เทศน์บนศาลา

กิเลสสวมเขา

๒o พ.ค. ๒๕๕๕

 

กิเลสสวมเขา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม เวลาเราฟังธรรมนะ คำว่า “กิเลสๆ” เราก็ได้ยินมาจนชินหู เพราะกิเลสมันเป็นสิ่งที่ไม่ดี เวลาธรรมะเป็นสิ่งที่ดีงาม เราอยากได้ธรรมกันนะ เวลาเราปฏิบัติ เห็นไหม ความชอบธรรม โลกเขายังแสวงหาความชอบธรรม เวลาเขาได้ความอยุติธรรม เขาบอกว่าเขาไม่ได้ความเป็นธรรม

เวลาคำว่า “กิเลส” กิเลสมันเป็นเรื่องจากภายในของเรา ความไม่เป็นธรรมนะ สังคมเขาไม่เป็นธรรม เขาเบียดเบียนกัน เขาฉ้อโกงกัน เขาทำลายกัน มันถึงเป็นความไม่เป็นธรรม แต่เวลากิเลสของเรามันอยู่ในหัวใจของเรา เวลาเราคิดขึ้นมา เราจะแบ่งแยกได้อย่างไรว่าสิ่งใดเป็นกิเลส

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งนี้เป็นกิเลส กิเลสคืออวิชชา อกุศล สิ่งต่างๆ ทำให้เราได้ทุกข์ได้ยากไง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การทำคุณงามความดีของเรา ถ้าเราทำคุณงามความดี ผลของมันต้องให้เป็นคุณงามความดี แต่นี่ทำคุณงามความดีทางโลก เวลาทำคุณความดีในปัจจุบันนี้ เราก็ว่าทำคุณงามความดี เราไปเที่ยวแฉโพยเขา นี่ทำคุณงามความดี เขาก็ว่าคนนั้นเป็นคนที่ไม่ดี แต่เราบอกว่าเราทำถูกต้องๆ แต่ถูกต้องของใคร

เวลาความถูกต้องมันมีกาลเทศะของเขา สมควรและไม่สมควร ถ้าเวลาสมควรของเขา กาลเทศะมันต้องถูกต้อง ทำความดีมันก็ได้ความดีตลอดไป เห็นไหม เวลาทำคุณงามความดีกับโลก มันต้องดู ดูทิศทางลม ความเป็นไปได้หรือความเป็นไปไม่ได้ ถึงว่าคนมีปัญญา ถ้าคนไม่มีปัญญานะ เถรตรงไง

ในประวัติหลวงปู่มั่นบอกว่า เวลาเชิญให้ขึ้นบ้านมันก็ขึ้นไปบนหลังคาซะ บอกให้ลงมาบ้านมันก็ลงไปใต้ถุน ลงไปใต้บาดาลนั้นซะ เขาให้ขึ้นบ้าน เขาไม่ได้ให้ขึ้นหลังคา นี่เวลาความคิดของเรา เห็นไหม คนซื่อตรงไง บอกให้ขึ้นบ้านมา เวลามาเยี่ยมนี่ให้ขึ้นบ้าน มันขึ้นไปบนหลังคาเลยนะ แล้วขึ้นไปทำไมบนหลังคาน่ะ เขาเชิญขึ้นบ้าน อย่างนั้นลงมาๆ มันก็ลงไปใต้ถุนซะ มันไม่เข้าบ้านไง

นี่กาลเทศะ ถ้ามันมีกาลเทศะของมัน เขาเชิญขึ้นบ้าน เราก็ขึ้นบ้านเขา นี่ขึ้นบ้าน เรามาเยี่ยมเยียนกัน เรามีสารทุกข์สุกดิบ เราก็คุยกัน เสร็จแล้วเราก็ลาเขาไป นี่พูดถึงว่าถ้าไม่เถรตรง เรามีปัญญาของเรา เราแก้ไขของเรา ถ้ามันแก้ไขของเรา นี่เรื่องของสังคมทางโลกนะ

เราบอกคำว่า “กิเลสๆ” กิเลสมันคืออะไรล่ะ เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ากิเลสคืออวิชชา ความไม่รู้ของมัน ดูสิ เวลาคนไม่รู้นะ ทำสิ่งใดไปด้วยความมั่นใจของตัวว่าตัวเองทำนี่เป็นความถูกต้อง นี่ความมั่นใจของตัวนะ ทำด้วยความเต็มไม้เต็มมือ แต่เวลาเรามาระลึกรู้ มาเข้าใจการกระทำของเรา เราเสียใจภายหลัง เราเสียใจมากว่าของแค่นี้ทำไมเราไม่รู้ ขณะที่ไม่รู้ มันไม่รู้หรอก แล้วมั่นใจมากว่าเราทำนี่เป็นความถูกต้อง แต่เวลาทำไปแล้วนะ นี่มรรคหยาบฆ่ามรรคละเอียด ความคิดของเรามันหยาบๆ

เราจะบอกว่า เวลาทำในทางโลก สิ่งนั้นก็ผิดๆ สิ่งนั้นก็ผิดน่ะ เขาไม่รู้ของเขา ความไม่รู้ของเขา คนถ้าไม่รู้นะ เหมือนคนไร้เดียงสา เวลาไร้เดียงสาภาวะ เขาไม่รู้ของเขา อย่างนี้น่าเห็นใจมาก แต่เวลาถ้ามันเป็นกิเลสนะ มันรู้ มันรู้ แต่มันจะเอา มันรู้ของมันนะว่าผิดถูก แต่มันยังขืนทำ มันทำเพราะอะไร? มันทำเพราะทนแรงตัณหาความทะยานอยากของหัวใจของตัวไม่ได้ นี่ไง กิเลสมันเป็นแบบนี้ไง

ถ้ากิเลสมันเป็นแบบนี้นะ ดูสิ เวลากิเลส เห็นไหม โลภะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง โทสะ โมหะ นี่มันขับไสไป โทสัคคินา โมหัคคินา เป็นไฟนะ เป็นไฟเผาลนเรา แต่เราก็พอใจ นี่ไง บอก กิเลสๆ กิเลสเวลามันเป็นความจริง มันเป็นอย่างนี้ แต่เราไม่รู้ไม่เห็นนะ เวลาคนเรามีความโลภ ความโกรธ ความหลง มันไปหมดนะ ความรู้สึกนึกคิดนี่มันไปหมดเลย แล้วมันก็ฉุดกระชากลากใจนี้ไปหมดเลย แล้วบอกนี่เป็นกิเลส กิเลสอะไรล่ะ ฆ่าเขาแล้วกลับมายังยืนหัวเราะอยู่นี่ กิเลส ถ้ากิเลสเราก็ต้องยับยั้งสิ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่า นี่ชำระกิเลสๆ กิเลสมันคืออะไร เราก็แสวงหากัน เวลาเราแสวงหากัน เราศึกษากัน เราอยากจะต่อสู้กับกิเลส เราอยากจะชำระกิเลส ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เราแสวงหากันนะ เราศึกษามาแล้ว ศึกษามาแล้วก็สมบูรณ์แล้วล่ะ เวลาเราเรียนมา เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสมบูรณ์แล้ว นี่เป็นปริยัติ ปริยัติเป็นแนวทางเพื่อประพฤติปฏิบัติ เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติ นี่แหละเราจะมารื้อค้นกัน เราจะมาเผชิญหน้ากับมันว่าอะไรเป็นกิเลส กิเลสมันอยู่ที่ไหน แล้วเราเกิดมาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุข เห็นไหม “เราพ้น เราเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา เราจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว” ถ้าไม่กลับมาเกิด นี่พระพุทธศาสนา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่เลอเลิศ สิ่งนี้เลอเลิศ แล้วเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา เป็นจิตดวงแรกที่จะไม่เกิดไม่ตายอีกแล้ว มันรู้เหตุรู้ผล รู้ที่มาที่ไป สิ่งที่รู้เหตุรู้ผล เพราะชำระกิเลส ชำระอวิชชาออกไปจากหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมและวินัย เราก็ศึกษามาเป็นแนวทางของเรา

เวลาเราปฏิบัติ เรามาประพฤติปฏิบัติกัน เราก็หวังจะพ้นจากทุกข์ หวังพ้นจากทุกข์นะ เวลามันทุกข์มันยาก มันไม่ต้องถามใคร เพราะจิตทุกดวงเวลาเกิดมา มันทุกข์มันร้อน มันเร่ามันร้อนของมันโดยข้อเท็จจริงของมัน โดยข้อเท็จจริงนะ คนเกิดทุกคน สัตว์ที่เกิดในวัฏฏะนี้ ทุกดวงใจมีแต่ความทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นสัจจะ ทุกข์เป็นความจริง แต่เราอยู่ด้วยกัน เพราะเป็นบุญกุศลนะ

ดูสิ เวลาคนเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาเขาหายใจไม่ได้ เขาต้องให้ออกซิเจนนะ ไอ้เรายังหายใจได้ นี่เราเกิดเป็นมนุษย์ สถานะของความเป็นมนุษย์มันรักษาจิตเรา รักษาชีวิตของเราให้ลุ่มๆ ดอนๆ อย่างนี้มันยังพอประทังชีวิตกันไปได้ แต่เวลามันทุกข์มันร้อนขึ้นมา ดูสิ คนเจ็บคนป่วยเขาหายใจไม่ได้นะ เขาหายใจด้วยตัวเองไม่ได้แล้ว โคม่า เขาให้ออกซิเจนเพื่อประคองชีวิตนั้นไว้ นี่มันทุกข์ไหม แม้แต่หายใจ เขายังหายใจด้วยตัวเองไม่ได้เลย

นี่ก็เหมือนกัน ชีวิตของเรา เราหายใจได้ ร่างกายเรายังแข็งแรง เรายังสมบูรณ์อยู่ เรายังช่วยเหลือตัวเราเองได้ เราไม่ต้องพึ่งพาอาศัยใคร จะลุกจะนั่ง เราก็ไปของเราได้ แต่เวลาคนเจ็บไข้ได้ป่วยนี่มันไปไม่ได้ ย้อนถึงชีวิต นี่เหมือนกัน เราเกิดมา อย่างไรก็แล้วแต่ เราก็ยังรักษาตัวเราได้ อย่างไรเราก็ยังมีสติปัญญาอยู่ว่า เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เรามีสติปัญญา เรามาประพฤติปฏิบัติกัน เราอยากจะพ้นจากทุกข์ นี่ความทุกข์ความร้อนมันเผาลนอย่างนั้นล่ะ

ถ้ามันเผาลนอย่างนั้น เห็นไหม ทุกดวงใจที่เกิดมามันมีทุกข์เป็นสัจจะ ทุกข์เป็นความจริง เราก็มีวาสนา ทำหน้าที่การงานของเราก็บากบั่นของเรา ทำเพื่อความมั่นคงของชีวิต แล้วมันมีสิ่งใดไปเติมเต็มกับจิตใจของเราล่ะ

จิตใจของเราที่มันเรียกร้อง เรียกร้องขอความช่วยเหลือ โลกเขาหาความยุติธรรมกันนะ เขาโดนเบียดเบียน โดนรังแก เขาหาความยุติธรรมกัน นี่เรื่องของโลกที่เขาแสวงหา แต่หัวใจของเรามันก็หา เราจะหาความเป็นธรรมของเรา ถ้าจิตใจเราเป็นธรรมขึ้นมา มันจะเห็นกิเลส เห็นตัณหาความทะยานอยาก เราถึงเริ่มต้นประพฤติปฏิบัติ ทีนี้ถ้าเรามาประพฤติปฏิบัติ เราก็ตั้งใจทำของเรา เวลาตั้งใจทำนะ

ดูสิ เวลาคนเขามีคู่ครองกัน ถ้าซื่อสัตย์กัน ซื่อสัตย์สุจริตในคู่ครองของตัว ในครอบครัวนั้นจะมีความร่มเย็นเป็นสุข มันเป็นเอกภาพ มีความเชื่อมั่นกัน มีความไว้วางใจกัน แต่ถ้าในครอบครัวใดไว้ใจกันไม่ได้ ระแวงกันตลอดไป มันจะมีความสุขไหม

นี่ก็เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา มันจะเป็นความเป็นธรรมนะ แต่ถ้ากิเลสมันสวมเขา กิเลสมันสวมเขานะ เวลาปฏิบัติกัน ที่ว่าเป็นธรรมๆ นี่กิเลสมันสวมเขาเอาว่าเป็นธรรมๆ

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริง แต่เวลากิเลสมันไปศึกษาธรรม มันอ้างอิงว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ แล้วมันสวมเขาเอานะ เวลามันสวมเขาขึ้นมา ดูสิ เวลาเราโดนสวมเขานี่เราอายไหม เราเสียความรู้สึกไหม? เราจะเสียความรู้สึกมากเลยว่า แม้แต่คู่ครองของเรา เขายังไม่ซื่อสัตย์กับเราเลย ไม่ซื่อสัตย์นั้นมันก็เป็นเรื่องเวรเรื่องกรรมอันหนึ่งแล้วนะ ยังหลอกลวง ยังทำให้เราเสียหายอีก เห็นไหม นี่เวลาความเป็นอยู่ของเรา

แต่เวลาศึกษาธรรม ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ มันจริงหรือเปล่า นี่ไง กิเลสมันสวมเขาเอา พอกิเลสสวมเขาเอา ถ้าสวมเขาแล้ว ถ้ามันไม่รู้ตัวนะ ถ้าโดนเขาสวมเขาแล้วเรายังไม่รู้อีกว่าเขาสวมเขา ยังชื่นชมเขาอีกนะ ยังชื่นชมเขา ยังไว้วางใจเขา เขาปอกลอกขนาดไหนก็ยังไว้ใจเขา ถ้าไว้ใจเขา มันก็หมดตัวไง นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติ สติปัญญามันเป็นความจริงไหม ถ้าสติปัญญามันเป็นความจริงนี่ให้เป็นธรรมขึ้นมา อย่าให้ใครมาสวมเขาเอา อย่าให้กิเลสมันสวมเขา แล้วกิเลสนี่กิเลสของใครล่ะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ จะมารื้อสัตว์ขนสัตว์ “อานนท์ ไม่มีกำมือในเรานะ” ซื่อสัตย์สุจริตหวังรื้อสัตว์ขนสัตว์ เมตตามาก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันเป็นการรื้อภพรื้อชาติ เป็นการรื้อสิ่งที่เป็นอวิชชาในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเลย แล้วจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เห็นไหม วิธีการ ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ อยู่ ๖ ปี มันไปทดสอบมาขนาดไหน แล้วเวลาสิ่งที่ทดสอบ เพราะเขาทำกันใช่ไหม

ดูสิ ลองไปทางโลกสิ เวลาในปัจจุบันนี้นะ เขาไม่ให้มีการทุ่มตลาด ในทางธุรกิจเขาไม่มีการทุ่มตลาดนะ เขาให้แข่งขันกันโดยความเป็นธรรม ถ้ามีการแข่งขันโดยความเป็นธรรม มันทำให้มีการแข่งขัน ทำให้ผู้ที่บริโภคได้ประโยชน์ เพราะมีการแข่งขัน เขาต้องแข่งขันกัน เราจะได้ประโยชน์ เพราะเขาแข่งขันแล้วเขาต้องลดราคาของเขาเพื่อประโยชน์ เขาแข่งขันกันเพื่อลดต้นทุนของเขา

ในการประพฤติปฏิบัติเราก็เหมือนกัน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ นี่โลกเขาแข่งขันกัน มีไปหมดนะ วิธีการสอนต่างๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ นี่เพราะมันเป็นโลกไง คำว่า “เป็นโลก” หมายถึงว่า มันเป็นตรรกะ มันเป็นเรื่องของสัญญาอารมณ์ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ ถ้าทุกคนสามารถเข้าใจได้ ทุกคนก็ศึกษาได้

ดูฌานโลกีย์สิ อภิญญาต่างๆ ฌานโลกีย์ ถ้าจิตใจมันสงบเข้ามามันก็เป็นแบบนั้น ถ้าใครมีอำนาจวาสนาขึ้นมา ถ้าจิตมันมีกำลังของมัน มันก็แสดงออกได้แบบนั้น ถ้าแสดงออกไปแบบนั้นนะ เหาะเหินเดินฟ้าก็ได้ รู้วาระจิตก็ได้ ต่างๆ ก็ได้ นี่เรื่องโลกๆ ทั้งนั้นแหละ นี่มีการแข่งขันกัน แม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม โลกเขาก็มีอยู่แล้ว กาฬเทวิล ในสมัยพุทธกาล นี่เป็นพราหมณ์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติออกมา โลกธาตุจะหวั่นไหว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร โลกธาตุหวั่นไหวไปหมด พระอานนท์แปลกใจมาก เข้าไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“เหตุที่ไม่เคยมีไม่เคยเป็นก็เป็นขึ้นมา โลกธาตุหวั่นไหวไปหมดเลย มันเป็นเพราะเหตุใด”

“อานนท์ เวลาโลกธาตุหวั่นไหวนี่นะ มีอยู่ ๓ คราว คราวหนึ่ง คือพระโพธิสัตว์จุติลงมาจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คราวหนึ่ง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา อีกคราวหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร โลกธาตุจะหวั่นไหว”

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดนี่โลกธาตุหวั่นไหว กาฬเทวิลอยู่บนพรหม โลกเกิดอะไรขึ้นมา ถึงลงมาดูว่า อ้อ! นี่พุทธลักษณะ ลงมาดู เพราะรู้จักกับพระเจ้าสุทโธทนะ ให้เข็นเจ้าชายสิทธัตถะออกมาให้ดู นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดแล้ว รู้วาระด้วยนะ รู้ว่าอายุขัยตัวเองไม่ทัน เห็นไหม ดีใจมากว่าธรรมเกิดแล้ว แต่เสียใจที่เราหมดอายุขัยก่อน นี่ฌานโลกีย์

เรื่องสินค้าทางโลก การแข่งขันกันทางโลก การปฏิบัติกันแบบโลกๆ พอแบบโลกๆ นี่มีการแข่งขันกัน มีต่างๆ โลกเข้าใจได้ โลกรู้ได้ นี่เพื่อประโยชน์กับเขา แต่ขณะประโยชน์ของเขา กาฬเทวิลนี่รู้ พอรู้ขึ้นมา รู้ถึงกำหนดอายุของตัวว่าเราต้องตายก่อน เสียใจมากๆ นี้พูดถึงเรื่องการแข่งขันทางโลก ในการปฏิบัติทางโลก เราศึกษาวิธีการปฏิบัติขึ้นมาแล้วกิเลสมันก็สวมเขาเอา สวมเขาเอานะว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติจริงหรือ

ถ้าเป็นการประพฤติปฏิบัติให้เป็นธรรมขึ้นมา พระพุทธเจ้าสอนไว้ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ไม่มีกำมือในเรา” เห็นไหม นี่กรรมฐาน ๔๐ ห้อง พุทโธๆ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ เวลาพูดถึง เวลาพระไปเที่ยวป่ากัน เวลากลัวผี กลับมาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ากลัวมาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเลยนะ ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้กำหนดพุทโธๆ สู้กับพวกจิตวิญญาณ เวลาไปปฏิบัติในป่าในเขานะ ไปเจอสิ่งใดเป็นอุปสรรค จะมาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอด

นี่ไง สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาสอนเทศนาว่าการให้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ขึ้นมา แล้วเราศึกษา มีครูมีอาจารย์คอยชี้คอยนำขึ้นมา ไม่ให้กิเลสมันสวมเขาเอา ถ้ากิเลสมันสวมเขาเอา “ปฏิบัติกันอยู่นี่ ปฏิบัติแล้วไม่ได้สิ่งใด” นี่พูดถึงโลกๆ นะ มันยังไม่เข้าไปถึงการประพฤติปฏิบัติที่ว่าเราปฏิบัติไปแล้วเราลังเลสงสัย เวลาปฏิบัติไปแล้วจิตมันสงบจริงหรือไม่สงบจริง เห็นไหม มันสวมเขามาตลอด กิเลสของเรานี่ แล้วเราจะโทษธรรมะนะ “เวลาปฏิบัติธรรมทำไมมันยุ่งยากขนาดนี้” นี่เราไปติเตียนหมดนะ แต่เราไม่ได้คิดเลยว่าเพราะการกระทำของเรา

เราทำนะ เราทำของเรามา ปฏิภาณไหวพริบของเรามีเท่านี้เอง ถ้าเราได้สร้างบุญกุศลขึ้นมา เราจะมีสติปัญญามากกว่านี้ ถ้าเรามีสติปัญญามากกว่านี้ เราจะแยกแยะของเรานะ สิ่งใดผิดสิ่งใดถูก เวลาปฏิบัติขึ้นมา เรารู้จริงของเรา เราสัมผัสของเราก็ได้ เราไม่ให้มันสวมเขาเอานะ ถ้ามันสวมเขาเอา การปฏิบัติเราจะล้มลุกคลุกคลาน กิเลสเป็นใหญ่ตลอด กิเลสเป็นใหญ่ทั้งนั้น จะทำสิ่งใดก็ไปยอมจำนนกับมัน

เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษาเป็นปริยัติ ไปศึกษา นี่สุตมยปัญญา การศึกษา สุตมยปัญญาคือการศึกษา การใคร่ครวญของเรา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เวลาเราศึกษามาแล้วเป็นปริยัติ เวลาเราปฏิบัติ เราวางของเราไว้ให้มันเกิดเป็นความจริง อย่าให้มันสวมเขาเอา เวลามันสวมเขา เห็นไหม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริงไหม? เป็นความจริง เป็นความจริงเฉพาะใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปัจจุบันนี้ของเรามันยังไม่เป็นความจริงกับเรา ในใจเรานี้เป็นกิเลสทั้งนั้น ในใจเรากิเลสมันกำลังเหิมเกริม กำลังข่มขี่หัวใจเราอยู่ แล้วเราก็บอกว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบนั้นๆ เห็นไหม มันสวมเขาแล้วนะ ถ้ามันสวมเขาแล้ว มันเสียหายไปหมดนะ

ถ้าไม่รู้ ไม่รู้เพราะอะไร เพราะเราไม่รู้ทันกิเลสของเรา เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ นี่มันสวมเขาเอาแล้ว ถ้าไม่รู้ เราไม่รู้ มันก็ไม่เสียหาย ไม่เสียหายเพราะจิตใจมันยังไม่รู้ แต่ถ้ามันรู้ขึ้นมาล่ะ มันจะรู้ขึ้นมาได้อย่างไร ถ้ามันไม่หูตาสว่างขึ้นมานี่จะรู้ได้อย่างไร ถ้ามันยังเชื่อในการประพฤติปฏิบัติของตัว มันก็ยังเชื่อกิเลสอยู่ มันก็ให้กิเลสสวมเขาของมันอยู่อย่างนั้น

แต่ถ้ามันมีปัญญาของมัน มันเทียบเคียงว่าสิ่งนี้มันมีหลักฐาน มันมีเหตุมีผล มันมีเหตุกับผลมันไม่เป็นความจริง ถ้าเหตุผลไม่เป็นความจริง กิเลสก็หลอกเอาน่ะสิ ถ้ากิเลสหลอกเอา มันก็สวมเขาเราน่ะสิ ถ้ามันสวมเขา พอมันรู้ทัน กิเลสมันก็หายไป พอรู้ทันนะ เพราะกิเลสเป็นนามธรรม เวลากิเลสที่มันข่มขี่เรา มันก็ข่มขี่เราด้วยกำลังของมัน ด้วยความเห็นของมัน แต่ถ้าสติปัญญาเราทันนะ กิเลสมันหายหน้าไปไหน พอกิเลสมันหายหน้าไป มันก็เป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม

นี่ไง ปริยัตินี้เรียนมา เราเรียนมา เรียนมานี้เพื่อประพฤติปฏิบัติ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติก็อย่าให้มันสวมเขาเราสิ อย่าให้มันเป็นสิ่งที่มันเป็นอดีตอนาคต มันไม่เป็นความจริงที่จะมาเป็นปัจจุบันกับใจดวงนี้ แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธของเรา เราตั้งปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา แม้แต่เริ่มทำสมถะ เริ่มทำความสงบของใจ ถ้าเป็นความจริงมันก็เป็นความจริง ความจริงกับความจอมปลอมมันก็แตกต่างกัน

ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา มันมีสติมีปัญญา มันมีผู้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นเจ้าภาพ เป็นผู้ดูแลใจของตัว ใครดูแลใจ นี่ใครดูแลใจ ใจของเรา เราแสวงหาอยู่นี่ ใครไปดูแลมัน ถ้าเรามีสติ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยวิมุตติสุข เวลาตรัสรู้ขึ้นมา เริ่มตั้งแต่บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ เวลาจิตมันเป็นขึ้นมา เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา มันลึกลับซับซ้อนนะ ลึกลับซับซ้อนสำหรับใจตัวเอง

แต่สำหรับเรา ถ้าเรามองไปที่วัตถุ มองไปทางโลก มองออกจากตัวไป รู้ไปหมด เข้าใจไปหมดเลย เพราะเรามองเขา มันเห็นไง แต่เวลาจิตมันจะมองเข้ามาที่ตัว มันมองไม่เห็นไง มันมองไม่เห็น มันจับไม่ได้ นี่ไง มันถึงได้ช่องไง พอมันได้ช่องขึ้นมา เรามองแต่คนอื่น ใครได้ประโยชน์? ไม่มีใครได้ประโยชน์สิ่งใดเลย เราไปมองข้างนอก เราเห็นความบกพร่องของคน เราเห็นคนนั้นทำหน้าที่การงานของเขา ทำความถูกต้องของเขา มันเป็นความดีความงามในตัวเขา ถ้าเขาขาดตกบกพร่อง มันก็เป็นการขาดประโยชน์ของเขา

“ของเขา” ไม่ใช่ “ของเรา” ของเขานี่รู้เห็นไปหมด ของเราไม่รู้ไม่เห็นเลย เพราะจิตมันไม่สงบ จิตมันไม่สงบระงับเข้ามา มันจะรู้เห็นไม่ได้ รู้เห็นไม่ได้เพราะว่ามันเสวยอารมณ์อยู่เต็มกลางความรู้สึกของใจ ใจมันเสวยอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอยู่อย่างนี้ แล้วความรู้สึกนึกคิดอย่างนี้มันไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม ดูกิเลสมันหลอกสิ กิเลสมันหลอกใจดวงนี้ กิเลสมันสวมเขาใจดวงนี้ แล้วใจดวงนี้ไม่รู้สึกตัวเองเลย ไม่รู้สึกว่าตัวเองโดนกิเลสสวมเขาอยู่ มันก็ศึกษาไปด้วยความเต็มไม้เต็มมือ

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมจริงไหม? ใช่ เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นของเราหรือเปล่า? ไม่เป็น ไม่เป็นเพราะอะไร เพราะนี่เป็นสุตมยปัญญา ศึกษาตามแบบตามแผนที่มันมีร่องมีรอยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ พระพุทธเจ้าวางไว้ให้เราศึกษาไง ศึกษามาเพื่อมาชำระกิเลส ไม่ได้ศึกษามาไว้เป็นสมบัติของเรา มันเป็นการรู้จากการศึกษา รู้จากทางทฤษฎี รู้ด้วยสัญญา มันจำมา ศึกษามา จำมาเป็นแบบเป็นแผน ศึกษามาแล้วขยายความๆ ในวงของความไม่รู้ ความไม่รู้เพราะตัวมันเองไม่รู้ตัวมันเอง

นี่ศึกษาขึ้นมาทางวิชาการ...ใช่ มันเป็นวิชาการนะ ทางวิชาการมันจะเปิดกว้างให้เราวิพากษ์วิจารณ์ได้ทุกๆ อย่าง เพื่อเป็นผลทางวิชาการ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับใจล่ะ นี่กิเลสมันสวมเขาแล้วนะ มันยังเผาทำลายครอบครัวมันเองเลยนะ มันเผาทำลายหัวใจไง เผาทำลายให้ไม่มีโอกาสในการประพฤติปฏิบัติ แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ นั่นทางวิชาการ เราก็วางไว้ ก็เราศึกษามา เราก็ได้ใบประกาศมาแขวนอยู่จนเต็มบ้านเต็มเมือง จนไม่มีที่จะเก็บกันแล้ว แต่ความรู้สึกเราล่ะ ความรู้สึกความเป็นจริงในหัวใจล่ะ นี่มันไม่เป็นความจริง เห็นไหม กิเลสมันสวมเขา

แต่ถ้าจะไม่ให้มันสวมเขานะ สิ่งที่รู้ก็วางไว้ ในการประพฤติปฏิบัตินี้มีผู้รู้กับเราเท่านั้น โลกนี้จะมีก็มีเรื่องของโลกเขา เวลาโลกนี้มี นี่หน้าที่การงานของเรา เราก็อยู่กับโลก เราก็เข้าใจได้ แต่ในปัจจุบันนี้เราวางไว้ เราวางโลกไว้ นี่มันเรื่องส่วนตัวของเราแล้ว มันเรื่องหัวใจของเรา เรื่องความรู้สึกของเราที่จะเข้าสู่ธรรม เราตั้งสติของเรา มีแต่ผู้รู้กับคำบริกรรมพุทโธๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาของเราไล่ความคิดเข้ามา ความคิดที่มันจะออกไปสู่โลกนั่นแหละ เพราะมันไม่คิด มันจะไปสู่โลกได้อย่างไร ดูสิ เราขังตัวเราไว้ที่นี่ แต่ความรู้สึกนึกคิดเราคิดแต่เรื่องที่บ้านทั้งหมดเลย เราคิดแต่เรื่องข้างนอกหมดเลย เราไม่ได้คิดถึงข้อเท็จจริงการดำรงชีวิต ข้อเท็จจริงของความรู้สึกนึกคิด ข้อเท็จจริงที่ว่าความคิดมันเกิดดับ มันเกิดขึ้นมาแล้วมันก็เป็นไฟแผดเผาเรา พอเรามีสติปัญญาทันขึ้นมา มันก็ปล่อยหมดๆ นี่ไง สิ่งที่ธาตุรู้ที่มันเสวยอารมณ์ ที่ว่าเป็นเรื่องโลก มันจะสงบระงับ คือมันปล่อยวางเข้ามา

เห็นไหม ธาตุรู้มันเสวยอยู่เต็มไม้เต็มมือของมัน ถ้ามันเสวยอยู่เต็มไม้เต็มมือของมัน แล้วไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม ตรรกะ เรื่องโลกๆ นี่มันส่งออกหมด แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา มันจะปล่อยวางเข้ามาๆ สิ่งที่มันเสวย สิ่งที่เป็นความรู้สึกนึกคิดมันจะปล่อยของมันเข้ามา ปล่อยของมันเข้ามา ปล่อยมันเข้ามา

ถ้ากำหนดพุทโธๆๆๆ เห็นไหม เรากำหนดพุทโธ กำหนดพุทธานุสติ นี่เวลาเราระลึกถึงพ่อถึงแม่เรา มันยังเป็นความกตัญญู เป็นความคิดที่ดีๆ เลย แต่เวลาเรานึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาด้วยพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นี้เราจะตรัสรู้ธรรมตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็จะกลับไปสู่พุทธะ สู่ผู้รู้ สู่ธาตุรู้ สู่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในหัวใจของเรา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะมันมีสติปัญญาขึ้นมา มันก็เป็นเอกเทศขึ้นมา มันเป็นสัจธรรม

ใครทำความสงบของใจทั้งหมด ทุกดวงใจ นี่ความสงบ เรื่องของจิตนี่เป็นสากล สากล คือมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นความจริงของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เพราะเวลาเราเกิดมา สถานะของความเป็นมนุษย์ นี่มันส่งออกมา ดูสิ มันเสวยอยู่เต็มไม้เต็มมือของมัน แล้วมันก็ไปคิดแต่เรื่องข้างนอก นี่มันสวมเขาเอา

เพราะกิเลส กิเลสคืออวิชชาอยู่ที่ดวงใจ มันเสวยอารมณ์ มันเสวยความรู้สึกนึกคิดเต็มไม้เต็มมือ มันก็มาจากอวิชชานั่นน่ะ อวิชชาคืออะไร? อวิชชาคือความไม่รู้ ความไม่รู้คืออะไร? ความไม่รู้คือตัณหาความทะยานอยาก ความไม่รู้คือกิเลส แล้วกิเลสมันเสวยออกมา แล้วมันเสวยอารมณ์อย่างนี้แล้วก็เอาอารมณ์นี้ไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่มันสวมเขาเอาทั้งหมดเลยไง สวมเขาเอาแล้วมันทำลายตัวมันเองด้วย ทำลายอะไร? ทำลายโอกาสในจิตที่มันประพฤติปฏิบัติ ทำลายโอกาสที่จิตมันสงบระงับเข้ามา

ถ้ามันสงบระงับเข้ามา คือมันปล่อยอารมณ์เข้ามา พุทโธๆ นี่พุทธานุสติ เวลามันคิดนอกเรื่องนอกราว มันคิดแต่ความทุกข์ คิดถึงความยึดมั่นถือมั่น คิดถึงตัณหาความทะยานอยาก คิดแต่เรื่องสิ่งที่จะพามันไปทุกข์ยาก เห็นไหม นี่มีสติ เปลี่ยนมาคิดพุทโธซะ เราไม่เสียดายความคิดอันนั้น

นี่มันบอก “ไม่ได้ ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ฉลาด ถ้าเราไปคิดพุทโธๆ พุทโธนี่มันเกิดดับๆ พุทแล้วโธ พุทแล้วโธ มันตัดแค่นั้น มันจะไม่ฉลาด แต่ถ้าเราคิดไป ตรึกในธรรมะไป เราจะเป็นคนฉลาด”...กิเลสมันสวมเขา กิเลสสวมเขาเอา สวมตัวเองจนมอดไหม้ไปแล้วนั่นน่ะ นี่คิดไปร้อยแปด แต่ทำไมเวลาปัญญาอบรมสมาธิมันถึงเป็นประโยชน์ล่ะ

ปัญญาอบรมสมาธิ เพราะเรามีสติมีปัญญาไง เพราะธรรมชาติมันเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว ธรรมชาติของความคิดมันเกิดดับอยู่แล้วล่ะ แต่เกิดดับด้วยความไม่รู้ของมัน มันก็เสวยเต็มไม้เต็มมือของมันไปไง ถ้าเรามีสติปัญญาขึ้นมา เรามีสติปัญญาไล่ขึ้นไป เราเห็นความคิดของเราขึ้นมา เราเห็นโทษของมันไง คิดแล้วมันก็ทุกข์มันก็ยาก คิดแล้วมันก็แสบปวด เจ็บปวดในหัวใจ คิดแล้วมันก็แสบร้อนในใจ คิดแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์สิ่งใดเลย

พอมันปล่อยวางความคิด เห็นไหม นี่มันเสวยอารมณ์ ธาตุรู้มันรู้เฉพาะในตัวของมัน แต่ถ้ามันจะรู้ถึงความรู้สึกนึกคิด มันต้องเป็นสังขาร สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง มันจะมีเวทนาของมัน มีความรู้สึกนึกคิดของมัน เห็นไหม ขันธ์ ๕ มันเสวยไปแล้วมันก็คิดออกไปข้างนอก ถ้ามีปัญญาขึ้นไป พอมันคิด มันก็ปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามา มันก็ปล่อยเข้ามาเป็นอิสรภาพในตัวของมัน

พุทโธๆ เราเปลี่ยนความคิดมาเลย เปลี่ยนความคิดจากที่มันรู้สึกนึกคิด ที่คิดแต่เรื่องความเจ็บปวดแสบร้อน คิดแต่เรื่อง คิดธรรมะก็แสบร้อนนะ คิดจะนิพพานๆ “อืม! นิพพานนะ โอ้! นิพพาน เราจะทำได้หรือ โอ้! พูดถึงนิพพานเชียวหรือ มันสูงส่งนะ นิพพานมันอยู่นอกโลก นิพพานมันไม่เกิดไม่ตายอีกนะ” นี่ไง คิดถึงธรรมะโดยกิเลสมันคิด มันคิดให้อ่อนแอไง

เวลากิเลสมันสวมเขาขึ้นมา มันคิดแล้วมันไปไม่รอดไง คิดแล้วมันจะไปหาเบี้ยใต้ถุนร้านน่ะ เวลามันจุดแบงก์นะ จุดแบงก์ไปหาเบี้ย มันไปหาเบี้ยที่ใต้ถุนร้าน ความเป็นมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่มีโอกาสจะชำระล้างกิเลสในหัวใจของตัวเองได้ มันก็บอกว่า “มันไม่ไหวนะ มันจะนิพพาน มันจะสูง มันจะสุดเอื้อม มันจะเป็นไปไม่ได้” เห็นไหม มันทำลาย มันเก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน มันไปสู่จิตใต้สำนึกถึงตัวเองว่าตัวเองไม่มีศักยภาพ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด...ไม่มีปัญญาอย่างนั้นเชียวเหรอ ไม่มีปัญญานี่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้อย่างไร ไม่มีปัญญาจะเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วมีอำนาจวาสนา มีบารมี แล้วพยายามรื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป

เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เห็นไหม เกิดเป็นชาวพุทธ เวลาเทวดาเขาอวยพรกัน “ดับขันธ์จากเทวดาแล้วขอให้เกิดเป็นมนุษย์เถิด เกิดแล้วได้พบพระพุทธศาสนา จะได้ทำบุญกุศลขึ้นมา จะได้เกิดเป็นเทวดาอีก” นี่เทวดา สมองเขามีแค่นั้นน่ะ แต่เรามีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเกิดเป็นชาวพุทธ แล้วเราพบพระพุทธศาสนา เราจะใช้ปัญญาของเรา

ปัญญาที่เราทำมาหากินกันอยู่นี่ เวลาปัญญาเราบริหารในครอบครัวของเรา เราก็ว่ามีปัญญารู้เท่ารู้ทันคน แต่ทำไมเราไม่มีปัญญารู้เท่ารู้ทันกิเลสเราล่ะ ปล่อยให้มันสวมเขาเราอยู่ทำไม แต่ถ้าเรามีปัญญารู้เท่า มันเศร้าใจนะ มันเศร้าใจหมายความว่า เวลาสมบัติที่เขาแสวงหากัน มันรู้ว่าเป็นสมบัติของมัน แต่เวลาสมบัติที่เป็นอริยทรัพย์ในหัวใจ เขาก็มีโอกาสของเขา ทำไมเขาไม่ทำ ทำไมเขาไม่ทำ ทำไมเขาปล่อยให้กิเลสมันเหยียบย่ำเอา

เวลาแก้วแหวนเงินทอง เราแสวงหาของเรา เราแสวงหามาเพื่อประโยชน์ของเรา เราเห็นเราก็อยากได้ เราเห็นเราก็หามาเป็นสมบัติของเรา แต่เวลาศีล สมาธิ ปัญญาที่มันควรจะแสวงหาได้ มันควรจะทำได้ ทำไมมันไม่ทำ แล้วมันเกิดมาเป็นมนุษย์ ว่าเกิดเป็นมนุษย์ คนที่ประเสริฐๆ เวลาทรัพย์สมบัติภายนอกมันเห็นคุณค่าได้ แต่เวลาทรัพย์สมบัติภายในจะเห็นไม่ได้ เป็นเพราะอะไรล่ะ? ก็เป็นเพราะกิเลสมันสวมเขาเอาไง

ถ้ากิเลสมันไม่สวมเขาเอา เราก็คิดของเราได้ ของที่มีค่า ของที่มีประโยชน์ ของที่มีคุณค่ามากกว่า จะเอาอะไร นี่เวลาแก้วแหวนเงินทอง กองนี้ ๕ บาท กองนี้ ๑๐ บาท กองนี้ ๒๒๗ บาท เอากองไหน? ทุกคนก็เอา ๒๒๗ ทั้งนั้นน่ะ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เวลาศีลนี่บอกถือ ๔ ข้อ ศีล ๕ ยังไม่ยอมถือครบนะ มันจะเหลือไว้ข้อหนึ่งเพื่อมันจะหลบหลีก เห็นไหม นี่เวลากิเลสมันสวมเขา มันทำลายทั้งหมด มันทำลายโอกาสทั้งหมด แล้วก็อ้างอิงกันว่าเป็นชาวพุทธ แล้วอ้างอิงกันว่าประพฤติปฏิบัติธรรม แต่ประพฤติปฏิบัติธรรมโดยให้กิเลสมันสวมเขาเอา สวมเขาทำลายโอกาสของเรา

แต่ถ้าเป็นความจริง ทิ้งให้หมดเลย ศึกษามาขนาดไหนก็วาง เพราะปริยัติเขาศึกษามาเป็นแนวทาง คำว่า “แนวทาง” เห็นไหม ศึกษามาแล้วให้วาง แล้วถ้าปฏิบัติไปแล้ว ถ้ามีแนวทาง แต่ไม่มีทาง จะทำอย่างไร ศึกษามานี่แนวทางนะ จบวิศวะมา การสร้างถนน สร้างอย่างนั้น ต้องปรับพื้นอย่างนั้น ความอัดให้ความมั่นคงขนาดนั้น แต่มันยังไม่มีถนนสักเส้นหนึ่ง มันจะเดินไปไหน? มันไม่มี นี่แนวทาง เราก็ต้องสร้างทางขึ้นมาไง มีแนวทาง แต่ไม่มีทาง มันจะทำอย่างไร เพราะแนวทางนี้ศึกษามาเพื่อปฏิบัติ

ฉะนั้น เราศึกษามาแล้วเราวางไว้ มันเป็นทฤษฎีที่เขาวางไว้ สร้างถนนขึ้นมา สร้างความเป็นจริงขึ้นมา ถ้าสร้างความเป็นจริงขึ้นมา มันจะมีทางให้ตัวเองเดิน แต่นี่มันไม่มีทางให้เดินน่ะ หันซ้ายหันขวา ไปไหนไม่รอด แล้วมันก็สวมเขานะ “นี่ปฏิบัตินะ ดูสิ ชาวพุทธเขาไม่ปฏิบัติกัน เรานักปฏิบัตินะ เราปฏิบัตินี่เราเป็นนักรบนะ”...นี่อุ่นใจ พอใจ พอใจกับรูปแบบว่าเราจะปฏิบัติไง แต่มันมีความจริงขึ้นมาไหม

ถ้ามันไม่มีความจริงขึ้นมานะ นี่ไง ผัดวันประกันพรุ่ง วันๆ ก็ล่วงไปๆ แล้วก็บอกว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม” นี่มันสวมมาตลอด แล้วถ้าเป็นขั้นของปัญญานะ ถ้ามันไม่สวมเขาเอานะ พวกนักปฏิบัติเราจะไม่ติดกันหรอก แต่นักปฏิบัติ เห็นไหม ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำนี่ติดไปตลอดทาง ติดไปตลอดสาย

ตัณหาความทะยานอยากเหมือนยางเหนียว เจอสิ่งใดมันแปะหมด พอแปะเสร็จแล้วนะ มันก็แบกหามกันไป พอแบกหามไป มันก็ล้มลุกคลุกคลานไป แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติใช่ไหม ยางเหนียว เราพยายามปลดเปลื้องมัน เรากำหนดให้ได้ เราจะมีสติปัญญาของเราให้ได้ ถ้ามีสติปัญญานะ มันจะทบทวนเข้ามา ทำไมเราทำความสงบไม่ได้ สงบ ทำไมถึงไม่สงบ ถ้ามันไม่สงบนะ ความเพียรเราพอไหม ถ้าความเพียรเราไม่พอ มันมีอุปสรรคสิ่งใด ถ้ามีอุปสรรคนะ

ดูเวลาเราอยู่กับครูบาอาจารย์ ยิ่งถ้าหลวงปู่มั่นด้วยนี่ ท่านจะให้โอกาสเต็มที่เลย หลวงตาท่านบอกว่าวัดท่านนี่ไม่ให้มีงานนะ ท่านให้พระปฏิบัติเต็มที่ ถ้ามีงานก็มีหน้าที่ ก็หน้าที่เฉพาะบุคคลคนนั้นจะช่วยกันดูแล แต่ถ้าเวลาประพฤติปฏิบัตินี่ท่านให้เต็มที่เลย เห็นไหม เพราะครูบาอาจารย์ท่านเห็นคุณค่าของอริยทรัพย์ เห็นคุณค่าของการประพฤติปฏิบัติ แล้วไม่ให้กิเลสมันสวมเขาเอา ไม่ให้กิเลสสวมเขาเอา เพราะครูบาอาจารย์ท่านเคยต่อสู้กับกิเลสมาแล้ว ท่านรู้ถึงความโหดร้ายของมัน รู้ถึงความโหดร้ายของกิเลสนะ

ถ้าเรายังไม่ประพฤติปฏิบัติ หรือเราประพฤติปฏิบัติแบบที่ว่าให้มันสวมเขาเอาแบบนี้ มันก็รักษาเราไปแค่นี้เอง มันก็หลอกเราแค่นี้ ให้เราอยู่สุขอยู่สบาย อยู่กันแบบเลื่อนลอยอย่างนี้ไป แต่ถ้าใครเอาจริงเอาจังกับมัน เอาจริงเอาจังที่จะไปเผชิญหน้ากับมันนะ มันก็มีแรงต้าน มีอุบาย มีการกระทำให้เราต้องต่อสู้ไปมากกว่านั้น

“มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ได้ดำริถึงเจ้าอีกแล้ว เจ้าจะเกิดในหัวใจของเราไม่ได้อีกเลย” นี่คือคำเยาะเย้ยมารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราล่ะ มารเอย มันอยู่ไหน มันก็คือเราหมดน่ะ มันครอบครองหัวใจเราทั้งหมด ปฏิบัติไปมันก็มารมันพาปฏิบัติ นี่ไง มันถึงสวมเขาเอาไง มันจูงจมูกต้อยๆๆ เดินตามมันนะ มันจูงจมูกก็เดินตามมันไป ปฏิบัติก็ปฏิบัติตามมารนั่นล่ะ ตามที่มันจะเปิดโอกาสให้ทำน่ะ เห็นไหม ถ้าเราปฏิบัติกันแบบนี้ มันก็ยังอยู่กันแบบที่กิเลสมันไม่ทำให้เราทุกข์ยากจนเกินไป

แต่ถ้ามันละเอียดขึ้นมานะ เวลาเราปฏิบัติขึ้นไป เวลาเราจะเผชิญหน้ากับมัน ล้มลุกคลุกคลานไปหมดเลย นี่ไง เวลาทำความสงบของใจ เวลาจิตมันเสื่อม มันเพราะเหตุนี้แหละ เวลาจิตมันเสื่อม เห็นไหม เวลาจิตมันสงบ พอจิตมันสงบ ถ้าพุทโธๆ จนจิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ มีความสุข มีความระงับ มีความพอใจของมัน นี่เราได้ลิ้มรส มันกลัวเราจะติดใจนะ มันกลัวเราจะชอบ เราติดใจ รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง รสของความสงบระงับในใจ

พอมันดีขึ้นมา เดี๋ยวมันก็หาอุบาย “ไอ้นู่นดีกว่า ไอ้นี่ดีกว่า” ไม่ต้องทำเลย อยู่เฉยๆ มันก็จะดีกว่า นี่มันล้มลุกคลุกคลานไปหมดน่ะ นี่เวลามันจะหาทางล้ม หาทางทำลายความเพียรของเรานะ เราก็เชื่อ เออ! ก็เราทำความสงบของใจได้แล้ว เราทำได้แล้วก็คือได้แล้วไง แล้วก็ไม่รู้จักรักษามัน ประมาทเลินเล่อกับมัน เวลามันเสื่อมไปแล้วนะ โอ้โฮ! ทีนี้เดือดร้อน เดือดร้อน อยากได้ อยากเป็น อยากดี ความอยากนั้นก็กระตุ้นให้มันทุกข์เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง นี่เวลามารมันหลอกลวงแล้วนะ

เวลาเชื่อมันแล้วนะ มันยังกระทืบซ้ำ กระทืบจนหัวใจ “เอ้อ! เลิกดีกว่า ทำมาแล้วนะ เราทุกข์ยากขนาดนี้”...ดีกว่า ดีกว่าอะไรล่ะ ดีกว่าไปเวียนตายเวียนเกิดใช่ไหม อะไรมันจะดีกว่าล่ะ ทรัพย์สมบัติในโลกนี้ก็เป็นโลกนี้เพื่อใช้ดำรงชีวิตเท่านั้นเอง แต่ถ้ามันมีทรัพย์ มีความสงบระงับเข้ามา มีปัญญาขึ้นมา ใคร่ครวญขึ้นมา รักษาใจของเราขึ้นมา มันจะพ้นนะ มันจะพ้นจากความไม่รู้ ถ้าทำความสงบได้ สิ่งนี้มันยืนยันกับเรา เรากลับมาทบทวนถึงการกระทำของเราว่ามันสมบูรณ์อย่างไร มันขาดแคลนอย่างไร มันขาดตกบกพร่องตรงไหน ถ้ามันขาดตกบกพร่องนะ เราพยายามของเรา

ถ้าพยายามของเรานะ นี่เขาทำได้ เราก็ทำได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ ในบรรดาสัตว์สองเท้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด ในบรรดาสัตว์สองเท้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา ครูบาอาจารย์ของเราก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา เราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง มนุษย์คนหนึ่ง เวลาเขามี ๒ มือ ๒ เท้า ๑ สมอง ๑ หัว เราก็มีเหมือนกัน เวลาร่างกายก็เหมือนกัน เราก็มี ๒ แขน เราก็มี ๒ ขา เราก็มีศีรษะอันหนึ่งเหมือนกัน เห็นไหม เราก็มีเท่าเขาน่ะ ทำไมเขาทำได้ ทำไมเราทำไม่ได้ ถ้าทำไม่ได้ปั๊บ ถ้ามีสติปัญญานึกคิดอย่างนี้ มันจะมีความฮึกเหิม

ถ้ามีความฮึกเหิม สิ่งที่มันจะสวมเขา มันก็จางไป มันก็หายไป เพราะเราจะเอาจริงเอาจังกับมัน แต่ถ้าเราอ่อนแอนะ มันหลอกลวง เราก็ล้มลุกคลุกคลานไป นี่เราหาอุบายของเรา แล้วเราทำความสงบของใจเข้ามานะ ถ้ามันเริ่มสงบเข้ามา เราสังเกตได้ว่าเราวางอารมณ์อย่างใด เราตั้งสติอย่างใด แล้วถ้าเราจะทำให้มากขึ้น เห็นไหม สิ่งที่เป็นความสงบระงับ มันจะต้องเป็นความเบา

สิ่งที่ว่าสิ่งที่เป็นความหนักหน่วง “ธาตุขันธ์ทับจิต” ถ้าธาตุขันธ์ทับจิต ดูสิ เวลาโทสจริต โมหจริต เวลาจริตของเรามันรุนแรง มันก็ทับความรู้สึก ทับหัวใจของเรา เพราะมันครอบงำหัวใจของเราไง เวลาเราหลง เราก็หลงไปเสียสุดโต่ง เวลาเราโกรธ เราก็โกรธเสียสุดโต่ง มันให้จิตใจเราแสดงตัวออกมาไม่ได้เลย มันแสดงอยู่ใต้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันนั้น เห็นไหม นี่เวลาธาตุขันธ์มันทับจิต ความหนักหน่วงมันทับหัวใจ เราพยายามจะต้องให้สิ่งนี้เบาบางลง ถ้ามันหลงเหรอ มันหลงใช่ไหม เราก็ใช้สติปัญญาของเราหาเหตุหาผล ถ้ามันโกรธหรือ เราก็คิดว่าสิ่งที่เป็นความโกรธ ความทุกข์ความยากอย่างนี้มันเหยียบย่ำหัวใจ มันได้ประโยชน์สิ่งใดมา เห็นไหม

สิ่งที่ร่างกาย ดูสิ มันง่วงหงาวหาวนอนนะ เราก็ผ่อนอาหารของเราให้น้อยลง อาหารที่เรากินเข้าไปมันเป็นประโยชน์กับร่างกายหรือไม่เป็นประโยชน์กับร่างกาย ถ้าร่างกายมันเต่งตึง ร่างกายมันเข้มแข็งขึ้นมา แล้วหัวใจเราอยู่ไหนล่ะ เห็นไหม เราห่วงเฉพาะร่างกายนี้ใช่ไหม แต่ถ้าเราเลี้ยงไว้ ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในธรรม เราฉันกัน เรากินอาหารกันให้เหมือนกับแค่หยอดน้ำมันล้อเกวียน ไม่ให้มันมีเสียงดังเท่านั้นน่ะ เราหยอดล้อเกวียนให้มันหมุนไปได้ ชีวิตเรานะ ถ้าเราอยู่เรากิน เพราะชีวิตมันหมุนไปได้ นี่ธาตุขันธ์ไม่ทับจิต

ถ้าไม่ทับจิตนะ ในการปฏิบัติ จากที่ล้มลุกคลุกคลานขึ้นมามันก็มีโอกาสของมัน ถ้าเรามีปัญญาขึ้นมา เรามีทางต่อสู้ทั้งนั้นน่ะ เห็นไหม คนเราจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ด้วยความมีสติปัญญา ปัญญามันจะแก้ไขทุกๆ อย่าง ในการทำงานทุกๆ หน้าที่มันต้องมีปัญญา มีปัญญาแยกแยะ อย่าเชื่อสิ่งใดโดยที่ไม่มีเหตุมีผล ถ้าเราไม่เชื่อสิ่งใดโดยไม่มีเหตุมีผล แล้วมันจะมาหลอกเราได้อย่างใด ถ้ามันหลอกเราไม่ได้ เราทำของเราไป ถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก

ถ้าจิตใจนี้ไปรู้ไปเห็นขึ้นมา ใครจะหลอกเราได้ สิ่งที่เขาหลอกกันอยู่นี้เพราะเราไม่รู้ไง สิ่งที่หลอกกันได้ เพราะเราไม่เคยได้สัมผัสไง แต่ถ้าเราได้สัมผัสขึ้นมา ถ้าจิตเราสงบเป็นความจริงขึ้นมา “อืม! จิตสงบเป็นแบบนี้” สิ่งที่เราว่าว่างๆ ว่างๆ กันมาอยู่นั้น มันเป็นสัญญาอารมณ์ มันเป็นสัญญา สัญญาคือว่าเราสร้างภาพ แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมานะ มันพูดไม่ออกเลย ถ้าพูดไม่ออก พอมันสงบระงับเข้ามา มันเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา แล้วกิเลสไปไหน

นี่ไง ที่ว่า เรารู้ว่ากิเลสมันเป็นความทุกข์ กิเลสมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม กิเลสมันเป็นตัณหาความทะยานอยาก แล้วมันอยู่ไหน มันอยู่ไหน ก็มันสงบมาแล้ว มันมีความสุข แล้วมันอยู่ไหน มันอยู่ไหน ถ้าไม่มีการใช้ปัญญาขุดคุ้ย ฝึกหัด มันจะไม่รู้จักหน้าตากิเลสเลย แล้วกิเลสนะ “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” มันอยู่หลังความคิด นี่ดำริ ดำริแล้วก็คิด แล้วถ้ามันอยู่ที่ความดำริของเรา “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” มันอยู่หลังความคิด ในเมื่อยังไม่ได้คิด มันก็ยังไม่เกิด แล้วมันไม่พิจารณา มันก็ไม่เห็นมัน แล้วมันก็เป็นเราอยู่นี่ เวลาเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา หากิเลสไม่เจอ ถ้าหากิเลสไม่เจอ เห็นไหม เดี๋ยวมันก็เสื่อม มันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ นี่ติดอยู่ในความสงบถ้าติดในความสงบ

ถ้าไม่มีความสงบ คิดต่างๆ ออกไป มันสวมเขาเอาเต็มๆ เลย นั่นน่ะเป็นความคิดของกิเลสเลย กิเลสคิดเรื่องธรรม กิเลสคิดธรรม พอกิเลสคิดธรรม มันจะไปฆ่ามันไหม? มันก็มีกำแพงขวางกั้นอยู่ไง แต่ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา มันสงบแล้วกิเลสไปไหน คราวนี้ไม่ใช่กิเลสคิดธรรมแล้วนะ ถ้าเราใช้ปัญญาของเราโดยโลกียปัญญา นี่กิเลสคิดธรรม แต่พอเราทำความสงบของใจ กิเลสมันสงบตัวลง จิตมันถึงได้สงบระงับ สงบระงับจนมันมีกำลังของมัน มันสดชื่นของมัน นี่จิตเป็นสัมมาสมาธิ

เวลาทำสมาธิ ฤๅษีชีไพรเขาก็ทำของเขาอยู่แล้ว แต่พอทำไปแล้ว เขาไม่มีมรรค เขาไม่มี ดูสิ กาฬเทวิล เวลาจะตายยังเสียใจเลยว่าจะต้องตายก่อนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่เขาได้สมาบัตินะ เขารู้อดีตชาติได้ เขาระลึกอดีตชาติได้ แล้วเขาหวังพ้นทุกข์ด้วย แต่เพราะไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีผู้ชี้นำ ไม่มีคนสอน เขาถึงไปไม่รอด แต่เวลาเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราพบพระพุทธศาสนา เราพบแล้วไง มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าจิตมันสงบเข้ามา แล้วกิเลสมันไปไหน กิเลสมันอยู่ไหน นี่มันถึงต้องฝึกหัดไง

เวลามันฝึกหัดขึ้นมา นี่เราใช้ปัญญาของเรา ปัญญามันแยกแยะขึ้นไปเรื่อย ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันจะใช้สติปัญญาใคร่ครวญในความรู้สึกนึกคิดของเรา พอมันใคร่ครวญความรู้สึกนึกคิดของเรา มันจะเห็นโทษของมัน คิดดี มันก็ทำให้ฟุ้งซ่าน คิดชั่ว คิดไม่ดี มันก็ทำให้เกิดความทุกข์ ทำให้เกิดบาดแผลของใจ ถ้าคิดชั่วนะ คิดชั่วนี่ทำให้เกิดบาดแผลของใจ คิดดี คิดดีก็ติดในความคิดของตัว เห็นไหม มันถึงว่า ความคิดดีคิดชั่วนี่มันปล่อยหมด มันปล่อยหมดมันก็สงบ พอมันสงบบ่อยครั้งเข้า ใช้ปัญญาฝึกฝนให้มากขึ้น พอเราใช้ปัญญาฝึกฝนมากขึ้น จิตใจมันก็สงบ มีกำลังมากขึ้น

พอมีกำลังมากขึ้น เวลามันจะคิด เห็นไหม เมื่อก่อนเวลาคิด เราคิดแล้ว เพราะคิดดีคิดชั่วไง เพราะมันคิดแล้ว เราถึงไล่ตามความคิด อืม! คิดแบบนี้ไม่ดี ถ้าเวลามันคิดแล้ว เอ้อ! คิดแบบนี้ดี แต่แบบนี้ดี มันก็ไม่ควรคิด เพราะเราต้องการความสงบ เห็นไหม ทั้งคิดดีและคิดชั่ว นี่มันคิดแล้วเราถึงได้รู้ได้เห็น ถ้ามันมีสติปัญญามันก็ปล่อย ปล่อยขึ้นมานี่มันก็เป็นตัวมัน ปล่อยเข้ามาเป็นสัมมาสมาธิ

เวลาสมาธินี่ สติเรายังไม่มั่นคงแข็งแรง มันก็คิดอีก คิดอีก เราก็พิจารณาของเราไป พิจารณาซ้ำก็ปล่อย ปล่อย ปล่อยอยู่อย่างนี้ ถ้าปล่อยอยู่อย่างนี้ จนมันตั้งมั่น ถ้ามันเสวยอารมณ์ ถ้ามันเห็นว่าความคิด ถ้ามันจับ จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิด เราเห็นความคิดของเรานะ เรารู้จักความคิดของเรา

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนากับหลานพระสารีบุตรที่เขาคิชฌกูฏ “ถ้าเธอไม่ชอบสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่ชอบอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเธอก็เหมือนกับวัตถุอันหนึ่ง”

“อารมณ์ความรู้สึกของเธอก็เหมือนกับวัตถุอันหนึ่ง” อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเป็นอารมณ์ไหม ความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นอารมณ์ไหม? เป็นอารมณ์ เป็นวัตถุอันหนึ่งใช่ไหม แต่หลานพระสารีบุตรไม่รู้เรื่อง นี่ไม่รู้เรื่อง แต่พระสารีบุตรรู้ เพราะพระสารีบุตรได้ฟังธรรมข้อนี้ จากเหตุอันนี้แหละ ทำให้พระสารีบุตรเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา

แต่ถ้าเราใช้ความคิดของเรา เรามีสติปัญญาของเรา เราใช้ความคิดของเรา ใช้ด้วยสติด้วยปัญญา มันก็แยกแยะขึ้นมา แยกแยะเข้ามา จนมันสงบระงับ แล้วเราสังเกต สังเกตด้วยสติปัญญา ด้วยปัญญาของเรา พอมันเสวยอารมณ์ เราจับได้ สิ่งที่จับได้ นี่ไง จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตเห็นอาการของจิต มันจับของมันได้ มันจะเกิดวิปัสสนา ถ้าเกิดวิปัสสนา ถ้าจับได้อย่างนี้ นี่กิเลสมันไม่สวมเขา เพราะกิเลสมันสวมเขาไม่ได้

ถ้าเป็นกิเลสนะ มันจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไปหมด ความคิดเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา จิตเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา กิเลสก็เป็นเรา ธรรมก็เป็นเรา เป็นเราไปหมดเลย มันสับปลับ มันมั่วกันไปหมดเลย แต่ถ้ามีสติปัญญา มันแยกหมด มันแยกความรู้สึกนึกคิด แยกจิตมาเป็นสัมมาสมาธิ ถ้ามันเสวยออกไปก็เป็นขันธ์ ๕ เวลาจับขันธ์ ๕ มันก็แยกแยะของมัน ใช้ปัญญาแยกแยะขึ้นไป นี่ไง เวลาจิตมันสงบแล้วกิเลสไปไหน นี่เราจะหากิเลสไง ว่ากิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ดี เราจะชำระล้างกิเลส แล้วกิเลสมันอยู่ไหน กิเลสมันอยู่ไหน

นี่เขาบอกว่า “เวลาน้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลา ทำความสงบของใจเข้าไป เวลาใจมันสงบแล้วนะ มันจะเห็นกิเลส”...รออีกร้อยชาติ ไม่มีทาง! นี่มันต้องรื้อค้น มันต้องหาของมัน มันถึงจะเจอของมัน เพราะกิเลสนะ ดูสิ ดูธาตุรู้เราสิ ธาตุรู้ ถ้าเราทำความสงบของใจ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะกิเลสมันสงบระงับเข้ามา แต่เวลาธาตุรู้เรา นี่กิเลสมันก็เป็นนามธรรมที่อยู่กับธาตุรู้นี้ ถ้ามันอยู่กับธาตุรู้นี้ เวลาสงบเข้ามา แล้วกิเลสไปไหน? มันก็ลึกกว่า มันละเอียดกว่า มันสงบตัวลงอยู่ในใจของเรา ฉะนั้น น้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลา จะเห็นที่ไหน จิตสงบแล้วกิเลสมันจะวิ่งมาชนให้เราจับมันเหรอ? มันไม่มี ถ้ามันไม่มี เราต้องแยกแยะไง

พอแยกแยะ ที่เราฝึกของเรานี่ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้สติปัญญาของเราแยกแยะความคิดเรามา นี้เป็นสมถะนะ “เป็นสมถะ” หมายความว่า เรากำลังใช้ปัญญาเพื่อจะปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึก ถ้าเราปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกของเราแล้ว มันเป็นอิสระของเราแล้ว “สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี” จิตมันได้สงบระงับแล้ว แล้วถ้าเรามีสติปัญญา เราเห็นเวลามันเสวยไง

ที่ว่ามันเสวยเต็มไม้เต็มมือ นี่คือสัญชาตญาณ นี่คือสัจจะความจริง สัจจะมันเป็นแบบนี้ในสถานะของมนุษย์ แต่เพราะมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นความเป็นไปของจิต เห็นไหม วิถีแห่งจิต วิถีแห่งจิตที่จิตมันจะขึ้นสู่ความรู้สึกนึกคิด มันจะเสวย มันจะเป็นความคิดออกมาจนเป็นความเป็นมนุษย์ของเรา ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์เรามันเป็นแบบนั้น

แต่เพราะเราไม่มีสติปัญญา เราไม่มีจิตที่สงบระงับแล้วเห็นตามความเป็นจริงนั้น ถ้าเราไม่มีสติปัญญา ไม่มีจิตที่มันสงบระงับจนเห็นเป็นความจริงนั้น มันก็เป็นการนึกคิดเอาเอง เป็นการสร้างภาพเอาเองด้วยตรรกะ ด้วยการศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา นี่ไง กิเลสมันสวมเขาเอาแบบนี้

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามความจริงขึ้นมา มันปล่อยวางขึ้นมาทั้งหมด แล้วมันเป็นจริงขึ้นมา เป็นจริงเพราะจิตมันรู้มันเห็นของมัน ถ้ามันรู้มันเห็นของมันนะ “รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง” เวลาจิตสงบระงับขึ้นมามันก็มีความสุขของมันแล้วนะ แล้วเวลาถ้าจิตสงบแล้วมันเห็นของมัน คือมันเห็นจิตมันเสวยอารมณ์แล้ว นี่มันจับได้ พอมันจับได้ มันแยกแยะ นี่ธรรมจักร จักรมันเริ่มจะหมุนแล้ว

นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแสดงธัมมจักฯ บอกว่า เทวดา อินทร์ พรหม ส่งข่าวเป็นชั้นๆ ขึ้นไปเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ แล้ว จักรนี้ได้เคลื่อนแล้ว ใครจะย้อนจักรนี้กลับไปอีกไม่ได้เลย ใครจะย้อนกลับไปเป็นปกติไม่ได้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แล้ว

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาถ้าจิตมันสงบระงับ แล้วเราเห็นขันธ์ของเราโดยความเป็นจริง แล้วเราใช้ปัญญาแยกแยะ นี่จักรมันจะหมุนแล้ว จักรหมุนเพราะอะไร เพราะเกิดปัญญาไง เวลาเกิดปัญญา ปัญญานี้เกิดจากอะไร? ปัญญานี้เกิดจากสติ เกิดจากสมาธิ เพราะเรามีสติ เราทำความสงบของใจ ใจจะเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา พอเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา พอจิตมันเห็นอาการของจิต มันจับได้ มันแยกแยะได้ เห็นไหม มันเกิดงานชอบ เพียรชอบ เพราะเราทำงานเพื่อจะชำระล้างกิเลส เห็นไหม ความชอบธรรม

ความชอบ งานในการทำสมถะ ในการทำความสงบของใจ นี้คือความชอบธรรมของสมาธิ แต่เวลาเราฝึกหัดจนเกิดปัญญาขึ้นมา นี่งานชอบ ชอบในการวิปัสสนา ชอบในการที่จะแยกแยะออกมาให้เห็นตามความเป็นจริง นี่ถ้างานชอบ มันก็มีความเพียรชอบ เกิดสติชอบ สมาธิชอบ ความชอบธรรม พอมันหมุนไป นี่มันจะเกิดธรรมจักร เกิดสัจจะ เกิดความจริงขึ้นมา ถ้าเกิดความจริงขึ้นมา นี่มันเป็นสัจธรรมนะ เรารู้ของเรา มันเป็นความมหัศจรรย์นะ

เวลาเราโง่ๆ เรามืดบอด เราก็ล้มลุกคลุกคลานด้วยความทุกข์ยากมาก เวลาปฏิบัติขึ้นมานี่เดินจงกรมจนอ่อนเพลีย จนทุกข์จนยาก นั่งสมาธิจนหลังขดหลังแข็ง มันไม่ได้ผลสักที แต่เวลาเราพิจารณาของเราไป เรากระทำของเราด้วยความมุมานะ ด้วยความมั่นคงของเรา ด้วยความอุตสาหะของเรา เราทำขึ้นมาจนมันเป็นผลขึ้นมา เวลาจิตมันสงบระงับแล้ว เราแยกแยะ เราพยายามขุดคุ้ย พยายามแสวงหาการฝึกหัดใช้ปัญญา

การฝึกหัดใช้ปัญญาก็คือการส่องกล้อง การหากิเลส พอการหากิเลส มันจับกิเลสได้ มันจับกิเลส เพราะเห็นอาการของมัน เห็นความจริงของมัน เราเห็นความจริงของมัน เราพิจารณาของเรา แยกแยะของเรา แยกแยะ เห็นไหม รูปเป็นอย่างไร เวทนาเป็นอย่างไร สัญญาเป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร วิญญาณเป็นอย่างไร แยกมันออก อย่าให้มันรวมกัน มันรวมกันด้วยตัณหา ด้วยยางเหนียว เวลาเราใช้ปัญญานี่เราแยกออกเป็นกอง เป็นกอง นี่แยกออกเป็นกอง มันแยกออกไป อารมณ์มันก็ไม่เกิด อารมณ์ไม่เกิด แล้วมันเห็นโทษของมันไง นี่กิเลสมันก็ใช้ขันธ์ ๕ ใช้ความรู้สึกนึกคิดของเราไปทำ

เวลาโกรธ โกรธจนหน้าดำหน้าแดง จะไปทำร้ายเขา เวลาหลง หลงจนจิตใจดวงนี้ก็ไม่มีคุณค่าสิ่งใด ทีนี้ความลุ่มหลงว่าสมบัติข้างนอกจะมีคุณค่าๆ มันเหยียบย่ำหัวใจนี้ทั้งหมดเลย นี่เวลาความโลภ ความโกรธ ความหลง เห็นไหม เวลาโลภก็จะแสวงหา นี่แสวงหาเอา

เขาบอกว่าการปฏิบัตินี้ก็เป็นความโลภอันหนึ่ง...ถ้าเป็นความโลภ โลภโดยที่ไม่มีเหตุมีผล นั่นคือความโลภอันหนึ่ง แต่อันนี้มันมีเหตุมีผล เราทำปฏิบัติไปด้วยสัจจะ ด้วยมรรคไง นี่อยาก อยากได้ก็ประพฤติปฏิบัติจริงขึ้นมา มันเป็นจริงขึ้นมา มันเป็นความจริงขึ้นมา พอความจริงขึ้นมานี่ มันไม่ใช่ความโลภ มันเป็นความจริง แต่ถ้าเป็นความโลภนะ โลภ อยากได้ อยากนิพพาน อยากพ้นจากทุกข์ แต่มันทำไม่เป็นความจริง อันนั้นคือความโลภ แต่ถ้ามันเป็นความจริง เพราะเราต้องประพฤติปฏิบัติ เราต้องเป็นความจริง

ถ้าไม่มรรค ไม่มีมรรคญาณ ไม่มีธรรมจักร ไม่มียารักษาโรค โรคจะหายได้อย่างไร อยากให้โรคหาย อยากให้โรคหาย แต่ไม่มียาสิ่งใดมารักษานี้เลย มันจะหาย เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามันมียาขึ้นมา ยารักษาโรคนั้น แต่อันนี้มันเป็นธรรมจักร อันนี้มันเป็นธรรม ธรรมะที่จะชำระล้างกิเลส ธรรมะจะชำระล้างความลุ่มหลง ความลุ่มหลงของเรา กิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราที่มันลุ่มหลง แล้วทำให้หัวใจเรามันทุกข์ร้อน ทำให้หัวใจของเราเกิดแล้วเกิดเล่า ซ้ำๆ ซากๆ

แต่ในเมื่อปฏิบัติขึ้นมาจนมันเป็นธรรม นี่ธรรมะเป็นธรรมะของส่วนบุคคล เห็นไหม งานชอบ เพียรชอบ ปัญญาชอบ ความระลึกชอบ ความชอบธรรมอันนี้มันเกิดจากการกระทำ ถ้ามันเกิดจากการกระทำจากจิตดวงใด เกิดจากการกระทำจากจิตของบุคคลคนนั้น ผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินั้นมันก็จะเข้าไปชำระกิเลสในหัวใจของผู้ที่ปฏิบัตินั้น มันถึงเป็นสัจธรรม มันถึงเป็นความจริง มันถึงจะสวมเขาเอาไม่ได้ไง กิเลสมันจะสวมเขาไม่ได้เพราะมันเป็นความจริงขึ้นมา นี่มันทำ เห็นจนชัดเจนขึ้นมา จนเป็นความจริง จนกิเลสมันหลบหน้า

เวลาถ้าปัญญานะ มีสัมมาสมาธิที่ดีๆ แล้วปัญญาที่เข้มแข็ง กิเลสมันจะหลบนะ เวลาพิจารณาไปแล้วมันปล่อย ปล่อยวางหมด ปล่อยว่างหมด นี่ตทังคปหาน มันสมุจเฉทปหานไม่ได้ เพราะกิเลสมันหลบเลี่ยง มันหลบหนี กิเลสนี้ร้ายนัก สิ่งที่ว่าเราอยากหากิเลส เราอยากรู้กิเลส ว่าจะฆ่ากิเลสๆ แต่เวลาเราไปเจอมันแล้วเราใช้ปัญญาแยกแยะมัน มันยังหลบ มันยังซ่อน มันปล่อยวางแบบไม่ขาด ถ้าไม่ขาดนะ เราก็ต้องมีสติมีปัญญาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ซ้ำด้วยความสมดุล ด้วยความเป็นปัจจุบัน

ถ้าทำสมาธิขึ้นมา ทำความสงบของใจขึ้นมา แล้วออกไปพิจารณา จะเจอสิ่งใด สิ่งใดที่เข้ามาเป็นเหยื่อ คำว่า “เป็นเหยื่อ” คือกิเลสมันเอาสิ่งนั้นอ้างอิงๆ เห็นเป็นเวทนา เห็นเป็นสัญญา เห็นเป็นสังขาร เห็นเป็นวิญญาณ หรือเห็นเป็นภาพความรู้สึกนึกคิดของกาย เป็นธรรมารมณ์ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนี่ มันเห็นสิ่งใด ถ้ามันเป็น มันเป็นอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกก็เหมือนวัตถุอันหนึ่ง เห็นไหม ถ้าเรามีสติปัญญา มันจับได้ ถ้าคนใช้ปัญญามันจับได้ พอจับได้มันก็แยกแยะของมัน

ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ ถ้าจิตมันสงบแล้วพิจารณากาย มันจะเห็นเป็นภาพกายขึ้นมาเลย ถ้าเป็นภาพกายขึ้นมา เราจะแยกแยะอย่างไรให้มันเป็นไตรลักษณ์ ให้มันย่อยสลายอย่างไร มันย่อยสลาย มันเปลี่ยนแปลงของมัน ไตรลักษณะ เห็นไหม นี่มีความคิดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป มันเกิดขึ้น แล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วมันย่อยสลายอย่างไร มันเปลี่ยนแปลง

นี่รำพึง ถ้าเป็นเจโตวิมุตติต้องรำพึง รำพึงให้มันเป็นอย่างนั้นด้วยกำลังของสมาธิ รำพึงให้มันเป็นไป พอให้มันเป็นไปอย่างนั้น นั่นคือปัญญา ปัญญาที่รู้ที่เห็นไง ที่รู้ที่เห็นสิ่งนี้ว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันอยู่คงที่ไม่ได้ แล้วมันอยู่คงที่ไม่ได้ ถ้ามันอยู่คงที่ไม่ได้แล้วมันอยู่ไหนล่ะ นี่ถ้าจิตมันไม่สงบ มันก็ไม่เห็นอีกน่ะ ถ้าจิตมันสงบแล้ว เวลาจิตสงบแล้วมันถึงเห็นขึ้นมา

พอเห็นขึ้นมาเป็นภาพกายนะ เป็นเจโตวิมุตติ เจโตวิมุตตินี่กำลังของสมาธินำ พอมีกำลังสมาธินำแล้วใช้ปัญญา แต่ปัญญานี้ ปัญญาของเจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติมันแตกต่างกัน แต่มันแตกต่างกันขนาดไหน คำว่า “แตกต่าง” คือการกระทำ คือสิ่งที่เป็นความถนัด คือสิ่งที่เป็นจริตของใจ แต่เวลาสิ่งต่างๆ ที่มันพิจารณาไปแล้ว ถ้ามันรวมลง มรรคสามัคคี รวมลงด้วยมรรค ๘ เห็นไหม มันจะหมุนของมันไปๆ จนมันรวมลงนะ มันสามัคคี มันสามัคคีมันก็ปล่อยๆ ความสามัคคีอย่างนี้เป็นตทังคปหานต่อเนื่อง เพื่อฝึกหัดให้หัวใจนี้เข้มแข็ง ให้ปัญญาของเราเข้มแข็ง ให้สติปัญญาของเราเข้มแข็งจนมันทรงตัวของมัน มันพิจารณาของมัน

พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้ามันสามัคคี มันรวมตัว แล้วมันขาดนะ เวลามันขาด มันเหมือนกันไง จะเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ จะพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม จะพิจารณาสิ่งใด เวลาขาดนี่เหมือนกัน แต่เวลาความเห็น สิ่งที่ว่ามันแตกต่าง ที่ว่า เจโตวิมุตติ จิตสงบแล้ว พิจารณาไปแล้วมันปล่อยวาง

คำว่า “ปัญญา” เห็นไหม รำพึงให้มันเห็นให้มันรู้ เพราะมันฝึกหัดให้จิตนี้ฉลาดขึ้น พอมันพิจารณาไป มันย่อยสลายหมด “เอ๊อะ! มันก็ไม่มีอะไรน่ะ ทำไมเราลุ่มหลงไปขนาดนั้นนะ” จิตใจมันจะเบา จิตใจมันจะมีความสุข มันจะมีความสุขมาก แต่สุขอย่างนี้เผลอไม่ได้นะ สุขนี้เพราะกิเลสมันยังไม่ขาด กิเลสมันหลบซ่อน ถ้ามันฟื้นได้ มันกลับมาทำลายได้ เราต้องพิจารณาละเอียดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกว่ามันจะขาด

ถ้าขาดนะ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันแยกออก ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ มันปล่อยเข้ามาๆๆ พิจารณาให้ละเอียดเข้าไปๆ เวลามันขาดนะ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ มันก็คือสังโยชน์เหมือนกัน ถ้าสังโยชน์เหมือนกัน เวลามันขาด มันขาดอย่างนั้น ถ้ามันขาดอย่างนั้น นี่มันขาดโดยความเป็นจริง เห็นไหม สิ่งที่มันขาดแล้ว ถ้ามันขาดตามความเป็นจริง นี่มันเป็นความจริง กิเลสมันสวมเขาไม่ได้ กิเลสมันสวมเขาสิ่งนี้ไม่ได้ แต่ถ้าพิจารณาขึ้นไปข้างบน มันสวมได้ มันสวมได้เพราะกิเลสมันละเอียดขึ้นไป

ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเราถึงมีความสำคัญไง ถ้ามันพิจารณาไปแล้วมันขาดหมด มันเป็นอกุปปธรรม สิ่งที่เป็นอกุปปธรรมนะ พระโสดาบันจะไม่เสื่อมจากการเป็นพระโสดาบันเด็ดขาด แต่พระโสดาบันยังเกิดอีก ๗ ชาติ คำว่า “เกิดอีก ๗ ชาติ” เกิดแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติ เพราะเกิดแล้วมันพาดกระแสไง คำว่า “ประพฤติปฏิบัติ” หมายความว่า มีต้นทุนอยู่แล้ว ถ้ามีต้นทุนอยู่แล้วนะ การปฏิบัติมันก็จะเรียบง่ายขึ้น แล้วมันจะมีโอกาสให้เราประพฤติปฏิบัติ จะคิดสิ่งใด โลกเขาแสวงหาแต่ทรัพย์สมบัติกัน แต่จิตดวงนี้มันจะแสวงหาแต่อริยทรัพย์ แสวงหาแต่ความเป็นจริง ถ้าในชาติปัจจุบันนี้มันก็ปฏิบัติต่อเนื่องขึ้นไป ปฏิบัติต่อเนื่องขึ้นไปก็ทำความสงบของใจเข้าไปอีก นี่ความสงบของใจนะ

เวลาในโสดาปัตติมรรค พอจิตสงบระงับแล้ว เราพยายามค้นคว้า พยายามหา นี่น้ำใสจะเห็นตัวปลา มันไม่มี น้ำใสแล้วเราก็ต้องค้นคว้าหาของเรา พอหาของเราก็ฝึกฝนของเรา พอฝึกฝนขึ้นมา จิตมันจะมีความชำนาญ พอมีความชำนาญขึ้นมามันก็จับต้องง่าย เหมือนคนมีประสบการณ์ คนมีประสบการณ์ทำสิ่งใดมันก็ถนัดถนี่ แต่คนที่ไม่มีประสบการณ์ก็ล้มลุกคลุกคลาน “ก็ทำเหมือนเขานี่แหละ ทำไมไม่เป็นผลสักที ไม่เป็นผลสักที”

เห็นไหม แต่ถ้าฝึกไปๆ มีสติปัญญาขึ้นไป แล้วมีความมุมานะ อย่าท้อแท้ อย่าสลัดทิ้ง ถ้าสลัดทิ้ง เวลาปฏิบัติก็ต้องเข้ามาสู่จุดเดิมนี่แหละ เพราะจริตนิสัยเราเป็นแบบนี้ ฉะนั้น เราขยันหมั่นเพียรของเรา ทำขึ้นไป มันจะเกิดความชำนาญขึ้นมา จนมันถึงที่สุด มันขาด มันเป็นอกุปปธรรม

ทีนี้ พออกุปปธรรม นี่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ถ้าสกิทาคามิมรรคมันละเอียดกว่า พอมันละเอียดกว่านะ เราก็ทำความสงบของใจขึ้นไปอีก ไม่ใช่ว่าเราทำความสงบของใจแล้ว ใจเราจะมีความสงบตลอดไป

ความสงบของใจนะ ความสงบของใจนี่มันเหมือนทุน เหมือนเงิน เราใช้แล้วมันต้องหมดไป หมดไปเราก็หาใหม่ หาใหม่ หมดไป เราก็หาใหม่เพื่อมาใช้ต่อเนื่องกันไป จิต เวลามันสงบแล้ว เวลาจะพิจารณาต่อไป เราก็ทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบแล้ว เราก็ออกค้นออกหา ทีนี้ การออกค้นออกหาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม มันจะง่ายขึ้นสะดวกขึ้น ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นเพราะว่าต้นทุนมันมี

ต้นทุนมันมี เห็นไหม เวลาเราจับเป็นสายนะ ขันธ์ ๕ อย่างหยาบ ขันธ์ ๕ อย่างกลาง ขันธ์ ๕ อย่างละเอียด กายนอก กายใน กายในกาย ถ้ามันพิจารณาเป็นอกุปปธรรมแล้ว แสดงว่าเราเคยทำมา มันมีช่องทาง คนเคยทำงานมา คนทำงานเป็น ภาวนาเป็น เวลาภาวนาต่อเนื่องไปมันจะง่ายกว่าคนที่ว่าล้มลุกคลุกคลานที่จับต้นชนปลายไม่ได้

ฉะนั้น คนจับต้นชนปลายไม่ได้ เห็นไหม การภาวนา หลวงตาถึงบอกว่า การภาวนามียากอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้น ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก มันก็ล้มลุกคลุกคลานเป็นธรรมดา แต่เวลาเป็นอกุปปธรรมขั้นหนึ่งนี่มันจับต้นชนปลายได้แล้ว จับต้นชนปลายเพราะเราจับต้นชนปลายจนเป็นอกุปปธรรม

อกุปปธรรมหมายถึงว่า อฐานะที่มันจะเสื่อมสภาพ มันเป็นของจริงๆ อยู่ในหัวใจดวงนั้น ถ้ามันเป็นของจริงๆ อยู่ในหัวใจดวงนั้น คือต้นทุน แล้วที่มันจะปฏิบัติต่อเนื่องไป เวลาจิตสงบแล้วมันจะต่อเนื่องขึ้นไป มันก็พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม แต่เป็นกาย เวทนา จิต ธรรมที่ละเอียดกว่า ที่ละเอียดกว่า กิเลสมันก็ต้องละเอียดกว่า ฉะนั้น การที่มันจะหลอกลวง มันจะสวมเขา มันจะทำลาย มันก็ต้องละเอียดกว่าเป็นธรรมดา ฉะนั้น เวลาสติปัญญาที่มันละเอียดกว่า เราก็ต้องใช้ปัญญาที่มันละเอียดกว่าเข้าไปแยกแยะขึ้นมาด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ ด้วยการแยกแยะ ไม่ใช่ทำแบบสุกเอาเผากิน

เวลาเราแยกแยะขึ้นไป พอจับได้ พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก ถ้าพิจารณากาย มันจะย่อยสลายไป มันจะไปสู่สถานะเดิม ถ้าพิจารณากาย สักกายทิฏฐิ เวลาพิจารณาแล้วมันจะเป็นไตรลักษณ์ มันจะปล่อยวางของมัน ถ้าพิจารณากายโดยอุปาทานที่มันฝังอยู่ที่กาย มันพิจารณาไปแล้วมันจะย่อยสลาย เห็นไหม ย่อยสลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ น้ำก็กลับคืนสู่น้ำ ดินก็กลับคืนสู่ดิน ไฟก็กลับคืนสู่ไฟ ลมก็กลับคืนสู่ลม แล้วมันทำลายเสร็จแล้วมันก็รวมลงๆ ทำอยู่อย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

พิจารณาปัญญาก็เหมือนกัน ถ้าเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ อย่างหยาบ ขันธ์ ๕ อย่างกลาง ขันธ์ ๕ อย่างละเอียด แล้วมันมีอุปาทานอย่างไร? ก็ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ แล้วนี่ไปยุ่งกับมันทำไมอีก ทำไมมีความรู้สึก? เพราะมันมีกิเลสอยู่ มันมีความต้องการของมันอยู่ มันยังมีสิ่งตกค้างอยู่ในใจอยู่ มันก็เกาะเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดอยู่เหมือนกัน ถ้ามันเกาะเกี่ยวความรู้สึกนึกคิด แล้วความรู้สึกนึกคิดนี่มาจากไหน ถ้าความรู้สึกนึกคิด เราจะแยกแยะ แยกแยะมันอย่างไร เห็นไหม พิจารณาซ้ำไปๆ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลามันขาดนะ โลกนี้ราบหมดเลย ว่างหมดเลย ถ้ามันว่างนี่มันมีความสุขกันอย่างไร นี่ไง ถ้ามันไม่สวมเขา

ถ้ามันสวมเขา มันก็ล้มลุกคลุกคลาน ถ้ามันสวมเขา ก็ทำแล้วทำเล่า ถ้ามันไม่สวมเขาขึ้นมามันก็เป็นธรรมไง ธรรมะขณะนี้เป็นอกุปปธรรมนะ อกุปปธรรมมัน ๒ ขั้นตอน อกุปปธรรมคืออฐานะ คือมีต้นทุน สิ่งที่จะทำให้จิตนี้จะล่มสลายไปจนออกไปเป็นปุถุชน เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว แล้วขึ้นไป ถ้าโลกนี้ราบหมด มันว่างหมด แล้วทำอย่างไรต่อไป

ถ้ามีสติปัญญา มันต้องทำขึ้นไป พอทำขึ้นไป มันจะเป็นมหาสติ มหาปัญญา คำว่า “มหาสติ มหาปัญญา” เห็นไหม สติต้องยิ่งใหญ่ ปัญญาต้องยิ่งใหญ่ ถ้าปัญญาไม่ยิ่งใหญ่ สติไม่ยิ่งใหญ่ มันจะจับกามราคะได้อย่างไร

สิ่งที่เป็นกามราคะ ถ้าพิจารณากายนอก กายใน กายในกาย...กายในกาย ก็อสุภะไง

ถ้าพิจารณาโดยจิต มันก็เป็นกามราคะ กามฉันทะ เพราะมันมีฉันทะ มีความพอใจ มันก็เกิดกามราคะ แต่ถ้ามันเป็นความจริง ถ้ามันจับได้ มันต้องเป็นมหาสติ มหาปัญญา เห็นไหม ถ้ากิเลสมันไม่สวมเขานะ ถ้ากิเลสสวมเขา มันก็บอก “นี่นิพพาน นิพพานแล้วแหละ มันว่างหมด มันไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเลย นี่ไม่มีอะไรเลย”...แต่มี

ถ้ามีสติปัญญา มหาสติ มหาปัญญา มันจับของมัน มันพิจารณาของมัน

“มันไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเลย” ไม่มีอะไรเลยก็กิเลสมันสวมเขาเอาไง นี่ไง ว่างๆ ว่างๆ ไง ถ้าว่างๆ มาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ต้นไม่มีอะไรมันก็ว่างของมันมาแล้ว ให้มันทำลายเหยียบย่ำมาตลอด แต่มันมีขึ้นไป แต่กิเลสอย่างละเอียดมันก็หลอกด้วยความละเอียดของมัน ลึกซึ้งของมัน แต่ถ้ามันมีมหาสติ มหาปัญญา มันจับของมันนะ สะเทือนเลื่อนลั่นเลย สะเทือนเลื่อนลั่นเพราะอะไร เพราะมันได้ขุมทรัพย์ ถ้ามันจับกายได้ ถ้ามันจับกายไม่ได้มันก็ว่างอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่เกิดเป็นอนาคามิมรรค ไม่เกิด

อนาคามิมรรคหมายถึงว่า มรรคผล มรรคมันต้องจับได้ มันต้องมีเหตุมีผล มันมีเหตุมีปัจจัยของมัน ถ้ามันจับไม่ได้ มันก็ว่างอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าว่างอยู่อย่างนั้นมันไม่เกิดมรรค ถ้าไม่เกิดมรรค มันก็ไม่เกิดมหาสติ มหาปัญญา แล้วมหาสติ มหาปัญญา มันจะเกิดอย่างไร

นี่ไง ครูบาอาจารย์ของเราถึงต้องคอยปลุก คอยปลอบ คอยส่ง คอยเสริมไง ถ้ามันจับของมันได้ มันก็เป็นอสุภะ อสุภะกับพิจารณากายมันแตกต่างกันอย่างไร กายที่หยาบละเอียดมันแตกต่างกันอย่างไร? มันแตกต่าง เพราะสติกับมหาสติก็แตกต่างแล้ว ถ้าปัญญา มหาปัญญามันก็แตกต่าง นี่เวลาสติปัญญามันก็ใช้ใคร่ครวญในสิ่งที่เป็นสามัญสำนึกของมนุษย์นี้ มันใช้พิจารณาชำระล้าง มันก็เป็นโสดาบัน

แต่ถ้าเป็นอนาคามี มันต้องเป็นมหาสติ มหาปัญญา เพราะกิเลสที่ละเอียดลึกซึ้ง ถ้าพิจารณาซ้ำๆ แล้ว การหลอกลวง การสวมเขาอันนี้ละเอียดลึกซึ้งมาก มันจะบอกว่ามันพิจารณาไปแล้ว จนไม่มี จนว่าง จนต่างๆ นี่มันจะหลอกลวงไปตลอด แล้วถ้าเราเชื่อนะ ก็ล้มลุกคลุกคลาน การปฏิบัติมันจะยากมาก

แต่ถ้ามีสติปัญญาขึ้นมา มันแยกของมัน มันจับแล้วพิจารณา แยกซ้ำๆ ซากๆ มันจะละเอียดลึกซึ้งเข้าไป ละเอียดเข้าไปจนถึงตัวจิต แล้วจิตมันไปชำระกันที่นั่น ปล่อยวางกันที่นั่น พอปล่อย มันปล่อยวางเพราะอะไร นี่ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างละเอียด มันทำลาย มันทิ้งหมด พอมันทิ้งหมด ทิ้งกามราคะ มันก็ปล่อยวางหมด ถ้าพิจารณาเป็นปัญญา กามฉันทะ กามราคะ ถ้ามันพิจารณา มันขาด ขันธ์อย่างละเอียดขาด บึ้ม! คาหัวใจ แล้วมันขาด บึ้ม! นี่มันเป็นผลนะ มันเป็นวิบาก แต่มันเกิดจากการกระทำต่างหากล่ะ

แล้วบอกว่าบึ้มๆ แล้วก็บอกว่า เอาปืนยิงมัน เอาระเบิดเขวี้ยงมันให้มันเกิดบึ้ม! มันจะได้จบ

บึ้มใส่ใคร บึ้ม! ฆ่าตัวตายไง บึ้ม! ใส่เรา จิตไม่ได้ทำลายจิต บึ้มๆ มาแล้วทำอะไร แต่เวลามันเป็นของมันนี่มันเป็นวิบาก คือผลที่เกิดจากการกระทำ พอเกิดจากการกระทำ มันครืน! ในหัวใจ โอ้โฮ! มันมหัศจรรย์ของมัน นี่เสร็จแล้วพิจารณาซ้ำๆ เข้าไป นี่อนาคามีอย่างละเอียด คือสัดส่วนที่มันเหลือ

การปฏิบัติมันยังมีวิธีการของมันอีกเยอะนะ ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยประคอง เราจะทำของเราไปได้ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ประคองกันไปนะ เราก็ว่าเวลาพิจารณาซ้ำๆ เข้าไป ซ้ำ มันก็คลายตัวออก นี่อนาคามี ๕ ชั้น มันจะละเอียดของมันขึ้นไปเป็นชั้นๆ มันจะคลายตัวของมันออก พอคลายตัวมันออกๆ เราคิดว่าสิ่งนี้เป็นมรรค ๔ ผล ๔ ไง มันก็เลยไปสิ้นสุดที่ว่าขันธ์อย่างละเอียด แล้วขันธ์อย่างละเอียดแล้วมันออกไปเป็นจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตนี้ไม่ใช่ขันธ์ จิตส่วนจิต ขันธ์ส่วนขันธ์

เพราะจิตนี้ “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” แต่มันไม่ใช่ดำริเลยนะ เวลาปฏิบัติไม่ใช่ดำริเลย มันเป็นแค่ความผ่องใส แค่พลังงานเฉยๆ พลังงานตัวนี้คือตัวอวิชชา พลังงานตัวนี้ไง “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”...แล้วจิตผ่องใสมันอยู่ไหน

เวลาบอกว่า เวลาจิตสงบแล้วมันผ่องใส เห็นแสงต่างๆ...แสงตะเกียงมันก็อยู่นี่ไง ดูแสงไฟอยู่นี่ แสงไฟมันมีค่ากับใคร แสงไฟมันให้แต่ความสว่างกับเราเท่านั้นล่ะ แต่จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส แสงความสว่างอันนี้สิ มันจะไปเกิดบนพรหมนะ ถ้าพิจารณากามราคะมาแล้วมันจะเกิดบนพรหม แล้วหามันไม่เจอหรอก

การค้น การหา เราทิ้งคนมาทั่ว เราทำลายคนมาทั้งหมดเลย เราเป็นผู้มีอิทธิพล เราจะทำลายตัวเราไหม? เราไม่ยอมทำลายตัวเราหรอก เราจะเห็นว่าคนอื่นไม่ดีหมดเลย เรานี่สุดยอดคน นี่ไง จิตที่ละเอียดกว่านี้มันยิ่งหลงยิ่งกว่านี้ นี่การสวมเขาอันละเอียดนี้ลึกซึ้งนัก น้อยคนนักที่จะสำนึกตัวได้ ส่วนใหญ่แล้วทุกคนจะไปคร่อมตออยู่อย่างนั้นน่ะ แต่เพราะมีครูมีอาจารย์ เพราะมีคนที่มีสติปัญญาขึ้นมา มันถึงไปจับตัวนี้ได้ พอจับตัวนี้ได้ก็เป็นอรหัตตมรรค

อรหัตตมรรค อรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ถ้ามันไม่มีอรหัตตมรรค เอาอรหัตตผลมาจากไหน ถ้ามันจับไม่ได้ มรรคมันจะเกิดได้อย่างไร นี่ไง ดูสิ ธรรมจักรคือจักรที่มันจะหมุน อรหัตตมรรคที่มันจะหมุน เอาอะไรมาหมุน

มันไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ่งใดเป็นพื้นฐาน ไม่มีที่ตั้งของมรรค ไม่มีที่ตั้งของธรรมจักร แล้วมันจะไปอยู่ที่ไหน ถ้ามันมีขึ้นมา มันก็หมุน ถ้ามันจับของมันได้ มันก็เป็นอรหัตตมรรค อรหัตตมรรคมันก็สัมปยุตเข้ามา สัมปยุตเข้ามาก็เป็นอรหัตตมรรค วิปปยุตเข้ามาก็เป็นอรหัตตผล มันคลายตัวออก เห็นไหม นิพพาน ๑ จบ นี่ไง ถ้ามันจบแล้ว กิเลสสวมเขาอีกไม่ได้ ไม่มีสถานที่ให้กิเลสได้อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยของมารไม่มี

แต่ถ้ายังมีที่อยู่อาศัยของมาร มีสิ่งต่างๆ ขึ้นมา มันก็สวมเขาเอาไง มันสวมเข้ามาตั้งแต่หยาบๆ ขึ้นมา ไปข้างบนมันละเอียดกว่านี้เยอะนะ ลึกลับซับซ้อนมาก ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ ประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ เราจะทำกันอย่างไร ถ้าไม่มีคนมีบารมีขึ้นมา ไม่มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นขึ้นมา เพราะหลวงปู่มั่นท่านสร้างบุญญาธิการมา ท่านบอกว่าท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์เหมือนกัน ท่านก็ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ท่านถึงได้ละเอียดลึกซึ้ง ละเอียดลึกซึ้งหมายความว่า ไม่ให้กิเลสมันหลอก ไม่ให้กิเลสมันสวมเขาเอา ท่านถึงเอาตัวท่านรอดมาได้

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ แล้วจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ได้อย่างไร เขาจะรู้ได้อย่างไร จนทอดธุระ นี่ขนาดว่าปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ แล้วนี่ปัญญาของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น แล้วพวกเราเป็นลูกศิษย์กรรมฐาน ลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ ลูกศิษย์วัดป่าบ้านตาด ลูกศิษย์พระป่า เห็นไหม พระป่าเขาประพฤติปฏิบัติกันด้วยความเป็นจริง เขาไม่ให้กิเลสมันสวมเขาเอานะ เขาไม่ให้สิ่งต่างๆ มาหลอกมาลวง เราต้องทำความจริงของเราเพื่อประโยชน์กับเรา เอวัง