ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

วิถีแห่งจิต

๒๔ ม.ค. ๒๕๕๓

 

วิถีแห่งจิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เอาล่ะเนอะเพราะเขาบอกว่า เราพูดคำว่าจิตส่งออก จิตส่งออกเนี่ย คำว่าจิตส่งออก จิตส่งออก จิตมันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ถ้าคนไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ ไม่ใช่เป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นคน ไม่ใช่เป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม จิตนี้เป็นพื้นฐานเลย แล้วอย่างอื่นเนี่ยเป็นธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพื่อมาแก้ไขจิตอีกนั่นล่ะ

เพราะจิตมาเกิดเนี่ยจิตมันมีอวิชชามาเกิด การเกิดยังมีอวิชชาอยู่ มีตัณหาความทะยานอยาก มีสมุทัยอยู่ สมุทัยน่ะมันมีหยาบมีละเอียด สมุทัยที่เรามองไม่เห็นเลย ถ้าสมุทัยที่เราฆ่ามันได้ง่ายๆ เนี่ย ฤาษีชีไพรเขาฆ่าไปแล้วเพราะฤาษีชีไพรเขาทำจิตสงบมาก่อน เขาทำจิตสงบมาก่อน จิตเขาสงบได้ไม่งั้นเขาจะเหาะเหินเดินฟ้าไม่ได้ กาฬเทวิลจะระลึกอดีตชาติไม่ได้ กาฬเทวิลเนี่ยมีมาก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเกิดแล้วยังมาเฝ้าองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาเข้าฌานสมาบัติได้ เขาไปนอนบนพรหมได้ เขาระลึกอดีตชาติได้เห็นไหม

ฉะนั้นจิตมีอยู่โดยดั้งเดิม จิตมีอยู่แล้วเห็นไหม ฉะนั้นจิตส่งออกเป็นพื้นฐาน นี้คำว่าเป็นพื้นฐานแล้วเนี่ย แต่มันมีมรรค มรรคขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มาชำระล้างกิเลสจนองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ไปแล้ว องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเห็นว่า เนี่ยพูดถึงมรรค ๔ ผล ๔ เห็นไหม สมุทัยอย่างหยาบ สมุทัยอย่างกลาง สมุทัยอย่างละเอียด สมุทัยอย่างละเอียดสุด

สมุทัยไม่ใช่มีตัวเดียว มรรคก็ไม่ใช่มีตัวเดียว มีโสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตตมรรค มรรคผลเนี่ยมันมีหลายซับหลายซ้อนเพราะมันต้องมีความลึก ความหยาบละเอียดแตกต่างกัน มันจะชำระกิเลสแตกต่างกันไป ฉะนั้นผู้ที่เห็นรอบแล้วเนี่ยมันจะเข้าใจเรื่องอย่างนี้ได้ ฉะนั้นเราบอกว่าเดิมแท้ที่เราบอกเรื่องจิตส่งออกไปเนี่ยก็เพราะเราเห็นชัดเจนมาก

ประเด็น : ว่าจิตส่งออกไม่ได้ เขาบอกจิตนี้ส่งออกไม่ได้ เพราะแท้จริงแล้วจิตนี้เป็นตัวสมุทัยไปไม่ได้ เนื่องจากจิตเป็นวิญญาณขันธ์ จัดอยู่ในกองทุกข์ไม่ใช่ตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย จิตอยู่ในกองทุกข์ไม่ใช่ตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย

หลวงพ่อ : ตัวจิตนั่นแหละคือตัวสมุทัย ตัวจิตนั่นล่ะคือตัวสมุทัย เพราะจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส ไอ้ตัวจิตนั่นล่ะคือตัวสมุทัยอย่างละเอียดสุด จนเรามองเห็นไม่ได้ไง เรามองเห็นได้สิ่งหยาบๆ ไง ฉะนั้นตัวจิตนี้เป็นตัวสมุทัย

ประเด็น : เขาบอกว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์

หลวงพ่อ : นั่นเราถึงบอก เราถึงโต้แย้งไปว่าจิตส่งออก จิตส่งออกจนเป็นการส่งออก จนเป็นมาตรฐานที่ว่ากรรมฐานเราครูบาอาจารย์เราเนี่ย จะพูดเรื่องจิตส่งออกแล้วนะ จิตส่งออก คำว่าจิตส่งออกคือว่าเตือนว่าออกนอกขอบเขต แต่ถ้าจิตมันไม่ส่งออกเดี๋ยวจะพูดจิตส่งออกเหมือนกันแต่ไม่เรียกว่าจิตส่งออก เออ จิตส่งออกเป็นสมุทัยกับจิตที่ส่งออกเป็นมรรค มันมีทั้งส่งออกที่เป็นลบ และส่งออกที่เป็นบวก

ฉะนั้นจิตส่งออกเนี่ย จิตส่งออกยังไงก็จิตส่งออก จิตส่งออกโดยตัวของมันโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว โดยตัวของมันอยู่แล้ว จิตส่งออก แล้วบอกจิตส่งออกไม่ได้ ไม่ได้เพราะเราพูดเรื่องจิตส่งออกไปแล้วมันจบไปแล้ว เราว่ามันจบไปแล้ว มันเคลียร์ไปแล้ว แต่นี้มีประเด็นถึงต้องพูดซ้ำ เรื่องส่วนตัว เรื่องของบุคคล เรื่องของหมู่คณะของเขา เราไม่เกี่ยว เราไม่เกี่ยวกับใครทั้งสิ้น เราเกี่ยวกับสัจธรรม

ประเด็น : แถลงการณ์ฉบับที่ ๑๐ ข้อที่ ๔ อริยสัจแห่งจิตลงกันได้กับคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งในส่วนของทุกข์ นิโรธ และมรรค

หลวงพ่อ : ไม่มีสมุทัย

ประเด็น : ทั้งในส่วนของทุกข์ นิโรธและมรรค แต่ในส่วนของสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นมีถ้อยคำเรียบเรียงไว้ว่า จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย แสดงถึงสภาวะที่แตกต่างจากคำสอนของหลวงปู่เอง คือไปเน้นความสำคัญที่จิต ไปเน้นความสำคัญที่จิต แต่ในขณะเมื่อหลวงปู่ดูลย์สอนลูกศิษย์ตัวต่อตัว ท่านกลับสอนว่าอย่าส่งจิตออกนอก คือเน้นความสำคัญที่ส่ง ความสำคัญที่คำว่าส่งซึ่งสภาวะจะตรงกับตัณหา หรือความทะยานอยากอันเป็นตัวสมุทัย ตามคำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลวงพ่อ : อันเป็นตัวสมุทัยไง อันเป็นตัวสมุทัยเขาเห็นว่าการส่ง อาการที่ส่งนั้นคือตัวสมุทัย อาการที่ส่งเห็นไหม เขาไปตัดจิตออกเพราะจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตส่งออกเป็นทุกข์นี้เป็นสมุทัย จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลของการเห็นจิตเห็นจิตเป็นนิโรธ จิตเห็นจิตเห็นไหมเพราะจิตเห็นจิต เขาถึงบอกว่าจิตมีอยู่แล้วไง ทุกข์ สมุทัย มรรค ไม่มีสมุทัย ทุกข์ นิโรธ มรรคไม่มีสมุทัย เขาถึงว่าตัวการส่งออกนั้น การแสดงออกนั้นคือตัวสมุทัย

การส่งเขาใช้คำว่าตัวส่ง หลวงปู่สอนว่าอย่าส่งจิตออก อย่าส่งจิตออก อย่าส่งจิตออกเนี่ยมันเป็นคำสอนเฉพาะบุคคล อย่างเช่นเราปฏิบัติเห็นไหม พอเราปฏิบัติเรามีอะไรที่ขัดแย้ง เรามีอะไรที่เราทำผิด มันเฉพาะบุคคลใช่ไหม ถึงบอกอย่าส่งจิตออก อย่าส่งจิตออก อย่าส่งจิตออก แล้วอาการที่ส่งมันมาจากไหน อย่าส่งจิตออกเนี่ย อย่าส่งจิตออกเขาบอกส่งคือสัญญาอารมณ์ไง ส่งคือสัญญาอารมณ์ใช่ไหม

งั้นเราเปรียบเทียบนะถ้าระบบขนส่งมันผิดนะ ระบบขนส่งมวลชนเนี่ยผิดหมดเลย ระบบขนส่งมวลชนเนี่ยผิดไหม ระบบขนส่งมวลชนเนี่ยนะ พูดถึงเป็นความจำเป็นของมนุษย์มากเพราะระบบขนส่งมวลชนนี่เราอาศัยไปทำงาน เราอาศัยไปโรงพยาบาล เราอาศัยไปท่องเที่ยว เราอาศัยทุกอย่างเลย แต่เวลาโจรมันปล้นมันฉกชิงวิ่งราวเนี่ย มันก็วิ่งขึ้นระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน ตัวระบบขนส่งมวลชนเขาไม่ได้ผิด แต่ไอ้คนที่อาศัยขนส่งมวลชนนั้นต่างหากไปทำความผิด แล้วขนส่งมวลชนนั้นมันมาจากไหน รถเมล์ทุกขบวนทุกสายมันต้องมีอู่ของมัน มันต้องมีที่มาของมัน

นี่ก็เหมือนกัน เขาบอกส่งต่างหากเน้นคำว่าส่ง เราจะพูดถึงอุดมการณ์นะ เราพูดถึงอุดมการณ์ถ้าคนมีอุดมการณ์อย่างนี้ ถ้ามันส่งออกนี่เป็นสมุทัย ไม่ส่งออกก็ไม่เป็นใช่ไหม ถ้าไม่ส่งออกไม่เป็น เขาถึงไม่ต้องส่งออกเขาดูจิตเฉยๆ สงบเฉยๆ สมุทัยก็ไม่มีก็เป็นพระอรหันต์ไง เพราะอะไรเพราะเขาคิดอย่างนี้ไง เพราะว่าถ้าส่งออกเห็นไหม หลวงปู่สอนว่าเนี่ย

ประเด็น : มันเพราะความสำคัญไปเน้นที่จิต แต่ในขณะที่หลวงปู่สอนศิษย์ตัวต่อตัว ท่านกลับสอนว่าอย่าส่งจิตออก คือเน้นที่ความสำคัญที่ส่ง ในสภาวะตรงคือว่าตัณหาจะมีต่อเมื่อมีการส่งออก ถ้าไม่มีการส่งออกก็ไม่มีตัณหา

หลวงพ่อ : แล้วเวลาเราเข้าสมาธิเนี่ยมีตัณหาไหม เราเข้าในสมาธิเนี่ย เราอยู่ในสงบเนี่ยเรามีตัณหาไหม มันก็มี เนี่ยเห็นไหมดูพื้นฐานแค่นี้ยังไม่รู้เลย แล้วยังจะบอกว่าสิ่งที่แก้ไขมาในแก่นธรรมหลวงปู่ดูลย์น่ะ ไม่ผิด

ประเด็น : เพราะว่าสิ่งที่เขาว่าจิตส่งออกเนี่ย เป็นการที่ลูกศิษย์ลูกหาเป็นคณะบุคคลเข้าไปเพื่อจะพยายามจะให้สละสลวย พยายามหาคำที่ดีๆไปเสนอ ไปเสนอหลวงปู่ ถ้าไม่เสนอหลวงปู่ หลวงปู่ใช้คำว่าอย่าส่งออก จะไม่มีคำว่าจิต

หลวงพ่อ : เขาอ้างคำว่าจิตเนี่ยเป็นเพราะบุคคล เป็นเพราะคณะบุคคลเข้าไปเข้าไปชงไง เหมือนกับหลวงปู่เนี่ยโดนครอบงำด้วยคณะบุคคล บุคคลนี้ คณะบุคคลนี้ไปครอบงำว่าธรรมดาเนี่ยถ้าไม่มีคณะบุคคลนี้เข้าไป ตามความเป็นจริงหลวงปู่จะเขียนว่าอย่าส่งออกไม่มีจิต แต่เพราะมีคณะบุคคลนี้เข้าไปแล้วหาหลักฐานเข้าไป ไปเสนอเลยกลายเป็นการคลาดเคลื่อนไป การคลาดเคลื่อนว่าจิตส่งออกเป็นสมุทัยนี่ เพราะมีคณะบุคคลไปเสนอ ในแถลงการณ์นี่เขียนหมด เดี๋ยวจะเปิดให้ดูทีหลัง ว่ามีคณะบุคคลเข้าไปกระทำเพื่อให้ใช้คำนี้

ประเด็น : ฉะนั้นเขาถึงเห็นว่าผิด พอเห็นว่าผิดปั๊บจะพยายามแก้ไขให้ถูกว่าจิตส่งออกเป็นไปไม่ได้ เป็นการคลาดเคลื่อน เป็นการคลาดเคลื่อนถ้าจะให้ถูกต้องคืออย่าส่งจิตออก อย่าส่ง… จิตไม่สำคัญ สำคัญที่ตัวส่ง

หลวงพ่อ : ถ้าสำคัญที่ตัวส่งแล้วตัวจิตไปไหน นี่ไงเราถึงบอกว่าเห็นไหมตัดรากถอนโคนไง ถ้าใครไม่ตัดรากถอนโคนนะมันจะมาจากจิต พูดภาษาอย่างนี้ถ้าพูดคำนี้ออกมาแสดงว่าหลวงปู่จะเน้นประจำว่าอย่าส่งจิตออกเพราะเอ็งยังไม่ได้สมาธิ เอ็งยังไม่รู้จักที่เลยถึงอย่าส่งจิตออก

อย่าส่งจิตออกนะเพราะเอ็งไม่มีสมาธิ เนี่ยเพราะดูไปเรื่อยๆนะ ถึงที่สุดมันจะเข้าไปถึงตัวจิต ถ้าเข้าไปถึงตัวจิตนั้นคือตัวสมาธิ ถ้าใครเข้าถึงตัวสมาธิได้ จะไม่พูดอะไรอย่างที่ทางโลกเขาสอนกันอย่างนี้เลยว่าห้ามทำทุกอย่าง มันต้องทำทุกอย่างเพราะอะไร ถ้าพูดถึงถ้ามันบอกว่า จิตอย่าส่งออก อย่าส่งออกนะ อย่าส่งออก

แล้วจิตเห็นจิต จิตเห็นจิตเป็นมรรค ถ้าจิตเห็นจิตเป็นมรรคเนี่ย การดู การรู้ การเห็นเนี่ยจิตส่งออกไหม ถ้าเราไม่เห็นเราไม่ดู จะเห็นไหม ถ้าเราดูนี่ส่งออกยัง อย่างนั้นส่ง อาการอย่างนั้นก็ผิดน่ะดิ ถ้าจิตเห็นจิต เห็นหรือดูนั่นคือการส่งออกนะ เห็นหรือดูนั่นคือการส่งออก จิตเห็นจิตนั่นคือมรรค เอา แล้วมันเป็นมรรคได้ยังไง ในเมื่ออาการส่งนี่เป็นตัณหา แล้วอาการส่งนั่นเป็นมรรคได้ยังไง จิตเห็นจิตเป็นมรรคได้ยังไง จิตเห็นจิตคือส่งออก เห็นไหมจิตเห็นจิต

จิตมันมีตัวจิตใช่ไหม เพราะว่าเวลาครูบาอาจารย์เราสอนเห็นไหมต้องทำความสงบของใจเข้ามา ทำความสงบของใจเข้ามาถ้าสงบแล้วมันก็ไม่ส่งออก จิตส่งออก จิตส่งออกผลของการส่งออกเป็นสมุทัย จิตส่งออกเป็นสมุทัยทั้งหมด ผลของมันเป็นทุกข์ ผลของมันเป็นทุกข์เพราะการส่งออกเป็นธรรมชาติของมัน ดูจิต ดูจิต ดูจิต ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นอาการของจิตเห็นไหม จิตส่งออกกับจิตเห็นจิต จิตส่งออกตัวจิตมันส่งออก อารมณ์ความรู้สึกในนี้เขาพูดมันตั้งแต่อันแรกแล้ว

ประเด็น : จิตส่งออกไม่ได้ จิตส่งออกไม่ได้เนื่องจากจิตเป็นวิญญาณขันธ์จัดอยู่ในกองทุกข์ จิตส่งออกไม่ได้เพราะจิตเป็นกองทุกข์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

หลวงพ่อ : เนี่ยไม่รู้จะฟังนิยายเรื่องอะไรดีเนาะ เพราะนิยายมันมีหลายเรื่อง กรณีอย่างนี้เพราะมันเป็นนิยามเป็นนิยายทั้งหมด เพราะเราจะบอกว่าโดยพื้นฐานเห็นไหม เราพูดบ่อยว่าหลวงปู่มั่นบอกว่าต้นคดปลายตรงไม่มี เริ่มต้นอุดมคติหรือความเห็นมันผิดมาแต่แรก เป็นมิจฉาทิฏฐิมาแต่แรก พอมีมิจฉาทิฏฐิมาแต่แรกแล้วเนี่ยจะเน้นตลอดว่าจะเข้าพอดีกับพุทธพจน์ เข้าพอดีกับศาสนา เข้าพอดีกับคำสอนของพระพุทธเจ้า คือตัวเองไม่มีจุดยืน สันทิฏฐิโก ปัตจัตตังมันอยู่ที่ไหน

หลวงปู่ดูลย์ท่านเคยอ้างอิงหรือแอบอิงหรือหวั่นไหวกับใคร หลวงปู่ดูลย์ท่านพูดของท่านด้วยความองอาจกล้าหาญ พูดด้วยความมั่นคง พูดด้วยการพร้อมตรวจสอบ ใครจะไปถามปัญหาหลวงปู่ดุลย์จะตอบเคลียร์ปัญหาได้ทุกที ไม่ได้เคยอ้างพระพุทธเจ้าเลย พระสารีบุตรอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้ายังบอกไม่เชื่อพระพุทธเจ้าเลย เพราะเชื่อความมั่นคงในหัวใจของตัว

หลวงปู่มั่นท่านเชื่อมั่นในความเห็นของท่านเพราะอะไร เพราะท่านเห็นตามความเป็นจริง เราจะกราบไหว้องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราไม่ได้อ้างอิงเอาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นฐานรองรับเราตลอดเวลา เราจะกราบองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะเคารพบูชาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะบุญกุศลหรือการกระทำของเราเนี่ย ทำมามาจากองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งนั้น แต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปรินิพพานไปแล้ว องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าก็วางธรรมวินัยไว้หมดแล้ว ผู้ที่ประพฤติปฏบัติก็มีแนวทางของแต่ละบุคคลที่ประพฤติปฏบัติกันไปทั้งนั้นน่ะ แต่ผลที่มันออกมามันจะเหมือนกัน

ฉะนั้นว่าจะทำอะไรก็จะต้องให้เหมือนกับองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด มันเป็นไปไม่ได้ มันต้องเป็นไปตามสัจธรรมที่เราทำของเราขึ้นมา ฉะนั้นจิตส่งออก การส่งออก สิ่งที่ส่งออกนั้น จิตส่งออกตัวจิตเป็นตัวสมุทัย ไม่ใช่ระบบขนส่งเป็นตัวสมุทัย ระบบส่งไม่ใช่สมุทัย ระบบส่งเป็นมรรคก็มี ระบบส่งไม่ใช่ตัวสมุทัย ฉะนั้นจิตส่งออก จิตส่งออกแน่นอน

แต่สิ่งที่ความเห็นของเขา ความเห็นของเขาเนี่ยพยายามจะแก้ไขมาเห็นไหม พยายามจะแก้ไขมาว่าตัวเองไม่ได้ผิด ตัวเองไม่ได้ผิดเลย เอาบุคคลนั้น คณะนั้น คณะไหนจะผิดก็แล้วแต่ คณะไหนจะผิดก็แล้วแต่ ถ้าเราเป็นคนที่รู้จริง แล้วคณะบุคคลเนี่ยจะสอนให้เราเนี่ยอย่างเช่นเราทำอาหารเนี่ย แล้วมีคณะบุคคลบอกว่าให้ใส่คามอกโซนในอาหารนี่ แล้วแจกประชาชนกิน เรากล้าทำไหม เราจะไม่กล้าทำเลยเพราะคามอกโซนจะทำให้คนตายหมดเลย

นี่ก็เหมือนกันเนี่ยในเมื่อบอกว่าอย่าส่งออก แล้วส่งจิตเข้าไปให้มันมั่วกันไปอย่างนี้ เจ้าของทฤษฎีอริยสัจอันนี้จะยอมให้คนอื่นแนะนำเราไหม จะบอกว่าจะบอกคณะบุคคลนั้นเป็นคนชี้นำว่าคำพูดเนี่ยเป็นที่คณะบุคคล คณะบุคคลนั้นก็ได้เสนอกับเจ้าของ คือได้เสนอกับหลวงปู่ดูลย์ แล้วหลวงปู่ดูลย์ท่านเขียนอย่างนี้มาตั้งแต่ท่านมีชีวิตอยู่ จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยเนี่ย ท่านเขียนเอาไว้ที่หน้าศาลาตั้งแต่ท่านมีชีวิตอยู่ มันไม่ได้เขียนเพราะท่านไม่มีชีวิตแล้ว ท่านมีชีวิตอยู่ก็เขียนอย่างนี้มาตั้งแต่ต้น แล้วท่านเป็นคนอนุญาตให้เขียนน่ะ

คนเราเขียนเพราะท่านมีความจริงของท่านใช่ไหม จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย เพราะระบบส่งระบบต่างๆ มันจะส่งเองไม่ได้ อากาศมันมีอารมณ์ต่างๆ มันจะแปรปรวนตลอดเวลา แต่อากาศที่มันแปรปรวนตลอดเวลามันก็มีเหตุผลของมัน เพราะมันโดนความร้อน มีเพราะอากาศมีความร้อน อากาศอบอุ่นมันจะลอยตัวขึ้นไป ความเปลี่ยนแปลงมันมีเหตุมีผลทั้งนั้นน่ะ แล้วนั่นอยู่ดีๆ อย่าส่งออกแล้วมันส่งมาจากไหนล่ะ มันมาจากไหน แล้วจะส่งไปไหน แล้วมันอยู่ยังไงถ้าไม่มีจิต เอ้าถ้าไม่มีจิต นี้เพราะมันมีจิตใช่ไหม

เนี่ยจิตส่งออกนอก นี้การส่งออกไปมันส่งเป็นสัญญาอารมณ์ นี้คำว่าสัญญาอารมณ์นี่เพราะมันส่งเป็นธรรมชาติของมัน นี่พูดถึงว่าระบบขนส่งของมันนะ ระบบที่มันจะเป็นของมัน ถ้ามันเป็นความจริงของมันแล้ว ระบบส่ง ระบบส่งไม่ใช่สมุทัย ระบบส่งถ้าเป็นสมุทัย จิตเห็นจิต เวลามันดูจิตไปดูจิตจนจิตสงบเข้ามา แล้วจิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตเห็นจิตน่ะ ตอนที่จิตเห็นจิต เห็นอาการของจิตเขาบอกว่ามันไม่มี มันเป็นไปไม่ได้ จิตเห็นจิตคือความรับรู้คือสัญญาอารมณ์ทั้งหมด อันนี้มันเป็นความเห็น เพราะมันเป็นความเห็นผิดมาตั้งแต่ต้น

เพราะความเห็นผิดมาตั้งแต่ต้น เพราะว่าวิญญาณขันธ์เห็นไหม เนื่องจากจิตเป็นวิญญาณขันธ์ คำว่าขันธ์กับจิตน่ะ ขันธ์กับจิตเพราะมันก็ชัดเจนอยู่แล้ว อย่างเช่นนิพพานเป็นนิพพาน นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา เนี่ยนิพพานคือนิพพาน นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา ทำไมเอานิพพานมาเทียบอัตตาอนัตตา นี่ก็เอาจิตอะไรมาเทียบกับขันธ์ จิตก็คือจิต รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วิญญาณขันธ์ แล้ววิญญาณขันธ์มันกลับไปเป็นจิตได้ยังไงล่ะ ถ้าจิตเป็นวิญญาณพระพุทธเจ้าก็ไม่บัญญัติหรอกว่าขันธ์ ๕ วิญญาณในขันธ์ ๕ แล้วก็จิต ทำไมไม่บัญญัติ ถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์เนี่ยมันก็ขัดแย้งกับพุทธพจน์ เอ้าแล้วไหนตัวเองว่าเคารพพุทธพจน์ไง ถ้ามันจะรองรับเห็นไหมรองรับได้กับธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จิตส่งออก ความส่งออกนี้มันเป็นตัณหา มันเป็นสมุทัย พอมันเป็นสมุทัยปั๊บมันก็เข้าได้กับคำสอนของพระพุทธเจ้า

เอ้าแล้วจิตเป็นวิญญาณขันธ์เนี่ย มันก็ขัดแย้งกับพระพุทธเจ้า เอ้า ก็มึงอ้างพระพุทธเจ้า เอ้าทีนี้มันก็ขัดแย้งกับพระพุทธเจ้า มันขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าที่ไหนล่ะ มันขัดแย้งพระพุทธเจ้าเพราะความเห็นของตัว ในเมื่อเรามีความเห็นว่าขันธ์ ในเมื่อจิตนี้เป็นวิญญาณขันธ์ ถ้าเป็นวิญญาณขันธ์ ไม่ได้เพราะมันส่งออกเป็นทุกข์

เห็นไหมมันถึงย้อนกลับไปตอนที่ว่า ไอ้ไก่ตัวแรกไง ถ้าพระพุทธเจ้าบอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวแรก เพราะพระพุทธเจ้าเป็นไก่จิกฟองไข่ออกมาเป็นไก่ตัวแรก ฉะนั้นถ้าจิตมันเป็นขันธ์ มันก็ว่าขันธ์นี้ก็เหมือนเปลือกไข่ ตัวจิตก็เป็นตัวไก่ ถ้าไก่มันกะเทาะเปลือกไข่ออกมา มันก็เป็นพระอรหันต์ เออ เนี่ยพูดถึงอุดมคติไง พูดถึงความคิดไง

ถ้ามีความคิดอย่างนี้ใช่ไหม พอความคิดอย่างนี้จิตเนี่ยเราจะบอกว่านะ ในการพิจารณาย้อนกลับ ในการพิจารณาย้อนกลับจะบอกว่าจิตดวงนี้ ผู้ที่พูดเนี่ยมันไม่เคยเห็นข้อเท็จจริงใช่ไหม พอไม่เคยเห็นข้อเท็จจริงฟังธรรมะ หรือฟังธรรมะทุกอย่างเขาจะสร้างภาพ สร้างภาพให้จิตมีความรับรู้อย่างนั้น

พอรับรู้อย่างนั้นปั๊บถ้ามีอุดมคตินี่ เพราะคำพูดมันพูดอยู่ในขั้นของจินตนาการ เห็นไหมบอก ถ้าจิตเป็นขันธ์ เพราะแล้วในเทศน์ของเขาเนี่ยมันจะมีบอกว่า พระอรหันต์คือจิตแยกออกจากขันธ์เท่านั้น ไปดูสิมีมากเลย พระอรหันต์คือจิตแยกออกจากขันธ์ ฉะนั้นคือความเป็นพระอรหันต์ ฉะนั้นพอมาในอริยสัจ ในอริยสัจแก่นธรรมนี่ ที่แท้จริงแล้วจิตเป็นตัวสมุทัย เนื่องจากจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ เป็นวิญญาณขันธ์ทีนี้ขันธ์กับจิตนี้แยกปั๊บ มันก็ไปเข้ากับไอ้ไก่ตัวแรก

ถ้าไก่ตัวแรกเห็นไหมเพราะเราเป็นไก่ตัวแรก เพราะว่าเราเป็นไก่ตัวแรกได้เจาะฟองอวิชชาออกมาแล้ว เราถึงไม่เห็นใครเสมอที่เราจะกราบใครได้เลย อันนี้เป็นบุคคลาธิษฐานที่พระพุทธเจ้าพูดกับพราหมณ์ แต่ในเรื่องอริยสัจ ในเรื่องการปฏิบัติมันไปมากกว่านี้นะ มันจะลงไปมากกว่านี้เยอะเลย นี้เป็นแต่บอกพราหมณ์น่ะเขาไม่ใช่นักปฏิบัติ พราหมณ์เขาเป็นฮินดู พราหมณ์เขาเป็นพราหมณ์เขามาต่อว่าพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้านี่ก็เป็นพราหมณ์เหมือนกัน เป็นวรรณะพราหมณ์ พอเป็นวรรณะพราหมณ์ทำไมวรรณะพราหมณ์เนี่ยเขาเคารพผู้หลักผู้ใหญ่กัน

พระพุทธเจ้ามีอายุน้อยกว่า ทำไมพระพุทธเจ้าไม่เคารพผู้ใหญ่ นี้เคารพผู้ใหญ่นี้พระพุทธเจ้าบอกว่าอันนี้มันเป็นเรื่องโลกใช่ไหม พระพุทธเจ้าบอกว่าเราจะไหว้ใครไม่ได้เลยเพราะเราพิจารณาของเราแล้ว เพราะการที่เราไปเคารพบูชาใครก็แล้วแต่ มันจะเป็นกรรมของเขาเพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า

พวกนั้นเขาเป็นปุถุชน แต่ในความเห็นของโลก ในเรื่องของโลกเนี่ยพราหมณ์เขานับถือกันด้วยอาวุโส ด้วยอายุมาก ทีนี้โลก เขาก็เอาเรื่องของโลก เอาเรื่องของที่จับต้องได้น่ะ ความอาวุโสมาพูดว่าทำไมไม่สวัสดี ไม่ยกมือไหว้เรา แต่ถ้ายกมือไหว้นะ พระพุทธเจ้ายกมือไหว้ใครนะ คนนั้นหัวต้องแตกเป็นแปดเสี่ยง คนนั้นจะทุกข์ยากมากเลย คนนั้นต้องมีกรรมมากเลย พระพุทธเจ้าไม่ทำหรอก

ทีนี้พระพุทธเจ้าไม่ทำจะพูดให้เขาเข้าใจได้ยังไงเพราะเขาไม่รู้ได้กับเรา เพราะเขาเป็นปุถุชนน่ะ เพราะเขาไม่ใช่นักปฏิบัติ เขาเปรียบเทียบไงเปรียบเทียบว่าเราเหมือนไก่ตัวหนึ่งตัวแรกที่ได้เจาะฟองไข่อวิชชาออกมา เป็นไก่ตัวแรกไม่มีใครอาวุโสกว่าเราอีกเลย พราหมณ์เขาก็เห็นได้ อันนั้นมันเป็นบุคคลาธิษฐาน

แต่ในเมื่ออันนั้นเขาก็เทศน์อยู่ พอเขาเทศน์อยู่เขาบอกว่าต้องมีกำลังสิ เจาะฟองไข่ออกมาสิ มันก็มาเข้ากับเนี่ย เนี่ยมันเป็นความเชื่อ พอเป็นความเชื่อขึ้นมาแล้วมันจะมาเข้ากับเนี่ย เนื่องจากจิตเป็นวิญญาณขันธ์ อันจัดอยู่ในกองทุกข์ ฉะนั้นความส่งออกนอกของจิตคือความตัณหาความทะยานอยาก อันเป็นตัวสมุทัยขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

เขาพยายามจะเน้นถึงความส่งออกเพราะประสาเราว่าเขามีความรู้ได้แค่นี้ไง เขามีความรู้ตื้นๆ มีความรู้ในตรรกะที่มีความจินตนาการเอาได้ แต่ในข้อเท็จจริงน่ะมันไม่มี ทีนี้มันไม่มีพอมันพูดออกไปเนี่ยเห็นไหม พอพูดออกไปผิดพอคำพูดออกไปผิด พอผิดออกไปแล้วเนี่ยมันมีหลักฐานอันชัดเจน

มันมีหลักฐานอันชัดเจนของหลวงปู่ดูลย์ที่ท่านวางไว้ ที่ทุกคนก็สามารถสืบต่อได้ สามารถรับรู้ได้ ฉะนั้นจะต้องแก้เอาความเป็นจริงอันนั้น เพราะตัวเองเข้าถึงความเป็นจริงนั้นไม่ได้ ตัวเองเข้าถึงความจริงอันนั้นไม่ได้เพราะความจริงอันนั้นมันเหนือจินตนาการ แต่ความจินตนาการของตัวมีอยู่เท่านี้ ก็ต้องบอกว่าพยายามเอาจินตนาการ เอาจินตนาการของเราไปลบล้างกับสิ่งความเป็นจริงให้เป็นเหมือนตัว

แต่ไม่ได้เอาความคิดอันนี้ออกเป็นหลักฐาน เป็นหลักฐาน เพียงบอกว่าเป็นความปรารถนาดีกับสังคม เพื่อให้สังคมนี่เข้าใจได้ง่าย ปฏิบัติได้ง่าย ง่ายไง ง่ายเข้าไปเรื่องง่ายๆ เข้าไปในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ไง เข้าไปสิ่งที่อันไม่เป็นความจริงอันนั้นเพราะมันจินตนาการได้ง่ายไง ฉะนั้นถึงไปแก้เอาหลักการความจริงนั้นให้มาจินตนาการได้ ให้ไปเข้าถึงได้ พอเข้าถึงได้ก็บอกไม่ใช่ความเห็นของตัวด้วยนะ เป็นความเห็นของหมู่คณะ เป็นความเห็นของลูกศิษย์ที่เข้าไปแก้ไข

เพราะมันผิดมาแต่ต้น ผิดมาแต่ต้นเพราะว่าคณะบุคคลนั้นได้ไปเสนอหลักฐาน เสนอโดยตัวอักษรโดยทางวิชาการ ให้หลวงปู่ดูลย์ได้เห็นว่า ถ้าพูดอย่างนี้มันสละสลวยกว่า ทั้งๆ ที่เจตนาความจริงของตัวก็ตัวเองก็เข้าไม่ถึงหลักความจริง แต่ก็ไปอ้างคณะบุคคล แต่นี้อ้างคณะบุคคล คณะบุคคลนั้น ในเมื่อคณะบุคคลนั้นเป็นคนไปทำ คณะบุคคลนั้นในเมื่อได้เสนอเจ้าของทฤษฏีคือเจ้าของคือหลวงปู่ดูลย์รับผิดชอบเห็นดีงามแล้ว

เราจะพูดอย่างนี้ เราจะพูดว่าผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์เนี่ยนะ ในเมื่อถ้าหลักการที่ผิดนี่แล้วจะสอนลูกศิษย์ให้ผิดเนี่ยมันเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้านะไม่พยากรณ์ไม่ทำอะไรให้ผิดพลาดไปเลย เอกนามกึ พระพุทธเจ้าพูดหนึ่งไม่มีสอง ไม่มีความผิดพลาดเลย เพียงแต่ เพียงแต่พระพุทธเจ้าพูดกับใคร เพราะพระพุทธเจ้าเทศนาว่าการมาเห็นไหม ตั้งแต่บุคคลปกติ ตั้งแต่เด็กทารกต่างๆ พระพุทธเจ้าสอนมาหมดเลย

ทีนี้คำสอนของเด็ก สอนของผู้ใหญ่นี่มันแตกต่างหลากหลาย ความแตกต่าง เห็นไหม เอกนามกึ คือหนึ่งไม่มีสอง นี้คำว่าหนึ่งไม่มีสองเนี่ยพูดกับเด็ก พูดกับผู้ใหญ่ พูดกับนักปฏิบัติ พูดกับพระอนาคามี พูดกับพระอนาคามีนะ พระอนาคามีปฏิบัติอยู่ขั้นสุดท้ายแล้ว มีขั้นสุดท้ายแล้วเนี่ยมีพวกครูบาอาจารย์จะพาไปหาพระพุทธเจ้า ให้พระพุทธเจ้าเทศน์ครั้งสุดท้าย พระอนาคามีกับเด็กอ่อน กับเด็กน้อยเนี่ยธรรมะจะขั้นระดับเดียวกันไหม

เอกนามกึ ทีนี้ เอกนามกึ ถ้าเราเข้าใจแล้วเราจับต้องได้เนี่ย คำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ยจะไม่ขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าเลย ไม่ขัดแย้งกันเลย เพียงแต่พระพุทธเจ้าเทศนาว่าการกับใคร สอนใคร ระดับไหน วุฒิภาวะของจิตสูงต่ำแค่ไหน เพื่อจะให้พัฒนาขึ้นแต่ละชั้น แต่ละชั้นขึ้นไป ฉะนั้นจะอ้างว่าคำพูดพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ต้องให้เป็นอย่างนี้ไปหมด มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่เป็นอย่างนั้น

ฉะนั้นครูบาอาจารย์ที่จะสอนเช่นหลวงปู่ตื้อเห็นไหม หลวงปู่ตื้อนี่เป็นคติเลย อยู่ที่บนเชียงใหม่เนี่ยไปสอนลูกศิษย์อยู่บนเขา แล้วพูดผิดคำหนึ่งเดินลงมาเห็นไหม พอผิดเดินลงมาถึงตีสามตีสี่ยังเดินกลับขึ้นไปเลยนะบอกคำพูดคำนี้ผิดนะ ลูกศิษย์บอก โอ้โห หลวงปู่พรุ่งนี้มาบอกก็ได้ ทำไมหลวงปู่ต้องทรมานร่างกายขึ้นเขามาอีกรอบหนึ่งล่ะ

ไม่ได้ เดี๋ยวท่านไปบอกคนอื่นต่อผมเสียหาย แม้แต่คำพูดผิดคำเดียวหลวงปู่ตื้อท่านยังไม่ยอมเลย ท่านยังไปแก้ไขเดี๋ยวนั้นเลย แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นความจริงอย่างนี้ถ้าเป็นของท่านจริงเนี่ย ท่านจะเอาคำอะไรที่ว่าใครเสนออะไรมา แล้วจะให้ท่านเทศน์ออกมาหรือท่านเป็นหลักการของท่านออกมาเพื่อให้สังคมทำในสิ่งที่ผิดพลาด

ที่บอกว่าหลวงปู่คลาดเคลื่อน คลาดเคลื่อนอันนี้ผิดน่ะ มันจะเป็นไปได้ยังไง มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้ามันสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เนี่ยเรายอมรับความจริงซะ ยอมรับความจริงว่าครูบาอาจารย์น่ะลึกซึ้งกว่าเรา ท่านทำได้จริงกว่าเรา ถึงเราจะปฏิบัติถ้าได้ของเราจะไม่เหมือนกับครูบาอาจารย์ มันก็ไม่เสียหายอะไร มันจะไปเสียหายอะไร ในเมื่อเราก็ทำความดีขึ้นมา พ่อแม่เห็นไหมอยากให้ลูกมีหลักมีฐาน อยากให้ลูกมีการครองชีพที่ดี ลูกก็ไปทำอาชีพขึ้นมา แล้วมีความประสบความสำเร็จขึ้นมา แล้วมันผิดตรงไหนล่ะ มันผิดตรงไหน

นี่ก็เหมือนกันถ้าเราปฏิบัติได้จริง เราทำได้จริง แล้วมันทำไมต้องไปแก้ว่าหลวงปู่ดูลย์คลาดเคลื่อนอย่างนั้น คลาดเคลื่อนอย่างนี้ แล้วมันเป็นประโยชน์อะไรขึ้นมา ถ้ามันจริงนะแต่นี่เราบอกเราไม่เป็นจริง เราไม่เห็นว่ามันเป็นจริงเลย ถ้ามันเห็นว่าเป็นจริง เพียงแต่ว่าเนี่ยเวลาพูดไปเนี่ยมันมีผล มันมีผลถึงกับว่าถอดเอาแก่นธรรมของหลวงปู่ดูลย์ออก แล้วพอออกไปแล้วนะมันน่าจะจบ พอน่าจะจบเนี่ยเพื่อรักษาสถานะ รักษาสถานะพอออกมาเป็นแถลงการณ์ไง

ถ้าแถลงการณ์ถ้าไม่พูดอย่างนี้ปั๊บเนี่ย มันก็เหมือนกับว่าออกไปแล้ว พอแก้ไขแล้วก็จบไง เพราะสิ่งที่ทำมาแล้วเนี่ยจบไปแล้ว ทำผิดมาแล้วไม่ผิดหรอก ไปผิดที่คณะบุคคล คณะบุคคลนี่ไปหาเสนอหลักฐานให้หลวงปู่ดูลย์ เขียนออกมาเป็นอย่าส่งออก จากอย่าส่งออกเป็นจิตส่งออก แล้วถ้าว่าเป็นจิตส่งออก อันนั้นเป็นคณะบุคคลแล้วเวลามาเนี่ยมาแก้เนี่ยแล้วมันแก้ว่าผลส่ง

คำว่าแก้เนี่ยเขามาแก้ว่าหลวงปู่สอนว่าอย่าส่งจิตออกนอก เอาส่งเนี่ยเป็นตัวตั้งเขาคิดว่าเขาแก้ตรงนี้นะ แล้วมันจะเป็นผลดีไง แต่คนที่เขาเป็นน่ะเขาจะเห็นว่าเนี่ยปัญญาบ้องตื้นไง เพราะหลวงปู่ดูลย์ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยเนี่ย ความส่งออกมันส่งออกมาจากจิต ถ้าไม่มีจิตมันเอาอะไรส่ง แล้วส่งเนี่ยส่งแล้วเกิดผลอะไร ถ้าไม่มีจิตเนี่ยที่ส่งออกไปใครเป็นคนส่ง

วิทยุกระจายเสียงมันส่งคลื่นไปทั้งวันทั้งคืนเลย วิทยุกระจายเสียงมันไม่เคยทุกข์เลย วิทยุกระจายเสียงมันไม่มีสมุทัยเลย วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเนี่ย อสมท.ต่างๆ เนี่ยมันมีสมุทัยไหม เพราะมันไม่มีชีวิตมันเป็นคลื่น มันเป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็นวัตถุ แต่ถ้ามีจิต มีความรู้สึก จิตส่งออกเป็นสมุทัยเป็นสมุทัยเพราะอะไร เป็นสมุทัยเพราะตัณหา วิภวตัณหาเห็นไหมมันมีตัณหา วิภวตัณหา มีอะไรมีวิกฤต มันมีความอยากความต้องการ ความผลักไส

เนี่ยตัณหามันมี ๓ เนี่ยเพราะมันมีจิตมันถึงมีความรู้สึก แล้วเนี่ยพอบอกว่าย้อนกลับมาว่าอยู่ที่สำคัญผลที่ส่ง อันเนี้ยในความรู้สึกเรานี่มันมาขยายความ มันมาขยายความถึงอุดมคติ ถึงความเห็น แล้วพอขยายความอย่างนี้เพราะเราจับอย่างนี้ จับตรงนี้ปั๊บ แล้วย้อนกลับไปดูคำสอน

ประเด็น : คำสอนที่เขาสอนมาที่เขาพูดมาไง เด็กไม่มีสังโยชน์เพราะเด็กไม่มีความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เด็กไม่มีสังโยชน์แล้วเวลาพระอริยบุคคล พระโสดาบันเห็นไหม แว้บเห็นนิพพานเป็นพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันสังโยชน์ขาดเลย สมุจเฉทปหานขาดไม่เหลือเลย สมุจเฉทขาดไม่มีเหลือ ขาดหมดเลย แต่ขาดแล้วเดี๋ยวกลับมาประกบอีกนะ ถ้าขาดแล้วโดยที่ไม่กลับมาประกบ เนี่ยดูโสดาบัน ดูสกิทาคา อนาคาของเขา แล้วดูพระอรหันต์ของเขา ความเป็นพระอรหันต์เวลาเขาอธิบายพระอรหันต์นะ พระอรหันต์ไม่มีอะไรเลย มีแค่จิตกับขันธ์ ขันธ์แยกอออกจากจิตผลัวะเป็นพระอรหันต์เลย

หลวงพ่อ : เวลาทำสมาธินี่พุทโธ พุทโธ พุทโธนี่จิตมันลงเต็มที่ไม่มีขันธ์นะเนี่ยจิตหนึ่ง พุทโธๆๆ เวลาจิตลงไม่มีขันธ์หรอก ถ้าเป็นขันธ์ก็ขันธ์เดียว หนึ่ง ขันธ์หนึ่ง ความรู้สึกรูปเฉยๆ เวลาลงสมาธิเนี่ย ถ้าจิตแยกออกจากขันธ์เป็นพระอรหันต์ คนที่นั่งสมาธิเป็นพระอรหันต์หมดแล้วเพราะจิตลงหนึ่งเดียว ฤาษีชีไพรเนี่ยจิตหนึ่ง ลงเป็นจิตหนึ่งเพราะจิตนี้เป็นหนึ่ง ไม่มีขันธ์

ประเด็น : ในคำสอนหนังสือที่เราดูๆ เนี่ยเราเห็นแต่ให้ไปรื้อตอนนี้ไม่ทัน พระอรหันต์ไม่มีอะไรเลย พระอรหันต์แค่ขันธ์กับจิตแยกออกจากกัน

หลวงพ่อ : แสดงว่าไม่เคยทำสมาธิ ทำสมาธิไม่เป็น พอทำสมาธิไม่เป็นมันก็เลยไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงแล้วมาพูดอย่างนี้ มันมาตอกย้ำ ตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้น อันนี้มันเป็นความตอกย้ำให้ชัดเจนว่า เขามีความรู้สึกว่าการส่งออกนั้นเป็นตัณหา เขาไม่ได้บอกว่าจิตนั้นเป็นตัณหาจิตนั้นต่างหากเป็นตัณหา เพราะจิตมันมีสมุทัย สมุทัยคือความไม่รู้ ความไม่รู้เนี่ยอย่างเช่นเด็กเห็นไหม เด็กไม่รู้มันก็คว้าไปทั่ว ทั้งความเย็นความร้อน ถ่านไฟแดงๆ ให้รู้เด็กทารกมันไม่รู้ มันก็จับ

อวิชชาตัณหาความทะยานอยากในจิต มันไม่รู้ตัวของมัน มันถึงคิดได้ร้อยแปด มันคิดมันแสดงออกโดยธรรมชาติของมันเป็นพลังงานเฉยๆ นะ ตัวอวิชชาเนี่ยเพราะตัวอวิชชามันแสดงออกมา มันเป็นจิตใช่ไหม พอมันแสดงออกมันก็สัมผัสกับขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์น่ะเป็นความคิด พลังงานนั้นกับความคิดนั้นได้สมานกันเป็นอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นมาถึงเป็นความคิดของบุคคลที่เราคิดกันออกมานี้ พอคิดออกมานี้มันก็เลยกลาย เพราะบวกด้วยความคิดดี คิดชั่ว

มันทำให้จิตนี้ฟุ้งซ่านพอเราต้องการความสงบของใจเราขึ้นมา เราถึงต้องตั้งสติเพื่อระงับยับยั้งความคิดอันนี้ ถ้าระงับยับยั้งความคิดอันนี้ด้วยพุทโธๆๆๆ เนี่ย ด้วยศรัทธาจริตมันจะกลับคืนไปสู่จิต ถ้าสู่จิตก็คือความสงบ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราก็เอาความคิดเนี่ยมาไตร่ตรองใคร่ครวญ ใคร่ครวญว่าความคิดเราเนี่ยมันมีเหตุมีผล มีสุขมีทุกข์มีสิ่งใดเผาผลาญเราบ้าง ถ้าเราเห็นว่าเผาผลาญเป็นความเร่าร้อนเราก็ปล่อยวางมัน พอปล่อยวางมัน มันก็กลับคืนไปสู่จิต ไปสู่จิตตัวนี้

ไอ้ตัวจิตนี้มันเป็นอวิชชา พออวิชชาเนี่ยมันก็ใช้ปัญญาไตร่ตรองใคร่ครวญแล้วเนี่ย มันเห็นว่าสิ่งนี้เป็นโทษ มันก็กลับมาสู่ตัวมันเอง พอมันสู่ตัวมันเองนี่มันยังไม่ชำระล้างนะ ไม่ชำระล้างเพราะมันไปรับรู้ความคิดสัญญาอารมณ์จากภายนอก พอมันรับรู้สัญญาอารมณ์จากภายนอก มันก็หดเข้ามาสู่ตัวของมันเอง พอหดเข้ามาสู่ตัวของมันเอง เนี่ยไงคือตัวตัณหาไง คือตัวสมุทัย หดเข้ามาสู่ตัวมันเองก็คือตัวพลังงาน พลังงานเป็นสมาธิแล้ว สมาธินี้ออกใช้ปัญญาอีก

การออกใช้ปัญญาอีกอย่างนี้เห็นไหม พระป่าสอนว่าทำสมาธิ แล้วพอจิตมันสงบแล้ว มันติดในสมาธิคิดว่าสมาธิเป็นนิพพาน ต้องพยายามฝืน พยายามฝืน พยายามฝืน บังคับให้จิตออกทำงาน บังคับให้จิตออกทำงานนี้ก็คือการที่ส่งออกโดยสมาธิ การส่งออกครั้งแรกเป็นการส่งออกของสมุทัย การส่งออกของอวิชชา การส่งออกแบบของกิเลส มันส่งออกไปมันเลยเป็นตัณหาความทะยานอยาก แต่พอเราใช้สติปัญญาของเราเข้ามาหรือใช้คำบริกรรมเข้ามาจนมันสงบเข้ามาเป็นเอกเทศของมัน เป็นสัมมาสมาธิ กิเลสมันสงบตัวลงเห็นไหม ต้องบังคับนะ แล้วส่งออกอย่างนี้เป็นตัณหาไหมล่ะ

ในเมื่ออย่าส่งออกแล้วต้องใช้ปัญญาเนี่ย การใช้ปัญญาก็คือการส่งออกอันหนึ่ง เวลาหลวงตานะ โทษนะ สาธุ ยกหลวงตาอีกแล้ว เวลาหลวงตานะท่านบอกท่านติดสมาธิ ๕ ปีนี่ หลวงปู่มั่นบอกว่าความสุขอย่างนั้นเป็นความสุขเศษเนื้อติดฟัน เศษเนื้อติดฟันเท่านั้น เอ้าถ้าความสุขอย่างนี้เป็นเศษเนื้อติดฟัน แล้วเป็นสัมมาสมาธิจะอยู่ที่ไหนล่ะ นี่คือภูมิของปริยัติแล้วสัมมาสมาธิอยู่ที่ไหนล่ะ

หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระอรหันต์ท่านรู้จบแล้วนะ สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิของท่านอย่างหนึ่ง เพราะสัมมาสมาธิของท่านบวกไปด้วยสมุทัย หลวงตาช็อกเลย พอช็อกเสร็จแล้วนะ แล้วออกไปใช้ปัญญาเห็นไหม ออกไปใช้ปัญญาก็ไปเจออสุภะไง พอเจออสุภะก็ใช้ปัญญาตลอดไปเห็นไหมก็ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นอีกแล้ว เนี่ยบอกว่าให้ออกใช้ปัญญาๆ เนี่ยตอนนี้มันออกใช้แล้วนะ แล้วตอนนี้มันไม่ได้หลับได้นอนเลย มันนอนไม่ได้เลยน่ะ ตอนนี้ปัญญามันหมุนอย่างเดียวเลย นอนไม่ได้ นั่นน่ะไอ้บ้าสังขาร

เอ้า บ้าได้อย่างไรนี่ปัญญานะ ถ้ามีปัญญาจะฆ่ากิเลสได้อย่างไรน่ะก็ด้วยออกปัญญาแล้วน่ะ ก็บอกไม่ให้ออกปัญญาก็ออกปัญญา พอออกปัญญาก็ว่าบ้าสังขารเนี่ย นั่นแหละไอ้บ้าสังขาร กลับมาพุทโธๆ ใหม่เห็นไหม ถ้ามันติดเห็นไหมก็ต้องออกมาใช้ปัญญา ส่งออกไหมแล้วระบบส่งมันเป็นสมุทัยได้ไหม ระบบส่งมันเป็นสมุทัยต่อเมื่อจิตมันเป็นสมุทัย จิตมันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากเนี่ยมันเป็นสมุทัยล้วนๆ

แต่พอจิตมันสงบแล้วนี่ก็ต้องส่งออกมาทำงาน มันเป็นมรรค จิตเห็นจิตเป็นมรรค แต่ถ้ามันส่งออกมาจากกิเลสน่ะมันเป็นสมุทัย แต่ถ้ามันเป็นสมาธิเนี่ยมันส่งออกมาทำงาน มันเป็นมรรค พอเป็นมรรคทำงานมากขึ้นเนี่ยเห็นไหมบอกให้ออกใช้ปัญญา ออกใช้ปัญญา ก็ใช้ปัญญาแล้วนะ ตอนนี้ไม่ได้หลับได้นอนเลย นอนไม่ได้เลยน่ะเพราะมันอยากได้ อยากได้อย่างเมื่อกี้ที่ว่ามันอยากได้ พออยากได้มันเครียด พออยากได้มันใช้มาก พอใช้มากมันก็เหนื่อยพอเหนื่อยสมาธิมันอ่อนลง ปัญญาไม่คมกล้าต้องกลับมาไปทำสมาธิอีก พอสมาธิมันคมกล้าออกมาใช้ปัญญามันทะลุทะลวงไปเลย

ฉะนั้นต้องกลับไปที่สมาธิ สมาธิสำคัญมาก นี้ว่าการส่งออกนี่ถ้าส่งออกไม่มีสติปัญญามันจะเป็นอย่างนั้น แต่การส่งออกโดยสมาธิ มันต้องส่งออกมันถึงจะเป็นมรรค ความเพียรชอบ งานชอบเนี่ยมันต้องเป็นมรรคเห็นไหม มันแตกต่างตรงนี้มาก ฉะนั้นสิ่งที่เนี่ยพูดออกมานี่มันไม่มีเหตุมีผลหนึ่ง ไม่มีเหตุมีผลด้วย

แล้วเขาบอกว่าบีบธรรม นี่บีบ ในเมื่อจะบีบให้ทุกคนเห็นแบบองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพระโมคคัลลานะอย่างหนึ่ง สอนพระสารีบุตรอย่างหนึ่ง สอนพระอานนท์อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าไม่เห็นสอนตายตัวเลย พระพุทธเจ้าสอนพระสารีบุตรก็อย่างหนึ่ง สอนพระโมคคัลลานะก็อย่างหนึ่ง เอ้าแล้วทำยังไงให้เหมือนกันล่ะ มันไม่มีเหมือนหรอก

อันนี้เป็นความเห็นของเขานะ ไม่มี ถ้าจิตระบบส่งไง นี่วิถีจิต วิถีแห่งจิตถ้าไม่เคยเห็นจิตไม่เข้าใจเรื่องจิตแล้วพยายามเนี่ยอ้างอิง อ้างอิงพระพุทธเจ้าตลอดเวลา พระพุทธเจ้าบอกแล้วปริยัติต้องปฏิบัติ แล้วเราพูดคำนี้แล้วลูกศิษย์เขาคัดค้านมาก บอกว่าหลวงปู่มั่นน่ะเวลาท่านพูดกับหลวงตานะ บอกว่าศึกษาเนี่ย หลวงตาศึกษาน่ะมาศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้ามาเนี่ยสูงส่งมากจนถึงได้ขั้นเป็นมหา สิ่งนี้นะธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเทิดทูนบูชาไว้บนศีรษะแล้วใส่ไว้ในลิ้นชักก่อน แล้วลั่นกุญแจมันไว้ แล้วประพฤติปฏิบัติไปก่อน

ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติไปก่อนน่ะ เอามาปฏิบัติปริยัติปฏิบัติไปด้วยกันน่ะ เราจะสร้างภาพเวลาปฏิบัติไปเนี่ยจะได้ขั้นไหนขั้นหนึ่ง ขั้นสอง ขั้นสาม ขั้นสี่ ขั้นห้า ขั้นจินตนาการทั้งวันเลย พอจินตนาการทั้งวันก็สร้างภาพตลอดไป พอการสร้างภาพตลอดไปเนี่ยการปฏิบัติเนี่ย เห็นไหมหลวงปู่มั่นใช้คำเดียว แล้วมันภาษาอีสานน่ะภาษาดั้งเดิม ถ้าปฏิบัติไปพร้อมกับปริยัติมันจะเตะ มันจะถีบ มันจะขัดแย้งกันเอง มันจะเตะ มันจะถีบ หลวงปู่มั่นพูดเอง หลวงตาท่านจำอยู่ในสมองแล้วท่านเทศน์บ่อยมาก แล้วเราฟังนะมันก็กินใจเรามาก

เราพูดบ่อยเป็นบุคคลาธิษฐาน เป็นเครื่องยืนยันว่ามันจะมีปัญหา หลวงปู่มั่นใช้คำว่ามันจะเตะ มันจะถีบกันระหว่างข้อเท็จจริงที่ปฏิบัติกับทฤษฎีของพระพุทธเจ้าที่เราเรียนมา อย่างเช่นเราไปรักษาคนไข้กับหมอเนี่ย หมอบอกนี่เป็นของแสลงนะ ไอ้นู่นก็ห้ามกิน ไอ้นี่ก็ห้ามหมอพูดถูกนะ ไอ้เราก็มาเลยล่ะ ไอ้นี่ก็กินไม่ได้ ไอ้นี่ก็กินไม่ได้แล้วจะกินอะไรล่ะ ไอ้อะไรๆ ก็กินไม่ได้ ไอ้อะไรก็กินไม่ได้นะ มันวิตกกังวลจนเครียดนะ แต่หมอเขาพูดถูกนะ ของแสลงกับโรคน่ะอันโน้นกินไม่ได้ อันนี้กินไม่ได้ แต่อันนี้กินได้ อันที่กินได้ก็มี อันที่กินไม่ได้ก็มีใช่ไหม แต่ไอ้เรามันไม่รู้ใช่ไหม ไอ้นี่ก็กินไม่ได้ ไอ้นี่ก็กินไม่ได้ ไอ้กินไม่ได้ก็กินไม่ได้ อดกินเลย เครียด

มันจะเตะ มันจะถีบกัน เพราะความไม่รู้ของเราแต่หมอเขาไม่งงกับเรานะ หมอเขาไม่เคยงงเลย หมอเขารู้เลยเนี่ยเพราะเขาศึกษาของเขามา ว่าอะไรมันจะไปของแสลงกับอะไร อะไรเป็นของส่งเสริม เมื่อก่อนเห็นไหมเป็นแผลนี่ห้ามกินไข่นะ เดี๋ยวมันจะบวม เดี๋ยวมันจะเป็นแผลเป็นนะ เดี๋ยวนี้บอกว่าเป็นแผลกินไข่เยอะๆ เนื้อมันจะได้หายเร็วๆ เนี่ยเวลาวิชาการมันเจริญขึ้นมานะ ไอ้ที่พูด พูดกันไว้ผิดหมดเลย นี่ฉะนั้นเวลาศึกษามาเนี่ยแล้วหลวงปู่มั่นพูดคำนี้มันซึ้ง ภาษาอีสานเห็นไหม มันจะเตะ มันจะถีบกัน

แล้วอันนี้ก็เหมือนกันนะ อะไรๆ ก็.. เพราะตัวเองไม่มีวุฒิภาวะใช่ไหม มันถึงจะลงกันได้กับคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าอันไหนลงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้ เอ็งอย่าเถียงกูนะ ของกูลงกับพระพุทธเจ้าได้นะ ของกูลงพระพุทธเจ้าได้หมดเลย อย่ามาเถียงนะห้ามเถียง อันนี้ลงพระพุทธเจ้าได้หมดเลย แต่คนที่เขามีวิชาการเนี่ย เขามีปัญญาเนี่ยเขาขยายความได้กว้างขวาง เขาเห็นเป็นประโยชน์กับมัน เขาเปิดไปเพื่อประโยชน์ของเขาอีกมหาศาลเลย ไม่ใช่ปิดกั้นเอาไว้ด้วยความเห็นของตัว แล้วมีใครเห็นมีความเห็นที่แตกต่างกับตัว คลาดเคลื่อน ผิดต้องทำให้เหมือนฉัน แล้วก็บีบเข้ามาแล้วพอแสดงตัวออกมาอย่างนี้ ผิดไปแล้วไม่ได้ทำนะ ลูกศิษย์คณะหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์เป็นคนทำนะ ไม่ได้ทำนะ ไอ้เขียนนี่เขาขอร้องให้เขียนนะ แต่ขอร้องให้เขียนเนี่ยแต่เวลามันไปออกที่อื่นน่ะ

ประเด็น : ในประมวลธรรมมีคนมาถามหลวงปู่ดูลย์ ในประมวลธรรมเขาเทศน์มีคนมาถามหลวงปู่ดูลย์ว่า นิพพานคืออะไร นิพพานไม่ใช่วิญญาณ นิพพานไม่ใช่อะไรทุกๆ อย่างเลย ไม่ใช่วิญญาณ ไม่ใช่อะไรทุกอย่างเลย ถึงสุดท้ายแล้วนิพพานไม่มีอะไรสักอย่างนี่หลวงปู่ดูลย์เทศน์นะเขาเทศน์เอง แล้วเขาก็ตอบเลย ความจริงหลวงปู่ดูลย์จะบอกว่าคือจิตหนึ่ง หลวงปู่ดูลย์เทศน์ว่าไม่มีอะไรสักอย่างคือจิตหนึ่ง ( ไม่มีอะไรสักอย่างคือถูก ) ไม่มีอะไรสักอย่างหนึ่งเลย ไม่มีอะไรสักอย่างเหมือนนิพพานคืออะไร นิพพานคือเม้มปากนี่ไง

หลวงพ่อ : ไม่มีอะไรสักอย่างคือมี ก็มีคนพูดไง ไอ้คนที่พูดว่าไม่มีอะไรสักอย่าง ไม่มีอะไรสักอย่าง ไม่มีอะไรสักอย่างมันมาจากไหน ก็มันมาจากคนรู้จริงพูด ไอ้คนไม่รู้บอกว่าจิตหนึ่งไง เนี่ยอุดมคติอย่างนี้มันเหมือนกัน อย่างนี้มีในประมวลธรรมเยอะมาก แสดงว่าหลวงปู่ดูลย์อะไรก็ผิดสู้ตัวเองไม่ได้สักอย่าง

แต่เวลาผิดพลาดไอ้นี่เป็นหลักฐานเขียนมาเป็นเอกสารแล้ว ไอ้ที่เราพูดเนี่ยก็เป็นเอกสารนะ แล้วมีหลายจุดมาก ในประมวลธรรมมีอย่างนี้หลายจุดมากเลย แล้วอย่างนี้บอกว่าไอ้คณะบุคคลนั้นเขียนได้ไหม ยิ่งพูดออกมาเนี่ยนะ ถ้าในมุมมองของเราเนี่ยมันยิ่งมัดตัวเอง มัดตัวเอง มัดตัวเองโดยตัวเองมัดคอตัวเอง

ฉะนั้นจิตส่งออกแน่นอน ไม่มีอย่าส่งออก อย่าส่งออกเนี่ยบอกพูดเราเข้าใจ อย่าส่งออกเนี่ยเหมือนกับพูดเนี่ยผู้ใหญ่ผู้ใหญ่พูดกัน อย่างเช่น ใครก็ได้เป็นนักมวยแชมป์โลก แชมป์โลกนี่นะ แล้วซ้อมมวย แล้วครูมวยเขาจะบอกเลยนะ เนี่ยต่อยกับคนนี้ต้องใช้ชั้นเชิงอย่างนี้ คนนี้ถนัดซ้ายเราต้องต่อยซ้ายอัดซ้ายไปก่อนไม่ให้ซ้ายออกมา ถ้านี้ถนัดขวาเราต้องแก้อย่างไง เขาแก้มวยเขาแก้ตามเฉพาะเทคนิคของคู่ต่อสู้มีความถนัดยังไง มวยเขาต้องแก้เป็นชั้นๆ ไป

ฉะนั้นถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใช่ไหมเขาก็เหมือนกับโค้ชกับมวยแชมป์นั่นแน่ะ แชมป์เขารู้อยู่แล้ว ฉะนั้นบอกว่าต้องต่อยอย่างนี้นะ ต้องต่อยอย่างนี้นะ อย่าส่งออกเขาต้องพูดให้ครบใช่ไหมว่าจิตอย่าส่งออกนะ จิตอย่าส่งออกนะ เขาบอกอย่าส่งออกก็เหมือนมวยเห็นไหมแย็บ หมัดเขาต้องต่อยหมัดขวาออกไปก่อน เพราะป้องกันไม่ให้เขาเอาหมัดซ้ายออกมา ต้องขวาไปตลอดนำด้วยขวา แต่ถ้าเขาเป็นมวยถนัดซ้ายเราต้องนำด้วยซ้ายเพราะป้องกันขวาเขา เวลามวยนะ แล้วเราออกหมัดไปก่อนเนี่ยเขาจะออกหมัดไม่ได้เพราะมันกระทบกัน ถ้าเราออกไม่ได้ เราป้องกันไม่ให้เขาใช้หมัดที่เขาถนัด

นี่ก็เหมือนกันคำสอนเนี่ยเฉพาะบุคคล เฉพาะบุคคลเอามาเป็นมาตรฐานกับคนอื่นทั่วๆ ไปไม่ได้ แต่จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยเนี่ยมันเป็นบรรทัดฐานกับสังคม ทุกๆ คน ในเมื่อเห็นไหมนักมวยแชมป์โลกมันมีกี่คน แต่ประชาชนเด็กฝึกหัดใหม่ที่เขาจะมาฝึกมวยนี่อีกมหาศาลเลย คนป่วยปฏิบัติใหม่อีกมหาศาลเลย

ประเด็น : เขาถึงบอกว่าจิตอย่าส่งออกนอก ความรู้สึกต้นความรู้สึกนั้นเป็นจิต ความคิดเป็นส่งออก อย่าส่งออก อย่าส่งออกมันจะเข้าไปสู่ฐานเดิมของมัน กลับไปสู่ที่จิตนั้น จิตเห็นจิตก็ส่งออกเหมือนกัน ไม่เห็นมันผิดตรงไหน

หลวงพ่อ : เนี่ยมันพูดออกมาเนี่ย มันพูดออกมาโดยขายตัวเองไง ว่าเป็นการส่วนบุคคลเพราะหลวงปู่ดูลย์เป็นสอนส่วนตัวกับเขาเองว่าอย่าส่งออก อย่าส่งออก ฉะนั้นคำว่าอย่าส่งออกนี้มันก็เลยต้องเป็นกฎหมายบังคับคนทั่วโลก เพราะหลวงปู่ดูลย์ได้พูดกับฉันเองว่าอย่าส่งออก ถ้างั้นจิตส่งออกต้องไม่มี จิตส่งออกของหลวงปู่ดูลย์ต้องไม่มีเพราะไม่เคยพูดกับฉัน พูดกับฉันพูดว่าอย่าส่งออกเฉยๆ

ดังนั้นคำว่าจิตที่ส่งออกมา มันเป็นการเกิดเอาตัวตนเป็นใหญ่มาก เอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ เอาความเห็นของตนเป็นใหญ่แล้วไม่พอนะ เอากิเลสของตนเป็นใหญ่เห็นไหม วิถีแห่งจิตเพราะวิถีแห่งจิต จิตตัวเองไม่รู้จักจิตตัวเอง ฉะนั้นแก้ไขอะไรก็ไม่ถูก ถูกไม่ได้ ฉะนั้นยังยืนยันอยู่ว่าจิตส่งออกเป็นสมุทัย เอวัง