ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คุณธรรมชี้

๑o ม.ค. ๒๕๕๓

 

คุณธรรมชี้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

หลวงพ่อ : อ้าว..โยมพูดเลย ที่ประเด็นที่จะพูด ที่มานี่ ที่มีปัญหา

โยม : ทีแรกคือไม่ค่อยจะมีวัดป่าที่ว่า ปกติที่เราไม่พูดกันอย่างนี้พูดถึงในแง่ของ เป็นรูปแบบ แล้วก็ทุกที่ คือมันจบหรืออะไรก็แล้วแต่ คือไม่คิดว่าจะมีวัดป่า ซึ่งมันแตกต่าง

หลวงพ่อ : ใช่.. กรณีโยมพูดนี่นะ แต่เดิม กรณีโยมพูด พอโยมพูดคำนี้ว่า ชี้ประเด็นหรือว่าวัดป่าที่ คำว่าเสียงชี้ในความถูกต้องนี่ กรณีอย่างนี้มันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ธรรมดานะ คำว่าธรรมดา ธรรมดาของผู้ที่ขาวสะอาดน่ะ ธรรมดาของเราหมายถึงว่า หลวงตานี่ ท่านปฏิบัติท่านเรียนมานะ ตอนท่านอยากปฏิบัติ พอท่านออกบวชแล้ว ท่านก็ไปดูหนังสือ ไปศึกษาประวัติพระพุทธเจ้า พอศึกษาก็อยากไปสวรรค์ พอดูสวรรค์ อ้อ สวรรค์ยังต้องเกิดต้องตาย อยากไปพรหม พอไปศึกษาพรหม พอพรหมก็ต้องเกิดต้องตาย ก็อยากไปนิพพาน นี้พอไปนิพพานแล้วนี่

หลวงตาท่านจบมหา จบมหาคือทางวิชาการ ท่านค้นคว้าหมด เพราะมหาต้องเรียงความได้ คือ แปลบาลีได้ ทุกอย่างเข้าใจได้หมด ก็ยังสงสัยอยู่นี่ไง ยังสงสัยว่า

“ในปัจจุบันนี้ นิพพานยังมีจริงหรือเปล่า ถ้าใครชี้ให้ได้จริงจะถวายชีวิตนี้ให้กับพระองค์นั้น ให้กับครูบาอาจารย์นั้นชี้นำไปตลอด”

นี่โดยปกติเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น แม้แต่หลวงตาก่อนที่ท่านจะปฏิบัติท่านก็มีความคิดอย่างนี้ แล้วพอมีความคิดอย่างนี้ปั๊บนะ แล้วพอเราปฏิบัตินี่วัดป่า คำว่าวัดป่า วัดป่าคือภาคปฏิบัติ

ปริยัติคือทางวิชาการ วิชาการคือว่าเราเรียนทฤษฎีใช่ไหม เราก็ต้องลงช็อป เราก็ต้องฝึกงาน นี้การฝึกงานน่ะ การปฏิบัตินะ งาน.. ผลงานมันจะเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ แต่ตอนนี้เป็นนะ อย่างทางวิชาการเห็นไหม พวกเศรษฐศาสตร์ พวกนักการปกครอง เขาจะออกไปบริหาร บริหารเสร็จแล้วนะ เขาเสียดายความรู้เขา เขากลับไปสอนที่มหาวิทยาลัยอีก

ถ้าเราอยู่ในวงการวิชาการโดยปกติ เราจะไม่มีประสบการณ์จริงที่เอาไปฝึกคน พอคนนี้ประสบความสำเร็จ เดี๋ยวนี้ทางอเมริกา หรือทางยุโรป เขาจะเชิญบุคคลที่ประสบความสำเร็จไปเลคเชอร์ เพื่อเป็นประโยชน์กับพวกนักศึกษา

ทีนี้ถ้าเรามีแต่ทฤษฎี เราไม่มีภาคปฏิบัติ คือ เราไม่ประสบความสำเร็จ เราไม่มีสิ่งใดๆ แล้วเราจะเอาอะไรไปสอนเด็ก พอไปสอนเด็ก ทีนี้เราเป็นเด็ก ความจริงอายุมากอายุน้อยขนาดไหน เราก็เป็นเด็ก เป็นเด็กโดยที่วุฒิภาวะของจิตมันเป็นเด็ก เราไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้สัจธรรมนะ แต่มันรู้โดยอวิชชา รู้โดยความไม่เข้าใจ นี่ความไม่เข้าใจก็ต้องการตรงนี้ไง ต้องการคนชี้ ชี้ที่แม่นยำ ต้องการคนชี้ด้วยความแม่นยำ ถ้ามีการชี้ด้วยความแม่นยำ จะทำให้การปฏิบัติเรามั่นคง แล้วมันมีทางไปได้

หลวงตาถึงบอกว่า ถ้าใครชี้อันนี้บอกเราได้ เราจะมอบกายถวายชีวิตกับครูบาอาจารย์องค์นั้น แล้วมันก็อยู่ที่วาสนา เพราะว่าเราฟังประวัติหลวงตา หลวงตาท่านไม่ค่อยเปิดนะ แต่ท่านเปิดมาเรื่อยๆ ตอนที่ท่านมาจากจักราชแล้วนี่ ท่านมาที่บ้านตาดมาทำกลดใช่ไหม แล้วหลวงตาอยู่ทางอุดรฯ (หลวงปู่มั่น)อยู่ทางบ้านผือ บ้านผือทางหนองคาย ท่านก็ตามไปนั่น พอตามไปนั่นไปเจอ ไปเจอหลวงปู่กว่า หลวงปู่กู่ หลวงปู่กว่าสองพี่น้องนั่นน่ะ นั่นก็พระอรหันต์นะ

แล้วฟังหลวงตาท่านเล่าให้ฟังเอง ท่านเพิ่งเปิดออกมา แล้วประวัติก็มี เราไปสืบประวัติอยู่ พอสืบประวัติว่า หลวงตาท่านเป็นมหา ท่านอุปัฏฐากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียร เป็นคนดีมากๆ นี้พอไปพักที่หนองผือ วัดอะไร จำไม่ได้ทางหนองคาย เราจะเข้าบ้านผือ รอไปหาหลวงปู่มั่น ก็ไปอยู่ที่นั่น พอไปอยู่ที่นั่นปั๊บ หลวงปู่กว่านี่ก็พระอรหันต์นะ ก็ชี้ได้ถูกต้องนี่แหละ ก็พยายาม เห็นว่า พวกเราผู้ที่เราเห็นบุคคลากรที่ดี เห็นคนที่ดี ใครไม่อยากได้ ใครๆ ก็อยากได้

จะขอให้อยู่กับท่าน ท่านก็มีธงแล้วไง มีธงว่าจะไปหาหลวงปู่มั่น พอหลวงปู่กว่าขอให้อยู่ ท่านก็ยังไม่รับปาก พอไม่รับปากก็ไปบอกกับโยม หลวงปู่กว่าไปบอกกับโยม บอกให้พวกญาติโยมช่วยกันนิมนต์ให้หลวงตาอยู่กับท่าน ท่านก็ไม่รับปาก สุดท้ายแล้วท่านก็ไปหาหลวงปู่มั่น

ถึงบอกว่าผู้ชี้ที่ถูกต้อง คำนี้สำคัญ พอผู้ชี้ที่ถูกต้องไปหาหลวงปู่มั่น เพราะมันเป็นบุญญาธิการ อย่างที่พระพุทธเจ้ามีบุญญาธิการ หลวงปู่มั่นท่านบอกท่านปรารถนาพระโพธิสัตว์เหมือนกัน ท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า

ทีนี้สุดท้ายท่านลาเห็นไหม ในประวัติของหลวงปู่มั่น แม้แต่คู่ครองที่ไม่ได้เสวยภพไง เพราะต่างคนต่างสร้างมา จะเป็นเหมือนกับพระพุทธเจ้าต่อไปข้างหน้า สุดท้ายแล้วท่านสละ พอท่านสละท่านบอกว่า ท่านมีความคิดไง ท่านมีความคิดว่า

“ถ้าจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องเกิดต้องตายต้องทุกข์ยากไปอีกยาวไกล นี้เป็นพระพุทธเจ้ากับเป็นพระอรหันต์มันก็เท่ากัน”

“พระอรหันต์กับพระพุทธเจ้านี่เท่ากันด้วยความสะอาด บริสุทธิ์ แต่มันต่างกันมหาศาลด้วยอำนาจวาสนาบารมี”

เพราะกว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้เราต้องเสียสละมหาศาลเลย ไอ้ความเสียสละมหาศาลมันเป็นบารมี เป็นผลให้จิตดวงนี้มันมีอำนาจวาสนา

อย่างที่พระพุทธเจ้าทำอะไรก็จะมีคนเชื่อถือ เชื่อถือเพราะเราได้สร้างสมบุญบารมีมา แต่สร้างขนาดนี้ สร้างอย่างหลวงปู่มั่นก็เป็นพระอรหันต์ได้ พอเป็นพระอรหันต์ได้ คำว่าพระอรหันต์คือความสะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน พระอรหันต์กับพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ต่างกันที่พระพุทธเจ้า เอกนามกิง คือ หนึ่งเดียวแล้วมีอำนาจวาสนาบารมี

หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า พระอรหันต์เหมือนกัน ก็เลยสละว่าเป็นพระอรหันต์ก็พอ ไม่ต้องเป็นพระพุทธเจ้า ขอเป็นพระอรหันต์ ก็เลยสละพุทธภูมิ

แล้วมาปฏิบัติเห็นไหม ประสบการณ์จะสูงมาก พอสูงมาก เราจะบอกว่า ท่านมีบุญญาธิการ พอมีบุญญาธิการปั๊บ ท่านเล็งญาณได้เห็นไหม เล็งญาณได้ถึงรู้ว่าเทวดา อินทร์ พรหม มาฟังเทศน์เหมือนพระพุทธเจ้าเลย แล้วเล็งญาณไปว่าอนาคตจะมีพระที่จะมาสืบต่อจากท่าน ท่านถึงได้บอกนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่าจะมีพระหนุ่มๆ จะมาสืบต่อจากท่าน

แล้วพอท่านพูดกับพระ หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังเหมือนกันว่า เขามาหาเราแล้ว แต่ยังไม่ยอมเข้ามา นี่หลวงปู่มั่นพูดคำนี้นะ หลวงปู่เจี๊ยะก็เล่า แต่สุดท้ายแล้วนี่ พอไปฟังจากหลวงตาว่า หลวงปู่มั่นอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง หลวงตาพอดีเพิ่งไปเรียนหนังสือ ไปแอบดูหลวงปู่มั่นที่ช่องหน้าต่างน่ะ รูหน้าต่าง

“มาหาเราแล้ว มาเจอกันแล้ว แต่ยังไม่เข้ามา” รู้ขนาดนั้นน่ะ เราจะเอากรณีนี้มาเทียบกับว่า ไปอยู่กับหลวงปู่กว่าไง หลวงปู่กว่าก็อยากได้ แต่หลวงปู่มั่นท่านมีอนาคตังสญาณเห็นไหม ท่านดูของท่านว่าจะต้องมาอย่างนั้น แล้ววันที่ไปน่ะ วันที่พอหลวงตาเข้าไปที่บ้านโคกน่ะ ท่านเดินจงกรมอยู่เห็นไหม มาเดินจงกรมอยู่

เดินจงกรมอันนี้นะ มาเทียบกับหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่มั่นอยู่ในป่า สุดท้ายแล้วหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนขึ้นไปหา ขึ้นไปเพื่อจะไปหาท่าน หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนอยู่ที่กุฏิกำลังคุยกันอยู่ พอคุยกันอยู่ ดูสิ..รถเข้ามาจอดกึ๊ก หลวงปู่มั่นก็เดินลงมาเลย หลวงปู่ฝั้นถามว่า “ครูจารย์ ครูจารย์ไปไหนน่ะ”

“อ้าว..ก็มารับท่านไง” หลวงปู่มั่นนี่นะท่านมีอนาคตังสญาณว่า ใครจะเป็นประโยชน์เป็นหลักเห็นไหม หลวงปู่ฝั้นน่ะ ท่านลงมารับเองจากวัดเจดีย์หลวงเลย

ทีนี้หลวงตาไปหาหลวงปู่มั่นที่บ้านโคกน่ะ หลวงปู่มั่นมาเดินจงกรมเลย เดินเข้ามาปั๋ง..เอาเลย ท่านรู้ของท่านน่ะ นี้พอรู้ของท่าน จะเข้ามาที่ว่าต้องชี้นำให้ถูกต้องนี่ไง พอเข้ามาปั๊บ “ท่านจะมาหานิพพานเหรอ นิพพานอยู่ที่ไหน นิพพานไม่ใช่อยู่ในวัตถุอยู่ในที่ต่างๆ เลย นิพพานอยู่ที่ใจ”

แต่ว่าไม่ใช่จิตมีนิพพานอยู่แล้ว นิพพานอยู่ที่ใจ ไม่ใช่จิตมีนิพพานอยู่แล้ว คนละเรื่องกัน นี้พอนิพพานมีอยู่ที่ใจ พอพูดนะ หลวงตาท่านพูดนะว่าท่านเป็นพระมหา ท่านอุปัฏฐากสมเด็จมหาวีรวงศ์(พิมพ์)

“เทศน์ของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จต่างๆ นักวิชาการเทศน์มาจนเต็มที่ ฟังนี่มันรู้ไปหมดเลย แต่มาฟังเทศน์หลวงปู่มั่น ฟังทีแรกทำไมไม่เข้าใจ” พอไม่เข้าใจ มันก็พยายามเปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนทัศนคติพยายามทำเข้าไปเปรียบเทียบให้ได้

เวลาเราปฏิบัติเราจับเอาแนวทางนี้ เอามาเป็นแนวทาง แนวทางนี้เราพูดบ่อยเห็นไหม ว่าเราจะอ่าน ปฏิบัติใหม่ๆ สำหรับเรานะปฏิบัติใหม่ๆ หนังสือธรรมะชุดเตรียมพร้อม พิมพ์ครั้งแรกปี ๒๑ หรือ ๒๒ จำพ.ศ.ไม่ได้ถนัด เราได้เล่มหนึ่ง ตอนนั้นเราก็ปฏิบัติ อ่านวันละหน้าแล้วมันคิดในใจไง ทัศนคติของพระอรหันต์ หลวงตานี่ เราเชื่อมั่นว่าเป็นพระอรหันต์ ท่านพูดอะไร ท่านพูดอย่างไร เราอ่านของท่านแล้ว เรามีความเข้าใจไหม ชี้ให้ตรง ชี้ให้ตรง

ท่านน่ะชี้ตรง ไอ้เรามันคด เราน่ะมันแม่ปู มันบิดเบือนมาตลอดเห็นไหม มันชี้ไม่ตรง ครูบาอาจารย์น่ะชี้ตรงแต่เราคด แต่ขณะที่เราคดอยู่แล้ว คนชี้ตรงมีไหม นี่พอหลวงตาไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า “ทุกอย่างนี่ มรรคผลนิพพานมันอยู่ที่หัวใจ เราต้องขวนขวายขึ้นมา ต่อสู้ขึ้นมา” พอต่อสู้ขึ้นมาพอปฏิบัติขึ้นมา หลวงปู่มั่นเป็นคนชี้ เป็นคนชี้ตลอด พอชี้ตลอดมันก็ปฏิบัติขึ้นไปด้วยความไม่ลังเลสงสัย ด้วยความมั่นคง ด้วยความจริงจัง

ทีนี้มาพูดอย่างนี้ว่า วัดป่าชี้ มันมีเสียงที่ชี้ตรงประเด็น คำว่าตรงประเด็น ต้องเอาประเด็นเป็นที่ตั้งนะ เวลาเราชี้ออกไปๆ อะไรถูก อะไรผิด ถ้ามันปฏิบัติมันจะรู้ถูก รู้ผิด อะไรตรง อะไรไม่ตรง แล้วอะไรเป็นไปได้ หรืออะไรเป็นไปไม่ได้ มันเรื่องชัดเจนมาก

คนที่ทำงานมา ปู่ย่าตายายที่ทำไร่ไถนามา มันจะรู้เลยว่า การทำไร่ไถนามา มันทำอย่างไรมันถึงได้ข้าว แล้วพอได้ข้าวแล้ว อย่างเด็กๆ ขึ้นมาเห็นไหม มันทำยังไงให้รวดเร็วให้ลัด เพื่อให้ได้ประโยชน์มากๆ แล้วมันจะได้อย่างนั้นไหม

คนทำไร่ทำนามานะ มันอยู่มามันทำมาจนชั่วชีวิต ชาวไร่ชาวสวนนี่รู้เลยนะ ปลูกต้นทุเรียนไปอย่างไร จะทำอย่างไร จะมีพืชผักธัญญาหาร ดินน้ำ พืชพันธุ์ ปุ๋ยเป็นอย่างไร มันจะฟ้องเลยว่า ผลตอบเป็นอย่างไร ทีนี้พอมันไม่เป็นน่ะ คนไม่เป็นเห็นไหม ดิน น้ำ อากาศ ปุ๋ย พืชพันธุ์ ไม่ต้องจำเป็นเลย ไม่ต้องอะไรเลย ดูเฉยๆ ทุเรียนยังงอกออกมาเลย เอ็งว่าเป็นไปได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้ ความเป็นไปไม่ได้

แต่..ธรรมะเป็นนามธรรมเป็นเรื่องความรู้สึก แล้วมีคนพูดอย่างนั้น มันไม่มีข้อเท็จจริงพิสูจน์ แต่ถ้าทำไร่ไถนานะ ข้าว ทุเรียนพิสูจน์นะเว้ย ออกมาทุเรียนมีแต่เม็ดไง ไม่มีเนื้อเลย แกนๆ นะ นู้นก็ไม่จำเป็น นี่ก็ไม่จำเป็น ทุเรียนออกอยู่ ออกมาแล้วมีแต่เม็ด มีแต่ลูกทุเรียนกับเม็ดทุเรียนเนื้อไม่มี นี่มันจะฟ้องตลอด เพราะคำว่าชี้นี่สำคัญมาก ว่าชี้ถูกต้อง คำว่า ถูกต้อง มันอยู่ที่ประสบการณ์ว่าตัวเองมีจริงหรือเปล่า

พอตัวเองไม่มีจริง ไอ้คนเห็นไหม อย่างปู่ย่าตายายเราเป็นชาวสวนชาวไร่ ที่มีประสบการณ์สูงมากนะ เห็นเด็กมันทำรู้เลยว่ามันจะเป็นอย่างไร แต่ไอ้เด็กมันยังเถียงอยู่นะพอมันเถียงขึ้นมา แล้วคำว่าเด็กใช่ไหม คำว่าเด็กทุกคนต้องสบาย เด็กมันจะคุยกันง่ายมากเลย วัยรุ่นเห็นไหม วัยรุ่นมาจะบอกเลย อย่าเชื่อเพื่อนมากเกินไป ต้องแบ่งให้พ่อแม่ครึ่งหนึ่ง เพราะเด็กกับเด็กมันไม่มีหลักเกณฑ์อะไร มันพูดอะไรมันก็เออออไปกับมัน

นี่เหมือนกันในวงปฏิบัติในปัจจุบันนี้ มันไม่มีหลักมีเกณฑ์ สบายๆ จริงๆ เขาบอกว่าสบายใครมาปฏิบัติก็ได้ผล ใช่.. สบายๆ ทำไมจะไม่สบาย โยมมาถึงนี่ไม่ต้องทำอะไรนั่งเฉยๆ สบายไหม แต่มาหาเรานะ อูย.. ต้องนั่งให้ดีนะ ต้องกำหนดให้ดีนะ อย่าให้จิตออกนะไม่สบายแล้ว อึดอัดแล้ว

แต่ไอ้ไม่สบายนี่นะ มันยังไม่เป็นความจริง ไอ้สบายๆ นี่นะ ไม่ได้อะไรเลย มันไม่ได้อะไรเลยรู้ไหม มันไม่ได้อะไรเลย เพราะเราเป็นคนนะ ในปัจจุบันนี้จิตนี้มันตั้งอยู่ในสถานะของความเป็นคน ถ้าหมดอายุขัยจิตนี้มันไปตามวัฏฏะของมัน ไปเกิดเป็นเทวดา ไปเกิดในนรกอเวจี ไปเกิดเป็นเปรต ไอ้จิตตัวนั้นมันไม่เป็นอย่างนี้หรอก ไอ้ที่มันสบายๆ อยู่นี้ เพราะมีสถานะของมนุษย์นี่

ลมหายใจขาดปุ๊บ มันอยู่เป็นอย่างนี้ได้ไหม จิตมาอยู่อย่างนี้ได้ไหม มาอยู่อย่างนี้ไม่ได้ ไอ้ที่สบายๆ อยู่เพราะสถานะความเป็นมนุษย์ของเราต่างหาก มันสบายๆ แต่พอมันมาทำความเป็นจริง จริงถ้าตามความเป็นจริง ถ้าทำตามความเป็นจริง เราก็ย้อนกลับมาปู่ย่าตายายอีกล่ะ

เราดูสารคดีอยู่ ทางใต้นี่เขาเสียดายมากเลย เศรษฐกิจพอเพียงนะ ไอ้ระบบปลูกพืชผสมผสานทางใต้ เมื่อก่อนเขาจะเลี้ยงของเขาได้หมดเลย แล้วพอสุดท้ายเขาถางกันหมด เขามาลงยางกันน่ะ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหมดเลย

แต่ถ้าปลูกพืชผสมผสาน เมื่อก่อนทางใต้เขาดีมากเลย แล้วตอนนี้เขาพยายามจะพัฒนากลับไป เหมือนกับในหลวงออกมาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คือว่าการปลูกพืชผสมผสาน แล้วมีแหล่งน้ำทุกอย่างมันจะเลี้ยงตัวของมันเอง แล้วเราจะดำรงชีวิตของเราได้ แต่จะร่ำรวย ถ้ารู้จักเก็บประหยัดจะรวยนะ แต่จะรวยแบบพืชเชิงเดี่ยวที่ขายได้มากๆ มันไม่มี เห็นไหม นี่ความผสมผสาน ในทางภาคใต้เขาเสียดายมากเลย ทีนี้เขาเห็นของเขา สิ่งแวดล้อมมันจะเกื้อกูลกัน

ทีนี้มันย้อนกลับมาที่เรา ย้อนกลับมาในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่มีความสงบของใจอย่างที่เขาพูด มันเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่เวลาเขาพูดนะ เขาบอกว่า ดูไปเฉยๆ แล้วมันจะเป็นเอง เป็นเอง มันไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ มันไม่มีข้อเท็จจริงอะไรรองรับเลย แล้วนี่คำว่าไม่มีข้อเท็จจริงรองรับนี่ เราถึงได้พูดว่าเขาสอนผิด คำว่าสอนผิดไม่ใช่ดูจิตผิดนะ ดูจิตนี่ ถ้าดูจิตผิดหลวงปู่ดูลย์ต้องผิดมาก่อน หลวงปู่ดูลย์เป็นคนสอน ดูจิตไม่ใช่เขาสอนนะ ดูจิตนี่หลวงปู่ดูลย์สอนนะ

แต่หลวงปู่มั่นสอนหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่มั่นสอนพุทโธนะ แต่มันเป็นเพราะจริตนิสัยของหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์ท่านรวบรัดของท่าน แล้วท่านพูดของท่าน ถ้าเป็นลัดสั้นต้องพูดแบบหลวงปู่ดูลย์ คือพูดกระชับ หลวงปู่ดูลย์ไม่เคยพูดเกิน ๕ คำ ๑๐ คำ

ไอ้นี่มันพูดทีนะวันหนึ่งยังไม่จบเลย แล้วมันบอกลัดสั้น ถ้าลัดสั้นต้องพูดแบบหลวงปู่ดูลย์ ต้องพูดแบบมหายาน มหายานเขาพูดกันคำสองคำเท่านั้นนะ เพราะคำสองคำถ้าจิตมันเป็นจริงนะ มันจะมีมันเหมือนเมล็ดพันธุ์พืชน่ะ มะม่วงนี่เม็ดเดียวนะ เวลาปลูกไปมะม่วงต้นเบ้อเริ้มเลย มันอยู่ในเม็ดมันนั่นนะ

นี้คำพูดของมหายาน คำพูดของเซน เขาจะพูดแบบเมล็ดมันมีพร้อมในตัวมัน แล้วมันควบคุมหมด มันครอบคลุมหมด ต้องพูดอย่างนั้น แล้วมาสอนเป็นอย่างนั้น ทีนี้เขาบอกว่าผิด ผิดตรงนี้ หลวงปู่ดูลย์ท่านไม่เคยปฏิเสธข้อเท็จจริงเลย

ศีล สมาธิ ปัญญา หลวงปู่ดูลย์ไม่ได้ไปปฏิเสธนะ เพียงแต่ทำอย่างไรให้มันกระชับแล้วมันเป็นไป แต่นี่ไอ้ที่เขามาสอนมันปฏิเสธ ปฏิเสธเพราะอะไร ปฏิเสธเพราะไม่ใช่มีผู้ชำนาญการ คนที่ชี้นำถูกต้องมันต้องรู้ถึงระบบเห็นไหม รู้ถึงสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ที่มันจะเข้ามาเป็นกระบวนการมาเป็นอย่างนี้ได้ กระบวนการจะเป็นอย่างนี้ได้มันต้องมีพื้นฐานของมันมา

ธรรมเหมือนกัน เราจะบอกว่า พูดเหมือนกัน กินเหมือนกัน คนหนึ่งได้กินอาหาร บอกว่ากิน อีกคนหนึ่งไม่ได้กินอาหารแต่ศึกษาคำว่ากิน ก็กินเหมือนกัน เขียนคำว่ากิน ก ไก่ สระอิ น หนู เหมือนกัน ไอ้คนที่ศึกษามามันก็เขียนได้ กิน.. เข้าใจไหมคำว่ากินของเขา? เข้าใจ..

แต่เรานี่กิน เราได้ตักอาหารใส่ปากเลย ต่างกันแล้ว มันต่างกันตรงนี้ นี้คำพูดของเขา เขาบอกว่าพูดเหมือนเลย เหมือนแต่คำว่ากิน มันไม่มีกิริยาการกิน แต่กิริยาที่เรากินนี่ เรามีกิริยาการกิน เรามีการกินเห็นไหม ทีนี้ย้อนกลับมาที่สมาธิ ย้อนกลับมาพูดถึงสมาธิ สมาธิไม่ต้อง สมาธิคือกิริยา คือกิริยาที่การกิน กินโดยที่ไม่มีกิริยาเลย มันเป็นชื่อเห็นไหม ว่าพูดชื่อเหมือนกันไหม เหมือนกันไหม แล้วเด็กๆ ชอบไหม

ถ้าเรากินอาหารนะ เราต้องมีอาหารใช่ไหม เราต้องมีกิริยาการกินใช่ไหม ต้องกินอาหาร กินเสร็จต้องเก็บล้างวุ่นวายใช่ไหม วุ่นวายมากเลยแต่เราอิ่มนะ แต่ถ้าบอกว่ากินเฉยๆ เราคิดว่ากินเราไม่ต้องเก็บล้างนะ เราไม่ต้องมีอาหาร เราไม่ต้องเก็บล้างถ้วยชาม เราไม่มีความวุ่นวายเลย แต่ในกระเพาะเรามีอาหารไหม?

เราดูมาตลอด เพราะฉะนั้นเราถึงได้บอกว่าผิดไง ผิดที่เขาพูดถึงระบบของจิตนี่ผิด นี้ถ้าระบบของจิตที่มันถูก มันจะรู้เลย เช่น หลวงตาท่านปฏิบัติ เห็นไหม ๗ ปีนี่สงบ ๓ หน ขนาดว่าท่านกำหนดพุทโธๆ นะ อยู่ที่วัดโยธานิมิต ๗ ปี สงบถึง ๓ หน ตอนเรียนอยู่น่ะ

แต่ขณะที่ออกมาปฏิบัติ เพราะนี่ไงตัวเองเคยสงบ แต่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ ก็ไปดูจิตอยู่ แล้วพอไปดูจิตอยู่แล้ว มันก็ดีขึ้นมา ตอนอยู่จักราช จำพรรษาแรกที่จักราช จิตนี้ อู้ฮู..มั่นคงมากเลย ก็ไปทำกลดหลังหนึ่ง ที่กลับไปบ้านไปทำกลด ก็เพื่อจะไปหาหลวงปู่มั่นนี่แหละ

ไปทำกลดหลังหนึ่งเสื่อมหมดเลย พอเสื่อมหมดแล้ว คนเจริญแล้วเสื่อม พอเสื่อมแล้ว มันไม่มีหลักเกณฑ์ คนไม่มีหลักเกณฑ์มันเจริญขึ้นมาอีกไม่ได้ พอขึ้นมาอีกไม่ได้เห็นไหม ทำขนาดไหน ขึ้นไปอยู่วันสองวันก็เสื่อม นั่นน่ะดูจิต

เพราะคำว่าดูจิตหรือการกำหนดรู้เฉยๆ ทุกคนทำได้โดยสามัญสำนึกมันมีอยู่แล้ว แล้วพอเราไปอ่านทฤษฎีของพระพุทธเจ้านี่ อ่านธรรมะ เราก็เข้าข้างตัวเองหมดน่ะ พอเข้าข้างตัวเองหมดแล้วมันก็มีใช่ไหม

อย่างเช่น มหายานนี่ มหายานมันเพิ่งมีเหรอ มันมีมานมนานกาเลแล้ว ตำรามันมีทั้งนั้นแหละ ใครก็อ่านได้ ใครก็ศึกษาได้ พอศึกษาได้ เขาทำได้จริง เราก็น่าจะทำได้ เราก็ทำบ้าง พอทำบ้างปั๊บ ถึงเวลาแล้วออกมาอยู่ที่จักราช มันก็สงบได้

แต่เวลามันเสื่อมแล้วเอาขึ้นไม่ได้เลย เอาขึ้นยังไงก็ไม่ได้ พอขึ้นไปปั๊บวันสองวันท่านบอกมันเหมือนครกกลิ้งลงมาเลย พอดีหลวงปู่มั่นไปเผาหลวงปู่เสาร์ แล้วทิ้งท่านอยู่องค์เดียว อยู่ที่บ้านโคก มันไปไม่ได้แล้ว เรากลับมาพุทโธ เราน่าจะขาดคำบริกรรม ก็เลยพุทโธ นี่ไง มีหลักเกณฑ์เห็นไหม

พอพุทโธ พุทโธ พุทโธ คนเรามันเคยปล่อยเร่ร่อน กำหนดไป จิตเสื่อมไปปีกับ ๖ เดือน พอมากำหนดพุทโธนี่ คนใจแตกเด็กใจแตกแล้วบังคับไม่ให้มันไปเที่ยว บังคับไม่ให้ไปหาเพื่อน เด็กนี่เอาเกือบตายเลย

แต่นี่เป็นเพราะน้ำใจเราเอง ใจเราเหมือนเด็กๆ แต่กติกาคือข้อวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ เอานี่เป็นข้อบังคับ บังคับให้มันพุทโธ พุทโธ พุทโธ ๓ วันแรก อกแทบระเบิด คำอย่างนี้ เรามาเปรียบเทียบให้เห็นว่าการทำง่ายทำยากไง คำครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมาแล้ว ท่านมีประสบการณ์ของท่าน เราเอามาเป็นตัวตั้งตลอดนะ

เวลาเราพูดนี่ เอาประสบการณ์จริงมาเป็นตัวตั้ง การชี้ที่ถูกเพราะได้ประสบการณ์จริง เพราะปฏิบัติถูกผิดมาก่อน ถึงชี้ถูกชี้ผิดได้

ถ้าคนไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ไม่เคยปฏิบัติมาเลย เอาอะไรมาชี้ถูก เอาอะไรมาชี้ผิด เพราะผิดก็ไม่เคยเห็น ถูกก็ไม่เคยเห็น ตัวเองไม่เคยลงไปในความถูกความผิดนั้นเลย แต่ปรัชญาจำกิริยา จำคำพูดของครูบาอาจารย์มาพูด แล้วพูดให้เหมือน

แต่..มันไม่มีตรงนี้รองรับ ถ้ามันมีข้อเท็จจริงถูกกับผิดรองรับ เราถึงพูดประจำว่าพูดอย่างนั้นไม่ได้ คนรู้จริงพูดอย่างนั้นไม่ได้ แล้วถ้าคนรู้จริงพูดอย่างนั้น คนรู้จริงด้วยกันจะบอก อันนั้นไม่จริง

ถ้าคนรู้จริงอันนั้นจริง อย่างเช่น หลวงตาท่านผิดมาก่อนทั้งนั้นแหละ อย่าง พระพุทธเจ้าผิดมา ๖ ปี เพราะผิดมาก่อน พอผิดมาแล้ว ท่านถึงบอกกลับมาพุทโธ พุทโธ นี่ ๓ วันแรกอกแทบระเบิดเลย แต่..พุทโธๆๆๆๆๆ จนมันสงบแล้วนะ เพราะเข็ด

พอพุทโธๆๆๆๆ พุทโธจนพุทโธไม่ได้ คำว่าพุทโธไม่ได้นี่ มันตัวมันเองคือตัวสมาธิ เพราะมันเป็นตัวของมันเองแล้ว เพราะธรรมชาติของมนุษย์มันมีความคิดกับมีพลังงาน พลังงานคือตัวจิต ความรู้สึกคือตัวจิตนะ ความคิดเห็นไหม ความคิดเป็นสัญญา เนี่ยธรรมชาติของมนุษย์เป็นอย่างนี้

ธรรมชาติมันก็ส่งออกตลอดเวลา พอพุทโธๆๆ ก็พุทโธจากความคิดนี่แหละ พอพุทโธๆๆๆๆ แต่พุทโธ พุทธานุสติมีสติอยู่ พุทโธๆๆๆๆๆ จนละเอียดเข้าไปเลย จนเป็นอันเดียวกัน มันพุทโธไม่ได้หรอก แต่ก็หยุดชั่วคราวเห็นไหม

ท่านบอกพอพุทโธไม่ได้ท่านงงนะ งง.. พุทโธไม่ได้แล้ว คำว่าพุทโธไม่ได้นี่คือสมาธิ คือสมาธิแล้วมันไม่เสื่อม เพราะมันเข้ามาเป็นตัวเอกเทศ เป็นตัวของเราเองเห็นไหม พุทโธไม่ได้แล้วก็ไม่ทุกข์ พุทโธไม่ได้มันก็เป็นสมาธิ แต่ตัวเองไม่รู้จักนะ ยังไม่รู้ ได้ตัวมันจริงแต่ยังตั้งชื่อให้มันไม่ถูก

เหมือนเราไปเจออะไรนี่ แต่เรายังตั้งชื่อให้มันไม่ได้ ทั้งๆ ที่มันมีอยู่แล้วนะ พระพุทธเจ้าเขียนไว้นะว่า ศีล สมาธิ ปัญญา แต่เวลาเข้าสมาธิจริงๆ ก็ยังไม่รู้ว่าชื่อมันคืออะไรนะ นี้พอพุทโธจนไม่ได้ ท่านก็บอกให้หยุดพุทโธก่อน พอความคิดมันเกิดเห็นไหม พอมันเสวยอารมณ์ พอมันแยกออกมาเป็นสองนะ

พอความคิดมันเกิดท่านก็เอาพุทโธยัดเข้าไปอีก ให้กลับเข้าไปเป็นหนึ่งอีก ถ้าเป็นหนึ่งมันจะเป็นสัมมาสมาธิ แล้วพอมีความคิดเกิดขึ้น มันจะแตกออก เพราะอะไร เพราะตัวพลังงานมันคิดได้ พอคิดได้เราก็นึกพุทโธได้ พอเรานึกพุทโธได้ นึกๆๆๆ นึกจนมันเป็นตัวมันเอง พอเป็นตัวมันเองมันนึกพุทโธไม่ได้แล้ว นี่คือสมาธิ แล้วถ้าเห็นสมาธิ ตัวนี้เป็นตัวหลัก

แต่ถ้าไม่ได้ถึงขนาดนี้ ถ้ามันมีสติของมัน เพราะมันรู้จักตัวมันเองแล้ว มันจะสามารถใช้ปัญญาได้ ถ้าใช้ปัญญาไปได้ คนจะเห็นว่าการใช้ปัญญาในพุทธศาสนา มันจะต่างจากเราใช้สมอง หลวงตายืนยันตลอด

เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ มองแล้วมันเป็นเรื่องขำ ว่าความคิดจากกลางหัวอก ความคิดจากจิต กับความคิดจากสมองนี่ หลวงตาท่านพูดบ่อย แต่ท่านพูดด้วยความองอาจ พูดด้วยความรับรู้ของผู้ที่รู้ว่า ความคิดเกิดจากจิต ความคิดเกิดกลางหัวอก ความคิดนี่เกิดจากสมอง ท่านพูดบ่อย ถ้าคนไปเห็นแล้วรู้จริงมันจะเห็นตรงนี้ขึ้นมา

ถ้าเห็นตรงนี้ขึ้นมา มันจะเป็นความจริงของมัน นี่ไงตรงที่ว่า ชี้.. ถ้าคน..พื้นฐานตรงนี้กิริยาของความจริงตรงนี้มันไม่มี พอกิริยาของความจริงตรงนี้มันไม่มีนะ นี้ย้อนกลับมาทฤษฎีเฉยๆ ไม่ได้ว่าใคร

อย่างเช่น เขาบอกว่าดูจิต ดูจิตเห็นไหม ดูไปเรื่อยๆ ดูจนมันหายไป ดูเรื่อยๆ ดูจนมันไม่มี ดูเข้าใจหมดเห็นไหม แล้วอย่างว่า ดูไปเฉยๆ สติไม่ต้องกำหนด อย่างพวกเราต้องตั้งสติ ไม่ตั้งสติพุทโธจะมีไหม เราไม่ตั้งใจกำหนดพุทโธ พุทโธจะมาได้ไหม นี่ไม่ต้องตั้งสติ เผลอปั๊บสติจะมาเอง คำว่าเผลอปั๊บสติมาเอง หรือดูสภาวะ จำสภาวะจนเป็นได้

สภาวะจำนี่นะ ในวงกรรมฐานในวงครูบาอาจารย์ เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด สัญญาอารมณ์เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด ครูบาอาจารย์จะเน้นย้ำตรงนี้มาก ว่าสัญญาถ้าเป็นสังขาร มันปรุงนะ ถ้าเป็นสัญญาคือก๊อปปี้ เรานี่ไปก๊อปปี้สินค้าเขามาทำขาย แล้วทำอยู่อย่างนั้น เราก็ทำได้แค่นั้น เราจะไม่พัฒนาเลย

แต่เขาเน้นตรงนี้มาก สติคือสภาวะจำที่แม่น จำจนจำสภาวะได้ ปัญญาคือความคิดที่เกิดขึ้นแล้วย่อยสลายไป ความคิดปัญญาดวงหนึ่งที่มันย่อยสลายไป ให้จิตอีกดวงหนึ่งมาจำสภาวะ จากดวงต่อไป อันนี้มันคิดแบบวิทยาศาสตร์

คิดแบบวิทยาศาสตร์คือว่า มันมีที่มาที่ไป แต่ที่มาที่ไปของเขา เขาเข้าไม่ถึงความจริง เขาถึงบอกที่มาที่ไปผิดที่ ที่มาที่ไปความจริงคือที่มาที่ไป มันอยู่ที่ฐีติจิต มันอยู่ที่ตัวภพ อยู่ที่ตัวเรา ทีนี้พออยู่ที่ตัวเรา มันไม่เคยเข้าสมาธิ มันถึงไม่เห็นตัวเรา มันถึงว่าเป็นดวง จิตนี้เป็นดวง จิตส่งออกไม่ได้ แล้วพอจิตดวงหนึ่ง เพราะอะไรเพราะสันตติ

ทฤษฎีพระพุทธเจ้ามันค้ำคออยู่ พอค้ำคออยู่จะอธิบายอะไรก็แล้วแต่ ต้องอธิบาย เข้าสู่ทฤษฎีอันนี้ ถ้ามันจะอธิบายทุกอย่างเข้าสู่ ทฤษฎี คือเข้าสู่ธรรมะพระพุทธเจ้า แล้วเราไม่เคยเห็นข้อเท็จจริงของมัน เราจะเอาอะไรไปอธิบายให้เข้าสู่ ทฤษฎีอันนี้ ก็ต้องดวงหนึ่ง ทฤษฎีอันนี้ก็สมมุติว่าอันนี้เป็นอันนี้ สมมุติว่าอันนี้เป็นอย่างนี้ อันนี้เป็นอย่างนี้ แล้วก็อธิบายทฤษฎีอย่างนี้ ให้มันสอดคล้องกันโดยความคิดของเขา

พออธิบายทฤษฎีนี้ให้มันสอดคล้องกัน ให้มันเป็นธรรมะ มันก็เลยไปขัดแย้งกับความจริง ขัดแย้งกับความจริง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะคำว่าความจริงนี่ อย่างเช่น ข้าวสุกมาจากอะไร ข้าวสุกมันจะไม่มีถ้าไม่มีข้าวสาร ข้าวสารจะไม่มีถ้าไม่มีข้าวเปลือก

อย่างที่พระอนุรุทธะ น่ะ สมัยเป็นเด็ก เห็นไหม ถ้าเด็กๆ มันกินข้าวกัน เขาทายปัญหากัน ข้าวนี่มาจากไหน เอ่อ.. ไอ้เด็กที่มันเห็นแม่ตักใส่จานมา ข้าวมาจากจาน ไอ้เด็กที่มันเห็นพ่อแม่หุงข้าวมาจากหม้อ ดูสิ..เด็กมันเห็นการกระทำที่กี่ลึกกี่ชั้น มันก็จะตอบว่าข้าวมาจากที่นั่น

ทีนี้ทฤษฎีนี่ ธรรมะพระพุทธเจ้าปริยัตินี่ ถ้ามันไม่มีข้อเท็จจริงอันนี้รองรับ มันไม่มีข้อเท็จจริงของมัน มันถึงจะตั้งอะไรไปเข้าสู่ทฤษฎีนั้น ฉะนั้นเวลาเราอ่านหนังสือเขา เราฟังเทศน์เขา มันถึงขัดแย้งมาก ขัดแย้งมากๆ จนที่ว่าพื้นฐานตรงนี้มันไม่มี พื้นฐานที่ว่าสมาธิมันไม่มีเลย ไม่เข้าใจเรื่องของจิตเลย

ถ้าพื้นฐานไม่เข้าใจเรื่องของจิตนะ เมื่อก่อนจะพูดคำนี้ประจำ ว่า ถ้าเราไม่มีบัญชี เราไม่มีต้นขั้ว เราจะโอนเงินเข้าสู่บัญชีนั้นได้อย่างไร เราจะประกอบธุรกิจแต่เราไม่มีบัญชีอยู่ในท้องตลาด เราจำหน่ายสินค้าออกไป แล้วเขาจะจ่ายค่าสินค้าเราได้อย่างไรเพราะเราไม่มีบัญชี

ถ้าเราไม่สู่สมาธิไม่สู่จิต ไม่สู่ถึงข้อมูลของมัน อะไรมันจะเข้าสู่ฐานข้อมูลของใจของกิเลส มันจะเอาอะไรเข้าไป ก็บอกว่า อ้าว..ดูไป ดูไป ดูไปเรื่อยๆ เพราะอะไร เพราะพยายามจะสร้างไง เราจะบอกว่าชี้ผิดไง ชี้ถูกกับชี้ผิดเห็นไหม มันไม่มีข้อเท็จจริงชี้ให้ถูกได้ แต่อยากจะชี้

พออยากจะชี้ ก็เอาประสบการณ์ เอาความคิดเอาจินตนาการ เอาสิ่งที่ตัวเองรู้ เห็นไหม ว่า ดูไปเรื่อยๆ แล้วมันไปตลก ตลกมากๆ ตลกจนเราช็อกเลย เพราะอะไร เพราะมันดูไปเรื่อยๆ ดูไปจนจิตมันรู้สามัญ ทีแรกมันจะรู้ลักษณะไปก่อน รู้ไปเรื่อยๆ รู้อาการเกิดดับ รู้อาการต่างๆ รู้ถึงกิเลสไปเรื่อยๆ

จนรู้ถึงสามัญลักษณะ คือรู้ สามัญลักษณะคือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือรู้สามัญลักษณะ แล้วจิตมันจะรวมลงสู่ อัปปนาสมาธิ แล้วปัญญาจะไปเกิดกันที่อัปปนาสมาธิ

โอ้ย..กูช็อกเลยนะ มันไม่มี! มันเป็นไปไม่ได้! เพราะอะไร เพราะเรามากำหนดนะ คำว่าอัปปนาสมาธิน่ะ เพราะเขาก็ไม่เป็นไง เขาไม่เป็นเขาถึงไปพูดถึงฌาน ๒ ไง ถ้าเขาเป็นตรงนี้นะ คนเป็นมันจะบอกได้ มันถึงบอกมันไม่มี มันชี้ผิด คนเป็นจะบอกได้ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เพราะเราเคยเข้าไง

อย่างเช่น เรา.. บันไดขึ้นบ้านนี่ เราขึ้นรถทุกวัน บันไดนี่จนรู้เลยว่า เหยียบตรงนี้จะมีอาการลื่น เหยียบตรงนี้มันจะสาก เหยียบตรงนี้มันจะทำให้มั่นคง เข้าบ้านได้ เพราะเราขึ้นลงๆ ขึ้นลงทุกวันนะ บันไดขึ้นบ้าน

แต่นี้มันบอกว่า อัปปนาสมาธิ เหมือนบันได กูนี่มันมีแต่แม่บันไดไม่มีลูกบันได แล้วกูก็เหยียบกูทุกวัน มันพูดอย่างนั้น อ้าว..เห็นไหม แหม...ไอ้ขั้นบันไดลูกบันไดไม่มี อัปปนาคือมันไม่มีขั้นตอนของมัน มันบอกบันไดกูขึ้นทุกวันเลยนะ แต่..ลูกบันไดกูไม่มี แต่กูเหยียบขึ้นเหยียบลงทุกวันเลย อ้าว..เชื่อไหม

นี่เราพูดให้เป็นรูปธรรมที่ให้เห็น แต่ความจริงมันจะเป็นของมัน มีขณิกสมาธิ มีอุปจาระ มีอัปปนา ถ้าอัปปนามันเป็นอย่างไร จิตนี้มันมั่นคงมาก อัปปนาเนี่ยมันถึงฐีติจิตเลย ถึงฐานเลย แต่อัปปนามันเกิดปัญญาไม่ได้ ไม่ได้หรอก ยังไงก็ไม่ได้ แต่เขาบอกว่าดูสามัญลักษณะจนจิตลงสู่อัปปนา แล้วปัญญาจะเกิดแล้วปัญญาจะเกิด

เราวิเคราะห์เรื่องนี้มานาน พอปัญญาจะเกิด เกิดโดยอะไรรู้ไหม เกิดโดยอัตโนมัติ อัตโนมัติเพราะอะไร อัตโนมัติเพราะกูไม่เคยเห็นไง ทั้งๆ ที่อัตโนมัติ อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นอัตโนมัติ ทางเทคนิคนี่นะ อัตโนมัติที่มันจะเป็นไป มันต้องมีเทคโนโลยีใช่ไหม ทุกอย่างที่เป็นอัตโนมัติ

อย่างเช่นนาฬิกา แผงวงจรไฟฟ้า ที่จะเกิดการกด เห็นไหม อย่างรีโมท เขาต้องสร้างมันขึ้นมาใช่ไหม จึงเป็นอัตโนมัติได้ แต่ต้องสร้างจริงไหม อัตโนมัติมีเองได้ไหม อัตโนมัติมีเองไม่ได้

แต่นี่เขาไม่ทำอะไรนะ แล้วบอกมันจะเกิดโดยอัตโนมัติ แล้วก็ไปอ้างหลวงตา หลวงตาว่าปัญญาเป็นอัตโนมัติ อ้าว..หลวงตาบอกว่าท่านใช้ปัญญาเรื่อยนะ ใช้ปัญญาจนชำนาญ ชำนาญจนเป็นอัตโนมัติ กิเลสมันเกิดอัตโนมัติ ปัญญามันก็เกิดอัตโนมัติ เพราะมันชำนาญ

ชำนาญเพราะมันสร้างศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา นี่คนเป็น คนที่ชี้ถูกนี่ มันก็บอกมันเป็นนักวิทยาศาสตร์ ถ้าจะทำอะไรให้เป็นอัตโนมัติ อย่างเช่น แผงวงจรไฟฟ้าสิ่งที่ไฟฟ้า ที่มันเกิดดับโดยแสง เขาก็ต้องผลิตขึ้นมาแผงวงจรของมัน เขาต้องผลิตแผงวงจรขึ้นมา มันถึงจะเป็นอัตโนมัติ

มันจะเป็นอัตโนมัติโดยที่ไม่ได้ผลิต เห็นเขามีแผงวงจร เขามีไฟฟ้าเกิดดับ กูก็จะมีบ้าง ก็เอาเสาไปปัก เกิดดับ มันเป็นไหม มันเป็นไหม ไม่เป็นหรอก มันไม่มีแผงวงจรไฟฟ้าอันนั้น นี่คำพูดนี่มันล็อกคอตายไง เพราะเรานี่นะเราคิดโดยทางวิชาการ โดยทฤษฎีที่เราปฏิบัติมา เราเคยเห็นของเรามา พอเขาพูดอย่างนี้ เรารู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้

นี่..เรารู้โดยการวิเคราะห์นะ สุดท้ายแล้วก็ลูกศิษย์เขามาที่นี่นะ พอเราอธิบายให้ฟังอย่างนี้ เขาบอกว่าเขาก็ดูจิตมา ดูจิตจนจิตสามัญลักษณะเขารู้หมด เขาดูถึงจิตเขาเกิด จิตเขาดับ เขาทันหมดเลย แล้วเขาก็พูดกับเราอย่างนี้ คำนี้มันถึงสะเทือนใจ เขาบอกว่า นี่เขาก็นั่งรอแล้ว เพราะจิตมันรู้สามัญลักษณะหมดแล้ว เขารอจะเป็นโสดาบัน เขารอว่ามันจะเกิดอัตโนมัติ

พอเขามาฟังเรานะ เขาฟังซีดีของเราก่อน แล้วเขาก็มาหาเรา แล้วเขาบอกว่า เขาก็คิดอย่างนี้ แล้วเขาก็รอความเป็นโสดาบัน เพราะมันกำหนดเข้ามาจนเป็นอัตโนมัติแล้ว กำหนดเข้ามาจนสามัญลักษณะ จนรู้ทันหมดแล้ว แล้วมันจะเกิดอัตโนมัติคือปัญญาจะเกิด นี่คือทฤษฎีก่อนหน้านี้นะ

พอเทศน์อย่างนี้ไปนะ เดี๋ยวคำสอนนี่มันจะเปลี่ยนหมด วันนี้เราเรียงให้ดูเลยล่ะ ซีดีนี่เดี๋ยวจะลงไปในเว็บไซต์ พอลงไปในเว็บไซต์แล้ว เดี๋ยวอันที่คำสอนมัน จะเริ่มเปลี่ยนหมดน่ะ แล้วก็บอกว่า ก็มีผิดอะไร เปลี่ยนไปนะก็ผิดอีก ผิด..ผิดตรงไหน ผิดตรงคนเราไม่รู้จริงเห็นจริง

ถ้าไปเปลี่ยนก็เปลี่ยนโดยการวิเคราะห์คำนวณ มันไม่ได้เปลี่ยนจากประสบการณ์ที่รู้จริงเห็นจริง เขาจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เปลี่ยนไปจนคิดว่าคนอื่นจะตามไม่ทัน มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อตัวเองคนคนนั้นไม่ลงไปรู้ไปเห็น ไปเป็นตามข้อเท็จจริง แล้วถึงได้ชี้ประเด็นถูกต้องตามความเป็นจริง

แล้วคนที่ลงไปรู้จริงเห็นจริง เช่นหลวงปู่มั่น หลวงตา พอท่านรู้จริงเห็นจริงโดยหลัก ท่านจะชี้โดยปลีกย่อย โดยจริตโดยนิสัยโดยการกระทำ โดยกรรม ให้มันแตกแขนงออกไป โดยความชำนาญของแต่ละบุคคล แต่ละบุคคลแตกต่างกันไป คนจริงจะเป็นอย่างนี้

เราเป็นพ่อแม่คนคนหนึ่ง เราจะบอกว่าลูกเราทุกคนต้องเรียนหมอทุกคน แล้วจบหมอทุกคน พ่อแม่คนไหนมีอย่างนั้นบ้าง บางครอบครัวมี เราเป็นพ่อแม่คนหนึ่ง เรามีลูก ๔-๕ คน ลูกเราต้องเรียนหมอทุกคนเลย แล้วจบเป็นหมอหมดเลย โยมว่าโยมทำได้ไหม

ในการสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ของเรา มีลูกเต็มประเทศไทย พระพุทธเจ้ามีลูกเต็มโลก แล้วลูกทุกคนของพระพุทธเจ้าต้องทำอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนั้น เหมือนกันอย่างนั้นทุกๆ คน มันเป็นไปได้ไหม มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าถึงวางกรรมฐานไว้ ๔๐ ห้อง วางเรื่องปัญญาไว้หลากหลายมาก

ใครก็แล้วแต่มีความชำนาญเราจะเรียนอะไรก็ได้ ใครมีความสามารถเรียนหมอก็ให้เขาเรียนไป เราไม่มีความสามารถเรียนอย่างนั้น เราจะเรียนทางคณะไหนก็ได้ เอกไหนก็ได้ ตามประสบการณ์ของเราก็ได้ เรามีเชาว์ปัญญาของเราก็ได้ เราเรียนสิ่งใดมาเราจบมาแล้ว เราได้ใช้วิชาชีพตรงที่เราเรียนมาบ้างไหม

เราไปประกอบสัมมาอาชีพในโลก อาชีพที่เราลงไปทำนี่ มันอยู่ที่ข้อเท็จจริง ในภูมิภาค ในสถานที่ในสิ่งแวดล้อม ในโอกาส มันสิ่งนั้นต่างหาก มันทำให้เราประกอบสัมมาอาชีวะขึ้นมาประสบความสำเร็จ มันไม่ใช่วิชาชีพที่เราเรียนมา ตรงกับวิชาชีพเรา แล้วไม่ต้องไปใช้วิชาชีพอย่างนั้นหรอก

คนที่เขารู้จริงเขาไม่ได้สอนตายตัวหรอก ทั้งๆ ที่เขารู้จริงนะ มีหลักโดยจริงนะ แล้วเวลาสอนไปจะแตกแขนงไปตามจริตนิสัยของคน ไปตามความเป็นจริงอันนั้น เขาถึงบอกว่ามันเป็นจริตนะ และต้องโดยชอบ ไม่ใช่! เป็นจริตแล้ว ถ้าจริตมันเป็นกิเลส มันพาไปชอบ ชอบก็ชอบกิเลสไง

โดยชอบธรรม ตรัสรู้เองโดยชอบธรรม ถ้าโดยชอบของกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบ คิดเองโดยชอบ ชอบกิเลส ชอบตามความพอใจ อันนี้อันที่ว่าชี้ถูกนี่แหละ คนจริงชี้ ครูบาอาจารย์เรา ผู้ปฏิบัติเขาต้องการตรงนี้มาก หลวงตานี่ท่านหามาก การประพฤติปฏิบัติเรา ทั้งๆ ที่รู้จริงนะ

ดูสิ.. ในสมัยพระพุทธเจ้าเห็นไหม พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแล้ว ไปเจออะไรที่เป็นพราหมณ์น่ะ ท่านศึกษามากับใคร เราตรัสรู้ด้วยตนเอง โอ๋..ท่านส่ายหน้าวิ่งหนีเลย เราไปเจอครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ ของจริง แต่เราไม่ตรงจริตนิสัย เรากลับว่าไอ้ขี้โม้ พระอะไรวันๆ โม้ทั้งวันเลย คุยโม้ฉิบหายเลย ไม่รับ..ทั้งๆ ที่เป็นพระอรหันต์นะนั่น

แต่เราไปเจอ โอ้ย..ไอ้นี่ขี้โม้ๆ เราไม่ลง เยอะแยะไป ไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วใครจะเชื่อถือศรัทธา ไม่มีทาง.. ไม่มีทาง.. ตอนนี้มันเพียงแต่ว่าพูดถึง ผู้ที่รู้จริงของท่านก็รู้จริงก็ศึกษาจริงก็ปฏิบัติจริง ถ้ารู้จริงก็ชี้ได้อย่างนี้ ชี้ได้ตามความเป็นจริง นี่ขนาดพื้นฐานนะ

เราดูพื้นฐานนี่มันผิดหมด เราไม่อยากพูดคำว่า ดูจิตผิดหรือไม่ผิด แต่เราเชื่อมั่นหลวงปู่ดูลย์น่ะถูก เพราะหลวงปู่ดูลย์ท่านพูดอะไรนะ มันมีที่มาที่ไป ดูจิต จนจิต! จนจิต! จนจิต! เห็นอาการของจิต แล้วใช้ปัญญาใคร่ครวญอาการนั้น อาการของจิตกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน

ความคิดกับพลังงาน ตัวพลังงานคือตัวจิต ดูจิตจนเห็นอาการของจิตแล้วพอพิจารณาอาการของจิต อาการของจิตคือสิ่งที่จิตไปคิด เห็นไหม จิตเป็นพลังงาน ออกไปตามความรู้สึกอันนั้น ความรู้สึกอันนั้น ดูจิต! ดูจิต! จนเห็นอาการของจิต แล้วพิจารณามัน จนจะชำระสะสางมันเห็นไหม แล้วขึ้นขั้นตอนขึ้นไปเรื่อยๆ หลวงปู่ดูลย์นะพูดอย่างนี้

หลวงปู่ดูลย์ฝากไว้ไปดูสิ จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลที่ส่งออกเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตเป็นนิโรธ อันนี้เป็นวิทยาศาสตร์นะ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นที่ก้าวเดินของจิต จิต มันจะก้าวเดินไป กาย เวทนา จิต จิตน่ะจิต จิตต้องทำลายจิต

มันบอกจิตมีนิพพานอยู่แล้ว ถ้าจิตมีนิพพาน ทำลายจิต งั้นก็ทำลายนิพพานไปด้วยสิ อ้าว..กูทำลายจิตกูก็ทุบนิพพานกูไปด้วย แล้วกูจะยอมเหรอ อ้าว..ก็นิพพานมันมีอยู่แล้ว แล้วกูจะทำลายได้ไง ก็กูไม่ยอมทำลาย นิพพานกูไม่ยอมทำลาย กูจะเอานิพพานไว้กับกูนี่ ก็กินขี้ไง มันเป็นไปไม่ได้ กาย เวทนา จิต ธรรม เพราะมันเป็นสติปัฏฐาน ๔ มันเป็นที่เหยียบย่ำ เป็นที่ก้าวเดินไป จิตมันจะก้าวเดินออกจากนั่นไป

นี่พูดถึงแค่พื้นฐานนะ แล้วพอขึ้นไปนะ ถ้าให้เราพูดนะ วันหนึ่งก็ไม่จบเลยล่ะ เรื่องถึงชี้ผิดไง เราพยายามดูนะดูพื้นฐานเป็นอย่างนี้ แล้วดูพื้นฐานถึงผลตอบรับไง ผลตอบรับ เวลาเราทำการศึกษาหรือเราทำสิ่งใดแล้ว เราต้องวัดผลนะ เวลาเราวัดผล ผลมันเป็นอย่างไร เราพยายามดูว่า เขาคำนวณว่าโสดาบัน เขาตัดสินกันว่าอย่างไร

เขาบอกว่าดูจนมันเข้าใจหมด แล้วมันขาดโดยอัตโนมัติ พอขาดแล้ว สังโยชน์มันขาดแล้ว มันยังกลับมากลบได้อีก คำพูดอย่างนี้พูดไม่ได้ สังโยชน์ขาดไปแล้วก็มีอีก สังโยชน์ขาดไปแล้ว แล้วก็กลับมากลบอีก ไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แล้วเวลาเขาพูดถึงญาณทัศนะ อันนี้ตลกมาก

ญาณทัศนะก็คือทัศนคติเรานี่ไง ความคิดเรานี่ทัศนะ โฮ..พูดคำนี้ชัดๆ เลย แล้วถ้ามันชัดๆ นี่ ญาณทัศนะ ญาณคือจิต ญาณคือพลังความรู้สึก แล้วญาณทัศนะ เพราะมีสมาธิ เห็นไหม ที่ว่าเป็นฌานเป็นญาณ มีสมาธิ แล้วปัญญามันเกิด เกิดบนนี้ เพราะมันมีปัญญาญาณ เพราะตัวญาณคือตัวนามธรรม ตัวนามธรรมคือความรู้สึก

แล้วเวลาทัศนคติเป็นความรู้สึก ในความคิดมันเป็นความรู้สึกไหม เป็นความรู้สึก แต่มันเป็นความคิดในสามัญสำนึก แต่ญาณทัศนะมันตัดกันตรงนี้ไม่ได้ ญาณคือตัวพลังงาน คือตัวความรู้สึกคือตัวจิต แล้วทัศนะคือปัญญาที่เกิดจากญาณอันนี้ เกิดจากฐีติจิต เกิดจากสิ่งที่มีกิเลสอยู่

ญาณทัศนะคือปัญญาญาณที่เข้าไปทำลาย ทำลายความเห็นผิด เขาอธิบายไว้ว่า ญาณทัศนะก็คือทัศนคติ พูดคำนี้เลยนะ ญาณทัศนะก็คือทัศนคติไง กายไม่ใช่เรา อะไรก็ไม่ใช่เรา เอ็งคิดกันไม่เป็นเหรอ อะไรก็ไม่ใช่เรา เอ็งคิดสิ เอ็งคิดว่าไม่ใช่เรา นั่นนะทัศนะ ถ้ามีทัศนะเห็นถูกต้องน่ะ โสดาบัน (หัวเราะ)

ให้มีทัศนคติที่ดี ทัศนคติ เอ็งมีทัศนคติสิว่ากายไม่ใช่เรา อะไรก็ไม่ใช่เรา โอ้โฮ..นี่ เวลาคำสอนคำชี้อย่างหนึ่ง เวลาวัดผลน่ะ อันนี้โสดาบันนะ สกิทานะ อนาคานี่ บอกว่า “กามธรรม ละกามธรรม โอ้โฮ.. ละกามธรรมนะ เอ็งเคยได้ยินไหมกามธรรม ธรรมที่เป็นกาม พอละแล้วก็เป็นอนาคาน่ะ (หัวเราะ)”

เพราะใช้คำว่าชี้ที่ถูกต้องไม่ถูกต้อง ตอนนี้เรื่องความชี้ก็สรุปแล้วว่า ชี้มามันชี้ถูกหรือชี้ผิด พอชี้ถูกหรือชี้ผิด ลูกศิษย์เรายืนยันมาตั้งแต่เขายังไม่มีอะไรเลย กรณีกระแสนี้เกิดขึ้นมา เราพูดมาตั้งแต่ทีแรกเลยไม่ใช่ ไม่ใช่หรอก แต่ถ้าพูดอะไรไปก่อน มันก็เหมือนกับว่าติเรือทั้งโครง คือสิ่งใดยังไม่เกิดเลยก็เที่ยวไปติไปเตียนเขา เราก็เฉยมาตลอด

ดังนั้นหนังสืออะไร หลักฐานอะไรเข้ามาเยอะมาก เราก็ยังเฉยอยู่เพราะพูดออกไปมันก็อย่างว่าแหละ เพราะนี่นะ ไม่พูดก็หาว่าเราไม่รู้ตัวนะ เพราะหลวงตานี่ เวลาท่านคุยกับเราอยู่ตลอดเวลา “โรคตาแดงน่ะ โรคตาแดงคือโรคขี้อิจฉา” เห็นใครดีไม่ได้ ตาแดงเข้าใส่เลยนะ เห็นใครดีนี่ ตานี่วาววาววาวเลย โรคตาแดง

หลวงตานะท่านพูดกับเราประจำ ไอ้โรคตาแดง โรคขี้อิจฉา เราก็รู้ตัวอยู่ตลอด ก็ไม่พูดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรมา แต่สิ่งที่ออกมาพูดน่ะมันทนไม่ได้ ตอนสุดท้ายหลังๆ นี่ ลูกศิษย์มาก็พุทโธตัวแข็ง พุทโธนี่นะ ใครกำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธทั้งชีวิตก็ไม่ได้ปฏิบัติ พุทโธ มันเสียชีวิตทั้งชีวิตเลย แหม..ทำไมพุทโธนี่มันเลวขนาดนี้ ทำไมพุทโธนี่มันต่ำต้อยขนาดนี้วะ จนทนไม่ไหวถึงได้ออกมาพูด

พอออกมาพูดแล้วนะมันเป็นนิสัย นิสัยคือว่า ถ้าพูดแล้วมันจะเป็นแบบว่าพูดจริง แล้วยอมรับความจริง คือ พูดแล้วต้องยืนยันคำพูดว่างั้นเหอะ พอเราออกมาพูดแล้ว ตอนนี้เอาละ ถ้าพูดแล้วก็ยืนยันคำพูดทุกคำพูดที่พูดออกไป แล้วคำพูดที่พูดออกไปทุกคำ รับผิดชอบ รับผิดชอบว่าได้พูดจริง นี้พอพูดจริงมันก็ยันแล้ว

นี่ที่ออกมาเพราะเหตุนี้ อันนี้เขาบอกนี่เขาพูดอยู่ เขาบอกว่า เวลาพูดนะว่าไม่ต้องการอะไรเลย แล้วอะไรนะต้องเจริญศรัทธา แม้แต่ศรัทธาที่วัดยังรักษาไม่ได้เลยจะรักษาศรัทธาที่ไหน ยุให้โยมเขาทะเลาะกัน ไม่ใช่ ให้ข้อมูลให้ความเห็น แล้วโยมไปวิเคราะห์กันตามความเป็นจริง กาลามสูตรพระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้น ให้เชื่อประสบการณ์นั้น

แล้วเราพูดแล้วก็ไม่ได้หวั่นไหวว่า จะรักษาศรัทธาใครหรือไม่รักษาศรัทธาใคร อย่างที่พูดตอนเช้าน่ะ บารมีธรรมของแต่ละบุคคลเป็นสมบัติของส่วนตน ไม่มีใครเอามาแทนใครได้หรอก เราพูดออกไปก็พูดเพื่อข้อเท็จจริงเท่านั้น เราพูดกับลูกศิษย์บ่อยมากเลย เวลาพระมา

“กู..ได้ทำหน้าที่กูแล้ว กู..ได้แสดงสัจธรรมแล้ว มันเป็นหน้าที่พวกมึงต้องทำให้เกิดขึ้นในหัวใจของพวกมึงเอง”

“กู..ได้ทำหน้าที่กูแล้ว แล้วจบหน้าที่กูแล้ว กู..ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น กู..ได้ทำหน้าที่ กู..ได้แสดงสัจธรรมแล้ว หน้าที่พวกมึงเท่านั้นต้องทำขึ้นมาในหัวใจของพวกมึง ไม่มีใครทำให้ใครได้ ไม่มีใครจะทำแทนใครได้ มันเป็นหน้าที่ ไม่ใช่ต้องการศรัทธา ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้นมันเป็นหน้าที่ต้องทำตามหน้าที่ แล้วหน้าที่ได้ทำแล้ว”

จบยัง จบนะ เอวัง