เทศน์บนศาลา

โลกวัฏวน

๑๔ ธ.ค. ๒๕๔o

 

โลกวัฏวน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

กิริยาของธรรม ธรรมแท้ๆ อยู่ที่ใจ กิริยาของธรรมออกมาจากใจดวงที่เป็นธรรม นั้นกิริยาหมด ฉะนั้นฟังธรรมไง ฟังธรรม เพราะว่าเราหลงธรรม เรามองข้ามความเป็นจริงไป เลยเป็นทุกข์ไปหมดไง กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างกัน คนเราเกิดมามีทั้งกรรมดีและกรรมชั่วสะสมมา แต่การเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ เห็นไหม ช่วงเกิด เกิดเป็นมนุษย์แล้วมันมีกรรมดีมาพอสมควร แต่เกิดแล้วก็ยังจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กันไป กรรมน่ะ

ให้เกิดมาแล้ว จำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน มีทุกข์ต่างๆ กัน มีความสุขต่างๆ กัน โลกเราถึงได้มีทุกข์ มีทุกข์มีความคลุกเคล้ากันไป แต่ส่วนใหญ่จะทุกข์ออกหน้า สุขหาน้อยมาก เกิดมาแล้วก็ยังต้องผจญกับความทุกข์ยากหรือความเป็นอยู่ของเราไปตลอดไป นี่เผชิญไปเรื่อยๆ เหมือนเร่ร่อนไง จิตนี้เหมือนคนเร่ร่อน เหมือนสัตว์ไม่มีเจ้าของ เร่ร่อนไป เราลืมหลักความเป็นจริงไปอันหนึ่ง เราว่าเราเป็นชาวพุทธ แต่หัวใจเราเร่ร่อนไม่ใช่เป็นชาวพุทธ

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชาวพุทธต้องถึงรัตนตรัย พระพุทธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตเป็นแบบอย่าง ชีวิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างนะ เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายสิทธัตถะเป็นลูกของกษัตริย์ ปัจจัย ๔ สมบูรณ์มาก อาหารนี้อาหารของกษัตริย์ ในราชวังอาหารการกินนี้ต้องประณีตมาก ปราสาท ๓ ฤดู ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่มนี่ไม่ต้องพูดถึง จะประณีตมาก ยารักษาโรค ปัจจัย ๔

ปัจจัย ๔ ของกษัตริย์ทำไมไม่สามารถทำให้เจ้าชายสิทธัตถะหลงโลกได้ เจ้าชายสิทธัตถะทำไมถึงไม่หลงอยู่ในวังวนของโลก แต่เราว่าเราเป็นชาวพุทธ เห็นไหม ชาวพุทธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนถึงปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัย แต่เราไม่ใช่เครื่องอยู่อาศัยนี่ เราหลงไปในกระแสของโลก เห็นไหมว่ากรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน นี่ใครหลงมากหลงน้อยไง หลงไปในกระแสของโลก หลงไปเรื่อยๆ เหมือนสัตว์ไม่มีเจ้าของไง

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าถึงรัตนตรัย ถึงจริงรึเปล่า ถ้าถึงรัตนตรัยจะไม่ตื่นกับกระแสโลกจนเกินไปจนไม่ต้องประสบความทุกข์เร่าร้อนจนปัจจุบันนี้ไง ปัจจุบันนี้มีความทุกข์กันมาก เพราะเป็นสภาวะตามความเป็นจริงมากระตุกไง เป็นชาวพุทธไม่สามารถเข้าใจ เป็นชาวพุทธไม่มีสติสัมปชัญญะการดำรงชีวิตแบบชาวพุทธ ต้องให้สภาวะตามความเป็นจริงเศรษฐกิจถดถอยนี้มากระตุก กระชากกลับไง กระชากกลับมา เห็นไหม

ขณะปัจจุบันนี้เขาบอกกันว่า การต้องกลับไปใช้เศรษฐกิจดั้งเดิมตามความเป็นจริง ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัย แม้แต่ปัจจุบันนี้เวลาตกทุกข์ได้ยากขึ้นมา ของที่มีอยู่ บ้านของตัวเองยังรักษาไว้ไม่อยู่ ต้องขายทิ้ง ต้องขายทิ้งเพื่อกลับไปอยู่ในที่ที่ว่าตามสถานะของตัวเองจะอยู่ได้ไง สถานะตามความเป็นจริงนี้มันเป็นสถานะที่การหลอกลวงไง กระแสของโลก

นี่โลกล้วนๆ เลย โลกสร้างขึ้นมา โลกปั่นขึ้นมา โยนกันไปโยนกันมาให้เป็นระบบเศรษฐกิจขึ้นมา แล้วเราก็หลงกันไป เห็นไหม โลกนี้เป็นสมมุติอยู่โดยธรรมชาติ ตามความเป็นจริงอยู่แล้ว ยังทำให้สมมุติซ้อนขึ้นไปอีก ปั่นกันขึ้นมาให้เป็นกระแสเศรษฐกิจขึ้นไปไง แล้วเรา ชาวพุทธที่ไม่มีหลักของใจ ไม่รู้สภาวะตามความเป็นจริงตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ไง

ก็ตื่นเต้นไปกับเขา เห็นไหม ต้องมีปัจจัยที่ ๕ ต้องมีปัจจัยที่ ๖ ปัจจัยที่ ๘ ปัจจัยที่ ๑๐๐ นู่นน่ะ ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัยก็ต้องมีปัจจัยที่ ๕ ต้องมีรถมีรา แล้วเวลาพอถึงเศรษฐกิจมันตก รถกับบ้านจะรักษาสิ่งใดไว้ก่อน มีความทุกข์ไหม แต่ถ้าเป็นความทุกข์เมื่อก่อน เห็นไหม ต้องตามเขาให้ทัน ต้องตามกระแสนั้นให้ทัน ในเมื่อโลกนี้เป็นสมมุติอยู่แล้วยังต้องมีสมมุติซ้อนสมมุติขึ้นมาแล้วเราก็วิ่งเต้นเผ่นกระโดดกันเหมือนกับสัตว์ไม่มีเจ้าของไง

สัตว์ไม่มีเจ้าของ ไม่มีหลักของใจ ไม่ใช่ชาวพุทธตามความเป็นจริงไง มันไม่มี มันเป็นพุทธแต่ไม่รู้ว่าพุทธตรงไหน ตื่นไปกับสมมุติโลก ตื่นไปๆ จนถึงว่าสภาวะกระตุกกลับมาถึงว่าต้องกลับบ้านเดิม ต้องกลับไปอยู่ในชนบท ต้องกลับไปอยู่ตามความเป็นจริงของปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัย ต้องลงไปทำมาหากินกันขึ้นมา พื้นฐานขึ้นมาใหม่ เห็นไหม นั่นล่ะเพราะเราไม่เข้าใจ หรือเราวิ่งเต้นเผ่นกระโดด

แต่ในสภาวะสังคมแบบนั้น ถ้าผู้ใดมีหลักยึดตามความเป็นจริง ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้เป็นชาวพุทธไง ชาวพุทธรู้จักอ่อนน้อม รู้จักถ่อมตน รู้จักเจียมตัวไง ไม่ทำเกินสถานะของตามความเป็นจริงของตัวไง คนคนนั้นก็จะต้องมีสิ่งที่เก็บหอมรอบริบไว้ ช่วงนี้เป็นช่วงโอกาสทองเลย ที่คนที่มีเก็บหอมรอบริบไว้ คอยช้อนซื้อของที่ถูกๆ ที่ว่า

เพราะเขาสร้างกันขึ้นมาให้เป็นกระแสของโลก มีบ้านหลักที่ ๑ มีบ้านหลังที่ ๒ ที่พักตากอากาศ มีบ้านหลังที่ ๓ หลังที่ ๔ ถึงเวลาจริงๆ เข้าฟองสบู่มันแตกเอาไว้ไม่อยู่ เขาก็ต้องปล่อยทิ้งไป เห็นไหม ผู้ที่มีความเก็บหอมรอบริบ รู้จักอดออม ตอนนี้ก็ได้ ได้ประโยชน์ ได้ประโยชน์เลย

ถึงบอกว่า ใครมีหลักมาก ไม่ตื่นไปตามกระแส คนนั้นจะได้ประโยชน์ในช่วงเหตุการณ์แบบนี้ แต่คนที่ตื่นเข้าไป คว้าเข้าไป ช่วงนั้นคนนั้นจะเดือดร้อนมาก นี่ถึงวัดกันในหัวใจไงว่าคนไหนมีเนื้อหาของแก่นสารของพุทธศาสนาอยู่ในหัวใจ มีธรรมในหัวใจ คนนั้นจะมีความเดือดร้อนน้อยกว่าคนที่ว่าเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของ ถึงต้องให้สภาวะตามความเป็นจริงกระตุกกลับมา กลับมา กลับมาใช้ให้เป็นชาวพุทธแท้ไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนถึงว่าให้มีปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัยของการเป็นมนุษย์ ทำไมเจ้าชายสัทธัตถะมีอยู่พร้อม ทำไมไม่ตื่นไปกับสิ่งเหล่านี้ ทำไมออกบวชได้ เห็นไหม ชีวิตที่เป็นแบบอย่าง ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะชุ่มอยู่ทั้งหมดเลย ชุ่มอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ พร้อมไปหมด แม้แต่จะกินอาหารยังมีเครื่องประโคม มีดนตรีทำให้เคลิบเคลิ้มอยู่ ทำไมไม่เคลิบเคลิ้มไปกับปัจจัย ๔ ที่เป็นความประณีตนั้นล่ะ

จะบอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสร้างบารมีมาก็ถูกต้อง สร้างบารมีมา สร้างบุญกุศลมาจนจะต้องมาตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ชีวิตที่เป็นแบบอย่าง เราต้องยกชีวิตที่เป็นแบบอย่างเป็นครูของเราสิ นี่จะหลุดพ้นออกมา หลุดพ้นออกจากความเป็นคฤหัสถ์ ออกมาเป็นนักบวช ยังต้องแสวงหา ยังต้องไปแสวงหาอยู่อีก ๖ ปี

อันนี้ก็เหมือนกัน เราต้องดูที่หัวใจของเรา หัวใจของเรา หัวใจของเรา เรากลับมาอยู่ในบ้านเดิม กลับมาอยู่ในสถานะตามความเป็นจริงในเรื่องของปัจจัย ๔ ใช่ไหม อันนั้นเป็นสภาวะของความเป็นอยู่ของมนุษย์

แต่การกลับมาของหัวใจ เจตนา เจตนาที่ส่งออกไป ความคิดฟุ้งซ่านที่ส่งออกไป เราต้องดึงกลับมา จากเจตนาต้องดึงกลับมาที่ใจ เจตนา ความคิด เจตนา เจตสิกที่ส่งออกไปจากพลังงานของใจ เราจะทำความสงบก่อน มันก็ดึงใจ ดึงอาการของจิตทั้งหมดกลับมาอยู่ที่ใจ

มันเหมือนกัน ต้องกลับมาอยู่ในสถานะตามความเป็นจริงก่อน สถานะตามความเป็นจริงแล้ว ตามความเป็นจริงนั้นถึงจะเป็นต้นทุนไง เป็นหลักความเป็นจริงว่าเราเกิดเป็นมนุษย์มีกาย กับมีหัวใจ ความเดือนร้อน ความทุกข์ รวมลงแล้วต้องไปสะสมไว้ที่ใจ ถึงว่า คนถึงเกิดมา กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน ต่างๆ กัน บุญบารมีถึงไม่เหมือนกัน

“องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสร้างสมบารมีมานี่ เราไม่ได้สร้างสมบุญบารมีมา เราถึงได้ต้องทนทุกข์ยากอยู่นี่ไง” อันนั้นเป็นการกิเลสมันพูด ความคัดค้าน ความต้านทานของกิเลสในหัวใจนะไม่ใช่ใจ กิเลสอยู่ที่หัวใจ มันขัดค้าน มันตะแบงจะให้การทำคุณงามความดี หรือจะให้เราเข้าไปใกล้ถึงความเป็นสุข ตามสุขเนื้อแท้นั้นให้ออกไปจากตรงนั้น นี่กิเลสที่อยู่ในหัวใจมันพยายามผลักไสออกมาให้เราพ้นจากคุณงามความดีทั้งหมด

คุณงามความดี เริ่มต้นนะ แค่กลับเข้ามาถึงสถานะเดิม ต้องกลับมา เวลาเศรษฐกิจทางโลก เราอยู่ทางโลกทางมนุษย์ ยังต้องกลับไปอยู่ตามความเป็นจริงไง ปัจจัยพื้นฐานการเกษตรขึ้นมาตามความเป็นจริง คือของกินของใช้ ของอยู่ของอาศัยไง หัวใจที่กลับมาเป็นปกติของใจก็ดึงจิตทั้งหมดกลับมาที่ใจ คือทำความสงบใจ กำหนดพุทโธๆๆ ทำจิตให้สงบ จิตมันฟุ้งซ่านออกไป มันไปกว้านออกหมด กว้านทุกอย่างมารู้หมด มันถึงทำให้จิตนี้ไม่สงบ ความที่ไม่สงบเพราะอะไร

เพราะมันไม่มีการบังคับด้วยสติ ไม่มีเจตนาความจริงจังว่าเราจะทำใจให้สงบ ต้องดึงกลับมา เหมือนกัน เหมือนกับสภาวะที่ฟองสบู่แตกนี่แหละ ทำไมฟองสบู่แตกถึงเข้าใจล่ะ? ก็เพราะว่าความเป็นจริง สถานะความเป็นจริงที่มันอยู่ไม่ได้ด้วยกระแสของสมมุติ สมมุตินี้มันอยู่ไม่ได้ มันแปรสภาพตามความเป็นจริงอยู่แล้ว แต่เราไม่เข้าใจมัน เราไปสร้างขึ้นมาเพื่อจะหลอกกันเองไง

ใครที่มีปัญญาก็ได้ฉลาด คนฉลาด คนมีปัญญา คนนั้นจะได้ประโยชน์ หลอกให้คนโง่เข้ามาเป็นเหยื่อ ขณะที่เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ทุกคนต้องวิ่งเข้าไปหาศูนย์กลางของอำนาจไง ต้องเป็นที่ตลาดการเงิน ศูนย์กลางของการตัดสินใจ ผู้ที่เข้าไปเก็บหรือจับข้อมูลภายในได้ ผู้ที่ตัดสินใจซื้อแลกขายก่อน คนนั้นจะได้ประโยชน์ เห็นไหม แมลงเม่าวิ่งเข้าไปนะ เป็นเหยื่อเขาทั้งหมดเลย

ไปหมุนคนที่มีปัญญานั้นมาเป็นฐานของเขา ทุกข์ยากขนาดไหนที่แมลงเม่าอุตส่าห์เก็บหอมรอมริบแล้วเข้าไปเป็นเหยื่อของผู้ที่เข้าไปถึงจุดศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารน่ะ เวลาเศรษฐกิจมันขาขึ้น ขาขึ้นที่ว่าขึ้นๆ กัน นั่นคือปั่นกันเข้าไป ความโง่และความฉลาด อยู่ในสังคมของกระแสนั้น เขามีผลประโยชน์กันอยู่ในนั้นทั้งหมด

ไอ้หัวใจเรานี้ก็เหมือนกัน มันคิดว่ามันจะได้เปรียบตลอดเวลา คิดว่ามันจะรู้ไง มันถึงกว้านเอาเข้ามา กว้านเอาอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่มันเคยรู้ เอามาฟุ้งมาซ่าน มาปรุงมาแต่งอยู่ในหัวใจ มันถึงไม่ได้กลับไปอยู่ในที่เดิมไง จิตนี้ก็เดือดร้อนไปสิ พยายามจะทำจิตให้สงบขนาดไหนมันก็ไม่สงบ เพราะมันไม่กลับไปอยู่ในสถานะตามความเป็นจริง

ตามความเป็นจริง จิตนี้ก็คือพลังงานตัวหนึ่งเท่านั้น กิเลสที่ทำให้ฟุ้งซ่านออกไปเพราะความจำได้หมายรู้ อุปาทานการยึดมั่นถือมั่นในรูป รส กลิ่น เสียงต่างๆ แล้วเราควบคุมไม่ได้ พอเรายิ่งหลับตาลง หลับตาลงหมายถึงว่า เรารวมลงเท่าไร เด็กน่ะ ถ้าปล่อยวิ่งเล่นมันจะลืมตัว มันจะสนุกเพลิดเพลินไปประสาของเด็ก เด็กจะอยู่ของเขาได้ แต่ถ้าเราจับเด็กให้นั่งปกติ หรือจับเด็กให้นอนน่ะ ต้องหลอกต้องล่อกันทุกวิถีทางเพื่อจะให้เด็กนั้นพอใจหรือให้เด็กนั้นยอม แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ยอม

เห็นไหม การพักผ่อนของเด็กนั้น ทำให้เด็กคนนั้นร่างกายสมบูรณ์ แล้วจะได้เจริญเติบโตต่อไปเพราะมันไม่อ่อนเพลีย นี่ก็เหมือนกัน หัวใจที่ทำใจให้สงบมันจะเข้ากลับไปทำให้เป็นพื้นฐาน แล้วใจนั้นมันจะสงบเข้าบ่อยๆ จนเป็นสมาธิจนจิตตั้งมั่นไง ถ้ามันกลับมาตรงนี้แล้วมันกลับเป็นประโยชน์ แต่กิเลสมันบอกว่า “ไม่ใช่ กลับไปตรงนั้นแล้วเสียเวลาเปล่า นั่งสมาธิทำใจให้สงบ ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย สู้เราคิด เราใช้ปัญญาปรุงแต่งออกไปนี่เราจะได้ประโยชน์มหาศาล เราจะคิดอะไรก็ได้” เห็นไหม กิเลสมันหลอกขนาดนั้นน่ะ

เหมือนกับข้างนอกที่สมมุติที่เขาหลอกกัน แมลงเม่าวิ่งเข้าไปโดนเขาเผาไฟ จนปีกเปิกไหม้หมดก็ยังดิ้นเข้าไปหาน่ะ อันนี้คือกิเลสไง เหมือนกับเราเหมือนกัน เหมือนกับจิตที่มันไม่สงบนี้ก็เหมือนกัน มันไม่สงบเพราะว่าอันนี้คือกิเลสมันยุมันแหย่ กิเลสในหัวใจเรามันยุมันแหย่ในหัวใจเรา เราไม่รู้ตัว เราไม่เข้าใจไง เราว่าเป็นเราๆ คนทุกคนว่าเป็นเรา เป็นความคิดเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา เราเลยพันกันอยู่ตรงนั้น แก้ไม่ออกไง

พระพุทธเจ้าถึงสอนให้กำหนดพุทโธ ศีล สมาธิ ปัญญาไง การปฏิบัติต้องมีศีลพร้อมก่อนใช่ไหม ศีลคือการปกติของกาย แต่มันไม่ปกติของใจ เพราะเริ่มมีการบังคับ เหมือนเด็กมันจะเริ่มดิ้นแล้ว พอทำเข้าบ่อยๆ ตั้งตรงใจเข้า กำหนดพุทโธๆๆ มีความมุมานะตรงนี้ไง มันก็เหมือนกับเรากลับไปที่พื้นฐานนั้น ฟังสิ! กลับไปที่พื้นฐานเดิม กลับบ้านเรา กลับไปหัวใจของเรา กลับไปหาตนเองนั่นน่ะ

กลับไปหาตนเอง ตนเองก็เหมือนกับเศรษฐกิจตอนนี้ เห็นไหมที่แก้ไขไม่ได้เพราะเศรษฐกิจนี้ยังไม่ลงถึงก้นบึ้งไง ยังไม่ลงถึงจุดต่ำสุดไง จุดต่ำสุดถึงจะเริ่มต้นไต่ขึ้นมาเป็นระบบเศรษฐกิจรอบใหม่ หัวใจไม่ตกลงมาถึงสมาธิ หัวใจไม่ถึงพื้นฐานของใจไง มันก็วนอยู่อย่างนั้นน่ะ ลงมาก็ยังลงสงบ ถ้าจะสงบเข้าไปก็สงบแบบไม่ถึงฐาน ไม่มีกำลังไปทั้งหมดเลย นี่การประพฤติปฏิบัติมันเป็นแบบนั้น ทำไมเราถึงไม่ได้ประโยชน์ในการที่ว่าเราประพฤติปฏิบัติไง

ดูสิ เวลาเราเห็นระบบเศรษฐกิจ เห็นความเป็นไป ทุกคนเศร้าใจนะ ทุกคนเศร้าใจว่าไม่น่าเป็นอย่างนี้ ทำไมมันเป็นไปได้ ทั้งๆ ที่ว่าเราเป็นชาวพุทธ แล้วเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ประเทศไทยก่อนนะ มันลามไปทั้งโลกเลย ลามไปหมดเลย เพราะว่าเราเผลอกันมาก เราเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของกันมาก หัวใจนี้เป็นสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ วิ่งเต้นเผ่นกระโดดตามกระแสของเขาไป มันถึงไม่ใช่ชาวพุทธตามความเป็นจริงไง

ถ้าเป็นชาวพุทธตามความเป็นจริง มันใช้ปัจจัย ๔ ตามความพอดีของตัว มันไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อขนาดนี้ มันไม่สมกับกิเลส กิเลสมันยุแหย่ไง นี่เหมือนกันเลย หัวใจที่ว่าเป็นชาวพุทธนะ ชาวพุทธเราในประเทศไทยนี่ ๖๐ กว่าล้านคน ทั่วโลกเขาก็ว่ามีเกือบพันล้าน เฉพาะชาวพุทธนี่ แล้วประพฤติปฏิบัติกันได้ขนาดไหน อ่อนแอที่สุดคือชาวพุทธน่ะ เพราะพระพุทธเจ้าสอนให้มีอิสระไง ให้คิดเอาเอง ให้พอใจแล้วปฏิบัติ

เพราะการประพฤติปฏิบัตินี้มันเกิดขึ้นที่ใจ ความสุขและความทุกข์ ใจนี้เป็นสำคัญ ใจนี้สำคัญกว่าร่างกาย นี้เราไปมองกันแต่วัตถุๆๆ ไง ว่าคนที่เป็นชาวพุทธต้องมีเครื่องประดับ มีเกียรติยศมีเกียรติคุณ ไปมองตรงนั้น ไม่ได้มองว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วมีอะไร? มีผ้า ๓ ผืน กินอาหารวันละมื้อเดียว นอนแต่พอสมควรเท่านั้น หัวใจนี้เป็นพระอรหันต์ มีความสุข ไม่มีความทุกข์ใดๆ เจือปนแม้แต่นิดเดียวเลย

มีบริขาร ๘ มีผ้า ๓ ผืนเท่านั้น แต่หัวใจประเสริฐ เห็นไหม นั่นล่ะ ชาวพุทธอยู่ที่ตรงนั้น ไม่ใช่ว่ามีวัตถุมากแต่เป็นขี้ข้า เป็นหนี้มหาศาล ไม่ใช่ ชาวพุทธถึงมองกันที่ผิดไง หัวใจที่เป็นความสุขแท้ หัวใจที่จะเป็นหัวใจของชาวพุทธว่าเป็นธรรมไง ธรรมที่ใจ ใจกระทำ ใจกับธรรมเป็น เอโก ธมฺโม เป็นหนึ่งเดียว ใจเป็นธรรม ธรรมเป็นใจนะ เป็นอันเดียวกันแล้วมีความสุขมากมหาศาล มันเป็นหลัก เป็นแก่น เป็นเป้าหมายของชาวพุทธทั้งหมดเลย แล้วชาวพุทธที่เป็นพันๆ ล้านนี่ปฏิบัติกันอย่างไร มันมีกี่องค์ที่สำเร็จสิ้นถึงใจกับธรรมเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้น ใจถึงสำคัญ

แต่เวลาพูด กิเลสมันพูดมันต้องเถียงตลอด มันต้องมีกินมีใช้ มันต้องมีอย่างนั้นถึงจะมาปฏิบัติ คนนี่ต้องมีกินมีใช้ก่อน เหลือเฟือแล้วค่อยมาปฏิบัติ แล้วประเทศไทยตอนนี้จะเอาอะไรมาปฏิบัติล่ะ ในเมื่อไม่มีเลย เป็นหนี้เขาจนเป็นลบขนาดนั้นน่ะ ทำไมทำกันได้ล่ะ

เพราะกิเลสมันอ้าง ความคิดในหัวใจมันอ้างไว้ตลอด มันผลักไสไม่ให้อยู่ในปัจจุบันธรรม ปัจจุบันในการประพฤติปฏิบัติไง มันอ้าง มันไส มันถึงว่ามันตื่นกระแสไปกับเขาให้เขาหลอก มันก็ยังน่าน้อยใจว่า ก็เต็มใจให้เขาหลอก ก็เป็นเหยื่อเขาจนได้น่ะ นั่นเป็นวัตถุ มันเป็นสมมุติ มันเป็นแค่เครื่องอยู่อาศัย แม้แต่กายนี้ยังไม่ใช่เราเลยนะ แล้วนับประสาอะไรกับวัตถุนอกกายนั้นมันจะเป็นของๆ เรา ทำไมไปเห่อกับเขานั่นน่ะ ถึงว่าไม่เคยเจอความสุขแท้ไง เจอความสุขจอมปลอม เขายื่นมาให้ พอเขาชักกลับ ทุกคนก็สิ้นท่า

ถึงว่า ไม่เชื่อเขา ไม่ตื่นตามกระแส ถึงต้องกลับมาเป็นเศรษฐกิจพอเพียง กลับมาเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม เห็นไหม ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัย สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาถ้าเป็นชาวพุทธก็ใช้ ชาวพุทธนี้ไม่ใช่โง่ ชาวพุทธนี้มีปัญญา ขนาดชำระกิเลสได้ทำไมไปโง่กับสิ่งที่ว่าเป็นวัตถุล่ะ สิ่งที่เป็นวัตถุเป็นคอมพิวเตอร์ จะเป็นอะไรที่มันเครื่องยนต์กลไกของโลกก็ใช้เป็น ก็ใช้ได้ ถ้าใช้เป็นประโยชน์ แต่ถ้ามันไม่จำเป็นต้องใช้น่ะ มันไม่จำเป็นต้องใช้ มันยังไม่ถึงเวลาใช้ เราจะไปขวนขวายมาใช้ก่อน ก็ใช้โดยการเป็นหนี้ ถึงที่สุดแล้วก็ไม่มีปัญญาจะใช้เขาไง

อันนั้นมันเป็นเรื่องของข้างนอก นี้เปรียบเทียบเรื่องของใจที่ว่ามันไม่สงบเพราะเหตุนั้น เห็นไหม ดึงกลับมา ดึงกลับมาให้ดูความเป็นไปของใจตัวนี้ อารมณ์ที่ส่งออกไปมันก็เหมือนกับที่ว่าชาวโลกเขาตื่นวัตถุนั่นล่ะ เพราะมันไม่เห็นพิษเห็นภัยไง กามคุณ ๕ เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ความคิด ความคลุก ความคิดความผูกพันในกามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นคือกามคุณ ๕

แล้วหัวใจนี่ มันบ่วงของมาร เครื่องล่อ มันบ่วง มันพวงดอกไม้ที่ล่อใจออกไป แต่ใจกับสิ่งนั้นมันเคยเป็นเนื้อเดียวกัน มันถึงปล่อยวางสิ่งนั้นไม่ได้ มันถึงไม่สงบ มันถึงย้อนกลับมาถึงใจของตัวไม่ได้ ไม่ย้อนกลับมาถึงความสงบอันนั้นไง

เสมือนที่ว่าเขาออกไปถึงศูนย์กลางอำนาจของการเงิน พอถอยกลับมาถอยไม่ลงนะ เวลาอุตส่าห์จะกระโดดโลดเต้นขึ้นไปจนถึงจุดศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสาร แล้วกว่าจะทิ้งมาเฉยๆ มันทิ้งไปได้อย่างไร กว่าจะตะเกียกตะกายขึ้นมานี่ใช้ชีวิตทั้งชีวิต อายุ ๕๐-๖๐ แล้วถึงจะมาถึงตรงนั้น แล้วจะตกงานกลับไป จะเอาอะไรไปใช้ อะไรเป็นเครื่องอยู่เครื่องอาศัย

อันนี้ก็เหมือนกัน มันเป็นกิเลสกับใจนี้มันซ้อนกันมา มันซับกันมา ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติแล้ว มันเป็นเนื้อเดียวกัน มันเลยไม่ยอมปล่อยวางไง แต่เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแล้วบอก ตรงนี้เป็นพื้นฐาน จิตต้องเป็นสมาธิก่อน ต้องตัดออกจากโลกียารมณ์ ถ้าจิตเป็นโลกียารมณ์ ปัญญาจะคิดขนาดไหน จะมีปัญญา จะมีเกียรติคุณขนาดไหน มันก็เป็นเรื่องของสมมุติทั้งหมด ต้องกลับมาตรงจิตตรงนี้ ให้จิตนี้เป็นสมาธิ ปล่อยวางโลก โลกียะทั้งหมด แล้วค่อยกลับมาพิจารณาปัจจัย ๔ ตามความเป็นจริงของมัน

เราพึ่งตัวเองกันไม่ได้ เราตกทุกข์ได้ยาก เรากลับไปอยู่บ้านเรา เราก็ต้องการ...รัฐบาลต้องการผู้ที่มีอำนาจ ต้องการความเป็นธรรม ต้องการให้อยู่อาศัยได้ ฟังนะ ขนาดกระทรวงแรงงาน กรมประชาสงเคราะห์จัดงบประมาณให้เป็นหมื่นๆ ล้านเลย เพื่ออะไร? เพื่อให้คนมีอาชีพ อาชีพคืออะไร? อาชีพคืออาหาร ก็ยังมีการทุจริต เห็นไหม แม้แต่เครื่องอยู่อาศัย แม้แต่ยารักษาโรค ๑,๔๐๐ ล้านนะ ก็ยังใช้กันกี่ส่วนเปอร์เซ็นต์น่ะ

เห็นไหม เราหวังพึ่งความเป็นธรรม มันก็ยังมาโกงมากินกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ว่าเราหวังพึ่งอาศัย ทั้งๆ ที่รู้นะ ทั้งที่รู้ว่าขณะนี้เราต้องเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ต้องกลับไปอยู่ตามความเป็นจริง แต่เวลากลับมาแล้วจะมาหวังพึ่งเขาบ้างก็ยังมีการโกง มีการทุจริต นั่นคือเรื่องของกิเลสทั้งหมดเลย

จิตที่มันสงบเข้ามา จิตที่กลับมาพื้นฐาน นี่ความหลงในความเห็นของตัว จิตสงบจะเกิดนิมิต จะเกิดความเห็น จะเกิดธรรมแสดงออก เราก็ตื่นออกไปอีก เห็นไหม แม้แต่จิตเราสงบ ก็เหมือนเรากลับมาแล้วเราจะพึ่งสภาวธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลาย ธรรม ธรรมทั้งหลาย สมาธิธรรม สมาธิกว่าเราจะกำหนดให้เป็นความสงบได้ ว่าความสงบนี้มันปล่อยออกมาจาก รูป รส กลิ่น เสียง ปล่อยออกมาจากบ่วงแห่งมาร ทำจิตนี้ให้สงบเข้ามา เรากลับไป จากจิตกลับไปอยู่ที่ใจ เราว่ามันจะถึงว่าเป็นพื้นฐานแล้วมันจะได้อาศัยตัวเอง มันก็ยังมีกิเลสมาหลอกอีก เห็นไหม ต้องยกขึ้นวิปัสสนา มันหวังพึ่งใครไม่ได้ไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ธรรม วิธีการ เราตถาคตเป็นผู้บอก เป็นผู้ชี้ ผู้ที่จะชำระกิเลส ผู้นั้นต้องปฏิบัติ แล้วธรรมต้องขวนขวายขึ้นมาเอง” ในทำนองเดียวกัน เรากลับไปอยู่ในชนบท เราหวังพึ่ง หวังพึ่งที่นั่น หวังพึ่งที่นี่ แล้วมันพึ่งได้ตามความเป็นจริงไหม เขาเอาเรานี้เป็นเหยื่อ ตั้งงบประมาณขึ้นมาแล้วก็หลอกกินกันอีก

อันนี้ก็เหมือนกัน จิตเราว่าเราสงบ เราทำจิตให้สงบ เราว่า “จิตนี้สงบแล้วมันจะรู้ธรรมเอง มันจะตรัสรู้เอง พอจิตนี้สงบแล้วจะเกิดปัญญา พอจิตนี้สงบ พอน้ำใสจะเห็นตัวปลา” เราคิด เราคิดน่ะ เพราะกิเลสเรายังไม่ได้ชำระ พอเราคิด เราคาด เราหมาย มันก็จะเป็นอย่างที่ว่า ตั้งงบประมาณขึ้นมานะ แล้วก็กินกันเอง จิตมันสงบก็เกิดนิมิตไง โอ้! เกิดนี่มิตนึกว่าตรัสรู้แล้ว รู้ธรรมแล้ว

รู้นะ เพราะอะไร เพราะใจมันสงบ มันได้ดื่มด่ำ ดื่มด่ำรสของสมาธิธรรม มันจะเวิ้งว้างนะ แต่ถ้าไม่กลับมายกขึ้นวิปัสสนานะ จะตั้งงบประมาณขึ้นมา งบประมาณก็ธรรมของพระพุทธเจ้าไง ธรรมอันนี้พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วนะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ข้ามพ้นได้ มันก็ตั้งขึ้นมา แล้วมันก็โกงกินขึ้นมาเองไง ว่าเป็นไปตามนั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมเลย

จิตนี้สงบแล้วต้องพยายาม พยายามนะ ไม่ให้ใครเข้ามายุแหย่ ไม่ให้กิเลสเข้ามายุแหย่ ไม่ให้กิเลสเข้ามาแบบว่า “ตั้งงบประมาณแล้วนะ ๑,๔๐๐ ล้านนะ แล้วเราจะแบ่งกันอย่างไร” เห็นไหม เหมือนกัน จิตนี้สงบแล้ว ไม่ใช่ว่าพอดื่มด่ำในอารมณ์ของความว่าง ในรสของสมาธิ ก็ว่าอันนี้เป็นผลของเราไง

เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมตามความเป็นจริง จิตมันว่างกับอารมณ์ จิตมันปล่อยวางนั่นน่ะ แต่กิเลสมันก็มายุว่าอันนี้เป็นของของเราไง มันจะเป็นของเราได้อย่างไร มันเป็น สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายต้องแปรสภาพทั้งหมด แม้แต่สมาธินี้ก็ต้องแปรสภาพไปทั้งหมด เพราะจิตนี้ไง จิตนี้วนเข้าไปในรูปอารมณ์ของจิต มันยังไม่ได้ชำระกิเลส

ต้องชำระกิเลสหมายถึงว่า เชื้อที่อยู่ในหัวใจนั้น ให้มีความเป็นธรรมตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงต้องพิจารณากาย เวทนา จิต หรือธรรม ให้พลังงานตัวที่พิจารณานั้นมันปล่อยวางตรงนี้ออกมา ตรงนี้เพราะอะไร เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม กับใจดวงนั้นมีกิเลสนี้เป็นยางเหนียว เป็นเครื่องสมานกันไว้ เป็นเครื่องสมาน เป็นการเห็นแก่ตัว เป็นการคิดอยากใหญ่ เป็นการกว้านทุกอย่างสมบัติมาเป็นของตัว

ในเมื่อเราอยู่ในเหตุการณ์ เราอยู่ในสถานะกลางทะเลทราย เราต้องหวังมีน้ำตุนเอาไว้เพื่อจะเอาไว้ดื่มกิน เพื่อจะให้ผ่านพ้นจากทะเลทรายนั้นไปได้ เห็นไหม เรามีความต้องการ ขณะที่จิตมันสงบมันก็เหมือนกัน ความที่เป็นตน เป็นเรา เป็นอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น มันอยู่ตรงนั้นทั้งหมด เวลามันเข้าไปถึงตรงนั้นแล้วมันก็จะทุจริต มันจะโกง กิเลสมันเป็นอย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน

แล้วมันถึงจุดที่ว่า เราตั้งงบประมาณขึ้นมา แล้วเราจะเจือจานเขาไปตามความเป็นจริง ให้ออกไปตามเนื้อผ้าเลย มันผ่านเข้ามาถึงตัวเรามันก็อยากได้ นี่ก็เหมือนกัน พอจิตสงบขึ้นมาปั๊บ มันจะยึดอันนั้นเป็นของเราเลย ทั้งๆ ที่เป็นมรรคองค์สุดท้ายไง สัมมาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ มรรคอริยสัจจัง มรรคคือองค์ ๘ ไง มรรคะ ทางเดินไง ทุกข์ สมุทัย นี่โรธ มรรค มันเป็นอริยสัจ

แค่สมาธิธรรมเป็นหนึ่งในมรรค ๘ เห็นไหม อยู่ในอริยสัจ อยู่ในมรรค ๘ อันสุดท้ายนั่นน่ะ มันเป็นธรรมของพระพุทธเจ้าที่ว่า วางไว้ว่าอันนี้เป็นพื้นฐาน ทำให้ใจพ้นออกจากโลกียะ ให้ยกขึ้นเป็นวิปัสสนา

อันนี้ถ้าเรารู้สภาวะหรือเรายอมรับ เราต้องก้มหน้าก้มตาเพื่อตน ยกตนของตนให้พ้นจากความเห็นแก่ตัว ความยึดมั่นถือมั่น ความจะทุจริต เอาธรรมของพระพุทธเจ้าโดยยึดมาก่อนไง เอาอนาคต เอาสิ่งที่ว่ายังไม่ถึง มาเป็นของตนในปัจจุบันนั้น มันก็เป็นการทุจริต

อันนี้ก็เหมือนกัน ความเห็นของเราน่ะ มันยังไม่เห็น ต้องทำจิตให้สงบแล้วปล่อยวางให้หมด ถ้าไม่เห็นกายให้นึกขึ้นมา แต่เวทนาจะเห็นขึ้นไป เวลามันสุขนะ มันมีความพอใจ มันว่าง อันนั้นไม่ต้องปฏิเสธ เรากินข้าวนี่ความอิ่มนั้นเป็นธรรมชาติ เรามีอาหารกิน เรามีอาหารกินเข้าไปตกถึงกระเพาะ ความอิ่มเป็นโดยธรรมชาติเลย

ถ้าจิตนี้มีความสงบ มีความสุข อันนั้นเป็นธรรมชาติของการประพฤติปฏิบัติ เราไม่ปฏิเสธ ปล่อยให้จิตนี้ลงสงบไปตามความเป็นจริงเลย เห็นไหม อันนั้นถึงว่า มันเป็นเนื้อหา เป็นสิ่งที่เราแสวงหามาได้ ไม่ได้ปฏิเสธ เราไม่ปฏิเสธก่อน เพราะจิตนั้นถอนขึ้นมาสิ ถอนขึ้นมาจากสุขแล้ว จากสุขจะเกิดเวทนา เกิดความกระทบ เวทนา จะส่วนใดก็ได้ ถ้านั่งนานจะเจ็บจะปวด ยกขึ้นวิปัสสนา เพราะจิตที่สงบแล้ว ถอนออกมา อันนี้จะมีพลังงาน

เหมือนกับเราตั้งงบประมาณขึ้นมาได้ มันมีพลังงาน เราดูว่าสิ่งใดที่เจ็บ สิ่งใดที่ปวด สิ่งนั้นไม่เป็นตามความเป็นจริง...ไม่ใช่ เพราะว่าเมื่อกี้มันสงบ ทำไมเราไม่เจ็บล่ะ พอถอนออกมาแล้ว คลายออกมาแล้วทำไมมันเจ็บล่ะ ทำไมมันเจ็บ เจ็บนี้ เห็นไหม...

...เพราะขณะที่จะพิจารณานี้ คือตั้งงบประมาณขึ้นมาได้แล้ว พอจิตนี้สงบมันก็ตั้งงบประมาณขึ้นมาได้ มันใช้ประโยชน์นั้นได้แล้วนี่ นี่ก็เหมือนกัน ขณะคิดอันนั้น มันไม่ใช่คิดทีแรก ขณะคิด ขณะพิจารณา ถ้าว่าใช้ความคิดไม่ได้ ต้องใช้คำว่า “พิจารณา” เพราะ...(เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)