ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

รู้ชอบ ไม่เหลือ

๒ ม.ค. ๒๕๕๕

 

รู้ชอบ ไม่เหลือ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๗๕๕. นะ ใช่ไหม? ข้อ ๗๕๕. คำถามนะ

ถาม : ๗๕๕. เรื่อง “นิพพานเหลือแต่สติ”

กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ หนูมีคำถามสงสัยดังนี้ เมื่อเข้านิพพานแล้วจะไม่มีจิต เหลือแต่สติล้วนๆ ใช่หรือไม่เจ้าคะ เพราะเคยได้ยินมาว่าจิตนี้ไม่มีวันสูญ กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : นี่มันเป็น ๓ ประเด็น

ประเด็น ๑. คือนิพพานแล้วไม่มีจิต

ประเด็น ๒. นิพพานแล้วเหลือสติล้วนๆ

ประเด็น ๓. จิตนี้ไม่มีวันสูญ

นี่จิตนี้ไม่มีวันสูญ เพราะจิตนี้ ถ้าจิตไม่มีวันสูญ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย นับไม่ได้ถึง ๑๖ ครั้ง นับไม่ได้ถึง ๑๖ ครั้งนี่จิตมันต่อเนื่องกันมา ถ้าจิตไม่ต่อเนื่องกันมา พระโพธิญาณ พระโพธิสัตว์จะไม่บารมีเต็มเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฉะนั้น จิตนี้ไม่เคยตาย ถ้าไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์จิตนี้ไม่เคยตาย จิตนี้ไม่มีวันสูญ จะตกนรกอเวจีขนาดไหน นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตกนรก ครูบาอาจารย์เคยตกนรก คำว่าตกนรก คนเรามันทำผิดพลาดมี พอถึงกรรมมันให้ผลมันตกนรกอเวจี มันก็ไม่เคยตาย แล้วนี่ไฟบรรลัยกัลป์ เวลาเผาจนละลายไปหมดเลยนะ เหมือนกับคนต้องตาย พอไฟนั้นจบมันก็ขึ้นมาใหม่ อยู่อย่างนั้นแหละ

เผาแล้วเผาเล่า เผาแล้วเผ่าเล่าอยู่อย่างนั้นแหละ มันไม่มีวันจบ เผาแล้วเผาเล่าคือร่างกายมันย่อยสลาย แต่ความรู้สึกมันไม่ย่อยสลาย เดี๋ยวก็ขึ้นมาเป็นอย่างนั้นอีก ฉะนั้น จิตนี้มันไม่เคยตาย จิตไม่มีวันสูญ ถ้าจิตไม่มีวันสูญมันต้องสูญไป ถึงเวลาจิตไม่มีวันสูญ ถ้ามันสูญมันจะต่อเนื่องกันมาได้อย่างไร? นี่ถ้าเวรกรรมมันก็จบสิ นี่ที่โลกคิดกันอย่างนี้ไง บอกว่าเราสร้างเวรสร้างกรรม แล้วตายแล้วสูญ ตายแล้วเอากันไม่ได้ ตายแล้วแล้วกันไป แต่มันไม่จริงน่ะสิ

ฉะนั้น ว่าจิตนี้ไม่มีวันสูญ นี่จิตไม่มีวันสูญ จิตไม่มีวันดับ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นไม่มีเว้นวรรคด้วย นี่ตายจากมนุษย์ เกิดในสวรรค์ เกิดในนรกอเวจี เกิดหมด สัมภเวสีก็เกิด เกิดทันที ตายทันที เกิดทันที จิตไม่มีเว้นวรรค จิตนี้เป็นไปตลอด จิตนี้ไม่มีวันสูญ ถ้าจิตไม่มีวันสูญ เห็นไหม เวลาปฏิบัติไปแล้ว ถ้าปฏิบัติไปถึงที่สุดแห่งทุกข์ ว่านิพพานไม่มีจิต เขาว่านิพพานนี้ไม่มีจิต

คำว่านิพพานไม่มีจิต จิตไม่มีวันสูญมันมีอยู่ในพระไตรปิฎก นี่อยู่ในพระไตรปิฎก แบบว่ามีอยู่ในสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้ายกตรงนี้มาเยอะมาก อดีตชาติคนนี้เคยเป็นแบบนั้น เคยทำกรรมอย่างนี้ไว้ นี่เวลาใครปฏิบัติง่ายรู้ง่าย บางคนปฏิบัติแล้วทุกข์ยากขนาดไหน ไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมถึงเป็นแบบนี้ เมื่อชาติที่นั้น ชาติที่นั้น แล้วย้อนกลับไปจนนับไม่ได้ นี่อนาคตังสญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชัดเจนมาก ฉะนั้น จิตนี้ไม่มีวันสูญ

ฉะนั้น เวลาบอกว่าถ้าเข้าไปนิพพานแล้วไม่มีจิต เห็นไหม

ถาม : เมื่อเข้านิพพานแล้วจะไม่มีจิต เหลือแต่สติล้วนๆ ใช่หรือไม่เจ้าคะ

หลวงพ่อ : คำว่าไม่มีจิตๆ นี่เมื่อก่อน ครูบาอาจารย์ของเราเวลาท่านอธิบาย แต่เดิมคนเรายังสนใจ คำว่าสนใจแล้วมันฟังมาหลากหลาย พอหลากหลาย เวลาฟังธรรมเป็นทางวิชาการมันก็เป็นทางวิชาการ ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น แล้วหลักนี่ตายตัว ทีนี้พอเวลาปฏิบัติขึ้นมา เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม จิตบริสุทธิ์ๆ

คำว่าจิตบริสุทธิ์เราเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ นี่เพราะสื่อกัน สังคมภาษายังไม่ซับซ้อน พอสื่อกันพอความเข้าใจได้ ความเข้าใจว่าถ้าจิตสกปรก จิตมีอวิชชาก็คือปุถุชนพวกเรา แต่ถ้าจิตใสสะอาด จิตสะอาดบริสุทธิ์ก็เป็นพระอรหันต์ ทีนี้ก็สื่อความหมายเพื่อความเข้าใจกัน ทีนี้พอสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจกัน เวลานักปฏิบัติขึ้นมามันก็ไปกินเหยื่อ คำว่ากินเหยื่อหมายถึงว่าผู้นี้ไม่รู้จริง นี่พระอรหันต์จิตเป็นอย่างนั้น จิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้นๆ

หลวงตาท่านก็สอนอยู่ว่าจิตบริสุทธิ์ ตอนที่ท่านเทศน์ใหม่ๆ เห็นไหม จิตสะอาด จิตบริสุทธิ์คือว่าสิ้นกิเลส แต่พอช่วงท้ายๆ พอมันซับซ้อนขึ้น เพราะคนเอาไปใช้ประโยชน์มากขึ้น หลวงตาท่านถึงบอกว่า “ธรรมธาตุ” ท่านไม่เคยพูดถึงจิตบริสุทธิ์อีกเลย ช่วงท้ายๆ ชีวิตของหลวงตาท่านจะไม่พูดเรื่องจิตเลย ท่านจะบอกว่าธรรมธาตุ มันเป็นธาตุโดยธรรม มันเป็นธรรมหมดแล้วไม่มีจิต

แต่ทีนี้ในเมื่อคำว่านิพพานแล้วไม่มีจิต เหลือแต่สติล้วนๆ ใช่ไหมคะ? นิพพานไม่มีจิต เพราะไอ้พวกที่ไปไหนมาสามวาสองศอก มันไปจับสัญญามาไง มันก็บอกว่าจิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้น จิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้น อธิบายกันใหญ่เลยจิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้น เราก็เลยสวนเข้าไปไงว่าพระอรหันต์ไม่มีจิต ถ้าพระอรหันต์มีจิตนะ จิตคือภพ

หลวงตาบอกว่าเวลาท่านพิจารณาความว่าง เห็นไหม ว่างข้างนอกนี่ว่างหมดเลย ข้างนอกว่างหมดเลย ข้างนอกว่างหมดแล้วแต่ข้างในมันยังไม่ว่าง จิตนี่เห็นความว่างหมดเลย แต่ตัวจิตมันไม่ว่าง แล้วถ้าตัวจิตมันว่าง เห็นไหม อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ จิตเป็นผู้วิมุตติ จิตเป็นผู้วิมุตติ นี่มีพวกธรรมทูตเขาถามว่าเวลาเขาจะไปเผยแผ่ธรรม เขาบอกว่านิพพานเข้าอย่างไร? นิพพานเข้าอย่างไร? เราบอกว่านิพพานเข้าไม่ได้ ถ้านิพพานเข้าไปเราก็เข้าไปขวางอยู่ที่นิพพานไง

นี่ที่ว่าเรือนว่าง เห็นไหม ว่างหมดเลยๆ แต่เราเป็นคนรู้ว่าว่าง ไอ้คนที่ไปขวางอยู่นั่นมันไม่ว่าง ถ้ามีจิตก็มีไอ้ผู้ไปขวางอยู่ ถ้ามีจิตนะ ถ้าพระอรหันต์มีจิตนะ ไอ้จิตตัวนั้นมันขวางตรงนั้นอยู่ ก็มีอยู่ แล้วมันจะนิพพานได้อย่างไร? อ้าว มีอยู่ นี่พูดถึงข้อเท็จจริงนะ แต่ในเมื่อภาษายังไม่ซับซ้อน คนสนใจในศาสนามันยังแบบว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องละเอียดชัดเจนขนาดนั้น ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่านี่จิตสะอาด จิตบริสุทธิ์ เราก็เข้าใจว่าจิตสะอาด จิตบริสุทธิ์คือพระอรหันต์กัน

ทีนี้พระอรหันต์กัน ถ้าสื่อให้เข้าใจได้มันก็จบใช่ไหม? อย่างพวกเรานี่เราเข้าใจว่าอะไรสกปรก อะไรสะอาด ถ้าสื่อแล้วเข้าใจได้ เพราะสื่อแล้วเข้าใจได้หมายความว่าเรายังไม่ได้ปฏิบัติถึงขนาดนั้น คือว่าเรายังไม่เป็นโลก เป็นภัย ยายังไม่มีความจำเป็นกับเรา แต่ถ้าเมื่อใดเรามีโรค มีภัย ถึงระดับนั้นแล้วนี่จำเป็นแล้ว ยานั้นต้องจำเป็นตามแต่โลกว่าหมอจะให้ยาชนิดใด

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเวลาปฏิบัติไปแล้ว นี่บอกว่าจิตบริสุทธิ์ๆ จิตบริสุทธิ์คือจิตผ่องใสไง จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส ไอ้ใสๆ นั่นล่ะกิเลสทั้งนั้น ไอ้ผ่องใส ไอ้ว่าง นั่นล่ะกิเลสทั้งนั้น กิเลสทั้งนั้น แต่มันเป็นกิเลสอย่างละเอียดไง อย่างเช่นเรา เห็นไหม เวลาเราทุกข์ เรายากนี่นะเราอยากมีอาหารกินมากเลย แต่ถ้าเรากินอาหารบ่อยๆ เข้านะอยากจะกินหูฉลามแล้วล่ะ อาหารหยาบๆ ก็ไม่อยากกินนะ อยากกินอาหารดีขึ้นๆ

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราทุกข์ๆ ยากๆ เห็นไหม เราก็อยากมีอาหาร แค่มีอาหารกินเราก็พอแล้ว ขอให้ยังชีวิตนี้ได้ก็พอแล้วล่ะ แต่พอเรามีอาหารจนอิ่มหนำสำราญ เราจะกินอาหารต่อไปเราก็อยากได้อาหารที่มันละเอียดประณีตขึ้นไป นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติเริ่มต้นมันไม่จำเป็นไง ฉะนั้น จิตผ่องใส มันจะผ่องใส มันจะว่างนั่นก็ดีแล้วแหละ ดีหมายความว่าเราไม่มีกิเลสบีบคั้นไง เราไม่ฟุ้งซ่าน เราไม่ทุกข์ เราไม่ยากไง เราทำให้จิตใจเราสงบได้ ร่มเย็นได้ ถ้าร่มเย็นได้ เราพัฒนาขึ้นไปมันก็จะพัฒนาขึ้นไป

ฉะนั้น ถึงบอกว่ากิเลสอย่างหยาบๆ กิเลสอย่างละเอียด ในเมื่อถ้ากิเลสมันอย่างหยาบๆ อยู่ มันยังไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งละเอียดลึกซึ้งขนาดนั้น สิ่งนี้มันก็ยังไม่จำเป็น ถ้าไม่จำเป็นมันก็พูดกันได้ นี่จิตสะอาดบริสุทธิ์ จิตจะสิ้นกิเลส แต่ความจริงมันสิ้นไหมล่ะ? มันไม่สิ้นหรอก แต่จะสิ้นหรือไม่สิ้นมันสำคัญที่ว่าเราได้ปฏิบัติหรือยัง? เราได้เริ่มทำตัวเราดีขึ้นมาหรือยัง? คือทำจิตเราดีขึ้นมาหรือยัง? ถ้าจิตมันดีขึ้นมา เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา

ถ้าไม่มีสมาธินะ คนไม่มีสมาธิ โดยสามัญสำนึก ในการปฏิบัติทั่วไปที่เขายังไม่มีสมาธิเขาเกิดปัญญา ดูศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ต่างๆ ปัญญาทั้งนั้นเลย ทางวิชาการเสนอขึ้นไปนี่เหรียญทองไง อู๋ย ยอดเยี่ยมทั้งนั้นแหละ แต่ไอ้คนนี้มันตายเปล่านะ มันได้ผลงานของมันนะ แต่มันยังทุกข์อยู่ในหัวใจมัน กว่ามันจะได้ผลงาน มันต้องปีนบันไดแล้วปีนบันไดอีกกว่าจะได้ผลงานของมัน แล้วถ้ามันได้ผลงานของมันแล้วมันก็ยังสงสัยนะ ผลงานของเรานี่มันเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

นี่ไงถ้าไม่มีสมาธิ ปัญญาไม่มี ปัญญาที่เกิดขึ้นมานี่ปัญญาโลกทั้งนั้น ปัญญานี้คือปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาเกิดจากภวาสวะ เกิดจากภพ เกิดจากจิตไง แต่ถ้าจิตมันสงบไปแล้ว จิตมันสงบเข้าไป เห็นไหม จะมีสมาธิขึ้นมา ถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมามันจะเป็นโลกุตตรปัญญา แล้วปัญญาอย่างนี้มันเกิดนะ ปัญญาทางโลกไม่มี ปัญญาทางโลกเป็นสัญญาทั้งนั้น สัญญานะ

ดูสิเราเรียนทางวิชาการใดก็แล้วแต่ วิชาการนั้นมาจากใคร? ใครเป็นคนแต่งตำรา นี่คนที่ออกมาทำงานประสบความสำเร็จแล้วเขาเขียนตำราไว้ แล้วเราก็ไปศึกษาตามตำรานั้น แล้วทำให้เหมือน ทำให้เป็นไป นี่ไงอย่างนี้โลกียปัญญา ถ้ามันมีสมาธิขึ้นมาแล้วมันไม่พึ่งใคร คำว่าไม่พึ่งใครไง สมาธิไม่พึ่งใครนะ

นี่เวลาฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังครูบาอาจารย์นะ แล้วบอกทำให้เหมือนๆ ต้องให้เหมือนกันเลยนะ นั่นน่ะก็อปปี้ นั่นน่ะสิ่งนั้นคือสัญญา เป็นไปไม่ได้ ถ้ามันจะเป็นไปได้จริงนะมันจะเกิดมันไม่พึ่งใคร ไม่พึ่งใครแล้วจิตมันเป็นสัมมาสมาธิ จิตมันมีกำลังของมัน แล้วมันฝึกหัดใช้ปัญญาของมัน แล้วปัญญามันเกิดขึ้นมา ปัญญามันจะมาถอดถอนตัวมันเอง

แล้วถ้าเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมา นี่ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเกิดปัญญาอันนี้ถึงจะเป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญานี้มันถึงจะชำระกิเลส แล้วชำระกิเลสมันจะเข้าใจเรื่องอย่างนี้ ถ้ามันยังไม่มีภาวนามยปัญญาขึ้นมา มันก็ว่าปัญญา เพราะปัญญาอย่างนั้น ถ้าเป็นการศึกษานี่เราเป็นสุตมยปัญญา แต่ปฏิบัติไปแล้วจิตมันสงบบ้าง ไม่สงบบ้างมันเป็นจินตมยปัญญา มันเป็นจินตนาการ จินตนาการโดยที่ว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จินตนาการโดยที่เราฟังของครูบาอาจารย์มาไง

นี่ฟังเทศน์ทุกวัน ฟังเทศน์ทุกวัน แนวทางรู้ทุกคน แล้วพอจิตมันสงบนะก็แนวทางนี่แหละเป็นเชื้อ พอแนวทางนี้เป็นเชื้อปั๊บ เห็นไหม จินตนาการไปเลย มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะเวลาจิตมันสงบขึ้นมา เริ่มต้นปัญญามันจะผิดพลาด ผิดพลั้ง มันเป็นโลกียปัญญา โลกุตตรปัญญามันจะมีของมัน แต่ แต่คนที่ภาวนามันจะรู้ตรงเป็นผลไง

ผล ผลหมายความว่าพอเวลาเกิดปัญญาขึ้นมาแล้ว เห็นไหม กินข้าว นี่ใครกินน้ำพริกก็ต้องเผ็ดใช่ไหม? ใครกินน้ำตาลก็ต้องหวานใช่ไหม? นี่พอเวลาปัญญามันเกิดขึ้นมา ปัญญามันเกิดขึ้นมา ถ้ามันเป็นความจริงของมัน นี่มันปล่อยของมัน รสชาติมันมีไง รสชาติของสมาธิใช่ไหม? รสชาติของความสงบ รสชาติของปัญญา รสชาติของการปล่อยวาง รสชาติมันมี แล้วรสชาติไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกัน

น้ำพริกยังไม่เหมือนกันเลย น้ำพริกกะปิ น้ำพริกเผา น้ำพริกรสชาติมันเหมือนกันที่ไหน? นี่ยังไม่เหมือนกันเลย ฉะนั้น พอภาวนาไป พอมันรู้เข้าไปมันจะเห็นของมันใช่ไหม? ถ้าเห็นของมันมันจะเข้าใจแล้ว เข้าใจว่าเวลาถ้าจิตมันเกิดปัญญา นี่ศีล สมาธิ ปัญญามันเกิดอย่างไร?

นี่พูดถึงนะ “นิพพานแล้วไม่มีจิต”

ถ้ามีจิตนะ จิตสะอาด จิตบริสุทธิ์ ในมหายานนะเขาถามว่า “นิพพานคืออะไร?” เขาลุกขึ้นนะแล้วเม้มปากแน่นๆ แล้วนั่งลง ถ้าอ้าปากคือเสวย คำว่าเสวยนะหลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ถ้าคนภาวนาเป็นฟังนะมันจะจับหลักได้ นี่คนภาวนาไม่เป็นมันก็ล้มลุกคลุกคลานไป หลวงตาบอกว่า โดยปกตินะถ้าท่านอยู่เฉยๆ อยู่คนเดียวนี่สุขมาก เวลาคิด ท่านเปรียบถึงเวลาคิด เวลาคิดนี่เหมือนกับเราไปแบกหามท่อนซุง ท่อนซุงหนักไหม? ท่อนซุงนี่หนัก ความคิดกับจิตไง

จิต เห็นไหม ถ้าพูดอย่างนี้ ถ้านิพพานไปมันไม่มี เวลามันจะเสวยมันต้องเข้ามาแบก พอเข้ามาแบกมันเป็นของหนัก ฉะนั้น เวลาแบก เวลาคิดนี่เหนื่อยมาก ไม่อยากคิด ไม่อยากทำ อยากอยู่ในนิพพานว่าอย่างนั้นเลย อยากอยู่ในวิมุตติเฉยๆ ไม่ออกมา ถ้าออกมามันจะมีของมัน ท่านบอกเวลาคิดนี่เหมือน ไปฟังเทศน์หลวงตาสิ เก่าๆ นี่ไปเปิดเทปย้อนหลัง ท่านบอก

“เวลาคิดนี่นะเหมือนกับแบกหาม ถ้าไม่คิดไม่ต้องแบกหาม ฉะนั้น ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่แบกหามนี่มีความสุขมาก”

แบกหามก็นี่ไงเวลาพูด เวลาขยับนี่คิดหมดเลย นี่ต้องแบกหาม ฉะนั้น คำว่าแบกหามมันถึงบอกว่ามันไม่มีมา ถ้ามีมามันจะแบกหามสิ่งใด? นี่ไงคำว่านิพพานไม่มีจิต ไอ้ตรงนี้มันจะเป็นประเด็นต่อไปเรื่อยๆ เพราะอะไร? เพราะว่าประชาธิปไตยไง เสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนใหญ่กับเสียงส่วนน้อย ถ้าเสียงส่วนใหญ่ก็อ้างพระไตรปิฎกนั่นน่ะ แล้วก็บอกว่าไอ้หงบพูดผิด ไอ้หงบพูดผิดนะมึง เออ พูดผิดก็คือพูดผิด แต่ภาวนา เราจะบอกว่าพระอรหันต์ไม่มีจิต ทีนี้มันก็งงไปหมดเลย

ฉะนั้น หนึ่งพระอรหันต์ไม่มีจิต นี้เราเป็นคนย้อนเกล็ด ย้อนเกล็ดไอ้พวกที่อ้างอิงว่าจิตพระอรหันต์ๆ ไง ถ้าจิตพระอรหันต์ ถ้าเป็นความจริงนะ คนภาวนาเป็นความจริงนะ พระอนาคามี เรือนว่างแต่มีคนอยู่นั่นแหละมีจิต เพราะคนนั่นล่ะคือจิต คนคือภวาสวะ จิตคือภพ จิตคือสถานที่ ถ้าไม่ได้ทำลายภพ เรือนนั้นว่างไม่ได้ เพราะไอ้คนที่ไปเก็บข้อมูล ไปตรวจสอบ ไปดู นั่นล่ะ ไอ้นั่นล่ะคือตัวจิต แล้วจิตมันสะอาดขนาดไหน? จิตดีมันก็ตามข้อมูลที่ดี ถ้าจิตมันเลวมันก็ฉ้อฉล

นี่ไงในเมื่อยังมีจิตอยู่จบไม่ได้ อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ จิตเป็นผู้วิมุตติ จิตมันทำลายภพ ทำลายตัวมันเองทั้งหมด ทำลายหมดเลย หมดเกลี้ยงเป็นวิมุตติ จบ ยืนขึ้นแล้วเม้มปากแน่นๆ ถ้าพูดแล้วมันต้องแบกหาม แล้วนั่งลง นั่นไม่มีจิตนะ ฉะนั้น พอไม่มีจิตแล้วเขาบอกว่า

ถาม : นิพพานไม่มีจิตเหลือแต่สติล้วนๆ ใช่ไหมคะ?

หลวงพ่อ : เออ เขาพูดกันบอกว่านี่สติสมบูรณ์ สติอัตโนมัติ สติ (หัวเราะ) ในเมื่อไม่มีจิตแล้วสติมันตั้งอยู่บนอะไร? ในเมื่อไม่มีจิตแล้วสติมันตั้งอยู่บนอะไร? สติมันไม่มีเจ้าของ สติเป็นของใคร? สติไม่มี ทุกอย่างไม่มี ฉะนั้น สิ่งที่ก้าวเดินไปเขาเรียกว่ามรรคญาณใช่ไหม?

นี่เวลากิเลสมันยังมีอยู่มันจะมีมรรค มรรคนี่เข้าไปทำลาย เข้าไปถอดถอนกิเลสไปเรื่อยๆ เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามรรค สกิทาคาผล อนาคามรรค อนาคาผล อรหัตตมรรค อรหัตตผลนี่มหัศจรรย์ มรรค๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี่เวลาอรหัตตมรรค อรหัตตผลมันทำลายกันแล้ว เห็นไหม ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคมา พอทำลายแล้วมันก็เหลือจิตมา

จิตนี่มันเหลือมาเรื่อย เพราะว่าเวลาเป็นพระโสดาบันนะพิจารณาขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ เราพิจารณากายนี่แยกเป็น ๓ ทวีป จิตมันรวมลง นี่จิตมันรวมลง พิจารณาแล้วจิตยังรวมลงอีก จิตไปรู้รวมลงเป็นหนึ่ง นี่มันเหลือจิตอยู่ พอมีความรับรู้สึกมาแล้วมันก็พิจารณาซ้ำไปอีก มันพิจารณาซ้ำไป

นี่อุปาทานในขันธ์ ๕ เวลามันปล่อยขาดหมด กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส แล้วนี่มันจะติด ส่วนใหญ่แล้วจะติด ถ้าขึ้นไปแล้วมันก็จะจับอสุภะได้ ถ้าจับอสุภะได้ ถ้าจับกายได้เป็นอสุภะ พิจารณาเข้าไป เห็นไหม นี่มันทำลายตัวมันเอง ทำลายขันธ์ ทำลายทุกอย่างหมดเลย พอหมดเลยมันเหลือธรรมชาติล้วนๆ ใส ใส นั่นแหละจิตเดิมแท้

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

นี่เวลาอรหัตตมรรค อรหัตตผล เวลามันจบไปแล้วเป็นนิพพาน ๑ มันจบไปเลย ฉะนั้น มรรค ๔ ผล ๔ เห็นไหม มันมีจิตมา มีจิตมาเรื่อยๆ พอมันพ้นไปแล้ว มันทำลายหมดไปแล้ว พอหมดไปแล้วมันก็จบ พอจบไปแล้ว คำว่าจบ เวลามรรคผลมันทำลายกันแล้ว มันสัมปยุตเข้า สัมปยุตเข้าไป อรหัตตมรรคสัมปยุตไป วิปปยุตคลายตัวออก พอคลายตัวออกนิพพาน ๑ พอเป็นหนึ่งก็จบแล้ว

นี่เพราะว่าสิ่งที่เราพูดกันอยู่นี้มันเป็นระหว่างก้าวเดิน ที่เขาบอกว่านิพพานเป็นอนัตตาๆ อนัตตา ถ้าจะมีอนัตตาต้องมีอัตตาก่อน ถ้าไม่มีอัตตาจะเอาอนัตตามาจากไหน? ในเมื่อของที่ไม่มีอยู่แล้วมันจะมีขึ้นมาได้อย่างไร? ฉะนั้น เรามีทิฐิมานะไหม? ทุกคนมีความทุกข์ไหม? นี่คืออัตตา ทีนี้พอมีอัตตาขึ้นมาก็มีความทุกข์กัน พอมีความทุกข์ขึ้นมาพระพุทธเจ้าถึงสอนอนัตตา สอนว่าสิ่งนี้มันไม่คงที่ โดยความเป็นจริงมันแปรปรวน นี่มันแปรปรวน มันเป็นอนัตตา แต่ที่มันไม่เป็นอนัตตาเพราะพวกเราทุกข์แล้วเจ็บไง เก็บไว้ไง อู้ฮู ซึ้ง อู้ฮู ทุกข์อันนี้มันซาบซึ้ง

นี่อัตตาตรงนี้ไง อัตตาที่เราปล่อยไม่ได้ เราปล่อยไม่ได้ ทั้งๆ ที่มันเป็นอนัตตา แต่มันไม่มีใครไปดูไปเห็นมัน แต่เวลาพระพุทธเจ้ามาสอนขึ้นมานี่เราก็พิจารณาของเรา พิจารณาของเรา พอพิจารณาไป ฝึกฝนไป ฝึกฝนไปก็อนัตตาๆ ตามตำราก่อน อนัตตาตามทางวิชาการก่อน เออ อนัตตา นี่ไงพ่อแม่บอกว่าลูก ลูกอย่ากินนะอาหารนี่มันเป็นโทษๆ

อืม แม่ว่าเป็นโทษ ไม่รู้เรื่องไง แม่ว่าเป็นโทษก็ยอมรับว่าเป็นโทษนะ แต่วันไหนแม่เผลอจะกิน พอกินเข้าไปแล้วมันทุกข์ไง กินเข้าไปแล้วมันท้องอืด ท้องเฟ้อ ถ้ากินยาพิษเข้าไปก็ต้องไปล้างท้อง มันก็เห็นโทษว่า อู้ฮู กินเข้าไปทุกข์ขนาดนี้ แม่พูดก็คือวิชาการ เวลาเราเป็นเองไง เราพิสูจน์ของเราเอง พอเป็นจริงขึ้นมา โอ้โฮ พอโอ้โฮ มันก็เข็ดน่ะสิ พอเข็ดมันรู้ของมัน เห็นไหม นี่อนัตตา

คำว่านิพพานเป็นอนัตตา สรรพสิ่งเป็นอนัตตา มันมีอัตตาขึ้นมา พอเป็นอัตตา อัตตากับอนัตตามันเป็นระหว่างก้าวเดิน ระหว่างกิเลสกับมรรค เวลากิเลสกับมรรคมันถึงที่สุดแล้ว มันทำลายกันแล้ว มันไม่มีทั้งกิเลส และมันไม่มีทั้งมรรค ไม่มี แล้วสติมันคืออะไร? สติเป็นมรรคองค์หนึ่ง สติชอบ มรรคเป็นสติชอบ ฉะนั้น บอกว่านี่มันก็เป็นพวกนกแก้ว นกขุนทองไง พระอรหันต์สติเป็นอัตโนมัติ (หัวเราะ)

สติเป็นอัตโนมัติๆ มันก็อัตโนมัติเพราะ เพราะเวลาที่ว่าที่หลวงตาพูด เวลามันเสวยอารมณ์มันรู้ของมัน แต่เสวยนี่มันก็เป็นโลกแล้ว มันเป็นโลกแล้ว ถ้าเป็นโลกแล้วนะ จะบอกว่าสติเป็นอัตโนมัติ ก็เอาสติไปผูกกับพระอรหันต์ไว้ นิพพานกับสติผูกกันไว้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นไปไม่ได้ นี่รู้ไม่ชอบมันก็เลยยุ่งไปหมดเลย แต่นี้ส่วนใหญ่มันรู้ไม่ชอบ แต่รู้ชอบนะ รู้ชอบแล้วไม่เหลืออะไรเลย สติก็เป็นสมมุติ พอสติเป็นสมมุติ พอค้านนี่สติเป็นสมมุติเหรอมันเป็นปรมัตถ์ อาการนี่เป็นปรมัตถ์หมด เป็นปรมัตถ์

ปรมัตถ์มันคืออะไร? ปรมัตถธรรม เขาว่าปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม นี่เขาบอกปรมัตถธรรมคือบัญญัติ ตามว่าเป็นบัญญัติคือเป็นปรมัตถ์ แต่สำหรับนักปฏิบัตินะปรมัตถ์คือพ้นทุกข์ พ้นออกไป ถ้าพ้นออกไปนั่นมันคือจบ ฉะนั้น สติที่เป็นอัตโนมัติๆ มันจำเป็นอะไร? มันจำเป็นอะไรจะต้องบอกว่าในเมื่อนิพพานแล้วมันเหลือสติล้วนๆ สติเป็นอัตโนมัติ ถ้าสติมันก็กลับมาอัตตา อนัตตานี่ไง

ถ้ามีอัตตาความยึดมั่น เพราะมีความยึดมั่น มันมีความยึดมั่น โดยจิตใต้สำนึกไม่ใช่เรายึดมั่นหรอก เราศึกษาธรรมกันแล้ว เราเป็นคนดีทั้งนั้นแหละ ไม่ยึดมั่น ไม่ใช่ของเรา อะไรก็ไม่ใช่ของเรา ทุกอย่างไม่ใช่ของเราสักอย่าง ไม่มีใครเป็นของเราเลยนะ เราไม่เคยยึดมั่นอะไรเลย นี่พูดจากปากนะ แต่จิตใต้สำนึกล่ะ? ไม่ใช่ได้อย่างไรล่ะ? ถ้าไม่ใช่นะเดินเข้าไปป่าช้าอย่ากลัว ไปไหนอย่ากลัว นี่บอกไม่ยึดมั่น เดินเข้าป่าช้าก็ไม่กล้า ไปทำอะไรไม่กล้าทั้งนั้นแหละ กลัว จิตใต้สำนึกโดยสัญชาตญาณมันกลัว

นี่ก็เหมือนกัน ไม่ยึดมั่นๆ ไร้สาระ ถ้าไม่ปฏิบัติยังไม่รู้หรอก แต่ปฏิบัติแล้วมันจะรู้จริงของมัน ถ้ารู้จริงของมัน พอรู้จริงแล้วปัญญามันเกิดอย่างไร? มันจะไปถอดถอนอย่างไร? สิ่งที่มีอยู่มันก็มี มันมีของมันอยู่ แล้วถ้ามันไม่มีล่ะ? ไม่มีทำไมมันถึงไม่มี มันต้องมีเหตุมีผลสิ ถ้าไม่มีอย่างไร? พอไม่มีแล้ว ไม่มีแล้วจะกลับมามีสติได้อย่างไร?

เพราะว่าสติหรือทุกอย่างมันต้องตั้งอยู่บนจิต แล้วในเมื่อจิตพระอรหันต์มันไม่มี จิตพระอรหันต์มันไม่มีภพ คือประสาเรา เราไม่มีแผ่นดิน จะปลูกบ้านบนที่อะไร? บ้านเราจะไปปลูกที่ไหน? แล้วจะไปปลูกคร่อมหลังคาคนอื่นหรือ? ถ้าเราไม่มีที่เราจะปลูกที่ไหน? ถ้าไม่มีจิตสติมันเกิดอย่างไร? มันไม่มีหรอก แล้วบอกสติอัตโนมัติๆ สติอัตโนมัติมันก็ย้อนกลับทีแรก ที่ว่าเริ่มต้นภาษายังไม่ซับซ้อน

ถ้าภาษายังไม่ซับซ้อนใช่ไหม? เราก็บอกว่าจิตสะอาดบริสุทธิ์มันคือจิตพระอรหันต์ จิตพวกเรามีกิเลสสกปรกในหัวใจ นี่จิตปุถุชน นี่จิตสะอาดๆ แต่พอเวลาปฏิบัติขึ้นไป เอาตามข้อเท็จจริงเข้าไปแล้ว ถ้าที่ไหนมีจิตที่นั่นมีภพ ที่ไหนมีภพ มีภวาสวะ กิเลสตัวหนึ่ง กิเลสในอวิชชา ๓ อวิชชาสวะ กิเลสสวะ ภวาสวะ นี่มันมีภวาสวะ มีภพ มีสถานที่ ถ้ามีสถานที่นั่นก็คือกิเลสอันหนึ่ง

ฉะนั้น ถ้ามีภพ มีจิตก็มีภพ เพราะจิตมีสถานที่ มีชื่อ มีที่หมาย มีทุกอย่าง นั่นคือภพหมด มันไม่มีชื่อ ไม่มีที่หมาย ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แล้วไม่มีอย่างไร? เออ ไม่มีอย่างไร? ไม่มีไปๆ เดี๋ยวก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปไง หมดเกลี้ยงไปเลย สูญไง สูญเปล่าไง แต่นี้สูญมี สูญจากกิเลส สูญจากความยึดมั่นถือมั่น สูญจากทุกๆ อย่าง แต่มีเพราะอะไร? มีเพราะตามความเป็นจริง

ฉะนั้น บอกว่าจิตนี้มันไม่มีวันสูญ ใช่ อย่าสับสนนะ เพราะว่าเวลาทางวิชาการ เห็นไหม เราเรียนมา อย่างเด็กๆ ต้องเรียนตั้งแต่อนุบาล เรียนประถม เรียนมัธยม เรียนอุดมศึกษา นี่เรียนมหาบัณฑิตต่างๆ ให้มันจบมา การปฏิบัติเริ่มต้นมันก็ต้องมีพื้นฐานขึ้นมา อย่างเช่นภาษานี่เราสมมุติ ภาษาเป็นสมมุติบัญญัติ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ กิเลส พูดถึงว่ามรรค ๘ นี่มันเป็นภาษาที่เราจะต้องทำความเข้าใจ

แล้วพอเวลามรรคขึ้นมา มรรคมันก็มีโสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตตมรรค เวลาถ้าทางวิชาการพูดกันไม่รู้เรื่องจะแบ่งไม่ถูก แต่ถ้าเป็นปฏิบัตินะฟังรู้เลย ฟังรู้เลย พิจารณาอะไร? ถ้าในปฏิบัติ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาสนทนาธรรมกันเขาจะถามว่าทำความสงบอย่างไร? ถ้าจิตสงบแล้วพิจารณาอะไร? แล้วพิจารณาอย่างไร? เพราะพิจารณาขั้นต้น พิจารณาโสดาบันพิจารณาอย่างไร? เพราะมรรคมีอันเดียว เวลาปล่อยเข้าไปแล้วมันจบลงอย่างไร?

ฟังแค่นี้รู้ ถ้าตรงนี้บอกไม่ได้นะ เอ็งจะบอกนิพพานก็ไม่เกี่ยวแล้วเพราะเอ็งไม่มีบาทฐาน เอ็งจะมีนิพพานไม่ได้ แต่ถ้าเอ็งจะมีนิพพาน นิพพานก็เรื่องของเอ็งวางไว้ก่อน มาบอกพิจารณากายอย่างไร? เป็นโสดาบันอย่างไร? ถ้าเป็นโสดาบันถูก นี่มีบาทฐาน ถ้าเป็นโสดาบันถูกจะมีสกิทาคามี ถ้ามีสกิทาคามีต้องมีอนาคามี มีอนาคามีก็จะมีพระอรหันต์ ถ้าไม่มีโสดาบันจะมีธรรมะที่ละเอียดขึ้นไปไหม? จะมีไหม? ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิหมดไง

แต่ถ้ามีอันแรกขึ้นมา เห็นไหม อันแรกเข้ามาอย่างไร? ถ้าอันแรกเข้ามาปั๊บเรื่องธรรมะจะไม่มีการขัดแย้งกันแล้ว เพราะอะไร? เพราะเรื่องธรรมะ พอเข้าธรรมได้ เพราะปัญญามันมาในทางเดียวกัน เพราะภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เข้าถึงชำระกิเลสมันมีอันเดียวกัน

ฉะนั้น เราจะบอกว่า เขาถามว่า

ถาม : ถ้าไม่มีจิต มันเหลือแต่สติล้วนๆ ใช่หรือไม่คะ

หลวงพ่อ : ถ้าพูดบอกว่าใช่ก็เข้าทางเลย ถ้าบอกไม่ใช่ ไม่ใช่ก็ค้านโลกไปทั้งหมดเลย เออ มันมีอยู่ ๒ ประเด็น ถ้าใช่ก็เข้าทางแล้ว คือบอกว่านิพพานแล้วมีสติล้วนๆ ใช่ไหมคะ? เออ เราก็บอกไม่ใช่ ไม่ใช่แล้วนิพพานเป็นอย่างไรคะ? มันก็ว่ากันไปใช่ไหม?

นี่คำถามเดี๋ยวนี้ถามกระชับๆ สั้นๆ แค่นี้เองนะ แต่คนพูดมากก็ผิดมาก ถ้าถามมากให้ตอบมาก เพราะตอบนะ ถ้าคนไม่มีหลักนะวันนี้โกหกเรื่องนี้ พรุ่งนี้โกหกเรื่องต่อไป วันต่อไปก็โกหกเรื่องต่อไป โกหกไปๆ จนจำไม่ได้ว่าโกหกเรื่องอะไร? เรื่องโกหก เรื่องโกหกจะมาพันกันตายเลย แต่ถ้ามีหลักนะ หลักก็คือหลัก ทีนี้คำว่าหลัก เวลาตอบปัญหานี่อยู่ที่จริต จริตของคนอย่างนี้ต้องแก้อย่างนี้ จริตของคนนี้อย่างนี้ แต่หลักมันไม่เคลื่อน หลักก็คือหลัก

ฉะนั้น นิพพานไม่มีจิต พระอรหันต์ไม่มีจิต แต่นิพพานแล้วก็ไม่ใช่สติล้วนๆ เพราะว่ามรรคญาณ อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ อาสวะสิ้นไป นี่จิตมันโดนทำลายลง อาสเวหิ จิตฺตานิ จิต เห็นไหม จิตเป็นผู้วิมุตติ จิตเป็นผู้วิมุตติคือจิตมันทำลายตัวมันเอง ไม่ได้เข้า เขาว่าถ้าจิตเข้านิพพาน นิพพานอยู่แล้วต้องเข้านิพพาน บ้านมีอยู่แล้วต้องเข้าบ้าน เข้าบ้านก็อาศัยบ้านคนอื่นอยู่น่ะสิ ทำไมไม่ทำลายของตัวเองล่ะ?

ถ้ามันทำลายจิตทั้งหมดแล้ว จิตมันโดนทำลายหมดแล้ว ทีนี้ทำลายไปแล้วมันก็พ้นไป พ้นจากวัฏฏะ ไม่มีร่องไม่มีรอย มารหาไม่เจอ ใครก็ควบคุมไม่ได้ ไม่มีใครหาร่องรอยนี้เจอ มันไปหมดแล้ว แล้วไปอย่างไร? พอมันพ้นไปแล้ว แล้วมันจะกลับมามีสติทำไมอีก? อ้าว ก็มาถึงที่นี่แล้ว รถก็จอดอยู่นู่น มาถึงที่นี่แล้วก็จอดนั่งอยู่ในรถไม่ยอมขึ้นมา แล้วบอกหลวงพ่อ เอาอีกแล้วนะ หลวงพ่อไม่รัก หลวงพ่อไม่รัก หลวงพ่อรักหลวงพ่อต้องว่าหนูดีเพราะหนูนั่งอยู่ในรถ

เอ็งนั่งอยู่ในรถ เอ็งก็อยู่ในรถเอ็งนั่นล่ะ เขาขึ้นมาบนศาลากันนี่ เขาคุยกันอยู่บนศาลา ถ้าเอ็งอยู่ในรถก็อยู่ในรถ ก็ยึดสติไว้ไง ถ้าไม่ปล่อย ไม่ปล่อยมรรคมา มรรคสามัคคี มรรครวมตัว มรรคสมุจเฉทปหานมา มึงจะรอดมาได้อย่างไร? ถ้ามึงรอดมาแล้วมึงจะกลับไปเอามันอีกหรือ? ถ้ามึงรอดมาแล้วมึงจะกลับไปเอาอีกหรือเปล่า? ถ้ากลับไปเอาอีกก็สติอัตโนมัติไง พอไปถึงแล้วนะกอดไว้เลยไม่ยอมปล่อย นี่เป็นของฉันๆ ก็ติดอยู่นั่นน่ะ ไม่มี

ฉะนั้น ถ้ารู้ชอบแล้วไม่เหลืออะไรเลย สิ่งที่เหลือนี่ สิ่งที่เหลือนะเวลาเราพูดกัน เวลาพูด เวลาสอนนี่สำคัญ เวลาสอนใช่ไหม? เวลาสอนมรรคหยาบ มรรคละเอียด ทีนี้คำว่ามรรคหยาบ มรรคละเอียดมันก็ละเอียดเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา อยู่ที่ผู้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่มีวุฒิภาวะจะรับรู้ได้ ฉะนั้น วุฒิภาวะจะรับรู้ได้ เพียงแต่เราปฏิบัติใช่ไหม? เวลาปฏิบัติมันก็สงสัยไปหมดแหละ มันสงสัยนี่ทุ่มไปทั้งตัว

จะเปรียบเทียบปัญญานี้เป็นอวิชชาก็ได้ เป็นมารก็ได้ แต่ความจริงแล้วมันก็เป็นมารแบบหยาบๆ เวลามันชำระไปแล้วนะ มารชำระแล้ว หมดแล้วขาดหมดเลย โสดาบันขาดหมดเลย แล้วพิจารณาไปก็เจอมารอีก อ้าว มารอะไรล่ะ? อ้าว นั่นหลานมาร นี่ลูกมาร นั่นพ่อมาร นั่นปู่มาร มารมันมีครอบครัวของมัน ครอบครัวของมาร มันก็มีลูกมีหลานของมัน ที่จะมาครอบครองอาณาจักรในหัวใจของเรา

ฉะนั้น เราพิจารณาไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป มันเข้าใจได้ มันอธิบายได้ เพียงแต่ว่ามันต้องอธิบายคนที่ปฏิบัติแล้วมันแบบว่ามันรับกันได้ เหมือนรับมุขกันได้ ถ้าเรามีวุฒิภาวะเราจะรับมุขได้ เราเข้าใจได้ แต่ถ้าเราไม่มีวุฒิภาวะเลย เวลาครูบาอาจารย์ให้มุขมานี่รับไม่ได้ รับไม่ได้ เข้าใจไม่ได้มันก็เลยงง พองงขึ้นมานี่ไม่รู้ว่าอาจารย์พูดผิด หรือลูกศิษย์ฟังผิดไง เออ (หัวเราะ) ระหว่างพูดผิดกับฟังผิด ถ้าพูดผิด ฟังผิดก็เป็นเรื่องหนึ่งนะ

นี่พูดถึงว่า “นิพพานเหลือแต่สติ” เราบอกว่าถ้ารู้ชอบแล้วไม่เหลือ ไม่เหลือหรอก ฉะนั้น สิ่งที่ไม่เหลือ ที่พูดนี้พูดโดยหลักการ เพราะเราไม่ลงรายละเอียด ถ้าลงรายละเอียดแล้ว เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์กัณฑ์หนึ่งมันก็ตั้งแต่ปุถุชนถึงสิ้นกิเลสทุกกัณฑ์ ฉะนั้น เวลาสิ้นกิเลสทุกกัณฑ์มันต้องมีที่มาที่ไปไง อย่างเช่น จะทำสมาธิอย่างไร? ทำสมาธิแล้วได้หรือไม่ได้? ทำสมาธิแล้วหัดฝึกใช้ปัญญาเป็นไหม?

ถ้าใช้ปัญญายังล้มลุกคลุกคลานอยู่มันก็เป็นโลกียปัญญา มันต้องฝึกนะ ไม่ใช่ปัญญาเป็นแคปซูล กินปัญญาเข้าไปแล้วจะเป็นพระอรหันต์นะ ปัญญาก็ต้องฝึกเหมือนกัน ปัญญานี่ฝึก ฉะนั้น เวลาจิตสงบแล้วเราหัดฝึกใช้ปัญญา หัดฝึกใช้ปัญญา หลวงตาบอกว่า โดยหลักเป็นอย่างนี้แต่เราอ้างหลวงตา หลวงตาบอกว่า

“สมาธิฆ่ากิเลสไม่ได้ ต้องใช้ปัญญา แต่ปัญญาก็เกิดเองไม่ได้ถ้าไม่ฝึกหัด”

ถ้าไม่ฝึกหัด ถ้าพูดถึงทำสมาธิจนสมบูรณ์แล้ว ปัญญามันจะเกิดเอง แล้วก็นั่งรอ เหมือนจะกินแคปซูลปัญญา นี่กินเข้าไปแคปซูลหนึ่ง ถ้าไม่ได้ก็ ๕ แคปซูลเดี๋ยวปัญญามันจะเกิด ไม่ใช่ ต้องฝึกฝนเองหมด ถ้าฝึกฝนนะ พอฝึก เราฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนี้ปัญญาฝึกฝน ฝึกฝน ฝึกฝนจนชำนาญ พอชำนาญขึ้นมา เห็นไหม ถ้าฝึกฝนยังไม่ชำนาญกิเลสมีกำลังมากกว่า พอเราฝึกฝนจนชำนาญมันกึ่งแล้ว ๕๐-๕๐

ปัญญา ๕๐ เป็นธรรมล้วนๆ กิเลส ๕๐ กิเลสล้วนๆ ต่อสู้กัน เราก็มีทางก้าวเดิน แล้วฝึกฝนมากขึ้นไปนะ จาก ๕๐ เปอร์เซ็นต์จะเป็น ๖๐ เปอร์เซ็นต์ กิเลสก็เหลือ ๔๐ ก็ ๗๐-๓๐, ๘๐-๒๐ นี่มันก็ขยันไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราขี้เกียจ หรือเวลาจิตมันเสื่อม เห็นไหม พอเวลาจิตเสื่อม นี่ปัญญา ๘๐ เปอร์เซ็นต์ มันก็ถอยมาเหลือ ๗๐ กิเลสมันก็เพิ่มขึ้นมา ๕๐ ๖๐ ๗๐ ปัญญาก็ลดน้อยลงมาจนเป็นปุถุชนเลย จนเป็นกิเลสล้วนๆ เลย

นี่ระหว่างฝึกหัดใช้ปัญญามันเป็นอย่างนี้ มันต้องมีสมาธิขึ้นมา แล้วปัญญามันก็จะเกิดขึ้นเพราะมีสมาธิ พอสมาธิ พอเกิดปัญญาขึ้นมามันก็จะมีกำลังขึ้นมา ต่อสู้ขึ้นไป คำว่ากิเลสมันเหลือ ๒๐-๓๐ นี่รู้ได้อย่างไร? รู้ได้ว่าภาวนาง่ายขึ้น ภาวนาสะดวกสบายขึ้น แล้วมีความสุข มีความร่มเย็น กิเลสมันไปหลบซ่อนอยู่ ตัวแอบซ่อนอยู่ แต่จิตใจรื่นเริงมาก แต่อย่าชะล่าใจนะ ถ้าชะล่าใจมันถอย มันเสื่อมได้ เพราะมันเป็นสัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมะยังเจริญแล้วเสื่อมอยู่ในอนัตตา แต่พอถ้ามันขาด สมุจเฉทปหานเป็นธรรมแท้ๆ นะ ที่เราใช้คำว่า “ธรรมเหนือโลก”

ธรรมเหนือโลก นี่ธรรมะเหนือธรรมชาติ เพราะธรรมชาติคือวัฏฏะ ธรรมชาติคือการเกิดและการตาย นี่ธรรมเหนือโลก ธรรมะเหนือธรรมชาติ ถ้าเหนือธรรมชาติ มันพิจารณาไป พิจารณาจนมัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นี่ธรรมะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย มรรคนี่รวมตัว สมุจเฉนปหานขาด พอขาดมันเป็นอกุปปธรรม สิ่งที่เราทำอยู่นี่เป็นกุปปธรรม สัพเพ ธัมมา อนัตตาคือกุปปธรรม เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญเขาเรียกว่ากุปปธรรม

นี่อนัตตาคือกุปปธรรม แต่เวลามันขาดไปแล้วมันอะ อะคืออฐานะ อฐานะการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเคลื่อนที่ โสดาบันเป็นโสดาบันตลอดไป คนเป็นโสดาบันแล้วตายไป จะเกิดชาติไหน เกิดสถานะไหนก็เป็นโสดาบันตลอดไป เป็นโสดาบันนะอีก ๗ ชาติคือต้องสิ้นกิเลสตลอดไป นี่พอเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา นี่อกุปปะๆ คือไม่มีถอยๆ แต่ถ้าเป็นปุถุชนมันถอย พอมันถอยขึ้นมานี่เราต้องฝึกหัดของเรา เรามีปัญญาของเราขึ้นไป

ฉะนั้น สิ่งที่มันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ นี่เราทำของเรา ต้องฝึกหัด การว่าฝึกหัด ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่จริงท่านจะเสริมอย่างนี้ เสริมให้เราฝึก ให้เราหัด ให้เราเป็นจริงของเราขึ้นมา ถ้าเราเป็นจริงขึ้นมานะ นี่คือพยานไง พยาน เห็นไหม ดูสิเราพูดบ่อย ว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ ธัมมจักฯ

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

มันปลื้มใจไง พอพระพุทธเจ้าเทศนาว่าการ พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก พระพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมแล้วมีผู้รู้ตาม มันปลื้มใจไง

เวลาหลวงปู่มั่นท่านสอนลูกศิษย์ลูกหามาเยอะแล้วแหละ ก่อนที่มาเจอหลวงตา แต่ แต่ท่านพยากรณ์ไว้ด้วยอนาคตังสญาณของหลวงปู่มั่น ท่านพูดไว้กับหลวงปู่เจี๊ยะ แล้วหลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้เราฟังเอง

“นี่มันจะมีพระหนุ่มๆ แล้วจะบรรลุธรรมตามเรา แล้วจะเป็นผู้ที่เป็นประโยชน์กับศาสนามาก”

นี่พูดกับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะอุปัฏฐากอยู่ที่เชียงใหม่ เวลามีพระเข้ามานี่

“ใช่องค์นี้ไหม?”

หลวงปู่มั่นบอก “ไม่ใช่”

“ใช่องค์นี้ไหม?”

หลวงปู่มั่นบอก “ไม่ใช่”

พอหลวงตาเข้ามา หลวงปู่เจี๊ยะถามว่า “ใช่องค์นี้ไหม?” หลวงปู่มั่นไม่พูด เงียบ นี่แล้วพอเวลาสอนไปจนหลวงตาท่านขึ้นไปเสนอผลงานที่พิจารณาไง พิจารณาเวทนาจนขาดหมด นี่โสดาบัน พอขึ้นไปพิจารณา ไปรายงานท่าน ไปรายงานหลวงปู่มั่น

“เออ จิตมันไม่เกิด ๕ อัตภาพเว้ย จิตมันเกิดหนเดียวแหละ”

นี่ได้หลักแล้วมันไป เห็นไหม นี่เราจะบอกว่าหลวงปู่มั่นท่านปลื้มใจ ท่านปลื้มใจ ท่านดีใจ นี่ไงเวลาคนปฏิบัติแล้วถ้ามีใครรู้ตามนะมันเป็นพยานต่อกัน หลอกไม่ได้หรอก หลอกกันไม่ได้ ถ้าหลอกนะ นี่เรานั่งหลอกโยมทุกวัน แล้วพอโยมปฏิบัติเป็นโสดาบันขึ้นมานะ โยมจะมาชี้หน้าด่าเลยล่ะ พระโกหก พูดไม่เป็นความจริง ถ้าโยมเป็นจริงนะโยมจะมาชี้หน้าด่าเลย ไอ้พระโกหก ไอ้พระโกหก แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะปฏิบัติขึ้นมาแล้วมันจะชนกัน

พอชนกันนะ หลวงตาท่านท้าประจำ เวลาอยู่ที่บ้านตาดท่านจะปลุกเร้า ปลุกเร้าพระลูกศิษย์นะบอกให้ปฏิบัติมา “จำคำของผมไว้นะ” นี่คือหลวงตาท่านพูด

“จำคำของผมไว้นะ ถ้าใครปฏิบัติมา มาถึงตรงนี้แล้วจะมากราบศพ”

ถ้าใครปฏิบัติมาถึงธรรมของท่านไง จะไปกราบศพท่านตลอด จำคำนี้ไว้นะ ถ้าใครปฏิบัติมาถึงแล้วมันจะมากราบศพ แต่ตอนที่ท่านเทศน์อยู่มันยังค้านอยู่ในใจไง ฟังแล้วไม่รู้ เพราะเรายังกิเลสเต็มอยู่ในหัวใจใช่ไหม? ฟังแล้วก็งง จริง-ไม่จริง จริง-ไม่จริง จริง-ไม่จริง แต่ท่านท้า ท้าเพื่อจะปลุกเร้าให้เรากระทำไง “จำไว้นะ ถ้าใครปฏิบัติมาถึงตรงที่เราพูดแล้วมันจะมากราบศพ” กราบซากศพทีหลัง แต่ตอนที่พูดอยู่นี่มันค้านอยู่ในหัวใจ

นี่ก็เหมือนกัน ฉะนั้น สิ่งที่ถามมานี่ เราตอบเพราะว่าเป็นการถามมา แต่ถ้าจริงๆ แล้วไม่ต้องตอบก็ได้ เพราะใครปฏิบัติถึงนิพพาน คนปฏิบัติ คนถามนี่ทำสมาธิเป็นหรือเปล่า? คนถามนี่ทำสมาธิได้หรือเปล่า? แล้วจิตสงบไหม? จริงๆ ไม่ต้องตอบก็ได้ แต่ในเมื่อถามมา ถามมาใช่ไหม? แล้วเราก็อยากจะพูดไว้เป็นหลักเกณฑ์ ก็บอกไว้แล้วว่าอาจจะไม่นาน อาจจะไม่นานหมายความว่า ไอ้การตอบปัญหา ถามปัญหานี่ต่อไปจะยกเลิกก็ได้ เพราะว่าคิดว่าตอบปัญหามาพอแรงแล้ว ถ้าต่อไปอาจจะยกเลิก คือเลิกตอบปัญหาทางอินเตอร์เน็ตไง เอวัง