เทศน์บนศาลา

เพราะสำคัญผิด

๑๗ ส.ค. ๒๕๕๕

 

เพราะสำคัญผิด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ฟังธรรมเพื่อความสงบร่มเย็นนะ เสียงธรรม ธรรมะมีเหตุมีผล กิเลสมันสู้เหตุผลไม่ได้ มันต้องยอมธรรมไง กิเลสกลัวธรรมะ แต่เราฟังธรรมแล้วทำไมจิตใจเราไม่เบิกบานล่ะ จิตใจเราไม่เบิกบานเพราะเราฟังธรรมไม่เข้าใจ เราฟังธรรมไม่เป็นนะ

ฟังธรรม เราตั้งสติของเราไว้ นี่ความรู้สึกเราตั้งสติเราไว้ เสียงมันจะมากระทบเอง รักษาหัวใจของเรา รักษาบ้านของเรา แขกจะมาเยือน เห็นไหม ธรรมะ ฟังธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำไมถึงว่าเป็นธรรม? เป็นธรรมเพราะเป็นสัจธรรม เป็นความจริง เป็นการรื้อภพรื้อชาติในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือสัจธรรม แต่เราเกิดในวัฏฏะ เห็นไหม นี่เป็นโลก วัฏฏะ ผลของวัฏฏะ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เป็นวัฏวน จิตนี้เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา พุทโธสะเทือน ๓ โลกธาตุ คือสะเทือนกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะจิตนี้เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะนี้ ถ้าเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะนี้ เราพูดถึงเรื่องของวัฏฏะ เวลาเราไปเที่ยวที่ไหนกันมา เราอยากจะมานั่งคุยกันว่าเราไปเที่ยวที่ไหนมาแล้วสนุกสนาน เวลาเขาพูดกันในเรื่องของวัฏฏะ เห็นไหม สวรรค์เป็นอย่างนั้น พรหมเป็นอย่างนั้น นรกอเวจีเป็นอย่างนั้น เขาจะไปเอาผลของวัฏฏะมาคุยกันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง

แต่เวลาฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่อย่างนั้น นี่ผลของวัฏฏะ คือการเวียนตายเวียนเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง สิ่งที่เป็นทุกข์อย่างยิ่ง เพราะจิตมันเวียนตายเวียนเกิด เกิดมาก็มีสถานะ ได้ภพได้ชาติมา นี่มันต้องใช้ชีวิตหนึ่งไป ถ้าชีวิตหนึ่งไป ใช้ไปทำไม ถ้าใช้ไป เห็นไหม เวลามันทุกข์มันยากขึ้นมา มันก็มีแต่ความทุกข์เผาลนในหัวใจ เวลามันสุขขึ้นมา สุขแบบกิเลสมันให้โอกาสไง กิเลสมันให้เราได้ผ่อนคลาย เราก็ว่าเป็นความสุขของเรา

โลกนี้ ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ และทุกข์ดับไป ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริง ความทุกข์จะเป็นความจริง มันถึงเป็นอริยสัจ ฉะนั้น ถ้าเรามีสติปัญญา เราใคร่ครวญของเราด้วยปัญญาของเรา เราจะศึกษาสิ่งนี้เพื่อประโยชน์กับเรา

ทำไมฟังธรรมแล้วต้องมีปัญญาด้วยล่ะ?

ฟังธรรมนี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครแสดงก็แล้วแต่ ในสมัยพุทธกาลนี้ เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางธรรมวินัยนี้ไว้ เพราะเราศึกษาไง มีตำรับตำรา มีทุกอย่างพร้อม สมัยพุทธกาลไม่มีตำราก็ฟังจากโอษฐ์ ฟังจากมุขปาฐะ ฟังจากปาก ฟังจากสืบๆ ต่อกันมา สืบต่อกันมานี่ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชำระล้างจิตใจในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนกิเลสมันสิ้นไป

พอสิ้นไป กิเลสสิ้นไป หมายความว่า กิเลสสิ้นไป อวิชชาตัณหาความทะยานอยากในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นไป พอสิ้นไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้ย้อนอดีตชาติ เวลาย้อนอดีตชาติ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ในเมื่อมันทำลายอาสวักขยญาณ มันทำลายกิเลสอวิชชาหมดในหัวใจ มันรู้แจ้งไง รู้แจ้งโลกนอกและโลกใน โลกนอกคือโลกของวัฏฏะไง โลกนอกคือจิตที่มันเวียนตายเวียนเกิดนี่ไง จุตูปปาตญาณ จิตที่มันยังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ ถ้ามันมีเวรกรรมอย่างนี้จะไปเกิดสถานะนั้นไง นี่โลกนอก

รู้แจ้งโลกนอก โลกใน

โลกใน ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าโลกใน มีภวาสวะ มีภพอยู่ มีความลังเลสงสัยอยู่ มันก็เวียนตายเวียนเกิดไง ถ้ามันชำระล้างเสร็จแล้ว รู้แจ้งทั้งโลกภายใน ในใจเรานั้นไม่มีสิ่งใดขุ่นมัว ไม่มีสิ่งใดจะเหนี่ยวรั้ง ไม่มีสิ่งใดจะขับไส ไม่มีสิ่งใดในหัวใจนี้เลย แล้วหัวใจเป็นแบบใดล่ะ? นี่มันรู้แจ้ง พอรู้แจ้งขึ้นไป สิ่งที่รู้แจ้งถึงได้วางธรรมและวินัยนี้ไว้ วางธรรมวินัย เห็นไหม

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ใครทำคุณงามความดี ความดีต้องให้ผลแน่นอน แต่ให้ผลในแง่มุมใดล่ะ เวลาทำชั่วให้ชั่ว ให้ผลแน่นอน แต่ให้ผลในแง่มุมใดล่ะ

คนเรานะ ทำดีก็มี ทำชั่วก็มี คละเคล้ากันมา การทำดีและชั่วคละเคล้ากันมา ถึงว่า กรรมนี้เป็นอจินไตย คำว่า “อจินไตย” จะเรียบเรียงให้เราเข้าใจได้นี่เข้าใจได้ยาก แต่ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว เพราะสิ่งที่มันเกิดกับเราคือการกระทำทั้งนั้น เพราะเราได้ทำของเรามา มันถึงเกิดผลกระทบอย่างนี้ ถ้าผลกระทบอย่างนี้ขึ้นมา เป็นจริต เป็นนิสัยต่างๆ เราจะศึกษาของเรา เราจะค้นคว้าของเรา เพื่อประโยชน์กับเรา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัย ถึงบอก ตั้งแต่พรหมลงมา กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี่วัฏวน จิตเวียนตายเวียนเกิดอย่างนั้น ตามสถานะอย่างนั้น เราเคยเป็นอย่างนั้นๆ นี่พูดถึงเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์นะ นี่ตามความเป็นจริง

ทีนี้ ตามความเป็นจริง วางธรรมและวินัยนี้ไว้ แต่ก่อนหน้านั้น ดูสิ สมัยโบราณนะ ลัทธิต่างๆ เขาถือพระเจ้า ถือเทพเจ้า เวลาเขาทำสิ่งใด เขาต้องอ้อนวอนของเขา เขาบูชายัญของเขา เวลาเขาตายไปเขาทำมัมมี่ เขาทำมัมมี่เพราะอะไรล่ะ? เขาคิดว่าเขาจะเกิดใหม่ไง เขาได้ชีวิตใหม่ของเขา เขาคิดของเขาอย่างนั้น

สิ่งที่เขาคิดอย่างนั้น นี่เขาสำคัญผิด ถ้าเขาสำคัญผิด เขาสำคัญผิดแล้วเขาใช้ชีวิตอย่างไรล่ะ เพราะความเข้าใจของเขา เขาถึงสำคัญผิดของเขา ความเชื่อของเขา มุมมองของเขา การกระทำของเขา เขาจะทำความผิดพลาดของเขาไป

แต่เราเกิดในพุทธศาสนานะ พุทธศาสนา ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้แจ้งโลกนอกและโลกใน แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้ แล้วเราเชื่อไหม เราเชื่อไหมล่ะ ถ้าเราเชื่อ หลวงตาท่านพูดบ่อย ถ้าพูดถึงว่า ให้เห็นสวรรค์ ให้เห็นโลกของเรา แล้วเห็นนรก ถ้าเราเห็นโดยตาของเรา เราจะไม่ทำสิ่งที่ว่ากิเลสมันขับไสเลย เพราะสิ่งนั้นมันทำไปแล้วมันให้ผลน่ะ มันให้ผลของมัน

ฉะนั้น ถ้าเราไม่ได้เห็นสิ่งนั้น เราศึกษาขึ้นมา เพราะเรามีกิเลสในหัวใจของเรา เราเชื่อหรือเปล่าล่ะ ถ้าเราเชื่อแล้ว เวลาโทสะ โมหะ มันเกิดขึ้นขึ้นมา ทำไมมันทำสภาวะนั้นไปล่ะ นี่เวลากิเลส ความเชื่อแล้วมันก็ระมัดระวังตัว แต่ถ้ามันไม่เชื่อล่ะ หรือว่ามันมีกิเลสที่มันมีกำลังมากกว่าล่ะ มันก็ทำให้เราผิดพลาดไป ความผิดพลาดอย่างนี้มันผิดพลาดโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เราหักห้ามมันไม่ได้ ถ้าความหักห้ามไม่ได้ เห็นไหม เพราะความสำคัญผิด เขาถึงเห็นผิด การเห็นผิด มีการกระทำที่ผิด การกระทำที่ผิด การกระทำที่ผิดต่างๆ ไป มันก็ห่างจากสัจจะความจริงไปตลอด

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งโลกนอก โลกใน เอาอะไรมาเป็นความผิด? มันไม่มีสิ่งใดเป็นความผิดเลย มันมีความรู้แจ้ง รู้แจ้งเพราะสิ่งใดล่ะ? รู้แจ้งเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา เห็นไหม เวลาสร้างสมบุญญาธิการมา มีวุฒิภาวะ ไม่เชื่อสิ่งที่มันไม่เป็นความจริง สิ่งนั้นต้องตรวจสอบๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ สิ่งที่มันได้มานี่มันมีกิจจญาณ สัจจญาณ มันมีการกระทำ มันมีความเป็นจริง มันมีสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวใจ

ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวใจนะ งานของใจ เวลาเราทำงานทางโลก เราอาบเหงื่อต่างน้ำ นี่เป็นงานของร่างกาย ถ้าเราบริหารจัดการนี้ก็เป็นงานของสมอง ถ้างานของสมอง มันเป็นสถานะของโลกๆ ไง แล้วเรามาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็เอาสถานะนี้มาศึกษาธรรม พอศึกษาธรรมขึ้นมา ความเห็นของเรา ความเห็นของเราก็เป็นเรื่องโลก ถ้าเป็นเรื่องโลก แล้วเวลาเป็นเรื่องโลก มันไปคาดหมายธรรมๆ

คำว่า “สำคัญผิดๆ” สำคัญผิดอย่างไร

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เป็นความจริงไหม? เป็น ถ้าศึกษาขึ้นมาแล้วเรารู้จริงไหม เรารู้ตามความเป็นจริงของเราหรือเปล่าล่ะ รู้ความเป็นจริง มันรู้ตามทฤษฎีไง คือรู้แบบโลก รู้แบบการศึกษา ถ้ารู้แบบการศึกษา นี่ไง ปริยัติถึงต้องปฏิบัติไง ถ้าเราปฏิบัติขึ้นมา ถ้าให้มันเป็นความจริงของเราขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงของเราขึ้นมา นี่มันไม่สำคัญผิดนะ

ถ้ามันสำคัญผิด ดูสิ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริงไหม? เป็น

“ธรรมะเป็นธรรมชาติๆ” เราศึกษาธรรมชาติ เราเข้าใจตามทฤษฎี ตามธรรมชาติ เราเข้าใจได้ไหม เรื่องอากาศ เรื่องต่างๆ เราเข้าใจได้ เราเข้าใจได้หมดน่ะ เราเข้าใจ เห็นไหม เราเข้าใจ แล้วเวลามันเกิดขึ้นตามที่เราต้องการไหมล่ะ? ไม่ นี่ธรรมชาติมันแปรปรวนของมันไป ฤดูกาล สิ่งที่เราอยากจะได้สมความปรารถนาเรา มันก็ไม่สมความปรารถนา นี่มันแปรปรวนไปโดยเหตุโดยผลของเขา โดยเหตุผลของเขา มันมีเหตุมีปัจจัย มันก็แสดงไปตามนั้นน่ะ แต่เราก็ศึกษา เราก็รู้ รู้แล้วได้อะไรล่ะ? รู้แล้วก็เกิดความไม่พอใจ รู้แล้วมันก็ขัดแย้งในหัวใจเราตลอดไป

ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน “ธรรมะเป็นธรรมชาติ สัจธรรมเป็นความจริง มันเป็น กายนี้ไม่ใช่ของเรา สรรพสิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา” เราก็ว่าไม่ใช่ของเรา ถ้ามีสติปัญญานะ ถ้าไม่ใช่ของเรา มันก็สงบระงับได้บ้าง สงบได้บ้างเพราะอะไร เพราะจิตใจมันไม่เห่อเหิมจนเกินไป ถ้าจิตใจมันไม่เห่อเหิมจนเกินไป มันก็สลดสังเวช

ถ้าเราศึกษาธรรม ศึกษาแล้วเราประพฤติปฏิบัติของเรา มันจะเกิดธรรมสังเวช มันเกิดธรรมสังเวชนะ มันสะเทือนอก มันสะเทือนใจ มันสะเทือนไปหมดน่ะ นี่มันเป็นเรื่องโลกๆ ทั้งนั้นน่ะ โลกๆ เพราะอะไร โลกๆ เพราะมันสำคัญผิด มันไม่เป็นความจริง มันไม่เป็นความจริงกับเราขึ้นมา เราศึกษานะ เราศึกษาขึ้นมา ดูสิ เราตั้งสติของเรา เราศึกษามาแล้ว เราจะประพฤติปฏิบัติให้เกิดความจริงขึ้นมา

เรามาวัดกัน เราก็ประพฤติปฏิบัติของเรา มาทำความสงบระงับในหัวใจขึ้นมา บำเพ็ญเพียร บำเพ็ญตบะธรรม ถ้ามันเกิดมีตบะธรรมขึ้นมา มันมีกำลังของมัน ถ้ามีกำลังของมัน ปัญญามันก็จะละเอียดขึ้น สุตมยปัญญา การศึกษา ศึกษานี่เป็นสุตมยปัญญา แม้แต่การฟังนี่ก็เป็นสุตมยปัญญา ถ้าจิตใจเราสงบระงับนะ แล้วเราใช้ปัญญาของเรา มันเป็นจินตนาการนะ จินตนาการ เพราะเหตุผล แรงขับ แรงส่ง มันมี เห็นไหม เวลาจิต ธรรมชาติของคน จิตมันส่งออก พลังงานนี้ส่งออกทั้งหมด ธรรมชาติเป็นแบบนั้น

ถ้าธรรมชาติเป็นอย่างนั้น แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันย้อนกลับมา มันย้อนกลับมาเพราะอะไร มันย้อนกลับมาเพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มา ศึกษามันก็ศึกษาแบบโลก ส่งออกหมด ส่งออกคือความรู้สึกนึกคิดออกไปจากใจ ได้ฌานสมาบัติ ฌานสมาบัติก็เกิดจากจิตทั้งนั้นน่ะ เกิดจากจิตขึ้นมาแล้วมันก็เป็นเรื่องโลกๆ เห็นไหม เรื่องโลกๆ เพราะมันไม่เกิดปัญญา เวลาไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ที่ว่าเป็นปัญญาๆ ของเขา ก็เป็นสัญญา เป็นสิ่งที่เป็นระบบที่เขาศึกษากันมา มันก็เป็นเรื่องโลก เรื่องโลกเพราะจิตมันศึกษา แล้วโดยธรรมชาติของจิตมันเป็นแบบนั้น

เวลาโดยธรรมชาติของจิต พลังงานมันต้องคายตัวของมัน มันต้องส่งออกทั้งนั้น มันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงของมันเป็นแบบนั้น ถ้าเรื่องข้อเท็จจริงเป็นแบบนั้น เวลาเรามาศึกษาธรรมๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็เป็นแบบนั้น มันส่งออกหมดน่ะ ถ้ามันส่งออก มันเป็นปัจจุบันไหม มันเป็นความจริงไหม? มันไม่เป็นความจริง พอไม่เป็นความจริง นี่สุตมยปัญญา โดยธรรมชาติของมันเป็นแบบนั้น

แล้วเราทุกข์เรายาก เราเกิดมามีอำนาจวาสนาบารมี เห็นไหม เขาตื่นเต้นไปกับโลกกันนะ โลกที่เขาอยู่กัน เขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความสุขของเขา เขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นที่พึ่งอาศัยของเขาได้ แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ แต่เราเกิดมากับโลกเหมือนกัน เราเกิดมากับโลก แต่เรามีสติมีปัญญา หน้าที่การงานหนึ่งเราก็ทำหน้าที่การงานของเรา แต่เวลาเรามีเวลาว่าง เรามีเวลาของเรา เราก็จะมาประพฤติปฏิบัติของเรา เราอยากได้ทางโลก เราก็มีเครื่องอยู่อาศัย มีปัจจัยเครื่องอาศัยพอสมควร พอรักษาชีวิตของเราได้ แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมาให้เกิดสัจจะความจริงขึ้นมา

ถ้าเกิดสัจจะความจริงขึ้นมา เราจะได้อริยทรัพย์ เราจะได้ปัญญาญาณ ได้ธรรม คือมันไม่สงสัยไง มันไม่สงสัยชีวิต มันไม่สงสัยสิ่งต่างๆ ถ้าเรามีสติ เรามองโลกสิ เรามองเขา เขาขวนขวาย เขาขวนขวายของเขา เขาสะสมของเขา เราเห็นแล้วมันน่าสังเวชนะ เหมือนคนบ้า เก็บของสะสมไว้ๆ ใช้ก็ไม่ได้ใช้ จะเอามาเป็นประโยชน์กับตัวก็ได้เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เหมือนคนขาดสติ

แต่ถ้าเราศึกษาธรรม เรามีสติปัญญา เราจะมองอย่างนั้น เรามีสติปัญญาอย่างนั้น แต่เวลาจิตของเรามันอ่อนด้อยลงล่ะ เวลาเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญนะ สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง ความรู้สึกนึกคิดของเราเดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย ถ้าเวลามันดี มันมีความคิดที่ดีๆ มันมองสิ่งใดมันก็เป็นปัญญา เป็นสิ่งที่เตือนเรา พอสิ่งที่เตือนเรานะ เรามองโลกแล้ว มันมองแล้วมันสลดสังเวช

แต่เวลาจิตเราเสื่อมนะ เราเป็นเสียเอง เราสะสมเสียเอง เราทำเสียเอง เพราะในเมื่อเราทำงานที่ละเอียดไม่ได้ งานอย่างหยาบๆ คิดว่าจะเป็นสมบัติของเรา เราก็สะสมเสียเอง เราก็ทำเสียเอง เห็นไหม เวลามีปัญญา เรารู้ถูกรู้ผิด แต่เวลามันเสื่อม เวลาจิตใจมันอ่อนแอ มันไม่รู้ถูกรู้ผิด ถ้าผิดมันก็จะทำ มันทำไปของมัน นี่ไง สิ่งที่ว่าสำคัญผิดๆ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วสำคัญผิดไปหมด สำคัญผิดคือธรรมมันผิด ทำอย่างที่ผิดแล้วมันไม่ได้อย่างใจสักอย่างหนึ่ง

ถ้าเราทำความสงบของใจขึ้นมา มันก็เป็นสัญญาอารมณ์ สัญญาอารมณ์ว่าว่าง อารมณ์ว่าความพอใจ ถ้าอารมณ์ว่าความพอใจ มันก็เป็นการสำคัญผิด มันไม่เป็นความจริง ถ้าเราพุทโธๆๆ ของเรา เราตั้งสติของเรา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้ามันสงบระงับขึ้นมา ถ้าพุทโธๆๆ ถ้าจิตสงบเข้ามา นี่เรารู้ได้ เรารู้ได้เพราะว่า ถ้าใจ สันทิฏฐิโก ใจมันเป็น เวลาร้อน ใจมันก็ร้อน เวลามันร่มเย็น ใจมันก็ร่มเย็น ความร้อนและความร่มเย็น สิ่งสิ่งนี้มันเป็นสันทิฏฐิโก ใจมันรับรู้เอง ใจมันสัมผัสของมันเอง

ถ้าใจมันสัมผัสของมันเอง ถ้าเป็นสัญญอารมณ์ ว่างๆ ว่างๆ พอว่างๆ ว่างๆ มันเหมือนปฏิเสธทุกอย่าง เห็นไหม นี่สำคัญผิด มันไม่เป็นความจริง แต่ถ้าเวลาเรากำหนดพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เวลาจิตมันเป็นความจริงขึ้นมา มันเป็นความจริง มันไม่ใช่ความสำคัญ ถ้ามันไม่จริงคือมันเป็นความสำคัญของเราไง

เวลาเราศึกษาสิ่งใดต่างๆ ขึ้นมา เราก็มีทิฏฐิมานะของเรา เราก็สำคัญตน สำคัญว่ามันเป็นอย่างนั้น พอสำคัญว่ามันเป็นอย่างนั้นนะ จิตมันก็เชื่อ พอจิตมันก็เชื่อ ความรู้สึกนึกคิดมันก็เชื่อ เป็นอย่างนั้นๆ เพราะอะไร เพราะตรงเลย เปิดพระไตรปิฎกนี่ตรง ศึกษาตามพระไตรปิฎก ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วประพฤติปฏิบัติตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามความเป็นจริง...มันไม่จริง มันเป็นการสำคัญผิดไป

แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว นี่สุตมยปัญญา นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเรากำหนดพุทโธของเรา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา เวลามันเป็นจริงขึ้นมานะ นี่เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราประพฤติปฏิบัติของเรา มันเป็นของเรา มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นจริงขึ้นมา มันสงบ มันร่มเย็นของมัน

นี่ความสำคัญมันไม่ใช่ความจริง แต่มันใกล้เคียงกัน

ใกล้เคียงเพราะอะไร ใกล้เคียงเพราะจิตนี้แปลกประหลาดนัก จิตนี้เป็นได้หลายอย่าง เป็นได้ทั้งนั้น เวลาคิดเรื่องโลกๆ มันก็เอาไฟมาเผามัน เวลาคิดเรื่องธรรมะนะ มันก็ร่มเย็นของมัน แต่เป็นความจริงไหมล่ะ นี่มันเป็นได้ทั้งนั้นน่ะ

แล้วเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วเราประพฤติปฏิบัติมา ถ้าทางปฏิบัติเขาเรียกว่า “เป็นสัญญา” มันเป็นความจำได้หมายรู้ มันเป็นสัญญา สัญญาแล้วก็สร้างภาพขึ้นมา นี่เป็นสัญญานะ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นไป เราก็เชื่อของเรา แล้วปฏิบัติขึ้นไป จิตมันเป็นได้หลายอย่าง มันเป็นไปตามนั้น มันเป็นไปตามนั้น แต่มันไม่เป็นจริง ไม่เป็นจริงเพราะอะไร เพราะมันเป็นอดีตอนาคต มันไม่เป็นปัจจุบัน มันไม่เป็นปัจจุบันเพราะจิตมันคาดหมาย การคาดหมาย เห็นไหม มันเคลื่อนต่อกัน ไม่สมดุลต่อกัน

ถ้าสมดุลต่อกันนะ เราพุทโธของเราไป เพราะพุทธานุสตินี้ก็เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สติ เห็นไหม ดูมรรค ๘ สิ มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มันก็เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลาประพฤติปฏิบัติ ถ้าเป็นความจริงของเราขึ้นมา มันไม่เป็นความสำคัญผิด มันเป็นความจริง พอเป็นความจริงนะ เราก็ฝึกหัดใช้ปัญญาของเรา ปัญญานะ เราฝึกหัดใช้ปัญญาของเราให้มันเป็นความจริงอย่างนั้น

ถ้าเป็นความจริง เห็นไหม ดูสิ อย่างถ้าพิจารณากายๆ...ธาตุขันธ์มันเป็นของมันอย่างนั้นแหละ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติจนท่านสิ้นกิเลสไปแล้วนะ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ก็คือขันธ์ มันไม่ใช่กิเลส ขันธ์มันเป็นภาระ เราต้องดูแลไป มันเป็นเรื่องภพ เรื่องชาติ เรื่องอายุขัย แต่มันไม่เป็นกิเลส ไม่เป็นตัณหาความทะยานอยาก ไอ้ตัวกิเลส ตัวกิเลสคือตัวอวิชชา

ทีนี้ ตัวอวิชชามันศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยใช่ไหม มันก็คาดมันก็หมายของมันไป ถ้ามันคาดของมันไป นี่ขันธมาร มันมีกิเลส มีตัณหาความทะยานอยาก ก็ขันธ์เหมือนกันนี่แหละ เห็นไหม ขันธ์เหมือนกันนี่แหละ แต่ถ้ามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเป็นเรื่องขันธมาร มันเป็นมารไง มันเป็นกิเลส เป็นตัณหาความทะยานอยาก

แต่ถ้าชำระกิเลสจนสิ้นไปแล้วนะ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ธาตุขันธ์มันเป็นภาระ เป็นเครื่องที่ต้องดูแล เพราะจิตใจนี้ไม่หลงไปกับสิ่งที่เป็นตัณหา เป็นความคาดหวังของใจ มันไม่ไปตามกิเลส เห็นไหม

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติใหม่ เราจะต้องเริ่มต้นสร้างของเราขึ้นมา เริ่มต้นทำงานของเราขึ้นมา เราทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้ว เราพยายามฝึกฝนของเรา จิตใจของเรา เราตรึกในธรรมก็ได้ เราตรึกในธรรม ถ้าเราทำความสงบของใจ ใจมันยังไม่สงบ แล้วเมื่อไหร่มันจะสงบ แล้วมันจะใช้ปัญญา...ปัญญามันใช้ได้ทุกเรื่องน่ะ แม้แต่ทำทานก็ต้องมีปัญญา

ทำทาน เห็นไหม ถ้าเรามีปัญญาของเรา เราจะเลือกเฟ้นของเรา เราจะรักษาของเรา “ทาน ศีล” ถ้ามีศีล ถือศีลก็ต้องมีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญานะ มันก็ถือโดยเป็นการคาดหมาย มันไม่เป็นความจริงเหมือนกัน แต่ถ้าเราใช้ปัญญา สิ่งนั้นต้องใช้ปัญญา ทำสมาธิก็ต้องใช้ปัญญา ฉะนั้น เวลาเราจะใช้ปัญญาของเรา ปัญญาอบรมสมาธิมันก็เพื่อความสงบร่มเย็นของใจเหมือนกัน

ถ้ามีความสงบร่มเย็น เราพิจารณาของเรา พิจารณาแยกแยะของเรา สิ่งต่างๆ ถ้าทิ้งนี่เป็นความสำคัญผิดไหม? มันไม่เป็นความสำคัญผิด มันเป็นการฝึกหัด คำว่า “สำคัญผิด” คือปฏิบัติแล้วมันไม่ได้ผล มันไม่ได้เป็นความจริง แต่เราคาดเราหมายของเรากันไป มันเลยเป็นการสำคัญผิด แต่ถ้าเราทำของเรานะ เราประพฤติปฏิบัติ เราฝึกหัด ถ้าเราไม่ฝึกหัด ใครจะฝึกหัดให้เรา ถ้าเราไม่มีการกระทำในหัวใจของเรา มันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ฟังธรรมก็ฟังธรรมนี่แหละ ฟังธรรมขึ้นมามันสะเทือนใจนะ ฟังธรรมเพราะเรานักปฏิบัติใช่ไหม เวลาฟังธรรมขึ้นมา ธรรมที่ครูบาอาจารย์แสดงออกมา เราทำขึ้นมา มันเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า มันตรงกันไหม เวลาปฏิบัติไปแล้ว เราได้ตั้งสติ ได้มีคำบริกรรม ได้ใช้ปัญญาอย่างนั้นไหม

แต่ถ้าเราใช้ของเรา “อืม! เราก็ใช้ของเรา เราไปอีกทางหนึ่ง” ครูบาอาจารย์ เวลาท่านเทศนาว่าการ มันไม่ตรงกับเรา บอกว่าจริตนิสัยไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกัน ผลมันต้องมีเหมือนกันสิ ผลมันเหมือนกัน เห็นไหม วิธีการที่แตกต่างหลากหลาย แล้วผลมันมีไหมล่ะ ถ้าผลมันมี ผลมันเป็นความจริงไหม ถ้าผลเป็นความจริงนะ เราจะต่อยอดได้

เวลาฟังธรรมนะ ฟังธรรม เวลาหลวงปู่มั่นท่านแสดงธรรม ถ้าแสดงเริ่มต้นตั้งแต่ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใครทำความสงบของใจเข้ามาก็ฟังเหตุฟังผลของท่าน ทำความสงบของใจเข้ามามันต้องมีเหตุมีผลของมันสิ เราต้องรู้ว่าสิ่งใดเป็นโทษ สิ่งใดเป็นคุณ สิ่งที่เป็นโทษ เห็นไหม สิ่งที่เป็นความรู้สึกนึกคิดที่ฟุ้งซ่านนี่เป็นโทษ สิ่งที่เป็นคุณ เป็นคุณก็ตั้งสติไว้ ตั้งสติแล้วบังคับไว้

จิตใจมันเป็นหลากหลายนัก มันดื้อ มันไม่ยอมฟัง มันจะคิดไปตามของมัน เราก็ตะล่อมหาเหตุผล อย่างเช่นกำหนดพุทโธๆ ก็บังคับ ถ้ามันจะคิดเรื่องอื่นก็ให้มันคิดพุทโธซะ ถ้ามันไม่ยอมคิดพุทโธ คิดพุทโธแล้วมันจืดชืด มันไม่มี มันไม่อยากจะคิด ไม่อยากจะกำหนดพุทโธ ไม่อยากมีคำบริกรรม มันอยากจะไปคิดตามแต่ใจของมัน ก็ถามมันสิ ถามตัวเอง “ไม่กลัวเหรอ การเกิดและการตายนี้ไม่กลัวเหรอ เกิดมานี้ทุกข์ยากนี่กลัวไหม ถ้ามันกลัวไหม แล้วเราจะไปทุกข์ยากอย่างนี้อีกไหม” ถ้ามันมีสติปัญญาอย่างนี้ปั๊บ มันใช้ปัญญาหาเหตุหาผล เห็นคุณและโทษ ถ้าเห็นคุณและโทษ มันเห็นโทษแล้วมันก็ต้องฝืนทำ

ใหม่ๆ มันจะฝืนทำ ฝืนทำไปๆ ฝืนทำโดยความมีสตินะ แต่พอมันเห็นประโยชน์ของมันไง “อืม! นึกพุทโธๆๆ แล้วมันไม่เร่าร้อน” เวลาคิดเรื่องอื่นไปแล้วมันคอตกนะ มันมีแต่ความเดือดร้อนในหัวใจ ถ้าบังคับให้มันนึกพุทโธๆ คนเรามันต้องคิดอยู่แล้ว ธรรมชาติของจิตมันส่งออก มันคิดอยู่แล้ว ถ้ามันคิดอยู่แล้ว เราให้คิดพุทโธซะ เราเป็นสาวก สาวกะ ได้ยินได้ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา เราก็ทำตามนั้น ทำตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราทำตามนั้นโดยข้อเท็จจริง มันจะเกิดตามความเป็นจริงขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบ มันไม่ใช่ความสำคัญผิดแล้ว

แต่ถ้าจิตมันไม่สงบ แต่เราเข้าใจว่ามันสงบ พอเข้าใจว่าสงบปั๊บ เราก็เข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นสงบแล้ว เราจะใช้ปัญญาของเราแล้ว เราใช้ปัญญาของเราแล้ว พอปัญญาไป มันก็เร่ร่อน มันเร่ร่อน มันไม่มีหลักมีเกณฑ์ แต่ถ้าจิตมันมีหลักมีเกณฑ์นะ มันจับ เห็นไหม ดูสิ คนที่เขามีวิชาการทางวิชาชีพของเขา เขาจับสิ่งใด เขาคิดสิ่งใด เขาทำสิ่งใดถูกต้องดีงามไปหมดเลย

แต่ถ้าเราฝึกหัดของเรา เรายังทำของเราไม่เป็นนะ เราฝึกหัดของเรา เราทำอยู่อย่างนั้นนะ เราไม่มีความรู้ไง ทางวิชาการของเรา เราสงสัย ทำอย่างไรไปเราก็สงสัยทั้งนั้นเลย นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันเป็นความจริง จิต ถ้ามันสงบขึ้นมา นี่ตามข้อเท็จจริงของเขา จับต้องสิ่งใดนะ มันจับอะไรจับเต็มไม้เต็มมือ จับแล้วมันเป็นประโยชน์ทั้งนั้นเลย

แต่ถ้ามันเป็นสัญญาอารมณ์นะ ว่างๆ ว่างๆ แต่จับต้องสิ่งใดนะ สงสัยทั้งนั้นเลย เห็นไหม ถ้ามันสำคัญผิด เพราะเราสำคัญว่าใช่ เราสำคัญว่าสิ่งนี้เป็นการปฏิบัติธรรม เราสำคัญผิด เพราะสำคัญผิด มันถึงทำให้เริ่มต้นนี่ไขว้เขว แต่ถ้าเราไม่สำคัญผิดของเรา เราตรวจสอบของเรา เรายังไม่เชื่อ กาลามสูตร ถ้าปฏิบัติแล้ว กาลามสูตรแล้ว ไม่เชื่อ ถ้ามันสงบไหม มันเย็นไหม ถ้าจิตสงบแล้วมีความร่มเย็น ถ้าจิตมันไม่สงบ ภาวนาแล้วมันสงบยาก ภาวนาแล้วมันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้น

มีทุกข์ขนาดไหน เหมือนกับนักกีฬา นักกีฬา เวลาช้างเผือกที่เขาจะมาฝึกฝน กว่าเขาจะฝึกฝนเป็นช้างเผือก เป็นผู้ที่มีทักษะที่ดี ต่างๆ ที่ดี เขาต้องฝึกฝนเต็มที่เลย จิตใจของเราก็เหมือนกัน จิตใจของเรา เราอยากพ้นทุกข์ไหม? ทุกคนอยากนิพพาน ทุกคนอยากฆ่ากิเลส เราเกิดมาจากกิเลสนี่แหละ พวกเราเกิดมาจากกิเลส เพราะมีอวิชชาในหัวใจ แล้วเราก็อยากจะทำลายมัน จะสำรอกมัน คายมันออกให้หมด ถ้ามันสำรอกคายออกหมด นี่ทุกคนก็มีเป้าหมาย ทุกคนก็มีความหวัง แล้วทุกคนมีความหวัง แล้วมันจะมาจากไหนล่ะ เราหวัง แต่เราไม่ปฏิบัติ เราหวัง แต่เราไม่ทำ แล้วมันจะมีมรรคมีผลมาจากไหนล่ะ

ถ้ามันจะมีมรรคมีผล เราก็จะต้องฝึกหัดนี่ไง ถ้าเราจะฝึกหัดขึ้นมานะ เดินจงกรมไม่สงบ นั่งสมาธิแล้วไม่สงบ เราก็ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราปฏิบัติบูชาให้เป็นจริต ให้เป็นนิสัย ถ้าเป็นจริตนิสัย เรานั่งแล้วนะ นั่งแล้วมีแต่ความทุกข์ความยากๆ เวลาทำงานมันทุกข์ยากไหมล่ะ แล้วงานอย่างนั้นน่ะ งานอาบเหงื่อต่างน้ำขึ้นมาก็เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเท่านั้น แล้วงานที่เราจะชำระกิเลส รื้อภพรื้อชาตินะ แล้วไม่มีใครทำให้ใครได้ด้วย

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรมขึ้นมา สร้างบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ทำขนาดนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องสร้างบุญญาธิการมาเหมือนกัน แล้วเราเป็นสาวก สาวกะ เราก็ได้สร้างบุญญาธิการของเรามา ถ้าเราไม่สร้างบุญญาธิการของเรามา นี่โลกทัศน์ อุดมการณ์ มันคิดไม่เหมือนอย่างนี้นะ มันก็คิดหวังแต่ความสะดวกสบาย หวังแต่ชีวิตนี้รื่นรมย์ หวังแต่ชีวิตนี้มีความสุข นี่หวังไง แต่ไม่จริงสักอย่าง ไม่จริงเพราะอะไร

ไม่จริงเพราะเขาได้สิ่งใดมา เขาทำสิ่งใดมา ทุกดวงใจว้าเหว่ กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันล้นฝั่ง ไม่มีสิ่งใดที่จะป้อนมัน ไม่มีสิ่งใดที่จะยับยั้งมัน ไม่มีสิ่งใดที่จะแลกเปลี่ยนให้มันพอใจได้ กิเลสในหัวใจของคนน่ะถมไม่เต็ม ไม่มีวันเต็มเลย แต่มันหลอก มันหลอกว่า แล้วถ้าเราใช้ชีวิตทางโลก เราใช้ชีวิตอย่างนั้น มันจะมีความสุข มันจะมีความสบาย มันจะมีพออยู่พอกิน พออาศัยไป...ทุกข์ทั้งนั้น

แต่เวลามาปฏิบัติ เราตั้งใจแล้ว เราจะมาปฏิบัติธรรมของเรา เรานั่งสมาธิของเรา ถือพรหมจรรย์ ถือพรหมจรรย์เพื่อมีเป้าหมาย ถ้ามีเป้าหมายของเรา เราทำของเรา เราขยันหมั่นเพียรของเรา ชีวิตนี้ก็คือชีวิตนี้เหมือนกัน ชีวิตที่เราใช้ทางโลกก็คือชีวิตนี้ แต่ชีวิตที่เราปฏิบัติธรรมก็ชีวิตนี้ แต่เวลาเรานั่งสมาธิ เรานั่งภาวนา เราดูแลใจของเรา เห็นไหม เด็ก ถ้าปล่อยให้มันเล่นตามใจของมัน มันก็พออยู่ของมันได้ เด็ก ถ้าจะให้มันสงบ ให้มันอยู่ในโอวาท มันอึดอัดขัดข้อง

ใจที่มันปล่อย มันคิดโดยธรรมชาติของมัน มันเป็นของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่พอเราจะตั้งสติ เราจะบังคับให้ใจของเราเป็นเอกัคคตารมณ์ ใจของเราตั้งมั่นเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา เป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะเพื่อจะทำหน้าที่การงาน ทำหน้าที่การงานในการสำรอกคายกิเลสออกจากใจดวงนั้น ถ้าจะสำรอกคายกิเลสจากใจดวงนั้น นี่งานที่รื้อภพรื้อชาตินี้ไง

งานอย่างนี้ งานทางโลก ที่ว่าทุกข์ยากแสนเข็ญ ทำแล้วตายไปก็เกิดมาแล้วก็ทำใหม่ ทำอยู่อย่างนั้น เพราะอะไร เราต้องมีอาชีพ เราต้องมีหน้าที่การงานเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มันต้องทำของมันอยู่จนวันยังค่ำ

แต่เวลาที่เราประพฤติปฏิบัติ โลกเขาไม่สนใจกัน เห็นไหม เขาไม่สนใจกัน เขาก็ทำงานทางโลก ทำงานบริหารจัดการเรื่องเพื่อผลประโยชน์ของเขา แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบ งานของเรา ถ้าใจสงบเข้ามา นี่วิถีแห่งจิต ถ้าเห็นจิต เห็นความสงบระงับ แล้วถ้าจิตมันสงบระงับแล้วมันเห็นคุณเห็นโทษ ถ้าเห็นคุณเห็นโทษ แม้แต่มีความสงบมันก็มีความสุขขนาดนี้แล้ว แล้วถ้าเราใช้ปัญญา ปัญญาในอะไร? ปัญญาในมรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง

ถ้าเกิดมรรค มรรคที่มันเข้าใช้พิจารณาเข้ามาในหัวใจของเรา นี่งานจากภายใน

งานจากภายในมันต้องมีพื้นฐาน พื้นฐานคือสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน พอฐานที่ตั้งแห่งการงาน มันมั่นคงของมัน เวลามันจับได้ เห็นไหม มันจับ จับ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริง ถ้าตามความเป็นจริง แล้วถ้ามันพิจารณาของมันไป

นี่เราเข้าใจกันได้โดยสุตมยปัญญา โดยวิชาการ “กายนี้ไม่ใช่เรา สรรพสิ่งนี้ไม่ใช่เรา” ถ้าไม่ใช่เรานะ ถ้ามีความสงบร่มเย็น พอไม่ใช่เราก็ มันก็สงบ มันก็ธรรมสังเวชนะ ไม่ใช่เรา มันก็สังเวช สังเวช แต่เป็นการสำคัญผิด ความสำคัญผิดเพราะมันไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา คือปัจจุบัน นี่อัตตกิลมถานุโยค ทำแล้วมันทุกข์มันยาก กามสุขัลลิกานุโยค ปฏิบัติแล้วมีความร่มเย็น มีความเป็นสุข นี่ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ แต่มันเป็นวิธีการ เป็นการฝึกหัดจิต

จิต ถ้าไม่มีการฝึกหัด ไม่มีการฝึกฝน มันจะรู้ได้อย่างไรว่าอันใดเป็นอัตตกิลมถานุโยค อันใดเป็นกามสุขัลลิกานุโยค แล้วอันใดเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นความสมดุล สมควรแก่ธรรม เป็นความสมดุลของมัน ถ้าเป็นความสมดุลของธรรม ถ้าปฏิบัติไป สิ่งที่จะสำคัญผิดไม่สำคัญผิด มันอยู่ที่สติปัญญาของเราที่เราจะแยกแยะของเรา ถ้าเราไม่มีสติปัญญาของเรานะ เราพิจารณาไปแล้ว เราพิจารณาไป เพราะจิตนี้เป็นได้หลากหลายนัก มันจะจินตนาการอย่างไรก็ได้ มันจะสร้างภาพอย่างไรก็ได้ แล้วมันสร้างภาพขึ้นมาเข้ากับพุทธพจน์ สร้างภาพมาเข้ากับพระไตรปิฎก สร้างภาพสิ่งที่เราศึกษามา มันสร้างได้ทั้งนั้นน่ะ

พอสร้างได้ ความสำคัญผิด สำคัญให้เหมือน สำคัญให้สิ่งที่ธรรมและวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะคุ้มครองดูแลเรา คุ้มครองดูแลเราให้เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นตามความเป็นจริง ให้เกิดขึ้น สัจธรรมในความเป็นจริงในหัวใจของเรา

แต่เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการคุ้มครองดูแลของเรา แล้วเราก็สำคัญตนของเราไป ความสำคัญผิดหนหนึ่ง มันก็สำคัญตนว่าเราได้มรรคได้ผล เวลาสำคัญผิดอีกหนหนึ่ง มันก็สร้างภาพขึ้นมาว่าได้มรรคได้ผลซ้อนขึ้นไป พอสำคัญผิดอีกขึ้นไป เพราะความสำคัญผิด พอสำคัญผิด วิถีแห่งจิตมันก็ออกไปทางที่ผิด วิถีแห่งจิตมันก็สร้างภาพของมันขึ้นมา วิถีแห่งจิตมันก็ใช้ปัญญาของมันขึ้นมา เห็นไหม เพราะความสำคัญผิดไง

แต่ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา เพราะเราเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะนี่มันทุกข์ยากแสนเข็ญขนาดไหน แล้วเรามีชีวิตขึ้นมา เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ พบพระพุทธศาสนา แล้วเราออกมาประพฤติปฏิบัติกันนี่ เราจะเอาชีวิตนี้ให้กิเลสมันล่อมันหลอกให้มันออกไปนอกลู่นอกทางอีกหรือ ถ้าเราไม่เชื่อสิ่งที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นที่เราสัมผัสนี้ เราก็ตั้งสติ ถ้ามันสงบระงับเข้ามามันก็ร่มเย็นของมัน ถ้ามันจับได้ มันจับกาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง แล้วมันพิจารณาของมันไป

การพิจารณา เห็นไหม การพิจารณามันมีเหตุมีผลนะ สิ่งที่ไม่เป็นปัจจุบัน กายก็คือกาย เวทนาก็คือเวทนา จิตก็คือจิต ธรรมก็คือธรรม ถ้ามันจับได้ มันพิจารณาของมัน พอพิจารณา เห็นไหม การพิสูจน์ตรวจสอบกัน การพิสูจน์ตรวจสอบคือการใช้ปัญญา ปัญญาเกิดจากวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณเกิดเมื่อจิตมันสงบ สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ในเมื่อมีฐานที่ตั้งแห่งการงาน งานเกิดขึ้นบนสมถกรรมฐาน มันจะเป็นวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าเป็นวิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนาอย่างไร

พอวิปัสสนาไปแล้ว ถ้ามีกำลังขึ้นมา มันก็ปล่อยวางได้ ถ้ากำลังของมันไม่พอขึ้นมา วิปัสสนาไปแล้วมันมีแต่เสื่อมถอย เวลาใช้ปัญญาๆ มันจะเสื่อมถอย เพราะจิตใจ กำลังมันอ่อนแอลง พอกำลังมันอ่อนแอ มันจะเสื่อมถอย เสื่อมถอยขึ้นมา เสื่อมถอยแล้ว พอเสื่อมถอยมันก็ละล้าละลังนะ ใช้ปัญญาไปแล้วมันตึงเครียด มันไม่ก้าวเดิน แล้วถ้ายังไม่เอะใจ ไม่กลับมาทำความสงบของใจ มันก็ยังฝืนทำของมันไปเรื่อยๆ พอฝืนทำต่อไปเรื่อยๆ มันก็ยิ่งทำให้ใจนี้เศร้าหมอง ยิ่งทำแล้วคอตก “ทำแล้วทำไมเป็นแบบนี้ ทำไมมันทุกข์ยากขนาดนี้ๆ” ทุกข์ยากเพราะเราทำโดยการสำคัญผิด ในการสำคัญตนไง

ถ้ามันสำคัญผิดแล้วนะ ถ้าไม่สำคัญตนมันก็ไม่ได้มรรคได้ผล ถ้ามันสำคัญผิดแล้วสำคัญตนอีกด้วย แต่ถ้ามันไม่สำคัญผิดขึ้นมา เราทำตามความเป็นจริง ถ้าความเป็นจริง เห็นไหม พิจารณาไป เวลาปัญญามันเกิด...ใช่ ปัญญามันเกิด ผลที่เกิดจากปัญญานั่นแหละ ยถาภูตํ การฆ่ากิเลส เกิดญาณทัสสนะ เกิดญาณหยั่งรู้ ญาณว่ามันเป็นความจริงนั้น ถ้าเรามีสติปัญญา มันเป็นแบบนี้

เวลาเราใช้ปัญญาไปรอบหนึ่ง เราใช้ปัญญา เวลาเกิดมีสติมีปัญญา เราพิจารณาของเรา เวลามันปล่อยวาง นี่ร่มเย็นเป็นสุขไหม นี่ผลของมันไง ผลของมันนะร่มเย็นมาก เวลาผลของมันเกิด ตัวนี่เบา สิ่งที่ตัวเบานะ มันเหมือนไปไหนนี่มันลอยไป มันมีความสุขไปอย่างนั้นล่ะ

แล้วความสุขนี้หามาจากไหนล่ะ? ความสุข สุขเกิดขึ้นมาเกิดจากขั้วหัวใจเลยล่ะ ความสุขเกิดขึ้นมาจากภายใน ภายในที่มันทำของมัน คนอื่นเขามองนะ เขาก็ไม่เข้าใจในหัวใจของเรา เขาก็เห็นเรานะ ขี้ทุกข์ขี้ยาก ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องดำรงชีวิตเลย จะเอาความสุขมาจากไหน แต่เรามีความสุขของเรา ไอ้คนที่เขามีความสุขๆ กัน เขาต้องแบกรับภาระ เป็นเรื่องการพะรุงพะรังของเขา เขาว่าเขามีความสุข

แต่ถ้าเราปฏิบัตินะ เราว่านั่น “สมบัติบ้า” บ้าหอบฟาง เขาจะหอบกันไปไหนก็ไม่รู้ แล้วมันเป็นสมบัติจริงหรือเปล่า? มันก็ไม่จริง แต่ถ้าเรามีความร่มเย็นเป็นสุขของเราใช่ไหม เราไม่บ้า เรามีสติมีปัญญาของเรา ถ้ามันมีสติมีปัญญา มันพิจารณาของมันอย่างนี้ ถ้าพิจารณา มันพิจารณาแล้วมันต้องแยกแยะไง

อย่าถลำไป ถ้าถลำไป เห็นไหม แค่สำคัญผิด พอถลำไปแล้วมันจะหาเหตุหาผลมาเพื่อรองรับความรู้สึกนึกคิดของตัว แล้วเหตุผลนี่มันหาได้ มันหาได้เพราะว่า ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ของเราแสดงธรรมไว้นี่มหาศาล เราจะหาสิ่งใดก็ได้มาเพื่อรับรองความรู้สึกของเราไง แต่เพื่อรับรอง เห็นไหม คำว่า “รับรอง” ก็เป็นความคิด คำว่า “รับรอง” มันก็เป็นการส่งออกที่ไปเอาสิ่งที่เป็นสมบัติของโลกมารับรองความรู้สึกของเรา

แต่ถ้าเราปฏิบัติ เราต้องให้ใครมารับรอง เราต้องการให้ใครมาค้ำประกัน ให้ใครมาสรรเสริญเยินยอ ถ้าเราผิดก็คือเราผิด ใครจะบอกว่าเราดีมาก เราปฏิบัติดีมาก เราปฏิบัติแล้วส่งเสริมมาก เราปฏิบัติแล้วสูงส่งมากเลย มันก็เป็นคำพูดของเขา เป็นเรื่องลมปากของคน แล้วความเป็นจริงล่ะ ลมปากของคนกับความเป็นจริงมันคนละอันนะ ลมปากของเขา เขาพูดดีขนาดไหน เขาพูดร้ายขนาดไหน ถ้าเราไม่เป็นความจริงนั้น เราไม่เป็นอย่างที่เขาว่า มันไม่มีผลกับเราหรอก

แต่ถ้าเราเป็นความจริงของเรานะ เขาจะกล่าวร้ายขนาดไหน เขาจะไม่เชื่อถือศรัทธาขนาดไหน มันก็เรื่องของเขา ถ้าเป็นเรื่องของเขา เห็นไหม ถ้าความจริงมันเกิดที่นี่ ถ้าความจริงเกิดที่นี่นะ เรามีสติปัญญาของเรา สิ่งใดจะเกิดขึ้นกับโลกนี้มันก็เป็นเรื่องของโลก ใครสร้างเวรสร้างกรรม สร้างผล มันก็เรื่องของเขา สิ่งที่จะเป็นผลของเราก็เรื่องของเรา เรื่องของเรา เห็นไหม ถ้าเราใช้ชีวิตของเรา เราอยู่กับโลกของเรา นี่คือเรื่องของเรา ถ้าเรามีสติปัญญา เราประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมาจนจิตเราสงบระงับขึ้นมา มันเกิดปัญญาขึ้นมา เราก็ยังหันรีหันขวางอยู่นี่ไง

เวลาปัญญามันออกก้าวเดินนะ เวลาประพฤติปฏิบัติไป ปฏิบัติไปแล้ว ถ้ามันไม่สมุจเฉทปหาน ถ้ามันไม่สมุจเฉทปหาน มันไม่ขาด พอมันไม่ขาด มันเสื่อมได้หมด นี่สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา เขาบอกว่า “ธรรมทั้งหลายนี้เป็นอนัตตาๆ” แน่นอน มันเป็นอนัตตา มันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ มันเป็นอนัตตา เพราะอนัตตาคือสภาวะที่มันเปลี่ยนแปลงขึ้นไปไง

อัตตา คือเรียนมาแล้วเกิดทิฏฐิว่าเรามีความรู้มีความเห็น ปฏิบัติแล้วเรามีความเข้าใจหมด นั่นคืออัตตา อัตตามันอยู่กับเราไหมล่ะ เราจะมีทิฏฐิขนาดไหน อัตตาขนาดไหน อัตตามันก็มีหยาบมีละเอียด มันก็แปรปรวนตลอดเวลาเหมือนกัน ทีนี้มันแปรปรวนโดยที่เราไม่มีสติปัญญา เราไม่ได้ใช้สิ่งนั้นมาเป็นประโยชน์กับเราขึ้นมาไง

แต่ถ้าเรามีสติปัญญาขึ้นมา ถ้ามันเป็นอนัตตา ใครมันเป็นอนัตตา ถ้าอนัตตามันก็ต้องเป็นอนัตตา อนัตตาขณะที่เรามีการกระทำ ขณะที่ปัญญาญาณเราเห็นอยู่ ถ้าปัญญาเราเห็นอยู่ ถ้าพิจารณาไปมันก็ปล่อยๆ พอปล่อยไปแล้วนะ ถ้าคนที่วุฒิภาวะอ่อนแอ พอเราปล่อยไปแล้วมันไม่ตรวจสอบไง พอปล่อยไปแล้วก็มีความสุขนะ

เวลาปัญญามันเกิดรอบหนึ่ง เราใช้ปัญญารอบหนึ่ง ผลของมันคือความสงบระงับ ถ้าเราใช้ปัญญารอบหนึ่ง ถ้ามันปล่อยวางขึ้นมา ผลของมันคือความร่มเย็นเป็นสุข นี่ผลของมันๆ แต่ผลอันนี้มันอยู่ชั่วคราว นี่ไง สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายต้องเป็นอนัตตา ผลที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติก็เป็นอนัตตา เพราะมันยังไม่ถึงที่สุด มันเป็นอนัตตา พอเป็นอนัตตา อนัตตามันคงที่ไหม อนัตตา “สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” มันเกิดสภาวะของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว

ทีนี้ถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราไม่รักษา สิ่งที่เราได้แล้ว เดี๋ยวมันก็แปรปรวน พอเดี๋ยวมันแปรปรวนนะ เราก็รู้สึกว่าเราปฏิบัติแล้วทำไมมันเป็นแบบนี้ ถ้ามันเป็นแบบนี้นะ ถ้าคนไม่มีวุฒิภาวะ มันก็ท้อแท้ แต่ถ้าคนที่มีวุฒิภาวะ มันเป็นแบบนี้เพราะเราไม่รอบคอบ มันเป็นแบบนี้เพราะเรารักษาไม่เป็น มันเป็นแบบนี้เพราะการกระทำมันเป็นสิ่งที่ละเอียด

งานของโลกเขา เขาใช้สมอง เขาใช้สมองของเขา เขาบริหารจัดการของเขา เขาใช้ความคิดของเขา เขายังต้องบริหารจัดการของเขาด้วยความรอบคอบ เวลาเรื่องของจิตนะ เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา ภายใน เวลามันเกิดขึ้นมา ดูสิ เวลาเราฟุ้งซ่าน เวลาเรามีความรู้สึกนึกคิด เราบอกความคิดนี่เร็วมาก ความคิดนี่คิดได้ร้อยแปดพันเก้าเลย แต่พอเรามีสตินี่ยับยั้งความคิดได้ นี่เรายับยั้งได้แล้ว

แล้วถ้าเรามีสติ เรามีสมาธิขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้น ความคิดเวลาเสวยอารมณ์ ความคิดจะเกิดขึ้น นี่จิตมันจับความคิดได้ พอจิตมันจับความคิดได้ มันเอาความคิดมาแยกแยะ เพราะว่าอะไร เพราะว่าความคิดนี้เป็นจิต จิตกับธรรมารมณ์ เห็นไหม เราพิจารณาจิต มันแยกมันแยะของมัน มันแยกให้เห็นโทษไง คิดอย่างนี้ก็ทุกข์แล้วทุกข์เล่า ถ้าคิดอย่างนี้แล้วเราก็ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แล้วความคิดมันเป็นกิเลส มันคายพิษให้เรา ทำไมเราคิดอย่างนั้นน่ะ ทำไมเราไม่หาเหตุหาผล หาปัญญาขึ้นมายับยั้งความคิดนี้ล่ะ ถ้ายับยั้งความคิด พอมีปัญญาขึ้นมา ความคิดที่เราคิดนี่เป็นความคิดผิด พอปัญญามันแยกแยะขึ้นมามันก็ปล่อย มันก็ปล่อย

พอเวลามันปล่อย มันปล่อยเพราะอะไรล่ะ? มันปล่อยเพราะมันเป็นความคิดจากภายใน มันปล่อยเพราะว่าความคิดนี้ ความคิดที่เกิดจากจิตที่มีสงบ จิตที่มันมีสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน นี่กิเลสมันอยู่ที่จิต แล้วความคิดมันคิดที่จิต คิดที่ละเอียด ที่ว่ามันเร็วมากๆ ที่มันละเอียด แต่สติปัญญานี่มันทันหมดไง มันทันหมด มันก็เอาสิ่งนี้มาแยกแยะๆ

เราจะบอกว่า งานมันละเอียดมาก ถ้างานละเอียดมาก เราไม่รอบคอบ เราไม่มีสติปัญญาที่รอบคอบ เราบอกว่า ความคิดที่สมองมันเป็นความคิดแบบส่งออกนะ เป็นความคิดแบบโลกนะ แต่ถ้าจิตสงบเข้ามามันเห็นความคิดภายใน ถ้าความคิดภายใน มันจะหมุนกัน ถ้ามันหมุนกันคือว่า พอจิตมันภาวนาเป็น ภาวนาคือจิตมันสงบ ก็รู้ว่านี่ เออ! จิตสงบมันเป็นแบบนี้ พอจิตสงบแล้ว พอจิตมันจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรมได้ มันพิจารณาของมัน พอพิจารณาของมัน เพราะมันมีกำลังของจิต เพราะมีกำลังของจิต มันจับสิ่งใดแล้วมันจับได้

พอจับได้ เห็นไหม สิ่งที่เร็วขนาดไหน ถ้าสติปัญญามันยับยั้ง มันยับยั้งได้หมด พอยับยั้งได้หมด มันจับแล้วมันพิจารณาของมัน มันพิจารณา มันแยกแยะของมัน แยกแยะด้วยปัญญา ปัญญาที่มีสติ สติมันจับไว้ สมาธิมันจับไว้ แล้วปัญญามันจะฟาดฟันกับมัน ฟาดฟันมันก็ปล่อย ปล่อย นี่อย่างนี้มันถึงไม่สำคัญผิด ไม่สำคัญตน

แต่ถ้าเราคิดของเรา เราพิจารณาของเรา เราคิดของเรา เห็นไหม มันเป็นการสำคัญผิดนะ สำคัญผิดหมายความว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างหนึ่ง แต่หัวใจเราไปคิดอีกอย่างหนึ่ง คิดด้วยปริยัติ คิดด้วยธรรมวินัย คิดด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทียบเคียง เทียบเคียงว่าอย่างนี้ใช่ พอเทียบเคียงขึ้นมา แต่ข้อเท็จจริงมันไม่ใช่

ถ้าข้อเท็จจริงมันไม่ใช่ มันถึงเป็น เพราะสำคัญผิด การปฏิบัติมันถึงไขว้เขว การปฏิบัติล้มลุกคลุกคลาน จะว่าไม่ใช่ปฏิบัติ ก็ปฏิบัติ บอกว่าไม่เกิดปัญญา ก็เกิดปัญญา ไม่เกิดสมาธิ ก็เกิดสมาธิ แต่การเกิดสมาธิ การเกิดปัญญานั้นมันไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันไม่สมดุล ไม่ลงตัว

ถ้าไม่ลงตัวแล้วต้องทำอย่างไรล่ะ? ไม่ลงตัวก็หมั่นคราดหมั่นไถ หมั่นแยก หมั่นแยะ หมั่นพิจารณาของมัน นี่มันต้องหมั่นทำนะ แล้วพอหมั่นทำ มันก็ย้อนกลับมาที่อำนาจวาสนาของคนแล้ว เห็นไหม ขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ปฏิบัติง่ายรู้ยาก ปฏิบัติยากรู้ยาก...นี่ปฏิบัติ บัว ๔ เหล่า เพราะอะไร เพราะเราสร้างของเรามาไง ฉะนั้น เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราทำสิ่งใดขึ้นมาแล้วนี่อย่าท้อแท้

เวลาครูบาอาจารย์ของเรานะ ท่านปฏิบัติของท่านนะ ก็เราทำของเรามาเอง เราเป็นคนทำของเรามาเอง แล้วเราก็มีอำนาจวาสนาที่เรา เห็นไหม เวลาโค เวลามันไถนา มันลากแอกของมันไป มันจะทำงานของมันให้เสร็จนะ มันลากแอกของมันไป มันเหนื่อยไหม? เหนื่อย มันลากของมัน มันเหนื่อยของมันนะ หมั่นคราดหมั่นไถของเรา

จิตนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราสร้างของเรามา ในเมื่อจิตใจเราเป็นอย่างนี้ เราทุกข์ไหม? ทุกคนก็รู้ว่าทุกข์ ทุกคนก็อยากจะพ้นจากทุกข์ แล้วพ้นจากทุกข์ มันจะเอาที่ไหน จะเอาจากตำรับตำราก็ไม่มี ตำรับตำราก็เป็นทฤษฎี เป็นเครื่องชี้เข้ามาให้การกระทำ จะเอาจากครูบาอาจารย์ก็ไม่มี เพราะครูบาอาจารย์ก็เป็นผู้บอกทาง เราจะเอาจากที่อยู่อาศัยก็ไม่มี จะเอาจากที่ไหน มันไม่มีทั้งนั้นเลยล่ะ

แล้วที่มันมีล่ะ? มีที่เราจะทำอยู่นี่ไง มันจะเหนื่อย มันจะทุกข์มันจะยาก ก็ตั้งสติ ก็จะทำ มันจะเดือดร้อนขนาดไหน มันเดือดร้อนนะ โลกเขาเดือดร้อนกันอยู่แล้ว เราอยู่กับโลกเราก็เดือดร้อนอยู่แล้ว ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม มันร้อนใจ ร้อนใจแต่มีสติมีปัญญานะ ถ้าร้อนใจ มีสติปัญญา มันก็ทำให้ใจนี้เย็นได้ ถ้าทำให้ใจนี้เย็นได้ ถ้ามันมีความสงบระงับ มันก็เย็น แต่ถ้าใจมันไม่สงบระงับ มันก็ร้อน ถ้ามันจะร้อน ร้อนก็ต้องสู้กับร้อน

เวลาฤดูกาลมันก็เปลี่ยนแปลงของมัน จิตใจของเราก็เปลี่ยนแปลงของเราอยู่แล้ว แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องการันตีและยืนยันได้ ถ้าเราทำได้จริง ทีนี้เราประพฤติปฏิบัติของเรา คนเรา จิตใจมันก็เสื่อม มันก็เจริญ เจริญแล้วก็เสื่อม ในการปฏิบัติของทุกๆ คน มีเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ

ถ้ามันไม่มีเจริญเลย เอาอะไรมาเสื่อม ปฏิบัติแล้ว ถ้ามันเป็นความสำคัญผิด มันไม่มีเลย ไม่มีเลย เห็นไหม ไม่มีเลยแล้วทำไมเป็นอย่างนั้น บอกปฏิบัติแล้วถ้ามันไม่เป็นสมาธิ มันก็เป็น เป็นโดยการคาดหมาย เป็นโดยสัญญาอารมณ์ ถ้าเกิดปัญญา ปัญญาก็เป็นสัญญาทั้งนั้น ปัญญาก็เป็นสิ่งที่เราเก็บข้อมูลของเรามา แล้วมันเป็นปัจจุบันธรรมไหม มันเป็นปัญญาในปัจจุบันนี้ไหม ถ้ามันเป็นปัญญาในปัจจุบันนั้น ถ้ามรรคญาณ มรรคมันหมุนตัวไป มันก็ปล่อย พอมันปล่อย มันปล่อย มันคืออะไรล่ะ? ปล่อยก็คือตทังคปหานไง นี่คือสำคัญผิด

ถ้าสำคัญผิดว่าเราปล่อยว่าเราโสดาบัน สำคัญผิดว่าปล่อยแล้วสกิทาคามี...มันเป็นแน่นอนอย่างนี้ มรรคผลอย่างนี้มีมาก มรรคผลที่ว่าเวลามันปล่อยแล้ว เพราะมันปล่อย เห็นไหม เราใช้ปัญญาของเราสิ หาเหตุหาผลกับตัวเราเอง มันก็เข้าใจได้ พอเข้าใจแล้วเป็นโสดาบันไหม เราเข้าใจสิ่งนี้ เราสงสัยอยู่ เราเข้าใจสิ่งที่มันฝังอยู่ในหัวใจ เราเข้าใจแล้วเป็นโสดาบันไหม? มันก็ไม่เป็นน่ะ แต่พอเข้าใจแล้วมันปล่อยวางไหม มันโล่งโถงไหม? โล่งโถง แล้วมันเป็นโสดาบันไหม? ไม่เป็น ไม่เป็นหรอก นี่ไง เพราะสำคัญผิด

แต่ถ้าเราปฏิบัติไป สิ่งที่เวลามันปล่อย มันต้องปล่อยไหม? ปล่อย ถ้าปล่อยแล้วซ้ำไง นี่พอปล่อยแล้ว เราจะให้ปล่อยมากขึ้นไง ถ้าปล่อยแล้วเราทำให้ละเอียดลึกซึ้งลงไปไง คำว่า “ปล่อย” มันบอกว่าจะไม่ใช่ทาง...ไม่ใช่ มันเป็นทางผ่านไง มันเป็นการที่เราฝึกหัดใช้ปัญญา มันเป็นการประพฤติปฏิบัติขึ้นไป จากที่ไม่มีสิ่งใดเลย เราก็สร้างสมตัวเราขึ้นมา

ถ้ามันสร้างสมตัวมันขึ้นมาแล้ว สร้างสมตัวขึ้นมาแล้วมันจะสำคัญตน สำคัญผิดไปทำไมล่ะ เราก็ทำให้มันชัดเจนขึ้นมาใช่ไหม จากสำคัญผิดก็ต้องตรวจสอบกัน ถ้าครั้งนี้ผิด แล้วครั้งหน้าต้องซ้ำอีก แล้วมันจะผิดอย่างไรต่อไป มันจะผิดอีกไหม

ถ้ามันผิด มันผิดเพราะอะไร มันก็ต้องย้อนกลับมาแล้ว ย้อนกลับมาหา ดูศีลของเรา ดูอำนาจวาสนาของเรา แล้วทำของเราโดยที่มีหมู่คณะ มีคนคอยประคองดูแล เห็นไหม สัปปายะไง หมู่คณะเป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ อาจารย์เป็นสัปปายะ สิ่งนี้เราดูแลกัน เรารักษากัน เพราะการฝึกฝน การหล่อหลอมในใจของเราขึ้นมา เราทำของเราขึ้นมาตามความเป็นจริง ซ้ำแล้ว ถ้ามันปล่อย มันปล่อยขนาดไหนนะ คำว่า “สำคัญผิด” เพราะมันยังไม่เป็นความจริง มันปล่อยน่ะ ถ้าเราชะล่าใจ นี่สำคัญผิดแล้ว

แล้วถ้าสำคัญผิดแล้วนะ สำคัญผิดแล้วก็สำคัญตน สำคัญตนแล้วมันก็แบกรับกิเลส บอกว่า “จะต้องเป็นแบบนั้น ปฏิบัติแล้วทำไมไม่ได้ผลอย่างที่เราปรารถนา อย่างนี้พระพุทธเจ้าโกหก ครูบาอาจารย์ยิ่งพูดแล้วไม่มีเนื้อหาสาระเลย” นี่ไง เวลาถ้ามันไม่ได้ความจริง มันท้อถอยแล้ว มันไม่โทษตัวเองนะ ไม่โทษกิเลสในหัวใจ ไม่โทษความสำคัญผิดแล้วให้ตัวเองเหลวไหล

แต่ถ้ามันมีสติปัญญาขึ้นมา “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลยล่ะ” ถ้าเราสมควร สมควรอย่างไร? สมควรมันก็สมควรตามความเป็นจริงไง ปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริง มันปล่อยแล้วเราก็จับ พิจารณากายก็จับกาย พิจารณาเวทนาก็จับเวทนา พิจารณาจิตก็จับจิต พิจารณาธรรมก็จับธรรม จับแล้วพิจารณาซ้ำ

เพราะถ้ามันปล่อยขนาดไหน มันยังไม่ขาด มันมี ของที่มี ถ้าเรารื้อค้น ต้องเจอ ของที่มี แต่เราสำคัญผิดว่าไม่มี สำคัญผิดว่ามันจบแล้ว พอสำคัญผิดว่ามันจบแล้ว กิเลสเป็นนามธรรมใช่ไหม ความรู้สึกนึกคิดนี่เป็นนามธรรมใช่ไหม ถ้าบอกมันไม่มี บอกว่าใช่ เอ็งยอดคน ทำสมบูรณ์แล้ว เห็นไหม สำคัญตน สำคัญตนไปเลย พอสำคัญตนไปแล้วกี่รอบๆ มันก็หมุนอยู่อย่างนั้นน่ะ

ถ้าเรามีสติปัญญานะ มันมีเหตุผลสิ่งใด ถ้าเหตุผลของมันน่ะ เหตุผลมันไม่พอ ถ้าเหตุผลไม่พอก็ต้องจับแล้วพิจารณาซ้ำ ของมีนี่จับได้ ถ้าเราไม่สำคัญว่ามันไม่มี ของมันมีอยู่ เราสำคัญว่ามันไม่มีปั๊บนี่เราก็เชื่อเราแล้ว พอเราเชื่อเราแล้ว มันก็บอกว่า “จับไม่ได้ จับไม่มี ค้นหาไม่เจอ” ทั้งๆ ที่มีนะ

แต่ถ้าเราจะพิสูจน์ของเรานะ “มันไม่มี ไม่มีอย่างไร ทำไมถึงไม่มี ถ้าไม่มีแล้วความรู้สึกนี้มันมาจากไหน ความรู้สึก ความคิดมันมาจากไหน”...ก็มันมีไง ก็ตัวมันนี่ไง ถ้าตัวมันก็จับ จับมันก็อาย พอจับปั๊บนะ นี่กิเลสมันจะอายมากนะ

หลอก ใช้เล่ห์กลขนาดไหน เรายังมีสติปัญญารู้ทัน ถ้าเรารู้ทัน นี่ไง ถ้าเราไม่สำคัญผิด เห็นไหม เรารู้ทันเราก็จับซ้ำ หมั่นคราดหมั่นไถๆ เข้าไป มันจะละเอียดเข้าไป เพราะเราเคยพิจารณาแล้วปล่อย ถ้าเราเคยพิจารณาแล้วปล่อย เหมือนกับนักกีฬาเขาเล่นกีฬาชนิดไหน เขารู้กติกา เขามีทักษะ เขาเล่นของเขาได้

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าคนที่ไม่เคยเล่นกีฬาชนิดนี้ หรือเล่นกีฬาชนิดนี้เราไม่เคยเล่น เราไม่รู้กฎกติกาของเขา เราไม่มีทักษะเล่นอย่างนั้น มันก็เก้ๆ ก้างๆ จิตใจคนที่ภาวนาไม่เป็น จิตใจคนที่ยังภาวนาไม่ได้ มันก็เก้ๆ ก้างๆ เพราะมันคิดแบบโลกๆ ไง คิดแบบโลก โลกคืออะไร? โลกคือสมมุติไง สมมุติมันก็สร้างภาพไง นี่มันคิดแบบนั้น

แต่พอมันเป็นธรรมขึ้นมา นี่สมมุติบัญญัติ บัญญัติคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มรรคญาณ อริยสัจ สัจจะความจริง มันเป็นบัญญัติ พอบัญญัติขึ้นมา มันก็เป็นภาษากลาง ภาษากลาง ใครไปปฏิบัติขึ้นมา เวลา ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาเราพูด เราสื่อสารธรรมะกัน เราจะสื่อสารกันด้วยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าถ้ามันเป็นสมมุติ สมมุติก็เป็นเรื่องโลก ถ้ามันปฏิบัติเข้ามามันก็เป็นบัญญัติ บัญญัติขึ้นมาแล้วถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา ความจริงขึ้นมาเกิดจากการกระทำอันนี้ ถ้าเกิดจากการกระทำอันนี้ เราจับต้องของเรา เราพิจารณาของเรา ถ้าคนไม่เคยจับต้อง ไม่เคยมีสิ่งนี้ จะเอาอะไรมาพูด มันก็พูดสมมุติบัญญัตินั่นล่ะ

แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมานะ ธรรม เห็นไหม หลวงตาท่านพูดบ่อย “ผู้ที่มีคุณธรรมในหัวใจ เวลาแสดงธรรมขึ้นมา เสียงนั้นมันจะมีธรรมมาด้วย” แต่ถ้าผู้ที่ไม่มีธรรมในใจ เสียงก็คือเสียงไง เสียงก็เสียงลมพัด ลมมันพัดมามันก็มีเสียง กรรโชกแรง ต้นไม้ล้มเลย นี่เสียงมันรุนแรง แต่ไม่มีธรรมออกมา

ไม่มีธรรมออกมามันคืออะไรล่ะ? ไม่มีธรรมออกมาคือว่ามันจับต้องไม่ได้ มันพิจารณา มันจับต้องไม่ได้ มันก็เป็นสมมุติบัญญัติหมดไง แต่ถ้ามันมีธรรมของมันออกมานะ มันมั่นใจของมันไง เราเห็นสิ่งใด เรารู้สิ่งใด เราจะพูดสิ่งนั้นได้ ถ้าเรารู้เห็นสิ่งใด เราพูดสิ่งนั้นออกมา พูดด้วยความมั่นใจของเรา แต่ถ้าเราไม่รู้สิ่งใดนี่มันคาดมันหมาย มันฟังของมันมา

ฉะนั้น ถ้าจิตมันพิจารณาไป มันจับต้อง มันมีตรงนี้ มันมีธรรมๆ มีตรงนี้ ถ้าเวลาปัญญามันพิจารณาไปแล้ว เวลามันปล่อย ปัญญา นี่มันขณะที่การกระทำ วิปปยุตเข้าไป สัมปยุตคลายออกมา แล้วผลล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน จิต พอมันปฏิบัติขึ้นไปแล้ว เวลามันปฏิบัติ มันปล่อย มันปล่อยอะไร มันปล่อยอย่างไร? นี่มันปล่อยแล้ว ถ้ามันพิจารณาซ้ำๆ ซากๆ ด้วยปัญญา ด้วยกำลังนะ ถ้ามันพิจารณาโดยปัญญาแล้ว มันยื้อกัน มันไปไม่ได้ นั่นแหละเพราะมันใช้มาก ปัญญานี่มันต้องใช้ มันจะมีกำลังจากสมาธิหนุนหลัง มันถึงจะเป็นปัญญา มันถึงเป็นปัจจุบัน ถ้ามันไม่มีสมาธิหนุนหลัง คือกำลังของจิตหนุนหลัง มันจะเป็นสัญญา

เพราะสัญญา เวลาเราปฏิบัติใหม่ เรานั่งเฉยๆ เราคิดก็มี นี่เปรียบเทียบ สิ่งนี้สัญญามันมีอยู่ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ฉะนั้น มันมีของมันอยู่แล้ว สัญญานี่เทียบเคียงได้หมดเลย แต่มันเป็นเรื่องผิวๆ เผินๆ เป็นเรื่องของสัญชาตญาณของจิต แต่ถ้าจิตมันมีกำลังขึ้นมา มันทวนกระแส มันทวนกระแสกลับเข้าไปสู่จิต พอกลับเข้าไปสู่จิต เพราะมันมีกำลังของสมาธิ เห็นไหม ปัญญามันก็คมกล้า ปัญญามันก็แกล้วกล้า ปัญญามันก็ฟาดฟัน

สติ สมาธิจับ ปัญญาตัด ตัด พอตัดขึ้นไปมันก็ตัดบ่อยครั้ง พอยิ่งตัดยิ่งละเอียด ยิ่งตัดมันยิ่งลึกซึ้งๆ ลึกซึ้งเราตามเข้าไปๆ นี่ไง มันเป็นความจริง มันไม่ใช่ความสำคัญ ถ้ามันเป็นความสำคัญก็เป็นเรื่องหนึ่ง ถ้ามันเป็นความจริงนะ มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เพราะความจริงเป็นสิ่งที่ไม่ตาย ความจริงมันคือความจริง ไม่มีสิ่งใด สัจจะ อริยสัจจะ มันเป็นอริยสัจจะ มันเป็นความจริง ความจริงมันมีอยู่แล้ว แต่เรามันไม่จริง เพราะเราไม่จริง เราทำลูบๆ คลำๆ เราก็ทำลูบๆ คลำๆ แล้วก็ยังสำคัญผิด สำคัญตนกันไป ถ้าเราทำความเป็นจริงขึ้นมา มันจะสำคัญไปไหน ฟาดฟันเข้าไป ฆ่าฟันเข้าไป ให้มันเผชิญต่อหน้า ให้มันทำลายต่อหน้า

เวลามันทำลายต่อหน้านะ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ เวลามันทำลาย ทำลายกาย พิจารณากายจนกายมันเป็นไตรลักษณ์ มันละลายหมด มันไม่มีสิ่งใดเหลือไว้เลย...อ้าว! ไม่มีอะไรเหลือแล้วรู้ได้อย่างไร ใครรู้ว่าเหลือหรือไม่เหลือ พอมันไม่เหลือแล้วมันมีสิ่งใดล่ะ? นี่จิตมันก็รวมลงสิ

แต่ถ้ามันมีอยู่ เห็นไหม จิตมันเกาะ “กายเป็นอย่างนั้น กายเป็นอย่างนี้” มันทิ้งไม่ได้ มันไม่ทิ้งหรอก มันกลัวมันจะไปเจอสิ่งใดก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจ แต่ถ้าอยู่ด้วยกัน อุ่นใจ อยู่กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี่อุ่นใจ อยู่แล้วมีความสุข เห็นไหม ปล่อยวาง ว่างไปหมด

แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ พิจารณากายนี่มันเป็นไตรลักษณ์ ปล่อยๆๆ ถ้าเวลามันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ กายมันก็เป็นกาย มันทำลายไปแล้ว จิตที่พิจารณาอยู่นี่ ด้วยปัญญาอยู่นี่ จิตก็เป็นจิต เพราะมันมีกายกับจิตที่มันยึดถือมั่นต่อกันมันถึงมีทุกข์ นี่ไง ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริงไง ถ้าพอมันทำลายหมดแล้ว เวลากายมันพิจารณาออกไป จิตพิจารณาออกไป ทุกข์มันก็ต้องหลุดออกไป เพราะทุกข์มันอยู่บนอะไรล่ะ ถ้ากายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วผู้รู้ล่ะ รู้ว่ามันขาดนี่มันรู้อย่างไร

เวลามันขาดอย่างนี้ปั๊บ มันเป็นความจริง เห็นไหม นี่ความจริง ถ้าความจริงอย่างนี้ มันถึงไม่ใช่ความสำคัญผิด ความสำคัญผิดคือมันไม่เป็นปัจจุบัน ความสำคัญผิดคือมันเป็นอดีตอนาคต มันเป็นธรรมไหม? เป็น เพราะผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่ทำสิ่งใดก็แล้วแต่ มันก็ต้องมี เห็นไหม ดูรถสิ รถก่อนจะออกตัวมันก็ต้องมีการติดเครื่อง มันต้องมีธรรมดา จิต การประพฤติปฏิบัติมันก็เกิดจากสมมุตินี่แหละ เกิดจากเรานี่แหละ เกิดจากความทุกข์นี่แหละ เกิดจากการกระทำของเรานี่แหละ เกิดจากตรงนี้ทั้งนั้น

แต่เวลาทำไปแล้วมันจะพัฒนาขึ้น มันจะพัฒนาขึ้น จิตที่มันพัฒนาขึ้น มันมีคุณภาพมากขึ้น จิตที่มีคุณภาพมากขึ้น มันเจริญงอกงามขึ้นมา เห็นไหม ภาวนาที่ภาวนายังไม่เป็นเลย เขาล้มลุกคลุกคลาน แต่พอมันพัฒนาขึ้นมา พอภาวนาเป็นแล้ว คนขับรถเป็น คนขับรถชำนาญ มันเอารถไปไหนก็ได้ มันจะเอารถไปตามเป้าหมายที่เราพอใจเลย เราต้องการไปไหน เราจะเอารถของเราไปตามที่เราปรารถนา

จิตที่มันภาวนาเป็น มันทำได้ มันทำสมาธิก็ได้ ทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบแล้วนะ เราออกฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาพิจารณามันก็แกล้วกล้า ถ้ามันแกล้วกล้า ถ้ามันใช้แกล้วกล้าจนพิจารณาแล้วมันเสื่อมมันถอย มันไม่มีความคมกล้าพอก็กลับมาทำความสงบของใจ นี่มันทำไปแล้วมันจะรู้มันจะเห็นของมันนะ

ถ้ารู้เห็นของมัน พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเข้าไปถึงเวลามันขาด มันก็เป็นชั้นหนึ่ง เป็นโสดาบัน ถ้าโสดาบัน พิจารณาเข้าไป จิตละเอียดเข้าไป จับกาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน แต่จับกาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งกว่าการจับกาย เวทนา จิต ธรรม ของขั้นโสดาบัน นี่กายเป็นกาย จิตเป็นจิต กายในกาย ขันธ์ในขันธ์ เวทนาในเวทนา มันจะละเอียดเข้าไปเป็นชั้นๆ เข้าไป

พอละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไปแล้ว แล้วกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่ละเอียดกว่า มันก็มีเล่ห์เหลี่ยมที่เหนือกว่า เล่ห์เหลี่ยมที่เหนือกว่า เห็นไหม ดูสิ เวลาเราแข่งขันกีฬา ผู้มีทักษะที่ดี เราจะผ่านเขาได้ยากมาก ผู้ที่ไม่มีทักษะ เราจะผ่านเขาด้วยกำลังของเรา ด้วยเชาวน์ปัญญาของเรา จิต เวลามันพิจารณาเรื่องหยาบๆ จากล้มลุกคลุกคลานมานะ เพราะกิเลสมันจะหยาบละเอียดขนาดไหนก็แล้วแต่ มันเป็นกิเลสของเรา

ถ้าเป็นกิเลสของเรา มันอยู่ในหัวใจของเรา มันรู้การกระทำของเราอยู่แล้ว ถ้ารู้การกระทำของเราอยู่แล้ว มันจะหลอกล่อ มันจะทำอย่างไรก็แล้วแต่ มันเรื่องของกิเลสนะ มันจะทำให้เราเสียโอกาส ทำให้เราเสียการกระทำทุกคราวไป เราก็ต้องใช้เชาวน์ปัญญาของเราเพื่อจะผ่านตรงนี้ เห็นไหม ถ้าผ่านไปแล้วเป็นโสดาบัน ถ้าขึ้นไปจับกาย เวทนา จิต ธรรม ขึ้นไปเป็นสกิทาคามี มันก็ละเอียดลึกซึ้ง รอบคอบกว่า กิเลสที่มันจะหลอกล่อ นี่ถ้าเราสำคัญผิดมันก็ท้อแท้ มันก็ถอย

แต่เราไม่สำคัญผิด ไม่สำคัญผิดและไม่สำคัญตน เราจะปฏิบัติไปให้ตามความเป็นจริงของเรา ถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรานะ กายที่มันพิจารณามาแล้ว นั่นกายอย่างหยาบ ถ้ากายอย่างนี้ ถ้ามันพิจารณาแล้วมันจะแยกออกไป ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ มันแยกเป็นธาตุ ๔ เลย ถ้ามันธาตุ ๔ นะ แยกแล้วมันปล่อยๆ มันปล่อยขนาดไหน

เพราะขณะที่เราพิจารณาขั้นต้นมา มันปล่อยขนาดไหน เราก็รู้แล้วว่าถ้าเราปล่อยโดยที่ไม่เป็นปัจจุบัน มันเป็นการสำคัญผิด ถ้ามันปล่อยแล้วเราก็ต้องซ้ำเข้าไป แยกแยะเข้าไป เพราะกิเลสอย่างหยาบ อย่างละเอียด คืออย่างเริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด มันมีของมัน มีของมันเราก็ต้องซ้ำเข้าไปๆ จับต้องเข้าไป ไม่ให้ความสำคัญผิด ไม่ให้การกระทำของเรานี้ให้เราผิดพลาดอีก

ประสบการณ์มันมี จิต ถ้าภาวนาเป็นแล้วมันมีประสบการณ์ของมัน ถ้าประสบการณ์ เราก้าวเดินอย่างไร เพียงแต่กิเลสมันละเอียดกว่าไง กิเลสมันไม่ใช่กิเลสขั้นต้น จากหลานมันก็เป็นลูก เป็นลูกมันก็มีกำลังมากกว่า มันก็มีทักษะมากกว่า ทักษะมากกว่ามันก็ทำให้ล้มลุกคลุกคลานได้มากกว่า ถ้าล้มลุกคลุกคลานได้มากกว่า เราก็ต้องใช้ปัญญาที่เหนือกว่า

มันถึงว่า เวลากำลังของสมาธิของโสดาปัตติมรรคกับสกิทาคามิมรรคมันต่างกัน ความต่างกัน ต่างกันเพราะกำลังที่มันสูงขึ้น วุฒิภาวะที่ใจมันพัฒนาขึ้นมา ถ้าพัฒนาขึ้นมาแล้ว ทำให้เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าความจริงขึ้นมา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้ามันปล่อย ปล่อยขนาดไหน มันต้องปล่อย ผลของมัน

เราทำงานสิ่งใดก็แล้วแต่ ทำงานเสร็จ เราก็ต้องเก็บเครื่องไม้เครื่องมือเป็นธรรมดา การเก็บเครื่องไม้เครื่องมือแต่ละรอบแต่ละคราว แต่การเก็บแล้วต้องทำซ้ำๆ เพราะงานยังไม่จบ งานยังไม่เสร็จ ถ้างานไม่เสร็จ เวลาพิจารณาเข้าไป เวลามันขาด มรรค สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล มันรวมลง สัมปยุตเข้าไป วิปปยุตคลายออกมา

คลายออกมาแล้วจิตมันเป็นอย่างไร เวลามันขาด ขาดอย่างไร

ถ้ามันขาด ถ้าเป็นความจริง มันจะมีสิ่งที่เป็นความจริงนี้เป็นเครื่องการันตีกับจิตนั้น จิตที่มันไม่รู้ จิตที่มันไม่มีมรรคมีผลขึ้นมา มันก็ล้มลุกคลุกคลาน มันปฏิบัติมาด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยธรรมและวินัยที่เป็นผู้คุ้มครองดูแลจิตดวงนี้ ถ้าจิตดวงนี้ปฏิบัติขึ้นไป มันจะเป็นสมบัติของจิตดวงนี้ไง จิตดวงนี้ปฏิบัติขึ้นไปแล้ว แล้วได้มรรคได้ผลขึ้นมา ได้ขึ้นมาจากจิตดวงนี้ มันเป็นสมบัติของจิตดวงนี้

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย”

จิตดวงนี้มันจะพัฒนาของมันขึ้นไป จากโสดาบันเป็นสกิทาคามี

สกิทาคามีมันทำอย่างไร? เวลาจิตมันขาดออกไป โลกนี้ราบหมด ราบแล้วมีความสุขไหม? ความสุขมหาศาล ถ้าความสุขมหาศาล แล้วความสุขมาจากไหนล่ะ? ความสุขเกิดจากเราภาวนา ความสุขเกิดจากการกระทำของเรา ไม่ใช่ความสำคัญผิด แล้วสำคัญตนขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป แต่สิ่งนี้เป็นผลงาน เป็นสิ่งที่จิตที่การกระทำขึ้นมา จิตกระทำขึ้นมาแล้วเป็นมรรคเป็นผลของจิตดวงนั้น

ถ้าจิตดวงนั้น เวลาจิตมันขาด โลกนี้ราบหมด เวิ้งว้างไปหมด มีความสุขมาก ทีนี้ความสุขมากขนาดไหน ความสุขนี้เป็นความสุขจากที่เราใช้ปัญญาของเรา เราใช้การกระทำ เราใช้มรรคของเรา เราใช้ เห็นไหม ยถาภูตํ ญาณทัสสนะ ญาณหยั่งรู้ที่เราเป็น

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะ ไม่มีต่างๆ มันก็จะนอนจมอยู่นี่ แต่ถ้ามันใช้ปัญญาต่อไป ปัญญาต่อไป เวลาเราใช้ปัญญาไปแล้ว เราใช้ปัญญา เราทำสิ่งใดไปแล้ว วางแล้วกำลังมันก็เสื่อมถอยไป ทำความสงบของใจให้มากขึ้น จะกำหนดพุทโธ จะใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ต้องทำให้มันมีกำลังขึ้นมา ถ้าจิตมีกำลังขึ้นมาแล้ว เวลามันทำงานขึ้นไปมันจะวิ่งเข้าสู่งาน ถ้าวิ่งเข้าสู่งาน เวลามันจับได้ มันจับได้ จับได้เป็นอสุภะ

กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน ถ้าพิจารณาจิต จับจิตได้ มันจะเป็นกามฉันทะ กามฉันทะเพราะอะไร กามฉันทะเพราะความพอใจไง เพราะจิตเป็นเรา เรามีจิต เรามีความรู้สึกนึกคิด มันถึงมีฉันทะ มีความพอใจ ความพอใจ ถ้ามันเข้าไปในข้อมูลนั้น มันก็เกิดกามราคะ แต่ถ้ามันจะเป็นอสุภะ มันพิจารณาของมันขึ้นไป ความที่เป็นอสุภะๆ มันเป็นเพราะจิตมันเห็น จิตมันมีการกระทำ

ถ้าจิตมีการกระทำขึ้นมา การกระทำ ทำขึ้นมาเพื่ออะไร? ทำขึ้นมาเพื่อให้จิตมันรู้ ทำขึ้นมาให้จิตใจมันเห็นว่า สิ่งนี้ที่เวียนตายเวียนเกิดในโอฆะ ในโอฆะเพราะจิตที่มันติดพันกับจิตใต้สำนึกอันนี้ กามราคะ ปฏิฆะ ดูสิ จิต ที่ว่ามันเป็นจริตนิสัยของจิต จิตที่มันเกิดมา จิตที่มันเวียนตายเวียนเกิด ที่ว่าจริตนิสัยแตกต่างกันๆ แตกต่างกันอย่างไร

ดูสิ รสนิยมก็แตกต่างกัน สิ่งเป้าหมายก็แตกต่างกัน ความรู้สึกนึกคิดก็แตกต่างกัน แตกต่างกันเพราะอะไร เพราะมันสร้างสมของมันมา สร้างสมของมันมา มันฝังมาเป็นจิตใต้สำนึก ฝังมาที่อยู่หัวใจนี้ พอหัวใจนี้ มันแสดงออกโดยธรรมชาติของมัน แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา เราปฏิบัติขึ้นมาด้วยสัจจะความจริงของเรา ด้วยอริยสัจ ด้วยความจริงของเรา ครอบคลุมตาข่ายของปัญญา จะครอบคลุมดูแล

ถ้าจับได้ พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก เป็นอสุภะ อสุภะอย่างไร? เป็นอสุภะต่อเมื่อจิตมันมีกำลัง มันมีกำลังพิจารณาไปก็เป็นอสุภะ แต่ถ้าไม่มีกำลังขึ้นมา มันไม่เป็นอสุภะ อสุภะมันจะกลืนเรามาอีกต่างหากล่ะ อสุภะมันจะทำให้จิตใจล้มลุกคลุกคลานเลย เพราะว่าสิ่งที่ไม่มีกำลังไปแบกรับมัน ฉะนั้น เราต้องกลับมาทำความสงบของใจอีก

ถ้าจิตมันไม่สงบ ถ้าทำแล้ว สิ่งที่เครื่องมือของเรา มันใช้แล้ว แล้วเราไม่ดูแลรักษาเครื่องมือของเรา เราจะเอาเครื่องมือของเราไปทำงานทำซ้ำทำซาก งานนั้นมันจำสำเร็จได้ไหม งานจะสำเร็จได้ เครื่องมือของเราต้องคมกล้า เครื่องมือของเราต้องมีคุณสมบัติพอ คุณสมบัติว่า จากสติเป็นมหาสติไง จากที่งานหยาบๆ ก็ละเอียดเข้าไป

เวลาความฟุ้งซ่าน เราว่าสิ่งนี้เป็นความฟุ้งซ่าน เราว่าสิ่งนี้มันเร็วมากๆ เวลาปฏิบัติเข้าไป เห็นไหม มันละเอียดลึกซึ้งๆ ใครว่าละเอียด ละเอียดอย่างไร เอาอะไรมาละเอียด แต่ถ้ามันเป็นมหาสติ มหาปัญญา มันทันกัน พอมันทันขึ้นไป เวลาทำเข้าไป ถ้าทำแล้วมันพิจารณาของมัน

เวลาปฏิบัติแล้ว ถ้าผู้ที่ปฏิบัติถึงระดับนี้ ส่วนใหญ่แล้วพยายามจะแยกตัว แยกตัวออกมา ต้องการเวลาไง มันจะไม่มองฟ้ามองดิน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร เพราะความยุ่งเกี่ยวกับใคร เพราะงานภายในมันเหลือล้น มันเหลือล้นในหัวใจ มันไม่มีทางออก มันไปไม่รอด มันจะเอา มันจะฟัดกันตลอดเวลา

เพราะสิ่งที่ปัญญามันหมุน ปัญญาที่มันเป็นน้ำป่า ปัญญาที่มันเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาที่เราเริ่มต้นขึ้นมานี่ล้มลุกคลุกคลาน ปัญญาที่เราพยายามทำ มันกว่าจะเกิดปัญญาขึ้นมา มันต้องใช้กำลังมหาศาล แต่พอมันพิจารณาไป มันฆ่ากิเลสไปเรื่อยๆ จนไปถึงกามราคะ นี่ปัญญามันจะรุนแรง เพราะปัญญามันจะเอาผลงานของมัน พอผลงานของมัน เหมือนไฟป่า มันเผารุนแรงแล้ว พอเผารุนแรง มันจะต้องการสิ่งที่เราจะเข้าไปพิจารณา พอพิจารณาแล้ว งานนี้มันจะแยกแยะของมัน มันจะดูแลของมัน

ถ้าเป็นอสุภะ อะไรเป็นอสุภะ อสุภะมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร อสุภะ ทำไมไม่เป็นสุภะล่ะ ทำไมไม่เป็นสุภะ สิ่งที่เราพอใจล่ะ? มันเป็นอสุภะเพราะมันมีมหาสติ มันมีอสุภะเพราะมันมีมหาปัญญา ยิ่งมีมหาปัญญาเพราะความที่เป็นอสุภะ มันเป็นฝั่งตรงข้ามกับปฏิฆะ สิ่งข้อมูลในหัวใจไง สิ่งที่เป็นจริตนิสัย อย่างนี้เราชอบ อย่างนี้เราพอใจ อย่างนี้เราปรารถนา มันจะเป็นอสุภะ อสุภะเห็นว่า สิ่งที่ปรารถนามันเป็นอสุภะ มันเป็นของสกปรก เป็นของโสโครก มันเป็นเรื่องของโลก มันเป็นเรื่องของ...มันจะเห็นผลของมันไง

ถ้าเห็นผลของมัน เพราะมันเกิด มันมีสติมีปัญญา มีมหาสติ มหาปัญญา มันก็เป็นอสุภะ แต่ในหัวใจมันเป็นสุภะ ในหัวใจมันมีฉันทะ ในหัวใจมันมีความปรารถนา ในหัวใจมันมีความต้องการของมัน ถ้าสติปัญญามันไล่เข้าไปๆ นี่ระหว่างกิเลสกับธรรมมันจะสู้กันในหัวใจ มันถึงต้องการสถานที่ที่สงบสงัด หรือสถานที่ของตัวเองเพื่อพิจารณาของมัน

พิจารณาเพื่อสิ่งใดล่ะ? พิจารณาเพื่อทำลายภพชาติ ภพชาติมันเกิดให้มันทุกข์มันยากมาตลอด มันต้องพิจารณาเข้าไปเพื่อให้ถึงที่สุด ถ้าไม่ถึงที่สุด มันยังเวียนตายเวียนเกิด จิตนี้มันก็ยังต้องไปเกิดอีกในกามภพ

แต่พิจารณาซ้ำๆๆ เข้าไป จนละเอียดรอบคอบ พอพิจารณาเข้าไป พิจารณาเข้าไปด้วยกำลัง กิเลสมันต้องอ่อนตัวลง กิเลสอ่อนตัวลง ปัญญามันต้องเข้มแข็งขึ้น เวลามหาสติ มหาปัญญา มันจะเข้มแข็งขึ้น มันจะมีกำลังมากขึ้น มากขึ้นมันก็พิจารณาไปแล้ว กิเลสมันพิจารณาซ้ำๆ ซากๆ มันก็ต้องถอยร่นไป พอถอยร่น พิจารณาซ้ำ

ถอยร่นไปที่ไหน? ถอยร่นไปบนหัวใจ ถอยร่นไปบนภวาสวะ ถอยร่นไปบนจิตนี้ เป็นที่ยึดชัยภูมที่มันจะพาเกิดพาตายอยู่นี่ พิจารณาซ้ำๆๆ เข้าไป ซ้ำแล้วจะต้องมีปัญญานะ ไม่ใช่ซ้ำโดยเซ่อๆ ซ้ำโดยที่ไม่มีปัญญา ซ้ำโดยอัตโนมัติ...ไม่ใช่

มันต้องแยกแยะ เพราะเราใช้ปัญญารอบหนึ่ง ดูสิ ดูกีฬาเขาเล่นกัน ถ้าเราเล่นแต่แผนเดิมๆ ลงไปเขารู้ไต๋หมดแล้ว เขาดักหน้าดักหลังได้หมดล่ะ นี่ก็เหมือนกัน กิเลสมันอยู่กับเรา แล้วปัญญาที่สร้างขึ้นมา แล้วเราไปต่อสู้กับมัน มันจะปล่อยให้เราไปง่ายๆ เหรอ? เป็นไปไม่ได้หรอก มันพลิกแพลง มันต้องรักษาตัวมันๆ มันละเอียดกว่าเรานะ

ปัญญาของกิเลส กามราคะ ขุนพลของมัน มันยึดครองหัวใจนี้มากี่ภพกี่ชาติ มันยึดครองหัวใจนี้มาไม่มีต้นไม่มีปลาย มันจะปล่อยหัวใจนี้หลุดจากมือมันไป เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราเป็นไปไม่ได้ แต่เราก็มีสติปัญญาของเรา โดยที่เราไม่สำคัญผิด ไม่สำคัญตน ไม่สำคัญใดๆ ทั้งสิ้น เราเกิดมาในพุทธศาสนา เรามีครูบาอาจารย์นะ เรามีธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามีครูบาอาจารย์ที่เทศนาว่าการแนวทางในการปฏิบัติมหาศาล ให้เราได้ประพฤติปฏิบัติ แล้วเราก็เอาสิ่งนี้มาเป็นแนวทาง เป็นแนวทาง

แต่เวลากิเลสมันสำคัญว่าเป็นของมันเลย มันสำคัญนะ “อสุภะ กามราคะจะเป็นอย่างนั้นๆ”

ไม่เป็น มันเป็นอำนาจวาสานาของคน มันเป็นปัจจุบันในหัวใจของคน ถ้าคนปฏิบัติให้จิตดวงนั้นมันมีอำนาจวาสนาขนาดไหน เวลามันทำลายกัน มันทำลายใจดวงนั้นล่ะ แล้วมันทำลายโดยมรรคสามัคคี เวลามันละเอียดลึกซึ้งเข้าไป มันจะเร็วมาก เข้าไปถึงที่จิตแล้วทำลายกันที่จิต ทำลายหมดเลย พอทำลายหมด ครืน! ในหัวใจนะ

ถ้าครืน! ในหัวใจ กามราคะ สิ่งนี้ขาดออกจากใจ พอขาดออกจากใจ พิจารณาซ้ำๆๆๆ เข้าไป เพื่อจะสำรอกคายออกมา จนผ่องใส ถ้าผ่องใส อนาคามี ๕ ชั้น มันต้องทำลายเป็นชั้นๆ จนละเอียดเข้าไปถึงที่สุด แล้วมันผ่องใส ผ่องใสอย่างไร

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” ถ้ามันจับได้ เห็นไหม อรหัตตมรรค ถ้าไม่มีอรหัตตมรรค จะไม่เห็นความผ่องใสของใจ ใจผ่องใส เห็นไหม ธาตุ สิ่งที่เป็นธาตุ ภพ ธาตุที่เป็นภวาสวะ เป็นสถานที่ เป็นสิ่งที่ไปเกิด เพราะถ้าไม่ถึงที่สุด เกิดบนพรหม จิตนี้ยังไปเกิด จิตนี้ไปเกิดบนพรหม ๕ ชั้น เพราะมันไม่ใช่พรหมปุถุชน ไม่ใช่พรหมหยาบๆ แต่มันก็ยังเกิด เกิดแล้วไปถึงที่สุดไง

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา แล้วมีครูบาอาจารย์ แล้วมีอำนาจวาสนานะ เวลาเป็นอรหัตตมรรค สมาธิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่เป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์กับ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไง อย่างที่โสดาปัตติมรรค สมาธิ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ สกิทาคามิมรรค ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เวลาเป็นอนาคามิมรรค เป็นสมาธิ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นอรหัตตมรรค คือว่าจิตนี้ผ่องใส เต็ม ๑๐๐ คือเต็ม ๑๐๐ จิตคือจิต ควบคุมกันโดยความเท่าเทียมกัน ในเมื่อจิตมันเป็นผ่องใส มันเป็นอวิชชา สิ่งที่จะจับได้จะต้องสมบูรณ์เสมอกัน ความเสมอกัน เห็นไหม สุดๆ ทุกเรื่อง ถึงที่สุด ทุกอย่างครอบถึงสุดยอด แล้วมีอำนาจวาสนาจับตรงนี้ได้

ถ้าจับตรงนี้ได้ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ใช้ปัญญาญาณที่ละเอียดลึกซึ้ง ใช้ปัญญาโดยการใช้ความรู้สึกนึกคิดไม่ได้ สิ่งนี้มันเป็นมรรคหยาบ มรรคหยาบ เห็นไหม ฆ่ามรรคละเอียด ถ้าใช้ปัญญา มันเป็นมรรคหยาบๆ แล้วมรรคหยาบๆ นี้มันได้ชำระล้างปฏิฆะ กามราคะมาแล้ว มันจบสิ้นแล้ว เวิ้งว้างไปหมด แล้วถ้าสิ่งที่ละเอียดเข้าไป ถ้าจับแล้วฝึกหัดถึงที่สุดแล้วมันจะทำลายตรงนั้น ถ้าทำลายตรงนั้นนะ ทำลายแต่ละขั้นตอนก็ไม่เหมือนกัน ความหยาบความละเอียดมันแตกต่างกัน มันก็ให้ผลแตกต่างกัน

พอถึงที่สุดถ้ามันพลิกฟ้าคว่ำดินได้ เวลามันจบนะ สิ่งที่จบสิ้นไป มันไม่ใช่ความสำคัญผิดและสำคัญตน มันเป็นความจริงทั้งนั้น ความจริงจากหัวใจที่ฝืนทนจากความทุกข์ความยาก จากความที่ท้อแท้อ่อนแอ มันจะพัฒนาขึ้นมา เห็นไหม พัฒนาขึ้นมาเป็นโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มันพัฒนาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปนะ มรรคหยาบ มรรคละเอียดแตกต่างกันมาก แล้วปัญญาหยาบละเอียดก็แตกต่างกันไป ฉะนั้น เวลาคนปฏิบัติไปแล้ว ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา มันรู้มันเห็นของมันนะ ครบกระบวนการของมัน นี้ถึงเป็นความจริง ไม่ใช่เป็นความสำคัญตนและสำคัญผิด เป็นความจริง

ความจริงนี้ ถ้าอยู่ในหัวใจดวงใด หัวใจดวงนั้นจะชำระล้าง พ้นภพพ้นชาติ จะไม่มีสิ่งใดกับจิตดวงนี้อีก กับความเป็นไปของธรรมธาตุ เพราะจิตก็คือภพ ทำลายสิ้นแล้วก็จบกระบวนการของมัน นี้คือเป้าหมาย นี้คือสิ่งที่เป้าหมายของเราที่เราอยากประพฤติปฏิบัติให้สมความสำเร็จของเราในการปฏิบัติของเรา เอวัง