เทศน์บนศาลา

สัมมาปฏิบัติ

๕ ก.พ. ๒๕๔๗

 

สัมมาปฏิบัติ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ฟังเทศน์ภาคปฏิบัตินะ เทศน์ภาคปฏิบัติ พระปฏิบัติไง ผู้ที่ปฏิบัติธรรม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกับพระอานนท์ไว้ พระอานนท์ถามเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานว่า “มรรคผลมันจะสิ้นสุดเมื่อไร”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ไว้นะ

“ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มรรคผลนิพพาน จะไม่ว่างจากโลกนี้เลย”

พระปฏิบัติถึงสำคัญเรื่องการฟังธรรมนี้มาก

การฟังธรรม ธรรมไง ธรรมะเป็นอาหารของใจ “ธรรมะ” ธรรมะคือธรรมชาติ เวลาพูดกันว่าธรรมะเป็นธรรมชาติๆ ธรรมชาติมันก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาตินะ

มนุษย์นี้เกิดขึ้นมาจากกรรม มันก็เป็นสัจจะความจริงอันหนึ่ง เราเกิดตามเวรตามกรรม แต่เรามีบุญกุศล เราได้เกิดเป็นมนุษย์ เรามีโอกาสมากที่สุด เพราะเทวดา เวลาเทวดา เวลานรกสวรรค์ ผู้ที่ตกในนรกโอกาสเขาไม่มีเลย อย่างเทวดาเขาก็เพลินไปในสถานะของเขา แต่ถ้าเขามีบุญกุศลอยู่ แล้วมีครูบาอาจารย์ที่รู้ธรรม เขาก็มาฟังธรรมได้ เขาก็มาฟังธรรมเพื่อจะให้รู้เรื่องอริยสัจ

เรื่องของอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคอยู่ในหัวใจของครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม แล้วฟังธรรมสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อเข้ามาในหัวใจของเรา เข้ามาในหัวใจนะ ถ้าหัวใจของเรามีกิเลส มันจะไม่ยอมฟังสิ่งนี้ กิเลสของเรามันชอบความสะดวก มันชอบความสบาย สิ่งใดที่สะดวกสบาย การประพฤติปฏิบัติก็ขอการประพฤติปฏิบัติที่สะดวกที่สบาย ความคิดของกิเลสจะเป็นสภาวะแบบนั้น แล้วมันจะสมประโยชน์ของมันไหม? มันจะไม่สมประโยชน์ของมันเลย เพราะกิเลสมันเป็นสิ่งที่ปลิ้นปล้อนหลอกลวงในใจของสัตว์โลกมาโดยธรรมชาติของเขาอยู่อย่างนั้น

แล้วเราก็ว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ เราก็ส่งออก มองอยู่สภาวธรรมข้างนอก สภาวธรรมในหัวใจทำไมไม่มอง เวลาสุข เวลาทุกข์ในหัวใจของเราทำไมเราไม่ย้อนกลับมาที่สุขที่ทุกข์ของเรา เรื่องของโลกมันเป็นสภาวะแบบนั้น

“วัฎฎะ” กระแสของวัฎฎะเขาเป็นแบบนั้นโดยธรรมชาติของเขาเป็นแบบนั้นอยู่โดยธรรมชาติ แล้วเราเกิดมาอยู่ในธรรมชาติอันนั้น เราก็ต้องแสวงหา เราก็ต้องหาความเป็นไป หาที่ยืนในสังคม ในสังคมโลกเป็นสภาวะแบบนั้น ถ้าเรามีความคิด เรามีศรัทธาความเชื่อ เราออกประพฤติปฏิบัติ จนออกได้บวชนะ มีศรัทธาออกบวช บวชเพื่อเป็นพระเป็นเณร เป็นพระเป็นเณรขึ้นมา

ศากยบุตรพุทธชิโนรสเป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมมุติ ในจตุตถกรรมญัตติขึ้นมาให้เป็นพระ เป็นพระขึ้นมาแล้วเป็นพระโดยสมมุติ สมมุติของสังคม สังคมยอมรับว่าพระภิกษุนี้เป็นผู้ที่ออกประพฤติปฏิบัติเป็นนักรบ ชีวิตนี้ฝากไว้กับญาติโยม แต่การประพฤติปฏิบัตินี้อยู่กับพระ ถ้าพระประพฤติปฏิบัติพยายามค้นคว้า จะย้อนกลับเข้ามา

หัวใจที่ว่า ธรรมะๆ สิ่งที่สภาวธรรมมันละเอียดซ้อนอยู่ในร่างกายของเรา ซ้อนอยู่ในความรู้สึกของเรานะ ความรู้สึกของเรา เรารู้สึกอย่างไร เรารู้สึกในความรู้สึกในความกระแสโลก เราก็ต้องแข่งขัน นี่ความแข่งขัน ความศึกษาการเล่าเรียน สิ่งนี้เป็นผู้ที่รู้ รู้กระแสของโลก โลกจะออกไปสภาวะแบบนั้น เราไม่ต้องศึกษาขนาดที่ว่าต้องค้นคว้านะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกประพฤติปฏิบัติ ไม่มีศาสนานะ ไม่มีธรรม ปฏิบัติที่ไหน เขาว่าที่ครูบาอาจารย์สิ้นกิเลส สิ้นกิเลส ไปศึกษามากับเขา ศึกษามากับเขา เพื่อจะหาเป็นแนวทาง

ไม่มีหรอก สิ่งที่ว่า เขาจะมีความสงบขนาดไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรียนกับอาฬารดาบสได้สมาบัติ ๘ สมาบัติ ๘ สิ่งที่มีความสงบความร่มเย็นขนาดไหนในหัวใจ แล้วกิเลสมันได้ชำระล้างออกไปบ้างไหม? มันไม่ได้ชำระล้างเลย เพราะมันยังไม่เกิดมรรค มรรคญาณยังไม่เกิด ยังไม่มี สิ่งที่จะมีอันนี้มันละเอียด นี่เรื่องของใจที่ว่าละเอียด ละเอียดขนาดนี้ มันสิ่งที่เป็นนามธรรมทั้งหมดเลย

ดูสิ ดูอย่างอากาศ สิ่งที่ละเอียด เราไม่สามารถเห็นได้ อย่างเชื้อโรคต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องบางทีถึงจะเห็นได้ แล้วเรื่องของความรู้สึก ความนึกคิดเป็นนามธรรม แล้วกิเลสอยู่ในความรู้สึกความนึกคิดอันนั้น มันละเอียดอีกกว่ากี่ชั้นล่ะ แล้วจะไปค้นคว้ามันได้อย่างไร

พอทำสมาบัติได้ สมาบัติได้กับอาฬารดาบส กิเลสมันก็สงบยิ่งกว่านั้นเข้าไป เห็นไหม มันละเอียดยิ่งกว่านั้น เพราะจิตเราสงบ เหมือนกับสวะ สิ่งที่สวะในน้ำ น้ำน้อยสวะมันก็อยู่ต่ำ เวลาน้ำขึ้นมากสวะมันก็ตามขึ้นมา อยู่อย่างนั้น เวลาจิตปกติมันก็คิดตามอำนาจของมัน กิเลสมันก็ฟุ้งซ่านของมันโดยธรรมชาติของมัน เวลาไปทำความสงบของใจ กิเลสมันก็สงบตัวลง มันก็ละเอียดอ่อนเข้าไป มันก็อยู่ในนั้น มันไม่ได้ชำระสิ่งที่ออกไปจากใจเลย สิ่งนี้ยังซ่อนอยู่ในหัวใจ

พยายามค้นคว้าศึกษาขนาดไหน เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไง ต้องสร้างบุญญาธิการมาก สร้างสมบุญญาธิการ นี่อำนาจวาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเป็นสยัมภู ตรัสรู้ด้วยตนเอง ค้นคว้าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา นี่ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น

ที่ว่าเราไม่ต้องศึกษามาก เพราะเราไม่ต้องไปค้นคว้า ธรรมนี้มีอยู่แล้ว สาวกะ-สาวกผู้ได้ยินได้ฟัง เราผู้ได้ยินได้ฟัง ฟังธรรมอย่างนี้ ธรรมในภาคปฏิบัติให้ย้อนกลับมาในหัวใจ ถ้าย้อนกลับเข้ามาในหัวใจ เราจะเริ่มชำระกิเลสของเราไปได้ เริ่มจากทำความสงบของใจ จิตนี้ต้องให้สงบก่อน

“ศีล สมาธิ ปัญญา” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ “ศีล สมาธิ ปัญญา”

ศีลที่สะอาด ศีลที่บริสุทธิ์จะทำให้เกิดสมาธิ สมาธิที่สะอาด สมาธิบริสุทธิ์ ทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่เกิดจากศีล เกิดสมาธิปัญญาอย่างนี้จะทำให้เกิดวิมุตติ ธรรมสภาวะแบบนี้จะเข้ามาอยู่ในใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แล้วเราประพฤติปฏิบัติ...เป็น การประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราของเรา เราทำของเราขึ้นมา มันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา

ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ เราไม่มีศรัทธา เราไม่มีความเชื่อ เราก็เกิด เกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน อยู่กับโลกเขาไปวันหนึ่ง วันหนึ่ง สภาวะแบบนั้น ชีวิตนี้ต้องมีการพลัดพรากเป็นที่สุด ชีวิตนี้ต้องสิ้นอายุขัยแน่นอนโดยธรรมชาติ ใครๆ ก็รู้อย่างนั้น แต่ก็คิดว่า มันยังอยู่อีกยาวไกลไง คนนอนใจ สิ่งที่นอนใจก็นอนจม

“สัมมาปฏิบัติ” ถ้าเรามีสัมมาปฏิบัตินะ เราจะเดินตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้ว “ศีล สมาธิ ปัญญา” แต่ปัญญาอย่างนั้นมันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเราทำถึงที่สุดของการประพฤติปฏิบัติโดยสัมมาปฏิบัติ

ถ้าเป็นมิจฉาปฏิบัติ มิจฉานะ ผู้ที่เกิดมาในสังคมโลก แล้วเกิดมาแล้วมีทุกข์จนเข็ญใจ แต่มีไหวพริบมีปัญญา ก็ว่าจะประพฤติปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติมาเพื่อเอามาเป็นสินค้า เอามาเป็นสินค้า นี่ประพฤติปฏิบัติไปแล้วมันสมควรแก่ธรรมไหม มันเป็นสัมมาปฏิบัติไหม?

มันเป็นมิจฉาเพราะกิเลสอยู่ในหัวใจของเรา แล้วเราก็คิด คิดอยาก ลาภยศสรรเสริญ เป็นสิ่งที่ว่า ล่อให้บุรุษโง่เขลาให้ติดในนั้นได้ ประพฤติปฏิบัติเพื่อลาภ เพื่อสักการะ เพื่อสรรเสริญของโลกเขา สิ่งนี้เป็นมิจฉาปฏิบัติ มิจฉาปฏิบัติคือการคดโกงตัวเอง คดโกงชีวิตของตัวเอง

เกิดมาพบพุทธศาสนา เกิดมาพบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควรจะพยายามประพฤติปฏิบัติเพื่อให้ชำระกิเลส ถ้าชำระกิเลสขึ้นมาในหัวใจ มันจะเป็นความสุขอย่างยิ่ง สิ่งนี้มันมีค่าเหนือทุกๆ อย่างนะ

โลกมันเป็นสภาวะแบบนั้น มีอยู่โดยสภาวะแบบนั้น เหมืองทองคำ ใครเป็นเจ้าของเหมือง ทองคำเป็นหลายๆ ตัน หลายๆ ร้อยตันนะในเหมืองๆ นั้น แล้วมันให้ความสุข ความทุกข์กับใครได้ล่ะ? มันให้ความสุขความทุกข์กับเจ้าของเหมืองต่อเมื่อเขามีว่าเขาเป็นเจ้าของ เวลาเขาตายไป ถ้าเขาทำความชั่ว เขาก็ต้องไปตามชั่วของเขา ถ้าเขาทำคุณงามความดี ก็ได้ความคุณงามความดีของเขา แต่เป็นคุณงามความดีทางโลกไง สิ่งที่เป็นคุณงามความดีในโลกนี้มันเป็นวัฎฎะ วัฎวนวนไปตามกระแสอย่างนั้น

แต่ถ้าเราทำสัมมาปฏิบัติ เราปฏิบัติตามครูบาอาจารย์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้แล้วกรรมฐาน ๔๐ ห้อง ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ เราพยายามทำของเราขึ้นมา

ก็บอกว่า ทำกำหนดพุทโธนี่มันจะสงบได้อย่างไร?

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้าเราไม่มีสมาธิ เราไม่มีสมาธิ เราจะใช้ปัญญาขนาดไหน

เขาว่ากันนะว่า พระปฏิบัติสายหลวงปู่มั่นติดในสมาธิ ไม่มีปัญญา

ปัญญาอย่างเขา ปัญญาอย่างเขาก็เป็นปัญญาคิดหมายเอา ปรัชญาต่างๆ ความคิดต่างๆ ทางวิชาการนั้นมันแก้กิเลสไม่ได้หรอก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานะ เดินจงกรมอยู่ในอาวาสนะ พระยสะ “ที่นี่เดือดร้อนหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” มีปราสาท ๓ หลังเหมือนกัน อยู่กับโลกของเขาเหมือนกัน แล้วมันคลุกเคล้าอยู่อย่างนั้นมันมีความเบื่อหน่อย ความเบื่อหน่ายในการดำรงชีวิต

“ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” เบื่อหน่ายมาก นี้เป็นปรัชญาไหม นี้เป็นปัญญาไหม สิ่งที่เป็นปัญญานี้ชำระกิเลสได้ไหม ทำไมมันมีความทุกข์ในหัวใจล่ะ

ก็บอกว่า ต้องมีปัญญาถึงจะชำระกิเลสได้ พระปฏิบัติสายหลวงปู่มั่นติดในสมาธิ ไม่มีปัญญา สิ่งที่ไม่มีปัญญาจะปฏิบัติไปได้อย่างไร?

เราปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ธรรมนี้ถึงกระจ่างในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระไตรปิฎก ปริยัติต่างๆ สิ่งที่ว่าออกมาจากหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกมาจากใจของผู้ที่บริสุทธิ์ วางธรรมไว้ให้เราก้าวเดินเป็นแผนที่เครื่องดำเนินชี้เข้ามาที่ใจ ชี้เข้ามาเพื่อชำระกิเลสในหัวใจ ก็ไปติดที่แผนที่ดำเนิน วิเคราะห์ที่แผนที่ดำเนิน เอาสิ่งนี้เป็นตัวตั้ง เอาพระไตรปิฎกเป็นตัวตั้ง แล้วก็วิเคราะห์วิจารณ์กันเป็นปรัชญา เป็นความรู้ เป็นความเข้าใจว่าเป็นปัญญาๆ แล้วมันชำระกิเลสในหัวใจของตัวเองได้ไหม?

มันชำระกิเลสในหัวใจของตัวเองไม่ได้เลย แล้วยังคิดว่าตัวเองมีธรรมนะ ถ้ามีธรรมนี่ลาภยศสรรเสริญเพื่ออะไร? เพื่อกิเลสไง

หมอนะ เวลาเขาเป็นหมอเขาศึกษามาเป็นหมอ เวลาเขารักษาคนไข้ คนไข้คนไหนที่เขาไปหาหมอ หมอเขาชำนาญขนาดไหนเขารักษาคนไข้ได้ แต่หมอก็ป่วยได้ เวลาหมอก็เป็นมะเร็งได้ เวลาหมอเป็นมะเร็ง ร่างกายนี้ต้องตายไป เพราะเป็นหมอ แต่หัวใจนะ หัวใจมีกิเลสอยู่เหมือนกัน ถ้าหัวใจมีกิเลสอยู่ เป็นมะเร็งอยู่ ถ้ามะเร็งอันนี้

นี่เรียนปริยัติมา เรียนปรัชญามา ว่าตัวเองเป็นนักวิชาการ ตัวเองมีความรู้มาก ตัวเองมีความเข้าใจในศาสนานี้มาก มันก็เหมือนหมอเป็นมะเร็ง มันกัดกร่อนในหัวใจดวงนั้น แต่หัวใจนี้ไม่เคยตาย หัวใจนี้จะเวียนไปตามอำนาจของวาสนา อำนาจของกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามแต่กรรมอันนี้จะเวียนไป สิ่งนี้มันเป็นที่ว่าล่อให้กิเลสหมุนเวียนไป

“มิจฉาปฏิบัติ” สิ่งที่ปฏิบัติเข้าใจว่าเป็นการปฏิบัติ เป็นมิจฉา เป็นการหลอกลวงตัวเอง เพราะต้องการลาภยศสรรเสริญ สิ่งที่เป็นลาภ เป็นยศ เป็นสรรเสริญ โมฆบุรุษโดนเหยื่อล่อ กินเหยื่อ กินเหยื่อของกิเลส ตัวเองสร้างสมขึ้นมา ทั้งๆ ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนานะ เกิดมาพบพุทธศาสนา ในศาสนานี้ในชาวพุทธของเราศาสนานี้วางอยู่แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีศาสนา ยังไม่เชื่อกิเลสของตัวเอง ยังค้นคว้าของตัวเองขึ้นมา จนพยายามย้อนกลับเข้ามาในหัวใจ ชำระกิเลสในหัวใจได้

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพระยสะ

“ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ”

“ยสะมานี่ มานี่ๆ ที่นี่ไม่ขัดข้อง ที่นี่ไม่วุ่นวาย”

เทศน์อนุปุพพิกถา เรื่องทาน อนุปุพพิกถา เรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องทาน เรื่องการสละออก สิ่งที่สละออก ผลของสิ่งที่สละออกคือเรื่องของบุญกุศล ผลเกิดจากการสละ เรื่องนรกสวรรค์ สิ่งนี้เป็นบุญกุศล เทศน์เรื่องเนกขัมมะ นี่เป็นเรื่องของใจ ให้เรื่องของใจ เพราะว่าโดนทุกข์เบียดเบียนมาขนาดที่ว่า “ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” โดยปรัชญา โดยความกระทบของใจเต็มที่เลย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงว่า “ให้ย้อนกลับเข้ามาดูที่ใจ”

ที่ใจคือผลที่เกิดจากการสละทานนั้น ผลเกิดจากการที่เขาประพฤติปฏิบัตินั้น นี่ได้เป็นพระโสดาบันขึ้นมา พ่อแม่ตามหาลูก ตามหา ตื่นขึ้นมาไม่เห็นลูก รักมาก ตามหามาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังไว้ก่อนแล้วเทศน์สอนพ่อเรื่องอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งที่ใจมันสมควรแก่การงานแล้วให้ยกขึ้นเรื่องของทุกข์ขึ้นมาเป็นที่ตั้ง แล้วกำหนดทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะเหตุใด ทุกข์มันมีอยู่โดยธรรมชาติ

ธรรมะนี้เป็นธรรมชาติ ทุกข์นี้ก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่งเกิดกับใจอย่างนั้น คนจะมั่งมีศรีสุขขนาดไหนมันก็มีความเศร้า ความหมอง มีความทุกข์ใจอยู่ในหัวใจโดยธรรมชาติอันนี้ คนเราเกิดมาแล้วต้องตายทั้งหมด แล้วไม่มีที่พึ่งจะมีความทุกข์ขนาดไหน? ในหัวใจนั้นต้องมีทุกข์โดยธรรมชาติ แต่ไม่ดู ไปสนใจแต่เรื่องภายนอก สนใจแต่ภพชาติ การดำรงของชีวิต แต่ไม่ย้อนกลับมาดูทุกข์ในหัวใจ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สอนพ่อ พระยสะฟังไปด้วยจนตรัสรู้ธรรม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคนี้รวมตัวสมุจเฉทปหานทำให้ใจนี้ขาดออกมาจากกิเลส

นี่ทำตามขั้นตอนของครูบาอาจารย์เป็นสัมมาปฏิบัติ

เราก็เชื่อองค์หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เป็นผู้ที่ค้นคว้าสิ่งนี้มา เชื่อกันว่าหัวใจของท่านเป็นธรรม เวลาสั่งสอน สั่งสอนพวกเราลูกศิษย์ลูกหาให้มีศีล ให้มีข้อวัตรปฏิบัติ สิ่งที่เป็นศีล เป็นข้อวัตรปฏิบัติ กำหนดพุทโธ พุทโธ

โดยปรัชญาก็ว่ากำหนดพุทโธมันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร ในเมื่อเราคิด พุทโธ พุทโธ มันฟุ้งซ่าน สิ่งที่มันฟุ้งซ่าน มันคิดอยู่ มันหยาบๆ มันจะสงบเข้ามาได้อย่างไร?

กรรมฐาน ๔๐ ห้อง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางกรรมฐานไว้ ๔๐ ห้อง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะหลอกพวกเราหรือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่หลอกพวกเราหรอก กรรมฐาน ๔๐ ห้อง เวลาคนเขาออกกำลังกายกัน นักกีฬาเขาเล่นซ้อมกีฬากัน เขาต้องพยายามซ้อมกีฬา เขาต้องออกกำลังมาก ต้องออกกำลังกายตอนเช้า ต้องวิ่ง ต้องทำทุกๆ อย่างขึ้นมาเพื่ออะไร เขาเหนื่อยมาก เขาต้องออกกำลังกาย ต้องตากเหงื่อ เหงื่อไหลไคลย้อยทั้งตัวเลย แต่เขาได้กำลังมา เขาได้สิ่งที่ว่าเขาได้กำลังมา ได้ความเข้มแข็งของร่างกายมา

เรากำหนดพุทโธ พุทโธ ก็เหมือนกัน ถ้าเรากำหนด พุทโธ พุทโธ เหมือนกับว่าเราพยายามบำรุงหัวใจของเราให้เข็มแข็งขึ้นมา หัวใจของเรามันโดนอำนาจของกิเลส ความคิดอันหนึ่งเป็นกิเลส ความคิดอันหนึ่งเป็นความคิดของโลก เป็นความคิดให้ใจนี้ฟุ้งซ่าน คิดอย่างไหนก็แล้วแต่ คิดโดยกิเลสลากไป คิดเรื่องตัณหาความทะยานอยากมันยิ่งชอบ คิดสิ่งต่างๆ คิดตามอำนาจของมัน มันก็คิดตามกิเลสสภาวะไปแบบนั้น

เหมือนกับคนที่เขาออกกำลังกายเหมือนกัน บางคนขี้เกียจไง บอกไม่ต้องออกกำลังกายหรอก เราก็ทำงานทั้งวันๆ ก็เหนื่อยพอแรงอยู่แล้วทำไมต้องออกกำลังกายอีก ตามศัพท์แพทย์เขาบอกว่าการทำงานนั้นเป็นหน้าที่การงาน ร่างกายมันจะไม่เหมือนกับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายนี่สมดุล แล้วได้กำลังขึ้นมา การทำงานนั้นเป็นเรื่องของการทำเป็นวิชาชีพ

นี้ก็เหมือนกัน ในการกำหนดพุทโธ พุทโธ กำหนดพุทโธ พุทโธก็เหมือนกับ เราออกกำลังกาย เวลาเราคิดตามความฟุ้งซ่าน เราก็คิดเหมือนกับเราทำงานหน้าที่ของใจ เราถึงต้องเปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนจากความคิดอันหนึ่ง เปลี่ยนจากหน้าที่การงานที่เรามันเคยทำของใจนั้นมากำหนดพุทโธ พุทโธ มันถึงต้องสงบเข้ามาได้ มันจะสงบเข้ามา เพราะถ้าเราคิดตามความคิดเรา มันจะฟุ้งซ่านไปตามความคิดของกิเลส เพราะมันมีอารมณ์มีความรู้สึก คิดขนาดไหนมันจะมีพอใจความคิดอันนั้นไป

ถ้าเรากำหนด พุทโธ พุทโธ พุทโธ นี่พุทธานุสติ ชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราพยายามเอาสิ่งนี้มาให้ใจเกาะเกี่ยวกับสิ่งนี้ เกาะเกี่ยว กำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ ขึ้นมา ยิ่งกำหนดขนาดไหนต้องกำหนดให้เต็มที่เข้าไป แล้วจิตมันจะเริ่มสงบตัวลง สงบตัวลงเพราะอะไร เพราะมันไม่ได้คิดฟุ้งซ่าน มันมาคิดอยู่กับพุทโธ มันคิดอยู่กับพุทโธ ถ้าเราคิดอยู่กับพุทโธ คำบริกรรมจะอยู่กับเรา

ถ้าสติเราไม่ดีมันก็คิดไปทางอื่น มันจะดึงกลับไปการงานของใจนั้น ใจเคยคิดอย่างไรมันก็อยู่กับหน้าที่การงานนั้น เขาว่าหน้าที่การงานนั้นจะเป็นความเคยใจ ใจชอบฟุ้งซ่านอย่างนั้น นี่อาหารของเขา แต่ถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธ คำบริกรรม นี่เป็นธรรม ธรรมคือพุทธานุสติ สิ่งนี้จะกำหนดพุทโธ พุทโธ เข้ามา ถ้าเราดึงเข้ามาได้ ดึงเข้ามาได้ จิตมันสงบได้โดยธรรมชาติ สิ่งนี้ต้องสงบตัวลงโดยสัจจะความจริง

มันจะไม่สงบเพราะเราไม่ตั้งใจจริง เราทำของเราไม่ได้ เราไม่มีความจริงจัง เรามีความอ่อนแอ อ่อนแอตามอำนาจกิเลส กิเลสมีอำนาจเหนือเรา ควบคุมเรา แล้วเราก็ทำสิ่งนั้นไป เราก็เชื่อกิเลสไป แล้วเราก็ไม่มีกำลังเพราะเราไม่มีสติ เราต้องมีสติแล้วพยายามระลึกอยู่ พุทโธ พุทโธ จิตมันจะสงบเข้ามาได้ ถ้าจิตมันสงบเข้ามาได้

ถ้ากำหนดพุทโธ มันหยาบ มันสงบได้อย่างไร?

สงบเพราะว่า เวลาจิตสงบเข้าไปมันจะมีสติตลอด สิ่งที่มีสติมันเป็นตัวพลังงาน สิ่งที่เป็นตัวพลังงานสติจะรู้ขนาดไหน สงบเข้าไปขนาดไหน จะลงรวมใหญ่ขนาดไหน จนเริ่มต้น ตั้งแต่ลมหายใจขาด ความรู้สึกนี้ขาด อายตนะทั้งหมดขาดหมดเลย ความรู้สึกต่างๆ ในรูป รส กลิ่น เสียง ความรู้สึกนี้ไม่มี แต่จิตความรู้สึกของใจเป็นสักแต่ว่ารู้ นี่ความรู้สึกอย่างนี้มี ความรู้สึกอย่างนี้เป็นสัมมาสมาธิ สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธิมันเป็นสิ่งที่ว่าเราทำเพื่ออะไร

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้าเรามีสมาธิจิตเราตั้งมั่น จิตเราตั้งมั่นบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า แล้วถ้าเราใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดบอกไว้ในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎก ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งที่ปัญญานี้เป็นภาวนามยปัญญา สิ่งที่เป็นภาวนามยปัญญานี้จะเกิดขึ้นมาจากมรรคอริยสัจจังในอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคอันนี้จะเกิดขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัติของเรา เราต้องอาศัยความสงบอย่างนี้

ถ้ามีความสงบอยู่ มีสติอยู่ มันจะมีความสุขมาก แล้วทำให้ติดได้ สิ่งที่ทำให้ติดได้ คนที่ติด

ว่า พระป่าสายหลวงปู่มั่นติดในสมาธิ

ของครูบาอาจารย์ ประวัติครูบาอาจารย์ก็มีว่าติดในสมาธินี้นะ เป็นสิบๆ ปี แต่การติดในสมาธินี้มันเป็นความสุขอันหนึ่ง มันเป็นขั้นตอนในการประพฤติปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเรามีสมาธิ มีความสุขอันนี้มันก็สมควรติด สมควรติดเพราะอะไร เพราะเรามีเงินมีทองเราก็อยากมีใช่ไหม อันนี้เป็นทุนไง

ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา ถ้าติดขึ้นมา ครูบาอาจารย์เมื่อก่อนติดอย่างนี้ แล้วก็หาหมู่เพื่อนไง หมู่เพื่อนบอกว่า “ต้องให้ออกมาวิปัสสนา ออกมาพิจารณากาย” ด้วยหมู่เพื่อนบารมีไม่พอ ครูบาอาจารย์นี้ไม่ฟัง ต้องมุ่งมั่นนะ พยายามเดินธุดงค์ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ ไปถึงกราบหลวงปู่มั่นว่า “กำหนดพุทโธหรือพิจารณากาย มันสงบเข้ามาอย่างนี้ต้องให้ทำอย่างไรต่อไป”

หลวงปู่มั่นก็บอกว่า “ต้องกลับไปพิจารณากาย”

กลับไปพิจารณากาย เป็นสิ่งที่ว่าเราจะเริ่มวิภาคะ ถ้าจิตเราสงบขึ้นมา ถ้าเราทำให้เกิดนิมิต สิ่งที่เกิดนิมิต ก่อนจะจิตสงบขึ้นมามันจะติดสภาวะต่างๆ เห็นภาพต่างๆ ถ้าเป็นนิมิต สิ่งที่เป็นนิมิตนี้มันไม่สามารถชำระกิเลสได้ แต่ถ้าเราเกิดอุคคหนิมิต นิมิตที่เป็นกาย จะเห็นสภาวะของกายที่เป็นอุคคหนิมิตนี้ สิ่งนี้เราต้องตั้งให้ได้แล้วทำวิภาคะ อุคคหนิมิต วิภาคะ นิมิต ให้สิ่งนี้มันเสื่อมสภาวะเป็นตามสภาวะของเขาโดยตามความเป็นจริง มันจะเกิดปัญญารอบรู้สิ่งนั้น

ถ้าเราติดในสมาธิก็ว่าติดในสมาธิ การว่าติดในสมาธิหรือไม่ติดในสมาธินี้มันเป็นทางไง มันเป็นหนทางที่เราต้องก้าวดำเนินไป

เราจะกินอาหาร เราปฏิเสธรสชาติของอาหารได้ไหม อาหารที่เรากินเข้าไปทุกวันๆ มันมีรสชาติเหมือนกัน สิ่งที่รสชาติ แล้วพอเราติดในรสชาติ เราอยากกินอาหารด้วยคุณของอาหาร หรือเราอยากกินอาหารเพราะเราอยากรสชาติของอาหารล่ะ

นี้ก็เหมือนกันมันอยู่ที่จริต อยู่ที่นิสัยของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าเกิดนะ เกิดเป็นผู้ที่อำนาจวาสนา อำนาจวาสนาเขาสร้างมาอย่างไรเขาจะได้สภาวะแบบนั้น ผู้ที่สงบโดยธรรมชาติ สงบโดยธรรมดานะ โดยสงบไปเฉยๆ ก็มี ผู้ที่ตกเหวตกบ่อโดยลึกก็มี ผู้ที่ไม่เห็นนิมิตเลยก็มี ผู้ที่เห็นนิมิตก็มี

ถึงต้องหาไง หาครูหาอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีครูไม่มีอาจารย์ ยังพยายามฝึกฝนค้นคว้ามาโดยบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราสาวกะ-สาวกผู้ได้ยินได้ฟัง ผู้ได้ยินได้ฟังมีอำนาจวาสนา มีตำรับตำรา สิ่งที่เป็นตำรับตำรามีไว้แล้วควรจะให้เป็นประโยชน์กับเรา อย่าเอากิเลสนี้ไปอ้างอิงศาสนา

อ้างอิงศาสนาว่า พระป่าสายปฏิบัตินี้ติดในสมาธิ

ติดในสมาธิ เพราะว่าเราทำสมาธิขึ้นมาแล้วมันก็เข้าไปมันติดในอารมณ์นั้นมันก็เป็นเรื่องธรรมดา สิ่งที่ธรรมดา แต่เรามีครูมีอาจารย์ คอยชี้นำ ให้ออกสิ่งนี้ได้ แต่ถ้าเขาไม่มีครูไม่มีอาจารย์ เขาไม่รู้ เขาก็ศึกษาตามแต่พระไตรปิฎก แล้วก็ใคร่ครวญกันไป จะมีความสงบขนาดไหน จะใคร่ควรตามความประพฤติปฏิบัติขนาดไหนแล้วแต่ สิ่งที่ได้ผลขึ้นมามันคือเป็นสมาธิทั้งหมด มันคือปล่อยวางจากอารมณ์

จากงานอันหนึ่ง จิตที่เคยคิดเคยฟุ้งซ่านอย่างนั้น แล้วจะสงบเข้ามาโดยธรรมชาติอันนั้น แต่เขาไม่มีสติ ทั้งๆ ที่ว่าความสงบนั้นมันก็เป็นสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ตกภวังค์ ถ้าสมาธินั้นตกภวังค์ มันว่าง มันไม่มีสิ่งใดๆ มันเกาะเกี่ยวไม่ได้ นี่มันเป็นอะไรล่ะ?

มันเป็นอุปกิเลส สิ่งที่เป็นอุปกิเลส ความสว่างไสว ความเวิ้งว้าง ความผ่องใส เป็นอุปกิเลสทั้งหมดเลย กิเลสอย่างหยาบสงบตัวลง กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างละเอียดสุดในหัวใจมหาศาลเลยนะ นี่แค่สงบตัวลง ไม่ได้ชำระกิเลส

ถ้าไม่ได้ชำระกิเลส การประพฤติปฏิบัติของเรามันก็เจริญแล้วเสื่อม ถ้าจิตของเราเสื่อมลงมาเมื่อไร มันจะมีความทุกข์ร้อนมาก ถ้ามีความทุกข์ร้อน เราประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์อยู่ในวงสังคม อยู่ในวงของผู้ที่ปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติจะก้าวเดินได้สมประโยชน์มันก็มี ถ้าไม่สมประโยชน์ ครูบาอาจารย์ก็ประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นอุปนิสัย ให้เป็นนิสัย เป็นเครื่องนิสัย ให้เราเกิดตาย ให้เราไม่ตื่นไปกับกระแสโลก

ถ้าจริตนิสัยของเราเป็นอุปนิสัยในทางเป็นสัมมาปฏิบัติ เราก็จะเชื่อครูบาอาจารย์ที่เป็นสัมมาปฏิบัติ ถ้าเรานะ เราไปเชื่อหรือความฝังใจของเราเกี่ยวกับมิจฉาปฏิบัติ สิ่งที่เป็นมิจฉาปฏิบัติ เราเชื่ออย่างนั้น เราความเห็นอย่างนั้นมันก็จะเป็นฝังใจไปอย่างนั้น เชื่อตามกระแส เชื่อตามกระแสของโลกไป แปรสภาวะแบบนั้น ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนั้นเป็นธรรม

มันจะเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม เราเป็นผู้ที่มีปัญญา เราไม่ใช่เด็กไร้เดียงสา เด็กไร้เดียงสามันน่ารักนะ มันทำตามไร้เดียงสาของมัน แต่จิตของเรามันไร้เดียงสา เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมา ครูบาอาจารย์บอกกล่าวมาเราก็เชื่อ เชื่อตามที่ว่ามันไม่มีเหตุมีผล เราเชื่อสิ่งนั้นได้อย่างไร ถ้ามันเชื่อสิ่งนั้น นี่ใจที่ไร้เดียงสาถึงต้องมีปริยัติไง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถ้าเรามีปริยัติ เราต้องใคร่ครวญสิ่งนั้น สิ่งนั้นจริงหรือไม่จริง ถ้าเราไม่จริง เราเชื่อได้อย่างไร

ถ้าเราไม่เชื่อ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้นนะ ชี้ทางเพื่อให้เราก้าวเดินไป เราก้าวเดินไปมันจะรู้ไปจากความประสบการณ์ของจิตที่มันปฏิบัติไป จิตมันปฏิบัติไปมันจะได้ผลขนาดไหน ไม่ได้ผลขนาดไหน นี่มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้อยู่กับใจของเรา ถ้าใจของเรา เราปฏิบัติมาแล้วมันไม่ได้ผล หรือมันทำขึ้นไปแล้วมันก็มีสภาวะแบบนั้น เจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อมอย่างนี้ แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรกับการประพฤติปฏิบัตินี้ล่ะ

ถ้ามันเป็นการประพฤติปฏิบัติ เอาเป็นอุปนิสัย อันนั้นส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราเข้าถึงทาง เข้าถึงสัมมาปฏิบัติ เราก็มีอำนาจวาสนาสามารถจะผ่านพ้นไปได้ เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเพื่อชำระกิเลสของเรา ถ้าเราชำระกิเลสของเรา เราต้องย้อนกลับเข้ามาให้เห็นกิเลสของเราให้ได้ ถ้าเราเห็นกิเลสของเราให้ได้ เราถึงต้องทำสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิคือจิตที่มีสติรู้ไปตลอด

ถ้าเราทำสัมมาสมาธิ กำหนดพุทโธ พุทโธ มันเป็นสมาธิได้ ไม่ต้องตื่นตามกระแสของเขา ตามกระแสของเขา เขาพยายามจะพูด พระสงฆ์กลุ่มหนึ่งมีศีลเคร่งครัดมาก เป็นฝ่ายถือศีล พระปฏิบัติสายหลวงปู่มั่นติดแต่สมาธิ ชอบสมาธิ แล้วนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง พระกลุ่มหนึ่งนั้นเป็นฝ่ายปัญญา นั้นเป็นเขาว่า สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ว่า ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าอย่างนั้นมันจะอยู่กับจริตนิสัยได้อย่างไร

จริตนิสัยของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน สิ่งที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดเป็นพุทธจริต เราเป็นคนที่มีปัญญามาก เราใช้ความใคร่ครวญของเราขนาดไหนมันก็ปล่อยวางเข้ามา เรามีสติของเราพร้อมเข้ามาด้วย เราใคร่ครวญในความรู้สึก ความคิดที่มันเป็นการเป็นงาน ความคิดอันหนึ่งเป็นการเป็นงานใช่ไหม เรามากำหนดพุทโธ พุทโธ เป็นธรรม เป็นคำบริกรรมที่จะทำให้จิตสงบ

แต่ในเมื่อเราทำแล้วมันมีความขัดข้องในหัวใจ หัวใจของเราทำแล้วมันไม่สะดวกกับเรา เราใช้ปัญญาความคิด ใช้ปัญญาแล้วสติตามไป เราใช้อย่างนั้นก็ได้ แต่ทำขนาดไหนมันก็ต้องกลับมาใช้พุทโธบ้าง เพราะความคิดบางทีมันหยุด เวลามันหยุดขึ้นมา สิ่งนี้มันคาอยู่อย่างนั้น ว่างๆ ว่างๆ ถ้าว่างๆ อย่างนั้นมันเป็นประโยชน์อะไรล่ะ ความว่างของเราต้องมีสติ ถ้ามีสติมันว่างขนาดไหน ถ้ามันกำหนดพุทโธได้ เราจะกำหนดพุทโธทันที เพื่ออะไร? เพื่อให้สมาธินี้มันตั้งมั่น

นักกีฬาจะมีเทคนิคดีขนาดไหน แต่ถ้าไม่มีกำลังลงแข่งกีฬามันก็มีแต่แพ้กับแพ้เท่านั้นเอง กำลังไม่พอ แต่ถ้าเราเป็นนักกีฬา เรามีเทคนิคด้วย เพราะเราเกิดท่ามกลางพุทธศาสนา เราเกิดท่ามกลางพระไตรปิฎก เราเกิดท่ามกลางครูบาอาจารย์คอยชี้นำเรา แต่เราต้องสร้างกำลังของเรา

“กรรมฐาน” สิ่งที่เป็นสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานจะเกิดขึ้นมาจากเรา ถ้าเกิดขึ้นมาจากเราเป็นปัจจัตตังกับใจของเรา เราจะเข้าใจตามความเป็นจริงว่าสิ่งนี้จะชำระกิเลสได้หรือไม่ได้ มันจะย้อนกลับเข้ามาในหัวใจของเรา หน้าที่ของเราคือต้องเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเรา ถ้าเราเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเรา นี่งานมันเกิดขึ้นตรงนี้

นักกีฬา หรือสิ่งที่ว่าเขาแสวงหาเรื่องการประกอบธุรกิจต่างๆ เขาต้องหาตลาด เขาต้องหาเวทีของเขา การประพฤติปฏิบัติของเรา เราก็ต้องหาเวทีของเรา เราต้องหาเวที เห็นไหม ตรงไหนที่มันเป็นความทุกข์ ตรงไหนที่จิตมันฟุ้งซ่าน จิตที่มันมีความทุกข์ แล้วมันพาเกิดพาตายโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย เรื่องสิ่งนั้นมันละเอียดอ่อนอยู่ในหัวใจของเรานะ

เราเอาเรื่องของความหยาบๆ เอาเรื่องการหาเวที การหาชัยภูมิที่จะต่อสู้กับกิเลส ทำสมถกรรมฐานเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่ทำสมถกรรมฐาน เขามีแต่ความปล่อยวาง มันเข้ากับอุปกิเลสแน่นอน จะกำหนดสิ่งใด จะการประพฤติปฏิบัติสิ่งใด จะใช้ปัญญาขนาดไหน มันจะเข้ามาเรื่องเป็นอุปกิเลส เพราะมันไม่มีสติ

ถ้าเรามีสติ จะสว่างขนาดไหน จะเวิ้งว้างขนาดไหน เรามีสติอยู่เราควบคุมได้ สิ่งที่ควบคุมได้มันเป็นสัมมาสมาธิ “ศีล สมาธิ ปัญญา”

แล้วบอกว่า สายปฏิบัตินี้ติดในสมาธิ

ในการประพฤติปฏิบัติของเขา มันก็ตกเข้ามาในสมาธิ แต่ในสมาธินี้เขายังไม่เข้าใจว่าสมาธินี้เป็นสมาธิ เขาเข้าใจนะ เขาไม่เข้าใจตามที่ว่าพระพุทธเจ้าพูดกับพระอานนท์ “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มรรค ผล นิพพานจะไม่ว่างจากโลกนี้เลย” แต่เขาไม่เข้าใจว่าความว่างนี้เป็นธรรม ความว่างนี้ไม่เป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรมมันเป็นมิจฉาสมาธิ มันไม่เป็นสัมมาปฏิบัติ

ถ้าเราเป็นสัมมาปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ก็มีพระไตรปิฎกก็วางไว้อย่างนั้น มันต้องย้อนกลับมายกขึ้นวิปัสสนา ถ้าจะยกขึ้นวิปัสสนาในอะไร? ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้าในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หยิบสิ่งหนึ่ง จับต้องสิ่งหนึ่ง เพียงแต่วิปัสสนาไป แยกแยะออกมาด้วยกำลัง

ถ้ามีกำลัง ถ้ามีสัมมาสมาธิ สมาธิเกิดขึ้นมามันจะเป็นชัยภูมิที่เราจะยกขึ้นวิปัสสนา ถ้ายกขึ้นวิปัสสนา ถ้าทำไม่ได้ ทุกคนจะบ่นว่าวิปัสสนาอย่างไร เราไม่เห็น ลองนั่งทั้งคืนสิ เวทนามันเกิดแน่นอน กาย เวทนา จิต ธรรม เวทนามันเกิด เราก็วิปัสสนาเวทนา งานมันมีอยู่แล้ว แต่ถ้าเราวิปัสสนากาย เราก็ดูกายของเรา ถ้ามันจับกายขึ้นมาได้ ปฏิภาคนิมิต เราต้องแยกสิ่งนี้ เราต้องพยายามใคร่ครวญสิ่งนี้

เวลาเราทำหน้าที่การงาน ปรัชญานะ ในหลักของศาสนา เวลาปรัชญาในศาสนา เราคิดออกไปเราพิจารณาออกไป ปฏิจจสมุปบาท ปรัชญาการของมันต้องสภาวะแบบนั้น มันมีความซึ้งใจมาก มีความพอใจมาก แล้วมันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา มันก็มีความสุขแค่นั้นล่ะ มันเป็นปรัชญา

แต่ถ้าเราเห็นกาย ถ้าเราเห็นกายมันสะเทือนหัวใจ ถ้าเราเห็นจิตมันสะเทือนถึงจิต สิ่งที่สะเทือนถึงจิต เราพิจารณากายเพราะเรามีกำลัง เรามีจิตตัวนี้ยกขึ้นวิปัสสนา เพราะมีสัมมาสมาธิ มีสติตั้งมั่น

ครูบาอาจารย์คอยชี้ให้ออกวิปัสสนา ถ้าสมาธินี้เป็นฐาน เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่พึ่งที่อาศัยที่ทำให้เรามีความสุข มีความสุขมาก สมาธินี่มีความสุขมาก มีความสุขขนาดไหนมันก็เจริญแล้วเสื่อม เพราะมันเป็นกุปปธรรม สิ่งที่กุปปธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวธรรมทั้งหลายนี้เป็นอนัตตาทั้งหมด

เวลาพูดกันในพระไตรปิฎก สภาวธรรมนี้เป็นอนัตตาทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นอนัตตาเป็นอนัตตา

มันก็เป็นอนัตตาโดยความเห็นอันนั้น แต่ถ้าเราความเห็นเป็นอนัตตา ใจของเราเป็นผู้วิปัสสนา ใจของเราเป็นผู้รับรู้สิ่งนั้น มันมีผู้รับรู้สิ่งนั้นต่างๆ นี่วิปัสสนาไปนะ สิ่งนี้เป็นอนัตตา สิ่งนี้เป็นสภาวะของจิตอาศัยสิ่งนี้ จิตนี้อาศัยกายกับใจนี้เป็นที่อาศัยพาเกิดพาตาย เวลาพาเกิดพาตาย ตายในสถานะอื่นๆ เขาไม่มีร่างกาย เขาไม่มีความเป็นปัจจุบันนั้น คิดย้อนไป คิดย้อนไป ศึกษาย้อนอดีตอนาคต ไม่สามารถชำระกิเลสได้

ถ้าเรามีสัมมาสมาธิ เราตั้งมั่น สติตั้งมั่น สมาธิตั้งมั่น ทุกอย่างตั้งมั่นหมด วิปัสสนาแยกสิ่งนี้ออกไปตามสัจธรรม ตามเกณฑ์ว่าเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เห็นไหม กายนี้จะคืนสภาวะของเขา จะรวดเร็วขนาดไหนเราก็ต้องหมั่นซ้ำหมั่นทำอย่างนี้ เราต้องทำ ทำสภาวะของเราให้เกิดในสภาวะของเราเป็นปัจจุบันของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นเกิดปัญญาของใจดวงนั้น ปัญญาอย่างนี้ต่างหาก ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเกิดความตื่นเต้นมาก เข้าใจสภาวะความเป็นจริง เห็นสภาวะของร่างกายนี้มันแปรสภาวะของมันไป คืนสู่สภาวะเดิมของเขา มันจะตื่นเต้นในใจดวงนั้นมาก

สิ่งที่ว่าเป็นปัญญา นี่ธรรมะส่วนบุคคล มันส่วนบุคคลอย่างนี้ เวลาเกิดขึ้นมาจากจิตดวงนั้น มรรคาเครื่องดำเนินสิ่งต่างๆ ออกไป วนออกไปแล้วย้อนกลับ ธรรมจักรมันเคลื่อน ใจนี้มันเคลื่อนไป นี้คือภาวนามยปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญามันเกิดอย่างนี้ ไม่ใช่ปัญญานักวิชาการที่เขาใคร่ครวญทางปรัชญา แล้วเขาว่าเป็นปัญญา สิ่งนั้นเป็นปัญญา แต่ไม่สามารถชำระกิเลสได้ สิ่งที่ไม่สามารถชำระกิเลสได้

แล้วสภาวธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ล่ะ “ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มรรค ผล นิพาน จะไม่สิ้นสุดจากโลกทั้งสิ้น” ไม่สิ้นสุดจากโลก โลกคืออะไร? โลกคือหมู่สัตว์ สัตว์อะไร? สัตว์คือสัตตะผู้ข้อง ใจนี้เป็นสัตตะเป็นข้อง ข้องอะไร? ข้องในกิเลส กิเลสในหัวใจของเรา จิตใต้สำนึกสรรพสิ่งนี้เป็นของเรา มันยึดไปหมดล่ะ ขนาดคนเขาติฉินนินทามันยังออกไปรับรู้แล้วยังแบกหามในหัวใจเลย

แล้วของที่มันคลื่น หัวใจมันเป็นนามธรรม แล้วเกิดมาเป็นมนุษย์ เราเกิดในครรภ์ของมารดา เกิดในโลกได้สถานะของมนุษย์มา สิ่งนี้มันเป็นเราโดยสัญชาตญาณ เพราะบุญกุศลพาเกิด มันถึงติดไง ใจนี้ติดสภาวะแบบนั้นโดยกิเลส แต่โดยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ติดเพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้จริงตามนั้น ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ติด

แต่เราติด ใจติด ปากพูดไป สัญญาอารมณ์พูดไป เข้าใจไป แต่จิตใต้สำนึกติดหมด ถึงต้องวิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขนาดปล่อยวางขนาดไหนมันปล่อยวาง ถ้ายังจับกายได้ สิ่งที่ตั้งกายได้ขึ้นมา ตั้งขึ้นมา ถ้าตั้งขึ้นมาแล้วค้นคว้าพยายามแยกออก สิ่งที่ให้เป็นวิภาคะ จะเน่า จะเปื่อย จะทำลายตัวเองขนาดไหน มันจะรวดเร็วขนาดไหน ทำสภาวะแบบนั้น ทำแล้วทำเล่า ต้องหมั่นคราดหมั่นไถ

ถ้าเราไม่คราดไม่ไถ เวลาเขาไถแล้วเขาต้องคราด คราดเนื้อนาเขาตลอดไป เพื่อจะให้ดินนี้ควรแก่การงาน ให้ดินนี้ควรแก่การหว่าน การไถ การปลูกข้าว ถ้าปลูกข้าวขึ้นมามันจะเกิดขึ้นมา ขนาดนั้นหญ้ามันก็ยังเกิด ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า ต้องใช้ทำต่างๆ พยายามไม่ให้หญ้ามันเกิด ไม่ให้กิเลสมันเกิดไง

เวลาวิปัสสนาไป เหมือนเวลาปลูกข้าว เราหมั่นคราด หมั่นไถ แล้วเราหว่านข้าวออกไป ผลของการปล่อยวาง ติดในสมาธินั้นมันเป็นการกำหนดคำบริกรรม แล้วปล่อยวางเข้ามาเฉยๆ วิปัสสนาคือการคราด การไถ การหว่าน การหวังผลขึ้นมา เกิดต้นข้าวเจริญงอกงามขึ้นมา แล้วเข้าใจตามความเป็นจริงมันก็ปล่อย วิปัสสนากรรมฐานกับสมถกรรมฐานอารมณ์ต่างกัน เป็นปัจจัตตังในหัวใจ ติดในสมาธิก็รู้ว่าติดในสมาธิ ในเมื่อติดอยู่ ไม่เข้าใจก็ติด มันเป็นอุปกิเลส

แต่ในเมื่อวิปัสสนาเกิดขึ้นมาแล้วมันปล่อยวางขนาดไหน อารมณ์มันต่างกัน ความรู้สึกต่างกัน สิ่งนี้มันเป็นปัจจัตตังกับใจดวงนั้นทั้งนั้นแหละ เวลาติดก็ต้องติดไปก่อน เพราะทุกคนมันสิ่งที่ทางไม่เคยเดิน แต่เราวิปัสสนาขึ้นมาจนผลเกิดขึ้นมาจากใจ มันจะเห็นเองว่าสิ่งนี้เป็นสมาธิติด สิ่งนี้เป็นวิปัสสนาก็หลง หลงนะ หลงในการวิปัสสนา เวลาปล่อยวางแล้วเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม

เวลาหมอ หมอเป็นโรคเสียเอง นี้ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติ กิเลสมันอยู่ในหัวใจ มันเป็นโรคเสียเอง มันก็คาด มันก็หมาย มันไม่สมควรแก่ธรรม ถ้าไม่สมควรแก่ธรรม สังโยชน์ไม่ขาดหรอก ถ้าสังโยชน์ไม่ขาด มันจะปล่อยวางอย่างนี้ ถ้ายังปล่อยวาง กำลังไม่พอ มันถึงต้องย้อนกลับมาทำความสงบด้วย สมถกรรมฐานยังสำคัญขนาดนี้

ถ้าสมถกรรมฐาน เหมือนกับเราใช้เครื่องมือของเรา ทำงานสิ่งใดก็แล้วแต่ เครื่องมือของเราถ้าใช้บ่อยครั้งเข้าอย่างมีดเราฟันสิ่งใดมันต้องทื่อ มันต้องนั้นไป เราต้องกลับมาลับให้คม การลับมีดเราก็ว่าเสียเวลา เราไม่อยากทำเลย เวลากิเลส มันไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันไม่สมควรแก่ธรรม

จบส่วนสิ่งหนึ่ง เวลาติดในสมาธิก็ว่าติดในสมาธิ เวลาจะออกวิปัสสนามันก็ปัญญามันก็ฟุ้งซ่านไปออกไปตามอำนาจของกิเลสขับไสไป นี่มันไม่สมควร มันถึงต้องฝึกฝนตรงนี้ ถ้าการฝึกฝนตรงนี้ พยายามดึงกลับมาในทางความสงบของใจ ถ้าทำความสงบของใจ สร้างกำลังของเราขึ้นมา สิ่งที่เป็นกำลังขึ้นมา แล้วเราใช้สัมมาสมาธิ ใช้สัมมาสติ สัมมาปัญญามันเกิด สิ่งที่เกิดมันจะหมุนออกไป สิ่งนี้หมั่นคราด หมั่นไถ ตั้งใจทำ อย่าทำใจรวน ใจร้อนนะ อย่าทำสุกเอาเผากิน ถ้าเราทำสุกเอาเผากิน การฆ่ากิเลสนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบารมีมาเป็นพุทธวิสัย ๔ อสงไขย สร้างมาขนาดไหน ทุ่มเทมามหาศาลเลย ยังต้องทุกข์ถึง ๖ ปี ๖ ปีนะ เวลาประพฤติปฏิบัติค้นคว้าหาสิ่งนี้อยู่ แล้วเราสาวกะ-สาวกผู้ได้ยินได้ฟัง เราสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดไหน เราจะทำจะให้สมควรแก่เรา เราถึงต้องพยายาม พยายามประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เราจะชำระกิเลสนะ เราจะฆ่ากิเลส เราจะเป็นหมอ แล้วเราจะไม่ให้โรคเกิดจากเรา

ถ้าเราเป็นหมอไม่ให้โรคเกิดจากเรา เราต้องหมั่นตรวจสอบ ควบคุมร่างกายของเรา ควบคุมหัวใจของเรา อย่าให้กิเลสมันเสี้ยมมันสอน ถ้ากิเลสมันเสี้ยม นี่มันออกไป การปฏิบัติของเรามันก็ไม่สมควร สิ่งนี้แล้วมันก็จะเสื่อมไป เสื่อมไป สุดท้ายมันต้องเสื่อมไปตามสรรพสิ่งนี้เป็นอนิจจัง เวลานี้ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันเป็นอนัตตาอย่างนี้นะ เวลาเจริญขึ้นมาแล้วมันก็เสื่อมไป เพราะอะไร เพราะมันไม่ถึงเป้าหมาย มันไม่ถึงอกุปปธรรม

ถ้ามันถึงเป้าหมาย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะ เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะนี้ประพฤติปฏิบัติกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ๖ ปี สมาธิพร้อมอยู่แล้ว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ ใช้ปัญญาใคร่ครวญไป เพราะสัมมาสมาธินี้พร้อมอยู่ ใคร่ครวญสภาวะธรรมจักรนั้นไป จนเห็นตามความเป็นจริง

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องแปรสภาพดับไปเป็นธรรมดา”

มันเป็นธรรมดาของมัน แต่เพราะกิเลสไปยึดมันถึงได้ต้องการให้เป็นสมความตั้งใจของตัวเอง ตั้งใจ ต้องการให้สมความปรารถนาของตัวเอง แล้วไม่มีสิ่งใดสมความปรารถนาเลย สิ่งต่างๆ นี้ เป็นอนัตตาโดยธรรมชาติของมัน เวลาจิตเข้าเห็นสภาวะแบบนั้น ปล่อยหมดเลย

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

รู้สภาวธรรม นี่สิ่งนี้เป็นธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันต้องใคร่ครวญ ใช้ปัญญาใคร่ครวญ ใช้ปัญญา ไม่สุกเอาเผากิน พยายามใคร่ครวญอยู่อย่างนั้น นี่ชำระกิเลสออกไปจากหัวใจ

“สัมมาปฏิบัติ” เราต้องปฏิบัติโดยสัมมา สัมมาปฏิบัติหมายถึงในหัวใจนั้น ในหัวใจของสัตว์โลกกับจริตนิสัยต่างกัน อำนาจวาสนาต่างกัน การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม แล้วแต่เราจับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วจับสิ่งนั้นวิปัสสนา วิปัสสนาด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอำนาจของสัมมาสมาธิ เราพิจารณากายนอกเข้ามา มันพิจารณากายเข้ามาเหมือนกัน กายนี่กายนอกเราพิจารณาได้ พิจารณาแล้วมันจะปล่อยวางสิ่งนั้น มันสลดหดหู่นะ

เหมือนคนเจ็บคนป่วยมันสลดหดหู่ เห็นสิ่งต่างๆ เขาทุกข์ยาก มันสลดหดหู่ มันหดหู่เข้ามา เรื่องของโลกมันจะเป็นสภาวะแบบนั้น สลดหดหู่ขนาดไหนมันปล่อยวาง นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ย้อนกลับเข้ามา ทำอยู่อย่างนั้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้สติอยู่ มันก็เข้ามาจุดนี้ได้ ถ้ามันเข้ามาจุดนี้ได้ สัมมาปฏิบัติคือมีสติ

มีครูมีอาจารย์คอยชี้นำ คอยบอก ถ้าไม่มีครูไม่มีอาจารย์คอยชี้นำ เราประพฤติปฏิบัติ พอมันปล่อยวาง มันวางสิ่งต่างๆ เข้ามา ด้วยความมหัศจรรย์ของมัน เพราะใจนี้มันเป็นนามธรรม เราจะตื่นเต้นกับสภาวะนี้มาก แล้วจะว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม

“อุปกิเลส” สว่างไสวขนาดไหนมันก็เป็นอุปกิเลส จะโอภาส จะผ่องใสขนาดไหนมันก็เป็นอุปกิเลส เพราะมันไม่ยกขึ้นวิปัสสนา ถ้ามีครูมีอาจารย์คอยชี้นำอย่างนั้น ถ้ามันสงบขนาดไหนมันจะติดสมาธิ ครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ขอให้มีสมาธิ ขอให้ใจนี้มีร่มเย็นเป็นสุข จะติดในสมาธิ

พระป่าสายหลวงปู่มั่น ติดในสมาธินั้นเขาว่าของเขาไป

ครูบาอาจารย์ของเราติดในสมาธิก็บอกว่าติดในสมาธิ ลุกออกจากสมาธิใช้ปัญญาก็บอกว่าออกจากสมาธิใช้ปัญญา เพราะเราปฏิบัติตามขั้นตอนของหัวใจที่มันพัฒนาขึ้นไปจากปุถุชน

ปุถุชนคนหนาไปด้วยกิเลส ทำใจให้สงบเข้ามาเป็นกัลยาณปุถุชน คือปุถุชนที่ควรแก่การงาน ใจนี้ควรแก่การงานยกขึ้นวิปัสสนาขึ้นมาได้ กัลยาณปุถุชนเดินโสดาปัตติมรรค สิ่งที่เป็นโสดาปัตติมรรคมันเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม เพราะสิ่งนี้ยังอยู่ในเหตุ ในธรรมฝ่ายเหตุ

ถ้าธรรมฝ่ายเหตุ การเจริญแล้วเสื่อมอันนี้เราต้องพยายามรักษา พยายามรักษา หาที่ประพฤติปฏิบัติ หาสนาม หาชัย สิ่งที่หาหัวใจของเราให้ยึดมั่นไว้ ตั้งมั่นไว้แล้ว แล้วพยายาม สิ่งนี้พยายามรักษาไว้ รักษาสิ่งนี้เพื่อมีการต่อสู้ ว่ามีการวิปัสสนา นี่หมั่นคราดหมั่นไถ ถึงที่สุด เห็นไหม สมควรแก่ธรรม สมควรแก่ธรรมสังโยชน์จะขาดออกไปจากใจ สิ่งที่สังโยชน์ขาดออกไปจากใจ เพราะมันวิปัสสนาตามความเป็นจริง

กิเลสเป็นนามธรรม สิ่งที่ยึดมั่นกายเป็นเรา เราเป็นกาย กายเป็นทุกข์อยู่ในกาย ทุกข์อยู่ในหัวใจ สิ่งที่ขันธ์มีในเรา เราอยู่ในขันธ์ สิ่งนี้มันโดยธรรมชาติของมัน แล้วพอมันปล่อย มันขาดออกไป สังโยชน์ขาดออกไป สักกายทิฏฐิ ขันธ์ ๕ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ กายนี้ไม่มีในเรา เรานี้ไม่มีในกาย ต่างอันต่างอยู่ กายก็เป็นกายโดยธรรมชาติอันนั้น ใจนี้ปล่อยวางกายโดยสัจจะความเป็นจริง นี่รู้ขึ้นมาจากใจดวงนั้น นี้เป็นสัมมาปฏิบัติ เป็นปัจจัตตังจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นก้าวเดินสูงขึ้นไป สัมมาปฏิบัติต้องปฏิบัติสูงขึ้นไปตามแต่อำนาจวาสนาของใจ

นางวิสาขาอายุ ๗ ขวบ เป็นพระโสดาบัน นางวิสาขารู้ตรงนี้ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นพระโสดาบันก็ยังมีครอบครัวได้ เพราะว่ากายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย แต่กามราคะ มันอยู่ในหัวใจ สิ่งที่เป็นกามราคะฝังใจอยู่ ใจรักสวย รักงาม รักความพอใจของใจดวงนั้น รักสิ่งที่เป็นเรื่องของโลก มันยังสงวนรักษาสิ่งนั้น เพราะมีกิเลสมันถึงสงวนรักษาสิ่งนี้ เราถึงต้องย้อนกลับ

ถ้าเราย้อนกลับขึ้นมา สัมมาสมาธิสำคัญตลอดไป ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ มันความว่างอย่างนี้มันก็ติดความว่างได้ถ้ามันไม่ก้าวเดิน ถ้าเรามีสัมมาสมาธิ เพราะสัมมาสมาธิมีสติ ถ้ามีสติมันจะย้อนขึ้น ย้อนขึ้นเข้าไปจับ จับกายจับจิตจากภายใน ถ้าจับกายจับจิตจากภายในได้นี่งานมันเกิด ถ้าจับจิตจับกายภายในได้ วิปัสสนาเกิด

ถ้าเราจับต้นเชือกได้ เราสาวขึ้นมา จนถึงกลางเชือก ถึงปลายเชือก เชือกเราจับและเราสาวได้ ขันธ์ก็เหมือนกัน กายก็เหมือนกัน เราจับแล้วเราสาวเข้าไป มาจากกายนอก-กายใน ถ้าพิจารณากายในสภาวะนี้เป็นกายใน ถ้าเราตั้งได้ อุคคหนิมิตเกิดขึ้นมา

เขาว่านิมิตแก้กิเลสไม่ได้

นิมิตแก้กิเลสไม่ได้หรอก สิ่งที่เป็นนิมิตเพราอะไร เพราะใจไปเห็นสิ่งนั้นถึงเป็นนิมิต นิมิตแก้กิเลสไม่ได้ แต่เวลาเราเห็นกาย เราก็สร้างเป็นนิมิตขึ้นมา สิ่งที่เป็นนิมิต วิภาคะเพราะนิมิตนี้เราแยกส่วนของนิมิตนี้ออกไปให้สอนใจ ให้ใจเห็นสภาวะแบบนั้น เห็นกายพิจารณากายไป กายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ คืนสภาวะเดิมของเขา

ใจมันจะปล่อยสิ่งนั้นเข้ามา ปล่อยสิ่งนั้นเข้ามา นี่มันนิมิตแก้กิเลสไม่ได้ แต่เวลาใจเห็นนิมิตที่เป็นสภาวะกายนี้มันแยกแยะไง มันแยกแยะนิมิตเพื่อสอนใจดวงนั้น ฝึกซ้อมให้ใจดวงนี้ให้เห็นสภาวะความเป็นจริงว่า ความเป็นจริงของเขาเป็นแบบนี้

สิ่งที่เป็นธรรม เป็นธรรม สภาวะของโลกเคลื่อนไปโดยธรรมชาติอย่างนี้ตลอดไป กายอย่างนี้ก็เหมือนกัน มันต้องทำลายไปโดยธรรมชาติของมัน แล้วเรา อุปาทานไปยึดว่าเป็นของเราได้อย่างไร กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย ข้ามโสดาบันมันทิ้งมาแน่นอน แต่ความติดพันของมันจากภายใน ในเมื่อกายกับจิตมันยังเกี่ยวพันกันอยู่

ถ้าเราวิปัสสนาซ้ำบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้ามันจะปล่อยวางตรงนี้ การปล่อยวางกายกับจิตแยกออกจากกัน กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส นี้เป็นโดยสัจจะความจริง โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง มันปล่อยว่างหมดเลย ว่างหมด โลกนี้ราบหมดเลย สิ่งต่างๆ ไม่มี ความสุขอันนี้มหาศาล อันนี้มันจะเป็นติดสมาธิไหม?

ถ้าติดในสมาธิ ในสมาธิมันเป็นความรู้สึกเฉยๆ สมาธิปล่อยวาง สิ่งต่างๆ เข้ามาเป็นสมาธิ มันปล่อยวางความฟุ้งซ่านเข้ามาเป็นสมาธิ มันเป็นสมาธิเฉยๆ มันไม่มีปัญญา แต่เราวิปัสสนาของเรา มันเกิดปัญญา มันใคร่ครวญสิ่งสภาวะตามความเป็นจริงของกายของจิตที่มันเกาะเกี่ยวกัน แล้วมันทำลายกัน มันปล่อยวางเข้ามา มรรคสามัคคีทำลายกันรวมตัวออกมา โลกนี้ราบ ว่าง โลกนี้ว่างเป็นหน้ากลอง โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ว่างหมด ปล่อยวางหมด ต้นไม้ ภูเขาไม่มี โลกนี้ราบหมด จิตนี้ปล่อยวางหมดต่างๆ ปล่อยวางหมดเลย ว่างหมดเลย นี่สภาวธรรมจะเป็นแบบนี้

สภาวธรรมที่เกิดจากวิปัสสนากรรมฐานนี้เกิดขึ้นมาจากหลวงปู่มั่นสอนครูบาอาจารย์เรามา หลวงปู่มั่นสอนให้จิตนี้สงบเพื่อให้เป็นโลกุตตระ สิ่งที่เป็นโลกุตตระเพราะวิปัสสนา ยกขึ้นวิปัสสนาได้เป็นโลกุตตระ เราจะใช้ปัญญาปรัชญาของโลกเขาอย่างนั้นน่ะมันเป็นไปไม่ได้ สิ่งนี้เป็นโลกเป็นโลกียะ โลกียะก็วนอยู่กับในโลกียะ

จะมีความซึ้งใจ จะมีความสุข มีความแปลกประหลาดในหัวใจขนาดไหนมันก็ปัดความสกปรกนั้นเข้าไว้ใต้พรหม มันไม่ได้ชำระสะสาง ขณะที่เราวิปัสสนา พอมันปล่อยวาง มันขาดออกไปจากใจนี้ นี่สัมมาปฏิบัติ มันจะเห็นสิ่งต่างๆ ขาดออกไปจากใจ โลกนี้ว่างหมด

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นี่ติดได้

ถ้าติดสมาธิ ติดในสมาธิ เวลาโลกว่าติดสมาธิ คือว่าเขาไม่ได้ทำเลย

แต่นี้ได้ทำนะ ได้ทำ เห็นธรรม ปล่อยวางกายส่วนกลางเข้ามา ปล่อยวางขันธ์อย่างกลางเข้ามา ปล่อยเข้ามาขาดออกมา ใจมันก็ยังติดเพราะอะไร หมอที่เขาเป็นโรคไง จิตที่มันมีกิเลสอยู่ในหัวใจ จิตที่มีกิเลสอยู่ในหัวใจมันพาติดสิ่งนี้ได้ เพราะกิเลสเป็นยางเหนียว สิ่งที่เป็นยางเหนียวมันอยู่กับใจ มันละเอียดอ่อน เห็นไหม ปัญญาญาณ มันจะใคร่ครวญสิ่งนี้เข้าไป ถ้ามีครูบาอาจารย์ชี้นำนะ

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ชี้นำ มันแสวงหาสิ่งนี้ไม่ได้ หรืออำนาจวาสนาเราอยู่กับครูบาอาจารย์

“สัมมาปฏิบัติ” ของครูบาอาจารย์นะ เราอ่านธรรม ธรรมฝ่ายปฏิบัติ ฝ่ายปฏิบัติครูบาอาจารย์เทศน์ไว้ เราฟังธรรม มันจะมีบอกมรรค ๔ ผล ๔ แล้วเราปล่อยวางอะไรเข้ามาล่ะ เราผ่านขั้นตอนสิ่งใดเข้ามาล่ะ มันจะมีความเป็นไปของใจ สภาวธรรมแบบนี้มันสอน สภาวธรรมเกิด สิ่งที่สภาวธรรม ความลังเลสงสัยในหัวใจมีขนาดไหนเราทำความสงบของใจขึ้นมา

สิ่งที่คำตอบขึ้นมาจากใจ สภาวธรรมอย่างนี้เกิดขึ้นมา ปัญญาญาณอย่างนี้ก็เกิดขึ้นมา ธรรมนี้เกิดขึ้นมาในหัวใจ ตอบสิ่งนี้ ตอบขนาดไหนก็ตอบเพียงแต่แก้ความสงสัยเท่านั้น เพราะอะไร เพราะเรายังไม่เห็นกายภายใน เราไม่เห็นขันธ์อันละเอียด เราไม่เห็นกามราคะจากภายใน เราก็ค้นคว้าของเราไม่เจอ ครูบาอาจารย์พยายามดึงออกอย่างนี้มันจะดึงสิ่งนี้ออกมา

ถ้าเราติดในการประพฤติปฏิบัติ ติดในความเห็นของเรา นี่เรามีครูเรามีอาจารย์ สมัยพุทธกาลมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคอยชี้นำ ชี้นำให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไม่ให้นอนจมอยู่กับในอำนาจวาสนาของการประพฤติปฏิบัติมาขนาดนั้น แต่ครูบาอาจารย์จะชี้นำออกมา ถ้าคนที่ว่าอำนาจวาสานาสร้างมาอย่างนั้นมันก็ได้แค่นั้น ถ้าเรามีอำนาจวาสนา อำนาจวาสนาในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนมีดวงตาเห็นธรรมขนาดนี้ จะทำไมไม่มีอำนาจวาสนา ถ้ามีอำนาจวาสนา มันก็จะย้อนกลับออกจากความว่างนั้นยกขึ้นได้

ถ้ายกขึ้น สมาธินี้มันเป็นพลังงาน แต่ถ้าเรายกขึ้น มันเป็นการขุดคุ้ย การขุดคุ้ยหาจำเลย การขุดคุ้ยหากิเลสอันละเอียดในหัวใจนั้น มันจะขุดคุ้ยหาสิ่งนี้สิ่งนี้เจอ ถ้าเจอสิ่งนี้นี่จะเจอกาย สิ่งที่เจอกาย ถ้าพิจารณาจิตจะเจอขันธ์ ขันธ์อันละเอียด นี่กามราคะ

สิ่งที่เป็นกามราคะ เพราะมันเป็นสิ่งนี้ครอบคลุมใจอยู่ ครอบคลุมใจอยู่ให้ใจดวงนี้พาเกิดพาตายในกามภพ สิ่งที่กามภพเพราะสิ่งนี้มันพาให้ใจดวงนี้ ถ้าพูดถึงเราค้นคว้าไม่เจอ ไม่ขุดคุ้ย หางานไม่เจอ ตายไปต้องเกิดในกามภพ

ในสวรรค์ เวลาเทวดาที่เขาเป็นเทวดาปุถุชนก็มี เป็นเทวดาที่เป็นพระอริยเจ้าก็มี พระอริยเจ้าทำกิเลสในหัวใจสิ้นไป สิ้นไปส่วนหนึ่ง นี่เกิดในสวรรค์ เกิดในสิ่งต่างๆ ตามวัฏวนยังไม่ทำลายกามภพ ถ้าทำลายกามภพ วัฏฏะนี้ด้วนไป วัฏฏะนี้ขาดช่วงไป เพราะอะไร เพราะใจดวงนี้ไม่เกิดในกามภพ สิ่งที่เป็นกามภพก็เข้ากามราคะ สิ่งที่กามราคะเราถึงต้องย้อนกลับเข้ามา

ใจนี่เยิ้มไปด้วยกาม สิ่งที่เยิ้มไปด้วยกาม เพราะสิ่งนี้มันเป็นสิ่งสืบต่อ เหตุเกิดจากใจ ใจดวงนี้มีสิ่งมีเชื้ออันนี้อยู่มันก็ต้องไปเกิดในสภาวะของภพที่เสพกาม สิ่งที่เสพกาม สิ่งนี้สืบต่อไป เหตุที่นี้ ผลคือการที่ว่าจิตไปเกิดในสภาวะแบบนั้น ไปเกิดสภาวะแบบนั้นนะ ถ้าเกิดในสภาวะแบบนั้น ปัจจุบันนี้มันก็ให้ความรู้สึกกับใจดวงนี้

แต่ถ้าเราผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราจะย้อนกลับเข้ามาดู เอ! ทำไมเวลามันสงบแล้ว ทำไมมันมีความรู้สึกอย่างนี้ ความรู้สึกอันละเอียด เห็นไหม เวลาความคิดกัน ความเห็นของโลกเขา เขาอยู่ในโลกเขา กามราคะของเขาเป็นสภาวะแบบนั้น แต่ในผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมันอยู่ในหัวใจของเรา มันอยู่ในหัวใจของเรา มันแสดงตัวในใจของเรา ถ้าจับต้องสิ่งนี้ได้ นี่เกิดปัญญาญาณ

สัมมาปฏิบัติจะเกิดการวิปัสสนา วิปัสสนา พิจารณากายดวงนี้ไง ถ้าพิจารณากายมันเป็นอสุภะ-อสุภัง สิ่งที่เป็นอสุภะ-อสุภัง อุคคหนิมิต สิ่งนี้จะเริ่มขึ้นมาเป็นเห็นสภาวะกายภายใน แล้วจะใช้ปัญญาใคร่ครวญ มันจะใคร่ครวญสภาวะแบบนั้น ถ้ากำลังมันพอมันเป็นไป กำลังไม่พอมันก็ต้องไปสมถกรรมฐานสร้างกำลังขึ้นมา

มันจะติดสมาธิไปไหน เพราะสมาธิ สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานนี้มันต้องเดินคู่กันไป สิ่งที่เดินคู่กันไป เหมือนกับเครื่องยนต์ เครื่องยนต์เราเติมแต่น้ำมัน น้ำมันเบนซิน น้ำมันโซลา แล้วไม่เติมน้ำมันเครื่อง ไม่เติมน้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์มันเป็นไปได้อย่างไร เครื่องยนต์จะติดไม่ได้เลย หรือติดมันก็ต้องชำรุดเสียหายไป มันเป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมันขาดน้ำมันหล่อลื่น

ปัญญามันจะเกิดขนาดไหน ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ เหมือนกับเครื่องยนต์ เครื่องยนต์เราเติมแต่น้ำมันโซลา แต่น้ำมันเครื่องแห้งผาก ไม่มี เครื่องยนต์มันไปไม่ได้ นี่ก็เหมือนกันเราต้องกลับมาสมถกรรมฐาน ถึงจำเป็นตลอดไป

เขาว่า ติดในสมาธิ

ขอให้มีให้ติดเถอะ สมาธินี้ ถ้าเราติดเป็นความว่าง อันนี้ติด ติดเพราะกิเลส กิเลสพาติดมันเป็นไปได้ แต่ถ้ามันติดในสมาธินี้มันไม่มีเหตุ มันไม่มีผล สิ่งที่ไม่มีเหตุไม่มีผลมันสงบเฉยๆ นั้นเป็นสมถะ วิปัสสนาคือการใช้ปัญญาญาณ

ปัญญาญาณจะเกิดขึ้นจากการใคร่ครวญ สิ่งที่จับต้องได้ สิ่งที่จับต้องนั้นเป็นกาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าเห็นกายก็เป็นอสุภะ ถ้าเห็นจิตนี้ก็เป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะ พลังงานอันนี้เกิด ปัญญาญาณเกิดอย่างนี้ นี่คือภาวนามยปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา คือปัญญาอย่างนี้ ปัญญาแบบโลกเขาไม่มี

โลกเขาไม่มี ถึงสื่อกับโลกเขาไม่รู้ แต่ถ้าสมมุติ ปัญญาในสมมุติสื่อกันรู้เรื่องนะ พอสื่อกันรู้เรื่อง เขาบอกเลย พระทางนักวิชาการเขามีปัญญา ปัญญาของเขา เขาถึงว่านี่คือปัญญาในศาสนา ปัญญาในการกดกิเลสไว้ให้อยู่ในศีลธรรมจริยธรรม ต่อเมื่ออยู่กันซึ่งหน้านะ เวลาลับหลังจะทำความหลอกลวง จะทำความชอกช้ำกับศาสนาขนาดไหนเขาก็ไม่ยอมบอกใครหรอก เพราะมันอยู่ในหัวใจไง

ในหัวใจต้องการลาภสักการะ ต้องการสรรเสริญ ต้องการเกียรติยศ ต้องการเกียรติคุณ มันมีเล่ห์เหลี่ยม มีช่องทางที่มันจะพลิกแพลงออกไปขนาดไหน แล้วการทำ มนุษย์ทำลายกันนี้สาหัสสากรรจ์มาก สัตว์มันจะทำลายกัน มันกัดฉีกกันด้วยอำนาจ ด้วยปากของมัน แต่มนุษย์ทำลายกัน เล่ห์เหลี่ยมพฤติกรรมในหัวใจ สร้างสถานการณ์อย่างหนึ่ง วางแผนไว้อย่างหนึ่ง ทำลายอย่างหนึ่ง นั้นคือเรื่องของกิเลสในหัวใจ

แต่ถ้าเป็นปัญญาอย่างเรา เราไม่ใช้อย่างนั้น เพราะปัญญาของเราเป็นปัญญาของสุภาพบุรุษ สุภาพบุรุษที่จะเอาใจของใจเอาไว้โดยอำนาจของเรา ปัญญาอย่างนี้คือภาวนามยปัญญา ปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมาจากครูบาอาจารย์สายผู้ประพฤติปฏิบัติ จากครูบาอาจารย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เป็นผู้ค้นคว้า เป็นผู้บุกเบิก บุกเบิกขึ้นมาจากพระไตรปิฎก กางพระไตรปิฎกแล้วประพฤติปฏิบัติ แต่ไม่มีครูไม่มีอาจารย์ก็พยายามค้นคว้าเอา จะล้มลุกคลุกคลานขนาดไหนก็ฝึกฝน ฝึกฝน

แล้วจริตนิสัยของหลวงปู่เสาร์สงบขึ้นมาเฉยๆ แล้วไปโดยนุ่มนวล จริตนิสัยของหลวงปู่มั่นพลิกแพลงมาก ก็ต้องสม ครูบาอาจารย์ต้องพยายามค้นคว้าหา ต้องพยายามปรับตัวเอง พยายามค้นคว้าหาตัวเอง แต่ของเรา เรามีครูบาอาจารย์ชี้นำ แล้วจะว่าเป็นการติด เป็นการ กล่าวตู่ของผู้ที่ไม่มีปัญญา เป็นการกล่าวตู่ของการที่ว่าเขาไม่เคยประพฤติปฏิบัติ เขาไม่เคยเห็นภาวนามยปัญญา เขาไม่เคยมีปัญญาญาณชำระกิเลส

เขาถึงไม่เข้าใจว่าปัญญาอย่างหลวงปู่มั่น กับหลวงปู่เสาร์ที่อยู่ในป่าในเขาที่ค้นคว้าขึ้นมา ค้นคว้าขึ้นมาอยู่ในท่ามกลาง ท่ามกลางในสัปปายะที่คิดค้นคว้าขึ้นมาจากหัวใจ ไม่ใช่คิด มันจะเกิดเป็นสภาวธรรม มันจะเห็นจักรเป็นธรรมจักรเคลื่อนมาในหัวใจดวงนั้น ทำลายใจดวงนั้น ครืน! ออกไปจากใจนะ นี่กามราคะขาดออกไปจากใจ ขันธ์อันละเอียดขาดออกไปจากใจ สิ่งที่ขาดออกไปจากใจนี้เป็นภาวนามยปัญญา

ใจปล่อยไปอย่างนั้นมา แล้วฝึกซ้อม ถ้าจับต้องสิ่งใดได้ก็ฝึกซ้อมสิ่งนั้น ฝึกซ้อมสิ่งใดก็ปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา สิ่งนี้ทำให้ติดได้ ถ้าเป็นสัมมาปฏิบัตินะ เวลาปล่อยวางเข้ามา เราอ่านของครูบาอาจารย์ เทศน์ของครูบาอาจารย์ เราฟังเทปก็ได้ เราอ่านหนังสือก็ได้ ถ้ามันเข้ากันได้ทั้งหมด มันจะเป็นจะเป็นสภาวธรรม สัมมาปฏิบัติเป็นปัจจัตตัง ไม่มีความลึกลับ จะเปิดสว่างกระจ่างแจ้งกับใจของผู้รู้ ผู้รู้กับผู้รู้จะเห็นความเป็นสัมมา ความถูกต้องเหมือนกันทั้งหมดเลย

หลวงปู่คำดีอ่านหนังสือ อ่านธรรมะของหลวงตา อ่านขนาดไหนก็ไม่เข้าใจ อ่านขนาดไหนก็ไม่เข้าใจ สัมมาปฏิบัติส่วนข้างล่างอ่านแล้วเข้าใจ แต่ส่วนข้างบนอ่านไม่เข้าใจ หลวงตาเล่าไว้ในเทป จนหลวงปู่คำดีจุดธูปอธิษฐานปักกลางแจ้งเลยนะ ขอให้เทวดาดลใจให้หลวงตาไปสอนหลวงปู่คำดี นี่อ่านแล้วไม่เข้าใจไง อ่านขึ้นมาสิ่งต่างๆ นี่เข้าใจ แต่อ่านส่วนข้างบนไปไม่เข้าใจ

หลวงตาก็มีความคิด มีความคิดในหัวใจ ไปหาหลวงปู่คำดีที่ถ้ำผาปู่ ถึงเวลาไปถึงแล้วคุยธรรมะกัน สิ่งนี้ว่างหมดเลย ตัดกามราคะหมดเลย ฝึกซ้อมจนจิตนี้ว่างหมดเลย ว่างมาก สิ่งนี้ลึกลับมาก ว่างมาก ถ้าเป็นสัมมาปฏิบัติจะรู้กัน รู้กันจากภายนอกเข้ามา ปล่อยวางเข้ามาขนาดไหน การเป็นสัมมาปฏิบัติปิดกันไม่ได้หรอก ถ้าเป็นมิจฉาปฏิบัตินะ มันเข้าไป เข้าหาครูหาอาจารย์ เพื่อจะเอายี่ห้อของครูบาอาจารย์มาเป็นเครื่องเปิดร้านเท่านั้น

ถ้าเป็นสัมมาปฏิบัติ หลวงปู่คำดีเป็นสัมมาปฏิบัติ สิ่งที่ไม่รู้ก็ว่าไม่รู้ จนหลวงตาไปหา ถ้าไปหานี่ปล่อยว่างเข้ามาทั้งหมด ฝึกซ้อมเข้ามาทั้งหมดขันธ์อันละเอียดไง ฝึกซ้อมขึ้นมาอนาคา ๕ ชั้น มันปล่อยวางเข้ามาสิ่งนั้นเข้ามา มันมีอะไรล่ะ? สิ่งที่ฝึกซ้อมคือดวงใจดวงนี้ไง ถ้าเราใช้ฝึกซ้อมเข้ามา มันจะลึกลับ มันจะละเอียดอ่อนมาก เพราะอะไร เพราะมันเป็น อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ มันเป็นจิตปฏิสนธิ ตัวปฏิสนธินี้

เกิดถ้าเป็นปุถุชน เกิดในครรภ์ เกิดในไข่เกิดในต่างๆ เกิดเป็นโอปปาติกะ นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเกิด เกิดบนพรหม แต่นี้เป็นสิ่งที่ชำระกิเลสไปแล้ว มันจะไม่เกิดในครรภ์เด็ดขาด ไม่เกิดในต่างๆ แต่มันต้องเกิดในพรหม แต่เกิดอย่างไรมันก็มองไม่เห็นเพราะมันละเอียดอ่อนมาก แล้วมันจะใช้สิ่งใดเข้าไปจับล่ะ

ติดในสมาธิได้อย่างไร ถ้ามันจะติดในสมาธิ มันจะเห็นในสภาวะแบบนี้ได้อย่างไร มันจะย้อนกลับเข้ามาไง สิ่งที่ว่าว่างๆ ใครเป็นคนรู้ว่าความว่าง สิ่งที่เป็นความว่าง ความอาลัยอาวรณ์ ความเศร้าหมอง ความผ่องใส มันซ้ำอยู่ที่นี่ทั้งหมดเลย มันจะว่าง มันจะเวิ้งว้างมาก พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้สว่างไสว สว่างไสวในอุปกิเลสนั้นเป็นสิ่งที่เป็นปุถุชนไม่รู้สิ่งใดเลย แต่การสว่างไสวอย่างนี้ มันสว่างไสว มันปล่อยขันธ์เข้ามาทั้งหมด

ปล่อยสิ่งที่ว่าเป็นเครื่องหุ้มห่อสิ่งนี้ต่างๆ เข้ามาทั้งหมดทั้งสิ้น จนเป็นสิ่งที่เป็นตัวของมันเอง สิ่งที่เป็นตัวมันเองเป็นความลึกลับ เป็นความมหัศจรรย์ เป็นแกนของสิ่งต่างๆ โลกนี้มีเพราะมีเรา สิ่งต่างๆ มีเพราะมีจิตดวงนี้ เพราะมีจิตดวงนี้ เกิดขึ้นมาในสถานะไหน ถึงรับรู้สิ่งต่างๆ ทั้งหมดเลย ถึงว่าเป็นแกนของจักรวาล เป็นแกนของจิตดวงนี้ แต่มันละเอียดมันลึกลับมหัศจรรย์มหาศาลเลย

ย้อนกลับเข้ามา หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ คอยฝึกซ้อม คอยตรวจสอบลูกศิษย์ลูกหา การประพฤติปฏิบัติ “หมู่คณะให้ประพฤติปฏิบัติ การแก้จิตนี้เป็นเรื่องที่แสนยาก” การแก้จิตนะ แล้วจิตมันจะแก้อย่างไร ในเมื่อถ้ามันจะย้อนกลับเข้ามา มันไม่ย้อนกลับ เพราะพลังงานนี้มันออกข้างนอก แล้วพลังงานนี้เป็นเรา สิ่งที่เป็นเรา

หมอที่ว่าตัวเองก็เป็นโรคไง จิตที่ละเอียดขนาดไหนมันก็เป็นโรคตัวมันเองไง แล้วมันจะยอมรับตัวมันเองได้อย่างไร ในเมื่อเราเป็นหมอ ตัวจิต-ตัวผู้รู้ก็คือตัวมัน สิ่งที่ตัวมันมันจะยอมรับตัวมันเองได้อย่างไร? มันยอมรับตัวมันเองไม่ได้เลย ถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์คอยเคาะ หรือว่าเราจะมีอำนาจวาสนา ย้อนกลับเข้ามาสู่ความสว่าง ความผ่องใสอย่างนี้ นี่คือตัวอวิชชา

เรือนยอดของนางตัณหา นางอรดี ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้ยังหยาบเกินไป สิ่งนี้มันละเอียดยิ่งกว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง ความหลง ความหลงที่เราหลงกัน เราเรียกว่าเป็นความหลง เราก็หลงกันไป อันนี้มันเป็นตัวมันเอง อยู่กับตัวมันเอง มันไม่ต้องหลงอะไรก็ได้ เพราะมันเป็นตัวของมันเอง ตัวมันเองก็ตัวอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชา

หลวงตาไปอธิบายอย่างนี้ย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามา จนถึงที่สุดได้ จับสิ่งนี้ได้ พลิกคว่ำสิ่งนี้ไปจบสิ้น นี่สัมมาปฏิบัติ ถ้าเป็นสัมมาปฏิบัติแล้วไม่สงสัย หลวงปู่คำดีไม่สงสัยในธรรมะของหลวงตามหาบัวอีกเลย ธรรมะในเทศน์ ในหนังสือ อ่านแล้วก็เข้าใจ เข้าใจตั้งแต่ปล่อยกายสักกายทิฏฐิ ตั้งแต่ปล่อยโลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ตั้งแต่ปล่อยจนกามราคะขาดไป แล้วกามราคะขาดไป การฝึกซ้อมของใจปล่อยขันธ์อันละเอียด เศษส่วนของกามราคะออกไป ถึงที่สุดย้อนกลับเข้าไปหาตัวอวิชชา ทำลายตัวอวิชชานะ

เราเข้าใจกัน เราเป็นนักปราชญ์ เราเป็นนักวิชาการ อวิชชาคือความไม่รู้ เราศึกษา เราใช้ปัญญา เราก็รู้แล้ว เราก็มีวิชาเต็มหัวกันทุกคน เราก็มีปรัชญามีความเข้าใจในหัวกันทุกคน แต่ทุกคนก็ติดในลาภ ติดในสักการะ ติดในการสรรเสริญ ติดในการเยินยอ ใครติฉินนินทาไม่ได้ ใครว่าเราผิดไม่ได้

ใครจะว่าเราผิดเราถูกไม่สำคัญ สำคัญว่าหัวใจของเรามันมีภวาสวะไหม มีความรับรู้สิ่งนั้นไหม สิ่งนั้นที่เขาทิ่มตำมาขนาดไหนมันไม่มีภวาสวะ ไม่มีฐานรองรับสิ่งนั้น แล้วมันจะไปโดนสิ่งใด? มันไม่โดนสิ่งใดเลย สิ่งใดๆ ในโลกนี้ไม่มี สิ่งนี้เป็นของสมมุติทั้งหมด มันไม่มีสิ่งใด แต่ในเมื่อเป็นสักกายทิฏฐิ เป็นสาวก เป็นพุทธชิโนรส เป็นศากยบุตร เป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“ธรรม” ธรรมในธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสนธรรม มันเป็นนามธรรม แต่ธรรมดวงนี้กับใจดวงนี้มันเข้าใจเป็นสภาวธรรมอย่างนั้น มันถึงห่วงใยศาสนา มันถึงพยายามปกป้องศาสนา มันถึงห่วงสิ่งที่ว่าเป็นปฏิปทาเครื่องดำเนินไง ปฏิปทา จนพระกัสสปะ พระกัสสปะยังถือธุดงค์มาจนถึงที่สุด จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้ถามเอานะ

“กัสสปะเธอทำเพื่อสิ่งใด เธอทำเหตุนี้เพื่ออะไร เพราะเธอก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน”

“ทำสิ่งนี้เพื่ออนุชนรุ่งหลังเหมือนกัน”

นี้ก็เหมือนกัน สายหลวงปู่มั่น สายของครูบาอาจารย์รักสงวนศาสนา ศาสนานี้เป็นเครื่องดำเนินให้ใจที่มีกิเลสในหัวใจเต็มหัวใจมันก้าวเดินมา จนมันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาเห็นคุณ คุณการไม่เกิดการไม่ตายอีก จิตนี้จะไม่เกิด จะไม่ตายไปกับสภาวะแบบนั้น จิตนี้มี จิตนี้ถ้ามันมีกิเลสอยู่ ถ้าจิตนี้ต้องตายต้องเกิดตามสภาวะแบบนั้น จิตนี้ชำระกิเลสทั้งหมดทั้งสิ้น

จิตนี้ก็มี นักวิชาการ นักปฏิบัติเขาบอกว่า “ถ้าจิตนี้มี จิตนี้เป็นคงที่นี้จะสอนแบบฮินดู สอนแบบพราหมณ์ พราหมณ์เขาว่าจิตนี้ต้องกลับไปอยู่กับอัตตามัน กลับไปอยู่กับพระเจ้า ไปอยู่กับพระพรหม” นี่สอนอย่างนั้นน่ะสอนผิด

ต้องสอนตามวิชาการว่าจิตนี้เป็นอนัตตา ทุกอย่างนี้เป็นอนัตตา อนัตตาทั้งหมด สิ่งที่เป็นอนัตตาคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่เป็นจิตที่คงที่นี้ เพราะจิตมันมีอยู่สภาวะแบบนั้น แต่มันไม่กลับไปอยู่กับอัตตามันแบบพราหมณ์เขาไง มันเป็นจิตแต่ละดวง จิตอิสระแต่ละดวง ดวงใดก็แล้วแต่ตามสภาวะดวงนั้น ดวงนั้นมันเป็นอนัตตา คืออนัตตาในเวียนในวัฏฏะไง สิ่งที่เป็นวัฏฏะ มันเวียนในอนัตตาโดยธรรมชาติของมัน

แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่นี้ ชำระสิ่งนี้ นี้เป็นธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ที่สภาวธรรม ที่สร้างขึ้นมาจากใจ เป็นภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาเข้าใคร่ครวญสิ่งนี้ ทำลายสิ่งนี้ทั้งหมด จิตนี้สว่าง จิตนี้ผ่องใสขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา จนถึงที่สุดชำระจิตนี้ จิตตัวที่เป็นอวิชชาหมดสิ้นไป จากกิเลสสิ้นไปจากใจ จิตนี้มี

ถ้ามี นักวิชาการเขารับไม่ได้ว่าสิ่งที่ว่าเป็นมรรคผลมี สิ่งที่ว่าเป็นนิพพานมี

สิ่งนี้มีอยู่โดยธรรมชาติ แต่ไม่ใช่มีแบบสมมุติ เพียงแต่ว่ามีในครูบาอาจารย์เรา หลวงปู่มั่นยืนยัน มี หลวงปู่มั่นเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่เสาร์มี ค้นคว้ากันมา ทุกข์ยากกันมา สิ่งที่ทุกข์ยากเพราะการเกิดการตายทุกข์ยาก อาบเหงื่อต่างน้ำมาเพราะประพฤติปฏิบัติเพื่อสร้างคุณกับใจดวงนี้มา

เราเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นคน สิ่งที่ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์กับเรา เราสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา เพื่อถึงเราเป็นสัมมาปฏิบัติ เราปฏิบัติตามสัมมาปฏิบัติ ตามครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่หูตาสว่างนะ ถ้าครูบาอาจารย์หูตาไม่สว่างก็จะทำให้เราวนเวียนอยู่ในโอฆะ วนเวียนอยู่ในวัฏสงสารอันนี้ตลอดไป ถ้าประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นอุปนิสัยก็ยังเป็นกุศล ถ้าปฏิบัติไม่เป็นอุปนิสัย เรายังจะผูกไปกับจิตดวงนั้น แล้วแต่ว่าอำนาจวาสนา เราถึงต้องยึดครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม เป็นสัมมาปฏิบัติ เอวัง