ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จุดลงตัว

๑๘ ม.ค. ๒๕๕๓

 

จุดลงตัว
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบปัญหาธรรม วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ประเด็น : กรณีอย่างนี้นะ เพราะมันมีนะ ถ้ากรณีอย่างนี้แล้ว หนังสือรำลึกวันวานเห็นไหม ที่เขาพิมพ์ประวัติหลวงปู่มั่น

หลวงพ่อ : เพราะหลวงพ่อ........เขาเคยอยู่กับหลวงปู่มั่นมา สมัยครูบาอาจารย์เราอยู่ที่บ้านผือ พอหลวงปู่มั่นเสียแล้ว ทุกคนก็ออกไปหมด แล้วพอหลวงตาว่าไม่มีใคร หลวงตาก็กลับไปอีก แล้วพวกนี้ก็มาด้วย หลวงตาก็ทิ้งวัดออกไป ไปอยู่หนองผือมา ฉะนั้นพอ อยู่ที่นั่น สุดท้ายแล้วเขาก็สึกไปไง แต่เขาเคยอยู่กับหลวงปู่มั่นใช่ไหม พอเคยอยู่กับหลวงปู่มั่น เขาก็ว่าเขามีศักยภาพไง แล้วเขาก็จดบันทึกอะไรของเขาไว้ แล้วพอมาพิมพ์หนังสือ มันก็มาที่อันนี้ มาที่โยมพูด

ถ้ามันเป็นปริยัติ แล้วหลวงปู่มั่นเป็นภาคปฏิบัติ ทีนี้ภาคปฏิบัติ เวลาเราพูด เราต้องอ้างอิงปริยัตินั่นแหละ แต่ว่าภาคปฏิบัติจะอ้างอิงปริยัติ มันมีความรู้จริงรองรับใช่ไหม เหมือนกับ เช่นทางนักวิชาการเดี๋ยวนี้ มีนักวิชาการมากเลยที่ว่า เขาไปประกอบสัมมาอาชีวะแล้วเขาได้มีโลกทัศน์สูงส่งมาก แล้วเขาอยากจะเอาวิชาการของเขาออกมา ก็มาเป็นอาจารย์พิเศษเห็นไหม เพราะเขามีข้อมูลจริงของเขารองรับใช่ไหม มันก็เป็นประโยชน์ เป็นความปกติ

แต่ถ้าพูดถึงฝ่ายปฏิบัติ มันก็อ้างอิงปริยัติเหมือนกัน แต่! แต่มีข้อเท็จจริงนี้รองรับ แต่ถ้าเราศึกษาทางวิชาการ เราไม่เคยมีประสบการณ์อันนั้น ไอ้อ้างปริยัติมานี้มันก็อ้างผิด เวลาอ้างปริยัติจะผิดเลย ผิดอะไรตรงไหนล่ะ เราพูดบ่อยมากกับพวกลูกศิษย์เวลาเขามา เขาบอกว่า “พุทธพจน์ พุทธพจน์” เขาฟังว่าเหมือนกับเรานี้จะปฏิเสธพุทธพจน์ เราบอกว่าเราไม่ได้ปฏิเสธพุทธพจน์นะ ปริยัติไม่ได้ปฏิเสธหรอก ปฏิเสธพระพุทธเจ้าได้อย่างไร แต่เราปฏิเสธไอ้คนพูดพุทธพจน์ พุทธพจน์นั้นไม่ปฏิเสธ ปฏิเสธไอ้คนพูดพุทธพจน์นั่นนะ มึงพูดพุทธพจน์นี่มึงพูดจริงตามพุทธพจน์นั่นหรือเปล่า ฉะนั้นถ้าบอกว่าจะไม่ให้มีปริยัติเลย ก็ไม่ใช่

หลวงปู่มั่นเวลาท่านอ้างเห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านเคารพบูชาพระพุทธเจ้ามาก หลวงตาเล่าประจำเลย ถ้ามีตัวหนังสือตัวอักษรอย่างนี้ ท่านก็ไม่ยอมนั่งแล้ว หนังสืออักษรทุกภาษา สามารถสื่อธรรมะของพระพุทธเจ้าได้ ท่านจะเชิดชูไว้ที่สูงตลอดเวลา ท่านไม่ได้เคารพเฉพาะธรรมะของพระพุทธเจ้านะ ท่านเคารพถึงสื่อที่แสดงออกถึงธรรมะพระพุทธเจ้าเลย

ฉะนั้นที่เขาบอกว่าพระป่าเรา พระปฏิบัติเรา ไม่เคารพพุทธพจน์ ไม่จริง! เคารพด้วยหัวใจ เคารพด้วยสุดยอดชีวิตเลย แล้วเคารพด้วยความรู้สึกเลย แล้วอ้างอิงมาตรงนี้

กรณีอย่างนี้ ถึงบอกว่า มันไม่มีใครสามารถเคลียร์ หรือเห็นจริง เห็นข้อเท็จจริงได้ ฉะนั้นกรณีของหนังสือรำลึกวันวาน กรณีหนังสือที่เขาเอามาอ้างอิง เขาเอามานี้

เราคัดค้านไปพอสมควร พอคัดค้านไปปั๊บ เขาก็ไปรื้อค้นกัน เราได้ข่าวว่าเขาไปรื้อค้นกันที่วัดบรมนิวาส ข้อมูลเก่าๆ เดิมๆ ที่เขาเก็บไว้ เขาบอกว่ามันขัดแย้งกับหนังสือที่เขาพิมพ์ จนเขาบอกว่า เขาจะเรียกคืนหนังสือกันเลยนะ สุดท้ายเรื่องก็เป็นคลื่นกระทบฝั่ง ก็หายกันไปเลย

ที่เราพูดนี้ เราพูดกับใครรู้ไหม เราพูดกับผู้ที่ไปดำเนินการพิมพ์หนังสือเล่มนั้นเลย พอเราพูดถึงหนังสือเล่มนั้นปั๊บเขาพิมพ์เสร็จแล้ว เพราะหนังสือเล่มนั้นเดิมเขาพิมพ์ในนามของพวกเขา แล้วไปแจกแล้วมันไม่ติดตลาด คือ คนเราก็รู้ว่ากลุ่มชนใด ทีแรกกลุ่มชนใดเห็นไหม อย่างเช่นลูกศิษย์หลวงตาเรา เราไปส่วนใหญ่แล้ว แต่เดิมเมื่อก่อนเข้าหาหลวงตา หลวงตาท่านบอกว่าจะไม่มีธุรกิจในวัดเลย หนังสือหรือทุกอย่างต้องให้แจกเป็นธรรมทาน พวกเราเลยทำด้วยหัวใจ แต่ทีนี้พอของออกไป กลุ่มชนนี้เขาก็เลยแบบว่าไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทีนี้เขาก็พิมพ์หนังสือกัน เขาก็ไปแจกกัน มันแจกแล้วมันไม่เวิร์ก เขาก็เลย...

เราคิดว่านะ เราเป็นพระ เราอยู่ในวงใน เราคิดว่าคงจะมีทีมงานอะไรของเขา ต้อง มีการทำวิจัยกันอยู่ เขาถึงบอกว่าให้พิมพ์ใหม่ แล้วให้พิมพ์ในนามมูลนิธิหลวงปู่มั่น พอพิมพ์ในนามมูลนิธิหลวงปู่มั่น แล้วเอาหนังสือนี้มาแจกในมูลนิธิหลวงปู่มั่น เพราะ มูลนิธิหลวงปู่มั่นเป็นสมบัติของวัดป่าบ้านตาด แล้วพอพิมพ์ในนามมูลนิธิหลวงปู่มั่นเสร็จแล้ว ก็เอาไปแจกที่สวนแสงธรรม ถ้ามันออกมาจากศูนย์อำนาจ ออกมาจากสิ่งที่มีความน่าเชื่อถือ หนังสือนี้จะกระจายออกไป ทีนี้กระจายออกไปหนังสือนี้บังเอิญเขาเอามาให้เราเล่มหนึ่ง เราเปิดดูแล้ว คล้ายของโยมแล้ว ข้อมูลมันขัดแย้งกัน ขัดแย้งกันว่าหลวงปู่มั่นบอกว่า พระพุทธเจ้าเกิดเมืองไทย เป็นชาวพุทธ

เวลาพูดถึงความเจริญ พูดถึงอะไรอย่างนี้ เวลาที่หลวงปู่มั่นพูดไง ทีนี้พอหลวงปู่มั่นพูดแล้วไอ้คนฟังมันก็ฟังไป โทษนะ ฟังได้ศัพท์หรือไม่ได้ศัพท์ พอฟังไม่ได้ศัพท์ก็จดจารึกไว้ เราไปดู เราจำไม่ได้ชัดเจน แต่พอเปิดมา เห็นหลายหน้าเลยว่า ผิดหมดเลย! แล้วมีบางเรื่องบอกว่า อันนี้ผิดหรือถูกเราอาจจะคลาดเคลื่อนนิดหน่อย เพราะมันหลายปีแล้ว เราก็ไม่ได้แม่นยำนะ

ที่มีบอกไว้ว่า ความเห็นของหลวงปู่มั่นบอกว่า พระพุทธเจ้าได้อนาคามีก่อนที่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอะไร เพราะลอยถาดทองคำขึ้นเหนือน้ำไปนั้น เห็นทวนกระแสไง เห็นว่าปัญญามันทวนกระแส เขาบอกว่าหลวงปู่มั่นเทศน์อย่างนั้น

เราดูแล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยในความสามัญสำนึกของเรา เพราะอะไร โยมนะ โยมศึกษา โยมมีการศึกษา แต่โยมยังไม่จบการศึกษา โยมจะไปเป็นอาจารย์ได้ไหม ไม่ได้ โยมต้องมีการศึกษาจบแล้วใช่ไหม โยมถึงมาทำหน้าที่การงานกันใช่ไหม พระพุทธเจ้ายังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า จะสำเร็จอนาคาได้อย่างไร พระพุทธเจ้ายังไม่สำเร็จใช่ไหม ยังไม่บรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า อนาคามี มันมีอยู่แล้วเหรอ มันก็ขัดแย้งกันใช่ไหม

โยม ๑ : สมัยนั้นยังไม่มี

หลวงพ่อ : ไม่มี ไม่มี ธรรมะยังไม่มี พอมันเขียนออกมาอย่างนั้น เราก็ “โอ้โฮ มันผิดมาก” พอผิดมาก เราก็โต้แย้งไป

โยม ๑ : เขาอาจจะ เป็นเพราะว่า มีสภาวะทำนองเดียวกับอนาคา หลังจากนั้นหรือ เปล่า คนเขียนน่ะ

หลวงพ่อ : ไม่หรอก เขาคิดกันไปเอง เพราะความเห็นอย่างนี้ เราก็เห็น อาจารย์จวนก็เทศน์อย่างนี้ ถ้าลอยถาดทองคำ เป็นอนาคามาก่อน ถ้าไม่เป็นอนาคามาก่อน จะกล้าบอกนั่งตลอดรุ่ง คืนนี้ถ้าไม่สำเร็จจะไม่ยอมลุกนี่ ไม่มีหรอก เพราะคนเราถ้าเราไม่ปฏิบัติหรือเราไม่รู้จริงเลย ประสาเราว่ามันเป็นการคาดหมาย พอเป็นการคาดหมายปั๊บ เราคาดว่า ใช่ เราก็จะบอกว่า ใช่ เป็นอย่างนั้นไป แล้วพอบอกว่า ใช่ แล้วนะ ประเด็นมันเกิดแล้ว ถ้าเราบอกว่าใช่ปั๊บ เราจะหาเหตุผลอะไรมารองรับความใช่ของเรา พอหาเหตุผลอะไรมารองรับความใช่อันนี้ มันก็เป็นจินตนาการแล้ว เป็นเรื่องตรรกะ

ตอนนี้ศาสนาที่มีปัญหากันอยู่ตรงนี้ ตรงที่เพราะมันไม่รู้จริง ถ้าคนรู้จริงอย่างครูบาอาจารย์เรา อย่างหลวงตาครูบาอาจารย์ของเรา ท่านไม่ต้องหาอะไรมารองรับ เพราะความรู้จริงมันมาจากข้อเท็จจริง เหตุผลที่ทำขึ้นมา เหตุผลที่เราปฏิบัติขึ้นมามันรองรับอันนี้ มันพูดตามนั้นไม่ต้องไปหาอะไรมารองรับเลย มันเป็นความจริงของมัน ความจริงแท้ ทีนี้ถ้าเราคิดว่ามันเป็นอย่างนั้น มันไม่มีอะไรรองรับเพราะเราคิดว่า เราก็ไปหาเหตุผลมารองรับ พอรองรับมันก็อยู่ที่แนวคิดแล้ว

โยม๒ : มันก็เป็นจินตนาการอย่างที่ท่านบอกเมื่อกี้

หลวงพ่อ : มันเป็นแนวคิดแล้วใช่ไหม เป็นแนวทางของใคร แล้วดูที่ปฏิบัติกันสิ ย้อนกลับมา การปฏิบัติในสังคมไทยตอนนี้ แนวทางต่างๆ นั้น อยากถามว่าที่ปฏิบัติกันอยู่ มันจริงหรือ ทำได้จริงๆ หรือ ที่ปฏิบัติกันอยู่มันจะบรรลุธรรมได้จริงหรือ แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์เราล่ะ

โยม ๒ : มีตัวอย่างให้เยอะแล้ว

หลวงพ่อ : แน่นอน! เราพูดคำนี้ เราพูดในทางข้อเท็จจริงนะ อย่างการปฏิบัติกันมา ในสังคมเมืองไทย พวกอภิธรรมปฏิบัติมาเผยแผ่มากี่สิบปีแล้ว ปฏิบัติกันเป็นแสนเป็นล้าน ขอดูสักคนหนึ่ง คนไหนที่ปฏิบัติแล้วได้ผล เอาคนเดียวไม่ต้องมากหรอก! เอาคนเดียว แล้วคนนั้นถ้าปฏิบัติได้จริง ขอคุยหน่อยเดียวเท่านั้นล่ะ ที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทยนี่

แต่ของเรานี้ หลวงตาท่านพูดนะ ตอนที่ท่านพูดในวงในของเรา ตอนที่สมเด็จญาณฯฯท่านยังเป็นพระหนุ่มๆ ด้วยกันกับหลวงตา เพราะหลวงตาท่านมีบารมี ท่านสำเร็จตั้งแต่พรรษา ๑๖ แล้วท่านมาหาสมเด็จญาณฯ “มีอะไรถามมา มีอะไรถามมา มีความจริงถามมาสิ ถามมา” เพราะปัญญาเราเยอะ แต่เราไม่รู้ว่า มันสรุปจบตรงไหน พระพุทธเจ้าสอนหลากหลายนะ ในพระไตรปิฎกนี้สอนตั้งแต่สามัญชน สอนตั้งแต่ระดับของทาน สอนพระผู้เริ่มปฏิบัติ สอนขนาดผู้ปฏิบัติที่ใกล้สำเร็จแล้ว ทีนี้ที่พระพุทธเจ้าพูดนั้น พระพุทธเจ้าพูดกับใคร พูดคำนี้พูดกับใคร ถ้าพูดกับเด็ก แล้วพระพุทธเจ้าเอาอริยสัจที่สูงส่งไปพูดกับเด็ก เด็กมันจะเข้าใจได้ไหม

ทีนี้เราก็จำมาทั้งตู้เลย พุทธพจน์ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าพูดทั้งนั้นเลย แต่พูดอย่างไร พูดกับใคร พูดตรงไหน เรารู้ไม่ได้หรอก พอพระพุทธเจ้าพูดปั๊บ ราบแล้วยอมหมดเลย แต่ถ้าผู้ปฏิบัตินะ คำพูดอย่างนี้เพราะเรามีความรู้สึกมีความจริงอย่างนี้รองรับ ท่านพูดอย่างนี้ท่านหมายถึงอย่างนี้ เพราะอะไร ระดับนี้มันอย่างนี้ เคลียร์! ถ้ามีความสงสัยที่มากกว่านี้ คำนี้ไม่เคลียร์ มันต้องระดับที่เหนือกว่า แล้วถ้าเราปฏิบัติขึ้นไป โธ่ เราพูดบ่อยมากเลย เวลาหลวงตาท่านพูดนะ เวลาจิตว่างหมดเลย จิตมองไปภูเขาทะลุหมดเลย ทำไมจิตคนมหัศจรรย์ขนาดนี้ ทำไมมันมหัศจรรย์ขนาดนี้ โอ้ย มันลึกลับซับซ้อน ก็บอกว่าสุดยอดแล้ว แล้วท่านบอกว่าธรรมะกลัว ธรรมะคือสัจธรรมที่ได้สร้างบุญญาธิการมา ความสว่างไสวเกิดจากจุดและต่อม สิ่งที่เป็นความสว่างไสว สิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้มันมีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป ท่านเกิดเป็นจุดและต่อม ท่านบอกงงไปหมดเลย เพราะหลวงปู่มั่นนิพพานไปแล้ว ท่านบอกว่า ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่นะวันนั้นสำเร็จเลย เพราะหลวงปู่มั่นบอก ท่านชี้กลับเลย ท่านบอกท่านก็ยังหาอยู่อีก ๘ เดือน พอย้อนกลับมานะ ไอ้ที่สว่าง สว่าง เกิดจากอะไร เกิดจากจุดและต่อม เกิดจากภพ เกิดจากฐีติจิต พอทำลาย ตึ้ม! ไม่มีเลย จบ!

ท่านบอกเลย ไอ้ที่ว่าตื่นเต้น มหัศจรรย์สว่างไสวน่ะกองขี้ควาย เห็นไหมจากที่เราไม่รู้ มันถึงมหัศจรรย์ มันเป็นสิ่งที่ โอ้โฮ สุดประเสริฐ สุดยอดเลย แต่พอผ่านไปแล้วนะ กลายเป็นกองขี้ควาย กลายเป็นของที่เราต้องทิ้งมันมานะ เราต้องผ่านทะลุมันไป นี่เราจะพูดถึงความหยาบละเอียด เห็นไหม เวลาคนสูงๆ ขึ้นไป แล้วพระพุทธเจ้าพูดเรื่องอะไร ถ้าเราไม่มีประสบการณ์อย่างนี้ มันรู้ได้ยาก แต่ถ้าเรามีประสบการณ์มาหมดแล้ว ถ้าพูดอย่างนี้ พุทธพจน์นะ ใช่! ก็พุทธพจน์ ไม่ได้ปฏิเสธว่าพุทธพจน์ แต่ท่านพูดเรื่อง อนุปุพพิกถา พูดถึงเรื่องให้คนเสียสละ

แล้วเวลาพูดก็บอกว่า นั่นสักแต่ว่า นี่สักแต่ว่า นั่นสักแต่ว่านะ โมฆราช เธอจงมองว่าโลกนี้สักแต่ว่า คนเขาบอกว่า ทุกอย่างเป็นสักแต่ว่า พระก็เอามาเทศน์กันนะ มันก็สักแต่ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เรา สักแต่ว่า สักแต่ว่า

โทษนะ แล้วมึงได้อะไรล่ะ มึงได้อะไร ก็มันสักแต่ว่าก่อนมึงเกิดอีก มึงไม่เกิดมันก็สักแต่ว่าอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วมึงเกิดแล้วมึงสักแต่ว่า มึงได้อะไร

พระพุทธเจ้าสอนพระโมฆราช “เธอจงมองดูโลกนี้ มันเป็นสักแต่ว่า มันเป็นความว่าง มันเป็นธรรมชาติของมัน แล้วให้กลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ ไอ้ผู้รู้ว่าเขาว่างนะ”

ธรรมดาเราจะร่วมไปกับเขา ความคิดในสังคม เราไปกับเขาทั้งหมดเลย เราเห็นสังคมเป็นสังคม เราเป็นเรา แล้วเราต้องถอนความยึดมั่นถือมั่น อัตตานุทิฏฐิ คือ พื้นฐานของเราออกให้ได้ ถ้านู่นสักแต่ว่า นี่สักแต่ว่า อ้างสักแต่ว่า เราก็สักแต่ว่า แต่พอมันถอน ไอ้เรา ไอ้สักแต่ว่า เห็นเขาสักแต่ว่า มันก็หดตัวมาเป็นเรา พอถอนเรา ผลัวะหมดเลย จบ!

พระพุทธเจ้าสอนเข้าไปอีกชั้นหนึ่งนะ แต่พระมันจำมา นู่นก็สักแต่ว่า นี่ก็สักแต่ว่า เอ้า แล้วสักแต่ว่าแล้วเอ็งมาจากไหนน่ะ แล้วทำไมถึงสักแต่ว่าล่ะ มันมีเหตุมีผลของมัน มันเป็นระดับของมัน กว่าจะสักแต่ว่าได้ อย่างเช่น เราผ่านโลกมามากเห็นไหม เราพอกันแล้ว เราเข้าใจเรื่องโลกแล้ว แต่ไปดูวัยรุ่นสิ มันเจออะไรมันก็ยึดของมันประสบการณ์เห็นไหม จิตที่มันผ่านมาแต่ละชั้นแต่ละตอน มันจะรู้ของมัน แต่ถ้าเราไม่มีประสบการณ์ ไม่มีการกระทำมาเลย คำพูดก็พูดคำเดียวกัน สังคมแต่ละสังคมรับรู้ต่างกันเยอะมาก ฉะนั้นพระพุทธเจ้าพูดอย่างนี้แล้วจะตีความกันอย่างไร ไอ้ตรงนี้เราเห็นใจ รู้ไหม เพราะว่า หนังสืออะไรต่างๆ จะมาถึงที่เราเยอะมาก

แล้ววันนั้นมีพระองค์ที่เขามาปฏิบัติ แล้วบอกว่า นิพพานคือไม่มีอะไรหรอก พระอรหันต์น่ะหรือ พระอรหันต์เวลานอนก็นอนตกภวังค์ไปเลย

ฮะ! เราอ่านแล้วตกใจเลย อะไร? พระอรหันต์นอนแล้วตกภวังค์ไปเลยหรือ เราก็พูดให้พระฟัง พระบอกเลยว่า หลวงพ่อ! อย่างนี้เวลาออกมา สังคมเขารู้ไม่ได้หรอก เพราะระดับคุณธรรมอย่างนี้ ใครจะกล้าตีความ แล้วใครจะกล้าเข้าใจล่ะ

พอเขาพูดคำนี้ขึ้นมา เราก็ อืม! เห็นใจจริงๆ นะ

สังคมเรานี้พอเห็นหนังสือพระ แล้วถ้าพระที่มีชื่อเสียงด้วย เราก็ราบแล้วไม่กล้าโต้แย้ง ไม่กล้าคิดแง่บวกแง่ลบเลย แต่ถ้าเป็นปฏิบัติเรา ต้อง! ต้องเหมือนกัน! ถ้าไม่เหมือนกันก็หนังสือผิด ถ้าหนังสือถูกเราก็ผิด มันต้องกล้าคิด กล้าโต้แย้ง ถ้าไม่กล้าโต้แย้งเราจะไม่เห็นว่าเราถูกหรือเราผิดเลย ฉะนั้นกรณีอย่างนี้ กรณีที่ว่า มาเขียนกันมา เขียนกันไป

เราดูเรื่องนี้แล้วเรามันก็สะเทือนใจอยู่แล้วล่ะ แล้วต่อไป หลวงปู่มั่นบอกไว้แล้ว ต่อไปคนจะเอาเยี่ยงเอาอย่าง เพราะกิตติศัพท์ กิตติคุณของท่าน หลวงตาเล่านะ เวลา ท่านใกล้เสีย ท่านจะพูดกับหมู่พระว่า

“หมู่คณะ นึกถึงสิ่งที่ผมทำมาบ้างหรือเปล่า ”

หลวงตาบอกเลย “นึกถึงเต็มหัวใจเลยล่ะ”

คือว่า คุณสมบัติ คุณประโยชน์ที่ท่านทำไว้กับสังคมไง

หลวงตาบอกว่า “นึกอยู่เต็มหัวใจเลย แต่งานของตัวยังไม่เสร็จ ถ้างานของตัวเสร็จแล้วจะทำ”

พอหลวงปู่มั่นท่านนิพพานไปแล้ว หลวงตาท่านก็ปฏิบัติต่อไปจนท่านถึงที่สุดแล้ว ท่านก็เก็บข้อมูลของท่านมาเรื่อยๆ จนในที่สุดท่านก็มาเขียนประวัติ เพราะหลวงปู่มั่นเห็นไหม ด้วยคุณสมบัติของท่าน ท่านทำประโยชน์ไว้มหาศาลเลย พอท่านเสียไปแล้ว หลวงตาครูบาอาจารย์ของเราก็เอาสิ่งนี้ เอาประวัติของท่านมาเรียบเรียงเพื่อให้สังคมรับรู้

แล้ว! ด้วยความประพฤติปฏิบัติของลูกศิษย์ท่าน ของพวกหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว มันเป็นการยืนยัน มันเป็นการทำให้สังคมเชื่อถือศรัทธามากขึ้นไปอีก แล้วก็มีเอกสาร ประวัติหลวงปู่มั่นที่หลวงตาเขียน ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่มั่นสอนมา ท่านจะมีศักยภาพขึ้นมา

ทีนี้ไอ้คนที่มาเขียนนี้ มันมาเขียน มันก็...

โยม ๑ : ท่านอาจารย์ลองอ่านดูแล้วก็ลองบอกว่า อันไหนสมควร คือน่าจะถูกต้อง หมดหรือเปล่า ถึงได้นำมาถวายท่านอาจารย์

หลวงพ่อ : ๗๕ หลวงปู่มั่นขึ้นไปเชียงใหม่หรือยังไม่รู้ ถ้าว่าหลวงปู่มั่นออกจากถ้ำสาริกาแล้วขึ้นกลับไปภาคอีสาน แล้วท่านพูดอยู่ว่า “กำลังยังไม่พอ กำลังยังไม่พอ” แสดงว่าตอนนั้น ท่านรู้ตัวอยู่ว่าท่านยังไม่จบ แล้วพอกำลังยังไม่พอ ท่านก็ทิ้งหมู่คณะไว้ให้กับหลวงปู่สิงห์กับพระมหาปิ่น แล้วท่านก็ขึ้นไปเชียงใหม่ไง หลวงปู่มั่นไปสำเร็จที่เชียงใหม่ เราเทียบจากพรรษาของท่านได้แต่พ.ศ.เท่าไรอย่างที่ว่านั้นเรายังไม่ได้เทียบ เพราะตรงนี้เราจะเทียบตลอดเหมือนกันนะ หาข้อมูล

โยม ๑ : แต่ คำสนทนาธรรมอะไรนี้ โอ้โฮ ดีมากเลย

หลวงพ่อ : ดีมาก

โยม ๑ : ทำให้รู้อะไรหลายๆ อย่าง

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : โยมยังอ่านไม่หมด แต่เปิดๆ ดูแล้ว โอ้โฮ ดีมากเลย

หลวงพ่อ : อันนี้เห็นด้วย เพราะมันพิมพ์มาหลายทีแล้ว แล้วเราก็ดูของเราอยู่ อันนี้เพียงแต่ว่า มันมีปริยัติเข้ามาบ้าง ปริยัติมันก็เหมือนเราพูดพุทธพจน์นั่นแหละ

โยม ๑ : บางคนก็สงสัยว่า อาจจะไปเจอเอกสารต้นฉบับอยู่ในย่ามของท่านพระธรรมเจดีย์ แล้วท่านอาจจะแฝงใส่ เติมปริยัติเข้าไป อะไรทำนองนั้นหรือเปล่าไม่ทราบ เพื่อให้เข้าใจกระจ่างชัดขึ้น

หลวงพ่อ : ต้นฉบับ เพราะว่าอย่างเช่น กรณีหนังสือมุตโตทัย หลวงตาท่านพูดถึงอยู่ว่ากรณีหนังสือมุตโตทัย มันก็เป็นคำเทศน์ของหลวงปู่มั่นนี่แหละ แต่มันก็เหมือนกับ ชวเลขเห็นไหม จดเอา ทีนี้พอเราจดเอา หลวงตาท่านพูดเองว่า มุตโตทัยนี้ท่านเทศน์ แต่พอเราจดมาแล้ว มุตโตทัยจะแบ่งเป็นข้อๆ เห็นไหม ในมุตโตทัยแบ่งเป็นข้อๆ ที่เป็นข้อๆ นี่เราจด

ฉะนั้นกรณีอย่างนี้ก็ย้อนกลับมาที่ประวัติหลวงปู่มั่น ว่าหลวงตาเขียนประวัติหลวงปู่มั่น แล้วลูกศิษย์ลูกหาโยมแม่ของท่านชมว่า หลวงตาเขียนได้หยดย้อยขนาดนั้น ไอ้เขียนหยดย้อยขนาดนั้น หลวงตาท่านพูดคำนี้ออกมาไง ไม่รู้เขียนไม่ได้ไง ไม่รู้ไม่เห็นเขียนไม่ได้ หรือไม่รู้ซึ้ง อย่างเช่น ทางวิชาการ เขาพูดกันเป็นเรื่องธรรมดา ไอ้เราไม่ใช่นักวิชาการไปฟังเขา แล้วมันแปลว่าอะไรล่ะ มันก็ตีความต่างกันแล้ว

นี่เหมือนกัน ถ้าเราไม่รู้ เห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านพูดอะไร แล้วเราเข้าใจความหมายของคำนั้นมากน้อยแค่ไหน หลวงตาเวลาท่านพูดถึงมุตโตทัย ท่านพูดบ่อย บอกว่า หลวงปู่มั่นเทศน์แล้วพวกนี้ก็จดมาเป็นประเด็นๆ เวลาหลวงตาท่านพูดในความรู้สึกเราคิดว่า ท่านคงจะบอกว่า ความจริงมันมากกว่านั้น ว่างั้นเถอะ ความจริงมันละเอียดมากกว่านั้น

เพราะเราลองเทียบกับตอนนั้นสิ ตอนนั้นมัน ..๙๓ ไม่ถึง..๙๓ เพราะหลวงปู่มั่นยังเทศน์อยู่ พอ..๙๓ ..๙๒ ..๙๑ ด้วย เพราะ..๙๑ ป่วยแล้วตั้ง ๘ เดือนก็เลิกเทศน์ ไม่เทศน์แล้ว ทีนี้พอตอนเทศน์อยู่เราพูดถึงว่าคนจด เพราะผู้จดก็บอกว่าคืออาจารย์........ ถ้ายังระดับนั้น พวกนี้ตอนนั้นได้คุณธรรมหรือยัง เราจะเทียบตรงนี้นะ ถ้ายังไม่ได้คุณธรรม ก็ไม่มีทางรู้ได้

โยม ๑ : การจดต้องให้ครบถ้วนตามความเป็นจริง

หลวงพ่อ : แน่นอน! ถ้าไม่อย่างงั้นหลวงตาไม่พูดอย่างนี้มาบ่อย ถ้าพูดถึงมุตโตทัยปั๊บ หลวงตาจะพูดคำนี้ออกมาทุกที

โยม ๒ : หลวงพ่อครับ มุตโตทัย นี้ ยังมีอยู่ไหม

หลวงพ่อ : มี มีแจกทั่วไปเยอะเลย

โยม ๑ : อ๋อ พี่มี แต่ว่าต้องเอาไปซีรอกซ์นะ มีอยู่ฉบับหนึ่งเป็นฉบับดั้งเดิม

โยม ๒: คือผมฟังของหลวงตามาตลอด แล้วผมฟังที่หลวงพ่อพูดนี่ก็รู้สึกว่า มีอยู่ในที่ฟังมา สิ่งที่หลวงตาพูดถึงว่าไอ้บางองค์นี่บอกว่า พระอรหันต์ไม่ฝันแล้วอะไร ไม่จริง !

หลวงพ่อ : ไม่จริง

โยม ๒ : ท่านพูดอย่างนี้ ผมฟังอยู่พอดีเลย

หลวงพ่อ : เยอะ กรณีอย่างนี้นะ ที่พระพุทธเจ้าพูดนั้นถูกต้อง แต่ความหมายนี่เราตีไม่ออก พระอรหันต์มีราตรีเดียว บางคนจะบอกว่าพระอรหันต์ไม่นอน นอนไม่ได้ ก็ว่ากันไป

ราตรีเดียวนะ คำว่าพระอรหันต์มีราตรีเดียว ก็มีวันเดียวไง วันหนึ่งก็มี ๒๔ ชั่วโมง สมมุติมันบอกว่าวันจันทร์ อังคาร พุธ ต่างหาก เราอยู่กับสมมุติกัน ราตรีเดียวก็คือ ๒๔ ชั่วโมง แล้วมันมีอะไรล่ะ ก็มีปัจจุบันตลอดไง ก็มีวันนี้กับวันนี้ กับวันนี้ กับวันนี้เท่านั้น ก็รอวันตายน่ะ พระอรหันต์ถึงมีราตรีเดียว ไอ้คนก็บอกว่าพระอรหันต์มีราตรีเดียวน่ะ กูบอกว่า งั้นมึงเอาไม้ค้ำตากูไว้ แหม ห้ามนอน ไม่มีราตรี ก็เพราะพระอรหันต์ไม่นอน มันต่างกันนะ คำว่าราตรีเดียว เราลองคิดให้ดีสิ ราตรีเดียว

โยม ๑ : มืดแจ้ง มืดแจ้ง

หลวงพ่อ : ก็เท่านั้นนะ พระอรหันต์ไม่ฝันนะ เวลาเขาอ้าง เห็นไหม ตอนที่ท่านสะเทือนใจไง เวลาท่านพูดถึงว่าตอนอยู่วัดธรรมเจดีย์ เวลาท่านน้ำตาไหล หลวงตานี่มีพวกลูกศิษย์เขาเอาพระมาเยอะแยะเลย มาถามว่า พระอรหันต์ร้องไห้ได้ด้วยหรือ

ทีนี้เราก็ตีความหมายไง เราต้องคำนวณถึงความคิดของคนไง ถ้าเขาถามว่าพระอรหันต์ร้องไห้ได้ด้วยหรือ แสดงว่าเขาไม่เชื่อแล้ว แล้วพวกนี้เขาเป็นนักวิชาการนะ

เราถามเขากลับเลย “โทษนะ พระพุทธเจ้าปัสสาวะหรือเปล่า”

เขาบอกว่า “ปัสสาวะ”

เราบอกว่า “แล้วน้ำปัสสาวะกับน้ำตานี้ มันต่างกันไหม”

เพราะในความรู้สึกของโลกก็คิดว่า เราร้องไห้เสียใจคือทุกข์โศกใช่ไหม แต่ทีนี้น้ำตา คำว่าร้องไห้คือร้องไห้ของโลก แต่นี่เขาเรียกปลงธรรมสังเวช พอธรรมมันเกิด มันสะเทือนใจ สะเทือนใจมันไปเป็นธรรมธาตุ คือเราไม่ได้ทุกข์

โยม ๑ : สังขาร

หลวงพ่อ : ใช่ แล้วเอ็งบอกว่าพระอรหันต์ห้ามร้องไห้ แล้วเวลาเอ็งขี่รถไป แล้วลมเข้าตาเอ็ง น้ำตาเอ็งไหล เอ็งมันด้วยนะ เอ็งสะใจด้วยนะ แล้วน้ำตาไหล เอ็งทุกข์หรือเปล่า

พออธิบายอย่างนี้ปั๊บมันก็เข้าใจได้ไง แต่ถ้าเราคิดว่า พระอรหันต์ห้ามร้องไห้ ถ้าร้องไห้คือทุกข์ไง ความคิดมันผูกมัดไปเรื่อย คนร้องไห้คือคนเศร้าโศกใช่ไหม แล้วถ้าพระอรหันต์ร้องไห้คือพระอรหันต์ยังโศกอยู่ เราอ่านว่าเขาคิดอย่างนี้ พอคิดอย่างนี้ปุ๊บเราก็หักเลย คาดไม่ถึง คาดไม่ได้หรอก

โยม ๒ : คือคนที่ไม่ได้ปฏิบัติ เท่าที่ผมดู เท่าที่ฟัง ที่สังเกตนะครับ ก็จะโจมตีแบบเอาไอ้ความคิดของตัวเอง

หลวงพ่อ : ใช่ แน่นอน

โยม ๒ : อย่างเช่น บางทีบอกว่า เอ๊ะ แล้วคุณ อยากหลุดพ้นนี้มันเป็นกิเลสไหม เขาเอามาอ้างอย่างนี้เลยนะ บางคนขนาดนี้เลย

หลวงพ่อ : ทางวิชาการคุยกันอย่างนี้ แล้วทางวิชาการก็คือกรอบ ทางวิชาการก็วิชาการด้วยกัน แล้วเวลาพูดอย่างนี้ เราสะเทือนใจ เพราะอะไร เพราะเราก็นักปฏิบัติ พอปฏิบัติใหม่ๆ เราก็งงเหมือนกัน เราก็คิดว่าสิ่งนี้ เราจะพูดอย่างที่พูดเมื่อกี้นี้บอกว่า ที่ปฏิบัติอยู่นี้จริงหรือ เราพูดเมื่อกี้เห็นไหม ปฏิบัตินี้จริงหรือ นี่ไงเพราะการปฏิบัติ เราพยายามนะ เราสงสารคนเยอะมาก แล้วจะไปแก้ไขเขา สุดท้ายแล้วนะมันก็เหมือนเราไปสงสารสิ่งที่เราแก้ไขไม่ได้ ก็คือเขาไม่รู้เห็น อย่างเช่น โทษนะ ไส้ดงไส้เดือนมันต้องอยู่กับดินใช่ไหม เราสงสารเขา เราก็อยากเอาไส้เดือนมาอยู่บนโต๊ะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะความคิดเป็นของเขา ถ้าจิตใจความคุ้นชินของเขามันเป็นอย่างนั้น เราสงสารเขาขนาดไหน เขาพยายามจะไปช่วย แต่เขาเห็นเราเป็นลบหมดเลย

โยม ๒ : คือเมื่อก่อนนี้ พอผมฟังแล้วผมก็ตอบโต้ไม่ได้

หลวงพ่อ : ไม่ได้

โยม ๒ : แต่พอมาฟังหลวงตา หลวงตาบอกว่าอันนี้คือมรรค

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒ : นี่ มันปิ๊งขึ้นมาเลยครับ เพราะเมื่อก่อนนึกไม่ออกว่าจะโต้เขาอย่างไร

หลวงพ่อ : เราจะบอกว่า เราโต้เขามานาน แล้วเรามาอ่านหนังสือของเสถียรพงษ์ เขาเขียนเอง เราจะบอกว่าหลวงตาท่านใช้ชีวิตของท่านทั้งชีวิตเลย พูดคำที่โยมพูดบ่อยๆนี้ว่า ความอยากเป็นมรรคมันมี แต่ทางวิชาการหรือความคิดของสมองของคนก็บอกว่า ความอยากมันเป็นกิเลสหมด

โยม ๒ : เขาตีอย่างนี้ มันก็เลยไปไม่ได้ไง

หลวงพ่อ : ใช่ นี่ไง เขาตีพุทธพจน์นี้ผิดหมดไง พุทธพจน์เหมือนกัน แต่เขาไปตีว่าความอยากมันเป็นกิเลส แต่ถ้าเราไปดูในมรรคนะ ในมรรคมีความเพียรชอบ ความวิริยะอุตสาหะชอบ แล้วถ้าความเพียรชอบนี้มันเป็นความอยากหรือเปล่า แล้วเสถียรพงษ์เขาก็ ๙ ประโยคเหมือนกัน เพราะเขาฟังบ่อยๆ เราคิดว่าเขาต้องฟังธรรมะเหมือนกัน เขาถึงบอกว่าสังคมไทยตีปัญหานี้ผิด

ความอยากเห็นไหม กามฉันทะ-กามราคะ กามฉันทะคือความพอใจ ทีนี้กามฉันท์กับกามฉันทะ เขาบอก ความอยากความรู้สึกตัวมันเป็นกามฉันท์ มันจะตีเป็นกิเลสไม่ได้ เราเห็นเขาเขียนหนังสืออย่างนี้เลย เราถึงบอกว่า นักวิชาการนี้เขาเริ่มรู้สึกตัว แต่กว่าจะรู้สึกตัวได้ เขาต้องมีเหตุมีผลเข้าไปเปลี่ยนความคิดของเขา ต้องใช้ชีวิตทั้งชีวิตเลยเหมือนกับทางวัฒนธรรมของเรา สังคมไทยเรามีความเห็นอย่างนี้มา แล้วเราจะมาเปลี่ยนมุมมองของสังคม มันก็ยากพอสมควร

โยม ๒ : แต่ของหลวงตานี้ โอ้โฮ ให้อะไรผมมากมายเลย ผมแค่ฟังอย่างเดียวเลยนะ ฟังจากวิทยุหลวงตาตลอดทุกวันทุกคืน

หลวงพ่อ : ดีมาก

โยม ๒ : โอ้โฮ เมื่อก่อนนี้ผมตอบอะไรไม่ได้เยอะเลย แต่พอมาฟังแล้วผมตอบได้เยอะเลย

หลวงพ่อ : เพราะโยมวางใจเป็นกลาง ฟังธรรมด้วยเหตุด้วยผล แต่ถ้าคนเขาปิดใจ เขาจะบอกว่าพูดเว่อร์ พูดเกินกว่าเหตุ มันอยู่ที่อำนาจวาสนาบารมีของเครื่องรับ พวกเรานี้จะรับมากรับน้อยได้แค่ไหน ถ้าเราวางใจเป็นกลาง ฟังทุกๆ ฝ่าย แล้วหาเหตุหาผล เอาเหตุเอาผลนั้นมาพิจารณา ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ กาลามสูตรบอกไว้ไม่ให้เชื่อ แต่เราเอาเหตุเอาผลมาพิจารณา ถ้าเขามีเหตุผลที่ดีกว่าเราก็อยากได้สิ่งที่ดีกว่าเหมือนกัน เราก็ไม่อยากได้แค่นี้หรอก ถ้ามีที่ดีกว่าก็อยากได้อีก แต่ต้องมีเหตุมีผลที่ดีกว่าที่มีน้ำหนักมากกว่า

โยม ๒ : แต่ที่หลวงตาเทศน์ตรงนี้ ผมประทับใจมาก เพราะว่าบางทีมันตอบไม่ได้ที่ว่า เอ๊ะ ทำไม ถ้าคุณอยากหลุดพ้นมาก มันก็เป็นกิเลส

หลวงพ่อ : มันเป็นการยืนยันว่าประสบการณ์ของท่านมีจริง เห็นไหม

โยม ๒ : พอมาฟังแล้ว โอ้โฮ มันเปิดโลกตรงนี้ไปเลย

หลวงพ่อ : เพราะตรงนี้นะ มันเป็นประเด็นใช่ไหม แล้วสังคมนี่อ่อนแอ พอโยมพูดมา ทำไมต้องไปทุกข์ ทำไมต้องไปยาก มันก็เข้าประเด็นไอ้พวกที่ชอบง่ายๆ กัน พอชอบง่ายๆ ขึ้นมา ทุกคนก็ยืนยันอย่างนี้ว่าเมื่อก่อนทำอะไรไม่ได้เลย พอกำหนดทำอยู่ง่ายๆ แล้วมันสบาย ทำไมจะไม่สบายล่ะ ก็คนทำงานมันก็ต้องเหนื่อย เราบอกว่าเอ็งนั่งเฉยๆ เอ็งก็สบายแล้ว ทำงานอยู่แต่บอกให้ไม่ต้องทำอะไรให้นั่งสบายๆ มันก็สบายแล้ว แล้วอย่างนี้มันปฏิบัติธรรมแล้วหรือ แล้วมีธรรมะแล้วหรือ แล้วมันจริงหรือเปล่า

แต่มันเป็นสังคมหนึ่ง เราเอามาคุยกันด้วยเป็นรสนิยมเดียวกันว่า สบายๆ แล้วก็การันตีกัน ทั้งๆ ที่ในหัวใจนี้ก็สงสัย ในหัวใจนี่มันมีอะไรของมันอยู่ แต่ถ้าเราขยันหมั่นเพียรเข้าไป มันเป็นความจริง แล้วพอไปเจอเข้าจริงๆ พอมันว่างจริงๆ มันสุขจริงๆ อันนั้นล่ะมันยืนยัน เราโต้เรื่องนี้เยอะมาก

ไอ้เรื่องความอยากแล้วเป็นกิเลสนี้ เมื่อก่อนมันก็อธิบายไม่ได้ พออยากเป็นกิเลสนะ แต่มันสงสารนะ กลัวเวลาปฏิบัติไปแล้วมันจะหลงประเด็น ประเด็นหนึ่งคือ ถ้าเราไปกดไว้ ไม่ให้มีความอยากเลย มันเหมือนทำสักแต่ว่า ถ้าทำสักแต่ว่า จะไม่ได้ผลเลย

ฉะนั้นในฝ่ายอภิธรรมเขาถึงบอกว่า ห้ามไง ไม่ให้อยาก ให้ทำไปเฉยๆ มันก็เหมือนไม่รับผล พอไม่รับผลแล้ว เวลาปฏิบัติไป มันจะเกิดผลอย่างเช่น เกิดนิมิต หรือ จิตมันลง อาหารนี้เราจะปฏิเสธได้ไหมว่าไม่ให้มีรส มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีรสอะไรมันก็รสจืด อาหารอะไรมันไม่มีรส ไม่มีรสคือจืดมันก็รสเฝื่อน รสขม รสเปรี้ยว รสบูด มันต้องมีของมัน มันต้องมีรส แล้วบอกว่า อาหารไม่ให้มีรส มันเป็นไปได้อย่างไร

แต่นี่บอกไม่ให้อยาก มันเป็นไปไม่ได้ แต่อาหารนี้มันมีคุณค่าหรือเปล่า อาหารที่มันเสียหาย ถ้ากินเข้าไป มันก็ทำให้ร่างกายเราเสียหาย อาหารที่มันเป็นประโยชน์ กินเข้าไป ร่างกายก็เป็นประโยชน์ นี่ไงความอยากที่เราอยาก เห็นไหมที่อยากเป็นมรรคนะ

พอปฏิเสธนะ มันก็เหมือนกับไม่รับผล เราถึงบอกว่าพวกนี้ปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล แล้วเราจะพูดถึงที่เราพูดบ่อยตอนหลังนี้ว่า ถอนรากถอนโคน

การถอนรากถอนโคนนะ สี่งที่มาปฏิสนธิจิต คนเราเกิดจากจิตปฏิสนธิ ปฏิสนธิวิญญาณมันเกิดเป็นคน เพราะมีปฏิสนธิจิตนั่นคือภพ คือสถานที่ตั้ง ความคิดหลากหลายทั้งหมดเกิดจากที่นี่ เกิดจากภพ ภวาสวะ เห็นไหมที่ว่า สมเด็จพระธรรมเจดีย์ ถามว่า กิเลสสวะ อวิชชาสวะผมเข้าใจได้ ภวาสวะนี่ทำไมผมเข้าใจไม่ได้ ในนี้มี ภวาสวะอะไรอย่างนี้ มันเป็นกิเลสได้อย่างไร ภพนี่ ภพ! สถานที่มันเป็นกิเลสได้อย่างไร

หลวงปู่มั่นบอกว่า นี่ตัวร้ายที่สุดเลย เพราะเราไม่เห็นโทษของมันไง กิเลสสวะเราก็รู้ได้ใช่ไหม อวิชชาสวะเราก็รู้ได้ใช่ไหม แล้วภวาสวะมันเป็นกิเลสได้อย่างไร มันจืดสนิท มันแทบจะไม่มีการให้ค่ากันเลย แต่นี่คือตัวร้าย ตัวเกิดตัวตาย แล้วความคิดความอ่านทุกอย่างมันเกิดที่นี่ พอเกิดที่นี่นะ แต่เราไม่เห็นโทษของมันใช่ไหม เราไปเห็นแต่โทษของความคิดใช่ไหม เห็นแต่โทษของความทุกข์ที่หยาบๆ ใช่ไหม แล้วเราก็ไปดู นามรูป ดูเกิดดูดับ มันเกิดดับ เกิดดับนั้นมันเกิดดับข้างนอก เกิดดับที่เงาแล้วตัวมันเองได้อะไร เราเห็นมันตัดกันไง เราถึงบอกใช้คำว่า ถอนรากถอนโคน

แต่กรรมฐานนะ ให้นึกพุทโธขึ้นมา แล้วพุทโธมันอยู่ที่ไหนล่ะ นึกขึ้นมาจากไหนล่ะ นึกขึ้นมาจากภพ ความคิดมาจากไหน ความคิดมาจากจิต มาจากภพนี้ ความคิดเกิดดับใช่ไหม เดี๋ยวก็มีเดี๋ยวก็ไม่มี แต่ความรู้สึกนี้มีตลอด แล้วก็คิดพุทโธ พุทโธ พุทโธขึ้นมา พุทโธนี่คือความคิดนะ ความคิดมาจากไหน มาจากจิต มาจากกำเนิด พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธจนความคิดกับจิตมันเป็นสองใช่ไหม ความคิดกับเราเห็นไหม พลังงานคือสามัญสำนึกกับความคิด พุทโธๆ พุทโธๆ จนความคิดกับเราเป็นหนึ่งเดียว นี่คือสมาธิไง

แต่เขาบอกว่า สมถะน่ากลัวมาก สมาธิไม่มีประโยชน์ สมาธิก็เหมือนกับภพนี่แหละ ไม่มีใครเห็นมัน ภพนี่

แต่ถ้าเราพุทโธ พุทโธ พุทโธจนความคิดกับภพเป็นอันเดียวกัน ภพมีความคิดขึ้นมามันเป็นโลกุตตรปัญญานะ แต่ตอนนี้เป็นโลกียปัญญา ที่เราคิดกันอยู่นี้ ทางวิชาการคือโลกียปัญญา ปัญญานี้เกิดจากกิเลส ภพนี่คืออวิชชา อวิชชาอยู่ที่ภพใช่ไหม แล้วความคิดที่อวิชชาออกมา เวลาเราคิดขึ้นมา ปัญญาของเราคืออวิชชามันใช้ไง หลวงตาถึงบอกว่าปัญญาที่กิเลสพาใช้ ปัญญาของกิเลส

หลวงตาเน้นคำนี้บ่อยมาก ปัญญาของกิเลส ไม่ใช่ปัญญาของธรรม ปัญญาของกิเลส เพราะกิเลสมันอยู่ที่นี่ใช่ไหม ปัญญามันเกิดที่นี่นะ กิเลสมันชักใยอยู่นี่นะ ไปเลยๆ สบายมาก มันคุมหมดเลย เวลาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธจนมันเป็นอันเดียวกันเห็นไหม ปัญญามันเกิดที่นี่นะ นี่คือโลกุตตรปัญญาไง ปัญญาฆ่ากิเลสไง สมถะมันมีประโยชน์ตรงนี้ สมถะมันมีความสำคัญตรงนี้

แต่เพราะเขาปฏิเสธรากเหง้า ว่าสมถะไม่มีความหมาย สมถะแก้กิเลสไม่ได้ สมาธิแก้กิเลสไม่ได้ สมาธิทุกอย่างน่าเกลียดน่ากลัว น่าตกใจไปหมดเลย จนขยะแขยงด้วย

เพราะเราแก้มาเยอะ พวกอภิธรรมมาที่นี่

เราบอกว่า “ ให้กลับมาพุทโธ”

“เดี๋ยวเป็นสมถะนะ เดี๋ยวเป็นสมถะนะ”

เราถามกลับเลย โทษนะ โยมมีเงินเท่าไร มีเงินมาเท่าไรให้เอามาให้เราหมดเลย เพราะสมถะคือเงิน สมถะคือทุนไง แล้วมึงปฏิเสธเงิน ปฏิเสธทุน มึงไม่เอาเงิน ก็เอาเงินมาให้กูสิ ทีเงินมึงอยากเอา ทำไมล่ะ แล้วสมถะไม่เอา แล้วเงินจะเก็บไว้ทำไม เงินโอนมาให้กูนี่ (หัวเราะ)

เพราะคิดไม่ถึง สิ่งที่เป็นพื้นฐานเขาคิดไม่ถึง เพราะเขาไม่รู้จริง ถ้าเขารู้จริง อย่างเช่น ครูบาอาจารย์เราสำเร็จพระอรหันต์ได้ มรรคผลนี้มันตั้งอยู่บนอะไร มันเกิดขึ้นอย่างไร เกิดขึ้นที่ไหน พอเรารู้ปั๊บ มันเหมือนทางการแพทย์ เวลาเราจะมีการผ่าตัด ห้องผ่าตัดนี้ต้องปลอดเชื้อ ถ้าห้องผ่าตัด เครื่องมือผ่าตัดติดเชื้อนะ มึงเสร็จเลย การทำสมถะคือการฆ่าเชื้อ ให้มันเกิดโลกุตตรปัญญา เชื้อคือกิเลสมันทำให้เกิดโลกียปัญญาไง ปัญญาเยอะๆ นั้นกิเลสมันเป็นเชื้อ มันเอาไปใช้หมดเลย แต่เขาไม่เห็นนะ เขาไม่เห็นความสำคัญของความปลอดเชื้อ แล้วเขาผ่าตัดกันด้วยเครื่องมือที่มีเชื้อโรคกันทั้งนั้นเลย

โยม ๑ : พระอาจารย์คะ พระอาจารย์คุยตรงนี้โยมมีปัญหาอยู่อันหนึ่งค่ะ ของโยมปฏิบัติตั้งแต่ต้นโยมใช้อานาปานสติมา ทำไปจนกระทั่งจิตใจหายค่ะ ลมหายใจหาย กายหาย แล้วมันก็สว่าง แล้วเหลือจิตดวงเดียว แล้วโยมก็ทำแบบให้มีวสี ก็คือบางครั้งนี่เล่าถึงในอดีตนะคะ ประมาณสัก ๑๐ ปีที่แล้ว ก็เข้าออกด้วยความชำนาญ บางที ๑๐ นาที นะคะ กายก็หาย บางทีสุนัขที่บ้านเห่าโยมก็จะไม่ค่อยได้ยิน ก็สติอยู่ตรงนั้น คือ ดู ดู เฝ้าดูจิตอย่างเดียว ดูไปเรื่อยๆ สว่างตัวเบาออกมาก็สว่าง

โยมก็รู้สึกว่าตอนนี้ โยมก็ยังไม่มีใคร ตอนนี้โยมก็ ตอนช่วงนั้นนะฮะ พอหลังจากปฏิบัติเสร็จ มีอยู่วันหนึ่ง เราก็นอนทิ้งตัวลงนอน พอนอนปุ๊บ ทีนี้ศีรษะนะคะ เรารู้สึกว่าเท้าค่อยๆ กระดกขึ้นๆ แล้วก็ตรงนี้ก็จะขึ้น ศีรษะก็จะขึ้น โยมก็อุ๊ย มันไม่ใช่ทางหลุดพ้นนี่ โยมก็พยายามแหวกขึ้นมานั่ง แบบด้วยความอย่างนั้นเลยฮะ แหวกขึ้นมานั่ง พอขึ้นมานั่ง เอ้อ เราไม่เอาดีกว่าแบบนี้ เราต้องการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ไม่ทราบว่าตอนนั้นโยมทำถูกหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ถูก ตอนนั้นอานาปานสติ ใครสอน ทำเอง หรือใครสอน

โยม ๑ : ไปเรียนกับทางสายหลวงพ่อชา ท่าน.........

หลวงพ่อ : ใช้ได้ อันนี้เราจะพูดนะ อานาปานสติหรือสมาธิ เราถึงพูดบ่อยในซีดีเรา บอกว่าพระปฏิบัติหรือโยมปฏิบัติกันเดี๋ยวนี้สมาธิก็ไม่รู้จัก ไอ้ที่ว่ารังเกียจๆ กันนี้แต่ก็ไม่รู้จัก ถ้ารู้จักจะเป็นประโยชน์มาก เอ้าว่าไป

โยม ๑ : ทีนี้พอหลังจากนั้น โยมก็ทำแบบให้มีความชำนาญ คือเข้าออก บางทีเข้าห้องพระ ประมาณ ๑๐ นาทีโยมก็จะไปถึงจุดที่ว่า กายหาย เหลือแต่จิตและสว่าง ทีนี้ โยมก็อยากก้าวหน้า ตอนนั้นหลวงตามาที่สวนแสงธรรม แต่ก็เข้าไม่ถึงหลวงตา แล้วพอดีมีเพื่อนเขามีแคร่อยู่ที่วัดหลวงตา เขาก็ชวนไปเผื่อจะได้ไปถาม ทีนี้ โยมก็ไปที่วัดหลวงตา ไปอยู่ที่นั่น ๒ คืนก็ไม่มีโอกาสเข้าไปหาหลวงตา

เขาก็แนะนำให้ไปหาคุณแม่........ โยมก็ไปกราบเล่าให้คุณแม่........ฟัง คุณแม่ก็บอกว่าให้พิจารณา นขา ทันตา ตโจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้ไปพิจารณามา อันไหนผุดขึ้นมาก็ให้เอาคำนั้นมาบริกรรม ทีนี้โยมก็รับฟังเต่ก็มานึกว่า เอ้ ตอนกลางวันปกติเราจะพิจารณาอย่างไร ก็คุยกับคนที่ปฏิบัติที่นั่น เขาบอกก็ดูไตรลักษณ์ โยมก็จับตรงนี้ได้

พอหลังจากนั้นมา ตอนนั้นโยมก็ยังไม่ได้เกษียณ ก็สอนหนังสืออยู่ ก็จะดูไตรลักษณ์ทุกวันเลย แล้วก็รู้สึกว่ามันก็ก้าวหน้า พอเห็นอะไร มันก็อนิจจัง แล้วก็ตอนหลังโยมก็ไปหาหลวงปู่เจี๊ยะ ก็เล่าให้ท่านฟัง ท่านก็บอกว่า ให้พิจารณาหูให้หลุดมาเลย ให้ตาให้หลุดมาเลย ตอนนี้โยมก็ลองมาทำดู มันก็ไม่ถูกจริตของโยม

หลวงพ่อ : มันทำไม่ได้

โยม ๑ : ไม่ถูกกับจริตของโยม โยมก็มาดูหนัง พอดูแล้วก็เหมือนกับว่า จะได้ จะได้ ว่าจะมีอะไร แต่ว่าเพื่อนที่เป็นอาจารย์ด้วยกัน ก็แนะนำให้ไปเข้าวิปัสสนาของ ท่าน.......... ให้ดูเวทนา ตอนนี้โยมก็เลยไปเข้าคอร์สดูเวทนา ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า จากเท้าขึ้นศีรษะ ก็รู้สึกว่าที่เราสงสัยอะไร

หลวงพ่อ : ดีขึ้นมาก

โยม ๑ : มันหายสงสัย มันก็เกิดสมาธิในวิปัสสนา คือขณะที่ดูกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เท้ามาศีรษะ ก็รู้สึกเหมือนกับไอ้โครงกระดูกเรามันเหมือนกับมีไฟนีออน ตัวเบา สว่าง ตัวเบาสว่าง เราก็ไม่ได้สนใจ เราก็ดูไปเรื่อย ตอนนี้พอออกจากปฏิบัติมาที่บ้าน แล้วก็กลับมาดูไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวัน แต่ว่าตอนหลังนี้ ดูเวทนา เวทนานี่ต้องดูลึกใช่ไหมฮะ ลึกเข้าไปในกาย แต่ตอนหลังก็ดูแบบเบาๆ เบาๆ ปรากฏว่ามันโปร่งเบาไปหมดทั้งกาย

แล้วผลที่ได้จากที่ไปท่าน.......... ผลที่ได้คือ สิ่งที่เรารู้สึกว่าได้ดีก็คือว่า กิเลสเรามันน้อยกว่าเดิม เราไม่ได้เทียบกับคนอื่น เทียบกับตัวเราก่อนปฏิบัติและหลังปฏิบัติ กิเลสน้อยลง มีอุเบกขาเพิ่มขึ้น และจิตมันมีเมตตากว่าเดิม มากขึ้น เทียบกับตัวเองนะ แต่ว่ามาตอนนี้ ที่โยมมีปัญหาก็คือว่า ตอนอยู่เฉยๆ แม้กระทั่งขณะที่ฟังพระอาจารย์พูดอยู่นี้ มันคล้ายๆ กับมีอะไรมาบีบตรงศีรษะ เหมือนกับเส้นมันบีบอยู่

เวลาโยมตั้งใจจะปฏิบัติทุกครั้ง ไอ้ตัวนี้มันขึ้นมาก่อน โยมไม่ทราบว่าอะไร แต่ว่าๆ เวลามีอะไร เราเห็นอะไรจิตเราไม่ไปกระโจนใส่ ตอนนี้มันเหมือนกับมีที่อยู่ เห็นอะไรเราสักแต่เห็น ปัจจุบันนี้นะคะ จะเห็นอะไรที่เขาวุ่นวายก็ตาม จิตเราไม่ได้ไปคลุก เราจะสักแต่เห็นอย่างเดียว แล้วเวลานอนก็ไม่ได้ฝันเกือบสองปีแล้วค่ะ มันหลับลึกไปตลอดถึงเช้า

หลวงพ่อ : อันนี้คือผลการปฏิบัติของเรา แต่ถ้ามาถึงอย่างนี้แล้ว ตอนนี้โยมยังกำหนดลมหายใจได้ไหม

โยม ๑ : ตอนนี้โยมไม่ได้กำหนดเลย จิตมันว่างแล้วก็ไม่ได้ไปกำหนด แล้วพอไปกำหนด มันจะรู้สึกคือเครียด

หลวงพ่อ : ตึงเครียดหรือ

โยม ๑ : ถ้าหากว่าโยมคิดถึงอดีตนะคะ สมองด้านนี้มันทำงานโยมก็รู้ ถ้าคิดถึงอนาคต สมองด้านนี้ทำงานเราก็รู้ รู้เซลล์ในสมองขณะที่มันทำงาน

หลวงพ่อ : ขณะนี่คือเราเห็นหรือ?

โยม ๑ : ไม่เห็นค่ะ แต่ว่ารู้สึก โยมก็คิดว่า เอ้ เราผิดปกติหรือเปล่า โยมไม่ทราบจะไปคุยกับใครในเรื่องนี้

หลวงพ่อ : ไม่มีอะไรผิดปกติเลย เพียงแต่ว่าประสาเรา ถ้าโยมทำมาแบบนี้แล้ว มันต้องต่อยอดไปให้มันจบ อันนี้ถ้าอย่างนี้ปั๊บ พอมันว่างมาอะไรมา ถ้าเผื่อกำหนดลมหายใจ อย่างโยมทำถูกนะ กำหนดลมหายใจนี่คืออานาปานสติ แล้วที่มันกระดกขึ้น ลอยขึ้น ตัวมันจะลอยได้ ตัวลอยได้หรือตัวลอยไม่ได้นี่ มันอยู่ที่อำนาจของจิตนะ

โยม ๑ : แต่โยมไม่อยาก ไม่ไป

หลวงพ่อ : ไม่ไป ใช่ พอไม่ไปก็จบ พอไม่ไปจบ ถ้าตอนนั้นนะ กำหนดลมอย่างเดียว ต้องกลับมากำหนดลมเพราะการกำหนดลม ลมคือตัวพลังงาน ทำไมลมคือตัวพลังงาน ลมเป็นตัวพลังงานเพราะจิตมันเกาะลม อานาปานสติ ตัวลมมันเป็นลมตามธรรมชาติของมัน เพราะมันมีจิตมีเราไง เพราะเรากำหนดลม พอเรากำหนดลม พอจิตมันอยู่กับลม ลมมันเป็นที่เกาะของจิต พอจิตมันแสดงตัว จิตมันสงบแล้ว มันมีพลังของมัน อย่างนี้ปั๊บถ้ามันสงบจริงนะ แต่ถ้าสงบไม่จริง พอเรากำหนดลมหายใจ เราบอกลมหายใจขาดคือเราขี้เกียจไง จิตมันขี้เกียจ

โยม ๑ : มันหาย

หลวงพ่อ : ลมหายใจหายไป แต่เราไม่หาย แต่ถ้าเราอยู่กับลมไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกอย่างดับหมด ดับจากอายตนะ แต่ตัวจิตมันแน่น มันจะชัดเจนมาก นั่นน่ะมันจะว่างของมัน พอว่างของมันปั๊บ ก็ออกกำหนดเลย ถ้ากำหนดกายอย่างที่เขาบอก ถ้าเราเจอลมดีๆ นะ น้อมไปที่กายเลย น้อมไปที่กาย ในความคิดเรา ในสมาธิ ตอนว่างๆ อยู่เรามีความคิดได้เห็นไหม ถ้าคนว่างจริงมันจะรู้ ว่างไม่จริงไม่รู้หรอก ถ้าว่างจริง ความว่างอันนี้มันคุมได้ด้วยสติ แล้วถ้ามีสมาธิได้ ถ้าไม่มีสติสมาธิก็มีไม่ได้หรอก สมาธิจะมีได้ขนาดไหนมันมีสติพร้อมหมด สติตัวนี้มันสามารถควบคุมได้ สติตัวนี้สามารถทำให้จิตน้อมไปทำงานได้

ถ้าได้น้อมไปทำงานได้ ที่ว่าพิจารณาไตรลักษณ์อะไรกันนั้น วันนั้นถ้าได้เข้าไปหาหลวงตาก็อีกเรื่องหนึ่งเลย ไปหาหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะก็พูดถูกอยู่ ท่านบอกว่าพิจารณานะ นั่นคือที่เราพูดอยู่นี่แหละ คือน้อมจิตไปที่หูเลย พิจารณาหูให้ขาด คำว่าหูให้ขาดให้กระดูกหลุดของหลวงปู่เจี๊ยะนี่นะ คือความชำนาญของท่าน เราเป็นโชเฟอร์ขับสิบล้อ สิบล้อนี้เราจะขับได้ตลอดเลย โชเฟอร์มันขับแท็กซี่ในกรุงเทพฯ นะ มันก็ไปตามซอกตามซอยได้ถนัดมากเลย

ทีนี้ความชำนาญของหลวงปู่เจี๊ยะท่านเป็นอย่างนั้น เพราะท่านได้มาอย่างนั้น ท่านกำหนดกระดูก แล้วท่านบอกพอจิตของท่านสงบลงปั๊บ ท่านก็บอกให้มันขาดเลย อันนี้มันเป็นการพิสูจน์ได้ ๒ - ๓ ข้อไง ข้อ ๑ จิตเราเป็นจริงหรือเปล่า ถ้าจิตเป็นจริงนะ พอกำหนดพั้บมันหลุดปุ๊บเลย ถ้าหลุดอย่างนั้นใช้ได้ ใช้ได้เพราะอะไร นี่ที่เรียกว่า อานาปานสติมันจะดี แต่ถ้าเรากำหนดไปไม่ได้ คือ เราไม่ได้กำหนด นี่ไม่ได้กำหนดเพราะไม่ถูกจริต ไม่ได้กำหนดก็ไม่ได้บังคับให้จิตมันทำ

ถ้าบังคับให้จิตมันทำ จิตมันจะทำได้เพราะอะไร จิตมันทำได้เพราะมันมีกำลังของสมาธิ มันมีกำลังของตัวมันเอง สิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด แล้วมันหยุดคงที่ของมันได้ กำลังพลังงานของมันจะมหาศาลเลย พอกำหนดอย่างนั้น มันก็เป็นไปอย่างนั้น แต่เราไม่ได้กำหนดปั๊บ เราก็ทำต่อไป มันจะไปชัดตอนที่ไป..........เห็นไหม .......... โครงกระดูกใสเลยเห็นไหม

โยม ๑ : มันจะเห็นเหมือนไฟนีออน

หลวงพ่อ : นั่นล่ะ

โยม ๑ : ไฟนีออน แว้บๆ ค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ พอไปเห็นอย่างนั้นปั๊บ ถ้าจิตมันเห็นได้ จิตมันรับรู้ได้ มันก็เหมือนกับมันมีงานของมันไง จิตที่มันออกรู้มันจะออกรู้อย่างนั้นล่ะ โครงกระดูกมันจะเป็นแว้บๆ ได้อย่างไร โครงกระดูกมันก็คือโครงกระดูกนะ มันแว้บๆ ได้อย่างไร แว้บๆ เพราะจิตมันเห็นไง พอจิตมันเห็น แต่เห็นแล้วมันแว้บๆ แว้บๆ แสดงว่ามันทำงานไม่เป็นไง ก็เหมือนกับพลังงานไฟฟ้าเข้าบ้านเรา แต่ไฟมันอ่อน เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแสงไฟมาแว้บๆ แต่เดี๋ยวเจ๊งหมดนะ เดี๋ยวพังหมดเลย เพราะไฟมันอ่อนไป

ถ้าคนเป็นนะ มันจะรู้เลย มันบอกเลยว่ามานี่ มาเพราะเหตุใด ทำไมถึงมาเป็นแบบนี้ พอไฟมันไม่มี ไฟมันอ่อนเกินไป ถ้าเป็นก็กลับมาอานาปานสติ บำรุงไฟเราให้มา ๒๒๐ กูต้องการ ๒๒๐ กูไม่ต้องการ ๗๐-๘๐ มาอย่างนี้กูไม่เอา กูจะเอา ๒๒๐ ถ้า ๒๒๐มันเต็มกำลังนะ โอ้โฮ ไฟฟ้าสว่างหมด อันนี้พอไฟมันมา ๘๐- ๙๐ ก็เปิดกันอยู่อย่างนั้น จนมันมอดไปหมด พอมันมอดไป เห็นไหม แต่มันก็เป็นการว่ามันโปร่ง มันใส มันสบาย

ถ้ามันสบาย เราถึงถามโยมว่า โยมกลับมาลมหายใจได้อีกหรือเปล่าไง ถ้าโยมกลับมาที่ลมหายใจได้อีก พยายามกลับมาลมหายใจได้อีก สิ่งที่ได้มาแล้วคืออดีต ที่เราบอกให้จบเห็นไหม ถ้ากลับมาที่ลมหายใจ ตอนนี้จิตกำลังมันไม่พอ ไฟมันไม่ได้ ๒๒๐ มันต้องกลับมาให้ได้ ๒๒๐ ถ้าได้ ๒๒๐ นะ เดี๋ยวมันจะไปกระตุ้นเครื่องใช้ไฟฟ้าเราให้ดีหมดเลย เพราะไฟมันมาเต็ม ถ้าไฟไม่มาเต็มอย่างนี้ ตอนนี้เครื่องใช้ ไฟฟ้ามันก็ติดแว้บๆ เพราะมันสบายๆ

โยม ๑ : สบายมากเลย

หลวงพ่อ : มันสบายๆ มันไม่จบ ถ้ามันจบนะพิจารณาถึงที่สุดแล้ว กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันจะไปถึงจุดของมัน โยมทำงานโยมไม่ได้รับค่าทำงาน โยมเกษียณโยมก็รู้ว่าโยมเกษียณ ถ้าจิตมันทำงาน มันก็รู้ว่าทำงาน ทำงานจบมันก็จะรู้ว่าจบ แต่นี่บอกว่ามันสบายๆ แต่ไม่รู้ว่าทำงาน หรือ ไม่รู้ว่าจบ ให้พยายามกลับมาที่ลมหายใจ แล้วพิจารณาไปเรื่อยๆ

โยม ๑ : พอโยมตั้งใจดูตรงไหน โยมรู้สึกว่าตรงนั้นน่ะมันเหมือนกับมี

หลวงพ่อ : เครียด

โยม ๑ : มันไม่ได้เครียดแต่ว่ามีอะไรมารัดอยู่ค่ะ

หลวงพ่อ : ตรงนี้ต้องแก้

โยม ๑ : ต้องแก้อย่างไร

หลวงพ่อ : เมื่อกี้บอกแล้ว พอมันรัดขึ้นมา ต้องแก้

โยม ๑ : เพราะอะไร

หลวงพ่อ : กรรมของสัตว์โลกนี่มันร้อยแปดพันเก้า อุปสรรคของคนในการปฏิบัติมีทุกคน แต่จะมีในแง่มุมใดเท่านั้นเอง คนปฏิบัติ เรามีมาร เราทำบุญกุศลเห็นไหม เจ้ากรรมนายเวร เราเกิดมาเรามีเวรมีกรรมทั้งนั้น เวรกรรมมันจะตามมาตรงไหน ปัจจุบันเห็นไหม เราร่างกายสมบูรณ์ๆ เวรกรรมยังไม่มา เรารีบๆ ทำของเรา ทีนี้พอทำกันไปแล้ว ร่างกายเราก็สมบูรณ์อยู่ ทำไมมีอาการอย่างนี้ โธ่ เวลาปฏิบัติขึ้นมานะ เวลานั่ง ปกติก็นั่งปกติ พอกำหนดไปน้ำลายมาแล้ว อึ๊กๆ พออึ๊ก มันเป็นเหตุ แอ็คซิเด็นนะ แต่จิตนี้เสือกไปรับรู้มัน พอรับรู้มันนะ มันฝังลงที่จิตแล้ว

มันไปนั่งครั้งต่อไป อึ๊กๆ อยู่อย่างนั้นนะ เครียดมันก็เหมือนกัน พอรับรู้อะไรต่างๆ ฝึกลมหายใจเข้าไป เคลียร์เบาๆ อะไรมานะ ถ้ามีเวรกรรมมาก็อุทิศส่วนกุศล เลิกแล้วต่อกันไป คือพยายามไม่รับรู้มัน รับรู้แต่ลมชัดๆ ออกมาแผ่กุศลให้เขาไป มันเป็นเวรเป็นกรรมของคน บางคนภาวนาไปนะ พอมันถึงจุดปั๊บเหงื่อแตกพลั่ก เราใช้คำว่า “แผ่นเสียงตกร่อง” ถ้าใครมีอาการแบบนี้ มันจะมีซ้ำ แล้วถ้ามันบีบรัด มันจะบีบรัดมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วบีบรัดจนไม่ให้เราทำเลย พอเริ่มจะทำความบีบรัดนั้นมาก่อน

โยม ๑ : เพราะอะไร เพราะกรรมใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : จริตของจิตมันเป็นอย่างนั้น กรรมของจิตมันเป็นอย่างนั้น เราต้องเคลียร์เอง

โยม ๑ : แล้ววิธีแก้

หลวงพ่อ : วิธีแก้ก็กำหนดลม กำหนดลม แล้วทำเบาๆ แล้วไม่พยายามรับรู้สิ่งนี้ โทษนะ โยมเป็นตรงนี้โยมเป็นมากี่ปีแล้ว

โยม ๑ : เป็นมาประมาณปี ๑ แล้ว

หลวงพ่อ : โอ้ ปี ๑ ยังไม่เท่าไร ถ้าเป็นมานานๆ นะ ยิ่งนานเท่าไรนะ ตามประสาเรา โทษนะ อย่างโรคภัยไข้เจ็บเห็นไหม เราสะสมไว้นานโรคนี้ต้องแผ่กว้างไปเป็นธรรมดา

โยม ๑ : แต่ว่า ไอ้ที่ว่าเราคิดอะไร สมองด้านนี้ๆ มันเป็นมานานแล้ว ๔-๕ ปีแล้ว ที่ว่าเราไปรับรู้

หลวงพ่อ : ไม่ๆ ถ้าเราเริ่มภาวนาแล้วไม่มีอุปสรรค ไอ้สมองนี่ไม่เป็นอุปสรรคไม่สำคัญ ถ้ามีอุปสรรค โทษนะ มันขวางอยู่เราไปไม่ได้น่ะ เราต้องแก้อะไรที่มันขวางอยู่ให้เราไปให้ได้ก่อน ถ้าไปได้แล้ว อย่างที่หลวงตาท่านพูดเห็นไหม ท่านไปอยู่ที่หนองผือ มันว่างหมดเลย แล้วพอมันเป็นโรคเสียดอกเห็นไหม ท่านบอกยังไม่อยากตาย เพราะรู้ว่าตายไปแล้ว มันต้องไปเกิดเป็นพรหม

โยม ๒ : ถือว่ายังค้างอยู่

หลวงพ่อ : ยังค้างอยู่ ย้อนกลับมานี่ จะแก้อย่างไร จะแก้ไม่ให้มันค้างอย่างไร

โยม ๑ : ปีเกือบ ๒ ปีแล้ว

หลวงพ่อ : ต้องแก้ตรงนี้ ให้เราไปได้ นี่ไงประสาเราว่า มันอยู่ที่คอขวดนะ เราต้องระเบิดคอขวดนี้ออกไป ทีนี้การระเบิดคอขวด เราก็เคยเป็น เราเป็นมาหลายอย่างทั้งนั้น แต่จะเป็นอย่างไร เพราะที่เราเป็นเราถึงรู้ว่าเป็นไง เราใช้ให้เห็นภาพชัดว่า แผ่นเสียงตกร่อง ถ้าเรามันตกร่อง มันเปิดไป ร่องมันจะยิ่งลึกไปเรื่อยๆ เราทำอย่างไรให้มันอ่านออกไปข้างนอกออกไป นี่ก็เหมือนกัน ทำอย่างไรให้มันผ่านจุดนี้ออกไป

โยม ๑ : พอดูลมหายใจแล้ว มันจะแบบ เส้นมันจะตึงที่จมูกเลย

หลวงพ่อ : โยมพูดมาชัดแล้ว แผ่นเสียงตกร่องเห็นไหม พอบอกตึงอย่างนี้ ประสาเราว่า โยมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นมา แล้วโยมก็บอกว่า มันเกิดแล้ว เกิดแล้ว แต่ถ้าเราบอกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการล่ะ แล้วพอมันเกิดขึ้นมา เราก็เคลียร์ออก เคลียร์ออก

เราจะเทียบตัวเรานะ ปฏิบัติใหม่ๆ นิมิตจะเกิด โอ้โฮ เต็มไปหมดเลย มีภาค ๑ ภาค ๒ ภาค ๓ แล้วต่อได้ตลอดเวลาเลย ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูก ก็ไปอ่านประวัติหลวงปู่เทสก์กับหลวงปู่หลุย องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๗ ปี องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๑ ปี พอไปเจอเข้า โอ้โฮ ตายห่าเลย เดี๋ยวมึงจะติดนะ ก็เลย ก่อนนั่งไม่เอาเลยนิมิต ปฏิเสธไว้ก่อนตั้งแต่ก่อนนั่ง พอนั่งไปปุ๊บ เราพุทโธ พอจิตมันลง มันมาแล้ว ไม่เอา ไม่เอา

ปฏิเสธไม่เอา ไม่เอาๆ เอาสมาธิอย่างเดียว อย่างอื่นไม่เอา อย่างอื่นไม่เอา ดีขึ้นเรื่อยๆ เห็นไหม ปฏิเสธตั้งแต่ก่อนนั่ง พอนั่งแล้วจิตมันลงแล้ว เพราะอะไรรู้ไหม มันเจตนาไง เราตั้งเป้าไว้แล้ว ตั้งเป้าไว้ก่อนทำ ขณะทำ ขณะที่เกิดขึ้นก็ปฏิเสธ ปฏิเสธไปจนตอนหลังไม่เอาเลย นิ่งหมดเลย โทษนะ ไอ้เราปฏิบัติไปลึกๆ พอจิตมันลงไปแล้ว จิตมันเข้าไปถึงข้อมูลเดิมของเราแล้ว มันไปเห็นของจริง

โยม ๑ : ช่วงนั้นมันมีความสุขมาก

หลวงพ่อ : จะให้กลับมาหาความสุขอีก

โยม ๑ : แล้วๆ เหมือนกับเข้าฌานได้ถึงฌาน ๔ ค่ะ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : กลับไปกลับมา

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : แล้วคือมันไม่เหมือนในตำรา ตำราบอกว่าต้องอะไรนะ ผ่านขั้น ๑ ถึงได้ฌาน ๒ จริงๆ มันไปด้วยกันเลย ไปกลับ ไป แล้วก็...

หลวงพ่อ : เราเข้าใจ เพราะอะไรรู้ไหม โทษนะ เราถึงด่าถึงพระที่สอนๆ กันอยู่น่ะ ว่าสมาธิยังไม่รู้เลย เพราะฌานมันเป็นฌาน สมาธิมันเป็นสมาธิ แล้วเวลาปฏิบัติขึ้นไปแล้วสมาธิมันเป็นแค่เครื่องหนุนให้เกิดปัญญาเท่านั้น

โยม ๑ : คือไม่เหมือนในตำรา ในปริยัติ คือเรารู้ พอตอนนั้นเรารู้

หลวงพ่อ : ใช่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะ เอาไว้แค่นี้ก่อน

โยม ๑ : อันนี้โยมไม่กล้าพูดกับใคร

หลวงพ่อ : โธ่.. มันคนละอัน

โยม ๑ : ตอนนี้ทำไม่ได้ๆ

หลวงพ่อ : มันเหมือนขั้นบันได

โยม ๑ : แต่ตอนนี้โยมทำไม่ได้

หลวงพ่อ : ทำไม่ได้ โทษนะ เพราะมันไม่มีพื้นฐานให้เกิดปัญญา อย่างที่เราพูดเมื่อกี้ว่า ปัญญาเกิดบนภพ ปัญญาเกิดอย่างนี้ เราต้องพยายามใช้ตรงนี้เป็นกำลัง มรรค ๘ มีสัมมาสมาธิ ถ้าสมาธิของเราไม่มีขึ้นมา มรรคเกิดขึ้นมามรรค ๗ หรือมรรค ๖ นี่ เราพูดกับพวกทางวิชาการบ่อยมาก ถ้าหน่วยกิตส่งไม่ครบ มึงให้ผ่านไหม มรรค ๘ มันมาพร้อมกัน ฉะนั้นตัวสมาธิเป็นตัวพื้นฐาน ถ้าไม่มีตัวสมาธิ ตอนนี้โยมก็เกิดปัญญาได้ แต่ปัญญาอย่างนี้ โยมก็รู้ๆ อยู่แล้ว ปัญญาอยู่ในอาณัติของเราไง แต่ถ้าเกิดสมาธิขึ้นมา มันหมุนนะ ฉะนั้นเราถึงบอกว่า ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ทำ แล้วอย่างนี้ ถ้ามันเครียดนะ เราก็ใช้ปัญญาของเรา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ หรือ สมาธิอบรมปัญญา ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้ปัญญา ทำไมถึงเครียด ถ้าเราเครียดก็เปลี่ยนไปอย่างอื่นได้ไหม มาเดินจงกรมนั่งสมาธิบ้าง ตอนนี้มันเป็นโรคของโยม โยมต้องแก้โรคนี้ให้หายก่อน โรคความเครียดอันนี้ พอโรคนี้พอความกดดันอันนี้หายไป เดี๋ยวจะกลับเป็นเหมือนปกติ

โยม ๑ : โยมไม่ได้เครียด

หลวงพ่อ : ไม่ได้เครียด แล้วทำไมมันมากดดัน ที่ว่ามันมารัดๆ

โยม ๑ : มันรัด

หลวงพ่อ : มันมารัด เราก็ค่อยๆ อย่างเราเดินจงกรมใช่ไหม พอมันจะรัดเราก็แก้ของเราไป เราแก้ของเราด้วยปัญญาของเรานั่นล่ะ โยมต้องใช้ปัญญาของโยม

โยม ๑ : โยมจนปัญญานี่คะ

หลวงพ่อ : จะไปจนทำไม ถ้าประสาเรานะ แหม! ปัญหาขี้หมาเลย

โยม ๑ : เพราะโยมไม่รู้จะทำอย่างไร

หลวงพ่อ : ก็พูดอยู่นี่ไง คำว่าจนปัญญา โยมไม่จนปัญญา แต่โยมไม่สู้ต่างหากล่ะ โยมไปยอมจำนนกับมันต่างหาก แล้วก็บอกว่าไม่มีปัญญา ถ้ามีความจงใจ มีการต่อสู้ มันไม่ใช่ปัญหา มันไม่ใช่ประเด็นอะไรเลย อันนี้มันเป็นประเด็น เราไปยอมจำนนกับเขา เรายอมรับเขาเอง ถ้าเราไม่ยอมรับเขา เราสู้เขามันก็ต้องหายไป

โยม ๑ : พอตั้งใจจะสู้ปุ๊บ มันมีอาการบีบแรงขึ้น

หลวงพ่อ : แรงขึ้น เราก็ต้องหาทาง แรงขึ้น เราก็แรงขึ้นเพราะเหตุใด ถ้าแรงขึ้นอย่างนี้นะ ไม่ใช่ถอยนะ พอแรงขึ้นเพราะนั่งใช่ไหม เราเบี่ยงเบน เบี่ยงออกไปทางนี้ ให้สู้มัน ๕๐ : ๕๐ อย่างน้อยสิ่งที่มันบีบรัดจะต้องเบาไป มันจะไม่หายทีเดียวหรอก ไม่ใช่พอสู้ปั๊บ ๑๐๐% มันจะหาย ๑๐๐% ไม่ใช่

คราวนี้ ๑๐๐% ใช่ไหม เราสู้ครั้งนี้ เหลือ ๘๐ แล้ว นั่งดูเลยคราวหน้าเหลือ ๖๐ ละ มันจะค่อยๆ หายไปสุดท้ายพอหายไป โทษนะ เอ๊ะ อยู่ไหนล่ะ ไปไหนแล้ว เวรกรรมของมันมีใช่ไหม เราก็ชดใช้ด้วยการอุทิศส่วนกุศล อุทิศส่วนกุศลด้วยอะไร ด้วยปัญญาของเรา ด้วยความสุขของเรา ด้วยความสุขของเรา จิตสู่จิตไง เพราะอะไรเพราะมีความสุขไง ปฏิบัติแล้วมีความสุขไง แต่เพราะนั่นเป็นมารไง เพราะมีความสุขใช่ไหม เพราะจะพ้นจากมือเราไปใช่ไหม รัดแม่งเลย (หัวเราะ)

โยม ๑ : อาจารย์แบบนี้นะคะ ถ้าหากว่าเราไปสถานที่แปลกๆ บางที่มันก็เบาโล่งสบาย แต่ไปสถานที่บางที่ มันบีบมากขึ้น

หลวงพ่อ : ทุกคนมีเวรมีกรรม หลวงปู่มั่นนะ เวลาท่านสละพุทธภูมิแล้ว ตอนท่านปฏิบัติ พอเริ่มก้าวเดินไปเห็นไหม คู่ครองของท่านมา เอาคู่ครองมาเลย อ้าว ก็สร้างบุญกุศลมาด้วยกัน ก็จะปรารถนาเป็นพุทธภูมิ อันนี้ก็ปรารถนาเป็นคู่ไปไง แล้วก็พากันสร้างบุญสร้างกรรมมา ถึงเวลาแล้ว ก็มาตัดช่องน้อยแต่พอตัว แล้วทิ้งไว้อย่างนี้ โอ้ย เสียอกเสียใจ หลวงปู่มั่นเทศน์เลย อ้าว ก็ใช่ก็พาสร้างบุญสร้างกรรมมา แต่การเกิดการตายมันทุกข์มันยาก การเกิดการตายอีกมันก็ทุกข์ยากอีก พระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ ถ้าปฏิบัติถึงที่สุดก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ก็สิ้นกิเลสเหมือนกัน แล้วสิ้นกิเลสเหมือนกัน จะเป็นทุกข์เป็นยากไปมันก็ลำบากลำบน ก็เอาตรงนี้ไว้ก่อน แล้วที่ว่าจะมาทอดจะมาทิ้งก็ไม่ได้มาทอดมาทิ้ง ก็สิ่งที่สร้างมาก็เป็นบุญกุศลทั้งนั้น แล้วถ้าบุญกุศลสิ่งที่ท่านทำมาแล้วมีบุญกุศลไง ก็ให้อนุโมทนา อันนี้จะเป็นกุศล กลับได้คิดเห็นไหม ทีแรกน้อยใจ มาโอ๋ยน้อยใจ พากันสร้างบุญสร้างกรรมมา แล้วก็มาตัดช่องน้อยแต่พอตัว หนีไปคนเดียว ทิ้งฉันไว้อยู่คนเดียว โอ้โฮ เศร้าใจ

พอได้ฟังเทศน์เห็นไหม ก็สำนึก พอสำนึกแล้วไม่คิดน้อยใจ พอสำนึกตอนมานี้เป็นจิตยังไม่ได้เสวยภพ ไม่ได้เห็นภพ ไม่ได้เห็นสถานที่ พอเทศน์ให้ฟังกลับไป พอสละความน้อยเนื้อต่ำใจ พั้บ!เกิดเป็นเทวดา มารอบใหม่ โอ้โฮ ซึ้งบุญซึ้งคุณ สิ่งที่ได้มาเป็นเทวดา โอ้โฮ มันมีแต่ความสุข มีอาหารทิพย์เต็มไปหมดเลย มันได้มาเพราะใครล่ะ ได้มาเพราะพาร่วมกันสร้างมา คนพาร่วมกันสร้าง เห็นบุญเห็นคุณนะ มาฟังเทศน์อีก แก้ แก้ นี่ก็แก้แล้ว

โยม ๑ : พระอาจารย์ มีบางคนเขาว่าโยม ครูบาอาจารย์บางท่านว่าโยมนี่สมาธิแรงไป เราถึงได้เป็นอย่างนี้

หลวงพ่อ : ว่าอย่างนั้นเลยหรือ

โยม ๑ : ทีนี้ถ้าโยมไปทำอานาปานสติ มันก็จะทำให้ ....

หลวงพ่อ : โทษนะ เดี๋ยว โทษนะ ไม่มีปัญหา องค์ที่บอกว่า สมาธิแรงไป ยกให้ฟังหน่อยได้ไหมว่าใครบ้าง ไม่มีปัญหาเราจะฟังว่ามุมมองไง เช่นองค์ไหนบ้าง อาจารย์อะไร

โยม ๑ : สมาธิแรง

หลวงพ่อ : ยังไม่เอ่ยชื่อนะ จะบอกเลยนะ พวกนี้ไม่รู้จักสมาธิ เราจะถามดูว่า คนนั้นรู้จักสมาธิจริงหรือเปล่า สมาธิแรงมันจะเกิดอย่างนี้ได้อย่างไร เพราะสมาธิเห็นไหม สมาธิมีความสุขจนเราติดในสมาธิ ยังคิดว่าสมาธิเป็นนิพพานได้เลย สมาธิไม่มีต่างหากมันถึงเกิดอาการอย่างนี้ หรือว่าสิ่งที่มันป้องกันไม่ให้เป็นสมาธิต่างหาก จึงเกิดอาการอย่างนี้ สมาธิมันมีแต่คุณกับคุณ ทีนี้ถ้ามันมีคุณกับคุณ จนไปติดมันแล้วคิดว่ามันเป็นผลนั่นล่ะ แล้วสมาธิมันแรงไป เรายังงงว่า สมาธิแรงไปมันมีโทษอันไหนรู้ไหม

สมาธิแรงไปเพราะอย่างเช่นเวลาที่หลวงตาติดสมาธิเห็นไหม แล้วหลวงปู่มั่นบอกว่า ไอ้สุขเศษเนื้อติดฟันนั่นน่ะ อ้าว ก็มันเป็นสุขน่ะ แล้วบอกว่านั่นมันสุขเศษเนื้อติดฟัน อ้าวสุขเศษเนื้อติดฟัน แล้วสัมมาสมาธิเป็นอย่างไรล่ะ อุ๊ย สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่งนะ สัมมาสมาธิของท่านอย่างหนึ่งเพราะสัมมาสมาธิของท่านบวกด้วยอวิชชาไง บวกด้วยสมุทัยไง สัมมาสมาธิมันสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าโทษของสมาธิก็ติดสมาธิเท่านั้น โทษของมันคือว่ามันดีเกินไปไง ดีจนเคลิ้ม แล้วนี่บอกว่าสมาธิแรงไป

บางทีหลวงปู่เจี๊ยะก็บอกเราว่า สมาธิแรงไป ตอนที่เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ นั่งอยู่ด้วยกัน แล้วท่านบอกว่า ไอ้หงบ ถ้าเอ็งพิจารณาจิต กูไม่ฟังเอ็งหรอก เอ็งต้องพิจารณากาย เรากำหนดพิจารณากายนี่ อันที่โยมเป็นน่ะ มันเป็นแบบโครงกระดูกที่ตามวัด ที่เขาแขวนไว้เห็นไหม โครงกระดูกที่เขามาแขวนให้พิจารณาน่ะ มันเห็นอย่างนั้นเลย เป็นโครงกระดูกเลย แล้ว..

โยม ๑ : แต่โยมเห็นเป็นตัว เป็นแสง

หลวงพ่อ : ใช่ ทีนี้เราจะเทียบไปก่อน เราเห็นเป็นโครงกระดูกอย่างนั้น ก็เห็นตัวนี้แหละ พอเห็นนิมิตมันเห็นอย่างนั้น เห็นเป็นโครงกระดูกเลย เราจะเทียบให้โยมเห็นภาพเลย แต่เราเห็นเป็นโครงกระดูกเลย แล้วใส ใส ใสเป็นแก้วหมดเลยนะ ใส! เพราะเรานั่งดู ใสเลยนะ! นั่งอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะนั่งตรงข้ามกันอย่างนี้ เพราะตอนนั้นพอเย็น ทำวัตรเสร็จก็นั่งกัน หลวงปู่เจี๊ยะกับเราก็นั่ง ใสไปหมดเลยนะ พอออก พอเลิกมา พอเลิก พอหยุดออกมา ไอ้หงบทำไมเอ็งนั่งเอียงอย่างนั้นน่ะ โอ้โฮ มันมั่นใจนะ แหมโครงกระดูกนี่ใสหมดเลย นั่นนะสมาธิแรงไป โฮ! หงายท้องเลยนะ

นึกว่าทำผลงานอย่างนี้ไง นึกว่ากูทำผลงานแจ๋วเลยนะ โอ๋ย สมาธิ โอ๋ยโครงกระดูกนี้ใสหมดเลยน่ะ นั่นน่ะสมาธิแรงไป ต้องหัดวิภาค คลายมันออก ให้ปัญญามันเกิด มุมมองสมาธิแรงไป องค์ไหนพูดนะ กูอยากฟังฉิบหายเลยว่ะ สมาธิแรงไปนี่นะมันเป็นเหมือนกับมีเงินมากเกินไป มันไม่เสียหรอก มันเสียอย่างเดียว เสียว่าเราจะติดเงินเท่านั้นเอง แล้วนี่สมาธิแรงไปให้เจ็บปวด กูก็งง โอ้ ใครวะ! ใครวะ! กูอยากรู้ฉิบหาย เฮอะ! คำว่าสมาธิแรงไป แล้วเราจะเอาอะไรไปแก้อาการอย่างนี้ ถ้าเราแก้ตรงนี้จบแล้ว มันจะเข้าสมาธิ ออกสมาธิได้ง่ายขึ้น

เราจะบอกว่าถ้าสมาธิหรือหลักของจิตเราดี เดี๋ยวปัญญามันจะเกิดลึกซึ้งยิ่งกว่านี้อีก เพราะสมาธิเป็นฐานให้เกิดปัญญา พอเกิดปัญญาเราเกิดปัญญามันจะละเอียดลึกซึ้งเข้าไปเรื่อยๆ หลวงตาท่านบอกเลยนะ พอปัญญามันจุดติดแล้ว มันจะหมุนติ้วๆ อย่างที่โยมพิจารณาไปทีหนึ่งก็ปล่อยทีหนึ่งเห็นไหม เมื่อก่อน มันสบายทีหนึ่ง พิจารณาทีหนึ่งมันว่างทีหนึ่งเห็นไหม ปัญญาก็จะละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป ปัญญาที่ละเอียดอย่างนี้มันต้องมีสมาธิ เพราะปัญญานี้พอใช้บ่อยๆ แล้วสมาธิมันจะเสื่อมลง สมาธิมันจะน้อยลง อย่าว่าแต่จะเบิกเงินเดือนได้ทุกๆ เดือนนะ เงินเดือนนี้ให้เบิกแค่หนเดียว เราใช้แล้วมันก็หมดอยู่ดีน่ะ

นี่เหมือนกัน พอสมาธิเราใช้บ่อย ปัญญามันเกิดขึ้น ถ้าโลกุตตรปัญญา ไม่มีสมาธิปุ๊บมันเป็นสัญญาทันทีเลย ถ้าไม่มีสมาธินะมันเป็นสามัญสำนึก มันเป็นความคิดโลกๆ เป็นความคิดจากกิเลส ถ้าไม่มีสมาธิมันเป็นปัญญาของกิเลส เพราะตัวสมาธินี้เป็นตัวหนุนขึ้นมาให้ปัญญาเป็นโลกุตตรปัญญา แล้วพอปัญญานี้มันเดินเข้าเดินออกไป มันต้องใช้สมาธิไปเรื่อยๆ ใช้สมาธิไปเรื่อยๆ พอสมาธิมันใช้ไปมากเกินไป มันก็เป็นสัญญาไปทั้งนั้น

ตอนนี้กลับไปที่เราจะไปเพิ่มสมาธิ โยมนี่บอกให้กลับไปที่สมาธิ พอเรามีสมาธิขึ้น มีสมาธิเป็นพื้นฐานใช่ไหม สมาธิคืออะไร สมาธิคือจิตที่เป็นกลาง จิตที่ไม่มีตัวตน ที่มันเป็นอยู่นี้ เพราะเรามีตัวตน มีอีโก้นี่ล่ะ มันทำให้เกิดสมาธิไม่ได้ สมาธิไปกด อีโก้ มึงลง พอกด อีโก้ มึงลงปั๊บ มันก็เป็นสามัญสำนึก มันเป็นสัจธรรมเพราะไม่มีตัวตน มันเป็นสสารที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งใดเจือปน

แต่ถ้ามันไม่มีสมาธิ มันเจือปนด้วยกิเลสของเรา เจือปนด้วยความรู้สึกของเรา เจือปนด้วยตัวตนของเรา ปัญญาสะอาดบริสุทธิ์ไปไม่ได้ มรรคสามัคคีไม่ได้ ถ้ามรรคสามัคคีไม่ได้ ก็ไม่เกิดสมุจเฉทปหาน จะเกิดอริยบุคคลไม่ได้! ฉะนั้นจะแก้ก็ต้องกลับมาทำความสะอาด กดความเห็นส่วนตัวเราลงไปหมดเลย ให้มันเกิดเป็นสัจธรรมโดยธรรมชาติของมัน จะเกิดเป็นสัจธรรมของมันโดยสัมมาสมาธิ พร้อมด้วยปัญญาที่เกิดขึ้นจากสัมมาสมาธิ ศีล สมาธิ ปัญญา

โยม ๑ : ต้องกลับไปทำอานาปานสติใหม่

หลวงพ่อ : พยายาม ถ้ากลับมาตรงนี้ ทำมาแล้วมาคุยกัน ถ้าเหตุผลหมดทุกอย่างมันพร้อม คุณภาพทุกอย่างมันพร้อม ทำไมมันไม่ออกมาเป็นผล ถ้าไม่ออกมาเป็นผลก็ต้องขยันหมั่นเพียร เพราะอะไรเวลาอภิธรรมเขาบอกว่า กึ่งพุทธกาลไม่มีพระอรหันต์

โยม ๑ : เมื่อก่อนนี้โยมจะปฏิบัติเช้า ๑ ชั่วโมง เย็น ๑ ชั่วโมง ก่อนนอนทุกครั้ง แต่ตอนหลังที่รู้สึกว่ามันมาบีบรัด โยมก็เลย ตอนเย็นได้แต่ไหว้พระสวดมนต์ เหลือตอนเช้าอย่างเดียว

หลวงพ่อ : เสียความเพียรไปหมดเลย ทุกอย่างปล่อยทิ้งหมด

โยม ๑ : แล้วรู้สึกว่า พอไหว้พระสวดมนต์แล้ว อาการมันดีขึ้น คิดอะไรมันก็ย้อนมา

หลวงพ่อ : นั่นสิ เราไม่ต้องทำอะไรเลย สบาย

โยม ๑ : แต่ตอนที่ปฏิบัติตอนนั้น โอ้โฮ มีความสุข มีความบันเทิงในธรรมมาก แล้วจิตมันอาจหาญแบบ รู้สึกแบบ อื้อหือ ดีมากๆ เลย คิดถึงตอนนั้นแล้วตอนหลังนี้ไม่เป็นอย่างนั้น

หลวงพ่อ : โทษนะ มันเสียดาย เสียดายมาเจอกันช้าไป เพราะเรารู้อยู่ เรารู้อยู่หมายถึงว่าคนเรานี่นะ พอจิตมันอย่างนี้แล้วจะเอาขึ้นใหม่ หลวงตาบอกเลยนะ คนปฏิบัติใหม่กับผู้จิตเสื่อมแล้วปฏิบัติ คนจิตเสื่อมปฏิบัติยากกว่า ยากกว่า หลวงตาใช้คำว่า เศรษฐีล้มละลายไง กับที่เราก่อเนื้อสร้างตัวกับผู้ล้มละลายต้องมาฟื้นตัวใหม่ ท่านถึงเป็นห่วงเรื่องจิตเสื่อม ท่านถึงพยายามให้มีสติ สติ สติ แล้วทางโน้นเขาก็บอกว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย ปล่อยแม่งเลย เผลอปั๊บสติมาเอง โอย กูปวดหัว

โยม ๑ : แต่พระอาจารย์คะ ถึงตอนนี้เราไม่ได้ปฏิบัติอย่างนั้นแล้ว แต่ว่าเราก็ยัง…

หลวงพ่อ : ใช้พุทโธก็ได้

โยม ๑ : ไม่คะ หมายถึงว่าจิตเรามันก็ยังไม่ตะครุบอะไร จิตเราไม่ตะครุบ

หลวงพ่อ : ใช่ๆ ใช่ๆ

โยม ๑ : แล้วก็ทุกอย่าง เรารู้สึกว่า เราไม่เหมือนเมื่อก่อน แบบเหมือนกับเราเห็นอะไร เรา…

หลวงพ่อ : ใช่ อันนี้ผลของมันไง ผลที่ปฏิบัติมาแล้วเป็นอย่างนี้ เหมือนกับเราศึกษามาแล้ว เราจบการศึกษามาแล้วก็มีปัญญาอย่างนี้ ปัญญาอย่างนี้เรียกโลกียปัญญา ปัญญาทางโลก ใช่ เราปฏิบัติก็จริงอยู่ ขณะปฏิบัติก็เป็นธรรม แต่ธรรมอย่างนี้ อย่างที่พูดเมื่อกี้ว่ามันยังไม่ถึงที่สุด ไม่จบขบวนการไง เขาเรียกตีกลับ ถ้าเป็นกรรมฐานเขาเรียกกรรมฐานม้วนเสื่อ คือเลิกปฏิบัติไง เก็บเสื่อ นั่งคุยกันนี่นะ เลิกโว้ย มัวนเสื่อ กรรมฐานม้วนเสื่อ คือล้มละลายไง คือเลิกหมดไง หลวงตาบอกกรรมฐานม้วนเสื่อ

โยม ๑ : ตอนนี้กลางคืนก็สวดมนต์อย่างเดียว แล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติ แต่ปฏิบัติตอนเช้า ตื่นนอน

หลวงพ่อ : ใช่ ตอนนี้ก็ดีแล้ว ถ้าโยมปฏิบัติมา ธรรมดานะคนที่ไม่ได้ปฏิบัติ ทีแรกโยมพูดถึงอานาปานสติ เราถึงพูดถึงเมื่อวานนั้นเลย เห็นไหม เมื่อวานอานาปานสติเห็นไหม อย่างที่ทำมา มันเป็นผลของการปฏิบัติ ถ้าอย่างนี้นะถ้าไม่มีผลของการปฏิบัติ เราก็จะไม่มีอะไรคุยกัน พระปฏิบัติเขาก็คุยอย่างนี้ พระปฏิบัติเขาคุยถึงประสบการณ์ ถ้าไม่มีนะพูดไม่ถูกหรอก พูดไม่ได้หรอก เมื่อวานนี้ที่ว่าพอพูดถึงลมหายใจ เมื่อวานเขามาพูดไง เขาบอกว่า เขาภาวนาจนหูดับหมด เขาบอกมันดับหมดเลย อานาปานสติ

เราถามว่า เอ็งรู้จักลมไหม รู้ เราบอกว่า ถ้าเอ็งรู้ลมนะ เอ็งรู้สึกลม ทำไมเอ็งไม่รู้สึกหูตัวเองด้วยล่ะ จบเลยเห็นไหม คือเขาไม่จริงไง เขาบอกว่าเขากำหนดลม จนหูนี้ดับหมดเลย แต่ความจริงไม่ใช่ คือกำหนดลมแล้วเขาไม่รับรู้หูเอง เราบอกว่าไม่ใช่หรอก กำหนดไปเรื่อยๆ กำหนดลมไปเรื่อย อย่างโยมพูด ต้องกำหนดจนเชี่ยวชาญ กำหนดลมไปเรื่อยๆ ถ้าจิตมันไม่ลงนะ บางทีจิตมันไม่ลง ลมนี้ใส กำหนดลมไปเรื่อยๆ จนกว่าลมมันเริ่ม เบาลง จางลงๆ จนลมไม่มีเลย แต่เรารู้อยู่นะ ละเอียดเข้าไป

แล้วพอรู้อยู่ปั๊บ มันเริ่มละเอียดเข้าไปอีก มันก็เริ่มละเอียดเข้าปั๊บ มันไม่รับรู้ถึงสภาพร่างกายแล้ว มันก็เป็นเอกเทศแล้ว กายกับจิตแยกออกจากกันแล้ว แล้วสักแต่ว่ารู้ นี่อัปปนาสมาธินะ

เรื่องฌานสมาบัติกับเรื่องสมาธิไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องอริยสัจเลย ไม่เห็นเกี่ยวอะไรเลย แล้วปัญญามันจะเกิดอย่างไร ถ้าปัญญามันเกิด มันเป็นเรื่องอีกส่วนหนึ่งไง ตอนนี้มันมีขบวนการอย่างนี้ มันเข้าใจ มันเห็นได้อย่างนี้แล้ว มันจะมีอะไรมาหลอกลวง มีอะไรเข้ามาทำให้ไขว้เขว แต่ถ้าอย่างนี้ปั๊บเห็นไหม เราปฏิบัติแล้ว เราเข้าใจนะ พอโยมบอกปฏิบัติมาแล้ว มันเป็นสภาพแบบนี้แล้ว แล้วทำอย่างไรต่อไป หรือถ้าทำอย่างนั้นไม่ได้มันจะมีทางออกอย่างไร

อริยสัจมันมีหนึ่งเดียวนะ อริยสัจมีหนึ่งเดียว ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ก็ความพอใจไม่พอใจ ทุกข์ สมุทัย สมุทัยคืออะไร ความลังเลสงสัย นิโรธยังไม่เกิดเพราะมรรคยังไม่รวมตัว อริยสัจมีหนึ่งเดียว มันไปไหนไม่รอดไง ถ้ามันจะไปให้จบขบวนการ เราจะบอกว่า เราพูดอย่างนี้กับโยม ถ้าโยมทำขบวนการอย่างนี้จบ ก็เป็นโสดาบันว่าอย่างนั้นเลย

โยม ๑ : อะไรนะคะ

หลวงพ่อ : โสดาบัน! ที่พูดๆ นี่จะเข้ามาตรงนี้ไง ถ้ามันขบวนการเป็นได้อย่างนี้ ขบวนการมันจบปั๊บโสดาบัน! เราพูดอะไรก็แล้วแต่ ถ้ามันจะเข้ามา ต้องเข้ามาตรงนี้ให้ได้ ถ้าไม่เข้ามาตรงนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องศาสนาแล้ว

เรามาคุยเรื่องอะไรกัน ถ้าคุยเรื่องขบวนการ ถ้าเข้ามาอย่างนี้ทำอย่างนี้ เพราะปฏิบัติมาอย่างนี้แล้ว มันต้องเข้ามาอย่างนี้ถึงจะเป็นโสดาบัน ถ้าไม่เป็นโสดาบันปั๊บ ถ้าเป็นอย่างนี้อยู่เห็นไหม มันปฏิบัติแล้วได้ผลไหม..ได้ผล เราก็ปฏิบัติเอาบุญกุศลไง แล้วยังไง โทษนะ เดี๋ยวหมดอายุขัยมันก็ไปแล้ว แล้วหมดอายุขัยไปแล้วนะ ได้บุญกุศลใช่ไหม ก็ไปเกิดเป็นพรหมนะ อีก ๘๐,๐๐๐ ปี ๙๐,๐๐๐ ลงมาเกิดอีกที โลกนี้เดือดปุ๊ดๆ ปุ๊ดๆ น่ะ

แต่ถ้าทำอย่างนี้แล้วจบ มันก็จบนะ เพราะมันเข้ากระแสแล้ว มันก็ไม่ไปไหนแล้ว แต่ถ้ายังไม่เข้ากระแสนะ เราไปดีก็ได้ หรือไปดีแล้วมันลืมตัวก็ได้ มันพลิกแพลงอย่างไรได้หมดเลย จิตนี้มันเป็นนักท่องเที่ยวในวัฏฏะ ภาวนามาอย่างนี้ถูกไหม ถูกทั้งนั้นแหละ ถ้าไปหาหลวงตาก็ว่าถูก แล้วหลวงตาก็จะบอกว่า ซ้ำอีก ทำไปอีก ซ้ำอีก ทำไปอีก ทุกคนพอไปหาหลวงตาถามว่าถูกไหม ถูกแล้ว

โยม ๒ : ผมก็เคยได้ยิน เวลามีคนถามปัญหาบอกให้ทำ

หลวงพ่อ : ถูกทั้งนั้นแหละ ต้องทำต่อ ต้องซ้ำอีก ก็ที่เราพูดอยู่ พยายามจะพูดกับโยม ก็ให้มันทำต่อ แล้วมันทำต่อ หลวงตาให้ซ้ำมันก็จบนะ ทำต่อ พูดอยู่ ถึกๆ ถึกๆ ถึก พูดอยู่นี่ ถ้าทำต่อขบวนการจะเป็นอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร จะเก็บสะสมอย่างไร จะทำอย่างไรให้ขบวนการนั้นต่อไป ทีนี้เวลาคนอื่นพูด คนโน้นว่าอย่างโน้นอย่างนี้ กูถึงถามว่าใครพูดวะ

โยม ๑ : ตอนทำเมื่อก่อนนี้ใช้เวลานาน ที่จะไปถึงตอนที่จิตว่างขนาดนั้น แต่ตอนนี้เวลานั่ง

หลวงพ่อ : มันจะง่ายขึ้น

โยม ๑ : นั่งปั๊บ แล้วมันก็ไปแล้วฮะ ไปติดอยู่สภาวะนั้นแล้ว โดยที่อาจไม่ต้องไปดูลมหายใจเลย

หลวงพ่อ : ตอนนี้เหรอ ถ้าอยู่สภาวะนั้นแล้ว

โยม ๑ : โดยที่ไม่ต้องดูลมหายใจ

หลวงพ่อ : ใช้ปัญญาเลย ปัญญานี้ใช้ได้ตลอดเวลา เพราะขั้นของปัญญา มันไม่มีขอบเขต ปัญญามันไปหมดเพราะอะไร ถ้ามีขอบเขตนะ ในคูหาของจิต เขาเรียกคูหา มันเป็นถ้ำแล้วกิเลสมันมีทุกซอกทุกมุมที่มันจะหลบตัวมันได้ ทีนี้ปัญญาจะต้องไล่ไปทั้งหมด เราถึงกรณีอย่างนี้ เราถึงบอกว่าวิทยาศาสตร์เขาดูถูกฉิบหายเลย เพราะวิทยาศาสตร์เป็นกรอบเป็นทฤษฎีที่มันตายตัว เพราะวิทยาศาสตร์มันบอกว่า ค่าของ ๑๐๐%ไม่มี ปรมัตถธรรมของวิทยาศาสตร์ไม่มี วิทยาศาสตร์มีแค่ ๙๙.๙๙ แต่ถ้าเป็นธรรมะ ปรมัตถธรรมมัน ๑๐๐% เกินด้วย ต้องทะลุ ๑๐๐% ไปหมด มันต้องไม่ให้มีเหลือบมุมอะไรเลย ที่กิเลสมันจะซุกซ่อนตัวอยู่ได้ ฉะนั้นพอเราใช้ปัญญา ปัญญามันจะไล่หมด ไล่หมด ถ้าปัญญาที่มันมีสมาธิรองรับ เพราะสมาธิคือคูหา คือจิตใช่ไหม แล้วปัญญามันประสานกันใช่ไหม มันไม่มีช่อง ไม่มีอะไรเลย ที่นี้สมาธิถ้ามันอ่อนปัญญาก็เกิดเหมือนกัน แต่มันมีหลืบมีอะไร ให้กิเลสมันซุกซ่อนอยู่เยอะมาก

โยม ๑ : พิจารณาไปทุกอย่าง ว่ามีกิเลสอะไรเหลืออยู่หรือเปล่า

หลวงพ่อ : ใช่ กาย เวทนา จิต ธรรม กิเลสมันคืออะไร กิเลสคือความพอใจ กิเลสมันเป็นนามธรรม ทีนี้นามธรรมมันอยู่ในอะไร นามธรรมมันอยู่ที่กาย อยู่ที่เวทนา อยู่ที่จิต อยู่ที่ธรรม ธรรมะคืออารมณ์ความรู้สึก ธรรมะอารมณ์ อารมณ์ธรรมะ ธรรมะกับอารมณ์เห็นไหม ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์คือความคิดเป็นธรรมไง แล้วปัญญาเราก็แลกเข้าไป เวทนา จิต ธรรม ธรรมน่ะคืออะไร ธรรมารมณ์ เราไล่เข้าไปถ้ามีปัญญานะ ถ้ามีปัญญาแล้วคิดได้ ตามได้ ถ้ามีสมาธิมันจะเป็นปัญญา ถ้าไม่มีสมาธิ เมื่อก่อนเวลาพิจารณาไป มันโล่ง มันเบาเห็นไหมนั่นน่ะสมาธิดี แต่ถ้าใช้ปัญญาไปแล้วนะ อื้ม ไม่ไปสักที อื้อ ติดไปหมดเลย

โยม ๑ : มันจะตื้อๆ

หลวงพ่อ : นั่นล่ะสมาธิอ่อน

โยม ๑ : ตอนนี้ตื้อๆ

หลวงพ่อ : นี่แหละสมาธิอ่อน ถ้าสมาธิอ่อนเป็นอย่างนี้ไง ถ้าสมาธิมีกำลังนี้ไม่พอ ยิ่งทำไปยิ่งตื้อ แล้วมันยิ่ง เพราะอะไร เพราะมันจิตมัน

โยม ๑ : คล้ายๆ กับอะไรมาบีบตรงนี้ฮะ

หลวงพ่อ : นี่ไง ถึงบอกให้กลับมาทำสมาธิไง

โยม ๑ : ต้องกลับไปทำใหม่ คือโยมบางที ตอนนี้ไม่กล้าอะไรที่จะลงเต็มที่ เพราะกลัวเดี๋ยวผิดพลาด ก็เลย

หลวงพ่อ : นั่งอยู่ นั่งอยู่นี่ ทำมาสิ นั่งอยู่นี่ทำมา (หัวเราะ)

โยม ๑ : โยมก็เลยต้องผ่อนๆไป แบบไม่กล้าลงแรงเต็มที่

หลวงพ่อ : ใช่ สมาธิไม่มีโทษกับใครหรอก เว้นไว้แต่มิจฉาสมาธิ คือตัวเองเข้าใจว่าเป็นสมาธิไง แต่มันไม่เป็นไง มิจฉาสมาธิ สมาธิหลอกน่ะ แล้วก็บอกว่างๆ สบายๆ นี่คือสมาธิ ไม่ใช่หรอก ไม่ใช่ สมาธิยังไม่รู้เลย

โยม ๒ : หลวงพ่อของผมนี่คือ สมาธินี่แย่ คือนั่งนะ ทุกวันนี้ก็พัฒนาไป หาทางนั่งแต่ว่าสมาธิยังไม่เจริญอะไรเลย คือนั่งได้นานขึ้น คือนั่งสมาธิ ผมเมื่อก่อนบางที ๕ นาทีก็ไม่ได้แล้ว คือฟุ้งฮ่ะ จิตมันฟุ้ง แล้วมันก็คือ เขาเรียกว่าราคะจริต มันจะฟุ้งมากเลย ไม่ได้เรื่องเลย แล้วตอนหลัง ผมมา เอ้อไม่ทราบอย่างไร มันเกิดมาเพ่งอสุภะ

หลวงพ่อ : ใช้ได้

โยม ๒ : ทั้งที่ยังไม่ได้สมาธินี่เลย แต่พอเพ่งอสุภะแล้ว โอ๋ มัน มันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยเจอ ก็คือมันเกิด แต่ว่าก็อย่างที่หลวงพ่อว่า มันคงจะเป็นปัญญา ปัญญาแบบกิเลส คือมันไม่มีสมาธิรองรับ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒ : ที่ผมฟังหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : ฟัง เราพูดครึ่งเดียวยังพูดไม่จบ นี่พูดไปครึ่งเดียวนะ ห้าสิบเปอร์เซนต์ยังไม่พูดอีกครึ่งหนึ่ง เดี๋ยวๆ เดี๋ยวอีกครึ่งหนึ่ง นี่เรียกว่าสมาธิอบรมปัญญาเดี๋ยวมันมีปัญญาอบรมสมาธิ อันนี้สมาธิอบรมปัญญาเพราะทำสมาธิ นี่สมาธิอบรมปัญญา เพราะการปฏิบัติมันมีเจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ ที่พูดไปนั้นน่ะ นั่นน่ะมันเป็นสมาธิแล้วพูดต่อไป

โยม ๒ : ทีนี้มันเป็น มันเป็นสมาธิต้องใช้อสุภะ คือ พอผมอสุภะนี่นะ เดี๋ยวมันจะมีความคิดอะไรดีๆ ที่มันไม่เคยคิดมาก่อนเลยนะ

หลวงพ่อ : นั่น จิตมันลงนั่นน่ะ

โยม ๒ : มันไปได้ มีอยู่คืนหนึ่ง ซึ่งปกติผมเคยทำได้อย่างมากก็ ๑๐ นาที ฝืนทำนะ ฝืนทำ มันทำให้บางครั้งมันเหมือนเรา เหมือนที่หลวงตาพูดเลยว่า มันจะน้อยใจว่าเราไม่มีบุญ เราไม่มีอะไร ก็ใช่เลย พอมาฟังหลวงตา ผมรู้สึกได้อะไรเยอะมากๆ เลย คือทำให้สู้ต่อไง แล้วพอมาใช้อสุภะดีมาก แต่ว่ามันก็ยัง แต่แล้วผมก็ฟังหลวงตา ผมก็มานั่งสมาธิด้วยนะ เพราะท่านบอกเลย อย่างที่เมื่อกี้หลวงพ่อพูดนี่ใช่เลย บอกว่าสมาธิมันเหมือนเป็นพลังช่วยทางปัญญา มันต้องมีสมาธิ ผมก็มาฝึกด้วย แต่ก็ดีขึ้น ดีขึ้นนิดนึง

หลวงพ่อ : ใช่ มันมีอย่างนี้ไง มันมีสมาธิอบรมปัญญา และปัญญาอบรมสมาธิ แล้ววิธีการทำสมาธิของพระพุทธเจ้านี่มี ๔๐ อย่าง ไม่ต้องไปดูถูก ไม่ต้องไปวิจารณ์ใคร เพียงแต่ที่เราโต้แย้งสังคมไป เราไม่ไช่โต้แย้งสังคมไปด้วยความไม่รับผิดชอบนะ เราโต้แย้งสังคมไทยไปว่า เอ็งทำสมาธิไม่เป็น ไม่ใช่ วิธีการทำสมาธิ เราไม่ได้โต้แย้งเรื่องวิธีการการทำสมาธินะ

เราโต้แย้งว่าเอ็งทำสมาธิไม่เป็น แล้วสมาธิที่เอ็งทำกัน มันเป็นสมาธิปลอมๆ เราไม่ได้โต้แย้งกันด้วยวิธีการ แต่เราโต้แย้งผลที่เอ็งปฏิบัติกันเลย ว่าผลที่เอ็งปฏิบัตินั้นมันปฏิบัติไม่ถูก พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ตั้ง ๔๐ อย่าง ทีนี้พอกลับมานี่นะ ถ้าทำอะไรไม่ได้เลยในสังคมไทยหรือปัญญาชนนี้ ทำสมาธิยาก สมาธินี่เขาเรียกศรัทธาจริต ศรัทธาจริตมันตั้งใจ มันจงใจ แต่พวกปัญญาชนนี้เหตุผลมันเยอะ

ทุกคนจะบอกว่า “พุทโธๆ ก็แค่คำพูด ๒ คำ มันจะมีประโยชน์อะไรวะ”

ทุกคนไม่เชื่อหรอก ถึงเชื่อก็เชื่อแต่ปากแต่ใจไม่เชื่อ ทีนี้พอใจไม่เชื่อปั๊บ ทำไมถึงไม่เชื่อล่ะ เขาเรียกปัญญาอบรมสมาธิไง ไล่ไป

ทีนี้พอโยมบอกกำหนดอสุภะนะ ถ้ามันกำหนดกระดูกเขาเรียกว่า อัฐิ แล้วเห็นกระดูก เห็นซากศพมันก็ได้ อัฐิ กำหนดพุทโธ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ เทวดานุสสติ อัฐิ มรณานุสสติ กระดูกก็เพ่งได้ทั้งนั้นนะ ถ้ากระดูกนี่จิตมันเกาะที่นั่นไง ถ้าพิจารณากระดูก พิจารณาเป็นอสุภะนะใช้ได้ ถ้ามันสงบ อะไรก็ได้ ขอให้จิตมันสงบแล้วมันดีขึ้นมา พอจิตมันสงบดีขึ้นมา อย่างโยมพูดน่ะปัญญาที่มันเกิดเราคาดไม่ถึงเลย (ใช่) สิ่งที่คาดไม่ถึง นั่นล่ะปัญญาที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากข้อมูลสถิติ หรือข้อมูลที่เรารับรู้

โยม ๒ : เพราะแม้แต่ไอ้คำพูดที่เราเคยพูดแล้วเราไม่รู้สึกอะไร มันรู้สึกซึ้งเลย อย่างอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันลึกซึ้ง มันบอกไม่ถูกเลย

หลวงพ่อ : มันกินใจ

โยม ๒ : มันลึกเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้เพราะอะไร

หลวงพ่อ : เพราะเนื้อของใจไง เพราะจิต ภพที่พูดเมื่อกี้นี้นะ ภพ จิต ภวาสวะ ภพ ความคิดน่ะ ความคิดมันผิวเผิน ความคิดของเรามันคือสามัญสำนึก ความคิดมนุษย์ สามัญสำนึก มันเกิดมาจากพลังงาน มันออกมาแล้ว พลังงานมันส่งมาไง แต่เวลาถ้าเรากำหนดอสุภะ ความคิดนี้มันเข้าเนื้อนี่ไง มันเลยกินใจเข้าเนื้อจิตไง โอ้โฮ โอ้โฮ เลย (ครับ) คำพูดคำเดียวกันนั่นแหละ

โธ่ หลวงปู่มั่นเวลาท่านไปเทศน์ที่วัดเจดีย์หลวง สมเด็จมหาวีรวงศ์ท่านพูดไง

“อู้ย ท่านมั่น! ท่านมั่นเวลาเทศน์ก็เทศน์เรื่องความเป็นอยู่เรานี่แหละ”

เรื่องที่เราเหยียบย่ำอยู่ทุกวัน แต่เราไม่คิดไง แล้วเวลาหลวงปู่มั่นมาเทศน์ก็สะเทือนใจไง (ครับ)

เหมือนกันทำไปอย่างนี้ เขาถามว่าปัญญาต้องไปฝึกที่ไหนวะ เราถามเลยนะ เราบอกว่าวัว ถ้ามันไถนาไม่เป็นราคาหนึ่ง เขาต้องเอาวัวไปฝึกไถนา วัวไถนาเป็น วัวใช้งานเป็นอีกราคาหนึ่ง จิตนี่ ไอ้วัวตัวไม่เป็น ฝึกแล้วคือไอ้วัวตัวไม่เป็นมันก็เป็นไง จิตที่ไม่รู้มันก็รู้ มันฝึกขึ้นมาก็ฝึกจากจิตเรานี่ล่ะ แล้วมึงจะเอาปัญญาอะไรล่ะ

ความคิดเราที่มันเป็นความคิดโลกๆ ก็ที่ความคิดนี่แหละ มันฝึกจากความคิดโลกๆ มาเป็นความคิดธรรม เวลาเราแบ่งเห็นไหม โลกียปัญญา-โลกุตตรปัญญา โลกียปัญญาคือความคิดสามัญสำนึก แต่มีสมาธิขึ้นมาไง ตัวสมาธิมันจะก่อให้เกิดโลกุตตระ แล้วเดี๋ยวมึงก็ฝึกอย่างนี้ แล้วฝึกอย่างนี้ไปมันจะย้อนกลับมา ฝึกอย่างนี้แหละ ทำบ่อยๆ ไปแล้วมันจะลึกเข้าไป ลึกเข้าไป พอมันเกิดปัญญาอย่างนั้นน่ะ ไปทึ่ง ไปทึ่ง อู้อูย สุดยอดๆ ไม่ใช่ไปเรื่อยๆ เถอะ คนปฏิบัติใหม่ๆ ทุกคนบอก อู้หู จิตนี้มันเร็วมากนะ ความคิดนี้มันเร็วน่าดูเลยนะ แล้วพอมันทัน โฮ หลวงพ่อมันละเอียด เอ้อ มึงไปเถอะ เดี๋ยวมันจะละเอียดกว่านี้อีกเยอะ

โยม ๒ : เพราะว่าอย่างบางทีผม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางทีคิดถึงตั้งแต่ไอ้อสุจิของเตี่ยกับแม่ ไข่มาผสม แล้วมันก็ โอ้โห มันไปแล้วมันก็ไประลึกถึงพระคุณแม่อะไรต่ออะไร มันแตกอะไรต่ออะไรไปอีกมหาศาลเลย

หลวงพ่อ : นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ถูกต้อง! คิดไปเลย นี่ไงชีวิตนี้มาจากไหน นี่วิทยาศาสตร์นะ คิดถึงอสุจิเท่านั้นนะ เราคิดเป็นธรรมนะ โทษนะ อสุจิไปเกิดเป็นคนได้หรือ ถ้าไม่มีจิตปฏิสนธิจิต เวลามีคนมาถาม เราจะถามโยมกลับ โยมเกิดมาจากไหน มาจากท้องแม่ จริงเหรอวะ ใช่! ถ้าโลกนี้มาจากท้องแม่ แต่เอ็งมาจากกรรมของเอ็ง ปฏิสนธิอันนั้น มันมีกรรมกันมา แล้วกรรมนั้น ปฏิสนธิจิต เวลาทางโลกนะ ดีเอ็นเอนี้เป็นของพ่อแม่หมด กรรมพันธุ์ก็เป็นของพ่อแม่หมด แต่ความคิดของเรา ถ้าความคิดเป็นของท่าน พ่อแม่คิดอย่างนี้ก็ต้องคิดตามพ่อแม่ด้วย แต่ความคิดนี้ของเรา ปฏิสนธิจิตของเรา ใช่ ถ้าคิดทางวิทยาศาสตร์มันเป็นอย่างนี้ แต่วิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า ภพชาติเป็นอย่างไร จิตวิญญาณอยู่ที่ไหน แล้วเรามาเกิดเป็นมนุษย์ได้อย่างไร แล้วตายแล้วไปไหน

ถ้าเดี๋ยวปัญญามันเกิดนะ ปัญญามันเกิด ทำไปเรื่อยๆ ถูกต้อง! ถูกแล้ว! ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ถ้าพูดถึงถ้าปฏิบัติไปนะ ถ้าโยมปฏิบัติได้ถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์นะ ก็เป็นเหมือนพระสารีบุตรเพราะมาด้วยปัญญา

แล้วถ้า (โยม๑) ปฏิบัติไปถึงที่สุดนะ ก็เป็นเหมือนพระโมคคัลลานะ เพราะมาด้วยฤทธิ์ มาด้วยสมาธิ

พระสารีบุตรเป็นปัญญาวิมุตติ กำลังถวายงานพัดพระพุทธเจ้าอยู่ แล้วหลานมาพูดในถ้ำคิชกูฎไง เพราะว่าพระพุทธเจ้า เอาตระกูลของพระสารีบุตรมาบวชตั้งเยอะ พระจุนทะ พระเรวัตตะ น้องชายทั้งหมดนะ แล้วแม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลานมันก็ไม่พอใจ มาต่อว่า พระพุทธเจ้า ไม่พอใจๆ ทีนี้มันก็พูดประสาผู้ดีใช่ไหม พราหมณ์น่ะ ไม่พอใจสิ่งต่างๆ อะไรไม่พอใจหมดเลย พระพุทธเจ้ารู้ “ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความคิดของเราก็เป็นวัตถุอันหนึ่งน่ะ” “ พระสารีบุตรถวายงานพัดอยู่นะ ปิ๊ง! เป็นพระอรหันต์เลย เกิดด้วยปัญญา พัดพระพุทธเจ้าอยู่นะ เป็นพระอรหันต์ขณะที่พัดพระพุทธเจ้านะ นั่งสมาธิที่ไหน นั่งสมาธิอยู่เรอะ?

ถวายงานพัดพระพุทธเจ้าอยู่ พระพุทธเจ้าก็เทศน์สอนหลาน ผู้มีปัญญา ถ้าเทศน์สอนตัวเอง มันคิดไง เทศน์สอนคนอื่นไปขโมยเขามาไง ปิ๊ง เป็นพระอรหันต์เลย พระโมคคัลลานะนั่ง ๗ วัน พระสารีบุตร ๑๔ วัน

นี่ปัญญาวิมุตติ เขาบอกว่าสุกขวิปัสสโกนี่แห้งแล้ง ไม่! ไม่เพราะอะไร เพราะพระสารีบุตรก็มีฤทธิ์แต่ปัญญามันเลิศกว่า แต่มีฤทธิ์ รู้ต่างๆ แต่พระโมคคัลลานะเลิศทางฤทธิ์ ทางฤทธิ์ไปถนัดกว่า ในพระอรหันต์มันก็มีส่วนประกอบที่ถนัดและไม่ถนัดไง ความถนัดของตัวมันก็อย่างๆ หนึ่ง

ฉะนั้นใช้ปัญญาอย่างนี้ ใช้ไปเลย ใช้ไปเลย ถูกต้อง ใช้ๆ ไป ปัญญามันจะเกิดอย่างนั้น พอเวลามันเกิด นั่นน่ะปัญญามันเกิด พอปัญญาธรรมมันเริ่มเกิด ปัญญาโลกมันเกิดมาก่อนเห็นไหม มันชักนำมาเป็นเชื้อ เป็นประเด็น จุดประเด็นให้เกิด พอใช้ปัญญาโลกไปแต่มันมีสมาธิ ใช้ปัญญาโลกไปเรื่อยๆ มันเกิดสลดใจสังเวช สมาธิมันเกิดเอง เกิดในตัวมันเอง พอสมาธิมันเกิดปุ๊บ ปัญญาละเอียดเข้าไป พอสมาธิมันเกิดปุ๊บ สมาธิเป็นตัวหนุนแล้ว สมาธิเป็นตัวหนุน ปัญญาที่มันเกิด เราคาดไม่ถึงน่ะ แต่ที่โยมพูดน่ะ เรื่องพื้นๆ นี่แหละ แต่กินใจฉิบหายเลย กินใจฉิบหายเลยล่ะ นี่ธรรมะไง

โยม ๒ : คิดไปเองโดยที่เราไม่เคยคิดมาก่อน

หลวงพ่อ : ธรรมะพระพุทธเจ้าบอกว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนที่ชนะตนนั้นประเสริฐที่สุด ผู้ที่ชนะด้วยกองทัพคูณด้วยร้อยคูณด้วยพัน แพ้ทั้งนั้นเลย เพราะคนชนะได้ความฮึกเหิม ไอ้คนแพ้เจ็บช้ำน้ำใจ แต่ถ้าชนะใจ เพราะชนะใจแล้วดีชั่วก็ใจเราเอง ทุกอย่างก็เราเอง

โยม ๒ : อันนี้ หลวงตาท่านก็เพิ่งเทศน์

หลวงพ่อ : โทษนะๆ ไม่อยากจะพูดว่าก็ธรรมะอันเดียวกันเลย เดี๋ยวโดนถีบหงาย พูดไม่ได้

โยม ๒ : เพราะว่าผมชอบฟังตอนกลางคืนฮะ

หลวงพ่อ : ดึกๆ

โยม ๒ : เพราะหลวงตาท่านเทศน์อบรมพระ แล้วมันตรง พอเรามาปฏิบัติ แล้วเอ้ มันใช่ เอ้ มันคือได้ประโยชน์มากเลย

หลวงพ่อ : ความจริงไม่มีกาลเวลา ใครทำก็อกาลิโก ความจริงเป็นอกาลิโก ใครปฏิบัติแล้วก็ต้องเป็นอันนี้เหมือนกันหมด มันเถียงกันไม่ออกหรอก มันตรวจสอบกันได้ อกาลิโก อีกร้อยปีถ้าใครรู้ก็พูดอย่างนี้เหมือนกัน

โยม ๒ : เวลาท่านเทศน์มันตรงใจเสียจนอย่างที่ท่านเองก็บอกว่า พวกโยมๆ บางทีบอกว่า ผมฟังหลวงตาแล้วพระองค์อื่นที่เวลาเขาเปิดตอนกลางวันใช่ไหม มีบางช่วง มันไม่ใช่ อะไรอย่างงี้ บอกว่าใช่เลย

หลวงพ่อ : ใช่เลย

โยม ๒ : เพราะว่ามันตรงไปหมด มันตรงคือท่านมีลีลาเหมือนกับรู้ คือเรื่องการปฏิบัติด้วยประสบการณ์ จะรู้ แล้วท่านก็จะมีความผิดพลาดอะไร ท่านจะเล่ามาแบบ โอ้โฮ หมดละเอียดมาก

หลวงพ่อ : ทำไมสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าตั้งเอตทัคคะไว้แต่ละคนแต่ละประเภทล่ะ นี่เหมือนกันนะ เราจะพูดบ่อยมากเลยว่า หลวงตาพระอรหันต์ หลวงปู่ลีเราก็พระอรหันต์ ดูหลวงปู่ลีสิ ไปถามปัญหาหลวงปู่ลีสิ “นั่งตลอดรุ่งก็รู้เองล่ะ” ใครไปถามปัญหาอะไร ทำยังไงหลวงปู่ นั่งทั้งรุ่งเลย นั่งตั้งแต่หัวค่ำเลยจนสว่างเดี๋ยวก็รู้เองล่ะ ท่านทำอย่างนั้นประสบการณ์ของท่านอย่างนั้นนะ ท่านก็พูดอย่างนั้น ท่านเข้าใจของท่าน แล้วพระอรหันต์เหมือนกันนั่นนะ ทำไมตอบปัญหาไม่เหมือนกันล่ะ นี่ไงบารมีที่ท่านสร้างมา

โยม ๒ : คือหลวงตานี่อธิบายละเอียด โอ้โฮ ละเอียดมาก ทุกแง่ทุกมุม

หลวงพ่อ : เราถึงบอก ถ้าเราเจอครูบาอาจารย์แล้ว แต่ครูบาอาจารย์ท่านรู้จริงของท่าน ท่านจะเอาความจริงของท่านมาอธิบายให้เราฟัง ก็เหมือนเรามีความรู้มากเลย แต่เราจะอธิบายความรู้ให้เขาเข้าใจ เราทำไม่ได้นะ อึดอัดไหม

โยม ๒ : ท่านมีความพิเศษ ที่พูดอะไรแล้วมัน โอ้โฮ มันละเอียด

โยม ๑ : ก็ท่านเป็นพระอรหันต์

โยม ๒ : อ้าว อย่างบางองค์ก็พระอรหันต์ แต่ก็ยังไม่ละเอียดเหมือนอย่างของท่าน มันมีลีลาเฉพาะตัวของท่านเลย ผมรู้สึกเลย

หลวงพ่อ : เพราะคำนี้เราฟังมาจากหลวงปู่คำดี หลวงปู่คำดีบอกว่าหลวงตาเป็น ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ แตกฉานในธรรม

โยม ๒ : ที่ถ่ายทอดนี้ โอ้โฮ๋ สุดยอดเลย ผมฟังมาเยอะ แล้วพอมาในที่สุดแล้วตรงจริตตรงนี้อย่างมากๆ เลย

หลวงพ่อ : แสดงว่าพวกเรามีบุญ เพราะพวกเรามีบุญถึงได้มาเจอกัน ไอ้พวกไม่มีบุญ มาเจอท่านอยู่ มันยังโจมตีท่านอยู่เลย

โยม ๒ : ใช่ ผมกลัว เวลานั่นผมยังไม่กล้าพูดกับคนอื่นเลย ผมกลัวเขามานั่นแล้วเขาจะแย่

หลวงพ่อ : ไอ้นั่น ไอ้พวกไม่มีบุญไง ไอ้พวกไม่มีบุญ มันก็มาเจอเห็นไหม

โยม ๒ : แต่เยอะ

หลวงพ่อ : ใช่ เราก็เจอของเรา เขาก็เจอของเขา

โยม ๒ : ใช่ๆๆๆ

หลวงพ่อ : เราก็มีบุญไง

โยม ๒ : แต่คนโจมตี บางทีเราก็สงสารเขา กลัวเขาจะต้องลำบาก

หลวงพ่อ : เขาไม่ยอมรับ เขาไม่ยอมรับของเขา

โยม ๑ : ท่านอาจารย์คะ อีกนิดนึงค่ะ

หลวงพ่อ : อ้าวว่าไปเลย

โยม ๑ : โยมจำได้ว่า ตอนเย็นก่อนที่จะเลิกปฏิบัติ เพราะโยมก็มาดูลมหายใจ พอดูๆ แล้ว รู้สึกว่า เอ้ พิจารณากายจะคล่องกว่า โยมก็ใช้ดู พิจารณาตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า แล้วจากเท้าไปศีรษะ เพราะว่าดูอานาปานสติแล้วมันไม่ลง มันไม่ลงกลางทางเหมือนเมื่อก่อน

หลวงพ่อ : ได้ ได้เหมือนกัน ได้หมดเลย อะไรก็ได้ อย่างที่พูดเมื่อกี้ อะไรก็ได้ขอให้เกิด มันยืนยันกับ ๒ คนนี้เอง ถ้ามีสมาธิแล้วนี่ เวลาปัญญามันคิดไปนี่ อื้อหือ ทะลุปรุโปร่ง แต่ถ้าปัญญามันไม่ทะลุปรุโปร่งก็กลับมาทำความสงบ มีแค่นี้ สมถกรรมฐานคือ วิปัสสนากรรมฐาน มันเป็นคน ๒ เท้าเดินไปพร้อมกัน ซ้ายและขวาต้องก้าวไปพร้อมกัน

โยม ๑ : แต่ที่พิจารณาโดยทางท่าน.......... เป็นวิปัสสนาไม่ใช่สมาธิ

หลวงพ่อ : เราจะบอกโยมว่าไม่มี ไม่มีทั้งสมถะ ไม่มีทั้งวิปัสสนา ไม่มีหรอก เราไม่อยากจะพูดออกมาเองเท่านั้นล่ะ ประสาเราเห็นไหม เมื่อกี้เราบอกว่าจะไม่ว่าใคร แต่จะไปว่าเขาแล้วล่ะ เราไม่อยากจะพูดเอง เพราะพูดไปแล้ว เพราะอะไรรู้ไหม คำว่าไม่มีนี่นะ หลวงปู่หล้าบอกเลย จะมีการทำบุญเฉพาะพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนามีพระ มีภิกษุ มีสมณะ ..........เป็นใคร ๑ นะ ๒ เขาให้ใช้การพิจารณาเวทนา ต่อสู้กับเวทนา เขาเข้มงวดมาก เขาบอกมีการต่อสู้กับเวทนา แล้วถ้าต่อสู้กับเวทนา พวกเล่นกายกรรมมันก็ต่อสู้กับเวทนาเหมือนกัน มันก็พยายามต่อสู้ของมัน แล้วมันได้อะไรขึ้นมา

แต่ที่โยมได้อะไรขึ้นมานั้น เพราะโยมได้ทำฝึกอานาปานสติมาก่อนไง โยมเคยทำความสงบของใจขึ้นมาก่อน โยมมีฐานของสมาธิขึ้นมาก่อน โยมจะเห็นของโยมโดยธรรมชาติของโยมเอง ..........เขาเพียงแต่บอกวิธีการเท่านั้นเอง แต่เวทนาจะทำได้หรือไม่ได้ อย่างเช่นเห็นไหม ดูสิ พระฝรั่งเขามาบวชในไทยเยอะแยะไปเห็นไหม ทำไมเขามาบวชล่ะ เขามาขอบวชของเขา แต่จิตใต้สำนึกของเขาล่ะ

หลวงตาพูดบ่อยเห็นไหมบอกว่า มีพระฝรั่งมาพูดกับเขาว่า อาจารย์ปัญญานี่ไม่ฉลาดมีพระอาทิตย์ดวงเดียว เขามีพระอาทิตย์ ๒ ดวง คือเขาเป็นชาวคริสต์มาก่อนใช่ไหม เวลาเขาบวชแล้ว ในใจเขาก็ยังถือคริสต์อยู่ เขาบอกว่า เขามีพระอาทิตย์ ๒ ดวง พุทธก็ได้ คริสต์ก็ได้ เนี่ย สักแต่ว่าทำ พอสักแต่ว่ามันจะได้ผลจริงไหม มันก็ไม่ได้ใช่ไหม นี่พูดถึง เมื่อกี้โยมพูดมานี่ ประสาเรานี่ ถ้าเราจะพูดโดยแบบว่า ทางวิทยาศาสตร์บอกค่า ๑๐๐ % อะไรถูกอะไรผิดต้องพูด ๑๐๐ % นี่ เราจะค้านโยมตั้งแต่แรกแล้ว แต่นี่เราไม่ค้านออกมา เพราะว่า ถ้าค้านออกมาเดี๋ยวจะหาว่า หลวงพ่อนี่ อะไรก็ไม่ได้เลย มีจะต้องอย่างเดียวอย่างนี้ แต่ใครๆ ก็ว่าเขาหมดเลย ทุกคนจะติเราอย่างนี้นะ แต่เวลาเราพูด เราไม่ได้พูดถึงว่า เราจะเข้าข้างใครออกข้างใคร พูดถึงข้อเท็จจริงของมัน

โยม ๑ : ก็คือเราจะดูแบบใช้เวทนาในกายก็ได้ใช่ไหม

หลวงพ่อ : ได้ อะไรก็ได้

โยม ๑ : เพราะถึงจุดๆ หนึ่ง มันก็จะมีสมาธิ แต่ถึงจุดนั้นจะยากกว่า

หลวงพ่อ : ๑. ตอนที่พูดไปเมื่อกี้ เพราะต้องการแก้ไอ้ตรงนี้ให้ไปได้ก่อน ไอ้รัดไอ้ตัวอะไรนี่ เพราะมันเป็นอุปสรรค เราต้องแก้อุปสรรค แก้ทุกอย่างให้มันโล่ง โปร่ง เพื่อให้สะดวกในการปฏิบัติของเรา

๒. ถ้ามันมีสมาธิขึ้นมาแล้ว เพราะไอ้ความรัดอย่างนั้น ทำให้เราทำพลังงานคือทำสมาธิขึ้นมาได้น้อย ถ้ามันได้ขึ้นมา เพิ่มขึ้นมาให้เราสะดวกได้มากขึ้น แล้วถ้าพูดถึง ถ้าอย่างนี้มันไม่เป็นอุปสรรคแล้ว การใช้ปัญญา การ ทำสมาธินี้ มันทำได้หลากหลาย ถ้าเรามีความชำนาญของเรา อะไรก็ได้ให้เป็นสมาธิ

สมาธิมันเป็นเครื่องยืนยัน เวลาที่เราใช้ปัญญา มันจะทะลุพั้บๆๆๆ เขาเรียก ตทังคปหาน คือประหารไปบ่อยๆ ตทังคะ คือการปล่อยวาง เป็นครั้งคราวไปเรื่อยๆ มันเป็นของชั่วคราว เพราะตทังคปหาน มันประหารไม่จบ ทำบ่อยครั้งเข้าๆ พอชำนาญปั๊บมันจะเกิดสมุจเฉทปหาน คือหนเดียว หนเดียวเท่านั้นที่เป็นพระโสดาบัน หนเดียวเท่านั้นที่เป็นพระสกิทา หนเดียวเท่านั้นที่เป็นพระอนาคา หนเดียวเท่านั้นที่เป็นพระอรหันต์ ไม่มี ๒ หน ถ้า ๒ หน หนแรกผิด หนทีหลังถึงจะถูก ไม่มี ๒ หน การขาดมีหนเดียว แต่การฝึกมีเป็นล้านๆ หน

โยม ๒ : เพราะว่าผมรู้สึกเลย เวลาที่มันทะลุ อะไรนี่นะ มันเป็นแบบชั่วคราว คือรู้เลยว่า มันไม่ใช่ แต่ว่ามันได้สัมผัส แล้วมันมีกำลังใจ

หลวงพ่อ : นี่ต้องฝึกฝน ฝึกฝนขึ้นไป เดี๋ยวมันจะพัฒนาของมันขึ้นไป พอพัฒนาขึ้นไป เราจะเห็นความถูกความผิดอย่างนี้ มันจะตรวจสอบเราเอง ถ้ามันเป็นความจริงมันจะทะลุพั้บ ทะลุไปเลยนะ พุบ เฮ้อ! เวลาได้ปัญญารอบหนึ่ง มันปล่อยหมด เฮ้อ!

โยม ๑ : ของโยม พอดูเวทนาแล้วมันรู้สึกว่าอาการรัดอยู่นี่ มันจะชัดเจนขึ้นอีกค่ะ

หลวงพ่อ : ลองเปลี่ยนอย่างอื่น ค่อยๆแก้ไขไป เราจะบอกว่ามันจบได้ทั้งนั้น อาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต ตัวจิตจริงๆ เห็นไหม จิตไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ตัวจิต แล้วนี่มันเป็นรัดๆ นี่ มันเป็นเรา เป็นเขา มันรัดเรานี่ มันไม่ใช่จิต มันไม่ใช่ นั่นมันอาการของจิต อาการของกรรม อาการต่างๆ มันไม่ใช่เราอยู่แล้ว มันไม่มีกับโยมอยู่แล้วล่ะ เราไปยึดมันเอง เราจะบอกว่ามันไม่มีหรอก ถ้ามันไม่มี เราจะแก้อย่างไรให้มันไม่มีล่ะ นี่มันไม่มี แต่มันดันมี มันก็ต้องแก้ไปสิ คือมันไม่มีอยู่แล้ว จิตไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา แล้วทำไมมันเจ็บ ทำไมมันรัดล่ะ

โยม ๑ : ต้องเปลี่ยนวิธี

หลวงพ่อ : ใช่ เปลี่ยนวิธี เปลี่ยนการทำ แล้วจะจบได้ ปฏิบัติ เพราะว่าปฏิบัติแล้วมันทำให้ศาสนามันแจ่มชัดขึ้นมากลางหัวใจของพวกเรา นี่คือตัวธรรมะจริง ตัวธรรมคือสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนธรรม คำสั่งสอน ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนนี่คือตัวธรรม อย่างอื่นไม่ใช่ ศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ ประเพณีวัฒนธรรม ไม่ใช่ธรรม

โยม ๒ : ผมประทับใจหลวงตาอีกอย่างคือ ท่านจะยึดธรรมเป็นหลัก อย่างอื่นไม่ต้องมาพูด แม้แต่ เมื่อ ๒ วัน นี่ฮะ ที่ท่านเล่าถึงอะไร เกี่ยวกับแตรวง ไม่เอา คือเกี่ยวกับในหลวงจะเสด็จ อันนี้ต้องเอาธรรมเป็นหลัก อันอื่นนี่จะใหญ่โตมาจากไหน

หลวงพ่อ : เผาศพอาจารย์สิงห์ทอง

โยม ๒ : นี่ผมไม่ทราบ ผมเพิ่งได้ฟัง นั่นคือความประทับใจอย่างหนึ่ง ที่ท่านจะยึดธรรมอย่างเดียว คือท่านไม่เอาอะไรเลย

หลวงพ่อ : เราอยู่ในเหตุการณ์หมด

โยม ๒ : อ๋อ ผมฟังด้วยก็ไม่ชัด ก็เลยดี ที่มาเรียนถามหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : อาจารย์สิงห์ทอง เขาต้องมีมโหรีก่อน ไฟพระราชทานไง เขาบอกว่าเผาด้วยไฟเว้ย ไม่ได้เผาด้วยมโหรีเว้ย

โยม ๒ : ผมก็เพิ่งได้ฟังมานี่ ผมประทับใจตรงนี้ ท่านยึดธรรมเป็นหลัก จะไม่เอาอย่างอื่น

หลวงพ่อ : เอวัง