ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ตาบอดคลำช้าง

๒๗ เม.ย. ๒๕๕๖

 

ตาบอดคลำช้าง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๖
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๑๓๐๔. เนาะ แจ้งทางเว็บไซต์คือว่าเขาเข้าไม่ได้ ไม่สะดวก แต่ตอนนี้เขาแก้ไขแล้ว

ถาม : ข้อ ๑๓๐๕. เรื่อง “โรคที่หาสาเหตุไม่ได้เกิดจากกรรมใช่หรือไม่คะ”

กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ มีน้องสาวเป็นโรคลมชักมาตั้งแต่เด็กๆ ไปหาหมอมาหลายรอบแล้วค่ะ สแกนสมองก็แล้ว แต่ก็หาสาเหตุไม่ได้ การที่หมอหาสาเหตุของโรคไม่ได้ มันเป็นโรคที่เกิดจากกรรมใช่หรือไม่คะ แล้วจะรักษาอย่างไรให้หายคะ

ตอบ : นี่ความเข้าใจ เห็นไหม ถ้าเราเป็นโรคใช่ไหม? เราเป็นโรค นี่เวลาเราเกิดมาทุกคนก็อยากปรารถนาความสุข ปรารถนาสมความปรารถนาทั้งนั้น แต่บางคนก็สมความปรารถนาและมากกว่าความปรารถนา คือว่าปรารถนามาแค่มั่งมีศรีสุข แต่มันเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี มันเลยกว่าความปรารถนานั้นไปก็ได้ คนปรารถนาแล้วไม่สมความปรารถนาก็ได้

ฉะนั้น สิ่งนี้มันเรื่องเวรเรื่องกรรมใช่ไหม? มันก็มีเรื่องเวรเรื่องกรรม แต่ถ้าเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรม เพราะเราเชื่อกันอย่างนี้ โดยทางวิทยาศาสตร์เขาถึงบอกว่าพวกเราเป็นคนงอมืองอเท้า คนงอมืองอเท้า ทางตะวันตกเขาพยายามจะหาเหตุหาผลของเขา ทางวิทยาศาสตร์เขาบอกประเทศชาติเขาเจริญ แล้วของเรานี่เราเชื่อกันเป็นศรัทธาความเชื่อ เราเชื่อด้วยความงมงาย พอเชื่อด้วยความงมงายเขาบอกว่านี่อย่างนี้ทำให้สังคมไม่เจริญ สังคมไม่เจริญ สังคมเจริญมันก็เรื่องของสังคมเจริญ เรื่องสติปัญญานะ แต่เรื่องวัฒนธรรม เรื่องวัฒนธรรม เห็นไหม เรื่องวัฒนธรรมประเพณีของเราชาวพุทธเราเชื่อเรื่องเวรเรื่องกรรม

ถ้าเชื่อเรื่องเวรเรื่องกรรมนี่เราเชื่อ แต่ในปัจจุบันนี้เราก็ต้องขวนขวายของเราด้วย ไม่ใช่เราเชื่อแล้วเรางอมืองอเท้า เห็นไหม เวลาเจ้าคุณนรฯท่านพูด “ทำดี ดีกว่าขอพร” เราไปขอพรเขา ให้เขาอวยพรให้เรา แต่เราไม่ทำความดีของเรา เราก็จะไม่ได้สมความปรารถนาของเรา ถ้าเราทำคุณงามความดีของเรา แล้วเขาให้พรเราด้วย แล้วเราทำคุณงามความดี เราขวนขวายของเรา เราก็จะประสบความสำเร็จของเรา นี่พูดถึงว่ามันเป็นข้อเท็จจริงด้วย

ฉะนั้น เป็นข้อเท็จจริง สิ่งที่ว่า เห็นไหม

ถาม : โรคที่หาสาเหตุไม่ได้เป็นโรคกรรมใช่ไหม?

ตอบ : เรื่องของกรรม นี่ถ้าเราเป็นหมอเห็นไหม เป็นหมอ แม้แต่พฤติกรรมการอยู่การกินมันก็จะให้กับร่างกายเราได้เจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว อย่างเช่นกินของดิบ พยาธิใบไม้ในตับๆ อยู่ที่การกินทั้งนั้นแหละ ถ้าเรากินของสุก เราไม่กินของดิบนะ พยาธิใบไม้ในตับเราก็จะไม่เป็น ถึงเราเป็นเราก็เป็นแต่น้อยไป อันนี้คืออะไรล่ะ? อันนี้เป็นกรรมหรือเปล่า? กินเป็นกรรมหรือเปล่า? ก็กิน กินนั่นคือกรรม การกระทำ นี่โรคเป็นโรคเวรโรคกรรมใช่ไหม? แม้แต่พฤติกรรมมันก็ทำให้เราเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นโรคอะไรแล้ว นี่มันก็เป็นเรื่องของกรรม กรรมดี กรรมชั่วไง กรรมคือการกระทำ

ฉะนั้น บอกว่าถ้าหาสาเหตุไม่ได้เป็นเรื่องของกรรมใช่ไหม? แล้วเรื่องของกรรมใช่ไหม พอเรื่องของกรรมมันก็ไปหาไสยศาสตร์แล้ว แก้กรรมๆ การแก้กรรมที่ดีที่สุดคือการภาวนานี่แหละ เพราะการภาวนาคือการชำระล้างกิเลส กรรมอะไรมันจะมีอำนาจมากกว่ากิเลสตัณหาความทะยานอยากของคน ในใจของคน ถ้าใจของคน เห็นไหม เราแก้กรรมๆ อย่างนี้ แก้กรรมด้วยการพุทโธลมหายใจเข้า พุทโธลมหายใจออก นี่คือการแก้กรรม

แก้กรรมอะไร? แก้กรรมให้จิตใจมันสว่างไสว แก้กรรมให้หัวใจมันผ่องแผ้ว แก้กรรมให้หัวใจนี้มันมีปัญญาขึ้นมา มันก็แก้ความลังเลสงสัยของตัว พอแก้ความลังเลสงสัยของตัวแล้วเราก็ไม่เป็นเหยื่อของใครใช่ไหม? นี่เวลาเราทุกข์เรายาก จนตรอก น้องสาวเป็นโรคลมชัก ไปหาหมอ หมอวินิจฉัยโรคไม่ได้ นี่อย่างนี้เป็นโรคกรรมใช่ไหม? ถ้าบอกเป็นโรคกรรมปั๊บนะ สำนักแก้กรรมมันเยอะนะ สำนักแก้กรรมมันจะรอเอาสตางค์ ถ้ามันจนตรอกแล้วมันก็วิ่งไปหาเขาแล้ว ไปหาเขาเท่าไรก็หมดนะ เพราะอะไร? เพราะอยากให้น้องสาวหาย

ถ้าน้องสาวหาย เราไปหาหมอนี่ถูกต้องแล้ว เราต้องไปหาหมอก่อน การไปหาหมอ หมอนี่เครื่องพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ ถ้าวิทยาศาสตร์ ถ้าวินิจฉัยโรคได้เราก็รักษาอาการตามโรคที่หมอบอกนั้น ถ้าหมอเขาวินิจฉัยโรคไม่ได้ วินิจฉัยโรคไม่ได้มันก็รักษาตามอาการ รักษาตามอาการ แล้วอย่างถ้ามันเป็นเรื่องของกรรมใช่ไหม?

เรื่องของกรรม ถ้าเราเป็นชาวพุทธเราก็นี่สัพเพ สัตตา ทำบุญกุศลกับพระกับเจ้า เราทำบุญกุศลแล้ว “สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น มีเวรมีกรรมต่อกัน ขออภัยต่อกัน ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ดี ครูบาอาจารย์ที่ดีท่านแก้ไขให้เรา คือว่าท่านอุทิศส่วนกุศลให้มันก็เป็นสิ่งที่ว่ามันมีกำลังมากกว่า แต่เรานี่เราเป็นเจ้ากรรมนายเวรซะเอง เราเป็นคนที่มีเวรมีกรรมซะเองใช่ไหม?

นี่ถ้าเราไม่หาย ทุกคนอยากหาย ทุกคนไม่อยากเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นโรคลมชักด้วย นี่ถ้าเป็นลมชักแล้วไปอยู่ที่แหล่งน้ำต่างๆ มันอันตรายใช่ไหม แล้วลมชักเวลามันเกิดขึ้นมามันเกิดตอนไหนล่ะ? มันเกิดตอนอากาศมันร้อน ตอนต่างๆ มันเป็นอย่างไรเราก็ต้องระวังตัวของเรา ถ้าเขาอยากหายของเขาก็ให้เขาทำบุญกุศล สัพเพ สัตตา อุทิศส่วนกุศลแล้วไปหาหมอพิจารณา ถ้าหมอแก้ได้ก็คือแก้ได้ ถ้าหมอแก้ไม่ได้นะก็เวรกรรมเป็นแบบนี้ กรรมเป็นอจินไตย ไม่รู้กี่ภพ กี่ชาติ ชาติไหนก็แล้วแต่ที่สร้างสมกันมามันจะให้ผลชาติไหน

นี้มันเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรมนะ นี่เรื่องเวรเรื่องกรรมมันมีอันหนึ่ง เวรกรรมอย่างนี้มันก็แก้ไขได้ ถ้าเวรกรรมแก้ไขไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากอะไร? เกิดมาจากเวรกรรมเหมือนกัน แต่กรรมดี กรรมดีเพราะอะไร? เพราะปรารถนามาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบุญกุศลมา เกิดมาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย นั่นอะไรส่งผลมา สิ่งที่บุญกุศลส่งผลเจ้าชายสิทธัตถะมานั่นคืออะไร? กรรมไง กรรมดีไง

กรรมดีเวลาเกิดที่ลุมพินีวัน บอกว่าเราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย กรรมดีมันส่งมา มั่นใจขนาดนั้นนะว่าเราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แต่พอเวลาออกบวชไปแล้ว ๖ ปีนี่เกือบตาย กลั้นลมหายใจสลบไป ๓ หน คนภาวนาสลบไป ๓ หน ไม่มีใครเคยภาวนาสลบหรอก เราภาวนากัน นี่พอภาวนากันเมื่อยๆ ปวดๆ ก็เลิกแล้ว พอภาวนากันพรุ่งนี้จะไปทำงานแล้ว

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อสู้จนสลบ คือคนช็อกไปถึง ๓ ครั้ง นั่นกรรมอะไร? นี่ทำคุณงามความดีมา ทำความดีมาก็มาก ทำความดีมา ถึงที่สุดแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา พอตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ย้อนกลับบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ถึงเข้าใจเรื่องจิตเวียนตายเวียนเกิดไง

นี้เราเวียนตายเวียนเกิดเราก็มีเวรมีกรรมมา กรรมอันนั้นเวลาโลกที่ไม่มีเหตุไม่มีผล แต่ไม่มีเหตุไม่มีผลมันเป็นเรื่องนามธรรม เรื่องนามธรรมคือเรื่องวิตกกังวล เห็นไหม ดูสิเวลาเกิดมาในครอบครัวคน คนนู้นก็คิดว่าคนนั้นไม่รักเรา คนนั้นไม่ชอบเรา คิดไปหมดเลย ไอ้เขารักจนจะตายห่า มันยังว่าเขาไม่รักมันอีกนะ มันจะรัก รักอย่างที่มันพอใจ มันปรารถนาไง ความรักของพ่อของแม่ ความรักที่สะอาดบริสุทธิ์ ความรักของพ่อของแม่ ความรักของพ่อของแม่กับรักคู่ครองมันต่างกันไหมล่ะ?

เวลาคู่ครองมันชอบ แต่ความรักของพ่อแม่ พ่อแม่รักมันมันบอกพ่อแม่ไม่รัก เพราะอะไร? เพราะพ่อแม่ ไม่ให้ไปหาแฟน เวลาไปหาแฟนพ่อแม่ไม่ให้ไปหา มันบอกพ่อแม่ไม่รักมัน แล้วพ่อแม่รักมันไหมล่ะ? แต่มันบอกแฟนมันรักมัน นี่ความรักมันแตกต่างกันอย่างนั้น ถ้ามันรักแตกต่างกันอย่างนั้นมันก็คิดของมันไป นี่เวรกรรม เขารักมันขนาดไหนแต่มันยังไม่รู้ตัวว่ารักมันนะ ถ้าไม่รักมันนะเขาทำลายมันไปนานแล้วแหละ ทำไมเขาเอามันไว้ล่ะ? นี่มันคิดไม่เป็น ความรักที่สะอาดบริสุทธิ์ไง

เรื่องเวรเรื่องกรรม อย่างนี้ที่ว่าเรื่องเวรเรื่องกรรม เรื่องเวรเรื่องกรรมจะไปแก้ที่ไหนล่ะ? จะไปแก้สำนักแก้กรรมใช่ไหม? สำนักแก้กรรมเขาเอาแต่สตางค์ แล้วเขาเอาสตางค์เสร็จแล้วเขาก็บ้วนน้ำลายใส่หัวทีหนึ่ง พ่วง โอ๋ย กลับบ้านชื่นใจ แหม แก้กรรมมาแล้วนะเดี๋ยวก็ทุกข์อีก พอทุกข์ไปรอบ ๒ นะต้องให้เพิ่มสตางค์อีก ๒ เท่า พอมาครั้งที่ ๓ นะเขาบอกต้องขายบ้านขายช่องมาเลยแหละ นี่ถ้าอย่างนั้นชอบ แต่เวลาเราแก้ของเรา นี่ถ้ามันสิ่งที่มันแก้ไขไม่ได้ล่ะ?

สิ่งที่หมอเขาวินิจฉัยไม่ได้ วินิจฉัยไม่ได้เรารักษาตามอาการนั้น หมอรักษาอาการได้ หมอรักษาอาการได้ เช่นอ่อนเพลียเขาจะบำรุงอย่างไร เขาจะดูแลอย่างไร ถ้าร่างกายมันแข็งแรงขึ้นมามันแก้ไขได้ทั้งนั้นแหละ มันแก้ไขได้ แล้วถ้าจะให้สิ้นสุด เพราะคนเราก็คิด เวลาเป็นโรคลมชักก็จะให้หายเลย หายเป็นปกติเลย แต่ถ้าหายขึ้นมามันดีขึ้นมา มันดีขึ้นมาจากที่เคยเป็นมากก็เป็นน้อยลง จากที่เป็นน้อยลงพัฒนาขึ้นมาจนมันเกือบเป็นปกติ ถ้าเป็นปกติได้มันก็ดี ถ้าเป็นปกติไม่ได้ก็คนมันเจ็บไข้ได้ป่วยมามันก็เป็นแบบนั้น

นี่เราก็ปรารถนาอย่างหนึ่ง เราก็คิดว่าถ้าหายเลยต้องเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย กลับมาเป็นปกติเลย คนเราปกติแล้วมันก็ชราคร่ำคร่าไปเป็นธรรมดา คนเราปกติ คนเราเข้มแข็งมาก อายุขัยมากขึ้นมันก็ชราคร่ำคร่าเป็นธรรมดา ของมันชราคร่ำคร่าอยู่แล้ว ถ้าของมันชราคร่ำคร่าอยู่แล้วเราก็ดูแลรักษากันไป นี่พูดถึง

ถาม : โรคที่หาสาเหตุไม่ได้เกิดจากกรรมใช่หรือไม่คะ?

ตอบ : ถ้าศาสนาพุทธ กรรมคือการกระทำ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พระพุทธเจ้าสอนทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เรื่องของกรรมทั้งนั้นแหละ แต่กรรมดี กรรมดีคือกรรมที่เรารู้ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกถึงการกระทำ รู้สึกถึงเหตุถึงผล ไม่ใช่ว่าเป็นการกระทำมีแต่กรรมฝ่ายลบแล้วก็ต้องแก้ไขกัน ไอ้นั่นมันเป็นคอรัปชั่น กรรมต้องให้ผลตามความเป็นจริงสิ แล้วนี่พอเป็นกรรมขึ้นมาแล้วจะแก้ไขนะ ติดสินบนเขาเลยนะ ติดสินบนสำนักแก้กรรมไง ติดสินบนให้กรรมมันหายไง ถ้ากรรมดีนะ เห็นไหม เราเป็นหนี้ใครเราก็ใช้หนี้เขาไปก็จบ ถ้าเราไม่เป็นหนี้เขาเราก็แสวงหาของเรา เพื่อผลประโยชน์กับเราก็เท่านั้นแหละ

ฉะนั้น

ถาม : โรคที่หาสาเหตุไม่ได้เกิดจากกรรมใช่หรือไม่คะ

ตอบ : กรรมนี่กรรมดี กรรมที่การกระทำ กรรมที่ว่าเกิดชราคร่ำคร่ามันก็เป็นกรรมทั้งนั้นแหละ กรรมดีก็มี กรรมชั่วก็มี นี่ถ้าเขาว่าเป็นกรรมใช่ไหม ก็ว่าใช่ แต่ว่าใช่แล้วถ้ามันหาสาเหตุไม่ได้ หาสาเหตุไม่ได้ ถ้าเราทำคุณงามความดีเดี๋ยวก็หาได้ นี่แบบว่ามันแก้ไขกัน คำว่ากรรมเปรียบเหมือนเกลืออยู่ในน้ำจำนวนมาก เกลือนั้นมันก็มีรสชาติเจือจางไป ถ้าน้ำนั้นมีน้อย รสเค็มก็เข้มข้นขึ้น

นี่ก็เหมือนกัน ทำดี ทำชั่ว เกลือกับน้ำมันคนละส่วนกัน แต่มันอยู่ด้วยกัน กรรมดีกรรมชั่วก็เหมือนกัน เราทำคุณงามความดีของเรา เราทำคุณงามความดีของเรา เราเจือจานของเราไปเดี๋ยวมันเจือจางไป เจือจางไป ถ้าน้ำจนมันมากจนกลายเป็นน้ำจืดไปเลย น้ำจืดเลยเพราะเราทำของเราได้ นี่กรรม กรรมคือการกระทำ เพราะพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

ฉะนั้น สิ่งที่ทำอะไรมาแล้วมันก็เป็นผลทั้งนั้นแหละ ฉะนั้น สิ่งที่เป็นผลมาแล้ว เราเจอเหตุการณ์อย่างนี้เราก็แก้ไขของเราไป ถ้าแก้ไขได้มันก็เป็นประโยชน์กับคนๆ นั้น แต่การแก้ไขไม่ได้ แก้ไขไม่ได้แล้วก็ด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ปรารถนาจะให้หาย แรงปรารถนามันเป็นการเพิ่มผลของการให้เกิดความทุกข์ ความทุกข์มันไม่สมความปรารถนาไง อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ แล้วก็แก้ไม่ได้ แล้วก็ทุกข์ทนเข็ญใจ แต่ถ้าเราชื่นบานเลย

นี่ในเรื่องสัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เราก็เป็นสัตว์ตัวหนึ่งเกิด แก่ เจ็บ ตายในวัฏฏะนี้ ถ้าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราเกิดมาในสถานะนี้ เกิดมาได้เป็นมนุษย์ เกิดมาได้มีลมหายใจ เกิดมาได้มีความรู้สึกนึกคิด เกิดมาแล้วพบพุทธศาสนา เกิดมาเห็นสังคม นี่สิ่งนี้มันมีคุณค่าแล้วแหละ แล้วสิ่งอื่น สิ่งอื่นก็เกิดเพราะเรามี นี่ถ้าเราเป็นโรคลมชัก เรามีเงินกุศลมหาศาลเลย แล้วเงินก็ช่วยเหลือเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเป็นโรคลมชัก แล้วเรามีเงิน ถ้าจิตใจเราดีขึ้นมา เงินนั้นก็แก้ไขเราได้ ลมชักก็รู้ว่าลมชัก ถ้าเป็นโรคประจำตัว ถ้าจิตใจมันดีขึ้นมา โรคก็คือโรคประจำตัว คนมีโรคประจำตัวเยอะแยะไปหมดเลย

กรณีอย่างนี้มันเป็นการคาด การหมาย การจะพลิกฟ้าคว่ำดินไง จะเปลี่ยนแปลงให้หมดไง เราไม่มีอำนาจเหนืออย่างนั้นหรอก ในเมื่อมีเวรกรรมเราก็แก้ไขไปตามนั้น แก้ไขแล้วไม่ใช่แก้ไขให้เป็นเหยื่อด้วย แก้ไขด้วยความเชื่ออย่างนั้นแก้ไขโดยเป็นเหยื่อนะ นี่พูดถึงโรคที่หาสาเหตุไม่ได้เกิดจากกรรมใช่หรือไม่คะ จบ

ข้อ ๑๓๐๖. ไม่มี

ข้อ ๑๓๐๗. นะ

ถาม : ๑๓๐๗. เรื่อง “เรียนถามข้อสงสัยในข้อถามเกี่ยวกับอวิชชาครับ”

กราบนมัสการท่านอาจารย์ที่เคารพ จากข้อความที่ว่าปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม การดับไปแห่งทุกข์ อนึ่งเพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารดับจึงดับ เรียนถามว่าปฏิจจสมุปบาทจะกล่าวไล่จากเหตุปัจจัยไปหาผลเสมอ เช่นเพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เป็นต้น

แต่ในส่วนของการดับไปของอวิชชา พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่าเหตุอะไรทำให้เกิดอวิชชา แต่กลับบอกวิธีที่จะแก้อวิชชาแทน กล่าวคือไม่ได้สาวจากรากเหง้าของอวิชชาว่ามาแต่ที่ใด แต่บอกเป็นวิธีแก้ให้แทน เหมือนหนามยอกเอาหนามบ่ง ซึ่งไม่ค่อยคล้ายกับการกล่าวในเบื้องต้นที่บอกในลักษณะของเหตุปัจจัยไปหาผลนะครับ

คำถามก็คือ

๑. ผมอยากทราบว่าอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาครับ แล้วเหตุปัจจัยที่ทำให้อวิชชาดับมีไหม? สมมุติว่าผมไปดับที่เหตุของอวิชชาแทนเลยจะได้ไหมครับ หรือว่าผมจะต้องปฏิบัติมรรคแทน ไม่สามารถดับที่เหตุของอวิชชาได้ และถ้าไม่สามารถดับที่เหตุของอวิชชาได้ สายก่อน ก่อนหน้าเช่นเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ไว้เพื่อให้คนสาวไปหาเหตุต่อเนื่องกันไป แต่เหตุเหล่านี้มิใช่การดับทุกข์อยู่ดีจริงไหมครับ เพราะว่าเหตุของทุกข์คืออวิชชา ซึ่งที่สุดก็ต้องปฏิบัติด้วยมรรค มิใช่การสาวหาเหตุของอวิชชา แต่ใช้การปฏิบัติมรรคเพื่อให้พ้นทุกข์แทน ด้วยเหตุนี้ท่านจะกล่าวในสายก่อนอวิชชาไว้เพื่อนัยยะกรณีใด

๒. กระผมอยากทราบว่าเหตุอะไรที่ทำให้สัตว์ที่เกิดมาในโลกจะต้องเกิดมาพร้อมจิตที่มีอวิชชาครับ ถ้ามองกันตามเหตุปัจจัย การเกิดของอวิชชาย่อมมีเหตุ จุดเริ่มต้นของวงจรปฏิจจสมุปบาทก็เช่นกัน กราบขอบพระคุณอย่างสูง

ตอบ : พูดซะยาวเชียว พูดซะยาวคนเขียนก็งง คนจะตอบก็งง เพราะอ่านแล้วมันงง ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง มันงงนะ มันงงเพราะอะไรรู้ไหม? มันงงเพราะว่าสังคมสงฆ์ สังคมนักปฏิบัติ สังคมของครูบาอาจารย์เรา เวลาก่อนที่จะประพฤติปฏิบัติท่านก็มีความสงสัยเหมือนเรานี่แหละ ยิ่งอ่านก็ยิ่งงงๆ เหมือนเรานี่แหละ ทุกคนยิ่งอ่านธรรมะนะ เพราะเราปฏิบัติแล้วไปเปิดพระไตรปิฎก เราปฏิบัติก่อน เราปฏิบัติเต็มที่เลยแล้วไปเปิดพระไตรปิฎก ตอนปฏิบัตินะอ่านแต่ประวัติครูบาอาจารย์ เพราะประวัติครูบาอาจารย์มันจะเป็นประสบการณ์ของครูบาอาจารย์องค์ไหนที่ปฏิบัติไป มันเป็นภาคปฏิบัติ มันไม่ใช่ภาคปริยัติ

ขนาดภาคปฏิบัติแล้ว เวลาเขียนเป็นตำรามันก็เป็นปริยัตินี่แหละ เวลาปริยัติเราศึกษาตามนั้นไป แล้วพยายามปฏิบัติสิ่งนั้นไป พอปฏิบัติไปจนคิดว่าตัวเองมีหลักฐานพอสมควรจึงมาเปิดอ่านพระไตรปิฎก นี่พอเปิดอ่านอย่างนี้ อ่านพระไตรปิฎก โอ้โฮ ถ้าอ่านตั้งแต่ต้น ยิ่งอ่านยิ่งงง จะงงมากกว่านี้ นี้ยังงงๆ เลย ขนาดมีหลักมีเกณฑ์มาอ่านแล้วมันยังงงๆ แล้วถ้าไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ มันยิ่งอ่านมันคงยิ่งงงมากกว่านี้อีก แต่พอมาอ่านแล้ว เออ งงๆ อยู่ แต่ก็อืม ยังเข้าใจได้เพราะมันปฏิบัติมา พอปฏิบัติมา นี่มันปฏิบัติ ภาคปริยัติแล้วปฏิบัติ

ทีนี้ปฏิบัติ เวลาปฏิบัติไป เวลาว่าอวิชชาดับ ธาตุดับปุ๊บ ธาตุดับ นามรูปดับ ดับไปจนถึงอวิชชาดับ แล้วอวิชชาดับมันบอกไม่มีเหตุมีผล แล้วเวลามีเหตุมีผล ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เวลาถ้ามีเหตุมีผล อวิชชาก็ต้องมีเหตุที่มา ถ้ามีเหตุที่มา มีเหตุที่มาของฝ่ายปฏิบัตินะ ในฝ่ายของปฏิบัติ ฝ่ายของปฏิบัติคือใคร? คือหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านพูดไว้ นี่ทุกอย่างมีที่เกิด ที่ดับ ทุกอย่างมีที่เกิด เวลามันดับมันดับตัวมันเอง แต่ทุกอย่างมีที่เกิดใช่ไหม? แล้วว่าอวิชชาเกิดที่ไหน?

หลวงปู่มั่นบอกอวิชชาเกิดจากฐีติจิต เกิดจากภพ เพราะมีภพ มีสถานที่อวิชชาถึงเกิดตรงนั้น ถ้าเกิดตรงนั้น นี่ใครเป็นคนรู้คนเห็นล่ะ? นี่รู้เห็นขึ้นมาเพราะภาคปฏิบัติไง แต่ถ้าภาคปริยัตินะ ปริยัติเป็นอย่างนี้ ภาคปริยัติ ปริยัติก็คือปริยัติ ปฏิบัติก็คือปฏิบัติ นี้พอในปัจจุบันนี้ยิ่งงงมากเข้าไปใหญ่ เวลาเรายิ่งอ่านยิ่งงง ใครยิ่งอ่านก็ยิ่งงงใช่ไหม?

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นเวลาท่านปฏิบัติของท่าน ท่านปฏิบัติของท่านโดยอำนาจวาสนาของท่านนะ แล้วเวลาท่านจะตรวจทานความจริง พอตรวจทานความจริง นี่ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา พระไตรปิฎก คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา แล้วเราศึกษานี่ศาสดาตอบเราไม่ได้ แต่เราอ่านความรู้ความเห็นจากศาสดานั้น พออ่านความรู้ความเห็นจากศาสดานั้นเราก็มีกิเลส เราก็สงสัยใช่ไหม? เราก็ตีความของเรา

ฉะนั้น หลวงปู่มั่นท่านปฏิบัติของท่าน ท่านก็มีความรู้ความเห็นของท่าน เวลาท่านมีความรู้ความเห็นของท่าน เวลาท่านมีความรู้ความเห็นของท่าน ท่านมาเปรียบเทียบ เทียบเคียงกับเจ้าคุณอุบาลี เวลาท่านเข้ากรุงเทพฯ ท่านมาปรึกษากับเจ้าคุณอุบาลี เจ้าคุณอุบาลีเป็นปราชญ์ของกรุงสยาม เป็นปราชญ์ในกรุงเทพฯ

ฉะนั้น เจ้าคุณอุบาลีท่านก็สนใจเรื่องนี้ เวลาถ้าปริยัติก็เป็นปริยัตินะ เวลาคุยปฏิบัติ ปริยัติกับปฏิบัติมันไม่เหมือนกัน ถ้าปริยัติกับปริยัติ แล้วปฏิบัติกับปฏิบัติมาคุยกันนะ มันก็เหมือนกับคนต่างสีแล้วมันมีทิฐิ มีความเห็นแตกต่างกัน มันก็ต้องมีการชนกัน ชนกันกับทิฐิไง ชนกันคือความเห็น องค์ความรู้ของตัวมันขัดแย้งกัน ว่าอย่างนั้นเลย ทีนี้เจ้าคุณอุบาลีท่านก็เป็นปริยัติ ท่านเป็นปราชญ์ของกรุงสยาม แต่ท่านก็ปฏิบัติด้วย

นี่เพราะท่านก็ปฏิบัติ แล้วท่านเป็นปริยัติด้วย ท่านปฏิบัติด้วย แล้วหลวงปู่มั่นท่านก็ปฏิบัติของท่าน แล้วท่านศึกษาปริยัติ แต่ท่านศึกษาโดยไม่มีความชำนาญเท่ากับเจ้าคุณอุบาลี เจ้าคุณอุบาลีท่านอยู่วัดบรมนิวาส หลวงปู่มั่นท่านอยู่ที่ถ้ำสาริกา พอถ้ำสาริกาหลวงปู่มั่นท่านพิจารณาของท่าน พอจิตท่านสงบลงท่านกำหนดจิตดูมาที่เจ้าคุณอุบาลี เจ้าคุณอุบาลีกำลังพิจารณาปฏิจจสมุปบาทอยู่ เจ้าคุณอุบาลีกำลังพิจารณาปฏิจจสมุปบาท แล้วท่านก็กำหนดวันไว้ แล้วพอท่านลงมาวัดบรมฯ มากราบเจ้าคุณอุบาลี พอบอกเจ้าคุณอุบาลีว่าวันนั้น เวลานั้นๆ ท่านอาจารย์ได้กำหนดอย่างนั้นๆ ใช่ไหม? เจ้าคุณอุบาลีทึ่งเลยนะ

นี่ไงคนปฏิบัติกับคนปฏิบัติคนหนึ่งเป็นภาคปริยัติ เป็นปราชญ์แห่งสยามแล้วปฏิบัติด้วย คนหนึ่งปฏิบัติด้วย แต่พยายามจะศึกษาภาคปริยัติขึ้นมาเพื่อให้มันมาตรวจสอบกัน เพราะธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา นี้ศาสดาพูดไม่ได้ ศาสดาพูดไม่ได้ แต่เจ้าคุณอุบาลีท่านเป็นปราชญ์แห่งสยาม ท่านเข้าใจในเรื่องปริยัติ แต่ท่านปฏิบัติด้วย แต่ปฏิบัติว่าปริยัติเป็นหลักใช่ไหม ปฏิบัติขึ้นมามันก็ยังเริ่มลุ่มๆ ดอนๆ แต่หลวงปู่มั่นท่านปฏิบัติของท่านๆ ท่านปฏิบัติของท่าน ท่านมีความรู้ความเห็นของท่าน แต่ท่านก็อยากจะเทียบเคียงกับธรรมและวินัย กับศาสดาเพื่อให้มันเข้าไปทางเดียวกัน

ฉะนั้น เวลามาศึกษา นี่ท่านเป็นพระป่า เห็นไหม จะมาศึกษาปริยัติมันก็แบบว่าเรื่องภาษา เรื่องภาษา เรื่องศัพท์ต่างๆ มันก็ไม่ชำนาญใช่ไหม ท่านมาปรึกษากัน นี่ไงมันมาตรงกัน เพราะว่าจากภาคปริยัติมาปฏิบัติ จากภาคปริยัติมาปฏิบัติ นี่คุยกัน ปรึกษากัน ทำกันมันก็เป็นคุณงามความดีขึ้นมา มันเป็นคุณงามความดีก็เป็นหลักเป็นชัยขึ้นมา เป็นหลักเป็นชัยขึ้นมา แต่ก่อนแต่เดิมเรื่องภาคปฏิบัติทุกคนจะไม่กล้าปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วจะไม่มีครูบาอาจารย์ ปฏิบัติแล้วจะไม่มีคนชี้นำ ปฏิบัติแล้วจะเป็นบ้า แต่หลวงปู่มั่นท่านปฏิบัติของท่านด้วยความจริงของท่าน ท่านมีความรู้ ความเห็นของท่าน แต่ท่านยังเทียบเคียงมากับภาคปริยัติ แล้วภาคปริยัติโดยผ่านการสอบทานกับเจ้าคุณอุบาลี

เจ้าคุณอุบาลีท่านอยู่ในภาคปริยัติ เห็นไหม แล้วท่านปฏิบัติด้วย พอสอบทานกันมันก็เป็นมงคล มันเป็นมงคล ทำให้สังคมมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา ทำให้ผู้ปฏิบัติมีหลักขึ้นมา แล้วทำขึ้นมาจนสังคมยอมรับในภาคปฏิบัติว่ามรรคผลมันมีจริง พอมรรคผลมีจริง นี่จากปริยัติ ปฏิบัติถ้ามันต่างทำขึ้นมาให้เป็นความจริงระหว่างปริยัติ ปฏิบัติขึ้นมาต่างอันต่างจริงมันจะเป็นความจริงขึ้นมา แต่พอจริงขึ้นมาแล้วสังคมก็ยอมรับใช่ไหม? แล้วครูบาอาจารย์ท่านก็ได้รับรสของธรรม ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นี่มันจะมีคุณธรรมในหัวใจ

หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เรา เจ้าคุณอุบาลีท่านได้รสของธรรม เห็นไหม ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย ท่านได้รับรสของธรรมนั้นไป ท่านมีวิมุตติสุขประจำใจของท่าน ท่านหลุดพ้นของท่านไป แล้วท่านสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาที่เรามาประพฤติปฏิบัติกันมันทำตามขึ้นมา มันเป็นจริงขึ้นมา แต่เดี๋ยวนี้พวกเราเป็นคนอำนาจวาสนามันอ่อนแอไง นี่เวลาจะปฏิบัติกันก็ต้องศึกษาก่อนไง แล้วยิ่งปัญญาชนนะ ปัญญาชนมันชนดะนะ มันชนด้วยทิฐิมานะของมันนะ เวลามันศึกษามามันก็อ้างแต่ความรู้ของมันนะ นี่ชนดะไปหมดเลย

ไอ้พวกที่ปฏิบัติหน่อมแน้ม ปฏิบัติโดยไม่มีวุฒิภาวะ มันก็บอกว่า อู๋ย กำหนดนี่ กำหนดปั๊บปัญญามันจะเกิดเลยนะ อู๋ย ปฏิบัติไปนะมันจะเกิดมรรค เกิดผล จากที่หลวงปู่เสาร์กับเจ้าคุณอุบาลีต่างฝ่ายต่างประพฤติปฏิบัติขึ้นมาแล้วสอบทานกันมาจนเป็นมงคลของสังคม เป็นมงคลของประเทศชาติ เป็นมงคลของโลก เพราะมันมีข้อมูล มันมีองค์ความรู้ มันมีความจริง มันมีวิมุตติสุขตามความเป็นจริงของครูบาอาจารย์ของเรา

ในปัจจุบันนี้ ในภาคปฏิบัติในปัจจุบันนี้สุกเอาเผากิน อยากได้โดยที่ไม่ต้องปฏิบัติเลย อยากได้โดยที่มันจะเกิดขึ้นมาจากใจเลย อยากได้โดยที่มันจะเป็นที่ว่าเราสมความปรารถนาเลย มันก็เลยลุ่มๆ ดอนๆ เพราะอะไร? เพราะต่างคนต่างไม่มีวุฒิภาวะ ต่างคนต่างอ่อนด้อย ต่างคนต่างไม่มีกำลัง แล้วทำกันไปโดยกิเลสบังคับให้ทำ กิเลสขับไสให้ทำ กิเลสบังตาให้ทำ กิเลสมุดลงไปให้พยายามทำขึ้นมา มันไม่มีอะไรเป็นความจริงขึ้นมาแม้แต่นิดเดียวเลย ทีนี้พอไปศึกษาขึ้นมา ในทางภาคปริยัติกับครูบาอาจารย์ของเราจากประวัติหลวงปู่มั่น จากประวัติครูบาอาจารย์ท่านก็เขียนไว้แบบนี้เหมือนกัน นี้เขียนไว้อย่างนี้ พอเราศึกษา นี่มันศึกษามา เห็นไหม ดูสิ

ถาม : อยากเรียนถามข้อสงสัยครับเกี่ยวกับเรื่องอวิชชา

ตอบ : แล้วอวิชชาเพราะอะไร? เพราะอยากจะดับอวิชชา อยากจะพ้นจากกิเลส แต่ว่าอวิชชามันคืออะไร? ที่มาที่ไปมันคืออะไร? แล้วมันอย่างไร? มันตาบอดคลำช้าง เวลาครูบาอาจารย์ของเรานี่นะจิตใจมืดบอด แต่พยายามทำขึ้นมาให้จิตใจใสสว่าง ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมา ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เราตรวจสอบ ตรวจทานกันมาเพื่อให้เป็นความจริงขึ้นมา จากที่ดวงตามืดบอดนะพยายามทำขึ้นมาให้เป็นความจริงขึ้นมา แล้วไม่ใช่ตาบอดคลำช้าง ตาใสๆ นี่แหละ

นี่เวลาหลวงปู่มั่นกับเจ้าคุณอุบาลี หลวงปู่มั่นกับสมเด็จมหาวีรวงศ์ เวลาสมเด็จถามหลวงปู่มั่นไง “ท่านมั่น เราอยู่กับตู้พระไตรปิฎก” เพราะสมเด็จท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ ท่านเป็นผู้ควบคุมการสอบธรรมสนามหลวง ท่านควบคุมในภาคการศึกษาทั้งหมดของประเทศไทย ศึกษาในเรื่องของศาสนา นี่ท่านยังถามเลยว่า

“เราอยู่กับกองตำรา เพราะลูกศิษย์ลูกหาตรวจข้อสอบเยอะแยะไปหมดเลย เรายังต้องอยู่กับกองตำราอยู่นี่ อยู่กับตำราเรายังงงอยู่เลย ท่านอยู่ในป่าใครจะไปสอนท่าน”

หลวงปู่มั่นบอกเลย “เกล้ากระผมอยู่ในป่า เกล้ากระผมฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา”

นี่เวลาจิตใจปัญญามันเกิด ธรรมมันเกิด มันกระทบกระเทือนกันมันมีธรรมมาตลอด นี่สิ่งที่ว่าเวลาที่ความเป็นจริงที่ความเป็นมงคลขึ้นมา เห็นไหม มันจะเป็นมงคล มีมรรคมีผลตามความเป็นจริง แต่ถ้ามันไม่มีมงคล ถ้ามันอ่อนด้อยมานะ อ่อนด้อยมา เราศึกษามา เราฟังของครูบาอาจารย์มาเราจะเอาความจริงของเรา แล้วความจริงมันอยู่ไหนล่ะ? ความจริงมันอยู่ไหน? นี่ถ้าความจริง เพราะเราศึกษามาแล้วใช่ไหม?

อวิชชาสายดับ สายดับ วิโรโธ ดับมาตั้งแต่ภพ ตั้งแต่ชาติ ดับเข้าไป อะไรมันดับเข้าไป แล้วบอกว่ามันไม่มีที่มาที่ไป มันไม่มีเหตุ มันไม่มีเหตุเพราะอะไรล่ะ? มันไม่มีเหตุเพราะมันเป็นปริยัติ ปริยัติมันเป็นทางวิชาการ พอวิชาการก็จะมาอ่านหนังสือให้รู้ จะมาอ่านหนังสือให้เป็นพระอรหันต์ไง ศึกษาวิจัยจนเป็นพระอรหันต์ จะรู้ไปหมด ถ้ารู้แล้วมันก็ไม่มีอวิชชาไง ถ้ามันจะศึกษาวิจัยจนเป็นพระอรหันต์มันก็คอมพิวเตอร์มันเป็นก่อนแล้ว คอมพิวเตอร์มันมีพร้อม มันเป็นไปไม่ได้หรอก ตาบอดคลำช้าง นี่ตามืดบอดแล้วก็จะมาคลำเอา ลูบเอา แล้วก็จะบอกมาสิ บอกมา บอกมาธรรมะเป็นอย่างไร

เขาบอกอยู่แล้ว แต่ไอ้กิเลสบังตา ไอ้ตาบอดคลำช้างมันคลำ อ๋อ อวิชชามันเป็นแท่งๆ เนาะ ๔ เท้า ช้างมันมี ๔ ขา อ๋อ อวิชชามันเป็นแท่งๆ อย่างนี้เนาะ เป็นเหมือนต้นเสาเนาะ ไปคลำที่หู อ๋อ อวิชชามันคงจะเป็นเหมือนจานนี้เนาะ มันเป็นบางๆ นี้เนาะ ไปคลำงวงมัน อ๋อ อวิชชามันจะม้วนได้อย่างนี้เนาะ อวิชชามันคงจะเข้าไปกลืน นี่มันจะทวนกระแสกลับเข้าไปตัวมันเนาะ ถ้าช้างมันดูดน้ำใส่ปาก อ๋อ ไอ้งวงนี้มันเข้าปากได้ด้วยเนาะ อ๋อ อวิชชามันมีถ้ำด้วย มันก็เป็นตาบอดคลำช้างไง เพราะตาบอดคลำช้าง ปริยัติก็คือปริยัติ ปริยัติคือการศึกษา

สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาคนละชั้นคนละตอนไม่เกี่ยวกันเลย สุตมยปัญญา ปัญญาจากการศึกษา ศึกษาแล้วอยากประพฤติปฏิบัติขึ้นมา นี่ภาคปฏิบัติๆ มันก็จินตมยปัญญา จินตนาการทั้งนั้น มันจินตนาการด้วยจิตสงบมันก็ลึกลับมหัศจรรย์ ทีนี้ลึกลับมหัศจรรย์ ปริยัติก็คือปริยัติ ที่มันมีปัญหากันอยู่นี้เพราะปริยัติอยากเป็นปฏิบัติ วิปัสสนาจารย์ จับมาเลยนะมานั่ง ๖ เดือนกลายเป็นวิปัสสนาจารย์ ๖ เดือนนี่เอ็งรู้ธรรมหรือ? เรียนนี่จบมา ๙ ประโยคจบไปเลย แล้วมาฝึกวิปัสสนาจารย์ พอไปนั่งหลับหูหลับตามาจะสอนปฏิบัติ เอ็งรู้จักกิเลสหรือ? จิตเคยสงบไหม? รู้จักสมาธิไหม? สมาธิเป็นอย่างไร?

ที่มันมีปัญหาเพราะปริยัติอยากปฏิบัติ ปริยัติ ปริยัติอยากเอาธรรมภาคปริยัติมาเป็นความจริง มันไม่มีหรอก ตาบอดคลำช้าง วิปัสสนาจารย์นี่จานกระเบื้อง ไม่มี ไม่มี แต่ถ้ามีมันจะมีจริงของมันขึ้นมา ถ้ามีจริงขึ้นมามันจะรู้จริงของมันขึ้นมา ถ้ามันรู้ไม่จริงมันเป็นไปไม่ได้หรอก

นี่เขาบอกว่า

ถาม : ในคัมภีร์ไม่บอกว่าอะไรทำให้อวิชชาเกิด แต่กลับบอกวิธีแก้อวิชชาแทน กล่าวคือในการสาวหาอวิชชา

ตอบ : ในคัมภีร์ ในคัมภีร์ก็คือปริยัติ ปริยัติก็คือปริยัติ ปริยัติต้องมีปฏิบัติ แล้วเวลาปฏิบัติ เห็นไหม เวลาหลวงตาท่านจบมหามา ไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกเลยนะ

“มหา สิ่งที่เรียนมา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันประเสริฐมาก เราเทิดใส่ศีรษะไว้”

เชิดชูธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภาคปริยัติ เพราะหลวงตาท่านก็เรียนมาจนเป็นมหา มหาคือเปรียญ ๓ ประโยค เรียนมาเสร็จแล้ว ความที่เรียนมาท่านบอกว่าเทิดใส่ศีรษะไว้ แล้วความรู้ ความเห็นเก็บใส่ เก็บใส่ลิ้นชักไว้ เก็บใส่สมองแล้วลั่นกุญแจไว้อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมา เวลาปฏิบัติมันจะลำบาก ลำบากคือมันจะขัดแย้งกัน คือมันจะสร้างภาพ จิตใจนี่มันหลอกมันหลอนมันจะสร้างภาพว่าจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนั้น นี่จินตนาการ แล้วพอจินตนาการจิตมันไม่ละเอียดพอ มันจะไม่เข้าสู่ภาวนามยปัญญา มันจะไม่เกิดปัญญาชำระล้างกิเลส มันจะเกิดปัญญาจากกิเลส ปัญญาจากสมุทัย ปัญญาจากที่เราศึกษาเป็นมหามา

สิ่งที่เป็นมหามานี่เราศึกษามาจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราเรียนบาลี เรียนบาลี เรียนศัพท์ เรียนแปล เรียนเรียงความ เรียนความเข้าใจในเรื่องอริยสัจ นี่คือเราเรียนมาใช่ไหม เรียนมาคือเหมือนนักเรียนเรียนจากครูบาอาจารย์มา แต่เรายังไม่ได้ปฏิบัติงาน เรายังไม่ได้ทำหน้าที่การงาน จนเราประสบความสำเร็จในอาชีพของเรา เรายังไม่มีอาชีพ เราเรียนหนังสือมาเรามีความรู้ แต่เรายังไม่มีอาชีพ ถ้าเราเรียนมาแล้ว เราจบมาแล้วเราประกอบสัมมาอาชีวะเรามีอาชีพขึ้นมา อาชีพที่ทำขึ้นมาประสบความสำเร็จ นั้นเราถึงจะมีอาชีพ

นี่ก็เหมือนกัน เราเรียนปริยัติมายังไม่ได้ปฏิบัติ ถ้ายังไม่ได้ปฏิบัติ ยังไม่มีมรรคไม่มีผลขึ้นมา ยังไม่มีอาชีพ ถ้ามีอาชีพขึ้นมา เราจะมีอาชีพขึ้นมา เราต้องมีวิชาชีพของเรา วิชาชีพของเราคือสติ สมาธิ ปัญญา ถ้าเรามีสติ สมาธิ ปัญญาขึ้นมา มันวิชาชีพของเรา มันไม่ใช่ชื่อ มันไม่ใช่ตำรา มันเป็นความจริงขึ้นมา สติก็สติจริงๆ สมาธิก็สมาธิจริงๆ แล้วเวลาเกิดปัญญา นี่ปัญญาที่มันชำระล้างกิเลสมันก็เป็นปัญญาจริงๆ ถ้าปัญญาจริงๆ มันมีมรรคมีผลขึ้นมา มันมีความจริงของมันขึ้นมา

ฉะนั้น เวลาว่ามหา มหาเรียนจบมาแล้ว เอาความรู้ความเห็นใส่ลิ้นชักไว้นะ แล้วลั่นกุญแจไว้ เพราะมันลั่นกุญแจไว้เราจะมาทำอาชีพ เราทำอาชีพเราต้องการลูกค้า เราต้องการให้สินค้าเราเพื่อจะให้ลูกค้าเราซื้อไป เราก็ไปห่วงทางวิชาการว่าคุณสมบัติของสินค้าเรามันจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ มันก็ไปห่วงแต่เราทำแต่สินค้าเรา แต่เราไม่ห่วงถึงลูกค้าของเราว่าลูกค้าของเรามันจะรับสินค้าอันนี้ไหม? เราทำอาชีพใดมา ไม่มีลูกค้าซื้อสินค้าเราไป นี่สินค้าเราจะขายได้อย่างไร? ถ้าสินค้าเราขายไม่ได้มันจะมีอาชีพได้อย่างไร? อาชีพมันเกิดขึ้นมาไม่ได้หรอก แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมาแล้วเราก็จะไปห่วงแต่สิ่งที่เราศึกษามา

สิ่งที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็เกิดจินตนาการ เห็นไหม นี่มันจะเตะ มันจะถีบกันไง เตะถีบคือว่าเราก็จะยึดมั่นถือมั่นแต่ความรู้ ความเห็นของเรา แต่ถ้าความจริงลูกค้า ลูกค้าเขาต้องการสินค้าใช่ไหม? กิเลส กิเลสถ้ามันกลัวมันกลัวศีล มันกลัวสมาธิ มันกลัวธรรมของเราที่เป็นความจริง ถ้าความจริงของเรายังไม่เกิดขึ้น กิเลสมันไม่กลัวหรอก นี่จะไปนั่งภาวนาก็กลัวเจ็บ กลัวปวด จะเข้าป่าก็กลัวผี กลัวสาง จะออกธุดงค์ก็กลัวลำบาก นี่อย่างนี้กิเลสมันไม่กลัวหรอก ถ้ากิเลสมันไม่กลัว ความจริงมันไม่เกิดหรอก ถ้าความจริงมันไม่เกิดมันต้องเก็บไว้ก่อน เก็บไว้ก่อนแล้วก็สู้มันไป ทำความจริงให้มันเกิดขึ้น ถ้าความจริงมันเกิดขึ้นมามันก็จะเกิดศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา เห็นไหม บอกวิธีการฆ่ากิเลสๆ ไม่บอกวิธีดับอวิชชาอย่างไร? วิธีการฆ่ากิเลส วิธีการนั่นล่ะคือมรรค เวลาภาคกิเลสมันก็เป็นสมุทัย เวลาภาคของธรรมก็เป็นมรรค เป็นมรรค มรรคที่มันต่อสู้กัน เวลามันรวมตัว มันสมุจเฉทปหาน มันรวมตัวมันทำลายหมด ทำลายทั้งภาคกิเลสและภาคฝ่ายมรรคด้วย เพราะมันทำลายหมดเลย ทำลายแล้วมันเหลืออะไร เหลือสิ่งที่มันเหลือออกไป นั้นมันเป็นผลอีกอันหนึ่งในภาคปริยัตินะ ฉะนั้น ในภาคปริยัติมันจะรู้จริงของมัน ฉะนั้น ถึงว่าในคัมภีร์ไม่บอกไว้เลย ในพระไตรปิฎกบอกวิธีการไว้หมด

ในคัมภีร์นะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา ปรารถนาจะมารื้อสัตว์ขนสัตว์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่ามากดทับสัตว์ ถ้าบอกแจ่มแจ้ง บอกเรื่องของกิเลส กิเลสมันก็เอากิเลสมาทำร้ายตัวเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ แต่ถ้าบอกกิเลสเป็นอย่างนั้น นี่เขาบอกว่าไม่ควรเล่นการพนัน ไม่ควรเสพยาเสพติด ไปดูบ่อนสิ คนทำไมเต็มบ่อนเลย บอกอย่าเสพยาเสพติด ยาเสพติดขายดีมากในเมืองหลวง ยาเสพติดขายดีมากเลย นี่ก็บอกนะบอกว่าอะไรเป็นกิเลส บอกมาสิอะไรเป็นกิเลส นี่บอกขนาดไหน นั่นคือกดทับ กดทับลูกศิษย์ นี่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไม่ใช่กดทับสัตว์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉลาดมาก แต่นี่ศึกษามาภาคปริยัติไง ทำไมคัมภีร์ไม่บอกเลยว่าอวิชชาเกิดจากอะไร เขาบอกแล้ว แต่เอ็งไม่รู้ เอ็งตาบอดคลำช้างไง เอ็งตาบอดแล้วคลำช้าง นี่เขาบอกเป็นภาคทฤษฎี เป็นปริยัติ แล้วถ้าปฏิบัติ ปฏิบัติความจริง แล้วมาปฏิบัตินะ เดี๋ยวนี้นักปฏิบัติเยอะ แล้วก็แบกหามความรู้มาปฏิบัติไง พอแบกหามความรู้มาปฏิบัติมันก็เลยตัดแข้ง ตัดขาตัวเองไง ล้มลุกคลุกคลานอยู่นั่นไง วิปัสสนาจารย์ เวลาศึกษาจบแล้วมาศึกษาวิปัสสนาจารย์ มันจะเป็นวิปัสสนาจารย์กันนะ สมาธิยังทำไม่เป็น วิปัสสนาจารย์อะไรกัน

ฉะนั้น พูดถึงว่าสิ่งที่ในคัมภีร์ไม่บอก ปริยัติคือปริยัตินะ ที่มันยุ่งอยู่นี่ก็เพราะว่าปริยัติจะเป็นปฏิบัติ เขาบอกว่าไก่บ้านมันจะเป็นไก่ป่า ไก่ป่ามันจะเป็นไก่บ้านไง ไก่บ้านมันต้องให้เจ้าของมันเลี้ยง ไก่ป่ามันหากินเองนะ ไก่ป่ามันหากินเอง แล้วจิตใจมันเข้มแข็งมาก นี่ก็เหมือนกัน ไก่บ้านมันจะเป็นไก่ป่า เอาไก่บ้านไปปล่อยไก่ป่าสิมันจะขันโอกอี้โอ้กโอก มันจะตามเจ้านายมันกลับบ้าน มันไม่อยู่ป่าหรอก ไอ้ไก่ป่าไปหามันไม่เจอนะ มันอยู่ในป่า

นี่ก็เหมือนกัน ในภาคปริยัติ ปฏิบัตินะมันยุ่ง ยุ่งตรงนี้

ถาม : ๑. อยากทราบว่าอะไรเป็นปัจจัยทำให้เกิดอวิชชาครับ แล้วเหตุปัจจัยที่ทำให้อวิชชามันดับมีไหมครับ

ตอบ : อะไรทำให้เกิดอวิชชา อวิชชาคือความไม่รู้ แล้วอะไรทำให้เกิดอวิชชา แต่หลวงปู่มั่นท่านบอกว่าฐีติจิต คือว่าอวิชชามันมีที่เกิด แต่เหตุทำไปสิ นี่เวลาพูดถึงสังโยชน์นะ บอกมาสิสังโยชน์อยู่ไหนจะไปฆ่าสังโยชน์มัน แล้วสังโยชน์มันคืออะไรล่ะ? นี่เหตุอะไรที่เกิดอวิชชา ไม่มีทางรู้หรอก ฉะนั้น ในทางปริยัติที่ไปเขียนปัจจยาการกันนั่นน่ะ เขียนปัจจยาการ เขียนภพภูมิ เขียนมาเต็มไปหมดเลย แล้วก็พิมพ์แจกกัน อู๋ย ชื่นใจ ชื่นมื่น

ถ้าเป็นปริยัตินะ เป็นทางวิชาการ นั้นมันก็อยู่ในสังคมของวิชาการ แต่เวลาเป็นจริง นี่เราดูสิดูหนังสือนำเที่ยวสิ แล้วเราไปสถานที่ท่องเที่ยวนั้นมันจะเหมือนหนังสือที่นำเที่ยวไหม? มันยังแตกต่างกันเลย แล้วนี่พูดถึงความจริงมันละเอียดกว่านี้เยอะ ภพภูมิมันละเอียดลึกซึ้งมากกว่านี้เยอะ แล้วจะรู้ได้อย่างไร ถ้าใครจะรู้ได้ รู้ได้อย่างไร?

ถาม : สมมุติว่าผมไปดับเหตุของอวิชชาแทนเลยจะได้ไหมครับ หรือว่าผมจะต้องปฏิบัติมรรคไป

ตอบ : อันนี้มันเป็นที่ว่าพูดทางวิทยาศาสตร์ แล้วพยายามจะเรียบเรียงทางวิทยาศาสตร์ให้ทำความเข้าใจได้ ถ้าความเข้าใจได้มันก็เป็นเรื่องความเข้าใจได้ เข้าใจได้ของตรรกะ ของสัญชาตญาณ เวลาครูบาอาจารย์ พระที่เป็นอาจารย์ เวลาเทศน์ธรรมะเป็นตรรกะ ทางโลกฟังแล้วซาบซึ้งจับใจ มีความรู้ แบบว่ามีจินตนาการที่ทำได้ แต่เวลาไปฟังเทศน์หลวงปู่มั่นนะ เวลาฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ฟังแล้วงงนะ งงมากเลย

เอ๊ะ มันไม่มีในพระไตรปิฎกนะ ฮึ ในพระไตรปิฎกไม่ได้บอกไว้อย่างนี้นะ งงใหญ่ ไปฟังภาคปฏิบัติมานะงง งงไปไม่ถูกเลย แต่ถ้าไปฟังทางโลกเป็นทฤษฎีนะ แหม แจ่มแจ้ง สว่างไสว เข้าใจ แหม ซาบซึ้ง กิเลสกับกิเลสมันสอนกัน นี่ปริยัติมันเป็นอย่างนั้นแหละ แต่พอไปฟังเทศน์ปฏิบัตินะ โอ้โฮ งง ไปไม่ถูก งงสิ งงเพราะไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น พูดถึงสมาธิก็ได้แต่ชื่อมัน ตัวมันไม่รู้จัก เวลาเกิดปัญญาที่ชำระล้างกิเลส ปัญญาที่เท่าทันตัวเอง ปัญญาที่ถอดถอน งงไปหมดเลยนะ เอ๊ะ ไอ้นี่มันเกิดมาได้อย่างไร? อู้ฮู เกิดแล้วมันสุดยอดเลยอยากให้เกิดอีก ไม่มี เพราะเกิดอีกมันคือตัณหาซ้อนตัณหา แต่ถ้ามันกลับไปทำความจริงขึ้นมา พอมันเกิดขึ้นมา อู๋ย ซาบซึ้งๆ ซาบซึ้งมาก แล้วซาบซึ้งนี่ภาคปฏิบัติมันเป็นแบบนั้น

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าสมมุติว่า เราไปสมมุติว่าคืออยากได้อยากเป็น อยากได้อยากเป็นโดยทางวิทยาศาสตร์ ทางโลกมันเป็นอย่างนี้ ทางโลกคือเราต้อง เวลาตาย เวลาตายมันก็จะไปเกิดในครรภ์ พอไปรู้ตัวอีกทีก็ไปนอนอยู่ในครรภ์นั่นน่ะ นั่นล่ะสมมุติว่าอย่างนั้น สมมุติว่าไปเกิดก็ไปเกิดในครรภ์ เกิดในไข่ เกิดในน้ำครำ เกิดในโอปปาติกะ นั่นล่ะรู้ตัวรู้ตอนนั้นแหละ รู้ตอนเกิด ฉะนั้น สิ่งที่รู้ตอนเกิด ถ้าไม่สามารถดับที่เหตุอวิชชาได้ ส่ายหน้าส่ายหลังนะ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ไว้เพื่อให้สาวไปหาเหตุต่อเนื่องกัน แต่เหตุเหล่านี้มิใช่การดับทุกข์

นี่ตรงนี้สะเทือนใจ แต่เหตุเหล่านี้มิใช่การดับทุกข์ ทำหรือยังล่ะ? โยมทำตรงนี้ก่อน โยมทำตามที่พระพุทธเจ้าสอนก่อน พอทำตามที่พระพุทธเจ้าสอนก่อน เหตุเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการดับทุกข์ โยมจะรู้ว่าเหตุเหล่านี้มันจะเป็นดับทุกข์หรือไม่ดับทุกข์ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ ทุกข์เกิด เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ ทุกข์ดับ เหตุวิธีการดับทุกข์ นิโรธไง ทุกข์เกิด เหตุให้ทุกข์เกิดเราก็สาวอยู่นั่นล่ะ ทุกข์ดับ ทุกข์ดับ เหตุวิธีการดับทุกข์ แล้วเหตุเหล่านี้มิใช่การดับทุกข์

โยมเขียนมานี่ เราฟังแล้ว อืม อ่านตรงนี้สะเทือน สะเทือนเพราะอะไร? สะเทือนเพราะว่าเวลาพูดไปพูดกันแจ้วๆ นกแก้ว นกขุนทอง นี่ให้จบพุทธศาสตร์ด้วย เวลาพูดธรรมะพูดอย่างนี้ เวลาพูดทางวิชาการ แต่ไม่รู้หรอกว่าเหตุเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการดับทุกข์ เวลาเราทำไป ถ้าเราทำเหตุให้สมบูรณ์อย่างนี้จะรู้ได้ว่าดับหรือไม่ดับ ทุกข์จะมีจริงหรือไม่มีจริง ถ้ามันเห็นอย่างนี้ นี่เห็นจริงในภาคปฏิบัติ นี้ภาคปริยัติใช่ไหม เราไม่เคยปฏิบัติ เราก็เอาคำพูดของพระพุทธเจ้าที่สอนมาบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ มันจริงไหมครับ มันมีไหมครับ มันเป็นไปได้ไหมครับ พอมันเป็นไปได้ไหมครับมันก็สับสน มันก็จับจด มันก็ยิ่งยุ่งไปใหญ่เลย ถ้ายุ่งไปใหญ่มันก็ไปอีกเรื่องหนึ่งนะ

ฉะนั้น

ถาม : เหตุอย่างนี้ท่านกล่าวในสายก่อนอวิชชานัยยะกรณีนี้เป็นเช่นใด

ตอบ : อันนี้นัยยะกรณีเช่นนี้มันก็บอกว่า นัยยะกรณีเช่นนี้ท่านบอกให้เราทำ ถ้าเราทำได้จริงหรือเปล่า ถ้าเราทำได้แล้วนะ เห็นไหม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ถ้าเห็นตถาคตนะ อู๋ย จะกราบแล้วกราบเล่า กราบแล้วกราบเล่า กราบอยู่นั่นแหละกราบด้วยความซาบซึ้ง กราบเพราะอะไร? กราบเพราะเราหลุดพ้น กราบเพราะเราติดกับ เหมือนเสือติดจั่น แล้วมันปลดตัวมันออกจากจั่น ปลดออกจากบ่วงนั้นได้ เราจะซาบซึ้งขนาดไหน เสือติดจั่นมันดิ้น มันอยากไปมันไปไม่ได้นะ วันไหนถ้ามันปลดเชือกนั้นออกไปแล้ว แล้วมันหลุดพ้นจากเชือกนั้นไปมันจะซาบซึ้งแค่ไหน มันจะซาบซึ้งแค่ไหน แล้วถึงตอนนั้นจะเข้าใจได้ว่ามันกราบเพราะเหตุใด

ถาม : กระผมอยากทราบว่า เพราะเหตุอะไรทำให้สัตว์ที่เกิดมาในโลกนี้ต้องเกิดมาพร้อมกับอวิชชาครับ

ตอบ : การเกิดของอวิชชาย่อมมีเหตุ เราไปบอกว่าอวิชชาเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นส่วนหนึ่ง มันถึงบอกว่าจิตที่เกิด เราเกิดมา ทำไมต้องเกิดมาพร้อมกับอวิชชา อวิชชามันมีตั้งแต่พรหมลงมานะ ถ้าพรหมเป็นปุถุชน ถ้าพรหมเป็นอนาคามีนั่นน่ะอวิชชาก็มี แต่มันตัวอวิชชาแท้ แต่ถ้าเป็นอรูปพรหม พรหมที่เป็นปุถุชน นี่อวิชชาเต็มๆ เลย อวิชชานะ เพราะพรหมก็ไม่รู้จักชีวิตของเขา เพราะเทวดา อินทร์ พรหมไม่รู้จักชีวิตของเขาหรอก เขาก็อยู่ตามสถานภาพที่เขาได้เป็น นั่นคืออวิชชา นี่อวิชชาทั้งนั้นแหละ อวิชชามันอยู่กับจิต

ถ้าอวิชชาอยู่กับจิต การเวียนตายเวียนเกิดเพราะอวิชชามันพาเวียนตายเวียนเกิด ไม่ใช่ว่าทำไมคนเกิดมาแล้วต้องมีอวิชชา จิตนี่มันมีอวิชชามันถึงพาเวียนตายเวียนเกิด ถ้าพาเวียนตายเวียนเกิดนะ เพราะจิตมันมีอวิชชาของมันอยู่แล้ว ถ้าจิตมีอวิชชามันถึงเกิดไง มันมีอวิชชามันถึงเกิด ไม่ใช่เกิดแล้วค่อยมีอวิชชา

ถาม : จะต้องทำให้สัตว์ที่เกิดมาในโลกนี้ต้องเกิดมาพร้อมกับอวิชชาครับ

ตอบ : ถ้ามองกันตามเหตุปัจจัย เพราะการเกิดของอวิชชาย่อมมีเหตุ ยิ่งเรียนมากยิ่งงงมาก มันสับสนตรงนี้แหละ มันสับสนตรงวิชาการก็เป็นวิชาการ ปริยัติก็คือปริยัติไง ในปัจจุบันนี้นะมันสับสนเพราะว่าเราเรียนปริยัติ แล้วเวลาปฏิบัติ นี่ปฏิบัติตามปริยัตินั้นมันก็เลยเป็นจินตนาการหมด พอจินตนาการหมดมันก็เป็นการสร้างภาพทั้งนั้นแหละ พอสร้างภาพแล้วมันถึงเป็นสัพเพ ธัมมา อนัตตา

บอกว่าสัพเพ ธัมมา อนัตตานะ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาทั้งหมด นี่เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ใครพูดคำนี้แสดงว่าไม่เคยเห็นธรรมจริง แต่ถ้าสัพเพ ธัมมา อนัตตามันเป็นอนัตตาจริงๆ พอมันเป็นอนัตตาแล้ว นี่สัพเพ ธัมมา อนัตตา กุปปธรรม อกุปปธรรม ถ้ามันพ้น สภาพอนัตตาเกิดขึ้นตามความเป็นจริงแล้ว มันทำลายอวิชชาทั้งหมดแล้ว นี่มันเป็นอกุปปธรรมที่เป็นธรรมแท้ๆ ที่ไม่อยู่ในอวิชชามันเป็นอย่างใด

ธรรมที่ไม่อยู่ในอวิชชา นี่เป็นอกุปปธรรม มันไม่อยู่ในอนัตตาหรอก มันพ้นจากอนัตตา นี้ถ้าสัพเพ ธัมมา อนัตตา เพราะเราศึกษาเรื่องอนัตตา ศึกษาเรื่องความเป็นไปไง พอศึกษาเรื่องความเป็นไป มันก็อยู่ความเป็นไปอย่างนั้นแหละ มันก็เป็นอนัตตาอยู่อย่างนั้นแหละ มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ มันไม่พ้นหรอก มันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้ามันเป็นไปไม่ได้มันก็อยู่ของมันอย่างนั้นแหละ

ถ้ามันอยู่ของมันอย่างนั้น นี่ภาคปริยัติ นี้มันยังไม่ได้ปฏิบัติขึ้นมา มันยังไม่มีความจริงของมันขึ้นมา ถ้าวันไหนมีความจริงขึ้นมา มันรู้ความเป็นจริงขึ้นมา มันเข้าใจปั๊บ พอเข้าใจแล้วมันจะเข้าใจตรงนี้ เข้าใจที่ว่าทำไมเกิดต้องมีอวิชชามาด้วยล่ะ? ทำไมเกิดมาแล้วอวิชชาตามหลังมาล่ะ? เพราะมีอวิชชามันทำให้จิตเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ การเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะเพราะมันมีอวิชชา แล้วเวลามาปฏิบัติ เพราะมันมีอวิชชาอยู่แล้ว แล้วอวิชชามันเกิดมาจากไหนล่ะ? อวิชชามันเกิดมาจากไหน?

นี่เวลาธาตุรู้นะ ธรรมชาติที่รู้ จิตมีธรรมชาติที่รู้ เพราะมีอวิชชา รู้นั่นรู้ส่งออก แต่เวลามันหวนกลับขึ้นมานะ การจะเห็นอวิชชา จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส แต่ปุถุชนจิตมันคนหนา เวลามันชำระล้างขึ้นมา ดูสิจิตสงบแล้ววิปัสสนาญาณไปเวลามันปล่อย เวลามันปล่อยมันขาดนี่มันขาดเป็นโสดาบัน เป็นโสดาบัน เห็นไหม นี่ขันธ์อย่างหยาบ เป็นสกิทาคามีขันธ์อย่างกลาง เป็นอนาคามี

นี่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์อันละเอียด ขันธ์อันละเอียดเพราะอะไร? เพราะมันครอบงำจิตนี้อยู่ เวลามันชำระล้างไปหมดแล้ว มันเข้าไปถึงมันจะเห็นจิตเดิมแท้ นี่มันถึงเห็นอวิชชา ไอ้ที่ว่าอวิชชาๆ ปัจจยาการยังอีกไกล มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเรียนปริยัติแล้วรู้ มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่มีทางเป็นไป ที่ว่าปัจจยาการ เวลาศึกษาทางวิชาการปัจจยาการเป็นอย่างนั้น แต่เวลามันเป็นความจริงมันเกิดพั่บ พั่บ พั่บ มันเร็วกว่านี้เยอะนัก

นี่เวลาหลวงตาท่านไปที่วัดนรนาถฯ เห็นไหม สมเด็จวัดนรนาถฯ บอกว่า

“มหา ให้ดูนี่ให้หน่อย ดูปัจจยาการ”

“ไม่ดู ไม่ดู ไม่ดูหรอก เพราะไอ้เขียนนั่นน่ะมันเป็นเรื่องการ์ตูน มันเป็นการ์ตูนไว้สอนเด็ก แต่ถ้าเป็นความจริงมันไม่เป็นอย่างนี้หรอก มันละเอียดกว่านี้เยอะ”

ฉะนั้น เราเขียนการ์ตูนไว้สอนเด็ก ถ้าเราไม่มีการ์ตูนจะสอนเด็กได้อย่างไร? ก.เอ๋ย ก.ไก่ ถ้าไม่บอก เด็กมันจะเรียนได้อย่างไร? นี่ก็เหมือนกัน ปัจจยาการเขียนไว้นี่ เขียนไว้ทางวิชาการ เขาเอาไว้สอนโลก แต่คนที่ปฏิบัติจริง คนที่เห็นอวิชชาจริงไม่เห็นอย่างนั้นหรอก จะเห็นเร็วกว่านั้นหลายร้อย หลายพันเท่า แล้วถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา มันถึงเป็นจริงขึ้นมา ถ้าเป็นจริงขึ้นมามันก็เป็นความจริง ถ้ามันไม่เป็นความจริงขึ้นมา มันบอกว่าทำไมมันถึงต้องเกิดมาพร้อม? ก็มันเกิดมาแล้ว ก็มันมีของมันอย่างนี้

โลกไง โลกเป็นอจินไตย จิตเวียนตายเวียนเกิด มันเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ จะว่าเป็นอจินไตยหรือ? มันไม่ถึงขนาดนั้น แต่โลกเป็นอจินไตย กรรมเป็นอจินไตย ฌานเป็นอจินไตย พุทธวิสัยเป็นอจินไตย นี่พุทธวิสัยนะ ท่านรื้อค้นมาให้พวกเรานะ เรายังมาคิดของเรา นี่พูดถึงว่าในการความเห็นของเราไง นี่พูดถึงถามโดยปริยัติไง ทีนี้ถามโดยปริยัติ ถามเรื่องอวิชชา เลยตอบว่าตาบอดคลำช้าง มันตาบอดด้วยกัน คนถามก็งงๆ คนตอบก็งงๆ ตอบไปตอบมายิ่งงงเข้าไปใหญ่ เพราะเราจะแยกให้เห็นว่ามันเป็นภาคปริยัติ มันจะเข้าใจธรรมะไม่มี

ในภาคปริยัติ ศึกษาธรรมมาก็ศึกษาธรรมมาเป็นความรู้ ในการจะรู้ธรรมเห็นธรรมมันต้องปฏิบัติ การปฏิบัติมันถึงจะรู้ธรรมเห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้ารู้ตามความเป็นจริงขึ้นมามันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก อันนั้นเป็นความจริง อันนี้มันเป็นภาคปริยัติ นั้นเขียนมาถึงบอกว่ามันเป็นตาบอดคลำช้าง ตาบอดคลำช้าง แต่เพราะมันเขียนมาแล้ว เพราะสังคมเป็นแบบนี้เราถึงตอบไง เราจะตอบ เราจะแยกแยะให้เห็นว่าปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ปริยัติส่วนปริยัติ ปฏิบัติส่วนปฏิบัติ แล้วปฏิบัติเท่านั้นจะเกิดปฏิเวธ ปริยัติแล้วเกิดปฏิเวธไม่มี แต่ตอนนี้ปริยัติพยายามจะสร้างการปฏิบัติขึ้นมา โดยความปฏิบัติลวงๆ ปฏิบัติแบบประเพณีวัฒนธรรม ปฏิบัติโดยกิเลส แล้วจะบอกว่านี่คือเป็นภาคปฏิบัติ แต่ในภาคปฏิบัติความเป็นจริงของเรา เราปฏิบัติ เห็นไหม ปฏิบัติแล้วมันจะเกิดปฏิเวธ มันจะเกิดความจริงขึ้นมา นี้คือภาคปฏิบัติมันจะเป็นความจริง มันไม่ใช่ตาบอดคลำช้าง เอวัง