เทศน์บนศาลา

ปลดปล่อยผู้รู้

๑๘ ส.ค. ๒๕๕๗

 

ปลดปล่อยผู้รู้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมะ ฟังธรรมะเพื่อเป็นสัจธรรม เราต้องการพบสัจธรรม ชีวิตของเราเป็นสมมุติ สมมุติบัญญัติ เกิดตามสมมุติ เกิดตามความเป็นจริง จริงตามสมมุติ เห็นไหม เราต้องการสัจจะความจริง ฟังธรรม ฟังธรรมเพื่อให้หัวใจของเราเปิดกว้าง ให้หัวใจของเรามันยอมรับรู้ ใจของเรามันดื้อไง ใจของเรา ดูสิ เราตั้งใจ เราตั้งใจอยากจะพ้นจากทุกข์ ถ้าเราตั้งใจแล้วเราทำได้ตามความเป็นจริง ถ้าเราได้ตามความเป็นจริง ฟังธรรมนี่รู้เลยว่าผู้ที่แสดง แสดงจริงหรือเปล่า แสดงตรงเข้าสู่สัจจะความจริงไหม

ถ้าแสดงเข้าสู่สัจจะความจริง เพราะเราได้ประพฤติปฏิบัติมา เราได้รู้จริงเห็นจริงตามนั้น แต่ถ้าเรามีความจริงในหัวใจ ผู้แสดง แสดงธรรมจริงหรือเปล่า เพราะเราเข้าใจได้หมดเลย แต่เราตั้งใจฟัง ฟังธรรมเพื่อเป็นธรรม สัจธรรม เพื่อประโยชน์กับเรา

แต่ถ้าฟังธรรมในการจับผิด เพราะหัวใจของเรามันมีอวิชชาอยู่แล้ว หัวใจของเรา เราไม่เข้าใจในใจของเราอยู่แล้ว แต่เรามีศรัทธาความเชื่อ เรามีศรัทธาความเชื่อในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามีศรัทธาความเชื่ออยู่แล้ว แล้วเราก็ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทะลุปรุโปร่งอยู่แล้ว เราเข้าใจได้อยู่แล้ว ถ้าเราเข้าใจได้อยู่แล้ว แต่ความเห็นของเราไง เพราะเราเข้าใจของเราอยู่แล้ว ฟังธรรมๆ เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ ฟังอย่างไรก็ไม่รู้หรอก ฟังไม่เข้าใจ เพราะไม่เข้าใจ

ฟังธรรมๆ เพื่อสอนหัวใจที่มันดื้อด้านให้มันยอมรับความจริง ถ้ามันยอมรับความจริง ฟังความจริงกับความจริงในใจเราอันเดียวกัน มันเข้ากันแล้ว แหม! มันดูดดื่มมาก แล้วมันจะรื่นเริงนะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ เอหิภิกขุ บวชให้เอง เวลามากตัญญูกตเวทีไง ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน ไม่ได้นัดหมายกันมา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์โอวาทปาฏิโมกข์ มันซาบซึ้ง พระอรหันต์กับพระอรหันต์คุยกัน

นี่เหมือนกัน เราต้องการความจริงของเรา เราฟังธรรมเพื่อสัจธรรมอันนี้ ถ้าได้สัจธรรมอย่างนี้ เราเป็นความจริงอย่างนี้ เห็นไหม จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง ถ้าใจของเรายังมืดบอดอยู่ อาศัยสิ่งนั้น ฟังธรรมๆ ให้หัวใจมันเบิกบาน ให้หัวใจมันมี

เวลาคนตาบอดเขามีไม้เท้า ไม้เท้าสีขาวสำหรับคนตาบอด คนตาบอดไม้เท้าจะนำทางนั้นไป นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราฟังธรรมๆ เรามีศรัทธามีความเชื่อ เราได้ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเข้าใจสัจธรรมทุกๆ อย่างแล้ว เราเข้าใจ แต่อวิชชามันปิดบังหัวใจของเราไง ถ้าปิดบังหัวใจเรา จะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา

ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ ศึกษามาไม่ใช่เป็นสมบัติของเรา ทางโลกเขา เขาหาสมบัติพัสถานกัน เขาหามาเพื่อเป็นสมบัติของเขา เขาแสวงหามา นี่ก็เหมือนกัน เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราว่าจะเป็นธรรมของเรา แต่มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นการศึกษา ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ ศึกษามาเพื่อค้นคว้าเอาความจริงในใจของเรา ถ้าในใจของเราเป็นความจริงขึ้นมาได้ เราจะปลดปล่อยหัวใจของเรา ปลดปล่อยสู่สัจธรรมนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าท่านเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา อวิชชา ความมืดบอดมันปิดบังหัวใจของเรา มันครอบงำหัวใจของเรา เพราะความมืดบอด เรามีศรัทธาความเชื่อ ศรัทธาความเชื่อด้วยบุญกุศล คนนั้นมีบุญกุศลนะ มันจริตนิสัย มีปฏิภาณไหวพริบ หาเหตุหาผลตามความเป็นจริง

เราศึกษา เราเกิดมา เราสิทธิเสรีภาพใช่ไหม เราศึกษาลัทธิไหนก็ได้ ศาสนาไหนก็ได้ แต่เราศึกษาแล้ว สิ่งใดที่มันมีเหตุมีผลมากกว่ากัน ถ้ามีเหตุมีผล เราศรัทธาศาสนานั้น ถ้าเราศรัทธาศาสนานั้นแล้ว เราศรัทธาพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนถึงเรื่องของทาน เรื่องของทานคือการศึกษา คือพยายามทำหัวใจของเราให้เข้มแข็งขึ้นมา

จิตใจของเรานะ จิตใจไม่ตระหนี่ถี่เหนียว จิตใจเปิดกว้างขึ้นมา ยอมรับฟังเหตุผลต่าง ถ้าไม่ให้อวิชชามันบีบรัดหัวใจจนเกินไป ทาน ศีล ภาวนา ถ้ามีศีล มีศีลนี่ความปกติของใจ ถ้าจิตของเรา เราจะภาวนาของเรา ถ้าเราภาวนาของเรา เราจะรักษาใจของเรา เราจะปลดปล่อยหัวใจของเรา ถ้าเราปลดปล่อยหัวใจของเราได้ ในการประพฤติปฏิบัติ ที่เราฟังธรรมๆ ก็เพราะเหตุนี้ไง

ร่องรอยนะ เวลาไปทางโลก เขามีแผนที่ มีเครื่องดำเนิน ถนนหนทาง แต่เขามีคนหลงทางตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ถนนหนทาง คนเดินผ่านทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาหัวใจนะ หัวใจเวลาศีล สมาธิ ปัญญา เวลามรรคมันก้าวเดินไปมันก้าวเดินไปอย่างไร ถ้ามันจะก้าวเดินไปได้ เห็นไหม ดูสิ เวลาเราจะก้าวเดินไป เราจะปลดปล่อยหัวใจของเรา เวลาปลดปล่อยหัวใจของเรา

ทางโลกเขา เวลาทางโลกเขา ดูสิ เวลามีการกดขี่ข่มเหงกัน เขาจะปลดปล่อย ปลดปล่อยอิทธิพลมืดที่คนมาครอบงำ มาครอบงำชุมชนนั้นๆ เขาต้องรวมตัวกัน เขาต้องเข้มแข็งของเขาเพื่อจะปลดปล่อยชุมชนของเขา ถ้ามันเป็นประเทศชาติ ประเทศชาติไหนก็แล้วแต่ เขาจะปลดปล่อย ปลดปล่อยอิทธิพล ปลดปล่อยอำนาจรัฐ ปลดปล่อยอำนาจรัฐที่มันทุจริตที่มันครอบงำ การจะปลดปล่อยของเขา เขาก็ต้องมีมวลชนของเขา เขาต้องมีความสามัคคีของเขา เขาต้องรวมพลของเขา รวมเป็นมวลชนของเขาเพื่อจะปลดปล่อยในชนชาติของเขา นี่การปลดปล่อยทางโลกมันต้องมีกระบวนการของเขา เราโดนกดขี่ข่มเหงอยู่ เราโดนอิทธิพลมืดครอบงำอยู่ เราเป็นเบี้ยล่างเขา เขากดขี่ข่มเหงขนาดไหนก็ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างนั้นไป เพราะว่าเราเกรงอิทธิพลของเขา

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กิเลส อวิชชามันครอบงำหัวใจ ตัณหาความทะยานอยาก เราไม่มีอำนาจสู้มันได้เลย มันต้องการสิ่งใด เราต้องหามาปรนเปรอมันทั้งนั้นเลย เวลามันคิดในหัวใจของเรานะ แล้วหามาปรนเปรอมันแล้ว ที่มันจะเห็นน้ำใจว่าเราเป็นทาส เป็นเบี้ยล่างของเขา มันจะอะลุ่มอล่วย มันจะมีความเมตตากับเราบ้าง ไม่มีเลย ไม่มีเลย มันมีแต่จะเอาให้มากขึ้น แล้วจะเอาเราอยู่ในอำนาจตลอดไป เพราะเวลาทำกรรมชั่ว เราทำกรรมชั่ว ทำสิ่งใดเป็นบาปอกุศล เวลาเวียนว่ายตายเกิดมันไปไหนล่ะ

ชีวิตของเรา ชีวิตของเราแท้ๆ ให้มันกดขี่ข่มเหง แล้วมันต้องการสิ่งใดโดยอำนาจของมัน เราก็ต้องแสวงหา จะปล้นจะชิง จะวิ่งราวสิ่งใดมาก็เพื่อมาปรนเปรอมัน เสร็จแล้วเป็นบาปอกุศล โจรมันปล้นชิงเขา ทำร้ายเขา เข่นฆ่าเขาไป แล้วมันตายแล้วมันไปไหนล่ะ ตายแล้วก็ตกนรกอเวจี ถ้าตกนรกอเวจี ดูสิ เราหามาปรนเปรอมันเพื่อให้มันเห็นน้ำใจของเรา แล้วมันเห็นน้ำใจของเราไหม มันได้เอาแต่ประโยชน์ของมันไป แล้วเวลาโทษภัยมันให้จิตใจเราเป็นผู้รับ นี่เวลาทำกรรมชั่ว กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน ในเมื่อมันทำความบาปอกุศล มันทำความชั่วอย่างนั้นแล้วมันจะไปไหนล่ะ มันก็ลงนรกอเวจีไปน่ะ

ดูสิ เราทำเพื่อมัน ทำเพื่อมัน ปรนเปรอมันแล้วคิดว่ามันจะอะลุ่มอล่วย คิดว่ามันจะดูแลเรา คิดว่ามันจะพาเราไปทางที่ดี มันไม่ได้พาเราไปในทางที่ดีเลย มันบังคับให้ทำ ทำแล้วผลก็ตกกับใจของเรา เพราะเราอยู่ภายใต้อิทธิพลของมันไง แล้วพออยู่ใต้อิทธิพลของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วก็บอกว่า “สิ่งนั้นเป็นความดี สิ่งนั้นทำแล้วมันเป็นประโยชน์กับเรา” นี่เวลามันคิดไป มันคิดไป มันตกอยู่ใต้อิทธิพลของกิเลสตัณหาความทะยานอยากครอบงำหัวใจทั้งนั้น แต่ถ้าเราฝึกหัดของเรา เราพยายามต่อต้านของเราเพื่อประโยชน์กับเรา เราจะทำคุณงามความดีของเรา

ในเมื่อเรามีอาชีพ มีหน้าที่การงานสิ่งใด เราก็ทำของเราด้วยสติด้วยปัญญาของเรา ถ้าคนมีสติมีปัญญา บุญกุศลมันส่งเสริม ทำสิ่งใดประสบผลสำเร็จ ทำสิ่งใดแล้วไม่ทุกข์ยากจนเกินไป ถ้าไม่ทุกข์ยากจนเกินไป แล้วมันทุกข์ไหม? ทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ แล้วทุกข์ดับไป ในเมื่อมันเกิด มันเกิดเป็นแบบนี้ แต่ผลของวัฏฏะๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แล้วเวลาบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ มันเห็น เห็นการเวียนว่ายตายเกิดไง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งโลกนอก-โลกใน

โลกนอก วัฏฏะ โลกนอก โลกนอกก็กามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็นที่อยู่ของจิต เป็นที่อยู่ของจิตวิญญาณที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เห็นสภาพที่มา เห็นแล้วมันสลดสังเวช จิตที่มันอยู่ในอำนาจของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันก็ทำของมันโดยอิทธิพลของมัน คนที่เวลาทำบุญกุศล มีผู้ที่ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างคุณงามความดีๆ ถ้ามีผลบุญขึ้นมา ชาติสุดท้ายไปอยู่ที่ดุสิต รอเวลาจะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ นี่รอเวลา รอเวลามาเกิด รอเวลา เวลาถึงสมดุลแล้วมาเกิด เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาด้วยมรรคญาณ ด้วยสัจธรรม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะด้วยอำนาจวาสนาบารมี สร้างคุณงามความดี เป็นพระโพธิสัตว์สร้างคุณงามความดีมาตลอด การสร้างคุณงามความดีของเรา เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มีมรรค มีสัจจะ มีธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบ กราบธรรมๆ สัจธรรมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากผู้นำที่ดี เกิดขึ้นจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รื้อค้นสิ่งนั้นขึ้นมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ปลดปล่อย ทำลายอวิชชาหมดสิ้นในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธศาสนามีหลักเกณฑ์อย่างนี้ หลักเกณฑ์ เวลาประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงแล้วจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าเราทำได้ตรงกับหลักความเป็นจริง เพราะเราเชื่อสิ่งนั้นไง เพราะเราเชื่อสิ่งนั้น เราเชื่อสิ่งนั้น เราพยายามจะขวนขวาย พยายามทำให้เป็นจริงขึ้นมาในใจของเรา

แต่เราเกิดมา เกิดมาโดยสมมุติ เกิดมาโดยกรรม เกิดมาเป็นมนุษย์ การเวียนว่ายตายเกิด เวียนว่ายตายเกิด เกิดมาทุกข์ไหม? เกิดนี่มันทุกข์ แต่คำว่า “ทุกข์” การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มันทุกข์ยิ่งกว่านี้ เวลาไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหมต่างๆ ในภพชาติใดภพชาติหนึ่ง เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราเวียนว่ายตายเกิดมาในวัฏฏะไม่มีต้นไม่มีปลาย มันต้องเกิดแน่นอน เราต้องเกิดในภพชาติใดชาติหนึ่งแน่นอน ที่เราได้เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม แล้วเรามีอำนาจวาสนา เรามาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติปัจจุบันนี้

ในอดีตชาติ เราก็เคยเวียนว่ายตายเกิดในนรกในอเวจีแน่นอน เพราะว่า คนเกิดมาทำดีก็มี เราทำดีหรือทำชั่วก็มีมันเป็นวาระที่มันต้องเวียนว่ายตายเกิดเป็นความจริงทั้งนั้น ฉะนั้น เวลามาเกิดเป็นมนุษย์ ที่ว่าทุกข์ไหมๆ มันทุกข์แน่นอน แต่ทุกข์แน่นอน เวลามันเวียนว่ายตายเกิดในนรกในอเวจีมันจะทุกข์ยากกว่านี้หรือไม่? มันทุกข์ยากกว่านี้อยู่แล้ว แล้วเวลาไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหมมันมีความสุข มีความสุขขนาดไหน มันเพลิดเพลินในชีวิตกัน นั่นน่ะผลของคุณงามความดี ผลของบุญกุศลที่ทำไว้อย่างนั้น มันก็เป็นผลของวัฏฏะใช่ไหม ผลของวัฏฏะ เกิดสุขก็มี เกิดทุกข์ก็มี เกิดในชาติปัจจุบันมันทุกข์ไหม

การเกิดทุกข์ทั้งนั้น เพราะเวลาไปเทวดา อินทร์ พรหม ถึงเวลาต้องหมดวาระจากการเป็นเทวดา อินทร์ พรหม เพราะอายุขัย นี่ผลของวัฏฏะมันอนิจจังทั้งนั้น มันเวียนว่ายตายเกิด มันมีอุบัติแล้วมีการสิ้นสุดทุกภพทุกชาติ ฉะนั้น การเกิดเป็นมนุษย์ทุกข์ไหม แต่การทุกข์อย่างนี้ เห็นไหม เกิดเป็นมนุษย์เป็นอริยทรัพย์ อริยทรัพย์เพราะเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นมนุษย์ มนุษย์มีสมอง มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ

ดูสิ เวลาเราสรรเสริญกันเอง เรายกย่องตัวกันเองว่าเราเป็นสัตว์ประเสริฐๆ เราไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานมันเป็นสัตว์เดรัจฉาน มันเกิดมาเพราะอำนาจวาสนามันต่ำต้อย มันถึงได้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่เราเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ ประเสริฐแล้วในหัวใจเราประเสริฐจริงหรือเปล่า ถ้าหัวใจไม่ประเสริฐจริง เราเป็นทาส เราเป็นทาส ทาสอารมณ์ต่างๆ

มนุสสติรัจฉาโน มนุสสเปโต มนุสสเทโว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วรู้ถึงความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดอันนี้ถ้ามันเสวยอารมณ์ เสวยอารมณ์ถ้าเป็นสิ่งที่ดี เราเป็นมนุสสเทโว เราเป็นเทวดา เพราะเทวดาเขามีบุญกุศลของเขา เขามีสติปัญญาของเขาว่าสิ่งที่เขาทำ เขามีแต่บุญของเขา เป็นทิพย์ของเขา เขาอยู่ของเขา เขาเจือจาน เขามีน้ำใจต่อกัน นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตใจของเรา ถ้าเราเป็นคนดี มนุสสเทโว เราเป็นเทวดา แต่เวลาจิตใจนี้มันต่ำทราม ดูสิ สัตว์เดรัจฉานมันแย่งชิงกันด้วยกำลังของมัน เห็นไหม จิตใจของเราเวลากิเลสมันครอบงำขึ้นมา มันแสดงออกอย่างนั้นน่ะ นี่มนุสสติรัจฉาโน มันทำลายทั้งหมด ทำลายหัวใจเราด้วย ทำลายคนอื่นด้วย

เราบอกว่าในปัจจุบันนี้โลกเจริญๆ เขาเลิกทาส สมัยทาส เห็นไหม มนุษย์ด้วยกัน เวลาจิตใจ เห็นมนุษย์เป็นสัตว์ มันข่มขี่ทำร้ายกันทั้งนั้นน่ะ แต่เวลามนุษย์เจริญขึ้น เจริญขึ้นมันด้วยความเป็นมนุษย์สิทธิเสมอภาค สิทธิเท่ากัน ทีนี้สิทธิเสมอภาค เขาพยายามเลิกทาส แต่เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรา เขาเลิกทาสแล้ว แต่เวลากิเลส มนุสสติรัจฉาโน มนุสสเทโว ทำไมเราไม่เลิกมัน เราเลิกมันได้อย่างไร เราถึงจะมาประพฤติปฏิบัติไง

ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์แล้วมีสติปัญญา มีสติปัญญานะ เพราะบางคนถ้าจิตใจมันมืดบอด มันไม่เชื่อนะ ไม่เชื่อแม้แต่นรกสวรรค์ ไม่เชื่อแม้แต่การประพฤติปฏิบัติว่ามันจะสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้อย่างไร เพราะอะไร เพราะเขาเห็น เพราะจิตใจคนหยาบๆ มันก็เห็นแค่วัตถุ เห็นแค่ความเป็นอยู่เท่านั้นน่ะ ดูสิ ดูสัตว์เดรัจฉาน มันก็อาศัยแต่อาหารเท่านั้นน่ะ ขอให้มันมีอาหารกิน ได้สืบพันธุ์เท่านั้นน่ะ สัตว์มันก็อยู่ของมัน มีความสุขของมัน

แต่เราเป็นมนุษย์ ถ้าเราใช้อย่างนั้น เราใช้ชีวิตโดยที่เราไม่ศึกษา เราไม่ประพฤติปฏิบัติ เราไม่ให้คุณค่าของน้ำใจเลย มันก็สัตว์เดรัจฉาน มันก็สัตว์ตัวหนึ่ง แต่มนุษย์ต่างจากสัตว์ เพราะว่ามันมีคุณธรรม มีศีลธรรมจริยธรรม นี่มนุษย์ต่างจากสัตว์ ต่างจากสัตว์เพราะอะไร เพราะศีลธรรมจริยธรรม มันมีน้ำใจต่อกัน มันมีปัญญา มีปัญญา เห็นไหม ดูสิ เราเอาสัตว์ที่มีกำลังทั้งนั้นมาใช้ประโยชน์ เพราะมนุษย์เป็นคนฝึกหัดมัน

เวลาเรามีปัญญาขึ้นมา เราใช้วิชาชีพของเรา เดี๋ยวนี้วิชาชีพซับซ้อนมาก ต้องใช้ปัญญาๆ ทั้งนั้นน่ะ แต่ปัญญาอย่างนี้เวลาถึงที่สุดเกษียณแล้ว ถึงที่สุดเราวางมือแล้ว เราได้สิ่งใดมา เราได้แต่อาชีพ เราได้อาชีพ ได้เงินได้ทองมา แล้วหัวใจล่ะ เห็นไหม มันปลดปล่อยไม่ได้ไง มันเลิกทาสไม่ได้

เขาเลิกทาสมานานแล้ว แต่นี่กิเลสของเรามันอยู่ในหัวใจ มันครอบงำอยู่นี่ ไม่มีใครสามารถจะปลดเปลื้องมันได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นไหม “เราเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา รื้อสัตว์ขนสัตว์ เราปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์” เพราะเราก็เวียนว่ายตายเกิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบุญกุศลมาขนาดนี้ สละชีวิตแล้วสละชีวิตเล่า สละทุกๆ อย่างเพื่อปรารถนา ถึงได้มีอำนาจวาสนา ถึงมีคุณธรรมอย่างนั้น แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมายังได้ต่อสู้ด้วยมรรคญาณ มันต้องเกิดที่ตรงนี้ การจะปลดปล่อยหัวใจมันต้องมีมรรค การปลดปล่อยหัวใจของเรา เราต้องมีศรัทธามีความเชื่อ มีความเข้มแข็งของเรา ถ้าเรามีความเข้มแข็งของเรา

โลกเขามีกำลังของเขา เขาแบกหามสิ่งใด เขาทำสิ่งใด ถ้าเขามีสติปัญญา เขาทำสิ่งใดเขาประสบความสำเร็จของเขา เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราเชื่อตามๆ กันมา พระพุทธศาสนามันสองพันกว่าปี เราเชื่อตามๆ กันมาใช่ไหม ใครนั่งสมาธินั่นคือการทำถูกต้องดีงามแล้วหรือ ใครนั่งสมาธิ ใครเดินจงกรมมันจะเป็นความดีงามถูกต้องไปทุกๆ อย่างไปใช่ไหม? มันไม่ใช่ เพราะมันมีสัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ

ถ้ามิจฉาสมาธิในทางที่ผิด ดูสิ เรานั่งประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเราไม่รู้จักพุทธะ ไม่รู้จักพุทโธ ไม่รู้จักหัวใจของเรา เราจะไปปลดปล่อยกันที่ไหน ดูสิ เวลาเขาภาวนากัน เวลาเขาภาวนากันนะ ในทางไสยศาสตร์เขาจับผีจับสาง เขาถือผีกัน เขามีหม้อ เขาจับใส่หม้อถ่วงน้ำกัน เขาจับใส่ นั่นมันจิตวิญญาณ มันจิตวิญญาณของเขานั้นเป็นไสยศาสตร์ เขาเชื่อผี เชื่อผี

กองทัพธรรมๆ ของหลวงปู่มั่นท่านบอกว่าไม่ต้องไปเชื่อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราเป็นชาวพุทธ พุทธมามกะ ถึงเวลาแล้วเราต้องถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ใครจะบวชเณร บวชเณรต้องถึงรัตนตรัย เวลาเราจะบวชพระขึ้นมา ต้องบวชเณรมาก่อน บรรพชาแล้วอุปสมบท พออุปสมบท เราจะเชื่อมั่น เราจะเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เท่านั้น เราจะเชื่อในสัจธรรมๆ

แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน ที่ว่าเห็นการปฏิบัติกันว่าเป็นความจริงๆ ปฏิบัติไปในอะไร ถ้าไสยศาสตร์อย่างนั้นมันไม่รู้จักตัวเอง ตัวจิตไม่เป็นสมาธิ ไม่รู้จักตัวตนของเรา ไม่รู้จักพุทธะ ไม่รู้จักผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าไม่รู้จักผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มันจะปลดปล่อยตัวเองได้อย่างไร

ดูสิ เวลาเราอยู่ด้วยกัน สังคมอยู่ด้วยกัน เวลามีข่าวสารต่างๆ เวลาตื่นคน วัวควายเวลามันแตกตื่น เขาจะบังคับมันให้มันหยุดได้อย่างไร เขาใช้กำลัง ใช้อุบาย แล้วเวลาคนมันเชื่อมั่นของมัน มันตื่นของมัน มันไปไหนล่ะ? มันไปกระแสโลกหมดไง

ฉะนั้น เวลาที่เขาประพฤติปฏิบัติกัน เวลาเป็นไสยศาสตร์ เขาทำสิ่งใดมันส่งออกทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันส่งออก เราจะปลดปล่อยหัวใจของเรา ปลดปล่อยพุทธะของเรา ปลดปล่อยผู้รู้ของเรา มันต้องรู้จักผู้รู้ของเราก่อน ถ้ามันจะรู้จักผู้รู้ของเราก่อน เห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์ของเราวางพื้นฐาน ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติ เราต้องกำหนดพุทโธ ลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ หรือถ้าเราพุทโธไม่ได้ เราเป็นพุทธจริต เราใช้ปัญญาของเรา เราต้องใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามีปัญญาของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ คิดขึ้นมาเท่าไร มีสติตามความคิดนั้นไป ตามความคิดนั้นไป ถ้าตามความคิดนั้นไป ตามความคิดไป

มันโดยสัจจะอยู่แล้ว โดยสัจจะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา ถ้าเป็นศาสดา กิเลสมันเป็นอย่างไรก็รู้จักกิเลส แล้วเวลาชำระล้างกิเลส ไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา ฟองอวิชชามันเป็นแบบใด เปลือกไข่มันเป็นแบบใด แล้วเนื้อไข่มันเป็นแบบใด ตัวจิตมันเป็นอย่างไร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทงทะลุปรุโปร่ง เห็นไหม “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีกแล้ว เจ้าจะเกิดบนหัวใจเราอีกไม่ได้เลย” นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเยาะเย้ยถากถางมารตลอด

เพราะมาร พญามารๆ ดูสิ เวลาฝ่ายเทพ-ฝ่ายมาร เวลาจิตใจที่มันมาครอบงำเขาก็เป็นอย่างนั้นน่ะ นี่ไง เวลามารมันครอบงำหัวใจ มันครอบงำหัวใจ มันทนทุกข์ทรมานต่อมัน ดูสิ มันมีอิทธิพลเหนือหัวใจทั้งนั้นน่ะ พาหัวใจของสัตว์โลก ทำดีก็ได้ ทำชั่วก็ได้ ทำดี ดีอะไร? ดีต้องมีสติปัญญา มีอำนาจวาสนา พยายามสร้างคุณงามความดีของเรา

แต่ถ้าเราปล่อยไหลไปตามมัน เราว่า “เราทำคุณงามความดีอยู่แล้ว เราเป็นคน เราก็มีความสุขสบายอยู่แล้ว เราสร้างคุณงามความดีของเราอยู่แล้ว ไม่ต้องทำสิ่งใด” นี่ตกอยู่ใต้พญามารทั้งนั้นน่ะ มารมันปิดหูปิดตานะ แล้วมันก็ครอบงำในหัวใจนี้ไปตลอดไป แล้วเวลาเรามาประพฤติปฏิบัติกัน ปฏิบัติกันก็สิ่งที่ว่าไม่รู้จักตัวตนของเรา เวลามันเห็นสิ่งใด เราจะปลดปล่อยนะ เราจะต้องรู้ว่าเราจะปลดปล่อยใคร ใครจะเป็นคนปลดปล่อย นี่ไง แต่มันไม่รู้

ผู้ที่มีอิทธิพล เขาบอกเขามีอิทธิพล ผู้มีอิทธิพลเขาเอารัดเอาเปรียบสังคม เอารัดเอาเปรียบเราอยู่ จะมีคนเขามาปลดปล่อย มันจะเปลี่ยนผู้มีอิทธิพลคนใหม่ไง มันจะเปลี่ยนผู้ที่เข้ามาหาผลประโยชน์ใหม่ไง

นี่ก็เหมือนกัน เวลามารมันอยู่ในหัวใจ เวลาพญามารมันครอบงำหัวใจ “ปฏิบัติธรรม” ปฏิบัติธรรมมันปฏิบัติธรรมสิ่งใดล่ะ ปฏิบัติธรรมโดยมารมันวางแนวทางให้ปฏิบัติใช่ไหม ปฏิบัติธรรมตามความพอใจของตัวไง เวลาจะปฏิบัติธรรม ถ้าพอใจ ทำความสะดวกสบาย ทำแล้วมันจะเป็นประโยชน์...นี่ประโยชน์กับมาร ไม่ใช่ประโยชน์กับเรา มันว่างๆ มันพอใจ มันก็ว่าของมันไป แล้วถ้าเป็นไสยศาสตร์ไปเลย เขาก็แก้กรรม จะมีเวรมีกรรมต่อกัน...มันไปแก้ตรงไหนล่ะ มันส่งออกทั้งนั้นน่ะ

ถ้ามันจะปลดปล่อยใจของตัว ปลดปล่อยผู้รู้ของตัว มันก็ต้องทำความสงบของใจเข้ามา พยายามพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ คนถ้ามีอำนาจวาสนานะ ดูสิ คนที่เขาไม่เชื่อถือศรัทธาในพระพุทธศาสนา เขาไม่เชื่อถือในการประพฤติปฏิบัติ เขาเห็นเป็นของเล็กน้อย เขาว่าชีวิตเขาสำคัญกว่า นี่คนที่ไม่เชื่อถือ เขามีมุมมองอย่างนั้นเลย

ถ้ามุมมอง เพราะศรัทธาความเชื่อ เราถึงสละทุกๆ อย่างได้ สละทุกๆ อย่างมา แล้วเอาความจริงในหัวใจของเรา เราพยายามประพฤติปฏิบัติเอาตามความจริงนี้ ถ้าคนเขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อเลย เขาไม่มีโอกาสเลย เพราะคำว่า “ไม่เชื่อ” ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเชื่อ เขาก็ไม่ศึกษา ไม่ค้นคว้า ไม่พิสูจน์ แต่ของเรา เราเชื่อ ถ้าเราเชื่อขึ้นมา เราทำของเรานะ ถ้าเราพยายามกำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันเริ่มสงบระงับเข้ามา มันรู้มันเห็น มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก

ใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง เราประพฤติปฏิบัติอยู่นี่ มันทุกข์มันยากอยู่อย่างนี้ มันเป็นจริงหรือ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติอยู่ของเราอย่างนี้ เวลามันไม่ลงสู่ความจริง มันจะเอาความสุขมาจากไหน แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราขวนขวายของเรา เพราะเวลาปฏิบัติใหม่มันยาก มันยากตรงนี้ มันยากเพราะอะไร เพราะเริ่มต้น คนเราเริ่มต้นนะ เวลาปฏิบัติมันจับต้นชนปลายไม่ได้ มันก็ต้องล้มลุกคลุกคลานเป็นธรรมดา ดูสิ นักกีฬาชนิดใด การทำงานชนิดใดก็แล้วแต่ คนจะฝึกหัดจนทำงานได้ เขาต้องมาฝึกงานๆ ฝึกงานจนกว่าจะทำได้

นี่ก็เหมือนกัน เราจะประพฤติปฏิบัติ เว้นไว้แต่อำนาจวาสนา คนที่สร้างบุญกุศลของเขามา เขาทำสิ่งใดมันประสบความสำเร็จ ขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ถ้าปฏิบัติง่ายรู้ง่าย เขาก็ได้สร้างสมของเขามา เขามีปฏิภาณไหวพริบของเขา แต่ของเราเวไนยสัตว์ คนชั้นกลางๆ เราก็มีความเชื่อมั่นของเรา แต่การกระทำมันยังไม่เกิดขึ้นกับเรา

แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันสงบระงับเข้ามาๆ มันเป็นความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ คาดไม่ถึง นึกไม่ได้ คาดไม่ถึง ถ้ามันใช้คาดใช้นึกกันเอา อย่างนี้ที่ว่าเราจะปลดปล่อยใจ มารมันกลับบังเงา การคาดหมาย การกระทำโดยความคาดหมาย แล้วสังคมเชื่ออย่างนั้น เพราะวุฒิภาวะมันต่ำต้อยมันก็มีความเชื่อของมันอย่างนั้น แต่ของเรา เราไม่เชื่อ เราไม่เชื่อเพราะมันไม่เป็นความจริงไง

แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ ถ้าเรากำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันเริ่มสงบเข้ามา จิตมันจะเริ่มสงบเข้ามา แล้วมันอยู่ที่จริตนิสัย ถ้าสงบแล้วไปรู้ไปเห็นสิ่งใดต่างๆ ทำมันก็ทำยากอยู่แล้วใช่ไหม เวลาเราจะทำสมาธิ เวลาทำขึ้นมา กว่ามันจะเป็นได้มันก็ยากอยู่แล้ว แล้วถ้าจิตมันไม่มีกำลัง ทำสิ่งใดมันก็ทำไม่ได้ พอเรากำหนดพุทโธบ้าง ใช้ปัญญาอบรมสมาธิบ้าง ถ้าจิตใจมันออกไปรับรู้ล่ะ

มันจะเข้าสมาธิ พอจิตมันมีการเปลี่ยนแปลง เห็นไหม โดยปกติสามัญสำนึกมันก็คิดได้เป็นวิทยาศาสตร์ ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นภาพ มันก็เป็นเรื่องปกติ โดยอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น มันเป็นปกติ มันก็รู้ตามธรรมชาติของมัน พอจิตมันเริ่มสงบ จิตมันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มันไปรู้ไปเห็นอะไรที่มันแตกต่าง มันทำให้เราสงสัย “จิตทำไมมันเป็นแบบนั้น ทำไมมันวูบๆ อย่างนี้ ทำไมมันเบาๆ อย่างนั้น” มันสงสัย มันอยากรู้ ถ้ามันสงสัย มันอยากรู้ ตรงนี้มันทำให้เราลุ่มๆ ดอนๆ ตลอด ถ้าคนที่เคยผ่านอย่างนี้ เคยผ่านความลุ่มๆ ดอนๆ มา ล้มลุกคลุกคลาน พยายามวางให้ได้ พยายามวาง

พญามารมันร้ายนัก มันเอาความสงสัยของเรา เอาความลังเลของเรามาจุดประเด็น แล้วเราก็คิดตามมันไป เราคิดตามมันไป ทั้งๆ ที่เราจะปฏิบัติธรรมนะ เริ่มต้นมันยาก ยากอย่างนี้ เริ่มต้น เราไม่มีคะแนนเลย ไม่มีพื้นฐานสิ่งใดเลย แต่พญามารมันอยู่ในครอบครองใจเรามาไม่มีต้นไม่มีปลาย มันควบคุมมา มันไม่มีต้นไม่มีปลาย แล้วเราระลึกของเราเองไง

ฉะนั้น เวลาเราจะปฏิบัติธรรม เรามีศรัทธามีความเชื่อ มีความมั่นคง...วาง พยายามวาง แล้วทำต่อเนื่องไป มันจะรู้มันเห็นสิ่งใด วางไว้ก่อน วางไว้ก่อน แล้วพุทโธ เพราะเราพุทโธ เพราะเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เพราะเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตมันหิวกระหาย มันอยากรู้อยากเห็น ธรรมชาติรู้ ธาตุรู้ๆ มันเป็นธรรมชาติที่รู้ มันรู้ รู้ตลอด มันรู้อารมณ์ รู้ความรู้สึกนึกคิด มันรู้ของมันอยู่อย่างนี้ แล้วมันมีมารมาครอบงำ มันก็ไหวไปตามมัน สิ่งใดมีอะไรผ่านตามา มีสิ่งใดลังเลมา มันไปหมด เราพยายามของเรา นี่ไง โดยพื้นฐานๆ เราจะปลดปล่อยตัวเรา เราจะปลดปล่อยผู้รู้ของเรา เราจะปลดปล่อยใจของเรา เราหามันเจอหรือยัง? เรายังหามันไม่เจอ ถ้าเราจะหามันเจอนะ เราพยายามวางให้ได้

เราจะปลดปล่อยใคร ภวาสวะ ภพของเรา ภพชาติของเรา จิตใจของเราที่มันเวียนว่ายตายเกิด เห็นไหม พอบอกว่าจิตนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ปัจจุบันนี้มาเกิดเป็นเรา เกิดเป็นเราเกิดมาทุกข์ไหม? ทุกข์ ที่ใดมีการเกิด ที่นั่นมีความทุกข์ ในเมื่อเรามีความเกิดมา เรามีความทุกข์อยู่แล้ว ทีนี้ความทุกข์ของเรา เราเกิดมาแล้วเรามีศรัทธาความเชื่อ เพราะพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีของชาวพุทธมันมีการเสียสละต่อกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ในหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราเกิดในสังคมอย่างนี้ เกิดในสังคมที่เขามีประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธ เราอยู่ในสังคมที่ไม่เอารัดเอาเปรียบจนเกินไป สังคมที่ไม่ทำร้ายกันจนเกินไป เราก็มีหน้าที่การงานของเราในวัฒนธรรมนี้

ฉะนั้น ในวัฒนธรรมนี้ นี่ชีวิตของเรานะ เราจะหลบหลีกไง ถ้าเราจะหลบหลีกมา หลบหลีกมาประพฤติปฏิบัติโดยตัวเราเองได้ไหม? ได้ ได้เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา บริษัท ๔ แล้วภิกษุ ภิกษุณี เราบิณฑบาตเลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง มันมีช่องทาง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางแนวทางเอาไว้แล้วล่ะ แล้วเราจะหลบหลีกมาเพื่อประพฤติปฏิบัติ

เรามีครูมีอาจารย์ มีสถานที่ สัปปายะ ๔ อาจารย์เป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ หมู่คณะไง ถ้าเราจะหลบหลีก หลบหลีกได้ไหม ถ้าเราหลบหลีก

มันชั่งใจจนเราเห็นโทษในการเกิดและการตาย เราถึงจะมาประพฤติปฏิบัติกัน พระก็มาบวช บวชเพื่อจะรื้อค้น บวชเพื่อจะเอาความจริง จะปลดปล่อยหัวใจของเราไง จะปลดปล่อยมันให้ได้ ถ้าจะปลดปล่อย ต้องหาจุดที่เราจะปลดปล่อยว่ามันอยู่ที่ไหน ถ้าจุดมันปลดปล่อยที่ไหน พุทโธเข้ามา พอจิตมันเริ่มสงบ จิตมันเริ่มสงบเข้ามา มันมีกำลัง ถ้ามันจะรู้สิ่งใด เราอย่าเพิ่งใจร้อน อย่าเพิ่ง เพราะอะไร เพราะเริ่มต้นเราพยายามรักษาเข้ามาให้มันมีกำลังมากขึ้น หนึ่ง มีกำลังมากขึ้นในการกลับไปทำสมาธิก็ทำได้ง่ายขึ้น มีกำลังมากขึ้นก็รักษาใจตัวเองได้ดีขึ้น ถ้าเรารักษาใจได้ดีขึ้น พุทโธมันก็ทำได้ชำนาญขึ้น ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิมันก็รู้เท่าทันความคิด มันก็ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ มันก็จะคิดอีก เราก็ใช้ปัญญาต่อเนื่องไป พยายามฝึกหัด

ถ้าเราพุทโธๆ ถ้าพุทโธแล้วถ้าจิตมันจะละเอียดเข้ามา เราก็อยู่กับความละเอียดนั้น เราก็พุทโธต่อเนื่อง ถ้าพุทโธละเอียดเข้ามาแล้ว เพราะเราพุทโธมานานแล้ว แล้วพุทโธแล้วเราอยากจะได้สมาธิ พอมันละเอียดขึ้นมา เราก็ว่ามันละเอียด นี่พุทโธไม่ได้แล้ว ทั้งๆ ที่มันได้ ทั้งๆ ที่มันได้ เพราะอะไร เพราะเรายังไม่เคยทำ แต่ถ้าครูบาอาจารย์ท่านเคยทำมาท่านรู้ มันยังพุทโธได้ เพียงแต่ว่าเราจะเอาระดับไหน

ขณิกสมาธิเข้ามาพักก่อน พักแล้ว ถ้าครูบาอาจารย์ท่านวิปัสสนาแล้ว ท่านจับได้ ท่านมีงานต่อเนื่องไป ท่านเข้ามาพัก พักเพื่อท่านจะออกไปทำงานต่อ ถ้าทำงานเสร็จแล้ว ท่านก็กลับมาพัก ถ้าผู้ที่ชำนาญเป็นแล้ว เขาจะปลดปล่อยใจของเขา เขาต้องมีมรรคมีผลของเขา เขาต้องมีปัญญาของเขา ปัญญาของเขาก็คือภาวนามยปัญญา

ปัญญาของเรา เรายังต้องการครูบาอาจารย์เป็นผู้จูงอยู่ เราต้องการฟังธรรมเพื่อให้จิตมันเกาะไปอยู่ เรายังช่วยตัวเองไม่ได้ เราช่วยตัวเองไม่ได้ เราต้องฝึกหัดให้จิตใจของเรามันมีประสบการณ์ ต้องมีกิจกรรมให้ใจมันทำๆ ถ้าใจมันทำ เห็นไหม

เราเรียนปริยัติมา เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา เรียนไว้เพื่อปฏิบัติ สิ่งนั้นถ้าเรียนมาเป็นความรู้ทางโลก...ใช่ แต่ถ้าเรียนมาเพื่อให้หัวใจเราพ้นจากทุกข์ เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เลย เรียนมาเพื่อจะพ้นจากทุกข์ มันเป็นไปไม่ได้เลย เขาเรียนมาไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ แล้วถ้าเรียนมาไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ ในปัจจุบันนี้เราจะปฏิบัติ สิ่งที่เรียนมาแล้วมันเป็นแนวทาง แล้วเราจะไปยึดแนวทางอยู่ว่าต้องเป็นอย่างนั้นๆ มันก็บังคับให้ใจของเราเป็นอย่างนั้นโดยที่มันยังไม่เป็น มันก็เลยเป็นได้ยาก

แล้วถ้าเราวางไว้ก่อน เราวางสิ่งที่เราเรียนมา ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษามาเป็นภาคปริยัติ วางไว้ก่อน แล้วเราไปทำความจริงของเรา พยายามพุทโธของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา พยายามของเรา ถ้ามันสงบเข้ามามันก็ได้ คนทำอย่างน้อยมันต้องสงบแน่นอน เพียงแต่สงบแล้วเรารู้เท่าทันมันหรือเปล่า

เพราะถ้ามันสงบมันเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามา เพราะความสงบนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกถึงอจินไตย ๔ อจินไตย ๔ คือสิ่งที่เอามาคำนวณไม่ได้เลย มีอยู่ ๔ อย่าง

๑. พุทธวิสัย คือปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. เรื่องกรรม กรรมมันซับซ้อนมาก เพราะจิตของเรา เราเวียนว่ายตายเกิดมาไม่มีต้นไม่มีปลาย เราทำไว้ตั้งแต่อดีตกาลขนาดไหนก็ไม่รู้ล่ะ ถ้าถึงเวลาแล้วมันมา นี่เรื่องกรรม

๓. เรื่องโลก โลก มันเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ เรื่องโลก

๔. เรื่องฌาน เรื่องฌานก็เรื่องสมาธินี่ไง เรื่องความสงบ ทำใจให้สงบเป็นอจินไตยเลยล่ะ อจินไตยคือว่าเอามาคาด ไปวิเคราะห์วิจัยไม่ได้เลยล่ะ แล้วเราเราเป็นขนาดไหน

ผู้ที่ชำนาญนะ ครูบาอาจารย์ที่ชำนาญ ท่านก็ชำนาญของท่าน ท่านชำนาญในใจของท่าน เพราะอะไร เพราะท่านปลดปล่อยใจของท่านมาแล้ว ถ้าปลดปล่อยใจของท่านมาแล้ว ความชำนาญอันนั้นมันจะรักษาได้ง่าย รักษาได้ง่าย หนึ่ง แล้วมันเป็นอย่างนี้จริงๆ มันเป็นจริงๆ

เพราะว่าเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ปฏิสนธิจิตมันเวียนว่ายตายเกิด มันเป็นความจริงของมันอยู่แล้ว แล้วจิตมันอยู่กับเรา ในการกำหนดพุทโธ ในการปัญญาอบรมสมาธิโดยข้อเท็จจริงมันต้องสงบได้แน่นอน สงบได้แน่นอนเพราะมันเป็นจริง แต่เพราะอำนาจวาสนาของเราไง อำนาจวาสนาของเรา

๑. คนที่ไม่เชื่อเลย เขาก็ไม่ได้ทำสิ่งนี้เลย

๒. คนที่ทำแล้ว เราจะปลดปล่อย ปลดปล่อยใจของเราให้เป็นอิสระ มันกลับให้พญามารมาครอบงำ มันไปรู้นู่นรู้นี่ มารมันพาออก เพราะมารมันไม่ต้องการให้เราได้สัมผัสธรรม ไม่ให้เราได้เผชิญกับสัจจะความจริง

ถ้าเผชิญกับสัจจะความจริง เรามีความมั่นคง มีความเข้มแข็ง เราสามารถจะพาจิตใจของเรา พ้นจากมันได้ มันถึงเป็นอุบาย ถึงเป็นกลอุบายของมัน ทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน ฉะนั้น สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติที่มันทุกข์มันยากอยู่นี่เพราะกิเลสของเราทั้งนั้นน่ะ เพราะมารในหัวใจของเราทั้งนั้นน่ะ มารในหัวใจของเรามันทำให้เราฟั่นเฝือ ทำให้เราไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้เราคลาดเคลื่อน แล้วเราจะต่อสู้กับมันอย่างไรล่ะ เราจะต่อสู้กับมารอย่างไร

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมมาแล้วท่านเยาะเย้ย ท่านถากถาง แล้วท่านพยายามจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ คือท่านให้วิชาการ ท่านพยายามจะบอกแนวทางที่ว่าไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติ ท่านพยายามบอกแนวทาง พยายามจะชี้นำให้สาวก-สาวกะ ให้บริษัท ๔ พยายามปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นความจริงขึ้นมา แต่มันก็เป็นความจริงในใจไง ถ้าใจสัมผัสความจริงอันนั้น เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเย้ยมัน ครูบาอาจารย์ท่านเย้ยมัน เย้ยมันเลย

แต่เราไม่ได้เย้ยมัน เราไม่เชื่อธรรมะ “ปฏิบัติแล้วมันไม่ได้ ปฏิบัติแล้วมันทุกข์” เราเองเรายังหวั่นไหวไง ศรัทธา อจลศรัทธา คนที่ทำความสงบได้จะเป็นอจลศรัทธา คือศรัทธาที่ไม่คลอนแคลน เชื่อมั่นในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอจลศรัทธา ผู้ที่จะได้อจลศรัทธา เขาต้องทำสมาธิของเขาได้ เขาเดินปัญญาของเขาเป็น แต่เขายังไม่ถึงที่สุด เขาจะมีความเชื่อมั่นแล้ว ความเชื่อมั่นอจลศรัทธา มันจะเกิดขึ้นมาตั้งแต่ เห็นไหม ปุถุชน-กัลยาณปุถุชน ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชนมันรู้มันเห็นของมัน มันรู้มันเห็น มันเห็นแนวทางที่จะไปได้ เห็นแนวทางอยู่ แต่ยังไปไม่ได้

พอไปไม่ได้ เราก็พยายามตั้งสติของเรา พยายามกำหนดพุทโธของเรา ทำความสงบของใจของเราเข้ามา เราจะปลดปล่อยผู้รู้ของเรา ถ้าผู้รู้นะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ถ้าคนมีอำนาจวาสนามันจะสว่างโพลง ถ้าคนไม่มีอำนาจวาสนามันก็สงบเฉยๆ แล้วสงบแล้ว ถ้าคนที่ได้สร้างอำนาจวาสนาบารมีมันจะมีของเล่น ของเล่นคือของเข้ามายั่ว เห็นแสง เห็นเสียง มันจะมีของเข้ามายั่ว

เราจะปลดปล่อย ปลดปล่อยใจเรานะ เราไม่ใช่ไปปลดปล่อยไอ้สิ่งที่รู้ที่เห็นอันนั้น สิ่งที่รู้ที่เห็น ของยั่วของยวน มารมันเอามาล่อ ถ้ามารเอามาล่อ แล้วคนที่ไปรู้ไปเห็นก็เอามาคุยกัน เอามาอวดกัน ไม่รู้เลยนั่นน่ะมารมันเอามาล่อ ล่อที่ไหน? ล่อให้เราไม่เข้าถึงผู้รู้ของเรา ใครเข้าถึงผู้รู้ของเราคือสัมมาสมาธิ คือเข้าสู่ใจของเรา ถ้าเข้าสู่ใจของเรา จิตที่มันเป็นความสงบมันจะมีความสุข

เรากระเสือกกระสนกันนะ เวลานั่งสมาธิภาวนา ไอ้เวทนาไม่ต้องบอกใครก็รู้ ไอ้ความสงสัยไม่ต้องบอกหรอก มันท่วมหัวเลยล่ะ เวลาจิตที่มันเป็น แหม! มันประสบความสำเร็จ มันพอใจของมัน ถ้ามันพอใจของมัน มีครูบาอาจารย์คอยชักนำต่อเนื่องกันไป เพราะสิ่งที่เข้าสมาธิแล้ว พอคลายตัวออกมาแล้วมันกลายเป็นเรื่องปกติใช่ไหม พอเป็นเรื่องปกติแล้วเราต้องมีสติแล้ว มีสติในการดำรงชีวิต การอยู่การกิน การอยู่การกินนั่นล่ะจะทำให้การภาวนายากขึ้น

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ของเราถึงว่าให้ฉันแต่น้อย ข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมา ปฏิบัติขึ้นมาให้ฝึกหัดสติ ให้มันเคลื่อนไหว ให้คล่องตัว ให้ไว เพราะว่าความรู้สึกนึกคิดมันเกิดไวกว่านี้ เวลาความคิดมันเร็วมาก มันมา มันไป เราจะต้องฝึกหัดสติตลอดเวลา ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ ท่านพยายามจะเปิดโอกาสให้พวกเรา มีเวลาปฏิบัติทุกลมหายใจเข้าออก คิดถึงตลอดเวลา เพราะว่าชีวิตนี้ มันสั้นนักๆ แล้วหายใจเข้าไม่ออกก็ตาย หายใจออกไม่เข้าก็ตาย ความตายมันไม่รู้จะมาเมื่อไหร่ วันเกิดนี่รู้ แต่วันตายไม่รู้

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราจะฆ่ากิเลสให้มันตาย เราจะอยู่ อยู่ดูหน้า อยู่ทำลายมัน นี่ผู้ที่จะปลดปล่อย ถ้าปลดปล่อยใจของเรา ถ้าจิตมันสงบแล้ว นั่นล่ะตัวตนของเรา เราจะปลดปล่อยสิ่งนี้

ถ้าจิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้น เห็นไหม อย่างเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้ปัญญาอยู่แล้ว ถ้าปัญญาของเรา เราใคร่ครวญอยู่แล้ว ใคร่ครวญเข้ามา เวลามันสงบเข้ามานี่เรารู้ เรารู้ว่าเวลามันว่าง เวลามันปล่อยวาง ปล่อยวางเดี๋ยวก็คิดอีก คิดอีก เราใช้สติปัญญาต่อเนื่องๆ ขึ้นไป พอมันสงบเข้ามา พอสงบแล้ว ใหม่ๆ พอมันสงบ มันปล่อยวางแล้วเดี๋ยวก็คิดอีกๆ เรายังไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีความสามารถว่าเราจะมีอุบายอย่างใด

แต่พอมันสงบบ่อยครั้งเข้า จิตมันมั่นคง จิตมันมั่นคงขึ้นมาๆ เพราะเรามีกำลัง เราบริหารจัดการได้ พอจิตมันสงบแล้ว ถ้ามีสติ สังเกต สังเกตเวลาจิตมันออกรู้ ถ้าจิตมันออกรู้คือเสวยอารมณ์ จิตเห็นอาการของจิต สิ่งที่เราเสวย เสวยอะไร? เสวยอาการ อาการคือเงาของมันไง

โดยธรรมชาติคนเกิดมาต้องมีธาตุ ๔ และ ขันธ์ ๕ ต้องมีความคิดใช่ไหม ถ้าคนไม่มีความคิด สังคมเขาอยู่กันอย่างไร สัตว์เวลามันแสดงความรักกัน มันเอาสีข้างเข้าถูกัน มันสบตากัน มันกระดิกหางใส่กัน สัตว์มันยังสื่อความหมายของมันได้ มนุษย์ คนเป็นสัตว์ประเสริฐๆ มันก็มีภาษาของมนุษย์ มนุษย์ก็มีภาษาสื่อสารกัน มนุษย์มีภาษาสื่อสารกัน รูป รส กลิ่น เสียง มันสื่อสารกันได้ ความสื่อสารนั้นมันโดยธรรมชาติ

ฉะนั้น ความรู้สึกนึกคิดมันมีของมันอยู่โดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว แต่เราหาใจของเราไม่เจอ เราไม่รู้จักผู้รู้ของเรา เราถึงปลดปล่อยผู้รู้ของเราไม่ได้ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราก็เอาสิ่งที่เป็นของคู่ ของอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นของคู่ขึ้นมา เราก็จับสิ่งนี้ขึ้นมา เวลาความคิด ความคิดก็เกิดจากจิตนี่แหละ เราใช้สติปัญญาจับความคิดของเรา ไล่ความคิดของเราไป เพราะมันยังจับไม่ได้ ก็ไล่ความคิดด้วยเหตุด้วยผล ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยปัญญาของเรามันก็ปล่อย มันปล่อย มันปล่อยขึ้นมามันก็เป็นอิสระ

ถ้าพุทโธๆๆ พุทโธนี่ก็เป็นความคิด มันพุทโธๆ มันพาดพิง เราบังคับให้จิตเราระลึกพุทโธๆๆ จนพุทโธละเอียด มันก็ปล่อย มันปล่อย ละเอียด มันละเอียดจนพุทโธไม่ได้มันก็เป็นตัวมันเอง อันนี้มันจะมีกำลัง มีกำลังเพราะอะไร มีกำลังเพราะมันมีคำบริกรรม

ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราก็ใช้ความรู้สึกนึกคิดเรา เราคิดแล้วสติปัญญาเท่าทันมัน เท่าทันมัน มันก็ปล่อย ปล่อยมา คือปัญญาอบรมสมาธิ นี่ปัญญาอย่างนี้

เขาบอกว่า “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราก็ใช้ปัญญาแล้วๆ”

ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ เป็นปัญญาสัญชาตญาณของมนุษย์ ปัญญาที่เกิด เกิดจากสามัญสำนึก เพราะมนุษย์มีสามัญสำนึก เพราะมันจิตดิบๆ เราก็ต้องคิดอย่างนี้ เราใช้ปัญญาอย่างนี้ แต่ปัญญาอย่างนี้มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าใช้ปัญญาแล้วมันปล่อยมา แต่คนก็บอกว่า “ถ้าเป็นสมาธิแล้วมันจะลงลึก มันจะว่าง เวิ้งว้าง”...อันนั้นเป็นคำบริกรรม ถ้าบริกรรม อาการของจิตมันจะเป็นแบบนั้น

แต่ถ้ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิโดยใช้ปัญญาวิมุตติมันจะเป็นแบบนี้ ถ้าเป็นแบบนี้ พอพุทโธๆ หรือมันใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันปล่อยเข้ามา มันปล่อยอารมณ์เข้ามาเป็นอิสระได้ เราจะปลดปล่อยผู้รู้ เราจะปลดปล่อยใจของเรา เพราะใจมันเวียนว่ายตายเกิด ใจมันเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพอมันปัญญาอบรมสมาธิ มันปล่อยมาๆ เพราะเรามีความชำนาญมากขึ้น แล้วสังเกต สังเกตเวลามันเสวยอารมณ์ ถ้ามันเสวยอารมณ์ มันเห็นจิต จิตเห็นอาการของมัน อาการความรู้สึก ความรู้สึกนึกคิดเป็นอาการ เกิดจากจิต อาการเกิดจากจิต

อาการเราเอาไว้สื่อสารกัน เอาไว้สื่อสารกัน เอาไว้เพื่อการหลอกล่อ เอาไว้สื่อสารกันเพื่อเป็นการสื่อสารใช่ไหม แต่ถ้ามารมันใช้ล่ะ ถ้ามารมันใช้ มันก็เอาเรื่องอย่างนี้หลอกลวง เห็นไหม เราคิดโดยมาร มารที่มันครอบงำเรามาตลอด มารที่มันมีอิทธิพลเหนือใจของเรา

แต่เพราะเรามีธรรม เรามีสติมีปัญญา เราใช้ปัญญาของเราพิจารณาของเรา ใช้ปัญญาของเราไล่ตามความคิดของเราไป มันเลยปล่อยเข้ามา ปล่อยเป็นอิสระ ถ้าเป็นอิสระ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เพราะมันจะเป็นสมาธิได้ เพราะกิเลสมันสงบตัวลง กิเลสสงบตัวลงเพราะเรามีสติปัญญาไล่เข้ามา ฉะนั้น ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าบอกว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ภาวนามยปัญญามันยังไม่ถึงขั้นของมัน

ถ้าเวลาถึงขั้นของมันนะ เราจะปลดปล่อยไง ปลดปล่อยด้วยภาวนามยปัญญา ปลดปล่อยด้วยมรรค ถ้าปลดปล่อยด้วยมรรค เวลาจิตมันเสวยอารมณ์ เราจับได้ พอเราจับได้ เรารู้ได้ เราจับได้ เรารู้ได้ เราถึงเห็นกิเลสไง เราเห็นกิเลส พอเห็นกิเลส เพราะมันจะตื่นเต้นของมัน มันจะเห็นกิเลสของมัน

ถ้าเห็นกิเลส เราจับแล้วเราใช้ปัญญาแยกแยะต่อเนื่องไป เพราะจับแล้ว จับแล้วคืออารมณ์ เราจับอารมณ์ได้ จับความคิดได้ จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิด จิตเห็นความรู้สึกนึกคิด จิตเห็นต่างๆ

พุทโธก็เหมือนกัน พุทโธๆ พอจิตสงบแล้วถ้ามันจะใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันจะใช้ปัญญาวิมุตติ มันก็พิจารณากายโดยไม่เห็นกาย แต่ถ้าจิตสงบ ถ้าเป็นเจโตวิมุตติล่ะ จิตสงบแล้วถ้ามันเห็นกาย รำพึง มันจะเห็นเป็นภาพกายขึ้นมาเลย เห็นเป็นภาพกายส่วนใดส่วนหนึ่ง จะเห็นอย่างไร แต่เห็นแล้วมันก็หวั่นไหว หวั่นไหวก็เพราะว่าเรายังไม่มีความชำนาญ

เราจะปลดปล่อย ปลดปล่อยด้วยมรรค ถ้าเราจะปลดปล่อย จะปลดปล่อยตรงไหน ถ้าคนไม่มีสมาธิ ไม่มีใจของเรา เราจะปลดปล่อยใจของเรา เราก็ต้องจับใจของเราให้ได้เราถึงปลดปล่อยหัวใจของเราได้ ถ้าเราจับพุทธะได้ เราถึงจะปลดปล่อยพุทธะได้ แล้วพุทธะมีหยาบ มีกลาง ละเอียด พุทธะหยาบๆ พุทธะอย่างนี้พุทธะดิบๆ นะ ถ้าจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส เดี๋ยวพุทธะจะสว่างไสว พุทธะนั่นพุทธะอันละเอียดนะ เราจะปลดปล่อยพุทธะ เราจะปลดปล่อยผู้รู้ เราทำของเรา ถ้ามีครูมีอาจารย์ท่านคอยเป็นไม้เท้า เป็นคนชักนำหัวใจของเรา เราพยายามทำของเราไง ทำเพื่อประโยชน์กับเรา

จิตสงบแล้วถ้ามันรู้มันเห็นของมัน จับได้ พอจับได้ ถ้าสมาธิหลักเกณฑ์ดี จับแล้วมันพิจารณาไปมันก็พิจารณาของมันไปได้ ภาวนามยปัญญากับปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าคนปฏิบัติมาแล้วมันจะรู้เลยว่ามันเป็นขั้นตอนของมัน ขั้นตอนที่ปัญญาอบรมสมาธิ เราก็ใช้ปัญญาของเรา ปัญญาอย่างนี้มันก็ปัญญาเทียบเคียงในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือสัจธรรมไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดความจริงเอาไว้แล้ว ความจริง ครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่าน ท่านชำระล้างกิเลสแล้ว ท่านพูดสิ่งใดเป็นความจริงหมด

แต่ของเรา เรามีอวิชชา มีมารมันบังเงาอยู่ บังหัวใจอยู่ เราศึกษาความจริงมา แต่เราไม่รู้ แต่พอเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา จิตมันสงบ สงบแล้วเรามีสติปัญญาหมั่นเพียรขึ้นไป ทำให้จนวุฒิภาวะมันสูงขึ้น พอมันสงบ สงบบ่อยครั้งเข้า สงบ หนึ่ง

สอง เวลาจิตมันออกรู้ มันกระชากไปแล้ว มันไป แล้วสติไล่ตามมันไปมา พอเราเท่าทันมัน มันสั้นเข้ามาจนมาถึงตัวของจิตมันก็ปล่อย เดี๋ยวมันก็ไปอีกแล้ว เรามีการฝึกฝน ชำนาญ ชำนาญในวสี ชำนาญในการรักษา ไอ้เรื่องความสงบมันก็จะง่ายขึ้น ความสงบมันก็จะเพิ่มมากขึ้น พอมันเพิ่มมากขึ้น เรามีสติ วุฒิภาวะมันสูงขึ้น ถ้ามันเสวย มันจับได้ จับได้นะ

ถ้าจับไม่ได้ จิตไม่เห็นอาการของจิต จิตไม่เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริง มันมีระหว่างจิตกับอาการของจิต เพราะความคิดไง ความคิดมันไม่ใช่จิต จิตมันเป็นหนึ่ง มันคิดเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ แต่ถ้ามันจะคิด มันเป็นสังขาร สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง ความแต่ง มันปรุง มันแต่ง มันมีกิเลส มันยั่วมันยุมัน โอ๋ย! มันเตลิดเปิดเปิงไปเลย มันมีธรรมชาติแบบนั้น มารมันถึงมีอิทธิพล มารมันถึงครอบงำหัวใจ

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า จิตหนึ่ง การเวียนว่ายตายเกิดของจิตนี้แต่ละภพแต่ละชาติ เก็บซากศพไว้จะล้นโลกนี้

จิตดวงเดียวนี่แหละที่มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นสัตว์ เกิดนู่นเกิดนี่ ถ้าเอาซากศพทุกซากศพ ทุกภพทุกชาติมารวมกันนะ จิตดวงเดียวมันสะสมไว้ล้นโลกนี้เลย ที่ว่าเราจะปลดปล่อยมัน ถ้าไม่ปลดปล่อยมัน มันก็จะทับถมไปอีกหนึ่งศพ จะทับถมไปอีกชาติหนึ่ง อีกชาติหนึ่งก็อีกศพหนึ่ง อีกชาติหนึ่งก็อีกซากหนึ่ง เกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นต่างๆ แต่ละภพแต่ละชาติ แต่ละซากที่มันทับถม ทับถมไว้ล้นโลก นี่ไง ถ้าเราไม่ปลดปล่อย มันก็จะเป็นสังคมสังคมหนึ่ง โลกทัศน์หนึ่ง จิตดวงหนึ่งเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะหนึ่ง

แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราปฏิบัติของเรา เราทำความสงบของใจเข้ามา มันเห็นผู้รู้ เห็นพุทธะ เราจะปลดปล่อยมัน จะปลดปล่อยต้องรู้จัก จะปลดปล่อยต้องรู้ต้องเห็น ถ้าจิตมันสงบแล้วถ้ามันจับของมันได้ พอจับได้ เราใช้ปัญญาแยกแยะ นี่ภาวนามยปัญญา ถ้าภาวนามยปัญญา ปัญญาในการรู้แจ้งคือวิปัสสนา

ปัญญาอันหนึ่งคือปัญญารู้เท่า พยายามรู้เท่าใจของเรา เพราะเราไม่รู้เท่าใจของเรา เราไม่รู้เท่า เรารู้แต่สิ่งที่ใจมันหลอกมันลวง ใจมันสร้างภาพ ใจมันเอาความรู้สึกนึกคิดมาให้ใจตามมันไป ใจตามเข้าไปนะ ทั้งๆ ที่ความคิดเกิดจากจิต แต่เพราะพญามารมันเอาความรู้สึกนึกคิด ด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้ใจตามมันไป ตามไปโศกไปเศร้า ตามไปโกรธ ตามไปโลภ ไปหลง ตามมันไป มารมันหลอกมันล่อก็ตามมันไป แต่เพราะเรามีศรัทธามีความเชื่อ เรามีสติมีปัญญา มีความมุมานะของเรา จะมานั่งสมาธิ เดินจงกรมด้วยความทุกข์ความยากให้มันรู้เท่า รู้เท่านะ พุทโธๆๆ จนพุทโธไม่ได้ มารมันสงบตัวลง

เพราะมารมันหลอกมันล่อ เราถึงหลงใหลกับมันไป แต่เพราะด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยคำบริกรรมพุทโธ ด้วยปัญญาอบรมสมาธิ มันรู้เท่า รู้เท่าถึงจิตของเรา มันปล่อยวางเข้ามาก็เป็นจิตของเรา เห็นไหม จิตมันสงบตัวลง ถ้าจิตไม่สงบตัวลงมันเป็นสมาธิไม่ได้

สิ่งที่เขาเป็นสมาธิไม่ได้ แล้วลัทธิอื่นเวลาเขาทำเป็นมิจฉาสมาธิ อย่างเช่นที่ว่าเขาจิตสงบแล้วเขารู้วาระ รู้สิ่งต่างๆ นั่นฌานโลกีย์ นี่มันไม่เห็นจิตเห็นอาการของจิตไง เพราะสติ เพราะขาดสติ เพราะว่าจิตมันสงบแล้ว จิตสงบแต่เป็นมิจฉา มิจฉาเพราะมันไม่รู้จักไง ไม่รู้จักพุทโธไง ไม่รู้จักพุทธะไง มันสงบแล้วก็สงบอยู่ในอารมณ์ที่มันละเอียดเข้ามา แต่มันก็ออกไป ออกไปทางไสยศาสตร์ไง ออกไปทางฌานโลกีย์นู่น ออกไปเป็นผู้วิเศษนู่น

แต่ถ้ามีสัมมาสมาธิ ถ้ามีสติปัญญา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้พุทโธ เราไม่ให้มารมันมาหลอกมาล่อ เห็นไหม ดูสิ มันจะสงบเข้ามาไปรู้แสง พอสงบเข้ามาไปรู้ไปเห็นภาพ พอสงบเข้ามาไปเห็นเทวดา

อ้าว! เราก็เคยเป็นนะ อ้าว! จิตดวงไหนไม่เคยเป็นเทวดา ไม่เคยเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มันก็เป็นมาทั้งนั้นน่ะ แล้วเป็นมาแล้วมันมีประโยชน์อะไรล่ะ เป็นแล้วมันก็ซากหนึ่ง ก็ทิ้งไว้ ทับถมมาจนมาเป็นเราอยู่นี่ไง

แต่ในปัจจุบันนี้เรามีศรัทธาความเชื่อ ถ้ามีศรัทธาความเชื่อ จิตมันสงบเข้ามา รู้เท่า รู้เท่า มารมันสงบตัวลงแล้วฝึกหัด หมั่นสังเกตมันให้ดี สังเกตเวลามันเสวย เสวยนะ เห็นกายนี่ก็เสวย เวลาเห็นภาพกาย เห็นความคิด เห็นอารมณ์ จับ ถ้าจับได้ มันจับได้นี่เป็นผลงานของเรา

เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่ารู้ว่าเห็นทุกๆ อย่างเลย ถ้ารู้เห็น อารมณ์อย่างนี้มันไม่เกิด แต่พอจิตมันเห็น เพราะมันเกิดปัญญาของเรา ปัญญาในวิปัสสนาคือปัญญาการรู้แจ้ง รู้แจ้งคือปลดปล่อย มันจะปลดปล่อย ปลดปล่อยใจของเราไง ถ้ามันจะปลดปล่อยนะ มันต้องมีกำลัง

ดูสิ เวลาเขาปลดปล่อย ปลดปล่อยอิทธิพลของผู้มีอิทธิพล ปลดปล่อยประเทศชาติ ที่เวลาเขาจะปลดปล่อยกัน เขามีกำลัง เขาต้องมีสติมีปัญญา มีฝ่ายเสธ. ทุกๆ ฝ่ายของเขา ต้องเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เขาถึงปลดปล่อย ปลดปล่อยประเทศชาติของเขาได้ ประเทศชาติปลดปล่อยแล้วมันก็มีเวรมีมารต่อกัน การปลดปล่อยแล้วไม่มีชาติไหนเจริญรุ่งเรืองจนไม่มีการล่มสลายไป ไม่มีเลย

เพราะในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก โลกนี้เป็นโลกอนิจจัง มันหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไม่มีต้นไม่มีปลาย มันยังไปของมันตลอด แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ในการปลดปล่อยหัวใจ ไม่ให้มีซาก ซากศพมันทับซ้อนต่อไป

ถ้าจิตมันสงบแล้วมันเห็นของมัน มันรู้ของมัน “โอ้โฮ! ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศึกษามาจนทะลุปรุโปร่ง มันไม่เป็นอย่างนี้ๆ” แต่ถ้ามันเป็นอย่างนี้ เห็นไหม มันรู้เอง มันชัดเจนของมันในใจอย่างนี้ เพราะอะไร เพราะมันมีพื้นฐานของสัมมาสมาธิไง เพราะมันมีพื้นฐานของพุทธะไง เราจะปลดปล่อยพุทธะ เราหาพุทธะของเราเจอไง แม้แต่เจอพุทธะของเรามันก็มีความสุขแล้ว แม้แต่เจอพุทธะมันก็เคารพตัวเองแล้ว เคารพตัวเองเพราะว่าเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาด้วยความพากเพียรบากบั่น เพราะมันมีเป้าหมาย

การเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาสักแต่ว่าทำตามๆ กันไป เขาก็ว่าให้ทำก็ทำ ไม่เคยได้ลิ้มรส ไม่เคยได้สัมผัสความสงบของใจ ไม่เคยได้สัมผัสธรรมเลย ไม่เคย มันจะเอาสิ่งใดมาหล่อเลี้ยงหัวใจ แต่ของเราเวลาเราไปปฏิบัติของเราตามความจริงขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบ นี่ไง ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโกไง

สิ่งนี้มันทำให้เราเป็นอจลศรัทธา ทำให้เรามั่นคง ทำให้เราทำมาล้มลุกคลุกคลานมาขนาดไหน ทำมาแล้วมันมีวิวัฒนาการ มันเห็นจิตไง มันเห็นผู้รู้ไง แล้วมันใช้ปัญญา ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความเป็นจริง ถ้ามันจับต้องได้ แล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญารู้แจ้ง วิปัสสนา วิปัสสนาปัญญาคือปัญญารู้แจ้ง รู้แจ้งในสิ่งที่มารมันล่อมันลวง ที่มันหลอกอยู่นี่

ถ้ารู้แจ้งขึ้นมา เพราะมันมีมรรคไง มีมรรค มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา มีเกิดญาณ เกิดญาณทัสสนะ เกิดความรู้ความเห็น นี่ไง ธรรมจักรไง เกิดความสว่างไสว สว่างไสวคือความเข้าใจ นี่พิจารณา พิจารณาต่อเนื่อง พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก ทำแบบนี้ ถ้าทำแบบนี้ เขตการปลดปล่อยของเราไง เราจะปลดปล่อยหัวใจดวงนี้ไง เราจะปลดปล่อยพุทธะของเราไง ถ้าเราปลดปล่อย พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก ถ้ามีมรรคมันก็จะปล่อย นี่ไง งานอย่างนี้ใครทำแทนกันไม่ได้ เพราะใจดวงนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ใจดวงนี้เกิดมาเป็นมนุษย์ มาเป็นเราอยู่นี่ เพราะใจดวงนี้มีศรัทธามีความเชื่อถึงได้มาค้นคว้าของเรา ถ้ามาค้นคว้าของเรา นี่การทดสอบ

เขาบอก “ศาสนามันเลื่อนลอย ศาสนานั้นมันไม่มีเหตุมีผล”

ลองดูสิ ลองดูว่ามันจะเลื่อนลอยจริงหรือเปล่า มันจะมีเหตุมีผลอยู่ไหม เวลามันทุกข์ บอกว่า “อันนี้เป็นนามธรรม มันไม่มีวัตถุสิ่งใดเลย” มันกระทืบหัวใจแบนแต๊ดแต๋เลย มีแต่ความทุกข์กลางหัวใจ ทำไมไม่บอกว่ามันไม่มีเหตุมีผลบ้างล่ะ ทำไมมันทุกข์จนน้ำตาร่วงน้ำตาไหลล่ะ

แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เวลามันเห็นขึ้นมา นี่ไง ความจริงมันเกิด เห็นไหม “เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม” มาดูหัวใจของข้า มาดูสิ มาดูเวลามรรคมันเดินสิ เวลามรรคมันเดิน มันขยันมันหมั่นเพียร เวลาความคิดมันคิดอย่างนี้นะ แต่ไม่มีใครพูดออกมาหรอก ถ้าพูดออกมาเขาว่าคนบ้า

นี่ความจริง เวลามันเกิดขึ้นในหัวใจ โอ้โฮ! มันองอาจ มันกล้าหาญ แต่องอาจกล้าหาญในใจนะ เพราะมันเป็นธรรม ไม่ใช่เป็นกิเลส ถ้าเป็นกิเลสนะ ไม่มีสิ่งใดเราก็จำขี้ปากเขามาพูด ไม่มีสิ่งใดเราก็อ้างพุทธพจน์ อ้างอิงนะ “ห้ามเถียงนะ นี่พุทธพจน์นะ ถูกต้องดีงามนะ” นี่พูดกันไป

แต่ถ้าเป็นความจริงมันมีสติ สิ่งที่เกิดขึ้น เราลงทุนลงแรงมาขนาดไหน นั่งสมาธิมาภาวนามาขนาดไหน แล้วถ้ามันเป็นจริง เราพูดไปทำไม สัปปายะ ๔ หมู่คณะเป็นสัปปายะ เป็นสัปปายะ มีความรู้ความเห็นเหมือนกัน เขาก็ต้องการสิ่งนี้ ต้องการสิ่งนี้ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นมาก็ด้วยความสงบความสงัด เกิดขึ้นมาด้วยสติด้วยปัญญา ต่างคนต่างถนอม ต่างคนต่างรักษาใจของตัว เพราะเราจะมาปลดปล่อยใจของเรา เราไม่ใช่ปลดปล่อยใคร

ให้มันถึงเวลาก่อน ให้มันถึงเวลาคือว่าเราพยายามขวนขวายของเรา วิปัสสนาของเราขึ้นไปต่อเนื่องๆ ขึ้นไป ให้มันเป็นความจริงท่ามกลางหัวใจของเรา เดี๋ยวเราจะแนะนำคนอื่นถ้าเขามาถามปัญหาเรา ถ้าเขามาถาม เขามาขอความรู้จากเรา แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ ตอนนี้มันเป็นหน้าที่ของเรา เราจะไม่พูดให้ใครฟัง เราจะไม่พูด ไม่พูด ไม่สุงสิงกับใคร เราพยายามจะรักษา นี่การที่จะปฏิบัติเขาต้องสงวนรักษาความสงบสงัด แล้วเห็นอกเห็นใจต่อกัน สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย เกิด แก่ เจ็บ ตายร่วมกันทั้งหมดทั้งสิ้น ทุกคนก็ปรารถนา ถ้ามันเป็นจริงของเรา เรารักษาไว้ แล้วเราไม่ทำให้ใครสะเทือนไง เพราะใจของเรา เราก็ไม่ต้องการให้ใครมาสะเทือน คุณธรรมอย่างนี้เราไม่อยากจะให้หลุดไม้หลุดมือจากเราไปเลย เราอยากจะถนอมรักษาให้อยู่กับเราตลอดไป...มันไม่อยู่หรอก เพราะกิเลสมันต้องดิ้นรนของมัน

ถ้ากิเลสมันดิ้นรนของมัน ด้วยความไม่ชำนาญของเรา เราพิจารณาไปแล้วมันปล่อย ปล่อยขนาดไหน ถ้าเราจะย้อนกลับมาพิจารณา มันลุ่มๆ ดอนๆ เพราะความสงบมันไม่มั่นคง เราต้องกลับมาที่ความสงบ ถ้ากิเลสมันจะยุแหย่ขนาดไหน เห็นไหม รู้เท่า ปัญญาอบรมสมาธิ คำบริกรรมนี่รู้เท่า รู้เท่าคือรู้เท่าพุทธะ เราจะปลดปล่อยพุทธะนี้ แต่ถ้าเราไปหงุดหงิด เราไปไม่พอใจ นั่นเข้าทางมันหมดเลยล่ะ เพราะอะไร เพราะมารมันเอาสิ่งนี้มาล่อ แล้วเราก็หงุดหงิด ขัดข้อง ขุ่นข้องหมองใจไปแล้ว เพราะขุ่นข้องหมองใจมันก็ไปลงวิจิกิจฉา ไปลงสู่ความโกรธก็เข้าทางมารไง เข้าทางสิ่งที่เป็นสามัญสำนึกของมนุษย์อยู่นี่ไง

ที่เรามีสติปัญญาเพราะเราควบคุมด้วยมรรคใช่ไหม มันถึงรู้เท่า คือมันปล่อยจากสัญญาอารมณ์ทั้งหมด ปล่อยจากสิ่งเครื่องล่อของมารทั้งหมดมันถึงเป็นสัมมาสมาธิ แล้วเราก็พยายามจิตเห็นอาการของจิต เห็นสติปัฏฐาน ๔ เห็นอาการของจิตคือเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นี่จิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ จิตเห็นอาการของจิต

เพราะว่ากิเลสเป็นนามธรรม กิเลสไม่มีตัวตน มันเป็นนามธรรม รูปมันก็เป็นรูปในนามธรรม ฉะนั้น สิ่งที่รูปในนามธรรมมันก็คือความเคยใจ คือความพอใจ ความพอใจมันเกาะเกี่ยวในอะไร? มันก็เกาะเกี่ยวในสติปัฏฐาน ๔ มันพาดพิงสู่สติปัฏฐาน ๔ เราก็หยิบจับ หยิบจับสติปัฏฐาน ๔ ขึ้นมาพิจารณา ถ้าพิจารณา เพราะเราเห็นอาการของจิต เพราะเห็นจิตมันพาดพิง พาดพิงกาย พาดพิงเวทนา พาดพิงจิต พาดพิงธรรม เราจับสิ่งนั้นวิปัสสนาด้วยปัญญาไล่ต้อนเข้าไป มันปล่อย มันปล่อยขนาดไหนมันก็รักษาสิทธิของมัน

เรามีสติต่อเนื่อง พิจารณาแยกแยะต่อเนื่องๆ เวลามันปล่อย มีความสุขนะ เวลาภาวนาล้มลุกคลุกคลานมีความทุกข์ ทุกคนก็รู้ได้ แต่เวลาจิตมันปล่อย มัน เหรอ! เหรอเลยนะ โอ๋ย! มันมีความสุข แต่ความสุขอย่างนี้อย่าประมาท ความสุขแบบนี้แลกมาด้วยชีวิตนะ จะพูดคำว่า “แลกชีวิต” คนเขาว่ามันจะเวอร์ แต่ไม่เวอร์หรอก เราแลกมาด้วยชีวิตนะ แลกมาด้วยชีวิต แลกมาด้วยความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ เราพยายามรักษาของเราไว้ เราจะปลดปล่อยใจของเรา ปลดปล่อยให้มันสิ้นสุดก่อน แล้วเราค่อยบอกเขาค่อยสอนเขาก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปบอกใครหรอก

แล้วถ้ามันไม่ได้ปลดปล่อย ปลดปล่อยตามความเป็นจริงนะ มันปลดปล่อยแบบมาร มารมันสวมรอย มันว่ามันปลดปล่อยแล้ว เที่ยวจะไปสอนคนโน้นคนนี้ จะไปเหยียบย่ำเขา มันไร้สาระ เพราะเขาไม่พร้อม เขาไม่หิวเขาไม่กระหาย เราเอาอาหารให้เขามากมายขนาดไหนเขาก็ไม่กิน แต่ถ้าเขาหิวเขากระหายนะ เราไม่ต้องให้เขาหรอก เขาก็จะมาขอจากเรา ฉะนั้น ไม่ต้องไปเหยียบย่ำคนอื่น

เวลาเราจะปลดปล่อยใจเรา เราต้องการความสงัด เราต้องการความเพียร ต้องการความวิริยอุตสาหะ ความเพียรชอบของเรา เราต้องการตรงนี้ แล้วเวลาเขาไม่ต้องการ เราไปเหยียบย่ำคนอื่น ไร้สาระมากเลย เพราะนั่นไม่ใช่ธรรมหรอก ถ้าเป็นธรรม เขาต้องหิวสิ เขาหิว เขาต้องการ วางไว้ เขาตะครุบทันทีเลย แต่เขาไม่หิวเขาไม่กระหาย เราจะไปเหยียบย่ำเขาด้วยความยัดเยียดว่าฉันมีธรรมๆ...ไร้สาระ นั่นมันกิเลสชัดๆ มันเป็นเรื่องของกิเลส

แต่ถ้าเป็นเรื่องของธรรม เราพยายามทำของเราให้มันเป็นจริงของเราขึ้นมา ถ้าเป็นจริงขึ้นมา สติปัญญามันจะรอบคอบ มันมีสติมีปัญญานะ เพราะโดยกิเลสเป็นนามธรรม มันพาดพิง กาย เวทนา จิต ธรรม เราถึงจับมาพิจารณา มันเป็นนามธรรมทั้งนั้นน่ะ แล้วความต้องการและความไม่ต้องการของเขามันก็เป็นนามธรรม เรารู้ได้อย่างไรว่าเขาต้องการหรือไม่ต้องการ แล้วเราไปเหยียบย่ำเขาทำไม แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติอยู่ เขาสนใจอยู่ เขาถามเราเอง

โธ่! เราสังเกตได้ไหม เวลาเราทำของเรา เราล้มลุกคลุกคลาน เราต้องการคนสอนไหม เราสังเกตทั้งนั้นน่ะ สิ่งใดที่เป็นคุณงามความดี เราสังเกตทั้งนั้นน่ะ แม้แต่นักปฏิบัติ เวลาอยู่ในป่าในเขา เวลาสัตว์มันขยันหมั่นเพียร สัตว์นักล่ามันต้องหาอาหารของมัน เรายังสงสารมันเลย แม้แต่สัตว์มันยังต้องพยายามมันถึงมีอาหารตกท้องมัน ถ้ามันไม่พยายามมันก็หิวตาย

นี่ก็เหมือนกัน เรามาปฏิบัติธรรมกัน เราเข้าป่าเข้าเขามาก็เพื่อหาใจของเรา ถ้าเรายังหาใจของเราไม่เจอ เราจะต้องเพิ่มความเพียร ต้องเพิ่มสติความวิริยอุตสาหะให้มากขึ้น นี่มันเห็นแล้วมันเอามาเป็นคติของเราได้เลยถ้าจิตมันเป็นธรรมนะ เห็นสิ่งใดถ้าใจเป็นธรรม เห็นสิ่งใดมันจะย้อนกลับมา ย้อนกลับมาหาเราเลย มันสงสารไง

เราจะปลดปล่อยหัวใจดวงนี้ แล้วเราสงสารหัวใจของเรา เราพยายามของเราให้มันมั่นคงของเรา แล้วพยายามพิจารณาของเรา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถ้ามันยังไม่สมุจเฉทปหาน อย่าเพิ่งวางใจ แล้วถ้ามันสมุจเฉทปหาน เวลาจิตของเราไม่เห็นอาการของจิต นี่เป็นสมาธิ สงบแล้วก็คลายออก สงบแล้วก็คลายออก มันยังจับไม่ได้ พอมันจับได้มันเป็นปัญญารู้แจ้ง ปัญญาวิปัสสนา มันก็รู้ผลแตกต่างกัน เราก็พิจารณาแล้วมันปล่อยๆ มันก็ผลอย่างนี้ ผลของการปล่อยๆ ถ้าผลของการสมุจเฉทปหานมันแตกต่างกับตทังคปหาน

การปล่อย การปล่อยโดยมรรค การปล่อยโดยความเพียรมันก็ปล่อยมาอย่างนั้นน่ ะ แต่ปล่อยซ้ำปล่อยซาก เวลาถึงที่สุดเวลามันสมุจเฉทปหาน มันปล่อยพร้อมกับสำรอกคายสังโยชน์ออกไป เวลามันคายสังโยชน์ออกไปแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเปรียบเหมือนดั่งแขนขาด ตัดแขนแล้วมันต้องขาด ตัดกิเลสแล้วมันต้องขาด แล้วขาดแล้วเกิดไม่ได้ อกุปธรรม ตายแล้วฟื้นไม่ได้

แต่จิตที่มีกิเลส จิตที่มีภวาสวะ จิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะไม่มีต้นไม่มีปลาย มันเวียนว่ายตายเกิดโดยตาบอด โดยอวิชชาครอบงำมัน โดยมาร โดยมารมันพาไป แต่เวลามรรคญาณมันชำระล้างกิเลส เวลามันขาด สังโยชน์มันคาย ขณะจิตมันเปลี่ยนแปลงเลย แล้วคราวนี้มันไม่มีเสื่อมอีกแล้วล่ะ มันคงที่ตายตัวของมัน

แต่กิเลสที่ละเอียดกว่า สิ่งที่มันมีอยู่ เราพิจารณาซ้ำ จิตสงบแล้วเราพิจารณาต่อเนื่องไป เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมเหมือนกัน ปัญญารู้แจ้ง ปัญญาวิปัสสนามันจะจับของมันสิ่งที่ละเอียดขึ้นไป เห็นไหม หลานกิเลสมันตายไป ลูกกิเลสมันก็มีของมันอยู่ จับให้ได้

ถ้าจับได้ จับได้ มันต้องจับได้ คนภาวนาเริ่มต้นถ้ามันจับไม่ได้เราก็ล้มลุกคลุกคลาน มันก็ทำสมาธิ ทำความสงบแล้วก็คลายออก สงบ พอมันจับได้มันก็ก้าวเดินต่อไป มันรู้ชัดๆ เลย ถ้าจับไม่ได้มันไม่มีงานทำ จับไม่ได้มันก็เวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น เวิ้งว้างเพราะอะไร เพราะมันเป็นอกุปธรรมใช่ไหม มันไม่ลงไปสู่ปุถุชน แต่มันก็อยู่อย่างนั้นน่ะ

แต่ความต้องการสิ่งต่างๆ กามราคะต่างๆ มันบีบคั้นหัวใจ มันต้องรับรู้ของมัน ถ้าเราจับได้ มันพาดพิงแล้วเราจับได้ จับได้ก็วิปัสสนาต่อเนื่อง ถ้าวิปัสสนาต่อเนื่อง พิจารณาซ้ำพิจารณาซากด้วยสติด้วยปัญญา พิจารณาแล้ว ถ้ามันจับได้แล้ววิปัสสนา จับได้คือรับรู้ จับได้คือตามความเป็นจริง เวลามันจับได้ มันพิจารณาแล้วมันปล่อย ถ้ามันจับไม่ได้ มันไม่มีสิ่งใดที่จะไปพิจารณา แล้วมันจะปล่อยอะไรล่ะ มันจะขาดอะไรล่ะ กิเลสมันจะขาดตรงไหนล่ะ มันไม่มี

แต่ถ้ามันจับได้ มันพิจารณาของมันแล้วมันปล่อยๆ นี่ตังคปหาน พิจารณาต่อเนื่องๆ เพราะเราไม่ใช่ขิปปาภิญญา เราไม่ใช่คนที่มีกำลังมหาศาล ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลามันขาด กายกับจิตนี้แยกเลย โดยธรรมชาติเลย โลกนี้ราบหมดเลย ราบขณะที่มันเห็นที่มันรู้ไง

สิ่งที่เสี้ยนหนามที่มันตำหัวใจ ฝืนใจมาตลอด ทุกข์ยากมาตลอด แต่เวลาพิจารณาไปด้วยมรรค เวลามันสมุจเฉทปหาน เวลามันมรรคสามัคคี ราบหมด ขาดหมด โลกนี้ราบหมด เวิ้งว้าง โอ๋ย! มันมหัศจรรย์ นี่ความว่าง ความว่างที่ละเอียด ความว่างที่มันมีคุณธรรม นี่อกุปธรรม แล้วมันจะติดอย่างนี้ แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ปั๊บ มันจะต่อเนื่องขึ้นไป พอจะขยับขึ้นไป เพราะมันจะเป็นมหาสติ-มหาปัญญา เพราะจิตมันละเอียดขึ้น มันชัดเจนขึ้น มันเข้าสู่ใกล้ขึ้น เข้าไปสู่ใกล้พุทธะ เข้าไปสู่ภวาสวะ มันละเอียดขึ้นไป

ปัญญาที่มันจับได้มันแสนยาก ถ้าแสนยาก ทำสติ ทำสมาธิให้เข้มแข็งมากขึ้น เพราะเราทำได้อยู่แล้ว ปัญญาอบรมสมาธิหรือพุทโธ เวลามันจับต้อง มันจับได้มันมหาสติ-มหาปัญญานะ เพราะมันจับ เพราะมหาสติ-มหาปัญญาจับได้ พอจับได้ นี่พุทธะ จับพุทธะได้อีก พุทธะ พุทธะก็กามราคะ ถ้ากามราคะ พิจารณาซ้ำๆๆ

มันจะเล่ห์กลมหาศาล เพราะว่ามันเป็นจอมทัพ มันเป็นพ่อ เป็นวัยทำงาน เป็นผู้ที่ควบคุมชาติตระกูล เป็นผู้ที่รับผิดชอบ พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก โอ๋ย! เล่ห์กลมหาศาลๆๆ ก็ต่อสู้กันด้วยมหาสติ-มหาปัญญา ด้วยความเพียรชอบ ด้วยความวิริยอุตสาหะ ด้วยวิปัสสนา วิปัสสนาปัญญา ปัญญารู้แจ้ง ปัญญาแทงทะลุ ถึงที่สุดแล้วเวลามันขาด สะเทือนเลื่อนลั่นเลย มีเศษส่วนเท่าไรก็จับพิจารณาต่อเนื่องไปๆ ถึงต่อเนื่องไป หาไม่เจอแล้ว นี่พุทธะแท้ พุทธะแท้คือจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส

แต่กว่าจะเข้าไปถึงพุทธะ จับตัวพุทธะ เห็นตัวพุทธะนั้น เห็นไหม จะปลดปล่อยพุทธะต้องรู้จักพุทธะ จะปลดปล่อยพุทธะ จะปลดปล่อยผู้รู้ ปลดปล่อยใจของเรา ต้องรู้จักใจของเรา จะปลดปล่อยผู้รู้ ต้องรู้ว่าผู้รู้อย่างหยาบ ผู้รู้อย่างกลาง ผู้รู้อย่างละเอียด ผู้รู้อย่างละเอียดสุดมันเป็นอย่างใด แล้วถ้าไม่รู้ไม่เห็นจะทำไม่ได้หรอก ถ้ารู้เห็น ถ้ามันจับพุทธะอย่างละเอียดได้ จะปลดปล่อยอะไร จะทำลายกันอย่างใด

มันต้องทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายความมีอยู่ ถ้าทำลายความมีอยู่ เพราะเราทำลายไม่ได้ เราไม่กล้าทำลายความมีอยู่ จิตเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เราไม่กล้าทำลายความมีอยู่ แต่ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณ ธรรมอันละเอียด ญาณหยั่งรู้ แต่ญาณหยั่งรู้ เวลาญาณหยั่งรู้ ญาณรู้แจ้ง ถ้ามันทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายชาติ ทำลายผู้รู้ ปลดปล่อยผู้รู้ด้วยการทำลายสิ่งที่มารอาศัย มารจะอาศัยสิ่งใดไม่ได้เลย เวลาทำลายที่จิตนี่การปลดปล่อย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้ ปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ มีความเมตตา มีมหาเมตตา มีมหาปัญญา มีความเมตตาที่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ วางธรรมวินัยนี้ไว้ให้กับคนที่มีชีวิต ให้กับคนที่มีศรัทธา มีศรัทธามีความเชื่อ มีการศึกษา มีการประพฤติปฏิบัติ มีการค้นคว้าให้มันเป็นความจริงของใจดวงนั้น

ถ้าใจดวงนั้นมีการกระทำ ใจดวงนั้นจะมีมรรคญาณ ตั้งแต่มรรคหยาบๆ จนขึ้นไปสู่ญาณหยั่งรู้ พิจารณาถึงที่สุด ทำลายภวาสวะ ทำลายหัวใจทั้งหมด เห็นไหม จะปลดปล่อยหัวใจด้วยการทำลาย ยิ่งทำลายยิ่งแจ่มแจ้ง ยิ่งทำลายยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ ยิ่งทำลายยิ่งมีคุณธรรม

ทำลายถึงที่สุดแล้ว พอทำลายถึงที่สุด ทำลายแล้วเหลืออะไร ทำลายแล้วมันต้องจบสิ ทำลายแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการอยู่ ๔๕ ปี เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน เห็นไหม ฉันอาหารของนางสุชาดาได้ถึงกิเลสนิพพาน ฉันอาหารของนายจุนทะถึงซึ่งขันธนิพพาน ถึงที่สุดแล้วทิ้งธาตุทิ้งขันธ์ ทิ้งซากไว้อีกหนึ่งซาก แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิมุตติโดยความเป็นจริง

เราทำของเรา เราทำได้ ถ้าทำได้ มีปัญญารู้แจ้ง จะเข้าใจแจ่มแจ้ง ไม่มีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง สมบูรณ์บริบูรณ์อยู่พร้อม เพราะรอแต่ผู้ที่กระหาย รอแต่พวกเราที่ประพฤติปฏิบัติเอาความจริงนี้เข้าสู่ใจของเรา เอวัง

aH