ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ธรรมะอ้างเล่ห์

๒๙ ม.ค. ๒๕๕๓

ธรรมะอ้างเล่ห์

พระอาจารย์สงบ  มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบปัญหาธรรม วันที่  ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่)  ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม  :             คือที่พวกเราฟังเทศน์เรื่องจิตส่งออก  แล้วคือ...  แล้วพอพวกเราฟังเทศน์แล้ว  เราก็ด่วนสรุปความครับ  แล้วก็บางทีก็อาจจะคิดอะไรที่เป็นในเชิงลบ ๆ  หรืออะไรที่ไม่ดี

หลวงพ่อ  :      ไม่เป็นไรหรอก

ถาม  :             เราก็เลยคิดว่าเพื่อที่จะทำให้มันคลีนครับ  แล้วก็อยากที่จะมากราบขอขมา  แล้วก็ผมก็เคยหลุดปากพูดไปว่า  หลวงพ่อไม่ใช่ศิษย์หลวงปู่ดูลย์โดยตรง  หลวงพ่อจะมาทราบอะไร

หลวงพ่อ  :      เขามาเล่าให้ฟังประสาเรานะ  ไอ้เรื่องอย่างนี้  เรื่องเทคโนโลยีอะไรต่าง ๆ  แต่เดิมพระป่าเรามันไม่มี  แล้วหลวงตานี่  ดูหลวงตานี่ครูบาอาจารย์นี่ท่านจะเข้มงวดมาก  ท่านจะเข้มงวดเรื่องอย่างนี้  แบบว่ามันเป็นดาบสองคม  มันเป็นประโยชน์กับทางโลก  แต่มันจะทำลายฝ่ายปฏิบัติ

ไอ้เรื่องนี้พูดจริง ๆ  นิสัยเรามาแต่เดิม  ไม่มี  เราทำไม่เป็นเราไม่รู้เรื่องหรอก  งั้นพอมีอะไร  มีแต่คนมาเล่าให้ฟัง  งั้นเราคิดของเราเอง  เราคิดของเราเองว่า  ต่อไปเพื่อประโยชน์สังคม  ไอ้เรื่องข้อมูลข่าวสาร  ไอ้เรื่องเทคโนโลยีมันจะเป็นประโยชน์กับโลก  เราคิดจะทำอยู่  แต่เราไม่ได้ทำเอง  เราให้ลูกศิษย์ทำ  มันจะอยู่ฝั่งนู้น  เราค่อย ๆ  ทำ

งั้นในกรณีนี้  มันมาเล่าให้ฟัง  เล่าให้ฟังอยู่  แต่เล่าให้ฟัง  เราก็ฟังไว้  ว่าอย่างตอนนี้  เราจะพูดเลยล่ะ  ว่ามันมีคน..  คนแบบว่าปฏิบัตินี่เขามาขอขมากันหลายคนแต่เวลาขอขมาแล้วนี่เขาไปพูดข้างนอกกันมันก็ยัง  ยัง  แบบ  จะไปจะมามันก็ยังมีความคิดดี ๆ  กันอยู่  แต่แปลก  เขาก็เป็นคนถามเราเองนี่แหละ  ว่าให้เราพูดให้เห็น  เห็นความแตกต่าง  เราพยายามจะพูดให้เห็นความแตกต่าง  เขาก็รับไม่ได้อีกอะ  รับไอ้ความเห็นแตกต่างนี้ไม่ได้  เอ้อ  มันแปลก  งั้นเราจะคิดเลยว่า  ตอนนี้ถ้าเราคุยกันมันแบบว่า  เราจะคุยกันในฐานะที่ว่า  เวลาเราพูดกับลูกศิษย์ทุก ๆ  คน  ถ้าเจอคำว่าขอขมานี่  เราไม่ได้ถือสาอะไรเลย  จุดมุ่งหมายของเราเพื่อต้องการให้  อย่างที่ว่า  ธรรมะของพระพุทธเจ้า  อตฺตาหิ  อตฺตโน  นาโถ  ให้ทุกๆ  คนพึ่งตัวเองได้  แล้วสังคมเนี่ย  แหม  มันจะมั่นคงมากเลย  ถ้าสังคมมันพึ่งตัวเองไม่ได้  มันจะมีปัญหาเพราะตัวเองพึ่งตัวเองไม่ได้ 

งั้นเราบอกว่าเวลาเราคิด  เป้าหมายของเรา  เราอยากให้พวกโยม  อยากให้ทุก ๆ  บุคคล  ให้  ให้มีหลักมีเกณฑ์ของตัวเอง  เราจะพูดคำนี้นะ  ถ้าพูดแล้วมันสะเทือน  ถ้าพูดประสาเรา  บอกว่า  กูอยากให้มึงเป็นคนเท่านั้น  อยากให้คนกลับมาเป็นคน  อยากให้ทุกคนกลับมาเป็นอิสรภาพ  เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์นะกูพอใจแล้ว  เป้าหมายมีเท่านี้  เป้าหมายคือทุกคนให้กลับมามีความสมบูรณ์โดยตัวเองเท่านั้น  จบ  เราไม่ต้องการอะไรเลย  แล้วที่พูดออกไป

  วันนี้เขาพูดอีก  ถ้าไปดูในวิถีแห่งจิต  เห็นไหม  วิถีแห่งจิต  เพราะว่า  เวลาอธิบายนี่  เวลาเขาอธิบายมันมีปัญหาขึ้นมานี่  ส่วนใหญ่แล้วคนมันเข้าใจไม่ได้  มันเข้าใจไม่ได้  เห็นไหม  ถ้าเข้าใจได้นี่  เพราะพอเขาพูดมานี่  เราเห็นนะ  เราเข้าใจเลยล่ะ  เพราะคำพูดคำนี้ว่าจิตส่งออกไม่ได้  มันขัดแย้งไปหมดเลย  จิตส่งออกไม่ได้  มันจะส่งออกได้ก็ด้วยสัญญาอารมณ์  มันก็เหมือนกับแบบว่าผู้ที่เข้ามาศึกษา  ประสาเรานะว่าวุฒิภาวะต่ำมาก  ถ้าโดยธรรมชาติของจิตมันส่งออกโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว  เราจะรู้ไม่รู้อยู่  ธรรมชาติมันก็ส่งออกอยู่แล้ว  ทีนี้พอไปตัดตอน  มันตัดตอนว่ามันส่งออกที่สัญญาอารมณ์ระบบส่งสัญญาอารมณ์นี่  ระบบส่งมันจะเกิดเองได้อย่างไร  ถ้าไม่มีตัวจิต  ทุกอย่างมันเกิดจากจิตหมดล่ะ  อันนี้พอมันเกิดจากจิตแล้วนี่  พอจิตส่งออกแล้ว  เราพยายามจะพูด  เมื่อก่อนใหม่ ๆ  นี้เราพูด  เรากะจะพูดให้คนได้สติเท่านั้นเอง  แต่มันเป็นนิสัยเรา  มันเหมือนดูรุนแรง  แต่เราพูดแค่เตือนสติเท่านั้นเอง  เห็นไหม  พอเราพูดจบแล้วนะ  เรากลับมาที่ตั้งไง  เราพูดจบแล้วเราไม่ออกไปเลย  เห็นไหม  เราพูดจบก็คือจบ  เราไม่มีอะไรต่อเลยล่ะ  เราจบก็คือจบ

เราเพียงแต่อยากเตือน  เตือน  เพราะเราดูแล้ว  ถ้าพูดประสาเราดูแล้วว่า  คำสอนอย่างนั้นมันไม่มีเหตุมีผลไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์  ไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์อะไรเลย  งั้นมันไม่มีเกณฑ์มันก็จะพากันไป  พากันไป  ไปทางโน้นหมด  งั้นเรื่องนี้จบไม่มีปัญหาเราไม่ติดใจอะไรเลย  ไม่มีอะไรติดใจเราเลย  ขอให้ทุกคนเป็นคนดี  พอใจเท่านั้น  เราไม่เอาอะไรเลย  ให้ทุกคนเป็นคนดี  มีหลักมีเกณฑ์ของเราขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับเรา  ตอนนี้จะคุย  มีอะไรว่ามาเลย  พลัดกันพูด

ถาม  :             อ๋อ..ผมเป็นคนที่ส่งคำถามเข้ามา  ถามเรื่องคิดซ้อนพุทโธครับ 

หลวงพ่อ  :     ว่าไงนะ  คิดซ้อนเหรอ 

ถาม  :             ใช่ใช่  แล้ว

หลวงพ่อ  :      แล้วตอบไปแล้วใช่ไหม 

ถาม  :             ตอบไปแล้วครับ  แต่ว่าตอนนั้นคือ  ผมไม่ใช่คนที่โทรมาทวงนะครับ  คือผมใช้เขียนถามเข้าไปว่าหลวงพ่อตอบหรือยัง  แต่ว่า  สงสัยคนที่เขาคิดเอามาให้หลวงพ่อเขาโทรมาทวงหลวงพ่อเอง  คือผมไม่ใช่คนทวงนะครับ

หลวงพ่อ  :      ใช่  ไอ้คิดซ้อนพุทโธนั่น  เรา..

ถาม  :             เข้าใจๆ  แล้วครับที่หลวงพ่อเขียนว่า  เราไม่ต้องสนใจอะไรเลย  นอกจาก...

หลวงพ่อ  :      ก็เขาส่งจดหมายมาที่นี่  ไอ้คิดซ้อนพุทโธอะไรต่าง ๆ  ประสาเรานะไม่มาถึงเราเลยเพราะว่าลูกศิษย์ที่ดูเว็บไซต์เรานี่  เขาไม่เอามาให้  เขาไม่เอามาให้หรอกเพราะเขาถือว่าเราถือว่าเว็บไซต์เราตอนนี้มันยังไม่จบ  เว็บไซต์เรานี่มันยังไม่เสร็จเว็บไซต์ตอนนี้มันเป็นการแบบว่าจดทะเบียนไว้แล้วก็เป็นขั้นทดลอง  ตอนนี้ข้อมูลไม่ถึงเราเลยนะ  เรายังไม่เห็นเว็บไซต์เราเองเลย  ยังไม่เห็นหน้าตาเลยนะว่ามันเป็นอย่างไรนะ  ยังไม่เห็นเลย  เพราะว่าที่นี่มันเขาเอาดาวเทียมเข้ามาแล้วมันเข้ามาไม่ได้  ตอนนี้มันจะเอาไอ้นั่น  เคเบิลเข้ามา  นี่เคเบิลติดต่ออยู่  ทีโอทียังไม่มา  ทีนี้เขามาทางนี้  ติดต่อเราไม่ได้  แล้วลูกศิษย์ที่ทำอยู่นี่  เขาแบบว่าเขาเห็นว่า  เรื่องนี้มัน...  งานเราเยอะยังไม่เอามา  เขาก็เลย  เลยส่งจดหมายมาที่นี่  พอจดหมายมาที่นี่ปั๊บ  เขามาจากน่าน  มันไกล  เราก็สงสารเราก็เลยพูดออกไปเลยแล้วก็อธิบายเพราะทำไมมันคิดซ้อนได้  เวลาขนาดว่าเขากำลังคิดพุทโธอยู่มันยังคิดซ้อนได้  เราก็พยายามจะอธิบาย  เราอธิบายไป  ตอนนี้  ตรงที่ว่ามันมาฉบับสุดท้ายแล้ว  ที่มาทวงแล้ว  แต่ตอนอันแรกยังไม่เห็น  แล้วตอนนี้ยังไม่เห็นอะไรเลย  ยังไม่มาเลย  ข้อมูลยังไม่มาเลย

แต่ถ้ามาแล้วนี่  พอมาถึงเราที่นี่เสร็จแล้วนี่  เข้ามาที่นี่เพราะลูกศิษย์เราที่ทำอยู่นี่เขาดูแลทางเทคนิค  เขาบอกทางเทคนิคก็ดูแลให้แต่ธรรมะไม่เกี่ยวเลย  แล้วเราก็พยายามจะพูดอยู่  เพราะว่าเราเนี่ย  เห็นไหม  โดยหลักพอเราตั้งนี่ขึ้นมา  เราจะตั้งขึ้นมาเพราะเราดูตั้งแต่หนังสือหลวงปู่มั่น  หลวงปู่มั่นหลวงตาบอกไม่รู้  ไม่รู้ไม่เห็นนี่  เขียนประวัติหลวงปู่มั่นไม่ได้แล้วหลวงตานี่เขียนประวัติหลวงปู่มั่น  ก็มีพระองค์อื่นเขียนประวัติหลวงปู่มั่นมากเลย  แต่เขียนประวัติหลวงปู่มั่นในเชิงว่าเป็นแบคกราวน์  แต่ในเชิง  ในเชิงว่าหลวงปู่มั่นยกย่องในตัวผู้เขียน  อย่างนี้เยอะมาก  แต่หลวงตานี่ท่านเขียนประวัติหลวงปู่มั่นด้วยความเชิดชูหลวงปู่มั่น  แล้วท่านหลวงตาท่านพูดเองด้วย  ในวงในว่า...  สิ่งที่ท่านเก็บข้อมูลมานี่  ๑๐๐  เปอร์เซ็นต์ที่เขียนออกมาแค่  ๗๐  เปอร์เซ็นต์  เขียนมากกว่านั้นไม่ได้  ถ้ามากกว่านั้นไปมันจะเป็นเชิงอภินิหาร  เป็นเชิงคุณธรรมของหลวงปู่มั่น  มันเหมือนกับเราพวกเดียวกันเรายกย่องพวกเดียวกันเอง  ท่านบอกว่า  ลงที่เขียนประวัติหลวงปู่มั่นมาเนี่ยลงแค่  ๗๐  เปอร์เซ็นต์  ไม่ลงทั้ง  ๑๐๐  เปอร์เซ็นต์  ทีนี้พอคนอ่านประวัติหลวงปู่มั่นเนี่ย  มันเหมือนกับหนังจีนเลยเพราะหลวงปู่มั่นรู้แปลก ๆ  อะไรแปลก ๆ  นี่  แต่ประวัติหลวงปู่มั่น  พระองค์อื่นเขียนในทำนองว่าเขียนประวัติตัวเองในเชิงประวัติหลวงปู่มั่น  นี่พูดถึงโดยเจตนาแล้วนะ  ถ้าโดยข้อเท็จจริง  เห็นไหม  โดยข้อเท็จจริง  หลวงตาท่านพูดบ่อย  ถ้าไม่รู้ไม่เห็น  หลวงปู่มั่นพูดอย่างหนึ่งคนจะตีความไปอีกอย่างหนึ่ง

งั้นพองี้มันออกไปปั๊บ  มันก็ย้อนกลับมาที่เว็บไซต์มาข้อมูลของเรานี่  แล้วลูกศิษย์เราส่วนใหญ่เราจะเน้นตรงนี้มาก  หน้าที่ของลูกศิษย์เรา  จะมีแต่เก็บข้อมูลให้เรา  แล้วธรรมะเนี่ย  ต้องให้เราเป็นผู้พูดเอง  ถูกหรือผิด  คนอื่นจะพูดแทนเราไม่ได้  อย่างกรณี  กรณีเรื่องในเว็บไซต์  ลูกศิษย์เราเนี่ย  เราบอกเอง  นั่งอยู่นั่น  เราบอกว่า  อย่ายุ่ง ๆ  เราจะพูดเอง ๆ  เราไม่ให้ใครทำนะไม่ให้ใครทำเพราะอะไร  เรารู้เรื่องอย่างนี้  ถ้าไม่ไปทำนี่  เราจำคำพูดมาอย่างนี้  คำพูดนี่ถูกต้อง  แต่เราพูดออกไปแล้วนี่  เราอธิบายคำพูดนั้นไม่ได้หรอก  ถ้าเราอธิบายได้  เราอธิบายในเชิงตีความของเราไม่ใช่ของจริงหรอก

ฉะนั้นกรณีลูกศิษย์เราที่ไม่เอามาให้ก็เพราะ  เห็นไหม  จะมีลูกศิษย์เราหลาย ๆ  คน  เขาก็อยากจะเข้ามาช่วย  แต่เราดูนิสัยคน  นิสัยของคน  ถ้าเขายังมีแบบว่ามีตัวตนเขาสูง  เขาไม่สามารถพูดหรือแกะข้อธรรมะเราให้เป็นข้อเท็จจริงอย่างนั้นได้  เราจะไม่ให้เขามายุ่งเลย  เราไม่ให้เข้ามายุ่งเลย  เราจะใช้คำพูดนะ  กับลูกศิษย์เราเองนะ  บอกว่ากูต้องการสายเลือดตรง  พันธุ์ทางไม่เอา  พันธุ์ทางคือเอาข้อมูลความรู้สึกของเราน่ะบวก  เราไม่ให้เข้ามายุ่งเลย  เพราะมันจะทำให้ตรงนี้คลาดเคลื่อน

นี้ตรงนี้คลาดเคลื่อนเห็นไหม  แล้วถ้าธรรมะที่มีคุณธรรม  หรือ  ธรรมะที่เป็นความจริง  เขาเรียกว่าธรรมเหนือโลก  เราใช้คำว่าเหนือโลก  เหนือโลกตลอด  มันเหนือความคาดคิด  เหนือความคาดหมายของคน  ทั้งๆ  ที่ธรรมะพระพุทธเจ้านี่ละว่าพุทธพจน์ ๆ  เรายังจำตลอดใครบอกพุทธพจน์  กูกราบพุทธพจน์  แต่กูเถียงไอ้คนพูดพุทธพจน์  คนสื่อพุทธพจน์  มันจะสื่อด้วยความหมายของตัว  มันไม่ได้พูดพุทธพจน์โดยที่มันรู้จริงตามพุทธพจน์นั้น  ชอบใจคำไหน  ชอบใจตรงไหน  ก็เอามาอ้างอิง  เพราะเราชอบ  แต่ถ้าอันไหนไม่ชอบแต่งเติมมา  มันก็ลำบาก  ไม่เป็นอย่างที่เราชอบ

ถาม  :             หลวงพ่อครับงั้นผมขอถามครับ  อย่างนี้เราจะสามารถแยกได้อย่างไรครับว่า  สิ่งไหนควรเชื่อหรือควรไม่เชื่อครับ

หลวงพ่อ  :      ขณะที่ปฏิบัติกันนี่นะ  เวลาเราพูดไปแล้วมีคนโต้แย้งมา  มีคนโต้แย้งมาเวลาที่เราใช้ตัวอย่างเห็นไหม  หลวงตาน่ะ  ท่านจบมหา  คำว่ามหาก็รู้จริงแปลบาลีได้  พอไปหาหลวงปู่มั่นเห็นไหม  หลวงปู่มั่นนะท่านเอาตรงนี้  มาเข้าตรงนี้ตรงที่บอกว่าเราจะรู้จริงได้อย่างไร  ทั้ง ๆ  ที่เป็นมหานะ  แล้วหลวงตาท่านไปฟังเทศน์หลวงปู่มั่นครั้งแรก  ท่านบอกว่า  ฟังแล้วเข้าใจไม่ได้เลย  เพราะท่านมีทางวิชาการมันสูง  แล้วท่านก็ถามตัวท่านเอง  ท่านเป็นอุปัฏฐากสมเด็จมหาวีรวงศ์  (พิมพ์  ธมฺมธโร)  ท่านบอกเทศน์สมเด็จเทศน์ครูบาอาจารย์เทศน์เจ้าฟ้าเจ้าคุณ  ฟังมาทั่วเมืองไทยเข้าใจได้หมดเลย  พอมาฟังเทศน์หลวงปู่มั่นทำไมเราไม่เข้าใจ  แล้วไม่เข้าใจเลย  เข้าใจคำพูดของท่านไม่ได้ไง

นี้เวลาฟังเทศน์นะแต่ก่อนหน้านั้นที่เข้าไปคืนแรกเลย  เข้าไปคืนแรก  หลวงปู่มั่นเหมือนหลวงปู่มั่นท่านรู้ของท่าน  เหมือนกับท่านมาต้อนรับนะเพราะหลวงปู่มั่นนะเวลา  อย่างตอน..หลวงตาท่านเล่าให้ฟังตอนที่อยู่วัดเจดีย์หลวง  หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนขึ้นไปด้วยกัน  แล้วหลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่า  ปุ๊บปั๊บ  ท่านก็มาเลย  พอหลวงปู่ฝั้นเจอหลวงปู่มั่นนี้  ครูจารย์  ครูจารย์มาทำไม  ก็มารับท่านไง  นี้อันหนึ่งนะ  แล้วก็ย้อนกลับมาที่หลวงตา  หลวงตาเข้าไป  ท่านเดินจงกรมรอเลย  แล้วคืนนั้นก็ซัดตรงนี้เลยก็เข้ามาทีแรกไง  บอกว่าสิ่งที่เรียนมาแล้วนี่นะ  เป็นมหานี่  วุฒิภาวะของมหานี่  มันก็แปลบาลีได้  เข้าใจศัพท์บาลีหมดเลย  สิ่งนี้เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าให้เชิดชูไว้บนศีรษะให้เชิดชูไว้เคารพบูชาเชิดชูไว้แล้วเก็บเอาเข้าไปไว้ในลิ้นชักก่อนแล้วล็อกกุญแจมันไว้อย่าให้ออกมาแล้วปฏิบัติไป  ท่านบอกว่าถ้าปฏิบัติไปแล้วนี่  ถึงจุดหนึ่ง  พอปฏิบัติได้ตามข้อเท็จจริงอย่างวุฒิภาวะเรารู้ได้จริงขนาดนั้น  สิ่งที่เรียนมันจะเป็นอันเดียวกันเลย  แต่  อยู่ตรงนี้  แต่  แต่ถ้าเราปฏิบัติไปพร้อมกับสิ่งที่เราเรียนมามันเป็นสัญญาอารมณ์

เราเจอบ่อยมากนะ  เวลามาภาคกลางเนี่ยมีผู้ปฏิบัติ  เขาจะมาหาเราเลย  หลวงพ่อ  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตารมณ์นี่  ผมรู้หมดเลย  วิตก  วิจาร  ปีติ  เนี่ยผมทำได้หมดเลย  ผมได้ขั้นอะไร  เอ็งไม่ได้ขั้นอะไรเลย  เพราะเขาพยายามเทียบอารมณ์เขาเป็นอย่างนั้น  เห็นไหม

ทีนี้มองย้อนกลับไปที่ปฏิบัติโดยทางวิชาการโดยที่เราเรียนมา  พุทธพจน์ ๆ  เนี่ย  เรารู้หมดแล้วใช่ไหม  เรารู้คำตอบหมดแล้ว  เรารู้คำตอบหมดแล้ว  เราก็พยายามทำใจเราให้สมกับคำตอบนั้น  มันเป็นความจริงไหม  พอไม่เป็นความจริงนะ  ท่านบอกว่า  ไม่เป็นความจริงมันจะเตะมันจะถีบกัน  เพราะทุกคนต้องเข้าข้างตัวเอง  ไม่ต้องบอกว่าเราได้สภาวะนั้นแล้ว  แล้วเราต้องเป็นอย่างนั้น  หลวงปู่มั่นท่านพูดซึ้งมากนะเพราะคำพูดนี้เราไม่ได้ยินเอง  แต่หลวงตาเล่าให้ฟัง

หลวงตาท่านเล่าให้ฟังเอง  บอกว่าหลวงปู่มั่นบอกมันจะเตะมันจะถีบกัน  คือมันจะขัดแย้งกัน  การกระทำนี่มันจะขัดแย้งกัน  แล้วเราก็ไม่รู้เรื่องอะ  มันจะทำให้การปฏิบัติเราลำบากมากขึ้นไป  เหมือนเลย  เหมือนเพื่อนเราคนหนึ่ง  ไปเรียนหมอนะแต่ก็โดนไทร์  เรียนไม่จบ  แล้วพอคุยกับพวกเรา  เอ่อ  ถ้าไม่รู้เรื่องยานี่  กูก็รู้นะ  เขาบอกให้กูรู้นะ  กูก็ไม่รู้  มันบอกว่าเวลาไปหาหมอมันก็ลำบาก  เพราะเรียนไม่จบไง  เขาโดนไทร์ออกมา  แต่ถ้าไม่รู้เรื่องยานี่  เขาก็รู้อยู่เพราะเรียนปี    ปี    แต่ถ้าบอก  ถ้าเรื่องจริงเขาก็ไม่รู้

แล้วเวลาปฏิบัติไปเห็นไหม  มันเหมือนกัน  ฉะนั้นว่า  บอกว่าถ้ามาปฏิบัติ  เราจะรู้ได้อย่างไรอะไรผิดอะไรถูก  เห็นไหม  ปัจจัตตัง  สันทิฏฐิโก  เพราะคำพูดคำนี้นะเราเอาคำพูดคำนี้  ย้อนกลับไปดูสังคม  สังคมที่พวกเราดูกันอยู่นี่  คำพูดที่เขาพูดมาที่ออกมาจากที่เราได้  เขาเอามาให้ดู  ผิดหมดเลย!  ผิดหมด!  ผิดหมดตรงไหน  ผิดหมดโดยการที่เราได้ประสบมา  เรานี่ได้ประสบมาหมดแล้ว  ถูกก็ได้ประสบมา  ผิดก็ได้ประสบมา  มันถึงรู้ว่าผิดหรือถูกไง  คำพูดที่ออกมาจากหนังสือนั้น  ผิดหมด!  สามัญลักษณะต่าง ๆ  ที่พูดมาผิดหมดเลย

แล้วมันเวลาปฏิบัติมาเนี่ย  สิ่งที่น่ากลัวมากคือ  สัญญา  สิ่งที่น่ากลัวมากในวงการปฏิบัติ  เวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศน์นะ  ท่านเวลาเทศน์ขึ้นมา  สิ่งใดเป็นไฮไลท์หรือสิ่งใดที่เป็นข้อสรุป  ท่านไม่เคยผลุบออกมาเลย  ไม่เคยปลิ้นออกมาให้รู้เลย  แต่ท่านรู้ของท่านนะ  เพราะคนปฏิบัติมันจะรู้  ถ้าเราเผยข้อมูลอย่างนี้ออกมาปั๊บ  ลูกศิษย์มันจะสร้างภาพอย่างนั้นทันที  แล้วสร้างภาพนะ  ทั้ง ๆ  ที่สร้างภาพเนี่ย  อาจารย์รู้นะ  แต่มันจะเป็นโทษของลูกศิษย์คนปฏิบัตินั้น

แล้วปัจจุบันนี้นะ  มีพระที่รู้จักเรา  มาคุยธรรมะกันไง  เขาบอกว่าเขาจะปล่อยวางอย่างงั้น ๆ  จิต  จิต  จิตนี้นะมันเหมือนดวงดาวเลยนะ  แล้วพูดกับเรานะ  เราก็ไม่ยอมรับไง  เขาว่างกันหมดแล้วเราก็ไม่ยอมรับนะ  แล้วก็ถามกลับนะ  ถามกลับว่าทำไมหลวงพ่อยอมรับหลวงตาล่ะ  ทำไมหลวงตาบอกว่าจิตนี้เป็นจุดและเป็นต่อม  นี่ยอมรับ  ก็นี่แสดงว่าเขาจำมาทั้งนั้นเลย  เพราะเขาจำมาจากคำพูด  คำพูดออกมามันไม่เหมือนกันหรอก

เรายกตัวอย่างประจำ  อย่างเช่น  อย่างรถเนี่ย  เวลาเราขับรถมา  รถนี้มันเป็นรถสมบูรณ์แบบที่ขับเคลื่อนที่ได้ใช่ไหม  รถเด็กเล่นหรือรถบังคับเนี่ย  ใช้คำว่ารถ  มันก็คือรถใช่ไหม  แล้วใช้ประโยชน์ได้ไหม  ไม่ได้หรอก  แต่ก็บอกว่านี่รถฉัน  ก็รถเหมือนกัน  ทำไมไม่ยอมรับ  เห็นไหม  ชัดเจนมากเลย  เขาบอกว่าทำไมไม่ยอมรับที่บอกว่าจิตของเขานี่เป็นดวงดาว  เป็นอะไรนี่  เขาบอกว่าเขาได้ขั้นตอน  เราไม่รับเลย  มันไม่มีเหตุมีผล  คนพูดไม่เหมือนกัน  พูดคำเดียวกันไม่เหมือนกัน

เราถึงพูดบ่อยไงที่ออกในเว็บไซต์  พูดคำเดียวกันนี่แหละ  คนรู้จริงพูดถูก  คนรู้ไม่จริงพูดคำเดียวกันนั้นแหละผิด  งั้นอย่างที่ว่าเนี่ยเพราะเวลามันบอกว่า  แล้วจะวัดได้อย่างไร  เราควรจะทำอย่างไร  หลวงตาท่านสอนอย่างนี้นะ  เวลาปฏิบัติ  ท่านบอกว่าให้มีเรากับพุทโธเท่านั้น  เหมือนโลกนี้ไม่มี  อยู่อย่างนั้นเลยนะ  แล้วพอจิตมันสงบ  ก็รู้ว่าสงบ  ไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบ  แล้วสงบเข้าไปเท่านั้น  ความรู้สึกจะแตกต่างกันอย่างไร

แล้วเราย้อนกลับไปดูที่คำสอนที่เราสอนไปน่ะไม่มี  ไม่มีเลย  ความเป็นจริงไม่มีเลย  อย่างที่ว่า  โทษนะ  ดูจิต ๆ ๆ  ดูกันไปน่ะ  แล้วสว่างสบาย ๆ  เราบอก  มึงไม่ต้องทำหรอก  อยู่เฉย ๆ  ก็สบาย  อยู่เฉย ๆ  ก็สบาย  ธรรมชาติของมัน  ธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนี้  ทุกข์ถึงที่สุดแล้วทุกข์ถึงสุดแล้วมันก็จบ  มันก็มีความสุข  สุขที่สุดแล้วมันก็มีความทุกข์  มันมีอะไร  ไม่มีอะไรหรอก  ไม่มีอะไรเลย  เราพูดบ่อยเมื่อก่อน  ตอนเขาพูดบ่อย  เราพูดก่อนที่เราจะออกมาพูดจะ ๆ  เนี่ย  เราพูดอย่างนี้  พัฒนาการของจิต  ธรรมชาติของจิต  เราพูดมาก่อน  เราพยายามเตือนนะนั่น  เราเตือนมาตลอดเลย

เพราะเรา..  ประสาที่ทำเนี่ย  มันสงสาร  สงสารที่ไหน  สงสารคนที่แบบอย่างนั้นนะจะไม่ได้อะไรเลย  พระพุทธเจ้าสอนไว้  โคนำฝูง  ถ้าโคนั้น  หัวหน้าฝูงฉลาดจะพาฝูงโคนั้นขึ้นจากวังน้ำวน  โคนำฝูงโคนั้นมันไม่ฉลาด  โคตัวนั้นจะพาฝูงโคทั้งหมดลงในวังน้ำวน  ที่ออกมา  ออกมาพูด ๆ  อย่างงั้น  ถ้างั้นบอกว่าแล้วเราจะเข้าใจได้อย่างไรนี่  เราจะบอกเลยนะที่มันปั่นป่วนอยู่นี่นะ  มันเป็นเพราะปริยัติ  ปฏิบัติ  ปฏิเวธ  เอาปริยัติกับปฏิบัติมาบวกกัน  ในทางปฏิบัติแต่มันปริยัติล้วน ๆ  บอกปริยัติ  กูก็ได้ปฏิบัติแล้วไง  ปริยัติมันเป็นปริยัติ  ปฏิบัติมันเป็นปฏิบัติ  พระพุทธเจ้าแยกไว้เลย  คันถธุระ  วิปัสสนาธุระ  แยกเลย  วินัยธร  ธรรมกถึก  ถ้าเป็นธรรมกถึก  ธรรมกถึก  แสดงธรรมเนี่ย  ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงจะเอาอะไรมาแสดง  แม้แต่สมัยพุทธกาลก็มีปัญหา  เห็นไหม  วินัยธร  ธรรมกถึกมีมาตลอด  เพราะคนหนึ่งจำทฤษฏี  กลุ่มหนึ่งสำเร็จ  อีกกลุ่มหนึ่งปฏิบัติโดยข้อเท็จจริง

งั้นถ้าให้รู้จริงมันก็ต้องมาปฏิบัติ  แล้วถ้าปฏิบัติ  ปฏิบัติไป  ได้ไม่ได้มันตามเนื้อผ้า  การปฏิบัติ  มันต้องปฏิบัติไปตามเนื้อผ้าได้หรือไม่ได้ตามเนื้อผ้านั้น  ไม่ใช่  มีคำตอบๆ  รู้คำตอบไว้หมดแล้ว  แล้วทำไปโดยที่ได้คำตอบตลอดอย่างนี้  มันผิดตรงนี้  แล้วพอมีคำตอบแล้วนี่  อ้าว  คำตอบผิดเหรอ  ก็พุทธพจน์ตรงกันเปี๊ยบเลย  อ้าว  มันก็เข้าได้หมดกับพุทธพจน์หมด  เข้าได้กับธรรมพระพุทธเจ้าหมดเลย  โทษนะ  จริงหรือเปล่า  ถ้าจริงนะ  ถ้าจริงนะคำพูดออกมาจริงหมดเลย  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  แล้วเป็นสมาธิเป็นอย่างไร  จริง ๆ  นะ  ไม่เห็นเลย  พูดถึงขั้นของสมาธิ  แล้วพอเราดูแล้วนะ

ถ้าขั้นของสมาธิรู้จริงเนี่ย  มันจะรู้ได้ทำอย่างไรถึงเป็นสมาธิ  ถ้าไม่มีสมาธินะ  ฐีติจิต  ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์นะ  ไม่มีบัญชี  เราเปิดบัญชีไม่ได้  เราไม่มีสัญชาติเปิดบัญชีไม่ได้  เปิดบัญชีไม่ได้  เราจะโอนผลประโยชน์  เราจะโอนเงินหรือโอนเข้าบัตรได้อย่างไร  ทีนี้โอนบัญชี  บัญชีคืออะไรคือสมาธิเนี่ย  ฐีติจิตคือจิตเดิมแท้  เพราะจิตเดิมแท้มี  ถ้ามีบัญชีมันถึงมีผลตอบรับ  มึงไม่มี  บัญชีแล้วเอาผลตอบรับมาจากไหน  พอไม่มีผลตอบรับปั๊บ  ก็พุทธพจน์ ๆ  ไปนู่นเลย  ก็ปริยัติไง  ไม่มีเลย  ถ้ามีนะ

โอ้โฮ..  โทษนะเราไม่กล้าพูดอย่างงั้นนะ  กูนะอายฉิบหายเลยพูดออกไป  หมายถึงว่าหมายถึงพูดความผิดออกไปสังคมนี้  ไม่กล้าหรอก  ถ้าให้เราพูดนะ  พูดไม่ได้  แต่ออกมาโจ๋งครึ่มเลย  งั้นตรงนี้แหละ ๆ  จริงหรือไม่จริง  รู้จริงหรือไม่จริงถ้ารู้จริงมันจะเคลียร์ได้  คำพูดจริงหมด  อย่างเช่นที่เราเห็น  มันแบบว่า..  เขาตอบขั้นตอนนี้ผิดหมด  โสดาบันนะ  ญาณทัสนะ  คือทัสนะคือความเห็น

เราจะจับประเด็น  เราจะจับว่าคนนี้เป็นอย่างไร  เราบอกญาณทัสนะ  เวลาไปเห็นสักกายทิฐินะจะเกิดญาณทัสนะ  แล้วเขาก็อธิบาย  ญาณทัสนะ  คือ  ทัศนคติคือความเห็นมนุษย์เราคือเห็นผิดเห็นถูก  เห็นว่านี่เป็นกล่อง  แต่ถ้าพลิกไปเป็นเห็นว่านี่เป็นกระดาษพับขึ้นมา  อย่างนี้ก็เป็นพระโสดาบันล่ะ  ทัศนคติ  แต่ญาณนะ  ญาณมันเกิดจากสมาธิไง  แต่เขาไม่รู้ตรงนี้  เขาถึงพูดถึงญาณทัสนะไม่เป็น  พอพูดถึงญาณทัสนะไม่เป็นปั๊บ  เราต้องจับประเด็น    ผิด        ผิดหมด  คนหนึ่งผิดใช่ไหม  ไม่มีพื้นฐานมา  บอกญาณทัสนะเขาผิด  พอญาณทัสนะเขาผิดปั๊บ  เขาตอบว่า  พระโสดาบันเห็นนิพพานปั๊บ  สังโยชน์ขาดพั้บเป็นพระโสดาบัน  เห็นไหม  พอพระโสดาบันปั๊บ  เป็นพระโสดาบันนะสังโยชน์ขาดพั้บนะ  ขาดสูญเลยไม่มีอะไร  แต่ไปพูดที่อื่นนะ  พระโสดาบันนะ  สังโยชน์ก็ขาดไปเดี๋ยวกลับมาอีกเดี๋ยวก็ขาดไป  เห็นไหม

ถาม  :             มีด้วยหรือผมไม่เคยเห็นหลวงพ่อว่าสังโยชน์ขาดไปแล้วกลับมาได้ 

หลวงพ่อ  :      เดี๋ยวนะ  เดี๋ยวจะหาหลักฐานให้ดู  อยู่ตรงนี้  เดี๋ยวเอาให้ดูเลยนะ  เดี๋ยวโยมคุยกันไปก่อน  เดี๋ยวเอาให้ดู  ประเด็นจำไว้นะ  เดี๋ยวเราจะลืม

ถาม  :             เคยได้ยินเหมือนกัน  คล้าย ๆ  เอาหินทุ่มลงน้ำ  แล้วมีแหน  แหนกลับเข้ามาปิดใหม่ 

  (มีผู้ถามอีกคนหนึ่งพูดแทรกว่า  นี่มันไม่ใช่สังโยชน์    สังโยชน์    ไปแล้วไปเลย  )

หลวงพ่อ  :      นั่น  เวลาเขาพูด  เขาพูดอย่างนี้  เราจะพูดอย่างนี้ไง  เราจะพูดให้ฟังนะ  ถ้าบอกสังโยชน์ขาดไปแล้วนะ  เขาก็พูดเองว่าขาดเลย  แต่เวลาอธิบายไว้ที่อื่น  สังโยชน์ขาดไปแล้วก็กลับมาประกบได้อีกเป็นธรรมดา  มาประมวลธรรม

ถาม  :             อันนี้มันก็คือจิตที่หลงไปแล้วนะ  ถ้าหลงไปแล้วนะ  อย่างรู้สึกตัวมาแล้วกลับไปหลงได้  แต่ว่าอาจยังไม่ใช่สังโยชน์

หลวงพ่อ  :      ไม่  ไม่  เขาไม่ได้พูดอย่างนั้น  เขาพูดถึงว่าพระโสดาบันสังโยชน์ขาดไปแล้ว  แล้วเราอธิบาย  ตอนที่อธิบายพระโสดาบัน  อธิบายชัดเจนมากเลย  แต่เวลาอธิบายธรรมะที่อื่นไง  ว่าถ้าสังโยชน์ขาดไปแล้วนี่  สังโยชน์ขาดมันกลับมาประกบได้อีก  มันไปๆ  มาๆ  อย่างนี้  อันนี้มันเป็นหลักฐานชัดเจนที่เราพูดนี่  หลักฐานชัดเจนตายตัว  เดี๋ยวเอามาให้ดู  ชัดเจน  เขาก็พูดกันด้วย  เรามาคุยกันอย่างนี้  นี้เรามาคุยกัน  แต่ต้องมีหลักฐาน  เราพูดว่าต้องมีหลักฐาน  ต้องมี  แล้ว  พออย่างนี้ปั๊บมันก็ผิดพลาด  ผิด    ผิด    ผิด    ผิด    ผิดมาตลอดเลย

ถาม  :             ต้นคด

หลวงพ่อ  :      ใช่  ปลายตรงไม่มี  แล้วสรุปเลยอย่างนี้  สรุปไว้เลยนะ  เขาจะพูดอย่างนี้  จิตพระอรหันต์  เขามีไอ้นั่น  เพราะว่าเขาตัดตอนมาอย่างนี้  ผลของการปฏิบัติ  ยังดีนะ  เขาทำมาให้เราดูนี่  เราไม่ต้องไปเลือกมาก  ผลของการปฏิบัติ  พระอรหันต์ไม่มีอะไรเลยนะแล้วเวลาจะนอนนี่  ตกภวังค์ไปเลย  พระอรหันต์เวลาจะนอนนี่ไม่มีอะไรหรอก  ตกภวังค์ไปเลย  ไม่มีใช่ไหม 

ถาม  :             น่าจะไม่ใช่

หลวงพ่อ  :      เดี๋ยวเอามาให้ดู  เป็นชั้น ๆ ๆๆ  เลยไง

ถาม  :             คือ  พวกเราเนี่ยโดนป้อนความคิดที่ว่า  เป็นคนเมือง  จิตคอยวุ่นวายทำสมาธิทั้งชาติก็ไม่ได้  เราโดนป้อนความคิดตรงนี้

หลวงพ่อ  :      ตรงนี้ไง  นี่ไงฐานมันตรงนี้ไง  ไอ้ตรงนี้นะมันจะพูดอย่างนี้ไม่ได้  เพราะเราก็เป็นคนเมือง  เราปฏิบัติเนี่ยเราเป็นคนนะเราไม่เคยอยู่ป่า  เราไปอยู่อีสานนี่นะ  แล้วพออยู่อีสานเราก็พุทโธมาก่อน  เรารู้สึกเลยว่าเราพุทโธไปแล้วเราไม่ถนัด  พุทโธไม่ถนัดนะ  พุทโธไม่ถนัด  เพราะมันทำพุทโธไป  มันเจริญแล้วเสื่อมตลอดเวลา  สุดท้ายเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ  พอปัญญาอบรมสมาธิเนี่ยมันทะลุเป็นชั้น ๆๆ  ขึ้นไปเลย  พอทะลุเป็นชั้น ๆ  ขึ้นไปเลย  แล้วเรามาเจอหนังสือหลวงตา  หลวงตาท่านสอนปัญญาอบรมสมาธิ  มันขาดสมาธิไปไม่ได้  แต่  มันทำทางไหน

ถ้าเป็นคนเมืองนี่  เขาเรียกพุทธจริต  ศรัทธาจริต  พุทธจริต  พุทธจริตเนี่ยทำสมาธิไม่ค่อยได้  พุทธจริตเนี่ยคือปัญญาวิมุตติ  ปัญญาวิมุตติเนี่ยมาทางสายพระสารีบุตร  พระสารีบุตร  พระโมคคัลลานะ  ถ้าพุทโธ ๆ ๆ  เป็นเจโตวิมุตติ  เจโตวิมุตติมาสายของพระโมคคัลลานะ  พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน  ฟังคำสอนของพระอัสสชิ  พระอัสสชิได้จาก  เอ๊ย  ได้จากพระสารีบุตร  พระสารีบุตรได้จากพระอัสสชิ  พระอัสสชิบอกธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ  พระพุทธเจ้าสอนให้ดับเหตุนั้น  พระสารีบุตรเป็นพระโสดาบัน  ไปบอกพระโมคคัลลานะ  พระโมคคัลลานะฟังเทศน์ของพระสารีบุตรเป็นพระโสดาบันหมดเลย  ทั้ง    คนก็ชวนกันชวนหมู่พวกไปบวชกับพระพุทธเจ้า  เป็นพระโสดาบันนะยังนั่งโงกง่วงเลย  พระโสดาบันนะ  ไม่ใช่ปุถุชนนะ  พระพุทธเจ้ามาสอนเลยเห็นไหม  ให้เอาน้ำลูบหน้า  ให้ตรึกในธรรม  นี่พูดอย่างนี้  นี่พูดถึงเจโตวิมุติ  และพระสารีบุตรล่ะ  ปัญญาวิมุตติ  ปัญญาต้องใช้ปัญญา  ปัญญาอบรมสมาธิ  ปัญญาที่หลวงปู่ดูลย์สอน  หลวงปู่ดูลย์สอนนะให้ดูจิต  ดู  นี่ท่านจะเขียนตัวใหญ่  เมื่อก่อนหลวงปู่ดูลย์  รู้  รู้ตัวเบ้อเร่อเลย  ดู  หรือ  รู้  นี้  ไม่ใช่ว่าให้ดูจิต  อักษรตัวเท่ากันไม่ใช่เสมอภาค  ให้ดูจิต  ดูหรือรู้นี้  ท่านเขียนตัวอย่างนี้เลย  ให้ดู  ดูอย่างนี้ ๆ  มันมีความหมายไหม  ถ้าตัวรู้นี้มันใหญ่กว่าเนี่ย  ก็ให้ดูให้รู้แบบผู้บริหารเขาใช้ปัญญาไม่ใช่ดูรู้แบบใช้สายตาดู  นี้ถ้าทำอย่างนี้  นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ  ดูแบบปัญญา  ดูแบบบริหารจัดการความคิด  ถ้าดูแบบบริหารจัดการความคิด  เราทันความคิด  ความคิดด้วยเหตุด้วยผล  ความคิดหยุดได้

ถาม  :             คือผมยังไม่ค่อยเข้าใจปัญญาอบรมสมาธินิดนึงคือ  มันเป็นการคิด  ตรึกในธรรม  แล้ว...

หลวงพ่อ  :        ใช่  !

ถาม  :             เช่นอย่างไรนะครับ  ยกตัวอย่าง...

หลวงพ่อ  :      ความคิดประจำวันก็คิดได้  อย่างเช่น  วันนี้เราทำอะไรมา  เรามีความสุขความทุกข์สิ่งใด  สติจะตามความคิดนี้ไป  ปล่อยให้มันคิดไป  สติตามมันไป  มันคิดขนาดไหนนะ  พอถึงที่สุด  เราจะคิดไม่คิดแล้วแต่  ความคิดนั้นมันหยุดได้

ถาม  :             อืม  ใช่ ๆ 

หลวงพ่อ  :      นี้มันหยุดหรือไม่หยุดนี่  พอมันหยุดเนี่ย  มันหยุดทิ้งเปล่าไง  แต่ถ้าสติตามความคิดไปเนี่ย  พอมันหยุด  เราเห็นเรารู้ไง  เราถึงบอกว่าในการกำหนดนามรูปกำหนดดูจิตเนี่ย  เราใช้คำว่าตัดรากถอนโคนมันประจำ  เห็นไหม  ตัดรากถอนโคนเพราะมันตัดรากถอนโคนจากจิต  ตัดรากถอนโคนจากภพ  ความคิดมาจากไหน  ความคิดมาจากภพ  ภพคืออะไร  ภพคือปฏิสนธิวิญญาณ  คนจะเกิดจากปฏิสนธิวิญญาณ  ปฏิสนธิวิญญาณตัวภพ  ตัวนี้ยังไม่เป็นความคิด  ความคิดมันเป็น  เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์เราถึงมีธาตุ    และขันธ์    ขันธ์    เนี่ย  เราเปรียบเหมือนส้ม  ส้มมันมีเปลือกส้ม  ถ้ามีเปลือกส้ม  ถ้ามีธาตุ    ขันธ์    ตายตัว  เอ็งไปเกิดบนพรหมได้อย่างไร  พรหมมีขันธ์    เห็นไหม  เทวดามีขันธ์    เหมือนกัน  แต่มีรูปเป็นทิพย์  เราเป็นมนุษย์เนี่ย  ภพมนุษย์มีธาตุ    และขันธ์    โดยธรรมชาติของมนุษย์  พระพุทธเจ้าถึงเกิดเป็นมนุษย์  พวกเราถึงเกิดเป็นมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความคิด  นี้ความคิดมันเกิดจากจิต  ความคิดเกิดจากจิต  ไม่ใช่จิต  งั้นถึงบอก  ขันธ์เป็นจิต  ขันธ์เป็นจิตน่ะ  โอ๋ย..กูจะบ้าตาย  จิตส่งออกไม่ได้เพราะจิตเป็นขันธ์  ขันธ์เป็นทุกข์  อู้ย..  โอ้โฮ  อนุบาลฉิบหายเลย

ถาม  :             หลวงพ่อ........  เคยบอกว่าจิตส่งออกไม่ได้นะ

หลวงพ่อ  :      เดี๋ยว ๆ ๆ  จะให้ดูเหมือนกัน  เรามีหลักฐานหมดเลย

ถาม  :             เหรอ

หลวงพ่อ  :      เอ้อ

ถาม  :             แล้ว  หลวงพ่อ........ก็ไม่เคยบอกความคิดคือจิต  เพราะมันคนละส่วนกันอยู่แล้ว  หลวงพ่อ........  พูดชัดเลยว่าจิตเป็นจิต  ความคิดคือความคิด  ความคิดเป็นผู้ที่ถูกรู้

หลวงพ่อ  :      (หัวเราะ)  เออ  นั่นแหละ  ประสาเรานะ  เมื่อกี้ที่เขาพูด  เราเป็นคนเมือง  เราโดนป้อนความคิดอย่างนี้  พอเราโดนป้อนความคิดอย่างนี้ปั๊บ  เราจะดูความ  ดูกระบวนทัพ  ดูโลกทัศน์ของเขาไม่ออกเลย  เพราะมีความรู้สึกอย่างนี้  แต่สำหรับเรานี่  เรามีจุดยืน  คำพูดของเขาทุกคำ  เราเห็นหมดเลยว่าเขามีอุดมการณ์อย่างไร  มีความคิดอย่างไร  เพราะเขามีอุดมการณ์อย่างไร  มีความคิดอย่างไร  เพราะอุดมการณ์ของเขาความคิดของเขาเนี่ยถ้าเป็นสัมมาทิฐิ  คำพูดที่มันหลุดออกมา  ที่เขาบอกว่า  จิตเป็นขันธ์  ขันธ์เป็นจิต  พระอรหันต์ไม่มีอะไรเลย  พระอรหันต์แค่จิตมันแยกออกจากกัน  พระอรหันต์เป็นแค่ขันธ์กับจิต  ขันธ์กับจิตมันแยกออกจากกัน  ถ้าขันธ์กับจิตมันแยกออกจากกันนะโดยกำหนด  พุทโธ ๆ  ก็แค่สมาธิ  เพราะมันแยกมาอิสระไง  ขันธ์กับจิตเห็นไหม  ขันธ์คือความคิด  พอมันสงบเข้ามา  อ๊ะ..  ฉะนั้น  ถ้าปัญญาอบรมสมาธิเนี่ย  เห็นไหม  หลวงปู่ดูลย์  ถึงบอกหลวงปู่ดูลย์น่ะสอนถูก  แล้วหลวงปู่ดูลย์ทำได้  แล้วพวกนี้ทำไม่ได้เลย  เราเชื่อหลวงปู่ดูลย์  เชื่อหลวงปู่กิม  แต่คนอื่นเราไม่เชื่อเลยนะ  ไม่เชื่อเพราะอะไร  ไม่เชื่อเพราะเราทำไม่ได้  เราทำไม่ได้เนี่ย  เราจะเข้าใจคำพูดอย่างนั้นไม่ได้เลย  ถ้าเข้าใจคำพูดอย่างงั้นไม่ได้ปั๊บก็ตีความผิดหมดเลย  เพราะถ้าเราตีความผิดหมดปั๊บ  มันก็เลยแก่นธรรมของหลวงปู่ดูลย์ที่เราว่าน่ะ  เขาจะไปแก้ไขคำสอนนั้นให้ตรงกับความรู้สึกของตัว

ถาม  :              หลวงพ่อครับอย่างนี้คือ...  จากที่หลวงพ่อบอกมาก็คือเหมือนกับว่าพวกคำสอนหรือว่าธรรมะต่างๆ  คนที่พูดนี่สามารถเอาไปพูดตีความแบบไหนอย่างไรก็ได้แต่ว่าจริงๆ  แล้วมันมีความสำคัญที่ว่า  ตอนแบบว่าที่เราทำจริง ๆ  มันจะแบบว่า  เป็นอย่างไรซะมากกว่า

หลวงพ่อ  :      ไม่ใช่  เวลาคำพูดคำสอนนะ  เวลาสอนเนี่ย  เวลาพระทั่วไป  พระบ้านเขาเทศน์สอนกันเห็นไหม  เขาอ่านหนังสือตำรา  แล้วตำราก็มีคนแต่งคนอะไรเยอะแยะไปหมด  ใช่ไหม  คำสอนอย่างนี้  ประสาเราเรียกนิยาย  คือว่ามันเป็นนิทาน  เราไม่ถือสานะ  เพราะต่างคนต่าง..  เห็นไหม  เราสอนให้คนทำ  อย่างเด็ก  เราสอนเด็กให้เป็นคนดี  เราก็มีการโอ้โลมปฏิโลมเขา  เด็กควรทำความดีอย่างนี้  ควรทำอย่างนี้  คือยกตัวอย่างการทำความดีมันไม่เสียหายหรอกถ้ายกตัวอย่างการทำความดี  พอทำดีอย่างนี้ก็ได้ประโยชน์อย่างนี้  พอทำอย่างนี้มันได้ประโยชน์อย่างนี้  มันไม่เสียหายหรอกนะ  แต่ถ้าเข้าปฏิบัติแล้ว...ไม่ได้เลย..

เพราะเหมือนกับเราเนี่ย  เราจะขับยานอวกาศออกจากโลกเพื่อไปสำรวจอวกาศ  ถ้าเราจะขับยานออกจากโลกไปสำรวจอวกาศ  เรื่องความเที่ยงตรง  ต้องชัวร์ไหม  ในการปฏิบัติเนี่ย  จิตนี้มันจะเร็วมาก  กว่าเราจะควบคุมจิตได้  สิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดคือความคิด  จิตนี้เร็วกว่าแสง  แล้วเร็วกว่าแสงแล้วให้มันนิ่งได้ขึ้นมา  มันทำอย่างไร  ฉะนั้นเวลาเราอยู่กับครูบาอาจารย์นะ  ที่ครูบาอาจารย์พระป่าเราเชื่อถือกัน  เพราะว่าพูดนี่จะไม่มีผิดเลย  แต่นะ  มันมีตรงนี้นะว่า  แต่  แต่ว่าเราพูด  ในขั้นของขั้นไหน  มันมีหยาบละเอียดไง  เราพูดถึงสรุปอย่างนี้  ระดับอย่างนี้  ถูกระดับนี้  แล้วถูกระดับบน..  ถูกระดับที่เหนือกว่า  อันนี้ข้อมูลอย่างนี้จะลบอันนี้ทิ้งหมดเลย  แล้วข้อมูลขั้นที่มันเหนือกว่านี่  จะลบข้อมูลขั้นที่ต่ำกว่านี้ทิ้งหมดเลย  ฉะนั้น  เวลาเราพูด  มันมีตรงนี้หน่อยนึง  ตรงที่หยาบ  กลาง  ละเอียด  ละเอียดสุดเนี่ย  มันคนละขั้นตอนกัน  แต่  ต้อง ๆๆๆๆๆ  หมดเลยอะ  แล้วถ้ารู้จบกระบวนการถึงว่า  ข้อเท็จจริงที่มันละเอียดลึกซึ้งอย่างนี้แล้วนี่  ไอ้ข้างล่างเนี่ย  ผิดไม่ได้เลย  ถ้าผิดข้างล่างนะ  ข้อมูลต่างๆ  ข้างบนนี้ที่พูดมา  โกหกหมด  เพราะมันผิดมาแต่ต้น  ต้นคด!

ถาม  :             แล้วอย่างนี้  แบบเวลาผมพุทโธ ๆ  ไป        นะครับ  แล้วคือจิตมันยังไม่ลงเป็นสมาธิ  เราก็ต้องใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามาช่วย  เสมอไปใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ  :      ได้  ได้  คำว่าอย่างเนี้ยนะ  เราพูดถึงเวลาเราพุทโธ  เวลาพุทโธเนี่ยเราจะไม่ทิ้งเลย  แต่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิไปเนี่ย  ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิเนี่ย  ตามความคิดเนี่ยไป  ความคิดมันหยุด

ถาม  :             คือ..  คือ..  คือตอนนี้ผมยังไม่เข้าใจนิดนึง  คือ  พุทโธ ๆ ๆ  ไปแต่พอหลวงพ่อบอกให้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ  คือให้เราทิ้งพุทโธ

หลวงพ่อ  :      ใช่ ๆ  ทำอันใดอันหนึ่ง  อันใดอันหนึ่ง  นี่  เราจะอธิบายให้ฟังก่อนไง  ว่า  คำว่าพุทโธเราไม่ให้ทิ้งเลย  พุทโธสำคัญตรงไหนรู้ไหม  สำคัญเวลาเราได้ประโยชน์จากเขา  ประโยชน์นั้นจะมีประโยชน์มาก  เนี่ย  ความจริงเลยไม่ต้องสมมุติ  ความจริง  ลูกศิษย์เรานี่เยอะ  เราให้ใช้ความคิดไป  แล้วใช้ความคิดไปนี่นะ  มันตามความคิดไปเรื่อย ๆ  ตามความคิดไปเรื่อย ๆ  นะ  ตามความคิดไป  พร้อมสตินะ  ตามความคิดไปเรื่อยๆ  นี่  มันเป็นแบบว่า  เราตามความคิดไปเราใช้ความคิดไปมันจะเหนื่อยมาก  คนใช้จะรู้..  แต่ว่ามันจะเหนื่อยมาก  มันเหนื่อยมันทุกข์มากเนี่ย  มันก็สู้ไปเรื่อย  ถ้ามันทันมันก็หยุด  พอมันหยุดเราก็พอใจ  พอมันหยุดไง  ความคิดนี่หยุด  มีสติพร้อม  แต่แป็บเดียว  มันก็คิดอีกละ  เพราะเรายังใหม่อยู่  พอเราทำไปเรื่อย ๆ  นี่มันจะทันไปเรื่อย ๆ  พอทำไปเรื่อย ๆ  มันก็เห็นเหตุเห็นผลใช่ไหม  ถ้าเราทันแล้วมันจะหยุด  นี้คือเราได้ผล  แต่ถ้าเราไม่หยุดนะความคิดมันจะลากเราไปจนหอบจนเหนื่อยเลย  อันนี้พอมันหยุดบ้างไม่หยุดบ้าง  พอดีเขาไม่มีสติ  หรือว่าสติยังไม่พร้อม  เขาจะพักเขาจะสู้ไม่ไหว  เขาจะพูดกับความคิดเขานะ  เฮ้ย  มึงอย่ากวนกูสิ  กูเหนื่อยฉิบหาย  ขอพักบ้างเถอะ  เขาคุยกับความคิดเขาได้เลย

ฉะนั้นเวลา..  ตรงนี้นะ  เราจะย้อนกลับมาที่ว่า  พอเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ  ตามความคิดเข้าไปเรื่อย ๆ  พอมันหยุดปั๊บ  จะทำอย่างไรต่อไป  เห็นไหม  เราอยู่  หลวงตาจะบอกเลย  หลวงตาจะเน้นตลอดเลยนะ  หลวงตาจะห่วงการปฏิบัติมาก  บอกว่าถ้าเราปฏิบัตินะ  ๑.  ต้องอยู่กับผู้รู้  อยู่กับพุทโธตลอดเวลาแล้วจะไม่เสีย  เวลาเราเผลอ  ผู้รู้มันจะหายไป  พุทโธนี้หายไป  จะหายไปนี่เราจะเคว้งคว้าง  มันจะเกิดจินตนาการนี่เกิดอะไรก็ได้  ที่เราจะสร้างภาพอย่างไรก็ได้  มันเสียหายไง  นี่การปฏิบัติหลวงตาจะเน้นว่าอยู่กับผู้รู้  อยู่กับพุทโธ  พุทโธคือคำบริกรรม  ผู้รู้มันเป็นสัจธรรมอยู่แล้ว  แต่พอไม่มีสติมันก็หายไป  หายไป  ถ้าอยู่กับพุทโธมันเกาะพุทโธไว้  เห็นไหม  ความรู้สึกเรานี่เกาะพุทโธไว้นี่  พุทโธคำบริกรรมเนี่ย  มันมีให้เราเกาะเรายึดไง  คือทำให้จิตของเราไม่หายไป  จิตของเราไม่โดนใช้มันจะไม่เป็นประโยชน์กับตัวเราเอง  งั้นคำว่าพุทโธ  เวลามันหยุดแล้วนี่  ลูกศิษย์จะมาถามบ่อย  แล้วพอมันหยุดทำอย่างไรต่อไป  ทำไงต่อไป  ถ้ามันหยุดนะ  อยู่กับผู้รู้  ถ้ามันอยู่ไม่ได้ก็กำหนดพุทโธไว้  พอพุทโธได้  ก็พอพุทโธไปเรื่อยๆ  พอพุทโธ ๆ ๆ  ไป  บางทีมันเครียด  บางคนมันเครียด  พอมันเครียดมันรับรู้แล้วนะ  ความคิดก็เกิด  พอรับรู้แล้วนะมันคิดพุทโธได้ก็ความคิด  พุทโธก็คือความคิดนั่นแหละ  ไม่งั้นนึกพุทโธความคิดจะมาได้อย่างไร  พุทโธคือความคิดนี่แหละ  พุทโธคือ  วิตก  วิจาร  ขึ้นมา  แต่เราไม่ให้ความคิดมันต่อเนื่องยาวไกล  เราคิดพุทโธ ๆ ๆ  เป็นพุทธานุสสติก็เท่านั้นเอง  งั้นบอกว่าพุทโธเอาไว้อาศัยเอาไว้เกาะ  ถึงเรียกจิตต้องมีคำบริกรรมเอาไว้เกาะเกี่ยว

แล้วทำอย่างนี้นะ  พอมันสงบแล้ว  พอมันสงบ  มันมีหลักมีเกณฑ์ก็เอามาใช้ปัญญาตรึกในธรรม  แล้วปัญญาอย่างนั้นมันจะละเอียดเข้ามา  มันจะให้จิตนี้ละเอียดเข้ามา  ความคิดมันจะลึกซึ้งเข้าไป  ลึกซึ้งเข้าไป  แล้วพอมันเกิดขึ้นมา  คนภาวนาเป็นมันจะรู้คำว่า  “ภาวนามยปัญญา”  คือปัญญาเกิดจากการภาวนา  กับปัญญาเกิดจากสัญญาเกิดจากข้อมูลนะแตกต่างกันมาก  เราถึงใช้คำว่าโลกียปัญญากับโลกุตรปัญญา  โลกียปัญญา  คือ  ปัญญาเกิดจากภพ  เกิดจากอะไรต่าง ๆ  เกิดจากสัญชาตญาณ  เกิดจากความเป็นมนุษย์ที่มันมีอยู่แล้ว

แต่ถ้าเป็นภาวนามยปัญญาเนี่ย  มันไม่เกิดจากสัญชาตญาณ  ไม่เกิดจากอะไรทั้งสิ้น  เพราะจิตมันสงบ  จิตไม่สงบเพราะเรามีตัวตน  มีมานะทิฐิ  สงบไม่ได้  จิตสงบเนี่ย  ตัวตนมันจะโดนกดลงโดยสติปํญญา  เพราะสติปัญญามันเป็นพลังงานสะอาด  แต่แป๊บเดียวนะ  นี้พลังงานสะอาดเนี่ย  มันไม่ออกทำงานหรอก  สมาธิเกิดปัญญาไม่ได้  สมาธิเกิดปัญญาไม่ได้  แต่ถ้าไม่มีสมาธิ  ปัญญาพวกมึงเป็นโลกียปัญญาหมด  โลกียะคืออะไร  โลกียะคือตัวภพคือตัวปฏิสนธิวิญญาณ  ตัวปฏิสนธิวิญญาณคืออะไร  มันคืออวิชชา  แล้วปัญญาทั้งหมดเกิดจากอวิชชาเนี่ยมันจะเป็นปัญญาไปได้อย่างไร  ปัญญาที่ขึ้นมาทั้งหมดมันเกิดจากอวิชชาเนี่ย  แล้วมันจะไปฆ่าอวิชชามันเป็นไปไม่ได้หรอก  ปัญญาเกิดจากมารแล้วจะไปฆ่ามารกูไม่เคยเห็น

ฉะนั้นจิตตัวนี้  มารเนี่ยมานะทิฐิ  ทิฐิมานะต้องโดนสมาธิ  ถ้าสมาธิคือตัวไม่มีมาร  มันเป็นสมาธิ  พอมันตรึกออกปัญญา  ออกใช้ปัญญา  ใช้ปัญญา  เราจะต้องออกฝึกออกใช้  ออกใช้คือในกาย  เวทนา  จิต  ธรรมนี่แหละออกใช้มัน  พอใช้มันปั๊บมันก็ย้อนกลับมาทำความสะอาดของมัน  มันทำให้ความสงบนี้แนบแน่นขึ้น  แนบแน่นขึ้น  มันก็ทำให้จิตเราเนี่ย  มันได้ลิ้มรส  มันจะเห็นความต่างระหว่าง  ระหว่างปัญญาที่เราเคยใช้กับปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้หนุน  เนี่ยมันจะเห็นความต่าง  พอความต่างเราพยายามทำเข้าไปนี่  มันจะรู้ผล  เห็นไหม  เราถึงบอก  เจอลูกศิษย์เราจะบอกเลย  อะไรก็ได้  เขามีการวัดผล  วัดผลโดยจิตเรานี้แหละ  วัดผลโดยใจปฏิบัติ  เนี่ยเราถึงบอกว่าให้กลับมาเป็นอัตตาหิ  อัตตโน  นาโถ  ให้เรารู้ขึ้นมา  ให้ผู้ปฏิบัติมันรู้ขึ้นมา  ไม่ใช่อะไรเลย  นี่ว่าแล้วจะให้ทำอย่างไรล่ะ

เพราะอย่างนี้  เพราะว่ากรณีอย่างนี้  กรณีมาเปิดเว็บไซต์..  หลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์  ท่านได้สัมผัสอย่างนี้มาแล้ว  ท่านได้เห็นอุปสรรคของท่านมาแล้ว  นี้ท่านมาสอนลูกศิษย์ของท่านถึงได้ป้องกัน  นี้พอมาถึงลูกศิษย์รุ่นหลัง ๆ  นี่  อย่างว่าละ  ชุบมือเปิบ  ก็เหมือนกัน  เหมือนกัน  คำก็เหมือนกัน  สองคำก็เหมือนกัน  ฟ้ากับเหว  เห็นไหม(หัวเราะ)  เหมือนกัน  เหมือนกัน  ไม่!  กูกินข้าว  มึงกินหินกินทราย  ไอ้ห่า  เหมือนกันตรงไหนวะ  กินเหมือนกัน  คำว่ากินแต่คนละกินโว้ย  นี่ก็เหมือนกัน  คำว่าสมาธิ  สมาธิ  เราพูดสมาธิเอ็งก็พูดสมาธิ  แต่ถ้าเอ็งยังไม่ได้สมาธิเอ็งพูดอะไรเอ็งพูดผิด  เพราะสมาธิพูดอย่างนี้นะ  ถ้าเป็นสมาธิจริง  เขาไม่พูดอย่างนี้  สมาธิคืออะไร  พอพูดออกมามันก็เป็นการคาดหมายหมดเลย  มันเป็นการเปรียบเทียบไง  ถ้าใครได้สมาธินะ  พูดไม่ถูก  พูดไม่ออก  มันโอ้โฮย..  มันจินตนาการออกมาไม่ได้เลย  คนรู้จริงไม่เป็นอย่างนี้

ถาม  :             หลวงพ่อครับ  คือที่ผมเขาบอกใช้ปัญญาอบรมสมาธินะครับ  คือถ้าเราพุทโธ ๆ  ไปแล้วมันยัง  จิตยังไม่เป็นสมาธิ  การใช้ปัญญาอบรมสมาธิคือ  การคิดเรื่องที่เป็นโลกียปัญญา

หลวงพ่อ  :      ใช่  ใช่

ถาม  :             แล้วก็คือเมื่อกี๊  หลวงพ่อบอกให้ตามความคิดไป 

หลวงพ่อ  :      ใช่

ถาม  :             ตามความคิดนี่คือให้เราตั้งใจคิดเลย  หรือว่าเรา..

หลวงพ่อ  :      ตั้งใจคิดเลย  แล้วมีสติตามมันไป

ถาม  :             ถ้าเราตั้งใจคิด  ตอนนั้นพุทโธมันก็จะหายไปสิครับ

หลวงพ่อ  :      ต้องทำความเข้าใจนะว่า  อันใดอันหนึ่ง  ถ้าเราใช้ความคิดพุทโธไม่ต้องหามัน  ถ้าเราพุทโธ  ก็  พุทโธอันเดียวความคิดไม่เอา  ไม่ใช่ทำพร้อมกันสองอัน  ทีนี้ที่เราพูด  มันคนละวาระไง  ที่เราพูดมันคนละวาระ  หมายถึงว่า  เราใช้ความคิดไปแล้ว  แล้วความคิดมันจะหยุด  พอหยุดแล้วเราทำอะไรต่อไม่เป็น  เราทำอะไรต่อไม่ได้  เราถึงให้มาอยู่กับพุทโธ  แล้วพอพุทโธแล้วนี่  ถ้าพุทโธมันทำต่อไม่ได้  มันมีแบบ  มันไม่ชอบพอมันคิดได้แล้วนี่  เราก็กลับไปอยู่กับปัญญาอีก  มันจะต่อเนื่องกันไง  คนละวาระ  คนละคราวกันให้ทำต่อเนื่องกัน

ถาม  :             อื๋ม...  คือตัวผม  ผมมีความรู้สึกว่า  ผมท่องพุทโธ ๆ  ไป  มันสบายกว่า  ถึงจิตจะยังไม่สงบเป็นสมาธิก็เหอะ  ตัวผมเป็นคนที่ไม่ได้รู้ข้อธรรมอะไรเยอะแยะไม่ได้รู้ปริยัติมากมายนัก  ก็มีความรู้สึกว่า  เอ๊ะ  พุทโธ  มันง่ายดี  ท่องพุทโธไปอย่างเดียวพอ

หลวงพ่อ  :      ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมาแล้ว  พระพุทธเจ้านะท่านปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์  ท่านสอนกรรมฐาน  ๔๐  ห้อง  ให้ทุกคนหา  วิธีคิด  วิธีการ  แต่เวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติ  ท่าน  แบบว่า  ท่านทุกข์มาก่อน  เหมือนพ่อแม่เราลำบากมาก่อน  ไม่ต้องการให้เราลำบากหรอก  นี้  พอไม่ลำบากนะ  ท่านบอกว่า  พุทโธ ๆ  เหมือนกำปั้นทุบดิน  เหมือนกับเราทำงานบนพื้นดิน  คือมันแน่นอนตายตัว  พุทโธ ๆ  นี่นะ  เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด  แล้วแน่นอนตายตัว  แต่ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ  หรือใช้ความคิด  มันเหมือนไปทำงานบนอากาศ  ต้องมีนั่งร้านขึ้นไปเพราะงั้นมันอันตรายไง  อันตรายแล้วมันตกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้  เพราะมันเป็นนามธรรม  แต่พุทโธ ๆ  นี่นามธรรมเหมือนกัน  แต่มันนึก  มันเหมือนกับกำปั้นทุบดินนี่มันออกจากจิตเลย  ที่มันไม่ตัดรากถอนโคนเพราะอะไร  เพราะวิตก  วิตกมันมาจากฐานคือภพ  คือจิต  พุทโธ ๆ ๆ  ถ้าจิตสงบมันเข้าสู่ฐานที่จิต  โอ้โฮ!!  แต่ถ้าไม่ใช่นะ  พุทโธ ๆๆๆ  เนี่ย  ว่าง ๆ ๆ  แล้วทำไมไม่พุทโธล่ะ  ก็พุทโธมันหยาบ  ไอ้ว่าง ๆ  มันละเอียด  แล้วว่างอย่างไร..  ไม่รู้

ถาม  :             จริงครับ  มันรู้สึกเหมือนมันสร้างอะไรขึ้นมา

หลวงพ่อ  :      ใช่  แล้วเราก็ถามกลับ  เราจะแก้เขาไง  เนี่ย  สมมุติว่า  ถ้าบอกเขาให้นึกพุทโธ  เขาไม่ยอมนะ  เลยบอกว่าสมมุติว่านึกพุทโธ  ได้ไหม  ได้ค่ะ  ถ้าได้ค่ะ(หัวเราะ)ก็แสดงว่าไม่จริงไงก็มันยังนึกได้  ไอ้ฉิบหาย..  มันชิงสุกก่อนห่ามทั้งนั้นเลย  กิเลสเรามันจะพุ่งไปข้างหน้าก่อน  นี้การปฏิบัติเราไม่เป็นตามนั้น  เราก็พุ่งไปข้างหน้าก่อนตลอดเลย  นี้  พุทโธ ๆ  จะเป็นไม่เป็น  พุทโธ ๆ ๆ  อยู่งั้น  โธ่  เรานี่พุทโธ ๆ  นะลง  ลงนะ  โอ้โฮ  เวลามันจะลง  ใหม่ๆ  ทำไม่สะดวกทำไม่เป็น  พอมันเป็น  มันก็ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้  สมาธิอบรมปัญญาก็ได้  เวลาเราทำของเรา  พุทโธ ๆ ๆ  โอ้โฮ  มันควงลงนะ  พอควง  พุทโธ  โทษนะ  มึงพุทโธไป  กูจะไป  จิตมันจะไป

แล้วเราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ  ที่พุทโธ ๆ ๆ  หลวงปู่เจี๊ยะจะสั่งประจำ  ต้องพุทโธ ๆๆๆ  ไว้  แล้วท่านสอนเรานะ  ก็เรามันปัญญาอบรมสมาธิไง  เราใช้การปฏิบัติที่ตามความถนัดของเราไปแล้วพอมาอยู่กับท่าน  แล้วมาจากบ้านตาด  หลวงตาสอนมาอย่างนี้  หลวงตาท่านเปิดกว้าง  อะไรก็ได้  หลวงปู่เจี๊ยะท่านถนัดอย่างนี้ใช่ไหม  ไอ้หงบกูไม่ฟังมึงหรอก  มึงต้องพุทโธอย่างเดียว..(หัวเราะ)  ต้องพุทโธที่ไม่ต้องการอะไรนะ  ต้องพุทโธไม่อยากได้สมาธิด้วยนะ  ต้องพุทโธที่ไม่ปรารถนาอะไรเลยนะ  พุทโธอย่างเดียว  พุทโธเฉย ๆ  แล้วท่านพูดเลย  ให้พุทโธไปนะ  สมมุติพุทโธไปสองชั่วโมง  ถ้าเป็นสมาธิมึงจะได้ห้านาที  ถ้ามึงพุทโธไปสี่ชั่วโมง  สมาธิมึงจะได้สี่นาที  ถ้ามึงพุทโธไปสิบชั่วโมงมึงจะได้สักสิบนาที  นี้ถ้ามึงจะได้มากๆ  มึงก็พุทโธไปเลย  ไม่ต้องมาหวังว่าจะได้กี่นาที  ทีนี้เราก็มาหวังว่าจะได้สักนาที  สองนาที  อย่างนี้  แล้วก็คาอยู่นั่นนะ  ท่านสอนเราอย่างนี้  พอได้อย่างนี้ปั๊บเราก็ตั้งใจเลยนะ  เราจะพุทโธที่ไม่เอาอะไรเลย  ไม่ต้องการอะไรเลย  แล้วพุทโธอยู่อย่างนี้ตลอดทั้งวันทั้งคืน  ตลอดไปเรื่อย ๆ  เลย  พุทโธ ๆ ๆๆๆๆ  มีสติ  มีความรู้สึก  พุทโธ  ตัวเองก็ว่าธรรมดา  พอเผลอ  พอเผลอเอาใหม่  ทำอยู่อย่างนั้น  พุทโธ ๆๆๆ  ไม่เอาสมาธิ  สมาธิอะไรก็ไม่เอา  เวลามันลงเองนะ  เราขืนไว้เลยนะ  พุทโธ ๆๆๆ  เพราะว่าคนที่เวลามันจะลงเนี่ย  เราปล่อยมันลง  พอพุทโธ  พุทโธ  มันจะลง  คำว่าลงนี่  เรามีกิเลสไหม  เรามีกิเลสนะ  มันก็ลงลงไป  คำว่าลงมันก็รู้เล็ก  รู้น้อยขึ้นมา  มันก็อาศัยอารมณ์อย่างนี้  ประสาเรานี่อารมณ์พุทโธมันก็อยากได้อารมณ์อย่างนี้  เพราะงี้มันก็ลงไปลงมาเพราะมันไม่มีสติพร้อมเพราะมันยังมีกิเลสอยู่  มันจะพาลงภวังค์ไปเลย  พอมันลงภวังค์ไปงี้  แก้ลำบากลำบนไปล่ะ  แต่ถ้าเราไม่ชิงสุกก่อนห่าม  เราไม่ขายก่อนซื้อเราพยายามทำ  พุทโธ ๆ ๆ  เราพุทโธโดยไม่เอาสมาธินะ  พุทโธ ๆ ๆ  เป็นเดือน ๆ  เลย  โอ้โฮย!  พุทโธที่ปาก  แต่มันลงนะ  นี้พอคำว่าลงเนี่ย  ของเรานี่นะ  เราภาวนามีหลักมีเกณฑ์  ถ้าเป็นคนอื่นเวลาลง  จะตกใจ  นี้พอมันลงนะ  มันวู้บ  วู้บ  มันเหมือนโดดหอเนี่ย  แต่มันโดดหอแล้วควงด้วย  พอโดดหอแล้วควงด้วย  นี้สติเราพร้อมใช่ไหม  เชิญครับ  ไม่ใช่ตกใจนะ  เชิญครับ ๆ  มันควงนะลงไปลึกมาก  ถึงฐานเลย  กึ๊ก  เนี่ย  อัปปนาสมาธิเป็นอย่างนี้  ดับหมด  แต่รู้อยู่  สักแต่ว่ารู้หลายชั่วโมงมาก  ค่อยๆ  คลายออกมา  เอ้อ..  หลวงปู่สอนจริงๆ  โว้ย  แล้วทำได้จริง ๆ  ว่ะ 

ส่วนใหญ่ที่เราพูดนี่  ส่วนใหญ่เราพิสูจน์หมดแล้ว  ปัญญาอบรมสมาธิเราก็ทำแล้ว  ทำมา  ไล่เข้าไป ๆ  จนมันปล่อยหมด  แต่สติพร้อมนะพอพร้อมพอมันปล่อยเสร็จแล้ว  เราจะออกไปใช้ปัญญา  ใช้ปัญญาใคร่ครวญลงในชีวิตประจำวันนี่  นี้ตอนนั้นเราอดอาหาร  เราจะผ่อนอาหาร  แล้วมันไปติดอยู่ในป่า  เราพูดให้ลูกศิษย์ฟังประจำ  เราอยู่ในป่า  ในป่าไม่มีอะไรมีแต่หัวกลอย  เอาเณรนี่ไปขุดหัวกลอยมา  แล้วก็เอามาแช่น้ำ  พอตกเช้าขึ้นมาก็เอาหัวกลอยนี้มาซอยแล้วนึ่ง  นึ่งเสร็จแล้วนะเอาน้ำตาลโรย ๆ  เท่านั้น  พระฉันกันอย่างนั้น  นี้อยู่ในป่าไม่มีอะไรจะกินใช่ไหม  นี้พอมา  หัวกลอยก็ตักหนึ่งอิ่มเพราะเราทำกันเอง  เณรไปเก็บ  เณรเก็บแล้วพระเป็นคนคอยบอกเพราะพระหยิบของอะไรไม่ได้  มันเป็นอาหาร  เณรเอามาแล้วก็แช่น้ำไว้  แล้วก็ซอย  แช่น้ำไว้จนมันหมดพิษ  แล้วเอามานึ่ง  เช้าขึ้นมานี่ก็หนึ่งอิ่ม  หนึ่งอิ่ม  เสร็จแล้วมันตกภวังค์ที่ว่านี่  เราเคยนั่งพุทโธ ๆ ๆ  เนี่ย  หายถึง  ๗-๘  ชั่วโมง  ทีแรกไม่รู้นะ  คิดว่าตัวเองนั้นนั่งสมาธิเก่ง  นั่งด้วยกันอย่างนี้  เรานั่งได้หมดเหมือนกับคอมพิวเตอร์  ล็อกเวลาได้  เรากำหนดปั๊บ  ปั๊บหายไปเลยจะเอากี่ชั่วโมงออกก็ได้  กับไปพุทโธ ๆ ๆ  แบบที่ว่าเมื่อกี๊เนี้ยมันต่างกัน  พุทโธ ๆ ๆเนี่ย  มันรู้สึกตลอดเวลา  มันรู้ตัวเองตลอดเวลา  สติพร้อม  พร้อมหมดสมาธิเนี่ย  โอ้โฮ  มันสติพร้อม  แต่ไอ้ตัวที่เราเป็นเนี่ยนะ  เราพูดให้คนฟังประจำว่า  บางทีเราหายที  ๗-๘  ชั่วโมงนะ  แล้ว  ล็อกได้  บางทีเพราะเรามานั่งร่วมกัน  จนจะหมดเวลาใช่ไหม  นั่ง    ชั่วโมง  นั่ง    ชั่วโมง  พุทโธ ๆ ๆ  พั้บ  หายไปเลย  พอได้เวลามันสะดุ้งตื่น  มันสะดุ้งตื่น  อุ๊ย  กลับมาละ  ไม่รู้  แล้วก็ชมว่าตัวเองนี้ดีมากเลย  นี้มีอยู่วันหนึ่ง  นั่งไปโหน้ำลายไหล  มันเปียก  นั่งสมาธิพอเสร็จทำวัตรแล้ว  เนี่ย  เปียกนี่อะไรเนี่ย  ดม  ไอ้นี่น้ำลายมึง  มึงนั่งหลับนี่หว่า  ตอนนั้นอยู่ในป่านะ  ความผิดอะไรเราจับได้  ถ้าใครมาบอกกูพูดผิดกูเถียงตายห่าเลย  แต่เราจับได้  พอจับได้  เราก็พยายามจะแก้ภวังค์  ตรึกก็ไม่หาย  ไม่หาย  อย่างไรก็ไม่หาย  สุดท้ายเราจะผ่อนอาหาร  ก็เลยเข้าไปกลอยนี่ไง  เราตั้งใจว่าจะผ่อนอาหาร  แต่เวลาเช้าขึ้นมามันก็สิทธิ  ก็เราคนเมืองไม่เคยอยู่ป่า  เราอยู่ป่าก็ฉันได้วันละแค่นี้  อีกอันนึงก็แค่กินกลอยนี้แค่รองท้อง  แล้วตั้งใจจะผ่อนอาหาร  เวลาจะตัก  มันไม่ทันความรู้สึก  มันก็ตักเต็มที่เลย  พอตักไปฉันเสร็จไปเดินกลับกุฏิก็เสียใจทุกทีเลย  ไหนว่าจะผ่อนอาหาร  แล้วจะกลับจะไปนั่ง  นั่งหลับอยู่แล้วล่ะ  แต่เรานึกไม่ทัน  นี้ปัญญาอบรมสมาธิก็เดินจงกรม  ไล่ไปเรื่อย  ทำไมครูบาอาจารย์ท่านไม่ติดในรสอาหาร  ที่ว่ารสอาหารถ้าใครละรสอาหารได้คือมันจืดชืด  ทำไมครูบาอาจารย์ท่านไม่ติดในรสอาหาร  ด่าตัวเองนะ  มึงมันไม่ดีอย่างนั้น  มึงมันเลวทรามอย่างนั้น  ด่าตลอด    วัน    วัน  พอ  ๓-๔  วันนะ  พอถึงเวลาปัญญามันทันนะ  ปัญญาอบรมสมาธิมันทัน  มันจับจิตได้  ปัญญามันเกิด  ครูบาอาจารย์ท่านไม่ใช่ตะเข้  รสคือรส  รสเนี่ยนะเราเอามาผสมขนาดไหนมันก็มีรสอื่นตลอดไป  รสคือรส  แต่ท่านมีสติปัญญารู้เท่าทัน  ในอุปาทานในรสนั้น  มันช็อกเลยนะ  เนี่ยรูป  รส  กลิ่น  เสียง  เป็นบ่วงของมาร  เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร  พอทันปั๊บนะ  ต่อไปนี้กลอยมันมาอีกนะ  ตอนเช้าขึ้นมา  เราไปอยู่กันในป่า  มันอยู่กระต๊อบห้องหอมันก็หาทำกันเอง  พอกลอยมันมานะ  เห็นกลอยมามันพูดเลย  กลอยนี้เราตักชิ้นเดียว  ก็คือรสชาติของกลอยกะละมังนี้  งั้นเราก็ตักได้เฉพาะ..  สติมันพร้อมหมด  มันคุมได้ทุกอิริยาบถ  แต่ถ้าก่อนหน้านั้นมันคุมไม่ได้  ทั้งที่ตั้งใจ  แต่คุมตัวเองไม่ได้  คุมตัวเองไม่ได้เห็นไหม  ปุถุชน  กัลยาณปุถุชน  กัลยาณปุถุชนเนี่ย  ทีนี้  สมาธิเนี่ย  ปัญญาจะไล่เข้ามา  จี้เข้ามา  สมาธิ  เราจะคุมจิตได้ตลอดเวลาด้วยปัญญา  เราคุมจิตมากเข้า ๆ  มันเห็นตัวจิตละ  เราบอกว่าจิตนี้ไม่มี  จิตนี้ไม่มี  เราเดินจงกรมอยู่นะ  จิตนี้นะเวลาเราจับมันได้ชัด ๆนะ  มันเหมือนมันเป็นนิมิตนะ  เราจับได้แล้ว  เป็นนิมิตว่า  เป็นเหมือนผ้าแพรแต่มันเป็นแสง  มันฟาดใส่หน้าพั้บ  ขึ้นไปหาอาจารย์เลย  ไหนว่าจิตเป็นนามธรรมไม่มี  ใครบอกมึง  โอ่  หงายหลังลงมาเลย  เห็นไหม  เวลาจับจิตได้ชัด ๆ  เนี่ย  จิตเห็นอาการของจิต  จิตเห็นความคิด  เห็นขันธ์ห้า  ในตัวจิตมันเห็น  พอจิตมันจับได้นะ  พอจับได้ปัญญามันเกิดละ  ปัญญาที่มันเกิดก่อนหน้านั้น  มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ  ปัญญามันคิดตรึกในธรรม  ตรึกในธรรม  พอมันจับขันธ์ห้า  ขันธ์ห้า  คือเทคโนโลยี  คือไอที  ไอทีนี่มันจะมีข้อมูลของมัน  มันอาศัยเทคโนโลยีไป  ขันธ์ห้ามันเป็นอาการทางสื่อ  แล้วขันธ์ห้าคิดอย่างไร  สังขารมันปรุงเรื่องอะไร  สัญญาจำเรื่องอะไร  เห็นไหม  ขันธ์ห้านี่มันเป็นเทคโนโลยี  มันเป็นไอทีใช่ไหม  แต่โปรแกรม  ความคิดเอ็งคิดเรื่องอะไร  แล้วตัณหามันอยู่ไหน  ตัณหาความทะยานอยากอยู่ไหน  ไอ้ตัวเร้าอยู่ไหน  ไล่ๆๆ  โอ๋..  พอไล่อย่างนี้ปั๊บ  เนี่ย  วิปัสสนาเกิดตรงนี้  แต่ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ  ปัญญาอบรมสมาธิ  แต่เวลาสมาธิเกิดแล้วมันจะเกิดปัญญาอย่างไร  งั้นปัญญาในการวิปัสสนา..  ล้อเล่นน่า  ที่คุยกัน  ล้อเล่น  ของเล่น ๆ  ไม่มีอยู่จริง

ถาม  :             งั้นผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหม  คือ  การพุทโธก็คือการตั้งใจคิด  (หลวงพ่อ:  ใช่)  ปัญญาอบรมสมาธิก็คือการตั้งใจคิด  (ใช่)  แต่เป็นการคิดในเรื่องในข้ออะไรต่าง ๆ  (ใช่)  ซึ่งตรงนี้จะต่างกับการขาดสติซึ่งขาดสติเนี่ยมันจะนึกอะไรก็ไม่ออก 

หลวงพ่อ  :      ใช่  การขาดสติ  ก็คือถอนรากถอนโคนไง  เงินของเรา  บัญชีของเรา  เงินคนอื่นบัญชีคนอื่นเกี่ยวอะไรกับเรา 

ถาม  :             ครับ

หลวงพ่อ  :      แล้วสติมันขาดไปแล้วเนี่ย  ก็คนละบัญชีแล้ว  แล้วมันจะต่อกันได้อย่างไร

ถาม  :             ตรงนี้เราจะโดนสอนมาอย่างนี้ด้วยเหมือนกันคือ  การที่ตั้งใจไปคิด  คือตั้งใจไปคิดเรื่องนึงนะเป็นการทำสติตัวปลอม

หลวงพ่อ  :      ตรงนี้ ๆ  แหละ  เรามีอารมณ์มาก  ตรงนี้ด่าเช็ดทุกวันเลย  แล้วเขาไม่คิดอย่างนี้  แล้วบอกสติตัวจริงตัวปลอมน่ะ  เราบอกสติไม่มีจริงไม่มีปลอม  สติเป็นสมมุติทั้งหมด  มีแต่มิจฉาหรือสัมมา  โจรปล้นก็ใช้สตินะมึง  โจรปล้นมันวางแผน  โห..มันสติดีกว่าเราอีกนะ  สติมันใช้ในทางมิจฉาชีพ  สติใช้ทางสัมมาอาชีวะ  สติปลอมหมด  สติสมมุติทั้งหมด  เราถึงจับประเด็นโลกทัศน์น่ะ  เราถึงบอกว่า  ถ้าเขาจับตรงนี้ปั๊บเขาจะไปใส่ชื่อไง  พอใส่ชื่อแล้วดูเท่ห์  ไอ้คนฟังแม่งไปหมดเลยนะ  ตั้งใจ  ถ้าไม่ตั้งใจ  เมื่อวานเราพูดนะ  เมื่อวานพระมาจากวัดเทพศิรินทร์  ทำดีเป็นกิเลสไหม  ถ้ามึงทำชั่วเป็นกิเลสหรือเปล่า  เวลาทำดีเป็นกิเลสตรงไหน  ทำดีเป็นมรรค  นี่ก็เหมือนกัน  ตั้งใจ  จงใจ  การตั้งใจเนี่ยเป็นตัวสติแล้ว  สติคือความระลึก  พอระลึกขึ้นมานี่คือสติ  แล้วสติจะสืบต่อ  ระลึกขึ้นมาโอ้  โห  สติพร้อมเลยนะ  แล้วก็ลืมไป  เห็นไหม  ขาดช่วง  การตั้งใจการจงใจนี่คือตั้งสตินะโว้ย

ถาม  :              ตรงนี้เรา  ผมเข้าใจว่าคำว่าสติมันกว้าง  อย่างสติที่หลวงพ่อ........  เทศน์มันจะเป็นสภาวะสติระลึกรู้กายรู้ใจ  สติต้องตั้งอย่างขับรถอย่างนี้มันก็เป็นสติใช่ไหม  ไม่ใช่ระลึกรู้กายรู้ใจ  คือไม่ใช่สิ่งที่หลวงพ่อ........  เทศน์เนี่ย  บางทีมันจะเข้าใจเคลื่อนกัน

หลวงพ่อ  :      ไม่เคลื่อนหรอก  ไม่เคลื่อนเพราะอะไรรู้ไหม  ถ้าเคลื่อน  มันไอ้ตรงที่ว่า  ตั้งใจไม่ตั้งใจ  เพราะการตั้งใจนี่นะ  มันเป็นหัวใจเลย  แล้วบอกห้ามตั้งใจห้ามจงใจ  แล้วถึงเวลานะมันจะลงเอง  ถึงเวลาดูจิตไปเรื่อย ๆ  ถึงสมาธิแล้ว  มันจะผลุบลงไปเอง  ก็คือ  ไม่เคยมีสมาธิ  ถึงไม่รู้ว่าสมาธิมันลงอย่างไร  แม้แต่ว่าการอธิบายเรื่องจิตมันลงสมาธิเนี่ย  ยังอธิบายไม่ได้  คนเป็นนะอธิบายนะ  ของพื้นๆ  เอ็งพูดไม่ได้หรือวะ

ถาม  :             หลวงพ่อ........  ก็เคยเทศน์เรื่องสมาธิ  ก็เทศน์เหมือนหลวงพ่อสงบเลย  เข้าฌาน๑  ฌาน  ๒-๓-๔  ท่านก็เทศน์เหมือนกันเรื่องสมาธิ  แต่ว่าท่านจะเทศน์ปานกลาง

หลวงพ่อ  :      แล้ว..  พูดอย่างนี้ขึ้นมานะ  ถ้าเขาพูดอย่างนี้จริง  ถ้าเขารู้ได้จริงนะ  เวลาคนกำหนดพุทโธ ๆ  มา  แล้วได้ฌาน    เห็นไหม  เพราะเราคิดว่า  ที่เราพูดไปในเว็บไซต์เราเห็นไหม  เนี่ยคนนี้ได้ฌาน    เวลาใครพุทโธมาเนี่ย  ท่านจะบอก  ท่านจะบอกคนนี้ได้ฌาน    คนๆนี้พุทโธมาเนี่ยได้ฌาน    จะตัวแข็ง  เขาพูดงี้เลยนะ  แล้วฌาน  ๒นี้ไม่ใช่  ต้องกลับมาดูจิต  เราจะเอาข้อมูลมาแย้งตรงนี้ไง  มาแย้งที่ว่าเวลาเทศน์  ฌาน    ฌาน    ฌาน    ฌาน    เนี่ย  ถ้าคนรู้จัก  ฌาน    ฌาน    ฌาน    ฌาน    เนี่ย  ฌาน    มันจะเป็นผลอย่างไรวะ

ถาม  :             ท่านบอกถึงตัวแข็งเลยเหรอ

หลวงพ่อ  :      มี  มี

ถาม  :             ท่านบอกแต่ว่าผู้รู้จะเด่นดวง  แล้วก็วิตก  วิจาร  หายไปหมด  แล้วพุทโธจะหาย

หลวงพ่อ  :      อะไร ๆ  ฌานไหน

ถาม  :             ฌาน 

หลวงพ่อ  :      ฌาน    เนี่ย  ผู้รู้จะเด่นดวง  ว่าไป..

ถาม  :             ผู้รู้เด่นดวงแล้วก็  คำบริกรรมจะหายไป 

หลวงพ่อ  :      ว่าไป..

ถาม  :             แค่ตรงนี้แหละ

หลวงพ่อ  :      อ่า  โธ่..  นี่ก็ผิด!!!

ถาม  :             แล้วอย่างไรถูกครับ

หลวงพ่อ  :      ถ้าผู้รู้เด่นดวง  จิต..  เอกัคคตารมณ์  จิตตั้งมั่นน่ะมันฌาน 

ถาม  :             เอกัคคตารมณ์มัน..  มันก็มีแล้วนี่ครับ  มันเป็นองค์หนึ่งของฌาน

หลวงพ่อ  :    เอ้าว่าไป

ถาม  :             ก็  เอกัคคตารมณ์  แล้วก็วิตก  วิจาร

หลวงพ่อ  :    ไม่มี..  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตารมณ์  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตารมณ์  กลับไปเปิด..

ถาม  :          ใช่..  ก็ตามหลวงพ่อพูดนั่นแหละครับ

หลวงพ่อ  :    เอ้า..  แล้ว  เอกัคคตารมณ์มันอยู่ตรงไหน  วิตก  วิจาร  เอกัคคตารมณ์มันอยู่ตรงไหน

ถาม  :          ก็อยู่ในฌาน    ฌาน    ก็มีเอกัคคตารมณ์แล้ว

หลวงพ่อ  :    มันไม่...วิตกวิจารเนี่ย  วิตกคือนึกขึ้น  วิจารคือนึกพุทโธ  พุทโธนี่คือวิจาร

ถาม  :             ครับ

หลวงพ่อ  :    พอวิตก  วิจาร  เกิดปีติ  ถ้ามันลงจริงนะ  มันจะเกิดปีติ  เป็นตัวพองตัวรู้อะไรต่างๆ  เกิดปีติ  ปีตินี้รู้ถึงวาระจิตคนได้เลย  ปีตินี้กว้างขวางมาก  จิตเกิดปีติ  จนเกิดสุข  เกิดสุข  เกิดเอกัคคตารมณ์  จิตเป็นหนึ่ง  จิตตั้งมั่น  จิตไม่รับรู้สิ่งภายนอกเลย  เอกัคคตารมณ์อยู่ไหน

ถาม  :             ฮื่มม..  ไม่ใช่ก็เป็นฌาน    ถึงจะไม่รับรู้นะ  แต่ว่าถ้าเป็นฌานอื่นๆ  มันยังรับรู้อยู่

หลวงพ่อ  :    รับรู้  ใช่...รับรู้  ก็นี่ไงก็ถึงบอกว่า  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตารมณ์  ถ้ามันเป็น  ฌาน    มันถึงเป็นอย่างงั้นใช่ไหม

ถาม  :             เป็นฌาน    ก็เหลือแต่  เอกัคคตารมณ์

หลวงพ่อ  :    ใช่  !

ถาม  :             อ่าครับ  แต่ถ้าเป็นฌาน    มันก็ยังมีองค์ฌานครบอยู่เหรอฮะ  ยังมีวิตก  วิจารอยู่

หลวงพ่อ  :    ใช่  !  มีวิตกวิจารอยู่แล้วมันจะเด่นดวงได้อย่างไร

ถาม  :             ถ้าเป็นฌาน    วิตกวิจารไม่อยู่แล้ว  เด่นดวง

หลวงพ่อ  :    ปีติ  ถ้าวิตก  วิจาร  ลงก็เกิดปีติ

ถาม  :             ก็เหลือเอกัคคตารมณ์ด้วย

หลวงพ่อ  :    แล้วเด่นดวงตรงไหน  แล้วเด่นดวงอย่างไร

ถาม  :             ก็คือมัน..  จิตมัน..รู้อยู่ชัดนะฮะ

หลวงพ่อ  :    เราจะบอกว่า  เนี่ยที่เราไม่อยากจะพูดว่าอัดเทป  หึหึ  ถ้าไม่อัดเทปหนักกว่านี้นะ

ถาม  :             (หัวเราะ)  เอาหนักๆ  เลยก็ได้ครับหลวงพ่อ  เอาหนักๆเลย

หลวงพ่อ  :    ถ้าไม่อัดเทปนะ  เอาตายเลยเนี่ย

ถาม  :             (หัวเราะ)  ผมขอหนักๆเลยแล้วกัน  เอาแบบว่า  แบบว่าให้เต็มที่เลย

หลวงพ่อ  :    เพราะอย่างเงี้ยมัน..  เนี่ย  พูดออกมาเนี่ยมันเป็นการแสดงออกถึงวุฒิภาวะเลยว่า  ไม่ใช่ทั้งนั้นน่ะ  พอถึงว่า  พอวิตกวิจาร  เราเกิดจิตเด่นดวง  เด่นดวงอย่างไร  แล้วเวลาเราจับนะ  ที่ว่าอย่างสมมุติเราอ่านหนังสือนี่แหละ  เขาบอกว่าพอได้ฌาน    เนี่ยอย่างนี้เป็นฌาน    ใครพอได้ฌาน    ฌาน    นี่ผิดหมดไง  เขาถึงกลับมาดูจิตไง  พอเขากลับมาดูจิตให้เกิดปัญญา  เพราะตรงนี้มันจะลงไง  แล้วนี้พอ  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตารมณ์  เอกัคคตารมณ์นะ  โอ้โฮ  นั่นน่ะลงฌาน    นี้ถ้าลงฌาน    ย้อนกลับมานะ...

ถาม  :             แล้วถ้าอย่างนี้ก็ไม่ตรงกับอภิธรรมสิครับ

หลวงพ่อ  :    ไหน  อภิธรรมว่าไง

ถาม  :             อภิธรรมว่า  เอกัคคตารมณ์อยู่ในฌาน    ด้วย

หลวงพ่อ  :    คำว่าอยู่ในฌาน    ไอ้ฌาน    ไอ้ๆ…  ไม่ตรงกับอภิธรรม  อภิธรรมส่วนอภิธรรม  อยู่พวกอภิธรรมนะ  แต่เราปฏิบัติของที่พูดเมื่อกี้นี้นะบอกว่า  พระพุทธเจ้าบอกว่า  ความรู้อันนี้  เราเทิดทูนเอาไว้ก่อน  นี้เพราะว่าเราไปเอาอภิธรรมเป็นตัวตั้ง  นะเอาอภิธรรมเป็นตัวตั้ง  เดี๋ยว..

ถาม  :             เราทิ้งอภิธรรมไม่ได้นะครับท่าน

หลวงพ่อ  :    เดี๋ยวก่อน  เดี๋ยวก่อน  จะกินข้าวนะ  เราจะลุกไปตักข้าว  หรือไม่ลุกไปตักข้าว

ถาม  :             ต้องลุกไปตักข้าว

หลวงพ่อ  :    หึหึ  ต้องลุกไปตักข้าว  เนี่ยอภิธรรมวางไว้ก่อน  ลุกไปตักข้าวก่อน  คือเราต้องได้ประสบมาก่อน  เราถึงจะรู้  อภิธรรมน่ะ  เพราะเราพูดนะเรื่องอภิธรรมตอนนี้จะย้อนกลับมาที่วิทยาศาสตร์  เวลาเราบอกว่า  วิทยาศาสตร์กูดูถูกฉิบหายเลย  แต่กูเทศน์ธรรมะ  กูเทศน์วิทยาศาสตร์  เวลากูพูดน่ะพูดวิทยาศาสตร์นี่แหละ  แต่วิทยาศาสตร์กูดูถูกฉิบหายเลย  เพราะวิทยาศาสตร์เนี่ยเป็นกรอบตายตัว  เราจะย้อนกลับไปที่อภิธรรมนี่ไง

วิทยาศาสตร์เป็นกรอบตายตัว  นี้กรอบตายตัวอันนี้  มันอธิบายถึงความสุขความทุกข์เราไม่ได้ทั้งหมดหรอก  เวลาความสุขความทุกข์  ความรู้สึกของเราเนี่ยมันเหนือการจินตนาการที่เราพูดออกมาทางวิทยาศาสตร์ได้  อันนี้อภิธรรมนะ  มันก็เหมือนวิทยาศาสตร์  มันเป็นกรอบอันหนึ่ง  ถ้าเราบอกอภิธรรมเป็นกรอบอันนี้  เราต้องทำตามกรอบอันนี้หมด  มันเหมือนกับ..  มันคิดในกรอบ  เห็นไหม  การคิดนอกกรอบ  คิดแบบกิเลสหรอ  มันก็ไม่ใช่อีกนะ

การคิดนอกกรอบเวลากิเลสมันขึ้นมา  เราจะใช้ปัญญาของเราขึ้นไป  แล้วพอเราทำไปเห็นจริง  รู้จริงขึ้นมาจริงนะ  เราย้อนกลับมานะ  อภิธรรมนะ  อู้หู...ทำไมมันชัดเจนอย่างนี้  ทำไมมันชัดเจนอย่างนี้  แต่ตอนนี้ยึดอภิธรรมก่อน  ยึดในกรอบก่อนไง  ที่หลวงปู่มั่นพูดไว้ทีแรก  หลวงปู่มั่นบอกว่า  ถ้าเราเอาธรรมะพระพุทธเจ้ามาแล้วปฏิบัติพร้อมกัน  มันจะเตะ  มันจะถีบกัน  นี่เห็นไหม  ก็อันนี้แหละ  ใหม่ๆลูกศิษย์มานะ  เนี่ย  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตารมณ์  ผมได้ขั้นไหน  มึงได้ขั้นบ้า  มึงกำลังจะบ้า

ถาม  :             อุ้ย...  แต่ว่า  ฌาน    มันไม่ใช่ง่ายๆ  คือผมก็ไม่..  ผมก็เข้าใจนะว่ามัน...

หลวงพ่อ  :    นั่นแหละ  พอไม่ใช่ง่ายๆ  ถ้าพูดงี้ปั้บ  เรื่องฌานเนี่ยนะ  ไอ้ฌานพูดว่ามันเป็นองค์ของฌานมันพูดกันได้ไง  นี้เรื่องของสมาธิ  ขณิกสมาธิ  อุปจาระสมาธิเนี่ย  เรื่องของฌานกับสมาธิเนี่ยแตกต่างกันนะ  เพราะ  ฌาน    ฌาน    ฌาน  ๓ฌาน    จะขึ้นไปเพื่อ...ฌานต่อไป  ถ้าอัปปนาสมาธิเนี่ยมันเข้าไปถึง..  ที่หลวงปู่มั่นบอกว่า  อวิชชาเกิดจากอะไร  เกิดจากฐีติจิต  อวิชชาเกิดจากฐีติจิต  ฐีติจิตคืออะไร  นี้พอเราเข้าไปเห็นจริงรู้จริง  นี้อภิธรรมเนี่ย  อภิธรรมเราไม่เคยคัดค้านอภิธรรมนะ  เราไม่คัดค้าน  อภิธรรมเนี่ยถ้าเอามาใช้เป็นประโยชน์  เอามาใช้เป็นประโยชน์หมายถึงว่า  เราทำของเราไป  อย่าพึ่ง...  จะถอยรถเบนซ์  เราจะเอาเงินที่ไหน  อันนี้เห็นรถเบนซ์แล้วนะ  โห  กูจะเอารถเบนซ์นะ  แต่กูไม่ได้หาตังค์  นี่เราจะบอก  โดยกรอบ  โดยกรอบจะทำให้เราเดินไปแล้ว  มันจะไม่ได้ผลอย่างนั้น  จะไม่ได้ผลอย่างนั้น  ถ้านั้นเวลาเราดูตรงนี้ไง  ที่ว่าตั้งใจ  เราจะย้อนกลับมาที่ว่าตั้งใจจงใจ  การตั้งใจจงใจเนี่ยมันต้องทำ  แล้วลงสมาธิเนี่ยเรารู้ของเรา  แต่เขาเอามาให้เราดูบ่อย  ไอ้เรื่องที่ว่า  ถ้าตั้งใจแล้วผิดหมด  แล้วจะลงสมาธิลงอย่างไร  ลงยังงั้นผิด  แล้วที่ว่า  จิตเด่นดวง  จิตเด่นดวงเนี่ย  ถ้าจิตเด่นดวงมันเด่นดวงอย่างไร  คนถ้าได้จิตเด่นดวงรู้จักสมาธินะ  ไม่พูดอย่างนี้เด็ดขาด 

อย่างเช่นเรานี่นะ  เราพูดบ่อยไหม  ที่เราพูด  ไอ้พระโง่น่ะ  พระโง่เราบอกเลย  นมน่ะผสมเมลามีนจะให้ใครกิน  เนี่ยคำสอนเนี่ยนะ  ถ้าเรารู้จริงนี่นะ  รู้จริงหมายถึงว่ารู้จริงว่าจะลงสมาธิอย่างไร  แล้วสมาธิควรรักษาอย่างไร  ลองย้อนกลับมาดูพระป่าเราสิ  ทำไมมีข้อวัตรล่ะ  ทำไมฝึกสติล่ะ  ทำไมเราพร้อมตลอดเวลาล่ะ  ก็เพื่อผลตรงนั้น  แต่ถ้าเราไม่รู้จักเลย  เราไม่รู้จักว่าเหตุที่จะให้เข้าไป  สิ่งแวดล้อมที่จะเข้าไปให้จิตลงสมาธิได้อย่างไร  อะไรก็ได้  สบายๆ ๆ  สบาย  สบายที่เขาทำกันอย่างนี้นี่นะ  เราคิดของเรา  เรารู้สึกของเราว่าเหมือนกับว่า  สอนให้สังคมไทยนะเป็นคนอ่อนแอ  ให้สังคมไทยอ่อนแอ  ให้คนฝึกปฏิบัติเนี่ยนะ  อ่อนแอไปเรื่อยๆ  คนเราถ้าเข้มแข็งนะ  มีความจงใจมีความเข้มแข็งนะ  จะทำให้คนนั้นประสบความสำเร็จ  แต่ถ้าพูดให้อ่อนแอ  แล้วอ่อนแอนะ  ผลของการปฏิบัตินั้นวัดผลด้วยการให้ค่า  มันไม่ได้วัดผลจากคนที่เป็นจริงนั้น 

การประพฤติปฏิบัติน่ะปัจจัตตัง  อาจารย์นะพูดอย่างไรน่ะลูกศิษย์ปฏิบัติตาม  เดี๋ยวลูกศิษย์มันจะมาชี้หน้าเลยว่า  อาจารย์สอนผมผิดๆ  คือจิตมันทันกันได้  ฉะนั้นถ้าอาจารย์สอนผิดนะ  ลูกศิษย์มันจะมาชี้หน้าอาจารย์มันเลย  ถ้ามันเป็นอย่างนี้..  วัดผลไง  วัดผลจากใจผู้ปฏิบัติไง

ถาม  :             อันนี้คือเราโดนแย้งมา  มันเหมือนกับว่า  พวกนักวิทยาศาสตร์  พวกคนเก่งๆนะมันคิดทั้งวัน  มันตั้งใจคิด  มันคิดหนักกว่าเราอีก  ไม่เห็นมันบรรลุเลย

หลวงพ่อ  :    โลกียปัญญา!  มันคิดของมัน  เขามาพูดถึงสุตมยปัญญา  จินตามยปัญญา  ภาวนามยปัญญา  พวกจินตนาการ  เห็นไหม  ไอสไตน์บอก  จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ไอสไตน์นะ  มีความรู้ด้วยต้องมีจินตนาการด้วยใช่ไหม  เพราะจินตนาการจะทำให้เราเกิด..ขึ้นไป  เพราะจินตนาการไม่ใช่ความจริง  แต่มันก็เป็นจินตนาการ  ทีนี้มันคิด  วิทยาศาสตร์คิดอย่างไรวิทยาศาสตร์คิดอย่างไร  เขาไม่สำเร็จ  ไม่สำเร็จเพราะเขาไม่ได้คิดเรื่องธรรมะเว่ย  เขาไม่ได้คิดจากจิตเว่ย  เขาคิดเพื่อผลงานของเขาเว่ย  คือเขาคิดเป็นวิชาชีพ  อาชีพของเขา

หมอผ่าตัดทั้งวันเลย  หมอเนี่ยผ่าตัด  ศัลยกรรมเนี่ยมันหน้าที่ผ่าตัดนะ  ส่งเข้ามา  ผ่าทุกวันเลยเห็นกายไหม  ไม่เห็นเว้ย  เพราะมันเห็นด้วยตาเนื้อ  ผ่าตัดน่ะโอ้โฮ  เรียบร้อยเลย  แต่มันเห็นเป็นวิชาชีพของเขาพุทโธ  พุทโธ  พุทโธ  จิตมันสงบเข้าไปน่ะ  พอจิตเห็นกายเนี่ย  มันไม่เห็นอย่างนั้นหรอก  มันไม่ได้เห็นที่ตา  มันเห็นที่จิตเว่ย  พอจิตเห็นเป็นอะไร  เพราะจิตเนี่ยโดยสามัญสำนึกน่ะ  อะไรๆก็เป็นของเราทั้งนั้นน่ะ  เพราะเราเกิดมาโดยเวรโดยกรรม  มันเป็นจริงทั้งหมดน่ะ  แต่พอจิตมันสงบมันไปเห็นกายเข้าน่ะ  เห็นกายเข้ามันสั่นไหวขั้วหัวใจเลย  นั่นเห็นกาย

ย้อนมาที่วิทยาศาสตร์  วิทยาศาสตร์เขาคิดเรื่องวิชาชีพ  ต้องคิดตรงนี้สิ  เป้าหมายน่ะ  เป้าหมายมันแตกต่าง  เป้าหมายมันไปอีกอย่างหนึ่ง  เป้าหมายเราเนี่ยทวนกระแสกลับ  เป้าหมายเขาน่ะผลงาน

ถาม  :             ถ้าอย่างนี้การตรึกข้อธรรมหรือการใช้ปัญญาอบรมสมาธิ  เราก็ควรที่จะมีความรู้ในทางธรรมะไว้ในส่วนหนึ่ง

หลวงพ่อ  :    ไม่  ตรึกไปเนี่ยนะ  เวลามันหยุดนะ  เราช็อกเลย  นั่นแหละส่วนธรรมะน่ะ  มันเตือนเราไปตลอด  มันจะหนุนเราขึ้นไปเรื่อยๆ  ประสบการณ์มันจะบอกเราไปเรื่อย  นี่ภาวนาเขาเป็นกันอย่างนี้

พอมันหยุดเราก็รู้ว่าหยุด  พอมันคิดเราก็รู้ว่าคิด  แล้วพอมันชำนาญขึ้น  ดีขึ้นปั๊บมันจะควบคุมได้  หัดขับรถน่ะ  เด็กขับรถใหม่ๆมันขับรถแหลกหมดเลย  คนชำนาญแล้ว  โอ้โฮ  หมุนติ้วๆเลย  จิตที่ควบคุมได้ดูแลได้  เดี๋ยวมันพัฒนาของมันไป  ไอ้คิดอย่างนั้นน่ะ  มันเอามาเทียบ  ไอ้เทียบแบบนี่นะ  มันเทียบแบบเอาสีข้างเข้าถู  มันเทียบด้วยกิเลสเห็นไหม 

เรามาวัดเดะ  ใครมาวัด  โอ๋ย  ไอ้พวกไปวัดนะ  ไอ้พวกมีปัญหา  ไอ้พวกไปวัดเนี่ยไอ้โรคจิตสู้กูไม่ได้อยู่บ้าน  นี่  นักวิทยาศาสตร์มันคิดอย่างนี้ไง  แล้วจะฟังมันไหมล่ะ  บางอย่างเราฟังเขาไม่ได้  เราต้องดูฐานความคิดมันมาจากไหน  ถ้าฐานความคิดมันมาจากกิเลสมันมาจากการทำลาย  จะฟังเขาเหรอ  พระพุทธเจ้าบอกเลย  โลกนี้คนโง่มากกว่าคนฉลาดมาก  ถ้ามึงจะเอาความคิด  เอาข้อมูลทั้งหมดแล้วมาบอกเป็นธรรมะๆ  ถ้ามันพูดอย่างนั้นมา  สวนเลย  เราสวนเลย

ถาม  :          ทีนี้เขาก็มีกลับมาอีกเหมือนกัน  เขาว่า  สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  เขาสวนมาว่า  จิตเป็นอนัตตา  ถ้าควบคุมจิตได้  ก็จะเห็นจิตเป็นอัตตาสิ  ทำให้เกิดความเห็นผิด

หลวงพ่อ  :    ไม่..  สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  คือสภาวธรรม  สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  เนี่ยคือสภาวธรรม  สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาทั้งหมด  แล้วธรรมทั้งหลายเกิดจากอะไร  ธรรมทั้งหลายอยู่ในพระไตรปิฎกใช่ไหม  ไอ้นั่นมันเป็นกระดาษเปื้อนหมึกเว่ย  ธรรมทั้งหลายสภาวธรรม  แล้วสภาวธรรมมันเกิดบนอะไร  ถ้าพูดถึง  สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  ถ้าควบคุมได้มันจะเป็นอัตตา  มันจะเป็นอัตตาหรือไม่อัตตาเนี่ย  ถึงว่าจิตของเราเนี่ยเขาว่าเป็นอัตตา  เป็นอัตตา  ไม่เป็นทั้งนั้น 

จิตนะมันไม่เคยตาย  มันอยู่ของมันสภาวะแบบนั้น  ไม่เป็นอัตตา  และไม่เป็นอนัตตาด้วย  มันเป็นไปโดยแรงกรรม  มันเป็นไปตามแรงกรรม  เวลากรรมมันหนักขึ้นมา  มันมีความเห็นของมันไปอย่างหนึ่ง  เวลาถ้าเวลาคนมา..  พระพุทธเจ้าเคยตกนรกอเวจี  พระอานนท์เคยเป็นผู้หญิงมาก่อน  แล้วพระอานนท์มาเป็นผู้ชาย  เห็นไหม  โดยแรงกรรม  แรงกรรมมันหมุน  มันเหวี่ยงไป  ถ้าพูดถึงเราไปเกิดในชาติไหนที่ว่ากรรมมัน  ที่มันเกิดฐานะที่มันตกต่ำ  มันก็มีความคิดของมันอย่างนั้น  แต่เวลามันไปเกิดอีกวาระหนึ่งเพราะมันหมดกรรมนั้น  มันเกิดอีกวาระหนึ่งเห็นไหม

จะบอกว่า  ถ้ามันเป็นอัตตา  เราเห็นว่า  เราควบคุมได้จะเป็นอัตตา  สมาธิเนี่ย  สมาธิคือสมาธิ  มันก็ไม่อัตตา  เพราะถ้าสมาธิเป็นอัตตา  กูชอบฉิบหายเลยสมาธิกูไม่เสื่อมเนี่ย  ถ้ากูควบคุมจิตได้  จิตกูเป็นอัตตา  มันไม่มีหรอก  มันป็นการเอาสีข้างเข้าถู  แล้วเอาสีข้างเข้าถูแล้วทำไมกูต้องไปถูกับมัน  กูใช้ปากพูดได้  กูใช้ปากพูดโว้ย  คำพูดอย่างเนี้ยมันคำพูดตะแบง  นี้คำพูดตะแบงเนี่ย  เรามีเหตุผลอะไรไปโต้แย้งเขา  สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  แล้ว  อัตตาเนี่ยมันมาจากไหน  อนัตตามันมาจากไหน

แล้วฐีติจิตคืออะไร  จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส  จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส  จิตเดิมแท้เป็นผู้ผ่องใส  จิตเดิมแท้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส  แม้แต่จิตที่เป็นอัตตา  อัตตาเนี่ย  อัตตามันเป็นสมาธิมาก็เพื่อให้มีความสงบ  ให้มีกำลังของมัน  เพื่อออกไปทำงานเพื่อหาผลประโยชน์ของมัน  หาผลประโยชน์เพื่ออะไร  เพื่อหาความสะอาดบริสุทธิ์ของมัน  มันต้องมี...  ระหว่างที่เราพัฒนา  ระหว่างที่จะเปลี่ยนแปลง  อย่างที่ว่า  ถ้าอภิธรรมอย่างงั้นๆ  อู๊ย..กูไม่กล้าทำอะไรเลย  กูเจอแต่กรรม  กูบอก  มึงจะบ้าเรอะ  ทำทุกอย่าง  ผิดถูกรู้กันเอง!

ถ้าอภิธรรมเป็นตัวตั้งนะ  เพราะพวกอภิธรรมเขาจะบอกนะ  ว่าอยากไม่ได้  อยากแล้วมันจะเป็นกิเลส  ถ้าทำอะไรทำด้วยความอยาก  พวกนี้เป็นคน..  จิตใต้สำนึกของคนมีกิเลสหมด  นี้ความอยาก  ตัณหาความทะยานอยากเนี่ย  คืออยากได้ผล  อยากอันนั้นมันผิด  แต่เมื่อจิตใต้สำนึกความอยากอย่างเนี้ย  มันเป็นมรรค  มรรคหมายถึงอะไร  มรรคหมายถึงเราอยากพ้นจากทุกข์  อย่าคิดถึงจะพ้นจากทุกข์นะ  ปฏิบัติอย่าคิดถึงสมาธินะ  อย่าคิดอะไรนะ  ไม่ให้มีไรเลย

มันเหมือนกับนะ  เราทำงาน  เราปฏิเสธเงินเดือนให้คนอื่นเลย  กูไม่เอาเงินเดือน  มันไม่มีผลตอบแทน  อย่างนี้มันสักแต่ว่า  มันไม่มีผลตอบแทน  แต่ถ้าเราทำนะ  สุขก็รู้  ทุกข์ก็รู้  ดีก็รู้  ชั่วก็รู้  เนี่ยมันมีผลตอบแทน  นี้พอมีผลตอบแทน  ถ้าอภิธรรมบอกเป็นความอยากแล้ว  ไม่ใช่  มันเป็นมรรค  อาศัยความดีนี้ขับเคลื่อนไป  แล้วผิดถูกนะ  พอเราผ่านเข้าไปแล้วนะ  เราจะรู้เลย  อย่างเทคนิคการทำงาน  โดยกฎกระทรวงต่างๆนี่มันทำอะไรไม่ได้เลยละ  คนทำงานเนี่ย  มันมีเทคนิคของมัน  มีวิธีการทำงาน  ทำงานให้จบได้เหมือนกัน

นี่ปฏิบัติเนี่ยอภิธรรมเนี่ยมันก็เหมือนกติกา  แล้วเราเนี่ยเกร็งไปหมดเลย  เหมือนคนทำงานไม่เป็นวะ  กว่าจะผ่านไปแต่ละโต๊ะ  โอ๊ย..  กว่าจะได้เซ็นต์  แต่ถ้ามันเซ็นต์ถูกต้อง  มันไปตามกำหนดของมัน  มันไปได้  จิตมันจะพัฒนาไปอย่างนั้น  เราถึงว่า  โดยกรอบนี่นะ  วิทยาศาสตร์แล้วปฏิบัติยากมาก 

นี้สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  ถ้าเราคิดว่ามันเป็นอัตตา  สมาธิเนี่ยมัน..  ไม่อยากจะพูดว่าคำว่าอัตตา  สมาธิคือจิตตั้งมั่น  แต่มันตั้งมั่นไม่ได้หรอก  แล้วสมาธิเนี่ย  ธรรมชาติของมนุษย์มีสมาธิอยู่แล้วคือสมาธิของปุถุชน  เราไม่มีสมาธิ  เราไม่มีสติเราคือคนบ้านะ  แต่เรามีอยู่แล้วแต่มันไม่พอ  แล้วเวลามีสติ  สมาธิขึ้นมาแล้ว  เป็น  โสดาปัตติมรรค  สกิทาคามรรค  อนาคามรรค  อรหัตตมรรค  สมาธิเนี่ยคนละชั้นเลย  ถ้าไม่คนละชั้น  ทำไมมีมหาสติ  มหาปัญญา  ทำไมมีสติ  มีมหาสติ  เดี๋ยวพอพัฒนาขึ้นไปแล้วจะเห็นความแตกต่างอีกเยอะแยะเลย  อันนี้แค่พื้นฐาน  นี่หญ้าปากคอก  แล้วหญ้าปากคอกแล้วสร้างประเด็นมาเถียงกันนะ  ยังไม่ได้ปฏิบัติเลย  ยังไม่ได้จิ้มเข้าไปเลยนะ  กูยังปวดหัวฉิบหาย

เพียงแต่เราพูดออกมาเพื่อจะมาล้างสมองพวกนี้เท่านั้นเอง

ถาม  :          มีประเด็นของโอฆปรณสูตรด้วยครับที่ว่า  เทวดามาถามพระพุทธเจ้า  แล้วพระพุทธเจ้าบอกว่าไม่พักและไม่เพียร  เขาก็เลยไปตีความหมายว่าไม่เพียร  คือการดูเฉยๆ  ไม่ทำอะไร  คือการที่ดูอยู่เฉยๆคือการที่เราเป็นกลาง  ถ้าหากเราเอียงไปด้านหนึ่ง  ก็เหมือนกับเราจะไม่ได้เป็นกลางน่ะครับ 

หลวงพ่อ  :      เพราะเขามีความคิดอย่างนี้นะ  มันก็มาจากตรงนี้  มาจากนิพพานมีอยู่แล้ว  ประเด็นนี้เราก็จับอยู่  ก็นิพพานมีอยู่แล้ว  จิตมีนิพพานอยู่แล้ว  เราถึงบอกว่าถ้าจิตมีนิพพานอยู่แล้ว  กายก็ต้องมีนิพพานด้วย  เพราะกาย  เวทนา  จิต  ธรรม  เพราะเขามีแนวคิดอย่างนี้  คือนิพพานมีอยู่แล้ว  ก็เหมือนกับว่าเราเอานิพพานไปซ่อนไว้  แล้วเราจะไปหานิพพาน  ถ้าดูเฉยๆจะต้องไปเจอแน่นอน  แต่ความจริงมันไม่ใช่  เพราะเขามีแนวคิดอย่างนี้ 

ประสาเราว่า  เขาปฏิบัติมาอย่างนี้  พอเขาปฏิบัติมาอย่างนี้  เขาตั้งโจทก์อย่างนี้  แล้วเขาตอบโจทก์ของเขาอย่างนี้  แล้วเขาถือว่านี้คือนิพพาน  ทีนี้นิพพานปั๊บ  เขาเลยต้องหา  หาเหตุหาผลมารองรับความคิดนี้  ถึงบอกเทวดามาถามถึงบอกว่า  เราไม่เร่งเราไม่เพียร  ก็เทวดามาถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว  ถามว่าพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยอะไร  แต่ไม่ถามว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าเพราะอะไรสิ

ถาม  :          คือไม่พักไม่เพียรถึงข้ามโอฆะ  ไอ้ตอนยังไม่ข้ามยังไม่บรรลุนะครับ  ไม่พักไม่เพียรถึงข้าม  ตรงนี้ก็ยังไม่...  ตามพระสูตรนะครับ

หลวงพ่อ  :     ไม่พักไม่เพียรถึงข้ามโอฆะ  ไม่พักไม่เพียร  ไม่พักไม่เพียรมันมีเทคนิค  ถ้าคนภาวนาจะรู้  ถึงที่สุดนะ  ถ้าพูดถึงเทวดา  ถ้าเทวดาอย่างนี้..  เราจะพูดบ่อยมากว่า  เวลาพระพุทธเจ้าพูด  เทศน์ใคร  สอนใคร  ถ้าไม่พักไม่เพียรนะ  หลวงตาท่านเทศน์ของท่านอยู่  เวลามีพวกมหา  พวก   ประโยคไปถามท่านว่าสิ้นสุดกระบวนการอย่างไร 

ท่านบอกเลยนะ  เวลาละเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอน  ละสักกายทิฏฐิ  เป็นโสดาบัน  ละอุปาทานเข้ามา  ละกามราคะเข้ามา  จิตมันจะเป็นจิตเดิมแท้ของมัน  ถ้าบอกจิตเป็นเดิมแท้ของมัน  จิตนี้เห็นไหม  จิตจะเป็นมัธยัสถ์  ถ้าจิตไม่มัธยัสถ์ไม่เป็นกลาง  ที่ว่าไม่พักไม่เพียรน่ะ  ไม่พักไม่เพียรน่ะ  จิตจะเป็นกลาง  พอจิตเป็นกลาง  เห็นไหม  จิตเป็นมัธยัสถ์  พอจิตเป็นมัธยัสถ์  แล้วจิตนี้จะทำลายตัวจิตลง  จิตนี้จะทำลายตัวจิต  หลวงตาเทศน์ไว้  จิตนี้เป็นมัธยัสถ์  เขาจะถามว่า  จะเป็นพระอรหันต์อย่างไรไง

ถ้าจิตนี้มันทำลายๆ  จิตเป็นมัธยัสถ์แล้วทำลายตัวมันลง  เราถึงบอกพระอรหันต์ไม่มีจิต  มีจิตคือมีภพ  จิตคือภพ  ทีนี้พอมาทำลายตัวนี้ลง  เห็นไหม  ไม่พักไม่เพียร  ไม่พักไม่เพียรน่ะ  เพราะธรรมะมีหยาบมีละเอียด  ฉะนั้นถ้าพูดถึงเทวดา  เทวดาฟังเทศน์พระพุทธเจ้า  เป็นพระอรหันต์  เยอะแยะไปหมด  ถ้าเทวดาเนี่ยพระพุทธเจ้าบอกว่าเทวดาเนี่ยอยู่ขั้นไหน

ถาม  :             ในพระสูตรนั้นรู้สึกว่า  เทวดานึกว่าตัวเองเป็นโสดาบัน  แต่ว่า..  ยังไม่ใช่

หลวงพ่อ  :    ไม่ใช่..  เนี่ยเทวดาอยู่ขั้นไหน  แล้วเทวดาอยู่ขั้นไหนเนี่ยมาถาม  แล้วท่านจะตอบปัญหาใคร  ปฏิบัติมาเถอะ  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  เนี่ยวิธีการฆ่ากิเลสแต่ละชั้นไม่เหมือนกัน  มันมีเทคนิคของมัน 

แล้วทีนี้จะพูด  หลวงตาท่านพูด  จิตเป็นมัธยัสถ์  เป็นกลาง  แล้วทำลายตัวมันเอง  จิตและต่อม  เห็นไหม  แสงสว่าง  สว่างหมดเลยน่ะ  มันสว่างขนาดไหน  มันต้องมีที่มาที่ไปทั้งนั้นน่ะ  มีเหตุมีผล  แล้วย้อนกลับไปที่จุดและต่อมมาจากไหน  พอเข้าไปถึงตรงนั้นจิตมันมี    ขั้ว  ดีและชั่ว  เหมือนมะพร้าว    ขั้ว  แล้วพอมะพร้าว    ขั้วท่านก็ไล่ของท่านเข้าไป  ไปถึงตรงนี้ไง  ตรงที่จิตเป็นมัธยัสถ์  จิตเป็นกลาง  ไม่ไปไหนละ  ถ้าไปไหนปุ๊บ  มันเป็น  อุทธัจจะ  เป็นสังโยชน์เบื้องบน  แล้วถ้ามันทำลายตัวมันเองปั๊บหมดเลย

ถ้ามาอย่างนี้นะ  มันต้องมีที่มาที่ไป  อย่างเช่นเรามาปฏิบัติกัน  เขาจะสอน  สอนว่า  ต้องจิตให้ได้เป็นกลาง  แล้วมึงจะฆ่ากิเลส  แล้วกิเลสหยาบๆ  กูยังไม่ได้ฆ่า  กูจะไปฆ่าได้อย่างไรวะ  กรณีอย่างนี้  เราจับบ่อย  อย่างเช่นที่เราพูดกะพวกไฟฟ้าเห็นไหม  ว่าจิตเนี่ยมันเหมือนไก่ตัวแรกขึ้นมา  คำพูดของเขาทุกคำนี่นะมันจะเข้ามาตรงนี้  ตรงที่ของมันมีอยู่แล้ว  เราถึงเวลาพูดเตือนเห็นไหมว่า  โอ๋ย  นิพพานมีอยู่แล้วนะ  กูไปซ่อนไว้  กูเดินสะดุดล้มเลยนะ(หัวเราะ)  มันไม่มีหรอก  นิพพานที่มีก็มีของพระพุทธเจ้า  ของพระสารีบุตร  ของพระโมคคัลลานะ

นิพพานน่ะมันเป็นสมบัติส่วนตน  คนนั้นปฏิบัติถึงนิพพานก็คือของของคน  คนนั้น  ธรรมะสาธารณะเห็นไหม  ที่เราบอก  ธรรมะเป็นธรรมชาติ  ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติสภาวะต่างๆเป็นธรรมชาติหมดนะ  การเกิดและการตายของเราเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง  จิตของเรามีกิเลสอยู่มันก็เกิดตาย  มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง  แล้วบรรลุธรรมกันรึยังล่ะ  เราถึงว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ  เหนือตรงไหน  ตรงที่ว่าเรารู้ข้อมูลตามที่เป็นความจริงทั้งหมด  แล้วเราสลัดเขา  เราวางเขา  คือเราไม่ไปร่วมมีปัญหากับใครทั้งสิ้น  เราหลุดออกมา  ออกจากสภาวะธรรมชาติขึ้นมา  มันถึงเหนือกฎกติกาทั้งหมด  กฎ  กติกา  กรรมเนี่ย  เอาไว้บังคับสัตว์โลกที่มันเวียนตายเวียนเกิด  แต่อันนี้มันหลุดของมันออกไป  อันนี้อันหนึ่ง

ถาม  :              มีการพูดถึงนางวิสาขาด้วยนะครับ  ว่านางวิสาขา  นางไม่ได้เคยฝึกสมาธิมาก่อน  อยู่ๆฟังเทศน์ก็บรรลุ  แล้วก็มีการอ้างว่า  สมัยพุทธกาลเขาบรรลุกันง่ายๆเลย

หลวงพ่อ  :      นางวิสาขาปรารถนามาเป็นมหาอุบาสิกา  คนที่ปรารถนามาเป็นมหาอุบาสิกาเนี่ยต้องสร้างบารมีมามากขนาดไหน  เราพูดเรื่องอย่างนี้บ่อยมาก  พูดถึงพระโมคคัลลานะ  พระสารีบุตรที่พระพุทธเจ้าให้เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา  ภิกษุในสมัยพุทธกาลติเตียนมากเลยว่า  อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาต้องเป็นปัญจวัคคีย์สิ  ต้องเป็นพระอัญญาโกณทัญญะ  เพราะพระอัญญาโกณทัญญะเป็นสงฆ์องค์แรก  แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า  ไม่ใช่  เราตั้งตามคุณสมบัติของเขา  เขาปรารถนามา  คำว่าปรารถนานะ..  พระพุทธเจ้า  อัครสาวก  ต้องตั้งปรารถนากันมาทั้งหมด  ปรารถนาก็สร้างบุญญาธิการมาใช่ไหม 

นางวิสาขาปรารถนามาเป็นมหาอุบาสิกา  คนปรารถนามาเป็นมหาอุบาสิกา  เขาจะต้องสร้างรากฐานของเขามามากน้อยแค่ไหน  นี้เขาสร้างรากฐานของเขามามากน้อยแค่ไหนเนี่ย  ฟังธรรมะทีเดียว..  เหมือนคนมีบารมีมีแต่คุณงามความดี  เราสร้างบุญญาธิการ  เราทำแต่ความดี  มันมีความดีมาหาเราตลอดเวลา  เกิดมาในครอบครัวที่มั่งมีศรีสุข  เกิดมามีแต่เพื่อนที่ดี  เกิดมาอะไรต่างๆนี่  มันส่งเรามาตลอด  เห็นไหม

ถ้ามาฟังธรรมพระพุทธเจ้าทีเดียว  มันก็หลุดไปเลย  งั้นพอเขาพูดทำนองเนี้ย  มีพระพูดเหมือนกัน  เขาบอก  ปัญจวัคคีย์เนี่ยพระพุทธเจ้าเทศน์ธรรมจักร  ธรรมจักรไม่มีสมาธินะ  พูดแต่มรรค    มรรค    มีสัมมาสมาธินะ  แต่ไม่สอนสมาธิ  เทศน์ธรรมจักรเลย  เขาบอกว่าทำไมไม่สอนปัญจวัคคีย์นี้ทำสมาธิก่อนละ  แล้วปัญจวัคคีย์อยู่กับพระพุทธเจ้ามา    ปีเนี่ย  ทำสมาธิรึยัง  พระพุทธเจ้าทรมานตนอยู่    ปี  ปัญจวัคคีย์ก็ปฎิบัติด้วย  มีสมาธิรึยัง

โทษนะ  สาธุ!  พระพุทธเจ้ากูฉลาดนะโว้ย  พระพุทธเจ้ากูไม่โง่หรอก  พระพุทธเจ้ากูโคตรฉลาดเลย  คนไหนมีสมาธิแล้วก็ไม่ต้องสอนมัน  คนไหนมีสมาธิพระพุทธเจ้ารู้อยู่แล้วก็สอนปัญญาเลย  แต่ไอ้พวกไม่มีสมาธิก็ต้องสอนสมาธิมันเว่ย  พระพุทธเจ้ากูไม่ซื่อบื้อหรอก

ถาม  :              เรื่องนี้ผมเคยตั้งข้อสังเกตตั้งแต่แรกเหมือนกันว่า  ตอนที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ใหม่ๆ  ว่าถ้าธรรมะมันเป็นของง่าย  ไม่ต้องทำอะไร  ทำไมพวกนี้ไม่ไปเป็นคนธรรมดาที่ไม่เป็นอะไร  ทำไมท่านไปเป็นอาจารย์ที่มีสมาธิก่อน

หลวงพ่อ  :      ก็คนมีสมาธิอยู่แล้วจะต้องไปสอนทำไม  อ้าว  โยมมีตังค์อยู่แล้วเนี่ย  เราจะไปให้ทำไม  อ้าโยมไม่มีตังค์เลยนะ  มาขอยืมเรา  เออ  เราจะให้ว่ะ  เอ้อโยมเต็มกระเป๋าเลย  มีแต่มาให้เรา..  เออกูจะเอา  เขามีของเขานะ  โธ่..  เราจะบอกนะเวลาพระพุทธเจ้าเทศน์นะ  เทศน์ให้คนที่มีคุณธรรมแล้วนะ  จะเทศน์สูงมาก  แต่เวลาเทศน์ประชาชนคนทั่วไปจะเทศน์อนุปุพพิกถา  ทานนะเว่ย  อนุปุพพิกถาก่อน  ให้ทำทาน  ถ้าทำทานแล้วจะได้สวรรค์  สวรรค์แล้วต้องเนกขัมมะ  พอจิตเขาพร้อมควร  เขาเรียกกาลแห่งอริยสัจ  พระพุทธเจ้าจะเทศน์คน  เล็งญาณก่อนนะ  เล็งญาณก็ดูที่ใจ  ทีนี้..  มีคนอ้างบ่อย  อ้างปัญจวัคคีย์  ไม่เห็นเทศน์สมาธิเลย  ไม่เห็นให้ปัญจวัคคีย์ทำสมาธิเลย  แล้วมึงไม่ดูล่ะว่าปัญจวัคคีย์อยู่กับพระพุทธเจ้ามา    ปี.. 

เราจะบอกว่านะ  สมาธินะ  ก็ไม่จำเป็นว่าต้องทำสมาธิๆหรอก  แต่เราจะบอกว่าถ้าทำสมาธิขึ้นมา  มันเข้าถึงจิต  เพราะตัวจิตนั้นคือตัวสมาธิ  ถ้าเข้าถึงจิตนะมันไปชำระกิเลส  มันตามข้อเท็จจริงน่ะ  ถ้าทำอะไรตามข้อเท็จจริงนะ  แล้วสมาธินะ  ไม่ต้อง  อู้หูย  อัปปนาสมาธิถึงจะเกิดปัญญา  ไม่ใช่  ขณิกสมาธิ  อุปจาระสมาธิเนี่ย  ใช้ได้แล้ว  แล้วสมาธิเนี่ย  หลวงปู่เจี๊ยะเนี่ย..  เราจะตอบปัญหาอยู่  เขาโทรมาจากอเมริกาว่าจะให้ตอบปัญหาเรื่องอย่างนี้  เราจะตอบอยู่

ทำสมาธิทำอย่างไร  ต้องมีสมาธิแล้วใช้ปัญญา  หรือใช้ปัญญาได้เลย  แต่เราก็รู้ว่าปัญญานี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ  ปัญญานี้หัดใช้ได้  เพียงแต่เวลาเราพูดถึงผลที่ตอบแทนเรา  มันต้องมีผลของมันอยู่  ต้องมีสมาธิ  แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องทำสมาธิแบบตะบี้ตะบัน  ทุกคนจะต้องเอาหัวปักหัวปำเข้าสมาธิ  แต่มันต้องเป็นพื้นฐานเหมือนนักกีฬา  นักกีฬาถ้าไม่มีกำลังไปเล่นอะไรไม่ได้หรอก  นักกีฬาขนาดไหนมันต้องมีกำลัง  ต้องซ้อม  สมาธิคือกำลัง  สมาธิคือทุน  มีทุนนะมีเงินมหาศาลเลยไปให้เขาหลอกแดก  มึงก็ทำอะไรไม่ได้

มีสมาธิขึ้นมาเดี๋ยวสมาธิมันก็เสื่อมหมด  แต่สมาธิเป็นตัวแบ่งแยกระหว่างโลกียะกับโลกุตระ  สมาธิเป็นตัวกรองกิเลสของเรา  ตัวสมาธิทำให้กิเลสของเราเวลาคิดธรรมะแล้วมันไม่บวกเข้ามา  ความเห็นของเรา  ความต้องการของเรา  ความผูกพันธ์ของเราไม่บวกกับความเห็นของเราว่า  กูได้สมาธิแล้ว  กูได้ปัญญาแล้ว  อย่างงั้นๆ  ไม่มี

ตัวสมาธิจะกรองให้สะอาด  ตัวสมาธิจะทำให้ความคิดเรา...  พอมันใช้ปัญญามากๆเข้าแล้ว  สมาธิมันอ่อนลงนะ  มันเป็นสัญญาละ  หลวงตาบอกว่ามันเป็นสัญญา  ถ้าเป็นสัญญา  มีสมาธิปั๊บ  ปัญญาคือสังขารคือความปรุงนั่นแหละแต่มีสมาธิรองรับ

ทำไปมันรู้หมด  ฉะนั้นไม่ต้องมาเถียงกันว่าสมาธิหรือไม่สมาธิ  ที่เราพูดอยู่เนี่ยถูกหรือผิดเท่านั้นแหละ  ที่เราพูดออกไปคือผิดๆๆๆ  แล้วพอผิดมันผิดตรงไหน  มันผิดเพราะถ้ารากฐานอย่างนี้  สมาธิทำไปแล้วจะได้หรือไม่ได้ยังไม่รู้  แล้วทำสมาธิไปแล้วจะเกิดปัญญาหรือไม่เกิดปัญญายังไม่รู้  แต่ตัวสมาธิเป็นพื้นฐานที่เราให้  เหมือนนักเรียนเลย  อนุบาลต้องมาอย่างนี้  ต้องขึ้นไปตามสเต็ปอย่างนี้  ที่เราพูดเนี่ย  เราพูดเรื่องถูกผิด  ไม่ใช่ว่ามีสมาธิ  ไม่มีสมาธิ  อย่างไรมึงก็ผิด!

ถาม  :             ฟังจากสถิติที่หลวงพ่อบอก  หลวงตา    ปี  สามครั้ง  ตอนนั้นผมแป็นฆราวาส  ได้ฟังมันก็รู้สึกบั่นทอน..

หลวงพ่อ  :    สามครั้งนั่น  มันรวมใหญ่  สามครั้งนั่น  คือ  อัปปนา  แล้วที่ไม่ได้อัปปนาล่ะ  อันนี้นะคนรู้เห็นไหม  สามครั้งนั่นท่านรู้ของท่านว่าอัปปนามันต่างกันอย่างไร  อัปปนาสมาธิคือรวมใหญ่  ท่านบอกรวมใหญ่  สามหนเอง  รวมใหญ่  รวมใหญ่สามหนคือว่ามันลงอัปปนาสมาธิ  อัปปนาสมาธิมันไม่ใช่ลงง่ายๆนะเว้ย  ท่านบอก    ปีท่านได้สามหน  แต่อัปปนาสมาธินี้มันไม่ใช่ออกมาทำให้เกิดปัญญาได้  อัปปนาสมาธิเป็นการพักที่มีกำลังไง  เหมือนต้นทุนที่เราไปถึงทุนที่มีมาก  แต่เวลาใช้เราไม่ใช้หมดหรอก  เรามีเงินตั้งล้านนึงกูใช้แค่บาทสองบาทก็พอ  ไม่ใช่ว่ามีเงินล้าน  ใช้ให้หมดเลยแล้วก็ไปหากันอีก  ตายห่า!

ถาม  :             งั้นก็แสดงว่า..  เราไม่จำเป็นที่จะต้องให้รวมใหญ่

หลวงพ่อ  :      ไม่จำเป็น  ไม่จำเป็น  แต่ถ้าเราได้สมาธิแล้ว  ตัวสมาธิคือตัวสติ  ตัวสติปัญญาระลึกรู้  สติปัญญาเราดีเนี่ย  เราคิดผิดคิดถูก  เรารู้  ไม่มีสมาธิเนี่ยเวลาปัญญาเกิด  เรารู้อะไรกัน  ตัวสมาธิเนี่ย  ตัวสติเนี่ย  มันจะรู้  เราปฏิบัติมากี่ปีกี่ปีเนี่ย  เราได้อะไร  ถามตัวเองว่าได้อะไร  มันไม่ได้สัมผัสอันนั้นเลย  แต่ได้สมาธิปั๊บ  อู๋..รสชาติเป็นอย่างนี้  เวลาปัญญามันเกิด  อู๋..เป็นอย่างนี้  อาหารมีรสชาติเนี่ยเรากินเรารู้เองนะ  ว่าเรากินทุกวันๆรสชาติมันเป็นอย่างไร  กินแล้วร่างกายเราเป็นอย่างไร  ปฏิบัติไปแล้วจิตเราเป็นอย่างไร  ตะบี้ตะบันกันอยู่อย่างนี้แล้วไม่มีอะไรมาตรวจสอบเลย  แล้วก็พูดอภิธรรม  อภิธรรม  ไม่ต้องขยับนะ  เอาอภิธรรมมาครอบไว้  ไม่ต้องไปห่วงตรงนั้น  ห่วงใจเราขึ้นมามากน้อยแค่ไหน  แล้วค่อยมาเทียบอภิธรรม

วางไว้ก่อน!  อภิธรรม  วางไว้ก่อนเลย  ขอปล่อยเอกัคคตารมณ์ก่อน  กูจะลองดูก่อน  แล้วเดี๋ยวจะกลับมารู้เองว่าเอกัคคตารมณ์เป็นอย่างไรเลย  ปล่อยเอาไว้ก่อนไม่เสียหาย  แค่ทำชั่วโมงสองชั่วโมงเดี๋ยวก็รู้แล้ว  แต่ถ้าเอามาครอบไว้อย่างนี้เลย  เหอะ..  เหมือนแอกเลย  เดินไปกับแอกเนี่ย  ไปไหนไม่รอดเลย  กิเลสหัวเราะ..ไอ้พวกปฏิบัตินี้โง่ฉิบหายเลยละ  กูจูงไปตลอดเลย  แต่เราทิ้งหมดเลย  กูเป็นควายเนี่ยนะ  กูจะไป  กูจะไปอย่างไร  กูจะจะ..  จะไปให้ได้  แล้วเสร็จแล้วก็เออ..  กลับมาเทียบ  แล้วกลับมานะ  สาธุ!  กราบพระพุทธเจ้า  เหมือนกันเลย  พระพุทธเจ้าสอนไม่ผิดเลย  แต่เราเอากรอบเนี่ยมาครอบงำเราก่อน 

นี่ไงเรื่องหลวงปู่มั่นเนี่ย  แล้วลูกศิษย์เราบอกว่ารับไม่ได้  ปล่อยทิ้งพระพุทธเจ้าไม่ได้  ปล่อยทิ้งพระพุทธเจ้าไปก่อนไม่ได้(หัวเราะ)  อู๋ย..  เขาว่าเราพูดผิดเลยล่ะ  เขาไม่เชื่อว่าหลวงปู่มั่นจะพูดอย่างนี้  เขาหาว่าเป็นการปล่อยทิ้งพระพุทธเจ้า  พวกเราจะปล่อยทิ้งพระพุทธเจ้าไม่ได้ต้องเดินตามพระพุทธเจ้า  เราบอกไม่ใช่ปล่อยทิ้งพระพุทธเจ้า  เราก็ศึกษามาแล้ว  แต่ปฏิบัติเนี่ยมันเป็นข้อเท็จจริงเป็นการที่เราจะประสบ  เหมือนเราจะสร้างนักมวยคนหนึ่งเห็นไหม  นักมวยคนหนึ่ง  ดูสิ  เราต้องไปดูช้างเผือกมา  กว่าเราจะปั้นขึ้นมา  กว่าจะได้ตำแหน่งแชมป์ขึ้นมาเนี่ยเราต้องปลุกปล้ำขึ้นมาขนาดไหน  ไอ้การปฏิบัติจิตมันก็เหมือนกัน  กว่าเราจะได้ขึ้นมากว่าจะเล่นต่อสู้มันต้องค่อยๆปฏิบัติขึ้นมา

ถาม  :              หลวงพ่อครับ  แล้วที่ว่ารวมใหญ่  รวมใหญ่นี่คือใช่ว่าท่องพุทโธจนมันหายไป  ใช่ไหมครับ 

หลวงพ่อ  :      ใช่

ถาม  :          แล้วถ้าเป็นอุปจารสมาธิขึ้นมา  คือผมอยากรู้ว่า  ตอนไหนที่ผมสามารถเริ่มใช้ปัญญาได้แล้ว  อยากรู้ว่าจิตที่เป็นอุปจาระเนี่ย  มัน..

หลวงพ่อ  :      อุปจาระเนี่ยนะ  จิตมันสงบ  ยังรับรู้เสียงได้  ตามันไม่เห็นหรอก  แต่หูเนี่ยได้ยินเสียง  ลมพัด  เสียงขยับยังได้ยินอยู่  อย่างนี้เนี่ยอุปจาระ  อุปจาระหมายถึงมันรับรู้อยู่แต่จิตมันรับรู้นะ  จิตนี้มันสงบอยู่แต่อายตนะมันไม่ขาดนะ  เห็นไหม  การรับรู้ยังมีอยู่ 

ถาม  :          มันยังนึกพุทโธได้ใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ  :    ใช่  ยังนึกได้อยู่  ทีนี้ถ้าคนจิตมีบารมีนะ  มีบารมีหมายถึงมีอำนาจวาสนามันจะเห็นนิมิตได้  เห็นนิมิตได้เลยเพราะจิตมันรับรู้ได้  เห็นไหม  เห็นนิมิตนี้ถ้าเราเห็นนิมิตที่มันน่าตกใจ  หรือเห็นนิมิตที่เราไม่พอใจ  เราไม่ชอบใจเนี่ย  เรากลับมาพุทโธนิมิตนี้จะหายทันที  เพราะว่าจิตนี้ออกรู้  ถ้าเรากลับมาเนี่ยนิมิตจะหายหมด 

ตรงนี้  ถ้าเข้าอัปปนาไปเข้าไปพักเนี่ย  ปัญญาเกิดไม่ได้  พอมันถอนตัวออกมาเนี่ย  มันจะมีกำลังมาก  กำลังเนี่ย  มันจะคิดอะไรเนี่ย  มันเหมือนมีดเราคมมาก  ใช้ปัญญากับสิ่งใดมันจะ  พั้บ  คือ  ขาด  คือพิจารณาอะไร  คิดเรื่องอะไร  มันก็จบ  สรุปหมด  พั้บ  พั้บ  พั้บ  พั้บ  โอ้โฮ  โล่ง..  หมดเลย  อะไรที่ขุ่นข้องหมองใจเนี่ย  มันจะสลัดทิ้งได้หมดเลย 

ถ้าเข้าอัปปนา  ออกมาจะมีกำลังเห็นไหม  แต่เข้าอุปปจาระเนี่ยบางทีเราก็พิจารณาของเราได้  แต่บางทีแบบว่ากำลังมันไม่พอ  แล้วคิดอะไรเนี่ยมันแบบว่า  อื่อ..คิดอะไรก็คิดไม่ตกซักที  ปัญหาเดียวเนี่ยคิดสามวันสี่วันก็ไม่จบซักที  ปัญญาคือมันไปตัดไอ้วิตกกังวลในใจ  สิ่งที่เกาะเกี่ยวในใจ  ตัดออกหมด  ปล่อยหมดเลย  พอมันปล่อยหมดนะมันจะกลับมาถึงตัวเอง  พอมาถึงตัวเองนะ  มันจะบอกตัวเองว่า  มึงโง่ฉิบหาย  มึงโง่ฉิบหาย  ของแค่นี้มันไม่มีอะไรเลยเราไปติดไปยึดเอง 

ถ้าอันนี้เกิดนะ  แล้วไปเทียบกับที่ทำๆมาสิ  ไปเทียบกับสิ่งที่ทำๆมา  มันจะมีแตกต่างมาก  แตกต่างมาก  เพราะคนพูดน่ะรู้  คนที่ปฏิบัติเนี่ยพูดออกมา  รู้เลยว่ารู้ได้แค่ไหน  ละได้แค่ไหน

ถาม  :              อย่างบางทีเข้าอุปจาระ  คือเราไม่รู้ว่าเราไปเข้าข้างตัวเองหรือเปล่า  ว่าตอนนี้สงบน้า…

หลวงพ่อ  :     ได้  เราไม่เข้าข้างตัวเอง  ถ้ามันสงบยังไงเนี่ย  เพราะโยมเนี่ยนะพวกเราปฏิบัติกันตลอดไปใช่ไหม  พอสงบแล้วเราใช้ปัญญาเลย  ถ้าผิด  โอ้  คราวนี้มึงหลอกกู  คราวหน้าเราต้องเข้าลึกกว่านี้อีก  เขาเล่นกันอย่างนี้นะพระปฏิบัติ  ต้องทดสอบเลย  พอมันสงบแล้วใช้ปัญญาเลย  ถ้าปัญญามันผ่านได้  เอ้อใช่  ถ้าผ่านไม่ได้  คราวหน้าต้องให้ลึกกว่านี้  มันถึงจะเดินไปได้

ถาม  :          เดี๋ยวนะครับหลวงพ่อ  อุปจาระนี่คือเรายังนึกพุทโธได้  แต่ว่ามันยังมีความคิดพวกคิดแล่บ  คิดแล่บ  อย่างนี้..

หลวงพ่อ  :     ไม่

ถาม  :          อันนั้น  ยังไม่ใช่  ใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ  :      ใช่  ถ้าคิดแล่บเนี่ยมันไม่ต่อเนื่องนะ  คิดแล่บๆเนี่ย  เพราะถ้ามันสงบนะ…  ถ้าคิดแล่บเนี่ยไม่ต้องไปคิดขนาดนั้น  ประสาเรานะลูกศิษย์ใหม่ๆนะ  จะบอกว่าหลวงพ่อบอกมาสิว่ามรรค    เนี่ยสมาธิแค่ไหน  ปัญญาแค่ไหน  (หัวเราะ)  นี่เราคิดตามวิทยาศาสตร์อีกแล้ว  ที่พูดเมื่อกี้เนี้ย  อย่าเกาะธรรมมากอภิธรรมเนี่ย  ถ้าเอาตรงนี้มาเทียบปั๊บ  เราจะติด  ไม่ต้องไปคิดอย่างนั้น  พอจิตสงบแล้วให้ใช้ปัญญา  ใช้ปัญญาแล้วมันจะต่อเนื่องกัน  เพราะมันอยู่ที่จริต  บางคนถนัดทางนู้นบางคนถนัดทางนี้  จริตนิสัยคนมันถนัดแตกต่างกันไป  ถ้าสมาธิได้ขนาดนี้เราจะใช้ปัญญาได้ขนาดนี้  เราทดสอบของเราได้  แล้วคราวนี้ได้  คราวหน้าจะไม่ได้  เพราะกิเลสมันรู้ว่าเราได้ปั๊บนะกิเลสมันเข้มขึ้น  พอเข้มขึ้นเราจะต้องใช้สมาธิมากขึ้น  เราปฏิบัติไปเนี่ยกิเลสมันจะขวางหน้าไปตลอด  มันจะขัดแย้งเราไปตลอด  อันนี้ก็เป็นอันหนึ่ง

ฉะนั้นถ้ามันเป็นอย่างนี้แล้ว  เราก็ต้องกลับ..  คือปฏิบัติไปเนี่ย  ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่ามรรค    แล้วจะฆ่ากิเลสได้ทั้งหมดหรอก  กิเลสของเรา  มันมีเข้มมีอ่อนและจังหวะและโอกาส  ที่มันจะมา  เขาเรียกว่า  กิเลสบังเงา  มันสร้างภาพนะ  โอ๊ะ..ปล่อยแล้ว  โอ๊ะ..  วางแล้ว  มันจะดึงเราให้ถลำไปเลยนะ  เป็นอย่างนี้แล้วๆๆ  แล้วเป็นอย่างนี้แล้วก็ต้องสู้กัน

การปฏิบัตินะ  ถึงต้องทดสอบ  ตรวจสอบตลอดเวลา  ถ้ามีปัญหาอย่างนี้แล้ว  ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ  ก็ถามได้เลย  ผมเป็นอย่างนี้..  อย่างนี้..แล้ว  เป็นอย่างไรครับ  อาจารย์จะรู้หมด  เพราะทุกคนจะต้องผ่านประสบการณ์อย่างนี้มา  ทุกคนจะโดนกิเลสหลอกมาทั้งนั้นเลย  แล้วไม่ใช่หลอกน้อยๆนะ  ยิ่งกิเลสละเอียดยิ่งหลอกมากกว่านี้อีก

มีอะไรอีกไหม  จะเอาแค่นี้ก่อนนะ  เดี๋ยวเราจะเอาหลักฐานมาให้ดู..