ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

รู้ไม่แจ้ง

๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๗

รู้ไม่แจ้ง

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๗

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องรู้-ความนึกคิด-ปรุงแต่ง

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง กระผมก็พอจะเข้าใจเล็กน้อย แต่ไม่ลึกซึ้ง แต่ความรู้เล็กน้อยนั้นก็ลึกซึ้งเฉพาะของมันอยู่ภายในครับ

หลวงพ่อครับ วันนี้ผมไม่ขอรบกวนหลวงพ่อครับ ขอบพระคุณ ขอให้หลวงพ่อสุขภาพแข็งแรง

ตอบ : ไม่มีคำถาม เพียงแต่บอกว่ากระผมเข้าใจเล็กน้อย แต่ยังไม่ลึกซึ้ง แต่ความรู้เล็กน้อยนั้นก็ลึกซึ้งเฉพาะของมัน

อันนี้ถูกต้อง ถูกต้องเพราะว่า เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราไม่รู้สิ่งใดเลย เพราะว่าเราปฏิบัติโดยทางวิทยาศาสตร์ โดยทางโลก โดยข้อเท็จจริง ทุกคนก็บอกว่า ปัญญาคือความคิดความรู้ของเรา ปฏิภาณไหวพริบทุกอย่างเป็นปัญญาทั้งหมด เป็นความเข้าใจของเรา

ทีนี้ถ้าเป็นความเข้าใจของเรา เราศึกษากัน เวลาศึกษาเขาศึกษาทางปริยัติกันได้ เปรียญ ๓ เปรียญ ๗ เปรียญ ๙ เวลาเขาจบเปรียญแล้ว เรียนสิ้นสุด เขาก็มีความรู้ ความรู้ของเขาจะรู้สูงรู้ต่ำ

เราได้ยินมา เวลาพวกทางวิชาการเขาบอกว่ามหาบัวก็แค่ ๓ ประโยค จะรู้อะไรมากมายนัก

เห็นไหม เขาวัดความรู้กันด้วยความรู้ทางการศึกษา วัดความรู้กันทางโลก ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเป็นความรู้ จะ ๑ ประโยค ๒ หรือประโยค ๓ ประโยค ๗ ประโยค ๙ ประโยคก็แล้วแต่ มันเป็นความรู้ เป็นโลกียปัญญา ความรู้มันยังเป็นสุตมยปัญญา เป็นโลกียปัญญา คือการศึกษา ฉะนั้น สุตมยปัญญา สุตมยปัญญาคือการศึกษาเล่าเรียน ถ้ามันภาวนาไป หรือคนที่นักวิทยาศาสตร์เขาจินตนาการไป อันนี้เป็นจินตมยปัญญา มันจะมีภาวนามยปัญญาอีกไง ฉะนั้น สิ่งที่เป็นภาวนามยปัญญานะ

เราได้ยินเขาว่ากันอย่างนั้นจริงๆ เวลาหลวงตาท่าน ๓ ประโยค ท่านเป็นมหา ๓ ประโยค ก็เข้าใจ เพราะท่านตั้งเป้าไว้ว่าเรียนแค่มหาเพื่อจะให้แปลบาลีได้ เพื่อความเข้าใจ เพื่อทำทะลุปรุโปร่งในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลามาประพฤติปฏิบัติแล้วมันจะได้ไม่พะวงหน้าพะวงหลัง

แต่เวลามาประพฤติปฏิบัติจริงๆ กลับพะวงหน้าพะวงหลัง เพราะเวลาไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่ามหา มหาเรียนมาจนเป็นมหา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสุดยอด เทิดใส่ศีรษะ

คำว่าเทิดใส่ศีรษะไว้เราไม่ได้ปฏิเสธ เราไม่ได้ปฏิเสธ เราไม่ต้องการ เราไม่ใช่ว่าเราไม่รับสิ่งนั้น มันเป็นสุตมยปัญญา

ท่านบอกว่า สิ่งที่ศึกษามาเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เทิดใส่ศีรษะไว้ เชิดชูไว้ เชิดชูไว้เพราะเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้ามา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้มาได้ตามความเป็นจริง แล้วเอาใส่ลิ้นชักไว้ แล้วลั่นกุญแจมันไว้ด้วย อย่าให้มันออกมา แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา

การศึกษามาๆ ความรู้ ความรู้เล็กน้อย ความรู้จะมากขนาดไหน เขาบอกว่าแหม! แค่มหา ๓ ประโยค จะรู้อะไรมากมายขนาดนั้น ผู้ที่มีประโยคมากกว่า ๗ ประโยค ๙ ประโยค เขามีความรู้มากกว่า เขาจะแตกฉานมากกว่า

เขาให้เอาใส่ลิ้นชักไว้ แล้วประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง มันเกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาอย่างนี้ไม่มีใครถ่ายทอด ใครสืบต่อใคร ใครจะชักจูงใคร เป็นไปไม่ได้ มันจะเกิดขึ้นเองเป็นปัจจัตตัง เป็นปัจจัตตังจำเพาะตน มันเป็นปัญญาจำเพาะ จำเพาะกับดวงใจดวงนั้น จำเพาะกับในดวงใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำเพาะในใจของครูบาอาจารย์ที่สำเร็จ จำเพาะๆ

แต่ผู้ที่รู้จริง ความจำเพาะนั้น อย่างเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าก็จำเพาะ จำเพาะพระปัจเจกพุทธเจ้า

แล้วบอกพระปัจเจกพุทธเจ้าสั่งสอนไม่ได้ๆ

ทำไมความรู้จำเพาะตนทำไมจะสั่งสอนไม่ได้ มันก็สั่งสอนด้วยความรู้จริงอันนั้นน่ะ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม วางธรรมและวินัยนี้ได้ คือทางวิชาการ อย่างเช่นพระไตรปิฎก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการมา จดจำกันมา แล้วมาจารึกจารมาเป็นทีหลัง นี่ความรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ความรู้ของพระอรหันต์ มันรู้จำเพาะ จำเพาะตน แล้วถ่ายทอดได้ๆ

เพราะว่าถ้าถ่ายทอดไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมถ่ายทอด พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการชักนำมาทั้งนั้นน่ะ

คำว่าถ่ายทอดกับความรู้จำเพาะตน ถ่ายทอดแล้วเขาปฏิบัติรู้ ถ่ายทอดแล้วเขาพยายามค้นคว้า แล้วเขารู้จำเพาะของเขา ถ้ารู้จำเพาะของเขา นี่ความรู้จำเพาะตนๆ

ฉะนั้น เวลาหลวงตาท่านไปหาหลวงปู่มั่นมหา มหาเรียนมา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐนัก

เราพูดอย่างนี้ แล้วนักปฏิบัติหรือทางวิชาการเขาจะบอกว่ากรรมฐานไม่เคารพบูชาธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลาหลวงปู่มั่นท่านบอกให้เทิดใส่ศีรษะไว้

คำว่าเทิดใส่ศีรษะไว้เราเคารพบูชาใช่ไหม เทิดใส่ศีรษะ ศีรษะเหนือสูงสุด แล้วเก็บใส่ลิ้นชักไว้ แล้วลั่นกุญแจมันไว้ เพราะคนไม่ปฏิบัติจะไม่เข้าใจ แต่คนปฏิบัตินะ ถ้าไม่ลั่นกุญแจมันไว้ เราไปเห็นสิ่งใด เรามีข้อมูล ไอ้ข้อมูลนั้นมันจะยุแหย่ มันเป็นสัญญา มันจะทำให้เราติดข้อง ไอ้ข้อมูลที่เรารู้ ถ้าเรารู้อะไรแล้วมันอยากพูด อยากคุย อยากอวด อยากไปหมด เพราะเรารู้ ฉันรู้ๆ คนอื่นไม่รู้ ฉันรู้ๆ ฉันมีความรู้

ให้ใส่กุญแจมันไว้ก่อน ลั่นกุญแจไว้ ใส่ลิ้นชักลั่นกุญแจไว้ แล้วปฏิบัติให้รู้จริง ถ้ารู้จริงขึ้นมาแล้ว ความรู้จำอันนั้นน่ะ ความรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับความรู้จริงของเราอันเดียวกัน อันเดียวกัน มันสิ่งเดียวกัน เพราะว่าหลวงปู่มั่นกับครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า แม้แต่นั่งอยู่หน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ถาม ถ้าถามแสดงว่าเราสงสัย

แม้แต่นั่งอยู่นะ แล้วถ้านั่งอยู่หน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรู้ไหมว่าองค์นั้นเป็นพระอรหันต์

รู้ เพราะในสมัยพุทธกาลมีพระอรหันต์ที่หลงผิด ประกาศตนว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์กันทั้งหมดเลย แล้วจะไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับรองว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วก็จะเดินไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พระไปดักหน้า บอกไม่ต้องเข้ามาหาเรา ให้ไปแวะที่ป่าช้าก่อน ให้แวะเข้าไปที่ป่าช้า

พอไปที่ป่าช้า ไปเห็นซากศพ เห็นสิ่งที่เป็นอสุภะ จิตใจมันหวั่นไหว รู้ขึ้นมาว่าตัวเองไม่ใช่พระอรหันต์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ได้ไหมว่าใครเป็นพระอรหันต์หรือไม่เป็นพระอรหันต์

อนาคตังสญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่รู้

ฉะนั้น เวลาพระอรหันต์ที่ปฏิญาณตนกันในหมู่ของพระอรหันต์ว่าจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้พระไปดักหน้า บอกไม่ต้องเข้ามา ให้แวะไปที่ป่าช้าก่อน ให้แวะไปที่ป่าช้า พอเข้าไปป่าช้าปั๊บ จิตใจไปสะเทือน ไปหวั่นไหวที่นั่น ต่างองค์ต่างรู้หมดว่าไม่ใช่พระอรหันต์

ฉะนั้นบอกว่า เวลาสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว มันรู้จำเพาะตนแล้วสื่อสารไม่ได้ๆ

สื่อได้ สื่อกับผู้ที่รู้ แต่ในปัจจุบันนี้อ้างตนกันว่ามีคุณธรรม แล้วสื่อกับใคร สื่อกับฆราวาส ฆราวาสธรรม ฆราวาสธรรมก็แค่ถือศีล แค่มีจิตศรัทธาความเชื่อ ฆราวาสธรรม

ฆราวาสจะมีวุฒิภาวะแค่ไหน จะไปรู้สัจธรรม ไปรู้ความเป็นจริง ถ้าฆราวาสจะรู้สัจธรรมความเป็นจริง หลวงปู่ฝั้นท่านพูดบ่อย เวลาเมื่อก่อนที่หลวงปู่ฝั้นท่านลงมากรุงเทพฯ เวลาโยมมานั่งสนทนาธรรมกันน่ะ องค์นั้นก็นิพพาน คนนั้นก็พูดถึงปฏิจจสมุปบาท องค์นั้นก็พูดถึงอิทัปปัจจยตา สิ้นกิเลสทั้งนั้นเลย

หลวงปู่ฝั้นท่านนั่งฟังเฉย เวลาท่านหันกลับมาพูดกับพระนะ แม้แต่ผมมันยังสละไม่ได้ แม้แต่ผมบนศีรษะมันยังสละไม่ได้ แล้วมันจะมารู้มรรคผลนิพพานมาจากไหน

แต่ในสังคมของฆราวาส ในสังคมของทางวิชาการเขาศึกษากันมา เขาศึกษามา ศึกษามาทะลุปรุโปร่ง ธรรมของพระพุทธเจ้า รู้ทั้งนั้นน่ะ แล้วเวลาหลวงปู่ฝั้นท่านมาเทศน์ที่กรุงเทพฯ เขาก็มานั่งหน้าหลวงปู่ฝั้นน่ะ มาคุยธรรมะกันไง นิพพานๆ

ท่านฟังแล้ว คนที่รู้จริง ก็เหมือนเราผู้ใหญ่แล้วฟังเด็กมันคุยกันน่ะ ผู้ใหญ่ทำงานผ่านมา เด็กมันเล่นกันแล้วก็มาคุยกันเรื่องการละเล่นของมันน่ะ แล้วผู้ใหญ่ที่นั่งฟังอยู่จะขำไหม แล้วไปพูดกับเด็ก เด็กมันคุยกันประสาเด็ก แล้วผู้ใหญ่ไปคุยกับเด็ก เด็กทั้งหมดเลย เป็นกลุ่มเลย แล้วผู้ใหญ่คนเดียว ผู้ใหญ่จะแพ้เด็กหรือชนะเด็กล่ะ เด็กมันต่อต้าน เด็กมันไม่ฟังหรอก เพราะมันคุยกันประสาเด็ก มันไม่ยอมรับหลวงปู่ฝั้นหรอก

ฉะนั้น หลวงปู่ฝั้นท่านหันมาหาพระนะ ท่านบอกว่าแม้แต่ผมบนศีรษะเขา เขายังเสียสละไม่ได้ แล้วเขาจะสละกิเลสกันได้อย่างไร

นี่ไง ฆราวาสธรรมๆ ฉะนั้น ผู้ที่บอกมีคุณธรรมๆ เวลาไปคุยกับฆราวาส

ฆราวาสเขาจะรู้อะไรล่ะ เขาไม่รู้หรอก มาคุยกับพระสิ มาคุยกับผู้รู้สิ ผู้รู้เขามี เราคุยกับผู้รู้ ผู้รู้จะแจกแจงเองว่าผิดหรือถูก ถ้าผิดหรือถูกอันนั้นจะเป็นความจริง

ที่พูดมาเพราะเหตุใด

เพราะพูดที่ว่า ให้ยกเหตุนี้ขึ้นมาให้ผู้ถามได้ฟังเป็นคติไง เพราะผู้ถามถามมาว่า ปฏิบัติแล้วมีคุณธรรมอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร จะรู้เท่าอย่างไร

แล้วปฏิบัติมา เพราะเวลาถามปัญหาธรรมะ ปัญหาธรรมะ ถามตอบ มันเป็นการชักจูงกัน การสื่อสารกันด้วยธรรม ถ้าการสื่อสารด้วยธรรม ถ้าพูดถึงการพูดแบบทางโลกคือการพูดแบบลูบหน้าปะจมูก คือการเอาอกเอาใจกัน คือมารยาท พูดด้วยมารยาท ไม่ให้สะเทือนใจกัน นี่ทางโลกนะ เขาต้องมีมารยาท พูดสิ่งใดต้องไว้หน้ากัน

แต่ในธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เขาจะพูดถึงว่า ถ้าสิ่งใดผิดก็บอกว่าผิด สิ่งใดถูกก็บอกว่าถูก ถ้าสิ่งใด ถ้าเป็นอุบาย ถ้าเขาบอกปฏิบัติผิด แต่เขายังไม่มีกำลังพอ ก็บอกให้เขาขยันหมั่นเพียรขึ้นไป นี่พูดถึงว่าการสนทนาธรรมเป็นมงคลชีวิต เขาไม่มีลูบหน้าปะจมูก

แต่โลกเขามีลูบหน้าปะจมูกไง ฉะนั้น ลูบหน้าปะจมูก ฉะนั้น เวลาผู้ถามมา โลกเขาตามกระแส ฆราวาสธรรม ผู้ที่มีคุณธรรมก็อวดเนื้ออวดตัว ไอ้คนที่ถามมานั่งต่อหน้ากันอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท นิพพาน

ผมบนศีรษะมันยังสละไม่ได้ มันยังถือศีล ศีลมันยังเข้าไม่ถึง แล้วมันไปพูดถึงธรรมะกัน มันพูดอะไรกันน่ะ

นี่เราพูดถึงกระแสสังคม ถ้าเอากระแสสังคมเป็นตัวตั้ง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็มีคุณธรรมกันไปทั้งนั้นน่ะ

แต่ถ้าเราเอาธรรมะเป็นตัวตั้ง เวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแห่งทุกข์ แม้แต่นั่งต่อหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ถามๆๆ ถ้าถาม ถามก็คือว่าสงสัย ฉะนั้น เวลาถามมา เราก็ตอบไปตามหลัก

ฉะนั้น ผู้ถามมาบอกว่ากระผมเข้าใจเล็กน้อย

คำว่าเข้าใจเล็กน้อยคือน้อยใจ น้อยใจว่า เวลาถามหลวงพ่อมา นั่นก็ไม่ใช่ นั่นก็ไม่ใช่

ก็เราเป็นสัญชัย ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ สัญชัยมันตอบอย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้ามีเหตุมีผล ไม่ใช่มันมีเหตุมีผลนี่ เพราะเราบอกว่าใช่หรือไม่ใช่นี่เราอธิบาย ถ้าอย่างนี้มันใช่ แต่ใช่ในระดับของปุถุชน ถ้าปุถุชน ปุถุชนคือคนมีศีลมีธรรมเป็นปุถุชน แล้วถ้าคนที่ละรูป รส กลิ่น เสียงได้เป็นกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนคือละรูป รส กลิ่น เสียง รักษาหัวใจได้ นี่เป็นกัลยาณปุถุชน

กัลยาณปุถุชนจะรักษาใจเป็นสมาธิได้ง่าย เพราะว่ามันตัดรูป รส กลิ่น เสียง รู้เท่าทันรูป รส กลิ่น เสียง แล้วเราประพฤติปฏิบัติกันเรารู้เท่าทันรูปไหม รู้เท่าทันรสไหม รู้เท่าทันกลิ่นไหม รู้เท่าทันเสียงไหม

รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร

เราไปเห็นรูป ภาวนาไปเห็นนู่นเห็นนี่ มันก็เห็นรูป เห็นรูป รู้เท่าทันมันก็วาง พอมันวาง นี่กัลยาณปุถุชน ถ้ากัลยาณปุถุชนนะ เวลายกขึ้นสู่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันจะสู่โสดาปัตติมรรค ถ้าโสดาปัตติมรรคใช้ปัญญาถูกต้องดีงามขึ้นไป มันก้าวเดินไป โสดาปัตติมรรคมันก็จะไปสู่โสดาปัตติผล แล้วถ้ายกขึ้นไปสู่เป็นสกิทาคามิมรรค ถ้ามันไปสิ้นสุดของกระบวนการมันก็เป็นสกิทาคามิผล ถ้ายกขึ้นก็เป็นอนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มันเป็นขั้นเป็นตอน มันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป นี่จิตที่มันพัฒนาขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอน

ฉะนั้น เวลาถามปัญหามาถึงได้ตอบไง ฉะนั้น ตอบว่า สิ่งที่ว่าผมเข้าใจ เข้าใจเล็กน้อย แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง

ถ้าลึกซึ้งนะ มันรู้แจ้ง มันก็จะไม่ถาม พอรู้แจ้งก็จะอธิบายถึงผล

เวลาพระไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโสณะ พระกัจจายนะอยู่ที่ชนบทประเทศ ส่งพระโสณะ พระโสณะกว่าจะบวชเป็น ๓ ปี เพราะพระจะบวชนะ แต่เดิมต้อง ๑๐ องค์ขึ้นไป ชนบท พระหาได้ยาก รอจนกว่าพระจะครบ ๑๐ ไง กว่าเขาจะได้บวช บวชเสร็จแล้วก็ภาวนาไปกับพระกัจจายนะ

พอพระกัจจายนะภาวนาไปเรื่อย จนถึงที่สุดได้บวช พอบวชแล้ว การที่ภาวนานั้นสิ้นสุดแห่งทุกข์ พอสิ้นสุดแห่งทุกข์ พอบวชเสร็จแล้ว พระกัจจายนะส่งพระโสณะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระโสณะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พักในวิหารเดียวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วให้พระโสณะบรรยายธรรม

พระโสณะบรรยายธรรม ก็เหมือนหลวงปู่มั่นซักพระที่มาปฏิบัติไง พระพุทธเจ้าซักพระโสณะ พระโสณะตอบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสรรเสริญๆ

ก็ซักนี่แหละ ก็ให้พระโสณะแสดงธรรม สนทนาธรรมกันอยู่ในวิหารนั้น เพราะพระโสณะปฏิบัติขณะนั้น พระกัจจายนะฝากขอ ให้พระโสณะขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ชนบทประเทศ พระ ๑๐ องค์ในมัชฌิมาประเทศ พระ ๑๐ องค์มันหาได้ง่าย ในชนบทหาได้ยาก ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกสงฆ์แค่ ๕ องค์บวชพระได้

. ในชนบทประเทศมันเป็นดินแดนภูเขา รองเท้าชั้นเดียวมันใส่แล้วมันรักษาเท้าไม่ได้ ขอให้รองเท้าหลายชั้น

ไปขอพรคือขอที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้ในธรรมวินัย ให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่อนผันให้

เวลาที่ว่าสื่อสารได้ๆ มันมี ในพระไตรปิฎกก็มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซักพระ ซักว่าปฏิบัติมารู้อย่างไร เห็นอย่างไร ตามความเป็นจริงอย่างไร มันจะเป็นความจริงอย่างนี้ ผู้ที่มีหลักมีเกณฑ์มันเป็นแบบนี้

ฉะนั้น สิ่งที่เราจะรู้น้อยรู้มากไม่สำคัญ สำคัญว่าให้รู้ตามความเป็นจริง สำคัญว่าสิ่งที่เรารู้มันเป็นความจริง ถ้าความจริงมันก็พัฒนาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา

ฉะนั้น สิ่งที่ว่ากระผมที่เข้าใจนี้เล็กน้อย แต่มันไม่ลึกซึ้ง ความรู้เล็กน้อยนี้ก็ลึกซึ้งเฉพาะของมันอยู่ภายในครับ

เฉพาะของมันก็ปัจจัตตังไง ความรู้เล็กน้อยนี้ก็เฉพาะของมัน ความรู้เล็กน้อยคือเรารู้ได้แค่นี้ไง ใครทำความสงบของใจได้ ความสงบอันนั้นเป็นความจริง ถ้าเป็นความจริง เป็นปัจจัตตังของเรา

ถ้ามันสงบเข้ามา จิตสงบมันก็มีความสุข มันก็แค่นี้ ถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนา ปัญญามันเดินไป เราก็รู้ของเรา จะเล็กน้อยมันก็สำคัญในความเป็นจริงของมัน ถ้าความจริงของมัน เรารู้ได้ขนาดไหน เราพยายามขวนขวายของเรา สิ่งนี้เป็นความจริง เราเอาความจริงไง

ฉะนั้นว่ามันจะลึกซึ้งเฉพาะในตัวของมันจากภายใน

ฉะนั้น สิ่งนี้เราทำของเราไป ทำให้ถูกต้อง เห็นไหม รู้ให้รู้แจ้ง รู้ให้รู้จริง ถ้ารู้แจ้ง ให้รู้จริง ให้รู้ถึง มันจะเป็นความจริง ถ้าความจริงมันก็เป็นประโยชน์กับเราไง

บอกว่ากึ่งพุทธกาลแล้วมรรคผลนิพพานมันไม่มี กึ่งพุทธกาลแล้วพระอรหันต์ไม่มีนี่เขาว่ากันไปไง

ถ้าเราปฏิบัติแล้วไม่มีกาลไม่มีเวลา ถ้าเราทำความเป็นจริงของเรา ได้ความจริงขนาดไหน ได้ขนาดนั้น

นี่เขาบอกว่าวันนี้ไม่รบกวนหลวงพ่อครับ ไม่มีคำถามครับ

เพราะไม่รบกวน ไม่มีคำถาม แต่คำนิยามมา เราก็ตอบตรงนั้นไป อันนี้จบ

ถาม : เรื่องสงสัยในการภาวนา

กราบนมัสการหลวงพ่อ ผมมีข้อสงสัยขอรบกวนถาม แล้วต้องขออภัยด้วยครับที่รบกวนถามมาบ่อยๆ แต่ถ้าไม่ถามหลวงพ่อ ผมก็ไม่รู้จะไปพึ่งใครเหมือนกันครับ ผมมีข้อสงสัยคือ

. ในการพิจารณา ผมเกิดความเห็นว่า กายไม่ใช่เรา ทุกข์ไม่ใช่เรา แต่กายและทุกข์เป็นของเรา ดังนั้นความเห็นของผมถูกต้องหรือเปล่าครับ กราบขอบพระคุณ

ตอบ : ความเห็นผิดในการพิจารณาของผม กายไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เราอ้าว! กายไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา แล้วทำไมว่าแต่กลับเห็นกายและทุกข์เป็นของเราถ้าไม่ใช่เราแล้วเป็นของเราได้อย่างไรล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าปฏิบัติไปๆ เวลามันปล่อยไปแล้วไปสู่ความไม่รู้ ไม่รู้คือจับสิ่งใดไม่ได้เลย แล้วพอปล่อยไปผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้โดนทำลายแล้ว มันก็เป็นปัญญา

อันนั้นทำลายแล้วมันเหลืออะไร เราถามว่ามันเหลืออะไร

คราวนี้บอกว่ากายก็ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา แต่กายและทุกข์เป็นของเรา

นี่ไง มันสับสนไง มันสับสนว่าถ้ามันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเราแล้วเหลืออะไร

เหลือว่ากายและทุกข์เป็นของเรา

อ้าว! แล้วเหลืออะไรล่ะ

เวลารู้ของเราไป ปัญญาของเรามันเกิดขึ้นรอบหนึ่ง เวลาปัญญามันผุดขึ้นมาหนหนึ่งหรือพิจารณาขึ้นมาหนหนึ่ง ก็เอาความรู้นั้นมาถาม

ให้ปฏิบัติต่อเนื่องไปนะ ให้ปฏิบัติไป ให้กลับไปพิจารณา ถ้าพิจารณาแล้ว ถ้ามันมีความสงสัยแล้วให้วางไว้ แล้วใช้ปัญญาอบรมสมาธิหรือพุทโธๆ ให้จิตมันสงบ ให้จิตมันมีกำลัง ถ้าจิตมีกำลังแล้ว พอไปพิจารณา ไปใช้ปัญญาแล้วมันจะก้าวเดิน

ถ้าจิตไม่มีกำลัง มันก็ถูมันก็ไถ มันยื้อกันอยู่อย่างนี้ คือกำลังไม่พอ พอกำลังไม่พอ พิจารณาไปแล้ว พอคำตอบของเราตอบว่า เวลามันปล่อยแล้วมันเหลืออะไร มันเข้าใจอะไร มันก็เลยกายกับทุกข์เป็นของเรา

อ้าว! พิจารณามาให้เอาทุกข์เป็นของเราอีกหรือ

เราพิจารณาทุกข์จนกายก็ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เราแล้ว แต่กายและทุกข์กลับมาเป็นของเรา

อ้าว! ทำไปทำมามันกลับถอยหลังนะ กลับถอยหลังเข้าคลอง

เราพิจารณาไปให้จิตสงบก่อน พอจิตสงบแล้วจับกายขึ้นมาพิจารณา ถ้าจับกายไม่ได้ก็จับทุกข์ก็ได้ ทุกข์อะไร ทุกข์ก็เป็นธรรม เป็นสัจธรรม ทุกข์ก็เป็นสัจธรรม จับทุกข์ จับต่างๆ จับแล้วพิจารณา พิจารณาแยกแยะไป ถ้าแยกแยะได้แสดงว่ากำลังเรามี

ถ้าแยกแยะไม่ได้แสดงว่ากำลังไม่พอ ต้องวางไว้ วางแล้วกลับมาทำความสงบของใจ ต้องกลับมาทำสมาธิก่อน ทำสมาธิก่อน แล้วพิจารณาไป มันปล่อยของมันไป มันพิจารณาของมันไป ถ้าพิจารณาไปได้จริง

นี่มันพิจารณาไม่ได้จริง ไอ้นี่มันเป็นความเข้าใจ มันเป็นความเข้าใจ มันเป็นสัญญา มันเป็นโลกียปัญญา

กายก็ไม่ใช่เรา เราก็ไม่ใช่เรา เราก็คิดหาเหตุผลได้ว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เราหาเหตุผล กายนี้ไม่ใช่เราหรอก เราหาเหตุผลสิ เพราะอะไร เพราะมันเสื่อมสภาพ เราก็รู้ นี้มันเป็นการพิจารณา เป็นการเปรียบเทียบ มันเป็นการเปรียบเทียบ มันไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริง ขณะที่เป็นความจริงนะ มันไม่มีช่องว่าง ไม่มีช่องว่างหมายความว่า ถ้าเราทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้ว พอใจสงบ ใจมันไปจับ ไปจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม ใจมันทำ มันไม่มีช่องว่าง

แต่นี่มันมีช่องว่าง ช่องว่างเพราะว่า ธรรมชาติ ธาตุรู้นี้อันหนึ่ง ธาตุรู้ ความรู้สึกนี้อันหนึ่ง แต่ความคิดเป็นอีกอันหนึ่ง ความคิดไง ความคิดเป็นของคู่ไง ธาตุรู้ จิต ปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตเวียนว่ายตายเกิด แต่ปฏิสนธิจิตมันมีวิญญาณในขันธ์ ๕ วิญญาณในขันธ์ ๕ ความรู้สึกนึกคิด ทีนี้ความรู้สึกนึกคิดไปเปรียบเทียบ ขันธ์ ๕ ไปเปรียบเทียบ มันมีช่องว่าง ขันธ์ ๕ นี้ไปพิจารณาใช่ไหม แล้วตัวจิตล่ะ นี่ช่องว่างตรงนี้ ช่องว่างตรงนี้ พอมีช่องว่างตรงนี้ปั๊บ พิจารณาไปแล้วเราเปรียบเทียบได้ เราพิจารณาได้

แต่ขณะจิตมันสงบแล้ว ถ้าจิตเป็นคนพิจารณา มันไม่มีช่องว่าง ไม่มีช่องว่างเพราะตัวจิตมันพิจารณาเอง ตัวจิตมันกระทำเอง ถ้าตัวจิตมันกระทำเอง มันไม่มีช่องว่าง มันพิจารณาของมัน เวลาสำรอก มันคาย มันคายที่จิตนั้น ถ้าคายที่จิตนั้นมันก็กายไม่ใช่เรา ทุกข์ไม่ใช่เรา ถ้าไม่ใช่เราก็ต้องไม่ใช่ของเรา ถ้าไม่ใช่ของเรา มันสลัดสิ่งใดทิ้งไป แล้วสิ่งที่เหลือมันคืออะไร ถ้ามันคืออะไร ตัวนั้นน่ะ

ไอ้นี่บอก คือเราตอบปัญหาอะไรไปก็แล้วแต่ พอโยมฟังแล้วโยมก็เอาปัญหาเราเป็นตัวตั้ง แล้วโยมก็เอาจินตนาการตีให้แตก ตีให้โจทย์แตก เพราะเวลาบอกว่า ถ้าทิ้งสิ่งที่ถูกรู้ ทิ้งผู้รู้

ทิ้งสิ่งที่ถูกรู้ ทิ้งผู้รู้ มันทิ้งแล้วมันก็ว่างเปล่า พอมันว่างเปล่า โยมก็จับต้องสิ่งใดไม่ได้ พอโยมจับต้องสิ่งใดไม่ได้ เราถึงถามว่ามันทิ้งสิ่งที่ถูกรู้ แล้วทิ้งผู้รู้ แล้วเราถามว่าเหลืออะไร เราถามว่าเหลืออะไร

พอถามว่าเหลืออะไร คราวนี้เลยตอบมาว่ากายก็ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา แต่กายและทุกข์เป็นของเรา

นี่เหลือของเราตรงนี้ไง มันชัดๆ มันชัดๆ คือว่า ก็เอาที่เราตอบไปพิจารณา เอาที่เราตอบไปพิจารณา มันเป็นของคนอื่นนะ มันเป็นของคนอื่น มันไม่ใช่ของของเรา

ถ้าเป็นของของเรา เราต้องทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบแล้ว ใจมันสงบ นี่ใจสงบ เรายังว่า คนที่ปฏิบัตินะ จิตต้องเป็นสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิ เรารำพึงไป ตัวจิตนี้มันรำพึงไปแล้วมันเห็น มันเห็น มันสะเทือนหัวใจมาก มันสะเทือนหัวใจมาก มันสะเทือนหัวใจ มันสะเทือนกิเลส

แต่ถ้ามันไม่สะเทือนหัวใจ มันเป็นสัญญาทั้งนั้น มันเป็นจินตนาการทั้งนั้น ถ้ามันเป็นจินตนาการ มันเป็นจินตนาการทั้งนั้น มันไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริงมันจะเป็นอย่างนี้ มันจะล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนี้ มันไปตะครุบเงา มันเป็นเงา มันไม่ใช่ความจริง เพราะเป็นเงา เพราะคำถามเขามันชัด ชัดที่ว่าทุกข์ก็ไม่ใช่เรา กายก็ไม่ใช่เรา แต่กายและทุกข์เป็นของเราถ้ามันพิจารณาไปมันไม่เป็นแบบนี้ ถ้าคนพิจารณาจริง ถ้ามันพิจารณากาย มันปล่อยกาย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต แล้วมันปล่อยไปแล้วถ้ามันเหลือ มันไม่พูดอย่างนี้ เพราะอะไร เพราะคราวนี้เอากายกับเอาทุกข์

กายมันคือธาตุ ทุกข์คือสิ่งที่ทนไม่ได้ ทุกข์นี้คืออารมณ์ ไปบอกทุกข์นี้คืออารมณ์ อารมณ์เวลามันทุกข์นี่มันทุกข์มากเลย อารมณ์ที่ไปยึดอะไรมันจะทุกข์มากเลย แล้วนี่ไปเอากาย เอาทุกข์มาเป็นของเรา มันฟ้องเลยว่าสิ่งนี้มันตะครุบเงา มันเป็นเรื่องเงาๆ ทั้งนั้นเลย มันไม่เป็นเรื่องสัจธรรมเลย ไม่มีเรื่องอะไรเป็นความจริงเลย ถ้าไม่มีเรื่องอะไรเป็นความจริง มันปฏิบัติไปมันก็จะเป็นเรื่องโลกๆ

เมื่อ ๒ วันนี้เทศน์เรื่องปิดตาตีหม้ออันนี้ก็เหมือนกัน ตอนนี้เราจะปิดตา ปิดตาแล้วตาบอดคลำช้าง แล้วเราจะมาคุยกันไง คนถามก็ปิดตาถามมา เพราะว่ากิเลสมันปิดตา ไอ้คนตอบมันก็ตอบแต่ตามตัวอักษรที่เขียนมา ทีนี้ก็เลยกลายเป็นตาบอดคลำช้างกัน ตาบอดคลำช้างกัน คลำไปแล้ว ถ้าขาก็ อ๋อ! ช้างมันกลมๆ อย่างนี้ ไปคลำถึงหาง อ๋อ! ช้างมันมีขนอย่างนี้

ปิดตาตีหม้อ ตาบอดคลำช้าง ตาบอดคลำช้างมันไม่เป็นความจริง ทีนี้พอปฏิบัติไปนึกว่ามันจะเป็นความจริงนะ มันกลับไม่เป็นความจริง ถ้ากลับไม่เป็นความจริงแล้ว ปล่อยแล้ว ถ้าปฏิบัติไปมันก็จะฟั่นเฝือไปเรื่อย

กลับมาทำความสงบของใจให้ได้ ถ้าเราปฏิบัติไปนะ แล้วมีปัญหานะ เราพยายามกลับมาทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเกิดปัญญามันจะเกิดภาวนามยปัญญา

อันนี้เกิดปัญญา เกิดจินตนาการ เกิดการคาดหมาย เพราะเวลาว่าทุกข์ สิ่งที่รู้ทุกข์ สิ่งต่างๆ มันเป็นเรื่องตะครุบเงาทั้งนั้น มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ ถ้ามันไม่ใช่แล้ว ทบทวนใหม่เลย สิ่งที่ถามมาๆ นี่จบ จบแล้ว

เขาเขียนว่าผมมีข้อสงสัยจะกราบถามหลวงพ่อครับ ขออภัยที่รบกวนถามมาบ่อยๆ

รบกวนถามมาบ่อยๆ สิ่งนี้เราก็เห็นใจ เห็นใจว่า เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติหาครูบาอาจารย์นี่หาแสนยาก เพราะเวลาไปหาครูบาอาจารย์ นี่ฆราวาสธรรม เขาสอนธรรมะกัน เขาสอนธรรมะกันก็มีวุฒิภาวะเหมือนกัน เขาก็ชักจูงกันไป แล้วเป็นกระแสสังคม คนที่ภาวนาอย่างนี้ได้เยอะ เพราะทุกคนแบกทุกข์ ในโลกนี้ทุกคนมีแต่ความทุกข์ ในโลกนี้ทุกคนอยากจะมีความสุข ทุกคนอยากจะประพฤติปฏิบัติธรรม ทุกคนอยากมีคุณธรรม แล้วก็ประพฤติปฏิบัติกันด้วยจินตนาการ พอด้วยจินตนาการ กระแสสังคมไง ทำกันอย่างนั้นน่ะ แล้วก็เอาความรู้สึกอย่างนั้นรับรองกัน รับรองกันเพราะอะไร เพราะมันเสียงส่วนใหญ่ไง ใครๆ ก็ทำได้แค่นั้น ใครๆ ก็ทำได้แค่นั้น ก็ว่าสิ่งที่ทำแค่นั้นน่ะคือความจริง

แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ไอ้สิ่งนั้นมันเป็นหญ้าปากคอก มันเป็นเริ่มต้นคนที่หัดประพฤติปฏิบัติเท่านั้น

คนเรามีความทุกข์ๆ เวลามาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันได้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชโลมใจ มันก็ผ่อนคลาย มันก็ผ่อนคลาย มันก็มีที่พึ่ง แค่นี้

ถ้าแค่นี้ เขาบอกว่า อย่างนี้ดูถูกธรรมะของพระพุทธเจ้า

ไม่ใช่ ไม่ใช่ สิ่งที่เรามาศึกษากัน เรามีวุฒิภาวะแค่นี้ เราก็ได้ใช้สอย เหมือนที่หลวงตาท่านว่าไง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนห้างสรรพสินค้า ในห้างสรรพสินค้า ดูสินค้าในห้างสรรพสินค้าสิ มันมีเยอะแยะไปหมดเลย ไอ้เราเข้าไป ไปเดินตากแอร์กันแล้วก็กลับ ก็มันทุกข์ร้อนมา ก็เข้าไปได้ตากแอร์ ตากแอร์แล้วก็กลับ ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของเราเลย

แต่เวลาครูบาอาจารย์ท่านสอน เห็นไหม ในห้างสรรพสินค้ามันมีเพชรนิลจินดา มันมีสินค้าที่มีคุณภาพเยอะแยะไปหมดเลย ฉะนั้น เวลามาฟังครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านสอน ท่านสอนอย่างนี้ ธรรมะมันหลากหลาย หลากหลายมาก

แต่ถ้าเราอยู่ในสังคม ตามกระแสสังคมที่ฆราวาสที่เขาสั่งสอนกันๆ เขาก็สั่งสอนแค่นี้ พอเข้าไปศึกษานะ ใครทุกข์ยากมานะ ปลอบประโลมกัน

อย่างนี้ไม่ต้องปฏิบัติธรรมก็ได้ ดูสิ เวลาเขาเข้าทรงทรงเจ้า เขาทรงเจ้ากันน่ะลูกช้างมีความทุกข์มากเวลาเขาไปทรงเจ้า มันบ้วนน้ำหมากทีเดียวเท่านั้นน่ะ โอ๋ย! หายทุกข์ กลับบ้านยิ้มแย้มแจ่มใส ได้เดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็ทุกข์ต่อ มันไม่ได้แก้อะไรเลย มันไม่ได้แก้อะไรเลย

นี่ก็เหมือนกัน ฆราวาสธรรม ไปก็ไปสรรเสริญกัน ไปปลอบประโลมกัน ไปพูดกันให้ตัวเองแค่บรรเทาทุกข์ ก็แค่นั้นน่ะ แล้วถ้าเอากระแสสังคมอย่างนั้นเป็นหลักมันก็เป็นหลักใช่ไหม

ที่เราพูดๆ เพราะเราเห็นกระแสสังคมเป็นแบบนั้น ฉะนั้น เวลาใครปฏิบัติ เวลาปฏิบัติแล้วมีเหตุมีผลเขียนมาถาม เราเห็นใจ เพราะเราบวชใหม่ๆ เราก็เป็นแบบนี้ หาครูหาอาจารย์นี่แสนยาก แล้วที่ครูบาอาจารย์ที่เราไปหา พูดภาษาตรงๆ เราเลยล่ะ ตัวเองไม่รู้ก็ไม่ยอมรับว่าไม่รู้ อวดสอน แล้วเราบวชใหม่ๆ มันผ้าขาวไง ก็คิดว่าพระไม่โกหก พระคงจะพูดจริง เขาสอนอะไรก็เชื่อ

โกหกทั้งนั้น โกหกทั้งนั้น โกหกเพราะอะไร โกหกเพราะเวลามาภาวนาเปรียบเทียบแล้ว พอภาวนาเป็น มันไม่เป็นอย่างที่เขาพูดเลย แล้วที่เขาพูด เขาพูดมา เขาสอนเรามาอย่างนั้นทั้งนั้นเลย แล้วก็เชื่อเขานะ เมื่อก่อนภาวนายังไม่เป็นก็ต้องเชื่อไปก่อนเพราะเราไม่มีอะไรเปรียบเทียบ

แต่พอมาปฏิบัติเข้า พอมันชักเป็นนะ เออ! ความจริงมันเป็นแบบนี้ สิ่งที่เราได้รับการชี้นำมาแต่ต้นมันไม่มีอะไรจริงเลย แล้วไม่มีอะไรจริง คนที่ชี้นำเราก็เป็นพระทั้งนั้นน่ะที่ชี้นำมา เพราะเราบวชพระ บวชเป็นพระแล้ว แล้วเที่ยวธุดงค์ไปก็ไปเจอพระ ก็ธรรมดานะ ประสาเรา วัยรุ่นเจอวัยรุ่นใช่ไหม เราเจอพระที่ว่าสื่อสารได้ใช่ไหม ไม่กล้าเข้าหาครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ กลัวเข้าไปแล้วมันจะโดน มันก็กลัว ว่าอย่างนั้นเถอะ

ถ้าคุยกันได้ก็คุยกัน แต่พอเราปฏิบัติไปๆ มันไม่จริงเลย นี่ขนาดพระนะ แล้วฆราวาสสอนธรรมมันจะขนาดไหน แล้วฆราวาสสอนธรรมมันเป็นกระแสสังคม มันเป็นแบบนั้น พอเป็นแบบนั้น ที่ว่าขออภัยที่มารบกวนหลวงพ่อ ถ้าไม่ถามหลวงพ่อก็ไม่รู้จะไปถามใคร

ไอ้ข้อนี้ เราก็มีความเห็นอย่างนี้เหมือนกัน คนที่ปฏิบัติมาเหมือนข้อแรก เขาถามมาๆ เราก็ตอบ เพราะอะไร เพราะเราถือว่าเราตอบเพื่อสัจจะ เพื่อหลักความจริง เอาความจริงว่ากัน

ฉะนั้น เขาบอกรู้ได้เล็กๆ น้อยๆ

เล็กน้อยก็วุฒิภาวะเรามีเท่านี้ ถ้ามีเท่านี้ เราต้องขยันหมั่นเพียร เราต้องพยายามมีความวิริยะ มีความอุตสาหะ พยายามทำของเรา ถ้าเรารู้จริงของเราขึ้นมา มันเป็นความจริง

แต่ถ้าเรารู้จำ เราศึกษาค้นคว้า ที่เราศึกษากันมันเป็นวิชาการ มันเป็นสุตมยปัญญา ปัญญาการศึกษาเล่าเรียน มันไม่ใช่ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ ปัญญาเกิดจากสัจธรรม ถ้าเกิดจากสัจธรรม มันก็ต้องมีคนที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วท่านจะบอกเราได้ เราถึงพอใจที่จะตอบ

ทีนี้พอใจที่จะตอบแล้ว พอตอบไปแล้ว เพราะคำถามคำนี้มันต่อเนื่องกันมา ๓ หน หนแรกคือว่า ปฏิบัติไปแล้ว ปฏิบัติ พิจารณาไปแล้วไปจบลงที่ความไม่รู้ นั่นคืออวิชชา

เราบอกไม่รู้คืออวิชชา

ก็บอกว่าปฏิบัติไปแล้ว สิ่งที่ถูกรู้ ทิ้งทั้งสิ่งที่ถูกรู้ ทำลายทั้งผู้รู้แล้ว

แล้วมันเหลืออะไร เห็นไหม เราถามว่ามันเหลืออะไร ที่บอกว่า ถ้าพิจารณาไปแล้วมันเป็นสิ่งที่ความไม่รู้นั่นคืออวิชชา

เขาบอกว่าทิ้งผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้

อ้าว! เราบอกสิ่งที่ถูกรู้แล้วมันเหลืออะไร ถ้าไม่รู้ก็เป็นอวิชชา ถ้ารู้ก็ไม่มีเหตุมีผล

วันนี้มาเลยกายก็ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา แล้วกายกับทุกข์กลับมาเป็นเราคืออยากจะมีเหตุผลน่ะ

ทีแรกไปที่ผู้รู้ก็ไม่มีเหตุผล ไปที่ไม่รู้ใช่ไหม ก็ไม่มีเหตุผล ถึงทิ้งผู้รู้แล้วก็ไม่มีเหตุผล คราวนี้จะมีเหตุผล มันก็กลับไม่มีเหตุผล เห็นไหม ถ้าเราไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความเป็นจริง เวลามันพูดไปแล้วมันไม่มีเหตุผล

ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ถ้าผู้ที่ปฏิบัติรู้จริงเวลาพูดไปมันจะเป็นความจริง มันเห็นจริงมันก็พูดได้ตามความเป็นจริง

แต่เราไม่เห็นจริง เราเห็นโดยจินตนาการ เราเห็นโดยการคาดหมาย เราเห็นโดยการที่ว่าถามหลวงพ่อมา หลวงพ่อตอบมาก็เอาคำพูดหลวงพ่อเป็นตัวตั้ง แล้วเราก็ใช้ปัญญาเราแยกแยะ ปัญญาเราพิจารณา แล้วผลออกมาก็เป็นแบบที่คำถามมานี่ไงกายและทุกข์กลับมาเป็นเรา กลับมาเป็นเรา

เป็นเราไม่ได้ เป็นเราไม่ได้ เวลาคำว่าเป็นเราสิ่งที่เป็นเราคือสมมุติ ถ้ายังมีสมมุติบัญญัติอยู่ มีสมมุติบัญญัติอยู่ มันตกอยู่ใต้กฎของอนิจจังทั้งหมด สิ่งที่เป็นอนิจจังคือความไม่จริง

สรรพสิ่งในโลกนี้ตกอยู่ใต้กฎของอนิจจัง ในโลกนี้ทุกอย่างไม่มีสิ่งใดคงที่เลย แล้วถ้ามันเป็นกาย กายเป็นเรา ทุกข์เป็นเรา มันก็กลับไปสู่สิ่งที่เป็นอนิจจัง สิ่งที่เป็นอนิจจัง เห็นไหม มันรู้ไม่แจ้ง

การรู้ไม่แจ้ง วางไว้ ต้องวางนะ วางแล้วกลับมาทำความสงบของใจ วางแล้วกลับมาทำสมาธิ ถ้าทำสมาธิ ทำสมาธิให้แข็งแรง ให้มีกำลัง แล้วกลับไปพิจารณาใหม่ จะพิจารณาอย่างไรก็ได้ สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาอย่างไรก็ได้ แล้วขยันหมั่นเพียรทำของเราไป แล้วถ้ามันรู้แจ้งขึ้นมา มันรู้แจ้งมันจะรู้ขึ้นมาจากภายใน มันรู้แจ้งนะ

เวลาพิจารณาไป ถ้าเป็นตทังคปหานมันก็ปล่อย ปล่อยนะ ปล่อยด้วยปัญญาจะมีความสุข ถ้าพูดถึงเวลาผู้ถาม เวลาปฏิบัติมามันก็ต้องมีรสของธรรม รสของความสุข รสของความพอใจ แต่รสของธรรมคือผลตอบแทนจากความวิริยะ ความอุตสาหะ ความเพียร อันนั้นเวลาปล่อยวางมันว่าง มีความสุขมาก แต่ความสุขอย่างนี้ความสุขที่มันยังเจือสมุทัย ยังเจือด้วยตัวตนของเรามา มันก็พัฒนามาเรื่อยๆ

ถ้าถึงที่สุดแล้ว อย่างที่เราพูด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันปล่อยหมดแล้ว แล้วมันเหลืออะไร ถ้ามันเหลืออย่างนั้นน่ะ รู้จริง มันเหลืออกุปปธรรม

ถ้าเหลืออกุปปธรรม เดี๋ยวคราวหน้าคำถามจะมาเลยนะ อกุปปธรรมมันจะเป็นอย่างนี้หลวงพ่อเดี๋ยวจะเขียนอกุปปธรรมมาอีก เพราะเราตอบ ตอบแล้วเขาก็เอาคำที่เราตอบกลับมาถามอีก

ถ้ามันเหลือ มันเหลือสัจธรรม สัจธรรม นี่เขาให้ชื่อไง เขาให้ชื่อ อย่างเช่นหลวงตาท่านพูด คำว่านิพพานๆก็คือชื่อพระอรหันต์ๆก็คือชื่อ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ก็ยังเป็นสมมุติอยู่ ชื่อ เป็นชื่อ เป็นปูนหมายป้ายทางที่จะสื่อกันได้ แต่ถ้ามันถึงที่สุดแล้วมันพ้น มันวิมุตติ มันพ้นจากสมมุติบัญญัติไป แต่พระพุทธเจ้าก็สมมุติขึ้นมา สมมุติขึ้นมาว่านิพพาน เราก็เอานิพพานมาตั้งแล้วก็จินตนาการ นิพพานของใครล่ะ อันนี้ก็ตีความกันไป

แต่ถ้าเป็นความจริงแล้ว นิพพานมันเป็นชื่อที่ว่าเราไปถึงเป้าหมายนั้น แต่สิ่งที่เหลือก็อกุปปธรรมไง อกุปปธรรม อฐานะที่ไม่เป็นอนิจจังไง ที่ไม่แปรสภาพไง ไม่เปลี่ยนแปลงไง ไม่อยู่ในกฎของไตรลักษณ์ไง ไม่อยู่ในกฎของธรรมชาติไง มันพ้นออกไปจากธรรมชาติ มันพ้นอย่างไร นี่ไง อกุปปธรรม

แล้วอกุปปธรรมเป็นอย่างไร

อกุปปธรรมมันอยู่ในธัมมจักฯ บอกไว้เลย เดี๋ยวจะเขียนมาอีก ในธัมมจักฯ กุปปธรรม อกุปปธรรมอยู่ในธัมมจักฯ พระพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ เห็นไหม ถ้ากุปปธรรม สิ่งที่ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นี่กุปปธรรม

เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม ท่านบอกนั่นน่ะอกุปปธรรม อฐานะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันอยู่ตั้งแต่ปฐมเทศนาเลยนะ กุปปธรรม อกุปปธรรม สิ่งที่ปฏิบัติผิดปฏิบัติถูกมันอยู่ในธัมมจักฯ เลย แล้วถ้าปฏิบัติถูก ถ้าถึงที่สุดแล้วมันจะเป็นอกุปปธรรม นี่พระพุทธเจ้าแยกไว้เลย แล้วเป็นจริงเลย แล้วนี่พูดถึงปฐมเทศนาเลยนะ นี่เริ่มต้นพระพุทธเจ้าวางศาสนาเลย

แล้วพอผู้ที่ปฏิบัติมาก ตรงนี้ท่านจะว่าอันนี้เป็นกุปปธรรม อันนี้เป็นอกุปปธรรม มันจะมีไปอีกในสุตตันตปิฎก มันจะมีไปอีกเรื่อยๆ จนไปถึงที่ว่า จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้ผ่องใส จิตเดิมแท้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส นี่ก็ไม่เข้าใจ ไอ้คนที่ไปจับประเด็นมาก็มาโต้เถียงกัน

แต่ผู้ที่ปฏิบัตินะ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่งอยู่ต่อหน้าก็ไม่ถาม มันจะเข้าใจหมด มันเข้าใจสิ่งนี้หมด

ฉะนั้น สิ่งที่เข้าใจแล้ว ที่ถามปัญหามา เราก็ตอบ ตอบเพราะเหตุนี้แหละ ตอบเพราะว่าคนที่จะตอบมันหายาก

หลวงตาท่านจะออกประพฤติปฏิบัติครั้งแรก ท่านจบมหา ท่านตั้งสัจจะไว้ตั้งแต่ทีแรกว่า ถ้าจบมหาแล้วจะออกปฏิบัติ ขณะที่การศึกษาก็ศึกษาหมด เข้าใจหมด เริ่มต้นอ่านประวัติพระพุทธเจ้า อ่านพุทธประวัติ อ่านแล้วก็อยากไปสวรรค์ พอมาศึกษาแล้ว สวรรค์ยังเวียนว่ายตายเกิด

เห็นไหม เริ่มต้นปฏิบัติ อ่านมาก็อยากไปสวรรค์ เพราะเราศึกษาธรรมะแล้ว โอ้โฮ! เทวดา อินทร์ พรหมเขามีความสุขของเขา เราก็อยากไปสวรรค์ แต่พอศึกษาลึกซึ้งเข้าไป สวรรค์ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิด ก็อยากจะไปนิพพาน พออยากจะไปนิพพาน ก็อยากจะไป แล้วมั่นใจว่ามี แต่เวลาจะออกปฏิบัติมันกลับสงสัย กลับลังเล ถึงได้ปฏิญาณตนไง ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดชี้ทางให้ เราจะฝากชีวิตไว้กับผู้นั้น

ก็ระลึกถึงหลวงปู่มั่น พอไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านถึงได้ถามไงมหา มหาจะไปนิพพานใช่ไหมท่านอธิบายเลยนิพพานมันไม่ได้อยู่ที่ไหน ไม่ได้อยู่ที่วัตถุธาตุต่างๆ นิพพานมันอยู่ในใจ

ทั้งๆ ที่ศึกษามานะ ศึกษานี่มันศึกษาทางวิชาการมา แต่เราคิดไม่ถึง เราคิดไม่ถึง เราคิดเป็นทางวิชาการ เราก็คิดอย่างทางวิทยาศาสตร์ โอ้โฮ! มันจะต้องมหัศจรรย์ไปหมดเลย แต่หลวงปู่มั่นหักกลับเลย หักกลับมาอยู่ที่ใจ

หักกลับมาอยู่ที่ใจ แล้วใจอยู่ที่ไหนล่ะ จะหาใจอย่างไรล่ะ ก็เริ่มต้นหัดพุทโธ จิตทรงจิตเสื่อม มันร้อยแปด

นี่พูดถึงถ้าขนาดว่าศึกษามาขนาดไหนแล้วมันยังคิดไม่ถึง ฉะนั้น เวลาถ้าปฏิบัติ เวลาการศึกษา เห็นไหม แล้วคิดดูสิ ขนาดในวงปฏิบัติเรามันยังคาดไม่ได้ นึกไม่ถึง แล้วขนาดพระที่ศึกษามาทางวิชาการเขาศึกษามาไว้เผยแผ่ธรรม แต่เขาไม่ปฏิบัติ เพราะเขาเผยแผ่คืออยากจะสอนคนอื่น แต่เขาไม่สอนตน

เวลาศึกษาธรรมะ อยากจะเผยแผ่ธรรม ธรรมทูต ไปสอนคนอื่นทั้งนั้นน่ะ ทำไมไม่สอนตน แต่เวลาหลวงตาท่านจบมหาแล้วท่านไปหาหลวงปู่มั่น ท่านเข้าป่า ท่านสอนตน ท่านเอาตนให้ได้ พอท่านเอาตนให้ได้ปั๊บ ตอนนี้ท่านสร้างประโยชน์มหาศาลเลย

แต่นี่เราศึกษามาทางปริยัติ ศึกษามาแล้วเราจะเผยแผ่ๆ จะสอนคนอื่นหมดเลย จะสอนคนอื่น จะเผยแผ่ธรรม จะเอาธรรมะไปเผยแผ่หมดเลย แต่ตัวเองไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้อะไรเลย รู้ว่าธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะไม่รู้จักสมาธิ ไม่รู้จักใจของตัว ไม่รู้จักกุปปธรรม อกุปปธรรม ไม่รู้จักอะไรทั้งสิ้น รู้จักแต่ชื่อ รู้จักแต่ตำรา เพราะกุปปธรรม อกุปปธรรม พระทุกคนต้องได้สวด สวดธัมมจักฯ มันก็บ่นทุกวันน่ะ เพราะมันอยู่ในธัมมจักฯ ถ้าสวดธัมมจักฯ กุปปธรรม อกุปปธรรม ก็สวดอยู่ทุกวัน ท่องอยู่ทุกวัน แล้วรู้อะไร ท่องอยู่ทุกวันเลย แล้วรู้อะไร แล้วนี่ศึกษาทุกวัน แล้วรู้อะไร

นี่ก็เหมือนกัน ปฏิบัติไปๆ เราจะบอกว่า รู้ไม่ถึง รู้ไม่แจ้ง ถ้ารู้ไม่ถึง รู้ไม่แจ้ง ก็รู้ตามทางวิชาการ รู้ไม่ถึง รู้ไม่แจ้ง มันก็รู้ตามกระแสสังคม แล้ววุฒิภาวะมันอ่อนแอมาก อ่อนแอมาก แค่ว่างๆ ว่างๆ

ว่างๆ เราทำเผลอๆ มันก็ว่าง อ้าว! คนนั่งสบายใจๆ ก็ว่าง แค่นี้แหละ ก็เอาแค่นี้ อันนี้มันอารมณ์ของปุถุชนทั้งนั้น มันไม่เกี่ยวเลย ยังทำสมาธิไม่เป็น ยังไม่มีพื้นฐานอะไรเลย แล้วพอพูดอย่างนี้ปั๊บโอ้โฮ! อัตตกิลมถานุโยค คุยกับพระป่านี่ลำบาก อะไรๆ ก็ต้องธุดงค์ อะไรก็ต้องเข้าป่า โอ๋ย! วุ่นวายมากเลย เราไปทัศนศึกษารอบโลกกันดีกว่า จะเผยแผ่ธรรมกันมันก็เรื่องกระแสสังคม มันไม่เอาจริงเอาจังกัน ถ้าเอาจริงเอาจังกันมันก็มีปัญหาขึ้นมา

นี่พูดถึงว่า เพราะว่าคำถาม ๒ คำถามที่แล้วยังดีกว่านี้ เพราะคำถามนี้มันอ่านแล้วมันรับไม่ได้กายไม่ใช่เรา ทุกข์ไม่ใช่เรา แต่กายและทุกข์เป็นของเรา

มันงูกินหาง มันกลับหัวกลับหางกายนี้ไม่ใช่เรา ทุกข์นี้ไม่ใช่เราแล้ว แต่ทุกข์กลับเป็นของเรา

อ้าว! เราทุกข์เรายาก เรารักษาตัวเราหายแล้ว เรากลับไปเป็นทุกข์ เรากลับไปเจ็บป่วยอีกได้อย่างไร อ้าว! เราเจ็บไข้ได้ป่วยใช่ไหม เรารักษาเราหายแล้ว แต่เรากลับไปป่วยอีกอย่างเก่า

ก็กายก็ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา แต่กายกับทุกข์กลับมาเป็นของเรา

อ้าว! รักษาตัวเองหายหมดแล้ว แล้วกลับไปป่วยอย่างเดิม แล้วมันหายได้อย่างไรล่ะ คนหายแล้วมันก็ต้องไม่ป่วยสิ ไอ้นี่รักษาหายหมดแล้วกายก็ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา แต่กายกับทุกข์กลับเป็นของเราแย่มาก แย่มากๆ เลย

ฉะนั้น ตั้งสตินะ อย่าเพิ่งเขียนมาถาม ตั้งสติ อย่าเพิ่งเขียนมาถาม แล้วทำความสงบของใจให้ดีขึ้น แล้วพิจารณาใหม่ พิจารณาช้าๆ ทบทวนช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน อย่ารีบร้อน อย่าด่วน อย่ารีบร้อน อย่าด่วนได้ เขาเรียกว่ามักง่าย คนมักง่ายจะทุกข์จะยาก

คนที่มีความเพียร มีความวิริยะ มีความอุตสาหะ ผู้นี้จะทำสิ่งใดจะประสบความสำเร็จ เพราะเขามีความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ

คนเรามักง่าย จับจด อยากด่วนได้ ขายก่อนซื้อ ยังไม่มีสิ่งใดเลย จะขายก่อนแล้ว

ซื้อก่อน ซื้อมาแล้วมาทำธุรกิจ ซื้อมาแล้วมาจัดการให้ดีแล้วค่อยขาย เราซื้อสินค้ามา เรามีสิ่งใดแล้วค่อยขาย ปฏิบัติมาให้มันชัดเจนขึ้นมาแล้วมันถึงได้มีผล

ไอ้นี่จะขายก่อนซื้อ มักง่าย แล้วจะไม่ได้สิ่งใดเป็นสัจจะ

ให้มีความขยันหมั่นเพียร อย่าด่วนได้ อย่ามักง่าย ตั้งใจ แล้วค่อยๆ ทำไป เราทำอย่างนี้เรามีประโยชน์แล้ว เราตั้งใจแล้ว เราปฏิบัติธรรม เราเห็นคุณค่าของชีวิตแล้ว ชีวิตของเรามีค่าแล้ว เราถึงได้มาประพฤติปฏิบัติ แล้วเราทำแล้วเราอย่ามักง่าย อย่าด่วนได้ อย่าทำเอาแต่ใจตัว ปฏิบัติธรรมให้มันสมควรแก่ธรรม อย่าเชื่อ อย่าเชื่อเรา อย่าเชื่อต่างๆ ให้ปฏิบัติตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ เอวัง