสัยนะ อะไรเป็นคิด อะไรเป็นรู้ไง แต่ถ้ารู้แล้วนะ โฮ.. ของเล่น โธ่..เราไม่เคยพูดมากนะ ธรรมดาเราสอนพุทโธ พุทโธนี่ แต่เราเอง เราไม่ใช้พุทโธเลย เราใช้กำหนดรู้ถอยกลับมาเลย รู้คือออกรู้ หลังผู้รู้คือตัวจิต ปุ๊บ! เราไม่ต้องใช้อะไรเลย อันนี้พูดอย่างนี้ไม่ได้ แม่งถ้าสอนๆ ไปนะ ฉิบหายเลย เตลิดเปิดเปิงเลย จับกันไม่ถูกเลย พุทโธ พุทโธ พุทโธก่อน พุทโธก่อน พุทโธให้ได้ก่อน พุทโธให้ได้ กำหนดรู้ คืน กลับ ลง จบ

โยม : แต่มันยังไม่ค่อยชัด

หลวงพ่อ : แต่เราไม่สอนใครเลยนะ ไม่สอนใครและไม่พูดให้ใครฟังด้วย กลัวเละ กลัวเละ เละนะมึง ถ้าไม่ชำนาญเละเลย

ฉะนั้นไม่ชำนาญ พุทโธซะ พุทโธไปก่อน เกาะให้ได้ มีอะไรเกาะไว้ก่อน อย่าเพิ่งทิ้ง เพราะพุทโธเราก็คิดขึ้นมา วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ กำหนดรู้ กำหนดรู้ก็ยังหยาบเลย กลับมาพั๊บ ใครเป็นคนกำหนด ใครเป็นคนส่งออก ย้อนกลับมันมา

โยม : หนูก็เริ่ม เริ่มใช้คำถามแล้ว

หลวงพ่อ : เพราะมันเห็น มันรู้เห็นไหม ของหยาบๆ อย่างนี้หลอกเด็ก ของโกหกของหลอกทั้งนั้น พั๊บๆๆ เลย อันนี้เพียงแต่ว่ามันไปพูดให้ใครฟังไม่ได้ ไปพูดให้ใครฟังมันออกข้างนอกหมด ของจริงมีอย่างหนึ่ง

เราต้องรู้วุฒิภาวะของคน ใครรับได้ ไม่ได้ คนจะมีวุฒิภาวะแค่ไหน จะสอนเขายังไม่รู้อะไรเลย เด็กมานะ อ้าว..ยกโต๊ะตัวนี้ที ยกโต๊ะ.. มันยังยกยาคูลท์ ยกโต๊ะยังไงไหว ไอ้ห่า..ไม่ใช่ผู้ใหญ่มันจะยกได้ แล้วเด็กมานะ กูให้ยาคูลท์ขวดมันดีใจตายห่าเลย เด็กนะวุฒิภาวะเขาแค่นั้น จะสอนคนมันต้องดูตรงนี้ มันแค่ไหน รับได้แค่ไหน คนมีความสามารถแค่ไหน ไม่ใช่มาก็แม่งเหมือนกันหมด ไม่ได้หรอก ไม่ได้

อันนี้พูดถึงนิมิต นิมิตก็คือนิมิต นี่คือประสบการณ์ แล้วพออย่างนี้ มันจะถูกไม่ถูก แล้วทำไปเรื่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วมันจะละเอียดไปเรื่อยๆ ทุกอย่างสันทิฏฐิโก ปัจจัตตังรู้จำเพาะตน รู้จากการกระทำของตัว ตัวเองทำเข้าไป ฝึกเข้าไป คนเราจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะของใครของมัน ฝึกจิตดวงนั้นให้เข้มแข็งขึ้นมา จิตดวงนั้นจะมีประโยชน์ขึ้นมา จากความขยันหมั่นเพียรของคนๆ นั้น เนาะ จบแล้ว