เทศน์บนศาลา

กิเลสให้บทเรียน

๒๘ เม.ย. ๒๕๕๗

 

กิเลสให้บทเรียน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจเนาะ ตั้งใจทำความสงบของใจ ถ้าใจเราสงบ เราจะมีที่พักที่พึ่งอาศัย ถ้าใจเราสงบ ถ้าใจเราไม่สงบ เรามีความทุกข์ความยาก เรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อความสงบของใจ ถ้าคนมีสติปัญญานะ ถ้าคนไม่มีสติปัญญา เขาก็หาความสุขทางโลกของเขา ความสุขทางโลก ความสุขทางโลกเขาว่าเป็นความสุขของเขา แต่นั่นเป็นฟืนเป็นไฟทั้งนั้น สิ่งที่เป็นฟืนเป็นไฟเพราะสิ่งที่เขาแสวงหามาว่าเป็นความสุขนั้นมันเป็นปัจจัยเครื่องอาศัย ถ้าปัจจัยเครื่องอาศัย คนใช้มันถูกมันก็ถูกไง ถ้าคนใช้มันผิด ใช้มันกระตุ้นแล้วแต่ความอยากของเรา ทีนี้ความอยากของเรา เราแสวงหามาขนาดไหน มันก็ไม่เป็นความสุขจริงขึ้นมาหรอก เพราะมันเป็นแค่ปัจจัยเครื่องอาศัยเท่านั้น

แต่หัวใจของเราสิ หัวใจของเราถ้ามันมีหลักเกณฑ์ คำว่า “มีหลักมีเกณฑ์” เราตั้งใจ เรามีศรัทธา เราถึงมาประพฤติปฏิบัติกัน ถ้าเราไม่ตั้งใจ เราจะมาประพฤติปฏิบัติไหม เพราะการประพฤติปฏิบัติ นี่โดยกิเลสไง กิเลสบอกว่าถ้าใครประพฤติปฏิบัติ ไปขัดเกลามัน ไปขัดเกลากิเลส สิ่งนั้นเป็นความเดือดร้อน แต่ถ้าทำตามใจของมัน เราจะไปทำอย่างไรก็ได้แล้วแต่กิเลสมันจะขับไส สิ่งนั้นว่าเป็นความสะดวกสบาย ความสะดวกสบายของกิเลสไง ไม่ใช่ความสะดวกสบายของเรา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาสิ่งนี้มาๆ เพราะอะไร เพราะเห็นโทษของมันไง เห็นโทษของมัน แม้แต่สร้างอำนาจวาสนามาขนาดไหน เวลาจะออกบวช เห็นไหม ละล้าละลังๆ สามเณรราหุลเกิดแล้ว จะเข้าไปดูหน้าก็ไม่กล้าเข้าไป ไม่กล้าเข้าไปเพราะมันติดพัน มันจะไม่มีโอกาสได้ออกบวช การออกบวชไปแล้วยังต้องไปแสวงหาทางโลกๆ การที่แสวงหา แสวงหาเพราะอะไรล่ะ เพราะสิ่งที่เราทำอยู่นี่มันไม่รู้ว่าอะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ขึ้นมา อะไรเป็นกิเลสล่ะ กิเลสมันคืออะไร ก็มันความคิดของเราทั้งนั้น ความคิดที่ออกมาจากใจ ความคิดของเรามันจะผิดไปไหนล่ะ ถ้าไม่มีคนหูตาสว่างขึ้นมาชี้บอกว่าอะไรผิดอะไรถูกในตัวของเรา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาสิ่งนั้นมา เห็นไหม ถ้าแสวงหามา แสวงหาเพื่อใครล่ะ? แสวงหามาเพื่อใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มันทุกข์นัก สิ่งที่มันทุกข์นัก คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ละล้าละลังๆ แล้วถ้าแบกรับภาระไป เป็นกษัตริย์ไป มันจะแบกรับภาระไปขนาดไหน ออกแสวงหา ทำงานเฉพาะในหัวใจเรา ทำงานแสวงหาโมกขธรรม ไปประพฤติปฏิบัติกับเจ้าลัทธิต่างๆ นั่นล่ะ กิเลสมันสั่งสอน กิเลสมันอบรม ถ้ากิเลสอบรมมันเป็นแบบนั้น เพราะมันอยู่กับโลกไง ทั้งๆ ที่ทำความดีๆ ความดีของโลกเขา ไม่ใช่ความดีของธรรม

ถ้าความดีของธรรม เห็นไหม การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย มันต้องมีฝั่งตรงข้ามที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ความที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันเกิดมาจากไหนล่ะ มันเกิดมาจากไหนถ้ามันไม่ปฏิสนธิจิต ไม่ลงสู่ครรภ์ ไม่ลงสู่โอปปาติกะ มันไม่มีเชื้อไขพาให้เกิดมันจะเกิดได้อย่างไร ถ้ามันเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เพราะมันเกิด มันถึงแก่ เพราะมันแก่ มันถึงเจ็บ เพราะมันเจ็บ มันถึงตาย แล้วก็เวียนว่ายตายเกิดกันอยู่อย่างนั้น

ถ้าเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่อย่างนั้น เวลาออกประพฤติปฏิบัติ ถ้ากิเลสมันกล่อมเกลาๆ กล่อมเกลาให้เห็นไปตามความเห็นของมันไง แต่ถ้ามีอำนาจวาสนาบารมี ต้องต่อสู้กับสัจจะความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ถ้ามันต่อสู้สัจจะความจริงอันนั้นมันเห็นจริงไง พญามารๆ พญามารพยายามจะไม่ให้พ้นไปจากอำนาจของพญามาร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อสู้มาถึงที่สุด พอถึงที่สุด ทำลาย อาสวักขยญาณทำลายอวิชชาทั้งหมด ถึงชี้หน้ามันได้ไง ถึงว่าอะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นธรรมไง เพราะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาใช่ไหม เราถึงว่าสิ่งนั้นเป็นกิเลสๆ แล้วเรามาศึกษาๆ เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอศึกษาแล้ว ตั้งแต่คนโบราณของเรา ตั้งแต่ปู่ย่าตายายของเรานับถือพระพุทธศาสนา เราก็มาเกิดในสังคมของชาวพุทธ ถ้าสังคมของชาวพุทธมันเป็นประเพณีวัฒนธรรม ถ้าประเพณีวัฒนธรรม นี่ไง มันถึงได้ว่าสิ่งนั้นเป็นกิเลส สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นกิเลสไง

ถ้ากิเลส เราไม่รู้จักมัน มันก็ไม่เป็นประโยชน์กับใคร ไม่เป็นประโยชน์กับใคร เพราะกิเลสมันอยู่กับเรา เราจะกำจัดกันอย่างไรล่ะ แต่ถ้าเรามาศึกษาแล้ว เราเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นกิเลส เพราะในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเพณีธรรมเขาชี้บอกแล้ว สิ่งใดคนพาลๆ คนเห็นแก่ตัวกันต่างๆ สิ่งนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งนั่นล่ะ แล้วสิ่งที่ดี สิ่งที่ตรงข้าม ตรงข้ามที่ไม่เห็นแก่ตัว เราทำอะไรเพื่อประโยชน์กับสังคม ประโยชน์กับเรา ประโยชน์กับทุกๆ คน ถ้าประโยชน์กับทุกๆ คน เห็นไหม คนนั้นเป็นคนดี นั่นก็ดีของโลกไง นี่ความดีของโลก

แต่ถ้าเราทำคุณงามความดีของเราล่ะ ถ้าคุณงามความดีของเรา เราทำคุณงามความดีของเรา เพราะเราไม่มีสติปัญญาใช่ไหม เราถึงไม่รู้ว่าอะไรเป็นดีแท้ ความดีแท้ ดีแท้มันดีในหัวใจไง มันไม่ใช่ดีเพื่อให้สังคมยอมรับหน้าถือตา ถ้าสังคมยอมรับนับหน้าถือตา นั่นโลกธรรม ๘ ถ้าคนที่ขาดสติขาดปัญญา เห็นไหม คนเรานะ เวลาเขาประสบอุบัติเหตุ ถ้าเมาแล้วขับๆ เวลาเขาขับไป สิ่งที่เขาเมาแล้วขับมันผิดศีล ผิดศีลตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มต้นตั้งแต่ดื่มสุรา พอดื่มสุรา ขาดสติ พอขับรถไป ประสบอุบัติเหตุ นี่กิเลสมันให้บทเรียนนะ ถ้ากิเลสมันให้เรียนกับคนคนนั้น ถ้าประสบอุบัติเหตุจนพิการ ชีวิตทั้งชีวิต กิเลสมันให้บทเรียนที่เจ็บแสบมาก คิดแค่ความสุขชั่วคราว ความต้องการปรารถนาชั่วคราว ความคิดอารมณ์ชั่ววูบ ถ้าทำสิ่งใดไป ถ้ามันผิดพลาดไป นี่กิเลสมันให้บทเรียน

ถ้ากิเลสให้บทเรียน เราเสียใจ เราจะเสียใจกับชีวิตของเราทั้งชีวิตเลยนะว่าเราทำผิดพลาดไปๆ กิเลสมันให้บทเรียน ถ้าให้บทเรียนกับชีวิตอย่างนั้น ชีวิตของคนมันได้สตินะ บางคนถ้าตั้งสติได้ เขาจะเป็นคนที่พยายามเป็นตัวอย่าง ว่าเขาเคยประสบอุบัติเหตุมา เขาเคยทำความผิดพลาดมา นี่ไม่ควรทำ เป็นตัวอย่างๆ ให้คนได้สติ ให้คนอย่าพลั้งเผลอ ให้คนอย่าหลงใหลกับอารมณ์ความรู้สึกของตัว

นี่มันขาดสติไง ถ้ามันขาดสติ เวลากิเลสมันให้บทเรียนมันเจ็บแสบนักนะ ถ้ากิเลสมันให้บทเรียนอย่างนั้น ดูสิ เวลาคนเราขาดสติ คนเราไม่มีจุดยืน คบเพื่อน เพื่อนพาไปทางผิด ทำไปจนชีวิตมีแต่ความกระทบกระเทือนไปหมด ถ้าทำสิ่งนั้น ถ้าคิดไม่ได้ มันก็ถลำไปเลย ถลำไปเลยมันก็เป็นเรื่องของมาร เรื่องของคนพาล สังคมของอกุศล สังคมอย่างนั้นมันก็ชักนำไปให้เสียหายไปหมด แต่ถ้าคนได้คิดล่ะ ถ้าคนได้คิด ได้สตินะ มันจะระลึกได้ มันจะเสียใจนะ ถ้าคนเสียใจ เราจะเตือนตัวเองตลอดว่าไม่ควรทำอย่างนั้น ไม่ควรทำอย่างนั้น

แต่เราอยู่ในสังคม ถ้าเราไม่ได้สร้างอำนาจวาสนาบารมีมามาก หมายถึงว่า เรามีจุดยืน ถ้าคนมีจุดยืนนะ เขาจะไม่ฟังเสียงคนชักนำไปทางที่ผิด เขาจะพยายามตั้งสติไว้ จะดำรงชีวิตของเขาให้อยู่ในกรอบในศีลในธรรม อยู่ในกรอบของคุณงามความดี ถ้าคุณงามความดี แล้วคุณงามความดีมันก็มีสิ่งที่เร้าในกิเลสใช่ไหม ในใจมันต้องมีสิ่งเร้าอยากจะทำกับเขา อยากจะเป็นไปกับเขา เพราะเชื้อไขในหัวใจมันมี ถ้าเชื้อในหัวใจมันมี มันไปเจอสิ่งเร้าจากภายนอก รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ถ้าจิตใจมันไม่มีสติไม่มีปัญญา มันไหลตามไปหมดล่ะ

ชีวิตนี้ การที่เรารักษาชีวิตของเราให้เป็นปกติ การรักษาชีวิตของเราให้เป็นมนุษย์ เห็นไหม นี่การเกิด เกิดมาแล้วยังต้องดำรงชีวิตให้ราบเรียบ ดำรงชีวิตให้มีความสุขไป มันจะทำอย่างใด ถ้ามันไม่มีสติปัญญา มันจะมีศรัทธาความเชื่อมาศึกษา มาประพฤติปฏิบัติไหม ถ้ามีสติมีปัญญา มันจะศึกษามาประพฤติปฏิบัติ ถ้าประพฤติปฏิบัติ เพราะอะไร เพราะเรามีอำนาจวาสนาบารมีไง ถ้ามีอำนาจวาสนาบารมี เราจะเอางาน เห็นไหม ความเพียรชอบ ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ เพื่อให้พ้นจากการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย

แต่โลกเขาไม่เชื่อกัน นี่ศรัทธาความจริงกับทางโลกเขานะ นรกสวรรค์เขายังไม่เชื่อเลย นรก สวรรค์มันจะมีจริงหรือเปล่า ในเมื่อเราเกิดมา เราเป็นปัญญาชน เกิดมาในสมัยปัจจุบันนี้ การศึกษา เห็นไหม โลกเจริญๆ โลกเจริญเราก็มีการศึกษากัน เราก็ศึกษาทางวิชาการ ศึกษาวิทยาศาสตร์ทางโลก ศึกษาจนพิสูจน์ไม่ได้ว่านรกสวรรค์มีจริงหรือเปล่า นี่คนเกิด เกิดมาจากไหน ทางการแพทย์เขาพิสูจน์ได้ว่าเกิดมาจากท้องแม่ทั้งนั้นน่ะ เกิดมา ทำกิฟท์ ทำต่างๆ เขาก็พิสูจน์ของเขา ก็ได้แค่นี้ ได้แค่นี้

เวลาเขาศึกษาแล้วมันพิสูจน์ไม่ได้ ก็ว่า “ถ้าเราจะเชื่อเรื่องนรกสวรรค์หรือ เราก็จะเสียศักดิ์ศรีของเรา” นี่กิเลสมันคอยครอบงำอยู่ ถ้าคอยครอบงำอยู่ เวลากิเลสมันให้บทเรียน มันให้บทเรียนเจ็บแสบ เวลามันทำให้เราทุกข์ยาก มันทำให้เราเจ็บทุกข์ยากนัก แต่เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติ เราจะมีสติมีปัญญาศึกษา มีศรัทธาความเชื่อมาค้นคว้าเพื่อชีวิตของเรา มันก็ยังแถออกไป

นี่ไง ทุกอย่างที่เราศึกษามา ถ้ามีสติปัญญา คนที่มีสติมีปัญญา คนที่ศึกษาเป็นคนที่ฉลาด เขาต้องมีคุณธรรมด้วย ถ้าเขามีคุณธรรมนะ คุณธรรมคืออะไรล่ะ ความดี-ความชั่ว ถ้ามันคิดได้ มันรู้สึกได้ มันมีสตินะ มันจะคิดว่าสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ แล้วถ้าพิสูจน์ได้นะ สุข-ทุกข์ที่เกิดกับใจ เวลาเกิดมา ข้าวของเราก็มีสมบูรณ์อยู่แล้ว ทำไมหัวใจเรามันทุกข์ยากอยู่ขนาดนี้ แล้วในพระพุทธศาสนาสอนที่สุดแห่งทุกข์ มันมีความสุข วิมุตติสุข วิมุตติสุขมันเกิดมาจากไหน มันเกิดมาจากไหน มันมีมาอย่างใด แล้วถ้ามันเกิดมาจากไหน มันมีมาอย่างใด มันก็เกิดมาจากหัวใจนี่แหละ เกิดมาจากความทุกข์ความยากในใจ ถ้าความทุกข์ความยากในใจของเรา ถ้ามันไม่มีสิ่งใดพอใจมันสักอย่างหนึ่ง จะหามา ปรนเปรอมาขนาดไหน มันก็เรียกร้องอยู่ตลอดเวลาไม่มีวันพอ แล้วเมื่อไหร่มันจะพอล่ะ

แต่ถ้าเรามาศึกษาๆ มีศรัทธาความเชื่อในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนว่า ถ้ามีสติปัญญายับยั้งความรู้สึกนึกคิดอันนี้ได้ สิ่งที่ถ้ามันมีแต่ความกระตุ้นอันนี้ กระตุ้นให้จิตใจมันโลภอยู่ตลอดเวลา ตัณหาความทะยานอยากมันล้นฝั่งตลอดเวลา มันแสวงหาไม่มีที่สิ้นสุดของมัน ถ้ามันแสวงหาไม่มีที่สิ้นสุดของมัน ทำอย่างไรจะให้มันหยุดได้ล่ะ

ถ้าทำให้มันหยุดได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน สอนเรื่องการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเรื่องอริยสัจ สัจจะความจริง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ามันมีศรัทธามีความเชื่อแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์อริยสัจ แล้วอริยสัจมันอยู่ไหน ค้นคว้าที่ไหนล่ะ ถ้าเราค้นคว้า ศึกษามานี่ศึกษามาเป็นภาคปริยัติ ศึกษามาเป็นความรู้ อย่าให้ศึกษามาเพื่อให้กิเลสมันมาหลอกใช้เรา หลอกใช้ว่า “เราก็มีความรู้ เราก็เข้าใจทุกๆ อย่างแล้ว เราจะต้องไปประพฤติปฏิบัติทำไม”

การที่ประพฤติปฏิบัติส่วนใหญ่แล้วเพราะคิดว่าการประพฤติปฏิบัติมันจะเป็นความทุกข์ เพราะจิตใจเราก็ทุกข์ยากอยู่แล้ว ทำไมเราต้องไปหาความทุกข์เพิ่มเติมให้มากขึ้นไปกว่านั้นอีกล่ะ ถ้าเราศึกษาพระพุทธศาสนา เราต้องมีบุญกุศลสิ ทำสิ่งใดต้องประสบความสำเร็จไปทั้งหมด เวลานั่งสมาธิภาวนาแล้วเราต้องเป็นพระอรหันต์ไปในทันที เพราะกิเลสมันเรียกร้องอย่างนั้น ในวงปฏิบัติบางกลุ่มเขาจะบอกว่า “ลัดสั้นๆ” เขาจะให้ไปทางนั้น ไอ้นั่นมันของเด็กเล่น นี่เล่นปฏิบัติธรรม มันไม่ใช่ความจริง

ถ้าเป็นความจริงนะ การปฏิบัติธรรมเพราะอะไร เพราะในใจของเรา เราก็ไม่รู้จักตัวของเรา แล้วเราจะเอาจริงเอาจังขึ้นมา เราก็ยังไม่รู้ว่ามันจะขึ้นต้นอย่างไร ท่ามกลางอย่างไร แล้วที่สุดอย่างใด แล้วในสังคมๆ เขาบอกลัดสั้น แล้วก็สร้างอารมณ์ขึ้นมา เราก็ไปทำตามเขา มันก็มีกิริยาในการประพฤติปฏิบัตินิดหน่อย มีกิริยาเหมือนกัน

เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านพาปฏิบัติ มันทุกข์มันยาก จนเขาบอกว่า “อู๋ย! ต้องทำขนาดนั้นเชียวหรือ ต้องทำขนาดนั้นเชียวหรือ” นั่นทำจริงไง คนทำจริง เราไม่ให้กิเลสมันให้บทเรียน มันให้บทเรียนเจ็บแสบนะ นี่เราจะให้บทเรียนมัน เราต้องมีสติมีปัญญา ไม่ให้มันมีความรู้สึกนึกคิด มีอำนาจเหนือสติปัญญาของเรา ถ้ามันไม่มีอำนาจเหนือสติปัญญาของเรา เราจะเริ่มประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา ถ้าเป็นความจริงของเรานะ เราจะเห็นหน้ามัน เราจะเห็นหน้ากิเลส เราจะรู้จักมัน ว่า เรารู้จักมัน เรามีกำลัง มีศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อปราบปรามมัน ถ้าปราบปราม มันก็เป็นความจริงขึ้นมาไง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เห็นไหม

ทางโลกเขา เขาจะทำหน้าที่การงานประสบความสำเร็จของเขา เขาต้องมีเหตุมีผลของเขา เขาทำจริงของเขา เขาได้ผลประโยชน์ตอบแทนตามกำลังความสามารถของเขา เขาได้ของเขาจริงๆ ถ้าเขาได้ของเขาจริงๆ เพราะมันมีที่มาที่ไป ถ้ามีที่มาที่ไป ถ้าเขาขาดสติ เขาทำความผิดพลาดสิ่งใดไป เขาจะเสียใจไปตลอดชีวิตเลย แล้วคิดทีไรขึ้นมามันก็มีความเสียใจตลอดเวลา นี่ถ้ามันให้บทเรียนมา เขาก็ต้องตั้งสติ บทเรียนอันนั้นจะเตือนเขา ให้เขาพยายามไม่มีความประมาท ไม่ให้ประมาท ทำให้ชีวิตเขาเสียหายเกินไป ฉะนั้น เวลาเราจะมาประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติตามความเป็นจริง เราจะเข้าสู่สัจจะความจริงเพื่อเราจะเอาความจริง เพื่อเราจะทำลายมัน มันจะต้องมีความละเอียดรอบคอบมากกว่านั้น

งานทางโลกนะ งานทางโลกมีหมู่มีคณะ มีสติมีปัญญา เราบริหารจัดการได้ งานทางธรรมนะ มันอยู่ที่จริตนิสัย อยู่ที่ความจริงของเรา ถ้ามีจริตมีนิสัยนะ เราทำความจริงของเรา เราตั้งใจของเรา ถ้าตั้งใจของเรา เห็นไหม เริ่มต้นเราทำหน้าที่การงานมาก่อน มีเวลาเราก็ฝึกหัดปฏิบัติของเราไป ทีนี้ผู้ที่เห็นภัยในวัฏสงสารมาบวชเป็นพระ ผู้ที่เห็นโทษของมัน เราก็มาประพฤติปฏิบัติกัน

ถ้าเรามาประพฤติปฏิบัติกัน มาประพฤติปฏิบัติ เราตั้งใจของเราเลย ถ้าเราตั้งใจของเรา เห็นไหม ถ้ากิเลสมันให้บทเรียน เวลาปฏิบัติแล้วล้มลุกคลุกคลาน ทำสิ่งใดก็ไม่ประสบความสำเร็จ นี่มันให้บทเรียน บทเรียนอันนี้เราพอใจไหม บทเรียนอันนี้เราปฏิบัติแล้วเราเสียใจนะ ถ้าเราเสียใจ นี่มันให้บทเรียนเรา ถ้าให้บทเรียนเรา เราตั้งสติมากกว่านั้น เราจะต้องให้บทเรียนมัน เห็นไหม คนที่มีอำนาจวาสนา เวลาปฏิบัติ จิตมันสงบได้ เห็นไหม เพราะจิตมันสงบได้ เราจะทำต่อเนื่อง เพราะจิตมันสงบได้ด้วยอำนาจวาสนาบารมีคนที่มีบุญกุศล แต่เวลาเอาจริงเอาจังขึ้นมา เอาจริงเอาจังขึ้นมาจะทำได้อย่างไร เอาจริงเอาจังขึ้นมาก็จับต้นชนปลายไม่ได้ ถ้าจับต้นชนปลายไม่ได้ เราต้องตั้งสติแล้ว เราตั้งสติ เราฝึกหัดของเราไป จะล้มลุกคลุกคลานแค่ไหน มันอยู่ที่เราสร้างบุญกุศลมามากน้อยแค่ใด

ถ้ามันจะล้มลุกคลุกคลานนะ คนเราปฏิบัติเริ่มต้นมันล้มลุกคลุกคลาน ครูบาอาจารย์ท่านออกประพฤติปฏิบัติครั้งแรกมันทุกข์มันยากไปทั้งนั้นล่ะ เราจะทำสิ่งใด เพราะอะไร เพราะคนมันดิบๆ กิเลสมันปิดกั้นไปทั้งหมดล่ะ มรรค ๘ มันก็มืดทั้งแปดด้าน มรรค ๘ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แต่เราก้าวเดินไปไม่ถูกทางเลย ก้าวเดินไปทางไหนก็ล้มลุกคลุกคลานไปหมดเลย ฉะนั้น ถ้าล้มลุกคลุกคลาน...วางไว้ วางความคิดน้อยเนื้อต่ำใจไว้ เราต้องคิดว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา สิ่งที่สัจธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัจจะความจริงอันนั้น ถ้าเราปฏิบัติจริงตามความเป็นจริง มันต้องรู้จริงขึ้นมาได้

คนเขาเกิดมาเขาไม่สนใจ ไม่เชื่อ มากมายมหาศาล เราที่เป็นคนเชื่อคนหนึ่ง เห็นไหม คนเชื่อคนหนึ่ง แล้วเรามีสติมีปัญญาที่เราจะประพฤติปฏิบัติของเราคนหนึ่ง เราพยายามทำ เราพยายามของเรา เราทำของเราไป แล้วปล่อยตัณหาความทะยาน คือความต้องการ การคาดการหมาย “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

ถ้ามันไม่สมควรแก่ธรรม เราคาดเราหมายเองไง พอเราคาดเราหมาย เราจะเป็นเหยื่อของในวงการปฏิบัติ ในวงการปฏิบัติที่บอก “ลัดสั้นๆ” เขาต้องการคนประเภทนี้แหละ คนประเภทที่มักง่าย คนประเภทที่ว่า “เราปฏิบัติแล้วเราจะรู้ตามความจริงนั้น”

จิตมันแปลกประหลาด มันมหัศจรรย์นะ เวลามันทุกข์นี่มันทุกข์ยาก มันบีบคั้นจนทุกข์จนเข็ญใจ แต่เวลามันสร้างภาพนะ มันสร้างภาพโดยกิเลสไง กิเลสมันให้บทเรียน บทเรียนมันหลอกเอา หลอกเอา เห็นไหม มีความว่างอย่างนั้น มันสร้างอารมณ์ได้ทั้งนั้นน่ะ มันสร้างอารมณ์ได้เพราะอะไร เพราะเราอยากปฏิบัติใช่ไหม

เวลา อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ นี่อวิชชา ความไม่รู้ตัวของเรา ถ้าความไม่รู้ตัวของเรา เราก็ใช้ชีวิตของเราโดยกิเลสมันพาใช้ แต่เวลาเรามีสติมีปัญญา เราตั้งใจจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เรามาปฏิบัติ เห็นไหม กิเลสมันให้บทเรียน มันก็ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสวมรอย นี่กิเลสมันบังเงา มันสวมรอยว่า “มันปล่อยวางอย่างนั้น มันว่างอย่างนั้น มันมีความสุขอย่างนั้น” มันก็เป็นเหยื่อ เป็นเหยื่อของสังคมอย่างนั้น สังคมอย่างนั้นเขาก็เยินยอกัน สังคมเยินยอกัน เห็นชอบกันว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ

ถ้าถึงเวลาเอาความจริงขึ้นมา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติให้มันเป็นจริงขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา แล้วถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมา เราจะเห็นโทษของมันเลยว่าสิ่งนี้มันเป็นเรื่องจินตนาการ มันเป็นเรื่องโลกทั้งนั้นล่ะ แต่จิตที่มันมหัศจรรย์ มันสร้างได้ไง มันสร้างเพราะอะไร มันสร้างเพราะต้องการให้จิตนี้อยู่ในอำนาจของมันไง อยู่ในอำนาจของกิเลสที่กิเลสมันบังเงา มันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจินตนาการ มันมาคาดมาหมายเอา เห็นไหม ถ้าเราไม่มีสติปัญญา มันก็ให้บทเรียนในการประพฤติปฏิบัติให้เนิ่นช้า ให้เชื่อมั่น ให้เชื่อกับสิ่งที่เป็นหญ้าปากคอก สิ่งที่จิตมันเริ่มที่จะประพฤติปฏิบัติ มันให้บทเรียนอย่างนี้ แล้วก็อยู่แค่นั้นน่ะ

แต่ถ้าคนมีสติมีปัญญา มีอำนาจวาสนาบารมี มันจะให้ลึกซึ้งกว่านั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำฌานสมาบัติได้ อุทกดาบส อาฬารดาบสเขาก็รับประกัน บอกว่า “มีความรู้เหมือนเรา” ขนาดเข้าสมาบัติได้มันต้องมีความจริงสิ มีสมาบัติ มีความสงบใจนี้รองรับ แต่มันก็ยังไม่เป็นความจริงขึ้นมาเลย แต่นี่เราทำ เราปฏิบัติกัน เรายังไม่มีสิ่งใดมาเป็นข้อเท็จจริงในหัวใจของเราเลย แต่ทำไมเราไปเชื่อล่ะ เราไปเชื่ออย่างนั้น นั่นล่ะกิเลสมันบังเงา กิเลสมันต้องการให้จิตนี้อยู่ในอำนาจของมัน

แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนาบารมี สิ่งนี้มันไม่มีคุณสมบัติ ปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม เราจะเอาความจริงของเรา ถ้าเอาความจริงของเรา เราก็ล้มลุกคลุกคลานที่ว่าเราปฏิบัติแล้วจิตไม่สงบสักที ถ้าจิตสงบแล้วเมื่อไหร่เราจะใช้ออกวิปัสสนา เห็นไหม เพราะมันกระตุ้นอยู่อย่างนี้ พอมันกระตุ้นอยู่อย่างนี้ นี่มันคืออะไรล่ะ? นี่มันก็คือกิเลสไง ถ้ามันคือกิเลส เราปฏิบัติไปโดยที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากออกหน้า เราปฏิบัติแล้วมันจะได้ผลไหมล่ะ

แต่ถ้าเราวางซะ เราวางซะ เราวางด้วยสติด้วยปัญญา เราวาง เรากำหนดพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เรามาทำที่นี่ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เราสร้างเหตุของเรา เก็บหอมรอบริบเล็กๆ น้อยๆ ทำของเราไป เราไม่ต้องปรารถนาใหญ่โตมากมายจนเกินไป เราปรารถนามรรคปรารถนาผล ปรารถนาต้องการความจริงอันนั้น เราปรารถนาอันนั้น เห็นไหม กิเลสมันสวมรอย ปรารถนาแล้ว ปรารถนาเพราะมันส่งจิตออกไปอยู่ที่ความคิด อยู่ที่แรงปรารถนานั้น มันไม่ได้มีสติปัญญาอยู่ในปัจจุบัน มันส่งออกไปที่นั่น แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นล่ะ นั่นน่ะ กิเลสมันให้บทเรียน

เวลาที่ปฏิบัติโดยจินตนาการ ลัดสั้น ว่าจะให้เป็นไปตามนั้น มันก็ให้บทเรียนว่าไม่มีสิ่งใดเป็นเนื้อหาสาระขึ้นมากับความเป็นจริงเลย เวลาเราจะเอาจริงเอาจังขึ้นมา มันก็มาฉุดกระชากให้เราส่งไปอนาคต ผลจะเป็นอย่างนั้น ตัณหาความทะยานอยากต้องการอย่างนั้น แล้วจิตมันส่งออกไป จิตนี้มันร้ายนัก จิตนี้มันเป็นไปได้หลายอย่าง เวลามันสุข มันพอใจ มันมีความสุขของมันก็ได้ มันมีความทุกข์ของมัน มันก็บีบคั้นหัวใจของเรา มันเป็นได้ทั้งดีทั้งชั่ว มันเป็นได้ทุกๆ อย่างเลย แล้วเวลาจะมาประพฤติปฏิบัติ มันก็จินตนาการ มันก็จินตนาการไป “เราจะได้มรรคได้ผลอย่างนั้น มรรคผลจะเป็นอย่างนั้น” นี่เราคาดหมายไปอนาคต แล้วก็ปฏิบัติ จิตมันส่งออก ส่งไปอนาคต แล้วปฏิบัติมันก็ไม่ได้ผล ไม่ได้ผลมันก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่นี่ไง นี่มันให้บทเรียนๆ

ถ้าเราเข็ด มันให้บทเรียนจนเราเข็ดแล้ว อยู่กับปัจจุบันนี้ เราจะกำหนดพุทโธที่นี่ พุทโธของเราไป เช้า สาย บ่าย เย็น เราอยู่กับพุทโธตลอด ครูบาอาจารย์ที่ท่านออกประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ ท่านกำหนดพุทโธตลอด ๒๔ ชั่วโมง ถ้าระลึกได้จะกำหนดพุทโธทันที จะทำสิ่งใดถ้าระลึกได้ กำหนดพุทโธทันที เพราะจิตมันดิบๆ จิตมันหยาบๆ มันจะทำให้เป็นความจริงนี้แสนยาก แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมาก่อน ท่านฝึกหัดทำสมาธิมาก่อน จิตท่านสงบได้บ้าง ถ้ามาประพฤติปฏิบัติเอาจริงเอาจัง ถ้าจิตมันสงบได้มันมีเครื่องอยู่นะ

เวลามันทุกข์มันยาก มันไฟสุมขอนอยู่ในใจของเรา แต่ถ้าเรามีศรัทธา เราระลึกถึงครูบาอาจารย์ ระลึกถึงข้อวัตร มันก็มีเครื่องอยู่ของมันแล้ว แล้วถ้ากำหนดพุทโธๆ ดำรงชีวิตของเราอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ เห็นไหม มันจะเป็นอริยประเพณี ประเพณีของพระอริยเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว เวลาเผยแผ่ธรรมไป เวลาท่านออกตรวจวัด ท่านจะไปดูแลพระ ว่าพระประพฤติปฏิบัติอย่างไร ความเป็นอยู่อย่างไร ท่านดูแลอย่างนั้น ท่านดูแลตั้งแต่ความเป็นอยู่ ดูแลทั้งหัวใจว่าปฏิบัติแล้วจะได้ผลหรือไม่ได้ผล

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตใจของเรามันรุ่มร้อนนัก เราก็มีครูมีอาจารย์ มีครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งที่อาศัย ให้ความอบอุ่นหัวใจของเรา แล้วถ้าเรามีข้อวัตรไง ข้อวัตรที่เราทำ ข้อวัตรหมายถึงว่าวันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมง เราทำสิ่งใดบ้าง ถ้าจิตมันอยู่กับข้อวัตรอย่างนี้ มันก็ไม่รุ่มร้อนจนเกินไปนัก แล้วถ้าไม่รุ่มร้อนจนเกินไปนัก เรากำหนดพุทโธของเรา ดูแลหัวใจของเรา ปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้อยู่กับพุทโธ ถ้าจิตมันสงบขึ้นมามันก็ได้พัก มันก็มีความสงบร่มเย็นเป็นสุขขึ้นมา

นี่เราจะให้บทเรียนกับกิเลส เพราะกิเลส ถ้าเรากำหนดไปอดีตอนาคต เรากำหนดว่าเราอยากได้อย่างนั้น ขณะที่กำหนดพุทโธ แต่ต้องการปรารถนาผลอย่างนั้นๆ มันจะให้ผลเป็นทุกข์อย่างนี้ ถ้าเรามีสติปัญญา มันสอนบทเรียนเรากี่บทแล้ว แต่เราก็ยังไม่รู้เท่าทันมัน แต่ถ้ามันสอนบทเรียนเราหลายบทแล้ว เราก็ต้องรู้เท่าทันมัน เราจะไม่ให้มันชักนำเราไปอย่างนั้น

ถ้ามีสติมีปัญญา ไม่ใช่ชักนำไปอย่างนั้น เรากำหนดพุทโธของเราชัดๆ แล้วถ้าพุทโธแล้วไม่ได้ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ สู้กันอยู่อย่างนั้นน่ะ มันต้องสงบได้ เพราะว่ากรรมฐาน ๔๐ ห้อง วิธี การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ มันต้องสงบได้ ถ้ามันสงบเข้ามา นี่มันมีความสุขแล้ว สิ่งที่มันเคยแบกหาม ทำสิ่งใดที่ไม่ได้ผล แต่เวลาเรากำหนดพุทโธ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันมีความสุขแล้ว

เพราะจิตสงบ ผลของมันคือให้ความสุข จิตฟุ้งซ่าน ผลของมันคือความทุกข์ เวลากิเลสมันบีบคั้นขึ้นมา ผลเป็นความทุกข์ทั้งนั้น แต่เวลาเรามาประพฤติปฏิบัติ เวลากิเลสมันสวมรอย มันว่างๆ มันปล่อยวาง มันจินตนาการของมันไป มันเป็นอะไรน่ะ มันเป็นกิเลสมันให้บทเรียนไง กิเลสมันหลอกเอาไง เวลาปฏิบัติไปเราคิดว่าเราปฏิบัติแล้ว คนว่าเป็นคนดี ในกลุ่มชนคบบัณฑิต ไม่คบคนพาล ในบัณฑิต เราว่าเป็นคนดีทั้งหมดเลย เราก็ไว้วางใจ นอนใจกับบัณฑิต ก็นอนอยู่ที่นั่นไปสิ แล้วไม่ทำสิ่งใดต่อไปเลย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราจะปฏิบัติใช่ไหม เราบอกเรากำหนดพุทโธ เรากำหนดพุทโธ สิ่งนี้มันเป็นคุณงามความดี แล้วกิเลสมันไม่ต่อต้านเลยหรือ กิเลสถ้ามันไม่มีกำลังนะ กิเลสมันเผลอ เราก็ทำความสงบของใจได้ เราทำคุณงามความดีได้ แต่กิเลสมันตื่นขึ้นมา กิเลสมันฟื้นขึ้นมา มันใช้อุบายของมัน มันชักให้เราล้มลุกคลุกคลานตลอดเวลา สิ่งที่มันกีดมันขวาง ก็ตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเราไง นี่ถ้าเป็นจริตนิสัยนะ จริตนิสัยของคนที่นุ่มนวล นิสัยของคนที่ทำสิ่งใดแล้วไม่มีสิ่งใดต่อต้าน อันนั้นก็เป็นเพราะเขาสร้างอำนาจวาสนามา

แต่ถ้าของเรา เราล้มลุกคลุกคลาน ทำสิ่งใดแล้วไม่ได้ผล เราก็พยายามของเรา เพราะเวลาปฏิบัติ เห็นไหม ปฏิบัติจำเพาะตน หัวใจของผู้ใด ผู้นั้นต้องเป็นคนดูแลรักษา เวลามันทุกข์ มันทุกข์ที่หัวใจนั้น หัวใจมันบีบคั้น มันมีแต่ความทุกข์ความยากอันนั้น แต่ถ้าเวลาเราตั้งสติแล้วเรากำหนดพุทโธ เวลาจิตมันสงบเข้ามา มันมีความสุข มีความสุขนะ

พอมีความสุข มันเห็นความแตกต่างแล้ว เห็นความแตกต่างว่า ถ้าจิตใจเมื่อปฏิบัติใหม่ๆ เราจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นกาย อะไรเป็นใจ คิดดี คิดชั่ว เวลาคิดถึงความชั่วไป มันไปกับอารมณ์อย่างนั้น เวลาคิดความดีมันไม่ยอมไปด้วยเลย ฉะนั้น เวลาถ้ามันคิดดี เราต้องเหยียบคันเร่ง เราต้องพยายามขวนขวายของเรา เวลามีศรัทธามีความเชื่อ เราต้องมีความเข้มข้นของเรา เราปฏิบัติของเราให้มันมีคุณธรรมขึ้นมา

ถ้ามีคุณธรรมขึ้นมา เห็นไหม “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” มันสมควรนะ มันสมควรแก่ธรรมมันก็ต้องให้ผลตามความเป็นจริงอันนั้น ถ้าผลตามความเป็นจริงอันนั้นใครเป็นคนทำล่ะ? จิตใจเราเป็นคนทำ เห็นไหม เวลาล้มลุกคลุกคลานเราก็รู้ว่าล้มลุกคลุกคลาน กิเลสมันให้บทเรียนเจ็บปวดนัก เวลาเราทำความสงบของใจได้ ถ้าใจมันสงบเข้ามา นั่นเป็นธรรมแล้ว

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ในเมื่อสติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม มันเกิดสัจธรรม ถ้าเกิดสัจธรรม อันนี้มันจะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง อันนี้มันจะหล่อเลี้ยงให้จิตใจเข้มแข็ง ให้จิตใจตั้งมั่น เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่นแล้ว เราจะก้าวเดินแล้ว เราจะก้าวเดินให้คุณธรรม ให้บทเรียนกับกิเลสในหัวใจของเรา

เราไม่รู้อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นธรรม เราทำไป มันมีแต่ชื่อ เราศึกษาปริยัติมา ศึกษามาเป็นแนวทาง แต่เวลาเราจะเข้าไปปฏิบัติตามความเป็นจริง เรายังไม่รู้เลยว่าเราจะก้าวเดินไปทางไหน แล้วก้าวเดินไป เวลาเขาเดินทาง เขาชำนาญทางของเขา เขาจะรู้ว่าที่ไหนเป็นหลุมเป็นบ่อ เขาจะหลบจะหลีก แล้วจิตใจของเรา จิตใจมันจะก้าวเดินไป เราไม่รู้อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นธรรม เวลามันว่างๆ ว่างๆ...ว่างๆ ถ้าขาดสตินะ อันนั้นมันจะตกภวังค์นะ ถ้ามันจะว่างๆ มันต้องมีสติสิ ถ้ามีสติ เรากำหนดพุทโธไปเรื่อย ถ้าเป็นขณิกสมาธิ จิตใจมีความสงบแล้ว เรายังกำหนดพุทโธได้ต่อเนื่องไป เรากำหนดพุทโธต่อเนื่องไป เราบังคับ บังคับให้พุทโธให้ต่อเนื่องไปๆ ก็จะละเอียดเข้าไปเป็นอุปจารสมาธิ

ถ้าเรามีสติกำหนดพุทโธไป มันว่างๆ แล้วล่ะ เป็นขณิกสมาธิจะมีความสงบไหม? ต้องมี ถ้าไม่มีจะเป็นขณิกสมาธิได้อย่างไร แล้วถ้ากำหนดพุทโธต่อเนื่องไป ละเอียดเข้าไปก็เป็นอุปจารสมาธิ มันละเอียดขึ้นไป อุปจาระมันรู้รอบในรอบตัวของมัน นี้คืออะไร? นี้คืออุปจารสมาธิ แล้วถ้าเราตั้งสติแล้วกำหนดพุทโธต่อเนื่องเข้าไปล่ะ ถ้าละเอียดเข้าไปจนพุทโธมันเริ่มละเอียดลง จนพุทโธไม่ได้ มันจะเข้าไปสู่อัปปนาสมาธิ นี่ไง เพราะมันมีสติ ถ้าคนมีความชำนาญ เขาจะชำนาญของเขาอย่างนี้ เขาจะพุทโธต่อเนื่องๆ ไม่ให้ขาดตอน

แต่ของเราพุทโธๆ พอมันว่างๆ ก็ปล่อยวาง “เออ! มันสบาย มันว่างๆ ว่างๆ แล้วทำอย่างไรต่อ ทำอย่างไรต่อ แล้วทำอย่างไรต่อล่ะ” ถ้ามันไม่มีสติต่อเนื่องไป เดี๋ยวมันก็คลายออก พอเดี๋ยวมันคลายออก นี่กิเลสมันให้บทเรียนแล้ว บทเรียนเพราะความผิดพลาดของเราไง

ถ้าเราตั้งสติ ถ้าผู้ที่ปฏิบัติมีความชำนาญแล้วเขาจะเห็นไง เขาจะรู้ว่าถ้าสติเราไม่ต่อเนื่อง ถ้าคำบริกรรมของเราไม่ละเอียดลึกซึ้งพอ มันจะเป็นแบบนั้น แล้วอีกอย่างหนึ่งก็เรื่องธาตุขันธ์ จะเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วเกิดถ้าอารมณ์กระทบรุนแรง กิเลสมันฟูขึ้นมา ถ้าฟูขึ้นมาเขาต้องพุทโธเร็วขึ้น

เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัตินะ ถ้าท่านไปกระทบสิ่งใดมา ท่านจะเข้าทางจงกรมของท่าน ท่านจะนั่งสมาธิของท่าน นี่วิหารธรรม วิหารธรรม พิจารณาให้มันปล่อย พิจารณาให้เป็นสัจธรรม สิ่งนั้นเป็นผลกระทบทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าเราไม่มีสติปัญญา เวลากระทบแล้วมันสะเทือนหัวใจมาก สะเทือนหัวใจมากแล้วมีแต่ความทุกข์ในหัวใจ แล้วปล่อยวางไม่ได้ ปล่อยวางไม่ได้เพราะเรายังไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นกิเลส สิ่งใดเป็นธรรม สิ่งใดเป็นกิเลสล่ะ

อ้าว! เราไปรู้ข่าว ข่าวร้าย นี่ก็เป็นประโยชน์เพราะเขามาบอกเรา แต่ทำไมมันทุกข์ล่ะ เพราะอะไร เราไม่รู้ว่าสิ่งนั้น สิ่งที่ข่าวร้ายสิ่งนั้นมันเกิดแล้ว แล้วข่าวนี้มันถึงตามมา เราจะทุกข์ร้อนขนาดไหน สิ่งที่เกิดแล้วมันก็เป็นอย่างนั้น เราไปแก้ไขสิ่งใดไม่ได้หรอก ถ้าเราแก้ไขสิ่งใดไม่ได้ เราจะบริหารจัดการหัวใจเราอย่างไร แล้วเราจะบริหารเรื่องข่าวนั้น เรื่องข้อเท็จจริงนั้นให้มันจบไปอย่างไร

นี่ไง ถ้ามีสติมีปัญญามันเป็นอย่างนี้ แล้วถ้าเรามีสติมีปัญญาฝึกหัดของเรา จิตมันสงบเข้ามา สงบบ่อยครั้งเข้า เพราะอะไร เพราะธรรมมันให้บทเรียนกับกิเลสไง ถ้าธรรมมันให้บทเรียนกับกิเลส กิเลสมันก็จะหลอกเราไม่ได้ กิเลสจะครอบงำหัวใจเราไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตใจของเราไม่ได้ เราทำของเราให้มีความสงบมันก็มีความสุข มีความสุขเพราะความสงบนั้นมันจะเกิดความสุขขึ้นมา

ความสุขนั้นเพราะคนอิ่มเต็มแล้ว เราถึงจะใช้จิตของเราออกค้นคว้า ออกค้นหาสติปัฏฐาน ๔ ให้ออกค้นคว้า ออกสติปัฏฐาน ๔ ในเรื่องของกาย ในเรื่องของเวทนา ในเรื่องของจิต ในเรื่องของธรรมเพื่อฝึกหัด เพื่อฝึกหัดให้หัวใจมันฉลาดขึ้น เพราะหัวใจ สิ่งที่จิตมันสงบเข้ามาแล้วมันปล่อยวาง ปล่อยวางด้วยกำลังของสมาธิ เพราะจิต เพราะกำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันปล่อยวาง ปล่อยวางสิ่งที่มันเสวย ปล่อยวางที่มันยึดมั่น มันถึงกลับมาเป็นสัมมาสมาธิ

แต่โดยธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์มีธาตุ ๔ และ ขันธ์ ๕ คือมีกายกับใจ แล้วใจมันต้องมีความคิด เห็นไหม มีความคิดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะรูป มันถึงสื่อสารกันได้ รูปมันมีภาษา มันถึงต่างๆ ในสังคมทางโลก แต่เรากำหนดพุทโธๆ ปล่อยมาๆ ปล่อยรูป รส กลิ่น เสียงเข้ามาเป็นสัมมาสมาธิ เป็นอิสระของมัน ทีนี้การปล่อยวางอย่างนี้ปล่อยวางโดยสมาธิ พอปล่อยวางโดยสมาธิ จิตมันสงบแล้ว เราฝึกหัดจิตเพื่อให้จิตมันฉลาดขึ้นมา นี้เป็นสัจจะในพระพุทธศาสนา

ในพระพุทธศาสนาสอนเรื่องของปัญญา ภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาเพื่อชำระล้าง เพื่อให้จิตใจนี้มีกำลังขึ้นมา ให้จิตใจนี้ฉลาดขึ้นมา ให้จิตใจนี้เท่าทันกิเลสขึ้นมา ไม่ให้กิเลสมันให้บทเรียนทุกภพทุกชาติ กิเลส มันอยู่กับหัวใจ เพราะมี อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะมีอวิชชา เพราะมีความไม่รู้มันถึงเวียนว่ายตายเกิดไง เพราะการเวียนว่ายตายเกิดได้สร้างคุณงามความดีมาขนาดไหน ก็สร้างคุณงามความดีผลของวัฏฏะ ผลของวัฏฏะสร้างขึ้นมา คุณงามความดีขึ้นมาให้จิตมีอำนาจวาสนาบารมี ถ้าสร้างความชั่ว ความชั่วก็ตกนรกอเวจีไป มีแต่ความทุกข์ร้อนในหัวใจทั้งนั้นน่ะ เห็นไหม กิเลสมันให้บทเรียนกับจิตดวงนี้มาไม่มีต้นไม่มีปลาย

แต่จิตดวงนี้ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทาน เรื่องสังคม ให้ความเป็นอยู่มีการเสียสละต่อกัน ให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข แล้วถ้าใครมีเชาวน์มีปัญญาที่อยากจะค้นคว้า อยากจะประพฤติปฏิบัติให้จิตนี้พ้นออกไปจากทุกข์ ให้จิตพ้นออกจากการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ในพระพุทธศาสนาก็สอนเรื่องของการภาวนา แล้วเรื่องของภาวนา ภาวนาเพื่อมีคุณธรรมขึ้นมา ไม่ใช่ภาวนามาเพื่อให้กิเลสมันให้บทเรียนตลอด

ฉะนั้น เวลาภาวนา จิตมันสงบแล้วเรามีหลักมีเกณฑ์ เราจะมีคุณธรรม ให้คุณธรรมให้บทเรียนกับกิเลส ให้บทเรียนกับกิเลสอย่างไรล่ะ กิเลสมันครอบงำหัวใจของเรา เพราะมันครอบงำหัวใจของเรา เราถึงล้มลุกคลุกคลาน แต่เพราะเรามีสติ มีอำนาจวาสนาบารมี เราทำความสงบใจของเราเข้ามาได้ ถ้าใจสงบได้ เป็นความสุขอย่างนี้ เพราะมีอำนาจวาสนา เราถึงบอกว่าความสุขอย่างนี้เป็นความสุขของสัมมาสมาธิ สมาธิปล่อยวางมาทั้งหมด มันถึงเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แล้วเกิดผู้ที่ปฏิบัติใช้ปัญญาๆ ปัญญาอบรมสมาธิมันก็อบรมเข้ามาเพื่อให้มันสงบระงับเข้ามา สงบระงับเข้ามาถ้ามีอำนาจวาสนาต่อเนื่องขึ้นไป พอจิตสงบแล้วก็ออกฝึกหัดใช้ปัญญา ออกฝึกหัดใช้ปัญญา ให้ปัญญาฟาดฟัน ให้ปัญญามีคุณค่าขึ้นมา มีคุณค่าขึ้นมาให้สติ ให้จิตนี้ฉลาดขึ้นมาว่า สิ่งที่มันปล่อยวางเข้ามา มันปล่อยวางด้วยสัมมาสมาธิ ปล่อยวางโดยกำลัง แต่มันต้องชำระให้มันขาดกันไปด้วยปัญญา ปัญญามาจากไหนล่ะ

ดูสิ ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ ความดำริชอบคือปัญญา ถ้าดำริชอบ มันชอบธรรมหรือยังล่ะ ถ้ามันชอบธรรม มันจะมีสติปัญญา มันจับกายได้ จับกายได้ เห็นไหม เวลาเราจะทำความสงบของใจเข้ามา ใจมันไม่สงบเพราะอะไรล่ะ เพราะกิเลสมันต่อต้าน กิเลสมันทำให้ฟุ้งซ่านออกไป มันถึงเสวยไปทุกๆ อย่างเลย พอมีสติปัญญาขึ้นมา เราทำจิตของเรากลับมาสู่สัจธรรม สู่ความเป็นจริงของมัน เพราะจิตก็คือจิต ความคิดก็คือความคิด ความคิดเกิดจากจิต เพราะมีความคิดมันถึงเป็นช่องทางของกิเลสมันไหลออกไป เพราะคนชอบสิ่งใดก็คิดอย่างนั้น คนดีคิดแต่เรื่องดีๆ คนชั่วคิดแต่เรื่องชั่วๆ คนคิด คนมีจริตอย่างไรเขาก็คิดแบบนั้น แต่เราใช้สติ ใช้คำบริกรรม จนคำบริกรรม จนกำลังของสติ กำลังของจิต มันทวนกระแสกลับมา จนจิตนี้กลับมาสงบได้ จิตสงบได้ เห็นไหม จิตสงบได้ถึงมีความสุข พอมีความสุขแล้วถ้ามีสติมีปัญญา มีสติ ออกไปให้เห็นกาย ให้เห็นเวทนา ให้เห็นจิต ให้เห็นธรรม ให้เห็นจิต ให้เห็นธรรมเพราะอะไร

เวลาจิตมันฟุ้งซ่าโดยปุถุชน มันเสวยอารมณ์โดยสัญชาตญาณ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น นี่กิเลสมันให้บทเรียนมาตลอดล่ะ แล้วเวลาศึกษาธรรมมาก็ศึกษาธรรมมาว่าสิ่งนี้เป็นการประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้เป็นสัจธรรม อันนั้นมันเล่นปฏิบัติธรรม มันทำเล่นๆ มันไม่เป็นความจริงหรอก

แต่ถ้าเป็นความจริง มันจะล้มลุกคลุกคลานขนาดไหน เราก็มีสติมีปัญญา นี่มันให้บทเรียนเรา กิเลสมันให้บทเรียนเราไง ให้บทเรียนเราว่า เราเกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ใต้อำนาจของมัน อยู่ใต้อำนาจของอวิชชา อยู่ใต้อำนาจของพญามารที่มันครอบงำตลอด แล้วในปัจจุบันนี้เราจะแข็งข้อ จะต่อสู้ จะแข็งข้อจะต่อสู้ เราต้องมีสติปัญญากำราบ จะแข็งข้อต่อสู้ จากคนที่มันล้มลุกคลุกคลาน จะไปแข็งข้อต่อสู้กับเจ้าหนี้ ผู้ที่อำนาจบาตรใหญ่บนหัวใจ จะเอาอะไรกับต่อสู้มันล่ะ ในการปฏิบัติเริ่มต้นถึงล้มลุกคลุกคลานกันแบบนี้ ที่ล้มลุกคลุกคลานกันแบบนี้เพราะกิเลสมันมีอำนาจ มันถึงให้บทเรียนเราเจ็บแสบนัก

แต่เพราะเรามีสติ เรามีปัญญา เรามีความอดทน เรามีครูบาอาจารย์คอยให้กำลังใจ เราพยายามทำของเรา ถ้าทำของเรานะ พอมันสงบเข้ามาได้ มันรู้ มันเห็น มีกำลังพอ มีกำลังพอที่จะต่อกรกับกิเลส มันก็สงบเข้ามาได้ๆ พยายามต่อเนื่อง เพราะผู้ที่ปฏิบัติส่วนใหญ่จิตสงบได้บ้างแล้วไม่มีกำลัง แล้วไม่มีวิธีการรักษา มันจะเสื่อมไป ถ้าทำความสงบของใจ ใจสงบแล้วเราจะเดินต่อเนื่องไป

คนที่ปฏิบัติมีพื้นฐาน ถ้ามันต่อเนื่องได้จริง พระอรหันต์จะเกิดในชาวพุทธเรามากมายเลย แต่นี้ทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ มันไม่เป็นอย่างนั้น เพราะพอมันสงบแล้วเรารักษาไว้ไม่ได้ อำนาจวาสนาของเรา กำลังเราไม่พอ ถ้ารักษาได้นะ รักษาจิตมันสงบได้ แล้วออกฝึกหัดใช้ปัญญา เพราะอะไร เพราะกิเลสเป็นนามธรรม เวลาเป็นนามธรรม ความรู้สึกนึกคิดเราก็เป็นนามธรรม เวลามันคิดสิ่งใด ปรารถนาสิ่งใด โดยตัณหาความทะยานอยาก กำลังกิเลสมันเต็มตัว เต็มที่เลย ศึกษาธรรมก็ศึกษาโดยกิเลสทั้งนั้นน่ะ ศึกษามาเป็นปริยัติ เพราะเวลาศึกษา กิเลสมันให้โอกาส เพราะยังไม่ถึงตัวมัน

แต่เวลาจะประพฤติปฏิบัติล่ะ นี่ปริยัติแล้วปฏิบัติ เวลาปฏิบัติขึ้นมา “ศีล สมาธิ ปัญญา” กิเลสมันกลัวตรงนี้ กิเลสมันกลัวสัจธรรม กิเลสมันไม่กลัวอะไรเลย มันกลัวสัจธรรม กลัวมากๆ กลัวมากๆ เพราะอะไร เพราะจะเข้าถึงตัวมัน ถ้าเข้าถึงตัวมัน เข้าไปถึง จับต้องถึงตัวมันเลย ถ้าเข้าถึงตัวมันนะ เรากำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา จิตสงบเข้ามาแล้ว สงบเข้าไปสู่ฐีติจิต สู่สัจจะความจริง

กิเลสเป็นนามธรรมใช่ไหม แล้วกิเลสเป็นนามธรรม มันนอนเนื่องมากับความรู้สึกนึกคิด แล้วมันอยู่ไหนล่ะ นี่กิเลสมันให้บทเรียนเรามาตั้งแต่ต้น ไม่มีต้นไม่มีปลาย ตั้งแต่ทุกภพทุกชาติมา และในชาติปัจจุบันนี้เราจะทำความสงบของใจเข้ามา เราจะต่อสู้กับมัน เราจะให้สัจธรรม ให้บทเรียนมันบ้าง แล้วบทเรียนมันอยู่ที่ไหนล่ะ ถ้ามันไม่เห็นตัวตนของมัน เราจะให้บทเรียนอย่างไรกับกิเลสล่ะ

กิเลสมันเป็นนามธรรม มันอาศัยความยึดมั่นถือมั่น อาศัยจริตนิสัย อาศัยความชอบไง มันก็ชอบยึดมั่นถือมั่นของมันไปตลอด ฉะนั้น ยึดมั่นถือมั่นในอะไรล่ะ? ก็ยึดมั่นในกาย ในกายนี้มันมีอะไร? ในกายมันมีเวทนา มีสุข-มีทุกข์ ถ้าในกายมันมีอะไรเป็นเจ้าของ? ก็มีจิต แล้วมีจิต จิตที่มันพอใจ-ไม่พอใจ มันก็เป็นธรรมารมณ์ สติปัฏฐาน ๔

ถ้ามีสติปัฏฐาน ๔ ถ้าจิตมันสงบแล้ว ถ้ามันจับต้องได้ แล้วบอกว่าก็ไม่ต้องการจะฆ่ากิเลส

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกในธรรมวินัยว่า กิเลส คือกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันให้โทษกับเรา เราจะฆ่ามันๆ เราจะฆ่ากิเลส เราไม่ได้ฆ่ากาย เราไม่ได้ฆ่าเวทนา เราไม่ได้ฆ่าจิต เราไม่ได้ฆ่าธรรม เราจะฆ่ากิเลส จะชวนกันมาดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมไปทำไม

ก็กิเลสเป็นนามธรรม มันก็อาศัยสิ่งนี้ไง นี่แหละคือรวงรังของมัน นี่แหละคือถ้ำ นี่คือคูหา นี่คือที่อยู่ของมัน มันอยู่ในกาย อยู่ในเวทนา อยู่ในจิต อยู่ในธรรมนี่แหละ ถ้ามันอยู่ในกาย อยู่ในเวทนา อยู่ในจิต อยู่ในธรรม จิตเราสงบแล้วเราก็ต้องพิจารณากาย จับกายให้ได้

ใครเห็นกายนะ เราเห็นกาย เห็นไหม ดูทางโลกสิ ถ้าทางโลกนะ สิ่งที่เราเห็น เราเห็นด้วยตาเนื้อ สัตว์ เราเอามาเป็นอาหาร เราเห็นเนื้อ เราก็เอามาปรุงเป็นอาหาร กินเข้าไปอยู่ในท้องด้วย นี่เหมือนกัน เราเคี้ยวแหลกไปเลย เนื้อนี่เคี้ยวแหลกไปเลย แล้วเราจะไม่รู้ได้อย่างไรว่าเนื้อรสชาติอย่างไร เรารู้หมดล่ะ อันนี้มันเป็นเรื่องโลกไง เป็นเรื่องสามัญสำนึก เป็นเรื่องการดำรงชีวิต เรื่องปัจจัยเครื่องอาศัย มันเป็นเรื่องของวัตถุ

แต่ถ้าจิตมันสงบแล้วถ้ามันเห็นกาย มันเห็นกายโดยจิต ถ้าเห็นกายโดยจิต จิตมันเห็นนะ พอเห็น มันสะเทือนหัวใจมาก สิ่งที่เขาเห็นกัน เขาบอกว่าเห็นกายๆ อันนั้นมันเป็นสัญญาทั้งนั้นน่ะ ดูสิ เรานึกภาพขึ้นมา เรานึกภาพขึ้นมาได้ไหม เวลาคนนอนฝันมันยังฝันได้เลย แต่ความฝันนั้นเพราะขาดสติ มันถึงวิปัสสนาไม่ได้

แต่เวลาจิตเราสงบแล้วเราไม่ได้ฝัน จิตเป็นสัมมาสมาธิ ตั้งมั่น สติพร้อม น้อมไปเห็นกาย พอเห็นกาย มันเห็นโดยจิต มันสะเทือนหัวใจมาก มันสะเทือนหัวใจเพราะอะไร เพราะนี่คือรวงรังของมัน นี่คือที่อยู่ของมันไง มันแอบแฝง กิเลสเป็นนามธรรม มันแอบแฝงกาย มันแอบแฝงเวทนา แอบแฝงจิต แอบแฝงธรรม เพราะอะไร เพราะแอบแฝงเวทนา เวทนา เวลามันสุข มันพอใจ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ถ้ามันพอใจของมัน มันบอกว่าสุข แล้วความจริง สุขมันมีอยู่จริงหรือเปล่าล่ะ นี่ไง แต่เวลาไม่พอใจมันทุกข์

แล้วเวลาเรานั่งสมาธิขึ้นมา เราเดินจงกรม เราทุกข์ไหม ทุกข์มันก็ทุกขเวทนา แล้วทุกขเวทนาถ้าจิตมันไม่สงบมันจับได้ไหม เวลาทุกข์ เราบ่นปากเปียกปากแฉะว่าทุกข์เลย แต่ถ้าจิตมันสงบนะ เวลามันทุกขเวทนา มันจับทุกข์นะ โอ๋ย! มันวูบเลย ถ้าจิตสงบแล้วจับสุขเวทนา-ทุกขเวทนา ถ้ามันจับได้นะ ถ้าจับได้มันสะเทือนมาก พอสะเทือน แล้วมันก็หลุดมือ ถ้าจิตกลับมาทำความสงบของใจให้มากขึ้น พอจับได้ แยกแยะมัน แยกแยะ สุข ทำไมถึงสุข ทุกข์ ทำไมถึงทุกข์ สุข สุขเพราะอะไร สุขเพราะจิตโง่ จิตโง่ถึงไปหลงใหลเขา ทุกข์ ทุกข์เพราะจิตดื้อด้าน จิตขับไสเขา ถ้ามันพิจารณาไป ถ้าจิตสงบแล้วพิจารณาอย่างนี้ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พิจารณาเพื่อฝึกหัดใช้ปัญญาให้ปัญญามันรู้เท่าตัณหาความทะยานอยาก

ถ้ามันรู้เท่านะ มันรู้เท่าตัณหาความทะยานอยากเพราะอะไร เพราะมันใช้ปัญญาไง แล้วปัญญามันเกิดที่ไหนล่ะ “อ้าว! ปัญญาก็ค้นในพระไตรปิฎกก็ใช้ปัญญาทั้งนั้น ก็ค้นมาเต็มที่แล้ว ในพระไตรปิฎกรู้ไปหมดแล้ว นั่นไม่ใช่ปัญญาหรือ”...นั่นสัญญาทั้งนั้น นั่นเป็นภาคปริยัติ ภาคปริยัติเขาศึกษามา ศึกษามาเป็นองค์ความรู้เพื่อจะประพฤติปฏิบัติ เวลาปฏิบัติขึ้นมามันจะเป็นปัจจุบัน

มันไม่ใช่ไปเปิดหน้านั้น ดูหน้านั้น พระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ ต้องพุทธพจน์ ผิดจากพุทธพจน์ไปไม่ได้ อันนั้นเป็นอำนาจวาสนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ของเราล่ะ แต่ของเรา เห็นไหม ถ้ามันเป็นสมาธิมันก็ทุกข์ยากขนาดไหนกว่าจะหาตัวตนของเราเจอ กว่าจะหาปฏิสนธิจิต เพราะกิเลสมันอยู่ที่จิต กิเลสมันอยู่ที่ใจนะ กิเลสไม่ได้อยู่ที่กายหรอก แล้วเราว่าเราปฏิบัติใหม่ๆ กายกับใจ เวลาทุกข์โศกเสียใจรู้ว่าเสียใจ เวลาดีใจก็รู้ว่าดีใจ แต่เวลาจะหาใจตัวเองจริงๆ หาไม่เจอ เอาจริงๆ เอาใจจริงๆ เวลาจะเอาสมาธิ สมาธิไม่ได้ เพราะเราขาดสมาธิกัน

สมาธิของที่เราเป็นอยู่มันสมาธิของปุถุชน สมาธิของมนุษย์ มนุษย์มีสมาธิ ถ้ามนุษย์ไม่มีสมาธิ มันจะควบคุมจิตไม่ได้ การควบคุมจิตได้ เห็นไหม ดูสิ คนที่สมาธิมั่นคงเขาคุมสติของเขา เกิดเหตุวิกฤติต่างๆ เขาจะไม่ตื่นเต้นไปโลกจนเกินไป สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิของโลกๆ ไง เป็นสมาธิของมนุษย์ที่มนุษย์ต้องมีสมาธิ ไม่มีสมาธิในสถานะของมนุษย์มันก็จะบริหารจัดการความรู้สึกนึกคิดไม่ได้ สมาธิอย่างนั้นเป็นสมาธิแบบโลก ถ้าสมาธิอย่างนั้นมันก็เป็นสมาธิของกิเลสพาใช้ไง ก็มันออกมาจากใจไง เพราะมันออกมาจากอำนาจวาสนาบารมี ออกมาจากจริตนิสัย คนสมาธิมั่นคง คนสมาธิอ่อนแอ มันเป็นเรื่องกำลังปกติของใจ

แต่ถ้าเราพุทโธๆ ให้มันลึกกว่านั้น เพราะอะไร เพราะมันต้องเอาจิตให้รู้ให้เห็น ถ้าเอาจิตให้รู้ให้เห็น ถ้ามันมีสติปัญญาเข้าไป มันสงบได้ นี่เราปฏิบัติใหม่ๆ ลำบากทุกข์ยากมาก ลำบากทุกข์ยากมาก กิเลสมันให้บทเรียน ทั้งๆ ที่เราจะไปต่อสู้มัน กิเลสให้บทเรียนก่อน เราจะเข้าไปจับเสือร้าย เราเข้าไปมันจะตะปบเอานะ ก่อนจะเข้าไป เราต้องพร้อมทุกอย่าง ถ้าเราพร้อมทุกอย่าง เราทำจนเสือมันสงบ เสือมันเกรงกลัวขึ้นมา มันก็สงบขึ้นมาได้ ถ้ามันสงบขึ้นมาได้นะ พอสงบขึ้นมา เราให้บทเรียนมันแล้ว แต่ถ้าเรายังสงบไม่ได้ เราจะเกรงกลัวมันมาก มันจะให้บทเรียนเราตลอดเวลา ล้มลุกคลุกคลานมาก

แล้วเวลาเราจิตสงบแล้ว ถ้าเราจับได้นะ เราจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม เราจะให้มีคุณธรรม จะปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าสมควรแก่ธรรม พิจารณาไปแล้ว พิจารณาไปบ่อยครั้งเข้า มันจะปล่อย มันปล่อยด้วยอะไร? มันปล่อยด้วยปัญญานะ ถ้าปัญญามันแยกแยะ มันรู้เท่า มันปล่อย พอมันปล่อย ถ้าเราพิจารณาซ้ำ พอมันปล่อยแล้วมันก็มีความสุข ถ้าคนที่ไม่มีอำนาจวาสนาก็ว่าสิ่งนั้นเป็นคุณธรรม ถ้าเป็นคุณธรรม มันเป็นคุณธรรมจริงๆ แต่มันยังไม่เป็นอกุปปธรรม คือมันไม่คงที่ คือมันไม่เป็นผลของเรา มันเป็นผลประสบการณ์ไง

สิ่งว่า เวลากิเลสมันให้บทเรียน ให้บทเรียนเราเจ็บแสบ ทีนี้พอมันเกิดปัญญาขึ้นมา พิจารณาแล้ว ธรรมจะให้บทเรียนกิเลส กำลังของคุณธรรม กำลังของศีล สมาธิ ปัญญา กำลังของมรรค กำลังของธรรมจักรมันมีกำลังมากกว่า กิเลสมันก็หลบ มันก็ปล่อยๆ มันปล่อยทำไมน่ะ มันปล่อยเพื่อจะหลบหลีก มันจะปล่อยแล้วมันจะรักษาตัวมัน มันไม่ยอมจะทำลายตัวมันเองไง

ฉะนั้น เวลามันปล่อยแล้ว มันปล่อย มันปล่อยก็มีความสุข ถ้าเราไม่รอบคอบ เราก็จะประมาทเลินเล่อ แต่โดยถ้าเราปฏิบัติแล้วมันมีความผิดพลาด เวลากิเลสให้บทเรียนทีหนึ่ง บทเรียนเวลามันเสื่อม กิเลสให้บทเรียนแล้ว เวลาเราต่อสู้ได้ขนาดนี้ เราทำได้ขนาดนี้ แล้วเราทำไม่ถึงที่สุด แล้วเวลาเราปล่อยวางมา มันท้อแท้ออกมา มันปล่อยออกมา เวลากิเลสมันฟื้นตัวขึ้นมา มันเหนียวแน่น มันทำสิ่งใดก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทำสมาธิก็ล้มลุกคลุกคลาน จะใช้ปัญญามันก็ไม่ก้าวเดิน เห็นไหม กิเลสพอมันฟื้นตัวมามันให้บทเรียนเราแล้วล่ะ ถ้าให้บทเรียนเรานะ อันนี้ถ้ามันฝังใจ พอฝังใจนะ นี่เจริญแล้วเสื่อม

ในการประพฤติปฏิบัติมันมีเจริญแล้วเสื่อม ถ้ามันไม่เจริญเลยจะเอาอะไรมาเสื่อม เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นเลย เล่นปฏิบัติธรรมกัน ทำกันเล่นๆ ทำกันเป็นพอเป็นพิธี แล้วก็อ้าง เวลาพูดก็พูดในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีข้อเท็จจริง ไม่มีข้อเท็จจริงขึ้นมา มันก็ไม่มี ไม่มีแล้วเอาอะไรมาเสื่อม แต่ถ้ามันมีจริง มันว่ามี มันมีมันถึงเสื่อม เพราะเราปฏิบัติ เห็นไหม กิเลสให้บทเรียนมาตลอด ทุกข์ยากมาตลอด เวลาเราทำของเราขึ้นมา มันมีกำลังขึ้นมา เราให้บทเรียนมัน ให้บทเรียนขนาดไหนนะ เวลามันเสื่อม มันตีกลับแล้ว การตีกลับ ครูบาอาจารย์บอกเหมือนเศรษฐี แล้วล้มละลาย เวลากว่าเราจะสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาจนเป็นเศรษฐีนะ แต่เพราะความประมาทเลินเล่อของเรา ถึงกับล้มละลายได้ แล้วล้มละลายแล้ว ถ้าจะแก้ตัวก็ต้องพยายามฝึกฝนขึ้นมาให้เหมือนเดิม

ฉะนั้น เวลาปฏิบัติ สิ่งนี้ครูบาอาจารย์ท่านพยายามจะคอยประคอง คอยดูแล เพราะมันเป็นเรื่องทุกข์ยากพอสมควร ทุกข์ยากมาก เวลาปฏิบัติเราก็ทุกข์ยากพอแรงอยู่แล้ว แล้วเราจะรักษาให้มันต่อเนื่องไปมันก็ยังทุกข์ยาก เห็นไหม เวลาเราไม่มีเงินทอง เราแสวงหาก็ทุกข์อยู่ เวลามีแล้วจะรักษาไว้ มันอยากจับ อยากจ่าย อยากใช้ อยากสอย มันรักษาไว้ยิ่งทุกข์ยากกว่า

อันนี้ก็เหมือนกัน เราปฏิบัติขึ้นมาแล้ว เวลาไม่มีก็แสนทุกข์แสนยาก เวลามีแล้วจะรักษาไว้อย่างไร ถ้ารักษานะ คนไม่เคยมันก็ล้มลุกคลุกคลานอย่างนี้ มันต้องให้กิเลสมันให้บทเรียนไปเรื่อยๆ กิเลสมันจะให้บทเรียนเราตลอด แล้วทีนี้เราทำ เราปฏิบัติขึ้นมาเพื่อจะให้บทเรียนมัน ให้บทเรียนมันนะ เวลาปล่อย มีความสุขมาก แต่ความสุข เห็นไหม สุขเวทนา ทุกขเวทนา มันอยู่กับเราด้วยเหตุด้วยปัจจัย เวลากิเลสมันยังมีอยู่มันก็ฟูขึ้นมาเป็นเรื่องธรรมดา ทำความสงบของใจให้มากขึ้นมา แล้วจับมัน แล้วพิจารณาต่อเนื่องไป พิจารณาต่อเนื่องไป ตรงนี้เวลาพิจารณาไปแล้วมันจะมีกำลัง มีกำลังนะ

เพราะกำลังมีมากขึ้น กิเลสถึงได้ปล่อย กิเลสถึงได้หลบหลีกไป ถ้ากำลังมากขึ้น แล้วถ้าเราพิจารณาให้กำลังมากขึ้นๆ จนใส จนแบบว่า พิจารณาแล้วมันไม่เป็นไตรลักษณ์ นี่ไง มรรคสามัคคีไง ถ้าสมาธิมันเข้มแข็งจนเกินไป มันก็สามัคคี มันก็รวมลงไม่ได้ ถ้าสมาธิมันไม่มี สมาธิมันอ่อนแอไป เวลาใช้ปัญญาไปมันก็ฟั่นเฝือ เวลาพอใช้ปัญญาไปมันก็ไม่สมดุลอีกล่ะ

ถ้ามัชฌิมาปฏิปทา มันมัชฌิมาปฏิปทาอย่างนี้ อย่างที่ว่า ถ้าภาวนาไปด้วยคนมุมานะ เพราะมันเคยเสื่อม มันเคยทุกข์เคยยาก ก็ตั้งสมาธิเต็มที่เลย พอสมาธิเต็มที่ สมาธิมันมีกำลัง ถ้ากำลังของสมาธิมันจะใส ใส กำลังของสมาธิมันไม่สมดุลของมัน เห็นไหม เราก็ต้องใช้ปัญญาให้มากขึ้น แยกแยะให้มากขึ้น ถ้าสมาธิอย่างนี้พิจารณาไปแล้วมันจะเวิ้งว้าง...มันเวิ้งว้างขนาดไหน แต่มันไม่สมดุล ไม่สามัคคี ไม่สามัคคีมันก็ไม่ขาด

มรรคสามัคคี พิจารณาไปแล้วมันจะมีประสบการณ์อย่างนี้ กิเลสมันจะให้บทเรียนเจ็บแสบ กิเลสจะให้บทเรียนตลอด ทั้งๆ ที่ปฏิบัติธรรม โสดาปัตติมรรค เวลาก้าวเดินไป ใช้พิจารณา พิจารณาอย่างนี้ โสดาปัตติมรรคมันก้าวเดินของมันไป มันก็ยังให้บทเรียนนะ บทเรียนให้เจริญแล้วเสื่อม ให้บทเรียนว่าพิจารณาแล้วมันปล่อย แต่เวลามันไม่ขาด ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ จนเวลามันสมดุลของมันนะ

เวลาฟังเทศน์ เวลาครูบาอาจารย์เทศน์อย่างนี้ เราก็พยายามจะกล่อมใจเราให้มันสมดุลอย่างนี้ มันไม่ใช่หรอก เพราะว่าถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา เราปฏิบัติของเรา เห็นไหม เวลาเรานอนหลับ เรารู้ไหมว่าเราหลับตอนไหน เรารู้ไหม

จิตเหมือนกัน เวลาพิจารณาไป มันเป็นนามธรรม กิเลสเป็นนามธรรม แต่มันอาศัยกาย อาศัยเวทนา อาศัยจิต อาศัยธรรมเพื่อหาผลประโยชน์ของมัน เราถึงต้องพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม แยกแยะมัน แยกแยะด้วยกำลังของปัญญา “ศีล สมาธิ ปัญญา” เพราะมีศีล มีความปกติของใจ เพราะใจมันปกติ ใจมันตั้งมั่น มันถึงทำความสงบของใจได้ เพราะมีความสงบ มันมีความสุข พอมีความสุขแล้วมีกำลัง พอมีกำลัง เราใช้ปัญญา ปัญญาที่ว่าไม่มีสมุทัยเข้ามาเจือปน เพราะอะไร เพราะกำลังมันพอ ถ้าจิตมันเสื่อม นั่นน่ะ สมุทัยทั้งนั้น สมุทัยมันเข้ามาเจือปน สมุทัยคือกิเลส สมุทัยคือกิเลสที่มันจะให้บทเรียน เราทำคุณงามความดีมันก็ปัดขา ทำคุณงามความดีมันก็หลอกล่อ นี่มันทำให้เราล้มลุกคลุกคลานตลอด

แต่เราก็ต้องพิสูจน์ เราก็ต้องใช้ความชำนาญของเรา ถ้าทำอย่างนี้แล้วกิเลสมันปัดขา เราก็เซ ถ้ากิเลสมันผลักเราก็ล้ม ถ้าเราล้มเราก็ลุกขึ้นมา ลุกขึ้นมาเราก็วิปัสสนาใหม่ เราก็ใช้ปัญญาแยกแยะของเราไป ถ้าแยกแยะของเราไปมันก็ปล่อย ต่างฝ่ายต่างให้บทเรียนระหว่างกิเลสกับธรรม มันจะให้บทเรียนซึ่งกันและกัน ถ้ามันให้บทเรียนซึ่งกันและกัน เราพิจารณาของเราต่อเนื่องๆ ขึ้นไป ถ้ากำลังมีมากขึ้น เวลาถ้าธรรมมันสมดุล สมดุลคือมัชฌิมาปฏิปทา คือสมดุลของมัน มันรวมลง ขาด พับ! สักกายทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิดไง สักกายทิฏฐิ ทิฏฐิว่ากายเป็นของเราไง วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสไง วิจิกิจฉาก็สงสัย เพราะมันเป็นของเราจริงหรือไม่จริง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไม่ใช่ เราอาศัยชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ของเรา นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่ใช่ความรู้แจ้งในหัวใจ นี่สักกายทิฏฐิ ทิฏฐิมันก็มีความสงสัย มันก็ลูบๆ คลำๆ อยู่อย่างนั้น

ถ้าพิจารณาซ้ำๆๆ สัจธรรม มรรคสามัคคีมันรวมตัวต่อหน้า มันสมุจเฉทปหานต่อหน้า ซึ่งๆ หน้าๆ เวลาซึ่ง ๆ หน้า มันทำลายลง กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ นี่ไง สัจธรรมมันให้บทเรียนมัน ถ้าให้บทเรียนมันแล้วจบ สังโยชน์มันขาดไป เพราะมันขาดไป เรามีสติมีปัญญาขึ้น เราภาวนาเป็นแล้ว พอภาวนาเป็นมันมีประสบการณ์ไง มีประสบการณ์แล้วทำความสงบของใจให้มากขึ้นๆ แล้วจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม

เพราะเวลากิเลสให้บทเรียนนะ หลานของกิเลสให้บทเรียนยังทุกข์ยากขนาดนี้ แล้วถ้าลูกของมัน มันต้องมีกำลังมากกว่า แล้วถ้าพ่อของมันล่ะ มันจะเจ้าเล่ห์ขนาดไหน แล้วปู่ของมัน มันจะขนาดไหน นี่เวลากิเลสมันให้บทเรียน บทเรียนที่ว่ามันละเอียดขึ้น แต่ขณะที่มันให้บทเรียนขนาดไหน แต่เดิมเราไม่เห็นตระกูลของกิเลสเลย เราปฏิบัติไป ทั้งตระกูลนี้มันปิดหูปิดตาหัวใจ แล้วปฏิบัติไป ปฏิบัติธรรมในสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษามาในภาคปริยัติ ศึกษามาเป็นทางวิชาการ ศึกษามานี่เป็นวิธีทั้งนั้น วิธีการจะชำระล้างกิเลส วิธีที่เราจะมาฝึกฝนให้มันมีความจริงขึ้นมากับใจ ให้มีศีล ให้มีสมาธิ ให้มีปัญญาขึ้นมาเป็นความจริง สิ่งที่เราได้ชื่อมาคือวิธีทั้งนั้น

แต่เวลาเราจะปฏิบัติจริงๆ ขึ้นมา เราไม่เคยเห็นหลานมัน ลูกมัน พ่อมัน ปู่มัน เราไม่เคยเห็นตระกูลของกิเลสนี้เลย ถ้าเราไม่เคยเห็น ทั้งตระกูลเขาสามัคคีกันหลอก เขาสามัคคีกันให้บทเรียน ให้บทเรียนกับหัวใจ ถ้ามันให้บทเรียนกับหัวใจ หัวใจมันถึงล้มลุกคลุกคลาน ทำความสงบของใจก็ทำได้ยาก เพราะทั้งตระกูลมันปัดแข้งปัดขา มันทำให้เราล้มลุกคลุกคลานทั้งตระกูล แต่เพราะความมุมานะ ด้วยความตั้งมั่น ด้วยอำนาจวาสนาบารมี ด้วยความเพียรชอบ ทำจนจิตมันสงบลงมาได้ พอจิตสงบได้ จิตสงบแล้วรักษาของเราให้มันตั้งมั่นขึ้นมาได้ มีกำลังขึ้นมา แล้วมีกำลังขึ้นมา ถ้าเรามีสติมีปัญญา น้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นสติปัฏฐาน ๔ แล้ววิปัสสนา ทำของเรา

เราทำของเราทั้งตระกูลของเขา แต่สิ่งที่เรากระทำ เราเข้าไปเผชิญครั้งแรกก็หลานของมัน กิเลสเล็กน้อย กิเลสหยาบๆ เรายังล้มลุกคลุกคลานกันขนาดนี้ แต่ก็ด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยความเพียร ด้วยความวิริยะ ความอุตสาหะของเรา ทั้งๆ ที่การปฏิบัติของเรามันจะทุกข์ยากขนาดไหน เราก็ต่อสู้ต่อเนื่องของเราไป จนถึงที่สุดเวลามันขาด ถ้ามันขาด เราได้ฆ่าทำลายตระกูลของเขา ได้ฆ่าทำลายหลานของกิเลสไป

ในเมื่อมันเป็นตระกูลเดียวกัน มันสายเลือดเดียวกัน มันดีเอ็นเอเดียวกัน มันจับต้องของมันขึ้นไป นี่ภาวนาเป็น เพราะภาวนาเป็น ถ้าเราไม่เคยเห็นตระกูลของเขาเลย ไม่เคยเห็นต่อสู้กับเขาเลย เขาทำอยู่ข้างเดียว มันให้บทเรียนล้มลุกคลุกคลาน ให้บทเรียนเจ็บแสบอยู่ข้างเดียว แต่ขณะที่เราทำ เราทำขึ้นมา ศึกษามา ศึกษาเป็นวิธีการนะ ต้องได้จริง ต้องทำความสงบของใจได้จริง ต้องมีปัญญาจริง ภาวนามยปัญญาจริง มันถึงได้ต่อสู้ฟาดฟันกันระหว่างการให้บทเรียนซึ่งกันและกัน ระหว่างกิเลสกับธรรม

ถ้ามันให้บทเรียนซึ่งกันและกัน มันพัฒนาขึ้นไปจนถึงที่สุด เวลามันทำลายสมุจเฉทปหาน มันขาด นี่กิเลสมันตาย กิเลสมันตาย หลานมันเกิดอีกไม่ได้ หลานตายแล้ว ตระกูลนี้ ลูกหลานได้ดับขันธ์ไปแล้ว มันจะฟื้นมาไม่ได้ นี่ทำให้ดวงใจดวงนี้ ทำให้จิตดวงนี้ที่ประพฤติปฏิบัติมามีคุณธรรม มีคุณธรรมเป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมเพราะพิจารณาถึงเวลาสมุจเฉทปหานเป็นอกุปปธรรม คงที่ แน่นอน จะอีก ๗ ชาติ ถ้าจะเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่ใช่ชาติปัจจุบันนี้ ขณะว่าดับขันธ์นี้ไปอีก ๗ ชาติ มันพาดกระแสแล้วมันต้องถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

แต่เพราะภาวนาเป็น เราถึงทำความสงบของใจให้มากขึ้น แต่เทคนิคในการให้บทเรียนของกิเลสที่ละเอียดๆ ลึกซึ้งมาก ลึกซึ้ง ฉะนั้น เวลาเราพิจารณาขึ้นไป จับถึงต่อสู้กับลูกของมัน ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม พิจารณาให้เป็นไตรลักษณ์ ให้เป็นไตรลักษณ์เพราะมันมีกำลังของสมาธิ กำลังของปัญญาแยกแยะไปเรื่อยๆ แยก จับ พิจารณาจับกายได้แล้วแยกแยะ ถ้าจับเวทนา ก็สุข-ทุกข์ เวทนา ถ้าจับจิต จิตผ่องใส พิจารณาด้วยกำลัง

ถ้าจิตไม่มีกำลังคือจิตไม่มีสมาธิ ถ้าจิตมีสมาธิ จิตถึงมีกำลัง เพราะมีกำลังขึ้นมามันถึงทำงานได้ ถ้าทำงานได้ ด้วยการฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาแยกแยะให้เป็นไตรลักษณ์ พิจารณาซ้ำๆๆ มันจะแยกของมันไป พิจารณาของเราไป ถ้ามันก้าวเดินได้ เพราะเราทำงานเป็น เราได้พิจารณามาแล้ว เราให้บทเรียนกับกิเลสไปแล้ว หลานของมันได้ชำระล้าง ตายไปแล้ว เป็นอกุปปธรรม

แต่ลูกของมัน มันเป็นกิเลสที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีความจริงอยู่ มันถึงมีเล่ห์กลของมัน ถ้าเล่ห์กลของมัน เรามีสติมีปัญญา เราก็ใช้มรรคใช้ผลเข้าไปต่อสู้ เข้าไปต่อสู้ เห็นไหม วิปัสสนา วิปัสสนาคือการต่อสู้ คือการหาเหตุหาผล คือการพิจารณาของเราเพื่อประโยชน์กับใจดวงนี้ นี่ฝึกฝนใจของเราไง ถ้าใจของเรามันมีสติมีปัญญาพอ มีกำลังพอ มันก็ต่อสู้กันระหว่างกิเลสกับธรรมที่มันจะให้บทเรียนกันต่อเนื่องกันไป แต่กิเลสที่มันละเอียดกว่ามันก็มีเล่ห์กลของมันที่ลึกซึ้งกว่า พิจารณาซ้ำๆ พิจารณาต่อเนื่องกันไป ถึงที่สุดมันก็ขาด มันขาดด้วยอะไรล่ะ? ขาดด้วยมรรค ขาดด้วยปัญญา มันไม่ได้ขาดเพราะความปรารถนา ไม่ได้ขาดเพราะความเห็นใจ มันไม่ได้ขาดเพราะว่าเราระลึกให้มันขาด...ไม่ใช่ ไม่มี

มันต้องเป็นสัจจะ มันต้องเป็นความจริง

ถ้ามันมีมรรคไง มีมรรคก็มีสติมีปัญญาตามความเป็นจริง เพราะมรรคมันก้าวเดิน มรรคญาณที่มันจะทำลายไง ถ้าไม่มีมรรคขึ้นมา เราไม่มีเหตุมีผล เราจะไปใช้หนี้เขาได้อย่างไร ไม่มีเหตุมีผล เราจะไปทำลายลูกของกิเลสได้อย่างไร ลูกกิเลสมันจะมานอนให้เราฆ่า มันเป็นไปไม่ได้หรอก กิเลสจะมานอนให้เราฆ่า กิเลสจะให้มรรคฆ่า เพราะมรรคเป็นมรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราศึกษามาเป็นวิธีการ วิธีการฆ่าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราต้องฆ่าของเราเอง เราต้องมีสติมีปัญญาของเราเอง มีปัญญาเข้าไป พิจารณาต่อไป

เราไม่ได้พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมเพื่อเอาคุณงามความดีจากเขา

เราพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมเพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์

เพราะกิเลสที่เป็นนามธรรมมันอาศัยสิ่งนี้หาประโยชน์กับมัน เราเอามาแยกแยะขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งที่มันเกี่ยวเนื่องกันมาไง กามราคะ-ปฏิฆะมันอ่อนลง มันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลามันขาด โลกนี้ราบหมดนะ นี่ลูกของมันตาย พอลูกมันตาย เราจะไปเจอพ่อมัน ถ้าลูกมันตาย ถ้าคนไม่มีสติมีปัญญา มันสุขมาก แล้วมันอยู่ที่วาสนาของคน วาสนาคือว่าสิ่งที่ฝังใจ ถ้าใจมันคิดว่านี่เป็นนิพพานก็คือจบ

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เรามีอำนาจวาสนา เรามีความรอบคอบ เห็นไหม มรรค ๔ ผล ๔ นี่บุคคลคู่ที่ ๒ มันยังไม่ถึงที่สุด ถ้าถึงที่สุด เราทำความสงบของใจให้มากขึ้น ทีนี้มากขึ้น มันจะหาได้ยาก เห็นไหม

ในเมื่อหลานมันตายไป ลูกมันตายไป พ่อเห็นลูกหลานตายไป พ่อต้องมีความเจ็บแค้นเป็นธรรมดา แล้วพ่อเขามีสายสัมพันธ์ใช่ไหม เราจะค้นหาเขาได้ยากมาก ฉะนั้น ค้นหาได้ยากมาก ทำความสงบของใจให้มากขึ้นแล้วค้นหา ต้องมีเทคนิค มีวิธีการ การขุดคุ้ยหากิเลสเป็นเรื่องยากมาก เราบอกว่าเราจะฆ่ากิเลส ทุกคนบอกว่ากิเลสเป็นพญามาร กิเลสเป็นตัณหาความทะยาน กิเลสเป็นสิ่งชั่วร้าย กิเลสเป็นสิ่งที่มี ทุกคนอยากฆ่ากิเลส แล้วกิเลสมันอยู่ไหนล่ะ ถ้าเราไม่เห็นกิเลส เราไม่รู้จักกิเลส มันจะฆ่ากิเลสได้อย่างไร

ถ้าไม่ฆ่ากิเลส กิเลสมันก็สวมรอย “นี่นิพพานแล้วล่ะ” เห็นไหม มันพูดแค่นี้ มันบอก “นี่จบแล้ว มันว่างหมดแล้ว มันไม่มีสิ่งใดแล้ว แค่นี้จบแล้ว” ถ้าจบแล้วมันก็พอใจ เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มีความสุข มันมีความสุข ความสุขของมันอยู่ แต่สิ่งที่มันฝังใจอยู่นั่นลึกซึ้งนะ สิ่งที่ลึกซึ้งมันต้องทำความสงบของใจให้มากขึ้น แล้วต้องมีอุบาย การที่จะเข้าไปค้นคว้าเจอ

ถ้าคนไม่เห็นว่าตัวเองผิด จะรู้ว่าตัวเองมีความผิดไหม คนเราถ้าไม่เห็นกาย ไม่เห็นเวทนา ไม่เห็นจิต ไม่เห็นธรรม ไม่เห็นแล้วมันจะพิจารณาได้ไหม ถ้ามันไม่เห็นก็ไม่เห็นกิเลสไง มันเห็นไม่ได้หรอก เพราะกิเลสมันลึกซึ้ง กิเลสมันให้บทเรียน บทเรียนคืออะไร? บทเรียนคือเอ็งปฏิบัติไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ไง บทเรียนคือเอ็งจะได้สมบัติมากไปกว่านี้ไง ถ้าเอ็งทำได้มากขนาดนี้ก็ต้องอยู่ตรงนี้ นี่กิเลสมันหลอก หลอกให้อยู่ตรงนี้ไง เรียกว่า “ติด”

แต่ถ้ามีสติมีปัญญานะ ทำความสงบของใจมันจะเป็นมหาสติ-มหาปัญญาแล้ว เพราะมันเป็นมหาสติ-มหาปัญญาได้เพราะจิตมันเป็นมหาสติ มันถึงจับได้ ถ้ามันจับได้มันเจออสุภะแล้ว ถ้ามันจับได้ นี่เจออสุภะ อสุภะ กามราคะ ถ้ามันจับได้ มันจะพิจารณา แล้วถ้ามันจับได้ กิเลสมันจะให้บทเรียนอีกมหาศาลเลย มันจะปลิ้นปล้อน มันจะหลอกลวง พิจารณา จับแล้ว ขนาดจับได้มันก็ตื่นเต้นแล้ว ตื่นเต้นเพราะอะไร ตื่นเต้นเพราะว่าไหนว่าไม่มีไง ไหนว่าสะอาดบริสุทธิ์ไง ไหนว่านิพพานไง พอจับขึ้นมามันก็ฟูขึ้นมาในใจ มันฟูขึ้นมาที่ใจเพราะอะไร เพราะถ้าเราไม่รู้จักว่ามันเป็นโรค เราก็นอนสบายใจใช่ไหม แต่ถ้าวันไหนเราบอกเราเป็นโรคร้าย เราจะต้องตายในวันนี้ เราจะตื่นเต้นมาก

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าบอกว่าเราไม่มีกิเลส เรานิพพานแล้ว เราจบสิ้นกระบวนการแล้ว เราก็อุ่นใจใช่ไหม แต่พอไปเจอมัน นี่เชื้อโรค นี่พ่อของมัน นี่จอมทัพ ตัวนี้ที่ทำให้เราทุกข์เรายากอยู่นี่ ถ้ามีสติมีปัญญามันก็เท่าทันกัน ถ้ามีสติมีปัญญา มันก็ให้บทเรียน

มันพลิกแพลงเปลี่ยนแปลง เล่ห์กลของมันร้อยแปดพันเก้า มหาสติ-มหาปัญญารุนแรงมาก รุนแรงสุดๆ ถ้าคนที่ไม่เคยปฏิบัติ คนที่ไม่เคยผ่าน ผ่านเรื่องตระกูลของกิเลส มันจะพูดแบบเขาเล่าว่า มันไม่สะเทือนใจ แล้วมันไม่เห็นโทษด้วย เพราะปัญญาก็คือปัญญาไง เงินก็คือเงิน ซื้อที่ไหนก็ได้ๆ นี่ปัญญามันก็เป็นปัญญา แต่มันเป็นปัญญากับมหาปัญญา สติ-มหาสติมันแตกต่างกันมหาศาล ระหว่างที่จะขึ้นไป เห็นไหม เพราะอะไร เพราะมันเป็นจอมทัพ ถ้าเป็นจอมทัพ ถ้าทำไม่เป็นมันให้บทเรียนเจ็บแสบมาก

ดูสิ เวลาเราต่อสู้ ต่อสู้โดยเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา แม้แต่ทำสมาธิ กิเลสมันให้บทเรียนก็ทุกข์ยากขนาดนี้อยู่แล้ว แล้วเวลาเราวิปัสสนาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้าไปถึง จอมทัพ ถ้ามันจับต้องได้ มันจะให้บทเรียนขนาดไหน ถ้าให้บทเรียนขนาดไหน วิธีการต่อสู้มันจะแยกแยะอย่างไร จับสิ่งใด จับต้องอย่างใด สิ่งที่มันเป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นอสุภะ ถ้าอสุภะ ทำไมถึงเป็นอสุภะล่ะ เพราะมันมีกำลัง เป็นอสุภะนะ ถ้าพิจารณาอสุภะ อสุภะเพราะอะไร ถ้าอสุภะ พิจารณาอสุภะหน้าเดียว มันเป็นอสุภะๆ จนมันปล่อยหมดเลย มันวางหมด แล้วอย่างไรต่อ ไม่มีผลตอบสนอง ต้องพิจารณาสุภะด้วย

ถ้าอสุภะจนเอียงข้างไป พอเอียงข้าง มันไปแล้ว ไม่มี ว่างหมด นี่กิเลสมันหลบ กิเลสมันให้บทเรียน ถ้าพลั้งเผลอ ถ้าติดอยู่แค่นั้นก็ว่าแค่นั้น แต่ไม่มีผลตอบสนอง แต่ถ้าพิจารณาสุภะเลย จับสุภะมาเลย สุภะเอามาเทียบเคียง พิจารณาสุภะ สุภะมันก็มีความพอใจ จิตใจมันก็ฟู อ้าว! ทีนี้ฟูแล้วกลับมาพิจารณาอสุภะ อสุภะ พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก

เวลาพิจารณามันจะมีเทคนิคเยอะแยะไปหมดล่ะ มันอยู่ที่กิเลสของใครมีกำลังมากน้อยแค่ไหน แล้วมีสติปัญญาเราได้มากขนาดไหน นี่ระหว่างกิเลสกับธรรมมันจะให้บทเรียนต่อกันๆ ถ้ากิเลสมันให้บทเรียน เรายอมจำนน เราไปไม่ได้ อยู่แค่นั้นน่ะ แต่มันเป็นนามธรรม มันมีคุณธรรมในหัวใจ มันก็คิดว่าแค่นี้ก็เป็นแค่นี้

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านกระหน่ำนะ นี่วิธีแก้ แก้จิตๆ ถ้ามันไม่สมุจเฉทปหาน ไม่มีผลตอบสนอง มันเป็นไปไม่ได้ คุณธรรมต้องให้บทเรียนกับมัน ต้องพิจารณาซ้ำๆ ซากๆ ถึงที่สุดเวลาขาดนะ มันปล่อยๆ เข้ามา ละเอียดเข้ามา ละเอียดเข้ามาจนถึงตัวมัน มันมาปล่อยที่กลางหัวใจเลย จิตมันปล่อย เห็นไหม ปล่อยจากข้างนอก ปล่อยจากข้างนอกเข้ามาๆ เวลามันปล่อยเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด นี่เป็นขันธ์ประจำหัวใจเลย เพราะสัญญา สัญญาถึงเป็นปฏิฆะ สัญญาข้อมูลของมัน เพราะมีสัญญา มีข้อมูลในหัวใจ มันถึงเกิดกามราคะ

ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลามันขาดนะ มาขาดครืน! ในหัวใจ พิจารณาต่อเนื่องๆ ขึ้นไป สิ่งที่มันเป็นเศษส่วน เศษส่วนที่มันละเอียดขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้ากิเลสมันให้บทเรียนนะ ก็แค่นี้ จบอีกแล้ว ติดอีก เพราะว่างหมด ทุกอย่างว่างหมด นี่กิเลสให้บทเรียน บทเรียนคืออะไร? บทเรียนคือจะไม่เห็นจอมทัพ บทเรียนคือจะไม่เห็นปู่ของมัน ปู่ของมันจะหลบซ่อน หาปู่มันไม่เจอเด็ดขาด จะต้องมีครูบาอาจารย์ จะต้องมีอำนาจวาสนา จะต้องมีสติปัญญาถึงมหาศาล มหาศาลเพราะอะไร เพราะเป็นอรหัตมรรค อรหัตมรรคจะย้อนกลับไป ย้อนกลับไปถึงตัวอวิชชา ถึงฐีติจิต จิตเดิมแท้

ถ้าจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส...ก็มันผ่องใสอยู่แล้ว ดูสิ พระอาทิตย์มันลอยอยู่กลางอากาศ ใครจะทำลายมัน พระอาทิตย์ให้พลังงานกับโลก พระอาทิตย์มีประโยชน์ แสงแดดต่างๆ ให้อาหาร ให้ทุกอย่างพร้อมหมดเลย นี่ก็เหมือนกัน เขาไม่มีโทษอะไรเลย เขาผ่องใส เขาจะมีโทษอะไร นั่นล่ะพระเจ้า นั่นล่ะสุดยอดของธรรม...นี่กิเลสให้บทเรียน จบนะ ไปไม่รอด

แต่ถ้ามีครูมีอาจารย์ มันจะมีการค้นคว้ามา สิ่งที่ให้อาหารก็ยอมรับว่าให้อาหาร แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ก็รู้ว่าเป็นประโยชน์ แต่ประโยชน์มันยังเป็นภวาสวะ เป็นภพ มันยังต้องไปเกิดบนพรหมอีกแน่นอน เราต้องมีสติมีปัญญาขนาดไหนล่ะ เวลากิเลสให้บทเรียนมันไปไม่ได้ บทเรียนอย่างนี้คือบทเรียนให้ติด บทเรียนที่ว่า ไม่ใช่ให้ความทุกข์เลยนะ มันเฉา มันไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่ความคิด มันไม่ใช่ความคิด ไม่ใช่สิ่งที่เป็นโทษเลย นี่เวลามันให้บทเรียนให้บทเรียนอย่างนี้ อวิชชามันให้บทเรียน จอมทัพมันให้บทเรียน บทเรียนที่เราไม่รู้ว่าเป็นบทเรียน กิเลสมันให้บทเรียน ไม่รู้เลยว่ามันให้บทเรียนอยู่ ไม่รู้เลยว่ามันหลอก ไม่รู้เลย

แต่ถ้ามีอำนาจวาสนา มีครูบาอาจารย์นะ ละเอียดเข้าไป พอละเอียดเข้าไปถึงตัวมันเอง ตัวมันเองจะจับตัวมันเอง ตัวจิตเดิมแท้ ความผ่องใส จะระลึกถึงความผ่องใส ความผ่องใสจับตัวความผ่องใสได้ ความผ่องใสนั้นเป็นปัญญาญาณ ใช้ความคิดไม่ได้ ใช้สิ่งต่างๆ ไม่ได้ เพราะมันละเอียดลึกซึ้งถึงที่สุด ถ้ากิเลสให้บทเรียน เราจะไม่มีปัญญา เราจะไม่สามารถเข้าไปสู่ตัวมันได้

ถึงตัวมันได้ จับถึงตัวมันได้แล้ว มันจะใช้ความหยาบ สิ่งที่เป็นอย่างอื่นเข้าไปจัดการไม่ได้ จนถึงที่สุด จิตมันเป็นกลาง แล้วมันทำลายตัวมันทั้งหมด ยิ่งทำลาย ทำลายความผ่องใส ทำลายทุกๆ อย่าง เห็นไหม ทำลายทุกๆ อย่าง หมดสิ้นกระบวนการของมัน นี่คุณธรรม สัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ธรรมมาแล้ว วางธรรมและวินัยนี้ไว้ แล้วศึกษาสัจธรรมอันนี้ นี่เป็นวิธีการ แล้วเราต้องประพฤติปฏิบัติให้มีคุณธรรม สัจจะความจริง

เวลามันทำลาย ชำระล้าง ชำระล้างภวาสวะ ชำระล้างภพ ที่ไหนไม่มีภพ ไม่มีสถานที่ นี่ทำลายที่อยู่ของมัน ทำลายสิ่งที่จอมทัพมันอาศัยที่นั่น เรือนยอดของเรือน ๓ หลัง เราได้หักมันแล้ว ได้หักมันด้วยมรรคญาณ ได้หักมันโดยความถูกต้องดีงามจากสัจจะความจริง เห็นไหม สิ่งนี้ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไง ไม่ให้กิเลสมันให้บทเรียน เราต้องให้ธรรมให้บทเรียนกิเลส ชำระล้างกิเลสออกไปจากหัวใจของเรา เอวัง