เทศน์บนศาลา

พูด-ทำเหมือนง่าย

๑๓ ก.พ. ๒๕๕๓

 

พูด-ทำเหมือนง่าย

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจภาวนา การภาวนาคือการรักษาจิตของเรา การภาวนาคือรักษา คนรักตัวเอง คนรักตน คนเห็นประโยชน์กับชีวิตของตน ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ผู้ที่นับถือศาสนาเป็นผู้ที่มีบุญมาก ผู้ที่ไม่มีบุญจะไม่มีโอกาสนับถือพระพุทธศาสนา  เวลาพระพุทธศาสนาจะเกิดมาแต่ละครั้งแต่ละหน องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เอกนามกิง หนึ่งไม่มีสอง แล้วกว่าจะตรัสรู้ทุกข์แต่ละองค์แสนทุกข์แสนยาก แสนทุกข์แสนยาก เพราะพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาที่ประเสริฐมาก เป็นศาสนาที่ละเอียดอ่อนมาก เป็นศาสนาที่เข้าถึงทุกข์ กำจัดทุกข์ในหัวใจได้จริง  การกำจัดทุกข์ในหัวใจได้จริง เห็นไหม ทุกข์ไม่มีก็ไม่มีการเกิด เพราะมีการเกิด ทุกข์เลยตามมา ทุกข์เพราะมีการเกิด ที่ไหนมีการเกิดที่นั้นต้องมีการดับ ที่ไหนมีการเกิดต้องมีการตาย สิ่งใดที่ได้สิ่งใดมาต้องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา

ชีวิตนี้เวียนตายเวียนเกิดโดยธรรมชาติอย่างนี้ตลอดมา แล้วปัจจุบันนี้ เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเรามีโอกาสได้นับถือพุทธศาสนา ครูบาอาจารย์บอกว่า ผู้ที่ได้นับถือศาสนานี้มีบุญกุศลมาก เรามีบุญกุศล เราได้นับถือพระพุทธศาสนา แล้วเรายังมีบุญกุศลมากกว่านั้นเข้าไปอีก ผู้ที่นับถือศาสนา เห็นไหมศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งความเรียบง่าย  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการให้อภัย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เจือจานกันเห็นไหม พระพุทธศาสนาทำให้เกิดยิ้มสยาม ยิ้มเกิดจากหัวใจ ยิ้มเพราะมีความสุขในหัวใจ ยิ้มเพราะมีการไว้เนื้อเชื่อใจกัน มันถึงมีความสุขความอบอุ่นในหัวใจ

พระพุทธศาสนามีประเพณีวัฒนธรรม ประเพณี วัฒนธรรม เป็นศาสนาแห่งความเรียบง่าย ประเพณี วัฒนธรรมเพื่ออะไร เพื่อให้คนได้ทำบุญกุศล เพื่อทำให้คนมีหลักมีเกณฑ์ ประเพณี วัฒนธรรม สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา พระพุทธศาสนา ศาสนาแห่งความเรียบง่ายมีความสุขมีความพอใจในหัวใจของเรา เรามีความเชื่อมั่นในศาสนา เรามีเจตนาที่มากกว่านั้น เรามีเจตนาที่ว่าเราจะประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึงธรรม เข้าถึงธรรม เห็นไหมพระพุทธศาสนา ศาสนาแห่งความเรียบง่าย ความเรียบง่าย ความอยู่สุข อยู่สบาย เห็นไหม การมีศีลมีธรรม ผู้มีศีล มีธรรม ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล สังคมมีความร่มเย็นเป็นสุขเห็นไหม สิ่งนั้นเป็นที่อาศัยของชาวพุทธ แต่เรามีความตั้งใจมากกว่านั้น เรามีความที่ต้องการให้พ้นไปจากทุกข์ การพ้นทุกข์ก็ต้องการประพฤติปฏิบัติ  นี่พูดถึงในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา 

พระพุทธศาสนาสอนที่สุดแห่งทุกข์เห็นไหม สอนตั้งแต่เล็กเด็กๆ สอนตั้งแต่การเสียสละ สอนกันมาเป็นเรื่องโลก  สอนอย่างนี้สอนเพื่อสังคมเห็นไหม เราเกิดมาในสังคมอย่างนั้น สังคมความเรียบง่าย เห็นไหมพูดนี่มันเหมือนง่าย พูดกับทำ เวลาทำ ทำก็เหมือนง่ายๆ นะ แต่เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ง่ายเลย องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้แต่ละพระองค์ เห็นไหมพระโพธิสัตว์ต้องสร้างบุญญาธิการ สร้างมาเพื่อสิ่งใด สร้างมาเพื่อความเตรียมพร้อมไง  พันธุกรรมทางจิต จิตของคนมันหลากหลาย จิตของคนความคิดมันหลากหลาย แล้วความคิดของจิต ความคิดของแต่ละบุคคลจะให้เหมือนกันมันเป็นไปไม่ได้  

ดูสิ องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสร้างบุญกุศลมาตั้ง ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย คำว่าอสงไขย ดูสิ พระพุทธเจ้าเหมือนกันแต่บุญญาธิการแตกต่างกันเห็นไหม ปัญญาแตกต่างกัน การรื้อค้นการสั่งสอนมันลึกซึ้งกว้างขวาง สิ่งนี้มันมาจากไหน พระโพธิสัตว์เตรียมความพร้อมของจิต ถ้าเตรียมความพร้อมของจิตมันง่ายไหมล่ะ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเรียบง่าย พูดเรื่องพระพุทธศาสนาพูดให้ง่ายพูดอย่างไรก็ได้ เพราะลิ้นของคนมันพลิกแพลงได้  แล้วถ้ายิ่งลิ้นที่มีจิตใจอกุศล  เพื่อผลประโยชน์ของมัน มันยิ่งพูดให้คนเชื่อถือได้ง่ายขึ้นไปอีก แล้วพูดก็พูดง่าย ทำก็ทำง่ายๆ  ทำเหมือนง่ายๆ แต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ง่าย ไม่ง่าย ต้องทำตามความเป็นจริง  เพราะความเรียบง่ายเป็นเรื่องของโลกไง

สังคมเห็นไหม ดูสิ ดูธรรมวินัยสิ  วินัย ทำให้พระอยู่กันด้วยความสุข ความร่มเย็นเป็นสุข สังคมมีกฎหมาย กฎหมายเพื่อบังคับคนที่ทำความผิดเห็นไหม แต่คนที่ไม่ทำความผิดก็ไม่ทำผิดกฎหมาย กฎหมายเขาบังคับคน เห็นไหม สิ่งต่างๆ  สังคมก็เป็นแบบนั้น ความเรียบง่ายของสังคมเพื่อความเป็นอยู่ของโลกเขา แต่ในสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุขขนาดไหนสังคมนั้นก็ต้องเกิดต้องตายเป็นธรรมดา ต้องเกิดต้องตายเป็นธรรมดา

เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นผู้มีบุญกุศล เราเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนเรื่องอะไร  พระพุทธเจ้าเกิดมา พระพุทธศาสนาเกิดจากที่ไหน เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดที่โคนต้นโพธิ์นั้น เกิดที่ต้นโพธิ์ เกิดอย่างไร พระพุทธเจ้าเกิดอย่างไร  เวลาพระพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเวลาไปเที่ยวสวนเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังมีความทุกข์อยู่นะ เราก็ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย อย่างนี้เชียวหรือ

เห็นไหม มันเป็นความสร้อยเศร้าเหงาหงอยไหม ถ้ายังไม่มีธรรม มันเป็นความเศร้าสร้อยหงอยเหงานะ แต่ถ้ามีธรรม เห็นไหมองค์สมเด็จสัมมาพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ววางธรรมวินัยไว้ วางธรรมวินัยเพื่อเหตุใด เพื่อไปแก้กิเลส กิเลสมันคืออะไร กิเลสมันคือความเคยใจ กิเลสเป็นแรงขับของใจ ถ้าแรงขับของใจมีอวิชชามีกิเลสอยู่มันจะมีแรงขับของมันเห็นไหม แรงขับอันนี้มันทำให้สูงๆ ต่ำๆ ในเมื่อจิตของเรายังพร่องอยู่ ความพร่องอยู่มันหมุนของมันไป  สิ่งที่มันหมุนไปมันเป็นความขับเคลื่อนของใจ กิเลสตัณหาความทะยานอยากเป็นแรงขับเคลื่อนของใจ

แล้วการชำระกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันชำระอย่างไร การชำระกิเลสตัณหาความทะยานอยากโดยองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า อาสวักขยญาณชำระกิเลสตั้งแต่โคนต้นโพธิ์ เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระกิเลสขึ้นมาแล้ว มันถึงว่าถ้าเป็นธรรม เวลาเป็นธรรม พอศึกษาธรรมขึ้นมานี่ พูดง่ายๆ เวลาเราพูดง่ายๆ เราศึกษาไปเราก็สลดสังเวชเหมือนกัน

เห็นไหม ธรรมสังเวช มันมีธรรม มันมีหลักขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาจากใจขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเป็นความจริง แล้ววางธรรมและวินัยไว้เป็นเครื่องหมายเป็นการบอกกล่าวให้เราประพฤติปฏิบัติ ให้เราพยายามทำของเรา  ให้เราพยายามทำของเราเพื่อชำระล้างกิเลสของเรา กิเลสในหัวใจของเรานี่ เราต้องขวนขวาย ต้องประพฤติปฏิบัติของเราเอง

ในเมื่อความทุกข์ความสุขเกิดจากกลางหัวใจของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติ เราต้องทำของเรา เวลาเราทำมันจะไม่ง่ายอย่างที่เราคิดหรอก พูดเหมือนง่าย ทำเหมือนง่าย พูดเหมือนง่ายๆ ทำก็เหมือนง่ายๆ แต่...แต่เหมือน เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ง่ายมาตั้งแต่ ๔ อสงไขย ๘อสงไขย ๑๖ อสงไขย มันง่ายที่ไหน การเสียสละมาเพื่อพัฒนาการของจิต การทำบุญกุศล ทำทานของเราเพื่อพัฒนาการของจิต เห็นไหม

ทาน ศีล ภาวนา ทานคือความเสียสละ  เสียสละความตระหนี่ถี่เหนียว เสียสละความยึดมั่นถือมั่นของใจ ใจมันยึดมั่นถือมั่นโดยธรรมชาติของมัน การเสียสละนี้คือกำปั้นทุบดิน    คือการพยายามบังคับ พยายามทำความตระหนี่ถี่เหนียวให้มันออกไปจากใจ  ความคับแค้นใจอะไรต่างๆ มันเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เราไม่ต้องการ เห็นไหม ความตระหนี่ถี่เหนียวก็เหมือนกัน ความตระหนี่ถี่เหนียว ความยึดมั่นถือมั่นของใจมันเป็นธรรมชาติของมัน กิเลสตัณหาความทะยานอยาก   ตัณหาคือความแสวงหาของมัน  ความล้นฝั่งของมัน  มันไม่มีความพอใจของมันเห็นไหม

สิ่งใดเราคิด แม้แต่บุญกุศล เราก็พยายามแสวงหาของเรา การแสวงหาอย่างนี้มันเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ดีเห็นไหม สิ่งที่ดีเป็นมรรค ความพยายามประพฤติปฏิบัติของเราเป็นมรรค ความเป็นมรรคคือการขวนขวาย การขวนขวาย คนจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ต้องมีความเพียร ความเพียรความพยายามของเรา เพราะเรามีความตั้งใจ เรามีความขวนขวายของเรา มันถึงมีความเพียรของเรา ถ้าความเพียรของเราขึ้นมา กิเลสมันมีแต่หลอกลวงเราตลอดเวลา เวลาคนคิดสิ่งที่ดีๆ กิเลสมันก็ขึ้นมากับความคิดของเราอันนั้น มันก็ทำให้ความคิดของเราให้เฉไฉออกนอกลู่นอกทางไป เวลาจิตเรามีความทุกข์ความยาก  เวลาจิตของเรามีความหมักหมมในใจ มันก็บอกว่าสิ่งนี้เป็นบาปอกุศล มันก็รังเกียจเดียดฉันท์ มันก็ไม่พอใจ

เห็นไหม ตัณหา วิภาวตัณหามันก็อยู่ในใจของเราตลอดไป แต่ถ้ามันอยู่ของมันแบบนั้น มันก็อยู่แบบวังวนของมันโดยธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่ในใจของเราอย่างนั้นตลอดมา  แล้วเราศึกษาขึ้นมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สิ่งนี้ถ้าเป็นความดี ความดีมันก็เป็นความทุกข์ความยากอันหนึ่ง มันเป็นความมุ่งหมายอันหนึ่ง แต่ความมุ่งหมายนี้เป็นความมุ่งหมายเพื่อจะพาให้เราพ้นไปจากสิ่งที่มันหน่วงเหนี่ยวหน่วงรั้งเอาไว้

ถ้าเราคิดแบบนี้ พูดเหมือนง่าย ถ้ามีความอยากปฏิบัติไม่ได้ ความอยากเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความอยากเป็นกิเลส มีกิเลสแล้วจะปฏิบัติอย่างไร  นี่เวลาเราพูด แล้วเวลาเราปฏิบัติล่ะ เวลาทำก็เหมือนง่าย เราก็ไม่มีสิ่งใดเลย เราก็ทำโดยไม่มีความอยาก เราก็นั่งภาวนาของเราโดยไม่มีความอยาก มันก็หัวตอ มันก็หัวตอ มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว มันมีของมันเป็นธรรมชาติของมัน ถ้าไม่มีธรรมชาติของมัน มันจะเกิดมาทำไม

สิ่งที่มันเกิดขึ้นมา เพราะมันมีแรงขับของมันอยู่แล้ว มันอยู่จิตใต้สำนึก อยู่กับใจเราอยู่แล้ว บอกว่ากิเลสไม่มี มีเพราะมันยึด ไม่ยึดกิเลส กิเลสมันก็ไม่มี แล้วเราก็ไม่ยึด เราก็บอกไม่ยึด ไม่ยึดแล้วมันอยู่ไหน มันละลายไปกับอากาศหรือ กิเลสหายไปเพราะมีอะไรมาชำระล้างมันหรือ มันก็ไม่มี มันไม่มีอะไรชำระล้างกันไปเลย เราบอกว่าเรารู้เท่ามันก็จบ เพราะเราไปยึดมันเองมันถึงเป็น

เห็นไหม พูดน่ะมันง่าย พูดง่ายๆ แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้นเลย ถ้าความจริงเป็นอย่างนั้นนะ เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปริยัตินะ นี่เป็นทางวิชาการ ถ้าทางวิชาการเราก็เข้าใจแล้ว นิพพานคือไม่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากเลย ชำระกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา จดจำได้หมด มีรูปแบบหมด แล้วเราสร้างภาพได้หมดเลย แต่มันชำระล้างกิเลสได้ไหม มันไม่ได้เพราะอะไร เพราะปริยัติ   มันต้องมีการปฏิบัติ แล้วพอปฏิบัติมันไม่มีข้อเท็จจริงขึ้นมา การปฏิบัตินั้นก็สูญเปล่า มันไม่มีสิ่งผลตอบสนองกับความเป็นจริงของหัวใจ

การกระทำขึ้นมามันก็ทำด้วยกิริยาเฉยๆ ดูสิ เวลาเราทำบุญกุศลกัน  เขาทำบุญกุศลกันสักแต่ว่าทำ ทำพอเป็นพิธีไป แต่คนที่ทำด้วยความซาบซึ้งก็แตกต่างกันเห็นไหม คนที่ทำด้วยความซาบซึ้งเขาทำด้วยความตั้งใจของเขา นี่เหมือนกัน เห็นเขาปฏิบัติก็ปฏิบัติกัน ที่ไหนเขามีการปฏิบัติ กระแสการปฏิบัติมันขึ้นสูงเราก็ปฏิบัติกับเขาเป็นกิริยาเฉยๆ มันไม่มีสิ่งตอบสนอง ไม่มีความเป็นจริง

นี่ ง่ายๆ ไง พูดทำเหมือนง่าย แต่ถ้าเอาความจริงขึ้นมามันไม่ง่าย เพราะสิ่งที่เวลาเราทำนะ เราทำโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่างวันนี้ภาวนาดี สิ่งต่างๆ มันเป็นไปได้ เพราะถ้าดีอย่างนี้เราจะเอาจริงเอาจัง เท่านั้นล่ะ ล้มเลยนะ พอจะเอาจริงเอาจังกิเลสมันตื่นไง  เวลากิเลสยังไม่ตื่นมันก็ปล่อยเราตามสบาย เหมือนวัวเหมือนควายเขาปล่อยให้กินหญ้า   มันก็เล็มของมันไปตลอดเลย พอผูกเชือกขึ้นมามันก็ดิ้นล่ะ พอมันปล่อยตามสบาย มันก็แทะเล็มหญ้ากินตลอดไป หัวใจ  กิเลสมันปล่อยเราไง เหมือนวัวเหมือนควายจริงๆ พอกิเลสมันลืมตัว กิเลสมันนอนหลับ โห...สบาย มันดีนะ

พอกิเลสมันตื่นขึ้นมาหัวชนฝาเลย หัวชนฝามันเป็นอย่างไรล่ะ พอกิเลสตื่นมาแล้วมันขัดอกขัดใจไปหมด  ปฏิบัติแบบนี้ก็ไม่ได้เรื่อง ทำอะไรก็ไม่ได้ผล ทำอะไรไม่ได้สักอย่างเลย กิเลสมันตื่นขึ้นมามันก็เป็นการเผชิญหน้ากับความเป็นจริง กิเลสมันมีอยู่แล้วนะ เขาบอกกิเลสมันไม่มีหรอก มีเพราะยึด  ก็มันไม่ได้ยึด ก็บอกมันไม่มีอะไรต่างๆ ก็ปฏิบัติไปแบบสบายๆ พอตั้งใจจะเอาจริงเอาจัง กิเลสมันตื่นขึ้นมามันทำอะไรไม่ถูกสักอย่างเลย ทำอะไรมันอั้นตู้ไปหมดเลย แล้วบอกกิเลสมันไม่มีไง ไม่มีแล้วขุ่นใจทำไม  ก็บอกว่าสบายๆ ไง  ปล่อยแล้วก็ไม่มีสิ ขณะปล่อยมันเป็นการกระทำโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

เวลากระทำโดยความเป็นจริงของเรานะ เราก็ต้องตั้งใจของเรา คนเราจะทำธุรกิจ จะทำการค้าสิ่งใดเขาต้องมีทุนรอนของเขา เขาต้องมีองค์ความรู้ของเขาเพื่อจะประกอบสัมมาอาชีวะของเขา เราไม่มีองค์ความรู้สิ่งใดๆ เลย  เห็นเขาทำเราก็ทำตามเขาไป เขาทำของเขา เขามีองค์ความรู้ของเขา ทำวิจัยตลาดของเขา เขาทำของเขาเองได้ การทำงานของเขาถึงประสบผลความสำเร็จ ไอ้เราเห็นเขาทำเราก็ทำตามเขาไปเลย ถ้าตลาดมันดีมันก็อาจจะประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน

นี่เหมือนกันมานั่งภาวนาก็สักแต่ว่า องค์ความรู้เราไม่มี ความเป็นจริงของเราไม่มี ถ้าความจริงของเรามีนะ นี่ถึงบอกว่า การปฏิบัติการพูดการทำมันไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอก เวลาเราทำโดยโลกๆ น่ะมันเหมือนง่ายนะ ครูบาอาจารย์ของเราที่มันเหมือนง่ายเพราะอะไร  เพราะท่านเคยทุกข์ยากขึ้นมาก่อน

องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาที่ออกจากราชวัง พยายามค้นคว้าอยู่ ๖ ปี  ไปทดสอบไปตรวจสอบกับลัทธิต่างๆ มา ทำทุกรกิริยามาขนาดไหน มันยากหรือมันง่ายล่ะ  มันง่ายไหม มันไม่ง่ายเลย แต่ถึงเวลาไปทดสอบมาแล้ว การทดสอบมาเพราะธรรมยังไม่มี  ธรรมยังไม่มี คือความเป็นจริงยังไม่มี เพราะเจ้าลัทธิต่างๆ เขาก็สอนไปตามประสาของเขา

ทีนี้พอมาประพฤติปฏิบัติทั้งๆ ที่มีอำนาจวาสนา พอไปถึงไม่ได้นะ ก็ย้อนกลับไปถึงโคนต้นหว้าเลย ย้อนกลับมาพึ่งศักยภาพของตนเอง  พึ่งศักยภาพของจิตที่ได้เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้สร้างบุญญาธิการมามหาศาล  พระโพธิสัตว์จะพึ่งคนนอกได้ไหม ไม่ได้เลย แล้วจะพึ่งใครล่ะ ก็พึ่งใจของเรา นึกถึงโคนต้นหว้า  นึกถึงเมื่อจิตมันมีความสงบมันมีความสุขอย่างไร เห็นไหมจิตมันสงบมันมีความสุขอย่างไร ถ้าจิตมีความสุขอย่างไร เราจะเอาอานาปานสติที่โคนต้นหว้านี้มาเป็นตัวหลัก พอเป็นตัวหลักก็กำหนดลมหายใจตั้งแต่ปฐมยามเห็นไหม พอจิตละเอียดเข้าไป นี่พึ่งใครไม่ได้ พึ่งข้างนอกพึ่งสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย ในเมื่อพึ่งสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย ก็มาพึ่งสติปัญญาของตัว มาพึ่งความเห็นของตัว

สิ่งที่ปฏิสนธิจิตที่มันเกิดขึ้นมาเห็นไหม พอจะพึ่งความเห็นของตัวก็ตั้งสติเข้ามา กำหนดลมหายใจเข้ามา  กำหนดลมหายใจ ละเอียดเข้าไป  เพราะได้วางสิ่งที่ไปตรวจสอบ   วางสิ่งที่ศึกษามา  วางกับที่จิตใจเราไปแอบอิงความรู้ความเห็นของการประพฤติปฏิบัติทางโลกทิ้งหมดเลย  แล้วกลับมาพึ่งตัวของเราเอง พอพึ่งตนเอง พอปฐมยามทรงถึงซึ่งบุพเพนิวาสานุสติญาณ  ญาณหยั่งรู้  ญาณหยั่งรู้เกิดจากอะไรล่ะ ถ้าจิตไม่สงบจะมีญาณหยั่งรู้มาจากไหน พอจิตมันสงบมันมีญาณหยั่งรู้ขึ้นมา เห็นไหม ญาณหยั่งรู้ขึ้นมาย้อนอดีตชาติไปไม่สิ้นสุด

จุตูปปาตญาณ ก็ญาณหยั่งรู้เหมือนกัน แต่ญาณหยั่งรู้อย่างนี้มันเกิดจากสัมมาสมาธิ  สมาธิมันมีของมันเห็นไหม มันเกิดเห็นโดยตามข้อเท็จจริง เห็นโดยข้อเท็จจริงนะ ไม่ได้เห็นโดยอาสวักขยญาณ  อาสวักขยญาณคือญาณชำระกิเลส แต่ญาณหยั่งรู้อย่างนี้ นี่เห็นไหม กิเลสมันไม่มี ถ้าไม่ยึดคือไม่มี ญาณหยั่งรู้อย่างนี้ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนอดีตชาติไป ย้อนตลอดไปมันแก้กิเลสได้ไหมล่ะ มันแก้ไม่ได้

จุตูปปาตญาณ อนาคต รู้ว่าถ้าจิตไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมันมีกระบวนการของมันใช่ไหม มันมีแรงขับของมันใช่ไหม  มันมีแรงขับของมัน นี่จิตมันเป็นกลางนะ จิตเป็นสัมมาสมาธิมันเกิดญาณหยั่งรู้ ญาณหยั่งรู้ไม่มีกิเลสไปดีใจหรือเสียใจกับมัน แต่มองไปขนาดไหนมันก็ยังชำระกิเลสไม่ได้เห็นไหม

อาสวักขยญาณมาทำลาย ทำลายอวิชชา  ทำลายกิเลส นี่แล้วมาบอกว่ากิเลสมันไม่มีไง กิเลสมีเพราะยึด ตัวตนมีเพราะยึด ถ้าไม่ยึดมันก็ไม่มี  ไม่มีเห็นไหม เรารู้ตามความเป็นจริงก็จบไง เราก็รู้หมดแล้ว นิพพานก็ว่างปล่อยสบายอยู่ นี่ไง พูดเหมือนง่ายๆ แต่ความเป็นจริงมันไม่ง่ายหรอก ไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอก พอไม่ง่ายอย่างที่คิด ดูสิขนาดว่าอาสวักขยญาณเกิดขึ้นมา องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าพอเวลามาพึ่งตนเอง พึ่งตนเองด้วยบุญอำนาจวาสนา พอเปรียบเทียบมากับสิ่งที่ไปทดสอบมากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทั้งหมดแล้ว เขาก็ว่าเขาเป็นพระอรหันต์ทั้งนั้นแหละ แต่หันลงไหนล่ะ หันลงนรกนะซิ

แต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าน่ะวางไว้หมดเลย ใครจะเชิดชู ใครจะรับประกันแค่ไหนวางไว้หมด แล้วกลับมาพึ่งตนเอง แล้วพอตนเองมันชำระ  ชำระองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เห็นไหม ที่โคนต้นโพธิ์  พอโคนต้นโพธิ์ เสร็จแล้วมาเทศน์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  เทว เม ภิกฺขเว ทางสองส่วนภิกษุไม่ควรเสพ อัตตกิลมถานุโยค   กามสุขัลลิกานุโยค ทีนี้ อัตตกิลมถานุโยค  กามสุขัลลิกานุโยค มันก็ต้องเทียบกับองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะที่ปฏิบัติมา ๖ ปี อัตตกิลมถานุโยคมันไม่มีธรรม มันทำของมันไปเต็มที่เลย แล้วเราจะทำความจริงจังขึ้นมาเห็นไหม มันก็ว่าจะยากเกินไปเป็นอัตตกิลมถานุโยค   มันปิดกั้นไม่ให้เรามีทางออกเลยนะ

แล้วเวลากามสุขัลลิกานุโยคเป็นอย่างไรล่ะ เวลาติดสุขอยู่แล้วมันติดอย่างไร พอจิตเข้าสมาธิมันติดอย่างไร   นี่ทางสองส่วนไม่ควรเสพ ให้มัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาในการประพฤติปฏิบัติ มัชฌิมาปฏิปทาแบบที่เราทำกันอยู่นี่  มัชฌิมาปฏิปทาแบบผู้ที่จงใจตั้งใจ มันจงใจตั้งใจเพราะมัชฌิมาปฏิปทาสมควรกับเหตุ สมควรกับกิเลสตัณหาความทะยานอยากของคนที่จิตหยาบจิตละเอียดแตกต่างกัน ถ้าจิตหยาบจิตละเอียดแตกต่างกันมันก็ต้องมีเหตุคุณค่าพอสมดุลกันมันถึงจะไปยับยั้งกัน ถึงไปมีน้ำหนักต่อสู้กันได้

เราปฏิบัติมาเห็นไหม พูดน่ะมันง่าย พูดน่ะมันง่าย ๆ ยิ่งทำยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่เลย เพราะอะไร เพราะธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่แล้วใช่ไหม อ้างอิงมาตลอดเลย แต่ไม่ได้พึ่งตนเองเลย เอาแต่ความรู้ความเห็นขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปริยัติแล้วก็ยึดว่าต้องเป็นอย่างนั้น อะไรก็ไม่มีอยู่แล้ว กิเลสก็ไม่มีอยู่แล้ว ทุกอย่างก็ไม่มีอยู่แล้ว เข้าใจก็วางได้หมดเลย นี่มันเหมือนง่ายแต่ไม่ง่ายเลย ไม่ง่ายเพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทำมาหมดแล้ว

แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สิ่งที่ศึกษาเล่าเรียนมาขนาดไหนเป็นสมบัติของคนอื่นหมดนะ เราได้ยินข่าวมานะ ดูสิ หลวงปู่เสาร์  หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์น่ะ พระอรหันต์ทั้งนั้นเลย เราได้ยินข่าวของคนอื่นทั้งนั้นเลย แล้วเราล่ะ เราเป็นอะไร เราได้อะไร เราได้ตั้งใจทำขนาดไหน ถ้าเราตั้งใจทำมันควรจะเป็นข่าวของเรา มันควรจะเป็นความจริงของเรา มันควรจะเป็นความสุขความสงบในหัวใจของเรา ถ้ามันเป็นความจริงความสงบสุขในหัวใจของเรา เราถึงตั้งใจ นี่ไง  ถึงว่าเรามีบุญไง ถ้าเราไม่มีบุญเราก็ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา นับถือพระพุทธศาสนาแล้วเรายังจะเอาความเป็นจริงในพระพุทธศาสนา เราไม่ใช่เอาประเพณีวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนา สิ่งที่เขาทำกันอยู่นี่เป็นประเพณีวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีแก่น มีกระพี้ มีเปลือก แล้วแก่นของมันอยู่ไหน

ถ้าแก่นของมัน ดูสิ เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะรอดพ้นจากกิเลสไปยังต้องมาพึ่งหัวใจขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เราประพฤติปฏิบัติมา ถ้าเราจะพ้นจากกิเลสเราก็ต้องพึ่งหัวใจของเราเอง ถ้าพึ่งหัวใจของเราเอง  หัวใจของเราอยู่ที่ไหน ที่ว่ามนุษย์มีกายกับใจ พูดว่ากายกับใจ กายกับใจนี่ ร่างกายมันเป็นแร่ธาตุ มันเป็นธาตุ ๔  ดิน น้ำ ลม ไฟ มันอาศัยแร่ธาตุ ดูกรรม ถ้าพูดถึงเรื่องของกรรม เรื่องของวัฏฏะมันมหัศจรรย์มาก ดูสิ พ่อแม่ของเรา ไข่ของแม่ใบเดียวมาเป็นเรานั่งอยู่นี่ได้อย่างไร มันเจริญเติบโตมาได้อย่างไร นี่ธาตุ ๔ กับธาตุ ๔ ถ้าไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีสายบุญสายกรรม  เราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้อย่างไร

ก็บอกว่าในเมื่อมันเป็นวิทยาศาสตร์ คนก็เกิดมาจากดินน้ำลมไฟ ธาตุ ๔ มาผสมกัน ก็ไปเอาดิน น้ำ ลม ไฟมากวนๆ มาผสมกันแล้วเอาเข้าไปในเครื่องจักร พยายามทำให้มันเป็นคนขึ้นมา มันก็เป็นไปไม่ได้ มันไม่มีหรอก แต่เวลาเกิดมา เห็นไหม เราเกิดมา ร่างกายเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ มันจะเข้าถึงธรรมได้ไหม มันจะเป็นประโยชน์กับสิ่งใด มันไม่มีประโยชน์กับสิ่งใดเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันเป็นเรื่องของสสาร เรื่องของแร่ธาตุ แต่เวลาความคิดปฏิสนธิจิตมาเกิดในไข่ของมารดา นี่เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ 

เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนอดีตชาติไป ย้อนต่างๆ ไป มันรู้มันเห็นของมันไปนะ แต่นี่เราไม่รู้  แล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องรู้ต้องเห็น ไม่จำเป็น เราต้องการความสงบของใจเท่านั้น แต่พอจิตเราสงบแล้วสิ่งนี้มันจะไปพิสูจน์ได้ สิ่งนี้พิสูจน์ตรวจสอบได้ ทุกดวงใจ ทุกคนที่นั่งอยู่นี่ ทุกคนที่มีชีวิตอยู่นี่ ทุกคนมีปฏิสนธิจิต ทุกคนมีความรู้สึก ทุกคนมีหัวใจ แล้วหัวใจมันสืบต่อมาจนเกิดออกจากครรภ์ จนเกิดมาเป็นเรานั่งอยู่นี่ ถ้าเป็นเรานั่งอยู่นี่ เอาปัจจุบันนี้ ถ้าปัจจุบันเราพยายามจะขวนขวาย เห็นไหม กายกับใจ กายกับใจ ใจมันอยู่ไหน

เวลาใจมันสงบร่มเย็นขึ้นมานะ เราจะมีโอกาสของเรา เห็นไหมความตั้งใจความจริงใจของเรา เราทำของเรา จะกำหนดพุทโธ หรือจะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ  จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันเป็นเอกเทศของมันเข้ามา เห็นไหม ถ้าจิตมันเป็นเอกเทศของมัน มันรับรู้ของมันได้ นี่ ตามข้อเท็จจริง จิตฟุ้งซ่านทุกคนรู้ได้หมด ทุกๆ คนรู้ได้หมด  

ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก็ว่ากิเลสมีเพราะยึด ถ้าเราไม่ยึดกิเลสก็ไม่มี  กิเลสจะมีขึ้นมาเพราะความยึดมั่นถือมั่นของใจ ใจมันเห็นผิดจากสัจธรรมทั้งนั้นแหละมันก็เลยเป็นแบบนี้ ศึกษาไปก็ศึกษาไปเถอะ มันเป็นปริยัติ มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาหรอก  

ในเมื่อศึกษาอย่างนั้นมันก็รู้โดยโลกียปัญญา มันรู้โดยสัญญา  รู้โดยการเทียบเคียง แต่ในปัจจุบันนะ ถ้าตัวจิตมันรู้เองนะ ถ้าตัวจิตมันปล่อยเอง มันจะปล่อยเองได้อย่างไร มันจะปล่อยของมันเองโดยพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ มันปล่อยของมันเข้ามา มันมีที่เกาะที่ยึดเข้ามาเห็นไหม พอพุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตมันสงบเข้ามา ปล่อยวางอะไรเข้ามา เรารู้ทันมันหมดเลย เรารู้เท่าตัวเราเองมาตลอด เห็นไหม ถ้าเรารู้เท่าตัวเอง ดูสิ เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมาพึ่งตนเอง นี่ก็เหมือนกัน เราจะพึ่งใจเราแล้ว เราศึกษาขนาดไหน เราปฏิบัติมาขนาดไหนมันก็ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด

แต่ในปัจจุบันนี้เราจะศึกษาเราจะปฏิบัติของเราเอง ถ้ามันสงบเข้ามาเราก็รู้ว่ามันสงบ ถ้ามันไม่สงบเราก็ต้องหาช่องทางของเราทำให้ใจสงบให้ได้ ถ้ามันไม่สงบขึ้นมาเราจะใช้ปัญญาของเรา เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาตรึกในธรรม เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสอนพระโมคคัลลานะ ถ้าเธอง่วงนอนให้เธอตรึกในธรรมนะ  ให้เธอแหงนหน้าดูดาวนะ ให้เธอเอาน้ำลูบหน้านะ  ถ้าง่วงนักก็นอนซะก่อน นอนซะก่อนเดี๋ยวลุกขึ้นมาปฏิบัติใหม่ เห็นไหม มันก็มีช่องทางออกที่เราจะไปได้    

ไม่ใช่ว่าพอมันจนตรอกเราก็จนตรอก จนดิ้นหาทางออกไม่ได้เลย ในเมื่อจนตรอกขึ้นมาก็นอนซะ แต่ไม่ใช่นอนแล้วนอนไปเลย ไม่กลับมาทำอีกเลย นอนแล้วก็เบื่อ นอนแล้วมีความสุข ก็เลยติด พอใจกับการนอนนั้น พอใจกับความสุขแบบนั้น นอนแล้วมีความสุขปฏิบัติแล้วทุกข์มากไม่เอาอีกแล้ว  เขาให้นอนพัก พอพักหายง่วงแล้วมาปฏิบัติใหม่ ถ้ากลับมาปฏิบัติใหม่เราต้องขวนขวายขึ้นมา เห็นไหม

เราจะพึ่งตนเอง เราจะเอาใจของเราขึ้นมา เราจะพยายามที่จะหาจุดยืนของเราให้ได้ ถ้าเราจะหาจุดยืนของเราพอจิตมันสงบเข้ามานะ  เราตรึกโดยปัญญา ปัญญาธรรมเราตรึกขึ้นมา  เราใช้ปัญญาของเรา ปัญญามันจะใคร่ครวญนะ  ใคร่ครวญว่า  สิ่งที่หัวใจมันเกาะเกี่ยวไปหมดนี่ มันเหมือนยางเหนียว ยางเหนียวดูสิ ดูพาสเตอร์สิ แปะไปที่ไหนมันก็ติดไปหมดเลย

จิตนี่เป็นยางเหนียว มันรับรู้อารมณ์ทั้งหมด แล้วมันซับไว้หมดเลย มันซับสิ่งต่างๆ ไว้หมดเลย แล้วทำไมมันเป็นอย่างนี้ล่ะ ทำไมเราหาทางออกไม่ได้ล่ะ ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธินะ เราก็จะใคร่ครวญเข้าไป เราใคร่ครวญความรู้สึกของเรา ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกไม่ใช่จิต เพราะอารมณ์ความรู้สึกมันเกิดจากจิต จิตนี้เป็นพลังงานเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นจากพลังงาน พลังงานมันมีข้อมูลของมัน มันมีขันธ์ ๕ ใช่ไหม มันรับรู้ มันรับรส รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร  รูป รส กลิ่น เสียงมันผ่านอายตนะ  แล้วมันก็เข้าสู่จิต พอเข้าสู่จิต ถ้าไม่มีศาสนาเราก็คิดของเรา เราก็รับรู้ของเราโดยธรรมชาติ เราก็รู้มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์

ร่างกายของมนุษย์ ทางวิทยาศาสตร์เขาก็พยายามจะค้นคว้ากัน มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์นะ นี่อายตนะของเรา ตา หู จมูก ลิ้น กาย  ใจ การทำงานของมัน เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา  เขาเอามาวิเคราะห์กันแล้วมันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก  เพราะฉะนั้น เราตรึกของเราสิ ตรึกในธรรม ตรึกในธรรมว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ แต่ความมหัศจรรย์นี้มันมีคุณค่าขนาดไหน มันเกิดจากบุญกุศลของเรานะ เพราะบุญกุศลของเรา  ดูสิ อวัยวะของมนุษย์ อวัยวะต่างๆ ของเรามันมีคุณค่ามาก  พอเสื่อมสภาพไป  เราต้องถนอมรักษาไว้ มันเกิดมาก็เพราะบุญของเรา มันถึงมีร่างกายนี้

เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เรามีร่างกายกับจิตใจนี้ เราถึงมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนย้อนกลับ เราเกิดมาจากไหน เราเกิดมาจากกรรม มีการกระทำคือการเกิด พระพุทธศาสนาสอนย้อนกลับ สอนย้อนกลับไปถึงการเกิด  เกิดมาแล้วมาเป็นปัจจุบันนี่ เกิดมามันเป็นอริยทรัพย์ เพราะการเกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา ได้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา  เราเกิดมาด้วยบุญกุศลของเรา บุญกุศลของเรา เพราะมีบุญกุศล เอาบุญกุศลมาประพฤติปฏิบัติ

แล้วการประพฤติปฏิบัติทำไมไม่ได้ดั่งใจล่ะ กิเลสนะมันไปกับเราตลอด กิเลสมันบังเงามาตลอด กิเลสพอมันนอนหลับพักผ่อนให้เราได้หายอกหายใจ เราก็ว่าเราเป็นคนดี เราก็มีโอกาสได้ทำสิ่งใดๆ พอกิเลสมันตื่นตัวขึ้นมากิเลสมันเหยียบย่ำเรา เราก็อยู่ใต้อุ้งเท้ามันตลอดเวลา แล้วเราจะทำอย่างไร ในเมื่อกิเลสก็ยังมีอยู่

สัจธรรมจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเราตั้งใจ สมาธิจะเกิดมาต่อเมื่อเรามีความตั้งใจ ในเมื่อสมาธิเราเกิดมามีความตั้งใจ เราทำตั้งใจของเรา ส่วนน้อยมันมีโอกาสน้อยๆ แต่เราจะทำของเราเพิ่มมากขึ้น มากขึ้น จนมันเสมอตัวกันเห็นไหม พอมันเริ่มเสมอกัน พอมันมาต่อสู้กันได้ จิตใจเริ่มสงบร่มเย็นขึ้นมา แต่ถ้าจิตใจเราเริ่มต้น เริ่มต้นตั้งแต่การกระทำเห็นไหม การกระทำมันไม่ง่ายหรอก ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ถ้ามันง่ายขึ้นมา คำว่าส้มหล่น มันฟลุ้ค  เพราะคนเรามันก็สร้างบุญกุศลมาเหมือนกัน   

ดูสิ   ฤดูกาลมันก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา วรรคแห่งความดีเห็นไหม วรรคแห่งกรรมต่างๆ ที่มันเปลี่ยนแปลง ถึงเวลามันเป็นของมันได้  นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันลงขึ้นมา สิ่งนั้นมันก็เป็นคุณงามความดี มันก็เป็นความสุขเห็นไหม มันเป็นสิ่งที่เราเผชิญหน้า เรารับรู้มันได้ สิ่งที่รับรู้ได้นี่ ถ้าเราปฏิบัติบ่อยๆ   บ่อยครั้งเข้า สิ่งนี้เราทำจนชำนาญเห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดนะ การประพฤติปฏิบัติของเราต้องชำนาญในวสี  เวลาเข้าออกสมาธิ  เข้าออกสู่ความสงบ การเข้าออกสู่ความสงบ มันเข้าออกอย่างไร    

ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เรามีสติ มีปัญญาของเรา เรารักษาสติ รักษาปัญญาของเรา เห็นไหม นี่แหละมันจะเข้าสู่ความสงบ ชำนาญในวสี    การเข้าและการออก การเข้าออกเหมือนตะกอนของน้ำ ตะกอนของน้ำเวลามันนิ่งอยู่ ตะกอนก็อยู่ก้นแก้ว เวลาขยับตะกอนมันขึ้นมา เห็นไหม การเข้าการออก มันไม่ใช่เข้าออกแบบว่าเราเข้าออก มันเข้าออกด้วยความซึมซับ เห็นไหมเวลาจิตมันละเอียดเข้ามาเหมือนตะกอนมันนอนก้น เวลาขยับตะกอนมันเขย่า พอมันเคลื่อนไหวตะกอนมันก็ขึ้นมาบนน้ำ

จิตใจของเราชำนาญในวสี แล้วเราก็ดูของเรา จิตสงบเป็นอย่างไร เวลาจิตไม่สงบมันเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด  เราก็ต้องหาวิธีการ เห็นไหมเวลาครูบาอาจารย์ของเรา ความเป็นอยู่ของเรา ภิกษุถือธุดงควัตร ฉันมื้อเดียว ขนาดฉันมื้อเดียวภิกษุยังผ่อนอาหาร การผ่อนอาหาร การอดอาหาร ธาตุขันธ์ทับจิต

เวลาธาตุขันธ์ทับจิต  เวลาเราปฏิบัติ เราดู สุขในการเสพเห็นไหม สุขในการใช้ปัจจัย ๔ กับสุขในสมาธิ กับสุขในปัญญานี่ ความสุขมันแตกต่างกันอย่างไร ถ้าเราไม่เห็นกับความสุข เราไม่เห็นโทษของการกิน เราไม่เห็นโทษของการนอน เราไม่เห็นโทษของมัน ถ้าเราไม่เห็นโทษของมัน เราจะไปอดเราจะไปผ่อนมันทำไม เพราะเราเห็นโทษของมัน เห็นไหม เพราะการกินมาก  การนอนมากยิ่งทำให้อืดอาด ทำให้ธาตุขันธ์ทับจิต เราก็ผ่อนเห็นไหม

เราทั้งผ่อนทั้งเปิดโอกาส  ธุดงควัตร ฉันมื้อเดียว อาสนะเดียว ถือผ้า ๓ ผืนต่างๆ เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส มันเป็นเครื่องขัดเกลาเห็นไหม กิเลสมันอยู่ในใจของเรา สิ่งนี้เป็นเครื่องขัดเกลาเปิดโอกาสให้หัวใจมันมีโอกาสต่อสู้กับกิเลสของเรา ถ้าเราจิตมันไม่สงบ เราก็ย้อนกลับมาดูที่นี่ ย้อนกลับมาดูความเป็นอยู่ของเรา ย้อนกลับมาดูความเป็นไปของเรา ถ้าย้อนกลับมาดูความเป็นไปของเรา มันก็ต้องถนอมรักษามาตั้งแต่นั่น  

เห็นไหมวัวผูก เวลาเราผูกวัวไว้ให้มันกินหญ้า เวลาเราต้องการใช้เราก็ไปปลดเชือกนั้นมาได้เลย วัวปล่อย  เราปล่อยไว้ในป่า เวลาจะใช้มัน เราไปต้อนไปเรียกไปหามันกว่าจะได้วัวมา นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราถนอมรักษา เราดูแลจิตของเราก็เหมือนผูกใจไว้กับพุทโธ พุทโธ เรารักษาใจของเราไว้ ถ้ารักษาใจของเราไว้ เราจะใช้งานเราก็จับเชือกนั้นมาได้เลย แต่ถ้าเราปล่อยตามสบาย เราจะมองดูตลอดว่า ถ้าเราจะเอาจริงเอาจัง เราจะต้องไม่คลุกคลีกันจนเกินไป แล้วเราพยายามตั้งสติของเราให้จิตนี้มีที่พึ่งอาศัยอยู่ตลอดเวลา พระเรามีข้อวัตรปฏิบัติเห็นไหม  ไม่ให้จิตมันออกไปนอกลู่นอกทาง เราจะให้รักษาจิตอยู่กับข้อวัตรปฏิบัติ อยู่กับการกระทำของเรา

ถ้าไม่มีสิ่งใดเราก็บริกรรมจิตเราไว้ นี่ไง ถ้าเรารักษาสิ่งนี้ไว้ มันก็จะสงบร่มเย็นเข้ามา ถ้าจิตมันจะสงบร่มเย็นเข้ามา มันต้องมีเหตุของมัน ถ้ามันไม่มีเหตุของมันมันจะสงบร่มเย็นเข้ามาได้อย่างไร ถ้ามันมีความสงบร่มเย็นเข้ามาเห็นไหม เราตรวจสอบของเรา ชำนาญในวสี ถ้าชำนาญในวสีมันจะกระทบกระเทือนสิ่งใดบ้าง มันกระทบกระเทือนนะ เวลามันกระทบสิ่งใด เราเห็นว่าถ้ากระทบสิ่งนี้มันเป็นโทษ เราก็พยายามหลบเลี่ยงหลบหลีก   

ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติท่านจะไม่คลุกคลีหมู่ ถ้าหมู่คณะเข้ามาจะเข้ามาหาเราด้วยธุระสิ่งใด   เราจะขอเวลาประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม เราต้องหลีกเร้นหลีกของเราเอง เพราะเราหลีกเร้นของเราเองเราจะรักษาใจของเราได้ ทำสมาธิก็แสนยาก แต่เป็นสมาธิรักษาไว้ยิ่งยากกว่า แล้วพอเป็นสมาธิแล้วให้ออกวิปัสสนามันยิ่ง...ถ้าไม่มีอำนาจวาสนามันไม่ไปเลย มันคิดว่าสมาธิเป็นนิพพาน ใช่ไหม บอกว่าถ้าจิตไม่ยึดสิ่งใด ไม่ยึดสิ่งใด ถ้าจิตไม่ใช่สิ่งใดมันก็เป็นสภาวธรรมเฉยๆ ขันธ์ ๕ ก็คือขันธ์ ๕ ทุกอย่างมันก็เป็นธรรมดา คำพูดอย่างนี้เพราะมันมีธรรมของครูบาอาจารย์เราหรอก

ตั้งแต่สมัยหลวงปู่มั่นมาท่านจะบอกเลย   สอุปาทิเสสนิพพาน  ขันธ์ ๕ เป็นภาระ  ภารา หเว ญฺจกฺขนฺธา ขันธ์เป็นภาระ เป็นภาระเพราะท่านเป็นพระอรหันต์   ขันธ์  ๕ ถึงไม่มีโทษ แต่ถ้าขันธมารน่ะ มันจะเป็นสภาวะได้อย่างไร ในเมื่อขันธ์มันเป็นขันธ์อยู่แล้ว ขันธมารน่ะ ขันธ์มันเป็นมาร เพราะขันธ์ ความคิดมันเหยียบย่ำเราเห็นไหม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  มันเหยียบย่ำเราไหม รูปนี้มันทำลายเราไหม  ร่างกายมันเสื่อมสภาพมันทำลายเราไหม รูปมันเหยียบเราตลอด

มันเป็นมาร มันเป็นมาร เราถึงต้องดูแลมัน เราถึงต้องหาอาหารมาให้มันกิน เราต้องพามันไปรักษา เจ็บไข้ได้ป่วยเราต้องดูแลมัน นี่รูปมันก็เป็นมาร เวทนามันก็เป็นมาร อยากได้แล้วไม่ได้ดั่งใจ มารมันก็ขี่คอเห็นไหม เกิดความโกรธ ความไม่พอใจ เกิดความโลภ สัญญา สัญญามันก็เป็นมาร มารเห็นไหม นี่มีสัญญา ศึกษาธรรมพระพุทธเจ้ามา อยากนิพพาน อยากได้นิพพานมาก นิพพานมันก็เป็นมาร เพราะมีสัญญาอยากได้นิพพานมาก อยากได้จนเป็นตัณหาซ้อนตัณหา ด้วยสัญญาไง ปฏิบัติธรรม  สังขารมันปรุงนะ มึงปฏิบัติไปมึงจะได้เลยล่ะ จะนิพพานวันนั้นวันนี้เลย มันเป็นมารทั้งนั้นเลยมันไม่เป็นความจริง

ยิ่งวิญญาณรับรู้ รับรู้ไปหมดเลยมันก็เป็นมาร ขันธ์ก็เลยเป็นขันธมาร นี่ไง ขันธ์บอกว่าสักแต่ว่าขันธ์ สภาวะก็เป็นธรรมชาติของมัน ไม่ยึดมันก็ไม่มีกิเลสหรอก กิเลสมันก็ไม่มี มันไม่มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นน่ะ แต่พวกเรามีทั้งนั้นน่ะ ให้ความคิดเราสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีทาง เพราะอวิชชามันอยู่ในหัวใจ ถ้าอวิชชามันอยู่ในหัวใจ ความคิดที่เกิดจากอวิชชามันจะสะอาดบริสุทธิ์ไปไหน มันเกิดจากมารน่ะ ถ้ามันเกิดจากมาร ความคิดมันจะพ้นจากมารไปไหน ความคิดตรึกในธรรม ตรึกในธรรมก็ตรึกในธรรมโดยมาร โดยความเห็นของเรา โดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก นี่ โดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม   

เพราะเราได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์นะ นี่ไง เห็นไหมมันเป็นบุญกุศลของเราที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา  ได้นับถือพระพุทธศาสนาแล้วมีครูมีอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติมา แล้วท่านเทศนาว่าการสอนเราไว้ แล้วพอเราไปฟัง ฟังแล้วไปยึด ไปยึด  สิ่งที่มันเกิดเกิดเพราะมาร มันเป็นสภาวะมันไม่มีสิ่งใดๆ เลย นี้มันเป็นทฤษฎี แต่โดยข้อเท็จจริงโดยการปฏิบัติมันจะเป็นอย่างนั้นไหมล่ะ  

 ในการปฏิบัติ  ดูสิ เรานับสตางค์เห็นไหม  มานับเงิน มานับเลย ๑๐๐ บาท มันก็อยู่ ๑๐๐ บาทอย่างนั้นแหละ มันไม่ไปไหนหรอก เพราะมันเป็นวัตถุ แต่ความประพฤติปฏิบัติของเราล่ะ เราปฏิบัติ ๑๐๐ ครั้งมันจะเป็น ๑๐๐ บาทนั้นไหม ถ้ามันเป็นวิทยาศาสตร์  โดยทฤษฎีเรานับเงินไว้ ๑๐๐ บาท วางไว้ เงิน ๑๐๐ บาทมันยังอยู่คงที่ของมันตลอดไป คงที่ ๑๐๐ บาทนะ แต่มันจะเสื่อมค่าทางโลก เพราะเงินมันเฟ้อตลอด แต่เงิน ๑๐๐ บาทมันก็อยู่ ๑๐๐ บาทอย่างนั้นน่ะมันไม่เสื่อมค่าหรอก นี่ไง เป็นสภาวะไง มันเป็นสภาวะ มันไม่มีกิเลสหรอก

แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติมันเป็นอย่างนั้นไหมล่ะ เวลาเราทำ ทำพุทโธ พุทโธ ๑๐๐ ครั้งมันจะเป็นเงินเท่ากับ ๑๐๐ บาทไหมล่ะ ปฏิบัติร้อยหนพันหนมันจะได้เงิน ๑๐๐ บาทนี้ไหมล่ะ มันคงที่ไหม มันไม่คงที่เลยเห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติมันไม่ง่าย ไม่ง่ายอย่างที่คิด ฉะนั้นพอไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติมาก่อน ในเมื่อประพฤติปฏิบัติมามันมีข้อเท็จจริงรองรับ มีความจริงอันนั้นรองรับ

ถ้ามีความจริงอันนั้นรองรับ เห็นไหม การชำนาญในวสี เราต้องย้อนกลับมาที่นี่ ย้อนกลับมาต้องพึ่งตนเอง ต้องพึ่งหัวใจของเราให้มันชำนาญในวสี ถ้ามันสงบขนาดไหน สิ่งนั้นมันสงบมาแล้วนะ เราพยายามของเรา เราต้องพยายามของเรา ความเพียรชอบ ความวิริยะ ความอุตสาหะ ไม่ใช่อัตตกิลมถานุโยค   เพราะเรากำลังเผชิญหน้ากับกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราเอง เรารู้ของเราเองว่าจิตใจของเรานี้เป็นอย่างใด

 ถ้าจิตใจของเรามันยังไม่สงบร่มเย็นให้เท่ากับความพอใจของเรา แล้วเราทำอยู่นี่มันจะเป็นอัตตกิลมถานุโยคไปที่ไหน แต่ถ้ามันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา เราก็รู้ใจของเราอยู่ แล้วเราบอกว่า สิ่งที่เราทำให้เป็นกลาง กลางของกิเลส กลางของกิเลสก็คือการนอนหลับไง กลางของกิเลสคือการเลิกไง กลางของกิเลสมันก็บอกว่ากลับบ้านเถอะ นี่ไง มันคิดของมันโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

แต่ถ้ามันเป็นธรรม เป็นธรรมเห็นไหม ไม่เป็นอัตตกิลมถานุโยค  การที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค   การทำทุกรกิริยาต่างๆ นั้นเป็นอัตตกิลมถานุโยค   การอดนอนผ่อนอาหารเป็นการต่อสู้กับกิเลส มันเป็นธุดงควัตร  มันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นเครื่องขัดเกลาแต่ไม่ได้เป็นเครื่องชำระ เครื่องขัดเกลากิเลสเป็นแค่เปิดทางให้จิตนี้ได้ออกเคลื่อนไหว เพราะสิ่งนี้เป็นข้อวัตรปฏิบัติให้จิตใจออกเคลื่อนไหว ออกเคลื่อนไหวไปข้อวัตร ไปในธุดงควัตร เป็นการขัดเกลากิเลสให้จิตใจนี้มันผ่องแผ้ว ถ้าจิตใจของเราผ่องแผ้ว แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจิตมันสงบขึ้นมาได้ พอจิตมันสงบเข้ามาเห็นไหม นี่ เรารักษาความสงบของเรา รักษาความสงบ  พยายามทำความสงบ ใช้ปัญญา ออกปัญญา

ไม่ใช่จิตว่าต้องสงบถึงอัปปนาสมาธิ   จิตต้องเข้าถึงเต็มที่แล้วใช้ปัญญา การใช้ปัญญามันใช้ได้ทุกที่ เพียงแต่การใช้ปัญญานี้เป็นการฝึก สมาธิจะเกิดปัญญาโดยตัวมันเองไม่ได้ สมาธิจะเกิดปัญญาได้อยู่ที่การฝึกฝน ต้องพาจิตออกใช้ปัญญา ขณะที่จิตเราเริ่มสงบเล็กน้อย สงบมากน้อยขนาดไหน การใช้ปัญญาของเรานั่นคือการฝึกฝนไง การฝึกฝนให้จิตออกใช้ปัญญาแล้วเราจะเห็นคุณประโยชน์ของมันว่า ขณะที่จิตออกพิจารณาแล้ว ออกตรึกในธรรม ย้อนกลับมาที่ความสงบ มันสงบร่มเย็นกว่าเดิม  

จิต ดูสิ วุฒิภาวะของจิต ถ้าจิตเด็ก เราไปทิ้งไว้ที่ไหนมันกลับบ้านไม่ถูก มันหลงทางได้ แต่ถ้าจิตมีวุฒิภาวะ ถึงจะไปทิ้งไว้ที่ไหนก็แล้วแต่มันจะหาทางกลับบ้านได้ ถ้าจะหลงมันก็ถามชาวบ้าน ถามหาช่องทางกลับจนได้ จิตก็เหมือนกัน พอเราฝึกใช้ปัญญา การฝึกใช้ปัญญามันเห็นการเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบว่า ถ้าเกิดสมาธิขึ้นมา พอมีสมาธิเป็นพื้นฐาน แล้วพอมีปัญญาขึ้นมาได้ไตร่ตรองตรึกในธรรม หรือออกพิจารณาสิ่งต่างๆ ในธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ของเรา

พอออกพิจารณาต่างๆ มันจะย้อนกลับมาเห็นคุณค่าไง  เพราะมันได้ตรึกโดยมีพื้นฐานของสมาธิ ความลึกซึ้งความรับรู้ของมันน่ะมันแตกต่าง แตกต่างกับความคิดโดยปกติของเราที่จิตเรายังไม่ลงสู่สมาธิ จิตของเรานั้นพอไม่มีพื้นฐาน มันคิดออกไป มันคิดเปรียบเทียบ มันเป็นสัญญา มันเป็นการเปรียบเทียบ เปรียบเทียบ เปรียบเทียบ มันมีความรับรู้ มันมีความเข้าใจไหม มี ความเข้าใจมี แต่ความลึกซึ้งมันแตกต่างกันเห็นไหม 

แต่ถ้าจิตเราสงบเข้ามา ความคิดของเรา ปัญญาของเราที่ออกใคร่ครวญต่างๆ มันมีความลึกซึ้ง ลึกซึ้งที่ไหน ก็ลึกซึ้งที่ความรับรู้ของเราไง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นปัจจัตตัง  จิตที่มันละเอียด มันเป็นสมาธิละเอียด มันก็รู้ว่ามันละเอียด พอมันใช้ปัญญา ปัญญามันถอดมันถอน จนมันสำรอกกิเลสออกไป มันก็รู้ของมัน

นี่ไง การฝึกปัญญา การฝึกอย่างนี้มันมีการเปรียบเทียบเข้ามา วุฒิภาวะของจิตมันจะโตขึ้น มันไม่ใช่จะเป็นเด็กแบเบาะอยู่ตลอดไปนะ จิตของเราเหมือนกับเด็กอ่อนที่แบเบาะอยู่ มีสติมีสมาธิช่วยประคับประคองมัน แล้วพอมันโตขึ้นมา มันทำงานของมันมันจะไม่เป็นเด็กอ่อนอย่างนั้นตลอดไปหรอก เวลาล้มลุกคลุกคลานเราก็น้อยเนื้อต่ำใจกัน เราก็เสียใจว่าเราล้มลุกคลุกคลานมาตลอดเลย

แต่เวลาถ้าจิตมันมีหลักมีเกณฑ์ของมันนะ ถ้าจิตไม่มีหลักมีเกณฑ์ของมัน ทำไมเวลาครูบาอาจารย์ของเราภาวนาขึ้นมา ๗ วัน ๗ คืน ท่านภาวนาของท่าน ท่านต่อสู้ของท่าน นั่งตลอดรุ่ง มันมาจากไหน อันนี้ไม่ได้ทำโดยความทุกข์นะ  ทำด้วยความพอใจทั้งนั้นน่ะ คนเราจะได้ผลขึ้นมา มันเห็นผลตอบสนองตรงหน้าเหมือนเราได้ผลประโยชน์ตอบแทนอยู่ตลอดเวลา เราอยากได้ทั้งนั้นน่ะ เขาเอาเงินมากองอยู่ใครนับได้เท่าไหร่เอาไปเท่านั้น โห นับทั้งวันเลย มันจะเอาให้มากที่สุดเลย  

นี่ก็เหมือนกัน พอจิตได้ประโยชน์มา จิตมันเห็นคุณค่า เห็นมรรคผลนิพพานอยู่แค่เอื้อม สิ่งที่มันประพฤติปฏิบัติน่ะ ทำไมจะไม่มีแก่ใจ ทำไมจะไม่มีความตั้งใจ มันมีความตั้งใจขึ้นมาเพราะมันเห็นผล มันจะได้ผลเห็นไหม  มันเห็นผลประโยชน์ของการกระทำอันนั้น มันก็ต่อสู้ และมีความจงใจตั้งใจทำ

ถ้าบังคับให้ทำ ทำไม่ได้นะ ใครจะคิดว่าเขาบังคับให้เราทำ หรือเราพยายามบังคับตัวเองทำ จะทำอย่างนั้นตลอดไปไหวไหม ถ้ามันไม่มีผลตอบสนอง มันไม่มีสิ่งใดๆ มารับรู้ว่าสิ่งที่เป็นความสุข สิ่งที่จิตมันสงบเข้ามา มีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา แล้วพอมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมานะ ทำน่ะไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอก เพราะมันมีโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค  อรหันตตมรรค  มรรค ๔ ผล ๔ พอมรรค ๔ ผล ๔ นะ สติปัญญา จะเป็นมหาสติ มหาปัญญา พอมหาสติมหาปัญญามันจะมีปัญญาอัตโนมัติ นี่ความแตกต่างหลากหลายของปัญญา ถ้าไม่มีใครรู้จริง สิ่งนี้แยกแยะไม่ได้ แยกแยะไม่ออก

ดูสิ  ในมุตโตทัยของหลวงปู่มั่นน่ะ ธรรมสถิตในหัวใจของใคร ถ้าสถิตในหัวใจของปุถุชนมันก็เปื้อนไปด้วยกิเลส ตัณหา ความทะยานอยาก ถ้ามันสถิตในใจของพระโสดาบัน เห็นไหม ความสะอาดบริสุทธิ์ของมันก็มีส่วนหนึ่ง ถ้าสถิตในใจของพระสกิทาคามี   ความสะอาดของธรรมนั้นก็เพิ่มอีกส่วนหนึ่ง ถ้าสถิตในใจของพระอนาคามี   ความสะอาดบริสุทธิ์ของธรรม ความสะอาดบริสุทธิ์ ความเข้าใจความรับรู้ของธรรมก็ลึกซึ้งมากกว่า ยิ่งถ้าธรรมนี้สถิตในใจของพระอรหันต์นะ ธรรมนี้ไม่แปดเปื้อนไปด้วยกิเลสแม้แต่ฝุ่นละอองเลย เป็นธรรมสะอาดผ่องใส เป็นธรรมแท้ๆ เลย

นี่ไง สิ่งที่มันสถิตในแต่ละดวงใจที่เข้าถึงธรรม ธรรมสถิตในใจของแต่ละดวงมันก็แตกต่างกัน พอมันแตกต่างกัน  ในการประพฤติปฏิบัติของเรา เวลาเกิดปัญญาขึ้นมาเห็นไหม เกิดปัญญาขึ้นมา เราต้องใช้ของเราด้วยเต็มความความสามารถ ด้วยความสามารถของเราใคร่ครวญ เพราะการใคร่ครวญถ้ามีสัมมาสมาธิ การใคร่ครวญนั้น  การใคร่ครวญมาจากไหน การใคร่ครวญก็ใคร่ครวญออกไปจากจิต ถ้าไม่มีจิต ไม่มีความตั้งใจ ไม่มีภวาสวะ ไม่มีภพ ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีกระบวนการเริ่มต้น แล้วใครเป็นเจ้าของความคิดล่ะ ใครเป็นเจ้าของสติ ใครเป็นเจ้าของปัญญาที่มันออกทำงานนี้

ถ้ามันออกทำงานนี้ มันเกิดจากจิตใช่ไหม แล้วย้อนกลับมาไม่ส่งออก การส่งออกคือส่งออกไปนอกเรื่องนอกราว แต่ถ้าออกทำงาน มันอยู่ในวงของขันธ์ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ถ้าจิตมันอยู่ในวงของขันธ์ เห็นไหมปลาในสุ่ม ถ้ามันอยู่ในสุ่ม มันกำลังต่อสู้ขลุกขลิกอยู่กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรา สิ่งนี้คือการกระทำคุณงามความดีทั้งนั้นน่ะ นี่คือการฝึกฝนไง ถ้าการฝึกฝนของเรา จิตออกทำงานขึ้นมานี่ ออกทำงานพิจารณาในกาย  ในเวทนา ในจิต ในธรรม

ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ   คือจิตมันสงบขึ้นมา มีหลักมีเกณฑ์ของมันแล้วน้อมไปสู่กาย มันเห็นกายโดยธรรม มันสะเทือนเลื่อนลั่นถึงกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ไม่ใช่พิจารณากายน่ะ โอ๊ย กายก็สักแต่ว่ากาย กายกับจิต มันไม่มีกิเลสมาตั้งแต่ต้น แล้วมันก็มีนิพพานอยู่ในหัวใจโดยดั้งเดิมอยู่แล้ว  มันเป็นการคาดหมายไปหมดนะ มันเป็นสูตรสำเร็จนะ มันเป็นกิเลสหัวเราะเยาะน่ะ

ทำอย่างนี้กิเลสหัวเราะเยาะ  เพราะอะไร เพราะมันเป็นเรื่องโลกๆ    ไม่เข้าสู่ธรรม ถ้าไม่เข้าสู่ธรรม เห็นไหม พอจิตมันสงบขึ้นมา มันก็รับรู้ถึงความสุขความสงบของมัน พอรับรู้ความสงบของมัน ดูสิ เราเคยทำครัวไหม ถ้ามีดคมกล้า สิ่งใดๆ ที่เราทำจะประสบความสำเร็จทั้งหมด แล้วสิ่งที่เราใช้มีดทำ  ตั้งแต่เนื้อ ปลาต่างๆ เราแล่ เราทำ มันจะไม่ช้ำ ไม่อะไรต่าง ๆ เพราะมีดมันคมใช่ไหม แต่ถ้ามีดมันทื่อ มีดไม่มีคม สิ่งต่างๆ ที่เราทำมันจะเป็นได้เหมือนมีดคมไหม

ถ้าจิตมันมีสัมมาสมาธิ เวลาปัญญาออกไปทำงานขึ้นมา  มันพิจารณาของมันไปนะ มันจะขาด คำว่าขาดนี่ คือสิ่งที่กังวลใจ สิ่งที่มันปักเสียบในหัวใจโดนถอดถอน ธาตุ ๔  และขันธ์ ๕ เวลามันขาดนะ ขาดมี ไม่ใช่ขาดสูญหรอก ไม่ใช่ว่าขาดแล้วมันจะขาดหายไปเลยแบบโลกๆ นะ เวลามันขาดมันปล่อยวางไป มันปล่อยวางไปทั้งหมด พอปล่อยแล้ว จิตนี้มันผ่องใส จิตนี้มันมีความสดชื่นของมัน นี่พิจารณาไปด้วยปัญญามันขาดอย่างนี้ มันขาดบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า นี่ตทังคปหาน  มีการฝึกฝนบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดนะความขาดมันก็มีความแตกต่างนะ ความขาดโดยตทังคปหาน มันปล่อยวาง ปล่อยวาง มันรับรู้ มันเป็นปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก จิตรับรู้หมด

 แต่เวลาพิจารณาไปจนมันขาด ขาดโดยสังโยชน์ขาด ถ้าการขาดโดยสมุจเฉทปหานนี่  เวลามันขาดสังโยชน์ขาดไปพร้อม พอสังโยชน์ขาดไปพร้อมเห็นไหม กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จิตรวมลง พอจิตรวมลง มันผ่องใส มันผ่องใส รู้ว่าขาด   ยถาภูตํ   ญาณะทสฺสนํ   รู้ว่า รู้ว่า มันเป็นไปตามนั้น สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาจากไหน สิ่งที่การกระทำนี้มันเกิดมาจากไหน มันง่ายไหม มันไม่ง่ายหรอก มันไม่ง่ายเลย

แต่มันเหมือนครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมาแล้วท่านทุกข์ยากมาก่อน เวลาท่านอธิบายมันถึงว่าเหมือนง่ายไง เหมือนง่าย คำว่าเหมือนง่าย เพราะท่านมีข้อเท็จจริง มีความจริงในใจของท่าน ท่านถึงอธิบาย แล้วท่านบอกชี้แนวทาง ชี้แนวทางให้เรามีความมุมานะมีความตั้งใจ พอเรามีความมุมานะมีความตั้งใจ เส้นทางเดียวกันนะ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ทุกดวงใจเดินสู่เส้นทางนี้ เส้นทางของอริยสัจมีอยู่เส้นทางเดียว องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราองค์ที่ ๔  พระศรีอริยเมตไตรย์ก็จะเดินบนเส้นทางนี้ มีอยู่เส้นทางเดียว ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมะ มัคโคทางอันเอก มันมีของมันมีอยู่แล้ว

แต่ของเรา ถ้าเราทำขึ้นมามันจะเข้าสู่เส้นทางธรรม เส้นทางธรรม ถ้าเข้าสู่เส้นทางโลกเราก็จะล้มลุกคลุกคลาน แต่ถ้าเราจะเข้าสู่เส้นทางธรรม เราต้องมีความเข้มแข็ง เราต้องมีความมุมานะ เราต้องมีความอดทน  การทำงานทุกอย่างแม้แต่งานทางโลกเขาก็ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรา เราปฏิบัติเพื่อชำระล้างกิเลส

เห็นไหม ผู้บริหารจัดการต้องใช้สติปัญญา วิตกกังวล รับผิดชอบสังคมทั้งสังคม นี่เหมือนกัน เรารับผิดชอบวัฏฏะของเราเลยนะ เรารับผิดชอบหัวใจที่เวียนตายเวียนเกิด วัฏวน ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรารับผิดชอบของเรา งานของจิตภาวนา ถ้าจิตสงบแล้วเอาจิตนี้ออกทำงาน ถ้าเอาจิตนี้ออกทำงานนะ ทำงานโดยสิ่งที่มันติดข้องในตัวของมันเอง ทำงานที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์มาก ทวนกระแสเข้ามา

โลกเขาทำงานบริหารจัดการมาเพื่อประโยชน์ของเขา เพื่อศักยภาพของเขา แต่เวลาเราบริหารจัดการของเราเห็นไหม ดูสิ ครูบาอาจารย์ของเราออกธุดงค์ ออกป่าออกเขา อยู่ในป่าในเขาอยู่คนเดียว หลวงปู่มั่นอยู่ในป่าในเขาอยู่คนเดียวพิจารณาของท่าน นั่งอยู่โคนไม้พิจารณาของท่าน งานของท่าน รื้อค้นของท่าน  

เรามีครูบาอาจารย์ เราพยายามจะรื้อค้นของเรา เราก็จิตภาวนาเหมือนกัน เราจะอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ มันทำงานอยู่กลางหัวอก มันทำงานอยู่ในหัวใจของเรา ให้มันเคลื่อนไหวของมันไป เคลื่อนไหวด้วยมีสติสัมปชัญญะ ถ้ามันเหนื่อยอ่อนเหนื่อยล้านักเราก็กลับมาพักกับความสงบ พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิ  กลับมาพัก เพราะเราทำงานเป็นแล้ว  ถ้ามันพิจารณาจนสังโยชน์ขาดไปพร้อมสมุจเฉทปหาน   มันเห็นชัดเจน นี่ คนเป็นงาน เห็นไหม

ครูบาอาจารย์ท่านพูดบ่อย การประพฤติปฏิบัติยากที่สุดคือขั้นต้น   พอขั้นต้นได้ผ่านไปแล้ว การทำงานของเรามันจะสืบต่อของมันไป มันสืบต่อ ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด ในเมื่อต้นทาง ต้นเชือก จับเชือกได้สาวไปจนสุดปลายเชือก จับกระแสของมันกระแสของกิเลส เราได้จับของมัน เราได้พิจารณาของมัน แล้วเราได้ทำลายมันแล้ว   ถ้าเราพิจารณาต่อไป เพราะกิเลสไง สภาวธรรม สภาวะที่มันเกิดขึ้นจากใจของเรา  มันเกิดที่ไหน มันเกิดจากจิต สติปัญญาเกิดจากจิตไม่ใช่จิต แต่เกิดเพราะความฝึกฝน เพราะความวิริยะอุตสาหะ ถ้ามีสติ มีสมาธิของเรา  มันเกิดจากจิตอยู่แล้ว แล้วใช้ปัญญา ปัญญาก็กลับมาชำระล้างจิต กลับมาชำระล้างภวาสวะ ที่มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันมีอวิชชานะ

องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นชัดเจนแล้ววางธรรมและวินัยไว้ แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติเรารู้เราเห็นของเรา เรารู้ เราได้ถอด ได้ถอนของเรา การได้ถอดได้ถอน นี่ นี่  พระปฏิบัติพระป่า  พระป่าปฏิบัติเท่านั้น เป็นผู้ที่สงวนธรรมและวินัย สงวนมรรคผลไว้เท่านั้นใช่ไหม คนอื่นทำไม่ได้ใช่ไหม คนอื่นใคร ๆ เขาก็ทำได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะทำได้ ทุกคนมีลมหายใจ ลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกโธ ทุกคนมีลมหายใจ ใช่ไหม ลมหายใจ อานาปานสติ ทุกคนมีสิทธิ์ทั้งนั้น ไม่มีใครจะมีอำนาจเหนือใครหรอก  แต่ แต่เวลาทำปฏิบัติมันเป็นข้อเท็จจริง จริงหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ไม่ใช่ โอ้ มรรคผลนิพพานนี่พระป่าผูกไว้เลยนะ คนอื่นจะพูดถึงมรรคผลนิพพานไม่ได้ พูดได้ทั้งนั้นน่ะ แต่พูดแล้วมันขายโง่ไง พูดด้วยความตลบตะแลงไง ตลบตะแลงพูดถึงธรรมะของพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของเรากิเลสเต็มหัว  กิเลสในหัวใจมันเต็มหัว   พูดธรรมะพระพุทธเจ้าอะไรก็ไม่มี กิเลสไม่มี  สรรพสิ่งต่างๆ ไม่มี มีเพราะยึด แล้วกลับมาสู่เป็นขอนไม้แล้วไม่มีอะไรเลย ถ้าการปฏิบัติอย่างนั้นเป็นมรรคผล ขอนไม้ แร่ธาตุต่างๆ มันเป็นนิพพานหมดแล้ว นี่มันไม่เป็น เพราะกิเลสมันอยู่ในหัวใจ

เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปนี่ การปฏิบัติของเรามันถึงต้องมีข้อเท็จจริงอย่างนี้ไง มันมีข้อเท็จจริงต่อเมื่อเราต้องมีสติ เราต้องมีปัญญาของเรา แล้วถ้าเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิด้วย เวลาฟุ้งซ่านไม่มีใครบอก มันก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน เวลาสงบมันจะไม่รู้จักความสงบได้อย่างไร ถ้ามันไม่รู้จักความสงบ นี่ไง ญาณหยั่งรู้ เกิดญาณหยั่งรู้ ญาณคือกำลังของใจ ญาณคือจิตตะ จิตภาวนา เพราะความรับรู้ ญาณทัศนะ แล้วทัศนคติ ความรู้ความเห็นที่เกิดจากญาณมันละเอียดอ่อนอย่างไร  

คนปฏิบัติถ้ายังแยกโลกียปัญญา กับโลกุตตรปัญญาไม่ถูก มันเข้าสู่ความจริงไม่ได้ โลกียปัญญามีนะ เราอยู่กับโลก ดูสิ การบริหารจัดการของเรา ศัพท์แสงในวิชาชีพต่างๆ เขามีมหาศาลเลยแล้วแต่วิชาชีพใดเขาก็มีศัพท์แสงของเขาตามวิชาชีพนั้น สิ่งนั้นเห็นไหม มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นเรื่องโลก เราก็รับรู้ได้ แต่สิ่งนี้มันฆ่ากิเลสได้ไหม มันฆ่ากิเลสไม่ได้เลยนะ อย่างเช่นวิชาชีพของเรา เรามีวิชาชีพของเราที่มีค่าวิชาชีพ  เราจะได้เงินประจำเดือนของเราอีกด้วย สิ่งนั้นเป็นค่าวิชาของเรา  แต่วิชานี้มันก็ได้ผลประโยชน์ใช่ไหม

แต่ถ้ามันเป็นโลกุตตรปัญญาล่ะ โลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา ปัญญาคือปัญญา  คือรู้เท่าก็จบ ปัญญารู้เท่าก็จบ มันก็เรื่องโลกๆ ทั้งนั้นน่ะ มันเหมือนกับวิทยาศาสตร์เหมือนกับคอมพิวเตอร์ไง คอมพิวเตอร์ที่เวลาเราทำงานมันก็ตอบสนองเราโดยเทคโนโลยีแบบนั้น นี่เหมือนกัน เราจะคิดแบบนี้มันก็เป็นโลกหมด มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์กับเราเอง เราสร้างขึ้นมาเพื่อการทำงานความสะดวกสบายของเราเอง แต่กิเลสมันไม่ชำระล้างไปหรอก

เราจะมีเงินมากเงินน้อยขนาดไหนถอนกิเลสไม่ได้ เราจะให้ใครแก้กิเลสแทนเราไม่ได้เลย แต่การจะแก้กิเลสคือจิตของเราเท่านั้น ถ้าจิตของเราเท่านั้นน่ะ จิตของเราต้องมีความเป็นไปของมัน มีความเป็นไปมันมีความสงบเข้ามา ทวนกระแสเข้ามา ทวนกระแสเข้าไปสู่จิต แล้วชำระล้างที่จิต พอประพฤติปฏิบัติเข้าไปมันเป็นปริยัติ พอปฏิบัติไม่ใช่บอกว่า พระป่าเท่านั้น การปฏิบัติด้วยความวิริยะอุตสาหะเท่านั้นถึงจะสิ้นสุดแห่งทุกข์

ถ้าการปฏิบัติแบบขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ดูพระยสะ พระพาหิยะเห็นไหม ฟังเทศน์พระพุทธเจ้าทีเดียว  แต่สิ่งที่ทีเดียวนี้มันต้องย้อนไปดูเบื้องหลัง ดูเบื้องหลังเห็นไหม เวลาพระพุทธเจ้าสอนพวกนี้แล้ว   พระประชุมกันจะสงสัยเรื่องนี้มาก เพราะพระที่อยู่กับองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่กับพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ  เวลาประพฤติปฏิบัติพยายามต่อสู้พยายามทำของเราเต็มที่แล้วถึงจะสำเร็จ แล้วทำไมพระพาหิยะ ทำไมพวกนี้ฟังเทศน์พระพุทธเจ้าหนเดียวจึงสำเร็จ พระพุทธเจ้าบอก  เขาเคยทำมาตั้งแต่ชาตินั้น ชาตินั้น  เห็นไหม มันมีที่มาที่ไปทั้งนั้นน่ะ เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสเอง

ฉะนั้นของเรา เราต้องเอาความจริงของเรา นี่คือกระแสโลกแล้วนะ คือโลกเขาแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งฝ่ายว่าเป็นพระป่าพระบ้าน เวลาบวชขึ้นมามันไม่มีพระป่าพระบ้านหรอก เวลาบวชนะ เกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ อุปัชฌาย์ทุกองค์ต้องให้กรรมฐาน ๕ กับผู้บวชทุกๆ องค์ มันได้สิทธิมาตั้งแต่เป็นมนุษย์แล้ว แล้วเวลาบวชขึ้นมาอุปัชฌาย์ก็บวชเหมือนกัน พระป่าไปบวชที่ไหน พระป่าก็บวชกับอุปัชฌาย์นี้แหละ พระทั้งหมดบวชกับอุปัชฌาย์ แล้วแบ่งป่าแบ่งบ้านที่ไหนล่ะ มันเพียงแต่ว่าทำจริงหรือทำไม่จริงต่างหาก แต่พอทำไม่จริงแล้วทำไม่ได้ พูดง่ายๆ ไง พูดทำเหมือนง่าย พูดง่ายๆ ว่า พูดธรรมะพระพุทธเจ้า แต่มันไม่เป็นความจริง

แต่เวลาพระป่าพูด พระป่าเขามีข้อเท็จจริงรองรับ แล้วพอมีข้อเท็จจริงรองรับ เวลาพระที่บวชกันแล้วบอกว่า  เขาพูดธรรมะได้เหมือนกัน สรรพสิ่งต่างๆก็พูดได้เหมือนกัน  ก็พูดได้ ก็พูดได้ทั้งนั้นน่ะ แต่พูดแล้วมีข้อเท็จจริงไหมล่ะ มันเป็นจริงไหมล่ะ มันไม่จริงต่างหากล่ะ มันไม่จริงเพราะใจมันไม่จริงไม่ใช่ว่าไม่จริง พูดธรรมะพระพุทธเจ้าไม่จริง พูดธรรมะพระพุทธเจ้าก็พูดธรรมะพระพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่พูดในภาคปริยัติ มันก็พูดไปโดยทฤษฎี แล้วพูดภาคปฏิบัติ ทำไมถึงพูดภาคปฏิบัติล่ะ

นี่ไง พระป่าพูดภาคปฏิบัติเพราะพระป่าทำมาไง  ทำมาแล้วถ้ามีสติมาอย่างไร มีสมาธิมาอย่างไร มีปัญญามาอย่างไร แล้วมันเป็นจริงอย่างไร ถ้าพระป่าปฏิบัติไม่ได้จริง  พระป่าปฏิบัติไม่จริงเวลาพูดก็ผิดเหมือนกัน ถ้าพูดมันถูก ถูกเพราะอะไร ถูกเพราะใจมันถูก แต่ถ้าผิด ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะใจมันผิด เพราะใจมันไม่มีข้อมูล ใจมันไม่มีความเป็นจริง มันก็ไม่มีความเป็นจริงขึ้นมา แต่ถ้าใจมีความเป็นจริงขึ้นมา จะพูดอย่างไรมันก็ถูก

ฉะนั้นเราปฏิบัติแล้ว ถ้าผิดถูกเราจะรู้ของเรา แล้วเวลาครูบาอาจารย์เทศน์นะ  ผู้ที่ปฏิบัติฟังง่ายๆ เลย เพราะถ้าสิ่งที่เราทำมาแล้ว ถ้าครูบาอาจารย์ท่านพูดแล้วไม่เป็นอย่างสิ่งที่เราทำ หรือเราทำแล้วมันแตกต่างกันอย่างไร นี่ มันบอกแล้วนะ แต่ถ้าเป็นจริตนิสัย ก็เป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าจริตนิสัย ถ้ามันทำกันมาเพราะผลมันก็ตอบแทน  อริยสัจมีหนึ่งเดียวเหมือนกัน อริยสัจมีหนึ่งเดียว ฉะนั้นเราปฏิบัติมาแล้ว เราต้องทำของเรา ทำเพื่อเรา เราอาศัยตัวของเราเพื่อประโยชน์กับเรา มันจะเจริญจะเสื่อมขนาดไหน เวลาล้มลุกคลุกคลานนะ    เวลาเราติดสมาธิไปหาอาจารย์ อาจารย์ก็แก้ให้ เวลาออกปัญญา ออกปัญญาจนเลยเถิดไปอาจารย์ก็ดึงกลับเข้ามา  ดึงกลับเข้ามาเพื่ออะไร ถ้าปัญญาเลยเถิดออกไป เลยเถิดออกไปนะมันจะล้มลุกคลุกคลาน ถ้ามีมรรคมีผลรองรับ ความล้มลุกคลุกคลานนั้นมันจะไม่เสื่อมกลับไปสู่ปุถุชน เพราะมันมีมรรคผลรองรับ

แต่ถ้าเราไม่มีมรรคผลรองรับนะ เวลามันเสื่อมมานี่ มันเสื่อมขึ้นมามันท้อแท้นะ ความท้อแท้นั้นทำให้หัวใจของเราไม่มีที่อาศัย ฉะนั้น เมื่อไม่มีที่อาศัยเราก็อยู่กับครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ พ่อแม่ครูจารย์มีอำนาจวาสนาที่ครอบหัวครอบกระหม่อมเราได้ ดูแลเราได้ เวลาเราท้อแท้เราก็แปะอยู่กับอาจารย์ก่อน

แต่ถ้าเวลาจิตใจของเราเข้มแข็งขึ้นมาเราก็จะออกหาวิทยายุทธ์ของเราล่ะ  ออกหา ธุดงค์ไปเพื่ออะไร ธุดงค์ไปก็เพื่อสู่จิต ธุดงค์ไปเพื่อย้อนกลับเข้ามาดูใจเรา ธุดงค์ไป เราออกเผชิญกับอำนาจวาสนาของเราเลย  เพราะเราธุดงค์ออกไปแล้วเราจะพบสิ่งใดบ้างล่ะ ถ้าเราเป็นคนที่สร้างบุญกุศลมานะ ออกไปนะ ออกธุดงค์ไป บิณฑบาตที่ไหนก็มีคนใส่บาตร ไปอยู่ที่ไหนก็มีคนคอยจะเจือจาน

แต่ถ้าอำนาจวาสนาเราขี้ทุกข์นะ ไปที่ไหนเราก็ต้องแสวงหาของเราเอง เราต้องดูแลตัวเราเอง นี่ออกธุดงค์ พอธุดงค์ไปแบบนี้ พอมีสิ่งใดที่เราไปสัมผัสมันจะย้อนกลับมาที่ใจเรา  ดูเทวทัตสิ   เทวทัตเป็นสหชาติเหมือนกัน เป็นกษัตริย์เหมือนกัน เวลานางวิสาขามาเยี่ยมพระพุทธเจ้าถือน้ำปานะมา มาฝากองค์นั้นฝากองค์นี้ ไม่ฝากพระเทวทัตเลย เราก็ศากยบุตรเหมือนกัน ลูกกษัตริย์เหมือนกัน นี่ น้อยเนื้อต่ำใจเห็นไหม เพราะความน้อยเนื้อต่ำใจ เราจะทำอย่างไรให้เขาเห็นคุณค่าของเรา นี่มันคิดในแง่ของโลกไง ไม่คิดในแง่ของธรรม ถ้าคิดในแง่ของธรรมนะ อ้าว ในเมื่อเราน้อยเนื้อต่ำใจว่าเขาไม่เห็นศักยภาพของเราเลย เราก็ทำของเราสิ เราก็ปฏิบัติของเราสิ แล้วเราก็ปฏิบัติมาเพื่อมรรคผลนิพพานนี่ เรามาปฏิบัติไม่ใช่หวังน้ำปานะอย่างนั้นนะ เราไม่ต้องการศักยภาพให้เขามานับหน้าถือตา

ถ้ามันคิดในเชิงบวกนะ เราก็จะเอาความคิดแบบนั้นมาพลิกแพลงให้เรามีความมุมานะ ให้เราทำคุณงามความดีของเรา ให้ใจเราเป็นคุณงามความดีของเรา แต่นี่คิดในทางโลกไง ถ้าเขามีศักยภาพเหนือเรา เราต้องการให้เขาเห็นศักยภาพของเรา ก็คิดวางแผน ถ้าเราจะให้ประชาชนยอมรับเรา เราจะเอาใครก่อน เอาอชาตศัตรู เพราะอชาตศัตรูเป็นราชกุมารที่จะได้ขึ้นครองราชย์ เอาอชาตศัตรูมาศรัทธาก่อน นี่ ความคิดเป็นโลกเห็นไหม แต่เวลาเราธุดงค์ไป เราไม่ธุดงค์อย่างนั้น เราธุดงค์ไปเพื่อจะชำระล้างกิเลสของเรา เราธุดงค์ไปเพื่อจะถอดถอนกิเลสของเรา มันจะทุกข์ มันจะยากอย่างไร ย้อนมาดูใจ ถ้าเราไม่ได้ทำสิ่งใดๆ มาเลย มันจะไม่มีอะไรตกถึงกระเพาะของเราก็ให้มันเป็นไป

หลวงตาท่านพูดบ่อย ถ้าพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่ไม่มีกิน ไม่มีใครดูแลรักษาเราอยากเห็น หลวงตาท่านพูดคำนี้ประจำ ถ้าพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่ในธรรมวินัยแล้วไม่มีประชาชนคอยเกื้อหนุน ไม่มีคนต้องการบุญจากพระองค์นั้น ท่านอยากเจอพระอย่างนั้นมากเลย แต่นี่เราอ่อนแอกันเห็นไหม นี่พูดถึงความอ่อนแอ ถ้าเรามีความเข้มแข็งของเราขึ้นมา สิ่งที่กระทบขึ้นมากับการกระทำของเรา เราต้องพลิกแพลงมาเป็นธรรม มาเป็นธรรม เพื่อให้มีความมุมานะมีความตั้งใจกับเรา  ถ้ามีความตั้งใจ ธุดงค์ไปก็เพื่อย้อนกลับมา ธุดงค์ไปเพื่อค้นหาใจเรา  ธุดงค์ไปเพื่อขุดคุ้ยหากิเลส

เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาเราติดสมาธิ  ติดสมาธิพอจิตมันสงบเข้ามาแล้วมันไม่ออกไง กิเลสตัณหาความทะยานอยากเวลามันยึดของมันนะ มันไม่ออกวิปัสสนาเห็นไหม เราก็ต้องออก เราออกไปหา ออกธุดงค์เพื่อมีสิ่งเปรียบเทียบ เพื่อเปลี่ยนสถานที่ เพื่ออะไรต่างๆ เพื่อดึงให้หัวใจออกมาทำงานให้ได้ การออกมาทำงานนะ การไม่ออกทำงานอย่างหนึ่ง การออกทำงานจนเลยเถิดอย่างหนึ่ง เป็นการที่ทำให้จิตเสื่อม จิต เวลาปฏิบัติไปมันจะมีโอกาสอย่างนี้ ไม่ใช่ปฏิบัติแล้วทุกอย่างจะราบรื่นไปหมดหรอก ความไม่ราบรื่นน่ะ มันอยู่ที่วุฒิภาวะ  อยู่ที่เวรที่กรรม เวรกรรมของคน เห็นไหม

ครูบาอาจารย์ปฏิบัติมา ถ้าปฏิบัติไปเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไปถึงที่สุดแห่งทุกข์  จบเลย นั้นก็บุญของท่าน แต่ปฏิบัติไปถ้าไม่มีครูบาอาจารย์สอน เพราะเราไม่รู้ ทั้งๆ ที่ตำราก็ชี้บอกอยู่ แต่สิ่งที่เราไม่รู้ไม่เห็น แล้วไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะนี่ มันเข้าข้างตัวเองทั้งนั้นน่ะ แล้วเวลาจิตสงบ เห็นไหม มันก็ว่านิพพาน เวลาออกใช้ปัญญาได้หนหนึ่ง มันปล่อยวางหนหนึ่งมันก็ว่านี่เป็นนิพพาน เวลามันเสื่อมเสื่อมหมดเลย นิพพานทำไมเสื่อมได้ จะรู้ตัวต่อเมื่อมันเสื่อมมันทุกข์มันยาก แต่ขณะที่เรามีสติปัญญาอยู่ มันจะเสื่อม มันจะถอยขนาดไหน เราก็ยังมีสติปัญญาที่จะสู้อยู่นะ เรายังไม่ถึงกับท้อถอย

ดูสิ  เราเกิดเป็นมนุษย์นี่เป็นอริยทรัพย์  พอเกิดเป็นมนุษย์แล้วมีโอกาสได้นับถือพระพุทธศาสนาด้วย แล้วมีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติด้วย อันนี้เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ของเรามีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่เวลามันเสื่อมขึ้นมาทำไมจะกลับไปเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติอีกล่ะ ทำไมจะกลับไปเป็นชาวพุทธเหมือนกันแต่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ  ก็ทำบุญกุศลเพื่อเกิดบนสวรรค์ก็พอ ก็ยังทำบุญได้ ในเมื่อเราปฏิบัติไม่ได้ เราก็แค่ทำบุญเฉยๆ ทำบุญกุศลก็เป็นพื้นฐานเห็นไหม  

ดูสิ เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์อนุปุพพิกถา   ตั้งแต่ทาน ตั้งแต่ศีล   ตั้งแต่สวรรค์ ตั้งแต่เนกขัมมะ ในชีวิตประจำวันพระพุทธเจ้าก็พยายามพูด พยายามวางพื้นฐานให้ชาวพุทธเราได้ทำทาน พูดถึงผลของมันก็คือสวรรค์  ถ้าบนสวรรค์ก็ยังเวียนตายเวียนเกิด เห็นไหม พอบนสวรรค์แล้วก็ให้ถือเนกขัมมะ แล้วก็แสดงอริยสัจ แสดงถึงการประพฤติปฏิบัติ แล้วตอนนี้เราก็ประพฤติปฏิบัติอยู่ ขั้นตอนของเรา เราผ่านขั้นตอนพื้นฐานของมนุษย์ ผ่านพื้นฐานของคน ผ่านพื้นฐานของชาวพุทธจนเป็นนักปฏิบัติแล้ว เวลามันทดท้อ เวลาจิตใจมันเสื่อม ทำไมคิดท้อถอย ทำไมทำลายโอกาสของตัวล่ะ

เราคิดเชิงบวก คิดต่างๆ ปัญญานะ ถ้าคนมีวาสนาสิ่งใดเกิดขึ้น มันจะเป็นประโยชน์กับเรา เราจะคิดเป็นประโยชน์กับเราหมดนะ คิดว่าเราจะมุมานะ เราต้องมีการกระทำ เราทำมาขนาดนี้แล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว พบพระพุทธศาสนาแล้ว  สาธุ เกิดมาเจอทุกอย่างแล้ว   เหมือนกับเราเกิดมาแล้วมีทุกอย่างพร้อมกับเรา แล้วเรายังไม่สามารถทำของเราได้ เราจะน้อยเนื้อต่ำใจไปหาใคร ถ้าเราไม่น้อยเนื้อต่ำใจไปหาใคร เราก็พยายามย้อนกลับมาที่เรา นั่งเฉยๆ ลมหายใจเข้านึกพุท  ลมหายใจออกนึกโธ มันจะเสื่อมไปไหน ที่เสื่อมไปแล้วก็แล้วกันไป

ในปัจจุบันนี้ เราจะมุมานะ เอาวุฒิภาวะ เอาความสดชื่น เอาจุดยืนของใจ เอาปัญญาของเรากลับมาให้ได้ พอมันกลับมาได้ เห็นไหม จิตเสื่อมได้ มันก็เจริญได้ พอจิตมันเจริญขึ้นมา เราก็มีความแช่มชื่นขึ้นมา พอมีความแช่มชื่นขึ้นมา เราก็รักษาไว้ แล้วมันจะกลับไปเห็นโทษไง เห็นโทษว่า เวลามันเจริญมันมีคุณประโยชน์กับเรา  มีความสุขอย่างนี้  เวลาเสื่อมมันทุกข์ยากขนาดนั้น เราถึงถนอมรักษา พอถนอมรักษาปั๊บ เราจะย้อนกลับมาในการปฏิบัติไง 

ที่บอกว่าพระป่าทำเคร่ง ทำเคร่ง ไม่คลุกคลีกัน นี่มันอะไรกัน ก็เพราะคลุกคลีกันมันถึงเสื่อมอย่างนั้น แล้วพอเราเห็นโทษของการเสื่อมอย่างนั้น เราถึงจะไม่คลุกคลี พอไม่คลุกคลี พอไม่คลุกคลีเราก็มีสติปัญญารักษา  คนที่รักษากับคนที่ไม่รักษาก็แตกต่างกันใช่ไหม  คนที่รักษา สิ่งที่รักษา คนรักษาก็ต้องมีสติ ต้องมีสิ่งที่ให้รักษา รักษาอะไรล่ะ รักษาใจของตัว

แต่ถ้าไม่รักษา เห็นไหม เราปล่อยใจหายหมดเลย ใจเป็นนามธรรม ไม่มีใครรักษามัน มันก็เหมือนอากาศธาตุ มันก็หายหมดเลย แล้วจะเหลืออะไรล่ะ ก็เหลือซากศพเดินได้ไง เหมือนซากศพ เหมือนไม่มีจิตวิญญาณ  มันก็เดินไปเดินมา ทุกข์อยู่นี่ ชีวิตเป็นอย่างนี้ เราจะท้อถอย เราจะหลบหลีกไปอย่างไร สิ่งนี้มันก็เป็นชีวิตประจำวันของเรา

แล้ววันคืนล่วงไป ล่วงไป เราก็ต้องสิ้นไปเป็นธรรมดา พอสิ้นไปเป็นธรรมดา เราก็จะไปเกิดใหม่อีก แล้วก็จะเกิดประสบการณ์อย่างนี้อีกเหรอ นี่ไงเหมือนกีฬา นักกีฬาแข่งกันไม่มีที่สิ้นสุด เราก็ต้องมีโอกาสแข่งตลอดไป นี้ เราปฏิบัติเพื่อมรรคเพื่อผลเหมือนนักกีฬาที่กำลังต่อสู้ กำลังแข่งขัน แข่งขันกันระหว่างกิเลสกับธรรมที่มันอยู่ในหัวใจของเรา เราก็เป็นนักกีฬาคนหนึ่งที่กำลังแข่งขันกับกิเลสของเราเอง เพื่อให้ได้สภาวธรรม เพื่อให้ธรรมเกิดขึ้นมา เราจะท้อแท้ไปไหน เราทำไมไม่คิดต่อสู้

สิ่งใดๆ เกิดขึ้นมา มันผ่านไปแล้วทั้งนั้นน่ะ สิ่งที่เป็นอดีตเป็นประวัติศาสตร์มา มันจะไม่มีประโยชน์อะไรกับเราเลย มันจะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อเป็นคติธรรม สิ่งที่เราประสบมาแล้ว มันจะเป็นประสบการณ์สอนถึงการทำดีทำชั่วของเรา แต่ถ้าเป็นความจริง มันคือปัจจุบันธรรมที่เราจะต่อสู้กับเราในกิเลสเราเท่านั้น ถ้ามันจะเป็นการต่อสู้กับกิเลสของเรา เห็นไหม ต่อสู้กับกิเลส กิเลสมันอยู่ที่ไหน เราไม่เห็นมัน เห็นไหม

แต่การเดินจงกรม การนั่งสมาธิภาวนา กิเลสมันไม่ชอบ มันไม่พอใจ ถ้าเราทำอย่างนี้ มันก็ทำอย่างนี้ นี่ต่อสู้กับมัน แล้วเดี๋ยวมันแสดงตัวออกมาเอง พอมันแสดงตัว เห็นไหม นี่ ขุดคุ้ยหากิเลส พอเจอกิเลสแล้ว นี่ไง ไหนว่าไม่มี พอมันมีขึ้นมาเราก็จับได้ เห็นไหมวิปัสสนาไป  วิปัสสนากิเลส เห็นไหม ระหว่างกิเลสกับธรรม การแข่งขันระหว่างกิเลสกับธรรมเกิดขึ้นมากับหัวใจอีกรอบหนึ่ง มรรค ๔ ผล ๔ นี่ กิเลสที่เราจะขุดคุ้ยหามันเจอ แล้วเราเอามันมาดูหน้า ขึง เอามันมาดูหน้า แล้วดูพิจารณามัน  สิ่งนี้ นี่ เป็นการขุดคุ้ยหากิเลส มันเป็นการประพฤติปฏิบัติอย่างหนึ่งนะ แล้วเราพิจารณาของเราไป บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า

ในเมื่อมันเกิดจากที่ไหน ถ้าการพิจารณานั้นโดยกำลังของปัญญา โดยกำลังของมรรคญาณ นี่ กิเลสมันจะหนีเข้าไปสู่จุดจนตรอกของมัน ถ้าเป็นสังโยชน์ขาด สังโยชน์ถอนไป  สักกายทิฏฐิหมดไป กามราคะ ปฏิฆะหมดไป สิ่งต่างๆ มันก็ต้องเข้าไปสู่จุดของมัน ถ้าเข้าไปสู่จุดของมัน นี่ภวาสวะ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส ถ้าเราขุดคุ้ยเข้าไปสู่จุดเดิมแท้ของมัน นี่ไงจิตไง นี่ตัวจิต   ตัวภวาสวะ ตัวภพ ตัวปฏิสนธิจิต ถ้าเราผ่านกามราคะแล้ว สิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุดมันก็ไปเกิดบนพรหม ทั้งๆ  ที่เราไม่รู้นะ เราเข้าใจว่านี่สิ้นกิเลส นี่นิพพานแล้วนะ นี่มันจนตรอกแล้ว ต่อสู้จนไม่มีทางไปแล้ว ต่อสู้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีหรอก กิเลสไม่มี แต่เวลาเราดับขันธ์ พอดับขันธ์ไป มันเหลืออะไรล่ะ 

คนตายนะ จิตออกจากร่างไป มันเหลือจิตล้วนๆ ถ้าจิตล้วนๆ มันยังมีภวาสวะ มันยังมีภพ มีสถานที่ของมันอยู่ มันไปเกิดที่ไหน มันก็ไปเกิดบนพรหม เพราะมันจิตหนึ่ง จิตหนึ่งไปเกิดบนพรหมนะ แต่พอเราใคร่ครวญเข้าไปถึง โดยใช้ปัญญาใคร่ครวญไปถึงจุดที่เกิดของเขา ไปถึงจุดของเขา จุดภวาสวะของเขา ฐานที่ตั้งของเขา

นี่ไง แล้ววิปัสสนาไป ใคร่ครวญไป มันจะผ่องใสขนาดไหน มันก็ต้องเศร้าหมอง มันต้องมีการอาลัยอาวรณ์ มันละเอียดลึกซึ้งมาก เพราะคำว่าปัญญาญาณ รูปราคะ อรูปราคะ  มานะ อุทธัจจะ อวิชชา นี่ มานะความถือตัว ความว่าถือตัว เราก็ว่าถือตัวนะ นักเลงอันธพาลมันถือเนื้อถือตัวนะ  อันนี้มันเป็นสัญชาตญาณมันหยาบมาก ในตัวมันเองถือตัวมันเองเหมือนพลังงานสสารที่มันมีของมัน มันแสดงตัวของมันโดยที่ไม่มีค่าสิ่งใด มันก็แสดงตัวของมัน

ดูแสงไฟสิ แสงไฟมันก็มานะ มันว่ากูสว่าง จิตเดิมแท้มันเป็นจิตของมัน มันเป็นภวาสวะของมัน คำว่ามานะ มานะในตัวมัน มันเป็นความเห็นที่จิตที่เห็นว่ามันละเอียดมากนะ  แต่นี่เวลาเราอ่านโดยสามัญสำนึกไง มานะคือตัวตนน่ะ เราสูงกว่าเขา เสมอเขา สำคัญว่าเสมอเขา สำคัญว่าสูงกว่าเขา สำคัญว่าต่ำกว่าเขา  นี่เป็นมานะ เป็นมานะ

แต่ความจริงในตัวมันเองมันมานะอย่างไร อุทธัจจะถ้ามันขยับ มันออกมาอย่างไร ความคิดออกไม่ได้ ความคิดทำไม่ได้ นี่ไง เวลาปัญญาญาณที่มันละเอียดลึกซึ้ง เวลาเข้าไปสู่ฐีติจิต สู่จิตเดิมแท้ กระบวนการของมัน มันทำลายตัวมันเอง พอทำลายตัวมันเอง ทำลายเพราะอะไร เพราะมันมีมรรคญาณ ทำลายด้วยอรหันตตมรรค พอมันสิ้นสุดกระบวนการของมัน เห็นไหม นี่กระบวนการของธรรมวินัย สมมุติบัญญัติจบ สิ่งที่พ้นออกไป ธรรมธาตุ ความรับรู้

เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ตรงโคนต้นโพธิ์ เวลาโยมถามนะ ปฏิบัติมาจากใคร เราปฏิบัติของเรามาเอง เราปฏิบัติเอง เราตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่มีใครสั่งสอน ทำไมพระพุทธเจ้ากล้าปฏิญาณตนขนาดนั้น เพราะมันเป็นความจริงในหัวใจขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วสิ่งต่างๆ พระพุทธเจ้าอธิบายได้หมด สิ่งต่างๆ  ท่านอธิบายได้หมด นี่ มรรคผล นิพพาน มันเป็นความจริงของผู้ปฏิบัติตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงที่เราทุกคนทำได้ เรามีสิทธิทำได้

เราเป็นชาวพุทธที่มีอำนาจวาสนา เกิดมาเป็นชาวพุทธแล้วได้ประพฤติปฏิบัติ ได้ตั้งใจเพื่อจะเอาชนะกิเลสของเรา เป็นการแข่งขันระหว่างกิเลสกับธรรมในหัวใจของเรา แล้วกิเลสมันมีกำลัง มันก็ทำให้เราทุกข์ เรายาก แต่ถ้าปฏิบัติขึ้นมาโดยธรรม เราก็มีความสุขของเรา ความสุขอย่างนี้เป็นการเจือจานให้การปฏิบัติเรามีกำลัง มีความตั้งใจ แล้วปฏิบัติของเราไป ทำได้ มีโอกาส ถ้ายังมีชีวิตอยู่ มีลมหายใจอยู่ เราจะมีโอกาสปฏิบัติ คนจะไม่มีโอกาสต่อเมื่อคนนั้นสิ้นชีวิตไปเท่านั้น  เอวัง