เทศน์บนศาลา

ธรรมกาฝาก

๑๙ ก.พ. ๒๕๔๗

 

ธรรมกาฝาก
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม เราปฏิบัติธรรม เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเห็นไหม ธรรมะคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ธรรมถึงได้ปฏิญาณตน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้วปฏิญาณตน มีพระพุทธเจ้ากับมีพระธรรม ยังไม่มีพระสงฆ์ เริ่มต้นมีรัตนะ ๒ ก่อน มีแต่พระพุทธเจ้ากับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์นะ เทศน์ธัมมจักฯ ขึ้นมา “พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก เพราะรู้ธรรมอันนั้นไง” รู้ธรรมมีดวงตาเห็นธรรมตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากนั้นมา ๒,๐๐๐ กว่าปี ๒,๐๐๐ กว่าปีนี่ส่งต่อๆ กันมานะ

แล้วเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เวลา ๒,๐๐๐ กว่าปีนะอาณาจักรต่างๆ ล่มสลายไปนะ เปลี่ยนใหม่ เปลี่ยนใหม่ตามแต่กาลเวลา ประเทศชาติบางประเทศหายไป เกิดประเทศใหม่ ดินแดนเก่านี่แหละ แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงของมันตลอดไป

แล้วชีวิตเราเห็นไหม เราเกิดเป็นชาวพุทธ เราพบพระพุทธศาสนานี่มีอำนาจวาสนาขนาดไหน ถ้าอำนาจวาสนาของเรามีมาก แล้วถ้าศรัทธาล่ะ ถ้าเราไม่ศรัทธา เราไม่มีความเชื่อในการประพฤติปฏิบัตินะ เราก็เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แต่เราไม่ได้ใช้ธรรมะอันเป็นคุณสมบัติอันนั้นได้ตามความเป็นจริง

เราศึกษาเล่าเรียนตามธรรมตามวินัย ในภาคปริยัติก็ท่องจำ ท่องแล้วศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อจะให้เราถึงธรรมไง

คนที่ไม่สนใจเลย ชาวพุทธๆ เวลาชาวพุทธนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าชาวพุทธให้ถึงรัตนตรัยเห็นไหม ให้ถึงรัตนตรัย เราเป็นชาวพุทธกัน แต่เราไม่สนใจเรื่องธรรมไง เราไม่สนใจเรื่องธรรม เอาแต่ทางโลก อยากจะสมความปรารถนา อยากจะมีชีวิตอยู่ตามแต่กระแสโลก วิ่งเต้นไปตามโลกทั้งหมดเลย แล้วก็ว่าเป็นชาวพุทธไง ชาวพุทธเป็นอย่างนั้นหรือ

ชาวพุทธ เห็นไหม พุทธต้องมีศีล ๕ สิ ต้องมีทาน มีศีล มีภาวนา

ถ้าเรามีทาน มีศีล ภาวนา เราจะเข้าใจ เราจะเห็นคุณค่าของศาสนามาก ถ้าเราเห็นคุณค่าของศาสนา คนเราจะเดินทางต้องมีเสบียงอาหาร ต้องมีแผนที่เครื่องดำเนิน เราจะออกเดินทางแล้วเราไม่รู้อะไรเลย เราจะเดินทางได้อย่างไร ถึงต้องมีปริยัติไง

นี่ถ้ามีปริยัติ ต้องมีปฏิบัติ แล้วถึงต้องมีปฏิเวธเห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้เป็นขั้นตอน แต่เราเรียนปริยัติกัน ถ้าเราเรียนปริยัติกัน...

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ไว้ในธรรม “ถ้าไม่มีธรรมสิ่งนี้ก็ยังไม่มีใครรู้”

ตั้งแต่ย้อนไปตั้งแต่อดีตชาติ อดีตชาติ ๑๐ ชาติ สร้างสมบารมีมาเพื่อจะตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วย้อนอดีตไป ถ้าพูดถึงพระโพธิสัตว์ต้องสร้างสมบารมีขนาดนั้น ธรรมนี้มันละเอียดอ่อนมาก คนต้องมีอำนาจวาสนามากถึงจะเข้าถึงธรรมได้

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้าง ๔ อสงไขย แสนมหากัปมา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก็สร้างมาแล้วแต่ ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย แล้วแต่จะสร้างมากสร้างน้อย สร้างมากขนาดไหนก็จะได้ตรัสรู้ธรรม

ธรรมอันเดียวกัน แต่อำนาจวาสนาบารมีจะใหญ่หรือเล็กต่างกัน สิ่งที่ใหญ่เล็กต่างกันนี้ย้อนไปในอดีตชาติ จะย้อนอดีตชาติได้เพราะตรัสรู้ธรรม แล้วมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะล่ะ เวลาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เห็นไหม มันมีอยู่แล้ว จะสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์อยู่แล้ว แต่ทำไมมีความคิดออกบวชล่ะ ทำไมมีความคิดออกแสวงหาธรรม

สิ่งที่แสวงหาธรรม สละอะไรมา? สละโลกนะ สละฐานะของกษัตริย์ สิ่งที่เป็นกษัตริย์จะเสวยสุขอยู่ตามกระแสโลกเขา โลกนี่เป็นถึงกษัตริย์เป็นถึงผู้นำ โลกเขาว่าต้องมีความสุข แต่คนเข้าไปถึงตรงนั้นนะ สิ่งนี้ต้องแบกภาระทั้งหมดเลย แต่เรื่องของกิเลสมันก็พอใจ เพราะกิเลสนี้ต้องการให้คนนับหน้าถือตา ต้องการให้คนยกย่องสรรเสริญ

สิ่งที่ยกย่องสรรเสริญนั้นเราแสวงหากัน แต่เจ้าชายสิทธัตถะสละทิ้งออกมา ทิ้งสิ่งนั้นออกมา แล้วออกมาดั้นด้นค้นคว้าไง ที่ไหนเขาสั่งสอนกันขนาดไหนที่ว่าเป็นธรรมๆ จะเข้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทั้งหมด แล้วพยายามค้นคว้า พยายามนะ เพราะมันสลดใจไง เห็นยมทูตทั้ง ๔ เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บและคนตาย มันสะเทือนหัวใจของคนที่มีตาไง

ตาในหัวใจ ตาของใจ ถ้าตาของใจเกิดขึ้นมาเห็นไหม คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันเป็นธรรมดา มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แต่มันสะเทือนใจของผู้ที่ว่า เราก็ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายด้วยหรือ?

ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายทุกๆ ดวงใจ ไม่ใช่ทุกๆ ดวงใจเฉพาะสถานะของภพนี้นะ

ในวัฏฏะเห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับไปอดีตชาติ การเกิด การตาย บุพเพนิวาสานุสติญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนได้ตลอด สิ่งนั้นมีอยู่จริง ถ้าสิ่งนั้นมีอยู่จริง ทำไมเราปฏิเสธกัน เราปฏิเสธว่ามีชาติเดียว ตายแล้วสูญ หมดสิ้นแล้ว หมดสิ้นกาล หมดสิ้นเวลา ธรรมะก็ไม่มี สูญก็สูญไป สิ่งนี้ต้องสูญ เห็นไหม นี่กิเลสมันปฏิเสธไง

ปริยัติ ถ้าเรียน...เรียนแล้วก็สงสัย สิ่งนี้จะสงสัยไปในหัวใจทั้งหมด มันจะสงสัยแม้แต่ว่าการเกิดและการตาย เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นตรงนี้แล้วสะเทือนใจมาก แล้วถึงได้ค้นคว้าหาธรรมอันนี้มา สิ่งที่ธรรมเห็นไหม ธรรมคือว่าศาสนธรรมคำสั่งสอน ธรรม สัจธรรม ความจริงในหัวใจ ธรรมนี้จะเป็นธรรมจริงในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ววางธรรม แล้วให้พวกเราก้าวดำเนิน

แต่เวลาเราศึกษาธรรม ถ้าศึกษาเป็นประโยชน์กับเรา นี้ก็เป็นธรรม ธรรมนะ ในปริยัติ ในสุตมยปัญญาเป็นธรรมส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราศึกษาด้วยกิเลสเห็นไหม ด้วยกิเลส ด้วยความน้อมนึกของเรา ด้วยการบิดเบือนของเรา นี่ธรรมกาฝากไง

กาฝากคือกิเลสของเรา กิเลสของเรามันบิดเบือนธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้ากับความเห็นของตัวไง ตัวมีความเห็นขนาดไหนมันจะบิดเบือนเข้ามา นี้ขนาดเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ค้นคว้าสิ่งนี้ออกมา

สมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือฆ่ากิเลสในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นจากใจอันนั้นไป นั้นคือผลงานไง

ผลงานคือความสุขอันนั้น วิมุตติสุข ใจดวงนั้นวิมุตติสุข ต้องเป็นเอโก ธัมโม ธรรมอันเอกนั้นแน่นอน สิ่งนั้นเป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เพราะบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เอก หนึ่ง เกิดแต่ละองค์เดียว แต่ละภพ แต่ละกัป เห็นไหม เกิดองค์เดียว สิ่งที่องค์เดียวไม่มีเกิดซ้อนขึ้นมา

สิ่งที่เกิดซ้อนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี มีแต่สาวกะ-สาวก ผู้ได้ยินได้ฟัง สาวกผู้ได้ยินได้ฟัง ถ้าเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วประพฤติปฏิบัติให้เป็นธรรม ให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ให้เป็นเอกภาพไง ศีล สมาธิ ปัญญา

สิ่งที่เป็นศีล สมาธิ ปัญญา รวมกันเป็นเอกภาพ มันก็มัชฌิมาปฏิปทานั่นน่ะ มันจะเป็นภาวนามยปัญญาเข้ามาถึงหัวใจของตัว นี่สิ่งนี้เป็นธรรม แต่ถ้าธรรมกาฝากนะ บิดเบือนไปตลอด แล้วบิดเบือนนะ มันน่าสลดสังเวชนะ สลดสังเวชเห็นไหม

ครั้งพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้ววางธรรมมา ช่วง ๒๐๐ ปีเห็นไหม พระเจ้าอโศกมหาราชครองอาณาจักรอยู่ มีความเห็น เห็นแต่ลัทธิศาสนาของเขา ด้วยการรบ ด้วยการแผ่อาณาจักรของเขา นี่ด้วยความคิดของโลกไง แผ่อาณาจักรของเขาด้วยการรบด้วยการทำศึกสงคราม ฆ่าเขามามหาศาลเลย

อยู่ในธรรมบท...อยู่บนปราสาทราชวัง เห็นเณรน้อยเดินมา มันเห็นแล้วมันเลื่อมใสไง ให้คนไปเรียก ไปนิมนต์เณรน้อยเข้ามาในราชวังไง ถามว่า “เณรน้อยบวชที่ไหน บวชอย่างไร บวชมาจากไหน เทศน์ให้ฟังได้ไหม”

เณรน้อยเทศน์ให้ฟังว่า “ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หัวใจของธรรมคือความไม่ประมาท” เห็นไหม อย่าให้มีความประมาท เทศน์อย่างนั้นน่ะ มีความศรัทธาไง เริ่มจากความศรัทธา เริ่มต้นศรัทธาก็เริ่มค้นคว้า เริ่มศึกษาขึ้นมา จนมีความศรัทธามาก เผยแผ่โดยธรรมไง เอาชนะโดยธรรมวิชัย ธรรมวิชัยคือเผยแผ่ธรรม นี่สร้างสมมามหาศาล

พระเจ้าอโศกมหาราชนี้เป็นคฤหัสถ์นะ เป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา ยังจรรโลงศาสนา ยังทำศาสนาเพื่อส่งทอดต่อมาถึงเราเห็นไหม ทำสังคายนา

เวลาศรัทธามาก ส่งเสริมพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก จนลัทธิต่างๆ นักบวชต่างๆ เห็นว่าศาสนาพุทธนี้พระเจ้าอโศกนี้อุปถัมภ์ค้ำชู เห็นไหม มาบวชในศาสนาพุทธ บวชในศาสนาพุทธแต่ก็ถือลัทธิของเขา แต่เพื่อต้องการลาภไง ต้องการลาภ ต้องการอยู่ในความสุข ต้องการอยู่ในความสบาย

แต่พระสมัยนั้นไม่เห็นด้วย สิ่งที่ว่ามันผิดธรรมผิดวินัยไม่ยอมรับ สิ่งที่ไม่ยอมรับก็แบ่งออกเป็นหลายๆ ฝ่าย จนพระเจ้าอโศกให้อำมาตย์ไปบอกว่า “ให้พระทำสังฆกรรมร่วมกัน” พระไม่ยอมทำ เห็นไหม สิ่งที่ไม่ยอมทำเพราะว่าความเห็นต่างกัน มันเป็นสิ่งที่ว่าเขาปลอมมาบวชในลัทธิ ในศาสนาเพื่อลาภ เพื่อความอยู่สุขสบายของเขาเท่านั้น

อำมาตย์ก็ใช้อำนาจของเขา ให้พระรวมทำสังฆกรรมกัน ถ้าไม่รวมทำสังฆกรรม ตัดหัว ตัดหัวตลอดไป

จนถึงว่าสมัยพระเจ้าอโศก ญาติของท่านมาบวชด้วย เข้ามานั่งองค์ต่อไป จนไม่กล้าไง เห็นว่าเป็นญาติไม่กล้าตัดหัวไง กลับไปบอกพระเจ้าอโศกว่าทำอย่างนั้นไปแล้ว พระเจ้าอโศกมีความร้อนมาก ร้อนในหัวใจ เพราะอะไร เพราะไม่ได้สั่งอย่างนั้น ไม่ได้สั่งว่าให้ไปตัดหัวพระ ต้องการให้พยายามสั่งว่าให้พระรวมกันให้ได้ คือว่ามีความศรัทธา มีความเชื่อ

แต่ความเชื่อของคฤหัสถ์ ความเชื่อความศรัทธาของคฤหัสถ์ เป็นปัญญาของคฤหัสถ์เขาก็ทำได้ขนาดนั้น จนมีความร้อนใจมาก ไปถามครูบาอาจารย์ว่าทำอย่างนี้จะบาปไหม ทำอย่างนี้จะบาปไหม นี่เป็นคนสั่ง เราไม่มีเจตนาอย่างนั้น เรามีเจตนาเป็นคุณงามความดี แต่คนสั่งงานไปเขาก็ทำตามแต่อำนาจของเขา แล้วจะทำปลดเปลื้องบาปนี้ได้อย่างไร

ถ้าทำปลดเปลื้องบาปนี้ ให้ตรวจสอบ เห็นไหม จับพระสึกไปมหาศาลเลย นี่ให้ตรวจสอบว่าเวลาพูดถึงธรรมะ ถ้าพระพูดถึงอริยสัจ พูดถึงหลักศาสนธรรมผิด ให้สึก ให้สึกนะ สึกออกไป สึกออกไป จนเหลือที่สุดแล้วถึงทำสังคายนามาอีกช่วงหนึ่ง แล้วจดจารึกมา จน ๒,๐๐๐ กว่าปี ส่งทอดต่อๆ มาถึงเรานะ แล้วส่งทอดส่งต่อมาถึงเรา แล้วศาสนามันก็เป็นสภาวะแบบนั้น สภาวะเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม

แม้แต่ในศาสนาพุทธขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แหละ มันเจริญแล้วเสื่อมเพราะผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ทรงศาสนาไว้ แล้วแต่ไง เวลากิเลสมันอยู่ในหัวใจ ทุกคนเห็นไหม เวลาบวชออกมาต้องการประพฤติปฏิบัติ ต้องการหลักความจริง แต่เวลาบวชเข้าไปแล้ว กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา ไม่ใช่ว่าบวชแล้วเป็นพระเป็นเณรขึ้นมา เป็นนักบวชเป็นผู้ประพฤติปฏิบัตินี้กิเลสมันจะกลัวสิ่งนี้ กิเลสมันยิ่งมีมากนะ

“ทิฏฐิพระ มานะกษัตริย์” เห็นไหม โบราณเขาว่าไว้อย่างนั้น ทิฏฐิของพระ พระความเห็นผิด ทิฏฐิผิด ความเห็นของพระผิดไป มันก็แตกแขนงออกไปตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานมาเห็นไหม สังคายนาครั้งแรกก็แตกออกไปเป็นนิกายๆ เพราะทิฏฐิความเห็นผิด ความเห็นแตกต่างกัน

ถ้ามีอำนาจวาสนา มีบุญญาธิการ เราเกิดเจอครูบาอาจารย์ที่อยู่ในธรรม ที่พยายามเข้าถึงธรรม เราจะได้อำนาจวาสนา เราจะได้สืบต่อ เพื่ออะไร เพราะธรรม เห็นไหม ธรรมอันนี้คือธรรมในหัวใจ ธรรมไม่ใช่ธรรมจากตำรับตำรา ธรรมจากตำรับตำรานี่เราศึกษา เราค้นคว้ามา กิเลสของเรามันตีความเห็นตามกิเลสไปตลอด นี่ธรรมกาฝากนะ

แม้แต่สุตมยปัญญา การปริยัตินี่มันเป็นความดี การศึกษาเล่าเรียนนะถูกต้อง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ถูกต้อง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องมีปริยัติ แต่มีปริยัติเราต้องซื่อตรงกับปริยัติของเรา เราศึกษามา เรารู้จริงไหม ถ้าเรารู้ไม่จริง เราต้องค้นคว้าด้วยการประพฤติปฏิบัติ พอประพฤติปฏิบัติ ปฏิเวธมันจะเกิดขึ้นมาจากหัวใจ ปฏิเวธเกิดขึ้นมาจากหัวใจผิดถูกเราจะรู้ของเราขึ้นมา

แต่ในการประพฤติปฏิบัติ มันก็การคาดการหมายเห็นไหม การคาดการหมายมันเป็นกาฝาก กาฝากเพราะกิเลสของเราไง กิเลสของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขณะที่เข้าถึงหลักธรรมนะ แต่ผู้ที่บวชเข้ามาเพื่ออย่างนี้ก็มีเห็นไหม เพื่อเป็นกาฝาก กาฝากในการประพฤติปฏิบัติ กาฝากในความเห็นของตัว เพราะตัวเองประพฤติปฏิบัติไม่สมควรแก่ธรรม ถ้าไม่สมควรแก่ธรรมมันก็ไม่เข้ากับหลักความจริง

เพราะว่าพระไตรปิฎก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกาลามสูตรไว้แล้ว ให้ตรวจสอบ สิ่งใดที่ว่าขัดกัน ไม่เหมือนกัน สิ่งนั้นไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย สิ่งใดที่เข้ากันได้โดยถูกต้อง นั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งที่เป็นธรรมเป็นวินัย มันก็ย้อนกลับมาในหัวใจของเรา ถ้าหัวใจของเราเป็นสภาวะแบบนั้น สภาวะแบบนั้นเห็นไหม

เวลาเราบอก เราปฏิบัติไปมีความเวิ้งว้าง มีความสุขมาก ความสุขอันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรียนกับอาฬารดาบส เวลาได้สมาบัติ ๘ มันก็มีความสุข คนเราลองเข้าสมาบัติได้สิ เวลาอารมณ์มันเปลี่ยนแต่ละชั้นละตอนนะ ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน ขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา จนอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เวลาอารมณ์มันเปลี่ยนแต่ละขั้นตอน ถ้าคนไม่ชำนาญ มันจะไม่เข้าใจสิ่งนี้

ถ้าคนเข้าชำนาญนะ เวลาจิตมันเปลี่ยนแปลงแต่ละขั้นตอน มันจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของจิต จิตนี้จากหยาบจะละเอียดเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนจนถึงจตุถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ มันจะพลิกออกไปเป็นชั้นเข้าไป จิตนี้พลิกไปเป็นอารมณ์หนึ่งๆ แล้วเคลื่อนถอยออกมาจากจิตที่ละเอียดมาก เนวสัญญานาสัญญายตนะออกมา ถอนคลายตัวออกมาเห็นไหม เป็นอากิญจัญญายตนะ เป็นวิญญาณัญจายตนะ เป็นอากาสานัญจายตนะ เป็นจตุถฌาน ย้อนไปย้อนกลับ แล้วจิตมันจะมีพลังงานมาก

สิ่งที่มีพลังงานมาก เป็นเข้าสมาบัติ จะรู้สิ่งต่างๆ แปลกมหัศจรรย์มาก แล้วจะติดได้ เห็นไหม นี่ธรรมกาฝาก สิ่งนี้เป็นกาฝาก “เรื่องของอภิญญาแก้กิเลสไม่ได้หรอก”

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราสมควรแก่ธรรม เราเข้าใจตามความเป็นจริงนะ เราเทียบเข้ามา มันก็บอกอยู่แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกแล้ว “อุปกิเลส ๑๖” ความสว่างไสว ความโอภาส สิ่งที่โอภาสในหัวใจ สิ่งนี้เป็นอุปกิเลสทั้งหมดเลย แล้วเรากำหนดของเราเข้ามา เราว่าเราทำความสงบเข้ามา มันมีความสงบ มีความว่าง มีความ...เห็นไหม นี่ธรรมกาฝากทั้งนั้น สิ่งนี้เป็นธรรมกาฝาก เพราะมันไม่เป็นอริยสัจ

สิ่งที่เป็นอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งที่จะเป็นไปตามความจริง แล้วเราจะทำอย่างไรจึงเป็นตามความเป็นจริงล่ะ นี้เราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะ เราบวชเข้ามาเพื่อศึกษาธรรมนะ ถ้าเราศึกษาธรรม สิ่งนี้มันเป็นพันๆ ปีมา สิ่งที่เป็นพันๆ ปีมา เริ่มเจริญแล้วเสื่อม โดยธรรมชาติสิ่งนี้เป็นธรรมชาติอย่างนั้น “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา”

ผู้ที่มีธรรมในหัวใจยังต้องละขันธ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องปรินิพพาน ต้องดับขันธ์ไป จิตดวงนั้นมีอยู่โดยธรรมชาติ...มีอยู่ แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมันประพฤติปฏิบัติด้วยตำรับตำรา ด้วยประเพณี ด้วยสิ่งต่างๆ เห็นไหม เราปฏิบัติตามสิ่งนั้นมา แล้วไม่มีผู้ชี้นำไง ไม่มีผู้ชี้นำ ไม่มีความเป็นไป เราก็ต้องดั้นด้นไป ดั้นด้นสิ่งนี้มันถึงไม่เข้าถึงธรรม ไม่เข้าถึงธรรมเราก็คิดของเราไป คิดของเราเป็นกิเลสนะ สิ่งที่คิดเป็นกิเลสนี่เป็นด้นเดา ธรรมะด้นเดาไง

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

ถ้าไม่สมควรแก่ธรรมจะเป็นสภาวะของธรรมกาฝาก สิ่งนี้กาฝากเพราะมันไม่มีเหตุไม่มีผลไง

เราถึงว่ามีอำนาจวาสนานะ ถ้าเรามีอำนาจวาสนา เราเจอครูเจออาจารย์ไง ครูบาอาจารย์ก็เป็นแบบนี้ ประวัติหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ล้มลุกคลุกคลานนะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นไปศึกษามากับใคร ในประวัติก็ไม่มี สิ่งที่ไม่มี มีตำราเหมือนกัน แล้วประพฤติปฏิบัติไป เวลาจิตมันแสดงความเห็นของอุปนิสัยออกมา มันจะมีความลึกลับมหัศจรรย์ แล้วไปแก้ไขกับใคร

สิ่งที่แก้ไขนะ มันถึงว่าย้อนไกลไปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สะสมบารมีมาเป็นพุทธวิสัย เป็นพระโพธิสัตว์ นี่ก็เหมือนกัน จิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน จิตแต่ละดวงสร้างสมมาต่างกัน สิ่งที่สร้างสมต่างกัน ถึงว่าจิตนี้ไม่เคยตาย ถ้าว่าจิตนี้ไม่เคยตาย ปริยัติก็บอกว่า ถ้าจิตไม่เคยตายมันเป็นคงที่อย่างนี้ มันจะไปขัดกับหลักธรรม

สิ่งที่ไปขัดกับหลักธรรม ธรรมนี้เป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตา สภาวธรรม เราทำสมาธิขึ้นมามันก็เป็นอนิจจัง มันอยู่ชั่วคราว แล้วมันก็เป็นอนัตตา สภาวธรรมนี้เป็นอนัตตาทั้งหมดสัมผัสธรรม ธรรมที่ว่าเป็นสภาวะของมัน สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวะแบบนั้นเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตา เข้าไปทำลายอันนั้น สภาวธรรมเราเป็นอนัตตา แต่จิตนี้คงที่ คงที่ของมัน มันเกิดตายของมัน

ทำไม ๔ อสงไขย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบารมีมา ถ้ามันไม่มี มันจะรับสภาวะสิ่งนี้มาได้อย่างไร นี่ครูบาอาจารย์เราก็เหมือนกัน เพราะครูบาอาจารย์ของเราสร้างสมบุญญาธิการมา เวลาประพฤติปฏิบัติไปจิตมันเข้าไปสภาวะสิ่งใด มันถึงย้อนกลับเข้ามาได้ ถ้ามีอำนาจวาสนามันจะคอยตรวจสอบใจของตัว นี่ธรรมกาฝาก มันเป็นกาฝากเพราะมีกิเลสขับไส มันก็เป็นกาฝาก

สิ่งที่เป็นกาฝาก มันก็ไม่สมควรตามความเป็นจริง แต่ถ้าเราจะทำให้สิ่งที่เป็นกาฝากหลุดออกไปจากใจเห็นไหม สิ่งที่เป็นกาฝาก กาฝากมันจะเกาะไปที่ไหน ถ้าไม่มีศาสนา กาฝากมันจะเกาะที่ไหน ถ้าไม่มีหัวใจของเรา กิเลสมันอยู่ที่ไหน

กิเลสมันเกาะอยู่กับใจ กิเลสไม่อยู่กับสิ่งใดนะ วัตถุสิ่งต่างๆ เห็นไหม สิ่งต่างๆ ที่เป็นวัตถุ เป็นสิ่งข้าวของ แก้วแหวนเงินทองต่างๆ มันเป็นกิเลสไหม? มันไม่เป็นกิเลสหรอก รูป รส กลิ่น เสียงในโลกนี้มันไม่เป็นกิเลส แต่อุปาทานของจิตที่ไปยึดมั่นถือมั่นต่างหากมันเป็นกิเลส

สิ่งที่เป็นกิเลสมันอยู่ที่ใจของเรา โลกนี้เขาจะมีอย่างไร เขาจะเจริญรุ่งเรืองขนาดไหน เขาจะทุกข์จนเข็ญใจนั้นเป็นเรื่องของภาวะของโลกเขา มันเป็นสภาวะแบบนั้น นี่อจินไตย ๔ เรื่องของโลก เรื่องของกรรม เรื่องของฌาน เรื่องของพุทธวิสัยเห็นไหม เรื่องสภาวะของโลก มันเป็นสภาวะแบบนั้น สิ่งที่ว่ารูป รส กลิ่น เสียง มันก็เป็นสภาวะแบบนั้น เรื่องของโลกธรรม ๘ มันเป็นเรื่องของเขา มันเป็นธรรมะเก่าแก่ที่มีมาประจำโลก สิ่งนี้มีประจำอยู่โดยดั้งเดิม

แต่เพราะเรามีกิเลส เราถึงไม่พอใจสิ่งที่ว่าไม่สมใจเรา แล้วเราจะปรารถนาสิ่งที่เราพอใจ นี่มันไม่เป็นตามความเป็นจริงสภาวะแบบนั้น สิ่งนี้ไม่เป็นตามความพอใจของเราหรอก นี่กิเลสมันอยู่ที่ใจของมนุษย์ กิเลสมันอยู่ที่ใจของสัตว์โลก สัตว์มันก็มีกิเลสเหมือนกัน แต่มันไม่มีโอกาสวาสนาเหมือนเรา

เรานี้มีโอกาสวาสนา เราศรัทธา เรามีความเชื่อ แล้วเราเกิดมากึ่งกลางพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในพระไตรปิฎกอยู่แล้ว ศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม แล้วเผยแผ่ธรรมออกมา ใครเกิดในสหชาติ เกิดในสมัยพุทธกาลจะมีโอกาสมากเลย ถ้าเรามีโอกาส เพราะการเกิดนั้นมันต้องเกิดด้วยอำนาจของกรรม เพราะทำคุณงามความดี เพราะสร้างสมบุญญาธิการมา ถึงได้เกิดพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนในช่วงนี้ศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเล็งญาณดูสัตวโลกนะ ว่าสัตว์ตัวใดควรจะเกื้อกูลสัตว์ตัวนั้นก่อน เพราะกาลเวลามันมีน้อย เพราะอำนาจวาสนาของสัตว์โลกดวงนั้นที่จะได้ประโยชน์ เห็นไหมเล็งญาณออกรื้อสัตว์ขนสัตว์นะ แล้วออกไปเทศน์โปรดสัตว์รื้อสัตว์ขนสัตว์ พ้นออกไปจากกิเลสเป็นชั้นเป็นตอน เป็นชั้นเป็นตอน

ดูเช่นอย่างนางวิสาขาสิ นางวิสาขานะ เป็นคฤหัสถ์ แต่เพราะมีใจเป็นธรรม เพราะนางวิสาขานี้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ นี่เป็นผู้ที่มีธรรม จะเป็นผู้ที่ส่งเสริม เหมือนกับพระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าอโศกมหาราชนี่เป็นปุถุชน แต่เพราะเขามีศรัทธา มีความเชื่อ เขาได้ทำบุญทำประโยชน์กับศาสนาไว้มาก

นางวิสาขานี้มีดวงตาเห็นธรรม เป็นผู้ที่ว่าจรรโลงศาสนา เป็นผู้ที่อุปัฏฐากศาสนา เป็นผู้ที่ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องธรรม เรื่องวินัย เห็นไหม อนิยต ๒ นี้เกิดจากนางวิสาขา นางวิสาขาเห็นพระประพฤติปฏิบัติแล้วไม่อยู่ในร่องในรอย

พระปฏิบัติในสมัยพุทธกาลก็มีกิเลส สิ่งที่มีกิเลสเขาก็ตีความตามกิเลสของเขาไป นางวิสาขาไปเห็นแล้วไม่สมควร ถึงไปขอกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องของว่าภิกษุไม่ควรอยู่กับผู้หญิงโดยตัวต่อตัวด้วยความลับหูลับตา ขอกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระก็เบี่ยงไป

ใจของผู้มีธรรมยังเหนือกว่าผู้ที่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณีอีก เห็นไหม ภิกษุ ภิกษุณีแต่ใจยังไม่ถึงธรรม แต่คฤหัสถ์ใจที่เขาเป็นธรรม ฟ้ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็บัญญัติเห็นไหม บัญญัติ อนุบัญญัติ มาเป็นอนิยต ๒ จนมาสภาวะแบบนั้น นั้นเป็นสภาวธรรม

ใจที่เป็นธรรมจะไม่มีสิ่งที่เป็นอามิสอยู่ในหัวใจ สิ่งที่เป็นอามิสอยู่ในหัวใจนี้ มันจะเกิดว่าให้เกิดเป็นเรื่องของกิเลส สิ่งที่กิเลส เห็นไหม ทั้งๆ ที่ว่านางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน แล้วยังมีครอบครัวอยู่ สิ่งนี้ธรรมที่เป็นกาฝากมันหลุดออกไปจากใจ

สิ่งที่หลุดออกไปจากใจ ความที่หลุดออกไปจากใจนี่ความอคติมันไม่มี แต่จริตนิสัย ความที่จะประพฤติปฏิบัติสูงขึ้นไปนั้นเป็นอำนาจวาสนา อำนาจวาสนานะ อำนาจวาสนาเพราะจริตนิสัยของสัตว์โลกไม่เหมือนกัน ความเห็นไม่เหมือนกัน แต่ไม่เป็นภัยกับคนอื่นไง จะเป็นประโยชน์ตลอดไป จะเป็นประโยชน์เป็นคุณทั้งนั้น สิ่งที่เป็นคุณเพราะใจดวงนั้นเป็นธรรม

แต่ถ้าใจยังมีกิเลสอยู่ เห็นไหม ทั้งๆ ที่เราก็ประพฤติปฏิบัติ แต่การประพฤติปฏิบัติเรามันเป็นธรรมกาฝาก ถ้าเป็นธรรมกาฝาก มันจะเป็นโทษกับเรานะ สิ่งที่เป็นโทษกับเรา สิ่งที่เป็นกาฝากมันเกาะอยู่ที่บนต้นไม้ แล้วมันก็ทำให้ต้นไม้นั้นถึงกับตายได้ ถ้ากาฝากนั้นมันเจริญงอกงามขึ้นมา

ถ้ากิเลสของเรา ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ความเห็นผิดของเรามันจะทำให้เราเบื่อหน่าย จนผู้ที่ประพฤติปฏิบัติล้มลุกคลุกคลาน จนถึงที่สุดเบื่อหน่ายจนเลิกปฏิบัติไป ว่าเราไม่มีอำนาจวาสนา เราสึกออกไปหรือเราออกไปอยู่กับโลกเขา เราก็มีโอกาสทำทาน เรามีโอกาสสร้างคุณงามความดี

ความดีของโลก สิ่งที่โลกมันก็เป็นโลกอยู่แล้ว แล้วโลกนี้ต้องการเราหรือ เรานี่เป็นความจำเป็นของโลกหรือ โลกจะต้องให้เราออกไปส่งเสริมเขา สิ่งนั้นมันแย่งชิงกันอยู่แล้ว เรื่องของโลก การแข่งขัน การแย่งชิงกัน สิ่งต่างๆ มีการแย่งชิงกันมาตลอด เพื่ออะไร? เพื่อผลประโยชน์ไง ด้วยเล่ห์ด้วยกลของกิเลสเป็นสภาวะแบบนั้น

คนร้อยคนพันคนจะหาคนจริงสักคนได้ไหม ในพันคนในหมื่นคนจะหาผู้ที่ว่าสละได้ไหม ในคนกล้าที่จะสละชีวิตเพื่อปฏิบัติธรรมมันจะมีกี่คน สิ่งที่มีกี่คน แล้วเราเป็นคนหนึ่งไง เราเป็นคนหนึ่งที่ออกมาประพฤติปฏิบัติ

แต่เวลาธรรมกาฝากขึ้นมา มันก็ยุแหย่ให้เราเป็นสภาวะแบบนั้น ถ้ากิเลสมันเกิดขึ้นมาจากใจ มันจะให้น้อยเนื้อต่ำใจ เราไม่มีอำนาจวาสนา เราประพฤติปฏิบัติไม่ได้ ถ้าเราไม่มีอำนาจวาสนา เราจะไม่สนใจเรื่องศีลธรรมหรอก เพราะศีลธรรมนี่เป็นการขัดเกลากิเลส

กิเลสมันมีอำนาจเหนือหัวใจ แล้วมันพองมากนะ ตัณหาล้นฝั่ง มันจะอยู่กับความคิด มันจะมีความต้องการแสวงหาของมัน มันจะต้องการของมันออกไปนะ ถ้ามันเบียดเบียนเราก่อน มันทำให้เราเร่าร้อนนะ เวลาความคิดเราจะโกรธใครก็แล้วแต่ เราจะไม่พอใจก็แล้วแต่ คนนั้นยังไม่รู้สึกตัวเลย แต่มันเผาใจเราก่อนแล้ว เพราะเราโกรธเขา เราไม่พอใจเขา แล้วความคิดก็ต้องวางเกมสิ่งต่างๆ ที่เราจะเอาชนะคะคานเขา สิ่งที่เอาชนะคะคานเขา ถ้ามีอำนาจไง บวชเข้ามาเป็นพระกาฝาก สิ่งที่เป็นพระกาฝาก มันก็มีลูกศิษย์ลูกหา มีสิ่งต่างๆ เข้ามาจุนเจือเรา ถ้ามีจุนเจือเรา มันก็วางแผนออกไปอย่างนั้น

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติสมควรแก่ธรรม จะเคารพธรรม เคารพวินัยมาก

แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเพื่อกาฝาก ความเห็นของตัวมันจะไปบิดเบือนธรรมวินัยมาให้เข้าความเห็นของตัวไง

สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ ถ้าไม่ถูกใจอันนั้นเป็นสิ่งที่ต่อเติมเข้ามา อันนี้เป็นคนจดจารึกเพิ่มเติมเข้ามา สิ่งใดถ้าตรงกับใจของตัวเอง ตรงกับกิเลสของตัวเอง สิ่งนี้เป็นของเรา สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้จริง สิ่งใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้วไม่ถูกใจเรา เราจะไม่พอใจ

สิ่งที่ไม่พอใจ เห็นไหม แม้แต่ภาษานะ “น้ำ” ภาษาต่างๆ ก็ว่ากันไปอย่างหนึ่ง สิ่งที่ว่า ภาษายังไม่เหมือนกันเลย ในการประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไว้ ตรัสวางไว้นี่มันเป็นการวางไว้สอนสัตว์โลกไง จริตนิสัยของสัตว์โลกต่างกัน ความวางไว้ก็ต่างกัน สอนพระโมคคัลลานะก็ไปอย่างหนึ่ง สอนพระสารีบุตรก็ไปอย่างหนึ่ง

การสอนเห็นไหม สอนสามเณรราหุล “ราหุล เธอต้องการสิ่งใด เธอต้องมีการศึกษาให้มาก” สามเณรราหุลจะตัก กำทรายไว้กำหนึ่ง วันนี้ขอให้ศึกษาได้เท่ากับกำทรายกำนี้ กำทรายในมือนี้ พยายามศึกษาธรรมศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะย้อนกลับเข้ามาชำระกิเลสของเราในหัวใจ

ภาษาสิ่งต่างๆ มันก็ไม่เหมือนกัน แล้วความเห็นความรู้สึก คำว่า “น้ำ” ว่าน้ำ นี่ตามภาษาต่างๆ เขาก็ว่าต่างกัน แต่เวลาดื่มน้ำขึ้นมาสิ ถ้าเราเคยดื่มน้ำแล้วน้ำนี้ตั้งอยู่ ทุกคนมองเห็นน้ำ สบตากันก็รู้อยู่แล้วว่าคือน้ำไง จะภาษาไหนก็ไม่สำคัญ

นี้ก็เหมือนกัน ในบัญญัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ ถ้าไม่ตรงกับจริต ตรงกับนิสัยเรา มันก็เป็นประโยชน์กับผู้อื่น สิ่งที่เป็นประโยชน์กับผู้อื่น เราจะไปบิดเบือนมาให้ตรงกับกิเลสของเราได้อย่างไร เราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ในศาสนา ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนใจนี้เป็นธรรมขึ้นมา มันจะเคารพ มันจะศรัทธา มันจะไม่สามารถจะไปบิดเบือนสิ่งนั้นได้หรอก

ธรรมวินัยที่เป็นศาสดาของเรา เราเกิดมาจากไหน เราได้ธรรมอันนี้มาจากไหน เราได้ธรรมมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ ถ้าไม่มีธรรมนะ ไม่มีธรรม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้ ถ้าเราสร้างสมบุญญาธิการมา เราจะตรัสรู้ต่อเมื่อไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าสามารถจะเข้าถึงธรรมได้

แต่เราสาวกะ สาวกได้ยินได้ฟังนะ แม้แต่ธรรมวางอยู่ เรายังงงขนาดไหน มรรคก็คือเราทำแล้ว คุณงามความดีของเราก็ทำแล้ว สิ่งต่างๆ ก็ทำแล้ว เรามีมรรคสมบูรณ์แล้ว นี่มันเป็นเรื่องโลกียะ มันเป็นเรื่องความเห็นของโลก

สิ่งที่เป็นความเห็นของโลก โลกเขานี่ ดูอย่างพระเจ้าอโศกสิ สร้างวัด ๘๔,๐๐๐ วัดนะ แล้วยังทำสังคายนานะ สิ่งที่ทำสังคายนา เขาทำคุณงามความดีไว้ขนาดนั้น สร้างจรรโลงศาสนาไว้ขนาดนั้น ยังไปถามพระอาจารย์ของพระเจ้าอโศกว่า “ได้เป็นญาติกับศาสนาหรือยัง?”

“ยัง”

“ถ้าจะเป็นญาติกับศาสนาจะทำอย่างไรล่ะ?”

“ถ้าจะเป็นญาติกับศาสนาต้องให้ลูก สายเลือดออกมาบวช”

พระเจ้าอโศกมหาราชถึงได้ไปขอพระมหินท์ให้มาบวช แล้วมาเผยแผ่ธรรม สิ่งนี้ส่งต่อมาจนถึงเรานะ พวกเราได้รับสิ่งนี้ สิ่งที่เป็นประโยชน์นะ เป็นประโยชน์จากที่ว่าเป็นญาติกับศาสนา แต่เราการประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะเป็นญาติกับศาสนาได้อย่างไร

“ธรรมทายาท” เราจะเป็นธรรมทายาท เราต้องพยายามดัดแปลงใจของเรา ถ้าเราเป็นธรรมทายาท ธรรมจะเกิดจากหัวใจของเรา แต่ถ้าเป็นธรรมกาฝาก ธรรมของกิเลส มันจะทำให้เจ็บปวดในหัวใจของเรานะ ใจของเรานี่ทำให้เจ็บปวดเพราะอะไร

เพราะมันยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของกิเลสนั้น กิเลสนั้นรู้สิ่งใด เห็นสิ่งใด ก็ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม แล้วเวลามันเสื่อมไปนะ เวลา ”สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สภาวะนั้นต้องเสื่อมไปเป็นธรรมดา” เราทำสมาธิ เราศึกษาธรรม เราเข้าใจตามธรรมที่เราศึกษา ถ้าเราศึกษาธรรมแล้วธรรมนี้จะเป็นสมบัติของเรา

ผู้ที่ศึกษาธรรมเห็นไหม เวลาบวชเรียนแล้ว เขาต้องมีธรรมในหัวใจของเขาสิ ทำไมมันไม่เข้าถึงธรรมทายาทล่ะ? ไม่เข้าถึงธรรมทายาทเพราะใจมันยังควบคุมสิ่งนี้ไม่ได้ไง ถ้ามันควบคุมสิ่งนี้ไม่ได้ นี่เรื่องของกิเลส สิ่งที่กิเลสมันจะเบียดเบียนตน มันจะทำลายหัวใจของเรา ถ้ามันทำลายหัวใจของเรา แล้วเราก็คาด เราก็หมาย

ถ้ายิ่งผิดไป สิ่งที่ผิด ถ้าเป็นพระโปฐิละ พระโปฐิละที่ว่าในสมัยพุทธกาล สาวกมาก สั่งสอนสิ่งใดก็ได้ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “คัมภีร์เปล่า คัมภีร์เปล่าล่ะ” จำได้ขนาดนั้นนะ รู้ขนาดนั้น นี้ก็เหมือนกัน ในสมัยปัจจุบันนี้ ศึกษาธรรม คิดได้หมดนะ จนจบถึงกับกี่ประโยก็แล้วแต่ จนบัญญัติได้ไง บาลีสามารถแต่งบาลีได้ บาลีนี่เหมือนกับว่าต้องเรียนก่อนเพื่อเป็นกุญแจไขเข้าไปหาพระไตรปิฎก

ในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าเราทำจิตของเราสงบ เป็นกุญแจไขเข้าไปในหัวใจของเรา ธรรมมันอยู่ที่ไหน เวลาเราออกธุดงค์ ออกค้นหาธรรม ธรรมอยู่ในตู้พระไตรปิฎก ธรรมอยู่ในหนังสือหนังหา เราก็ค้นคว้ากัน เวลาเราอ่านศึกษาขึ้นมา แล้วมันแก้กิเลส แก้สงสัยเราได้ไหม ทำไมเราอ่านแล้วเราก็ยังสงสัย เรายังคิดเห็นไหม มันจะมีจริงไหมหนอ

เรื่องอย่างนี้ไม่ต้องโกหกกัน จิตทุกดวงใจ มรรคผลนิพพานทุกดวงใจเชื่อ แต่ทุกดวงใจก็สงสัย เพราะทุกดวงใจมีกิเลส ทุกดวงใจกิเลสพาสงสัย ครูบาอาจารย์แต่ละองค์เคยเล่าประวัติมานะ ลังเลสงสัย มันจะเป็นไปอย่างไร มันคาดมันหมายไง เวลาประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้เป็นธรรม ก็คาดหมาย คาดหมายไป ความคาด ความหมาย เห็นไหม “มันจะมีไหมหนอ มรรคผลนิพพานจะมีไหมหนอ”

สิ่งนี้มันคาดหมาย ถ้ามันคาดหมายมันก็ไม่เป็นความจริง ถ้ามันไม่เป็นความจริง แล้วธรรมมันเกิดมาจากไหนล่ะ สภาวธรรมที่ว่าธรรมๆ ที่มันเกิดขึ้นมา ถ้าธรรมจากพระไตรปิฎกนั้นเป็นความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม เราศึกษาธรรม เห็นไหม จากตำรับตำราของครูบาอาจารย์ที่ว่าจารึกเป็นอักษรมาที่ให้เราศึกษากัน

ธรรมภาคปฏิบัติของครูบาอาจารย์มันเกิดจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นรู้สภาวะแบบนั้น ครูบาอาจารย์ท่าน เวลาท่านเทศน์สอนลูกศิษย์นะ ท่านบอกว่าอย่ามั่น อย่าหมาย เวลาฟังธรรม ฟังให้เป็นเสียงกล่อมใจ เทศน์ปฏิบัตินี่เสียงฟังธรรมสำคัญมาก เพราะธรรมที่ออกมาจากใจของผู้ที่ว่าเห็นธรรม มันจะออกมาจากความรู้สึกอันนั้น ความรู้สึกอันนั้นมันเป็นธรรมออกมาจากหัวใจดวงนั้น

เหมือนเปิดภาชนะทั้งหมด เปิดโลกธาตุทั้งหมด ให้เราเข้าถึงสภาวะแบบนั้น ถ้ามันเป็นอย่างเหมือนกัน ตรงกัน นั้นคือจริตนิสัยตรงกัน ถ้าจริตนิสัยไม่ตรงกัน เราก็ทำของเรา เราสร้างเหตุของเรา ถ้าเป็นเอกภาพของมรรค มรรคนี้เป็นเอกภาพ มันต้องสามารถชำระกิเลสได้โดยภาวนามยปัญญา โดยธรรมชาติของใจดวงนั้น นี่กุญแจไขเข้าไปในใจของเราไง

ถ้ากุญแจไขเข้าไปในใจของเรา เราต้องสร้างเอง เหตุทุกเหตุ ดวงใจดวงนั้นต้องสร้างเอง สร้างมรรคอันนี้เกิดขึ้นมาให้ในหัวใจ ในการศึกษาเป็นบาลีมา เราจะไขเข้าไปในตู้พระไตรปิฎกขนาดไหน นั้นเป็นภาษา สิ่งที่เป็นภาษา เห็นไหม

ธรรมคืออยู่ที่หัวใจ

ถ้าในหัวใจ ในการศึกษาของธรรม ภาชนะที่ใส่ เห็นไหม ความรู้สึก เวลาทุกข์นี่เราทุกข์มาก เวลาเราไม่ได้นั่งภาวนานะ เรานั่งกี่ชั่วโมงมันก็เพลิน มันก็เป็นไปได้ เราจะนั่งได้ สิ่งใดมันก็เป็นไปได้ เวลาเรานั่งสมาธิสักชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ความเจ็บปวดมันมาจากไหน ความคับข้องใจมันมาจากไหน นี่ธรรมมันอยู่ที่ใจไง ใจมันรับรู้สิ่งนี้ ใจมันเริ่มโดนควบคุมไง

“ศีล” ถ้าเกิดมีศีล ควบคุมใจ ใจให้เกิดมีศีล มีความสงบ มีขอบเขตของใจเข้ามา ไม่ใช่คิดออกไปตามอำนาจของกิเลส กิเลสคิดได้ตลอด แล้วคิดว่าเป็นความลับนะ สิ่งที่เราคิดนี้เป็นความลับ ความลับไม่มีในโลกหรอก มันคิดขนาดไหนมันก็ฟุ้งซ่านในใจของเรา ใจเราฟุ้งซ่านมาก แล้วก็คิดนะ ยิ่งคิด ย้ำคิดย้ำทำจนเป็นจริต จนเป็นนิสัย

คนเคยโกรธ เวลาโกรธก็คิดว่าเราพอใจ เราสะใจของเรา คิดถึงความโกรธแล้วก็คิดออกไปว่าเรานี่มีอำนาจวาสนาเพราะเราโกรธเขาได้ เราทำลายเขาได้ เราทำ...เขาได้ นั้นเป็นกรรมทั้งหมดเลย กรรมเผาใจของตัวเอง เผาใจของตัวเองแล้วก็ทำลายใจของตัวเอง ทำลายใจของตัวเองจนไม่มีฐานของใจ

สมถกรรมฐาน ความฟุ้งซ่านของใจ ทำลายฐานของตัวเองทั้งหมดเลย แล้วยังเข้าใจว่าตัวเองมีคุณค่าไง สิ่งที่มีคุณค่า เห็นไหม ภาชนะที่ใส่ธรรม สิ่งนี้ไม่มีความลับ มันเปิดเผยกับใจของเรา กิเลสในหัวใจของเรามันก็เปิดเผยกับใจของเรา

เวลามันหลงไป นี่ธรรมกาฝาก เวลามันสงบเข้ามา การศึกษามีความลึกซึ้งในหัวใจ “ธรรมกาฝาก” เพราะเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เป็นกาฝากหรอก

แต่กิเลสของเรามันบิดเบือน แล้วกาฝากคือมันเกาะอยู่ที่ต้นไม้ เกาะอยู่ที่ธรรม กาฝากนี้ก็เกาะอยู่ที่ใจ เวลามันเกิดดับ เห็นไหมความคิด สิ่งที่เกิดดับในหัวใจคือความคิด เหมือนแขกจรมา เวลาเราคิดได้ เราก็คิดว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ต้องยับยั้ง มันก็ยับยั้ง สงบ สิ่งที่ว่ามันเป็นความฟุ้งซ่านได้พักหนึ่ง พักหนึ่ง เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม พอใจไง เห็นไหม ยับยั้งสิ่งนี้ ยับยั้งขึ้นมา สิ่งที่เป็นแขกจรมามันก็หลุดออกไป หลุดออกไป นี่ความว่างสภาวะแบบนั้น สิ่งนี้ต้องเกิดขึ้นมา

ในสมัยพุทธกาลนะ พระปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ๖ ปี จิตเป็นสมาธิอยู่แล้ว เวลาเทศน์ธัมมจักฯ ขึ้นมา มีฐานอันนี้ไง มีใจที่เป็นฐาน เวลาสภาวธรรมเข้าไปสะเทือนหัวใจ มันเป็นเอกภาพ ศีล สมาธิ ปัญญา เอกภาพของมรรคทำลายอันนั้นขึ้นมา พระอัญญาโกณฑัญญะสภาวธรรมเกิดขึ้นมา ธรรมนี้ไม่เป็นกาฝาก ธรรมนี้เป็นธรรมที่เห็นขึ้นมาจากหัวใจ

สิ่งที่เห็นขึ้นมาจากหัวใจ ต้องพยายามส่งเสริมขึ้นไป ส่งเสริมขึ้นไปให้ใจดวงนี้เป็นธรรมทั้งดวงไง ถ้าใจดวงนี้เป็นธรรมทั้งดวง ใจดวงนี้จะไม่หมุนไปตามวัฏฏะ สิ่งที่จิตนี้เห็นธรรมแล้ว มันยังหมุนไปในวัฏฏะ เพราะสภาวะว่ากาฝากนี้หลุดออกไปจากใจ

สิ่งที่เป็นกาฝาก เห็นไหม สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดเรื่องกายกับใจที่มันโต้แย้งกันมาตลอด ใจมันต้องการความปรารถนาตามอำนาจของมัน แต่ร่างกายมันไปตามอำนาจความปรารถนาของใจไม่ได้หรอก สิ่งที่เราไม่ยอมเกิด เราไม่ยอมแก่ เกิดขึ้นมาแล้วก็อยากจะเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดชีวิต เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องมีความพอใจ อยากไม่ให้มันเหี่ยวมันย่น ไม่ให้มันแปรสภาพไป

เรื่องกายกับใจมันจะไม่สมดุลกัน มันจะไปกันไม่ได้ นี่สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในเรื่องของกาย สิ่งที่ความเห็นผิดเรื่องของกาย วิปัสสนาจนเห็นกายตามความเป็นจริง เพราะจิตนี้เป็นสัมมาสมาธิ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิแล้วเกิดพบครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์บอกว่าให้ยกขึ้นวิปัสสนา ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

ถ้าเรายกขึ้นมาเห็นกายของเราขึ้นมา มันวิปัสสนากายตามสภาวะของมัน นี่สภาวธรรมที่จะเกิดขึ้นในหัวใจ ใจดวงนี้มันจะเห็นสภาวะแปลกประหลาดมหัศจรรย์ว่าเวลาเราเห็นกายขึ้นมา เห็นกายมันสะเทือนหัวใจมาก สะเทือนหัวใจเพราะดวงตาของใจมันเห็นกาย ไม่ใช่ตาเนื้อมันเห็นกาย ตาเนื้อมันเห็นกาย มันมีแต่ความมักมาก มีแต่ความอยากใหญ่ตามอำนาจของกิเลส เห็นไหมนั่นสักกายทิฏฐิ

เรามีทิฏฐิในใจ ทิฏฐิในใจมันถึงเห็นผิด เห็นผิดมันก็ยึดมั่นถือมั่น แล้วก็ต้องการตามความปรารถนาทั้งของเราและของฝ่ายตรงข้าม ของเราก็อยากจะให้เป็นสภาวะแบบนั้นตลอดไป ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องการความพอใจ ต้องการสัมผัสสิ่งนั้นตลอดไป เห็นไหมนี่ความเห็นผิดของจิต จิตดวงนี้เห็นผิด

แล้วเวลามันตั้งความสงบเข้ามา มันเห็นสภาวะสิ่งที่ว่ามันไม่เป็นตามอำนาจของเรา มันแปรสภาพตามอำนาจ เป็นวิภาคะ เป็นการขยายส่วนให้เราเห็นขึ้นมานี่มันสลดสังเวชมาก ความสลดสังเวช ความเห็นอย่างนั้นมันจะเริ่มปล่อยวางไง เริ่มสงบตัวลง กิเลสเริ่มสงบตัวลง สิ่งที่สงบตัวลง

ปัญญาที่เห็นสภาวะแบบนั้นคือสภาวธรรมไง เวลามรรคมันเดิน มันเดินอย่างนี้ เห็นความเป็นไปของมรรคของจิต เห็นความเป็นเอกภาพของจิตที่มันหมุนไป สิ่งนี้คือภาวนามยปัญญา มันถึงเข้าใจว่าปัญญาในหลักศาสนาพุทธมันเป็นปัญญาอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการปัญญาอย่างนี้ ถ้าปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมา มันจะทำลายกาฝากของกิเลสที่มันบิดเบือนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สมความปรารถนา จิตดวงนี้จะมีธรรมขึ้นมาในหัวใจ

ไม่ใช่ในการที่ว่าเราจะไปบิดเบือนธรรมมาให้เป็นความเห็นของเรา เราจะตั้งตนเป็นใหญ่ ตั้งหัวใจ กิเลสมันอยู่ในหัวใจของดวงใดก็แล้วแต่ ใจดวงนั้นมันจะมีความฮึกเหิม มีอำนาจวาสนา แล้วจะบิดเบือนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาให้สมกับความปรารถนาของใจดวงนั้น จะบิดเบือนสิ่งต่างๆ ในกระแสของโลกให้สมกับใจดวงนั้น

โลกนี้จะกว้างใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่มีที่อยู่ที่อาศัยพอกับใจดวงนี้ต้องการความปรารถนา นั้นเป็นเรื่องของความเห็นผิดของกิเลสไง กิเลสมันต้องการอำนาจวาสนา ต้องการข่มขี่สัตว์โลก ต้องการข่มขี่วัฏจักรให้อยู่ในอำนาจของมัน มันต้องการสร้างสถานะขึ้นมาให้มันมีอำนาจ มีอภินิหาร มีสิ่งต่างๆ ที่ควบคุมโลก ควบคุมสิ่งต่างๆ ควบคุมวัฏฏะไว้ในอำนาจ อันนั้นมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นไหม ธรรมกาฝากเป็นแบบนี้ เป็นอำนาจวาสนาที่หลงผิด สิ่งที่หลงผิดแล้วคิดว่าเป็นธรรมไง แล้วมันจะไม่เห็นธรรมตามความเป็นจริงเลย นี่กาฝาก กาฝากในศาสนา

กาฝากมันเกิดบนต้นไม้นะ สิ่งที่ว่าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเห็นผิดแล้วมีกาฝากในศาสนาพุทธไง พุทธศาสนา อาศัยพุทธศาสนาเกิดขึ้น บวชในพุทธศาสนา เป็นพระ เป็นเณรในพุทธศาสนา แล้วมีความเห็นผิดในพุทธศาสนา แล้วถ้ามันเสื่อมไป มันทำลายตัวมันเองลงไป มันทำลายไป

แต่ถ้ามันไม่เสื่อม มันมีความยึดมั่นถือมั่นของมัน มันต้องการอำนาจวาสนาตามอำนาจของกิเลส มันก็เป็นกาฝากในศาสนา แล้วจะทำให้ศาสนาวุ่นวาย ทำให้ศาสนาเป็นสิ่งต่างๆ เพราะอะไร เพราะนี่เป็นอำนาจของกิเลส ไม่ใช่อำนาจของธรรม

ถ้าอำนาจของธรรม เห็นไหม วิปัสสนาเข้ามา ทำลายสิ่งต่างๆ เข้ามา เห็นกายตามความเป็นจริง เห็นกายแล้วก็ปล่อยวาง ปล่อยวาง ถึงที่สุด สมุจเฉทปหาน ปหานสิ่งที่เป็นกาฝากออกไปจากใจ ใจนี้ปล่อยสิ่งนี้ไว้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องไง สิ่งนี้ถูกต้อง กายมันเป็นสภาวะแบบนั้น เราทิ้งแล้ว ปล่อยวางไว้ตามความเป็นจริง เก้อๆ เขินๆ เข้าไม่ถึงใจ

สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด

วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในธรรมมันมาจากไหน

สีลัพพตปรามาสในศีลในธรรมไง

ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ก้าวล่วงเกินแม้แต่ขอบเขต แม้แต่เท่าเม็ดหินเม็ดทราย ไม่กล้าล่วงเกินนะ ไม่กล้าล่วงเกินเพราะอะไร เพราะไม่สีลัพพตปรามาสไง ไม่ก้าวล่วงศีล ศีลนี้จะเป็นตามปกติของใจดวงนั้น ธรรมและวินัยจะก้าวล่วงได้ไหม

นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน ยังขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บัญญัติอนิยต ๒ ขึ้นมาเพื่อควบคุมพระเห็นไหม ต้องการจรรโลงให้ศาสนานี้ยั่งยืนไป เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ประโยชน์กับสิ่งนี้ ถ้าใจเป็นธรรมขึ้นมา จะไม่มีความวุ่นวายในศาสนาเลย ในศาสนานี้จะไม่มีความวุ่นวายเพราะใจนี้เป็นธรรม เพราะกาฝากนั้นโดนทำลายออกไปจากใจ

แต่ถ้าใจมันมีกาฝาก มันบิดเบือนศาสนาเข้ามาให้สมกับกิเลส เห็นไหม โลกเป็นใหญ่ไง โลกเป็นใหญ่ กฎกติกาที่โลกสร้างขึ้น โลกสร้างขึ้นโลกจะต้องการเป็นใหญ่ จะควบคุมหลักของศาสนา

แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติ เวลาจิตมันสงบขึ้นมา มันเกิดความสงบแล้วเรายกขึ้นวิปัสสนา มันเป็นความจริงอย่างนี้ แล้วภาวนามยปัญญาจะเกิดขึ้นจากหลักความจริงอย่างนี้ หลักความจริงนะ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่การคาดการหมายด้วยธรรมกาฝากไง เห็นไหม ต้องวิปัสสนาโดยสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ นี้คือหลักของศาสนา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกอริยสัจเห็นไหม อริยสัจ ๔ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ คือกาย คือเวทนา คือจิต คือธรรม สิ่งที่กาย เวทนา จิต ธรรมนี้จะเกิดเป็นวิปัสสนาขึ้นมา ในหลักของครูบาอาจารย์เราต้องเห็นขึ้นมาจากตาของใจไง ตาของใจ ถ้าใจมันสงบขึ้นมา มันจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นั้นมันถึงจะเป็นวิปัสสนา ถ้ามันเป็นวิปัสสนา มันจะเกิดภาวนามยปัญญาตัวนี้

ถ้ามันเกิดภาวนามยปัญญาตัวนี้ จะไม่สามารถที่จะกล่าวติเตียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะธรรมและวินัยนี้คือศาสดา คือสิ่งที่จรรโลงให้ใจดวงนี้ได้เห็นสภาวธรรมอย่างนี้ ถ้าเห็นสภาวธรรมจากในหัวใจ มันจะเคารพจนสุดหัวใจนะ

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนตรัยเกิดแล้ว เราไม่ถือมงคลตื่นข่าว เราถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นหัวใจของเรา พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ที่เป็นที่พึ่งของเรา มันจะต้องประพฤติปฏิบัติ พยายามย้อนกลับขึ้นมาเพื่อให้ใจนี้สูงขึ้นไป สูงขึ้นไปเพื่อใจดวงนี้ ถ้าใจดวงนี้เป็นธรรมทั้งแท่งนะ

จากกาฝากในบนต้นไม้ กับถ้ามีดวงตาเห็นธรรมมันไม่เป็นกาฝาก กาฝากนั้นจะเป็นกิ่งก้าน กิ่งก้านของธรรมไง เราได้ธรรมอันหนึ่งในหัวใจของเรา เรามีกิ่งก้านของธรรม ถ้าเรามีกิ่งก้านของธรรม เราจะถนอม เราจะรักษา สิ่งนี้จะถนอม จะรักษากับใจดวงนี้มาก แล้วถ้าเป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนา จะเก็บสิ่งนี้ไว้ในหัวใจไง

สิ่งที่เป็นอำนาจวาสนานี้ในหัวใจ ไม่กล้าพูดให้ใครฟัง เพราะมันเป็นเรื่องความลึกลับมหัศจรรย์ในการประพฤติปฏิบัติ ใจมันสภาวะแบบที่จะได้มาอย่างนี้ มันเป็นความลึกลับมาก มันเป็นความมหัศจรรย์มาก แต่จะคุยกับครูบาอาจารย์ไง ครูบาอาจารย์จะต้องรู้สิ่งนี้ ถ้าใจของเราเห็นสภาวะแบบนี้ ถ้าครูบาอาจารย์รู้สิ่งนี้ นี่ธรรมเสมอกัน แล้วธรรมที่สูงกว่าก็จะดึงให้เราสูงขึ้นไปไง ถ้าธรรมเสมอกันจะรู้สิ่งเหมือนกัน นี่เป็นปัจจัตตัง

สิ่งที่เป็นปัจจัตตังเป็นธรรมในหัวใจ มันจะไปลึกลับที่ไหน ว่าสภาวธรรม ว่าครูบาอาจารย์ประพฤติปฏิบัติ เรากลบเกลื่อนธรรมของเราแล้วว่าของเราจะเป็นความเป็นจริง เราจะเป็นไปได้...มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะสิ่งที่เป็นกิเลสมันแสดงออกมันก็เป็นกิเลส เพราะสิ่งที่เราไม่รู้ สิ่งที่เราไม่เห็น เราจะพูดถูกต้องได้อย่างไร

สิ่งที่เรารู้ สิ่งที่เราเห็นในหัวใจของเรา ในหัวใจของเราไม่ใช่ในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกนี้เป็นแผนที่เครื่องดำเนินเท่านั้น แผนที่ ถ้าใครอ่านแผนที่ถูก แผนที่กำกับ แผนที่อ่านถูกขนาดไหน แต่ลงในพื้นที่กับแผนที่มันจะต่างกันราวฟ้ากับดิน ปริยัตินี่ศึกษามาขนาดไหน เราท่องจำมาขนาดไหน เราเข้าใจว่าจะเป็นสภาวะแบบนั้น

แต่เวลาธรรมเกิดขึ้นมาจากใจนะ มันห่างไกลราวฟ้ากับดิน มันจะไม่เหมือนกัน มันจะไม่เป็นอันเดียวกัน แต่มันเป็นความรู้สึกของเรา มันเป็นปัจจัตตังในใจดวงนั้นไง นี่สภาวธรรมเกิดขึ้นมาจากใจ ถึงสติปัฏฐาน ๔ ถึงการวิปัสสนา มันต้องเกิดจากใจของเรา ไม่ใช่เกิดจากการคาด การหมาย สิ่งที่เขาว่านั้นเป็นการคาดการหมาย สิ่งที่กำหนด กาย พิจารณากาย สิ่งที่กระทบนี้เป็นกายทั้งหมด

สิ่งที่กระทบมันก็เหมือนกับเราที่ทำปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้ความคิด ดูความคิดเรา นั่นกระทบแล้ว เพราะจิตกระทบกับขันธ์เห็นไหม จิตกระทบกับขันธ์ ขันธ์นี่มันเกิดดับ แต่จิตนี้มีพลังงานตลอดไป ความคิดที่มันคิดมา มันกระทบกับเราอยู่แล้ว พอกระทบกับเรา เราใช้สติจับความคิดนั้น นั่นล่ะนามรูป นั่นล่ะคือขันธ์กับจิตมันกระทบกัน

ถ้าเราจะใช้ปัญญาใคร่ครวญสิ่งนี้เข้ามา มันจะปล่อยขันธ์เห็นไหม สิ่งที่ปล่อยขันธ์ เพราะ “ขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์” สมาธิคือปล่อยขันธ์ ๕ เข้ามา ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ

เรากำหนดพุทโธๆ นี่เป็นศรัทธาจริต ถ้าจริตเรามี เราจริตนิสัยเป็นอย่างนี้ เรากำหนดพุทโธๆ แล้วพยายามขึ้นมา มันจะเป็นพลังงานมาก นี่เจโตวิมุตติ สิ่งที่จิตสงบเข้ามา พิจารณากายเข้ามา กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นขั้นเป็นตอนเข้ามานี่เป็นเจโตวิมุตติ

แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติเห็นไหม ปัญญาวิมุตติใช้จิตนี้ใช้ความคิด ใช้ความรู้สึก เพราะใหม่ๆ เราคิดขึ้นมามันเป็นเราทั้งหมด เพราะขันธ์กับจิตมันรวมตัวกัน สิ่งที่ขันธ์กับจิตมันรวมตัวกัน มันก็เลยกลิ้งไปตามกระแสโลก โลกหมุนไปตามสภาวะแบบนั้น แต่เราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราถึงตั้งสติ ถ้ามีสติเห็นไหม สตินี้เป็นหลัก พอสตินี้เป็นหลัก เราก็ดูใจของเรา

ถ้าใจของเรามันกลิ้งรวมไปกับขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ นี่ฉุดกระชาก เห็นไหม ฉุดกระชากคือว่ามันรวมตัวกับจิตแล้วมันก็หมุนไป ตามความรู้สึกของเราตลอดไป สติตั้งขึ้นมา ตั้งขึ้นมาแล้วสังเกต พยายามดูขึ้นมา นี่มันกระทบกัน มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันอันหนึ่งอันเดียวกันมันถึงเป็นอันเดียวกัน มันถึงไม่เป็นกัลยาณปุถุชนไง มันถึงเป็นปุถุชนคนหนาไปด้วยกิเลส

คนหนานะ แขกมาเยี่ยมเรา ก็ยังว่าแขกเป็นเรา อารมณ์กับความรู้สึกเกิดขึ้นก็เป็นเรา สิ่งที่เป็นเรานะ นี้เป็นเรา เราเป็นความคิด เห็นไหม เบียดเบียนตนก่อน เราเป็นความคิด เราโกรธคนโน้น เราไม่พอใจคนนี้ มันจะเบียดเบียนเราไปตลอดเวลา แต่ถ้าเรามีสติ เรายับยั้งสิ่งนี้ สิ่งนี้ยับยั้งแล้วสังเกต ใช้สติควบคุมไป สิ่งนี้กระทบกัน สิ่งที่กระทบกันแล้วเราใช้สติควบคุมไป แยกออก แยกออก มันแยก มันปล่อย ถ้ามันปล่อย ปล่อยแขก แขกไม่ใช่เรา

“ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕” ความคิดเกิดขึ้นมาเพราะมีอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหมือนกับวงจรข้างนอกควบคุมพลังงานตัวนั้นมันก็หมุนออกไป ใช้สติหลักคือพลังงานตัวนั้นตั้งไว้ มันก็สังเกตสิ่งนี้ พอสังเกตสิ่งนี้มันก็เริ่มรู้ทัน เริ่มหยุดเห็นไหม วงจรนั้นไม่สามารถควบคุมใจดวงนี้ให้หมุนไปตามมันได้ นี่ปัญญาอบรมสมาธิไง

ที่เขาบอกว่า เขาเป็นวิปัสสนาในการสติปัฏฐาน ๔ โดยกำหนดนามรูป

นี่เหมือนกัน แล้วเราใช้ดูจิตมันก็เหมือนกัน กำหนดนามรูป ถึงการกำหนดนามรูปนี้มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นสมถะเท่านั้น แต่ด้วยธรรมกาฝากของใจดวงนั้น ว่าสิ่งนี้เป็นวิปัสสนาไง วิปัสสนาโดยกิเลสพูด

แต่วิปัสสนาโดยธรรมพูด ธรรมที่วิปัสสนามันจะเกิดกับใจของเรา เราพิจารณาการกระทบระหว่างจิตกับขันธ์ ๕ ระหว่างแขกกับเจ้าของเรือน พิจารณาไปจนเจ้าของเรือนนั้นปล่อยแขกนั้น ไม่รับแขกนั้น จนใจดวงนี้สงบเข้ามา สงบเข้ามามันปล่อยวาง มันไม่ลึกซึ้ง มันไม่เวิ้งว้างขนาดไหน มันปล่อยวาง แต่เราก็อาศัยสิ่งนี้ อาศัยสิ่งที่กระทบเข้ามา สังเกตเข้าไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า จนจะเห็นจิตได้ จนไปเห็นขันธ์ ๕ ได้ อ๋อ! จิตกับขันธ์ ๕ มันเป็นคนละส่วนกัน แล้วเราค่อยวิปัสสนาไง

วิปัสสนาคือให้ทันกับความคิดของตัวเอง ความคิดนี้เกิดขึ้นด้วยอะไร? ด้วยกับกาฝากในใจของเรา กาฝากมันเกิดกับใจ มันเกาะกับใจ แขกมาถึงแล้วเกาะกับใจดวงนี้ วิปัสสนาสิ่งนี้ ใคร่ครวญสิ่งนี้ตลอดไป กาฝากนี้ต้องหลุดออกไปจากจิต กาฝากไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่กาฝาก ปล่อยวางสิ่งต่างๆ เห็นไหม แล้วกาฝากนี้มันทำไมเกาะติดล่ะ เพราะอะไร เพราะมันมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เราพิจารณาสิ่งนี้เข้ามาถึงที่สุดมันจะปล่อยวางขาดนะ สิ่งที่ขาด รูป รส กลิ่น เสียงขาดออกไปจากใจ เป็นกัลยาณปุถุชน

แล้วสังเกตสิ่งนี้บ่อยๆ เข้า สังเกตเข้ามา ถึงที่สุดเราตั้งสติไว้ ตั้งสติไว้ มันจะจับตัวจิตได้ จับตัวขันธ์ ๕ นี่ แล้วเราใช้สติปัญญาแยกออกไป เห็นไหม นี่ภาวยามยปัญญาเกิดแล้ว เอกภาพของมรรคจะเกิดกับใจดวงนี้ไง ใจดวงนี้วิปัสสนากายขนาดไหนมันก็เป็นการวิปัสสนากายโดยเจโตวิมุตติ

แต่ถ้าจะเป็นปัญญาวิมุตติ มันจะวิปัสสนาโดยสภาวะแบบนี้ กาย เวทนา จิต ธรรมเหมือนกัน เหมือนกันโดยอริยสัจไง มรรค ๔ ผล ๔ เหมือนกัน แต่จริต แต่นิสัย เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้มหาศาลเลย ไว้ให้เราก้าวเดินตามจริต ตามนิสัยของสัตว์โลก สัตว์โลกมีจริตนิสัยไม่เหมือนกัน ถึงพระไตรปิฎกทั้งตู้เลยขนาดไหน สอนสัตว์โลกมามากมายมหาศาล แล้วเราจะไปบังคับให้ธรรมนั้นเข้ากับความเห็นของตัว มันเป็นไปไม่ได้ มันต้องเปิดกว้าง เปิดกว้าง จะเปิดกว้างได้ต่อเมื่อผู้นั้นรู้จริง ถ้ารู้จริงจะเปิดกว้างได้ทุกๆ กรณี

ถ้าเรารู้เรื่องเหตุเรื่องผลตามความใจดวงนั้น สิ่งใดจะเกิดขึ้นมามันก็เอาเหตุผลนั้นเข้าไปจับๆ มันจะเคลียร์กับใจดวงนั้นไง ใจดวงนั้นจะไม่มีความลังเลสงสัยกับสิ่งนี้ นี่มันเปิดกว้างขนาดนั้นนะ แต่เพราะกิเลสมันปิดมิดบังไง มันบังว่าเรามาแนวทางนี้ ทุกคนจะต้องเป็นแนวทางนี้

ทุกคนจะเป็นแนวทางเดียวกันเป็นไปไม่ได้ เพราะการเกิดการตาย นิ้วเรายังไม่เท่ากันเลย แล้วสัตว์โลกเกิดจากพ่อแม่เดียวกันก็จริตนิสัยไม่เหมือนกัน

พระสารีบุตรนะ แม่ของพระสารีบุตร ลูกออกบวชจนถึงเป็นพระอรหันต์ถึง ๘ องค์ แต่แม่ของพระสารีบุตรก็ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ จนพระสารีบุตรกลับไปทรมานแม่ของตัวเอง เอาแม่ของตัวเองจนเป็นพระโสดาบันเห็นไหม เป็นพระโสดาบันแล้วพระสารีบุตรก็นิพพานไป แม่ของพระสารีบุตรเข้ามาถึงธรรมได้ เพราะผู้ที่รู้จริงเข้าไปสอนไง

สิ่งที่ไปสอน เห็นไหม อำนาจวาสนาต่างกัน ความเห็นของคนต่างกัน สิ่งที่แตกต่างกัน พระไตรปิฎกถึงวางไว้แนวทางต่างกัน แต่หลักคืออริยสัจ หลักคือสติปัฏฐาน ๔ สิ่งที่เป็นสติปัฏฐาน ๔ ต้องให้เป็นตามความเป็นจริงของเราสิ ต้องให้เป็นตามความจริงของการประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ต้องตามความจริงของธรรมกาฝาก

สิ่งที่กาฝาก คาดไป หมายไป แล้วว่าสิ่งที่เป็นนามรูปนั้นเป็นวิปัสสนา แล้วเวลาจิตกับขันธ์กระทบกันเป็นวิปัสสนาไหม ถ้ามันวิปัสสนา ทำไมเราวิปัสสนาของเราไม่ได้ล่ะ เราต้องพยายามทำปัญญาอบรมสมาธิให้จิตมันสงบเข้ามา สงบเข้ามา มันจะเป็นโลกุตตระไง

ถ้าเราคิดของเราประสาเรา คิดแล้วเดี๋ยวก็ลืม สัญญา ความจำได้หมายรู้ จำแล้วก็เลือน จำแล้วก็ลืม เสร็จแล้วก็ต้องไปทบทวนเสร็จแล้วก็ท่องจำ เสร็จแล้วก็ต้องเปิดพระไตรปิฎก ค้นคว้าอยู่อย่างนั้น กลัวแต่จะลืม กลัวแต่จะจำไม่ได้ไง

แต่ถ้าเราวิปัสสนาของเรานะ มันจะลืมไปไหน มันเป็นอริยสัจ มันเป็นความจริงระหว่างหัวใจ หัวใจสิ่งนี้กระทบกับอาการอย่างนั้น แล้วกระทบสิ่งนั้น ปล่อยวางสิ่งนั้นออกไป

เหมือนกับเราเจอสภาวะของทะเลบ้าอยู่กลางทะเล แล้วเรารอดจากทะเลบ้านั้นขึ้นมา เราจะตื่นเต้นกับสิ่งนั้นอย่างไร เราจะมีประสบการณ์ขนาดไหน แล้วเราไปเล่าให้คนอื่นฟัง เขาก็ฟังอย่างนั้นแหละ สิ่งนั้นไม่เคยเกิดกับเขา

นี้ก็เหมือนกัน ใจมันปั่นป่วนขนาดไหนเวลากิเลสมันอยู่ในหัวใจ แล้วเราใช้ปัญญาใคร่ครวญสิ่งนั้นเข้ามาจนสงบเห็นไหม สิ่งนี้สงบ ทะเลนี้ราบเรียบ สิ่งที่ราบเรียบ ในทะเลมันราบเรียบแล้วปลาในทะเลล่ะ แล้วสิ่งที่ว่าความเค็ม กิเลสในหัวใจในทะเลนั้นล่ะ มันถึงต้องยกขึ้นวิปัสสนาไง

นี้ถึงเป็นวิปัสสนา กาย เวทนา จิต ธรรม วิปัสสนาจิตวิปัสสนาอย่างนี้ มันถึงว่าเห็นการเกิดดับของใจ เห็นการเกิดดับของอารมณ์ จับอารมณ์นั้นแล้วแยกออก แยกออก ปัญญาใคร่ครวญสิ่งนั้นต่างๆ เข้ามา มันจะเริ่มปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา มันเป็นโลกุตตระไง เพราะเรามีสัมมาสมาธิ เรามีสัมมาสติ เอกภาพของมรรค

ถ้าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเอกภาพไปไม่ได้ เห็นไหม ศีลคือการเลี้ยงชีพชอบ สิ่งที่เลี้ยงชีพชอบ โลกเขาก็ทำกัน เลี้ยงชีพจากภายนอก แต่เราชำระกิเลส กิเลสคือกาฝากในหัวใจ มันเลี้ยงชีพผิด มันคิดผิดเพราะมันบิดเบือนธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ต้องการสิ่งความพอใจของตัว แล้วบิดเบือน มันก็ไม่สมความเป็นจริงเห็นไหม นี่ผิดศีล

ถ้ามันถูกล่ะ ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ ความดำริชอบ ต้องทำความสงบของใจเราเข้ามา ถ้าใจมันสงบเข้ามา มันจะเป็นโลกุตตระ เพราะมันมีสัมมาสมาธิ สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธิเป็นพื้นฐานรอ มีสัมมาสติ สตินี้ควบคุมสิ่งนี้เข้าไป นี่เอกภาพของมรรค มันจะเป็นภาวนามยปัญญาไง

ปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมาจากเราผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมาจากใจ จากใจดวงใจดวงนั้นนะ ดวงใจที่เห็นความเป็นจริงของใจดวงนั้นขึ้นมา ย้อนกลับเข้ามาทำลายสิ่งนี้ออกไป ถ้าทำลายออกไป สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส จะเป็นแขนงกิ่งของธรรม

แล้วเราก็ยกขึ้นวิปัสสนาเข้าไป แยกแยะสิ่งที่ว่าเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรมแล้วแต่จริต แล้วแต่นิสัย เพราะเราเคยภาวนา มันจะยากที่สุดจุดนี้ จุดที่เริ่มต้นจากการมีดวงตาเห็นธรรมจะยากมาก ยากมากเพราะเราทำงานไม่เป็น แต่ขั้นตอนต่อไปเหมือนกับเราเคยทำงานแล้ว เราทำงานแล้ว เราเคยได้ผลประโยชน์จากงานนั้นแล้ว เราก็เอาสิ่งนี้เป็นบรรทัดฐานไง แล้วย้อนกลับขึ้นไป กาย เวทนา จิต ธรรม สิ่งที่ละเอียดเข้าไป ใช้สัมมาสมาธิ มันจะเห็นจริงมาก

ถ้าเราใช้ปัญญาใคร่ครวญเข้าไปโดยไม่มีสัมมาสมาธิ ล้มลุกคลุกคลาน มันจะฟ้องตัวเองตลอดไปว่ามันไม่สมประโยชน์ มันไม่เป็นตามความเป็นจริง มันถึงว่าต้องมีสมาธิ ปัญญามันถึงจะเกิด แล้วมันจะชำระกัน ปล่อยวางออกไป

ถ้าไม่มีสมาธินะ ใคร่ครวญโดยปัญญาขนาดไหน มันเลอะๆ เลือนๆ แล้วมันไปไม่ทะลุ ไม่ผ่าน สิ่งที่ไม่ผ่าน เหมือนกับเราแบกความหนักไว้ในหัวใจแล้วมันปล่อยวางไม่ได้ อยากปล่อยวางมาก อยากจะสลัดสิ่งนี้ทิ้งมาก รู้ว่าสิ่งนี้เป็นกิเลสก็รู้ๆ อยู่ในหัวใจ แต่ทำไมมันทำไม่ได้ล่ะ เพราะอะไร

เพราะตัณหาความทะยานอยาก อยากได้ผลเร็วๆ ไง อยากได้สิ่งนี้ตามสมความปรารถนาไง เห็นการทำสัมมาสมาธิเป็นของไม่มีคุณค่าไง มันถึงต้องย้อนกลับมาทำความสงบของใจ ไม่เห็นคุณค่าจนมันทุกข์มันร้อนไง จนมันทำไปไม่ได้มันถึงย้อนกลับมา

ถ้าย้อนกลับมา ต้องพยายามตั้งสติให้ได้ เป็นปัญญาอบรมสมาธิก็ดูใจ ถ้าเป็นพุทโธ เราก็กำหนดพุทโธ สิ่งนี้จะสงบเข้ามา พอกลับไปวิปัสสนามันจะเป็นการเป็นงานขึ้นมา มันจะเห็นคุณประโยชน์ขึ้นมา นี่ ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งนี้เป็นเอกภาพของใจดวงนี้ ใจดวงนี้ชำระออก ขาดออกไปจากใจ เห็นผลขึ้นมาเลย

ถ้าเห็นผลขึ้นมา ถึงซึ้งมากไง ว่าสิ่งที่เป็นสมาธิ สิ่งที่เป็นปัญญานี้มันต้องสมดุลกัน มันถึงจะเป็นโลกุตตรธรรม สิ่งที่เป็นโลกุตตรธรรมเกิดขึ้นมาจากใจดวงนั้น ใจดวงที่เห็น ใจดวงที่รู้จะเป็นประโยชน์กับใจดวงนั้น ใจดวงนั้นก็ก้าวเดินต่อไป ยกขึ้นเห็นไหม ถ้าไม่ยกขึ้น ไม่มีครูบาอาจารย์ มันจะติดในความว่างนั้น

ถ้าติดในความว่างนั้นก็เวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น แล้วก็หมุนเวียนอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าออกจากนี้ไปมันจะเป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะ เห็นไหม จับสิ่งนี้ ถ้าวิปัสสนากายก็เป็นอสุภะ พิจารณาจิตก็เป็นกามราคะ จนสิ่งนี้ปล่อยวางๆ นี่เพราะเป็นงานไง

สิ่งที่เป็นงาน แต่ไม่เหมือนกัน งานอย่างหยาบก็เป็นงานหยาบๆ งานอย่างละเอียดต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญอย่างมาก แล้วกลอุบายวิธีการของกิเลสมันจะปลิ้นปล้อนหลอกลวงใจไปร้อยแปดเลย สิ่งนี้เป็นธรรม ปล่อยวางแล้ว ใช่เป็นธรรมแล้ว แล้วอยู่สภาวะแบบนั้น เดี๋ยวมันก็เสื่อมไป พอเสื่อมไปมันก็มีอาการเกิดขึ้นมาจากใจ ใจจะรู้สิ่งนั้น...ไม่ใช่

ถ้าเป็นธรรม ทำไมมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างนี้ล่ะ เห็นไหม “สุภาพบุรุษ” ใจดวงนี้เป็นสุภาพบุรุษ จะต้องตรวจสอบใจของตัวเองตลอดไป ถ้าตรวจสอบใจตัวเองตลอดไป ใจดวงนี้จะก้าวเดิน ใจดวงนี้จะเจริญงอกงามขึ้นมา

แต่ถ้าเป็นกิเลสอย่างละเอียดมันอยู่ในหัวใจ มันก็จะพลิกแพลง

เรามีธรรมเป็นพื้นฐาน เป็นอกุปปธรรมจากข้างล่างขึ้นมา สิ่งนี้ไม่เสื่อม แต่สิ่งที่เจริญงอกงามขึ้นไป จริตนิสัยไม่เหมือนกันก็วิธีการต่างกัน แต่มันจะไม่ได้สิ่งนั้นไง ไม่ได้สิ่งที่ความพอใจสิ่งนั้น

ถ้าเราวิปัสสนาเป็นจิต มันจะไปเห็นเป็นขันธ์ เห็นความเป็นไปของกามราคะ สิ่งที่เป็นหัวใจ วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า อุบายวิธีการละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนกว่านั้น ถึงจะเห็นมรรคหยาบ มรรคละเอียดไง

ถ้ามีดวงตาเห็นธรรม ใจดวงนี้เป็นธรรม มันจะไม่ทำความเสื่อมเสียกับธรรมวินัย ธรรมวินัยจะไม่ทำเสื่อมเสียมาก เพราะใจดวงนี้เป็นธรรม แล้วใจดวงนี้อยากก้าวเดินต่อไป

คนเราต้องการทุน ต้องการจะแสวงหาสิ่งที่ว่าเป็นผลตอบแทนมา มันจะต้องรักษาสงวนเครื่องไม้เครื่องมือที่จะแสวงหาสิ่งนั้นมาก ถ้าแสวงหาสิ่งนั้น แล้วมันจะไปทำลายธรรมวินัยได้อย่างไร แต่กิเลสอันละเอียดมันจะบิดเบือนไม่ให้ใจดวงนี้เข้าถึงธรรมต่างหาก เราถึงต้องใช้อุบายวิธีการที่ละเอียดแล้วพลิกแพลง แยกแยะออกไปตลอดไป

จนถึงที่สุด ทำลายออกไปจากใจ ขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ เห็นกับใจดวงนั้น ใจดวงนั้นเห็นขันธ์อันละเอียด ปล่อยวางออกไป ขาดออกไปจากจิตเห็นไหม ฝึกซ้อมสิ่งต่างๆ เศษส่วนของใจ ฝึกซ้อมจนปล่อยวางสิ่งนี้ทั้งหมดเลย ใจดวงนี้ออกไปเวิ้งว้าง นี่สิ่งนี้เวิ้งว้าง ใจล้วนๆ เลย จับต้องสิ่งใดๆ ไม่ได้เลยเพราะตัวมันเอง เห็นไหม ผู้เป็นเรือนว่าง

ในหลักของศาสนา ในการประพฤติปฏิบัติ มันจะเห็นความมหัศจรรย์ของธรรมอย่างมหาศาลเลย ว่ามันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาแล้วมันควรเป็นธรรมสิ แต่มันทำไมไม่เป็นธรรมล่ะ? ไม่เป็นธรรมหรอกเพราะตัวนี้เป็นตัวอวิชชา สิ่งที่เป็นตัวอวิชชาคือตัวมันเอง ตัวความรู้สึกอันนี้ ตัวความรู้สึกอันนี้มันไปออกหากินไม่ได้

เหมือนกับคนที่มีอำนาจมากแต่โดนเขาทำลายหมด ต้องหลบซ่อนอยู่ในที่ลับไง แล้วไม่สามารถจะไปทำลายสิ่งใดได้ แต่มันก็ยึดว่าตัวมันเองเก่ง ตัวมันเองเก่งอยู่อย่างนั้น นี้ก็เหมือนกัน จิตมันปล่อยวางกิเลสเข้ามาหมดแล้ว จนเป็นตัวมันเอง แล้วมันก็ว่าเป็นความว่าง เวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น นี่มันจะไม่เห็นตัวมันเองเลย สิ่งที่ไม่เห็นตัวมันเองนี่คือตัวอวิชชา ต้องย้อนกลับไปเห็นตัวอวิชชา ตัวนี้เป็นตัวอวิชชา แล้วออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ ออกไปรับรู้เรื่องขันธ์ เรื่องกาย เรื่องจิต เรื่องภายนอก

แล้วกาฝากมันก็เกาะเกี่ยวกับทางนั้นเข้ามา แล้วนี้เราสลัดออกทั้งหมดเลย จนเป็นจิตล้วนๆ ไม่มีสิ่งใดจับได้ เราก็หลงไปไง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะหลงไปว่าอันนี้เป็นธรรม อันนี้เป็นธรรม

ลองตายมาสิ มันมีสิ่งที่เกิดเพราะเราเข้าใจเองว่าเป็นธรรม แต่เราไม่ได้ทำลายตัวอวิชชา คือตัวความรู้สึกนั้น สิ่งที่เป็นความรู้สึกนี้เห็นไหม “อวิชชา” เจ้าวัฏจักรอยู่ตรงนี้ไง ปฏิสนธิจิตอยู่ตรงนี้ ย้อนกลับเข้ามา ความละเอียดอ่อนของใจย้อนมรรคอันละเอียด ย้อนกลับมาจับสิ่งนี้ได้

ถ้าจับสิ่งนี้ได้ ปัญญาแต่ละขั้นตอน มรรคหยาบ มรรคละเอียดแต่ละขั้นตอน มันละเอียดอ่อนต่างกันมหาศาลเลย ปัญญาอย่างนี้จะใช้ปัญญาความคิดอย่างที่ว่าเราใช้ปัญญา ใช้สิ่งนี้คิด เป็นไปไม่ได้ สิ่งนี้ละเอียดอ่อนมาก มันเป็นการซึมซับไป เป็นปัญญาญาณ อาสวักขยญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ไง พลิกสิ่งนี้คว่ำไป นี่คือปัญญาญาณ สิ่งนี้ชำระออกไป นี่อวิชชา

สิ่งที่เป็นอวิชชา ก้นบึ้งของรากแก้วของกิเลสที่ฝังอยู่ในหัวใจได้ถอนขึ้นจากใจดวงนี้แล้ว ใจดวงนี้เป็นธรรมล้วนๆ ไง สิ่งนี้เป็นธรรมล้วนๆ จากใจดวงนั้น

ถ้าใจดวงนี้เป็นธรรม นี่เอโก ธัมโม หนึ่งไม่มีสอง โลกนี้เป็นของคู่ทั้งหมด โลกนี้เวียนไปตามอำนาจของโลก กิเลสอยู่กับใจมันก็เป็นสอง เพราะมันยึดอยู่ในหัวใจ ความอ่อนไหว สำหรับเฉพาะอวิชชา มันไม่มีสิ่งที่กระทบนะ แต่มันก็เศร้าหมอง มันก็ผ่องใส

สิ่งที่เศร้าหมองคู่กับความพอใจ ผ่องใสก็คู่กับความเฉา สิ่งนี้มันก็เกิด ทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งที่กระทบ แต่พลังงานมันมีของมัน พลังงานนี้มันก็เป็นสภาวะของมัน จนมันทำลายสิ่งนี้ออกหมดจากหัวใจ เอโก ธัมโม ธรรมทั้งแท่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมอันนี้ขึ้นมา ถึงไม่มีสิ่งเศร้าหมองในใจดวงนั้น แล้ววางศาสนานี้มาให้เราก้าวเดินนะ

แล้วเราก็มีอำนาจวาสนา กึ่งพุทธกาลเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ศาสนานี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้แล้ว “กึ่งพุทธกาล ศาสนาเจริญรุ่งเรือง” แล้วตอนนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเพราะครูบาอาจารย์ของเราค้นคว้าสิ่งนี้มาให้เรานะ

ครูบาอาจารย์ทุ่มทั้งชีวิต ชีวิตนี้ทุ่มหมดเลย แล้วไม่มีคนสอน ออกป่าออกเขา พยายามค้นคว้าขึ้นมา เพราะพระไตรปิฎกก็ค้นคว้าในตู้ ค้นแล้วค้นเล่า ๑๐ ปี ๒๐ ปีก็ค้นอยู่อย่างนั้น แล้วก็เป็นสภาวะแบบนั้น ก็ลังเลสงสัย จนออกประพฤติปฏิบัติ

“เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ” สิ่งนี้เห็นๆ กันอยู่ แต่คนถ้าจับเอาเป็นประโยชน์มันจะเริ่มเป็นประโยชน์ คนที่ไม่เห็นเป็นประโยชน์ก็ท่องกันไปนกแก้วนกขุนทอง สิ่งที่ท่องกันไปนกแก้วนกขุนทอง ศาสนาก็สอนอย่างนี้ๆ ยังคิดด้วยนะ ทำไมพระพุทธเจ้าสอนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เรื่องหยาบๆ อย่างนี้ ทำไมไม่สอนเรื่องที่มันเป็นความมหัศจรรย์ นี่มองข้ามนะ

แต่ผู้ที่เห็นประโยชน์กับสิ่งนี้นะ “เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ” มันก็ทำให้สัตว์โลกเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในนี้ เวลาคนตาย ตราสัง “สัง” บ่วงบุตร บ่วงภรรยา บ่วงสมบัติก็เท่านั้น วัฏฏะก็วัฏวน ๓ สิ่งนี้ก็เป็น ๓ โลกธาตุก็โลกธาตุ ๓ อยู่อย่างนี้ เราก็เวียนตายเวียนเกิดกัน แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางหลักอันนี้ไว้ทำลายสิ่งนี้ทั้งหมด เรากลับไปเห็นว่าเป็นของเล็กน้อย เป็นของที่ว่าทำไมสอนของเล็กน้อย...เป็นของที่มหาศาลมาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ยมทูตทั้ง ๔ เห็นเกิด เห็นแก่ เห็นเจ็บ เห็นตาย ยังเศร้าสลด ออกหาประพฤติปฏิบัติ เราเห็นตำตา ธรรมะก็วางอยู่ กางออกเปิดพระไตรปิฎกเล่มไหนก็ได้เต็มตู้เลยวิธีการที่จะสอนเรา แล้วเราทำจริงไหมล่ะ แล้วเราทำได้ไหมล่ะ

แต่วิธีการนี่ธรรมกาฝาก เขาแนะนำอย่างไร เราก็หูผึ่งเชื่อเขา ทางนี้ทางลัด ทางนี้ทางสะดวก ทางนี้ทางสบาย กิเลสมันบอกอย่างนั้นไหม ทางสะดวกเพราะกิเลสมันชอบล่ะสิ จะเลี้ยงขุนกิเลสให้มันอ้วนพีขึ้นมา แล้วบอกว่าประพฤติปฏิบัติ แล้วบอกจะฆ่ากิเลส

ครูบาอาจารย์ของเรา “ธุดงควัตร” เพื่อจะทำลายกิเลสให้มันยุบยอบตัวลง เพื่อจะทำความสงบของใจ ถ้าใจมีฐาน สมถกรรมฐาน ใจมีพื้นฐานขึ้นมา งานจะเกิดขึ้นมา เราต้องทำลายกิเลส พยายามทำกิเลสให้มันผอม ให้มันไม่มีกำลัง แต่บอกอะไรก็สะดวก อะไรก็สบาย อะไรก็ง่าย กิเลสมันอ้วนพีเลยแล้วบอกจะฆ่ามัน จะฆ่ามัน

แหม! ชาวพุทธนะ บอกว่าจะฆ่ากิเลส แล้วก็อยากจะสะดวก อยากจะสบาย อยากจะทำง่ายๆ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ พวกที่กำหนดพุทโธ พวกที่อยู่ป่า พวกที่ถือธุดงควัตร พวกนั้นเป็นคนที่ว่ามีวาสนาน้อย ต้องทำให้ตัวเองทุกข์ยาก แล้วจะไม่ได้เห็นธรรม

ครูบาอาจารย์บอกอย่างนั้นไหม กิเลสบอกอย่างนั้นไหม ถ้าเราจะเชื่อกิเลส เราก็ต้อง... “ธรรมกาฝาก” ถ้าเราจะเชื่อธรรม เราต้องบังคับตนเอง เราเชื่อครูบาอาจารย์

ธรรมนี้ธรรมทั้งแท่ง เกิดขึ้นมาจากใจ ไม่ใช่ธรรมกาฝาก เอวัง