เทศน์บนศาลา

เปิดตาเห็นธรรม

๑๒ มิ.ย. ๒๕๕๗

 

เปิดตาเห็นธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมะเนาะ อากาศร่มเย็น ความสงบสงัด นี่ธรรมะ สัจธรรม สิ่งที่แสงสีเสียงนี้โลกเขาสร้างขึ้นมา สัจจะ เห็นไหม มืดแล้วสว่าง สว่างแล้วก็มืด อันนี้เป็นของคู่ เราเกิดมากับโลก เราตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าประพฤติปฏิบัติธรรม ธรรมะคืออะไร? ธรรมะคือสัจจะ สัจธรรมนะ นี่กิริยาของธรรม แต่เวลาทำถึงที่สุดแห่งทุกข์ ความจริงอันนั้นเกิดจากสัจจะอันนี้ ทีนี้เรามาปฏิบัติธรรม เราพยายามทำความเป็นจริงของเราให้ขึ้นมา

ถ้าเป็นความจริงของเราขึ้นมา เวลาฟังธรรมๆ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยพุทธกาล พระมาบวช บวชเมื่อเฒ่า เวลาไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอกรรมฐานแล้วเข้าป่าไป เข้าป่าไป ไปฟังธรรมในป่า ในป่าเวลาประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมา สิ่งที่เราฟังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา กิเลสมันเชื่อไหม ความเห็นของเรามันยอมรับความจริงไหม ถ้าไม่ยอมรับความจริง ต้องให้เข้าป่าเข้าเขา ให้สิ่งสงบสงัดนั้นเป็นครูสอน เป็นครูสอนคือบังคับไง บังคับให้สิ่งที่เราปรารถนา เราต้องการ สิ่งที่เราจินตนาการ กับความเป็นจริงมันเป็นแบบใดล่ะ

ถ้าความเป็นจริง ความเป็นจริงเกิดขึ้นมา เราจะรู้ได้ เราจะรู้ได้ในเมื่อถ้าเกิดสัจจะขึ้นมาในหัวใจของเรา เรารู้ได้เพราะสิ่งใด เรารู้ได้เพราะเรามีสติไง เรามีสติมีปัญญา สิ่งที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากสัญญาอารมณ์สิ่งที่เราจินตนาการ แต่เวลาความจริงเกิดขึ้น เกิดขึ้นจากความเพียรของเราไง ความเพียรชอบ ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะของเรา ความเพียรในการประพฤติปฏิบัติ เวลามีสติปัญญามันยับยั้งได้หมด ยับยั้งสิ่งที่ฟุ้งซ่าน ยับยั้งสิ่งที่มันปรารถนามันต้องการโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริงนะ ความทุกข์ความยากของเรา เราตั้งสติของเรา กำหนดพุทโธของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันรู้มันเห็นอย่างนี้ ถ้ามันรู้มันเห็นของมัน สิ่งที่รู้เห็นมันเกิดขึ้นมาจากไหน? เกิดมาจากสติปัญญา สิ่งที่เวลามันขาดสติล่ะ สิ่งที่ขาดสติ มันจินตนาการของมันไป ถ้ามันจินตนาการของมันไป สิ่งที่มันเป็นขึ้นมามันเป็นขึ้นมาจากอะไรล่ะ มันเป็นขึ้นมาจากสัญชาตญาณไง มันเป็นขึ้นมาจากธาตุรู้ สิ่งที่จิตปฏิสนธิมันเกิดขึ้นมาจากเรามีปฏิสนธิวิญญาณ สิ่งที่เกิดขึ้นๆ เกิดขึ้นจากขันธ์ ๕ เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณของมนุษย์ สัญชาตญาณของจิต ถ้ามีสัญชาตญาณอย่างนั้นมันรู้ได้อย่างไร มันรู้ไม่ได้

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราเป็นคนคัดเลือกเองใช่ไหม เราแยกแยะของเราเองใช่ไหม สิ่งที่ทำอย่างนี้ เราฟังธรรมๆ มา เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ให้ความวิเวก กายวิเวก จิตวิเวก สิ่งสถานที่เป็นที่วิเวก วิเวกขึ้นมาเพื่ออะไร? เพื่อให้จิตใจมันกล่อมจิตใจของเราให้สงบระงับเข้ามา สงบระงับเข้ามามันจะเป็นความจริงของเรา ถ้าความจริงมันเกิดขึ้น ความจริงเกิดขึ้นมา

สิ่งที่มีคุณค่ากับเรา เราเกิดมาแล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เราเป็นบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากธรรมไว้นะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เวลามารมาดลใจๆ “มารเอย เมื่อใดภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาของเรายังไม่เข้มแข็งสามารถกล่าวแก้คำจาบจ้วงของลัทธิต่างๆ ได้ เราจะไม่ยอมนิพพาน”

จนเทศนาว่าการนะ ฝากธรรมและวินัยไว้บริษัท ๔ จนถึงวันมาฆบูชา มารมาดลใจตลอดๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดกับมาร “มารเอย บัดนี้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาของเราเข้มแข็งสามารถกล่าวแก้คำจาบจ้วงของลัทธิต่างๆ ได้ อีก ๓ เดือนข้างหน้าเราจะนิพพาน”

นี่ฝากไว้กับบริษัท ๔ ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้ เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เราเกิดมาแล้วถ้าเรามีสติปัญญา เราเกิดมาเราก็มีการศึกษาหาความรู้ของเราเป็นวิชาชีพของเรา วิชาชีพเกิดขึ้นมา คนฉลาดกับคนดี คนดี คนฉลาด คนมีวิชาชีพต่างๆ สิ่งนั้นเราศึกษามาเป็นวิชาชีพ แต่ถ้าเราฉลาดล่ะ เราฉลาดแล้วมีศีลธรรมด้วย เป็นคนดีด้วย ถ้าคนดี เห็นไหม คนดีคืออะไร คนดีคือซื่อสัตย์กับตนเองไง สุจริตชนไง

คนดีถ้ามีศีลธรรมจริยธรรม เราทำวิชาชีพของเรา เราทำด้วยความสุจริตไง ถ้าทำด้วยความสุจริต คนดีมันจะปกครองตัวเรา ถ้าเราเป็นคนดี เราจะดีต่อเนื่องๆ ไป ต่อเนื่องเพราะอะไร เพราะเราทำสัมมาอาชีวะ เราทำความถูกต้องดีงามขึ้นไป ชีวิตของเราจะเจริญรุ่งเรือง ถ้ามันจะขาดตกบกพร่องบ้าง ขาดตกบกพร่องบ้างเพราะผลของวัฏฏะ ผลของเวรของกรรม ใครสร้างบุญสร้างกรรมมา แต่เราซื่อสัตย์ไง เราซื่อสัตย์เพราะเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง

เราเกิดมาแล้วมีการศึกษา ศึกษามาเป็นวิชาชีพ แต่ถ้าความเป็นคนดี ถ้าเป็นคนดี ความสุจริตนั่นคือศีลธรรม ถ้าศีลธรรม เรามีศีลธรรมในหัวใจใช่ไหม เราก็ประพฤติปฏิบัติของเรา เราดำรงชีวิตของเราเข้าไป ถ้าเราจะปฏิบัติล่ะ เห็นไหม เวลาเราเห็นภัยในวัฏสงสาร เราถึงได้มาบวชเป็นพระ ถ้าบวชพระ บวชพระเพื่อประสงค์สิ่งใด บวชพระเพื่อปฏิบัติไง

เวลาบวชพระขึ้นมา อุปัชฌาย์ยกเข้าหมู่มาแล้วเป็นสมมติสงฆ์ สมมติสงฆ์บวชร่างกาย แล้วจิตใจล่ะ จิตใจเราต้องประพฤติปฏิบัติของเราเอง จิตใจเราจะมาปฏิบัติของเรา ถ้ามันจะบวชใจเราให้เป็นพระล่ะ ถ้าเป็นพระ เห็นไหม ทางโลกเขา เขาว่าเป็นสุจริตชน เขาเป็นคนดี คนมีศีลธรรมของเขา นั่นเป็นคนดีของเขา ถ้าคนดีของเขาทำคุณงามความดีต่อไป มันก็ผลของวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิดตามบุญกุศลอย่างนั้น ถ้าเราจะเวียนว่ายตายเกิดอยู่ เราก็มีบุญกุศลให้เป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราไป

แต่นี่เราเกิดเป็นมนุษย์ เรามีการศึกษา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากธรรมวินัยกับเราไว้ มันเป็นมรดกตกทอดมา ถ้าเราจะค้นคว้าล่ะ เราจะค้นคว้า เราก็ค้นคว้าตามหัวใจของเราไง เราจะไปค้นคว้าจากที่ไหนล่ะ เราจะค้นคว้าหัวใจของเรา แล้วทำไมเราต้องมาวัดมาวาล่ะ ทำไมพระเราต้องออกธุดงค์ล่ะ ในเมื่อค้นคว้าในหัวใจของเรา หัวใจเราก็มีอยู่แล้ว ทำไมเราต้องไปธุดงค์

ไปธุดงค์ก็ไปค้นคว้าหาใจเรานี่ ไปค้นคว้าหาความจริงในหัวใจเรานี่ แต่อาศัยสิ่งนั้น อาศัยสิ่งนั้นบีบบังคับ อาศัยสิ่งนั้นดัดแปลงตน อาศัยสิ่งนั้นๆ

ชีวิต ชีวิตเกิดมา ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด คนเราเกิดมา ชีวิตนี้มันต้องตายไปข้างหน้าแน่นอน ถ้าตายไปข้างหน้า แล้วทำไมต้องทำมาหากินล่ะ ทำไมต้องทำหน้าที่การงานล่ะ ก็ทำหน้าที่การงานเพื่อดำรงชีวิตไง ดำรงชีวิตไว้ทำไมล่ะ ดำรงชีวิตไว้ ถ้าใครสร้างบุญกุศล ทำคุณงามความดี เขาก็เพื่อปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีงามขึ้นไป เขายังต้องทำหน้าที่การงานของเขา

นี่ก็เหมือนกัน เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ทำไมถ้าจิตใจมันอยู่ในร่างกายนี้ เราปฏิบัติที่ไหนก็ปฏิบัติได้

เป็นความคิด ที่ไหนก็ปฏิบัติได้จริงๆ ถ้าเวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติสิ้นสุดแห่งทุกข์แล้วท่านจะอยู่ที่ไหนก็ได้ จะอยู่ในป่าก็ได้ จะอยู่ในเมืองก็ได้ จะอยู่ที่ไหนก็ได้ แต่ท่านปรารถนาอยู่ในป่าแน่นอน เพราะในปัจจุบันนี้ ปกติเราทำหน้าที่การงานกันแล้ว วันหยุดเราก็อยากไปพักไปผ่อน เราก็ยังไปหาธรรมชาติเลย เราจะไปหาอากาศที่บริสุทธิ์ เราจะไปหาสิ่งแวดล้อมที่ดี เราก็ปรารถนาอย่างนั้น เราปรารถนาของเราอยู่แล้ว

ฉะนั้น ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขาเข้าป่าเข้าเขาไป สิ่งนั้นมันเป็นสัจจะเป็นความจริงของมัน มันก็เป็นธรรมชาติสร้างมาอย่างนั้นน่ะ สิ่งที่เราอยู่ในเมือง ดูสิ มันก็มนุษย์สร้างทั้งนั้นน่ะ ถ้ามนุษย์สร้างขึ้นมา ต้องมีการบำรุงรักษา ต้องมีเก็บค่าส่วนกลาง ต้องมีทุกอย่าง ฉะนั้น เราเอาความจริงของเรา เราอยู่กับเรานะ เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง เราอาศัยความเป็นจริงของเรา เราประพฤติปฏิบัติของเราตามความเป็นจริงของเรา

ถ้าเราปฏิบัติตามความจริงของเรา สิ่งนั้นที่เราถึงจะต้องออกธุดงค์ เราถึงต้องออกประพฤติปฏิบัติของเรา ออกประพฤติปฏิบัติเพราะดัดแปลงตน สิ่งใดถ้ามันนอนจมอยู่กับอะไร จิตใจของเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เรานอนจมอยู่กับมัน เรานอนจมอยู่กับมัน เคยชินอยู่กับมัน

เวลาเคยชิน เวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติ ท่านบอกไม่ให้เคยชิน ไม่ให้เคยชินกับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ย้ำคิดย้ำทำๆ นี่มันเคยชินกับมัน ถ้าเคยชินกับมัน เราก็ศึกษามาแล้ว ด้วยเหตุด้วยผล สิ่งนี้มันดีงามไปหมด...มันดีงามแบบวิทยาศาสตร์ ดีงามแบบสุขภาพไง เขารักษาสุขภาพเขา บรรเทาทุกข์ไปวันๆ หนึ่งน่ะ นี่ความดีงามอย่างนั้น

แต่ถ้าเราเอาจริงล่ะ เวลาจะเอาจริงนะ เอาจริง เราจะต้องทำความสงบของใจเข้ามา เราละหมด เราละเราวางหมดแล้ว แล้วเรามาบวชพระ เรามาบวช เราบวชเพราะเราเสียสละความเป็นสิทธิเสรีภาพทางโลก สิทธิเสรีภาพทางโลกมันมีกฎหมายบังคับ เวลาเราบวชเป็นพระก็มีศีลธรรมบังคับอีก เห็นไหม สิทธิเสรีภาพทางโลกเราก็เสียสละมาแล้ว เราจะมาประพฤติปฏิบัติ เรามีศีลมีธรรมของเรา ถ้าเรามีศีลมีธรรมของเรา สิ่งที่เราจะทำความเป็นจริง ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

เหมือนทางโลกเขา วัฒนธรรมประเพณีนะ เวลาเขาเล่นกัน เขาปิดตาตีหม้อๆ เขาเอาผ้าผูกตา แล้วให้เดินไปตีหม้อ มันเป็นวัฒนธรรมของเขา เขาเล่นของเขา เขาปิดตาตีหม้อ เวลาเขาปิดตาแล้วเขาจะไปตีหม้อ ผู้ที่เป็นกีฬาเขายืนดูอยู่ เขาก็ลุ้น เขาพยายามจะเฮฮากัน จะให้ตีหม้อให้ถูก ถ้าตีหม้อถูก แสดงว่าเขาตีถูก ถ้าเขาตีผิด ตีผิดเขาก็เฮฮากัน นี่ปิดตาตีหม้อ นั่นเป็นวัฒนธรรมของเขา เป็นกีฬาของเขา เป็นการละเล่นพื้นบ้านของเขา ฉะนั้น เวลาคนที่เขาจะปิดตาไปตีหม้อ เขาจะเล่นของเขา เขาปิดตาของเขา เขากะระยะของเขา เขาไป เขาจะตีให้ถูก แล้วบางทีตีถูกก็มี ตีผิดก็มี นี่ปิดตาตีหม้อ

แล้วของเราล่ะ เวลาประพฤติปฏิบัติ เราจะปิดตาตีธรรมไหม ถ้าเราจะปิดตาของเราแล้วเราจะไปตีธรรม เราจะเอาสัจธรรมอันนั้น เรามีเป้าหมายของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติของเรา จะเอาความจริงของเรา มันจะได้ความจริงนั้นไหมล่ะ

ถ้ามันจะได้ความจริง มันจะได้ความจริงอันนั้น เห็นไหม เวลาเราศึกษามา เราเข้าใจมา มันก็เหมือนเรากะระยะทางนั่นล่ะ เรากะระยะของเรา เราปิดตาแล้วเขาจะไปตีหม้อให้มันถูก ถ้าตีเขาถูก เขาก็ได้รางวัลของเขา เขาแข่งขันกัน เขาก็เป็นฝ่ายชนะของเขา

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราปิดตาของเรา เราจะตีธรรมะของเรา เราจะตีธรรมให้แตก มันจะเป็นไปได้ไหมล่ะ มันจะเป็นได้ไหม ถ้ามันเป็นได้ ดูสิ คนที่ปิดตาตีหม้อ เขาตีถูกก็ได้ ตีผิดก็มี ส่วนใหญ่ตีผิด แต่ตีถูกก็มี แต่นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจะปฏิบัติตามความเป็นจริงๆ เวลาเขาปิดตาตีธรรม เราคาดเราหมาย จิตใจใครมีจริตมีอำนาจวาสนา เวลามาภาวนาไป เห็นไหม มันเป็น ปิดตาตีธรรมๆ คือมันไม่ได้เปิดหูเปิดตา มันไม่ได้เปิดหูเปิดตา มันจินตนาการไปโดยความคิด โลกียปัญญา โดยสัญชาตญาณ โดยความคิด โดยจินตนาการของเรา เราคิดว่ามันเป็นธรรมๆ แล้วเวลาเราตรึกในธรรมๆ มันตรึกในธรรมนะ

ดูสิ เวลาพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา เวลาพระโมคคัลลานะไปศึกษากับสัญชัย ศึกษากับสัญชัย “นั่นก็ไม่ใช่ สิ่งใดไม่ใช่ก็คือไม่ใช่”

“ไม่ใช่แล้วอย่างไรต่อ”

“ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่”

จนพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะมาปรึกษากันเลยว่าอาจารย์ของเรามีความรู้แค่นี้ ถ้าเราปฏิบัติไปแล้วมันจะมีความรู้ได้เท่านี้เอง สัญญากันไว้ สัญญากันไว้ว่า ถ้าใครเจอครูบาอาจารย์ที่เป็นจริง ถ้าใครได้ธรรม อย่าปิดบังกัน ต้องมาเจือจานกัน พระสารีบุตรไปเห็นพระอัสสชิบิณฑบาตอยู่ เห็นความสงบระงับ กิริยาการเคลื่อนไหว ถ้าใจของพระอรหันต์ พระสารีบุตรมีปัญญามองออก ตามพระอัสสชิไป เวลาตามพระอัสสชิไปจนทำภัตรกิจเสร็จแล้วไปขอคำแนะนำ พระอัสสชิบอกเลย “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่า ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เราต้องไปดับที่เหตุนั้น”

พระสารีบุตรฟังธรรมเป็นพระโสดาบัน ไปบอกพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบันเหมือนกัน เวลาพระโสดาบัน เวลาจะลาสัญชัยไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วไปเอหิภิกขุบวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพยายามประพฤติปฏิบัติไง ง่วงเหงาหาวนอนๆ นี่พระโสดาบันนะ พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการให้ประพฤติปฏิบัติ โงกง่วงๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาด้วยฤทธิ์ บอกวิธีการแก้ เห็นไหม ให้ตรึกในธรรมๆ ให้ตรึกในธรรมคืออย่าไปนอนจมอยู่สิ่งใด ให้ตรึกในธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เทศนาว่าการมา ให้ตรึก ให้เอามาตรึก ให้จิตเกาะไว้กับธรรม ถ้ามันไม่หาย ให้เอาน้ำลูบหน้า ให้แหงนหน้าดูดาว ถ้าถึงที่สุดแล้วไปไม่รอดนะ ให้นอนเสีย ให้พักผ่อนก่อนแล้วค่อยมาประพฤติปฏิบัติ

นี่ให้ตรึกในธรรม คำว่า “ตรึกในธรรมๆ” เวลาเราตรึก เวลาเราพิจารณาของเรา เราใช้ปัญญาของเรา ตรึกในธรรม ปิดตาตีธรรมๆ เวลามันเป็นไปได้ มันเป็นไปได้คือมันซาบซึ้ง มันซาบซึ้ง มันมีความพอใจ มันมีจินตนาการ มันคิดว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมไง

ถ้าเขาปิดตาตีหม้อนะ เขาเป็นกีฬา เขาปิดตาเป็นการเสี่ยงทาย เป็นการเสี่ยงทายว่าจะทำถูกหรือทำผิด แต่นี่ของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะปิดตาตีธรรมหรือ ปิดตาตีธรรมเพราะเหตุใด ก็บอกว่าไม่ต้องใช้ปัญญา ให้เพ่งเอา ให้ดูเอา ให้เข้าใจเอาไปอย่างนั้น ไอ้นี่มันเป็นสิ่งใด มันจะเป็นความจริงไปได้ไหมล่ะ ถ้ามันเป็นความจริงไปไม่ได้ เราต้องลืมตา ลืมตาๆ เวลาโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ เวลาคนเขาหลับตาเขาก็ว่าหลับตา ลืมตามันก็ลืมตา โดยเด็ก เด็กเกิดมา เดี๋ยวนอนหลับมันก็หลับตา เวลาลืมก็ลืมตา อันนี้เป็นเรื่องของสุขภาพ เรื่องของร่างกาย

แต่หัวใจล่ะ หัวใจมันมืดบอด หัวใจมันมืดบอดมันจะเปิดตาอย่างไร ถ้ามันไม่เปิดตา มันปิดตา เราปิดตาจะตีธรรม คาดไปหมายไป แล้วเวลาความเชื่อของตัวไง ห้ามคิดๆ ให้ดูอย่างนั้น ห้ามคิดๆ มันจะปิดตาแล้วจะตีเอา ตีว่ามันเป็นจริงไม่เป็นจริง เสี่ยงทายเอาว่าถูกหรือไม่ถูก ก็มีแค่นั้นน่ะ

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์เราสอนนะ ท่านบอกว่าพยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าคำว่า “ทำความสงบของใจเข้ามา” ถ้าจิตใจของคน เราจะประพฤติปฏิบัติ เริ่มต้นเราเห็นโทษกับการเกิด เราไม่อยากจะเกิดอีก เราเห็นโทษจากการเกิดนะ “ที่ไหนมีการเกิด ที่นั่นมีการดับ ที่ไหนมีการเกิดจะต้องมีการตาย”

ฉะนั้น เวลาเราเกิดมา เรามีชีวิตนี้มาแล้ว ชีวิตนี้เป็นอริยทรัพย์ อริยทรัพย์เพราะอะไร เพราะจิตนี้มันต้องเกิดแน่นอน แต่มันเกิดในสถานะอะไรล่ะ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในนรกอเวจี เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม แต่ปัจจุบันนี้เราเกิดเป็นมนุษย์ พอเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์แล้วเกิดมาพบพระพุทธศาสนา อันนี้คือว่าอริยทรัพย์ไง อริยทรัพย์เพราะเหตุใด เพราะว่าเรามีกายกับใจใช่ไหม

ร่างกายมันต้องการอาหารของมัน ดูสิ ออกซิเจน การหายใจ ถ้าเราขาดการหายใจ ๕ นาที สมองตายตายแล้ว เราต้องมีอาหาร อาหารอย่างหยาบคืออาหารบำรุงร่างกาย อาหารอย่างละเอียดคือลมหายใจ สิ่งนี้มันบีบบังคับเราอยู่ไง มีกายกับใจๆ เวลาเทวดา อินทร์ พรหม เขากายทิพย์ๆ เขาไม่มีร่างกายนี้ให้มากดถ่วงเขา เขาหมดอายุขัยของเขา วาสนาของเขา วาสนาของเขาหมดอายุขัยของเขา เขาก็ดับขันธ์เขาไป เขาก็เวียนว่ายตายเกิด เขาถึงเพลิดเพลินกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขาไง

แต่เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเป็นคนมีบุญกุศล มีบุญกุศลเพราะอะไร มีบุญกุศลเพราะมีคุณธรรมไง เพราะมีสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เราศึกษาไง ให้เราศึกษาแล้วเราจะได้ประพฤติปฏิบัติ ฉะนั้น เวลาได้ประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอยู่แล้ว ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง เวลาร่างกายมันบีบคั้น เรานั่งอยู่เฉยๆ มันก็เมื่อย เรานั่งอยู่ เราต้องเปลี่ยนแปลง ทุกข์คือสิ่งที่ทนไว้ไม่ได้ ทุกข์คือสิ่งที่เราทนไม่ได้ นี่คือทุกข์ ทุกข์มันบีบคั้นอยู่ ถ้าบีบคั้นอยู่ ถ้าเราศึกษาธรรมะมันจะเห็นจริงเลย

แต่เราไม่ได้ศึกษาธรรมะ เราก็เป็นความเคยชิน อยู่กับโลกก็พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงอิริยาบถไปของเราเรื่อยๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ ทั้งๆ ที่มันมีร่างกายให้เป็นที่สะดุดใจไง มันให้เป็นที่สะดุดใจว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนชัดๆ อย่างนี้ แต่เราเอาสิ่งนี้มาเป็นประโยชน์กับเราไหม เราไม่ได้มองสิ่งนี้เป็นประโยชน์กับเราเลย เราไปมองแต่ว่าสุขภาพของเรา ออกกำลังกายของเรา มันก็เป็นเรื่องความทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ไปทำให้ตัวเองเดือดร้อนทำไม ออกไปวิ่งอยู่อย่างนั้น ออกไปเดินให้มันเหงื่อไหลไคลย้อยไปทำไม

อ้าว! เขาก็ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่างกายของเขาไง เพื่อจะได้แข็งแรงไง จะได้ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บไง แต่มันได้มาด้วยสิ่งใด ได้มาด้วยต้องมีการกระทำใช่ไหมมันถึงได้มา สุขภาพมันหาซื้อที่ไหนได้ล่ะ มันก็ต้องทำเองขึ้นมา ฉะนั้น ถ้ามันทำเองขึ้นมา ร่างกายและจิตใจบีบคั้นให้เราได้คิด ถ้าคนได้คิดนะ มันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลยล่ะ

แต่ถ้าคนไม่ได้คิดนะ มันก็มองแต่ว่าเราเกิดเป็นมนุษย์ใช่ไหม เราต้องมั่งมีศรีสุข เราต้องเทียมหน้าเทียมตาสังคม เราจะต้องมีความเสมอภาคไปกับเขา เราก็ขวนขวายไปกับเขา ถ้าคนที่มีคุณธรรมเขาคิดได้อย่างนี้นะ มันไม่มีความผิด มันไม่ใช่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เพราะเป็นหน้าที่ แต่เวลาทำไปแล้ว ความทุกข์ความยากขึ้นมาที่มันบีบคั้นขึ้นมา มันอยากได้อย่างนั้น กิเลสมันเริ่มพลิกแพลงแล้ว เริ่มปลิ้นปล้อนแล้ว เริ่มหาทางลัดแล้ว เริ่มจะเอาเปรียบคนอื่นแล้ว อันนั้นน่ะกิเลส

ฉะนั้น สิ่งที่หน้าที่การงาน เราหามาสิ่งนั้น หามาเพื่อดำรงชีวิต เป็นงานของเรา คุณภาพของจิต ถ้าคุณภาพของจิต พันธุกรรมของคนที่ดีมันคิดแต่เรื่องดีๆ ทั้งนั้นน่ะ ในเมื่อวิชาชีพของเราอยู่อย่างนี้ สังคมเป็นแบบนี้ แต่เราจะทำคุณงามความดีของเรา ถ้าคุณงามความดีของเรา คนที่มั่นคงนะ เขาหลบเขาหลีกของเขา เขาพาชีวิตของเขาไม่ให้เผชิญภัยมากเกินไปนัก แต่คนถ้าไม่มีสติปัญญามันตีโพยตีพายไปตลอด อันนี้เป็นวุฒิภาวะของจิตที่มีกำลังและไม่มีกำลัง

ฉะนั้น คนที่มีสติปัญญา เวลาเกิดเผชิญสิ่งใดมันให้สะดุดใจๆ สะดุดใจน่ะ เกิดมาทำไม เกิดมาโลกเขาก็อยู่กันอย่างนี้ ทำไมเราต้องมาเดือดร้อน คำว่า “เดือดร้อน” กิเลสมันพูด แต่เวลาจิตใจของเรา เราเดือดร้อนที่ไหน เรามีศรัทธาเรามีความเชื่อของเรา ถ้าเรามีศรัทธาความเชื่อของเรา เราจะแสวงหาสิ่งที่เป็นคุณธรรม

เวลาวิชาชีพมันยังเลี้ยงร่างกาย เลี้ยงร่างกายเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยดำรงชีวิต แต่เรามีสติมีปัญญา เราจะปฏิบัติล่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือความปกติของใจ แต่โลกเขาก็ว่าศีลคือศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ อันนั้นคือข้อห้าม

แต่ถ้าศีลของเรานะ มีความปกติของใจ ใจเราปกติไหม ใจของเรามันหยุดนิ่งไหม ถ้ามันหยุดนิ่ง ศีลมันสมบูรณ์ แต่ใจนี้มันดีดดิ้น สิ่งที่ผิดศีลๆ มันผิดมาจากไหน? ก็ผิดมาจากความคิด ผิดมาจากเจตนาที่มันจะแสวงหามานี่ ถ้าไม่มีความคิดมันทำอะไรบ้าง เพราะมันมีความคิดมีความปรารถนาใช่ไหม มันถึงได้มีการกระทำ แล้วการกระทำมันถูกต้องดีงามมันก็อยู่ในศีล

ถ้ามันทำผิดล่ะ มันก็ทุศีล มันทำให้ศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ศีลทะลุไป ถ้าศีล แล้วพระเราเวลาศีลขาดล่ะ เพราะเราเป็นสมมุติสงฆ์ ในเมื่อการดำรงชีวิตมันก็มีความผิดพลาดเป็นธรรมดา ถ้ามีความผิดพลาดนะ เพราะไม่มีเจตนา ความผิดพลาดมันเกิดขึ้นแล้วเราก็ปลงอาบัติสิ เราปลงอาบัตินะ ถ้าไม่ให้ผิดเลยเอาที่ไหนมาไม่ผิด

ถ้าเราปลงอาบัติ ปลงอาบัติเพื่อจะยับยั้งไว้แค่นี้ แล้วเราจะตั้งสติไม่ให้กิเลสมันพลิกแพลงเอาสิ่งนี้มาย้อนศร มาย้อนศรเราว่า “เพิ่งทำผิดมาเดี๋ยวนี้เอง แล้วตอนนี้ก็จะมานั่งสมาธิภาวนา” ปลงอาบัติเสีย จบ จบแล้ว เราจะเริ่มต้นของเราใหม่ ถ้าเริ่มต้นใหม่ เราทำของเรา ศีลคือความปกติของใจ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาเราว่าเราศึกษามาแล้วไง นี่ไง ปิดตาตีธรรมๆ เขาบอกว่าเขามีการศึกษา เขามีความรู้ของเขา

ในเมื่อตรึกในธรรม คำว่า “ตรึกในธรรมนะ” เวลาเราจินตนาการไป เราคิดไปโดยใช้ปัญญาแยกแยะไป จิตใจมันราบรื่น จิตใจมันปล่อยวางได้ คำว่า “ปล่อยวาง” คนเราถ้ามีสำนึกที่ดี พฤติกรรมของเขามีแต่สิ่งที่ดีๆ เวลาพฤติกรรมของคนเห็นแก่ตัว พฤติกรรมของคนเห็นแก่ได้ มันก็ไปกว้านเอาสิ่งต่างๆ มาทำลายตัวมันเอง

นี่ก็เหมือนกัน เวลาตรึกในธรรมๆ ถ้าจิตใจดีงามมันก็ปล่อยวางได้ มันก็เข้าใจได้ อันนี้ถ้ามีสตินะ ถ้ามีสติมันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ตรงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสอนพระโมคคัลลานะไง ถ้าเธอง่วงเหงาหาวนอน เธอควรตรึกในธรรม ตรึกในธรรม ตรึกในธรรมให้มันสว่างโพลง ตรึกในธรรมให้จิตใจมันกล้า มันเข้มแข็งของมันขึ้นมา เพราะมันตรึกในธรรม มันทำงานไง ดูสิ เวลาน้ำขุ่น เขาใช้สารส้มแกว่ง ตะกอนมันจะนอนลงไปด้วยสารส้ม นี่ก็เหมือนกัน เราตรึกในธรรมๆ ให้จิตใจมันสว่างไสว จิตใจมันตื่นโพลงขึ้นมา ไม่ง่วงเหงาหาวนอน นี่ตรึกในธรรม

ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วถ้ามันเป็นสมาธิขึ้นมา เห็นไหม คนเรานะ เวลาเจ็บตา ป่วยเป็นโรค ตื่นขึ้นมาตาแฉะหมดน่ะ แต่ถ้าของเรานะโดยปกติตื่นขึ้นมา บางคนก็มีขี้ตาก็ต้องล้างหน้าล้างตาของเรา นี่ไง ถ้ามันตื่นขึ้นมา มันเปิดตา

ถ้าเปิดตามันจะเห็นธรรม ถ้าปิด ถ้ามันปิดตาตีหม้อ ปิดตาตีธรรม คำว่า “ปิดตา” หมายความว่า เรา เราอยู่ในสามัญสำนึกของปุถุชน เราอยู่ในสามัญสำนึกของโลกๆ ความคิดความเห็นของเรามันเป็นเรื่องโลก โลกเพราะอะไร โลกเพราะว่ากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันให้คิดได้แค่นี้ มันปิดบังไว้ เราเห็นไม่ได้ เราศึกษา ศึกษาในปริยัติ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเรื่องปริยัติทั้งนั้นน่ะ แล้วมันเป็นอะไรล่ะ มันเป็นสุตมยปัญญา แล้วจินตมยปัญญา แล้วภาวนามยปัญญาอยู่ไหนล่ะ

ถ้ามันเปิดตา เปิดตามันจะเข้าสู่ภาวนามยปัญญา ถ้าเกิดเข้าสู่ภาวนามยปัญญา เปิดตาแล้วมันจะเห็นธรรม แต่นี่ปิดตา ถ้าปิดตาขึ้นมา ปิดตาเพราะปฏิเสธการเปิดตาไง ถ้าปฏิเสธการเปิดตา ถ้าคนทำสมาธิ จิตถ้ามันลงสมาธิ ถ้าสัมมาสมาธิ มันจะมีสติปัญญา มีสติ คำว่า “มีสติ” ทรัพย์สมบัติของเรา ของของเราที่เราทำมา ถ้าจิตมันลงขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ พอลงสมาธิมันก็มีความสุขนะ

ดูสิ เวลาคนเราออกประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ มันละล้าละลังไปหมด มันห่วงหน้าพะวงหลัง หน้าที่การงาน คนข้างหลังเขาจะอยู่กันอย่างใด ถ้าเราต่อไปข้างหน้า อนาคตเราจะอยู่อย่างไร มันละล้าละลังไปทั้งนั้นผู้ที่ปฏิบัติใหม่ๆ นี่เรื่องโลกๆ มันแบกโลกมา ถ้าเราเป็นฆราวาส เราตรึกในธรรม มันฆราวาสธรรม ธรรมของฆราวาส แล้วเวลาเรามาเป็นนักบวช เราเป็นนักปฏิบัติ ธรรมของภิกษุ ธรรมของผู้เห็นภัยในวัฏฏะ เพราะเราเห็นภัยในวัฏสงสาร คำว่า “วัฏสงสาร” เกิดมาทำไม เกิดมาจากไหน ทำไมต้องมาเกิด เกิดแล้วทำไมต้องมานั่งหลังขดหลังแข็งอีก เกิดมาจากไหน

เพราะเราเห็นภัยในวัฏสงสาร วัฏสงสาร ชีวิตนี้มีการพรากเป็นที่สุด เวลาเกิดมา เกิดมาจากกรรม เกิดมาจากอำนาจวาสนา เกิดจากผลคุณงามความดีของเรา ถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เพราะเกิดเป็นมนุษย์มันมีกายกับใจที่ว่า กายมันบีบคั้นอยู่ ร่างกาย เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เราจึงต้องแสวงหาอาหาร แสวงหาปัจจัยเครื่องอาศัยเพื่อดำรงชีวิต นี่มันเป็นหน้าที่การงานโดยปกติเลย แล้วทุกคนว่าโลกเจริญๆ ทุกคนก็บอกว่าโลกเจริญด้วยการศึกษา เราต้องมีการศึกษา ดูสิ การศึกษามาเพื่อวิชาการต่างๆ เพื่อการพัฒนาๆ อันนี้เป็นพัฒนาทางโลกไง ถ้าพัฒนาทางโลก คนเกิดมาทางโลก ถ้ามีอำนาจวาสนามันทำสิ่งใด เป็นรัฐบุรุษ เป็นผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ แต่เขาก็ต้องตาย เขาก็ต้องตายไป เวลาตายไป แต่ถ้าเราจะมาประพฤติปฏิบัติ เราจะมีภาวนามยปัญญา ปัญญาที่การรื้อถอนกิเลส

“มันเป็นปัญญาส่วนตน มันเป็นเรื่องการเห็นแก่ตัว มันเป็นเรื่องที่ว่าคนที่ไม่รักสังคม คนที่ไม่ต้องการให้โลกเจริญ” นี่กิเลสเวลามันพูดมันพูดอย่างนั้นนะ แต่พอความจริงเป็นความจริงอย่างนั้นไหม เวลาเราไปศึกษานี้เราไปศึกษาจากใคร เราก็ไปศึกษาจากครูบาอาจารย์ใช่ไหม เขาทำวิจัยกันไว้ใช่ไหม เป็นวิชาการใช่ไหม แล้วเราไปศึกษาเขามา เพื่อมาวิจัย เพื่อพัฒนาการของเรา นี่เป็นปัญญาทางโลก

แต่ถ้าเป็นปัญญาทางธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียสละมาทั้งหมด ทั้งสถานะที่ความเป็นกษัตริย์ ทั้งสถานะที่ว่ามีทรัพย์สมบัติ มีทุกอย่างพร้อม เสียสละมา เพราะเห็นภัยในวัฏฏะไง ไปเที่ยวสวน เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เราก็ต้องเป็นเช่นนั้นหรือ ถ้าเราต้องเป็นเช่นนั้นนะ สิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นมันเศร้าหมอง มันเศร้าหมองนะ พอเวลามาพิจารณาของเรา มันต้องมีฝั่งตรงข้าม ถ้ามีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย มันต้องมีการไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ ความที่ว่าโลกเจริญๆ แต่ถ้ามันเจริญแล้วมันต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ มันเป็นประเด็นของโลก

แต่ถ้ามันเป็นประเด็นของธรรมล่ะ ธรรมคืออะไร ธรรมคือสัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามา สร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ในเมื่อสร้างสมบุญญาธิการมา เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายมันสะเทือนใจ “เราต้องเป็นเช่นนั้นหรือ เราต้องเป็นเช่นนั้นหรือ”

เวลาเกิดมาที่สวนลุมพินี “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” ถ้าเราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เกิดมาเปล่งวาจาเลยว่า “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” แต่ก็ยังดำรงชีวิตโดยเป็นคฤหัสถ์ ดำรงชีวิตทางโลกมา จนถึงที่สุด ไปเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ ด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สร้างมาไง มันสะเทือนใจ มันสะเทือนใจ “เราต้องเป็นเช่นนั้นหรือ” พอเป็นเช่นนั้นหรือ เห็นไหม นี่คือความเจริญของโลก

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้คิด ออกแสวงหา ต้องออกแสวงหา ออกหาโมกขธรรม เวลาไปปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ไปปฏิบัติรื้อค้นทุกอย่าง เพราะว่าเป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนา อำนาจวาสนาคือจะเอาความจริง ไปค้น ไปรื้อค้นกับเจ้าลัทธิต่างๆ ศึกษาหมด ศึกษาทางโลกก็ศึกษามาแล้ว ศึกษามาจะเป็นกษัตริย์ก็ศึกษามาแล้ว นี่ความเจริญทางโลก

เวลาไปศึกษาทางธรรมๆ ไปค้นคว้ากับเขา ธรรมะมันอยู่ที่ไหน ธรรมะมันอยู่ที่แสวงหาธรรม เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ก็ฝั่งตรงข้ามมันอยู่ไหน ไปศึกษาที่ไหน ศึกษากับใครมา เวลาเขาบอกมา เวลาเขาบอกมา วิธีการ เข้าฌานสมาบัติต่างๆ มันก็รู้ เข้าได้เหมือนกัน เวลาเข้าได้ จะรู้สิ่งต่างๆ รู้ก็รู้ ดูสิ ที่ว่าทำสมาธิแล้ว ถ้าได้สมาธิจะเปิดตา แล้วถ้าเปิดมาแล้วตามันแฉะล่ะ เปิดมามันฝ้าฟางล่ะ แล้วหมอตาใครจะรักษาล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน พอจิตสงบแล้วรู้นู่น รู้นี่ ออกไปรู้ ตามันจะแฉะ ตามันแฉะเพราะอะไร ตามันแฉะมันเป็นโรคตา มันไม่เห็นสิ่งใด สิ่งใดเป็นความจริง ถ้าเป็นโรคตา ถ้าเราเป็นสัมมาสมาธิล่ะ เวลาศึกษา ไปศึกษาฌานสมาบัติต่างๆ มันรู้ได้ มันไปได้ ไปได้แล้วมันแก้กิเลสหรือเปล่า เวลาไปได้กลับมามันเป็นมรรคไหม มันเป็นสัจธรรมไหม เพราะมันไม่มีอยู่ไง มันไม่มีใครรู้จริงอยู่ที่จะเป็นผู้สอนได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขามาแล้ว แล้ววางหมด หนีมา ปล่อยมา วางมา มาค้นคว้า ถึงที่สุดแล้วไม่มีใครบอกได้ ถึงย้อนกลับมาแสวงหาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง

เวลาฉันอาหารของนางสุชาดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าบุญกุศลในพระพุทธศาสนาที่มีคุณอย่างมากมีอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่งเราฉันอาหารของนางสุชาดา เราถึงซึ่งกิเลสนิพพาน กับเราไปฉันอาหารของนายจุนทะ วันนั้นเราถึงซึ่งขันธนิพพาน

กิเลสนิพพาน สิ้นกิเลส ฉันอาหารของนางสุชาดาถึงสิ้นกิเลสนิพพาน แล้วเวลาถึงวันสุดท้ายฉันอาหารของนายจุณฑะ เราถึงขันธนิพพาน นี่บุญในพระพุทธศาสนาที่เลิศมีอยู่ ๒ คราว นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้เอง เวลาฉันอาหารของนางสุชาดาแล้ว เสริมกำลังขึ้นมา คืนนั้น เวลาว่า ถ้าคืนนี้เราศึกษามา ๖ ปี ศึกษามากับเจ้าลัทธิต่างๆ ศึกษามาหมดแล้ว ค้นคว้ามาจนที่ไหนเขาว่ามีผู้รู้จริง มีผู้เป็นความจริง ไปศึกษากับเขาหมดแล้ว เขาบอกเราไม่ได้ เพราะเขาทำสมาธิทำอย่างใดออกมาแล้ว พอออกมา ออกจากสมาธิมาเป็นความรู้สึกปกติ มันยังมีความรู้สึก มันมีความรู้สึก มันยังห่วงหาอาวรณ์ มันไม่ได้แก้กิเลสอะไรเลย

เวลามาทำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกอดีตชาติได้ คำว่า “ระลึกอดีตชาติ” นี่ด้วยอำนาจวาสนาของตัว สร้างมาขนาดไหน เพราะจิตของเราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ที่ว่าเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แล้วบอกคนนั้นบอก ไม่มี นรกสวรรค์ไม่มีต่างๆ อันนั้นเป็นความเชื่อของเขา

แต่ความจริง คนที่นั่งกันอยู่นี่ทุกๆ คน คนที่เกิดมาในโลกนี้ จิตใจเขาต้องเวียนว่ายตายเกิดมาทั้งนั้น ถ้าไม่เวียนว่ายตายเกิด ไม่มีจิต อะไรจะมาเกิด สิ่งที่เกิดคือจิตของเขามาเกิด พ่อแม่ก็คือพ่อแม่ พันธุกรรมของพ่อแม่ นั่นมันเป็นเรื่องของธาตุ ๔ มันไม่เกี่ยวกับจิตเลย มันจะแบ่งจิตจากพ่อแม่เป็นของเราเป็นไปไม่ได้ พ่อแม่ก็คือพ่อแม่ แต่จิตปฏิสนธิอันนั้น อันนั้นเวียนว่ายตายเกิด แล้วเวียนว่ายตายเกิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนอดีตชาติไป แล้วเราก็มีชีวิตเหมือนกัน เราก็เวียนว่ายตายเกิดเหมือนกัน แต่เรารู้ไม่ได้ เห็นไหม นี่ตาบอด มันไม่เปิดตา พอตาบอด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะที่ว่าบุพเพนิวาสานุสติญาณ พอไปไม่มีต้นไม่มีปลาย เพราะไปเรื่อยๆ คนมีอำนาจวาสนานะ เวลา ดูสิ พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล บางองค์ระลึกชาติได้ชาติเดียว ได้ ๕ ชาติ ได้ ๑๐ ชาติ ได้ ๑๐๐ ชาติ ได้ ๑,๐๐๐ ชาติ ได้ ๑๐,๐๐๐ ชาติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีต้นไม่มีปลาย มันไปอยู่เรื่อย มันไปชาติต่อๆ ไป มันไม่จบ ดึงกลับด้วยสติปัญญา ดึงกลับมา พอดึงกลับมา พอถึงมัชฌิมยาม มันจิตสงบแล้ว พอคลายออกมา มันไปแล้ว จุตูปปาตญาณ คนถ้าไม่สิ้นกิเลสมันจะไปเกิดอย่างนี้ นี่ไง วัฏสงสารไง จิตที่เวียนว่ายตายเกิดๆ แล้วจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับจิตของพวกเรา มันก็อันเดียวกันนั่นน่ะ จิตเหมือนกัน คนเรามีกายกับใจเหมือนกัน ก็มีความรู้สึกเหมือนกัน แล้วก็ทุกข์ยากเหมือนกัน แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเปิดตาขึ้นมา มันเป็นไป นี่เปิดตาจะเห็นธรรม

แต่เรายังปิดตาของเราอยู่ไง แล้วก็บอกว่า “ใช้ปัญญาไปเลย” ไม่ก็บอกว่า “ ห้ามคิดๆ”

“ห้ามคิด” ก็ไม่เปิดตา

“ใช้ปัญญาไปเลย” ก็โลกียปัญญา

มันยังไม่ได้เปิดตา พอเปิดตาขึ้นมาก็ตาแฉะอีก เป็นโรคตาอีก

จุตูปปาตญาณดึงกลับ เวลาดึงกลับมาแล้วถึงมัชฌิมยาม เวลายามสุดท้าย เวลาเกิดอาสวักขยญาณมันกลับไปทำลายอวิชชาไง เพราะอะไร เพราะพลังงานทั้งหมดเกิดจากจิต เวลาจิตสงบแล้วมีพลังงานของมัน บุพเพนิวาสานุสติญาณก็จิตที่สงบแล้วใช้กำลังออกไป แต่เวลากลับมา ดึงกลับมา ถ้ามีกำลัง กำลังที่ละเอียดขึ้นไปมันก็จุตูปปาตญาณ เพราะอนาคต ดึงกลับมา ดึงกลับมาในปัจจุบัน ในปัจจุบันมันไม่ไปอดีตอนาคต ปัจจุบันย้อนกลับมา เวลามันย้อนกลับมาอาสวักขยญาณทำลายอวิชชา ทำลายตัวเอง ทำลาย ทำลายภวาสวะทำลายภพ พอทำลายอันนี้ เห็นไหม

ที่ว่าทำลายอวิชชาคือทำลายความไม่รู้ คนที่รู้อยู่ คนที่ลืมตาอยู่ มันจะไปชนกับอะไรไหม แต่คนที่หลับตา คนที่ไม่รู้สิ่งใด มันปิดตาไป มันชนไปหมดล่ะ จิตที่มันทำลายอวิชชา ทำลายภพทั้งหมด ทำลายอวิชชา ทำลายความไม่รู้แล้ว มันสว่างไสว มันเป็นจริงอย่างนั้นน่ะ แล้วมันจะไปเกิดอีกไหม ในเมื่อเราไม่ไป เรารู้พร้อมหมดแล้ว เราไม่ขยับ ไม่มีสิ่งใดเลย แล้วมันจะเกิดอย่างไร มันจะเกิดต่อเมื่อมันไม่รู้ไง เวลาเกิด ถ้าว่าทางโลกว่าเผลอ ถ้ามันเผลอ มันไปมันก็ไป

เวลากระบวนการจบสิ้นแล้ว ถ้ามีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ต้องมีฝั่งตรงข้ามที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปแสวงหาได้จริง เป็นความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยวิมุตติสุขๆ จนท้อใจ ถ้าไปบอกคนอื่นใครจะทำได้ ใครจะบอกคนอื่นให้ทำได้ นี่ไง แต่จริงๆ ก็ทำได้ เพราะว่าผู้ที่สร้างอำนาจวาสนามามีอยู่แล้ว

เพราะกว่าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูสิ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรก็ปรารถนามาเป็นอัครสาวก นางพิมพาก็ปรารถนามาเป็นมเหสี สร้างความปรารถนามา คำว่า “ปรารถนา” คือสร้างมาด้วยกัน คำว่า “ปรารถนา” มันมีที่มาไง ถ้าไม่ปรารถนา ไม่ได้สร้างขึ้นมา จิตใจ พันธุกรรมของจิตมันจะพัฒนาอย่างไร วิวัฒนาการของจิตที่มันเพิ่มขึ้นมามันทำได้อย่างไร พัฒนาการของจิต จิตที่สูงส่ง จิตที่ต่ำต้อย จิตที่เห็นแก่ตัว วิวัฒนาการของมัน มันต้องมี มันได้สร้างบุญสร้างกรรมของมันมามันถึงเป็นแบบนี้

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าจะสอนใครได้อย่างไร สอนใครได้อย่างไร ก็สร้างมาด้วยกัน แล้วสร้างด้วยกันนะ เวลาพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรมา “อัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาเรามาแล้ว” แต่ขณะที่ว่าเสวยวิมุตติสุข มันละเอียดเกินไป มันลึกลับซับซ้อนจนจะถ่ายทอดกันไม่ได้ นี่ในความเห็นของผู้ที่เป็นศาสดานะ ผู้เป็นศาสดาคือปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ ปรารถนามาเป็นครู ปรารถนามาเป็นผู้สอน ปรารถนามาเป็นผู้บอก ขณะที่ปรารถนามาต้องสร้างสมบุญญาธิการมามหาศาล ยังท้อใจ ยังคิดว่ามันละเอียดลึกซึ้ง

ฉะนั้น เวลาพวกเรานักปฏิบัติมันจะปิดตาตีธรรมกันไง จะปิดตาเลย ไม่ต้องเปิดตาเลย บางฝ่ายก็บอกไม่ต้องคิด ห้ามคิด หยุดคิด หยุดตลอด ก็ปิดตา ปิดตาไว้ เอ็งนอนอยู่นั่น ไอ้ใช้ปัญญาๆ ไปเลย ปัญญาไปเลย ก็ตาแฉะ ตาแฉะมันมีโรคตา มันจะเป็นอย่างไรล่ะ

แต่ของเรา เราพยายามทำความสงบของใจเข้ามา เราจะเปิดตา เปิดใจของเรา เปิดใจของเราด้วยความเพียรชอบของเรากันเอง เราต้องเปิดตาของเรานะ เราศึกษามาขนาดไหน นั่นทางวิชาการ เป็นวิชาการที่ทางโลก เป็นวิชาชีพ วิชาชีพมันเอาไว้เลี้ยงชีพ แต่วิชาธรรม วิชาธรรมหมายความว่าทฤษฎีมันมีแล้ว ปริยัติเราศึกษาแล้ว แต่ความจริงที่เกิดขึ้น จิตเราต้องสงบเข้ามา สงบมันคืออะไร สงบ เห็นไหม ถ้าจิตสงบมันไม่มีสมุทัยเจือปนเข้ามา พอจิตสงบแล้วมันก็มีความสุข เริ่มพื้นฐานของมันก็มีความสุขแล้วล่ะ

เวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน ผู้ที่ปฏิบัติใหม่มันวิตกวิจารณ์ มันทุกข์มันร้อนไป อดีตก็รั้งไว้เป็นห่วงเป็นใยใครไปหมดเลย อนาคตก็เป็นสิ่งที่จะต้องวิตกกังวลไปกันหมดเลย แล้วปัจจุบัน ปัจจุบันก็คาดหมายไป ปัจจุบันเวลาพุทโธๆๆ แล้วมันไม่ลงสักที แล้วมันจะสงบอย่างไรล่ะ นี่มันละล้าละลัง เห็นไหม แม้แต่เอาใจของเราไว้ในอำนาจของเรา แม้แต่ว่าเราจะเปิดตาของเรา เพราะถ้าจิตสงบเข้าไปคือมันเปิดตา เพราะมันรู้ เปิดตาคือมันรู้ มันรู้แจ้งขึ้นมาในใจของเราเอง เวลามันสงบเข้ามา ถ้าใหม่ๆ สงบเข้ามาเรางงนะ คนไม่เคยสงบ เวลาสงบแล้ว มันเอ๊ะๆ “เอ๊ะนี่มันอะไร เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่านิพพานคือความว่าง โอ๋ย! อย่างนี้ถ้ามันพุทโธแล้วมันเวิ้งว้าง มันเป็นนิพพานหรือยัง โอ๋ย! มันเป็นนิพพานแล้วล่ะมั้ง” นี่ความวิตกกังวลของตัวเองไป

แต่เวลาศึกษาธรรมก็ศึกษาธรรม ศึกษาธรรมบอกว่านิพพานคือความว่าง ความว่างมันความว่างระดับไหน ว่างของสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ก็ความว่างอย่างหนึ่ง ความว่าง เห็นไหม ดูสิ ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ก็เป็นความว่างอย่างหนึ่ง โสดาปัตติมรรค กำลังขยันหมั่นเพียรเต็มที่เลย เวลาเป็นโสดาปัตติผลก็เป็นความว่างอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นสกิทาคามิมรรคมันก็ขยันหมั่นเพียร มีการกระทำกันเกิดขึ้น พอมันถึงที่สุดแห่งการสมุจเฉทปหาน มันก็เป็นสกิทาคามิผล ยกขึ้นก็เป็นอนาคามิมรรค ถ้ามันมีการกระทำต่อเนื่องกันไปเป็นมหาสติ-มหาปัญญา สิ้นสุดกระบวนการของมันก็เป็นอนาคามิผล มันก็เป็นความว่างอีกอย่างหนึ่ง อรหัตตมรรค อรหัตตผล มันก็เป็นความว่าง

ความว่าง มันว่างหลายระดับมากเลย ความว่าง มันว่างของสมาธิก็ได้ ถ้ามันเป็นความว่าง เป็นความว่างที่พิจารณามาแล้ว เพราะมันมีเหตุมีผล มันได้ชำระคะคานกัน มันถึงจะว่าง แล้วมันว่างอย่างไรล่ะ มันว่างเพราะมันเปิดตาไง เพราะเปิดตามีการกระทำ มีความเห็นชัดเจนขึ้นมามันถึงเปิดตา แล้วเปิดอย่างไรตา เปิดตา เห็นไหม เปิดตาก็เปิดความรู้สึกเรานี่ เปิดสิ่งที่มันศึกษามา สิ่งที่เราเข้าใจว่ามันเป็นปัญญา ปัญญาของเราที่มันทับถมอยู่นี่

เรากำหนดพุทโธๆ นี่กรอง คำบริกรรม ดูสิ เวลาเขาทำความสะอาด เขากรอง เขาเช็ดล้างต่างๆ เขาต้องทำความสะอาด ไอ้นี่ก็เหมือนกัน พุทโธๆ คำบริกรรม ให้จิตมันกรองตัวมันเอง พุทโธๆๆ ไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น ไปคิดเรื่องที่มันพอใจ คิดที่เรื่องมันฝังใจ ศึกษาธรรมมาก็คาดหมาย คาดเป็น อยากจะเป็นไป ถ้ามันคาดมันหมาย “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

ไอ้นั่นมันคาดมันหมาย มันด้นเดา มันคิดจินตนาการไปมันก็เป็นอย่างนั้นน่ะ แล้วถ้าเรากำหนดพุทโธ “เราก็ได้กำหนดพุทโธแล้ว ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราก็ใช้ปัญญาแล้ว เราตรึกในธรรมเราก็ตรึกแล้ว ทำไมไม่เป็นไป”

มันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะเราไปคาดหมายกันไปเอง เราคาดหมายอดีตอนาคต เราคาดหมายอยากให้มันเป็นไป คำว่า “คาดหมายอยากให้เป็นไป” มันก็ส่งออกแล้ว

เรากำหนดพุทโธของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้ามันสงบขนาดไหน มันสงบขนาดไหน เราพุทโธต่อเนื่อง อย่าทิ้ง เพราะสิ่งที่มันสงบ สงบจากพุทโธ แต่เวลามันจะสงบ เราไปตื่นเต้นกับความสงบไง ตื่นเต้นกับวิวัฒนาการ ตื่นเต้นกับจิตที่มันเริ่มปล่อย เริ่มสลัด สลัดสิ่งที่เป็นเสี้ยนเป็นหนาม มันจะเข้ามาอยู่กับพุทโธ เพราะพุทโธกับจิตมันจะเป็นอันเดียวกันต่อเนื่องกันไป

เวลามันสลัดเสี้ยนสลัดหนาม เวลาเขาบ่งหนามเขาเจ็บนะ แต่เวลามันสลัดเสี้ยนสลัดหนามเราก็แปลกใจ เพราะแปลกใจ แปลกใจสะดุ้งมันก็ออกแล้ว นี่จิตมันเร็วขนาดนี้ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท้อใจๆ ท้อใจก็เพราะว่า ขนาดทำความสงบของใจมันยังทำกันไม่เป็นเลย แล้วมันจะปิดตาตีธรรม มันจะว่าเป็นธรรม เห็นไหม

แต่ถ้ามันเปิดตามันจะเห็นธรรม ถ้าเห็นธรรม ความรู้ความเห็น รู้จริงเห็นจริง ถ้ารู้จริงเห็นจริง พุทโธไปเรื่อย พุทโธๆ ของเราไปเรื่อย พุทโธให้มีสติมีปัญญา อย่าไปเห็นว่าพุทโธนี้ต่ำต้อย อย่าไปเห็นว่าพุทโธเป็นสมถะ อย่าไปเห็นพุทโธมันเป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้ปัญญาเลย เราอยากจะใช้ปัญญา...จะใช้ปัญญามันก็ปิดตาตีธรรม ปิดตา เขาปิดตาตีหม้อ ตีถูกตีผิด ตีถูกตีผิดไปประสาเขานะ มันเป็นกีฬาพื้นบ้าน แต่ไอ้เราจะเอาความเห็นอย่างนั้น เอากิริยาอย่างนั้นมาใช้กับใจของเรา ถ้าใช้กับเรามันจะเป็นไปได้อย่างไร

แต่ถ้าเราอยากจะเปิดตา ดูเขาเปิดตา ถ้าเขาเปิดตา เห็นไหม เขาปิดตาตีหม้อแล้วเขาผูกตาไม่สนิท เขาเห็นนะ เขาตีได้สบายๆ เลย ถ้าเขาฉ้อฉลสักหน่อยหนึ่ง ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราว่าเราจะเปิดตาเห็นธรรมๆ เวลากิเลสมันสอดเข้ามา มันก็เห็น การเห็น เห็นอย่างไร การเห็น เพราะอะไร เพราะว่าจิตที่มันคึกคะนอง คำว่า “จิตคึกคะนอง” จิตที่มีคุณภาพนะ จิตมันสงบแล้วมันจะไปรู้ไปเห็น มันจะเป็นต่างๆ อันนี้ก็ห้ามกันไม่ได้ มันเป็นพันธุกรรม มันเป็นวาสนาของจิตอย่างนั้น มันรู้มันเห็นของมันเอง มันรู้มันเห็น ถ้าจิตสงบแล้วมันจะเห็นอย่างนั้นน่ะ แต่ถ้าคนไม่เคยเห็น จิตที่สงบแล้วไม่เห็นมันก็ไม่เห็นอย่างนั้นน่ะ แล้วสงบเหมือนกัน ทำไมอันหนึ่งเห็นอันหนึ่งไม่เห็นล่ะ

อันที่เห็นเพราะว่ามันเป็นพันธุกรรม เหมือนคน พันธุกรรม ตระกูลของเรามีพันธุกรรมที่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างนี้ ลูกหลานก็มีโอกาสได้เป็นอย่างนี้ นี่พันธุกรรม นี่ก็เหมือนกัน จิตมันมีอย่างนี้ มันไปด้วยเวรด้วยกรรม แต่ความสงบล่ะ ความสงบเป็นพื้นฐาน แต่ไอ้คนที่สงบแล้วไม่เห็นล่ะ นี่พันธุกรรมของเขาไม่มี พันธุกรรมของเขาปกติ พันธุกรรมของเขาไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พันธุกรรมไม่มีมันก็ไม่เป็น มันก็ไม่มีโรคนั้นเข้ามา ถ้าตัวเองไม่ไปหาโรคเข้ามาเอง

ถ้ามันสงบแล้ว สงบก็คือสงบไง แต่ถ้าไม่รู้ไม่เห็นล่ะ ไม่รู้ไม่เห็น เห็นอย่างนี้นี่ตาแฉะ ตาแฉะก็ขี้ตาไง ไปรู้ไปเห็น ไปรู้ไปเห็นมันส่งออกไป แล้วในอริยสัจเขาสอนอย่างนั้นหรือ ศีล สมาธิ ปัญญา เขาให้ฝึกหัดใช้ปัญญา แล้วปัญญา ปัญญาในการภาวนามยปัญญา ถ้าเปิดตา เปิดตามันจะเห็นธรรม เห็นธรรมคือเห็นอะไรล่ะ? เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม

ธรรมคืออะไร? ธรรมคือธรรมารมณ์ จิตที่สงบแล้ว จับอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกที่มันเขย่าหัวใจ อารมณ์ความรู้สึกที่เวลาถ้าตรึกในธรรมๆ ที่มันยอกใจ ถ้าจิตมันสงบมันจับได้ ถ้าจิตไม่สงบ อารมณ์เป็นเรา ความคิดเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา แล้วพอเป็นเราแล้วมันก็ว่าเราคิด เรารู้เราเห็น มันเป็นอันเดียวกัน เห็นไหม นี่ปิดตาตีธรรม มันไม่เป็นจริง

แต่ถ้ามันเป็นจริงล่ะ เป็นจริงจิตมันสงบ ถ้ามันจับของมัน จิตเป็นคนจับ ดูสิ เวลาจิตเราสงบ เราจับเวทนา เวลาคนนั่งสมาธินะ เวลาเวทนาเกิด โอ้โฮ! มันเจ็บมันปวดไปหมดล่ะ นี่เวทนาเป็นเราๆ ไง ถ้าเรากำหนดเวทนา เราต่อสู้จนจิตมันสงบ จิตสงบคือมีกำลังแล้ว เห็นไหม มันจะเปิดตา พอเปิดตาขึ้นมาแล้ว ถ้ามันเห็นเวทนามันจับเวทนา ทำไมมันจับเวทนาได้ล่ะ

ธรรมดาถ้าเวทนาเป็นเรานะ เวลานั่งเริ่มต้นเวทนาจะเป็นเราเพราะมันปิดตา สรรพสิ่งเป็นเราหมด ทุกอย่างเป็นเราหมด ความรู้สึกนี้เป็นเราหมดเลย พอนั่งไปชั่วโมงสองชั่วโมงมันเจ็บมันปวด มันอึดอัดไปหมดล่ะ ถ้ามันอึดอัด

เราสักแต่ว่า เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา สักแต่ว่า ถ้าจิตมันสงบแล้วนะ จิตสงบลงไปได้ มันปล่อยเวทนาเข้ามา แล้วถ้ามันคลายตัวออกมา จับเวทนาได้อีก แต่ทำไมคราวนี้เราจับเวทนาได้ล่ะ จิตสงบแล้วมันจับเวทนาได้

เวทนา เวทนาคืออารมณ์ความรู้สึก เวทนา เห็นไหม ทุกขเวทนา สุขเวทนา ถ้าจิตสงบแล้วมันจับเวทนา เวทนามันเป็นอะไร อะไรเป็นเวทนา ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เวลาเวทนาเกิดที่กาย กายเจ็บแข้งเจ็บขานี่เป็นเวทนา ถ้ามันเป็นเวทนาทางจิตล่ะ จิตมันหงุดหงิดต่างๆ มันเป็นเวทนาทางจิต ถ้ามันจับของมันได้ มันพิจารณาแยกแยะของมันได้ มันแยกแยะ อะไรเป็นเวทนา เวทนาทางกายมันเป็นได้หรือ กระดูกมันเป็นเวทนาได้หรือ เนื้อมันเป็นเวทนาได้หรือ เอ็นมันเป็นเวทนาได้หรือ ธาตุ ๔ มันเจ็บปวดได้หรือ มันเจ็บปวดไม่ได้ ธาตุ ๔ มันเจ็บปวดไม่ได้หรอก มันเจ็บปวดไม่ได้แล้วมันเป็นเวทนาได้อย่างไร

มันจะเป็นเวทนาได้ต่อเมื่อคนเป็นไง คนตายไม่มีเวทนา คนเป็นคืออะไร คนเป็นคือมีหัวใจ มีจิตไง เพราะมีจิต จิตมันไปจับต้องไง ถ้าปัญญามันไล่ไปๆ มันกลับมาแล้ว โอ! จิตมันโง่ ไอ้คนโง่ เห็นไหม นี่ถ้าเปิดตา

แต่ถ้าไม่เปิดตาล่ะ เวทนา เวทนาเป็นเรา เวทนาดิบๆ เวทนาเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา พอมันนั่งไปเจ็บปวดทั้งนั้นน่ะ เพราะมันไม่ปล่อย แต่ถ้ามันปล่อยแล้วจิตมันสงบแล้ว พอสงบแล้วมีกำลัง พอมีกำลังทำไมจับได้ล่ะ ถ้ามันจับได้นะ

ถ้าเปิดตา เปิดตามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นตามความเป็นจริงแล้วจับมันพิจารณา คำว่า “พิจารณา” พิจารณา ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา การที่พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน ขิปปาภิญญา ถ้าจิตสงบแล้วจับได้ พิจารณาได้ทีเดียวเป็นพระอรหันต์เลย ขิปปาภิญญา ผู้ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ปฏิบัติง่ายรู้ง่ายเพราะเหตุใด ปฏิบัติง่ายรู้ง่ายเพราะอำนาจวาสนาเขาได้สร้างสมของเขามา เขาได้ทำของเขามา

ในสมัยพุทธกาล พาหิยะ ที่ว่าฟังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีเดียวเป็นพระอรหันต์ อดีตชาติของเขา เขานัดกัน เขาเป็นพระ อดีตชาตินัดกันขึ้นไปภาวนาบนยอดภูเขาตัด ทำพะองขึ้นไป พอขึ้นไปแล้วถีบพะองทิ้ง บอกว่า ถ้าใครภาวนาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ให้เหาะลงไป ถ้าใครภาวนาไม่ได้ให้ตายที่นั่น

หมู่คณะของพระพาหิยะขึ้นไปปฏิบัติเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี เหาะลงมาๆ พระพาหิยะตายบนนั้น เขาสละตายมา เขาได้ทุ่มเท นั่งสมาธิ ปฏิบัติต่อสู้กับกิเลสจนเสียชีวิต แล้วเขามาเกิดอีก มาเกิดด้วยอำนาจวาสนาของเขา เขาสร้างของเขามา แล้วเราทำอะไรมา เราเป็นโจรปล้นชิงเขามาตลอดเลย แล้วพอมาเกิดเป็นคน เราบอกว่าเราจะปฏิบัติให้ได้เหมือนเขา

ต้นทุนมันแตกต่างกัน ต้นทุนมันแตกต่างกัน พันธุกรรมของจิตมันแตกต่างกัน ถ้าขิปปาภิญญาเขาทำอย่างนั้น แต่ของเราล่ะ ของเรา เราเวไนยสัตว์ เราพยายามทำของเรา เราพยายามทำของเรานะ ถ้าจิตมันสงบเราเปิดตาได้ เราจับกายได้ จับเวทนาได้ จับจิต จับธรรมได้ แล้วพิจารณาของเรา ถ้าพิจารณาแล้วนะ เวลาพิจารณา เวลาจิตจะสงบ จะเปิดตาก็แสนทุกข์แสนยาก แสนทุกข์แสนยากเพราะการรักษาไม่เป็น การรักษา รักษาที่ไหน? รักษาที่สติ สติปัญญารักษาที่นี่ ไม่ใช่ไปรักษาที่อื่น

สตินะ ถ้าสติทัน สติทัน สติรู้ทัน สติระลึกรู้ ระลึกรู้มันก็เริ่มมีการกระทำ กระทำจนสมบูรณ์ขึ้นมา มันจะรู้ทัน รู้เท่ารู้ทัน รู้เท่าทันความคิด รู้เท่าทันความหงุดหงิด ถ้ารู้เท่าทันมันก็อาย มันก็หยุด ความหงุดหงิด ความต่างๆ มันรู้ทันมันก็ดับลง มันก็รู้แจ่มแจ้งขึ้น สมาธิรู้แจ่มแจ้งขึ้น มีความสุข แล้วมันออกกระทบ เวลามันคลายตัวออกมา เราก็กำหนดพุทโธต่อเนื่องเข้าไป ถ้าจิตมันสงบ นี่รักษา รักษา มีความชำนาญ ชำนาญในการรักษา ถ้าเรารักษาเป็น ของนั้นจะอยู่กับเราตลอดไป มันอยู่ที่การรักษา เราทำให้เป็นสมาธิก็แสนยาก แต่รักษายิ่งยากกว่า รักษาให้มันมั่นคง แล้วถ้าเราชำนาญตรงนี้มันจะเสื่อมไปไหน

ถ้ามันจะเสื่อมนะ พอจิตสงบแล้ว เปิดตาแล้ว เราน้อมไป น้อมไปคือนึกในสมาธิ รำพึง น้อมไปที่กาย น้อมไปที่เวทนา น้อมไปที่จิต น้อมไปที่ธรรม เหมือนกัน เหมือนกับชีวิตเรา ทำไมเราต้องกินข้าว ข้าวกินไปทำไม มันจะมีประโยชน์อะไร ข้าวน่ะ อ้าว! ข้าวกินไป มันผ่านปากไปมันก็ลงกระเพราะ มันมีสารอาหารเข้าไปบำรุงร่างกาย นี่กินข้าว

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาทำไมเราต้องพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรมล่ะ

ก็กาย เวทนา จิต ธรรมมันเป็นที่แสดงออกที่หาผลประโยชน์ของกิเลส กิเลสเป็นนามธรรม เราหาตัวมันไม่เจอ แต่ถ้าเราจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม มันเป็นที่ดำเนินการ เป็นที่ที่กิเลสมันแสดงตัว กิเลสมันแสดงตัว เห็นไหม “กายของเรา ร่างกายนี้เป็นของเรา เวทนา โอ๋ย! นี่รัก ชอบ นี่ของเรา” จิตยิ่งเป็นของเราใหญ่ ยิ่งอารมณ์ความรู้สึก โอ๋ย! เราหมดเลย แล้วเวลามันเกิด ถ้าเป็นปิดตาตีธรรมมันก็เกิดกับเรา แล้วมันก็ดับ เห็นไหม

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา” แล้วความคิดมันก็เกิดดับ ความคิดมันก็เกิดดับเหมือนกัน ธรรมดาเหมือนกัน แล้วมันธรรมดาไหม

ถ้าสติ สมาธิดี มันก็ธรรมดา แต่ถ้าสติ สมาธิมันอ่อนแอ เดี๋ยวมันจะธรรมดาไหม มันจนโศก จนทุกข์ จนยาก จนเต็มที่ล่ะ นั้นเพราะปิดตา ปิดตาตีธรรม

ถ้าเปิดตาล่ะ เปิดตา ทำความสงบของใจเข้ามา ทำไมต้องทำความสงบของใจ ต้องเน้นย้ำว่าทำไมต้องทำความสงบของใจ

ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามันทำความสงบของใจคือมีสมาธิ ถ้ามีสมาธิคือเปิดตาใจ ถ้าเปิดตาใจมันก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถ้าเห็นนะ ถ้าไม่เห็น ไม่เห็นต้องรำพึงไป น้อมไป คนที่มีอำนาจวาสนา จิตสงบแล้วเห็น บางคนเห็นครั้งแรก เห็นทีเดียว แล้วไม่เห็นอีกเลย บางคนไม่เคยเห็นเลย บางคนกว่าจะเห็น บางคนเห็นเป็นจินตนาการ เห็นจินตมยปัญญา จิตมยปัญญานั้นคือเป้าลวง เป้าลวงมันไม่ใช่เจ้าหนี้แท้ ไม่ใช่เป้าจริง

ถ้าเป้าจริงนะ เวลาไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม โอ๋ย! มันสะดุ้งมันสะเทือนหัวใจมาก ถ้ามันสะดุ้งมันสะเทือนหัวใจ เราเห็นเครื่องดำเนินของกิเลส กิเลสมันจะใช้ช่องทางนี้ออกไปสร้างเวรสร้างกรรม แต่ปัจจุบันนี้ถ้าจิตมันสงบเข้ามาแล้ว เราลืมตาแล้วเราเห็นธรรม เราจะใช้จิตของเรา ใช้ปัญญาของเรา แยกแยะของเรา จะรื้อจะถอนมันแล้ว จะรื้อจะถอน

“ก็จะฆ่ากิเลส ทำไมต้องไปดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมล่ะ”

อ้าว! ก็กาย เวทนา จิต ธรรม ก็เป็นเครื่องมือของมัน เป็นเครื่องมือของมัน มันอาศัยสิ่งนี้ เราก็ต้องไปจับสิ่งที่มันเอาเครื่องมือไปทำร้ายคนอื่น เราจับแยกแยะเครื่องมือของมัน พิจารณากาย พอพิจารณากาย ถ้าเห็นกายโดยเจโตวิมุตติ เจโตคือว่าจิตสงบแล้วเห็นกายเป็นภาพ เป็นสิ่งต่างๆ แล้วพิจารณา พิจารณาแยกแยะ

ถ้ามีกำลังนะ ถ้าสมาธิมีกำลัง พอพิจารณาไปมันสมความปรารถนาหมดเลย พิจารณาให้มันแปรสภาพอย่างไรมันเป็นให้ดู ให้พุให้พอง ให้มันเสื่อมสภาพไป ให้มันละลายไป มันเป็นให้ดูหมด พอมันเป็นเพราะอะไร เพราะมีกำลัง ใจมีกำลังมันพิจารณา เห็นไหม กิเลสมันแย่งกินไม่ได้ ถ้ากิเลสมัน “ไม่ได้ ของฉัน ของเรา กายของเรา สรรพสิ่งของเรา มันต้องเป็นของดี ดีงามไปหมด”

แต่ถ้าเป็นธรรม เป็นธรรมก็ต้องยิ่งดีกว่า ทำไมมันละลายล่ะ

ละลายมันเป็นไตรลักษณ์ไง ไตรลักษณญาณไง เพราะจิตมันยึดมันมั่น พอพิจารณาไปแล้ว ถ้ากำลังดี ถ้าเราฝึกฝน เราเปิดตา เราเห็นธรรม กำลังดี มันพิจารณาไปมันสมความปรารถนา สมกับที่ปัญญามันแยกมันแยะ มันเป็นไปหมดเลย จะทำอย่างไรก็เป็น แต่พอพิจารณาไปบ่อยครั้งเข้า พอพิจารณาไปมันก็ปล่อย คำว่า “ปล่อย” กำลังของเรา กิเลสมันแก่นของกิเลส ปล่อยแล้วมันหลบ มันไม่จบ มันหลบ

คำว่า “กิเลสมันหลบ” หลบซ่อนอยู่ในใจของเรา เราก็องอาจกล้าหาญว่า “โอ๋ย! มันเวิ้งว้าง จิตใจเวิ้งว้างไปหมดเลย” ว่าง กิเลสมันซ่อน เขาเรียกว่าตทังคปหาน คำว่า “ตทังคปหาน” คือได้ชำระล้างชั่วคราว

กิเลสมันแก่นของกิเลสนะ ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ พอมันตทังคปหาน มันปล่อยวางชั่วคราว สิ่งที่ว่าเราทำสมาธิทำแสนยาก ทำแล้วมีความสุขมาก ทำแล้วมันมีปัญญามาก ปัญญาในการรักษาสมาธิมันก็ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์แล้ว เวลาจิตเรามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง แล้วพิจารณาไปมันปล่อยวางนะ มันลึกซึ้งกว่าเยอะ

นี่ไง ที่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ศึกษามาแล้ว เวลาออกจากสมาธิสมาบัติมามันปกติ มันไม่มีอะไรยุบยอบไปเลยล่ะ นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราเปิดตาของเราแล้ว เราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเราพิจารณาไปแล้วมันต่างกันแล้ว เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มา แล้วมันแปลกใจว่าเวลามันคลายตัวออกมาไม่เห็นมีอะไรวิเศษไปเลย

แต่เวลาจิตเราสงบแล้ว เราทำสมาธิ เราทำความสงบของใจเข้ามา ในกรรมฐาน ๔๐ ห้อง แบบที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางแนวทางเอาไว้ให้เราประพฤติปฏิบัติ แล้วเราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง แล้วพิจารณา แล้วแยกแยะไปโดยเป็นไตรลักษณ์ แล้วมันปล่อย

เวลามันปล่อย ถ้าตาแฉะ มันก็ว่า “โอ้โฮ! สมุจเฉทปหานแล้ว กิเลสขาดไปแล้ว” แล้วลืมตัว เผลอ เดี๋ยวมันคลายตัวออกมามันก็กลับไปเหมือนปุถุชน กลับไปเป็นปกติ มันไม่มีสิ่งใด ไม่มีกิเลสสิ่งใดสำรอกคายออกเป็นตามความเป็นจริง เพราะมันชั่วคราว

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญานะ เวลามันพิจารณาไปแล้ว เวลามันปล่อย โอ๋ย! มันเวิ้ง มันว้าง มันเหมือนกับหากิเลสไม่เจอ ผู้ที่ปฏิบัติเวลาติดนะ มันปล่อยหมดเลย ว่างหมดเลย ไม่มีแล้ว หาไม่เจอ หาไม่เจอ นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสมาธิสมาบัติมา เวลาออกมาแล้วมันปกติ ไอ้นี่พิจารณาแล้วมันเวิ้งว้างหมด มันสำรอก มันชั่วคราว มันหาไม่เจอเลย ไม่มีเลย

แต่ถ้าตั้งสติไว้ กลับมาทำความสงบของใจให้มั่นคงขึ้น แล้วเดี๋ยวมันกระดิกตัวออกมา ของมันมีอยู่มันต้องแสดงตัว ในเมื่อกิเลสมันมีอยู่มันต้องแสดงตัว ถ้ามันเวิ้งว้าง แสดงว่ามันหลบมันหลีก กิเลสบังเงา กิเลสมันบังเงานะ มันหลบมันหลีก เพราะมันเป็นเจ้าของพื้นที่ มันเป็นเจ้าวัฏจักรที่ครองหัวใจเรามาตลอด มันเป็นที่อยู่อาศัยของมัน ถ้ามันหลบมันหลีกขนาดไหน แก่นของกิเลส

จิตเราสงบแล้ว เวลาถ้าไม่เห็นสิ่งใด เราทำความสงบของเราให้มีกำลัง พอมันกระดุกกระดิก จับได้ พิจารณาต่อ นี่ตทังคปหาน จับได้อีก เวลาเทียบเท่า ถ้าตาแฉะ เวลาพิจารณาไปแล้วมันเวิ้งมันว้าง ทั้งๆ ที่เวลามันรู้ รู้เลยว่าสมาธิมันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามันพิจารณาไปแล้ว เวลามันตทังคปหานมันปล่อยวางไป มันรู้อยู่ว่ามันสะอาดมากกว่า มันดีกว่า นี่ไง ดีกว่า แต่ถ้าตาแฉะ ดีกว่าแล้วก็เผลอ ดีกว่าแล้วไม่ทำต่อเนื่อง เวลามันเสื่อม เราก็ต้องกลับมาใหม่

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยแนะนำ มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ เราทำต่อเนื่องขึ้น ถ้ามันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยวาง มันยังไม่ถึงที่สุด แล้วเราทำความสงบใจเข้ามา แล้วถ้ามันจับได้ พิจารณาต่อๆๆ มันก็เหมือนสิ่งที่เราเคยทำมา เพราะทำเป็น ภาวนาเป็นแล้ว ภาวนาเป็นแล้วก็เห็นกายพิจารณาเป็นไตรลักษณ์ เห็นเวทนา เวทนาไม่ใช่เรา ถ้าเห็นจิต จิตเศร้าหมอง ถ้าเห็นธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์มันเกิดดับ พิจารณาไล่เข้าไปมันก็ดับ มันก็ปล่อยวางหมด เดี๋ยวก็เกิดอีก ก็จับอีก พิจารณาต่อเนื่องไปๆ ทำแล้วทำเล่า พิจารณาซ้ำพิจารณาซากเข้าไปจนถึงที่สุด ถึงที่สุดก็มันปล่อยไง มันปล่อย มันหลบไปช่องนี้ เดี๋ยวมันกระดิกตัว มันรู้ตัวมาเราก็จับพิจารณาต่อ พิจารณาต่อมันก็หลบไปช่องนั้น เราทำความสงบของใจแล้วมีกำลัง เราก็จับ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ

คำว่า “ซ้ำแล้วซ้ำเล่า” มันให้กำลังใจ ให้กำลังใจว่า เพราะคนภาวนาไปแล้ว ภาวนาเป็นแล้วเวลาเสื่อมถอยมา มันรู้เลยว่าสิ่งที่มันเสื่อมมา สิ่งที่เราลงทุนลงแรงมามันไม่ถึงที่สุด มันไม่เป็นอกุปปธรรม มันไม่คงที่ตายตัว มันเจริญแล้วเสื่อมๆ อย่างนี้ แล้วถ้าเราขาดสติมันก็ต้องเสื่อม เสื่อมไปจนเป็นปุถุชน เสื่อมไปจนเป็นเรื่องโลกๆ เราจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ มันพิจารณาแล้ว มันเห็นความผิดพลาดของเราแล้ว มันสะเทือนใจนะ เราลงทุนลงแรงขนาดนี้

ถ้าทำสมาธิไม่ได้ มันก็ปิดตาตีธรรมของมันไปเรื่อยเฉื่อย แล้วมันก็ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย แต่เวลาเราพยายามมุมานะของเราจนเราเปิดตาได้ เราเปิดตาแล้วเห็นธรรมด้วย เห็นธรรมคือโสดาปัตติมรรค เห็นธรรมคือได้พิจารณา ได้แยกได้แยะ ได้เห็นกาย ได้เห็นเวทนา ได้เห็นจิต ได้เห็นธรรม ได้พิจารณาไป เวลามันตทังคปหานมันปล่อยวาง เห็นเลยว่ากิเลสมันสงบตัวลง กิเลสมันหลบมันหลีก วุฒิภาวะของใจมันแตกต่างกันอย่างใด แล้วถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราไม่ละเอียดรอบคอบ เวลามันเสื่อม เสื่อมถอยไปหมดเลย แล้วเราก็ต้องมุมานะ มุมานะทำให้มันเจริญขึ้นมา ให้มันเจริญขึ้นมาเพื่อให้มีกำลัง

พอจิตมีกำลัง เวลามีกำลัง เกิดมรรคญาณ เกิดโสดาปัตติมรรค เกิดมรรค เกิดผล เกิดเหตุ เกิดการกระทำ มีการกระทำ เปิดตาเห็นธรรมๆ เห็นธรรมเพราะมันมีการกระทำ ขณะกระทำแล้วมันปล่อยวางๆ ปล่อยวางมันยังหลอกเลย หลอกแล้วเราก็ทำแล้วทำเล่า คนที่ปฏิบัติมันจะมีประสบการณ์อย่างนี้ทั้งนั้นน่ะ ถ้ามีประสบการณ์อย่างนี้ มันก็ต้องมีความมุมานะ ถ้ามุมานะ “แล้วคนอื่นเขาทำไม่เป็นอย่างนี้”

ถ้าขิปปาภิญญา ยกไว้ ขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย แต่เวลาพูดธรรมะมันจะต้องเหมือนกัน ขิปปาภิญญามันสมุจเฉทฯ อย่างไร มันขาดอย่างไรมันถึงเป็นขิปปาภิญญา มันขาด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่งทีเดียวเป็นพระอรหันต์เลย แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สอนเอง มรรค ๔ ผล ๔ ใช่ไหม

เพราะว่าถ้าขิปปาภิญญา คนที่สร้างอำนาจวาสนาขนาดนั้นมันมีน้อย พวกเวไนยสัตว์ ดูสิ คนชั้นกลางมีเยอะ พวกที่ส่วนยอดของสังคมมีจำนวนน้อยมาก ยิ่งรากหญ้ายิ่งมีมากมายมหาศาลเลย แล้วอย่างเรา เราแค่มีอำนาจวาสนา เราทำของเราได้ อันนี้ก็มีอำนาจวาสนา อำนาจวาสนามากมายมหาศาลล่ะ เพราะว่า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย การเวียนว่ายตายเกิด การสร้างบารมีมาขนาดนั้น เราคิดว่าเราไม่มีความสามารถขนาดนั้น แต่เราก็มีความสามารถของเราล่ะ เรามีความสามารถที่เรามีศรัทธามีความเชื่อ เราถึงได้มาประพฤติปฏิบัติ เราถึงได้มาพยายามกระทำของเราด้วยภายในใจ

พอมันทำขึ้นมาขนาดที่ว่ามันรู้มันเห็นขนาดนี้ เวลามันเสื่อมขนาดไหน เราทำของเราขึ้นมาใหม่ แล้วเปรียบเทียบ คนเราเวลาปฏิบัติแล้ว มันต้องมีเจริญแล้วมีเสื่อม คำว่า

“เสื่อม” มันเป็นประสบการณ์ไง ใครบ้างที่ปฏิบัติแล้วไม่เจริญแล้วเสื่อม ถ้าไม่เจริญ มันก็ไม่มีอะไรเสื่อม ถ้ามันมีความเจริญขึ้นมา เวลาทำความเจริญขึ้นมาแล้วมันเสื่อม มันก็รู้ไง ถ้ามีความเจริญแล้วมันเสื่อม แล้วเราปฏิบัติ เวลาถ้ามันเจริญแล้วมันเสื่อม ถ้าเราขาดสติ เราก็เห็นโทษของเรา

แต่เวลาเรามีสติขึ้นมา เราเห็นโทษ เราก็รักษาของเรา เรารักษาของเราแล้ว เราทำความสงบของใจให้กำลังมีมากขึ้น แล้วไปพิจารณา พิจารณาถ้ามีกำลังนะ สมาธิดีๆ พิจารณาไป ถ้าสมาธิดีเกินไป กำลังมันดีเกินไปมันก็ไม่มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่สมดุล ไม่สมดุลมันก็เก้ๆ กังๆ ถ้าพิจารณาต่อเนื่องๆ จนสมาธิมันสมดุลนะ โอ้โฮ! มันเวิ้งมันว้าง มันปล่อยมันวาง

แต่ถ้าสมาธิมันอ่อนลง มันไปไม่ได้อีกแล้ว พิจารณาไปปัญญามันไม่เดิน จับอะไรมันก็หลุดไม้หลุดมือ ถ้าใช้ปัญญาวิมุตติพยายามพิจารณาแยกแยะไปมันก็อืดอาด นั่นน่ะสมาธิอ่อน ต้องวาง ต้องปล่อย แล้วกลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ต้องสร้างกำลังขึ้นมา

ความสมดุล ทำบ่อยครั้งเข้า มันมีผิดมีถูก มันมีความผิดพลาด แต่มันมีความภูมิใจ มีความภูมิใจว่าผิดเราก็เห็น พอผิดแล้วเห็นมันเข็ดใช่ไหม พอภาวนาได้มันจะรักษา แล้วใช้ความละเอียดสุขุมรอบคอบ ความรอบคอบนะ พอพิจารณาไปต่อเนื่อง จากสติมันจะเป็นมหาสตินะ มันจะละเอียดลึกซึ้งกว่านี้เยอะเลย ถ้ามันละเอียดลึกซึ้งอย่างนี้ เราพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลาสมดุลของมันนะ

เวลาสมดุลนะ เราจะอ้าง เราจะคาดจะหมายให้สมดุลเมื่อไหร่ไม่ได้ มันจะสมดุลของมัน ถ้ามันสมดุลของมัน ถ้ามันสมดุลของมันนะ เห็นไหม อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค มัชฌิมาปฏิปทาคือความสมดุล ถ้าความสมดุล บางคนพิจารณาไม่กี่ครั้งมันก็ขาดได้ บางคนพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันไม่ขาดสักที บางคนพิจารณาไม่ขาดจนเดี๋ยวนี้ก็ยังมี แต่ถ้าเราพิจารณาของเราไป ซ้ำแล้วมีความขยันหมั่นเพียรของเรา

ถ้ามันจะทุกข์ยากขนาดไหน เพราะเราก็เคยเห็นความผิดพลาดมาแล้ว เราทำให้ดี พิจารณาแยกแยะให้ดี เวลามันขาด พิจารณากาย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ พิจารณาเวทนา เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ พิจารณาจิต เวลาจิตมันขาดออกไป จิตเป็นจิต กายเป็นกาย ทุกข์เป็นทุกข์ พิจารณาธรรมารมณ์ มันขาดหมดเลย

เวลามันขาด ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขาดที่กาย พิจารณากาย ขาดที่กายก็จบ พิจารณาที่เวทนา ขาดที่เวทนา ก็จบ พิจารณาจิต ขาดที่จิต ก็จบ พิจารณาธรรม ขาดที่ธรรม ก็จบ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเดียว ไม่ใช่ไล่ไปหมดว่า กาย เวทนา จิต ธรรม...ไม่ใช่

คนถนัด ถนัดสิ่งใดทำสิ่งนั้น แต่พิจารณาแล้ว ถ้าพิจารณากาย พอพิจารณากายแล้วถ้ามันจืดชืด เราพิจารณาเวทนาบ้างได้ แต่เวลามันขาด มันขาดอันใดอันหนึ่ง แล้วเหมือนกันหมดเลย เวลามันขาด เห็นไหม เราใช้หนี้ไปแล้วมันจบหมดเลย เวลาขาด เวลาถ้าพิจารณามันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันปล่อยวางหมดเลย นี่สังโยชน์ สังโยชน์คืออะไร

สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด เรามีความเห็นผิดมา จิตใต้สำนึก ทั้งๆ ที่ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ปิดตาตีธรรม ก็คิดว่า “เรารู้แล้ว เราเข้าใจแล้ว มันก็ไม่ใช่ของเรา เราเกิดมาเราก็ต้องตาย” นี่มันคิดเอง แต่จิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึกมันหวงมันแหน มันไม่ปล่อยหรอก เวลาตายไปแล้ว จิตออกจากร่างนี้ไปมันก็ไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าเราพิจารณาของเรา เวลามันขาด สังโยชน์มันขาด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เวลามันขาด เวลามันขาด เวลาขาดออกไปจากใจ สังโยชน์มันขาดไปแล้วมันเหลือสิ่งใดล่ะ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วเหลืออะไร อะไรที่มันสำรอก อะไรที่มันคาย แล้วมันเหลืออะไร

สิ่งที่มันเหลือ ถ้ามันเหลือ เหลือคุณธรรม เหลืออกุปปธรรม คำว่า “อกุปปธรรม” พระโสดาบันเกิดอีก ๗ ชาติ

จิตปกติไม่มีต้นไม่มีปลาย การเวียนว่ายตายเกิด เหมือนคนโดนโทษประหาร คนติดคุกตลอดชีวิตไม่มีได้ออก นี่ก็เหมือนกัน จิตถ้าจะทำบุญกุศลขนาดไหน จะทำความเลวทรามขนาดไหน ถ้าทำดีก็เกิดขึ้นไปบนสวรรค์ เป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม หรือเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าทำชั่ว นรกอเวจี หรือเกิดเป็นมนุษย์ที่ทุกข์ยาก เพราะว่ามันผ่านมา มนุษย์เป็นภพกลาง

สิ่งต่างๆ เวลามันขาดไป อกุปปธรรม มันเป็นความจริงแท้ในจิตนั้น อกุปปธรรมจากใจดวงนั้น ไม่ใช่มีใครให้ค่าหรือใครมาค้ำประกันทั้งนั้น มันเป็นของมันโดยตัวของมันเอง เพียงแต่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ว่าเป็นอย่างนั้นๆๆ แต่มันจะเป็นขึ้นมาจากการกระทำของจิตดวงนั้น จิตดวงใดก็แล้วแต่ถ้ามีสติมีปัญญา มีความเพียรชอบ มีความวิริยะมีความอุตสาหะ มีการกระทำจริงขึ้นมามันถึงจะเป็นความจริง ถ้าความจริงอย่างนี้เกิดขึ้นมาถึงเป็นอกุปปธรรม

อกุปปธรรม เวลากิเลสขาดดั่งแขนขาด มันขาดไปแล้วก็ขาดไป แต่ถ้ามันเป็นสัญญา ใครก็บอกว่าปฏิบัติธรรมแล้ว เวลากิเลสขาดดั่งแขนขาด มันก็เป็นคำพูดอีกน่ะ แขน แขนอะไรขาด ดั่งแขนขาด คำว่า “ดั่ง” ดั่งแขนขาดนี้เป็นธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นการสมุจเฉทปหาน ยกขึ้นมาให้พวกเราเห็นจริงไงว่าเหมือนกับตัดแขนขาด แล้วก็นึกเอาสิว่าตัดแขนขาด นึกเอาว่าตัดแขนขาด...ไม่ใช่

ตัดกิเลสขาดต่างหาก ตัดกิเลสขาด แต่กิเลสขาดไปแล้ว ท่านเปรียบเทียบดั่ง คำว่า “ดั่งแขนขาด” ไอ้เราก็บอกว่ายกแขนขึ้นมาแล้วตัดเลย

เขาอุบัติเหตุ แขนขาดเยอะแยะไปหมด ต้องมีแขนเทียม เวลาแขนเขาขาดมันเป็นพระโสดาบันขึ้นมาบ้างไหม มันไม่ได้เป็นเลย นี่ก็พูดกันไป เพราะอะไร เพราะปิดตาตีธรรมไง ปิดตาตีธรรม ปิดตาตีหม้อไง ถูกก็มี ผิดก็มี ถูกก็ถูกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ถูกธรรมของตัว ผิด ผิดก็กิเลสล้วนๆ เลย

แต่ถ้าเราทำจริงของเราขึ้นมานะ เราเปิดตา เปิดตาแล้วเห็น เปิดตาแล้วเห็นธรรม แล้วเดินตามร่องตามรอย ความวิริยะ ความอุตสาหะ มีการกระทำของเรา แยกแยะของเราไป การแยกแยะ นี่งานของใจ งานของใจนะ มันแยกมันแยะ มันพิจารณาของมันนะ เวลามันเสื่อม มันเสื่อมไปแล้ว เราจะทำให้มันเจริญขึ้นมา เวลามันใช้ปัญญาไปแล้ว ปัญญาพิจารณาแล้วมันไม่เป็นกลาง มันไม่เป็นกลาง มันไม่พอดี เราก็กลับมาทำความสงบของใจแล้วพิจารณาแยกแยะไป

พอมันปล่อย ปล่อย เรารู้ เออ! ปล่อยมันเป็นอย่างนี้ พอปล่อยแล้วถ้าพลั้งเผลอขึ้นมา เดี๋ยวมันก็คืนฟื้นตัวมา เราก็จับของเราใหม่ พอมันผิดพลาดไปแล้วเราก็จับใหม่ สิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วก็เป็นครูใช่ไหม เราก็เข็ดขยาดใช่ไหม เราก็ละเอียดรอบคอบมากขึ้น พิจารณาบ่อยครั้งเข้าๆ ถึงที่สุดแล้ว มนุษย์จะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ ความเพียรทางโลกเขาทำอาชีพการงาน เขาต้องมีความมุมานะของเขา ความเพียรทางใจ จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน แต่ใจมันหมุน หมุนติ้วๆ เวลาปัญญามันเกิด ปัญญามันหมุนนะ ปัญญามันหมุน มันมีสติมีปัญญาอยู่ในใจของเรา การเคลื่อนไหว การเคลื่อนย้ายมันก็เป็นปกติ แต่มีสติรอบคอบ รักษาของเราให้ดี ทำของเราขึ้นมา อันนี้จะเป็นอริยทรัพย์ เห็นไหม

เราเกิดมาเป็นมนุษย์มีกายกับใจ หน้าที่การงานเลี้ยงร่างกายนี้ ชาติตระกูลของเรา เวลาชาติตระกูลของเรา เวลาเราตายเราไปเกิดชาติตระกูลไหนล่ะ นี่คือชาติตระกูลในปัจจุบันนี้ไง มันเป็นสายบุญสายกรรม แต่ถ้าเราพยายามประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส เราจะเป็นญาติกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแห่งทุกข์นะ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต เราจะเคารพบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียสละ เสียสละเป็นพระโพธิสัตว์ เสียสละมามาก เสียสละรื้อสัตว์ขนสัตว์ด้วยเมตตา ด้วยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้ แล้วเรา เราเป็นชาวพุทธ เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เราจะพยายามประพฤติปฏิบัติให้สมดังความปรารถนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์

เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเพื่อรื้อค้นหัวใจของเราเอง เราจะเปิดตาใจของเรา แล้วเห็นธรรม คือพิจารณาของเราเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ เอวัง

สง