เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๑๒ ก.ย. ๒๕๕๘

 

เทศน์เช้า วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมะเนาะ ถ้าฟังธรรมะแล้วชีวิตของเรามันจะสดชื่น ชีวิตของเราจะมีหลักเกณฑ์ชีวิตเราจะมีความอบอุ่น แต่ถ้าเราฟังกิเลสไง ฟังกิเลสคือฟังความคิดของเราไง ถ้าความคิดของเรามันน้อยเนื้อต่ำใจมันทุกข์มันยากมันบีบคั้นน่ะ มันบีบคั้นในใจ

แต่ถ้าฟังธรรมะนะ ธรรมะสัจธรรม ถ้าสัจธรรมทำให้ชีวิตนี้สดชื่นแจ่มใส แจ่มใสเพราะเหตุใดเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ

อดีตชาติย้อนอดีตชาติไปนะบุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนอดีตชาติไปไม่มีที่สิ้นสุดจุตูปปาตญาณ คืออนาคตมันยังเกิดต่อไป อาสวักขยญาณ คือทำลายอวิชชา ทำลายกิเลสแล้วมันก็สิ้นสุด นี่วิมุตติสุข มีความสุขสดชื่นในชีวิตนั้น

แต่ถ้าเวลาเราศึกษา เราศึกษาธรรมะ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราศึกษามาเพื่อความรู้ไง แต่ไม่ศึกษาเพื่อชีวิตของเราไง ความรู้ความรู้คือความจำ ความจำคือมันอยู่ข้างนอก มันอยู่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความคิดมันเกิดดับ แต่ความสุขความทุกข์ ความบีบคั้นในใจมันอยู่กับเราตลอดไป

ในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตนี้ การเกิดนี้แสนยาก การเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นอริยทรัพย์การเกิดนี้แสนยากการเกิดนี้แสนยากแต่เราอยู่ในโลกที่เจริญแล้ว โลกที่เจริญแล้วเขาต้องคุมกำเนิดนะ เขากลัวการเกิด เขาคุมไว้ เพราะถ้าไม่คุมกำเนิดมันจะเกิดมากกว่านี้อีก

แต่เวลาในทางธรรม การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยากมันต้องมีบุญกุศลมันถึงมาเกิดไงฉะนั้น คนมีบุญมากถึงมาเกิดมากใช่ไหม แต่เวลาเกิดมาแล้ว คนที่มีความไม่พร้อมเกิดมาแล้วเขาเกิดมาไม่พร้อมเขาเกิดมาไม่พร้อมนะ เขามีความทุกข์ความยาก มีความบีบคั้นไปทั้งนั้นน่ะ แต่คนเกิดมามีความสุข คนเกิดมาด้วยบุญกุศลมีความสุข นี่การเกิดเป็นมนุษย์ การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก แล้วเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ถ้ามันมีความพร้อมแล้ว มันมีทุกอย่างพร้อมแล้ว มันก็มีความสุขพอสมควรไง นี่มีความสุขพอสมควร เห็นไหมการเกิดนี้แสนยาก

ทีนี้การเกิดนี้ได้มา เราได้สถานะของมนุษย์นี้มา ถ้าได้สถานะของมนุษย์นี้มาเป็นคนดีไง เป็นคนดีก็เป็นยาก แต่ถ้าเป็นคนสำมะเลเทเมา เป็นคนเหลวไหลมันเป็นง่าย แต่เป็นง่ายแล้วมันได้อะไรขึ้นมาล่ะ เห็นไหม การได้เป็นมนุษย์มามันแสนยาก การได้ความเป็นมนุษย์มานี้แสนยาก แสนยากเพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเทียบเหมือนเต่าตาบอดอยู่ในทะเล แล้วมันต้องโผล่ขึ้นมาหายใจ ถ้ามันโผล่ขึ้นมาหายใจ ถ้ามันเข้ามาในบ่วงนั้น บ่วงที่กลางทะเล บ่วงเล็กๆ อันหนึ่ง ถ้ามันโผล่ขึ้นมานั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ นี่การเกิดเป็นมนุษย์แสนยากนั้นท่านเปรียบเทียบไง

แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริง ผลของวัฏฏะๆ การเกิดเป็นมนุษย์มันต้องมีมนุษย์สมบัติมนุษย์สมบัติ เรามีศีล ๕ นี่แหละ เรามีศีลมีธรรมนี่มนุษย์สมบัติ ถ้ามีมนุษย์สมบัติแล้ว มนุษย์สมบูรณ์แล้วเราถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พอเกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาแล้วเกิดมาแล้วยังต้องมาทุกข์มายาก มันทุกข์ยากเพราะเหตุใด มันทุกข์ยากเพราะเป็นความจริงไง มันเป็นสัจจะ มันเป็นความจริงไง ถ้าเป็นความจริง จะเป็นคนดี คนดีเพื่ออะไร

กุศล-อกุศลทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่เวลาเราทำคุณงามความดีของเรา เราบอกเราทำคุณงามความดีแล้ว ความดีไม่เห็นตอบสนองเราเลย

ความดีเห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ความดีคืออะไรล่ะ ความดีคือพระโพธิสัตว์สร้างบุญญาธิการมาสมบูรณ์แล้วสมบูรณ์แล้วนะเวลาเกิดแล้ว เกิดมาในสังคม พระเจ้าสุทโธทนะก็อยากจะให้เป็นจักรพรรดิๆ ตัวเองก็พยายาม นี่ยมทูตก็มาแสดงตน มาชักนำตลอดเวลา นี่บุญกุศลๆ ทำ

นี่ไง เวลาออกมาบวชแล้ว ๖พรรษา รื้อค้นๆเพราะว่าสังคมโลกเขาเป็นแบบนั้น โลกเขาอยู่กันด้วยการสรรเสริญโลกธรรม ๘สรรเสริญเยินยอปอปั้นกัน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทรมานตนกับเขา เขายังเยินยอปอปั้นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเหมือนเราแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เอากับเขา นี่เรื่องโลกเป็นอย่างนั้นทั้งนั้นน่ะ แต่เสร็จแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง รื้อค้นตรงไหนล่ะ

รื้อค้นตั้งแต่ระลึกถึงโคนต้นหว้า ระลึกถึงโคนต้นหว้านะ เรากำหนดลมหายใจอานาปานสติแล้วมีความสุข เราเอาความสุข เอาความสุข เอาความจริง แต่โลกเป็นอย่างนั้นน่ะโลกเป็นอย่างนั้นถ้าโลกเป็นอย่างนั้น เขาสรรเสริญเยินยอกัน มีจริงไม่มีจริงก็สรรเสริญเยินยอกันไป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าระลึกถึงโคนต้นหว้า ความสุขอันนั้นมันฝังใจ มันประทับใจไงกำหนดลมหายใจอานาปานสติปฐมยาม เวลาจิตสงบไปแล้ว บุพเพนิวาสานุสติญาณมัชฌิมยามได้จุตูปปาตญาณ สิ่งที่ว่าปัจฉิมยาม สิ้นสุดแห่งทุกข์ สิ้นสุดนี่อาสวักขยญาณอาสวักขยญาณความจริง ทำดีทำอย่างนี้ไง

ว่าทำคุณงามความดีแสนยาก ทำคุณงามความดีแสนยากทีนี้เวลาเราเกิดมาแล้ว คุณงามความดีมันก็อยู่ที่วุฒิภาวะของคน วุฒิภาวะของคน คนที่ทุกข์ที่ยากมา สิ่งใดก็บีบคั้น

เวลาพระเราออกธุดงค์ ไม่อดไม่อยาก ไม่ทุกข์ไม่ยาก เวลามันอดมันอยาก อู้ฮู! มันทุกข์มันยากไปหมดเลย แต่เวลาเรามีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์ ดูสิบวชแล้วก็มีความสุขสบายขึ้นมาทำไมเราต้องไปธุดงค์ ไปอดไปอยาก ไปทุกข์ไปยาก

เวลามันอดอยู่ในป่าในเขามันอดนะ เวลามันทุกข์มันยากขึ้นมามันคิดถึงเลยเพราะมันอดมันอยากมันถึงทุกข์มันถึงยาก ก็อยากจะเห็นทุกข์ไงอยากจะรู้จักทุกข์ไง แต่ก็รู้ไม่ได้ รู้ไม่ได้หรอก รู้ไม่ได้เพราะอะไร เพราะว่าวุฒิภาวะมันไม่ถึงไง วุฒิภาวะไม่ถึง

ถ้าวุฒิภาวะมันดี ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบแล้วมันไปเห็นความทุกข์อันนั้นมันเป็นอนิจจังความทุกข์ เห็นไหม ความทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่และทุกข์ดับไป มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันเป็นธรรมดาของมันอยู่อย่างนั้น แต่เวลาเราทุกข์เรายาก มันบีบคั้นความทุกข์อันนั้นมันฝังใจมาก ใครมีสิ่งใดที่ฝังใจมาจะฝังใจอย่างนั้นมาก

นี่พูดถึงว่าเวลาเราจะทำความดี เป็นคนดีเป็นแสนยาก แล้วเราจะทำบุญล่ะ เวลาทำบุญขึ้นมาเทวดาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เราควรทำบุญที่ไหน”

“ควรทำบุญที่เธอพอใจ”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉลาดมาก“เธอควรทำบุญที่เธอพอใจ” คำว่า“พอใจ” คือมันพอใจ มันปลื้มใจมันทำได้ ถ้ามันไม่พอใจมันขัดแย้งไง ถ้าพระจะดีขนาดไหน แต่มันโต้แย้ง “ไม่ดีๆ”

ไม่ดีในมุมมองของเขา มันไม่ได้ดีเพราะพระดีหรือพระไม่ดีเพราะเอ็งไม่มีกึ๋นที่จะไปรู้ว่าพระดีหรือพระไม่ดีหรอก แต่ในมุมมองของเอ็ง เอ็งพอใจใช่ไหม ถ้าเอ็งพอใจ เอ็งควรทำบุญที่นั่น แต่เวลาทำไปแล้วมันจริงหรือเปล่าล่ะ ถ้ามันจริงหรือเปล่า เวลาเราเข้าไปใกล้ชิด เราจะรู้

ศีล ศีลจะรู้ได้เมื่อพระอยู่คลุกคลีกัน ถ้าเราคลุกคลีกัน เราอยู่ด้วยกัน เราจะรู้เลยว่าศีลสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

ธรรม ธรรมเวลาจะรู้ได้ต่อเมื่อท่านแสดงธรรม อ้าปากออกมาทั้งหมดล่ะ หลวงตาท่านบอกไว้เวลาเทศนาว่าการมีความรู้สึกนึกคิดเท่าไรออกหมด

เวลาเราคุยกันทางโลกใครพูดมาก คนนั้นก็บกพร่องมากเพราะมันพูดมากเท่าไรมันก็โชว์ความรู้สึกนึกคิดออกมาทั้งนั้นน่ะไอ้คนที่รับฟังๆ เรารับฟังเพื่อประโยชน์กับเรารับฟังแล้วไม่มีปัญญา เราก็รู้ไม่ได้อีกแหละว่ามันจริงหรือไม่จริง

แต่ถ้ามันจริง เวลาจริง “ควรทำบุญที่ไหน”

“ควรทำบุญที่เธอพอใจ”

เขาพอใจกัน วุฒิภาวะเขาแค่นั้น เขารับรู้ได้แค่นั้น โลกเขาเป็นแค่นั้น เห็นไหม เราดูสังคมสิ สังคมความรู้มันแตกต่างหลากหลายนัก แม้แต่หัวใจของเรามันยังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นเวลาคนทำสิ่งใดเขาทำสิ่งใด มันเหมือนผู้ใหญ่มองเด็ก เราเป็นผู้ใหญ่ใช่ไหม เราต้องการให้เด็กเป็นคนดีเหมือนเราหมดมันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นไปตามวัย วัยของเขาเป็นอย่างนั้นเขามีความสุขของเขา วัยเด็ก วัยแรกเกิด เขาจะมีความสุขของเขา พ่อแม่ก็ต้องทำมาหากินบากบั่นมาเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตเขาขึ้นมา พอมันโตขึ้นมา โตขึ้นมาก็ไร้เดียงสา ความไร้เดียงสามันสะอาดบริสุทธิ์ พ่อแม่ก็เป็นห่วงเป็นใยทั้งนั้นน่ะ พยายามจะให้มีปัญญาให้เท่าทันสังคมเพื่อให้อยู่ในสังคมนั้นได้

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของคนถ้ามันวุฒิภาวะแค่นั้น เขาชอบของเขาอย่างนั้น บางคนเขาชอบระดับทานของเขา เขาได้ทำทาน พอไปทำทาน ไปวัดไปวา คนทำทานแล้วมีคนยกย่องสรรเสริญ เขาพอใจแค่นั้น ถ้าเขาพอใจแค่นั้นนั่นก็บุญกุศลของเขามีแค่นั้น

แต่ของเราเราทำทาน เราก็อยากทำทาน เราก็อยากช่วยเหลือสังคมทั้งนั้นน่ะสังคมที่ไหนมันขาดตกบกพร่อง เราก็อยากจะให้ความบกพร่องนั้นพออยู่ไปได้ ฉะนั้น ถ้าเขาทำคุณงามความดีของเขาก็เป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เรามองเด็ก

แต่ความดีมีทานร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ถือศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับเกิดสมาธิขึ้นหนหนึ่ง สมาธิสัมมาสมาธินะสมาธิมีร้อยหนพันหนไม่เท่าเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมาหนหนึ่ง เห็นไหม ระดับของทานอย่างนั้นมันยังจะต้องบากบั่นถ้าเอาความจริง

คำว่า“มนุษย์สมบัติ” เพราะอะไร เพราะมนุษย์สมบัตินี้มีค่ามาก มีค่ามากๆเลย มีค่ามากๆ ดูสิเวลาหลวงตาท่านภาวนาของท่าน ไปที่หนองผือ ท่านบอกเลย ถ้ามันจะตายตอนนี้ยังไม่อยากตาย เพราะคนที่ภาวนาเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ ท่านจะรู้ถึงวุฒิภาวะของท่านเอง อย่างเช่นท่านว่าท่านหลงใหลไป ท่านก็หลงใหลไป ใครที่ภาวนาติดสมาธิก็หลงใหลไป แต่ใครพิจารณาไปแล้วเวลามันชำระล้างสังโยชน์ ๓ ตัวขึ้นไปเป็นโสดาบัน เขาจะรู้วุฒิภาวะของเขาว่าเขาเป็นโสดาบัน เพราะอะไร เพราะจิตมันรับรู้ของมันเอง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้จำเพาะตน นี่รู้จำเพาะตน จิตนี้มันจะไม่เวียนว่ายตายเกิดไปตามวัฏฏะอีกแล้ว

ถ้าพิจารณาต่อเนื่องไป ถ้ามันละ กามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลง เขาเป็นพระสกิทาคามี แล้วถ้าเขายกขึ้นสู่วิปัสสนาเขายกขึ้นสู่อสุภะได้ เขาพิจารณาของเขาได้จนชำระล้างมันขาดไปได้เขาเป็นพระอนาคามี ทีนี้พอเป็นพระอนาคามีแล้ว สิ่งใดที่มันยังไม่สิ้นสุด มันรู้ของมันได้

เวลาท่านเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาท่านบอกว่ายังไม่อยากตายๆ เพราะอะไร เพราะตายไปแล้วมันเป็นอนาคามี มันต้องไปเกิดบนพรหมมันยังต่อเนื่องไปถ้ามันสิ้นสุดแล้วตายเดี๋ยวนี้ก็ได้ตายเดี๋ยวนี้ก็ได้ คำว่า “ตายเดี๋ยวนี้” นี่ชีวิตมันมีค่าอย่างนี้ไง ถ้ามันตายตอนนี้ก็ไปเกิดบนพรหม เราไปเกิดบนพรหมแล้วไม่ใช่พรหมธรรมดาด้วยนะพรหมพระอริยเจ้าพระอนาคามีไปเป็นพรหมแล้วมันจะสุกไปข้างหน้าจะเป็นพระอรหันต์ไปข้างหน้าเลย ยังไม่อยากเลย ยังไม่ยอมไปเลยนะอยากจะให้มันสิ้นสุดที่นี่ๆ นี่สภาวะของมนุษย์ แล้วสภาวะของมนุษย์มันสำคัญ สำคัญตรงไหน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกในบรรดาสัตว์ ๒เท้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์จะมาตรัสรู้ในภพของมนุษย์ เพราะภพของมนุษย์มันเป็นภพที่ชัดเจนชัดเจนเพราะอะไรเพราะเราต้องบากบั่นตรากตรำทำมาหากินกัน บากบั่นทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีวิต เลี้ยงชีวิตเลี้ยงธาตุขันธ์นี้ไว้ แล้วธาตุขันธ์นี้สิ่งที่มีคุณค่าที่สุดคือความรู้สึก คือหัวใจของคนหัวใจของคน

เวลาเราทำมาหากินกัน เราก็ทำมาหากินเพื่อโลกธรรม ๘ เพื่อโลก ให้สังคมสรรเสริญ ยกย่องสรรเสริญให้ชาติตระกูลของเรามั่นคง เรามองกันได้แค่โลกนี้ไง เราอยากให้มีจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเราเป็นคนสำคัญเราเป็นรัฐบุรุษ เราเป็นคนมีชื่อเสียงในสังคมนี้

นี่ไง สิ่งนี้เราต้องบากบั่นหากินมา หาปัจจัยมาเพื่อดำรงชีวิตแต่สิ่งที่มีค่าคือความรู้สึกอันนั้นถ้ามีความรู้สึกอันนั้น คนที่จะมีความประพฤติปฏิบัติคนที่จะมีอริยทรัพย์ขึ้นมาได้เขาต้องเห็นคุณค่าของชีวิต ฉะนั้น คนที่เห็นคุณค่าของชีวิตเขาเป็นสุภาพบุรุษ เขาเป็นคนซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์กับตัวเอง ทำมาหากินก็ทำมาหากิน แต่ทำมาหากินแล้วมันยังอยากจะประพฤติปฏิบัติ

เราจะบอกว่า คนที่จะมีคุณธรรมได้เขาไม่ได้คิดเหลวไหลเขาไม่ได้คิดตัดช่องน้อยแต่พอตัวเขาไม่ได้คิดว่าเขาจะเอาตัวรอดไม่ใช่ ไม่ใช่ แต่มันเป็นหนทาง ดูสิเวลาเราถือศีล ศีล๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล๒๒๗ ทำไมศีลมันต้องบากบั่น ต้องมากขึ้น เวลาถือศีล ๒๒๗ แล้วยังมีธุดงควัตรเข้าไปอีก ศีลในศีลมันยังละเอียดเข้าไปอีก แล้วพระปฏิบัติของเราจะมีความมุ่งมั่น มีความพยายามของเรา ทำขึ้นไป

จะบอกว่าเวลาทำคุณงามความดี เป็นคนดีก็เป็นได้แสนยากเพราะอะไร เพราะว่าโลกธรรม ๘ มันเหนี่ยวรั้งเราไว้ตลอดเวลาแหละแต่เราต้องมีสติเราจะมีวุฒิภาวะ มีวุฒิภาวะเขาเรียกผู้นำ ผู้นำเขาจะพาสังคมไปทางไหนเขาจะพาสังคม เขาจะพยายามโน้มน้าวเอาสังคมนั้นให้มีหลักมีเกณฑ์ได้

จิตใจของเรา ความรู้สึกนึกคิดมันร้อยแปดมันโหมกระหน่ำในใจเราตลอดเวลาถ้าเรามีสติปัญญาโลกธรรม ๘ ในพระไตรปิฎกบอกไว้ว่า เวลาพระอานนท์ไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไงว่าเวลาคนไปสวรรค์ไปเท่าไรคนอยู่ในนรกเท่าไร

ขนโคกับเขาโค โค ๑ ตัวจะมีเขา ๒ เขา ขนเต็มตัว คนทำคุณงามความดีแค่เขาโคเขาโคมี ๒ เขา คิดดูสิ แล้วขนมันเท่าไร

นี่ก็เหมือนกัน คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก ถ้าคนโง่มาก คนโง่มากเขาก็ไปตามประสากระแสของเขา ไปตามธาตุขันธ์ของเขา ไปตามธาตุ ไปตามความพอใจของเขา ถ้าเราเป็นคนฉลาด เราเป็นคนฉลาด เราเป็นเขาโค เราไม่ใช่ขนโคขนโคกับเขาโคมันแตกต่างกันอยู่แล้ว วุฒิภาวะของใจที่มันจะเข้มแข็งขึ้นมา มันจะเข้มแข็งขึ้นมาได้อย่างไร

เรามีครูบาอาจารย์เป็นที่เกาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลามีพระดำรงชีพอยู่ ถ้ามีสิ่งใดมีแต่คนเข้าไปถามว่าควรทำอย่างไร ควรทำอย่างไร แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้วทำอย่างไรล่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้วเขาก็ถามลูกศิษย์ลูกหานะ

ดูพระเจ้าอโศกมหาราชเวลาถามพระติสสะอาจารย์ของท่านว่าควรทำอย่างไร ควรทำอย่างไร ควรทำอย่างไรเพราะว่าท่านเกิดไม่ทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระเจ้าอโศกมหาราชเกิดตอนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วพระติสสะเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอโศกฯ นี่เขาทำคุณงามความดีๆ ไง ถ้าเราเจอครูบาอาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่มีความเห็นถูกต้องเขาทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ของเรา เราถ้ามันไม่มีที่พึ่งๆ เราก็รักษาใจเรา ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแยกแยะคัดแยกเอา เราจะเอาคุณงามความดีๆของเรา

เวลาบอก“พระภาวนาก็เห็นแก่ตัว ก็บอกว่านั่งสมาธิภาวนาอย่างอื่นเป็นของหยาบๆ”

การภาวนานั่นล่ะถ้าจิตใจมันวอกแวกวอแวมันภาวนาไม่ได้หรอกศีล ข้อวัตรปฏิบัติมันต้องปูพื้นมาอย่างเรา เห็นไหมความลับไม่มีในโลกหรอก ใจดวงใดก็แล้วแต่ ถ้ามันบีบคั้นตัวมันเองมันภาวนาได้ไหมใจ ใจดวงนั้น ใจดวงที่จะภาวนาเขาต้องมีพื้นฐานมาเขาต้องมีทาน มีศีลมีภาวนามาสมควรเขาจะทำของเขาได้ เว้นไว้แต่โมฆบุรุษไง เวลาแอบทำ เวลาทำก็หน้าชื่นตาบานไง แต่ในใจมันเศร้าหมอง

แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมาพื้นฐานมันต้องมีมาก่อนไง พอพื้นฐานมีมา เพราะว่าความลับไม่มีในโลก ใจสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าสะอาดบริสุทธิ์ในทางศีลทางธรรม คือไม่มีอกุศลต่างๆ มันถึงจะภาวนาได้ไง มันไม่เป็นนิวรณธรรมกางกั้นสมาธิ กางกั้นปัญญาขึ้นมา

ฉะนั้นบอกว่า ถ้าเราเป็นคนดีก็เป็นคนดีได้ยากแล้ว แล้วจะทำคุณงามความดีเข้าไปอีก เขาบอกว่าเราเป็นคนโง่ เราเป็นคนไม่ฉลาด คนที่ฉลาดเขาต้องหาผลประโยชน์ของเขา

ผลประโยชน์ถ้ามันเป็นมาโดยธรรมเราก็แสวงหาของเราโดยธรรม โดยสัจจะ โดยความเป็นธรรม แล้วถ้าเราทำของเราก็ทำเพื่อชีวิตของเรานี่ไง บอกว่าในเมื่อเราต้องสัมมาอาชีวะ เราต้องหาเลี้ยงชีพมาอยู่แล้วเลี้ยงชีพมันเป็นความทุกข์ความยากอยู่แล้ว แต่เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติมันทุกข์ยากมากกว่าเพราะมันต้องเอาชนะตนเองให้ได้ มันต้องเอาชนะใจเราให้ได้ ถ้าเราเอาชนะใจเราได้พอใจเราสุข มันไม่มีขายในท้องตลาดไง

ในทางโลกธุรกิจบริการ มีเงินแล้วซื้อได้ทุกอย่างแต่เวลาสติ สมาธิปัญญา มันหาซื้อไม่ได้ มันหาซื้อไม่ได้ เวลาฝึกหัดขึ้นมามันยังมีโลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา เวลามีสติมีมหาสติ มีปัญญามีมหาปัญญา แล้วมีปัญญาอัตโนมัติสิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาจากไหน ท้องตลาดไม่มีขาย แต่มันฝึกหัดพยายามดัดแปลงตนขึ้นมาในใจแล้วมันได้ขึ้นมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้โดยมรรค ๘ นะ อาสวักขยญาณ สิ่งที่ว่าชำระล้างอวิชชาเราผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราก็ต้องมีอย่างนั้นนะ เวลาเราปฏิบัติกัน เราจะมีศีล สมาธิปัญญาสมบูรณ์แบบนั้น แล้วศีลสมาธิ ปัญญาที่สมบูรณ์ขึ้นมาในหัวใจ เรากล้าคิดถึงไหม บางทีบอกว่ามันสุดเอื้อม เราทำไม่ได้เลยแหละ

แต่ถ้าเราทำขึ้นมานะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างใด ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมก็จะมีปัญญามีดวงตาเห็นธรรมแบบนั้น เพราะพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ดูสิองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับอัครสาวกก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน มีมรรคมีผลเหมือนกันหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราก็มีมรรคมีผลเหมือนกัน เราจะทำใจของเราให้เป็นแบบนั้น แล้วมันมีคุณค่าที่ไหนล่ะ ถ้าเรามีคุณค่ามาก เห็นไหม

“ควรทำบุญที่ไหน”

“เธอควรทำบุญที่เธอพอใจพอใจที่ไหนทำที่นั่น”

แต่ถ้าจะเอามรรคเอาผลล่ะ

จะเอามรรคเอาผลต้องมีการแสวงหา ต้องมีการแยกแยะต้องมีการกระทำด้วยหัวใจของเราสิ่งใดเป็นมิจฉาทิฏฐิ สิ่งใดเป็นสัมมาทิฏฐิ สิ่งใดเป็นระดับของทาน

เวลาระดับของศีล เรื่องของทานมันก็หยาบเกินไปแล้ว เรื่องของศีล ศีลนี่ความปกติของใจ แล้วเรื่องของปัญญาล่ะนี่ระดับของมันแตกต่างหลากหลาย มรรค ๔ ผล๔ โสดาปัตติมรรคสกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มันก็แตกต่างกัน หยาบละเอียดแตกต่างกัน

ถ้าทำบุญเธอควรทำบุญที่เธอพอใจ แต่ถ้าเธอจะเอาผล เอาผล เอาการประพฤติปฏิบัติมันต้องเอาตามความเป็นจริงแล้วถ้าตามความเป็นจริงมันจะมีปัญญา มันจะรู้สิ่งใดควรและไม่ควร

สิ่งใดไม่ควร เห็นไหมเหมือนเราเป็นผู้ใหญ่ เรามองเด็กเด็กเขาทำคุณงามความดีของเขาประสาเด็กๆ เราก็ปรบมือให้เขา เราก็ดีใจกับเขาเพราะเขายังทำคุณงามความดีของเขาอยู่ วุฒิภาวะเขาได้แค่นั้นเขาจะขึ้นมาสูงอย่างนั้นไม่ได้ ก็ต้องไว้อย่างนั้น แต่ในตัวของเรา ในวุฒิภาวะของเราในใจของเรา เราจะต้องแสวงหาของเราเพื่อประโยชน์กับเราเอวัง