เทศน์บนศาลา

บูชาธรรม

๑๖ ต.ค. ๒๕๔o

 

บูชาธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๐
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ภาวนานะ ทำบุญ วันนี้ทำบุญวันเข้าพรรษา

๑ พรรษา ไตรมาส ๓ เดือน คนต้องตั้งใจ เวลาตั้งใจ เขาอดเหล้าอดยากันในพรรษายังทำได้เพราะความตั้งใจ แต่นี้เราก็พยายามตั้งใจภาวนา ในพรรษา ๑ ไตรมาส ๓ เดือน พระอยู่ประจำที่เพื่อจะทำภาวนาให้ใจสงบ เพื่อออกพรรษาแล้วธุดงค์ไปวิเวกไปตามป่าตามเขา แต่ในพรรษาเหมือนกับความตั้งใจ ในพรรษาอธิษฐานพรรษากัน นี่เราก็ตั้งใจภาวนา ๑ พรรษาไง ออกพรรษาแล้วเวลามันก็น้อยลง ๑ พรรษา การทำผิด-ทำถูกถึงได้ขอขมากันไง เพื่อไม่ให้เป็นโทษ มีความผิดพลาดก็ให้อภัยกัน เพื่อไม่ให้เป็นโทษต่อไป

บูชาพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์...บูชาธรรมสิ เราต้องบูชาธรรม ธรรมะพระพุทธเจ้า “บูชาธรรม” ถ้าเราตั้งใจจะบูชาธรรม เราเชื่อมั่นในธรรมะของพระพุทธเจ้า “บูชาธรรม” การบูชาธรรมบูชาด้วยร่างกาย ร่างกายและจิตใจ การประพฤติปฏิบัติ การสำรวมกาย วาจา ใจ การสำรวมกาย วาจา แล้วก็ใจมันสำรวม-ไม่สำรวม เพื่อบูชาธรรม บูชาธรรมเลย ถ้าเราตั้งใจตรงนี้เราบูชาธรรมแล้วเราจะได้ธรรม

เราไม่ได้บูชาธรรมด้วยความจริงจังไง สักแต่ว่าบูชาธรรม เขาบูชายัญกัน บูชายัญเขาต้องฆ่าสัตว์ เขาต้องมีการฆ่าสัตว์ มีการเอาเลือดมาทาบูชายัญเลย แต่บูชายัญอย่างนั้น ยิ่งบูชาเท่าไรยิ่งได้บาป มันเป็นการทำลายกัน เป็นการรังแกกัน เพื่อจะเอาความดีอีกฝ่ายหนึ่งไง แต่บูชาธรรมนี่ร่างกายเราเก็บกิริยาทั้งหมด สำรวมทั้งหมด ยกกายนี้บูชาธรรม หัวใจบูชาธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้านะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรม เป็นผู้ตรัสรู้ ตรัสรู้ธรรมะ บูชาธรรมอันนี้ไง ธรรมะแท้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรม พระอริยสาวกทั้งหลายเป็นผู้บรรลุธรรม ไม่ใช่ตรัสรู้ธรรม “เป็นผู้บรรลุธรรม” เพราะเป็นผู้ตาม ผู้ตรัสรู้คือผู้ที่ค้นคว้า เป็นผู้ที่หาเอง พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็นผู้ค้นคว้าก็ตรัสรู้ธรรมแต่เป็นพระปัจเจก พระพุทธเจ้านี่เป็นผู้ตรัสรู้เลย ตรัสรู้ธรรมะ ธรรมะอันประเสริฐ ธรรมไง ธรรมแท้ๆ ไง บูชาธรรม เราจะบูชาธรรมอันนั้น บูชาธรรมะของพระพุทธเจ้าอันนั้นไง

“บูชา” เอาอะไรบูชา?...อย่างอื่นบูชาก็เป็นเครื่องอามิสสินจ้าง เป็นอามิส เป็นการบูชากันแบบภายนอก...เอาหัวใจบูชาธรรม เพราะธรรมกับหัวใจนั้นมันถึงกัน บูชาธรรม หมายถึงมันเสพถึงธรรมไง หัวใจสัมผัสธรรมะพระพุทธเจ้าไง ความสัมผัสธรรมอันนั้นเป็นธรรมแท้ๆ การบูชาจากภายนอก การบูชา เราตั้งใจ เรามีความจริงจัง เราบูชาเพื่อเปิดหัวใจนี้เข้าไปสัมผัสกับธรรม จากการบูชาด้วยวัตถุด้วยอามิส เราบูชา เราตั้งใจ เราจงใจเข้าไปถึงตรงนั้นไง ถึงธรรมแท้ๆ ไง ธรรมแท้ๆ นั้นมีอยู่

พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์เท่านั้นที่เป็นผู้ที่สัมผัส หัวใจเท่านั้นเป็นภาชนะที่จะไปสัมผัสธรรม ธรรมอันเอกไง หัวใจของพระพุทธเจ้า หัวใจนะ คือจิต “อาสเวหิ” อาสวะสิ้นไป “จิตฺตานิ” จิตดวงนั้นเป็นธรรมทั้งแท่ง เป็นธรรมล้วนๆ ไง “จิตฺตานิ วิมุจฺจิง สูติ” จิตนั้นเป็นผู้วิมุตติ จิตนั้นเป็นธรรม ธรรมทั้งแท่งเลย ใจนั้นถึงว่าเป็นภาชนะบรรจุธรรมไง

การบูชาจากเริ่มต้นเข้าไป จาก ๑ ๒ ๓ ๔ เข้าไป อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หัวใจนี้เข้าไปบีบบี้ เอาหัวใจนั้นเข้าไปในอริยสัจ ผ่านจากเครื่องอริยสัจออกมาจากใจที่สกปรก ออกมาเป็นธรรมทั้งแท่ง นี่บูชาธรรมอันนั้น เราจะจงใจบูชาธรรมอันนั้นไง

หัวใจเป็นผู้ที่มีกิเลสทั้งแท่งไง กิเลสทั้งดวง ดวงใจนี้เป็นกิเลสทั้งหมด กิเลสนี้เป็นนามธรรม “กิเลส” กิเลสนี้ เพราะว่าการในลัทธิศาสนาสมัยพุทธกาลบอกว่า อยู่ไป เสพไป การเสพมากๆ การเสวยสุขมากๆ อยู่ในกามแล้วมันจะพ้นไปเกิดดับๆ ๕๐๐ ชาติ มีนะ มีในสมัยพุทธกาลก็มี ความเชื่อที่ผิดๆ ไง

กิเลสนี้ไม่เหมือนกับวัตถุทั่วไป วัตถุสิ่งของมันเป็นอนิจจัง มันต้องแปรสภาพทั้งหมด สิ่งใดๆ คงที่...ไม่มี สิ่งที่เป็นสิ่งที่คงที่เป็นอัตตา...ไม่มี มันเป็นอนัตตาทั้งหมด มันเป็นอนัตตานะ เป็นอนัตตาโดยธรรมชาติ

แต่หัวใจ หัวใจกับกิเลส ถ้าเป็นอนัตตามันต้องแปรสภาพสิกิเลส กิเลสนี้ต้องแปรสภาพไป กิเลสนี้มันต้องหายไป ต้องหลุดพ้นออกไปแบบที่เขาเข้าใจกัน...มันไม่เป็นแบบนั้นน่ะ กิเลสนี่มันมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด...มีหยาบๆ มีอย่างกลาง มีอย่างละเอียด...อย่างละเอียดมันเป็นนามธรรม มันอยู่กับหัวใจ หัวใจนี้มันหมุนเคลื่อนไหวไป กิเลสมันตามไปด้วย ความที่ว่ามันเป็นอนิจจังมันเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับในหัวใจ แต่มันเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นอนุสัย

กิเลสนี้มันถึงไม่เป็นอนิจจังไง กิเลสนี้มันถึงไม่หมด...มันไม่ตายว่าอย่างนั้นเลย กิเลสนี้คงที่ แต่มันเกิดดับเป็นอนิจจัง หมายถึงว่ามันเป็นอารมณ์ชั่ววูบ แต่มันเป็นเนื้อเดียวกับหัวใจ มันถึงได้ต้องเกิดตายไปกับหัวใจทุกๆ ดวงนี้การเกิดการตายในวัฏวนนั้น นี่มันเป็นกิเลส อันนั้นถึงว่ามันไม่เคยสัมผัสธรรมไง กิเลสนี้กลัวธรรมะพระพุทธเจ้าเท่านั้น กลัวธรรมนะ กลัวธรรม ธรรมอันไหน เห็นไหม กิริยาของกิเลส มันเกิดดับๆ

ธรรมะหยาบๆ ของพระพุทธเจ้าให้มีศีลให้มีทาน ให้มีศีล ให้มีภาวนา

นี่มันกลัวธรรมทั้งนั้น ตรงนั้นหรอก กลัวธรรมตรงไหน เพราะกิเลสมันตระหนี่ถี่เหนียว มันอาฆาตมาดร้ายไง นี่กิเลสแบบหยาบๆ อันนี้กิเลสแบบหยาบต้องใช้วัตถุทาน การสละออกด้วยทานมันต้องเกิดที่หัวใจ “หัวใจ” ความคิดอยากจะให้ มันจะต่อต้านก็ต้องตรงนั้นเลย การสละ สละด้วยทาน เอาทานออกไป เราทำทาน เราทำบุญกุศล นั่นน่ะ ตัวนั้นเป็นตัวเริ่มขัดแย้งกับกิเลสแล้ว ขัดแย้งกับความตระหนี่ถี่เหนียว ขัดแย้งกับความยึดมั่นถือมั่นในหัวใจไง ของสรรพสิ่งนี้เป็นของเรา เราไม่ยอมออกไป ไม่ยอมสละออกไป

แต่เพราะว่าเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าบอกว่า การสละ การเผื่อแผ่ อันนี้เป็นธรรม การเจือจานกัน อันนี้เป็นธรรม นี่มันกลัวธรรมอย่างนั้น นี่ธรรมแบบหยาบๆ นะ โลกยังทำกันด้วยความยากลำบากเลย อย่างเช่น การทำบุญกุศลโลกเขาทำด้วยความง่ายหรือด้วยความยาก โลกเขาทำด้วยความยากลำบาก เพราะว่ากิเลสมันเต็มหัวใจอย่างหยาบ เราสละผ่านขั้นตอนนั้นมาแล้ว เราเข้าใจเรื่องธรรมะ เข้าใจเรื่องธรรมะของพระพุทธเจ้า...นี่บูชาธรรม

“ธรรมะ” ธรรมะของพระพุทธเจ้า ว่าการสละออก มันเป็นประโยชน์ของตัว ไม่ใช่ประโยชน์ของผู้ที่ได้รับผลอันนั้น เราสละออกไปให้ใครก็แล้วแต่ คนๆ นั้นเขาได้แต่วัตถุไป แต่บุญกุศลนี่เป็นของเรามันเข้ามาในหัวใจ ความเป็นบุญกุศล ความกุศลคือว่าหัวใจนั้นมันเริ่มเปิดกว้างขึ้น หัวใจแบบว่าไม่มีทางออกเลย หัวใจที่มืด หัวใจที่ไม่มีทางออก หัวใจที่ไม่มีทางไป...เริ่มมีแสงสว่างขึ้นมาน่ะ มีแสงสว่างขึ้นมาแล้วมันเริ่มจากว่า การเปิดพื้นที่ในหัวใจไง พื้นที่มันมืดไปหมดไม่มีที่ยืนเลย หัวใจเริ่มให้ธรรมะเข้าไปยืน ให้ธรรมะเข้าไปยืน

ยืนอะไร?...ยืนด้วยการสละทาน ด้วยความเปิดช่องว่างจากกิเลส กิเลสมันตัวปิดกั้น มันตัวไม่ยอม พอมันมีช่องว่าง ช่องว่างให้ธรรมะเข้า มีทาน มีศีล “มีศีล” ศีลจะกำหนดขอบเขต “มีทาน” มีความคิดออกไป มีศีลเข้ามาขอบเขตไม่ให้อิสระเสรีจนเกินกว่าเหตุ อิสระเสรีสิ ทำอะไรก็ได้ตามใจตัว เห็นไหม ศีลเข้ามาปกป้อง ศีลเข้ามาขอบเขตไว้ไม่ให้ทำ ไม่ให้รังแกกัน ไม่ให้รังแกใคร ไม่ให้รังแกหัวใจนั่น

ความคิดที่เกิดขึ้นจากใจนะ ใจนี้เป็นพลังอันหนึ่ง เป็นพลังงาน แต่ความคิดที่เป็นขันธ์ออกไป ความคิดที่เกิดขึ้นจากหัวใจ ขันธ์ ๕ ไง เวลาเราไม่คิดความคิดอยู่ที่ไหน แล้วพอคิดขึ้นมา คิดขึ้นไปแล้วไปไหน คิดขึ้นมาเพื่อมาทำลายหัวใจของตัวเองไง ทำลายตรงไหน ทำลายที่เกิดความทุกข์ไง เกิดความเศร้าหมองไง เวลาอารมณ์เกิดขึ้น ความคิดที่รุนแรงขึ้น ความคิดเกิดขึ้นจากจิต แล้วก็กลับมาหลอกจิต แล้วก็มาบีบบี้สีไฟที่หัวใจดวงนั้น นี่มโนกรรมนะ

อธิศีล คือความบริสุทธิ์ของใจ ไม่คิดออกไป สิ่งที่ว่าเป็นความคิดที่ผิด นี่ตบะธรรมมันเริ่มเผาเข้ามา เผาเข้ามา ตบะธรรมนะ เผากิเลสให้กิเลสมันยุบยอบเข้ามา ความคิดเกิดขึ้นเราก็ต้องเชื่อความคิดเรา เราว่าเราคิดถูก แต่ความจริงอันนั้นคิดผิดหมดเลย เพราะอะไร เพราะเรามีกิเลสอยู่ที่หัวใจ “ความคิด” กิเลสนี้เป็นเนื้อเดียวกับใจ ความคิดมันต้องคิดด้นคิดเดา คิดคาดคิดหมายไป

การศึกษาธรรมะมาเป็นปริยัติ “การลงพื้นที่” การลงพื้นที่เราต้องดูแผนที่ก่อนที่เราไม่เคยไป พอเราดูแผนที่ เราศึกษามาเป็นปริยัติ สุตมยปัญญา ความคิดอันนี้ถูกหรือผิด ทั้งๆ ที่เป็นธรรมะพระพุทธเจ้านะ แต่เราศึกษาเล่าเรียนมาแล้ว เราจำอันนั้น เราปฏิบัติเข้าไปสิ ความจริงเป็นอีกอย่างหนึ่ง ความจริงเกิดขึ้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ความคิดก็เหมือนกัน นี่ขนาดธรรมนะ แล้วความคิดแบบโลกที่เกิดขึ้นขึ้นมา เราคิดขึ้นมา มันจะเป็นความจริงอย่างนั้นเหรอ

มันโดนหลอก ๒ ชั้นนะ กิเลสหลอกอย่างหนึ่ง ชั้นหนึ่งแล้วที่มันขึ้นมา แล้วเราเชื่อตามกิเลสนั้นไปอีกชั้นหนึ่ง ให้ผลเพราะความเชื่อนั้นเป็นการกระทำไปต่อเนื่อง เกิดผลขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เห็นไหม ความคิดอันนั้นก็ผิดแล้วชั้นหนึ่ง การเชื่อความคิดแล้วทำตามไปอีกชั้นหนึ่ง ความคิดนี้มันถึงไม่จริง แล้วไม่จริง เราจะดูอย่างไรถึงว่าไม่จริง

ถ้าเราคิดแล้วความคิดออกไป เราทำไปแล้วมันเห็นผลใช่ไหม อันนั้นมันเป็นผล เราแก้ไขไม่ได้แล้ว มันต้องเป็นปัจจุบันธรรมพร้อมกับความคิดที่เกิดขึ้น ถึงต้องย้อนกลับมาดูตรงนี้ไง ย้อนกลับมาดูความคิด เวลามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ความคิดนี้เริ่มเป็นอนิจจัง “สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นต้องเป็นความทุกข์” เพราะมันไม่คงที่ มันไม่จริงไง สิ่งที่เป็นอนิจจังคือความปลอม อนิจจังมันเป็นของไม่คงที่ มันเป็นของปลอม เป็นของชั่วคราว มันเป็นของที่พึ่งไม่ได้ทั้งนั้นเลย แล้วเราจะไปหยิบของที่พึ่งไม่ได้มาเป็นที่พึ่งเหรอ

มันถึงว่ามันเป็นอนิจจัง มันถึงได้เป็นทุกข์ เพราะมันเป็นของไม่จริง “สิ่งใดที่เป็นทุกข์ สิ่งนั้นต้องเป็นอนัตตา” ความทุกข์นี้ก็เคลื่อนไหวไปตลอดเวลา แล้วเราก็อยู่ในอารมณ์อย่างนี้ อารมณ์อย่างนี้เกิดขึ้น นี่มันเป็นธรรมชาติของมัน ธรรมชาติ ธรรมชาติของกิเลสไง ธรรมชาติของกิเลสนี้มันอยู่ที่หัวใจ แล้วเราก็เชื่อตาม หมุนไปจนถึงว่ามันหมุนไปจนถึงที่วันตายหมดเวลา ถึงวันตายก็หมดเวลานะ เราต้องตายไปอีกชาติหนึ่ง

แล้วความคิดที่เกิดขึ้นนี่มันจะจริงหรือไม่จริงมันเป็นทางโลกหมด เราต้องดูนี้ให้ดับไง ดูนี้ให้หยุด...สติยับยั้งได้ไหม สติยับยั้งเข้าไปสิ สติยับยั้ง ยับยั้ง กดไว้ๆๆ ดูไง ดูความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ความเกิดขึ้นและตั้งอยู่ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป...มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นสัจจะความจริงอันหนึ่ง แต่เราปล่อยอันนี้ไป ปล่อยสิ่งที่เกิดขึ้น ควรจะเอาเป็นประโยชน์ ให้เราไม่ได้รับผลประโยชน์จากมันไง ถ้ามองว่ามันเป็นธรรมชาติ มันเป็นความคิดของเรา เราว่าอันนี้เราทำอะไรไม่ได้เลย นี่สภาวะตามที่เขาคิด โลกคิด คิดอย่างนั้นไง

ทุกคนบอก คนเราเกิดมาต้องแก่ คนแก่ต้องเจ็บ คนเจ็บต้องตาย เท่านั้นน่ะ พออย่างนี้ว่าเข้าใจธรรมะแล้ว ความคิดก็เหมือนกัน กาลเวลาผ่านไป แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมันก็เป็นไปโดยความเป็นจริง แล้วเราก็มองอย่างนั้นเอง แต่พระพุทธเจ้าสอนลึกกว่านั้นไง สอนที่ว่ามันเกิดขึ้น มันตั้งอยู่ แล้วมันดับไป แล้วเราได้ประโยชน์อะไรจากมันไง

การเห็นไตรลักษณ์ พิจารณานะ มันจะเป็นไตรลักษณ์

ถ้าใครเห็นไตรลักษณ์ เห็นไตรลักษณ์แล้วมันสลดใจไง ความที่เห็นสลดใจ ตัวที่เห็นไตรลักษณ์ มันไม่มีแก่นสารใดๆ ทั้งสิ้น ความปล่อยวางจากความคิด ไอ้ตัวที่ว่าเป็นธรรมๆ นั่นน่ะ มันปล่อยวางจากตรงนี้ สิ่งที่ใจเราเป็นพลังงานของใจ พลังงานตัวนี้ออกมาเป็นขันธ์แล้วมันเป็นความคิด มันเป็นสิ่งที่ใช้กัน สิ่งที่โลกนี้ใช้กันไง แต่ถ้ามันมีความรู้สึกที่เราต้อนความคิดออกไว้ให้ตัวจิตได้ดู ไอ้ความที่มาดูอารมณ์อันเกิดขึ้นนี่มันจะปล่อยตรงนี้ไง พอปล่อยตรงนี้ ไอ้สิ่งที่มันเป็นขันธ์ ๕ มันหมุนออกไป มันเป็นเรื่องของปกติธรรมชาติของความคิด ปกติของโลก

ความเข้าใจตามความเป็นจริง แล้วมันปล่อยสิ่งตรงนี้ อันนั้นธรรมแท้ ธรรมแท้เป็นพลังงานอีกอันหนึ่ง ไม่ใช่พลังงานความคิดที่เราคิดกันอยู่นี่ไง พลังงานที่ปล่อยวางตัวนี้ พอปล่อยวางมันก็โล่งมันก็โถงสิ ปล่อยวางความคิดนะ ปล่อยวางอารมณ์ ปล่อยวางธรรมารมณ์ทั้งหมด

การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมไง นี่ธรรมภายใน มันถึงสะอาดขึ้นไง จากที่มันคิดออกมาเป็นอรูปเลย พอมันปล่อยออกไปจากการเห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่ปล่อยด้วยกำปั้นทุบดิน ปล่อยเพราะการสมุจเฉทปหานจากการเดินอริยมรรค การเดินอริยมรรคภายในนะ นี่โทษของความไม่รู้เท่าไง โทษของการว่าตัวเองรู้แล้วไง ตัวเองว่าเป็นกิเลสไง ความเป็นกิเลสที่หมุนออกมา กิเลสมันก็ต้องบีบบี้สีไฟ ยื้อแย่งที่ในหัวใจทั้งหมด เวลาคิดออกมันมาว่าเป็นความถูกทั้งหมด

แต่ที่ว่าบูชาธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมอันที่ความเป็นจริงอันนั้นต่างหากล่ะ ธรรมที่การปล่อยวาง ปล่อยวางตามความเป็นจริงนะ ปล่อยวาง ปล่อยวางตามความเป็นจริง ไม่ใช่ผลักไส ไม่ใช่ไม่ให้เกิด อัตตกิลมถานุโยค-กามสุขัลลิกานุโยค...ไม่ใช่ อันนี้มันกามสุขัลลิกานุโยคก็การชุ่มอยู่ในกาม การชุ่มอยู่ในความคิดอันนั้น อัตตกิลมถานุโยคก็การผลักออกไปไง

แต่ความเข้าใจตามความเป็นจริง แล้วสมุจเฉทปหานตามความเป็นจริง อันนั้นออกมาอีกอันหนึ่งเป็นธรรม ความรู้สึกออกมาไง มันจะปล่อยออกเอง ต้องสมุจเฉทปหาน สมุจเฉทปหานตรงนี้ เพราะความติดมันติดอยู่ที่ใจ ใจนี้คิดออกมาเป็นรูป รูปนี้ผ่านกาย ถ้าสมุจเฉทปหานที่ใจ มันก็หลุดออกไปจากกายด้วย จากความคิดด้วย เพราะความคิดมันเกี่ยวเนื่องกัน เพราะความคิดนี้เป็นกิเลส กิเลสเดิมมันอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว มันหมุนออกมาพร้อมกับความคิดของเรา เราใช้ความคิดนี้เกิดดับ เกิดดับ ที่เห็นว่าเป็นของปกติธรรมดาที่เรามองไม่เห็นประโยชน์ของมันนี่ไง จับมาพิจารณาดู

ถ้าจับตรงนี้ไม่ได้มันก็เป็นอย่างนี้ เป็นแบบปกติที่ว่า เกิดมาแล้วก็คลำๆ กัน ลูบๆ คลำๆ กันไป ตายไปอีกชาติหนึ่ง ก็ว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมไง ลูบๆ คลำๆ อารมณ์อันนั้นไปไง เขาว่า “เป็นการปฏิบัติๆ เป็นธรรมชาติ” เพราะมันความว่ามันเป็นธรรมชาติ มันก็ทำให้เราไม่ทำอะไรเลยไง เพราะอารมณ์นี้เป็นธรรมชาติ ความคิดนี้มันต้องมีโดยธรรมชาติ นิวรณธรรมทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยความเป็นจริงโดยธรรมชาติทั้งหมด...ถูกต้อง เพราะไม่มีตัวนี้ก็ไม่มีวิปัสสนาญาณไง

การกำหนดให้ความสงบลงเป็นสมถะ “เป็นสมถะ” การทำความสงบ พอจิตมันสงบขึ้นมามันก็เวิ้งว้างเหมือนกัน เวิ้งว้างอันนี้ไง คือว่าเป็นสมาธิ เป็นสมาธิเป็นความสุขอันหนึ่ง ความเวิ้งว้างอันนี้ใช่ไหม เราเข้าใจว่าอันนี้เป็นผลไง และการต่อสู้การวิปัสสนาอันนั้นทำไม่ได้ อันนั้นทำไม่ได้เพราะอะไร เพราะสิ่งที่มันเกิดดับในหัวใจนี้มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่งอยู่แล้ว ถ้าเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง เราจะไม่สามารถทำลายมันได้ไง เข้าใจว่าเราจะไม่สามารถไปทำลาย ไปยื้อแย่งจากสิ่งที่เป็นตามความเป็นจริงได้ สิ่งที่มีอยู่เราไม่สามารถทำได้

ทีนี้ สิ่งที่มีอยู่นี่ไม่ได้มีการวิตกว่าสิ่งที่มีอยู่เป็นตามความจริงนี่มันเป็นตามความเป็นจริงแล้วมันมีกิเลสอาศัยสิ่งที่ตามความเป็นจริง มันมาตามน้ำ กิเลสมันอาศัยกระแสที่ความคิดออกมาเป็นขันธ์นี้แล้วกิเลสมันก็อาศัยเป็นเจ้านายอยู่หลังความคิดนี้ มันอาศัยเครื่องมือนี้เป็นทางผ่านไง มันมาตามน้ำด้วย มันมาอาศัยนอนเนื่องตามกันออกมา ถึงว่าการเกิดดับนี้เป็นความจริง ความคิดนี้มีอยู่ตามความปกติ แต่เราต้องเอาสิ่งนี้มาเพื่อชำระ เพื่อจะกำจัดสิ่งที่ตามความคิดนี้ออกมา ความคิดนี้ถ้าเรากำจัดกิเลสออกไปแล้ว ความคิดก็มีอยู่แบบธรรมชาติอย่างเก่านั่นล่ะ แต่เป็นความคิดแบบธรรม

ความคิดแบบโลกทำให้เรามีความทุกข์กันอยู่นี่ไง “ความคิดแบบโลก” แม้แต่ปฏิบัติก็ปฏิบัติแบบโลกๆ ว่าเป็นธรรมชาติไง ปฏิบัติแบบโลกๆ คือว่าทำไปสักแต่ว่าทำ ไม่มีความรุนแรง ไม่มีการต่อสู้ตามความเป็นจริงของธรรมะพระพุทธเจ้า ธรรมะพระพุทธเจ้าต้องใช้การต่อสู้ ต้องใช้การถากถางไง ถากถางเข้าไปตรงความคิดอันนั้นน่ะ ความคิดนี้เป็นนามธรรม ความคิดนี้ไม่มีวันแตกสลาย ถากถางหรือการต่อสู้แล้ว ความคิดนั้นมันจะเดินด้วยตบะธรรม ด้วยการเผาผลาญนั้น ความคิดนั้นมันจะแยกออกจากกิเลสได้ไง

กิเลสนี้อาศัยมาจากความคิด มันเป็นเชื้อ เอาความคิดนี้มาตั้งเป็นโจทย์ไง แล้วเราก็วิปัสสนา การทำลายกันเข้าไปไง สิ่งที่เป็นนามธรรม จะบีบบี้สีไฟจะทำจะทุกข์ขนาดไหนแล้วมันก็เป็นความคิดอันนั้น มันไม่บุบสลายหรอก แต่กิเลสที่นอนเนื่องมากับความคิดอันนั้น มันจะโดนทุบจนมันต้องหลุดออกไป เพราะมันเป็นสมุทัย มันเป็นความอยาก มันเป็นความไม่อยาก มันเป็นความที่ว่านิ่งอ้อยอิ่งอยู่ในความคิดนั้น มันเป็นสมุทัย มันเป็นตัณหา ตัณหาที่อาศัยความคิดนี้ออกมา ตัณหาที่ใช้ความคิดของเรา ตัณหาที่ใช้เรา ตัณหาที่นอนเนื่องอยู่ในความคิดของเรา มันอาศัยความคิดอันนี้ กินไหม้แบบไหม้กองแกลบ อาศัยกินความคิดออกมาด้วยกัน

ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจว่าสิ่งนี้มันเป็นธรรม เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ไปทำมันไม่ได้ มันมีอยู่โดยความเป็นจริง เราจะทุกข์หรือเราจะแก้ไขไม่ได้ ก็เพียงแต่การลูบๆ คลำๆ กันไปไง การว่าธรรมะมันเป็นธรรมชาติ ความคิดนี้เป็นธรรมชาติ ก็ให้มันเกิดดับเท่านั้น เห็นสภาวะความเกิดดับอันนั้นถือว่าอันนั้นเป็นความเห็นธรรม...ไม่ใช่ เห็นการเกิดดับ “เห็นการเกิดดับ” ต้องเห็นโทษของการเกิดดับ เห็นโทษของการเข้าใจผิด เห็นโทษของการเราหลงไปตามมันไง

ถึงบอกความคิดที่มีกิเลส ที่มันดึงเราออกไปด้วย ดึงความรู้สึก ดึงความทุกข์ออกไปทั้งหมดเลย ออกไปพร้อมกับเรา เราต้องเสวยอารมณ์นั้นไปทุกข์ไปร้อน จนเรามีแต่ความเร่าร้อนเผาหัวใจ เห็นไหม นั่นเป็นความคิดของโลกเขาไง เรากลับมาดูสิ สิ่งที่เราหลงไปกับความคิดนี้ ความคิดนี้มันดึงเราออกไป เราทำไมไปตามมัน เราทำไมยับยั้งมันไม่ได้

เริ่มยับยั้งได้นั่นก็เป็นแค่สมถธรรม สมถธรรมนะ ยับยั้งแล้วก็ปล่อย ยับยั้งแล้วมันก็ไม่คิดออกไป เพราะว่าเหมือนกับมีขโมยมาขโมยของแล้วเราตามไปเจอ ขโมยนั้นอย่างมากก็หันหน้ามามองหน้าแล้วหลบตาไป...เราเท่าทันความคิดของเราก็เป็นแบบนั้น ความคิดนี้จะเกิดไม่ได้ มันก็แค่สงบตัวลง เหมือนกับว่ามีคนมาควบคุมอยู่ไง พอมีคนมารู้เท่ารู้ทันเรา มันก็จะอาย มันก็จะสงบตัวลงๆๆ สงบตัวลงเฉยๆ สงบตัวลงแล้ว ทีนี้ความคิดใหม่ออกมา นั่นล่ะ เพราะมันสงบตัวลงแล้ว มันเป็นธรรมแล้ว การวิปัสสนาเกิด นี่มันต้องมีการต่อสู้อย่างนี้มันถึงจะเข้าถึงเนื้อธรรมแท้ไง

ไม่ใช่ว่าเข้าไปลูบๆ คลำๆ แล้วมันจะเป็นธรรมนะ ถ้าธรรมมันง่ายอย่างนั้น ดูกิเลสมันร่วนมันซุยอย่างนั้นเหรอ กิเลสน่ะ กิเลสนี้เหนียวแน่นมาก ดูเราเกิดตายๆ กันมาขนาดนี้ กี่ภพกี่ชาติ แล้วมันอยู่กลางหัวใจมาตลอด มันเป็นความรู้สึกอันนั้นตลอด

จากสิ่งที่เป็นสกปรกโสมมนะ การชะการล้างยังแสนยากเลย แต่อันนี้มันนอนเนื่องมาพร้อมกับ...เครื่องมือใดๆ ในโลกนี้มันไม่ทำไม่ได้ เครื่องมือในโลกนี้นะชะล้างอะไรก็แล้วแต่ ความสกปรกแค่ไหนเขาก็ล้างของเขาไปนะ จะตีน้ำเสีย จะแบบว่าชำระน้ำเสียให้เป็นน้ำสะอาด อันนั้นมันเป็นวัตถุทั้งหมดเลย

แต่นามธรรมที่เป็นหัวใจ แล้วเอาเครื่องมืออะไรเข้าไปทำ...ไม่มี ยกเว้นธรรมะพระพุทธเจ้า ว่ากิเลสถึงกลัวธรรมไง ธรรมนี้เกิดขึ้นที่ไหน ศึกษาเล่าเรียนมานั้นเป็นสุตมยปัญญา จินตะก็คาดเดา มันต้องเกิดภาวนามยปัญญาไง

“กิเลส” กิเลสมันอยู่ที่หัวใจใช่ไหม ภาวนานี้เกิดจากอะไร ภาวนามยปัญญาก็เกิดจากศีล สมาธิ ปัญญานี่ไง นี่มันจะเริ่มเข้ากันตรงนี้ เริ่มจากว่า เราศึกษาแบบแปลนแผนผังมา แล้วเราก็มาสร้างโรงงานขึ้นมาในหัวใจเรา จากทำให้จิตสงบ จิตตั้งมั่น นี่จิตตั้งมั่นนะ จิตสงบบ่อยๆ เข้า จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นน่ะสร้างแค่โครงสร้างของโรงงานเท่านั้นเอง นี่สร้างโรงงานขึ้นมาแล้ว สร้างขึ้นมาเพื่อจะจำกัดกิเลสไง ขอบข่ายของมันไม่ให้มันเกิดไง จากที่ว่ามันไป ๓ โลกธาตุนี่หัวใจไปเสวยได้หมด ความคิดนี้มันไปเสวยไปเสพหมดเลย เรากำจัดด้วยความตั้งมั่นของใจ

การศึกษาเล่าเรียนมาเป็นการศึกษาเล่าเรียนมา ถึงว่าธรรมะพระพุทธเจ้ามีพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์เท่านั้นที่เข้าไปเสพธรรมไง ฉะนั้น ถึงว่ามันไม่มีอาวุธใดๆ เลย ไม่มีสิ่งใดเข้าไปจับต้องได้เลย นี้พระพุทธเจ้าสอนไว้ สอนตรงนี้ไว้แล้วเราศึกษามา ศึกษามาจำหรือศึกษามาปฏิบัติ ถ้าศึกษามาปฏิบัติ จำก็จำไว้ แต่เวลาปฏิบัติต้องปล่อยวาง แล้วทำแบบคนที่ไม่รู้อะไรเลย กำหนดให้จิตนี้สงบให้ได้

ฟังธรรมก็กำหนด กำหนดกระแสธรรม นี่จิตมันเกาะเอง มันเกาะธรรมนะ จิตมันเกาะธรรม เกาะธรรมๆ เกาะจนมันสงบตัวได้ แต่ถ้าเป็นปัญญา มันฟังธรรมมันหมุนตามธรรม มันจะหมุนตามไปด้วย หมุนตามไปด้วย นี่เห็นไหม ความสงบอย่างหนึ่ง นี่ถึงว่าใจตั้งมั่นอย่างหนึ่ง “ใจตั้งมั่น” พอใจตั้งมั่นขึ้นมา พอใจตั้งมั่นแล้วเริ่มจะเกิดวิปัสสนา พอวิปัสสนามันก็เกิดเป็นปัญญา นี่ภาวนามยปัญญา

กิเลสเป็นนามธรรมอยู่ที่หัวใจ ภาวนามยปัญญาก็เป็นนามธรรม “ภาวนามยปัญญา” ปัญญาที่เข้าไป หมุนเข้าไปเป็นธรรมจักร ธรรมจักรที่ทำเป็นรูปแบบข้างนอก จักรเคลื่อนไป “ธรรมจักรนี้ได้เคลื่อนแล้ว” แต่กิเลสที่มันนอนในหัวใจมันก็หัวเราะเยาะ เพราะคนที่มีกิเลสอันนั้นเป็นช่างปั้น เป็นคนทำธรรมจักร หมุนไปไง ธรรมจักรที่เป็นกงล้อหมุนไป แต่มันได้ชำระกิเลสใคร เพราะคนยิ่งทำมันยิ่งส่งเสริมกันไปๆ สนุกเฮฮากันไป

แต่ภาวนามยปัญญา จักรของธรรมที่เกิดขึ้นที่หัวใจนี้ มันเกิดขึ้นจากหัวใจของเรา เกิดขึ้นจากนามธรรมกับนามธรรมมันจะชำระล้างกัน ธรรมจักรข้างนอกกับจักรข้างใน ธรรมจักรข้างนอกกับธรรมจักรข้างในหัวใจของเรา หัวใจเท่านั้นเป็นผู้เสพธรรม หัวใจเท่านั้นที่มีกิเลส หัวใจที่มีกิเลสจะมีการแบ่งให้ธรรมนั้นเข้ามาจากการภาวนามยปัญญาตัวนี้ไง

“ความคิดที่เป็นธรรม” ความคิดที่เป็นธรรมนี้จะไม่เอนเอียง ความคิดที่เป็นธรรม

ความคิดเป็นโลกมันเข้ากับเรา-เข้ากับเขา เราผิด-เราถูก

แต่ถ้าเป็นธรรม ธรรมหยาบๆ แล้วก็จะเป็นธรรมอย่างกลาง แล้วก็จะเป็นธรรมอย่างละเอียด ละเอียดจนละเอียดสุดเข้าไปในหัวใจ ธรรมอย่างหยาบ เริ่มธรรมจักรอย่างหยาบ มันจะหมุนเข้ามาชำระกิเลสออกไปเรื่อยๆ ให้มันเกิดธรรมอย่างที่ละเอียดเข้าไป สิ่งที่จะเป็นความละเอียดเข้าไปเกิดจากความหยาบก่อน จากที่ไม่มีอะไร มีแสงสว่างขึ้น การทำงานที่มีแสงสว่างขึ้นมา การหยิบของอะไรมันก็ง่ายขึ้น การหยิบของการจะทำให้มันละเอียดเข้าไปมันยิ่งง่ายขึ้น เหมือนกัน มีธรรมอย่างหยาบๆ หมุนเข้ามาจิตตั้งมั่น วิปัสสนาเกิดขึ้น ธรรมจักรเกิดขึ้นจากภาวนามยปัญญา

ถ้าจิตมันสงบ จิตตั้งมั่นแล้ว ถ้าเข้าใจว่าอันนั้นเป็นผล...ตาย เพราะว่ากิเลสมันเคยเป็นเจ้าครองหัวใจ มันเป็นอิสระอยู่ที่หัวใจ มันจะทำอย่างไรก็ได้ พอเกิดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิธรรมขึ้นมา กิเลสมันจะหลบตัวลง เพราะมันรู้ว่าแสงสว่างเปิดแล้ว อยู่ในที่มืดทำอะไรมันก็ทำได้ พอมีแสงสว่างขึ้นมามันจะทำอะไรมันมีผู้ที่ตรวจสอบมันได้ มันก็จะหลบซ่อน หลบซ่อนรอจนกว่าความแสงสว่างนั้นจะมอดลง เริ่มสลัวแล้วก็มืดอย่างเก่า จิตตั้งมั่นแล้ว มันก็ต้องแปรสภาพต้องเสื่อม ถ้าจิตสงบแล้วมีความสว่างเกิดขึ้น แล้วเราว่าอันนั้นเป็นผลไง

อันนี้เป็นผลขึ้นมาแล้ว เพราะเราไปจับทำอย่างอื่นไม่ได้ ทำอย่างอื่นไปแล้วมันเป็นของที่มีอยู่ ของที่มีอยู่เราจะไปขยับให้มันหายไปไม่ได้ แต่ไม่ได้คิดเลยว่ากิเลสที่มันอาศัยของใช้ออกมาต่างหาก เราต้องการตรงนั้นน่ะ ถึงจิตตั้งมั่นแล้วต้องเดินอริยมรรคไง เดินเป็นธรรมจักร เดินเป็นการงานชอบ ความเพียรชอบ ความเพียรภายนอก สัมมาอาชีวะภายนอกกับอาชีวะภายใน การเลี้ยงชีพ การเลี้ยงหัวใจ กับการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง การประกอบอาชีพ มรรคหยาบๆ

มรรคที่ละเอียดเข้าไปข้างใน ความตั้งให้ใจคงที่ เลี้ยงชีวิตที่ถูกต้องไง

แม้แต่จิตมันสงบแล้วเราไปคิดอย่างอื่น นั่นน่ะ เลี้ยงชีวิตผิดแล้ว เลี้ยงหัวใจนี้ผิด เลี้ยงธรรมจักรนี้ผิด การหมุนไปของจักรนี้มันจะแกว่ง เลี้ยงให้ถูกต้องสิ ความเพียรชอบ การงานชอบ การประกอบอาชีพชอบ เป็นสมาธิชอบ เห็นไหม เป็นปัญญาชอบ ความดำริที่เห็น เห็นถูกต้อง ความดำรินี้จะให้ใจนี้เป็นธรรม ความดำรินี้จะให้ออกจากกิเลส...มันพลิก พลิกจากดำเป็นขาว พลิกจากกิเลสไง กิเลสนี้จะหลุดออกไป พลิกออกจากหัวใจไป แต่มันต้องพลิกให้ถูกวิธี ถ้าผิดวิธีพลิกไม่ได้

ถ้าถูกวิธี มันพลิกออกไปแล้ว นั่นล่ะ ธรรมเริ่มเลย เปี่ยมๆ เข้ามาในหัวใจแล้ว จากเริ่มบูชาธรรมภายนอกไง จากบูชาด้วยกาย จากบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติ แล้วบูชาด้วยหัวใจ หัวใจเข้าไปเสพแล้ว หัวใจเข้าไปเปี่ยมๆ ถึงธรรมแล้ว เห็นไหม เราดึงธรรมะขึ้นมาบรรจุในใจเราเองต่างหาก ดึงธรรมะนั้นเลย มาบรรจุในหัวใจ หัวใจเท่านั้นเสพธรรมๆ เพราะหัวใจนี้มันเป็นพลังงานที่เกิดดับ เกิดตายๆ ไง จนไม่มีอะไรเกิด-ไม่มีอะไรตายนะ เพราะการเกิดตายนี้กิเลสพาเกิดพาตาย การเกิดตายเรานี่กิเลสพาเกิดพาตายนะ ตายจากมนุษย์เกิดเป็นเทวดา ตายจากมนุษย์เกิดเป็นเปรต เป็นผีก็ได้

แต่ถ้ากิเลสมันตายจากใจ เพราะกิเลส บุญกุศลหรือบาปอกุศลสะสมเข้าไปที่ใจ มนุษย์เกิดมาคนหนึ่งทำแต่ความดีและทำแต่ความชั่ว หรือทำทั้งความดี-ความชั่ว แต่ขณะตาย ตายด้วยอารมณ์อันใด นี่กิเลสพาเกิดพาตาย แล้วสิ่งที่พาเกิดพาตายมันโดนชำระออกไป ชำระออกไปจนมันไม่มีเลย มันเอาอะไรไปเกิดไปตาย ไม่มีอะไรเกิดและไม่มีอะไรตาย เพราะกิเลสมันได้ตายออกไปก่อนจากหัวใจนะ ถ้ากิเลสยังไม่ตายออกไปจากหัวใจ มันจะมีเกิดมีตายไปตลอด

แต่กิเลสมันโดนชำระออกไป เป็นขั้นเป็นตอนๆ เข้าไป

การเกิดตายขั้นแรก ๗ ชาติ ต้องเกิดตายอีก ๗ ชาติ เพราะรู้ๆ กันอยู่เลย แล้วก็ขึ้นไปอีก ๓ ชาติแล้วเกิด...ตอนนี้เกิดแล้ว เกิดจากมนุษย์ไปเกิดบนพรหม ทำไมไปเกิดเป็นพรหม?...เพราะจิตนี้มันยังมีอยู่ จิตนี้สะอาดขึ้นมา จิตนี้สะอาดจากกิเลสนะ กิเลสโดนชำระออกไปจากความไม่รู้เท่าทันตัวเอง คือกาย สักกายทิฏฐิ ไม่รู้จักการเท่าทันตัวเองเลย

ความโง่ของปุถุชน ความโง่ของนักปฏิบัตินี่แหละ มันไม่เข้าใจความคิดที่หัวใจกับกายมันอาศัยอยู่ด้วยกัน มันไปเห็นว่าเป็นเนื้อเดียวกัน จนใช้วิปัสสนาญาณมาทำลายออกไป เพราะมันไม่ใช่นะ ความคิดเป็นความคิด ความคิดน่ะ แล้วหัวใจ แล้วกายเป็นกาย มันมียางเหนียวมาต่อเนื่อง พอชำระออกไป ความคิดนี้ที่มันไปข้องเกี่ยว กิเลสเป็นตัวเชื่อม กิเลสนี้เป็นยางเหนียว กิเลสนี้พอเห็นพอวิปัสสนาญาณเข้าไปเห็นตามความเป็นจริง มันสมุจเฉทปหานออกไป มันเลยว่ากายเป็นกาย จิตเป็นจิต นั่นแหละ มันก็เข้าใจตามความเป็นจริงว่า กายกับหัวใจมันคนละอัน นี่อีก ๗ ชาติ ความเกิดตายสั้นลงแล้ว

จากวัฏวนที่เราต้องเกิดตายด้วยกิเลสเต็มหัวใจนะ กิเลสนี้เต็มหัวใจพาเกิดพาตายมาตลอด พอเข้าใจนะ ความเข้าใจไม่ใช่เข้าใจด้วยความศึกษาเล่าเรียน เข้าใจด้วยญาณสำนึกภายในของผู้ปฏิบัตินั้นเข้าไปสมุจเฉทปหาน จะรู้ตามความเป็นจริง เป็นปัจจัตตังรู้ว่าอีก ๗ ชาติ นี่การเกิดการตาย กิเลสมันตายไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่มันยังมียางเหนียวที่ในหัวใจขึ้นไปอีก

พิจารณาตามเข้าไป ธรรมจักรหมุนเข้าไปด้วยปัญญาญาณ เข้าไปตัดขาดอีก จากความหลง จากอุปาทานยึดมั่นในกาย หลุดออกไป ๓ ชาติ พิจารณากามราคะ กามราคะนี้รุนแรงมาก กามราคะนี้เป็นเจ้านายใหญ่ กามราคะนี้เป็นแรงดึงดูดของโลกที่หนักหน่วงที่สุด หนักหน่วงมากนะใน ๓โลกธาตุ กามราคะนี้เป็นสิ่งแรงดึงดูดที่ดูดทุกๆ ส่วนเข้าไปที่ดวงอาทิตย์ ในจักวาลนี้แรงดึงดูดใดๆ เท่ากับกามราคะนี้ไม่มี ในหัวใจดวงนั้นนะ การต่อสู้ตรงนี้ถึงได้รุนแรง พายุหมุน ทุกอย่างต้องสู้กันสุดๆ เพื่อจะให้ออกจากแรงดึงดูดอันนี้ไง พอแรงดึงดูดอันนี้ไม่มี เห็นไหม เกิดบนพรหม

แรงดึงดูดอันนี้จะหลุดออกไปได้...ธรรมจักรอย่างเดียว ปัญญาญาณเท่านั้น หมุนเข้าไปชำระเข้าไป สอดเข้าไป แง่เล็กแง่น้อยเริ่มงัดออกให้มันห่างออกจากกันจนมันพลิกฟ้าคว่ำดิน พอพลิกฟ้าคว่ำดิน เห็นไหม กิเลสตายไปส่วนใหญ่เลย นี่ไปเกิดบนพรหม ทำไมเกิด?...เกิดเพราะว่าจิตนั้นมีอวิชชา กามราคะกับอวิชชามันคนละอัน

อวิชชาไง อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ นี่เป็นตอของจิต ตอของจิตนี้มันเป็นตัวพลังงานบริสุทธิ์ แล้วพอผ่านออกมาเป็นขันธ์ ๕ ผ่านออกมาเป็นขันธ์ ๕ นี่กิเลสตามออกมาเป็นกามราคะไง กิเลสมันอาศัยตามนอนเนื่องจากความกระแสของพลังงานที่ส่งออกมา

พลังงานของจิต “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” พอพลังงานจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส พลังงานที่ส่งออกมาก็ออกมาอยู่ในขันธ์ ๕...ขันธ์ ๕ สัญญา สังขาร ความปรุงความแต่งมันเป็นกามราคะ ตัดขันธ์นี้ออกหมดเหลือ ๑ ถึงเป็นพรหม ขันธ์ ๕ หลุดออกไป ขันธ์ ๕ ของจิตนะ ขันธ์ของจิต ไม่ใช่ขันธ์ของกาย...หลุดออกไปเลย พอหลุดออกไปนี่เป็นหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวก็เกิดไปเป็นพรหม เป็นพรหมเพราะอะไร เพราะเหตุมันเป็นพรหมไง มันถึงไปเกิดเป็นพรหมไง เกิดเป็นพรหม

ธรรมะพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าปฏิบัติผ่านมาตรงนี้แล้วก็วางหลักตามความเป็นจริงเอาไว้ไง ผู้ปฏิบัติเข้าไปถึงจุดนั้นจะรู้ตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงนะ ว่าต้องไปเกิดอย่างนั้น ถึงว่าต้องไปเกิดอีกไง นี่กิเลสพาเกิดทั้งหมด

ถึงไปเป็นพรหม พรหมไม่เสพกาม เขาว่าบ้านร้างแต่ยังมีคนอยู่ ตอของจิต เหมือนกับว่าการอยู่ในกระแสโลกมันมีโจรผู้ร้ายมาก มีโจร มีการคดการโกง กับไปอยู่ในสังคมผู้ดี สังคมผู้ที่มีธรรมทั้งหมดอยู่กันด้วยการพึ่งพาอาศัยกัน อยู่ด้วยการไม่เบียดเบียนกัน เห็นไหม นี่ตอของจิต มันจะมองไม่เห็นหรอก

ก็เห็นว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐเลอเลิศแล้ว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดี แล้วเป็นพรหม เป็นพลังงานบริสุทธิ์ไง พลังงานบริสุทธิ์นี้มันมีไหม?...มี ต้องพลังงานบริสุทธิ์นี้ต้องทำลายตัวมันเองไง

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมนี้คือตัวอวิชชา” เพราะมันเป็นพลังงาน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ มันเป็นปัจยาการในตัวมันเอง มันไม่ต้องอาศัยผ่านออกมา มันเป็นพลังงานอยู่ของตัวมันเอง มันถึงเป็นตอของจิต มันถึงได้เกิดเป็นพรหมไง อันนี้มันละเอียดเข้าไป ธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งขนาดนี้มันต้องใช้สติปัญญาอันลึกภายในที่ผู้ปฏิบัติขึ้นไปถึงขั้นตอนนี้ การปฏิบัติแล้วส่งเสริม การส่งเสริม การผลักดันหัวใจขึ้นไปอยู่ระดับนี้ มันก็ต้องมีปัญญาเข้าไปจับตรงนี้ได้

ธรรมะ มรรคหยาบๆ ของเด็กๆ การพิจารณาภายนอก เห็นไหม เริ่มประพฤติปฎิบัติใหม่ ธรรมะของผู้หนุ่มผู้สาว มันคึกคะนองแต่มันก็เป็นงานดีกว่าเด็ก ธรรมะของผู้ที่การประกอบอาชีพ การเป็นคนชั้นกลาง อายุกลางๆ กับธรรมะของผู้ที่ว่าอายุ ๗๐-๘๐ ความละเอียดสุขุมรอบคอบต่างกัน ผู้ที่มีอายุปานนั้น ผ่านประสบการณ์การปฏิบัติมาปานนั้นมันต้องเข้าไปจับต้องตอของจิตอันนี้ได้...ชำระตรงนี้ ตรงนี้ชำระออกหมด นั่นน่ะ ธรรมแท้ๆ เลย หลุดออกไปจากสภาวะทั้งหมด เพราะสภาวะนี้เคลื่อนที่ทั้งหมด อันนี้หลุดออกไปอยู่ในสถานะที่ว่า “วิมุตติ”

ความเป็นวิมุตตินั้นพ้นจากสมมุติ นั่นธรรมไง “บูชาธรรม” บูชาธรรมอันนี้ ธรรมที่ประเสริฐอันนี้ ไม่ใช่ธรรมชาติอยู่ที่เราเข้าใจกันอยู่ข้างนอกนี่ ธรรมชาติแปรปรวน ธรรมชาติต้องเคลื่อนที่ไป สสารนี้มีอยู่ ไม่มีวันที่จะหมดไปได้ จากเสียง น้ำเสียงก็มีอยู่ จากสิ่งใดๆ ก็มีเคลื่อนไปตลอด แต่อันนั้นวิมุตติไปเลย ไม่มีอะไรสืบต่อได้ ไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น บูชาธรรม หัวใจเท่านั้น หัวใจผู้ปฏิบัติถึงตรงนั้นจะเข้าใจตรงนั้นตามความเป็นจริง เข้าใจธรรมะพระพุทธเจ้าตามความเป็นจริง ใจถึงว่าเข้าไปเสพธรรม ใจเท่านั้นถึงเป็นภาชนะบรรจุธรรมไง

แล้วทำไมถึงรู้ว่าไม่เกิด ไม่เกิดไปเกิดตรงนั้นได้อย่างไร?...ตรงนั้นไม่ใช่เกิด ตรงนั้นไม่ใช่ดับ ตรงนั้นหลุดออกไปจากอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันนี้ใคร่ควรมรรค มรรคไง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้วหัวใจผ่านออกไปจากเครื่องกรองอันนั้น จากโรงงานอันใหญ่นี้ เป็นธรรมะแท้ๆ อันนั้น แล้วมันไม่มีการเกิดตาย จากกิเลสที่พาเกิดพาตายลุ่มๆ ดอนๆ นะ กิเลสพาเกิดพาตายในหัวใจ กิเลสในหัวใจนี้เป็นเนื้อเดียวกัน

ธรรมะของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้า หลุดพ้นออกไปเป็นธรรมล้วนๆ น่ะ ธรรมล้วนๆ อันนี้ไม่เกิดและไม่ตาย จะคงที่หรือไม่คงที่มันเป็นตามความเป็นจริง จากกิเลสที่คงที่นะ กิเลสไม่แปรสภาพ กิเลสอยู่ที่หัวใจแล้ว มันจะอยู่กับหัวใจไปตลอด ไม่มีทางหายจากโรคของกิเลสได้หมด แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เข้ามาประพฤติปฏิบัติ ชำระกิเลสออกไปเลย แล้วเป็นหัวใจที่บริสุทธิ์เลย นี่ธรรมเป็นอย่างนั้นต่างหากล่ะ

ไม่ใช่ธรรมะที่เราศึกษากันมาตามความเข้าใจ ตามความลูบๆ คลำๆ ลูบๆ คลำๆ ไว้แล้วว่าอันนี้เป็นธรรม ธรรมอย่างนี้ธรรมเข้าใจแบบโลกไง ธรรมเข้าใจแบบสุตะไง ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ แต่ความลังเลสงสัยเต็มหัวใจเลย...สิ่งนี้เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ วันนี้จิตสงบลง ความตรึกมีมากขึ้น ความตรึกนะ ตรึกว่าควรจะเป็นอย่างนั้น เข้าใจเป็นอย่างนี้ คราวหน้าปฏิบัติต่อไปความตรึกลึกกว่านั้น ตรึกขึ้นมาอีก ก็เข้าใจว่าธรรมะเป็นอย่างนั้น ทำไมธรรมะที่เราปฏิบัตินี้ทำไมมันไม่เป็นความจริงที่คงที่ล่ะ ทำไมเป็นความจริงที่แปรสภาพทุกวัน

ธรรมะที่ความลังเลสงสัยไง ความตรึก ความละเอียดลึกซึ้งของจิตที่เป็นหลัก เป็นสมาธิ ความตรึกอันนั้นขึ้นมา นี่ธรรมมันเกิด ธรรมมันแสดงตัวออกมาเวลาจิตมันสงบ จิตมันสงบมันจะมีความรู้เกิดขึ้นจากภายในจิตที่ว่ามันเป็นความสงบนั้น นี่ความตรึก ธรรมะมันแสดงตัวไง นี่การฟังธรรมตลอดเวลา แต่ธรรมอันนี้มันไม่ใช่ธรรมสมุจเฉทฯ ธรรมอันนี้มันเป็นสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาไง ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม...สมควรแค่นี้เองไง สมควรแค่ความตรึกของธรรม

แต่ธรรมะพระพุทธเจ้าที่ว่าเราบูชาธรรม บูชาธรรมอันนั้น จะถึง-ไม่ถึง จะปฏิบัติถึง-ไม่ถึง เราก็ต้องบูชาธรรมะที่เป็นของจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แล้วมันว่ามีอยู่ตามความเป็นจริงของโลก มีอยู่ตามความเป็นจริงอยู่แล้ว มีอยู่ตามความเป็นจริงของจักรวาลนี้นะ มีอยู่ตามความเป็นจริง แต่หัวใจเข้าไปเสพไม่ได้ หัวใจไม่เข้าไปรู้

แล้วที่ออกมาว่า เป็นธรรมๆ อันนั้นมันเป็นเครื่องดำเนินของธรรมต่างหากนะ ศีล สมาธิ ปัญญานี่เป็นเครื่องดำเนิน เป็นเหตุ เป็นเหตุให้เข้าถึงธรรม พระพุทธเจ้าไม่พูดถึงผลหรอก ผลคือว่าวิมุตติออกไป แต่วางเหตุอย่างนี้อย่างนี้ไง วางเหตุเอาไว้

มรรคะเท่านั้น มรรค ๘ เท่านั้น ต้องมีความดำริชอบ ดำริออกจากโลก ต้องมีความดำริชอบ ความดำริเห็น ต้องมีความเพียรชอบนะ ต้องมีสมาธิชอบนะ แล้วการงานชอบนะ การงานชอบ งานการไม่ใช่งานแบกหาม งานการชำระกิเลส งานภายใน

ถึงว่าที่ว่าศึกษาธรรมะ นั่นคือศึกษาเหตุของธรรมะ เหตุจะเข้าไปถึงตัวธรรมไง ศึกษาเหตุแล้วสร้างเหตุให้ได้สิ สร้างเหตุ มีเหตุมันจะพาไปถึงผล พอเราไปจับเหตุแล้วเอาเหตุมาวิเคราะห์มัน ว่านี่เหตุเข้าถึงธรรม ว่าตัวนี้เป็นตัวธรรม

เหตุของธรรมต่างหาก แล้วทำใจให้เป็นเข้าเหตุไง เข้าเครื่องดำเนิน เข้าไปถึงตัวผล ตัวผลนั้นเป็นอีกตัวหนึ่ง ตัวผลคือตัวใจที่ปล่อยวาง นี้ความจริงที่ใจเข้าไปสัมผัสธรรม มันถึงไม่ใช่ความจริงที่เราศึกษาธรรม ศึกษาเหตุมาเป็นเครื่องดำเนินเท่านั้น ฉะนั้น สพฺเพ ธมฺมา ถึงเป็น อนตฺตาไง เหตุเครื่องดำเนิน เหตุเครื่องดำเนิน ดำเนินของมรรคหยาบ ดำเนินของมรรคกลาง ดำเนินถึงมรรคที่ละเอียดเข้าไป ดำเนินถึงปัญญาญาณน่ะ ความละเอียดนี้เป็นอัตโนมัติไง สติปัญญาภายนอก มหาสติ-มหาปัญญาภายใน

การเคลื่อนไป จากที่ว่าพลังงานบริสุทธิ์ มันเป็นปัญญาญาณ ญาณอันเดียวอันนั้นขึ้นไปเลย เพราะมันเป็นสิ่งที่เหนือ มันเป็นสิ่งที่เป็นมือข้างเดียวตบมือกันไม่ได้ จากขันธ์ ๕ ลงมามันเป็นมือ ๒ ข้าง มันสามารถตบ มันสามารถประสานกันได้ มือ ๒ ข้างต้องตบมือถึงมีเสียงดังขึ้นมา แต่ไอ้ข้างในนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่งเลย จากเกิดขึ้นมาจากการเรายกปฏิบัติขึ้นไป ยกหัวใจไง วุฒิภาวะของใจเพิ่มขึ้นๆ วุฒิภาวะความเข้าใจ ใจที่เป็นใจที่สะอาดไง ใจที่สะอาด สะอาดแต่หัวใจ แต่กิริยาที่แสดงออกมา มันก็เหมือนโลกนั่นล่ะ กิริยาของโลกเพราะว่ามันใช้กิเลสทำ

กิริยาของธรรม ต้องผ่านผ่านออกมาเป็นกิริยาเหมือนของโลกนั่นแหละ แต่มันเป็นธรรม ธรรมคือความบริสุทธิ์ไง คือเจตนาที่ผิดไม่มี เจตนาหัวใจที่สะอาดจากกิเลสแล้ว กับเจตนาที่กิเลสล้วนๆ ไง กิเลสล้วนๆ ที่ความคิดของปุถุชนเรานี้ ความคิดของมนุษย์ทุกๆ คนต้องเห็นแก่ตัว ต้องเห็นแก่ตัว ต้องกว้านเข้ามาให้หมด ให้มาเป็นสมบัติของตัว แต่กิริยาของธรรมเห็นโทษทุกๆ อย่าง เห็นโทษแม้แต่ความคิด เห็นโทษตั้งแต่ดำริเลยไง ความคิดที่จะเกิดขึ้น เห็นไหม อันนั้นกิเลสมันเริ่มนอนเนื่องตามมา

แล้วจิตใจที่บริสุทธิ์เริ่มแต่ความคิดนี้ “มารเอยเธอเกิดจากความดำริของเรา” ความดำรินี้จะไม่ให้มารเกิดได้เลย มันถึงเป็นความคิดที่บริสุทธิ์ไง มันเป็นเจตนาที่สะอาดไง มโนสัญเจตนาหารไง เป็นความคิดที่สะอาดออกมา แต่มันผ่านกริยาออกมา มันเหมือนโลกนั่นล่ะ มันถึงมองกันไม่ออกไง มันมองไม่ว่ากิริยาอย่างนี้เป็นกิริยาของโลก กิริยาอย่างนี้เป็นกิริยาของธรรม แต่มันจะรู้กันตรงค่าของธรรมไง ค่าของคำพูดไง ค่าของการแสดงธรรม มันจะเข้าไปจิ้มตรงนั้นตรงหัวใจนั่นน่ะ เพราะมันเห็นโทษแล้ว สรรพสิ่งในโลกนี้ไม่มีความหมาย เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มันเป็นสิ่งที่ว่ามันปลอมทั้งหมด กับหัวใจที่มันเป็นจริงแล้ว มันคิดออกมา มันทำออกมา มันก็ต้องอยู่ในโลกไป เพราะมันยังเป็นเศษส่วนที่ต้องหมุนเวียนไปอยู่ มันสะอาดแล้วมันก็รอวันเวลาไง ใจนั้นรอวันเวลา ผู้ที่ทำงานจบแล้วรอแต่กาลรอแต่เวลาเท่านั้น

แต่พวกเราผู้ที่ปฏิบัติน่ะกลัว กลัวเวลาหมดอายุขัย กลัวความเป็นความตายไง ความเป็นความตาย ความกลัว ความคิด ความวิตกกังวล กิเลสล้วนๆ พาเกิดพาตายนะ พาเกิดพาตายโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัวว่าเราต้องเกิดต้องตาย แต่พอถึงเวลาเกิดเวลาตายมันก็เสียวหัวใจ มันก็ยอกหัวใจ มันก็อาลัยอาวรณ์ แต่หัวใจที่สิ้นที่บริสุทธิ์แล้วนั่นรอแต่กาลเวลา เหมือนกับผลไม้สุกรอหลุดจากขั้วเท่านั้นเลย ผลไม้ที่แก่แล้วรอแต่ขั้วมันปริแล้วก็ไปตามความเป็นจริง ไม่มีการเกิดการตายใดๆ ทั้งสิ้น รอแต่มันหลุดออกจากขั้วเท่านั้น รอกาลเวลา

ธรรมะแท้ๆ บูชาธรรมไง เอาหัวใจบูชาธรรม แล้วเอาหัวใจนี้เสพธรรม เอาหัวใจนี้เป็นธรรม เข้าถึงได้เพราะว่ามันเป็นกระแสเดียวกัน มันเป็นนามธรรมเหมือนกัน นามธรรมกับนามธรรมต้องเข้ากันได้ นามธรรมไง ถึงแบบว่ารูปสมบัติ รูปสมบัติ ประดับบนข้อมือ ประดับบนข้อมือ ประดับบนที่คอเท่านั้น รูปสมบัติก็ได้แต่ร่างกาย มันประดับได้แค่ร่างกาย

แต่ธรรมะพระพุทธเจ้าเป็นนามธรรม กิเลสก็เป็นนามธรรม ธรรมะพระพุทธเจ้าชำระกิเลสที่นามธรรมจนหมดสิ้น จนหัวใจนั้นเป็นธรรมล้วนๆ เลย ธรรมเหนือธรรมชาติ ธรรมหลุดพ้นออกไปจากธรรมชาติ พ้นออกไปจากจักรวาล พ้นออกไปจากวัฏวนเลย จักรวาลนี้ยังเป็นจักวาลเดียว จักรวาลนี้

แต่วัฏวน วัฏฏะ ๓ โลก กามโลก รูปโลก อรูปโลก มันวนเข้าไปวัฏวนนี้ มันวนไปถึงนามธรรมไง ที่อยู่ของเทวดา พวกกามภพ ที่อยู่ของพรหม ที่อยู่ของอรูปพรหม นี่มันยิ่งกว่าจักรวาลของเราไหม จักวาลเรามองกันเห็นด้วยตาเนื้อ จักรวาลนี้เป็นวัตถุ แต่นามธรรมอีก ๓ โลกโน่นน่ะ แล้วหัวใจพ้นออกไปจากวัฏฏะ ไม่ต้องวนอยู่ในวัฏฏะนะ หลุดออกไปเลย หลุดออกไปจากโลก เห็นไหม กิเลสถึงไม่พาเกิดพาตาย

กิเลสพาเกิดพาตายกับธรรมะที่บริสุทธิ์ที่สถิตอยู่กลางหัวใจ...เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัตินะ เกิดขึ้นเป็นอริยทรัพย์นะ มันเป็นอริยทรัพย์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม พระอริยสาวกบรรลุธรรม พวกเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมต้องให้เข้าถึงธรรม จากบูชาธรรม จากบูชาภายนอก จากบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน แล้วเราก็มาบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติ ยกกายยกใจบูชาธรรมะของพระพุทธเจ้า ยกกายยกใจเข้าไปบูชา ยกกายยกใจเข้าไปประพฤติปฏิบัติให้ได้ผลไง ให้ได้ผลแบบนั้นไง ผลงานนี้มันจะประสานเข้ากับที่หัวใจ

หัวใจเป็นผู้รับรู้ อย่างอื่นรับรู้ไม่ได้ อย่างอื่นรับรู้ไม่ได้นะ อย่างอื่นได้แต่แค่มองแล้วก็ขอ ขอไง ผู้ที่รับรู้ได้แล้วเราขอรู้ พระเจ้าพิมพิสาร ตอนเจอสิทธัตถะราชกุมารยังไม่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าน่ะ ขอเอาไว้เลยนะ ถ้าสำเร็จแล้วขอให้มาสอน เห็นไหม ขนาดที่พระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ก็มีผู้ขอไว้ก่อนแล้ว ขอความ ขอหนทาง ขอเครื่องดำเนินไง

แล้วนี่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมมา ๒๕๔๐ ปี นี่ตรัสรู้มาแล้ว ตรัสรู้ธรรมมาแล้ว แล้วเราบูชาธรรมมาเท่าไรแล้ว แล้วเราประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ไง เราจะเข้าให้ถึงธรรมะ เข้าถึงธรรมให้ได้ ปฏิญาณตนอย่างนั้นแล้วพยายามอย่างสุดๆ ของความคิดของตัว สุดๆ นะ ต้องความเข้มแข็งความจริงจังของเราเท่านั้นจะเข้าถึงธรรมได้ไง

ธรรมะเป็นของแท้ มีคุณค่ามากกว่าเพชรกว่าพลอย มากกว่าทุกๆ อย่าง เป็นของที่ว่าแกร่งมาก ของที่เข้าไปสัมผัสต้องแกร่งนะ หัวใจนี้ต้องกัดเพชรให้ขาดไง กัดเพชรขาดแล้วจะได้ธรรมะแท้ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้ประดับที่กลางหัวใจของเราไง นั่นแหละ บูชาธรรม บูชาแท้ๆ บูชาในกลางหัวใจของเราเลย เอวัง