เทศน์บนศาลา

ในความจริง

๒๗ ก.ย. ๒๕๕๘

 

ในความจริง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๘
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

อ้าว! ตั้งใจฟังธรรมะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นนะ กว่าจะได้สัจธรรมอันนี้มา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม นี่สัจจะความจริง ความจริงนี้ความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัจจะความจริงอันนี้ ดูสิ เวลาเราบอกว่า ธรรมะไม่เคยตาย ธรรมะไม่เคยเสื่อม ธรรมะไม่เคยเสื่อม สิ่งที่เสื่อมคือมนุษย์นี้เสื่อมจากธรรมะ

ธรรมะไม่เคยเสื่อม สัจจะความจริงอันนี้เป็นสัจจะความจริงอันนี้มีอยู่แล้ว แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนาบารมี ถึงรื้อค้นมา ถ้าสิ่งที่มีสัจจะความจริงมีอยู่แล้ว เจ้าลัทธิต่างๆ ที่เขาปฏิญาณตนว่าเขาเป็นพระอรหันต์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษาไปเล่าเรียนกับเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอำนาจวาสนาบารมี สิ่งที่ศึกษาเล่าเรียนขนาดไหน เรียนจนจบกระบวนการความรู้สึกของเขา เรียนจบถึงกระบวนการของเขา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังลังเลสงสัยในการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย เพราะเวลาศึกษาก็ศึกษาไง แต่มันไม่ได้ชำระล้างกิเลส

เวลาฤๅษีชีไพรเขาทำความสงบของใจของเขา เขาทำฌานสมาบัติของเขา ฌานสมาบัติของเขามีมาดั้งเดิม ดูสิ ดูในปัจจุบันนี้คนที่เขาประพฤติปฏิบัติ เขาทำสมาธิ เขาทำความสงบของใจกัน ดูสิ ชาวตะวันตกเดี๋ยวนี้เขาแสวงหาความสุขกัน เขาพยายามทำคุณภาพชีวิต สิ่งที่ว่าทางโลกเจริญๆ เขาก็พยายามทำความเจริญของเขา แต่มันก็กลับมาบีบคั้นมนุษย์นี่แหละ เพราะมันต้องมีการแข่งขัน มันต้องมีปัญญา มนุษย์ต้องมีการค้นคว้า มีการแสวงหา การแสวงหาเพื่อเป็นอาชีพ พอเป็นอาชีพขึ้นมาแล้วมีการแข่งขัน เห็นไหม สิ่งที่ว่าเป็นคุณภาพชีวิตมันก็กลับมาบีบคั้นมนุษย์ ฉะนั้น มนุษย์ไม่มีทางออก มนุษย์ถึงพยายามค้นหาสัจจะความจริง หาความสุขที่แท้จริงในชีวิต ถ้าความสุขที่แท้จริงในชีวิต เขาถึงหันมาศึกษาในศาสนา แต่คำว่า “หันมาศึกษาในศาสนา” เขามีอำนาจวาสนาขนาดไหน เขาศึกษาในศาสนาอะไร

ถ้าศาสนาโดยทั่วไป ศาสนามีมากมายนะ นี่มีมากมาย แล้วมีความเชื่ออีกมหาศาลเลย ความเชื่อในพื้นถิ่น ความเชื่อในท้องถิ่นอีกมหาศาล เวลาเขามีความเชื่ออย่างนั้น เขาก็ปฏิบัติอย่างนั้น ถ้าเขามีอำนาจวาสนา เขาจะมีความรู้สึกเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เข้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ แล้วปฏิเสธเขามาไง ปฏิเสธมาหมด เพราะมันถึงที่สุดแล้วมันก็ยังแก้ไขไม่ได้

ความบีบคั้นทางโลก ทางโลกบีบคั้นเรามา เราจะหาทางออกมา พอหาทางออกมา เราจะไปหาความสงบของใจ ฉะนั้น เวลาเขาสั่งสอนกัน ฤๅษีชีไพรเขามี เขาทำสมาธิกัน เขาว่าตัวเขาเบา เขาพยายามจะเหาะเหินเดินฟ้า เขาทำของเขา แต่เหาะเหินเดินฟ้าไม่ได้ เหาะเหินเดินฟ้าไม่ได้เพราะว่าอะไร เพราะว่าใจของเขามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก พอใจของเขามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความสงบก็สงบชั่วคราว เพราะกิเลสมันยุมันแหย่ กิเลสมันฟูขึ้นมา ความสงบนั้นก็รักษาไว้ไม่ได้ นี่การทำความสงบของใจ

แต่ถ้าเขามีสติมีปัญญา เขานับถือพระพุทธศาสนา เขามาศึกษาในพระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนาก็มีอีก มีแตกแยกย่อยออกไปในความเชื่อต่างๆ แล้วความเชื่อต่างๆ ความเชื่อในอะไร ถ้าความเชื่อในธรรม ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนก็กราบธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด เวลาชาวพุทธๆ บอกว่าเป็นชาวพุทธ เวลาสั่งสอน พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้นๆ...สอนโดยความเห็นของตัว มันไม่ได้สอนในสัจจะความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ้าจะสอนสัจจะความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความจริง ความจริงไง ความจริงในใจ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูสิ สมัยพุทธกาล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม เวลาผู้ที่ได้ความจริง ดูปัญจวัคคีย์ ดูยสะ นี่ผู้ที่ได้ความจริงมา ถ้าความจริงก็เป็นความจริง แต่ในสมัยพุทธกาล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมอยู่นะ ฉัพพัคคีย์ สัตตรสวัคคีย์ เป็นภิกษุมาบวชในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน แต่เวลามาบวชแล้วอยู่ในสังคมของสงฆ์ มีปัญหาไปหมด

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติธรรมวินัยข้อใดก็แล้วแต่ เพื่อข่มขี่คนหน้าด้าน เพื่อผู้ที่ไม่มีศรัทธาความเชื่อ ให้มีความเชื่อ ผู้ที่มีศรัทธาความเชื่อแล้ว ให้มีศรัทธาความเชื่อมากขึ้น แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นธรรมๆ ให้เขาอยู่ร่มเย็นเป็นสุขไง คนที่จิตใจเป็นศีลเป็นธรรม คนที่จิตใจเขาเป็นคนดี เขามีความละอาย แต่ฉัพพัคคีย์ สัตตรสวัคคีย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติวินัยข้อไหน เขาพยายามพลิกแพลงๆ มันก็มีอนุบัญญัติไปเรื่อย นี่ไง แล้วเวลาปฏิบัติขึ้นมาก็น้อยเนื้อต่ำใจว่าตัวเองปฏิบัติไม่ได้ ตัวเองปฏิบัติแล้วไม่สมความปรารถนา ถ้าเราจะสมความปรารถนา ถ้าเขาไม่ซื่อตรงกับศีลธรรม เขาปฏิบัติ เขาจะได้คุณงามความดีมาจากไหนล่ะ

แล้วเวลาปฏิบัติไป นอกความจริงๆ คำว่า “นอกความจริง” คือปฏิบัติตามกิเลส ปฏิบัติตามความพอใจของตัว ถ้าปฏิบัติตามความพอใจของตัว แล้วเขาบอกว่า ทำไมเขาปฏิบัติแล้วทำไมไม่ได้ผล ปฏิบัติแล้วทำไมไม่มีคนนับหน้าถือตา

แล้วปฏิบัติเพื่อให้คนนับหน้าถือตาหรือ ดูสิ ดูพระอัญญาโกณฑัญญะ เวลาบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เอาพระปุณณมันตานีบุตรมาบวชองค์เดียว แล้วเข้าไปอยู่ป่าเลย จะให้ใครมานับหน้าถือตา คนที่นับหน้าถือตามันเป็นกระแสสังคมโลก มันมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ แล้วมันเป็นอนิจจัง มันไม่มีอะไรคงที่สักอย่างหนึ่ง ดูสิ ดูพระอรหันต์ ดูพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระอรหันต์ ไปอยู่ป่าเลย ไม่สุงสิง ไม่ยุ่งกับสังคมเลย เพราะสิ่งนั้นมันเป็นกระแสสังคม มันเป็นเรื่องโลกไง โลกธรรม ๘ ติฉินนินทามันมีของมันอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วท่านจะไปยุ่งกับสิ่งใด

แต่ถ้าคนสร้างอำนาจวาสนาบารมีมา พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา พระกัสสปะเลิศในทางธุดงค์ ท่านบวชเมื่อแก่ พระกัสสปะบวชเมื่อแก่ ดูสิ เวลาพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นี่คนที่มีอำนาจวาสนาของเขา เขาสร้างสมบัติของเขามา เกิดมาเป็นลูกเศรษฐี ไปเที่ยวดูการละเล่นอยู่ตลอดเวลา มันก็มีความสุขเพลิดเพลินในฐานะของลูกเศรษฐี แต่เวลามันมีอำนาจวาสนาเข้ามา ไปเที่ยวเล่นแล้วมันไม่สนุกเลย ชีวิตมันจืดชืด แล้วมันมีสิ่งใด เห็นไหม คนที่มีอำนาจวาสนานะ เขาแสวงหาครูบาอาจารย์กัน แสวงหาครูบาอาจารย์ก็ไปเป็นลูกศิษย์ของสัญชัย สัญชัยสอน คนมีปัญญาศึกษาแล้ว ศึกษาจนหมดกระบวนการแล้ว แล้วมีอะไรต่อไป ถามอาจารย์ว่ามีอะไรต่อไป อาจารย์บอกมีเท่านี้แหละ สองคนหันหน้า มองหน้ากันเลยล่ะ ถ้ามีเท่านี้ มันไม่สมความปรารถนาของสองคนนี้ สองคนนี้เขาถึงสัญญากันว่า ถ้าใครมีความรู้ความเห็นสิ่งใดต้องบอกกันนะ

พระสารีบุตรไปเจอพระอัสสชิ เห็นไหม เวลาการก้าวการเดินของพระอัสสชิไปสะดุดใจของผู้ที่มีปัญญา นี่ตามไปศึกษาๆ พระสารีบุตรฟังธรรมพระอัสสชิจนได้เป็นพระโสดาบัน เวลาไปบอกพระโมคคัลลานะก็ได้พระโสดาบันมาด้วยกัน ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปบวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ อีก ๗ วันได้เป็นพระอรหันต์ พระสารีบุตร ๑๔ วัน มากกว่าพระโมคคัลลานะเท่าตัว นี่เวลาการประพฤติปฏิบัติขึ้นมาถ้ามันเป็นความจริง

ไปศึกษากับเขามา ศึกษากับสัญชัย สัญชัยสอนมาจนหมดกระบวนการแล้ว นี่มีอำนาจวาสนา ศึกษาแล้วมีสติมีปัญญา สิ่งใดที่มันนอกความจริง มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาก็ไม่เชื่อ เพราะเป็นความจริง ความจริงมันต้องพิสูจน์ได้ เวลาละทิ้งแล้ว พระอัสสชิเป็นพระอรหันต์ มันมีความจริง มีองค์ความรู้ มีสัจจะความจริงในใจของพระอัสสชิ พระอัสสชิสามารถบอกกล่าวได้ แต่บอกกล่าวได้ด้วยคุณธรรม ด้วยสัจจะ ด้วยความจริง แล้วผู้ที่ไตร่ตรองด้วยความจริงอันนั้นมันก็ได้เป็นพระโสดาบัน ได้บรรลุธรรม ไปบอกพระโมคคัลลานะ เห็นไหม ธรรมอันเดียวกันนั่นน่ะ ธรรมอันหนึ่งมาจากพระอัสสชิ พระสารีบุตรได้เป็นพระโสดาบัน พระสารีบุตรก็ไปบอกธรรมข้อเดียวกันนี้ให้พระโมคคัลลานะฟัง พระโมคคัลลานะใช้ปัญญาไตร่ตรองขึ้นมา ปัญญาไตร่ตรอง ปัญญาแยกแยะ ปัญญาค้นคว้าในใจของพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะก็เป็นพระโสดาบันเหมือนกัน

เวลาเป็นพระโสดาบันขึ้นมา เวลาไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการสั่งสอน สั่งสอนขึ้นมา สัจจะความจริงๆ มันมีความจริงของมัน เห็นไหม เวลาปฏิบัติตามความจริงขึ้นมา มันถึงเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา เป็นพระอรหันต์ก็เป็นพระอรหันต์ทั้งคู่ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา นี่สร้างอำนาจวาสนามา คำว่า “สร้างอำนาจวาสนามา” เตรียมพร้อมมา ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ ต้องสร้างอำนาจวาสนา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ถึงจะตรัสรู้เองโดยชอบ

ธรรมะที่ไม่เคยเสื่อมๆ บุคคลมันเสื่อมจากธรรมะนี้ไปเอง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะยังไม่มีเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอำนาจวาสนาไปรื้อค้นขึ้นมา พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรก็สร้างอำนาจวาสนามาเหมือนกัน เพราะสร้างอำนาจวาสนามาอย่างนั้น เวลาฟังพระอัสสชิขึ้นมามันถึงบรรลุธรรม เวลามาอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจนเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา พอเป็นพระอรหันต์ เห็นไหม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เผยแผ่ธรรมๆ ด้วยอำนาจวาสนา พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรก็ได้สร้างอำนาจวาสนามาเหมือนกัน ถึงได้ปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา ได้สร้างอำนาจวาสนามา เพราะการสร้างอำนาจวาสนามาอย่างนั้นถึงได้มีปัญญา พระสารีบุตรฟังธรรมพระอัสสชิทีเดียวเป็นพระโสดาบัน เอาธรรมะของพระอัสสชิที่พระสารีบุตรได้ใช้ปัญญาแจ้งแทงตลอด ใช้ปัญญาใคร่ครวญแทงตลอดจนได้สำรอกคายกิเลสออก แล้วเอาคำนั้นไปพูดให้พระโมคคัลลานะฟัง พระโมคคัลลานะใช้ปัญญาของพระโมคคัลลานะแจ้งแทงตลอดเหมือนกัน ใช้สติปัญญาแทงเข้าไปในจิตใจของตัวจนบรรลุธรรม นี่ไง เวลาไปอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจนเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด นี่เพราะมีความรู้ มีอำนาจวาสนาอย่างนั้นถึงเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา เป็นผู้ที่เป็นเสนาบดีธรรม นี่ผู้ที่เลิศในทางปัญญากับเลิศในทางฤทธิ์ที่จะเป็นผู้เผยแผ่ธรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก เวลาสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วไปอยู่ในป่าเลย พระอรหันต์ถ้าไปอยู่ในป่าของท่าน ก็วิหารธรรมในใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ มีความสุข มีความสงบ มีความระงับ เพราะเป็นวิมุตติสุข ไม่ติดสิ่งใดทั้งสิ้น เหนือโลกเหนือสงสารทั้งหมด

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะสร้างสมบุญญาธิการมา การสร้างสมบุญญาธิการมามีเชาวน์มีปัญญา ถึงมีอำนาจวาสนา นี่ถนัด มีความถนัด จะเทศนาว่าการ เป็นผู้เผยแผ่ธรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ศาสนายั่งยืนมา ต่อเนื่องมา มีพระอรหันต์อีกมหาศาลเลย เพราะคนสร้างอำนาจวาสนามาเยอะมาก

เวลาเราทำวัตรสวดมนต์ เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกถึงเมตตาคุณ ปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนระลึกถึงๆ นี่คุณงามความดีของท่าน คุณงามความดีที่ได้วางศาสนานี้ไว้ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเกิดเป็นมนุษย์ก็มีอำนาจวาสนา เพราะการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมันต้องเป็นไปของมันอย่างนี้ มันเป็นวิทยาศาสตร์เลยล่ะ สสารมันต้องหมุนของมันไป ธาตุรู้มันต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แล้วพอมาเกิดเป็นมนุษย์ เพราะมีอำนาจวาสนาเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ถ้าเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว กึ่งพุทธกาลศาสนาเจริญอีกหนหนึ่ง มีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติ

ดูสมัยพุทธกาลสิ เวลาฉัพพัคคีย์ สัตตรสวัคคีย์ ก็เกิดมาพบพระพุทธศาสนาเหมือนกัน แต่เขามาบวช เขาก็มาบวชโดยเห็นความสุขในศาสนา ความมีหน้ามีตา นี่เขาใช้ชีวิตของเขาไปอย่างนั้น ดูสิ เวลาพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรเขาพยายามค้นคว้าพยายามแสวงหา ดูสิ พระกัสสปะเป็นลูกชายคนเดียว อยากจะบวช พ่อแม่ก็อยากจะให้สืบทอดสมบัติ ไปเจอภรรยาก็มีความคิดเหมือนกัน อยู่ครองเรือนมาโดยถือพรหมจรรย์มาด้วยกัน ว่าเราจะออกบวชด้วยกัน อุปัฏฐากพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจนสิ้นชีวิตไปทั้งหมด สองคนถึงได้ออกมาออกบวช ออกบวชมาแล้วพยายามค้นคว้า พยายามประพฤติปฏิบัติทำความจริงขึ้นมา ถ้าคนมีอำนาจวาสนา คนที่มีเป้าหมาย พยายามทำความจริงขึ้นมาให้ได้ ถ้าทำความจริงขึ้นมาให้ได้ เป็นความจริงขึ้นมา สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์กับใคร? เป็นประโยชน์กับพระกัสสปะ เป็นประโยชน์กับพระสารีบุตร เป็นประโยชน์กับพระโมคคัลลานะ นี่สร้างอำนาจวาสนามา สร้างมาแล้วไม่สูญเปล่า สร้างมาแล้วพยายามประพฤติปฏิบัติ สร้างมาแล้วเอาสัจจะความจริง ได้เสวยวิมุตติสุข ได้พ้นจากทุกข์ไป พ้นจากวัฏฏะ พอกันที

แล้วทีนี้เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มันมีอำนาจวาสนาแล้วล่ะ เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ดูสิ มนุษย์ที่เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่เวลาเขาเกิดมาเป็นมนุษย์ เขาไม่นับถือศาสนา เขานับถือศาสนาอื่น เห็นไหม เหยียบแผ่นดินผิดๆ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้แก้ไขตัวเขาไง แต่เราก็ภูมิใจกันว่าเราเกิดเป็นชาวพุทธ เราเกิดมาพบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดมาพบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิ่งนี้เป็นรัตนตรัย เป็นแก้วสารพัดนึกที่เราจะสามารถจะรื้อค้น ค้นคว้า ชำระล้างกิเลสในใจของเรา ถ้าชำระล้างกิเลสในใจของเรา

ดูสิ คนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เขามีศรัทธาความเชื่อของเขา เขาก็เชื่อในบุญกุศลของเขา เขาก็ใช้ชีวิตของเขาไป นี่อำนาจวาสนาของคนเขาคิดได้อย่างนั้น แต่ของเรา เรามีความลึกซึ้งมากกว่า ศรัทธาเรามั่นคงมากกว่า เราจะค้นคว้าหาสัจจะหาความจริงของเรา ถ้าเราค้นหาสัจจะความจริงของเรา เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติ มันก็มีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติหลากหลาย หลากหลาย

ดูสิ พระพุทธศาสนาเรา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงชีพอยู่ มันมีสิ่งใดขัดข้อง มีสิ่งใดทำแล้วมีความเสียหาย มีสิ่งใดทำแล้วออกนอกลู่นอกทาง อย่างฉัพพัคคีย์ สัตตรสวัคคีย์ มีสิ่งใดจะไปฟ้ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะเรียกมาว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ทำอย่างนั้นถูกหรือเปล่า ทำจริงหรือเปล่า ถ้าทำจริง นี่โมฆบุรุษ ผู้ว่างเปล่า ทำสิ่งใดมันเป็นโทษ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจัดการหมด สมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงชีพอยู่ มีสิ่งใดมีการขัดข้อง มีการติดขัดอย่างใดจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาใครที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาติดขัดขึ้นมา ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมวินัยนะ ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าห้ามเข้ามาหาเรา บอกพระอานนท์ว่าห้ามพระเข้ามา เราจะอยู่วิเวก ใครจะฝืนไม่ได้ เพราะคำพูดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนธรรมและวินัย เป็นอาบัติทันที เหมือนกับกษัตริย์ กษัตริย์พูดเป็นกฎหมายหมด สมบูรณาญาสิทธิราชย์ คำพูดของกษัตริย์จะเป็นกฎหมาย คำพูดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาคำสั่งขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเป็นกฎหมายเลย ห้าม ห้ามคนเข้าไปหาท่าน ท่านจะวิเวกของท่าน บางทีท่านจะพักผ่อนของท่าน แต่ในพรรษานะ เว้นไว้แต่ผู้ที่ปฏิบัติ ถ้าผู้ปฏิบัติขัดข้องสิ่งใดแล้วให้เข้าเลยๆ

ในพระไตรปิฎก ผู้ที่ปฏิบัติคือพระปฏิบัติ คือไม่มีสันถัด คือไม่มีพรม ไม่มีที่ไว้นั่ง ถ้าพระทั่วไปเขาจะมีของเขาอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ปฏิบัติจะถือธุดงควัตร “ถ้าผู้ที่ปฏิบัติ ถ้ามีความจำเป็น ให้เข้าหาเราได้ตลอดเวลา” นี่แม้แต่ห้ามไม่ให้เข้านี้เป็นกฎหมายแล้ว แต่ยกเว้นผู้ที่ปฏิบัติ ถ้ามีความจำเป็น ให้เข้าหาท่านได้เลย นี่ในพระไตรปิฎก ในสุตตันตปิฎกพูดไว้อย่างนี้เยอะ แต่เวลาคนที่ศึกษาแล้วศึกษามาเพื่ออะไร ถ้าศึกษาไว้เพื่อจะโต้เถียงกัน ศึกษามาเพื่ออวดตนอวดตัวว่าตัวเองมีความรู้ ศึกษามาเป็นปริยัติ แต่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้วว่าถ้าศึกษามาให้ปฏิบัติ

“อานนท์ เธอจงบอกเขาเถิด ให้เขาปฏิบัติบูชาเราเถิด อย่าบูชาเราด้วยอามิสเลย”

แต่นี่เวลาไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วก็เอามาเป็นความเห็นของตัว ถ้าความเห็นของตัว ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไป มันถึงได้แตกไง แตกเป็นนิกาย แตกเป็นกลุ่มเป็นก้อน ความแตกคือความคิด ความคิดถ้าเป็นกลุ่มเป็นก้อนมา เกิดทิฏฐิเกิดมานะขึ้นมา เกิดความสำคัญตน มันก็แตกขบวนการกันไป อันนั้นเป็นความเห็นของเขา แต่ของเรา ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ในความจริงๆ เราจะเอาความจริงของเรา ถ้าในความจริงของเรา

เวลาถ้าเป็นชาวพุทธ เขามีศรัทธามีความเชื่อของเขา เขาก็ทำทานของเขา เขาก็มีความภูมิใจของเขาว่าเขาเป็นชาวพุทธ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา พระพุทธศาสนาเป็นปึกแผ่นมาก็เป็นความภูมิใจของตัว เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเหมือนกับมดแดง มดแดงเฝ้าพวงมะม่วง มันก็ไต่พวงมะม่วง มะม่วงของฉันๆ แล้วมนุษย์ที่มีปัญญาเขาก็สอยมะม่วงนั้นเป็นประโยชน์ของเขา

นี่ก็เหมือนกัน คนเกิดมามีศรัทธามีความเชื่อของเขา เขาก็มีความภูมิใจว่าเขาได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเราก็ภูมิใจกันว่าศาสนานี้เป็นศาสนาแห่งปัญญา คนที่มีปัญญาขึ้นมาเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สิทธิเสรีภาพของความนับถือเป็นชาวพุทธ มันก็มีความภูมิใจของเขา เหมือนกับมดแดงเฝ้าพวงมะม่วง

แต่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แต่เรามีสติมีปัญญา เราจะไม่เป็นมดแดงเฝ้าพวงมะม่วง ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาแล้วให้ประพฤติปฏิบัติ ถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเราจะปฏิบัติ มันมีแนวทางหลายๆ แนวทาง แนวทางไหนถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา ความจริง! ความจริงขึ้นมา ครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านค้นคว้ามานะ

ก่อนเราจะเชื่อใคร ก่อนเราจะประพฤติปฏิบัติในแนวทางใด เราก็ต้องมีการศึกษา เราบวชมา เราเคยบวชมา ๒ ที เราเคยบวชมหานิกายมา เราก็ศึกษา เราก็จะประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน พอถึงสุดท้ายแล้ว ด้วยอำนาจวาสนา พ่อแม่ขอให้สึกไปก่อน พอสึกไปแล้ว เราจะบวชอีกทีหนึ่ง เราค้นคว้า เราจะไปทางไหนๆ เวลาศึกษาทางใดก็แล้วแต่ พอศึกษาในประวัติหลวงปู่มั่น “เออ! อย่างนี้เราทำได้ อย่างนี้เราทำได้”

พอ “อย่างนี้เราทำได้” บวชมาแล้วด้วยวุฒิภาวะอ่อนด้อย ก็ประสาเด็ก ประสาเด็กมันจะไปรู้อะไร พอบวชขึ้นมาแล้วก็ยังพยายามศึกษา แล้วพยายามทำแนวทางของเรา แนวทางก็ปฏิบัติของเรา ปฏิบัติของเราก็ลุ่มๆ ดอนๆ ปฏิบัติไปแล้วก็จะมีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สำคัญตนว่าเป็นอาจารย์ ก็ไปเชื่อเขา เพราะอะไร เพราะความเป็นเด็กน้อย ในความเห็นของเรา ให้เขาหลอก นู่นก็ดี นี่ก็ดี ด้วยเราเป็นเด็ก เห็นผู้ใหญ่เขาพูดกัน ผู้ใหญ่พูดก็น่าจะเป็นความจริง เวลาปฏิบัติไปแล้วมันไม่เป็นความจริงเลย ทำอย่างใด

หนึ่ง เราเองก็กิเลสท่วมหัว เราเองปฏิบัติแล้วมันจะมีกิเลสท่วมหัว พญามาร ครอบครัวของมารมันท่วมหัว เวลาพญามาร ครอบครัวของมาร เวลาพูดได้เพราะอะไร เพราะเวลาปฏิบัติไปแล้วไปเห็นหน้ามัน ไปรู้จักมันแล้วถึงจะรู้ แต่ตอนนั้นมันจะไปรู้อะไร สำคัญตนน่ะ มีความรู้สึกอย่างไร มีคนพูดให้เชื่อฟังอย่างไร มันเป็นสิ่งที่เราตื่นเต้น เวลาพูดสิ่งใด คำพูดที่แปลก คำพูดที่มันน่าเชื่อฟัง โอ๊ะ! แล้วอีกอย่างหนึ่ง เขาก็บวชก่อนเรา จนมีอำนาจวาสนาขึ้นมาเป็นผู้สั่งสอน นี่ไปศึกษาแล้วปฏิบัติ นี่ไง นอกความจริงๆ มันจะรู้ได้อย่างไรล่ะ มันจะรู้ได้ต่อเมื่อเราประพฤติปฏิบัติ

ประพฤติปฏิบัติ มันถูกบ้างผิดบ้าง แล้วเวลาถ้ามันถูก อ้าว! มันไม่เหมือนเขาสอน ไม่เหมือนเขาบอกเลย ไอ้เขาบอกมันก็งมโข่งอยู่นั่นน่ะ เราก็เคยล้มลุกคลุกคลานมาทั้งนั้นน่ะ นี่ไง เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้านอกความจริงมันก็เป็นอย่างนี้ นอกความจริงเพราะอะไร เพราะกิเลสท่วมหัวไง แต่มันมีศรัทธาความเชื่อ มันก็ความชอบ เราชอบสิ่งใดล่ะ ดูสิ บ้า ๕๐๐ จำพวก ชอบสิ่งใด บ้าสิ่งใด มันก็ว่าสิ่งนั้นดี แล้วได้เข้าชมรมใด ชมรมนั้น ก็เป็นความสมความปรารถนา นี่ก็เหมือนกัน เราก็เป็นบ้าอย่างหนึ่ง บ้าอยากบวช บ้าอยากประพฤติปฏิบัติ ก็มีความบ้าอย่างหนึ่ง ก็เข้าชมรมคนบ้า ไอ้บ้าอย่างนี้มันก็ไปไม่รอด เห็นไหม

แต่เวลาค้นคว้าจริง อืม! เราเข้าชมรมไปแล้ว ผู้ที่เข้าชมรมใหม่เขาก็ให้ศึกษาก่อน ให้ศึกษา ให้มีคนชี้นำ อย่าเพิ่งทำอะไรจริงจัง เพราะทำอะไรจริงจังขึ้นไปมันจะผิดพลาดขึ้นไปทั้งนั้นน่ะ นี่ก็เหมือนกัน เราจะประพฤติปฏิบัติ เราจะบวช เราอยากจะปฏิบัติ แนวทางต่างๆ มันก็มีใหม่หลายแนวทาง ถ้าแนวทางอย่างนั้นแนวทางทางโลก แนวทางทางโลกเขาว่าสังคมของเขา ใครมีสังคมที่กว้างขวาง ใครมีสังคมที่น่าเชื่อถือ เราก็ไปเชื่อถือเขา คำว่า “สังคมน่าเชื่อถือ” คำว่า “น่าเชื่อถือ” แล้วมันจริงหรือเปล่าล่ะ? มันไม่จริง

ถ้ามันจริง ในความจริงๆ ครูบาอาจารย์ที่เป็นความจริงขึ้นมา มันเป็นพระธรรมดานี่แหละ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านรื้อค้นของท่าน ท่านขวนขวายของท่าน ท่านพยายามหาความจริงของท่าน ในตัวเรามันก็มีครอบครัวของมาร มีตั้งแต่พญามาร ลูกมาร หลานมาร เหลนมารในหัวใจเต็มที่ไปหมด ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นสัจจะความจริง มันเป็นความจริงจริงๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างนั้นแหละ ตรัสรู้ความจริงอย่างนั้น แต่เวลาเราทำแล้วมันไม่เป็นความจริงอย่างนั้นน่ะสิ แล้วเวลาทำแล้วจะทำอย่างไรล่ะ

ถึงที่สุด ทำสมาธิๆ ก็มีทางหลากหลาย ดูสิ ลัทธิศาสนาอื่นเขาก็ทำสมาธิกัน ในปัจจุบันนี้ทุกคนเข้าใจได้แล้วล่ะว่าทางโลกมันพึ่งไม่ได้ สิ่งที่ปัจจัยเครื่องอาศัย คุณภาพชีวิตก็อยู่เพื่อดำรงชีวิตให้มีความสุขพอสมควร แต่เอาความสุขจริงๆ ขึ้นมา ความสุขจริงๆ มันก็ต้องค้นคว้าเอาในหัวใจ

“สยามเมืองยิ้ม สยามเมืองยิ้ม” เขาถึงค้นคว้า “สยามเมืองยิ้ม” เพราะเหตุใด สยามเมืองยิ้ม เพราะพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนถึงการอบรมบ่มเพาะหัวใจ หัวใจที่ให้อภัย หัวใจที่เป็นคุณธรรม “ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร” เขาบอกว่า “ไม่เป็นไร” ไม่มีศัพท์ในภาษาอื่น ไอ้ “ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร” ไม่เป็นไรเพราะอะไร เพราะเราจะให้อภัยเขาไง จะให้อภัยเขาตั้งแต่เขายังไม่ทำความผิดนู่นน่ะ จะให้อภัยเขาตั้งแต่ไม่เห็นเขามาเลย จะให้อภัยเขาก่อนแล้ว นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ไง พระพุทธศาสนาสอนถึงการให้อภัยกัน พระพุทธศาสนาสอนถึงการเสียสละ ถ้าเสียสละ เสียสละอย่างนั้น แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันต้องมีจุดยืน มันต้องมีความจริงของเราขึ้นมา ถ้ามีขึ้นมา ถึงมาค้นคว้า มาประพฤติปฏิบัติกัน ถ้าเราปฏิบัติกัน เราจะปฏิบัติเอาความจริง

ถ้าความจริง ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมาแล้ว ถ้าเราเชื่อมั่นหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เชื่อมั่นครูบาอาจารย์ของเรา เพราะเราอาศัย คนต้องมีอำนาจวาสนา ดูสิ ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่แหวน หลวงปู่พรหม หลวงปู่ตื้อ ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอรหันต์ไปทั้งหมด พระที่จะเป็นพระอรหันต์ ท่านต้องสร้างอำนาจวาสนาบารมีของท่านมา คำว่า “สร้างอำนาจวาสนาบารมี” ก็เหมือนพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ท่านสร้างบารมีมา ท่านปรารถนามา คำว่า “ปรารถนา” คนมีเชาวน์มีปัญญา มีอำนาจวาสนาบารมี จะเชื่อฟังสิ่งใด เขาต้องเชื่อฟังด้วยเหตุด้วยผล จะเชื่อฟังสิ่งใด เขาต้องพิสูจน์ตรวจสอบ

นี่เหมือนกัน เราเกิดมากึ่งกลางพระพุทธศาสนา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านรื้อค้นขึ้นมา ท่านเป็นแบบอย่างเป็นตัวอย่างของเรามา แล้วเวลาท่านได้ลูกศิษย์ของท่านมา ครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านก็ประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน คนที่มีอำนาจวาสนา เวลาปฏิบัติไปแล้ว ถ้ามีคุณธรรมเสมอกัน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาสั่งเวลาสอน เวลาปฏิบัติไปแล้วมันเข้าไปถึงจุดเดียวกัน ถ้าเข้าไปถึงจุดเดียวกัน มันตรวจสอบกันเองไง นี่ถ้ามันตรวจสอบกันเอง

ถ้าเราเชื่อมั่นครูบาอาจารย์ของเรา เราเชื่อมั่นว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ท่านต้องมีอำนาจวาสนา ไม่ใช่เหมือนพวกเรา พวกเราจะเอาแต่ง่าย เอาแต่คนนับหน้าถือตา เอาแต่คนคอยสรรเสริญเยินยอ จะพูดอะไรก็จะให้คนนบนอบ จะให้พนมมืออยู่ตลอดเวลา ตัวเองจะเป็นกิ้งก่า มันจะเอาปัญญามาจากไหน พวกเรานี้พวกอ่อนด้อยไม่มีปัญญา นี่ถ้าไม่มีปัญญา

ถ้าเราเชื่อมั่นในสังคมกรรมฐาน สังคมของครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา คำว่า “สั่งสอนมา” ดูสิ เวลาหลวงตาท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น ท่านบอกว่าท่านเถียงด้วยความเคารพนะ ท่านเคารพหลวงปู่มั่น เคารพสุดหัวใจเลย แต่เวลาท่านปฏิบัติไป ท่านมีปัญหาในใจของท่าน ท่านโต้แย้งเต็มที่เลย เต็มที่เพราะอะไร เพราะในใจของท่าน ท่านปฏิบัติแล้วท่านรู้ท่านเห็นของท่าน ท่านถึงบอกของท่าน แต่เวลาโต้แย้งไปทีไร ท่านบอกว่า กระบวนการจบแล้วหน้าหงายทุกทีเลย หน้าหงายเพราะอะไร เพราะหลวงปู่มั่นท่านผ่านมาแล้ว

นี่ไง เวลาเราโต้แย้ง โต้แย้งด้วยความเคารพนะ ไม่ได้โต้แย้งด้วยอวดดิบอวดดี อวดรู้อวดเห็น ถ้าอวดดิบอวดดี อวดรู้อวดเห็น มันเป็นกิเลส มันเป็นการเอาสีข้างเข้าถู มันไม่ฟังเหตุฟังผลไง ถ้าฟังเหตุฟังผล คนที่มีอำนาจวาสนาเขาเป็นอย่างนั้น นี่ครูบาอาจารย์ที่เวลาท่านตรวจสอบกัน ถ้าเราเชื่ออย่างนั้น เราเชื่อความจริง เห็นไหม ในความจริงๆ แล้วในความจริงมันมาจากไหน

ในความจริง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยเสื่อม มนุษย์ต่างหากเสื่อมจากธรรม นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ในหัวใจของเรา กิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งนั้น แล้วเวลาจะปฏิบัติขึ้นมาก็ล้มลุกคลุกคลาน เวลาจะปฏิบัติขึ้นมา เห็นไหม นอกความจริง นอกความจริงคือความคิดไง นอกความจริงก็สัญชาตญาณของเราไง เราอ่อนด้อย เชื่อไปหมด ถ้าเชื่อไปหมด มันก็เหมือนปลานอกสุ่ม

ถ้าปลาในสุ่ม สุ่มคือร่างกายนี้ ปลาก็คือหัวใจของเรานี่ ปลาในสุ่มเรายังจับไม่ได้ เรายังพิสูจน์ไม่ได้ แต่ทำไมเรารู้เรื่องคนอื่นล่ะ นี่ปลานอกสุ่ม ปลาในแม่น้ำ ปลาในทะเลมหาศาลเลย ปลาเยอะแยะไปหมดเลย ตามจะไปจับ ไม่ได้สักตัว นี่ไง นอกความจริงๆ นอกความจริงก็นอกตัวเอง นอกความจริงคือส่งออก ถ้าส่งออกไปมันจะเป็นความจริงมาจากไหน ถ้ามันไม่ใช่ความจริงขึ้นมา มันก็ตะครุบเงาไปหมด ถ้าตะครุบเงาไปแล้วมันก็สร้างภาพไปแล้ว นี่ตะครุบเงา

เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัตินะ พอจิตสงบ ถ้าเห็นนิมิตขึ้นมาแล้วเชื่อ แล้วตามไป นิมิตนี้มันจะสร้างเรื่อง สร้างภาพ สร้างให้เราไม่มีวันจบวันสิ้น นี่ไง ปลานอกสุ่ม นอกความจริงๆ แต่พอนิมิตมันเกิดขึ้น ความรู้ความเห็นมันเกิดขึ้น มันสร้างภาพของมันขึ้นไป พอสร้างไป มันจินตนาการเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป นี่สำคัญตน สำคัญตนว่ามีอำนาจวาสนา สำคัญตนว่าตัวเองมีคุณธรรม นั่นนอกความจริง มันเป็นสมุทัย มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันพาออกนอกลู่นอกทางหมดเลย

แต่ถ้าคนมีอำนาจวาสนา ดูสิ ถ้ามันมีจริตนิสัยที่มันมีอำนาจวาสนา จิตคึกคะนอง มันจะมีสิ่งบอกเหตุในใจ ถ้ามีสิ่งบอกเหตุในใจ ครูบาอาจารย์ต้องมีความเข้มข้นพอสมควร ตามให้ทันกับจิตดวงนั้น จิตจะมีอำนาจวาสนาขนาดไหน จิตจะคึกคะนองขนาดไหน จิตจะนุ่มนวลขนาดไหน อย่างน้อยมันต้องทำความสงบของใจเข้ามา พุทโธๆ ให้จิตสงบเข้ามา ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันจะเข้าสู่ฐีติจิต เข้าสู่สัจจะความจริง

จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส

จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส

จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้คือตัวตนของเราไง

ทุกคนหาตัวตนของตัวเองไม่เจอ แต่รู้จักว่าเราชื่อนาย ก. นาย ข. จากทะเบียนบ้าน รู้จักแต่สิ่งที่โลกเขาตั้งให้ แต่ตัวตนของเราไม่มีใครรู้จักตัว ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนอดีตชาติไป “ในชาติปัจจุบันนี้เราเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แต่เราเคยเป็นพระเวสสันดรมา” เราเคยเป็นๆ จิตเดี๋ยวนี้มันมา นี่ไง เวลาถ้าบุพเพนิวาสานุสติญาณ เขาย้อนไป ตัวตนของตัวเองเขายังรู้จัก นี่ถ้าเห็นตัวตนของตัว

แต่นี่เราไม่รู้จักตัวตนของตัว รู้แต่ชื่อในทะเบียนบ้าน ชื่อที่ตั้งให้ แล้วถ้าจัดตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์มันจัดตั้ง สหาย ก. สหาย ข. สหาย ง. มันก็จัดตั้งซ้อนเข้าไป นี่ก็เหมือนกัน ชื่อปลอมไว้ทำทุจริต หลอกลวงกัน เอาชื่อจริงไม่ได้ ชื่อจริงเดี๋ยวเขาสืบค้นมาในทะเบียนบ้านได้ นี่ทางโลก ทะเบียนบ้านเวลาสืบค้นมามันก็ไปอยู่ที่กรมการปกครอง มันก็เป็นสิทธิ์ นี่เรื่องทางโลก

แต่ถ้าเป็นความจริง เราต้องทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบ คนที่ทำสัมมาสมาธิได้ จะเชื่อมั่นเลยว่าพระพุทธศาสนานี้มีอยู่จริง มรรคผลมีอยู่จริง คนที่ทำความสงบของตัวเองไม่ได้ เวลาหลวงปู่มั่นบอกว่า จิตนี้มันเป็นได้หลากหลายนัก ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ร้ายก็ได้ จินตนาการอย่างไรก็ได้ แล้วพอทำความสงบของใจบ้างเล็กน้อย มันก็เกิดจินตนาการ มันเกิดความรู้ความเห็น

ดูสิ ดูอย่างหลวงปู่มั่น ก่อนที่ท่านจะลาพระโพธิสัตว์ นี่ไง เวลาพระโพธิสัตว์เข้าได้ฌานโลกีย์เท่านั้นน่ะ จะเลยจากนั้นไปไม่ได้ แล้วพระโพธิสัตว์ที่ว่าสร้างอำนาจวาสนาเข้มข้นมา จิตสงบแล้วเขารู้เขาเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นจะเข้มข้น เพราะอะไร เพราะพระโพธิสัตว์ การเวียนว่ายตายเกิดของพระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เพื่อสร้างอำนาจวาสนาบารมี คำว่า “สร้างอำนาจวาสนาบารมี” จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ จะช่วยเหลือเจือจานสังคมไง

ทีนี้พระโพธิสัตว์ที่ว่าเริ่มปรารถนา แล้วพระโพธิสัตว์ที่เริ่มประพฤติปฏิบัติ เริ่มขวนขวาย ความรู้ความเห็นมันก็อ่อนด้อย พิจารณาสิ่งใดไป ผิดหมด ผิดๆ ถูกๆ ถูกๆ ผิดๆ มันมีโดยข้อเท็จจริง ฉะนั้น เวลาส่งออกไปมันเป็นอย่างนั้นหมดเลย ถ้ามันเป็นอย่างนั้นโดยข้อเท็จจริง ทีนี้พระโพธิสัตว์เขาก็สร้างไป ถูกบ้างผิดบ้าง มันไม่เป็นความจริงหรอก เว้นไว้แต่ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์แล้ว นั่นล่ะพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าข้างหน้าไป

แต่ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ได้พยากรณ์ ถ้ายังไม่ได้พยากรณ์ พลิกกลับๆ ดูสิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ก็ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หลวงปู่มั่นปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า แต่ถึงที่สุดแล้วท่านก็ลาพุทธภูมิของท่านเพื่อมาเอาจริงเอาจัง มันเลยมีวาสนา เลยมีปัญญาอย่างนี้ไง มีปัญญาที่ท่านเอาตัวท่านเองผ่านไปได้ แล้วท่านยังเป็นครูบาอาจารย์ของพวกเรา เป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์ของเรา พยายามรื้อค้น พยายามศึกษา พยายามดั้นด้นมา เพราะอะไร เพราะมันมีผู้รู้จริง ธมฺมสากจฺฉา ผู้รู้จริงกับผู้รู้จริงเวลาสนทนาธรรมกัน มันตรวจสอบกันๆ โดยความเป็นจริง

ถ้าความเป็นจริง สังคมที่เป็นความเป็นจริง เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ครูบาอาจารย์ท่านให้ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา นี่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นจริง แต่เวลาแตกแขนง แตกเป็นหน่อเป็นสายๆ ไป นี่ผู้ที่เข้ามา ผู้นั้นยังไม่มีความสามารถจริง ถ้าไม่มีความสามารถจริงมันก็อยู่ภายใต้กิเลสไง ครอบครัวของมาร ครอบครัวของมารมันก็สร้างภาพให้ สร้างภาพอย่างนั้นแล้วก็เชื่อ ถ้าเชื่อ ส่งออกหมด คำว่า “ส่งออก” มันเป็นเรื่องโลกๆ โลกๆ คือโลกียปัญญา ถ้าโลกียปัญญา

ขณะที่ว่าเราทำความสงบของใจ ใครทำความสงบของใจได้ จะเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาว่านรกสวรรค์มีจริง มรรคผลมีจริง มีจริงเพราะอะไร มีจริงเพราะเราเห็นขั้วเห็นต้นบัญชีไง เห็นจิตของเราไง เพราะเห็นจิตของเรา พอจิตสงบมันก็มหัศจรรย์แล้ว โอ้โฮ! มันมีความสุขอย่างนี้ มีความมหัศจรรย์ขนาดนี้ ถ้ามันมีความสุขอย่างนี้ มันมีความมหัศจรรย์อย่างนี้ ถ้าเราปฏิบัติได้อย่างนี้นะ เราจะเป็นนักปฏิบัติ ถ้าเป็นพระก็จะไม่สึกเลย แล้วพอจิตมันเสื่อม สึกหมด เพราะว่าอะไร เพราะว่ามันเป็นอนิจจังไง สรรพสิ่งเป็นอนิจจัง

ดูสิ ดูทางโลกเขาทำธุรกิจการค้าของเขา เขาประสบความสำเร็จของเขา เงินทองเขามหาศาล เขายังมีความผิดพลาดจนหมดเนื้อหมดตัวได้ เงินทองที่เป็นวัตถุ เขายังใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดนคนมาหลอกลวง มีคนมาจี้ปล้น หมดเลย ไอ้นี่มันเป็นนามธรรม นามธรรมคือความรู้สึก ความรู้สึก แต่ความรู้สึกมันมีพลังงาน มีธาตุรู้ มีจิตของเรา จิตของเรามีอวิชชา อวิชชามันเป็นเจ้าวัฏจักร แต่ด้วยอำนาจวาสนา เราสร้างมาด้วยอำนาจวาสนาบารมีของเรา เราถึงมีศรัทธาความเชื่อ เราถึงพยายามทวนกระแส ถ้าเราทวนกระแส ทวนกระแสของกิเลส กิเลสมันเข้ากับโลก โลกมีความสัมพันธ์กัน กิเลสมันชอบ ชอบความคลุกคลี ชอบความสัมพันธ์กัน เห็นไหม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องให้สงบสงัด ให้วิเวกขึ้นมา ให้เอาตัวรอดให้ได้ ถ้ามีอำนาจวาสนา แต่กิเลสมันครอบงำ มันก็ยังชักนำเราออกไปนอกเรื่องนอกราวนั่นน่ะ

ถ้าเรามีศรัทธามีความเชื่อของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะทำความสงบของใจของเราเข้ามา ถ้าใจมันสงบนะ พยายามทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบ เวลามันเกิดปัญญา ปัญญามันพออยู่พอกินนะ ปัญญาพออยู่พอกินเพราะปัญญาที่ว่าพอจิตสงบแล้วจะเชื่อเรื่องมรรคเรื่องผลเลย พอเชื่อมรรคเชื่อผล เพราะมันมีความสุขไง มีความสุขแล้ว อืม! ถ้าเราทำได้อย่างนี้นะ เราจะไม่สึกเลย ถ้าเราทำได้อย่างนี้นะ โอ้โฮ! มรรคผลนิพพานจะหยิบจับได้เลย จะเอื้อมได้เลย มันมีความเชื่อมั่นลึกๆ ในใจ แต่ความเชื่อมั่นลึกๆ ในใจนี้ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมานี้ก็เกิดขึ้นมาจากความเพียรชอบ ความเพียรชอบ ความวิริยะ ความอุตสาหะ ด้วยศรัทธาด้วยความเชื่อ

ความเชื่อ เห็นไหม เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเกิดมา เรามีอำนาจวาสนา เรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนเป็นที่เชื่อถือของสังคม คำว่า “เชื่อถือของสังคม” แต่มันยังไม่เป็นความจริง ความจริง เราทำของเราเป็นความจริงของเราขึ้นมา

เป็นความเชื่อถือของสังคม เพราะสังคมเชื่อถือในพระกรรมฐาน ในพระป่า แต่ด้วยความเชื่อถืออันนั้น ถ้าเราอ่อนด้อย สติปัญญาเราไม่พอ ความเชื่อนั้นมันเป็นโทษกับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เพราะมีความเชื่อ มันต้องมีความคลุกคลี เพราะความเชื่อมันต้องมีการดูแลอุปัฏฐากกัน แต่ถ้าเราเอาความจริงของเรานะ เราจะดูแลรักษาหัวใจของเรา เราจะเอาความสุขของเรา ถ้าความสุขของเรา ในที่สงบที่สงัด ด้วยการที่มีสติ มีคำบริกรรม ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เรารักษาหัวใจของเรา เราดูแลหัวใจของเรา ด้วยสติด้วยปัญญาของเรา มันต้องสงบได้ พอสงบได้โดยธรรมชาติของมัน มันก็ต้องคลายตัวออกมาเป็นธรรมดา ถ้ามันคลายตัวออกมาเป็นธรรมดา พอคลายตัวออกมามันก็ยังมีความสุขอยู่ พอจิตมันสงบแล้วนะ จิตสงบ พอมันคลายตัวออกมา มันจะมีผลของความสงบนั้น มันจะทำให้เรายังมีความสุขอยู่ ทำให้เราประมาทได้ “เออ! มันก็อยู่กับเรา มันก็อยู่กับเรา” แล้วมันก็ค่อยๆ จางลงๆ จนคลายออกมาเป็นปกติ “อืม! มันชักหงุดหงิดแล้ว เสียงอะไรกระทบก็ไม่พอใจแล้ว แล้วกลับไปอีกจะทำอย่างไร”

แต่ถ้ามันเสื่อมไปแล้ว เราก็กลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิอย่างที่เราเคยทำ เพราะที่มันสงบแล้ว มันก็เพราะปัญญาอบรมสมาธิ เพราะคำบริกรรมนั่นแหละ เพราะด้วยสติปัญญารักษามันถึงสงบเข้ามาได้ เพราะการที่สงบเข้ามาได้ เพราะเราจะค้นคว้า เราจะประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติ เขาเอาจิตประพฤติปฏิบัติ เวลาเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ก็หาหัวใจของเรา

เพราะหัวใจของเรามันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เพราะมันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วมีศรัทธามีความเชื่ออยากจะประพฤติปฏิบัติ เวลาประพฤติปฏิบัติ สังคม กระแสสังคมมันเป็นมวลชน เป็นกลุ่มชน แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา จิตดวงใดก็จิตดวงนั้นนะ เวลาเดินจงกรม เวลาจิตสงบมันสงบคนเดียว

ดูสิ เวลาเขาปฏิบัติกัน เขาเดินเป็นเป็ดเลย เดินอย่างนั้นมันจะสงบได้อย่างไร แล้วถ้ามันสงบนะ เพราะคนไม่เคยสงบ คนไม่เคยทำสมาธิ ถึงไม่รู้ว่าทำอย่างนั้นจะเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ คนเป็นสมาธินะ เวลาเป็นสมาธิขึ้นมา ถ้าเดินจงกรมอยู่ ขณิกสมาธิ มันก็ยังเดินอยู่ได้ อุปจาระ มันยังเข้าใจได้ แต่ถ้ามันจะเป็นอัปปนา มันเดินไม่ได้แล้ว ต้องยืน ยืนไม่ได้แล้วต้องนั่งลง ต้องหลับตา พอหลับตา มันเข้าอัปปนาสมาธิเลย

พอเข้าอัปปนาสมาธิ พอเข้าไปหลายๆ ชั่วโมง สักแต่ว่า โลกนี้ไม่มี โลกนี้ ไม่รับรู้สิ่งใดเลย เราเหมือน เอโก ธมฺโม มีหนึ่งเดียวคือเราเท่านั้นน่ะ มันมหัศจรรย์มาก เวลามันคลายตัวออกมาก็ออกมารับรู้เรื่องร่างกาย ออกมารับรู้นะ รับรู้ถึงร่างกายของเรา ถ้ารับรู้ร่างกายของเรา เราก็เริ่มลืมตาได้ เราก็เดินจงกรมได้ นั่งสมาธิได้ เราก็เดินจงกรมได้ เราก็ใช้ปัญญาของเราได้

นี่พูดถึงว่าเขาไม่เคยเป็นสมาธิ ถึงว่าเดินกันเป็นแถว เดินเป็นแถวไป เดินเป็นแถวมา มันเป็นอะไรนั่นน่ะ ฝึกทหารหรือ เป็ด แม่เป็ด ลูกเป็ด มันเดินกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอย่างนั้นหรือ สอนให้สว่างโพลง ให้จิตรับรู้อย่างนั้น เข้าสู่สมาธิไม่ได้ใช่ไหม ให้ทำกันอยู่อย่างนั้นใช่ไหม

แต่เวลาครูบาอาจารย์ของเรา ให้หลีกเร้น ทางจงกรมของใคร ที่นั่งสมาธิของใคร ถ้ามันจะเป็นจริง มันจะมีอำนาจวาสนานะ ถ้ามันเป็นจริง ถ้ามันสงบจริงๆ มันเป็นการยืนยันกลางหัวใจ ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก แล้วถ้ามันเป็น มันเป็นไม่เหมือนกันไง นั่งอยู่ ๔-๕ คน คนหนึ่งเป็นสมาธิ อีก ๔ คนไม่เป็น เวลาใครคนใดคนหนึ่งเป็น แล้วถ้าคนหนึ่งเป็นนะ ถ้าเดินเป็นแถวๆ มันจะเดินชนเขาน่ะสิ ไอ้ ๔ คน ล้มไปเลย ถ้าล้มไปเลยนี่มีปัญหาแล้วล่ะ “เฮ้ย! เอ็งแกล้งหรือ ทำไมเป็นพาลอย่างนี้ล่ะ”

มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าความจริงเขาไม่เป็นอย่างนั้น เห็นไหม มันเป็นความจอมปลอม

ในความจริง ความจริงมันเป็นความจริง ความจริงเกิดจากจิต จิตที่มันเป็นความจริงเกิดจากจิต เกิดจากกิจจญาณ สัจจญาณในหัวใจ กิริยาภายนอกก็เป็นกิริยาภายนอกทั้งนั้นน่ะ ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นจริง ท่านจะหลีกเร้นให้เลย ไม่ควรทำอย่างนั้น เวลาถึงคราววันพระ มาฟังเทศน์กลางศาลา ถ้าเทศน์กลางศาลานี่มาพร้อมกัน อันนี้ให้อาวุธ ให้มุมมอง ให้เหลี่ยมให้คม ให้ตัวเองมีสติปัญญา แล้วกลับไปภาวนา ให้มีสติปัญญา เอาเล่ห์เอาเหลี่ยมเอาคม พยายามตั้งตัวให้ได้ ถ้าตั้งตัวให้ได้ขึ้นมา ถ้ามีสติปัญญาขึ้นมาแล้ว ฟาดฟันกับกิเลสได้ ถ้าฟาดฟันกับกิเลสได้มันก็เป็นประโยชน์ไง ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บเขาบอก “โอ้โฮ! มันต้องลำบากขนาดนั้นเชียวหรือ”

มีพวกปฏิบัติชุดหนึ่งนะ เวลาเราบอกว่า เวลาปฏิบัติต้องกิเลสกับธรรมต่อสู้กัน เขาบอก “เราไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้ เราเป็นผู้ชม ผู้ดูแล ผู้หยิบฉวยเอาก็ได้ ทำไมเราต้องไปกิเลสกับธรรมต่อสู้กันบนหัวใจ เราไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้” นี่เขาพูดอย่างนั้นเลยนะ ถ้าเขาบอก “ไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้” ก็ได้ คำว่า “ก็ได้” แค่ความพอใจ ถ้าความพอใจก็นอกความจริง นอกความจริงก็เป็นความคิดไง เพราะอะไร เพราะเขาไม่เห็นกิเลส ถ้ากิเลสกับธรรมไม่ได้ประหัตประหารกัน มันจะเป็นการปฏิบัติธรรมตรงไหน

ถ้ามันจะเป็นการปฏิบัติธรรม ที่เราทำความสงบของใจกันอยู่นี้ นี่ชัยภูมิ สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ถ้าใครมีชัยภูมิ ดูสิ นักกีฬา นักมวย เวลาเขาชกกัน เขาต้องขึ้นเวที คนที่ได้ขึ้นเวทีเขาต้องประกบคู่ระหว่างมุมแดงกับมุมน้ำเงิน นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตเราสงบแล้ว สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ถ้าฐานที่ตั้งแห่งการงาน เรามีสติมีปัญญาของเรา เราอยู่มุมหนึ่ง แล้วกิเลสอยู่ไหนล่ะ

นี่ไง ถ้าพูดถึงความเห็นของเขา ในความจอมปลอมของเขา เขาบอก สมัยปัจจุบันนี้การออกกำลังกาย การฝึกชกมวยเป็นที่เลื่องลือ ผู้หญิงก็ไปฝึก ผู้ชายก็ไปฝึก ฝึกชกมวยทำไม ฝึกชกมวยเพราะออกกำลังกายไง ออกกำลังกายแล้วร่างกายแข็งแรง ได้ทักษะด้วย ชกลม ชับๆๆ ต่อยลมไง เก่งมาก เก่งมากๆ แต่ไม่เคยขึ้นเวที นี่ไง จากความจอมปลอม จะเอาแค่นี้ใช่ไหม แต่ทางโลกเขาเป็นการออกกำลังกาย เขาไม่ได้คิดว่าเขาจะเป็นนักมวย เขาไม่ได้คิดจะทำอาชีพนี้ แต่เขามาเพื่อร่างกายของเขา นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “เราไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้”

ถ้า “ไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้” ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงชีพอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเรียกมาถามเลยว่า ถ้ามันก็ได้ ก็ได้เพราะอะไร แต่นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว มันถึงได้แตกเป็นนิกาย แตกเป็นความรู้ความเห็น แตกกันไปหมดไง พอแตกไปแล้วมันมีความจริงอยู่หรือเปล่าล่ะ แต่ถ้าความจริงของเรา จากครูบาอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ของเราท่านตรวจสอบกันด้วยอำนาจวาสนาบารมีของท่าน

นี่ไง ถ้าเป็นความจอมปลอมก็คิดกันอย่างนั้นน่ะ คิดเอาสะดวก คิดเอาสบาย คิดให้กิเลสมันเป็นใหญ่ ให้พญามาร ลูกของมาร หลานของมาร เหลนของมารครอบครองหัวใจนี้ แล้วก็เทียบเคียงไง ปฏิบัติพอเป็นพิธี พอเป็นพิธีแล้วก็อ้างอิงไง อ้างอิงว่า ทำอย่างนั้น สมควรอย่างนั้น เป็นคุณสมบัติอย่างนั้น นี่ไง เป็นความรู้ความเห็นของชุมชนของเขา เป็นความเห็นของเขา นี่นอกความจริง เป็นความจอมปลอม เป็นสิ่งที่กิเลสสร้างให้ เป็นสิ่งที่มวลชนคิดขึ้นมา แล้วก็ชื่นชมกัน

ถ้าชื่นชมกัน น่าเสียดาย เพราะคนมีศรัทธามีความเชื่อแล้ว ถ้าชื่นชมกัน วุฒิภาวะแค่นั้นก็เชื่ออย่างนั้น ถ้าคนที่มีอำนาจวาสนานะ เราบวชเป็นพระ หรือเราเป็นนักปฏิบัติ เราก็ต้องศึกษา ศึกษาแนวทางนั้นน่ะ ถ้าแนวทางอันใดที่มันไม่ใช่ เราวางไว้ ทีนี้คำว่า “วางไว้” มันต้องมีวุฒิภาวะ มีอำนาจวาสนา ถึงวินิจฉัยได้ว่าถูกหรือผิด แต่ถ้ามันไม่มีอำนาจวาสนา มันเชื่อ เชื่อจนเป็นเหยื่อ เป็นฐาน เป็นมวลชน แล้วไม่ได้อะไรเลย เฮไปเฮมาอยู่อย่างนั้นน่ะ เกิดมาตายเปล่า การประพฤติปฏิบัติขึ้นมาไม่มีสิ่งใดเป็นชิ้นเป็นอัน

แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนา เราปฏิบัติแล้วทำไมมันไม่ได้ผล ปฏิบัติแล้วทำไมมันเป็นไปไม่ได้ ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ เราต้องหาวิธีของเรา ถ้าหาวิธีของเรา ครูบาอาจารย์ของเราถึงสอน พยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าทำความสงบของใจ มันร่มเย็นเป็นสุขแล้ว ถ้าเข้าสมาธิได้ จิตนี้ได้พักผ่อนของมัน ได้เข้าไปสู่ความสงบ ทั้งๆ ที่จิตคลายออกจากความสงบมา เรายังทำหน้าที่การงานของเราในปัจจุบัน มันยังสบายๆ อยู่หลายวันเลยล่ะ ผลของสมาธิ ผลของความสุขนั้นมันต่อเนื่องมา แต่คนที่มีสติปัญญา ผลของความสุขมันต่อเนื่องขึ้นมาแล้วเราต้องพยายามขวนขวายของเราเพื่อเข้าไปสู่ความสุขนั้นมากขึ้นๆ ความสงบบ่อยครั้งๆ จนจิตตั้งมั่น

ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นการที่มันเสวย คือเห็นการกระทำของจิต ธรรมดา ความคิดของเรา ความคิดที่เราคิดกันอยู่ทุกวันนี้มันมาอย่างไร ทุกคนไม่รู้ ไม่เคยเห็นมัน ก็ความคิดคือความคิด ความคิดเป็นเราไง ความคิดเป็นเงาไง แล้วก็เอาความคิดนั้นต่อเนื่องไป นี่จำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วจิต มันก็เข้าไปสู่สังคมที่ประพฤติปฏิบัติ มันก็วาดภาพจินตนาการกันไป ถ้าเป็นนิพพาน นิพพานก็คือความว่าง นิพพานคือความเวิ้งว้าง นี่นิพพาน แล้วก็ท่องจำกันมา พอท่องจำกันมา ดูสิ เวลาจะตรวจสอบกัน ส่งอารมณ์ ถ้าใครอารมณ์เหมือนเรา ถูกต้อง ถูก ถ้าอารมณ์ไม่เหมือนเรา ผิด...ก็ความเหมือน

ดูสิ เวลาประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเรา จิตสงบแล้ว ใครเห็นกาย ใครเห็นเวทนา ใครเห็นจิต ใครเห็นธรรม ถ้าเห็นกาย พิจารณากายไปแล้ว เห็นกาย จับต้องกายได้ แต่ยังพิจารณาไม่ได้ เวลาเสื่อมถอยมา สึกไป ก็เยอะแยะไป ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริงขึ้นมาแล้ว เขาต้องประพฤติปฏิบัติของเขาได้

ดูสิ เวลาหลวงปู่ฝั้นท่านขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ เวลาไปหาหลวงปู่มั่นแล้ว เห็นป่าเห็นเขา อยากจะไปเที่ยวธุดงค์มาก ก็คิดในใจมหาศาล เราจะไปที่นั่นดี ที่นี่ดีนะ พอเช้าขึ้นไป ไปรับบาตรหลวงปู่มั่น “จะไปที่ไหน ที่นี่ดีที่สุด”

อ้าว! ก็เป็นอาจารย์ เป็นครูบาอาจารย์ของเรา ก็จนด้วยเหตุผลของท่าน ก็ยังอุปัฏฐากบาตร ก็บิณฑบาตมา อุปัฏฐากท่าน เสร็จแล้วก็ภาวนาต่อเนื่องไป นี่ยังคิดอีก พอเห็นป่าเขา ป่าเขาสมัยก่อนมันเขียวขจีไปหมด มันน่าวิเวก มันน่าท่องเที่ยว ก็คิดอยากจะไป พอเช้าขึ้นมา “จะไปไหน ที่ไหนก็ไม่ดีเท่าที่นี่ ที่นี่ดีที่สุด”

พอโดนเข้าไปหลายๆ ทีเข้า ท่านก็ดูแลรักษาใจ นั่งพิจารณาของท่านนะ คืนหนึ่งนั่งภาวนาแยกแยะของท่าน แยกถึงธาตุถึงขันธ์ของท่าน เวลาพิจารณาไปถึงที่สุด จิตมันแยก กายเป็นกาย จิตเป็นจิต แยกออกจากกัน สว่างโพลงไปหมดเลย สว่างโพลงนะ สว่างโพลงด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยมรรคด้วยผล เช้าขึ้นมา ธรรมดาจะไปรับบาตรหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่มั่นท่านอยู่ในกระต๊อบ แต่วันนั้นไป หลวงปู่มั่นยืนอยู่หน้ากระต๊อบเลย “เป็นไง! จะไปเที่ยวที่ไหน เมื่อคืนผมไม่ได้นอนทั้งคืนเลยนะ เพราะอะไร เพราะดูจิตท่านนั่นน่ะ” นี่ไง “ดูจิตท่าน”

เพราะเวลาเราคิด เราอยากจะไปที่นั่น เราอยากจะไปที่นี่ อยากด้วยกิเลส พอกิเลสมันไปแล้วมันก็เร่ร่อน พอมันไปแล้วมันก็ทำตามแต่ใจของมัน มันก็นอกความจริงของมันไปเรื่อย ไปเจอไปรู้ไปเห็นสิ่งใดก็ชอบใจก็ดีใจ ก็ติดข้องไปอยู่อย่างนั้น เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านคอยดูแลให้ เห็นไหม “จะไปไหน ที่ไหนก็ไม่ดีเท่าที่นี่” ก็กลัวอาจารย์ ก็เชื่อ คืนต่อไป อีกแล้ว คิด โอ้โฮ! จินตนาการไปทั่ว พอเช้าไปรับบาตร “จะไปไหน ที่ไหนมันจะดีเท่ากับที่นี่ ที่นี่แหละมันดี” นี่พิจารณาๆ ท่านช่วย ท่านดูแล

เวลามันพิจารณาของมันไป เพราะมันอยากไป อยากไปก็คือขันธ์ อยากไปก็คือความคิด อยากไปๆ แล้วความอยากมันก็กระทุ้ง ถ้าสติปัญญา เวลาหลวงปู่มั่นท่านให้กำลังมา กำลังมามันก็มีกำลังขึ้น เพราะจะคิดก็กลัว ท่านดูอยู่ทั้งคืนน่ะ เวลาคิดขึ้นมา กำลังของเราก็พิจารณาอยู่ กำลังที่กลัวหลวงปู่มั่นก็ช่วยเสริม พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก เวลามันขาด นี่ความจริง

ในความจริงระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ที่มีคุณธรรมด้วยกัน ความจริงมันเป็นความจริงวันยังค่ำ แต่ความจริงที่ลูกศิษย์ลูกหาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปมันไม่มีความสามารถพอที่จะมีความจริงขึ้นไปเพื่อทดสอบความจริงของครูบาอาจารย์ไง ถ้ามันมีความจริงที่มันทดสอบกับครูบาอาจารย์ได้ มันศิโรราบ ยอมรับความจริงอันนั้น แล้วความจริงอันนั้นมันก็อยู่ในหัวใจของเราด้วยไง เห็นไหม ถ้าในความจริงมันเป็นแบบนี้

ถ้านอกความจริง ดูสิ นอกความจริงมันเป็นความคิด มันเป็นเงา อาการของจิต ทำความสงบของใจเข้ามา จนจิตเห็นอาการของจิต ถ้าเห็นอาการของจิต เพราะจิตมันรู้มันเห็น จิตมันเห็นอาการของจิต มันก็จับได้ มันก็จะเห็นกิเลสได้ จิตสงบแล้วเห็นอาการของมัน จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง จิตเห็นอาการของจิต แต่เวลาความคิดของเรานอกความจริง ความจอมปลอม มันเป็นอาการมันล้วนๆ อาการคือเกิดจากจิต แต่จิตมันไม่เคยสงบ จิตมันก็ไม่รู้จักอาการ เพราะอาการกับจิตมันเป็นอันเดียวกัน อาการกับจิต เพราะคนที่ภาวนาไม่เป็นก็คิดว่าความคิดเป็นเรา คิดว่าสรรพสิ่ง อารมณ์ความรู้สึกนี้เป็นเรา ถ้าสรรพสิ่ง อารมณ์ความรู้สึกเป็นเรา มันก็ลากเราไปหมดเลย แล้วเราอยู่ไหนล่ะ เราก็ยังไม่สงบนี่ ก็เราทำความสงบของเราไม่ได้ ก็เราทำความจริงของเราไม่ได้ สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ถ้าไม่มีฐานที่ตั้งแห่งการงาน งานมันจะเกิดบนอะไร ถ้างานมันเกิด เกิดโดยสามัญสำนึกของมนุษย์

เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ใช่ไหม เกิดมามีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มนุษย์เกิดมามีร่างกายและจิตใจ จิตใจก็คือความคิด ฉะนั้น มนุษย์เกิดมามีร่างกายกับจิตใจ ร่างกายก็คือเรา ความคิดก็คือจิต มันก็คิดนี่ไง ถ้ามันคิดอยู่นี่มันก็ไม่มีที่ตั้งแห่งการงาน เพราะเป็นงานของมนุษย์ มันเป็นกิริยา เป็นความคิดที่เกิดจากจิต เพราะเกิดจากจิต แต่เราไม่เคยเห็นจิตเรา เรายังไม่รู้จักความสงบของเรา ถ้ามันคิดว่าว่างๆ ว่างๆ มันก็เป็นอาการของจิต อาการของจิตที่ว่าเราสร้างไว้ให้มันว่างๆ พอสร้างให้มันว่างๆ พอมันว่างๆ ถ้าเราเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง ถ้าจิตมันปล่อยวางมาบ้าง จิตมันมีการดูแลอยู่บ้าง มันยิ่งจินตนาการมหาศาลเลย

จิตมหัศจรรย์นัก จิตเป็นได้หลากหลายนัก แล้วจิตอยู่โดยอำนาจของพญามารยิ่งมหัศจรรย์มาก มหัศจรรย์ของกิเลสนะ ไม่ใช่มหัศจรรย์ของธรรม เพราะอะไร เพราะธรรมดา จิตมันเป็นได้หลากหลายนัก แล้วมันไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ไปศึกษามา ที่ว่า ธรรมะไม่เคยเสื่อม แต่มนุษย์ต่างหากเสื่อมจากธรรม แต่ตอนนี้มนุษย์อยากจะประพฤติปฏิบัติ มนุษย์มีสติปัญญา มนุษย์พยายามจะปฏิบัติ แต่ปฏิบัติโดยกิเลสไง ปฏิบัติโดยนอกความจริง นอกความจริงคือสมุทัยไง แล้วนอกความจริงนี้ มนุษย์จะเสื่อมจากธรรม ก็อ้างอิงธรรมด้วย เสื่อมจากธรรม เสื่อมจากธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ศึกษาจากครูบาอาจารย์มาก็อ้างว่ามีความรู้มา แล้วก็เอาสิ่งนี้มาจินตนาการ เอาสิ่งนี้มาสร้างภาพ พอยิ่งสร้างภาพขึ้นมา เห็นไหม ธรรมไม่เคยเสื่อม มนุษย์เสื่อมจากธรรม จิตที่มันปฏิบัติโดยนอกลู่นอกทาง โดยความจอมปลอม มันยิ่งออกห่างไปเรื่อยๆ จินตนาการ สร้างภาพ จิตเป็นได้หลากหลายนัก แล้วจิตนี้ โดยพญามาร มันอ้างอิงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสร้างภาพ มันไปไกลเลย

ในความจอมปลอม ในความแหลกเหลว ในการประพฤติปฏิบัติโดยกิเลสพาไป บรรลุธรรม รู้ธรรมร้อยแปด แต่ไม่มีข้อเท็จจริง ไม่มีความจริง ไม่มีความจริงเลย เพราะจิตไม่สงบจริง ถ้าจิตสงบ จิตทำความสงบของใจบ่อยครั้งเข้า ถ้าจิตสงบแล้วมันมีความสุข ความสุขแล้ว ขณะออกจากการประพฤติปฏิบัติแล้วยังมีความสุขต่อเนื่องมาหลายๆ วัน แล้วทำความสงบไม่ได้เลย มันก็จำแต่ความสงบนั้น

แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนา เราก็พยายามทำความสงบของใจของเราเข้ามา ฝืนกับมัน ทำความสงบของใจเข้ามา หาเวที ถ้าหาเวที หาสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน จิตสงบแล้ว จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง สัจธรรม สัจธรรมคือธรรมารมณ์ ก็คือความคิดนั่นแหละ นี่อารมณ์ที่เป็นธรรมะ อารมณ์ อารมณ์ก็ความคิดไง แต่เป็นธรรมขึ้นมาเพราะอะไรล่ะ มันเป็นธรรมขึ้นมาเพราะจิตสงบไง เพราะจิตสงบเป็นสัมมาสมาธิ จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน

ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส คิดโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก คิดโดยมาร คิดโดยความพอใจ มีคำบริกรรม ใช้สติปัญญาต่อเนื่องกันมากขึ้นมาจนรักษาได้ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร สติปัญญามันรู้เท่า ขาด ขาดคือว่ามันเห็นโทษ มันไม่ไปจับต้องอีก นี่เป็นกัลยาณปุถุชน

ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชน ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบมากขึ้น ถ้าใจสงบแล้ว นี่ใจ จิตที่สงบเป็นสัมมาสมาธิ นี่ไง สัมมาสมาธิ จิตเห็นอาการของจิต เพราะจิตมันสงบ จิตมันเห็นอาการของมัน แต่ถ้าจิตมันไม่สงบ จิตมันเป็นสามัญสำนึก จิตมันเป็นโลก มันเป็นเรา อาการเป็นเราไง คือเรากับอาการเป็นอันเดียวกัน

ความรู้สึกเรา ปัญญาของเราอ่อนด้อย จนคิดว่าความรู้สึกนึกคิด ที่ปฏิบัติโดยความจอมปลอม ในความจอมปลอม พอจิตมันเป็นได้หลากหลายนัก ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจินตนาการสร้างภาพกันไป มันว่าเป็นมันไง มันว่าเป็นมัน เป็นเรา เห็นไหม เรารู้ เราเห็น เราเก่ง เรารู้ เราเข้าใจ...เป็นเรา เป็นเรา มันเป็นไง มันไม่มีตัวจิต ตัวสัมมาสมาธิ มันเลยจิตไม่เห็นอาการของจิต อาการเป็นเราไปหมด สรรพสิ่งเป็นเราไปหมดเลย ถึงได้พูดไง เขาถึงได้บอกไงว่า เราไม่ต้องหาเวทีชกก็ได้ เราก็เป็นผู้ฝึกซ้อม ชกลมข้างเดียว เราชกลมข้างเดียว โอ้โฮ! เก่งมาก ได้แชมป์โลก ให้คะแนนตัวเอง มันไม่เป็นตามข้อเท็จจริงหรอก

เป็นแชมป์โลก หรือเป็นแชมป์โดยความพอใจ โดยความจินตนาการ โดยความคิดของตัวเอง แต่มันไม่มีสถานะการยอมรับจากวัฏฏะ ไม่ต้องสถานะการยอมรับของสังคมหรอก สถานะของการยอมรับของวัฏฏะ จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ตายเดี๋ยวนี้ ว่าเป็นพระอรหันต์โดยความจอมปลอมน่ะ ตายเดี๋ยวนี้ก็เกิดเดี๋ยวนี้แล้วกันแหละ ถ้าไม่เป็นการยอมรับของวัฏฏะ เพราะมันมีอวิชชา มันมีเหตุ มีเชื้อมีไข มันต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แต่ถ้าเป็นความจริง มันหัก หักเลย วิวัฏฏะ หักวัฏฏะเลย มันหักอย่างไรล่ะ

ถ้าจิตสงบแล้ว พอจิตสงบแล้วเห็นอาการของจิต เห็นอาการคือเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็นธรรม ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เป็นธรรม เป็นธรรมเพราะมันมีสัมมาสมาธิ มันมีสัมมาสติ มันถึงจับอารมณ์ความรู้สึกได้ ถ้าจับอารมณ์ความรู้สึกได้ เราถึงจะเห็นว่าความคิดเกิดได้อย่างไร อ๋อ! แต่ก่อนความคิดเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเราไปหมด แต่พอเราเห็นความคิด เราจับความคิดได้ ถ้าจับความคิดได้

“อ้าว! เขาก็จับความคิดได้ เขาก็จับได้หมดแหละ”

ความคิดเป็นเรา เรากับความคิดเป็นอันเดียวกัน เพราะมันไม่สงบ มันไม่สงบ มันจะไม่มีผล ถ้าจิตมันสงบนะ พอมันสงบมันก็มีความสุขของมัน ถ้าจิตสงบแล้วเวลาไปจับได้ จับได้ มันสะเทือนกิเลสไง นี่ไง ถ้ามันรู้มันเห็นกิเลส ถ้ามันจับได้ มันแปลกมหัศจรรย์ มันแปลกมหัศจรรย์เพราะอะไร มันแปลกมหัศจรรย์ขนาดที่ว่า เราศึกษามาขนาดไหนก็แล้วแต่ นั้นเป็นทฤษฎี เราศึกษามาขนาดไหน เราก็รู้โดยภาคการศึกษาด้วยการจดจำ เราไม่เคยได้เสพอารมณ์นั้น คนไม่เคยขึ้นชกมวย คนไม่เคยขึ้นไปต่อกรกับนักมวยฝ่ายตรงข้าม จะไม่รู้หรอกว่าโดนชก เวลาโดนเตะ เวลาโดนศอก เวลาโดนเข่า มันเจ็บปวดแค่ไหน

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันไม่เคยรู้เคยเห็นของมัน มันไม่มีผล มันจะเป็นพระอรหันต์กี่รอบก็เรื่องของมัน เรื่องของกิเลส เรื่องของความจอมปลอม เรื่องในความจอมปลอมอันนั้น ไม่ใช่ในความจริง ถ้าในความจริง มันต้องมีผล มันมีผล มันมีกิจจญาณ สัจจญาณ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ มันเกิดญาณ เกิดปัญญา เกิดความสว่างแจ้ง ความสว่างโพลง มันเกิด นี่ไง เวลามรรคมันเกิด มันแตกต่างกับความจอมปลอม

ในความจริงนี้ ครูบาอาจารย์ของเรากับหลวงปู่มั่นท่านได้ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ได้ปรึกษา ได้ค้นคว้า ได้วิจัย ได้สนทนาธรรมจนเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ได้ตรวจสอบกัน ในความเป็นจริงนี้ได้ตรวจสอบกัน ได้พิสูจน์กัน ได้ความจริงมา แล้วเวลาครูบาอาจารย์ที่ล่วงไปแล้วเป็นพระธาตุๆ คำว่า “เป็นพระธาตุ” นี้เป็นปลายเหตุนะ เพราะเป็นพระธาตุตามความเป็นจริง เพราะเป็นพระธาตุ มันใส มันผ่องใส

แล้วเม็ดพลาสติกมันก็เหมือนๆ กันน่ะ คนที่ทุจริต คนที่ฉ้อฉล มันก็ไปเอาพวกเม็ดพลาสติกมาแจกกัน แล้วผู้ที่กระทำ ผู้ที่อยู่ในวงการ เวลาเขาทำแล้ว เพราะเขาเป็นคนทำเอง เขารู้เอง ถ้าเขาทำเอง เขารู้เอง เขาถึงได้เยาะเย้ยถากถางครูบาอาจารย์ของเราที่เป็นพระธาตุจริงๆ

ครูบาอาจารย์ของเราที่เป็นพระธาตุจริงๆ มันเป็นอัฐิธาตุ แล้วมันเป็นพระธาตุขึ้นมาโดยชัดเจน จากอัฐิ จากกระดูก แล้วมันเป็นมา เพราะเราเคยได้มา เราเคยได้ของอาจารย์สิงห์ทองมา เป็นกระดูก แล้วอยู่กับเรามันเป็นพระธาตุขึ้นมา เพราะเราใส่ตลับไว้อยู่ในย่าม สมัยนั้นเราธุดงค์อยู่ มันเป็นมาเรื่อยๆ มันเป็นให้เห็นๆ เลย นี่เวลาเป็นมันเป็นจริงๆ

ฉะนั้น คนที่เขาทำความจอมปลอม เวลาเขาทำของเขาแล้วเขาหาผลประโยชน์ของเขาด้วยการแจกเม็ดพลาสติกกัน มีคนทำ มีผู้กระทำ แต่การกระทำนั้นมันเป็นการกระทำด้วยความฉ้อฉล แต่ไม่ใช่ครูบาอาจารย์ของเรา ไม่ใช่การประพฤติปฏิบัติตามความจริงของเรา ถ้าประพฤติปฏิบัติตามความจริงของเรา มันต้องเอาคุณธรรมในหัวใจนี้ สิ่งที่เป็นพระธาตุๆ มันเป็นเครื่องยืนยัน เป็นสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ถ้าความจริงจริงๆ แล้วมันเป็นมรรคญาณ เป็นปัญญาญาณในหัวใจนี้ที่พิจารณาอวิชชา

ที่ว่าจิตสงบแล้วจิตเห็นอาการของจิต เห็นอาการของมันก็เห็นกิเลส เห็นกิเลสก็เหมือนนักมวย นักมวยที่ขึ้นเวทีมันมีเรากับคู่ต่อสู้ มีธรรมกับกิเลสต้องต่อสู้กัน นี่ไง เขาบอก “ไม่จำเป็น ไม่ต้องทำ แล้วถ้าทำแล้วมันลำบาก ถ้าทำแล้วมันดูต่ำชั้น ไอ้ของพวกเรานี่พวกผู้ดี ปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิบัติแล้วมีมรรคมีผล”...ไม่มี! ไม่มีความเป็นจริง ไม่มีอยู่จริง มรรคผลไม่มีอยู่จริง เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญาที่ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ถ้าปฏิบัติง่ายรู้ง่ายก็เฉพาะตน เป็นปัจจัตตัง สันทิฏฐิโกเฉพาะจิตดวงนั้น ไม่มีใครจะมีอำนาจวาสนาเสมอกัน

เอกํ นามกึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีองค์เดียว เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เอตทัคคะ ๘๐ องค์ ก็ธรรมอันเดียวกัน ใครจะสร้างอำนาจวาสนามาแย่งชิงตำแหน่งกัน ใครจะสร้างอำนาจวาสนามามากน้อยกว่ากัน ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ในพระไตรปิฎก ท่านยังพูดเลย “เราวาสนาน้อย เราอายุแค่ ๘๐ ปี” แล้วต่อไป เพราะเขาข้ามไปอายุ ๑๖ อสงไขย อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี มันอยู่ที่เหตุที่ผล เหตุปัจจัยมันต้องมีการกระทำมา ไม่มีของฟรี ไม่มีของลอยมาจากฟ้า มันต้องมีการกระทำเป็นความจริงทั้งนั้นน่ะ ถ้าเป็นความจริงอย่างนี้ เห็นไหม

ฉะนั้น ที่เขาบอกว่า “ไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้ เราทำประสาของเรา”...ในความจอมปลอม ในความจอมปลอมไม่มีความจริงอยู่ ถ้าในความจริง ในความจริงต้องเห็นจิตจริง จิตจริงคือสัมมาสมาธิ ถ้าจิตจริง สัมมาสมาธิ จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกิเลส กิเลสกับธรรม ธรรมคือสมาธิธรรม ปัญญาธรรม กิเลสคือพญามาร ครอบครัวของมารที่มีอำนาจวาสนาครอบคลุมในหัวใจของเรา ที่เราประพฤติปฏิบัติกัน เราจะหากิเลสของเรา

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่ครูบาอาจารย์เราท่านกลัวที่สุดคือกลัวกิเลสของคน ท่านกลัวกิเลสในหัวใจของท่านก่อน แล้วกิเลสในหัวใจของท่าน ท่านต้องล้มลุกคลุกคลานนะ ครูบาอาจารย์ของเราท่านจะเข้มข้น ต่อสู้กับกิเลส ต่อสู้มาเต็มที่ ต่อสู้นะ เอาชีวิตเข้าแลกทั้งนั้นน่ะ แล้วประสบการณ์ กว่าจะจับมันได้ กว่าจะยึดมันได้ แล้วเวลาพิจารณาไปแล้ว เวลามันปล่อย ตทังคปหาน ปล่อยชั่วคราว กิเลสมันก็พลิกแพลง กิเลสมันจะพลิกแพลงนะ

ดูสิ คนที่มีอิทธิพล เขาจะให้คนที่ไม่เคยมีอิทธิพลในพื้นที่นี้เลย แล้วไปอยู่กับเขา แล้วสร้างอิทธิพลเสมอเขา เขาชอบใจไหม มันเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน พญามาร อวิชชา มันอยู่ในหัวใจของสัตว์โลกมาแต่ดั้งเดิม แล้วเราเพิ่งมาเตาะแตะ เพิ่งจะมามีศรัทธามีความเชื่อ เพิ่งมาจะต่อสู้กับมัน เราเตาะแตะนะ เราพยายามสร้างกำลังเพื่อไปเผชิญกับมัน ทีนี้พญามาร ครอบครัวของมารมันอยู่ในหัวใจของเราอยู่แล้ว เราถึงพยายามสร้างสติสร้างปัญญาของเราขึ้นมาเพื่อไปต่อสู้กับมัน

ฉะนั้น เวลาไปต่อสู้กับมัน มันต้องมีการกระทำ ครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านต่อสู้ ท่านพยายามของท่านมา ท่านรู้ท่านเห็นของท่านไง พอท่านรู้ท่านเห็นของท่าน ถ้าท่านมีอำนาจวาสนา ด้วยความเคารพบูชาของเรา เราเคารพบูชา ท่านได้สั่งสอนเราไง ท่านสั่งสอนเรา ถ้าคนไหนมีแวว ท่านจะคอยดูแล คอยสั่งเสีย คอยควบคุม ถ้าคนไหนไม่มีแวว ท่านก็ดูแลอยู่ แต่ไม่ควบคุม เพราะถ้าคนไม่มีแววมันทำไม่ได้ อย่างเช่นเราทำสมาธิ เราทำแล้วไม่ได้ๆ ท่านจะดุด่าเราขนาดไหน เราก็ทำไม่ได้ ทำอย่างไรล่ะ แต่ท่านก็ให้กำลังใจนะ เพราะมันเป็นเอกสิทธิ์ มันเป็นสิทธิของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เพียงแต่ครูบาอาจารย์ท่านพยายามส่งเสริม ท่านพยายามหาหนทางช่วยเหลือ แล้วถ้าเราทำของเราได้ มันจะเป็นความจริงของเราขึ้นมา

ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา นี่มันเป็นความจริง จิตจริง สมาธิจริง เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เราจับได้ มันจับได้ ถ้าเป็นความจริง มันมีรสชาติ ระลึกรู้ คนที่ฝึกหัดสติไม่เป็น พอทำสติได้นี่ แหม! มันชัดๆ นะ พอระลึกได้นี่ โอ้โฮ! มันชัดเจนมากเลย พอมันคุ้นชิน มันก็เริ่มต่อๆ ไป พุทโธๆ ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา ถ้ามันจิตสงบแล้ว พอมันสงบเข้ามา มันชัดเจนของมันนะ มันมีรส รสของธรรม รสของสมาธิธรรม แล้วเวลารสของปัญญา จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ พอมันจับได้ พิจารณาของมันได้ ปัญญามันแยกแยะ มันฟาดมันฟัน นี่รสของปัญญา

รสของสมาธิ รสของมรรค รสของศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาที่ประกอบไปด้วยสมาธิ ประกอบไปด้วยสติ มันพิจารณาของมัน โอ้โฮ! มันมีรสมีชาติ แล้วมันฟาดมันฟันกับกิเลส มันพิจารณาไป พอพิจารณาจนกิเลสมันหลบหลีก ถ้ามันไม่ขาด เขาเรียกว่าตทังคปหาน มันปล่อย โอ้โฮ! มีรสมีชาติ เป็นสมาธินะ ดูสิ เป็นสมาธิ มีความสุขมาก ถ้าออกจากสมาธิมายังมีความสุขต่อเนื่องอีกหลายวัน แล้วถ้าเกิดปัญญา พิจารณาไปแล้ว พอมันปล่อยวาง โอ้โฮ! แหม! สมาธิมันนอนตายอยู่นั่นน่ะ ใช้ปัญญามันประเสริฐกว่าๆ แล้วประเสริฐกว่าก็เหลิง ใช้ปัญญาต่อเนื่องไป เวลาใช้ปัญญา สมาธิมันอ่อนแอ ใช้ไปแล้วล้มลุกคลุกคลานหมดเลย “หลวงพ่อ แล้วทำอย่างไรดีล่ะ”

กลับมาพุทโธ ต้องกลับมาฟื้นสมาธิ กลับมาความมั่นคงของกำลังก่อน แล้วออกไปสู้กับมันใหม่ แล้วพอผิดพลาดไปๆ มันเริ่มชำนาญ

ถ้าใช้ปัญญาอย่างเดียว เวลามันเสื่อม ออกไปแล้วทุกข์ยากมาก ฉะนั้น เวลาใช้ปัญญาไปแล้ว รสของปัญญา แหม! สุดยอด แต่ถ้ามันปล่อยแล้วเรากลับมาอยู่ในความว่างอันนั้น แล้วพอมันคลายตัวออกมา จับได้ พิจารณาต่อ ถ้าพิจารณาไม่ได้ กลับมาสมาธิ

สมาธิกับปัญญาจะต้องไปด้วยกัน เพราะมันเป็นมรรค ๘ สัมมาสมาธิ สัมมากัมมันโต งานชอบ สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาสมาธิ นี่มันเป็นสัมมาๆ ฉะนั้น พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลามันขาด คำว่า “เวลามันขาด” มันขาดโดยชอบธรรม คำว่า “ชอบธรรม” มันเลยในความจริง ถ้าเราทำอยู่ในขบวนของความจริง มันมีความจริงเป็นพื้นฐาน มีความจริงเป็นรสชาติ รสของธรรม มีความจริงเป็นรสชาตินะ

เวลาประพฤติปฏิบัติไป เราแสนทุกข์แสนยาก ล้มลุกคลุกคลาน เป็นสมาธิก็รสของสมาธิธรรม มีความสุข ถ้าเป็นปัญญา มันมีความสุขเลอเลิศเข้าไปอีก แล้วเวลามันขาด มันขาดนี่เป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมคือธรรมทั้งแท่ง ธรรมที่ไม่เสื่อม

เวลาทำสมาธิไปมันเสื่อม มันก็ทุกข์ก็ยาก เวลาใช้ปัญญา ตทังคปหาน เวลามันเสื่อมก็ทุกข์ก็ยาก พิจารณาจนมันถึงที่สุด เวลาถึงที่สุดมันขาด มันขาดนี้เป็นอกุปปธรรม ไม่มีการเสื่อม คงที่ตายตัว แล้วคงที่ตายตัวมันเป็นอย่างไร รู้ รู้ขึ้นมาโดยสัจจะความจริง เห็นไหม ในความจริงจะได้ของจริง ปฏิบัติจริง รู้จริงเห็นจริง ปฏิบัติเพื่อความจริง เราเอาความจริงนี้ แม้มันจะทุกข์จะยาก ก็มันเป็นความจริง ถ้าเป็นกิเลส เป็นความจอมปลอม มันก็ไหลของมันไปใช่ไหม

เรา ชีวิตนี้เกิดมาจริงๆ เกิดมาเป็นเรากันจริงๆ แม้ถ้าเป็นชื่อในกรมการปกครองก็ชื่อจริงๆ ของเรา แต่จริงทางโลก ถ้าได้สมาธิขึ้นมา นี่ตัวตนความเป็นจริง นี่สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน แล้วถ้าเราฝึกหัดใช้ปัญญา มรรค มรรคเคลื่อนตัว มรรค ระหว่างกิเลสกับธรรมต่อสู้กัน ถึงที่สุด มีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แต่ฝึกฝนบ่อยครั้งๆ เข้า จนมีความชำนาญ พยายามทำต่อเนื่องไปจนเวลามันขาด กระบวนการของมันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เพราะความจริงกับความจริงต่อเนื่องเป็นชั้นเป็นตอน ถ้าเป็นชั้นเป็นตอนถึงที่สุด ในความจริงมันจะรู้จริง ปฏิบัติจริง ได้ความจริงกับหัวใจที่จริงๆ ในใจดวงนี้ เอวัง