เทศน์บนศาลา

เหล่ากอพุทธะ

๓ ก.พ. ๒๕๕๔

 

เหล่ากอพุทธะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ถึงวางธรรมและวินัยนี้ไว้ ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ตรัสรู้ธรรม ธรรมทั่วๆ ไป แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาแสวงหากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขาก็ปฏิญาณตนว่าเป็นศาสดา

แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว เวลาเผยแผ่ธรรมอยู่เห็นไหม เดียรถีย์นิครนถ์ต่างๆ เขามีการต่อต้านอยู่ตลอดเวลา เพราะในสมัยนั้นเขาก็มีเจ้าลัทธิต่างๆ ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะเชื่อถือกันตามๆ นั้นไป แต่เพราะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ปฏิเสธทุกๆ แนวทางหมดว่าสิ่งๆ นั้นมันเป็นเรื่องของโลก มันข้องเกี่ยวอยู่ในโลก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาพ้นจากโลก ถ้าพ้นจากโลก.. พ้นจากโลกเพราะเหตุใด มันมีที่มาที่ไปไง “ดอกบัวเกิดจากโคลนตม” ชีวิตของเราแต่ละชีวิตนี้มันมีการผ่านเวรผ่านกรรมมา มันสร้างบุญสร้างกุศล สร้างบาปอกุศลมา เวียนตายเวียนเกิดมาตามแต่วัฏฏะ ผลของวัฏฏะเห็นไหม ผลของวัฏฏะคือการเกิดและการตาย จิตนี้ได้ผ่านเวรผ่านกรรม ผลของวัฏฏะได้สร้างสมบุญญาธิการมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้มาตรัสรู้ธรรม เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเห็นไหม นี้ว่าการตรัสรู้ธรรมเพราะเหตุใด เวลาถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ตรัสรู้ธรรม ออกจากราชวังแสวงหา ขณะที่แสวงหาอยู่ทำทุกรกิริยา ไปเที่ยวศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขามีการประพฤติปฏิบัติขนาดไหนก็ได้ทดสอบกับเขา ทำกับเขามาจนทุกวิธีการแล้ว สิ่งนั้นมันเป็นเรื่องนอกจากหัวใจ มันเป็นเรื่องนอกๆ มันเป็นความรู้สึก เป็นความนึกคิด เป็นโลกียปัญญา เป็นปัญญา เป็นฌานโลกีย์ที่เกิดจากจิต มันไม่ใช่จิต

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับมา ตั้งแต่อานาปานสติเห็นไหม เวลาจิตมันสงบเข้ามา จากทำความสงบเข้ามา จนถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณ จิตสงบแล้วรู้อดีตชาติ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ มันทำที่ไหน เวลาตรัสรู้ตรัสรู้ขึ้นมาที่หัวใจ ถ้าหัวใจนี้เวลาชำระล้างกิเลสไปเห็นไหม นี่พุทธะ นี่เหล่ากอของพุทธะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวียนตายเวียนเกิดมาเป็นพระโพธิสัตว์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมไว้ในสุตตันตปิฎก เราเคยเป็นชาตินั้น.. เราเคยเป็นกษัตริย์.. เป็นกษัตริย์เห็นไหม เป็นพ่อค้าต่าง เป็นมาทุกอย่าง การเป็นอย่างนี้ นี่เหล่ากอของพุทธะ

พุทธะในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สร้างสมบุญญาธิการมา เวลาสร้างสมบุญญาธิการมาจนถึงที่สุด นี่เพราะอำนาจวาสนาบารมี สร้างแต่คุณงามความดี คุณงามความดีนะ เป็นหัวหน้าสัตว์ เป็นกษัตริย์ เป็นจักรพรรดิ เป็นพราหมณ์ เป็นอะไรต่างๆ นี่รื้อสัตว์ขนสัตว์ด้วยการช่วยเหลือเจือจานเขามา ได้เสียสละมาทุกๆ อย่าง

เสียสละที่ว่านี้เป็นเหล่ากอ การสร้างสมบุญญาธิการเป็นเหล่าเป็นกอ เป็นสิ่งต่างๆ ขึ้นมาในหัวใจ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็ย้อนกลับมาชำระล้าง ชำระล้างสิ่งที่เกิดในหัวใจ ชำระล้างสิ่งที่เป็นอวิชชาในหัวใจ พอชำระล้างสิ่งนั้นเห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ เทศนาว่าการมาจากประสบการณ์ จากความเป็นจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วางธรรมและวินัยไว้เห็นไหม

เวลาสิ่งที่เป็นไป.. ทำไมคนคนนั้นถึงเป็นอย่างนั้น ? ทำไมคนคนนั้นถึงมีนิสัยอย่างนั้น ? ทำไมคนคนนั้นได้สมบุกสมบันกับชีวิตมาขนาดนั้น ?

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีภิกษุถามถึงปัญหา “เมื่อชาตินั้นๆ เขาเคยทำอย่างนั้น เมื่อชาตินั้นๆ” เขามีกรรมของเขา เขาได้ประสบกรรมของเขา เห็นไหมนี่สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจ นี่เหล่ากอของพุทธะ

เหล่ากอของพุทธะ การสร้างสมมามากน้อยแค่ไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ ถ้าเราได้ศึกษาธรรม ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาวางธรรมวินัยมาเป็นประเพณีวัฒนธรรม

เราชาวพุทธนะ เกิดมาในประเทศอันสมควร เกิดมาในสมัยของพระพุทธศาสนา เกิดมาจากพ่อจากแม่ พ่อแม่เป็นชาวพุทธ พ่อแม่ส่งเสริมเลี้ยงดูเรามา ได้ฝากฝัง ได้สั่งได้สอนมา ได้มีการทำมาเห็นไหม พ่อแม่เป็นครูของเราคนแรก แล้วเราศึกษาของเราด้วยจริตนิสัยของเรา โดยการกระทำของเรา

เวลาเราบวชเป็นพระเป็นเจ้าขึ้นมา ประพฤติปฏิบัติเห็นไหม แล้วบอกว่า “มรรคผลไม่มี” เวลาคนเขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อว่ามรรคผลมีนะ เขาถึงกับถอดถอนเหล่ากอของเขานะ เขาเอาโอกาสของเขาโยนทิ้งไปเลย เขาเอาโอกาส เอาความเป็นจริงของเขาโยนทิ้งไปว่าสิ่งนี้ไม่มีผล

ในการประพฤติปฏิบัติ พระที่ปฏิบัติกันอยู่ ปฏิบัติมาก็ปฏิบัติเพื่อความสุข ปฏิบัติเพื่อสร้างบารมีเท่านั้น เขาไม่เชื่อนะว่ามรรคผลมี ! เขาว่ากึ่งพุทธกาลแล้วศาสนาไม่มีมรรคไม่มีผล !

ถ้าจะมีมรรคมีผล คือมีมรรคมีผลแต่เฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาไม่เชื่อและเขาไม่เชื่อว่าตัวเขาเอง เขาไม่เชื่อว่ามนุษย์เราสามารถประพฤติปฏิบัติให้ถึงสิ้นกิเลสได้ นี่เขาทำลายเหล่ากอของเขาเอง เขาทำลายพุทธะในหัวใจของเขาเอง แล้วเวลาเขาทำคุณงามความดีหรือทำชั่วบาปอกุศลของเขา เขาก็เกิดตามเวรตามกรรมนั่นน่ะ เขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เขาก็ต้องเกิดตามเวรตามกรรมของเขา เขาทำสิ่งใดเห็นไหม

นี่พระพุทธศาสนา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้เห็นไหม

“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งสอนนะ สั่งสอนว่าให้เรามีจิตเป็นสาธารณะ ให้เรามีจิตมีเมตตา

“เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร”

ใครจะมีเวรมีกรรมมากับเรา เขาจะสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดไหน ถ้ามีสิ่งใดกระทบ ถ้ามีสติปัญญาของเรา เราจะไม่สร้างเวรสร้างกรรมต่อไปอีกแล้ว เราจะสร้างคุณงามความดีของเรา “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” เราไม่จองเวรจองกรรมกับใคร เราทำของเราเห็นไหม

แต่จิตใจของเขา ถ้าเขาไม่เชื่อของเขา นี่เขาถอนเหล่ากอของเขา เขาทำลายถึงพุทธะของเขาว่ามรรคผลไม่มี ทำส่งไปก็ไม่ได้ผล เขาใช้ชีวิตของเขาไป ใช้ชีวิตของเขาไปชีวิตหนึ่งโดยที่เขาไม่มีเหตุมีผลของเขา แต่เพราะเราเชื่อของเรา เราเกิดมามีอำนาจวาสนา เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ พ่อแม่เราถือพุทธศาสนาเราก็นับถือพุทธศาสนา

เวลาเราศึกษาขึ้นมา พุทธศาสนาสอนเรื่องสิ่งใด พุทธศาสนาสอนถึงที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ เพราะเรามีโอกาส เรามีความเชื่อของเรา เราถึงได้ออกประพฤติปฏิบัติ เราถึงมาออกแสวงหาของเรา แสวงหาอะไร แสวงหาพุทธะของเรา ถ้าผู้ใดทำความสงบของใจเข้าไปได้เขาจะเข้าไปเห็นพุทธะของเขา

ถ้าใครทำความสงบของใจของเขาไม่ได้ เขาอยู่แค่สัญญาอารมณ์ของเขา เขาอยู่กับสัญญาอารมณ์ของเขานะ แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติโดยสัมมาอาชีวะ โดยสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ งานชอบ เขาจะเชื่อครูบาอาจารย์ของเขา เพราะครูบาอาจารย์ของเขาได้ผ่านประสบการณ์ของเขา ครูบาอาจารย์ของเขาได้สั่งสอนเขามา ถ้าเขาเชื่อครูบาอาจารย์ของเขาจิตใจเขาจะลงครูบาอาจารย์ของเขา

เห็นไหม เป็นเหล่าเป็นกอนะ เราเป็นเหล่าเป็นกอ เป็นสังฆะ เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรสมาด้วยกัน แต่เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ โดยมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ในหัวใจ มันปฏิบัติมันจะผ่าเหล่าผ่ากอออกไปนะ

เวลาเราไปศึกษา เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็ผ่าเหล่าผ่ากอว่าสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง สิ่งที่เราได้ สัญญาอารมณ์ที่ได้สัมผัสนี้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม มันผ่าเหล่าผ่ากอไป ผ่าเหล่าผ่ากอนี่มันเป็นสัญญาอารมณ์ทั้งนั้น ถ้าจำสิ่งใดมาว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เห็นไหม เพราะสิ่งนี้เป็นธรรม

คำว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ในหัวใจเราเป็นธรรม พอมันเป็นธรรมขึ้นมานี่มันเกิดทิฐิ เกิดมานะ ครูบาอาจารย์มันก็ไม่เห็นหัวนะ มันจะเหยียบหัวครูบาอาจารย์มันไป ! สิ่งที่เป็นคุณธรรมมันจะเหยียบหัวครูบาอาจารย์มันไปไม่ได้ ! สิ่งใดที่มันเหยียบหัวครูบาอาจารย์นี่มันผ่าเหล่าผ่ากอไป ถ้ามันผ่าเหล่าผ่ากอนี่กิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งนั้น

เราเป็นชาวพุทธแล้วเราบวชเป็นพระเป็นเจ้า เราแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะสั่งจะสอนเรานะ เราแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ท่านจะรู้จริง เรามีความสงสัย เรามีความลังเลสิ่งใด การประพฤติปฏิบัติของเรา สิ่งที่เราทำเห็นไหม

การเดินทางไปบนถนนสายหนึ่ง ผู้ที่เดินถนนสายนั้นมาแล้วก็จะรู้อุปสรรคในถนนสายนั้นว่ามีสิ่งใดบ้าง เราจะเริ่มประพฤติปฏิบัติ เราจะเดินขึ้นไปบนถนนสายนั้น สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเรายังไม่เคยเดิน ไม่ก้าวเดิน เรายังไม่ขึ้นไปบนถนนสายนั้นเลย แต่เราได้ฟังครูบาอาจารย์เขาบอกว่าถนนสายนั้นมีอุปสรรคสิ่งใด มีการกระทำแล้วจะเป็นผลประโยชน์สิ่งใด แล้วสิ่งใดถึงเป้าหมายแล้วได้เป็นอย่างใด

เราก็ได้ยินได้ฟังมาเห็นไหม เราก็คิดว่าเราทำได้ เราก็คิดว่าเราก็มีความสามารถ เราก็คิดว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นมา มันเกิดจินตนาการไปทั้งนั้น ในเมื่อมันเกิดจินตนาการ มันเกิดสิ่งต่างๆ ขึ้นไป สุตมยปัญญาคือการศึกษาเล่าเรียน ถ้าการศึกษาเล่าเรียนนี้ การฟังธรรมนี้ก็คือการศึกษาเล่าเรียน เราได้ยินได้ฟังสิ่งนี้มาแล้วเกิดจินตนาการ จินตนาการว่าเป็นสิ่งนั้น เวลาครูบาอาจารย์บอกว่าสิ่งนั้นมันไม่สมควรทำ สิ่งนั้นมันไม่เป็นประโยชน์เพราะอะไร

นี่เหล่ากอของพุทธะ ถ้าพุทธะมันจะผ่านประสบการณ์ของมัน มันจะมีเหตุมีผลของมัน มันจะทำความสงบของใจของมัน แล้วจิตใจนั้นมันจะออกวิปัสสนา แล้วการแก้ไขสิ่งต่างๆ เขาจะรู้ของเขา ครูบาอาจารย์จะคอยชี้แนะเรา แต่เพราะทิฐิมานะของเรานะ เราผ่าเหล่าผ่ากอไง

สิ่งใดถ้ามีครูบาอาจารย์คอยบอก คอยสอน คอยแนะ ก็บอกว่าครูบาอาจารย์คอยจับผิดเรา ครูบาอาจารย์ท่านไม่ส่งเสริมเรา ทำไมครูบาอาจารย์ท่านส่งเสริมคนอื่น ท่านไม่ส่งเสริมเรา มันเกิดทิฐิมานะนะ มันจะผ่าเหล่าผ่ากอของมันไป

ถ้ามันผ่าเหล่าผ่ากอของมันไป มันเกิดจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเกิดมาทำลายทั้งนั้น มันทำลายได้ทุกๆ อย่างนะ การทำลายนั้นคือทำลายหัวใจเราก่อน ถ้ามันผ่าเหล่าผ่ากอ คนที่มีคุณกับเราเป็นครูบาอาจารย์ของเรา ถ้ายังมีอคติ ไม่มีการกตัญญูกตเวที สิ่งนั้นมันไม่เป็นธรรมหรอก ! มันเป็นธรรมไปไม่ได้ !

ถ้ามันเป็นธรรมไม่ได้ นั่นมันคืออะไรล่ะ นั่นมันคือกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วคิดดูสิ คนที่มีคุณกับเรา ครูบาอาจารย์ที่มีคุณกับเรา เราไม่เคารพบูชาท่าน เรามีแต่การโต้แย้งติฉินนินทาในหัวใจของเรา สิ่งนั้นเป็นประโยชน์กับหัวใจเราไหมล่ะ

ดูการผ่าเหล่าสิ ถ้ามันผ่าเหล่าออกไป มันผ่าเหล่าไปด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาสักอย่างหนึ่งเลย แล้วเวลาทำของเราขึ้นไปนะ เราก็มีทิฐิมานะว่าสิ่งนี้เป็นความจริง เขาพูดธรรมะเราก็พูดธรรมะได้ เขาพูดถึงสติปัญญาเราก็พูดถึงสติปัญญาได้ คำพูดก็เหมือนกันมันจะแตกต่างกันตรงไหน ?

แต่ทำไมเราพูดผิดล่ะ.. ทำไมครูบาอาจารย์บอกเราพูดผิด ทำไมครูบาอาจารย์ท่านก็พูดเหมือนเรา ทำไมท่านพูดถูกล่ะ

ครูบาอาจารย์ของท่านท่านพูดถูกนะ พูดถูกเพราะอะไร เพราะท่านเดินบนถนนสายนั้นมา ท่านเคยขึ้นไปบนถนนสายนั้น ท่านมีญาณของท่าน ท่านมีกำลังของท่าน ท่านมีสติปัญญาของท่าน ได้ผ่านบนถนนสายนั้นมา นี่สิ่งที่ผ่านถนนสายนั้นมาท่านก็เห็นของท่านโดยความเป็นจริง

แต่ของเรามันเป็นสัญญาอารมณ์ มันเป็นการสร้างภาพ มันเป็นการสร้างภาพขึ้นมา มันเป็นความจริงอย่างนั้นไหมล่ะ ถ้ามันไม่เป็นความจริงขึ้นมา ครูบาอาจารย์ท่านคอยบอกคอยชี้แนะเรา สิ่งนั้นเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ล้วนๆ ถ้าเป็นประโยชน์เพราะอะไร เพราะเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากใช่ไหม

ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นครูเอกของโลก นี่พุทธะเกิดครั้งแรก เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสงฆ์องค์แรกของโลก นี่ไง นี่เหล่ากอของพุทธะ เหล่ากอของครูบาอาจารย์ของเรา เหล่ากอของสัมมาทิฐิที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเพื่อชำระล้างกิเลส

สิ่งนี้มันมีมาเพราะความรู้จริงของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติเป็นหลักเป็นเกณฑ์ขึ้นมาแล้ว เราก็แสวงหา เราอยากพ้นจากทุกข์ เราหาครูบาอาจารย์ของเรา ให้ครูบาอาจารย์ของเราเป็นผู้ชี้แนะนำเรา แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นไป จิตใจเรามีทิฐิมานะ มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากขึ้นมา ครูบาอาจารย์คอยชี้แนะ มาคอยบอกเรา มันเป็นโทษที่ไหน ? มันเป็นโทษเพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราไง

ต้องการให้ครูบาอาจารย์คอยโอ้โลมปฏิโลม คอยเอาอกเอาใจไง สิ่งที่เอาอกเอาใจ เอาอกเอาใจมันเป็นทางเป็นกิเลส มันก็เป็นกิเลสล้วนๆ เวลาจิตใจมันผ่าเหล่าผ่ากอไปมันไม่รู้จักตัวเอง ตัวจิตใจของตัวเองมันต่ำทราม มันกลับเห็นว่าครูบาอาจารย์นี้เป็นผู้ที่ทำผิดกับเรานะ เห็นว่าคนอื่นทำผิดไปกับเราหมดเลย แต่ในหัวใจของเรามันต่ำทรามของมันไปเอง เพราะมันผ่าเหล่าผ่ากอของมันออกไป

นี่สิ่งที่เกิดทิฐิมานะ พอเกิดทิฐิมานะขึ้นมาเห็นไหม ดูสิ ดูพระเทวทัตสิ แม้แต่เกิดก็เกิดเป็นสหชาติ การเกิดสหชาติคือเป็นญาติ แล้วเวลาบวชขึ้นมาเป็นลูกศิษย์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งสอนขึ้นมา ทำไมมันผ่าเหล่าออกไปขนาดนั้น มันผ่าเหล่าออกไปว่าเราก็เสมอกัน ความรู้ก็เสมอกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอายุพรรษามากแล้วควรจะทอดธุระได้แล้ว วางสงฆ์นะให้ฉันเป็นคนปกครอง นี่มันผ่าเหล่า !

เหล่ากอของพุทธะมันมีเหตุมีผลนะ เหล่าของพุทธะมันจะชำระกิเลส สิ่งนี้มันเป็นประโยชน์มาก แต่เพราะกิเลสมันตัวร้ายกาจนัก กิเลสมันอยู่กับเราในหัวใจ มันผ่าเหล่าผ่ากอ แล้วมันผ่าเหล่าผ่ากอ แล้วมันก็ถือทิฐิมานะว่าสิ่งนั้นเป็นความถูกต้องของมันด้วยความเห็นของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วถ้าไม่ได้ดั่งใจเห็นไหม ไม่ได้ดั่งใจก็พยายามทำของเขา แต่สุดท้ายเทวทัตเขาก็ยังสำนึกตนได้

คำว่าสำนึกนี่มันจะเคารพในธรรมในหัวใจของตัว เคารพสิ เพราะอะไร เพราะสติปัญญา สัมมาทิฐิความเห็นถูกต้อง สิ่งใดที่เป็นความถูกต้อง เป็นความอ่อนน้อมถ่อมตนมันทำให้กิเลสยุบยอบลง ให้จิตใจมันมีความสงบได้ ถ้าจิตใจมันมีความสงบร่มเย็นขึ้นมามันจะไม่ผ่าเหล่าผ่ากอเห็นไหม เหล่ากอของพุทธะมันเกิดตรงนั้น ถ้าเหล่ากอมันเริ่มเกิดตรงนั้นมันจะย้อนเข้ามาสู่ความดี ถ้ามันทำคุณงามความดี ถ้าจิตใจเป็นธรรมนะ

ถ้าจิตใจไม่เป็นธรรม ถ้ามันผ่าเหล่าออกไปแล้วมันก็กลับมาทำลาย สิ่งที่ทำลายครั้งแรกสิ่งแรกคือทำลายโอกาสของตัว ทำลายชีวิตของตัวเห็นไหม ดูสิเวลาถ้าเขาไม่เชื่อถึงมรรคผล เขาขุดรากถอนโคนคุณงามความดีของชาตินี้ของเขาไป แต่เหล่ากอของพุทธะนั้นมันก็ต้องเวียนตายเวียนเกิดเป็นธรรมชาติของมัน

ดูสิพวกลัทธิต่างๆ เห็นไหม ที่เขาไม่เชื่อพุทธศาสนาเขาก็ทำของเขาไป เขาก็อยู่ของเขาไป นี่เกิดในประเทศอันไม่สมควร ทั้งๆ ที่เกิดในโลกนี้เหมือนกัน พุทธศาสนาก็มี แต่เขาถือลัทธิอื่น เขาไม่ถือพุทธศาสนา นับถือพุทธศาสนาขึ้นมาแล้วถ้าปฏิบัติไป ถ้ากิเลสตัณหามันเหนียวแน่นมันก็ยังผ่าเหล่าผ่ากอออกไปนะ

แล้วเกิดถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาแล้วจิตใจเราอ่อนแอ จิตใจเราไม่มีกำลังพอเห็นไหม นี่มันก็ผ่าเหล่าผ่ากอไปทางหนึ่ง มันก็เกิดทิฐิมานะเหยียบย่ำ เหยียบย่ำว่าทำก็เหมือนกัน ทุกอย่างก็เหมือนกัน ทำไมไม่ยอมรับ ทำไมไม่ยอมเห็นความเป็นจริงอันนั้น นี่มันผ่าเหล่าผ่ากอโดยทิฐิมานะ

แต่ถ้ามันอ่อนแอล่ะ เราก็จะอ่อนแอ จิตใจนี่เห็นไหม ดูสิ พูดถึงในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาจะตรัสรู้ธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้อง ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เวลาจะเป็นพระอรหันต์ เวลาจะสิ้นสุดจากกิเลสมันต้องมีอำนาจวาสนาบารมีขึ้นมา หนึ่งแสนกัป พอไม่ถึงหนึ่งแสนกัป มันก็สร้างมาทุกคน

คำว่าแสนกัปไม่แสนกัปมันจะนับเริ่มต้นจากตรงไหน แต่เพราะว่าการเกิดการตาย การเวียนตายเวียนเกิด ผลของวัฏฏะมีการเกิดการตายตลอดเวลา ฉะนั้นสิ่งที่จิตใจเราปฏิบัติแล้วถ้าจิตใจเราอ่อนแอ จิตใจเราไม่เข้มแข็งพอ ทำสิ่งใดมันก็น้อยเนื้อต่ำใจ ทำสิ่งใดก็ขาดตกบกพร่อง จิตใจเราจะขาดตกบกพร่องตลอดไป

ทำไมเราทำไม่ได้.. ทำไมเราทำสิ่งนั้นแล้วไม่สมความปรารถนา.. ทำไมเราทำสิ่งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ..

ประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จนี่ใครเป็นคนบอกล่ะ

นี่จิตใจเราเห็นไหม ดูสิเวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านได้ผ่านถนนสายนั้นมา ท่านได้ล้มลุกคลุกคลานมา ท่านได้กระทำมา แล้วของเราเราจะขึ้นถนนสายนั้น เราจะมียานพาหนะอะไรขึ้นไป เราจะหาความสุข เราจะหาหัวใจของเราได้อย่างไร

ในการประพฤติปฏิบัตินะ คนเกิดอะไรพาเกิด ปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตเห็นไหม เวลาเกิดในไข่ เกิดในน้ำคร่ำ เกิดในโอปปาติกะเห็นไหม เกิดในไข่ เกิดในครรภ์... กำเนิด ๔ จิตปฏิสนธิมันเป็นตัวเกิด ตัวเกิดและตัวตายเห็นไหม ดูสิเวลาเกิดขึ้นมาได้ร่างของมนุษย์นี้มา เวลาเกิดขึ้นมา เกิดในไข่ เกิดในครรภ์ นี่แค่น้ำมันข้นน้ำมันใสเท่านั้นนะ ถ้าปฏิสนธิจิตมันเข้าไปแล้ว มันจะกำเนิดต่อเนื่องกันไปจนเกิดเป็นทารกในครรภ์ จนคลอดออกมาเป็นเราเห็นไหม

อะไรมันพาเกิด จิตมันพาเกิด ความกำเนิดเกิดมาจากไหน เกิดมาจากจิต ถ้าจิตมันกำลังเกิดขึ้นมา เวลาเราเกิดมาแล้ว จนเราโตมาเป็นผู้ใหญ่ จนมาบวชเป็นพระ จนมาประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้เกิดมาเพราะเราศึกษาธรรม นี่เป็นเหล่ากอ เหล่ากอเพราะเราเป็นบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนานี้ไว้ ศาสนานี้ให้เรารักษา แล้วศาสนามันอยู่ที่ไหนล่ะ ศาสนามันอยู่ในตู้พระไตรปิฎกใช่ไหม ศาสนามันอยู่ในประเพณีวัฒนธรรมใช่ไหม

สิ่งนั้นมันเป็นเพราะโลกเขาคิดกันอย่างนั้น โลกเขาเห็นกันอย่างนั้นไง แต่ดูสิศาสดาองค์เอกของโลกคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วางธรรมวินัยมา ๒,๐๐๐ กว่าปี หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นของเรามารื้อค้น พยายามทดสอบ-ตรวจสอบขึ้นมาจนเป็นความจริงขึ้นมาในใจของหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น

ท่านก็สั่งสอนเราให้ประพฤติปฏิบัติใช่ไหม พอเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สายพระป่าของเราเห็นไหม เหล่ากอของพุทธะ เหล่ากอจากหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น เหล่ากอจากครูบาอาจารย์เรามา เป็นเหล่าเป็นกอมา เหล่ากอมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจากความเป็นจริงขึ้นมา

สิ่งที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมเราก็สาธุ สิ่งนี้มันเป็นเรื่องของสังคม เราเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมใช่ไหม เราเกิดมาเราก็ต้องมีที่พึ่งที่อาศัยเห็นไหม มีชาติ มีตระกูล มีครอบครัว มีตำบล มีหมู่บ้านเป็นประเทศชาติขึ้นมา สิ่งนี้มันก็ต้องมีการปกครอง เราอยู่ขึ้นมา เราอยู่กับโลก เราเกิดมากับโลก

“ดอกบัวเกิดจากโคลนตม” เราเกิดมาในสังคม สังคมเขามีประเพณีวัฒนธรรม เป็นชาวพุทธ เราก็เกิดมาเป็นเหล่ากอของชาวพุทธ เหล่ากอชาวพุทธเราก็ทำให้มันมั่นคงขึ้นด้วยความมั่นคงของใจ เราจะพ้นจากทุกข์เห็นไหม เวลาเกิดอะไรพาเกิด จิต ปฏิสนธิจิตมันพาเกิด

ทีนี้ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ดูสิเราก็ศึกษาเล่าเรียนขึ้นมาตามประเพณีวัฒนธรรม ศึกษาขึ้นมาจนได้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เราได้เปรียญธรรม ประโยคกี่ประโยค ร้อยประโยคก็แล้วแต่ สิ่งนั้นก็เป็นการศึกษาเห็นไหม นี่ไปศึกษาจากภายนอก เหล่ากอมันอยู่ไหน เหล่ากอที่กำเนิดความรู้ก็ไม่รู้อยู่ไหน เหล่ากอมันอยู่ที่ไหน เหล่ากอมันคือปฏิสนธิจิต คือสิ่งที่มีชีวิตไง

สิ่งที่มีชีวิตนี้ ดูสิ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ก็สะสมมาจากหัวใจดวงนี้ หัวใจดวงนี้สะสมขึ้นมาจนมีอำนาจวาสนา มีบารมีขึ้นมา จนรื้อค้นขึ้นมาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ไป เป็นศาสดาของเรา วางธรรมและวินัยไว้ให้เราก้าวเดิน

วางธรรมวินัยนี้คอยสั่งสอนเรา ธรรมวินัยนี้ศึกษากันมา จดจำกันมา ศึกษากันมา รักษากันมาจนเป็นประเพณีวัฒนธรรม ผิดจากประเพณีวัฒนธรรมในสิ่งนี้ไปไม่ได้เลย สิ่งนั้นมันจะเป็นธรรมขึ้นมาได้อย่างไร สิ่งนี้มันเป็นความรู้สึก เป็นความนึกคิดออกมาจากใจ แล้วเรามีความเชื่อมั่นเห็นไหม

เพราะเรามีครู เรามีอาจารย์ เรามีเหล่ากอของพุทธะ ! เหล่ากอของเรามี หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นเรามี ครูบาอาจารย์ของเรามีใช่ไหม ท่านพาประพฤติปฏิบัติใช่ไหม เราก็มาประพฤติปฏิบัติกันอยู่

นี้มาประพฤติปฏิบัติอยู่นี่ นี่เห็นไหม ดูสิถนนสายนี้ที่ครูบาอาจารย์ท่านเดินไปแล้ว เราจะเอาสิ่งใด ยานพาหนะใดขึ้นสู่ถนนสายนั้น นี้เราประพฤติปฏิบัติ เราพยายามทำความสงบของใจ ใจมันก็ไม่สงบ ใจเราก็อ่อนแอ ใจเราก็ไม่มีกำลังของเราสักที สิ่งนี้เห็นไหมดูสิ เวลาผ่าเหล่าด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ด้วยทิฐิมานะ มันก็เหยียบย่ำครูบาอาจารย์ของมันไป

เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาด้วยหัวใจของเราที่มันอ่อนแอ เราก็ว่าครูบาอาจารย์ท่านพูดเกินกว่าเหตุไปหรือเปล่า.. ครูบาอาจารย์ท่านพูดอย่างนั้นจะเป็นความจริงไหม.. เราปฏิบัติจะได้สมกับที่ครูบาอาจารย์พูดหรือเปล่า...

สิ่งนี้มันจะเกิดขึ้นมา เพราะเรายังประพฤติปฏิบัติไม่ถึงที่เป็นสันทิฏฐิโก ถึงที่ได้เป็นปัจจัตตัง เราจะมีความสงสัยไปหมด สิ่งที่เป็นความสงสัยเราไม่ต้องไปลังเลกับความสงสัยนั้น ความสงสัยในหัวใจนี่เห็นไหม นิวรณ์ธรรมปิดกั้นแม้แต่สมาธิ การทำใจให้สงบก็ลังเลสงสัย ทำสิ่งใดก็มีความละล้าละลัง ทำสิ่งใดก็ไม่มีความมั่นคงสักที ถ้าจิตใจที่มันแข็งกระด้างจนเป็นตัณหาความทะยานอยาก มันก็เหยียบย่ำทำลายครูบาอาจารย์ไปส่วนหนึ่ง นี่มันแหวกแนวออกไป

แต่เวลามันแตกหน่อแตกกอออกไปทำลายหน่อของพุทธะของตัวเองก่อน ทำลายหน่อของพุทธะ ทำลายเหล่ากอพุทธะ ทำลายหมดเลย เพราะมันจะทำลายคนอื่นก็เท่ากับทำลายตัวเอง เพราะปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตมันเป็นคนคิด ปฏิสนธิจิตมันเป็นคนกระทำ มันมีเจตนากระทำแล้วผลมันจะไปไหน ทำดีหรือทำชั่วมันก็กลับสู่ใจดวงนั้น

ครูบาอาจารย์เราก็เป็นครูบาอาจารย์ของเราวันยังค่ำ เพราะครูบาอาจารย์ของเราท่านได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมา ท่านสั่งสอนเราก็เพื่อประโยชน์กับเรา ไม่ได้ประโยชน์กับท่าน ท่านเป็นผู้ที่ทำ นี่ประโยชน์ของครูบาอาจารย์กับประโยชน์ของเรา ก็คือการประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าเราปฏิบัติได้ผลของเราก็เป็นผลของเรา แล้วครูบาอาจารย์ท่านก็ประพฤติปฏิบัติของท่านมาแล้ว ท่านผ่านพ้นไปแล้วมันจะมีสิ่งใดไปกระทบตัวท่าน มันจะไม่เข้าไปถึงใจของท่านเลย มันเป็นไปไม่ได้ที่จะไปกระเทือนของท่าน โลกธรรม๘ ท่านผ่านไปแล้ว ท่านเหยียบย่ำไปแล้ว

เพียงแต่เป็นทิฐิมานะของเรา ! เพราะเราเห็นผิด ! เราเห็นผิดว่าท่านไม่สงเสริมเรา ท่านไม่เยินยอเรา เราก็เหยียบย่ำท่านไป มันก็มาทำลายพุทธะของเราเห็นไหม ทำลายหัวใจของเรา ทำลายอะไร ทำลายโอกาสไง

ดูสิ เทวทัตเวลาเขาผลักก้อนหินใส่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนั้นเป็นอนันตริยกรรมเลย ถ้าเราคิดไม่ดีมันก็ผลักความรู้สึก ผลักอารมณ์ความรู้สึกว่าอาจารย์เราไม่ดีอย่างนั้น.. อาจารย์เราไม่ดีอย่างนี้.. มันก็ผลักอารมณ์ มันก็เหมือนก้อนหิน ทุ่มเข้าไปๆ ทุ่มไปที่ไหน ทุ่มเข้าไปในใจของตัวเอง นี่ไง คำว่าทำลาย

แต่นี่จิตใจเราไม่ได้คิดทำลาย เราเคารพบูชา แต่เราประพฤติปฏิบัติทำไมมันไม่สมความปรารถนา คำว่าสมความปรารถนาหรือไม่สมความปรารถนานี่เห็นไหม นี่นิวรณ์ธรรม สิ่งที่เราทำเราตั้งใจของเรา เป็นสมาธิจริงๆ มันเป็น ถ้ามีเราบวกเข้าไปว่าเราจะเป็นสมาธิอย่างนั้น เราจะมีสติอย่างนั้น… ไม่มีหรอก ! ไม่เป็น !

ไม่เป็นเพราะอะไร เพราะมันแบ่งเป็นสองเป็นสาม สัญญาอารมณ์กับเรา ความรู้สึกนึกคิดกับเรา คำว่าเราคือผู้รู้ พุทธะ พุทธะมีอยู่ทั่วไป พุทธะมีอยู่ในสัตว์..

พุทธะมีอยู่ทั่วไป แต่นิพพานไม่มีหรอก !

นิพพาน.. ที่ว่านิพพานมีอยู่แล้ว ไม่มี ! พุทธะมี สัตว์มันมีพุทธะคือมันมีจิตไง พุทธะอยู่ในขี้ พุทธะอยู่ในสัตว์ ในมด นั่นพุทธะ สิ่งต่างๆ นี้ เพราะไม่ต้องการให้เกิดทิฐิมานะ ฉะนั้นเราก็เหมือนกัน เราก็มีพุทธะ

นี่เหล่ากอของพุทธะ เราจะรักษาของเราอย่างไร เราจะตั้งสติของเราอย่างไร เรามีสติปัญญาของเรานะ เราดูแลของเรา เหล่ากอเห็นไหม เรามีหมู่มีคณะ มีครูมีอาจารย์เป็นเหล่าเป็นกอมา เราก็เป็นหนึ่งในเหล่าในกอนั้น มีความสามัคคี มีความมุมานะ มีการกระทำขึ้นมา

ดูสิ ดูเวลากอไผ่เห็นไหม มีบางลำที่ว่าอายุหลายปี บางลำก็เพิ่งแทงหน่อขึ้นมา บางลำก็อายุมากปีสองปี มันมีของมัน จิตใจเราก็เหมือนกัน ในเหล่าในกอของเรา เรามีครูมีอาจารย์ เรามีอะไรต่างๆ เราเพิ่งโผล่มา เราเพิ่งแตกหน่อมา มันเพิ่งปีสองปีลำไม้มันยังอ่อนอยู่ เราก็อยู่อาศัย เราอาศัยแรงลมมาปะทะ เราอยู่กับเหล่ากอของเราเห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน เราอยู่กับหมู่คณะของเรา เราอยู่กับครูบาอาจารย์ของเรา เราก็ตั้งใจทำของเรา ถ้าเราตั้งใจทำของเราเห็นไหม ดูสิวันเวลามันผ่านไป กอไผ่นั้นลำไผ่นั้นจะอายุมากขึ้นไปเรื่อยๆ พออายุมากขึ้นไปอย่างเรามาปฏิบัติเห็นไหม อายุพรรษาเรามันจะมากขึ้นไปเรื่อยๆ ผู้ที่ปฏิบัติอายุเราจะแก่ขึ้นไปเรื่อยๆ ต่อปีๆ ไปเรื่อยๆ อันนี้มันเป็นเรื่องของผลของวัฏฏะ เรื่องของกาลเวลา

แต่ถ้าจิตใจของเรานะ ความคิด ความรู้สึก ความนึกคิดถ้ามันมี เรามีสติปัญญาพอไหม เรากำหนดของเราให้เป็นความจริงจังของเรา มันจะสงบเข้ามาได้นะ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา สงบเข้ามาเห็นไหม นั่นล่ะ ความสงบจริง

ถ้าจิตมันสงบเข้ามามันมีความรับรู้สึก พุทโธก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ความที่ว่าจิตสงบ กับจิตเสื่อม หรือว่าจิตไม่สงบ แตกต่างกันอย่างไร ถ้าจิตสงบเห็นไหม เรามีความร่มเย็นเป็นสุขเพราะเราบวชมา เราประพฤติปฏิบัติมา เราต้องการชำระล้างกิเลส กิเลสตัณหาความทะยานอยากคืออวิชชา ความไม่รู้สึกตัวมันเองพาให้เราเกิดในกำเนิด ๔ แล้วปัจจุบันนี้เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เราเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วได้บวชเป็นพระ เราเกิดมาเป็นมนุษย์เราได้ประพฤติปฏิบัติเห็นไหม นี่กำเนิด ๔

ฉะนั้นสิ่งที่กำเนิด ๔ เราแก้กันที่หัวใจนี้ เราแก้กันที่พุทธะนี้ ถ้าพูดถึงพุทธะเห็นไหม ปัญญาอบรมสมาธิหรือคำบริกรรม ถ้ามันสงบเข้ามา ความสงบนี้จะทำให้จิตใจมีกำลัง ความสงบนี้มันจะเป็นธรรม ความเป็นธรรมเพราะว่าสิ่งที่ว่ามันสงบเข้ามามันจะใช้ปัญญาออกไป

ปัญญาเกิดจาก... ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิ ปัญญาที่การชำระล้าง เวลามันเกิดขึ้นมามันเห็นคุณค่านะ มันมีความตื้นตันในหัวใจนะ มันมีความตื้นตันว่าสิ่งที่เราใช้ปัญญา เราใช้ความรู้สึกนึกคิดกันแต่เดิม ความรู้สึกมันเป็นสัญชาตญาณมันเป็นวิชาชีพ คำว่าวิชาชีพเป็นวิชาชีพทางโลก ทางโลกเขามีวิชาชีพสิ่งใดเขาจะประกอบสัมมาอาชีวะตามวิชาชีพของเขา

เวลาจิต เวลาความคิดมันเกิดจากจิต มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันเกิดขึ้นมาในหัวใจโดยธรรมชาติของมัน สิ่งนี้มันเป็นธรรมชาติของมัน แต่เพราะเราอยู่กับความรู้สึกนึกคิดแล้วเราไม่เคยเข้ามาเห็นถึงความคิดกับตัวจิตที่มันสงบ เราก็เลยไม่เห็นว่าตัวจิตของเรา พอไม่เคยเห็นตัวจิตของเรา เราก็บอกว่าเราไม่มีอำนาจวาสนา เราไม่มีกำลังพอ เราเป็นคนอ่อนด้อย สิ่งที่เราไม่มีกำลังพอเราทำไม่ได้

แล้วถ้าคนที่อ่อนไปกว่านี้เขาก็จะบอกว่ามรรคผลไม่มี ทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ ทำงานจนทุกข์ยากขนาดนี้มันจะไม่เกิดเป็นผลประโยชน์กับเรา แล้วเราจะไปทำความสงบเฉยๆ เราไปทำอย่างนี้ มันจะไปทำความสงบแล้วมันจะได้ประโยชน์สิ่งใดกับเรา เห็นไหม มันปฏิเสธตั้งแต่เริ่มต้น

คนเรานะ ดูสิในการที่เราสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง เวลาเราขุดดิน ขุดต่างๆ เพื่อจะวางรากฐาน เขาให้ใครทำ แล้วเวลาสำเร็จเป็นบ้านเป็นเมืองใครเป็นคนจัดการ นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่หัวใจมันจะเริ่มทำความสงบของใจเข้ามา มันต้องมีเหตุมีผลของมัน ถ้ามีเหตุมีผลของมันนะ สิ่งที่เรามีสติมีปัญญาขึ้นมา เวลามันสงบเข้ามาเห็นไหม ความที่จิตมันสงบแล้วถ้าเกิดปัญญา

การเกิดปัญญาที่มันสะท้อนใจ.. มันสะท้อนใจเพราะสิ่งใด สะท้อนใจว่าถ้ามันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาที่มันยังเกิดขึ้นโดยความรู้สึกนึกคิดเราโดยปกติ แล้วเราไม่มีสติปัญญาแม้แต่จะตรวจสอบมันว่าสิ่งใดเป็นเราหรือไม่เป็นเรา สิ่งใดเป็นความคิด สิ่งใดเป็นตัวจิต สิ่งใดเป็นความสงบ สิ่งใดเป็นความฟุ้งซ่าน เราไม่มีสติปัญญาจะแยกแยะสิ่งใดเลยว่าสิ่งนั้นเป็นเราไปทั้งหมด

พอสิ่งนั้นเป็นเราไปทั้งหมด เราจะมาจับต้นชนปลายไม่ได้ พอจับต้นชนปลายไม่ได้เราก็ล้มลุกคลุกคลาน ล้มลุกคลุกคลานก็บอกว่า ไม่มี.. มรรคผลไม่มี.. ได้ปฏิบัติแล้วไม่เห็นมีอะไรเลย ได้ปฏิบัติแล้วมันไม่เป็นไปตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนเลย มันไม่มีอะไรเป็นจริงสักอย่าง มีแต่เขียนเสือให้วัวกลัว หลอกกันอยู่เฉยๆ นี่ถ้าจิตใจมันอ่อนแอ

แต่ถ้าจิตใจมันมีกำลังของมันขึ้นมา จิตใจมันมีกำลังมีสติปัญญา แล้วเราได้สร้างอำนาจวาสนามาแล้ว ถ้าเราไม่ได้สร้างอำนาจวาสนามา เราจะไม่มีความสนใจในการประพฤติปฏิบัติ

งานในการอาบเหงื่อต่างน้ำทุกคนว่ามันเป็นเรื่องความทุกข์ความยาก งานในการบริหารจัดการเห็นไหม ความรับผิดชอบ แล้วงานทางโลกกับงานทางธรรม งานทางโลกเขาอาบเหงื่อต่างน้ำ เขาทำแล้วไม่มีวันจบสิ้น กระบวนการในการบริหารจัดการในงานของเราไม่เคยจบ จนต้องส่งต่อๆ กันไปให้คนมารับช่วงต่อไปนะ

แต่ในการประพฤติปฏิบัติ เวลาเราปฏิบัตินี่คืองานอันละเอียดไง งานละเอียดคือว่าตั้งสติแล้วรักษาความรู้สึกนึกคิดให้มันเป็นหนึ่ง ให้มันวางได้ ให้มันวางสัญญาอารมณ์ได้ สัญญาอารมณ์กับพลังงานเห็นไหม สัญญาอารมณ์กับจิต นี่มันเป็นสอง เป็นสองนี้เป็นสองอยู่แล้ว แล้วมันเคลื่อนออกไปเราก็ไม่มีสติปัญญาทันมันเลย เราไม่มีสติปัญญาทันมันแล้วเราก็ยังอ่อนแอ เราบอกเราทำไม่ได้ เราเกิดมาอำนาจวาสนาน้อย มันก็อ่อนแออยู่แล้ว แล้วกิเลสเห็นไหม เวลาคิดสิ่งนี้มา นี้อะไรคิด ? กิเลสพาคิด

แต่ถ้าเวลาเป็นธรรมล่ะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็เกิดมาเป็นมนุษย์ จะได้เป็นกษัตริย์ ดูสิ ไปเที่ยวสวนเห็นไหม เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ท่านยังสลดสังเวช ท่านยังเอาสิ่งนี้มาเป็นความดลใจให้ออกประพฤติปฏิบัติจนเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เรากราบไหว้กันอยู่นี้ เวลาเขามีความรู้สึกนึกคิดอย่างนั้นเขายังสะท้อนใจเข้ามา

แล้วชีวิตของเรามันมีความทุกข์ มันมีผลกระทบขนาดไหน แล้วจิตใจของเรา เราก็เป็นมนุษย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์ ครูบาอาจารย์เราก็เป็นมนุษย์ แล้วท่านก็ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนท่านพ้นกิเลสไป แล้วเราล่ะ เราต้องทำได้สิ ถ้าเราทำได้ เรามีสติปัญญาขึ้นมา มันก็จะตั้งสติ

จะล้มลุกคลุกคลาน เห็นไหม “ดอกบัวเกิดจากโคลนตม” ความล้มลุกคลุกคลาน จิตใจเรายังอ่อนด้อย จิตใจเรายังไม่มีกำลัง “ดอกบัวจากโคลนตม” นี่คือตมไง คือขี้ตม ขี้โคลน สิ่งต่างๆ นี้ล้มลุกคลุกคลานอยู่นี้มันเปรอะเปื้อนอยู่ในหัวใจของเรา เราก็ตั้งสติ

งานอันละเอียดนะ งานพ้นจากทุกข์นะ งานที่เราจะไม่มาเกิดมาตายนะ เวลาเกิดปฏิสนธิจิตมาเกิด เวลาเราชำระล้างเราต้องกลับไปชำระล้างที่จิต นี่ไงเหล่ากอของพุทธะ เราเวียนตายเวียนเกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นล่ะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย นี่เหล่ากอสร้างสมบุญญาธิการมา นี่คือเหล่ากอพุทธะ เหล่ากอพุทธะในสังคม ในการเกิดเป็นมนุษย์ ในการบวชเป็นพระเป็นเจ้า แล้วการประพฤติปฏิบัติเราก็มีหมู่มีคณะ นี่คือเหล่ากอจากโลก เหล่ากอในหัวใจนะ เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะ พิจารณาธรรมจักรตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจนมีดวงตาเห็นธรรม

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

เหล่ากอมันจะเกิดในหัวใจของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ชี้บอกทาง แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความสุขมาก ในเมื่อมีคนที่เป็นพยานที่รู้สิ่งนี้ขึ้นมาได้ ฉะนั้นสิ่งที่มันจะเป็นจริงกับเราขึ้นมา เราศึกษามาเป็นประเพณีวัฒนธรรม เราศึกษามาเป็นปริยัติ ปัจจุบันนี้เราจะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง แล้วถ้าจิตใจมันเป็นจริงขึ้นมาเห็นไหม มันจะซาบซึ้ง ซาบซึ้งจากหัวใจของเรา แล้วจะซาบซึ้งครูบาอาจารย์มาก ถ้าจิตมันเป็นธรรมนะ มันจะซาบซึ้งครูบาอาจารย์มาก

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เวลาท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นไป จะไปรู้สิ่งใด หลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์ท่านรู้หมดแล้ว ท่านบอกไว้แล้ว บอกไว้เป็นคติธรรม แต่เราไม่เข้าใจ พอเราไปเจอสิ่งใดเข้าก็แล้วแต่ มันเป็นอันนั้น.. มันเป็นอันนั้น... นี่มันซาบซึ้งว่าครูบาอาจารย์ท่านรู้หมดแล้ว แต่เรานี่ไม่รู้

แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไป เราไปรู้สิ่งนั้นมันสะเทือนใจนะ สะเทือนใจเพราะว่า ถ้าจิตมันสงบมันมีกำลังของมัน เราก็จะรู้ของมัน แต่ในปัจจุบันนี้เราบอกจิตเราไม่สงบ จิตเราฟุ้งซ่าน จิตเราไม่มีกำลังต่างๆ สิ่งนี้เรารู้ได้ เรารู้ได้เพราะมันไม่มีไง แต่ถ้าเวลามันมีขึ้นมาล่ะ มันมีขึ้นมาเห็นไหม พอเวลาคนทำความสงบของใจ พอทำความสงบของใจ ความสงบมันเป็นอนิจจัง เดี๋ยวก็เสื่อม เดี๋ยวก็เจริญ เจริญแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ แล้วมันจะอยู่ของมันอย่างไรล่ะ

เสื่อมก็เป็นคติธรรมอันหนึ่ง เจริญก็เป็นความสัมผัส เป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโกอันหนึ่ง แต่ความที่เจริญ ความที่มั่นคงนี้ทุกคนก็ปรารถนา ทุกก็อยากจะให้มันเจริญและมั่นคงตลอดไป แต่ในความเป็นจริงมันมีอยู่หรือเปล่าล่ะ

ในความเป็นจริง “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” ถ้าเหตุผลมันไม่สมควร “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ถ้ามันสมควรแก่ธรรม เราปฏิบัติสมควรแก่ธรรม เหตุผลมันต้องเป็นอันนั้น

ในการประพฤติปฏิบัติทุกคน ทุกจริตนิสัย เวลาทำความสงบของใจมันก็คือสัมมาสมาธิ สมาธิเหมือนกัน เวลามันออกใช้ปัญญาในการใคร่ครวญ ในกาย เวทนา ในจิต ในธรรม มันก็เป็นปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิเหมือนกัน แล้วเวลาพิจารณาไปแล้วมันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคนว่า ขิปปาภิญญานี้ปฏิบัติทีเดียวตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยก็มี ปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็มี อันนี้มันมีพื้นฐานมาจากการสร้างบุญกุศล มีอำนาจวาสนาของแต่ละบุคคลมา

ฉะนั้นโดยข้อเท็จจริง สมาธิก็คือสมาธิ ปัญญาก็คือปัญญา ฉะนั้นเส้นทางนั้นที่ครูบาอาจารย์ท่านเดินผ่านไปแล้ว เราจะขึ้นสู่เส้นทางนั้น ถ้าขึ้นสู่เส้นทางนั้นด้วยหัวใจที่เคารพนบนอบนะ

เราเป็นคนหลงป่าแล้วมีนายพรานป่าเดินออกจากป่าไป ทั้งๆ ที่นายพรานป่านั้นเขาเดินออกจากป่าไปด้วยวิชาชีพของเขา เราหลงป่าอยู่ เราเห็นนายพรานป่าเดินอยู่นั่น เราเดินตามนายพรานป่านั้น ออกจากป่านั้นไปด้วยความหลงของเรา นายพรานป่านั้นจะมีบุญคุณกับเราไหม

ถ้าเราหลงป่านะ เราหลงป่าเราถึงกับเสียชีวิตได้ แต่มีนายพรานที่เขาชำนาญป่า เขาเดินออกจากป่านั้นไป เราได้เดินตามรอยนั้นเขาออกไปพ้นจากป่านั้น ชีวิตนี้เรารอดมาได้ ในการประพฤติปฏิบัติครูบาอาจารย์ของเราท่านเดินพ้นออกไปแล้ว แล้วเราเดินตามมา เรามีช่องทางอยู่ เราจะตามรอยทางนั้นไปเพื่อจะออกจากป่านั้นไหม ถ้าเราเกิดทิฐิมานะ เราว่าเรารู้แล้ว เราไม่เดินตามไป เรานั่งอยู่นั่น เราออกนอกลู่นอกทางไป เราแหกเหล่าแหกกอไป แต่เราบอกว่าเราพ้นจากป่า มันเป็นไปได้จริงไหม

ถ้ามันเป็นไปได้จริง นั้นเป็นคติ เป็นเรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เราเอามาสั่งสอนเรา แล้วเรามาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ครูบาอาจารย์ท่านเดินป่าไปแล้ว ท่านผ่านป่าไปแล้ว เราก็พยายามของเรา เราพยายามของเรานะ เราตั้งสติของเรา ทำความสงบของเราให้เราเห็นช่องทางในการเดินตามนั้นไป ถ้าจิตมันสงบขึ้นมามันเห็นช่องทางนั้น

ช่องทางนั้นคืออะไร เวลาจิตมันออกใช้ปัญญาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้าในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เวลาจิตสงบ เวลาเรากำหนดพุทโธ หรือเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอจิตสงบเข้ามาเราก็รู้ได้ว่าจิตมันสงบ ปัญญาอย่างนี้เวลามันพิจารณาเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามา เราเป็นคนทำเอง มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เรารู้ว่าระดับของมัน ค่าของมัน มีคุณค่าแค่ไหน แค่นี้เราก็ซาบซึ้งแล้ว

คนเราเวลาทุกข์เวลายากนะ เหมือนคนแบกหามมาเต็มที่ แล้วมันวางสิ่งที่เป็นภาระรุงรังไว้ ปลดจากตัวเราไป มันจะมีความสุขแค่ไหน

จิตใจของเราแบกโลกมา เราเกิดมากับโลกแล้วเราก็แบกโลก เราอยากจะมั่งมีศรีสุข เราอยากจะมีทุกอย่างให้สมความปรารถนา เราแบกมาทุกอย่างเลย นั้นน่ะ แบกโลก แบกโลกก็เกิดความหนักหน่วง เกิดความหนักหน่วงมันก็กดถ่วงจิตใจ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาด้วยปัญญาอบรมสมาธิหรือใช้คำบริกรรม พอมันวางสิ่งนั้นไป มันวางโลก มันวางความหนักหน่วงของใจทั้งหมด แล้วจิตใจมันถึงเป็นอิสระ จิตมันมันถึงเป็นสัมมาสมาธิได้

ถ้าจิตใจมันสงบเพราะมันวางโลกทั้งหมดนะ ดูความรู้สึกที่แบกโลกกับวางโลกมันแตกต่างกันอย่างใด สัมมาสมาธิถ้าจิตมันเป็นมันรู้ค่าของมัน คนแบกโลกมาทุกข์ขนาดไหน แล้วมันวางโลกได้มันปลอดโปร่งแค่ไหน ถ้ามันปลอดโปร่งมีความสุขขนาดนั้น เราจะมียาน มีพาหนะที่ขึ้นสู่บนถนนสายนั้น สายที่ครูบาอาจารย์ท่านผ่านไปแล้ว สายที่หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น เหล่ากอของพุทธะได้ผ่านถนนสายนี้ไป

เหล่ากอของพุทธะท่านผ่านถนนสายนี้ไปแล้วท่านกวักมือเรียกเรา จงใจพยายามดึงเราให้เราเดินเข้าสู่เหล่ากอนั้น เหล่ากอของโลกคือความเป็นอยู่ของเรา คือหมู่คณะของเรา เหล่ากอของธรรม จิตใจที่เป็นธรรม จิตใจที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันเห็นแล้วมันจะซาบซึ้ง มันจะรู้จักบุญคุณ มันจะมีความเคารพบูชามาก

ความเคารพบูชานั้นมาจากจิตที่มันสัมผัสนะ จิตใจที่เป็นธรรม จิตใจที่เป็นธรรมนี่สัมมาสมาธิมันก็เป็นสมาธิธรรม แล้วเกิดปัญญาธรรม เกิดปัญญาธรรมคือภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากโลกุตรธรรม ปัญญาที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติ มันจะซาบซึ้ง

ดูสิเราทำงานไม่เสร็จ แล้วเราต้องการให้คนช่วยประคองเรา เราทำงานไม่เสร็จแล้วเครื่องมือของเรามันขาดตกบกพร่อง เราต้องการให้คนช่วยเหลือเราไหม ?

เราประพฤติปฏิบัติ เราใช้ปัญญาเวลาพิจารณาไปแล้วมันปล่อยวาง แต่มันยังไม่สมุจเฉทปหาน ยังไม่ถึงที่สุดให้กิเลสมันขาด เราทำละล้าละลัง เราทำผิดทำถูกเห็นไหม ถ้าพิจารณามากเกินไปสมาธิมันก็อ่อนแรงลง พออ่อนแรงลงมันก็ละล้าละลัง สิ่งใดมันก็ไม่ประสบความสำเร็จ มันก็ต้องวางอย่างนั้น กลับมาพุทโธสร้างกำลังก่อน

เหมือนคนทำงาน คนที่ทำงานดูสิ ดูกรรมกรนายช่างเขาทำงานเห็นไหม เขาทำงานตลอดไปจนไม่มีวันจบเลย สร้างบ้านหลังหนึ่งเสร็จวันนั้นเลย ถ้าไม่เสร็จก็ทำจนไม่มีเวลาพักผ่อน มันเป็นไปได้ไหม ? เขามาทำงานเขาก็ต้องพักงาน กลับไปพักผ่อน กลับไปกินข้าว กลับไปอะไรแล้วก็กลับมาทำงานใหม่ ทำเป็นเดือนเป็นปี ถ้ามันตึกสูง ถ้ามันประณีตก็ต้องทำงานมากหน่อย ถ้ามันเป็นกระท่อมห้องหอไม่กี่วันมันก็เสร็จ

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจที่มันสงบขึ้นมาแล้ว ถ้ามันสงบเข้ามาเห็นไหม ถ้ามันทำงานตลอดไปมันก็ไม่มีกำลังของมัน มันก็เป็นไปไม่ได้ แล้วความสมดุลของใจ การฝึกหัดอย่างนี้มันเป็นความฝึกหัด แบบฝึกหัดโดยครูบาอาจารย์ที่ท่านบอกไว้ เราก็ต้องมาพยายามฝึกหัดแล้วหาช่องทางของเรา

ครูบาอาจารย์บอกให้ทำอย่างนั้นๆ เราก็เป็นคนซื่อตรง ซื่อบื้อ ทำตามนั้นเลย ทำตามนั้นโดยที่ไม่เป็นความรู้สึก ไม่เป็นหัวใจที่มันแยกแยะของเราขึ้นมามันจะเป็นของเราได้อย่างไร มันก็เป็นของครูบาอาจารย์นั่นน่ะ ครูบาอาจารย์ชี้ทางให้ บอกวิธีให้ เราก็ต้องพยายามของเรา พยายามสร้างสมของเราขึ้นมา

พอจิตมันสงบ โอ้โฮ... เราก็ทำได้ ไหนว่าเราไม่มีปัญญาไง ไหนว่าเราอ่อนด้อยไง นี่มันทำได้ พอทำได้ขึ้นมาเห็นไหม นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก

สติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม แล้วเกิดปัญญา ขั้นของปัญญาไม่มีขอบเขต ขั้นของความสงบมันเป็นเรื่องที่มีและไม่มีเลยนะ จิตเราฟุ้งซ่านมันก็ไม่มีสมาธิ พ้นจากความฟุ้งซ่านมันก็เป็นสมาธิ แล้วสมาธินี้มันเป็นมิจฉาหรือสัมมา

ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ สิ่งใดเห็นไหม จุดไฟขนาดไหนมันต้องมอดสักวันหนึ่ง ความคิดจะทุกข์ขนาดไหน มันจะมีกิเลสตัณหาเหยียบย่ำในหัวใจขนาดไหน สุดท้ายสักวันหนึ่งมันต้องมอดไหม้ไป มันจะอยู่อย่างนั้นไปไม่ได้หรอก ถ้ามันรุนแรงจนทำให้เราทำร้ายตัวเองตายไป ตายไปจิตนั้นก็ไม่มีวันหมดไป มันก็จะตามไปนั่นน่ะ ไม่มีวันจบหรอก แต่มันต้องจบเห็นไหม

ถ้าเป็นความฟุ้งซ่านถึงที่สุดแล้วมันก็ต้องมีความสงบ แต่ความสงบโดยไม่มีสติ ความสงบโดยไม่มีการฝึกหัด ความสงบโดยไม่มีการควบคุม มันเป็นมิจฉา มันเป็นมิจฉาเพราะมันสงบของมันเอง เวลาทุกข์มันก็ทุกข์ของมันเอง เวลาหายก็หายของมันเอง ใครเป็นคนดูแล ใครเป็นคนจัดการ ใครเป็นคนแยกแยะ มันไม่มี

เป็นมิจฉา ! มิจฉาเพราะอะไร เพราะมันไม่มีสติ ถ้ามีสติขึ้นมาเห็นไหม เรามีคำบริกรรมของเรา มีสติปัญญาของเรา ถ้ามันสงบ สงบต่อหน้า สงบกับเรา สงบที่รู้ๆ สงบที่เห็นๆ สงบที่จับต้องได้ นี่ไงมันถึงเป็นความสงบ มันก็เป็นสัมมา สัมมาสมาธิ มันเป็นความสงบสัมมาสมาธินี้แล้วถ้ามันออกรู้ไปเห็นไหม

ถึงบอกว่าถ้าเป็นสมาธิของมันมีอยู่ ของมันมีอยู่ซึ่งๆ หน้า สงบและไม่สงบ แต่ถ้าเป็นปัญญาล่ะ ของไม่มีอยู่ ปัญญาที่มีอยู่นี่เห็นไหม สิ่งที่ไม่สงบคือความฟุ้งซ่าน พอมันสงบขึ้นมามันก็ปล่อยความฟุ้งซ่านมา ปล่อยความรู้สึกนึกคิด ปล่อยขันธ์ ๕ เข้ามามันถึงเป็นความสงบ แล้วความรู้สึกนึกคิดที่มันมีอยู่โดยธรรมชาติของมันอย่างนี้ ที่เขาใช้ปัญญากันอยู่นี้ เขาบอกว่าสิ่งนี้เป็นปัญญา

มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นปัญญาสัญชาตญาณ มันเป็นปัญญาจากอวิชชา มันเป็นปัญญาจากกิเลส มันถึงไม่ใช่ปัญญาในพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ต้องการปัญญาอย่างนี้

ปัญญาอย่างนี้ดูสิ ดูที่เขาศึกษาทางวิชาการมา เขามีความรู้ ถ้าจะพูดทางวิชาการพูดได้ ๕ ปีไม่มีวันจบ แต่เขารู้จักตัวเขาไหม ? เขาไม่รู้จักตัวเขาเลย.. แต่ถ้าพอเราทำความสงบของใจเราเข้ามา จิตใจที่มันสงบเข้ามาถ้ามันออกรู้ สัมมาสมาธิมันออกรู้ นี่ขึ้นอยู่บนถนนสายนั้น แล้วพอออกรู้ไป ออกรู้ในอะไร ออกรู้ในกาย ออกรู้ในเวทนา ออกรู้ในจิต ออกรู้ในธรรม

เวลาเราทำความสงบของใจเห็นไหม เรานั่งสมาธินานๆ ก็เกิดเวทนา แล้วทำไมมันถึงไม่ออกรู้ล่ะ ถ้ามันออกรู้ในเวทนานะ เวทนานั้นมันเป็นเวทนาดิบๆ เวทนาเกิดจากจิต เวทนาที่เกิดจากจิตมันเป็นอันเดียวกัน พิจารณาเวทนาแล้วปล่อยเข้ามามันก็เป็นสัมมาสมาธิ มันไม่เป็นวิปัสสนาหรอกเพราะมันไม่มีสมาธิ ไม่มีตัวจิต ไม่มีพุทธะ ไม่มีเหล่ากอ ไม่มีต้นขั้ว ไม่มีถึงที่สุดแห่งทุกข์ สิ่งนี้มันจะปลดเปลื้องกันอย่างไร

แต่ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา พิจารณาเวทนา มันก็ปล่อยเวทนาเข้ามาก็สงบ แล้วพิจารณาเวทนาบ่อยครั้งเข้า ถ้าจิตมันปล่อย สงบเข้ามาๆ จนเข้าไปสู่พุทธะ คือถึงเหล่ากอของมัน แล้วถ้ามันพิจารณาซ้ำๆ เวทนาไม่ใช่เรา พอพิจารณาเวทนาเข้าไปมันตื่นเต้นนะ โง่น่าดูเลย เพราะเราหลงเราถึงรู้จักเวทนา เวทนาก็เป็นเวทนาของมันอยู่แล้ว

ดูสิภูเขาเลากามันมีเวทนาที่ไหน เพราะมันไม่มีจิต ไอ้เราเพราะมีจิตเห็นไหม ดูซากศพนอนอยู่ในโรงพยาบาลมันก็ไม่มีความรู้สึก แต่ไอ้พวกเพราะจิตของเราเอง ด้วยสัญชาตญาณของมนุษย์ เวลาเรานั่งนาน โดยกิริยาเราจะเปลี่ยนท่า มันไปโดยสัญชาตญาณ เราเลยไม่เห็นว่าอะไรเป็นทุกข์อะไรไม่เป็นทุกข์ แล้วจิตใจมันเคยของมันไง มันเคยของมันโดยสัญชาตญาณ มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

แต่พอเรามีสติปัญญาเราจะพิจารณาเวทนา ถ้าเวทนามันเกิดขึ้นมาเพราะเราศึกษากันมาเห็นไหม เรามีประเพณีวัฒนธรรม เหล่ากอของพุทธะ นี่ทางโลกเขาก็สอนกันอยู่ ทางโลกเห็นไหม สังคมเขาก็ว่ากันไปอย่างนั้น แต่เรามาพิสูจน์ของเรา พอพิจารณาเวทนามันเกิดขึ้น เราพิจารณาเวทนา มันปล่อยเวทนามามันก็เข้าไปสู่ความสงบ

มันปล่อยเวทนามาเข้าสู่ความสงบนะ เราก็พิจารณาซ้ำเข้าไปมันก็ปล่อยเวทนาเข้าไปสู่ความสงบ จิต เพราะมันสงบเข้ามา มันเห็นเวทนาชัดเจนมาก พอเห็นชัดเจน เวทนาก็เป็นเวทนา เราก็เป็นเรา แล้วเราไปรับรู้อะไรกับเวทนาล่ะ เวทนามันอยู่ที่ไหน อยู่ในเนื้อ ในหนัง ในกระดูก ในเส้นขน ในอะไร... ไม่เห็นมีเลย ถ้ายกจิตออก มันก็เหมือนซากศพ มันก็เหมือนกับธาตุ ๔

แต่เพราะมันมีจิตอยู่ เพราะจิตมันโง่ นี่ไง ถ้าจิตมันพิจารณาเวทนา พิจารณาบ่อยครั้งเข้า พิจารณาเวทนาครั้งแรกมันจะเป็นสมถะ มันจะปล่อยวางให้สงบ เห็นไหม มันถึงบอกว่าความว่าฟุ้งซ่านหรือว่าสงบ เวลามันฟุ้งซ่าน ของมันมีอยู่ สมาธิมีอยู่ จิตมีอยู่ แต่คนไม่ทำแล้วทำไม่เป็น พอทำไม่เป็น.. พิจารณาแล้วก็บอกว่าเป็นพุทธเหมือนกัน แต่ทำไมครูบาอาจารย์ไม่ยอมรับ

...มันจะไปยอมรับอะไร อันนี้มันโดยกิเลส โดยตัณหาความทะยานอยาก มันเป็นการผ่าเหล่าผ่ากอ มันไม่เป็นความจริง เพราะมันผ่าเหล่าผ่ากอมันถึงไม่จริง แต่ถ้าพิจารณาตามความจริงนะ เวลาธรรมมันเกิดขึ้นมานะ มันไม่ผ่าเหล่าผ่ากอ มันเป็นไปโดยข้อเท็จจริง มันเป็นไปโดยธรรม

ถ้าเป็นไปโดยธรรมมันจะเริ่มเข้ามาจากโลกียปัญญาสู่สัมมาสมาธิ สู่ความเป็นจริง แล้วจะเริ่มออกเป็นโลกุตรปัญญา ถ้าปัญญาเกิดจากสัมมาสมาธิ ความรู้ความเห็นในเวทนาแตกต่างกัน ความรู้ความเห็นในสติปัฏฐาน ๔ แตกต่างกัน ความแตกต่างกัน... ดูสิถ้ามันแตกต่างกันมันแตกต่างเพราะใครล่ะ

เมื่อก่อนจิตเรายังไม่ได้สัมผัส เราก็ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง เราก็คิดว่าเหมือนกัน เราจะพูดคำเดียวกับครูบาอาจารย์ แล้วครูบาอาจารย์ท่านไม่ยอมรับเรา เราก็ว่าครูบาอาจารย์นี้จับผิดเรา ไม่จริงใจกับเรา เห็นไหมมันแตกเหล่าแตกกอขึ้นไปแล้วมันเหยียบย่ำ

แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมานะ พอเป็นความจริงขึ้นมามันจะซาบซึ้ง ซาบซึ้งจากใจของเรา แล้วพอซาบซึ้งจากใจของเรา ไปถามครูบาอาจารย์ว่าทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ ครูบาอาจารย์บอกว่า ก็บอกแล้ว ก็บอกแล้ว.. พอบอกแล้วเราถึงเข้าใจ มันถึงจะเข้าใจ นี่ไงเวลาถ้าเป็นสันทิฏฐิโก เป็นปัจจัตตัง เราจะรู้ของเราก่อน ครูบาอาจารย์แค่รับฟังเท่านั้น

แต่ที่ครูบาอาจารย์ท่านรู้เพราะท่านผ่านไปก่อนแล้ว ท่านเคยผ่านเหตุการณ์อย่างนี้ ท่านเคยพิจารณาอย่างนี้ ถ้าท่านไม่เคยพิจารณาอย่างนี้ท่านจะบอกเราได้อย่างไร ถ้าท่านไม่เคยพิจารณาอย่างนี้ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าเราติดอยู่ในขั้นไหน เราติดอยู่เราไม่เป็นของเราเห็นไหม เพราะทิฐิมานะ มันก็เลยไม่ได้ผล ทิฐิมานะมันจะเหยียบย่ำใจของเราก่อนแล้วก็ไปเหยียบย่ำครูบาอาจารย์

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ มันเคารพบูชา เคารพบูชาจากความซาบซึ้งใจ ธรรมกับธรรมเข้ากัน ธรรมกับธรรมเห็นไหมเป็นสัมมาทิฐิเหมือนกัน มิจฉาทิฐิกับสัมมาทิฐิมันเข้ากันไม่ได้ ถ้าเป็นมิจฉาทิฐิความเห็นผิด ความเห็นผิดแล้วยึดความเห็นผิดของเขาด้วย เขายิ่งเหยียบย่ำทำลาย การเหยียบย่ำทำลายโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้าเหยียบย่ำทำลายมันก็เป็นการประจานตนว่าตนเป็นคนไม่ดี

ฉะนั้นเขาต้องพลิกแพลงไปว่าเป็นการดูแล เป็นการเคารพนบนอบ แต่มันมีเบื้องหลัง นี่ไงผู้ที่แตกเหล่าแตกกอ มันไม่ใช่เหล่ากอพุทธะ มันเป็นเหล่ากอของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเป็นเหล่ากอของผู้ที่อยากใหญ่ อยากดัง อยากมีอำนาจไง ยิ่งปฏิบัติไปยิ่งลงเหวไง ปฏิบัติไปจะไม่ได้ผล แต่เราปฏิบัติกันเราจะเอาผลนะ เรามาปฏิบัติเพื่อจะชำระกิเลส

พูดให้เห็นถึงว่ากิเลสนี้มันร้ายกาจนัก แล้วมารที่อยู่ในหัวใจมันครอบคลุมหัวใจของทุกๆ คนอยู่นะ เราประพฤติปฏิบัติอยู่นี่เพราะเราจะแก้ไข เราจะแก้ไขของเรา เราจะต้องมีสติปัญญาของเรา เราจะต้องต่อสู้กับเรา ต่อสู้นะ

“คนจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร”

ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ ฉะนั้นความเพียรของเราต้องมี ถ้ามีเรามีความเพียร ถ้าความเพียรนั้นความเพียรชอบกับความเพียรไม่ชอบ ถ้าความเพียรชอบเห็นไหมเราตั้งของเรา เราสังเกตของเรา มีสิ่งใดที่เข้ามาทำให้วอกแวกวอแว เราต้องตั้งสติ ถ้ามีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ศีล เราต้องย้อนกลับมาที่ศีล ถ้าทำแล้วมันไม่ได้ผล ทำแล้วมันมีสิ่งใดที่กีดขวาง เราย้อนกลับมาดูศีล

ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเกิดว่าศีลเราปกติ แต่สมาธิเรายังไม่ได้ขึ้นมา เพราะขาดสติ ขาดความจริงจังของเรา เราพยายามรักษาของเรา ถ้าเกิดสมาธิขึ้นมาแล้วปัญญามันจะเป็นไป คำว่าปัญญาเป็นไปแล้วมันจะเป็นไปเอง ไม่มีหรอก ปัญญาต้องฝึกฝนนะ

ถ้าเรามีสมาธิขนาดไหน ถ้าเป็นสมาธิ... ความฟุ้งซ่านกับความสงบมันมีอยู่แล้วเพียงแต่เป็นสัมมาหรือเป็นมิจฉา ฉะนั้นถ้าเราฝึกของเราจนมันเป็นสัมมา สัมมาเพราะอะไร สัมมาเพราะมีสติ สัมมาเพราะควบคุมได้ แล้วพอจิตมันสงบขึ้นมาแล้วเราออกใช้ปัญญา พอออกใช้ปัญญามันแยกแยะของมัน ถ้าออกใช้ปัญญา คนที่สร้างกำลังมาน้อยถ้าออกไปพิจารณาแล้วไม่เห็นสิ่งใดเลย ไม่เห็นสิ่งใดเลยต้องรำพึงขึ้นมา เห็นไหมปัญญาต้องฝึก

ปัญญาต้องฝึก ปัญญาจะไม่เกิดเอง ปัญญาที่เกิดเองนี่คือปัญญาโลกๆ ปัญญาเกิดเองนี้คือปัญญาแบบคนฟุ้งซ่าน การฟุ้งซ่านถ้ามีสิ่งใดมาสะกิดมันจะพุ่งออกไปเลย ความฟุ้งซ่านอย่างนี้ แล้วเราก็ไปฟุ้งซ่านในธรรม แล้วก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นปัญญาๆ ปัญญาไม่มี !

ปัญญาเกิดจากสัมมาสมาธิ ถ้าจิตมันมีสัมมาสมาธิเกิดขึ้น แล้วถ้ามันไม่มีเราต้องรำพึง รำพึงไปที่กาย รำพึงในสมาธิคือการคิด คิดในสมาธิ แต่หลักธรรมใช้คำว่ารำพึง ถ้าคิดมันก็เป็นเหมือนกับความฟุ้งซ่าน เป็นความคิดของสามัญสำนึก นี่คือความคิด

แต่เพราะมันมีความสงบใช่ไหม มันมีจิตสงบแล้วถ้ามันพิจารณากายไป ถ้ามันมีอำนาจวาสนา เห็นกายนี่เป็นเจโตวิมุตติ ถ้าไม่เห็นกายเราใช้ปัญญาของเราพิจารณาในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ เพราะมันเป็นสังขารปรุงแต่ง มันเป็นสังขาร แต่มันมีสมาธิรองรับ พอมีสมาธิรองรับ สิ่งนี้ถ้ามันเกิดขึ้นมา เราใช้ปัญญาของเรา เราฝึกของเรา รำพึงให้มันเกิดขึ้นมา พอเกิดขึ้นมาเราพิจารณาของเราไป นี่ยิ่งพิจารณาไปนะ ถ้าพิจารณาแล้วมันปล่อย พอปล่อย ตทังคปหาน มันจะมีความดูดดื่ม มีความรู้สึก นี่โลกุตรธรรม

สิ่งที่เรากระทำมันมีผลแตกต่างทั้งนั้น แล้วเราจะมีความตื่นเต้นว่า โอ้โฮ.. เวลาปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิทำไมมันจะดูดดื่มขนาดนี้ ทำไมมันมีกำลังขนาดนี้ เห็นไหมเวลาเขาทำงานกับทางโลก โลกเวลาเขาทำงานเขามีผลงานของเขามา เขาจะมีความชุ่มชื่น มีความพอใจ มีความสุขใจของเรา ไอ้นี่เราประพฤติปฏิบัตินะ เราปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสของเราเห็นไหม

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “เราจะมีกำลังมากน้อยขนาดไหน จะสร้างศึกสงครามชนะคูณด้วยพัน มีแต่เวรแต่กรรม”

แต่ถ้าการประพฤติปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่โคนต้นโพธิ์ แล้วเราเห็นไหม หน่อของพุทธะ เหล่ากอพุทธะ เหล่ากอคือการเกิดการตายขึ้นมาสร้างสมเป็นบารมี หน่อของพุทธะ หน่อของพุทธะคือความสงบของใจ ถ้าเรามีหน่อพุทธะถ้ามันแตกหน่อออกมา แตกดอกออกผลเห็นไหม มีการปฏิบัติมันจะมีความชุ่มชื่น มันจะมีความสุข มันจะมีความพอใจ นี่อย่างนี้เป็นสันทิฏฐิโกนะ อย่างนี้เป็นสันทิฏฐิโกมันรู้เองเห็นเอง ถ้ารู้เองเห็นเองแล้วผู้ที่รู้เองเห็นเองตรวจสอบกันมันทำไมจะไม่รู้ล่ะ

แต่ของเรา เราไม่เคยมี ไม่เคยรู้เองเห็นเอง เราเป็นจินตนาการ นี่คุยกับครูบาอาจารย์ไม่ได้หรอก เพราะครูบาอาจารย์ท่านรู้เองเห็นเอง มันมีสันทิฏฐิโก มันมีถนนสายนั้น มันมีรูปธรรม มันมีข้อเท็จจริงที่พูดออกมาได้ แต่เพราะเราไม่เคยรู้เคยเห็นใช่ไหม แต่เราจำมา เรารู้มาจากในพระไตรปิฎก เราฟังจากครูบาอาจารย์ที่พูดซ้ำ เราก็พูดให้เหมือนพูดซ้ำ มันเป็นไปไม่ได้หรอก !

เพราะมันพูดซ้ำ คำพูดมันต้องมีเหตุผลรองรับใช่ไหมว่าสิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนั้นทำอย่างไร แต่เราพูดให้เหมือน แต่เวลาพูดถึงเหตุผลเราพูดไม่ได้ นี่มันเป็นความผิดของเราไง เป็นความผิดของเราเพราะเป็นจินตมยปัญญา แล้วเราจะบอกว่าครูบาอาจารย์ลำเอียงเราได้อย่างไร นี่พูดถึงครูบาอาจารย์นะ

แต่ถ้าความจริงแล้วมันไม่ต้องครูบาอาจารย์หรอก มันเอาความจริงของเรานี้แหละ เอาในเรื่องหัวใจเรานี้แหละ เราก็สงสัยเราเอง คนที่ประพฤติปฏิบัติถ้ามันไม่เป็นความจริงมันจะมีความสงสัย ความสงสัยนั้นมันจะสั่นคลอนหัวใจ หัวใจจะสั่นคลอนไปหมด ถ้ามันสั่นคลอนขึ้นไปแล้ว ละล้าละลังแล้ว ให้พูดความจริงไม่กล้าพูดความจริง แล้วไม่กล้าเผชิญกับความจริงเลย

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เราเผชิญกับความจริง ผิดก็คือผิด ถ้ามันเป็นผิดเห็นไหมครูบาอาจารย์ถึงบอกว่าสิ่งนี้มันเป็นมิจฉานะ สิ่งนี้มันขาดสตินะ ถ้ามันเพิ่มมีสติขึ้นมาแล้วมีการระมัดระวังเข้ามา มันจะควบคุมเข้ามาได้ มันจะอยู่ในเขตของความปลอดภัย แล้วเขตของความปลอดภัยถ้ามันทำต่อไป เขตของความปลอดภัย สร้างผลประโยชน์ขึ้นมาจากในความปลอดภัยนั้นมันจะไม่มีความผิดพลาด นี่ถ้าทำขึ้นไป

ถ้าเราตั้งใจทำมันเป็นของที่เล็กน้อยสำหรับโลกเขาว่า แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติไม่เล็กน้อย เพราะสติปัญญามันจะเล็กน้อยไปไหน ถ้ามันมีการกระทำมีการควบคุมขึ้นมามันจะพัฒนาขึ้นมา แล้วพอเป็นขึ้นมาเราจะรู้เลยถูกผิดเป็นอย่างไร นี่เห็นไหมข้อเท็จจริงมีแล้ว ถ้าข้อเท็จจริงนี่เราพูดได้หมด ถ้าพูดเราพูดได้หมด เราภาวนาขึ้นไป

หัวใจมันลงตลอดนะ ถ้าหัวใจเป็นธรรมจะลงธรรมมาก เพราะธรรมนั้นคือสัจธรรม สัจจะ-อริยสัจจะมันมีอยู่ ถ้าสัจจะ-อริยสัจจะมันมีอยู่ สัจจะเห็นไหม สัจจะคือความจริงที่โลกเขามีสัจกัน กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ พูดคำไหนคำนั้น นี้สัจจะของเขา

อริยสัจจะ ในสัจจะในพุทธศาสนา อริยสัจจะมันลึกซึ้งกว่านั้นอีก มันลึกซึ้งกว่าสัจจะของโลกที่เขาให้สัญญากัน แต่อริยสัจจะมันถอดมันถอนแล้วเราไปรู้ไปเห็นเข้า มันถอดมันถอนกิเลสเราออกมา สิ่งนี้มันเกิดมาเห็นไหม นี่ไงเหล่ากอพุทธะเราถึงได้ซาบซึ้ง ซาบซึ้งในการเกิดเป็นชาวพุทธ แล้วมีศรัทธาความเชื่อ มีการประพฤติปฏิบัติจริงขึ้นมา มันหาค่าไม่ได้ มันตีเป็นราคาค่าไม่ได้เลย

ดูสิชีวิตมนุษย์เรามีค่าเท่าใด เวลาเกิดวาตภัย เกิดอะไรต่างๆ เขาบอกว่าทรัพย์สินมันไม่มีค่าหรอก ในเมื่อมนุษย์ไม่มีคนตาย สิ่งนี้มีค่าที่สุด ชีวิตคนมีค่าที่สุด ชีวิตคนมีค่ากว่าวัตถุสิ่งของข้าวของทั้งหมดเลย ชีวิตคนมีค่าที่สุด แล้วอริยธรรมในหัวใจของผู้ที่เป็นมนุษย์มันจะมีค่าแค่ไหน แล้วหัวใจเราได้สัมผัสนี่โลกเขารู้อะไรกับเราได้ แต่ครูบาอาจารย์รู้ได้ เหล่ากอของเรารู้ได้ ครูบาอาจารย์ของเราท่านผ่านไปแล้ว ท่านเป็นคนบอกเรา ท่านเป็นคนชี้นำเรา ฉะนั้นเราจะต้องประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง

ถ้าจิตมันสงบแล้วออกใช้ปัญญา แล้วปัญญาในการใช้นั้นมันจะเป็นโลกุตรปัญญา ปัญญาที่ถอดถอนเป็นตทังคปหาน มันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยนะ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม ถ้าสมดุลมันปล่อยวาง การปล่อยวางนี้เห็นไหม ดูสิมัชฌิมาปฏิปทา คำว่าเป็นมัชฌิมาปฏิปทามันปล่อยวาง เพราะถ้าไม่สมดุลมันปล่อยวางไม่ได้ เอียงข้างใดข้างหนึ่ง หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ความไม่เป็นสมดุลไม่มี

ในทางการช่าง ศูนย์นี่เขาต้องสำคัญมาก ถ้าศูนย์ไม่ได้ ระดับไม่ได้ การก่อสร้างการกระทำสิ่งนั้นจะทรงโครงสร้างนั้นไว้ไม่ได้เลย จิตเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาด้วยมรรคญาณ ด้วยมรรค ๘ สิ่งใดที่เป็นความสมดุลของมันคือมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าขาดการสมดุลเห็นไหม นี่ความเป็นระดับของมัน โครงสร้างของมันจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง มันจะปล่อยวางไม่ได้

การปล่อยวางเห็นไหม เราปล่อยวางบ่อยครั้งเข้าๆ ต้องมีความขยัน มีความหมั่นเพียร จะมีความขยันมีความหมั่นเพียรแล้วมีความสุขมากนะ ความสุขเห็นไหมดูสิ เวลาคนเรามีเงินมีทองมันอยากได้มากขึ้นๆๆ เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลามันปล่อยวางอยากจะปล่อยวางมากขึ้นๆ ให้ถึงที่สุด เว้นไว้แต่คนที่ปฏิบัติแล้วไม่เข้าใจว่าการปล่อยวางนี้มันเป็นตทังคปหาน การปล่อยวางนี้มันเป็นการฝึกฝนจิต มันเริ่มฝึกหัดการใช้ปัญญา

การใช้ปัญญานี้มันต้องปัญญาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้เกิดการกระทำมีความชัดเจนขึ้น มีการตรวจสอบ ทดสอบ-ตรวจสอบ ทดสอบ-ตรวจสอบ จนถึงที่สุด ความว่าถึงที่สุดมันมีกระบวนการของมัน กระบวนการนี้มีอยู่แล้ว ! ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ที่บอกว่าธรรมะมีอยู่แล้ว แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นขึ้นมาเอง แต่พวกเรานี้มันยังรื้อค้นขึ้นมาไม่ได้ ฉะนั้นการตรวจสอบนี่คือการรื้อค้น คือการตรวจสอบให้จิตใจมันได้ถอดถอน

คำว่าถอดถอน มันถอดถอนของจิตของบุคคลคนนั้น ถ้ามันถอดถอนจากบุคคลคนนั้น ทดสอบ-ตรวจสอบ ทดสอบ-ตรวจสอบ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้ามันเป็นขิปปาภิญญา ทีเดียวขาด นั่นมันเป็นเรื่องของเขา แต่ถ้าเราเวไนยสัตว์เห็นไหม ขนาดที่ทำได้ขนาดนี้ ถ้าเรามีเหล่ากอของพุทธะแล้วเราไม่แตกเหล่าแตกกอ เราเดินตามธรรม เดินตามข้อวัตรปฏิบัติ เดินตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอน เพราะครูบาอาจารย์ท่านได้เดินของท่านไปแล้ว ท่านเดินผ่านไปแล้วว่า การเดินโดยมัชฌิมาปฏิปทา การเดินด้วยสัมมาทิฐินี้เป็นช่องทางที่ถูกต้อง เป็นมัคโค เป็นทางอันเอก จะทำให้จิตใจนี้พ้นจากกิเลสเห็นไหม

กิเลสครอบงำ มารนี้ครอบงำใจของเราอยู่ มาร อวิชชานี้มันครอบงำความไม่รู้ในหัวใจ มันครอบงำเราอยู่ เราปฏิบัติมาก็เพื่อให้หัวใจมันเห็นชัดว่าสิ่งใดครอบงำ แล้วสละความครอบงำนั้นให้เป็นวิชา อวิชชาให้เป็นวิชา ในเมื่อมันเป็นวิชา วิชาที่ก้าวเดินไป ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการของวิชา มันต้องมีความขยันหมั่นเพียร เพราะวิชากับอวิชชามีการต่อสู้ มีการขัดแย้งคัดง้างกัน ถ้าเป็นอวิชชามันก็เป็นความด้นเดา น่าจะเป็นอย่างนั้น.. น่าจะเป็นอย่างนี้... ปฏิบัติแล้ว มันก็ได้แล้ว มันก็เป็นแล้ว... นี่คืออวิชชา !

วิชาคือการที่ว่าถ้ามันไม่เป็นจริง มันก็รับรู้ในหัวใจของเรา ถ้ามันเป็นจริงมันเป็นจริงเพราะเหตุใด มันมีสิ่งใดเป็นสัมมาสมาธิ มีสิ่งใดเป็นสติ มีสิ่งใดเป็นงานชอบ ความเพียรชอบ นี่วิชามันตรวจสอบมันต่อสู้กันระหว่างวิชากับอวิชชา มันตรวจสอบกัน มันถึงต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ บนถนนหนทางเส้นนั้น ถึงที่สุดแล้วมันขาด !

คำว่าขาดนี้ สังโยชน์มันขาดออกไปจากใจ ครูบาอาจารย์ท่านก็ผ่านไปแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปล่งอุทานเลยนะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระพุทธ พระธรรม แต่ยังไม่มีใครเป็นพยาน ไม่มีใครรู้จริงว่ามันมีจริงหรือ ธรรมะมีจริงหรือ มรรคผลนิพพานมีจริงหรือ ก็รู้อยู่คนเดียว แต่เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” นี้มีความชื่นใจมาก มีบุคคลเป็นพยาน นี่เหล่ากอพุทธะเกิดมาเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา

สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาด้วยความชุ่มชื่นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วเผยแผ่ธรรมขึ้นมา มีผู้ปฏิบัติตามแล้วได้ผลจริง นี่ของเราก็มี

ในปัจจุบันนี้เราเกิดมาท่ามกลางพุทธศาสนานะ เรามีหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นที่ท่านรื้อค้นมา มีครูบาอาจารย์ท่านรื้อค้นมา รื้อค้นมาด้วยความมั่นคง ความอาจหาญ เรามีหมู่มีคณะ เราไม่ใช่ทำโดยไม่มีใครเหลียวแลนะ ครูบาอาจารย์ท่านเหลียวแลเราอยู่นะ ครูบาอาจารย์ท่านถนอมรักษาเรานะ ครูบาอาจารย์ท่านมีหัวใจที่เป็นธรรม แล้วท่านเป็นธรรมในหัวใจท่านจะมีความเมตตาขนาดไหน

ดูสิเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใจท่านเป็นธรรมมาก เห็นไหมปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ครูบาอาจารย์ของเราก็เหมือนกัน ใจท่านเป็นธรรมมาก ท่านอยากให้เรารู้จริงไง สิ่งที่ท่านปากเปียกปากแฉะ จ้ำจี้จ้ำไชอยู่ เหล่านี้ก็เพราะว่าสิ่งที่เราเป็นนี่ยังเป็นโลกอยู่ ท่านก็พยายามจะให้เราทำจริงทำจังขึ้นมา เพื่อจะให้เราเข้าถึงเหล่ากอเดียวกัน เข้าถึงพุทธะเดียวกัน แล้วเกิดปัญญาขึ้นมาเห็นไหม

เวลาพิจารณาไปจนมันขาด ขาดนี้มันขาดอย่างไร คนขาดน่ะรู้ เวลามันขาดไป สังโยชน์มันขาดไปแล้ว สักกายทิฏฐิ ทิฐิที่เป็นความเห็นผิด ดูสิมิจฉาทิฐิ สัมมาทิฐิ แล้วทิฐิ มิจฉาทิฐินี่สักกายทิฏฐิ ทิฐิในกายมันขาดออกไป ขาดออกไปอย่างไร ถ้ามันขาดออกไปแล้ว มันจะกลับมาเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย มันเป็นอกุปปธรรม

นี่ไงที่บอกว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา มรรคผลต้องเป็นอนัตตา มันเป็นอนัตตา... ” อนัตตาที่มันแปรปรวนอยู่นี่ อนัตตาที่วิชากับอวิชชามันกำลังต่อสู้กัน นี่เป็นอนัตตา อวิชชาคือความยึดมั่นถือมั่นของใจ เพราะมันไม่รู้ อวิชชาคือความไม่รู้แล้วเถียง แล้วดื้อดึง แล้วเถรตรงว่าเป็นธรรมๆ นี่คืออวิชชา

วิชาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ได้ตรวจสอบแล้ว วิชาเห็นไหม วิชานี้ได้พิจารณาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม นี่คือวิชา สิ่งนี้เป็นวิชา วิชากับอวิชชานี่สัพเพ ธัมมา อนัตตา เพราะถ้ามันเป็นอนัตตามันจะแปรสภาพได้อย่างไร ไม่เป็นอนัตตามันจะเกิดกระบวนการของมันได้อย่างไร กระบวนการของมันคือการแปรปรวนใช่ไหม กระบวนการของมันคือการขับเคลื่อนไปใช่ไหม นี่คืออนัตตา

แต่ถ้าเวลามันขาดออกไปนะ มันจะเป็นอนัตตาได้อย่างไร เวลามันขาดไปแล้ว มันสิ้นสุดไปแล้วมันก็เป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรม นี่ธรรมเหนือโลกไง แล้วธรรมเหนือโลกขั้นไหน ธรรมเหนือโลกขั้นโสดาบัน ขั้นสกิทาคา ขั้นอนาคา ขั้นอรหัตตมรรค อรหัตตผล สิ้นสุดกระบวนการของสิ้นทุกข์ไป มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์มากนะ

เหล่ากอพุทธะเรามีเหตุมีผลนะ เหล่ากอของหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น เหล่ากอของเรา เหล่ากอของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราก็เป็นไม้แขนงหนึ่ง เราก็เป็นแขนงหนึ่งในเหล่ากอนั้น เราภูมิใจไหม เราได้ภูมิใจไหมว่าเรานี้เป็นเหล่ากอของพุทธะ เราเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านประพฤติปฏิบัติมาจนเป็นที่เคารพบูชา จนมีชื่อเสียง ชื่อเสียงนั้นมันตามมาทีหลังนะ ความจริงของใจต่างหาก ความเป็นจริงของใจที่มันเป็นความจริงอันนั้นขึ้นมา แล้วมันปลดอวิชชา ระหว่างวิชากับอวิชชาที่มันทำลายกัน

ที่ว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา” ก็รู้ได้ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ผ่านถนนเส้นนั้นมา ผู้ที่ผ่านกระบวนการมาชัดเจนมาก รู้ได้ด้วยความชัดเจน แต่เวลาแสดงธรรมออกไป ผู้ที่รับจะมีคุณสมบัติได้มากน้อยแค่ไหน

แต่เวลาไอ้พวกแตกเหล่าแตกกอออกไป ก็บอกว่าพุทธพจน์ พุทธพจน์ คำว่าพุทธพจน์ ถ้าพูดถึงเหล่ากอพุทธะเขาอธิบายได้ดีกว่าอีก อธิบายได้เนียน แล้วเสมอ แล้วเข้ากันได้หมด

แต่ผ่าเหล่าผ่ากอไปนี่ไปจำมาพูด มันจำมาพูดด้วยความเห็น ด้วยความทิฐิไง ว่านิพพานก็ต้องเป็นอนัตตา.. พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอนัตตา.. นี่มันเป็นอนัตตา...

ไปยึดคำว่าอนัตตา คำว่าอนัตตานี้มันถูกต้อง พระพุทธเจ้าสอนอนัตตาเพราะโลกเขาเป็นอัตตา แต่เราสอนอนัตตา แต่การอนัตตา อนัตตามันมีหลายซับหลายซ้อนหลายชั้น โสดาบันก็อนัตตาหนึ่ง สกิทาคาก็อนัตตาหนึ่ง อนาคาก็อนัตตาหนึ่ง อรหันต์ก็อนัตตาหนึ่ง แล้วอันไหนมันอนัตตาแท้ล่ะ เวลากระบวนการของมันมันมีไง มรรค ๔ ผล ๔ สิ่งนี้เป็นมรรค ๔ ผล ๔ กระบวนการของมันไป

นั้นแตกเหล่าแตกกอไปก็ไปยึดแต่ตามทิฐิมานะของตน ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม แล้วอ้างอิงว่าเป็นพุทธพจน์ อ้างอิงว่าเป็นพระพุทธเจ้า อ้างอิงว่าสิ่งนั้นมันเป็นเจ้าของไง ไอ้พวกเรานี้ไอ้พวกสาวก สาวกะ พวกที่ประพฤติปฏิบัติมันจะไปโต้แย้งกับพุทธพจน์เจ้าของศาสนาได้อย่างไรล่ะ

แต่ความจริงเจ้าของศาสนาคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธพจน์ ธรรมและวินัยนี้สิ่งที่เราไปยึด พวกแตกเหล่าแตกกอไปก็ไปยึดฉวยเอา เอาสิ่งนั้นมาแอบอ้าง แต่ในการประพฤติปฏิบัติแอบอ้างหรือไม่แอบอ้าง ไม่จำเป็น จำเป็นว่าในการปฏิบัติให้มันเป็นจริงขึ้นมาจากใจ ถ้าใจมันเป็นจริงขึ้นมานะ เพราะกิเลสนี่กิเลสของเรานะ พุทธพจน์นั้นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๒๕๕๔ ปี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอุปาทิเสสนิพพาน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ๔๕ ปี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปนั้น อนุปาทิเสสนิพพาน จบสิ้น

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นจบสิ้นไปแล้ว สิ่งนี้เป็นอำนาจบารมีวาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงธรรมวินัยที่สอนเราไว้ แต่เวลาเราไปศึกษามา เราศึกษาด้วยทิฐิมานะ ทิฐิแตกเหล่าแตกกอ ไม่ใช่อยู่ในเหล่าของพุทธะ คือไม่รู้จริง

ไม่รู้จริงก็ไปอ้างอิงสิ่งนั้นมาว่าเป็นพุทธพจน์ ต้องการอำนาจวาสนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือคนอื่น เหนือ.. คำว่าเหนือเห็นไหม นี่มันถึงแตกเหล่าแตกกอออกไปด้วยทิฐิมานะ

แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา พุทธพจน์.. สาธุ พุทธพจน์นี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ศึกษาปริยัตินั้นมาพอสมควร เราก็ปฏิบัติ เราปฏิบัติของเราไป ทำความสงบของใจ ถ้าจิตสงบแล้วออกใช้ปัญญา เวลาเกิดขึ้นมานี้ อันนี้คือข้อเท็จจริงเลยล่ะ เห็นจริงรู้จริง นี่เป็นความจริงขึ้นมา ไม่ใช่อ้างอิง แล้วเข้าใจได้ละเอียดลึกซึ้งกว่า

ธรรมของหลวงปู่มั่นเห็นไหม ท่านบอกว่า “ใบไม้ในกำมือกับใบไม้ในป่า” ในพุทธพจน์ก็ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงปู่มั่นเอามาเพื่อกำราบไง กำราบไอ้พวกหัวดื้อ ไอ้พวกแตกเหล่าแตกกอไง ว่าธรรมในพระไตรปิฎกนี้เหมือนกับใบไม้ในกำมือ แต่เวลาข้อเท็จจริงเห็นไหม มันเหมือนใบไม้ในป่า

ผู้ที่ปฏิบัติโดยข้อเท็จจริงจะรู้จะเห็นมันเยอะแยะไปหมด เพียงแต่ว่าเวลาจะพูดสิ่งใดก็ต้องพูดเข้าสู่ใบไม้ในกำมือนั้น เพราะใบไม้ในกำมือนั้นชาวพุทธเราเชื่อถือศรัทธา เชื่อถือศรัทธาว่าเป็นพุทธพจน์ ใบไม้ในกำมือนั้น ฉะนั้นเวลาอ้างสิ่งใดก็ต้องอ้างใบไม้ในกำมือนั้น แต่ใบไม้ในป่ายังอีกมหาศาล !

เหล่ากอพุทธะเขารู้นะ ไอ้เหล่ากอกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรานี้ไม่รู้

แล้วไม่รู้นี้ไม่มีความจริงเป็นของตัวเองก็อ้างพุทธพจน์.. พุทธพจน์.. หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่านอ้างเพื่อให้ชัดเจน แต่ความจริงท่านอ้างจากใจของท่าน ครูบาอาจารย์ของเราท่านอ้างจากความรู้จริงอันนั้น แต่ความรู้จริงนี้มันต้องรู้ผ่านพุทธพจน์ไง เวลาพูดออกมาก็เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลวงตาท่านพูดประจำ “เวลาปฏิบัติขึ้นไปแล้วจะรู้ไปที่ไหน พระพุทธเจ้ารู้แล้ว.. พระพุทธเจ้ารู้แล้ว..”

ฉะนั้นเวลาปฏิบัติแล้วจะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความซาบซึ้งในหัวใจ เราซาบซึ้ง ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้นี่ ใครจะรู้ได้... ใครจะรู้ได้... เวลาหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นเห็นไหม สาวก สาวกะ ก็มีธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่แล้วก็ยังต้องบากบั่นขนาดนั้น

เวลาหลวงตาท่านไปอยู่กับหลวงปู่มั่นเห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านผ่านหมดแล้ว เวลาท่านสอนท่านบอก หลวงตาท่านรำพันให้ฟังประจำ “เหมือนเด็กๆ เหมือนสอนเด็กๆ จิตเสื่อมก็บอกว่าจิตนี้มันต้องกินอาหาร ไม่ต้องไปเสียใจดีใจกับมัน พุทโธๆ ไว้ เดี๋ยวมันหิวนะ มันก็จะกลับมากินเอง พุทโธๆๆ ไว้จิตกลับไปเป็นสมาธิอีก”

เวลาท่านผ่านมาแล้วท่านย้อนกลับไปดูเห็นไหม ย้อนกลับไปดูที่หลวงปู่มั่นสอน ท่านสะท้อนใจว่าเหมือนสอนเด็กๆ เหมือนสอนด้วยความเมตตา.. ถ้าเราไม่รู้ก็คือเราไม่รู้ แต่พอเรารู้แล้วนะ เรามีความเคารพ เห็นไหมท่านเมตตาเรา เราจับต้นชนปลายสิ่งใดไม่ได้เลย ท่านสอนเหมือนเด็กๆ เลย

“จิตนี้มันต้องกินอาหาร” นี่เวลาความคิดมันเกิดจากใจไง ถ้าจิตมันเสื่อมไป ไม่ต้องไปเสียใจกับมันเพราะเรารักษาอาหารไว้ รักษาพุทโธๆๆ ไว้ เดี๋ยวมันหิวมันจะกลับมากินเอง แล้วก็เป็นอย่างนั้น จากจิตเสื่อมมันก็หายหมด จากจิตที่มันเสื่อม จากจิตที่มันควบคุมไม่ได้ พอจิตมันต้องมากินอาหาร ต้องมากินพุทโธๆๆ จนจิตสงบเห็นไหม

ครูบาอาจารย์ของเราเป็นเจดีย์นะ เป็นธรรมเจดีย์ เป็นที่เคารพบูชาของเรา เพราะท่านเมตตาเรา ท่านสอนเรา ท่านบอกเรา ให้เราเข้าสู่เหล่าสู่กอไง เหล่ากอของพุทธะ เพื่อประโยชน์กับเราเอง เอวัง