ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ธาตุรู้

๒๗ ก.ย. ๒๕๕๘

ธาตุรู้

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “จิต

กราบเรียนถามหลวงปู่ครับ เรื่องจิต เมื่อเข้าถึงความเป็นจิตที่บริสุทธิ์แล้วอาการของสิ่งภายนอกหมายถึงธรรมารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบกับจิต เมื่อไม่ยินดียินร้าย คือปล่อยวางทั้งหมดแล้ว จิตเข้าถึงความเป็นอนัตตาแล้ว เมื่อจิตหลุดจากสิ่งหยาบและสิ่งละเอียดทั้งหลายแล้วเข้าสู่นิพพิทา จิตเป็นแค่จิตอยู่อย่างนั้น ไม่มีอะไรเลยครับ กราบเรียนถามหลวงพ่อ

ตอบ : โอ้โฮฟังแล้วทึ่งหมดเลยนะ ถ้าใครฟัง อู้ฮูสุดยอดเลย แสดงว่าเข้าใจหมดแล้ว วางหมดแล้ว เกิดนิพพิทา เกิดความเบื่อหน่าย แล้วเป็นอะไร ก็ถามหลวงพ่อไง เกิดเป็นอะไรครับ ก็ถามหลวงพ่อนี่

อภิธรรมเป็นแบบนี้ เรียนกัน สอนกัน ท่องกัน จำกัน จำกันเท่านั้น แล้วพอจำเสร็จแล้ว พอจำได้แล้วก็สร้างภาพ เข้าใจหมดเลย “อาการของจิต จิต ในเมื่อเข้าถึงธรรมารมณ์แล้ว จิตเป็นจิต ไม่มีความยินดียินร้าย ปล่อยวางทั้งหมด จิตเข้าถึงความเป็นอนัตตา เมื่อจิตหลุดออกไปแล้ว จิตไม่มีสิ่งใดเข้าสู่ความละเอียด เข้าสู่นิพพิทา จิตเป็นแค่จิต จิตเป็นแค่จิต

ถ้าพูดอย่างนี้มันพูดได้ทั้งนั้นน่ะ มันก็เหมือนเราเรียนจบ เราท่องทฤษฎีได้เราก็ท่องได้ทั้งนั้นน่ะ พอท่องได้แล้วเราพยายามสร้างภาพให้เป็นแบบนั้น

กรณีนี้นะ มันเป็นกรณี เราถึงบอกว่า พูดแล้วมันเหมือนกับว่าเราพูดแล้วเราจะไปโต้แย้งเขา พูดแล้วมันน่าเสียใจ มันน่าสงสาร มันน่าสงสาร มันน่าเห็นใจนะเพราะอะไร เพราะว่าหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เวลาท่านรื้อค้นของท่าน ท่านไปหมดแล้วเวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดกัน ท่านบอกประเทศพม่าหนักไปทางอภิธรรมหนักไปทางอภิธรรม

เวลาเราค้นคว้ากันทางวิชาการ เราบอกว่าเมืองไทยเป็นทุนนิยม ศาสนาพุทธในเมืองไทยเป็นศาสนาพุทธทุนนิยม พอทุนนิยม พูดถึงเรื่องการทำบุญกุศล เรื่องทุนนิยมทั้งนั้นน่ะ เรื่องสินค้า เรื่องการแลกเปลี่ยน

แต่พม่าเขายังอยู่ของเขา พอใครไปพม่าแล้วจะชื่นชมมากว่าศาสนาพุทธซึมลึกเข้าไปในสายเลือดของชาวพม่า ชาวพม่าเขาจะไปทำงาน เขาก็ไปแวะวัดก่อนไปกราบพระ ก่อนจะกลับบ้าน เขาก็ไปแวะวัด แล้วไปกราบพระ แล้วค่อยกลับบ้านศาสนาซึมเข้าไปในสายเลือดของเขา นี่เป็นศรัทธาไง ศรัทธาเป็นสายเลือด อย่างนี้ดีไหม ดี ถ้าพูดถึงศรัทธาความเชื่ออย่างนี้ถูกต้องดีงาม

แต่เวลาที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาประพฤติปฏิบัติ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมถึงเป็นศาสดา มีพระพุทธกับพระธรรมเท่านั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เป็นสงฆ์องค์แรกของโลก มีดวงตาเห็นธรรมคือสัจธรรมในหัวใจนั้นมันกังวานขึ้นมาไง มันรู้จริงไง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดาโดยความเป็นจริงในใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ

ไม่ใช่พระอัญญาโกณฑัญญะไปเรียนธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วท่องจำได้ แล้วอธิบายได้เป็นทฤษฎีได้ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา การเกิดดับเป็นธรรมดา ทุกคนอธิบายได้หมดแล้วพวกนักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ดีด้วย

ฉะนั้น เวลาไปเรียนอภิธรรม เขาเรียนมา เขาเรียนมาให้ปฏิบัติ เวลาปฏิบัติขึ้นมา พอเวลาจะปฏิบัติขึ้นไปก็บอกว่า “กรรมฐาน พุทโธ พุทโธนี้พวกติดสมาธิ พุทโธนี้ติดนิมิต พุทโธนี้ไม่ใช้ปัญญา

พุทโธไม่ใช้ปัญญานะ แต่ถ้าพุทโธแล้วจิตสงบแล้วนะ มันจะไปรื้อค้นนะ ถ้าเห็นสติปัฏฐาน  ตามความเป็นจริง มันจะเห็นกิเลสนะ

ไอ้นี่เวลาพูดถึงท่องศัพท์ ท่องได้หมดเลย สร้างจินตนาการได้หมดเลย มันเป็นธาตุรู้ จิตมันก็เป็นแค่จิต มันไม่มีสิ่งใดเลย แต่กิเลสเป็นอย่างไรล่ะ กิเลสเป็นอย่างไร มันก็เหมือนทฤษฎี เหมือนวิทยาศาสตร์ที่เราเข้าใจได้ แล้วทำอย่างไรต่อแล้วสร้างอารมณ์ได้นะ เวทนาเราก็รู้ ทุกข์ ทุกขเวทนา อ้าวถ้าสุขนี่สุขเวทนา เราก็ท่องได้ เราก็รับรู้ได้ แล้วกิเลสมันคืออะไรล่ะ กิเลสมันคืออะไร

นี่ก็เหมือนกัน รู้ตัวทั่วพร้อม ขยับนี่รู้เท่าทันหมดเลย เราถึงบอกว่านี่สตัฟฟ์จิตไว้ไง เอาจิตสตัฟฟ์ไว้ รู้กิริยาของมันหมด รู้การเคลื่อนไหวหมด แล้วกิเลสเป็นอย่างไรล่ะ แล้วกิเลสมันอยู่ไหนล่ะ

คือมันไม่เห็นกิเลส มันไม่รู้จักกิเลส มันไม่รู้จักกิเลส มันสร้างให้จิตมันเป็นแบบนั้น สร้างภาพให้เป็นแบบนั้น แล้วสร้างภาพเป็นแบบนั้นแล้วเป็นอย่างไรต่อ

นี่ไง เพียงแต่ว่า ที่พูดนี้เพราะปัญหานี้พูดมาเยอะ ทีนี้เพียงแต่ว่าผู้ถามอีกแล้ว วันนี้เป็นผู้ถามอีกแล้ว เพราะผู้ถามเป็นเด็กไง เขาเรียกหลวงปู่เลยล่ะ เรียกหลวงปู่ แสดงว่าเด็กเพิ่งหัดใหม่ มันก็วุฒิภาวะไง วุฒิภาวะยังด้อยอยู่ มันเข้าใจอยู่ พอเข้าใจแล้ว อย่างพวกเราเด็กๆ นะ อย่างเช่นถ้าคนไม่เคยมาวัดนี้ มาเจอตอนเช้าก็งงแล้ว โอ้โฮหูตาพองหมดเลยนะ

ไอ้นี่แค่ศรัทธา แค่ทาน เขามาทำทานกัน เขามาทำทานมันก็ต้องดูความเป็นไปของวัด เสร็จแล้ว เขามาวัดแล้ว เขาถึงวัดนะ เขาสงบเสงี่ยมของเขา แบบว่าวัดความสงบระงับในใจ ถ้าความสงบระงับในใจ หลวงตาท่านใช้คำว่า “คึกคะนอง” เวลาพระเล่นกันหยอกกัน เขาว่าคึกคะนอง ถ้าจิตมันคึกคะนองมันก็แสดงออกโดยความคึกคะนอง

ถ้าจิตมันร่มเย็นเป็นสุขนะ จิตมันก็แสดงออกด้วยความร่มเย็น คนที่มีคุณธรรมนะ การเหยียด การคู้ การเดิน เขามีสติ เหมือนเสือ เหมือนราชสีห์ มันมีสติ มันระวัง ดูเสือ ดูราชสีห์มันเดินสิ มันระวังภัยตลอด มันย่างก้าวแต่ละย่างก้าวแล้วสติมันพร้อมหมด นักปฏิบัติเป็นแบบนั้น ถ้านักปฏิบัติเป็นอย่างนั้น เข้ามานะถ้าเข้ามาเห็นการย่างการก้าว ความสติพร้อมอย่างนั้น เราว่า เออเราว่ามันจะดีขึ้นไง

เวลาเข้ามาวัด เห็นก็ตาพองเลย อู้ฮูคนเยอะมาก แล้วถ้าเข้ามาแล้วคนเขายังมีสติปัญญา เขายัง โอ้โฮนี่แสดงว่าหัวหน้าดี ถ้าหัวหน้าดีนะ จะสอนให้ลูกศิษย์ลูกหามีสติปัญญา

ถ้าหัวหน้าสำมะเลเทเมา กูก็เมานะ เมาในอารมณ์ไง “อู๋ยเขาศรัทธากูเยอะเว้ย เออเยอะเว้ย” ก็เมาด้วยกันไง หัวหน้าก็เมาใช่ไหม วัดนั้นก็สำมะเลเทเมาโอ๋ยสนุกครึกครื้น สรวลเสเฮฮา

หลวงตาท่านว่าจิตคึกคะนอง จิตคึกคะนองมันถึงแสดงออกมาเป็นแบบนั้นถ้าจิตมีสติ สงบระงับ มันจะไม่แสดงกิริยาแบบนั้น ถ้าไม่แสดงกิริยาแบบนั้น ถ้ามอง มันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา เราจะเห็น อ๋อใช่ ถ้าวัดดีต้องดีอย่างนี้

ดีระดับของทาน ทาน เราห้ามไม่ได้ใช่ไหม เพราะเป็นชุมชน ชุมชนมาทำบุญพร้อมกัน มันก็ต้องมีเสียงกระทบเป็นเรื่องธรรมดา เราก็รับรู้ได้ แต่พอระดับเข้ามาในวัดแล้วมีความสงบเสงี่ยม มีความระลึกรู้ แสดงว่าจิตเขาไม่คึกคะนองจนเกินไป เพราะจิตไม่คึกคะนอง เวลาไปนั่งสมาธิ มันก็จะเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น ถ้าผู้ที่ใช้ปัญญา

คำว่า “นั่งสมาธิๆ” ทำสมาธิอย่างเดียวเลยหรือ

นั่งสมาธิให้จิตมันสงบ ถ้าจิตสงบ จิตตามความเป็นจริง เวลามันยกขึ้นสู่ปัญญา มันจะเป็นปัญญาความเป็นจริง แล้วพอปัญญา คำว่า “ปัญญาความเป็นจริง” เพราะมันเห็นสติปัฏฐาน  ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นสติปัฏฐาน  ตามความเป็นจริง มันจะเห็นกิเลส

กิเลสมันคืออะไร กิเลสมันหลอกไง กิเลสมันหลอกเรา “นี่ของเราๆ” แล้วก็เรารู้ธรรม เราปฏิบัติธรรม เราเข้าใจธรรม” เรา พอเผลอแล้วเราหายเลย เราหายเลย เอ้ยเมื่อกี้ทำอะไร ลืม รู้ธรรมอยู่นะ แล้วลืมๆ

ถ้าลืมนี่มันไม่ใช่ความจริงแล้ว ลืมคือสัญญา คือความจำไง ความจำ เดี๋ยวจำได้ เดี๋ยวก็ลืม ความรู้แล้วเดี๋ยวจำได้ เดี๋ยวก็ลืม ไอ้นี่ก็เหมือนกัน รู้ตัวทั่วพร้อมนะ สติพร้อมเลยนะ ชัดเจนเลย เกิดดับ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แล้วทำอย่างไรต่อ ทบทวนๆ ต้องกลับไปทบทวนๆ แล้วกิเลสมันอยู่ไหนล่ะ นี่ไง อภิธรรม

จะบอกว่า อภิธรรมมันเป็นปริยัติ มันเป็นทฤษฎีที่ท่องจำกิริยาของจิต กิริยาของจิต จิตที่มันเคลื่อนไหว ถ้าจิตเคลื่อนไหว แล้วความเคลื่อนไหว เห็นไหม เท้าซ้าย เท้าขวา แขนซ้าย แขนขวา ขยับตัว นี่มันรู้เท่าทัน แล้วกิเลสมันคืออะไรล่ะกิเลสมันคืออะไร กิเลสเป็นอย่างไร ไม่รู้จักหรอก

แต่ครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม เขาบอกว่า ถ้าพูดถึงที่เขาพูด ไม่ยินดียินร้าย

ไม่ยินดียินร้ายก็วัตถุไง ธาตุรู้นะ ธาตุรู้ เวลาเข้าไปฐีติจิต จิตผ่องใส สักแต่ว่ารู้ มันรู้ในตัวมันเอง ไม่ส่งออก ไม่รับรู้อะไรเลย รู้ตัวมันเอง ถ้ารู้ตัวมันเอง

เขาบอกว่า มันละเอียดเข้าไป มันปล่อยวาง เห็นอนัตตา เห็นอนัตตา ความเป็นอนัตตาแล้ว จิตหลุดแล้ว

อนัตตาเป็นอย่างไร ถ้าอนัตตาเป็นนะ ถ้าเป็นอนัตตาจริง เกิดนิพพิทานะ จิตเป็นแค่จิต จะรู้เลย จะบอกได้ว่าถ้ามันเป็นนิพพิทา จิตมันเป็นแค่จิตตรงไหน

เวลาหลวงตาท่านสอนนะ เวลาสอน ท่านพิจารณาเวทนา พอพิจารณาเวทนาถึงที่สุดแล้ว เวลาเราพิจารณากาย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วจิตมันรวมลง จิตเป็นจิตอย่างไร จิตมันปล่อยอย่างไร ถ้าจิตมันเป็นความจริงนะ

ดูสิ เราเป็นปุถุชน ปุถุชน เราเป็นมนุษย์ มนุษย์คนหนา มนุษย์ที่มีกิเลส แล้วเวลาถ้าจิตสงบแล้ว ยกขึ้นเป็นกัลยาณปุถุชน ยกขึ้นสู่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตเห็นธรรมตามความเป็นจริง เป็นบุคคล  คู่ บุคคลคู่ที่  คู่ที่  คือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล คู่ที่  คือสกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล คู่ที่  คืออนาคามิมรรค อนาคามิผล คู่ที่  คืออรหัตตมรรค อรหัตตผล นี่บุคคล  คู่ จิตอันเดียวมันเปลี่ยนแปลงขึ้นไป

แต่นี่พอจิตเป็นจิต จิตคือจิต...ก็แสดงว่าไม่ได้ทำอะไรเลย จิตเป็นจิตก็เท่าเก่าไง อ้าวแล้วเป็นอะไรล่ะ บุคคล  คู่ก็ไม่รู้จัก อะไรก็ไม่รู้เรื่อง มันก็เป็นแค่ธาตุรู้ไงก็เป็นแค่วัตถุไง มันก็แค่วัตถุ

จิตมันละเอียดกว่านั้น จิตมันเป็นได้มากกว่านี้

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์เราสอนถึงไม่สอนแบบนี้ นี่ไง กรณีนี้ถ้าครูบาอาจารย์ที่เป็นนะ เวลาเราฟังครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านคุยกัน เรื่องที่เขาบอกว่า ถ้าทางพม่าเขาหนักไปทางอภิธรรม หนักไปทางอภิธรรม คือถ้าภาษาถ้าจะพูดกันแบบกรรมฐาน ก็หนักไปทางท่องจำจิต ท่องจำน่ะ ท่องจำ ท่องจำก็กิริยา เวลาเขาปฏิบัติกันด้วยความภูมิใจนะ เขาเรียกประชุมสภา ด้วยความเคารพ ประธานที่เคารพ ด้วยความเคารพอภิธรรม ด้วยความเคารพ ไม่ได้พูดด้วยความติฉินนินทาพูดด้วยความเคารพนะเนี่ย พูดด้วยความเคารพว่ามันเป็นอย่างนี้ ไม่ได้ติฉินนินทา ไม่ได้กล่าวร้าย ไม่ได้โจมตี พูดด้วยความเคารพ มันก็เป็นการท่องจำจิตแต่เขาภาวนาไม่เป็น ไม่มีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง

แต่หลวงปู่มั่นท่านรู้จริง ท่านบอกว่า จิตนี้หลากหลายนัก เป็นทางดีก็ได้ เป็นทางร้ายก็ได้ เป็นกลางๆ ก็ได้ จิตนี้มันหลากหลาย มันเป็นได้ทุกอย่างเลย

ฉะนั้น เราท่องจำจิตมา เราท่องจำอาการของมันมา แล้วมันเป็นอย่างที่เราท่องจำไหม พอเป็นอย่างที่ท่องจำ ก็ท่องจำไง แล้วเป็นอย่างไรต่อ

เห็นไหม ครูบาอาจารย์เราที่ปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติที่มีคุณธรรมท่านจะพูดกันอย่างนี้เลยนะ อภิธรรมเขาหนักไปทางอภิธรรม ถ้าหนักไปทางอภิธรรมคือหนักไปทางปริยัติ หนักไปทางการท่องจำ แล้วพอท่องจำแล้วจิตมันก็สร้างอาการแบบนั้นแล้วคนที่ปฏิบัติเป็นอย่างนั้นจริงๆ คนที่ปฏิบัติอภิธรรมนะ “โอ้โฮมันโล่งหมดเลย มันสบาย มันสบาย อู้ฮูมันดีมากๆ เห็นพระกรรมฐานแล้วสงสาร โอ้โฮตรากตรำ พุทโธลำบาก อู๋ยปฏิบัติยุ่งมากเลย ท่องจำอย่างกูนี่ แหมมันสุดยอด

พูดด้วยความเคารพ พูดด้วยความเคารพจริงๆ ไม่ได้ติฉินนินทานะ เพียงแต่ผู้ฟังแล้วนะ ตรึกให้ดี พยายามทบทวน ทบทวนแล้วคือเราเป็นคนทำใช่ไหม ถ้าเราเป็นชาวสวน เราทำสวนแล้ว ถ้ามันได้ดอกได้ผล เราทำสวนแล้วเราจะทำสวนด้วยความประสบความสำเร็จ เราชาวสวน เราปลูกพืชพันธุ์ทุกอย่างแล้วมันไม่ออกดอกออกผล เราจะไม่ได้อะไรเลย เราเป็นชาวสวนนะ เราปลูกผักปลูกหญ้าถ้ามันได้ผักได้หญ้านั้นมา เราปลูกสวนทำสวนแล้วได้ผล ถ้าเราเป็นชาวสวนนะเราปลูกผักปลูกหญ้าแล้วมันไม่ได้ผักได้หญ้านั้นมา เราตรากตรำเหนื่อยฟรีๆ นะให้เทียบเคียงตรงนี้

นี่ก็เหมือนกัน พูดด้วยความเคารพ มันเป็นการท่องจำ ท่องจำมาแล้วมันก็สร้างภาพอย่างนั้น อาการอย่างนั้นน่ะ แล้วบอกสบายๆ...ทำไมมันจะไม่สบายล่ะ

อย่างพวกเรา เราจะทำกิจการอะไรก็แล้วแต่ เราต้องทำโครงการใช่ไหม เราต้องวิจัยใช่ไหม ต้องวิจัยตลาดใช่ไหมว่ามันจะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ใช่ไหมเราต้องลงทุนใช่ไหม เราต้องทำสินค้าทดลองให้เขาใช้ก่อนใช่ไหม แล้วถ้าเขาเชื่อใจแล้วเราถึงต้องทำสินค้าของเราให้ตามความเป็นจริงใช่ไหม

นี่การกระทำของเรา ถ้าทำความเป็นจริงมันต้องทำตามความเป็นจริงของเราอย่างนี้ แล้วถ้าทำความเป็นจริงอย่างนี้มันก็ต้องลงทุนลงแรงใช่ไหม แล้วผู้ที่ทำได้จริงมันก็ได้จริง

ไอ้นี่ของเขาคิดเองเออเอง แล้วว่าสบายๆ...มันมีมรรคมีผลตรงไหน มันเห็นกิเลสตรงไหน ฉะนั้น เวลาเห็นคนที่เขาทำความเป็นจริง โอ้โฮมันต้องตรากตรำ

ถ้าคำว่า “ตรากตรำ” นะ มันก็ตรากตรำจริงๆ นี่แหละ เพราะอะไร เพราะว่าความเพียรชอบ ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ เราจะพ้นจากทุกข์ เราต้องมีความเพียรที่เข้มข้น

เราได้ยินอยู่ เช่น สัญญา ธรรมศักดิ์ ว่าอย่างนั้นเลย สัญญา ธรรมศักดิ์เป็นลูกศิษย์หลวงตานะ สัญญา ธรรมศักดิ์ก็เป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์พระในเมืองไทยเยอะแยะไปหมด แล้วเวลาสัญญา ธรรมศักดิ์ไปคุยกับหลวงตา หลวงตาท่านก็แนะนำสั่งสอน แล้วสัญญา ธรรมศักดิ์ก็เอาคำที่หลวงตาแนะนำสั่งสอน เวลาไปหา...เอ่ยชื่อเลยก็ได้ พุทธทาส ไปบอกพุทธทาสนะ บอก “อู๋ยเขาสอนกันอย่างนี้นะ

พุทธทาสบอก “อู้ฮูเขาต้องทำถึงขนาดนั้นเชียวหรือ

แสดงว่าไม่เคยทำ ไม่เคยปฏิบัติ

เขาร้องอู้ฮูร้องอู้ฮูเรารู้แล้ว พวกนี้ไม่เคยทำอะไรเลย ก็อภิธรรมนี่ไง “ต้องปฏิบัติสบายๆ สบายมาก ไอ้พวกนี้ไอ้พวกตรากตรำ แล้วตรากตรำยังติดนิมิตด้วย โอ๋ยเห็นนิมิตแล้วไปไม่รอด อู๋ยตรากตรำ พุทโธไม่มีปัญญา

แต่พุทโธเห็นกิเลสนะ จิตสงบพอเห็นกิเลสขึ้นมา เห็นกิเลสอย่างไร พอเห็นกาย โอ้โฮขนพองสยองเกล้า ขนพองสยองเกล้าคือมันสะเทือนกิเลส ถ้าเห็นจริงนะ มันสะเทือนขั้วหัวใจเลย

สังเกตได้ ถ้าใครเห็นกายทีแรก ถ้าใครเห็นกายตามความเป็นจริง ภาษาเรานะ เหมือนช็อก ไปไม่เป็นนะ ไปไม่ถูกเลยล่ะ โอ้โฮแล้วก็หลุดมือไปเลย แล้วก็ต้องมาทำพุทโธใหม่ กว่าจะเจออีกนะ เพราะไปเจอขุมทรัพย์ไง แล้วรักษาขุมทรัพย์นั้นไม่เป็น

อย่างพวกเราวุฒิภาวะปุถุชนคนหนา ไม่มีวุฒิภาวะพอ เหมือนกับทางการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาเอกเขาก็ต้องทำวิทยานิพนธ์ เขาต้องมีองค์ความรู้มากกว่าปริญญาตรีใช่ไหม มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่เขาจะมีความรู้เท่ากับปริญญาตรี ปริญญาตรีกับปริญญาเอกมีความรู้ต่างกันแน่นอน

นี่ก็เหมือนกัน วุฒิภาวะของเราเด็กน้อย เหมือนกับเรายังจะว่าอนุปริญญาด้วย ไม่ได้ปริญญาเลยด้วย แล้วถ้าปริญญาตรีเขาพอรู้ แต่ทางวิชาการมันใหญ่มาก เห็นแล้วตกใจ พอตกใจก็ค่อยๆ มาฟื้นฟูใหม่ๆ จนกว่าจิตมันจะมั่นคงนะ พอมั่นคง พอไปเห็นกาย จับกายได้นะ โอ้โฮโอ้โฮ!

พอโอ้โฮเพราะอะไร เพราะว่ามันมีสมาธิไง เพราะจิตมันแบบว่ามันมีวุฒิภาวะพอ วุฒิภาวะพอ มันก็จับได้ พอจับได้ มันก็พิจารณาให้ขยายส่วนแยกส่วนจากอุคคหนิมิตเป็นวิภาคะ ถ้าวิภาคะก็เห็นไตรลักษณ์นี่ไง

เขาบอกว่าเห็นเป็นอนัตตานี่ไง เขาบอกว่า “เห็นเป็นอนัตตานะ พอเมื่อมันหลุดจากความหยาบไป หลุดจากความละเอียดไป เข้าสู่นิพพิทา”...ไอ้นี่พูดถึงมันเป็นการท่องมาทั้งนั้นน่ะ มันเป็นการท่อง

ด้วยความเคารพ ไม่อยากให้ศาสนากระเทือนกัน ไม่อยากให้นักบวชกับนักบวชเราทะเลาะกัน ไม่อยาก แล้วไม่ต้องการด้วย แต่โดยข้อเท็จจริง พูดด้วยข้อเท็จจริง มันต้องชี้ชัดว่าข้อเท็จจริง อะไรเป็นเท็จ อะไรเป็นจริง ด้วยความเคารพนะ ด้วยความเคารพ สงสารมนุษย์ สงสารคนปฏิบัติ สงสาร ด้วยความเคารพ ไม่ได้เหยียดหยาม เพียงแต่ว่าวุฒิภาวะมันอ่อนด้อย ไปหยิบฉวยของเขามา ไปหยิบฉวยหยิบจับมาแล้วสร้างองค์กรขึ้นมาเผยแผ่ขยายไปจนมีคนเชื่อถือศรัทธา ด้วยวุฒิภาวะที่อ่อนแออ่อนด้อย เชื่อตามๆ กันไป

กาลามสูตรไง อย่าเชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเรา อย่าเชื่อว่าเป็นความเห็นของคนที่ปฏิบัติ ให้ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง แล้วเวลาปฏิบัติไป ก็ด้วยวุฒิภาวะอีกล่ะ เพราะเวลาเขาปฏิบัติไปแล้วเขาจะมาพูดไง “พวกกรรมฐานมันเป็นบารมีขี้ทุกข์ มันต้องทุกข์ต้องยาก สู้พวกเราไม่ได้ สบายๆ อยู่ห้องแอร์” แล้วถึงเวลาก็มาส่งอาหารกันนะ แล้วตรวจสอบอารมณ์ ทดสอบอารมณ์

อารมณ์อะไร ทำไมต้องทดสอบอารมณ์ ถ้าทดสอบอารมณ์ก็เหมือนกับทางคริสต์ศาสนาใช่ไหม ให้พระเจ้าเป็นผู้พยากรณ์หรือ

ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนนะ ปฏิบัติให้จริง ถ้ารู้จริงเห็นจริง ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโกแล้วถ้าจะไปรายงานครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะเป็นคนชี้ถูกหรือผิดเท่านั้นเวลาไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ว่าถูกหรือผิด เวลาพระสมัยพุทธกาล เวลาปฏิบัติไปแล้ว ถ้าใครบอกว่าบรรลุธรรมๆ เขาจะเชิญกันไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก

เขาไม่ใช่ว่าส่งอารมณ์ๆ...อารมณ์อะไร ส่งอารมณ์มันเป็นภาระ มันเป็นภาระคนปฏิบัติไง เอ๊วันนี้ก็ส่งไปหมดแล้ว อารมณ์เท่าไรก็ส่งไปหมดแล้ว แล้วพอพรุ่งนี้จะส่งอารมณ์อะไรอีกวะ ไม่มีอะไรจะส่งกัน เป็นทุกข์แล้วเว้ย เอ๊เช้าขึ้นมากูจะเอาอะไรส่งวะ เออก็ต้องพยายามจินตนาการหาเรื่องส่งให้ได้สักเรื่องหนึ่ง แล้วก็ไปส่ง แล้วพรุ่งนี้อีก เอาอีกแล้ว ต้องส่งอีกแล้ว แล้วจะเอาอะไรส่ง นักปฏิบัติเขารู้ส่งอารมณ์ อารมณ์อะไร

แต่หลวงปู่มั่นไม่ต้องส่งหรอก มึงคิดอะไร กูบอกมึงหมดล่ะ ครูบาอาจารย์นะเวลาไปหาหลวงปู่มั่น ท่านบอกเลย หลวงปู่มั่นลากไส้เราออกมาเลย คือคิดอะไรเมื่อคืน เมื่อคืนมึงคิดอย่างนั้นผิด มึงทำอย่างนั้นผิด ต้องวางใจให้ถูกต้อง

ไม่ต้องมาส่ง ไม่ต้องมาส่ง ควักหัวใจเอ็งออกมาเลย ควักหัวใจเอ็งออกมาตีแผ่เลย เอาอะไรมาส่ง ตัวเองไม่ทันกิเลส ก็กิเลสมันสร้างภาพ เอากิเลสมาสร้างรูปแบบแล้วไปส่งหรือ เอ็งเอาอะไรไปส่ง เอาอารมณ์อะไรไปส่ง

นี่ไง พูดถึง พูดด้วยความเคารพ พูดด้วยความเคารพ เพราะอะไรรู้ไหมเพราะที่เขาพูด พอบอกว่า “พอเห็นอนัตตาแล้วจิตหลุดพ้นจากหยาบ หลุดพ้นจากละเอียดไป เข้าสู่นิพพิทา

เข้าสู่นิพพิทา มันก็เราสวดกันน่ะ รูปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติสญฺายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺาณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ เบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายในเวทนา เบื่อหน่ายในสัญญา เบื่อหน่ายในสังขาร เบื่อหน่ายในวิญญาณ ถ้าเบื่อหน่ายแล้ว เบื่อหน่ายก็คลาย พอคลาย นิพพิทา

นี่เวลาสวดมนต์ไง ในอภิธรรมเป็นอย่างนี้หมด นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ พอเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายก็บอกว่าหลุดพ้น หลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว แล้วอะไรต่อล่ะ ก็เขียนมาถามนี่ไง อะไรต่อ ก็ไม่รู้ไม่เห็น ท่องจำได้ อภิธรรมเป็นการท่องจำทั้งหมดไม่มีเหตุใดเป็นมรรคเป็นผล ไม่มี ถ้ามีนะ มันต้องเห็นกิเลส ต้องรู้จักกิเลส

ไอ้นี่คือทางวิชาการ ถ้าวิชาการก็เป็นแบบนี้จริงๆ อาการของจิตจะเป็นอย่างนั้นๆๆ เพราะอะไร เพราะพระพุทธเจ้าท่านแจง ท่านแจงอาการ ท่านแจงความเป็นไปของจิต จิตเป็นอย่างนี้ มันก็เหมือนกับไฟ ไฟมาตามสาย ถ้ามันเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสิ่งใดมันก็เป็นแบบนั้น จิตมันก็เป็นพลังงาน พอเข้าไปในขันธ์ เข้าไปในขันธ์แล้วจิตมันเป็นพลังงาน ทีนี้ตัวจิตมันมีอวิชชา แล้วมันมีอวิชชา อวิชชาคืออะไรอวิชชาคือพญามาร พญามารมันอยู่ที่ฐีติจิต มันอยู่ที่จิตเดิมแท้ เวลามันเคลื่อนออกมา มันเคลื่อนออกมาทั้งกิเลส อนุสัยมันนอนเนื่องกับจิต เวลาจิตขยับ จิตเสวยสิ่งใด กิเลสมันก็ตามไปด้วย

ถ้ากิเลสตามไปด้วย เวลาคิดสิ่งใด ที่ว่า โลกียปัญญา ที่ความคิดของมนุษย์ทั้งหมดเป็นปัญญากิเลสทั้งหมด ปัญญาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นปัญญากิเลสหมดเลยเขาเรียกโลกียปัญญา ปัญญาของโลก ปัญญาที่เกิดจากความคิด เราต้องพุทโธๆๆ ให้จิตสงบเข้ามาก่อนไง หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ากิเลสไม่สงบตัวลงเป็นสมาธิไม่ได้

เวลาเราโดนใครเอ็ด โดนใครว่า เรานั่งสมาธิ โอ้โฮมันแทบระเบิด มันลงได้อย่างไรล่ะ เพราะอะไร เพราะกิเลสมันกระตุ้น เราก็ต้องสงบเสงี่ยม ต้องระงับต่างๆ ถ้าทำให้มันสงบเข้ามา เราพุทโธๆ พอพุทโธ กิเลส กิเลสเป็นเจ้าวัฏจักรเจ้าวัฏจักรคือเจ้าอำนาจในหัวใจ กิเลสนี้เป็นเจ้าอำนาจในหัวใจ มันยึดครองหัวใจนี้ มันใหญ่มาก มันหลอกลวง มันสั่งสอน มันปลิ้นปล้อนหลอกให้ใจนี้เป็นขี้ข้ามัน แล้วอยู่มาวันใดวันหนึ่งเกิดมีศรัทธาความเชื่อ พุทโธๆ จะให้มันสงบ มันจะยอมหรือ มันจะยอมไหม พอมันไม่ยอมก็เป็นอย่างนี้ไง กระเสือกกระสนกันอยู่นี่ที่กระเสือกกระสนอยู่นี่เพราะกิเลสมันไม่ยอมไง

กิเลสมันไม่ยอม มันเลยสงบไม่ได้ แล้วเราก็พุทโธๆ เอาธรรมโอสถเข้าไปสู้กับมัน พุทโธ ตั้งสติสู้กับมัน ถ้ามันเข้มข้นเกินไปก็อดอาหารเสีย ถ้าเรากินอาหารกิเลสมันก็อ้วนๆ เราอดอาหาร กิเลสมันก็ซูบผอมเหมือนกัน เห็นไหม อดอาหารมันมีอุบายอยู่ตรงนี้ เวลาเราหิว กิเลสมันก็หิวด้วย เวลามันหิวแล้วนะ มันอยากจะกินหมูสะเต๊ะ เราก็ไม่ให้มันกิน มันอยากกินหมูสะเต๊ะ เราก็กินผักต้ม มันอยากจะไปกินเกี๊ยว เราก็ไปกินแกงจืด เออสู้กับมัน สู้กับมัน

นี่ไง นี่กิเลส เริ่มต้นถ้าเรายังไม่มีปัญญา ยังทำอะไรไม่ได้ เราก็ทำความสงบก็นี่ไง ที่ทำความสงบก็จะสู้กับมันน่ะ เจ้าวัฏจักร เจ้าอำนาจในหัวใจนี่ เรากำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิให้มันสงบตัวลง ถ้ามันสงบตัวลงเป็นสัมมาสมาธิ

ถ้าสัมมาสมาธิ คำว่า “กิเลสสงบตัวลง” เห็นไหม จิตผ่องใส เวลามันสงบแล้วถ้าคนมีอำนาจวาสนาเขารำพึงไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง นั่นเห็นสติปัฏฐาน  เวลากิเลสมันสงบตัวลงแล้ว เวลามันไปเห็นสติปัฏฐาน  มันยังฟูเลยล่ะ โอ้โฮ!

เราพูดบ่อยว่า ไดโนเสาร์มันนอนอยู่กลางหัวใจ

ทุกคนก็เขียนมาถามเลย “หลวงพ่อ ไดโนเสาร์มันเป็นอย่างไร

เวลาจะเทศน์นี่นะ เขาเรียกกิเลสหรือว่าความรู้สึกนี้เป็นนามธรรม พอเป็นนามธรรม คนที่มีหลักมีเกณฑ์เขามีจุดยืนของเขา เขามีหลักเกณฑ์ของเขา เขามีองค์ความรู้ของเขา เขาจะยกเรื่องนามธรรมมาให้เป็นรูปธรรมให้คนฟังเข้าใจได้ฉะนั้นถึงบอกว่ากิเลสมันเก่าแก่ มันเก่าแก่เป็นเจ้าวัฏจักรอยู่กลางหัวใจ มันเลยเปรียบเทียบว่าเป็นไดโนเสาร์ มันเป็นมุขของเราเอง เราเปรียบเทียบว่าเป็นไดโนเสาร์ ว่ามันเป็นฟอสซิลอยู่ในใจ แต่มีชีวิตนะ ไดโนเสาร์ในโลกเป็นฟอสซิลมันตายมานานแล้ว มันสูญพันธุ์แล้ว แต่ไดโนเสาร์ในใจยังไม่ตาย มันยังมีชีวิต

ฉะนั้นบอกว่า พอจิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เราบอกว่าไปเห็นไดโนเสาร์ ไปเห็นกิเลสไง ไปเห็นเจ้าวัฏจักรไง

ทุกคนเขียนมาเลย “หลวงพ่อ ไดโนเสาร์กลางหัวใจมันเป็นอย่างไร”...ไปเลยมันก็เหมือนกับท่องจำ มันก็เหมือนกับอภิธรรมไง พอพระพุทธเจ้าบอกว่าอาการของจิต เราไปท่องจำกันมา แล้วเราก็สร้างภาพเป็นอย่างนั้นๆ

แล้วอย่างนี้เวลาหลวงพ่อบอกเป็นไดโนเสาร์นี่สร้างภาพหรือเปล่า

ไม่ได้สร้างภาพ มันจะเหมือนกับถ้าอภิธรรมก็เป็นอาการของจิต ไดโนเสาร์มันก็มีกิเลสอยู่ในหัวใจ เปรียบเทียบเป็นบุคลาธิษฐาน ไม่ได้สร้างภาพ เปรียบเทียบเป็นบุคลาธิษฐานว่าสิ่งที่มันตกผลึกในใจของเราเปรียบเหมือนไดโนเสาร์แล้วถ้าใครเห็นไดโนเสาร์ ใครไปเห็นนะ ตอนนี้ใครไปเห็นไดโนเสาร์ตัวจริงๆ นะโอ้โฮวิ่งหนีแล้วกันล่ะ ไอ้อย่างนี้พอไปเห็นกิเลสจริงๆ มันตกใจ นี่เปรียบเทียบเพราะอะไร เพราะมีองค์ความรู้ เพราะเคยเห็น ก็เลยเปรียบเทียบเป็นรูปธรรมออกมาให้คนฟังนั้นเข้าใจ

ถ้าคนฟังเข้าใจแล้ว พอเข้าใจนะ เปรียบเทียบเป็นไดโนเสาร์ แต่มันไม่ใช่ไดโนเสาร์ มันเป็นกิเลส แต่กิเลสมันเก่าแก่ มันเวียนว่ายตายเกิดกับเรามาทุกภพทุกชาติ แล้วชีวิตนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย มันควบคุมเรามาตั้งแต่ภพชาติใดก็ไม่รู้ ยาวไกลมาก แล้วจะเปรียบเทียบเป็นอะไรล่ะ

เราก็เปรียบเทียบเป็นไดโนเสาร์ พอเปรียบเทียบเป็นไดโนเสาร์ เปรียบเทียบให้เข้าใจ ให้เห็น แล้วถ้าใครทำได้ก็เป็นประโยชน์กับเขา เขาก็เลยเขียนมาถามอืมเวลาเราเจอเขาถามปัญหานะ โอ้แปลกใจเลยนะ เพราะเราสมมุติให้เป็นบุคลาธิษฐานสอนเขา เขาก็เอาสมมุติกลับมาถามเราว่าไดโนเสาร์กลางหัวใจมันเป็นอย่างไร แต่ถ้าเขาฉุกคิดหรือเขาคิดได้ เปรียบเทียบได้นะ มันจะรู้จัก

เราจะบอกว่า คนที่ภาวนาเป็นเขาจะเห็นกิเลส แล้วเขาจะต้องสำรอกคายกิเลสออก มันถึงจะเป็นการวิปัสสนาจริงๆ แต่ถ้าการกระทำ การกระทำจริงนะเวลาไปปฏิบัติอภิธรรม จะปฏิบัติแนวทางใดก็แล้วแต่ ถ้ามันอุดมสมบูรณ์ มันสุขใจ มันก็สบาย จริง แต่ความสุขสบายแบบนี้มันอยู่ในขั้นของเวทนา สุขเวทนาทุกขเวทนา มันไม่เหนือโลกหรอก มันไม่ใช่สัจธรรมจริง ถ้าสัจธรรมจริง มันเหนือสุขเวทนา ทุกขเวทนา

เวลาเราสุขเวทนา เราสุขแสนสุข มันก็แปรปรวน ความสุขของพวกเรา ความสุขความสมความปรารถนา ไม่มีสิ่งใดคงที่หรอก เว้นไว้แต่อกุปปธรรม

อกุปปธรรมคือพิจารณาตามความเป็นจริง แยกแยะตามความเป็นจริง จนฆ่ากิเลสตามความเป็นจริง ถ้าฆ่ากิเลสตามความเป็นจริงแล้วเป็นอกุปปธรรม อฐานะคือไม่เปลี่ยนแปลง คือคงที่ตายตัว ธรรมะแท้ๆ นี่ถึงว่าวิมุตติสุขๆ สุขเหนือโลกสุขเหนือสุขเวทนา สุขเหนือความรู้สึกตามความเป็นจริงอันนี้

แต่เวลาเราปฏิบัติไป เราสุข สบายๆ มันอยู่ในสามัญสำนึกของเรา มันอยู่ในสามัญสำนึกที่เรารับรู้ได้ ถ้ามันอยู่ในสามัญสำนึกที่รับรู้ได้ มันก็เป็นสมมุติไง มันก็เป็นสมุทัยไง มันไม่เป็นความจริงไง

ฉะนั้น เวลาเขาพูด นี่คำถาม อ่านชัดๆ เลยนะ เพราะเวลาพูดแล้วพวกคนฟังก็ว่า “เอ๊เขาถามอย่างไร หลวงพ่อออกเสียยาวเลย

เรื่องจิต เมื่อเข้าถึงความเป็นจิตที่บริสุทธิ์แล้ว อาการของสิ่งภายนอกหมายถึงธรรมารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบกับจิต เมื่อไม่ยินดียินร้าย...”

เมื่อ” ไง มันไม่ใช่พิจารณาขาด

เมื่อไม่ยินดียินร้าย คือปล่อยวางทั้งหมดแล้ว จิตเข้าถึงความเป็นอนัตตาแล้ว เมื่อจิตหลุดจากสิ่งหยาบและสิ่งละเอียดทั้งหลายแล้วเข้าสู่นิพพิทา จิตเป็นแค่จิตอยู่อย่างนั้น หรือไม่มีอะไรเลย กราบเรียน...”

เมื่อ” ก็คือเราคิดเอง มันไม่ใช่ว่า โอ๋ยเราพิจารณาอย่างนั้นแล้วปล่อยอย่างนั้น เราพิจารณาแล้วฆ่าอย่างนั้น ถ้าครูบาอาจารย์เราจะสอน จะสอนอย่างนี้

แต่ถ้ามัน “เมื่อ” ไง ถ้ามัน “เมื่อ” มันก็คิดว่าเราวางใจกลางๆ เราเข้าใจ เราวางใจกลางๆ แล้วก็รับรู้ไป แล้วพอถึงเขาบอก “เข้าสู่นิพพิทา จิตเป็นแค่จิต”...มันก็เลยกลายเป็นการท่องจำ แล้วการท่องจำ จิตมันเป็นได้หลากหลาย จิตมันเป็นไปของมัน แล้วก็ว่ากันไป

เราจะบอกว่า มันเป็นวุฒิภาวะของสังคม สังคมที่มีความรู้สึกอย่างนี้เขาเข้าใจได้อย่างนี้ เขาเข้าใจได้อย่างนี้ แต่ถ้าคนที่มีวุฒิภาวะ มีอำนาจวาสนาบารมีเขาต้องการความจริง เขาจะหาครูบาอาจารย์ที่จริง ถ้าครูบาอาจารย์ที่จริง ถ้าเป็นจริง เวลาจิตสงบแล้วมันเห็น เห็นอย่างไร เวลาเห็นแล้วพยายามหาครูบาอาจารย์คอยชี้แนะ พอคอยชี้แนะ อาศัยครูบาอาจารย์เป็นหลังอิง แล้วถ้าจะรู้จริงต้องรู้จริงในใจเรา

เวลาหลวงตา หลวงปู่มั่นท่านดึงออกจากสมาธิ เวลาหลวงตาท่านไปพิจารณาก็เป็นความเห็นของหลวงตา แต่หลวงปู่มั่นก็คอยยุ เพราะอะไร เพราะหลวงปู่มั่นท่านผ่านไปแล้ว ท่านรู้ บุคคล  คู่ คู่ที่  รู้เลย โสดาบัน คู่ที่  สกิทาคามี คู่ที่  อนาคามี คู่ที่  ถ้ามันบอกแค่คู่เดียว บอกเป็นพระอรหันต์ เราก็รับไม่ได้ ไม่มีใครรับได้ แต่จะทำอย่างไรให้เขาได้สำนึก ก็พยายามอธิบาย อธิบายจนเขาเห็นจริงปั๊บ เขาก็จะเริ่มค้นคว้าหาคู่ที่  ถ้าหาคู่ที่  เสร็จ ก็ต้องหาคู่ที่  ถ้าคู่ที่  เสร็จ หาคู่ที่  เห็นไหม บุคคล  ถ้าบุคคล  มรรค  ผล  นิพพาน เอวัง