ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

สุ่มธรรม

๒๑ ก.ย. ๒๕๕๖

สุ่มธรรม

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๖

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : หลวงตาเทศน์ว่าสัญญาคือความจำได้หมายรู้ขอคำอธิบายคำว่าหมายรู้คืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง กราบนมัสการครับ

ตอบ : สัญญา สัญญาคือการจำได้หมายรู้ ถ้าหมายรู้มันหมายรู้ทุกเรื่อง มันก็เหมือนกับสารเคมี ถ้าสารเคมีคุณสมบัติในตัวมันก็สมบูรณ์ในตัวของมัน สัญญาคือการหมายรู้ ทีนี้บอกว่าหมายรู้ในเรื่องอะไร เราก็อยากจะหมายรู้แต่เรื่องที่พอใจ เรื่องที่ไม่พอใจมันก็ไม่ต้องการให้หมายรู้ มันก็ไม่ใช่

เพราะพอมันหมายรู้แล้วถ้าเรามีสติปัญญาเราแยกได้เองไง ถ้าหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ดี เราก็ดับมันเสีย ถ้ามันหมายรู้ในสิ่งที่ดี เราก็ส่งเสริมมันเสีย สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สัญญาคือสัญญา ทีนี้จำได้หมายรู้ ธาตุรู้ก็เป็นธาตุรู้

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า หมายรู้ หมายรู้คืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง

คุณสมบัติของหมายรู้ก็หมายรู้ทั้งหมด ทีนี้ได้แก่อะไรบ้างมันต้องแยกไป อันนี้เดี๋ยวจะตอบปัญหาไปข้างหน้า ข้างหน้าเขาถามมา เขาอ้างพระไตรปิฎกมาตลอดนะ ก็จะอ่านอย่างนี้แหละ

คือว่าเราจำศัพท์มาคำหนึ่งแล้วเราก็หันรีหันขวางไง คือเราไปไม่รอด เราก็งงไง ถ้าเราหันรีหันขวาง ทีนี้ในศัพท์คำหนึ่ง ดูมรรค ๘ มรรค ๘ มันก็ต้องดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ มันเกี่ยวเนื่องกันไปหมด อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจจสมุปบาท อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ ในปัจจยาการมันเกี่ยวเนื่องกันไป แต่เวลาออกมาเป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันแยกเป็นกอง แยกชัดเจนเลย มันเป็นปริยัติ

ทีนี้สัญญามันอยู่ในขันธ์ ๕ ถ้าอยู่ในขันธ์ ๕ มันหมายรู้ด้วยอะไร ที่มันเป็นกองชัดเจน หมายความว่า การสอนก็เหมือนสอนอนุบาล อนุบาลผสมคำใช่ไหม ก่อนผสมคำ ตัวอักษรต้องเข้าใจว่านี่คือตัวอะไร ก.ไก่ ข.ไข่ แล้วถ้าเขียนผสมแล้วมันก็เป็นคำมีความหมายไป

นี่ก็เหมือนกัน เป็นกอง สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็แยกเป็นกอง เป็นหมวดหมู่ แต่เวลาถ้ามันละเอียดเข้าไปๆ มันปล่อยวางเข้าไปจนเป็นตัวมันเองแล้วมันจะเป็นปฏิจจสมุปบาท มันเกี่ยวเนื่อง แล้วเกี่ยวเนื่องเป็นแบบใด

เวลาภาวนาไปมันจะมีเหตุการณ์อย่างนี้ พอเหตุการณ์อย่างนี้ปั๊บ เริ่มต้นใหม่ๆ ใช้ได้ ถูก เวลาใครถามหลวงพ่อ นี่ถูกไหมถูก พออีกคนหนึ่งถามมาหลวงพ่อ อย่างนี้ถูกไหมบอก ไม่ถูก

อ้าว! หลวงพ่อทำไมบอกอันนั้นถูก ทำไมบอกผมไม่ถูก

ไอ้บอกว่าถูกคือว่าเริ่มต้นมา เด็กอนุบาลมันจะเรียนอักษร ถ้ามันอ่านสะกดตัวได้ ถูก แต่มันยังไม่ผสมคำ ถ้าผสมคำผสมผิดมันก็ผิด

นี่ก็เหมือนกัน สมถะ เริ่มต้นการจะแยกความคิดกับแยกจิต แยกให้จิตมันสงบ แยกความรู้สึกนึกคิดแยกออกไปให้จิตใจมันปลอดโปร่ง ให้จิตใจมันปล่อยวางมา ถูกไหม ถูก แล้วถ้าถูกแล้วเป็นอย่างไรต่อ ถ้าไม่ทำพัฒนาต่อไป ผิด

เวลามันถูกมันผิดมันเป็นขั้นตอนของมันไง เริ่มต้นถูกไหม ถูก แล้วถูก ทำไมมันไม่ก้าวหน้าล่ะ ไม่ก้าวหน้าก็เอ็งผิด ผิดเพราะเอ็งไม่ทำให้มันพัฒนาขึ้นไปไง

เวลาคำถามคนจะงงไง คนงงแล้วเขาจะคิดวิทยาศาสตร์ เขาบอกว่า เวลาพูดถึงมรรค ๔ ผล ๔ แล้วมรรคก็ต้องมรรค แล้วทำไมมรรคแล้วมรรคเล่า

ก็มรรค ๔ ผล ๔ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค พอพูดถึงมรรคปั๊บ เขาก็คิด เหมือนกับเงิน ๑ บาท เงิน ๑ บาท เงิน ๑๐ บาท เงิน ๑๐๐ บาท เงิน ๑,๐๐๐ บาท เงิน ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวนมันแตกต่างกัน แต่ก็คือเงินเหมือนกัน ทีนี้บอกว่าพอพูดเรื่องบาท บาทเดียวก็พอ ไม่ต้องพูดเรื่องอื่นเลย บาทเดียวก็พอ บาทๆๆ แล้วมันจะเป็นร้อยเป็นพันขึ้นมา ๑๐๐ บาทก็ต้องเอา ๑๐๐ บาทมาแยกเลยหรือ แต่ถ้ามันเป็นแบงก์ ๑๐๐ มันก็ ๑๐๐ บาท

นี่ก็เหมือนกัน มรรคหยาบ มรรคละเอียด ถ้ากระบวนการของมรรคส่วนหนึ่งจบสิ้นไป กระบวนการของมรรคอันใหม่ มรรคที่ละเอียดกว่า มรรคที่กว้างขวางกว่า มรรคที่ลึกซึ้งกว่า มันจะไปชำระกิเลสที่ลึกซึ้งกว่า แล้วถ้ามหาสติ มหาปัญญา มรรคที่ละเอียดลึกซึ้งจะเข้าไปแก้กามราคะ แล้วถ้าเป็นปัญญาญาณจะไปแก้อวิชชา ไปแก้ความหลงผิดในฐีติจิต นี่ครูบาอาจารย์อย่างนี้ท่านเป็น แต่ไอ้คนฟังก็งงนะ

เราเจอบ่อย เวลาเขามาต่อว่า บอกเหมือนเล่นลิ้น พูดซ้ำๆ ซากๆ

ไอ้นี่มันไม่เคยปฏิบัติ แต่คนปฏิบัติแล้วนะ เขาจะหาครูบาอาจารย์ที่พูดถูกต้อง ถ้าพูดถูกต้อง ไอ้คนทำแล้วมันสะอึกเลยนะ เพราะมันรู้มันเห็นมา มันให้ชื่อไม่ได้ ครูบาอาจารย์ให้ชื่อเอง

หลวงปู่มั่นท่านพูดนะ เวลาลูกศิษย์ปฏิบัติมา ปฏิบัติมารู้จริงเห็นจริง แต่ตั้งชื่อไม่ถูก ต้องมาถามท่าน ท่านตั้งให้หมด เห็นไหม เวลาหลวงตาถามปัญหาท่าน ท่านบอกเลย แม้แต่ปัญหาก็ตั้งคำถามผิด ขนาดถามปัญหามาท่านบอกไม่ใช่ ถามอย่างนี้ไม่ถูก ต้องถามอย่างนี้

เวลาหลวงตาท่านไปพูดกับหลวงปู่แหวนไง ท่านบอกว่า ถ้าไม่รู้ถามไม่ได้ ถ้าไม่รู้ก็ตอบไม่ได้

ถ้าไม่รู้ เราตั้งคำถามได้อย่างไร เช่น เราไม่ใช่หมอ ไม่ใช่หมอ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคอะไร เราพูดถึงโรคที่เราเป็นไม่ถูกหรอก แต่ไปเล่าอาการให้หมอฟัง หมอเขาบอกเลย เป็นโรคไอ้นี่ แต่เราไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไรหมอ เป็นอะไร แล้วหายไหมเราไม่รู้ แต่เราหาคนรู้

ทีนี้เราบอกว่า ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ ธรรมะมันซับซ้อน มันมีนอก มีใน มีหยาบ มีละเอียด แต่วิทยาศาสตร์มันเป็นทฤษฎีคงที่ตายตัว มันก็เลยมีปัญหากัน จบ

ถาม : เรื่องจิตติดตามไม่ปล่อย (พยายามปล่อย แต่มันไม่ปล่อย)”

กราบเรียนพระอาจารย์ที่เคารพครับ กราบขอบพระคุณมากที่ช่วยดักไก่ที่ผมปล่อยออกไป ผมชอบปล่อยไก่ เพราะไม่รู้จะไปถามใคร เก็บไว้อย่างนี้มันก็คาๆ อย่างนี้ ถกพระไตรปิฎกไปเดี๋ยวก็เพี้ยนจริงๆ ช่วยชี้แนะเมตตาเด็กน้อยอย่างผมหน่อยครับ

อาการผมภาวนาไปเหมือนมีอะไรมากดที่หน้าอกด้านขวา ๓ ครั้ง (เมื่อก่อนมันกดแบบนี้คือมันรวมตกนิมิตทันที แต่มันไม่เคลื่อนไหว) (ครูบาอาจารย์หลายท่านเคยเทศน์ไว้ ผมเปิดเน็ตฟังว่าไม่ให้ลง) แต่หลังจากนั้นวันหนึ่งมันก็เป็นอีก แล้ววิ่งเฉียงลงไปทางขวา ไปทางไส้ติ่งแล้วหาย (อาการเหมือนโดนคุณไสย คล้ายก้อนตะคริวเคลื่อน) ผมออกทันที (ไม่ให้ตกนิมิต ผมเข้าใจว่ามันจะรวมลงนิมิต)

ครั้งที่ ๒ ครั้งนี้เป็นเหมือนเดิม ครั้งที่ ๓ ก็เหมือนเดิม วิ่งเฉียงขวาแล้วหาย แต่เกิดใหม่อีกครั้งแล้วเคลื่อนมาที่กลางคอ ผมกำหนดรู้ว่า (อ้าว! มึงจะวิ่งไปไหน) มันก็วิ่งขึ้นมาคาง แล้วก็มาหายที่กลางหัว ปรากฏว่าตกนิมิตไป หลังจากออก ผมพยายามจะไม่นึกถึงมันครับ แต่ ๓-๔ วันต่อมามันเป็นอีก เคลื่อนบริเวณกลางหัวมาที่บริเวณตรงตา บริเวณดั้งจมูก เหมือนมันจะทะลุออกแว็บเดียว นึกถึงสิ่งอื่น จิตถอนออกมา

คำถามครับ

. จิตผมไปยึดติดมัน ก้อนอันนั้นมันเลยเพี้ยนไป มันเป็นนิมิตหลอกเราใช่ไหมครับ

. ผมพยายามอยู่กับพ่อแม่คือพุทโธ แต่ห้ามมันไม่อยู่จริงๆ มันชอบแถออกไป ขออุบายครับ เรื่องอื่นผมไม่ค่อยหน้าด้าน แต่ผมขอหน้าด้านสักเรื่องครับ

ตอบ : เขาบอกเรื่องอื่นผมไม่ค่อยหน้าด้าน แต่ผมขอหน้าด้านสักเรื่องครับ ขอบพระคุณมากคำถามนี้เขาว่าหน้าด้าน ไม่ใช่หรอก

ความจริงนะ เราไปหาครูบาอาจารย์นะ เรามีสิ่งใดในใจหรือเรามีประเด็นในใจต้องพูดให้หมด ถ้าพูดให้หมดนะ อย่างเช่นเวลา ธมฺมสากจฺฉา เวลาพระที่ปฏิบัติแล้วไปหาครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านฟังเรื่องนี้บ่อย เพราะลูกศิษย์ท่านมาก อย่างเช่นหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ลูกศิษย์เยอะมาก แล้วจะมาฟังทั้งหมดมันเสียเวลา พอพูดปั๊บ ท่านก็รู้แล้ว เพราะประสบการณ์ท่านเยอะมาก

ฉะนั้น ลูกศิษย์เขาบอกว่าอาจารย์ฟังผมก่อนสิ ฟังผมให้จบสิคือกลัวอาจารย์จะตัดสินผิด คืออาจารย์ไม่ฟังของเราให้หมดไง แล้วตัดสินไปก่อน ก็เลยจะตัดสินให้คะแนนน้อยไง ถ้าฟังเราเยอะๆ เดี๋ยวอาจารย์จะให้คะแนนเรามากๆ ก็จะต่อรองอาจารย์ฟังผมก่อนสิ อาจารย์ฟังผมก่อนสิเห็นไหม ถ้าเราไปหาครูบาอาจารย์เราจะพูดหมดเลย

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเราหน้าด้าน...ไม่หน้าด้าน เรามีความรู้ความเห็นอย่างไร เราจะถามครูบาอาจารย์ของเรา เพราะไม่เสียเวลา ไม่เนิ่นช้า แล้วไม่แถด้วย ไม่ออกนอกลู่นอกทางไง ฉะนั้น สิ่งนี้เขาไม่ถือว่าหน้าด้าน เขาถือว่าเป็นคุณงามความดี ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เราพูดธรรมของเรา ถ้าเรามีจริงนะ ถ้าเรามีสิ่งใดเราก็พูดตามนั้น พูดตามนั้นน่ะดีมาก เพราะท่านจะได้แก้ไข ได้ตัดสินว่าสิ่งที่เรารู้เราเห็นถูกหรือผิด ถ้าถูก เราก็จะได้ทำให้มันมั่นคงขึ้น ถ้าผิด เราจะได้แก้ไข นี่พูดถึงว่าพระปฏิบัติเขาติดครูบาอาจารย์ เขาติดกันอย่างนี้

เขาติดครูบาอาจารย์เพราะครูบาอาจารย์ท่านคอยชี้แนะ คอยกลั่นกรอง คอยให้เราอย่าออกนอกลู่นอกทาง ถ้าออกนอกลู่นอกทางมันจะหลงไป แต่ถ้าการที่ว่าเรามาถูกทาง แต่เราไม่ขยันหมั่นเพียร เราไม่ขวนขวายคือการเสียเวลา คือว่าอย่างน้อยคือไม่เสียเวลา อย่างมากคือหลงผิดไปเลย แล้วครูบาอาจารย์ท่านคอยแก้ไขเราให้มันถูกต้อง อันนี้ถูก

ฉะนั้น กลับมาที่คำถาม ๑. จิตผมไปยึดติดมัน ไอ้ก้อน ก้อนที่ว่าที่มันเฉลียงไปเฉลียงมา

ไอ้กรณีนี้มันเป็นผู้ปฏิบัติใหม่จะเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น จะเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น แบบว่าจิตมันมหัศจรรย์ แต่พวกเรา เราไม่เคยเห็นคุณค่าของจิตเราเอง เราไปเห็นคุณค่าวัตถุที่เรามี เราไปเห็นคุณค่าอารมณ์ อารมณ์ความโกรธ อารมณ์ความผูกพัน นี่เป็นอารมณ์ ไม่ใช่จิต

จิตคือธรรมชาติที่รู้ แต่สิ่งที่เรารับรู้คืออารมณ์ความรู้สึก สัญชาตญาณ เราไปรับรู้อันนั้น ชอบอะไร เกลียดอะไร มันจะฝังใจมากเลย แต่ตัวจิตเราไม่เคยรู้เคยเห็นมันไง

ทีนี้พอเราจะมาปฏิบัติ เราเริ่มจะปฏิบัติ เราจะกำหนดพุทโธ ใช้อานาปานสติเพื่อให้จิตสงบ พอจิตสงบ จิตมันสงบเข้ามา ทีนี้คนเรามันมีเวรมีกรรมไง ไอ้ที่ว่าเป็นก้อนๆ เฉลียงลงไปทางขวา มันจะพุ่งไปทางไหนก็แล้วแต่ ไอ้นี่มันเป็นปรากฏการณ์ของจิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน

ปรากฏการณ์ของบางคนไม่เคยมี คนที่ภาวนาแล้วเวลาจิตจะสงบ จิตสงบไปเฉยๆ โดยที่ไม่มีอะไรเลย เขาจะแปลกใจมากนะ เขาจะแปลกใจมากเวลาเขาฟังคนบอกว่าไปรู้ไปเห็นไอ้นู่นไอ้นี่ เขาจะงงว่าทำไมของเราไม่มี คนถ้าจิตไม่มี ไม่มีจริงๆ นะ จิตเวลาพุทโธๆ มันจะสงบ มันสงบไปเฉยๆ ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นอะไรกับใครเลย แล้วไปฟังคนไปถามอาจารย์ เห็นแสงนู้นเห็นแสงนี้ จะบอกว่าเอ๊ะ! เราภาวนาไม่เป็นเนาะ ทำไมเราไม่เห็นกับเขาเลยเนาะไอ้นี่ก็อยากรู้อยากเห็นอีกล่ะ

ไอ้คนที่เห็นมันผิด ไอ้คนที่ไม่เห็นมันถูก ถ้าคนไม่เห็น เรากินอาหาร อาหารเรากินแล้วอิ่มท้องก็จบ แต่เขากินแล้วนะ เขาเผ็ดของเขา เขาลุกไปดื่มน้ำแก้เผ็ดของเขา ไปหาน้ำตาลมาอมแก้เผ็ด ไอ้เราเอ๊! เราไม่เผ็ด ทำไมเราไม่ต้องทำอย่างเขา”...ก็เอ็งไม่ได้เผ็ด เอ็งต้องไปทำอย่างเขาทำไม ไอ้เขากินแล้วมันเผ็ดใช่ไหม เขาก็ต้องหาน้ำดื่ม เขาก็ต้องหาน้ำตาลมาอมเพื่อลดความเผ็ดในลิ้นของเขา

ฉะนั้น เวลาจิตเราไม่เป็น ไม่ต้องบอกว่าเราภาวนาไม่เป็น...เป็น เพราะเราได้กินอาหารอยู่ เรารู้ ถ้าจิตเราสงบ ส่วนใหญ่แล้ว ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์จะเป็นแบบนี้ คือจิตสงบเฉยๆ แต่ธรรมดามันไม่สงบเอง คือว่าโดยพันธุกรรมของมัน มันเป็นแบบนี้ คือถ้าสงบก็สงบเฉยๆ เพียงแต่มันทำให้สงบไม่ได้มันก็เลยไม่รู้ว่าสงบเป็นอย่างไร ก็ยังงงๆ อยู่ไง แต่มันก็ไม่รู้ไม่เห็นเหมือนเขา พอฟังเวลาเราตอบปัญหา เรารู้ว่าตอบปัญหาไป ไอ้คนที่ไม่เคยฟังเอ๊! คนถามก็คงจะเซ่อๆ ไอ้คนตอบคงจะงงๆเขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อว่ามันจะเป็นแบบนั้น แล้วพอพูดไปแล้วเอ๊! คนถามก็ถามไปแบบว่าไม่รู้ไม่เห็น ไอ้คนตอบก็เป็นตุเป็นตะไปเลย ตอบเราได้อย่างไร เอ๊! ใครถามก็ตอบเป็นตุเป็นตะไปหมดเลย

เป็นตุเป็นตะเพราะจิตประเภทนี้มันมี ถ้าจิตประเภทนี้มันมี เราก็จะพยายามจะพูดไว้ เวลาตอบปัญหาให้เป็นแนวทาง ถ้าใครมาเปิดดูเปิดอ่านมันได้เห็นของมันก็เป็นประโยชน์กับเขา

ฉะนั้น สิ่งที่เวลาเป็น มันเป็นปรากฏการณ์ของมันเอง อย่างเช่นถ้ามันจะเห็นแสง เห็นสิ่งใดที่มันพุ่งเฉลียงไป มันพุ่งมานี่มันล่อ มันจะล่อให้เราออกไปรู้ไปเห็นตามมัน ดูสิ เวลาเราอยากทำสิ่งใดเป็นความดีของเรา มันจะมีเสียงอะไรมากระทบ เราก็ไปรับรู้สิ่งนั้น

นี่ก็เหมือนกัน เวลามันมีแสงพุ่งเฉลียงไปทางไหนก็แล้วแต่ รับรู้ไว้ เพราะปรากฏการณ์มันมี ฟ้าแลบฟ้าร้องมันมี แต่คนที่รู้ว่าฟ้าแลบฟ้าร้องเขาไม่ตกใจ เด็กเวลาฟ้าแลบฟ้าร้องมันตกใจ มันร้องไห้ตีโพยตีพายกับพ่อแม่มันนะ มันจะบอกห้ามฟ้าร้อง เวลาฝนตกห้ามฟ้าร้อง ห้ามฟ้าแลบ มันกลัว มันไม่ยอม มันก็เป็นไปไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ แสงหรือสิ่งปรากฏการณ์ของจิตเกิดขึ้น เรารู้เท่าแล้ววางไว้ ไม่ต้องตกใจไปกับมัน ทีนี้คำว่าไม่ตกใจไปกับมันคือคนที่ปฏิบัติ คือผู้ใหญ่ที่รู้แล้ว แต่เด็กมันตกใจ เด็กจะบอกขนาดไหน ถ้ามันกลัวเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่ามันก็กลัวมันอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่ถ้าเราโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมานะ เราศึกษาเรารู้แล้วว่าปรากฏการณ์ของธรรมชาติ แต่เราก็ยังสะดุ้ง เราก็ยังกลัวอยู่ คนกลัวมันก็คือกลัววันยังค่ำ แต่มันก็รู้ว่า อ๋อ! มันเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เราไม่ไปเดือดร้อน แต่ถ้าของเรา เราทำไร่ไถนาใช่ไหม เราก็หวังฝนหวังฟ้าเพื่อฝนตกมา เพื่อเราจะทำกสิกรรมของเรา มันก็เป็นประโยชน์กับเรา

การภาวนานะ ปรากฏการณ์เราวางไว้ ปรากฏการณ์เรากำหนดแล้วเราวางไว้ เรากำหนดพุทโธของเราไปต่อเนื่อง พุทโธๆๆ ของเราไป เดี๋ยวสิ่งที่ว่าเป็นก้อนๆ สิ่งที่เป็นนิมิตมันจะหายไปเอง มันหายไปเอง ปรากฏการณ์ที่มันเกิดขึ้น แต่จิตนี้มันรู้เท่าแล้ววางไว้ ไม่วิ่งไปตามมัน ปรากฏการณ์นั้นหลอกเราไม่ได้ ปรากฏการณ์หลอกไม่ได้ เรากำหนดพุทโธๆ เพื่อจิตสงบของใจใช่ไหม เราทำเพื่อความสงบของใจ ถ้าใจสงบแล้วก็จบ ใจสงบแล้วเรามีสติอยู่กับความสงบนี้ เวลามันคลายตัวออกมาก็พุทโธต่อเนื่องไป แล้วถ้ามันคลายตัวออกมาเราก็กำหนดพุทโธต่อ พอพุทโธเข้าไปๆ พุทโธเข้าไปจนพุทโธไม่ได้ นั่นคือจิตมันสงบเต็มที่ของมัน

ถ้าพุทโธไปแล้วมันสงบเต็มที่ พอมันมีกำลังแล้วเราออกฝึกหัดใช้ปัญญาไปเลย ออกฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญา พอจิตมันสงบแล้วออกใช้ปัญญา ปัญญาคิดถึงชีวิตของเรา คิดถึงชีวิตของเรา คิดถึงการเกิดของเรา คิดถึงความดำรงชีวิตของเรา คิดถึงความทุกข์ความสุขในใจของเรา คิดอย่างนี้ คิดอย่างนี้เพราะมันมีสมาธิ พอมีสมาธิ มันฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาแยกแยะในอริยสัจ

อริยสัจมันคืออะไร อริยสัจมันคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความทุกข์ ความเป็นไปของเรามันเป็นอริยสัจ มันเป็นความจริง แล้วเป็นความจริงของใคร เป็นความจริงของใจเรา

ใจของเรามันมีปรากฏการณ์ มันรับรู้สิ่งใด มันเป็นความฝังใจของใจเรา แล้วใจเราสงบแล้วก็พิจารณาตรงนี้ พิจารณาเพื่ออะไร พิจารณาเพื่อมันปล่อย มันถอดมันถอน ถ้ามันปล่อย มันถอดมันถอนได้นะ เดี๋ยวมันเป็นคุณงามความดี เราเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เราจะมหัศจรรย์มาก

นี่พูดถึงว่า จิตผมมันไปยึดติดมันใช่ไหม ก้อนนั้น แล้วมันจะเพี้ยนไป มันเป็นนิมิตหลอกเราใช่หรือไม่

ใช่ มันหลอกเรา แล้วเรามีสติปัญญาแก้ไขของเราไปเอง ใจของเราเอง เวลาเราไปโดนคนอื่น โดนเพื่อนหลอก เราจะเสียใจมาก แล้วเวลาเราโดนกิเลสเราหลอกอย่างนี้ แล้วเราบอกหลวงพ่อ ผมปฏิบัติธรรมนะ เวลาปฏิบัติธรรมผมเป็นคนดีนะ แล้วกิเลสมันจะหลอกผมได้อย่างไร ผมเป็นคนดี”...นั่นแหละคนดีกิเลสมันชอบ มันชอบหลอกคนดี

คนไม่ดีกิเลสมันไม่ชอบหลอกหรอก เพราะอะไร เพราะมันรู้ว่าไม่ต้องหลอก เพราะคนไม่ดีมันไม่ทำอยู่แล้ว มันไม่ปฏิบัติอยู่แล้ว มันอยู่ในอำนาจของกิเลสอยู่แล้ว มันไม่หลุดจากพญามารไปหรอก มารมันนอนใจได้ว่าไอ้คนคนนี้อยู่ในอำนาจของเรา มันไม่ต้องไปสนใจเลย

แต่ไอ้คนที่ทำดีๆ ถ้าทำดีแล้ว จิตมันสงบแล้ว มันใช้ปัญญาแล้วมันจะหลุดจากมือมันไป ไอ้พวกนี้แหละมารมันจะมาคอยทำให้ออกนอกลู่นอกทาง อันนี้ปรากฏการณ์ของมัน

. ผมพยายามอยู่กับพ่อแม่คือพุทโธ แต่ห้ามมันไม่อยู่จริงๆ มันชอบแถออกไป ขออุบายครับ

โดยธรรมชาติเป็นอย่างนี้ ทุกคนเป็นแบบนี้หมด บอกให้พุทโธ พุทโธนี่นะ เวลาหลวงตา หลวงปู่มั่น คำว่าพุทโธท่านบอกว่า ถ้านักปฏิบัติอยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธจะไม่เสีย หลวงปู่มั่นท่านสั่งเลยนะ จะทำอะไรก็แล้วแต่นะ อยู่กับพุทโธจะไม่เสีย

ถ้าเราไปอยู่กับอารมณ์ อยู่กับความเห็น รู้เห็นอะไรแล้วตามไป เสียหายหมดแหละ

อยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธไม่เสีย แล้วพุทโธๆ พุทโธสะเทือน ๓ โลกธาตุ คำนี้เป็นคำของหลวงตา หลวงตาท่านบอกว่า พุทโธสะเทือน ๓ โลกธาตุ

พวกเราบอกเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวไง เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว มันก็เป็นจริง แต่นี้หลวงตาท่านบอกว่า พุทโธสะเทือน ๓ โลกธาตุ ๓ โลกธาตุคือหัวใจ หัวใจมันเวียนตายเวียนเกิดใน ๓ โลกธาตุนี้ แล้วพุทโธสะเทือนขั้วหัวใจเลย แล้วถ้ามันสงบนะ มันสงบโดยความเป็นจริงเลย

ฉะนั้น สิ่งที่บอกว่าเวลาพุทโธมีคุณค่ามาก มีคุณค่ากับผู้ที่ปฏิบัติแล้วได้ผล เห็นคุณมาก แล้วซาบซึ้งมาก แต่นี้เราฟังเขาเล่าว่า พวกเราฟังเขาเล่าว่า เราเป็นชาวพุทธนี่แหละ ฟังครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมา ท่านมีปรากฏการณ์ของท่าน แล้วฟังท่านเล่าว่า พอฟังท่านเล่าว่า เราก็อยากเอาจริงไง เราก็มาพุทโธบ้าง

พุทโธของครูบาอาจารย์ พุทโธของผู้ปฏิบัติจริงมันสะเทือน ๓ โลกธาตุ ไอ้พุทโธของเรานี่เขาเล่าว่า มันก็พยายามจะทำให้ได้ พอจะทำให้ได้ปั๊บ พอพุทโธๆ ไป จิตใต้สำนึก กิเลสมันอยู่ในจิตของเรา เวลาพุทโธ แต่จิตใต้สำนึกมันจะแฉลบ เพราะความคิดมันจะดันออกไง ความคิดกับเรามันจะดันออกมา

พอพุทโธๆ ทีแรกถ้าตั้งสติดีมันก็ดี สักพักมันก็แถแล้ว พุทโธก็ อืม! พุทโธเสร็จเดี๋ยวออกไปจะไปเที่ยวบาร์ พุทโธต่อ พุทโธเสร็จ อ๋อ! ถ้าพุทโธคราวนี้เดี๋ยวคราวหน้าจะซื้อตั๋วไปญี่ปุ่น เดี๋ยวกลับมาพุทโธต่อ พุทโธ เดี๋ยวมันแฉลบออก เห็นไหม มันดัน นี้คือปรากฏการณ์ของมัน ปรากฏการณ์ของตัณหาความทะยานอยากมันเป็นแบบนี้ ถ้ามันเป็นแบบนี้นะ ถ้าเราชนะแล้วจบนะ

แต่ถ้าเรายังไม่ชนะ เราก็ต้องมีอุบาย ถ้าอย่างพุทโธนะ หลวงปู่เจี๊ยะ หรือครูบาอาจารย์ท่านพุทธานุสติ พุทโธๆๆ ถ้ามันจะแฉลบนะ พุทโธเร็วๆ แต่ถ้าวันนี้ดี อืม! ญี่ปุ่นก็ไปมาแล้ว บาร์เหล้าก็กินมาจนเต็มที่แล้ว ไม่สนใจเลย วันนี้อารมณ์ดี พุทโธอยู่กับเรา พุทโธอย่างนี้ช้าๆ ได้ ถ้าอารมณ์ไหนดีๆ นะ เราพุทโธต่อเนื่อง แต่ถ้าวันไหนอารมณ์มันรุนแรง มันอยาก ทั้งๆ ของที่คิดมันก็เคยกินเคยใช้มาทั้งนั้นน่ะ มันถึงคิดได้ ทั้งๆ ที่ของที่เราก็เคยทำมาแล้วทำไมอยากจะทำซ้ำอีกล่ะ แล้วถ้าอย่างนี้ถ้ามันอยากจะไปเพราะกิเลสมันรุนแรง รุนแรงก็พุทโธๆๆ พุทโธไวๆ เห็นไหม นี่คืออุบายแก้ไข พุทโธไวๆ

ฉะนั้น เวลาเราสอนเราจะบอกว่าพุทโธชัดๆ คำว่าชัดๆมันมีสติพร้อม ถ้าสติเราไม่ดี พุทโธจะไม่ชัดหรอก พุทโธแล้วก็คิดไปเรื่องอื่น มันไม่ชัด พุทโธชัดๆ คำว่าชัดๆต้องสติดีมันถึงชัด พุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ถ้าพุทโธชัดๆ ปั๊บ จิตมันไม่แฉลบ มันไม่มีอะไรมาแยก ฉะนั้นบอกว่า นาโนของจิต มันเล็กมาก คำบริกรรมมันเล็กละเอียดลึกซึ้งมาก แต่เราพุทโธๆ จนมันรวมเป็นเอกัคคตารมณ์ มันเป็นเอก มันตั้งมั่น มันเป็นองค์กร มันเป็นธาตุรู้ที่มั่นคง เห็นไหม เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น

พุทโธๆๆ แต่มันเล็ก มันเป็นนามธรรมด้วย นาโนเขายังใช้เครื่องวิทยาศาสตร์ เขายังจับต้องได้ แต่ไอ้ความรู้สึกของเรา สติเราจับต้องได้ พุทโธๆๆ ถ้าทำได้นะ ถ้าทำได้สงบสักหนหนึ่งมันจะซาบซึ้งมาก

ฉะนั้น เราระลึกถึงพ่อถึงแม่ เราอยู่กับพุทโธนี่สุดยอดเลย แต่ทำไมมันแฉลบล่ะ มันแฉลบเพราะว่ากิเลสของเรา คือความเคยใจของเรา ถ้าความเคยใจของเรา เราก็ต้องตั้งสติแล้วพยายามรวบรวมสติปัญญาของเรา แล้วพุทโธของเราต่อเนื่องไป อันนี้อยู่กับพุทโธ อยู่กับผู้รู้แล้วไม่เสีย ฉะนั้น ไม่เสีย

สิ่งที่มันเป็นมา ที่อธิบายมาข้างหน้า ที่ว่าจิตมันเป็นไป นี่คืออาการทั้งหมด นี่คือปรากฏการณ์ของจิต ปรากฏการณ์ของจิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน เห็นไหม วิทยานิพนธ์ เราทำวิทยานิพนธ์จะต้องไม่ลอกเลียนแบบของใคร ถ้าเราทำวิทยานิพนธ์ลอกเลียนแบบ อาจารย์ไม่ให้คะแนน

นี่ก็เหมือนกัน ปรากฏการณ์ของจิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน ทีนี้ปรากฏการณ์ของจิตมันก็วิทยานิพนธ์ คือสติปัญญาของใคร ใครมีสติปัญญาแล้วรักษาใจของตัวได้ จะเป็นปรากฏการณ์ จะเป็นความจริงของใจดวงนั้น จะเป็นวิทยานิพนธ์ของใจดวงนั้น

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์เราท่านสนทนาธรรม ท่านจะสนทนาธรรมว่าใครมีปรากฏการณ์อย่างใด ใครรู้ใครเห็นอย่างใดท่านจะเล่าสู่กันฟัง ถ้าเล่าสู่กันฟัง หลวงตาท่านจะพูดบ่อยว่าของหลวงปู่ขาวท่านเปรียบจิตของท่านขั้นสุดท้ายนะว่าเหมือนเมล็ดข้าว เมล็ดข้าวถ้าเรามาหุงมาต้มแล้วมันก็ไม่เกิดอีก เมล็ดข้าวถ้ามันเป็นเมล็ดข้าวดิบๆ ถ้ามันตกลงพื้น ตกลงสู่ดินมันก็เกิดอีก

ของหลวงตา ถึงเวลาจุดและต่อม ท่านบอกว่าเหมือนกับมะพร้าวสองขั้ว ขั้วบวกและขั้วลบ ท่านพิจารณาของท่าน ท่านทำลายทั้งสองขั้วนั้นทั้งหมด

วิทยานิพนธ์ของแต่ละองค์ๆ มันไม่เหมือนกัน ถ้าเหมือนกันนะ มันจะเป็นการลอกเลียนแบบ เป็นสัญญา ฉะนั้น สิ่งที่เวลาเราเกิดขึ้น เราปฏิบัติขึ้น วิทยานิพนธ์จะเป็นของเรา เราต้องขยันหมั่นเพียร สิ่งที่เราถามมามันเป็นธรรมชาติของมารมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเรารู้แล้ว เราเข้าใจแล้วมันจะวางสิ่งนี้ได้ แล้วเราจะมีกำลังของเรา

นี่พูดถึง เรื่องจิตมันติดตาม

คือจะปล่อยมันไม่ปล่อย ไม่ปล่อยหรอก เพราะมันต้องทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ถ้าจิตสงบแล้วออกใช้ปัญญามันจะไปปล่อยกันที่นู่น มันจะปล่อยไป ถึงว่าเป็นปัญญาญาณที่มันออกมาพิจารณา มันจะปล่อย แล้วมันจะขาดที่นั่น แต่เริ่มต้นพื้นฐานมันจะเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวฟังข้อต่อไปนะ จะเอามาเปรียบเทียบอันนี้

หลวงพ่อ : นี่ไม่ได้ถามปัญหาเลย แต่เป็นปัญหา อันนี้

ถาม : เรื่องขอบคุณครับหลวงพ่อที่เมตตาตอบคำถาม

ขอบคุณครับหลวงพ่อที่เมตตาตอบคำถาม ฉบับนี้ไม่มีคำถามนะครับ ที่ผมถามแบบนั้นมันไม่ใช่การปฏิบัติ มันเป็นแค่การสงสัย

หลวงพ่อ : ที่เขาถามมาครั้งที่แล้วเรื่องเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไง

ถาม : ที่ผมถามแบบนั้นมันไม่ใช่การปฏิบัติ แต่ผมแค่สงสัยว่า

. ในเทปต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตมันหลากหลาย อธิบาย สติปัฏฐาน ๔ ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมแค่คิดว่ามันจะง่ายไปไหม ถ้าเห็นจริงมันก็จริงแล้วสิ แต่ผมได้ฟังเทศน์หลวงพ่อที่เปรียบเหมือนเห็นถนนเพชรเกษม แต่ไม่รู้ว่าถนนมันเริ่มต้นจากไหน จบที่ไหน ผมอ่านบทนี้เห็นว่าสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงจริงๆ แล้วมันอยู่ไกลจากสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์เหลือเกิน

อ้างอิงบทธรรมดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์

การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์

ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์

การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์

สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์

การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสัมโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

สัมโพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตติที่มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ในสยามรัฐ เอกาทสก. อํ.

. เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ ผมอ่านมาแล้วสงสัยว่ามันต้องเสร็จศึกทั้งสองอย่างหรือเปล่าจึงชื่อว่าสิ้นอาสวะ

อ้างอิงบทธรรมดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสองอย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรมสองอย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสำรอกราคะได้จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติอยู่ใน ทุก. อํ.

ทั้งสองเรื่องเป็นการเรียนรู้ครับ ผมปูทางเอาไว้ ตอนที่ผมจะเดินจริงๆ ผมจะได้พกอาวุธไว้ป้องกันตัวเฉยๆ ครับ ตอนนี้แค่ซ้อมทำความทดลองไว้ก่อน ผมยังหนีจากเพศฆราวาสไม่ได้ ผมก็เลยเตรียมตัวไว้เฉยๆ ขอบพระคุณหลวงพ่ออย่างสูงที่เมตตา

ตอบ : ที่เขาถามเรื่องปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติไง เขาบอกว่า เจโตวิมุตติ ถ้าเจโตวิมุตติเป็นถึงแค่อนาคามีใช่ไหม ก็นี่ไง ที่ว่ามันสำรอกราคะออกถึงเจโตวิมุตติ แล้วถ้าสำรอกอวิชชาออก ถ้ามันมีปัญญามันถึงสำรอกอวิชชา นี่คำถามเขาถามมา

ฉะนั้นว่า สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นคำถาม แต่เพราะเขาเข้าใจแล้ว ก่อนหน้านั้นเพราะได้มีความสงสัยถึงถามมา แต่ตอนถามมาเราเข้าใจว่าเขาศึกษากับครูบาอาจารย์องค์ไหนมาถึงได้บอกว่าเจโตวิมุตติเป็นพระอนาคามี ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติถึงเป็นพระอรหันต์ ฉะนั้น ถาม ๒ ปัญหานี้สลับกันมามาก ฉะนั้น เวลาตอบปัญหาไปแล้ว เขาเข้าใจแล้วมันก็เลยเฉลยออกมาว่าอ่านมาจากพระไตรปิฎก

พออ่านมาจากพระไตรปิฎก เราอ่านมาจากพระไตรปิฎก ศึกษาธรรมมาจากพระไตรปิฎก แล้วก็ศึกษาไว้เพื่อเป็นอาวุธไว้ป้องกันตัว นี้แค่ซ้อมไว้เฉยๆ ยังละเพศฆราวาสไม่ได้ เพราะเพศฆราวาส เพศพระก็คนเหมือนกัน ถ้าเพศพระก็เพศคนเหมือนกันก็ปฏิบัติได้เหมือนกัน ฆราวาสก็ปฏิบัติได้ พระก็ปฏิบัติได้

ถ้าปฏิบัติแล้ว เพราะเวลาเป็นสมาธิ สมาธิไม่มีหญิงไม่มีชาย ดูสิ เวลาเอตทัคคะ พระอุบาลี พระอานนท์ พระสารีบุตรเป็นเอตทัคคะแต่ละประเภทๆ นางอุบลวรรณา นางภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะก็มีเหมือนกัน เวลาปฏิบัติแล้ว เวลาสมาธิแล้ว มันไม่มีหญิงไม่มีชาย เวลาตรัสรู้มรรคผลมันก็ไม่มีหญิงไม่มีชาย มันเป็นมรรคผลอันเดียวกัน

นี่เป็นฆราวาสกับพระก็เหมือนกัน ถ้าเป็นฆราวาส ถ้ามีโอกาสทำเราก็ทำของเราไป ถ้าคิดว่าเราจะรอว่าเราพ้นจากเพศฆราวาสแล้วเราถึงจะไปปฏิบัติ จะเป็นพระอรหันต์ไปเลย เพราะตอนนี้ยังเป็นเพศฆราวาสอยู่ เพราะเพศฆราวาสรองรับความเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ถ้าเราอยากปฏิบัติ เราจะไปบวชเป็นพระถึงจะรองรับเพศพระอรหันต์ได้ นั่นก็มีความคิดไปตามประสาในตำรา แต่ถ้าความจริง ใครๆ ก็ปฏิบัติได้ ถ้าปฏิบัติได้มันก็จบไง ถ้ามันจบแล้ว

เวลาปฏิบัติศึกษามาตามตำรา ทีนี้พอตามตำราแล้ว เวลาศึกษาไปแล้วตัวเองก็งง คำว่างงเพราะนี่ไง เพราะว่าถ้าสติปัฏฐาน ๔ เขาบอกว่าในเว็บไซต์มันมีหลากหลายมาก ถ้ามีหลากหลายมาก ผมคิดขึ้นมาเองว่ามันจะง่ายอย่างนี้หรือ มันจะง่ายอย่างนี้เชียวหรือ เห็นจริงมันก็จริงแล้วสิ เพราะทุกคนก็อ่านแล้วเข้าใจได้จริง เห็นไหม นี่ปริยัติ มันเป็นอย่างนี้ สมมุติเป็นแบบนี้ เวลาศึกษา ศึกษาเข้าใจแล้ว เข้าใจแล้วอย่างไรต่อ ถ้าอย่างไรต่อ

เพียงแต่เวลาปฏิบัติแล้ว ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติไปแล้ว จิตสงบแล้ว เวลาจินตนาการเรื่องสติปัฏฐาน ๔ มันเวิ้งว้าง มันมหัศจรรย์ ก็เข้าใจผิด เข้าใจว่านี่เป็นมรรคเป็นผล แล้วก็เอาความรู้อันนี้มาสอนกัน พอเอาความรู้อันนี้มาสอนกันมันก็เป็นจินตนาการไง จินตนาการมันก็เหมือนสร้างภาพ เราสร้างภาพ การสร้างภาพ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อสร้างภาพอันนั้น

แต่ถ้าผู้ที่ปฏิบัตินะ มันต้องมีพื้นฐานตามความเป็นจริง สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน แล้วถ้ามันหลง มันหลงไปอย่างไร แล้วถ้ามันเข้ามาสู่ความสงบ แล้วมันเกิดสติเกิดปัญญาขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาอย่างไร

ฉะนั้น หลวงตาท่านพูดบ่อย เวลาพูดถึงการตอบปัญหานะ ท่านบอกว่าผู้รู้มีนะ เวลาจะทำอะไรผู้รู้มี อายผู้รู้เขา

โธ่! ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติเป็นนะ ท่านฟังคนเทศน์ธรรมะ ฟังคนแสดงธรรม ท่านยิ้มๆ ในใจ ยิ้มๆ ไอ้นี่มันของเด็กเล่น ไอ้ของเด็กๆ เขากำลังเล่านิทานกันอยู่ มันคิดอย่างนั้นเลยนะ แต่เราจะไปพูดให้เขารู้ได้อย่างไรในเมื่อในภาวะสังคมเขายอมรับว่าเป็นอาจารย์ที่สูงส่งของเขามหาศาล เขาพูดธรรมะขึ้นมา อู้ฮู! ทุกคนชื่นชม แต่คนที่รู้จริงเขาขำๆ ฟังแล้วมันขำๆ มันไม่มีความจริงหรอก ถ้าไม่มีความจริง

ทีนี้เพียงแต่ถ้าเป็นความจริงล่ะ ความจริง เวลาเขาฟังไปแล้วที่เวลาตอบปัญหาไป บอกว่าสติปัฏฐาน ๔ เริ่มต้นอย่างไร ท่ามกลางอย่างไร ที่สุดอย่างไร ถ้าเริ่มต้น ที่สุด สติปัฏฐาน ๔ จริง สติปัฏฐาน ๔ ปลอม ถ้าสติปัฏฐาน ๔ ปลอม เขาจินตนาการเอา นึกเอา

แต่ถ้าสติปัฏฐาน ๔ จริงมันเกิดโดยธรรม เกิดโดยธรรมเพราะจิตมันสงบ จิตสงบ จิตเป็นความจริงแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริงมันก็เหมือนเราเป็นโรคภัยไข้เจ็บ แล้วหมอวินิจฉัยโรคด้วยความถูกต้อง เราเป็นโรคจริงๆ เราเป็นโรคร้าย ถ้าเราไม่รักษาก็ตาย ถ้าเรารักษามันก็หาย

นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันสงบไปแล้วมันไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นสักกายทิฏฐิ เห็นความผูกมัดของมันจริงๆ แล้วพอเห็นจริงๆ มันก็ตกใจ ตกใจแล้วเราจะแก้ไขอย่างไร ถ้าแก้ไขได้มันก็จบ ถ้าแก้ไขไม่ได้มันก็ใช้บำเพ็ญเพียรต่อเนื่องกันไป มันจะรู้มันจะเห็นของมันใช่ไหม นี่เป็นความจริง

ฉะนั้น เป็นความจริง ย้อนกลับมา ย้อนกลับมาพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกอ้างอิงเพราะอะไร อ้างอิง เห็นไหมดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัตบุรุษผู้บริบูรณ์ย่อมได้ฟังธรรมที่บริบูรณ์ การฟังธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังสัทธรรมที่สมบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์

ถ้ามีครูบาอาจารย์ การฟังธรรมสัตบุรุษ ท่านพูดเป็นธรรมๆ เวลาครูบาอาจารย์เทศน์ เทศน์อย่างนั้นน่ะ แล้วเวลาอุปัฏฐาก อยู่ด้วยกัน คอยจี้คอยบอก

นี่มันเกิดมาจากพระไตรปิฎกนะ ออกมาจากพระไตรปิฎก แต่เวลาผู้ที่ปฏิบัตินะ แล้วเราอยู่กับครูบาอาจารย์มา สิ่งที่ในพระไตรปิฎก ครูบาอาจารย์ท่านทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้เลย ในเมื่ออยู่กับสัตบุรุษ หลวงตาท่านพูดนะ ท่านอยู่ที่บ้านตาด เห็นพระเดินโดยความเหม่อลอย เห็นพระเดินโดยขาดสติ ท่านบอกท่านรับไม่ได้เลย นี่ไง อยู่กับสัตบุรุษ เราเผลอ เราไม่รู้ตัวเลย ครูบาอาจารย์ที่ท่านเห็นเราอยู่ ท่านบอกว่าทำไมเราขาดสติขนาดนั้น หลวงปู่มั่นเวลาท่านเอ็ดพระนะ นั่นน่ะซากศพเดินได้ ท่านบอกคนมีชีวิตอยู่นี่ถ้าขาดสติ เหมือนซากศพเลย

ไอ้เรายังเพลินอยู่ แหม! พระนะ มีศักยภาพนะ...อาจารย์เขามองอยู่นี่มันซากศพ นี่อยู่กับสัตบุรุษ เห็นไหม มันยังศรัทธาให้บริบูรณ์

ศรัทธาที่บริบูรณ์ ได้ฟังแล้วแยบคาย ย่อมยังสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ มันเกิดด้วยอินทรีย์ อินทรีย์บริบูรณ์ทำให้เกิดสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ เกิดสัมโพชฌงค์ ๗ สัมโพชฌงค์ ๗ คือธรรมะ วิริยะ ธรรมะคือวิจัยธรรม ปัญญามันเกิดแล้ว ถ้ามันสัมโพชฌงค์บริบูรณ์มันจะเกิดวิชชา วิมุตติที่บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตตินี้เป็นอาหาร คำว่าเป็นอาหารเป็นอาหาร เป็นเครื่องดำเนิน เป็นอาหารอย่างนี้ บริบูรณ์อย่างนี้ นี่พูดถึงว่า ถ้าสติปัฏฐาน ๔ เวลามันวิปัสสนาไป สติปัฏฐาน ๔ เวลาจิตที่มันก้าวเดินไป ถ้ามันก้าวเดิน นี่มันมีจริง ในพระไตรปิฎกก็จริงอยู่แล้ว อาการ วิถีแห่งจิตที่มันพัฒนาของมันไปเป็นชั้นเป็นตอนของมันไป

แต่เวลาเราเรียน ถ้าพูดถึงสัมโพชฌงค์ ๗ นะ ตั้งสัมโพชฌงค์ ๗ เลย แล้ววิเคราะห์วิจัยสัมโพชฌงค์ ๗ มันมาจากไหนก็ไม่รู้ คือเริ่มต้นจะขึ้นถนนเพชรเกษมนะ มันยังอยู่ในป่า มันไม่ขึ้นถนนเพชรเกษม มันอยู่ในป่าอยู่เลย แล้วมันตัดทางในป่า มันบอกนี่เพชรเกษม สัมโพชฌงค์ ๗ มันลอยมาไง มันลอยมา

แต่ถ้าเราทำความสงบของใจ ถ้าใจเราสงบ วิถีจิต ฐีติจิต จิตเริ่มต้น ถนนมันจะเกิดที่นี่ไง เริ่มต้นตั้งแต่เรากำหนดพุทโธ ถ้าจิตสงบเป็นจุดเริ่มต้น จุดสตาร์ตเลย แล้วถ้ามันยกขึ้นวิปัสสนามันก็เข้าสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์มีสติปัฏฐาน มีต่างๆ มันก็พร้อมของมันไป มันมีของมันอยู่แล้ว นี่ไง เวลาหลวงตาท่านจบมหาแล้วท่านไปหาหลวงปู่มั่น เวลาหลวงปู่มั่นบอกว่ามหา มหามาทำไม มหามาหามรรคผลนิพพานใช่ไหม มรรคผลนิพพานไม่อยู่บนภูเขา ไม่อยู่เลากา มันอยู่ที่ใจ มหาเรียนมาจนเป็นมหานะ สิ่งที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทิดใส่ศีรษะ คือสูงส่งมาก เทิดใส่ศีรษะไว้ แล้วใส่ลิ้นชักไว้ ลั่นกุญแจไว้อย่าให้มันออกมา แล้วปฏิบัติไป ถ้าถึงเวลาปฏิบัติไปถึงที่สุดแล้วมันจะเป็นอันเดียวกัน

อันเดียวกัน ในพระไตรปิฎกอันเดียวกัน แต่อันเดียวกัน เวลาผู้ที่ปฏิบัติเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่ง แล้วเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งแล้วก็พยายามจะสร้างภาพให้มันนิพพานให้ได้

แต่มันเป็นวิชชาวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ มีอาหารที่บริบูรณ์สมบูรณ์อย่างนี้ มันถึงจะเป็นวิมุตติอย่างนี้ มันมีอาหารของมัน มันมีขั้นตอนของมัน มีพัฒนาการของมัน มีวิวัฒนาการของมันเป็นขั้นเป็นตอน เป็นขั้นเป็นตอนมา

แต่ไอ้พวกที่ปฏิบัติมันจะหยิบประเด็นใดประเด็นหนึ่งไง แล้วก็เอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งไปตั้ง แล้วก็สำนักนี้สอนประเด็นนี้ สำนักนี้สอนประเด็นนั้น แต่ครูบาอาจารย์เราไม่เป็นแบบนี้ ครูบาอาจารย์เราทำความสงบของใจเข้ามา แล้วถ้าจริตนิสัยมันจะเข้ามา เข้ามามันก็สู่อย่างนี้ สู่อย่างนี้มันก็ถูกต้อง ถูกต้อง มันถูกต้องของมัน

แต่พวกเราทำไม่เป็น เราก็เลยทำไม่เป็น เหมือนกับอะไหล่รถยนต์ มากองไว้เต็มเลย ประกอบไม่เป็น นี่ประกอบเป็นเครื่องขึ้นมาไม่ได้นะ อะไหล่เครื่องยนต์พร้อมหมดเลย แล้วประกอบไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน อันนี้เป็นน็อต อันนี้เป็นลูกสูบ แล้วก็ลูกสูบนี้เป็นเครื่องยนต์ น็อตนี้เป็นเครื่องยนต์ มันไม่ใช่ มันประกอบกันขึ้นมามันถึงเป็นเครื่องยนต์

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งวิวัฒนาการในพระไตรปิฎก อ้างอิงในพระไตรปิฎก มันอ้างอิงมา มันประกอบขึ้นมา มันเจริญขึ้นมา วิวัฒนาการ วิชชาวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ในสยามรัฐ

. เรื่องเจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ ผมอ่านแล้วสงสัยว่ามันต้องเสร็จสองอย่างหรือเปล่าถึงชื่อว่าสิ้นอาสวะเขาบอกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสองอย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรมสองอย่างคือสมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

สมถะ วิปัสสนา เพราะมีสมถะมันถึงมีวิปัสสนาต่างๆ อันนี้มันเป็นอย่างนั้นจริง ฉะนั้น พอเป็นอย่างนั้นจริง บอกว่าภิกษุทั้งหลาย ความสำรอกราคะได้จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ถึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ

การสำรอกราคะได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติ เราก็คิดว่าราคะ ราคะคือกามราคะ ถ้าสำรอกกามราคะได้คือเจโตวิมุตติ ถ้าเราสำรอกอวิชชาได้ถึงจะเป็นปัญญาวิมุตติ ฉะนั้น ในพระไตรปิฎกพูดถูก แต่เราเข้าใจผิด

เพราะคำว่าสำรอกราคะราคะขั้นไหนล่ะ ราคะอย่างไร ถ้าสำรอกได้ สำรอกราคะได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติ ถ้าสำรอกราคะ ราคะถึงที่สุดมันก็เจโตวิมุตติ มันเป็นอนาคามีตรงไหน ทีนี้เราไปว่ากามราคะมันถึงจะเป็นเจโตวิมุตติ

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ มันเป็นแบบว่าเป็นแผนก เป็นแผนกที่ว่าความถนัด ความถนัดของผู้ชำนาญ

ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ เจโตวิมุตติดูอย่างพระโมคคัลลานะ เจโตวิมุตติคือว่ากำหนดพุทโธ ทำสมาธิเป็นตัวตั้ง สมาธิเป็นหลัก แล้วมีปัญญาขึ้นมา มันต้องมีปัญญา มีมรรค ๘ เหมือนกัน

ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติมันใช้ปัญญาอบรมสมาธิ คือเอาปัญญาพิจารณาให้จิตเราสงบเข้ามา แต่มันใช้ปัญญาเป็นตัวตั้ง แต่เวลาปัญญาเป็นตัวตั้ง ถ้าปัญญามันพิจารณาของมันแล้วมันก็มีสมาธิของมัน ถ้าไม่มีสมาธิมันจะปล่อยวางได้อย่างไร ไม่มีสมาธิมันจะวางอารมณ์ได้อย่างไร เพราะมันวางอารมณ์แล้ว พอวางแล้วมันถึงเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิแล้วมันออกไปเห็นอาการของจิต เห็นความรู้สึกนึกคิด มันก็เป็นวิปัสสนา

เพราะสำรอกราคะถึงเป็นเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาถึงเป็นปัญญาวิมุตติก็เลยถามมา ถามมาว่า ถ้าเจโตวิมุตติเป็นขั้นอนาคามีใช่ไหม ถ้าปัญญาวิมุตตินี้เป็นพระอรหันต์ใช่ไหม

เราถึงว่า เอ๊ะ! แปลกใจไง ทีนี้พอแปลกใจ พอมาเจอตรงนี้เข้า ไม่แปลกใจ เพราะคำว่าสำรอกราคะมันเหมือนกับเวลาพูด ปัจจยาการมันสืบต่อเนื่องกันมา พูดตรงไหนก่อนตรงไหนหลังเท่านั้นเอง ถ้าตรงไหนก่อนตรงไหนหลัง อย่างเช่นมีปัญหากันมา ในพระไตรปิฎกที่พระเถียงกันอยู่คราวหนึ่ง บอกว่าจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ความผ่องใสคือนิพพาน

อ้าว! อีกคนบอกว่าถ้าจิตผ่องใสถ้าเป็นนิพพาน แล้วจิตผ่องใสมันทำไมยังมาเกิดอีกล่ะ แล้วคนที่ภาวนาไม่เป็น พอมันมาเกิด เกิดก็งงเลย

ฉะนั้น เวลาในพระไตรปิฎก จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส เห็นไหม จะพูดตรงไหนก่อนตรงไหนหลัง ถ้าจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี้อวิชชาทั้งนั้นน่ะ เพราะจิตเดิมแท้ แต่มันหมองไปด้วยอุปกิเลส ข้ามพ้นกิเลส

นี่ก็เหมือนกัน ราคะๆ มันราคะระดับไหนล่ะ แต่ถ้ามันราคะ ฉะนั้น พูดอะไรก่อนอะไรหลัง เพราะท่านพูดถึงในพระไตรปิฎก จะพูดกับใคร พูดอย่างไร พูดหวังผลสิ่งใด ฉะนั้น พอเราเจอตรงนี้เข้า เราก็คิดว่าเป็นแบบนี้ไง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสำรอกราคะได้ถึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ การสำรอกอวิชชาได้ถึงชื่อปัญญาวิมุตติ

ถ้าพูดถึงว่าถ้าจิตเศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้

ถ้าไม่เจริญด้วยประการฉะนี้ ถ้าจิตเศร้าหมองด้วยราคะ ฉะนั้น ถ้าจิตเศร้าหมองด้วยราคะมันก็เลยไม่สู่สมถะไง ถ้าสมถะเขาจะกำจัดประเด็นพวกนี้ให้หมด สมถะคือจิตสงบเข้ามา พอจิตสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามา จิตมันก็เป็นสมาธิ

ถ้าพูดถึงคนที่เป็นสมาธิแล้วถ้ามีอำนาจวาสนามันก็สว่างไสว มันก็ผ่องใส คำว่าผ่องใสผ่องใสนี่มันออกรู้ ที่ว่าเห็นดวงเห็นต่างๆ มันผ่องใส จิตมันออกรู้

ถ้าจิตสงบแล้วเราอยู่กับจิตเรา มันไม่ออกรู้มันจะเป็นอะไรไป มันไม่ออกรู้มันยิ่งสมบูรณ์ใหญ่ เหมือนเรามีสตางค์ เราหาเงินได้แล้วไม่ใช้จ่ายเลย เรารวย แต่คนหาเงินได้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก็จบหมด ทีนี้การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก็ออกรู้ แล้วออกรู้ จิตมันก็ออกไปรับรู้แล้วได้อะไรขึ้นมา แต่ถ้าจิตมันทำความสงบเข้ามาแล้ว จิตมันสงบเข้ามา ถ้าจิตสงบแล้ว จิตนี้ก็ไม่เศร้าหมอง

จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น

ถ้าจิตมันไม่เศร้าหมอง จิตมันผ่องใส จิตผ่องใสมันก็ออกใช้ปัญญา นี่สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน มันโดยหลัก ทีนี้ครูบาอาจารย์ของเราท่านไม่พูดให้เยิ่นเย้อ ไม่พูดทางวิชาการให้เราต้องเก็บทุกดอกเลย ต้องอย่างนั้นๆๆ แล้วก็ภาวนาไปแล้วก็ล้มกลิ้งล้มหงายเลย ฉะนั้น ไม่ต้องรู้อะไรเลย พุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ

พอพุทโธชัดๆ จิตมันก็พ้นจากความเศร้าหมอง พ้นจากความเศร้าหมอง ถ้าพ้นจากความเศร้าหมองนะ มันก็มีกำลังของมัน มีกำลังของมัน ถ้ามันจับของมันได้มันก็ผ่องใส มันมีปัญญา พอมีปัญญามันก็สำรอกมันก็คาย มันก็เป็นความจริง โดยหลักโดยเป้าหมายเป็นแบบนี้ แต่อุบายวิธีการที่จะพาจิตให้ก้าวเดินมานี่สำคัญมาก อุบายที่จะพาจิตลูกศิษย์ลูกหา จิตผู้ที่ปฏิบัติให้พ้นจากมาร จากสิ่งที่กิเลสมันครอบงำ สิ่งนี้มันจะมีอุบายอย่างใด

นี่พูดถึงพระไตรปิฎกเป็นอย่างนี้ แล้วเวลาอ่านพระไตรปิฎกเสร็จแล้ว เห็นไหมทั้งสองเรื่องเป็นการเรียนรู้ครับ เพื่อปูทางเอาไว้ ตอนที่ผมจะเดินจริงๆ จะได้พกอาวุธไว้ป้องกันตัวครับ ตอนนี้แค่ซ้อม

ทีนี้แค่ซ้อม นี่ขนาดไปอ่านหนังสือมานะ อ่านหนังสือค้นคว้ามา แล้วถ้าพูดถึงเราศึกษากันมา เวลาศึกษานักธรรมก็เป็นอย่างนี้ ศึกษาบาลีก็เป็นอย่างนี้ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ปริยัติ แล้วปริยัติแล้ว พอศึกษามาแล้วก็งง ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำนะ

ถ้าครูบาอาจารย์คอยชี้นำ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านชี้นำของท่าน เพราะอะไร เพราะท่านอย่างนี้อยู่แล้ว เวลาหลวงตาท่านบอก เวลาหลวงปู่มั่นท่านนั่งภาวนาของท่าน เกิดเป็นบาลีขึ้นมา เห็นไหม รอเลยนะ พอเกิดบาลีท่านจะพูดเลย บาลีเกิดแล้ว บาลีคือธรรมเกิดแล้ว ยังไม่บอกให้ฟัง รอให้มหามาก่อน พอมหามาท่านก็บอกบาลีเลยอ้าว! ใครเป็นมหา แปล อ้าว! แปลมา บาลีเกิดแล้ว แปลมา

หลวงตาท่านบอกว่าท่านรู้ว่าหลวงปู่มั่นท่านเอาอย่างนี้เป็นประเด็น เป็นประเด็นเพื่อจะให้พระได้ประโยชน์

ให้มหาแปลแต่หลวงตาท่านบอกว่าท่านพูดเป็นมุขให้ท่านได้พูดต่อ ท่านก็เลยบอกว่าท่านก็เฉยๆ ท่านก็เงียบอยู่ พอให้มหาแปล หลวงตาท่านเฉยอยู่

ท่านก็แปล แปลของท่าน แปลโดยภาคปฏิบัติ

ท่านเป็นมหาไง พอท่านเป็นมหาท่านรู้เลย ถ้าท่านแปลนะ ท่านแปลโดยตัวอักษร แปลโดยความหมาย แต่เวลาหลวงปู่มั่นท่านแปล ท่านแปลตีหัวกิเลสเลย ท่านแปลแล้วความหมายนั้นมันตีเข้ามาในความสงสัย ในความสงสัย ในความติดข้องของใจ มันลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่งน่ะ

ท่านฟังนะ เพราะว่าท่านเข้าใจว่าหลวงปู่มั่นท่านเก็บคุณประโยชน์ เก็บมุขอย่างนี้เอาไว้เพื่อเจือจานหัวใจของท่านด้วย ฉะนั้น ท่านก็รอหลวงตาท่านออกไปวิเวกกลับมา พอกลับมาอ้าว! มหามาเนาะท่านบอกบาลีมันเกิด ธรรมมันเกิด ถ้าคนภาวนาเป็นจะรู้ว่าธรรมมันเกิดมันผุดขึ้นมา พอผุดขึ้นมาอ้าว! บาลีเป็นอย่างนี้ อ้าว! มหาแปล ใครเป็นมหา แปล ใครเป็นมหา แปล

หลวงตาท่านนั่งเฉย

พอหลวงตาไม่แปล ท่านแปลผลัวะ! โอ้โฮ! หลวงตาท่านได้ด้วย สะเทือนใจมาก สะเทือนใจมาก เห็นไหม อันนั้นครูบาอาจารย์ท่านมีคุณสมบัติแบบนี้ท่านถึงเข้าใจไง

แต่พวกเรามันศึกษาทางวิชาการ ศึกษาทางโลก พอมาเจอบาลี บาลีมันเป็นภาษาภาษาหนึ่ง พอภาษาภาษาหนึ่ง แค่ภาษาเราก็เถียงกันแล้ว นักบาลีด้วยกันเขาบอกว่าเอ็งแปลผิด ข้าแปลถูก

ก็เหมือนภาษาอังกฤษ คนแปลยังตีความไปหลากหลาย บาลีพอเวลาแปลภาษา เราก็ไปติดกันที่เรื่องภาษา แล้วเนื้อหาสาระยังเข้าไม่ถึง แล้วกิเลสที่มันพลิกแพลงในใจอีกชั้นหนึ่ง

ฉะนั้น ปริยัติ การศึกษามาเพื่อเป็นองค์ความรู้ ถ้าปฏิบัติแล้วต้องให้รู้จริงขึ้นมา แล้วถึงที่สุดแล้วเวลาปฏิเวธมันจะอยู่ในใจของเรา ฉะนั้น สิ่งที่เขาถามมา เขาถามมาเพื่อประโยชน์ ฉะนั้น เขาบอกว่าอันนี้ไม่ใช่คำถาม หลวงพ่อไม่ต้องตอบ เป็นคำขอบคุณ

ทีนี้ก็ไม่ได้ตอบ นี่เอาหลักวิชาการมาให้เห็นว่าคนศึกษาทางวิชาการแล้วงง งงอย่างไร แล้วเวลาคนที่ปฏิบัติ ปฏิบัติจริง ปริยัติ ปฏิบัติมันแตกต่างกันตรงนี้ ปริยัติศึกษาทางวิชาการมาเพื่อเป็นองค์ความรู้ แต่เพราะเรามีกิเลสอยู่เราก็ยังงงๆ

แต่ภาคปฏิบัติล้มลุกคลุกคลาน ปฏิบัตินี้แสนยาก ทำสิ่งใดก็ไม่ประสบความสำเร็จสักที แต่ถ้ามันรู้จริงเห็นจริงขึ้นมามันเป็นปัจจัตตัง

ปริยัติ ปฏิบัติมันเป็นความจริง แต่สิ่งนี้มันเป็นการสุ่ม สุ่มธรรมะ สุ่มกันมา ถ้าสุ่มธรรมะมามันเป็นแบบนี้ แต่ถ้าเป็นความจริง เป็นความจริง ไม่ใช่สุ่มเอา เอวัง