ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

มีเกิดมีดับ

๒๓ ต.ค. ๒๕๕๘

มีเกิดมีดับ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

หลวงพ่อ : เรื่องข้างในมันทำยากอย่างนี้

ถาม : เรื่อง “สภาวะในสมาธิ

กระผมทำความสงบแล้วเริ่มพิจารณาโดยการกำหนดลมหายใจและใช้หลักสติปัฏฐาน  เฝ้าดูอาการของจิต ผมก็เกิดสภาวะต่างๆ ต่อมาผมก็ใช้ข้อคิดของหลวงพ่อที่สั่งมา คือกำหนดพุทโธเน้นเข้าไปให้ถึงจิตถึงใจ ก็ได้ผลครับ มันเกิดส้มหล่น เห็นการหลุดของทุกข์ มันเป็นรูปธรรม จับต้องได้จริงๆ มันสะเทือนใจมากๆ ตามมาด้วยอาการโล่งอกโล่งใจ ผมทำได้  ครั้ง ต่อมาเหมือนกิเลสมันรู้ทัน สภาวะนั้นมันไม่ทะลุถึงจุดนั้น แต่มันวนๆ เหมือนชนกำแพง ผมก็เลยทนทำเอา ตอนนี้ก็เกิดสภาวะเป็นก้อนเสียดหน้าอก ผมก็ใช้วิธีการเดินรู้ลมและกำหนดพุทโธ แต่มันบริกรรมไม่ได้ครับ เพราะลมมันสั้น แต่สักครู่อาการทุกข์เสียดหน้าอกก็จางคลายโล่งอก เป็นอย่างนี้เป็นรอบๆ ซ้ำๆ

ขอถามครับ

ผมจะได้สภาวะหลุดโล่ง เห็นอนิจจังคาตาอีกไหมครับ

ความรู้สึกหนักเป็นก้อนแล้วรู้สึก (ไม่ใช่เหมือนข้อที่ .) มันจางคลาย สิ่งนี้คือทุกข์ กิเลสที่ฝังในจิตใต้สำนึก หรือเป็นอนุสัยที่หลุดขึ้นมาหรือไม่ครับ

ผมจะทำอย่างไรต่อครับ เคยลองพยายามกดดันกำหนดต่อ หลังจากรู้สึกหนักและจางคลายหลายๆ รอบแล้ว แต่มันไม่ได้ผลอะไร มันไม่ทะลุครับ

ข้อสังเกตตัวเองในระหว่างการปฏิบัติ เวทนาทางกายมี แต่มันทนได้ อาการปีติ รู้ลมตลอด รับรู้เสียงภายนอก แต่ไม่รำคาญ จิตฟุ้งบ้างเป็นระยะ

ตอบ : นี่ข้อสังเกตส่วนตัวเนาะ นี่คำถามเรื่องสมาธิ คำถามเรื่องสมาธิ ว่าสภาวะในสมาธิ ถ้าเขาทำสมาธิได้ ถ้าทำสมาธิได้ เวลาเขาทำได้ เวลาเขาบอกว่ามันหลุดออกไป ทุกข์มันหลุดออกไป มันเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ เขามีความสุขมาก มันสะเทือนใจมากๆ

เวลามันสะเทือนใจมากๆ มันทำได้จริง ถ้ามันทำได้จริง นี่ปัจจัตตัง เพราะเรารู้ของเรา เห็นไหม เหมือนกับเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาใครทุกข์ใครยากขึ้นมา เวลาไปศึกษาแล้วมันได้สติ พอสติขึ้นมามันก็ปล่อยความทุกข์นั้น

ไอ้นี่เหมือนกับเราศึกษา แล้วเราศึกษาธรรมะ แล้วธรรมะเข้ามาชำระล้างธรรมะ ความเข้าใจในธรรมะ ความเข้าใจในธรรมะนั้นมันปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในความทุกข์นั้น มันก็มีความสุขอันหนึ่ง

ฉะนั้น เวลาเราภาคปฏิบัติไง ถ้าเรากำหนดพุทโธๆ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเวลาจิตมันเป็นสมาธิขึ้นมา มันมีความสงบ มันภาคปฏิบัติไง มันลึกลับมันมหัศจรรย์กว่า คือมันลึกซึ้งกว่าน่ะ ถ้ามันลึกซึ้งกว่า เห็นไหม

ในภาคปริยัติคือศึกษา ศึกษามาเข้าใจนะ ถ้าคนเรา เรามีทิฏฐิของเรา เรามีความโลภของเรา เวลาเราศึกษาธรรมะแล้วเราว่าเราเข้าใจ เราเข้าใจ เราซาบซึ้งซาบซึ้งนั้นมันความเข้าใจ อันนั้นมันเป็นความเข้าใจทางโลก

แต่เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติไป ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้ามันปฏิบัติไปเป็นความจริงขึ้นมา เขาบอกมันเกิดส้มหล่น เห็นความหลุดไปของทุกข์ มันเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้จริงๆ มันสะเทือนใจมากๆ มันสะเทือนใจมากๆ มันเป็นได้อย่างนี้ถึง  ครั้ง

ถ้าเป็นได้  ครั้ง พอเป็นได้  ครั้ง มันเป็นได้ ทีนี้คำว่า “เป็นได้” ทำสมาธิได้ เวลาคนทำสมาธิได้ สมาธิ เราจะบอกว่ามันเหมือนสิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตต้นไม้ ต้นไม้ถ้าเราไม่ดูแลรักษามัน ต้นไม้นี้ตายนะ ต้นไม้นี้ขาดน้ำ ไม่มีการดูแลรักษา ต้นไม้นี้ตาย

จิตของเรามันคลุกเคล้าอยู่กับความโลภ ความโกรธ ความหลง มันคลุกเคล้าอยู่กับกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันก็คลุกเคล้าอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่เคยตาย จิตมันไม่เคยตาย

คนเราเวลาตายไปแล้ว เวลาคนตาย เราเห็นได้ มันพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไง วิทยาศาสตร์ สัญญาณชีพไม่มีคือคนตาย พอคนตายปั๊บ ร่างกายเหมือนท่อนไม้เลย เดี๋ยวมันก็แข็ง พอแข็งขึ้นมาแล้วเดี๋ยวมันก็ย่อยสลาย มันก็เน่าของมันไปแต่จิตมันออกไปแล้วไง คำว่า “จิตไม่เคยตายๆ” จิตมันก็ไปหาที่อยู่ของมันใหม่

ฉะนั้น เวลาที่เรามาประพฤติปฏิบัติ เวลาจิตมันสงบ จิตสงบมันเกิดได้ แล้วมันก็ดับได้ คือมันเกิดดับๆ เราว่า “เกิดดับๆ สรรพสิ่งนี้เกิดดับ โลกนี้มีแต่ความเกิดดับ

สมาธิมันก็เกิดดับ แต่การเกิดดับ ดูความคิดความเห็นมันเกิดดับโดยสัญชาตญาณ เวลามันเกิดมันดับของมัน โดยอารมณ์ความรู้สึกมันเกิดดับ สมาธิเราสร้างมา เราพุทโธๆ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ คือมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันเกิดขึ้นมาด้วยการกระทำเกิดขึ้นมาด้วยความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ เราทำของเราขึ้นมา มันถึงเกิดสัมมาสมาธิ

สมาธิมันเกิดแล้วมันก็เสื่อม มันก็เกิดดับไง คำว่า “เกิดดับ” คือว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิต มันต้องดูแลรักษา มันไม่เหมือนวัตถุ ดูสิ วัตถุทำเสร็จแล้วก็ตั้งไว้ เราทำสิ่งใดเสร็จแล้วเราก็ตั้งไว้ มันก็อยู่ของมันอย่างนั้นน่ะ ตั้งมันไว้ แต่สมาธิมันเกิดจากเรา อารมณ์ความรู้สึก วันนี้มีความสุขมากเลย เวลามันเสื่อม วันนี้มีความทุกข์มากเลย นี่มันมีเกิดมีดับ

ถ้ามันมีเกิดมีดับขึ้นมาแล้ว มีเกิดมีดับ แต่เราได้สัมผัสแล้ว มันเป็นรูปธรรมเลย เขาบอกว่ามันส้มหล่น ความทุกข์นี่หลุดออกไปเลย เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้จริงๆ มันสะเทือนใจมาก ตามมาด้วยความโล่ง

นี่พอทำๆ ไป เขามีสติมีปัญญา คนมีสติปัญญามันรู้ได้ เขาบอกเขารู้ได้ว่าเหมือนกิเลสมันรู้ทัน” เวลาเขาว่านะ “เหมือนกิเลสรู้ทัน

กิเลสมันเหนือเราอยู่แล้ว แต่เวลาเราทำ กิเลสมันนอนหลับ กิเลสมันพลั้งเผลอ เราถึงลงสมาธิได้ เวลากิเลสมันพลั้งเผลอ เวลาเราลงสมาธิ กิเลสมันสงบตัวลง ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิ

การทำสมาธิ ในลัทธิในศาสนาใดก็แล้วแต่ เขาทำสมาธิได้ทั้งนั้นน่ะ ทีนี้ทำสมาธิแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้เป็น  อย่าง  อย่างคือถูกหรือผิดไง สัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ

ลัทธิศาสนาใดก็แล้วแต่ เขาฝึกทำสมาธิ แต่เขาฝึกทำสมาธิ เป็นสมาธิแล้วทำอย่างไรต่อ เพราะอะไร เพราะว่าพวกลัทธิของเขา เขาไม่มีพระอริยบุคคล ไม่มีครูบาอาจารย์สอนต่อเขาไง

เป็นสมาธิแล้วมันเป็นได้  อย่าง  อย่างคือมิจฉาสมาธิ คือสมาธิมืดบอดสมาธิที่จะทำอะไรต่อไป แต่สัมมาสมาธิแล้วสมาธิเป็น สมาธิที่มีชีวิต สมาธิที่จะก้าวเดินต่อเนื่องไป พอเป็นสมาธิแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา

ที่ว่าในแนวทางสติปัฏฐาน  ถ้าเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิ มันยังเป็น  ทางทางหนึ่งคือมิจฉา มิจฉาคือว่าไปไหนไม่เป็น ทำสิ่งใดไม่ได้ อยู่แค่นั้น ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิคือมีสติ มีสติมีปัญญาแล้วยกขึ้น ยกขึ้นคืออะไร

ยกขึ้นคือว่าเพราะเป็นสมาธิแล้ว โอ้โฮมีความสุขมาก เวลามันคลายออกมา มันก็มีเท่านี้หรือ มันก็มีเท่านี้ มันต้องพัฒนามากกว่านี้สิ ถ้าเราจะมีคุณธรรมเราต้องมีสติมีปัญญา มันต้องค้นคว้ามากกว่านี้สิ แล้วถ้าค้นคว้า เอาอะไรค้นคว้าล่ะ เพราะถ้าเป็นสมาธิ มันลึกลับมหัศจรรย์ใช่ไหม ถ้าเราน้อมไปเห็นสติปัฏฐาน โอ้โฮมันจะมีสติปัญญา มันจะจับต้อง มันจะเป็นใบเบิกทาง เป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกหัดใช้ภาวนามยปัญญา แต่ถ้ามันคลายตัวออกมา มันก็เป็นความคิดเรานี่

ความคิดเรานะ ถ้ามีสมาธิ ถ้ามีสติปัญญาที่มั่นคงนะ ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเข้าใจ มันปล่อยวาง สังเกตได้ไหมว่าเวลาเราศึกษาสิ่งใด มันเข้าใจ มันปล่อยวาง มันมีความสุขความสงบ แล้วก็ปัญญาอย่างนี้ ข้อมูลเหมือนเดิมนี่ เวลามันคิดไปแล้ว มันคิดแล้วมันจืดๆ คิดแล้วมันไม่ซาบซึ้งเลย คิดแล้วมันปกติ เพราะอะไร เพราะมันขาดสมาธินี่ไง ขาดสมาธิ ขาดพื้นฐานไง

ถ้ามันจะแก้ไข แก้ไขคือกลับไปที่สมาธิ กลับไปที่พุทโธ ให้จิตมันปล่อย จิตมันวาง จิตเป็นอิสระ แล้วพอมันคิด เพราะจิตเป็นอิสระ มันไม่มีกิเลส ไม่มีสมุทัยเจือปน เวลามันพลิก มันคิดโดยสัมมาสมาธิ แล้วพอมันเกิดปัญญา ปัญญาที่เกิดจากความเพียรชอบ เกิดจากงานชอบ เกิดจากการงานชอบ

การงานชอบคือก่อตั้งตัวเองได้ถูกต้องชอบธรรม แล้วมันเป็นความชอบธรรมปัญญามันชอบธรรม มันพิจารณาของมันไป มันจะซาบซึ้งของมัน นี่ซาบซึ้งของมันมันพิจารณาของมันไป พิจารณาของมันไป ถ้ากำลังมันพอนะ มันสมดุลของมันน่ะสมดุลคือมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาคือความสมดุลความพอดีของมัน

ทีนี้มัชฌิมาปฏิปทา เราอยากได้ เราอยากได้มัชฌิมาปฏิปทา อยากได้ความสมดุล อยากได้ความพอดี เราก็วัดเอา เมตรหนึ่งก็ ๕๐ เซนติเมตร ตรงกลางมัชฌิมาปฏิปทาคือความตรงกลาง กลาง กลางของคนขี้ขลาด กลางของคนที่ไม่รับผิดชอบ กลางของคนที่ไม่มีวุฒิภาวะ

แต่ถ้าสมดุล ความสมดุลของมัน ความสมดุลมันพิจารณาของมัน มันสมดุลของมัน มันจะเป็นความจริงของมัน ฉะนั้น เวลาถ้ามันเป็นอย่างนี้ มันเป็นปัจจัตตังเป็นสันทิฏฐิโก มีการกระทำ

แต่นี้ผู้ที่ปฏิบัติเขารู้ของเขาได้ มันเหมือนกิเลสมันรู้ทัน พอกิเลสมันรู้ทัน มันเป็นสัญญาทั้งนั้นน่ะ พอสัญญาขึ้นมา มันเทียบมันเคียง มันคาดมันหมาย เพราะเราทำของเราแล้ว เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา มันคาดมันหมายของมัน มันรู้ทัน เลยทำสิ่งใดได้ยาก พอทำสิ่งใดได้ยาก มันถลำไปพอเราเพลี่ยงพล้ำแล้วกิเลสมันซ้ำเติมเลย เห็นไหม

พอมันซ้ำเติม บอกว่า “เหมือนกิเลสมันรู้ทัน สภาวะที่มันเคยหลุด มันก็วนอยู่อย่างนั้นน่ะ มันชนเพดาน มันมีการเสียดอก” ทีนี้อุปสรรคมาเยอะแยะเลย ถ้าอุปสรรคเยอะแยะ นั่นกิเลสมันได้ทีแล้ว

เวลาธรรมะมันได้ทีนะ เวลาธรรมะมันเจริญมาในหัวใจของเรา กิเลสมันไม่มีทางต่อสู้ เพราะอะไร เพราะรสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง

ชีวิตของเรา ความรู้สึกของเรา ความคิดของเรามันอยู่กับเรามาตลอด แต่พอทำความสงบของใจได้หนหนึ่ง รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง ความสงบอันนั้นน่ะมันซาบซึ้งกว่า มันดีกว่าเยอะแยะเลย พอมันซาบซึ้งกว่า มันมีคุณค่ามากกว่า พอมีคุณค่ามากกว่า เพราะอะไร นั่นแหละรสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง มันชนะเหนือกิเลสไง

ทีนี้พอพิจารณาไป เหมือนกิเลสมันรู้ทัน

นี่คือสติปัญญานะ คือเราได้ศึกษามานะ เราได้ฟังธรรมมา เราถึงได้รู้ว่ากิเลสมันรู้ทัน ถ้าเราไม่ได้ศึกษามา พอมันมีกิเลสมาแทรก มีสิ่งใดเข้ามายุมาแหย่ ไปเลยน่ะ “โอ๋ยธรรมะเป็นอย่างนี้เอง” ถลำไปเลย

ทีนี้ไม่ถลำ กิเลสมันรู้ทัน แต่มันก็พลิกแพลง กิเลสมันร้อยแปด สิ่งมีชีวิต มันเล่ห์กลของมัน มันวนอยู่อย่างนั้นน่ะ มันขึ้นไปชนเพดานบ้าง พอภาวนาไปมันเสียดอก ถ้ามันเสียดอก เราก็ต้องมาใคร่ครวญ เวลาใคร่ครวญ พิจารณาของเราว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป

เวลาเราทำดีของเรา เราทำนี่เราทำดีของเรา เวลาผลของมันเกิดขึ้นมามันมหัศจรรย์เลยล่ะ เขาบอกว่า มันเป็นสิ่งที่ว่าอนิจจัง ความทุกข์มันหลุดออกไปเลย

ความทุกข์ความเข้าใจมันปล่อยวาง พอปล่อยวางขึ้นมา มันมหัศจรรย์ของมันอยู่แล้วล่ะ ฉะนั้น พอมันต่อเนื่องไป กิเลสมันพิจารณา เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านเป็นห่วงๆ ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านรักษาพวกเรามาก็ตรงนี้แหละเจริญแล้วเสื่อม

ทุกการกระทำมันมีเจริญ มีเจริญความรุ่งเรืองขึ้นไป แล้วก็มีเสื่อมถอย ในเมื่อโลกนี้เป็นอนิจจัง การปฏิบัติมันเป็นอนิจจัง มันมีเจริญขึ้นไปแล้วมันก็ต้องเสื่อมถอยของมัน

ทีนี้ถ้ามันเจริญขึ้นไป ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเรามีสติมีปัญญานะ ครูบาอาจารย์ของเราท่านมีสติมีปัญญา ท่านจะมีสติรักษาตลอด รักษาคืออะไร คือตั้งสติไว้แล้วกำหนดพุทโธของเรา ทำงานก็ทำงานของเราไป ถึงเวลาปั๊บ พอว่างจากงาน เราพุทโธทันที รักษาไว้ๆ รักษาของเราไว้ ถ้ารักษาที่เหตุนี้ไว้ สมาธิมันจะอยู่กับเราตลอดไป แล้วพอทำสมาธิอยู่กับเราตลอดไป คนไม่เคยทำงาน หรือทำงานเก็บรักษา ในทางการแพทย์ต่างๆ เขาต้องเก็บเครื่องมือ เขาต้องอบ เขาต้องฆ่าเชื้อ เขาต้องทำสิ่งใดแล้วไม่ให้ติดเชื้อ

นี่ก็เหมือนกัน ใจของเรา ถ้าดูแลรักษา เวลามันติดเชื้อ เวลากิเลสมันแทรกขึ้นมาได้ เราจะแก้ไขอย่างไร ถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์นะ เราไม่เข้าใจ เราจะหาทางออกไม่ถูก แต่ครูบาอาจารย์ท่านเคยมีประสบการณ์อย่างนี้มาแล้ว ถึงบอกว่าต้องตั้งสติไว้ แล้วถ้าเวลากิเลสที่มันได้ทีนะ มันได้ที มันได้กำลังนะ เวลาเราจะพยายามชักฟืนออกจากไฟ เราพยายามจะทอนกำลังของมันน่ะ การทอนกำลังมันก็เหมือนพระที่ปฏิบัตินี่ไง การทอนกำลังของมันก็คือการอดนอนผ่อนอาหาร

การอดนอนผ่อนอาหาร เรากินมาก กิเลสมันก็กินด้วย ร่างกายของเราแข็งแรงขนาดไหน กิเลสมันก็แข็งแรงด้วย ถ้าเราหิว กิเลสมันก็หิวด้วย มันต้องแลกมาไง เวลาอดอาหารนี่หิวไหม หิว แหมใครอดอาหารแล้วไม่หิว ไม่มีหรอก

แต่อดอาหารแล้ว การอดอาหารนี่แก้แม้แต่หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ฝั้น ในประวัติหลวงปู่ฝั้นนะ ท่านมาฉลองกรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี ๒๔๗๕ ท่านมาฉลองกรุงเทพฯ มาพักที่วัดบวรฯ ท่านเป็นคนล้างบาตรของหลวงปู่สิงห์ พระมหาปิ่น แล้วของท่านเองเป็น  ใบ วันนั้นท่านไปล้างบาตรอยู่ที่วัดบวรฯ เดินสวนกับสีกาคนหนึ่ง เดินสวนกันเฉยๆ นะ ไม่เคยรู้จักกัน ไม่เคยเห็นหน้ากันนะ เห็นหน้ากันครั้งแรก ผูกพันนะผูกพันเขามากเลยนะ

ฉะนั้น หลวงปู่สิงห์กับพระมหาปิ่นท่านเป็นพระผู้ใหญ่ ถ้าอย่างนั้นให้เข้าโบสถ์ โบสถ์วัดบวรฯ นั่นน่ะ แล้วก็ปิดโบสถ์เลย เพราะว่าท่านสนิทกับสมเด็จฯฉะนั้น พอเข้าไปแล้ว อดอาหาร วันแรกรักไหม รัก ไม่กิน วันที่  ยังรักไหม ยังรักอยู่ วันที่  ก็ยังรักอยู่ พอวันที่  นะ อดข้าวถึง  วันแล้ว ยังรักไหม ชัก ๕๐-๕๐แต่ก็ยังรักอยู่นะ วันที่  วันที่  ถึง  วันน่ะ มันจะตาย อดอาหารจนตาย

ถ้ารัก ไม่กิน ถ้ายังผูกพันกับเขา ไม่กินข้าว ถึงวันที่  นะ ไม่รักแล้ว ไม่รักมันจะตาย เห็นไหม การอดนอนผ่อนอาหาร ถ้าคนจริงจังมันได้ประโยชน์ขนาดนี้ได้ประโยชน์

แม้แต่เจอครั้งแรกไม่เคยเห็นหน้ากันนะ ไม่เคยเห็นหน้ากัน ไม่เคยสิ่งใดกันเจอหนแรก มันเป็นเวรเป็นกรรม ผู้หญิงเขาไม่รู้เรื่อง เขาเดินผ่านวัด มันเป็นทางผ่าน เขาเดินมาแล้วเขาก็ไปแล้ว เรายังไม่รู้ว่าบ้านเขาอยู่ไหนเลย ไม่รู้จักเขา ไม่เคยเห็นเขาเลย ทำไมไปผูกพันกับเขา...เข้าโบสถ์

เวลาบอกว่า ถ้าเวลากิเลสมันได้ที มันไปไกลเลย แต่ถ้าเราจะมีอุบาย มีวิธีการต่อสู้ อย่างที่ว่าอดนอนผ่อนอาหาร เวลาคำว่า “อดนอนผ่อนอาหาร” ทุกคนฟังแล้วมันก็ของคนทุกข์คนจน แอฟริกาเขาไม่มีจะกิน เขาอดนอน เขาเป็นเด็กขาดสารอาหาร เขาไม่เห็นได้อะไรเลย...อันนั้นการอดอย่างนั้นคือการอดแบบไม่มีจะกิน การอดเพราะว่ามันเป็นภัยแล้ง

ไอ้ของเรามันอด ของมันมีอยู่ต่อหน้า ร่างกายเราไม่ได้ขาดสารอาหาร เราอุดมสมบูรณ์ แต่เพราะหัวใจของเรามันไม่ดี หัวใจของเรามันมีกิเลส เพราะหัวใจของเรามันไปหาเรื่อง ฉะนั้น เราจะอดอาหารเพื่อสอนหัวใจของเรา เราอดอาหารอดอาหารให้ร่างกายมันซูบผอม ให้หัวใจ ถ้าตาย เอ็งก็อยู่กับร่างกายนี้ไม่ได้

มันมีเป้าหมายไง การอดมันมีประเด็น มันมีเป้าหมาย มันมีการกระทำ มันมีอุบาย ไม่ใช่อดอาหารแบบที่เขาไม่มีจะกินนู่น อันนั้นเขาอดอาหารเพราะมันทุกข์มันเป็นเวรเป็นกรรมของเขา เขาคนทุกข์คนจนของเขา เขาไม่มีจะกินของเขา เขาทุกข์จนขาดสารอาหาร ไอ้ของเราบิณฑบาตมา เขาใส่บาตรทุกวันน่ะ แต่เพราะว่าจิตใจของเรากิเลสมันฟูขึ้นมา เราต้องมีอุบาย

นี่พูดถึงว่า เวลาจิตมันเสื่อมแล้วเราจะแก้ไข แก้ไขของมันอย่างไร นี่อารัมภบทนะ อารัมภบทว่า จิตมันเสื่อม จิตมันท้อแท้ไง ทีนี้พอไปแล้ว โอ้โฮเป็นก้อน เป็นสิ่งเสียดอก

มันต้องแก้ไขไปทั้งนั้นน่ะ ตอนนี้นะ มันเหมือนกับเราเดินไปแล้วเหยียบหนามหนามมันตำเท้า เราเดินไปกะโผลกกะเผลกแล้ว เพราะว่าเราเดินไม่เต็มเท้าแล้วเพราะหนามมันตำเท้า ไอ้นี่เหมือนกัน พอมันเป็น มันเสียดอก มันเหมือนกับมันมีศรมีหลาวปักกลางหัวใจ แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร นี่พูดถึงการปฏิบัตินะ

ฉะนั้นบอกว่า พูดอย่างนี้มันพูดแบบนิยายเลย ไม่รู้เรื่องเลย หลวงพ่อก็พูดไปเรื่อย ไอ้คนฟังก็ไม่รู้เรื่อง

อ้าวก็เอ็งไม่เป็นน่ะ เอ็งไม่เคยเป็นอย่างนี้ เอ็งไม่เคยปฏิบัติ ใจเป็นนามธรรมๆ มันเป็นอย่างไร แล้วเวลามันถูกต้องดีงามมันทำอย่างไร

นี่ไง พูดถึงว่า ไอ้คนฟังมันก็บอก โอ้โฮไอ้คนพูดก็พูดนิยายเลยเนาะ ไอ้คนฟังก็ แหมเคลิบเคลิ้ม เวลามันไม่เป็นนะ ถ้าเป็นก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่เป็นนะ ไม่ทุกข์ไม่ยาก ไม่รู้จักหรอก แต่ทุกข์ยากแล้วรู้จัก นี่พูดถึงว่าอารัมภบท

ทีนี้คำถาม “ผมจะได้สภาวะหลุดพ้น เห็นอนิจจังคาตาอีกไหมครับ

ได้ เพราะว่าเราเคยได้ เราเคยทำมาแล้ว เห็นไหม “ผมจะได้สภาวะหลุดพ้นเห็นอนิจจังคาตาอีกไหมครับ

ผมจะได้” คำว่า “จะ” จะก็คือการกระทำไง ถ้าเราทำได้ก็ได้ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเหตุมันสมดุลของมันแล้วทำไมมันจะไม่ได้ แต่ตอนนี้เขาว่า “ผมจะได้สภาวธรรมอย่างนั้นอีกหรือไม่

ถ้าได้สภาวธรรม คำว่า “ได้สภาวธรรม” มันฝังใจ มันอยากได้ตรงนั้น

ฉะนั้นที่ว่าเราเคยภาวนาแล้วจิตสงบ เห็นถึงความหลุดพ้น กิเลสหลุดออกไปเลย ความทุกข์มันหลุด

มันไม่มีอะไรหลุดหรอก มันเป็นธรรม มันเป็นสภาวธรรมที่เรารู้เราเห็น ถ้าจิตสงบแล้ว จิตบางคนสงบเฉยๆ บางคนสงบแล้วเห็นตัวเองไปเดินจงกรมอยู่บนก้อนเมฆ บางทีสงบแล้วมันจะรู้จะเห็นร้อยแปด อันนี้มันเป็นจริตนิสัย ความเห็น เห็นนี้คืออะไร เห็นเพราะจิตมันสงบมันถึงเห็น เพราะเราพุทโธ จิตมันสงบแล้วเราเห็นถ้าจิตสงบมันเห็นนิมิตอย่างนั้น

แต่ถ้าเรารู้ทันนะ เราพุทโธๆ ถ้าเราจะเห็น เห็น เราก็วาง เพราะเราต้องการความสงบ เราไม่ต้องการความเห็น เพราะความเห็นนั้นมันต้องใช้พลังงาน ถ้าสงบขึ้นมา ทำเกือบตายกว่ามันจะสงบ สงบแล้วนะ ให้มันไปเห็นน่ะคือใช้จ่ายโดยที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่ถ้ามันสงบแล้วนะ เรายกขึ้นสู่วิปัสสนา เห็นไหม

เงิน เรามีเงิน เราใช้จ่ายทำเพื่อการเลี้ยงชีพ ใช้จ่ายเพื่อดูแลครอบครัวของเรา เงินได้มาแล้วนะ เล่นการพนันอีลุ่ยฉุยแฉก หมดแล้ว จิตสงบแล้วเห็น จิตสงบแล้วเห็น ถ้าเราเป็น เราไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เราสงบแล้วเราใช้จ่ายในครอบครัวของเรา เราใช้จ่ายเพื่อประโยชน์กับเรา จิตสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา

ทีนี้คนไม่รู้อย่างนั้นเพราะว่าอะไร เพราะว่าจิตสงบแล้วใช้จ่ายในครอบครัวแล้วใช้จ่ายทำไมล่ะ เออถ้าเล่นการพนันสนุก อ้าวจิตสงบแล้วไปเห็นนิมิต สนุกเออสงบแล้วไปรู้เห็น เออดี...นี่ใช้จ่ายโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าเราจิตสงบแล้วเราทำของเรา

นี่พูดถึงว่าสภาวะที่รู้ที่เห็น เพราะจิตสงบมันไปรู้เห็น รู้เห็นแล้วทำอย่างไรต่อไป รู้เห็นแล้วเราจะดูแลจิตเราอย่างไร ถ้าจะรู้จะเห็นอย่างไร

ถ้ารู้เห็นมันเป็นความดี มันเป็นความดีของเรา ที่ว่าความดีของเรา ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเหตุนะ ก็กลับไปพุทโธนี่แหละ กลับไปพุทโธ กลับไปใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ

ฉะนั้น ถ้าเหตุผลมันถูกต้องดีงาม มันลง ทีนี้เหตุผล ทีนี้จิตใจของเรา ถ้าไม่รู้ไม่เห็นสิ่งใดเลย มันก็ไม่มีเป้าหมายที่เราจะยึดมั่น แต่พอจิตมันเคยเป็นไง จิตมันเคยเห็นทุกข์หลุดออกไปเลย ก็อยากจะให้ทุกข์หลุดออกไป อยากจะให้ทุกข์หลุดออกไป

ก็ที่จะให้หลุดนั่นล่ะมันคือทุกข์ ก็ที่อยากจะให้มันหลุดนั่นล่ะคือทุกข์ ก็เราไม่ไปทุกข์ไง ก็เราไม่ไปคิดไง ก็เราไม่ไปคิดอยากจะให้ทุกข์มันหลุดออกไปไง เราก็มาอยู่ที่พุทโธนี่ไง เราก็มาอยู่ที่ปัญญาอบรมสมาธิไง มันจะหลุดไม่หลุดนะ เหตุเดี๋ยวถ้าสมดุล เดี๋ยวมันหลุดเอง

นี่อยากจะให้ทุกข์มันหลุดออกไป นี่คือว่าตัณหาซ้อนตัณหา

เวลาทำนะ ทำเหมือนคนไม่รู้อะไรเลย เวลาทำ ทำเหมือนคนไม่รู้อะไร แต่มีสตินะ ถ้ามันจะเป็นได้หรือไม่ได้ มันเป็นความสมดุล เป็นความพอดี

ฉะนั้น ถามว่า “ผมจะได้สภาวะหลุดพ้น เห็นอนิจจังคาตาอีกไหมครับ

ถ้าเรามีการประพฤติปฏิบัติแล้วสมควร ธรรมทั้งหลายสมควรแก่เหตุ ถ้าเหตุมันสมควรแล้ว ได้ ได้แน่นอน ได้เลย ได้แน่นอน แต่ที่ว่า ถ้าคำว่า “ได้แน่นอนแล้ว” เรายังโหยหาอยู่ จะทุกข์ไปอย่างนี้

ได้แน่นอน ได้แน่นอน หน้าที่ของเรา เราสร้างเหตุของเรา เราใช้สติของเราเราใช้ปัญญาของเรา แล้วสิ่งที่มันจะเป็น สิ่งที่มันจะเป็นอย่างที่เคยได้ มันอยู่ที่เราทำสมควร เราทำพอดี ถ้าพอดีแล้วได้ ได้แน่นอน นี่พูดถึงว่าได้แน่นอน

เพียงแต่คำว่า “ได้แน่นอน” ทีนี้ก็ยึดเลย ได้แน่นอนๆ เมื่อไหร่จะได้แน่นอน

กรณีนี้เหมือนพระอานนท์ พระอานนท์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “อานนท์ เราตายไปแล้ว  เดือน เขาถึงมีสังคายนา เธอจะได้เป็นพระอรหันต์วันนั้น” แล้วพระกัสสปะก็นิมนต์พระอรหันต์ ๔๙๙ องค์มาทำสังคายนา รอพระอานนท์องค์หนึ่ง

เหตุการณ์มันพอดีหรือเป็นจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์เลย แล้วพระอานนท์ก็นั่งรอเลย วันนี้จะเป็นพระอรหันต์ วันนี้จะเป็นพระอรหันต์จนเครียดไปหมด ก็พระพุทธเจ้าพูดเองว่าจะเป็นพระอรหันต์คืนนี้ พระพุทธเจ้าพูดเอง สุดท้ายมันทนไม่ไหว มันเครียดมาก เฮ้อปล่อยแล้ว ขอพักเสียก่อน มันไม่ไหวแล้ว พอเอนลง พอปล่อยหมด พอเอนลงเท่านั้นน่ะ ผัวะเป็นพระอรหันต์เลย

นี่ไง เพราะพระพุทธเจ้าพูดไว้อย่างนั้นจริงๆ นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่า “อีก เดือนข้างหน้าเขาจะทำสังคายนา เธอจะได้เป็นพระอรหันต์วันนั้น

ทีนี้คำว่า “เธอจะได้เป็นพระอรหันต์วันนั้น” ก็คิดไง พระพุทธเจ้าบอก “เธอจะได้เป็นพระอรหันต์วันนั้น” จะได้เป็นเพราะพระพุทธเจ้าพยากรณ์ เป็นได้เพราะพระพุทธเจ้ารับรอง แต่ไม่ได้คิดเลยว่ามันจะเป็นได้เพราะสติปัญญาของเราเองมันจะเป็นไปได้เพราะมรรคของพระอานนท์เอง

พระอานนท์ถ้าปล่อยวางความคิดที่ความผูกพันที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ความรู้สึกก็ไปอยู่ตรงนั้นไง ส่งไปอยู่ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าจะเป็นๆ คำว่า “จะเป็น” ก็เลยไม่ได้เป็น แต่เวลาดึงกลับมาเป็นปัญญาของตัวเอง ดึงกลับมาเป็นความรู้สึกตัวเอง ตัวเอง เฮ้อไม่เอาแล้ว ปล่อยหมดเลย พอปัญญาของตัวเองเกิด นั่นล่ะพระอรหันต์เกิดตรงนั้นน่ะ พระอรหันต์เกิดตรงปัญญาของพระอานนท์เองนั่นแหละแต่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ แต่พยากรณ์ไว้ ตัวเองก็ไปยึดไว้ตรงนั้นไง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราบอกว่า เราอยากได้อย่างนั้น อยากเป็นอย่างนั้น อยากให้กิเลสหลุดอย่างนั้น

เออจิตไปอยู่ตรงนั้นไง มันไม่เป็นของเรา ถ้าเป็นของเรา ตั้งสติไว้ ทำได้

แล้วที่ว่ามันเป็นข้อที่ . “ความรู้สึกหนักเป็นก้อน แล้วรู้สึก (ไม่ใช่เหมือนข้อที่ .) มันจางคลาย สิ่งนี้มันคือทุกข์ กิเลสที่มันฝังจิตใต้สำนึก มันเป็นอนุสัยที่ผุดขึ้นมาหรือไม่ครับ

มันเป็นก้อนๆ หรือว่าเป็นอะไร คำว่า “เป็นก้อนๆ” กิเลสมันสร้างภาพ กิเลสมันสร้างเครือข่ายของมัน ว่าอย่างนั้นเถอะ เวลาคนนั่งนะ เวลาเรานั่งสมาธิ ถ้าเราไม่กลืนน้ำลาย มันก็ปกตินะ พอนั่งสมาธิ กลืนน้ำลาย ก็กลืนน้ำลายอยู่อย่างนั้นน่ะอึ๊กอยู่อย่างนั้นน่ะ เวลานั่งแล้ว พอกลืนน้ำลาย จิตมันรับรู้ ทั้งๆ ที่มันเกิดโดยสามัญสำนึก เกิดโดยปกติของเรานี่ แต่ประเด็น จิตมันเกาะ

ถ้าจิตมันเกาะตรงไหนนะ บางคนนั่งไปแล้วตัวเอียง มีมากเมื่อก่อนนะ พอนั่งไปถึงจุดหนึ่ง เหงื่อจะแตกพลั่กเลย พอนั่งไปถึงจุดนั้นปั๊บ ตอนเหงื่อแตกพลั่ก ตอนที่ตัวเอียง ตอนต่างๆ นี่คือประเด็นที่จิตมันเกาะไว้ แล้วนี่มันจะเป็นอุปสรรค แล้วนั่งไปได้แค่นี้ นั่งไปถึงตรงเหงื่อแตก นั่งไปถึงตรงกลืนน้ำลาย นั่งไปถึงตรงตัวเอียง ก็แค่นั้นน่ะ จิตมันเกาะไว้ มันสร้างประเด็นไว้ แล้วค่อยๆ แก้ไป พุทโธไปเรื่อยๆ มันจะจางไปๆ จางไปจนประเด็นนี้ไม่มี เดี๋ยวมันก็เกิดประเด็นใหม่ จากกลืนน้ำลายก็กลายเป็นกังวลเรื่องอื่น เป็นกังวลไปตลอด

นี่ก็เหมือนกัน ว่าจิตเป็นก้อนๆ

ก้อนๆ มันคืออะไรล่ะ ก้อนๆ มันเป็นหินหรือเปล่า ก้อนๆ มันเป็นหินหรือมันเป็นเหล็ก มันเป็นอะไร ก้อนๆ ก็จิตมันติดไง จิตมันสร้างว่าก้อนๆ ก้อนอะไรก็ได้

แต่เวลาที่เราพูดเมื่อก่อนนะ บอกว่า อารมณ์ความรู้สึกของเรามันเป็นวัตถุถ้าเป็นวัตถุ ถ้าจิตมันจับได้ จับได้เป็นวัตถุ วัตถุสิ่งใดก็ได้ เหมือนพระสารีบุตรหลานของพระสารีบุตรจะมาต่อว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเอาตระกูลของพระสารีบุตรมาบวชเป็นพระอรหันต์หมดเลย ตระกูลของพระสารีบุตร พระจุนทะ พระเรวัตตะ น้องชายพระสารีบุตรทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น ก็จะมาต่อว่า จะมาต่อว่าว่าพระพุทธเจ้าเอามาทั้งครอบครัวเลย ทีนี้จะต่อว่าพระพุทธเจ้าตรงๆ ก็กลัวบารมี เห็นไหม “ข้าพเจ้าไม่พอใจไอ้นั่น ข้าพเจ้าไม่พอใจไอ้นี่” คือจะไม่พอใจตรงนี้แหละ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ทัน “ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ ไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย

อารมณ์ความรู้สึก เพราะความคิดของเรา อารมณ์ความรู้สึกมันมีผลกระทบมันมีเหตุมีผล มันเป็นรูปธรรมไง

ถ้าคนภาวนาเป็นนะ พระสารีบุตรถวายพัดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฟังเทศน์ข้อนี้ ที่ว่า ๑๔ วันถึงได้เป็นพระอรหันต์น่ะ เป็นพระอรหันต์เพราะธรรมข้อนี้ไง เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่า “อารมณ์ความรู้สึกของเธอเป็นวัตถุอันหนึ่ง” ความคิดนี่ ความคิดอารมณ์เป็นวัตถุอันหนึ่ง พอจับพับพิจารณาได้เลย

นี่ก็เหมือนกัน คำว่า “เป็นก้อนๆ ก้อนๆ” ก้อนๆ อย่างไร ก้อนๆ นี้มันจับต้องอะไรไม่ได้ ถ้าก้อนๆ มันจับต้อง ถ้าจับอารมณ์ได้ จับอารมณ์ได้จะไม่ถามอย่างนี้จับความรู้สึกได้ ความรู้สึกหยุดเลย ถ้าใครจับความรู้สึกได้ นิ่งเลย

แต่เพราะเราจับไม่ได้ ความคิดมันถึงไหลไง อู้ฮูความคิดพับๆๆ นี่เราจับไม่ได้หรอก เพราะสติเราไม่ทัน แต่ถ้าจิตสงบ เห็นอาการของจิต คือเห็นความไหลไปเห็นความคิดไป จับปั๊บ หยุดเลย พอหยุด อารมณ์พอหยุดปั๊บ ในอารมณ์มีอะไรรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าไม่มี เกิดอารมณ์ไม่ได้ อารมณ์ความรู้สึกถ้าจับได้ปั๊บ

ถ้าเป็นก้อนๆ ก้อนๆ ถ้ามันจับได้ มันเป็นสติปัฏฐาน  ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้าจับไม่ได้ จับไม่ได้ก็เป็นก้อนๆ ก้อนๆ ก็เทียบไป นี่กิเลสมันหลอกถ้ากิเลสมันหลอก ความรู้สึกที่มันหนักเป็นก้อน

ถ้าเราพุทโธๆ มันจะจางไป มันจะหายไป มันจะหายไป จิตเป็นจิต จิตเป็นอารมณ์ความรู้สึก จิตเป็นจิต สมาธิเป็นสมาธิ รูปเป็นรูป เวทนาเป็นเวทนา สัญญาเป็นสัญญา สังขารเป็นสังขาร วิญญาณเป็นวิญญาณ แล้วมันรวมตัวกันอย่างไรมันจับต้องอย่างไร อันนั้นพูดถึงถ้าจิตสงบแล้ว ถ้าจับได้ มันจะเป็นแบบนี้

ถ้าจิตมันยังว่า มันมีความรู้สึกหนักๆ...มันเป็นโลกียปัญญา ความคิดทางโลก มันเป็นสิ่งเปรียบเทียบ มันเป็นอาการน่ะ คำว่า “อาการ” ไม่ใช่จิตไง คำว่าอาการ” อารมณ์ความรู้สึก ความคิดเป็นอาการ เพราะมันเกิดจากจิต มันเกิดจากจิต แต่มันไม่ใช่จิต เพราะอะไร เพราะอารมณ์ความรู้สึกมันเกิดดับ แต่จิตไม่เคยดับ จิตคือจิตนะ แต่ความคิดเกิดจากจิต

ทีนี้พอเกิดจากจิตขึ้นมา พอความวิตกกังวลขึ้นมา มันสร้างแล้ว จะเกิดเป็นก้อนไอ้นั่น จะเกิดเป็นอย่างนั้น เหมือนค่ายกลเลย กิเลสมันสร้างค่ายกลเลย แล้วเราก็หลงค่ายกลเราเอง

ฉะนั้นว่า ถ้ามีความรู้สึกอะไรหนักๆ เป็นก้อนๆ

วางหมด ไม่รับรู้ ตั้งสติไว้ พุทโธอย่างเดียว ไม่รับรู้ ถ้าไปรับรู้นะ ก้อนอะไรอยู่ที่ไหน ไปนะ มันหลอก มันเอาเหยื่อมาล่อ แล้วมันก็ให้เราวิ่งตามมันไป

ปล่อยมัน มันจะหนัก มันจะเป็นก้อนอย่างไรนะ เรากลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาคือใคร่ครวญ มันปล่อยๆๆ ไอ้สิ่งที่ว่ามันจะจบไป นี่เราไปคิดเอง เห็นไหม บอกว่า สิ่งที่เป็นก้อนๆ นั้นเป็นกิเลสใช่ไหม หรือมันเป็นอนุสัย

อนุสัยหรือว่ากิเลส กิเลส ยังไม่เห็นหน้ามันหรอก ยิ่งอนุสัย จับต้องไม่ได้เลยเพราะอนุสัยมันจะไปอยู่ที่ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺาณํ มันจะเป็นปัจจยาการนู่นน่ะ ถ้าเป็นอนุสัย มันละเอียดกว่านั้นอีก นี่พูดถึงว่าเวลามันเป็นไปไง ถ้ายังไม่เป็นไป เรารักษาของเราอย่างนี้ รักษาได้ ทำได้ นี่พูดถึงว่าถ้ามันเป็นก้อนๆ นะ

ผมจะทำอย่างไรต่อ เคยลองพยายามกดดันกำหนดต่อหลังจากรู้สึกหนักและจางคลายหลายๆ รอบแล้ว แต่มันไม่ได้ผล มันไม่ทะลุ

เพราะมันมีความอยาก มันเลยไม่ได้ผล เวลาทำไปนะ เวลาทำ เราทำหน้าที่การงาน งานของเรา เราทำหน้าที่การงาน เราทำงานแล้วเราจะต้องว่างานนั้นได้ผลไม่ได้ผล อยู่ที่ว่ามันประสบความสำเร็จ ทีนี้มันประสบความสำเร็จมันถึงเป็นความสำเร็จไง แต่นี่บอกว่ามันไม่ทะลุไป มันทำแล้วมันไม่ได้ผล

มันไม่ได้ผลส่วนที่ว่าเรากำหนดทางโลก เห็นไหม ตอนนี้วันละ ๓๐๐ บาท จบ วัน จ่าย ๓๐๐ จบ  วัน จ่าย ๓๐๐ ไอ้นี่เราทำบางวันนะ เราไม่ได้ค่าแรงเลยบางวันเราได้หลายๆ พันเลย คือบางทีถ้ามันทำได้นะ พอมันสงบแล้วมันมีค่ามากกว่านั้นอีก แต่บางวันทำแล้วนะ ตกสำรวจ ไม่ได้ ๓๐๐ คือปฏิบัติไปแล้วมันเหมือนไม่ได้อะไรเลย แต่ความจริงแล้วมันได้ มันได้คือเราบูชาไง เราปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาเรานั่ง เรานั่งสมาธิ บุญกิริยาวัตถุ กิริยาคือการนอน กิริยา กิริยาของเรา เราจะทำอย่างไรก็ได้ เราสละทิ้งแล้วเรามานั่งสมาธิถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเอาร่างกายเราบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะได้บุญไหม เราเอาร่างกายเรายกถวายบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะได้บุญไหม

เราได้บุญอยู่แล้ว ที่ว่าไม่ได้ๆ เลย มันได้ตรงนี้ ได้ตรงที่ว่าเราเสียสละ บุญกิริยาวัตถุ กิริยาของเราที่เราจะสะดวกสบาย เราจะอยู่โดยธรรมชาติของเรา เราเสียสละ เราเสียสละแล้วเจ็บไหม เจ็บ เวทนาเกิดไหม เกิด เราเสียสละ บูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แล้วถ้าบอกว่าจะพูดว่าบูชายัญล่ะ...ใช่ บูชายัญกิเลส ไม่ใช่บูชายัญเราบูชายัญไอ้เวทนานั่นน่ะ จับเวทนาบูชายัญ แต่เราสู้ไม่ไหวน่ะสิ เรานึกว่าบูชายัญเรา ไม่ได้บูชายัญกิเลส

จับเวทนามาบูชายัญ พิสูจน์กับมัน นี่ไง ถ้ามันได้ มันได้ตรงนี้ไง

เขาบอกว่าเขาพยายามปฏิบัติแล้ว พยายามกดดันแล้วมันไม่ได้

มันไม่ได้เพราะเราคาดหมายไง เราคาดหมายว่าเราอยากได้อย่างนั้นๆ มันไม่ได้หรอก ตัณหาซ้อนตัณหาแล้วล่ะ แต่ถ้าพูดถึงถ้าไม่ได้อะไรเลย เราก็บูชายัญกิเลส บูชายัญเวทนาถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำอย่างนี้แล้วมันสบายใจ ปฏิบัติอย่างนี้กิเลสไม่มีประเด็นมาหลอก เพราะความอยากได้ อยากดีอยากเป็น นี่ไง แล้วก็กดดันตัวเอง ปฏิบัติแล้วทุกข์น่าดูเลย เขาไปเที่ยวกันรอบโลก มีความสุข ไอ้เราอุตส่าห์มานั่งพุทโธๆ อู๋ยทรมานเกือบตาย...เพราะคิดอย่างนี้ไง เพราะความคิดอย่างนี้ การปฏิบัติของเรามันเลยยิ่งทุกข์ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ แต่ถ้าเรามีศรัทธาความเชื่อนะ ถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาเราศึกษาประวัติศาสตร์ ศึกษาประวัติองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นเตมีย์ใบ้น่ะ เขาจะได้เป็นกษัตริย์ ไม่ยอม ทำเป็นคนใบ้ซะเป็นคนใบ้คนบ้าเพราะไม่ต้องการรับผิดชอบ เขาไม่เชื่อ เขาตัดหู ให้ตัวเองพูดออกมา นี่กว่าจะได้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านสร้างบุญกุศลขนาดนั้น

เราทำอะไรมา แค่นั่งบูชายัญกิเลส สู้ไม่ได้หรือ บูชายัญแค่นี้เราสู้ไม่ได้หรือดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ กว่าจะเป็นพระโพธิสัตว์มา ถ้าศึกษาอย่างนี้ปั๊บนะ มันมีกำลังใจ แล้วเราทำเพื่ออย่างนี้ไง ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ปั๊บ เราทำแล้วจะได้อะไร ทำแล้วจะได้อะไร ๓๐๐ บาทก็ไม่พอใจ จะเอาวันละ ,๐๐๐ ไม่ได้อะไรเลย

แต่ถ้านั่งเฉยๆ นะ เวลามันรวมลง  ล้าน วันนี้ได้  ล้าน มันมีค่ามากกว่านั้นน่ะ แต่ของอย่างนี้มันจะไม่ได้ทุกวันๆ หรอก การปฏิบัติมันก็อยู่ที่อำนาจวาสนาของเรา แล้วเราปฏิบัติสมควรแก่เรา ทีนี้คำว่า “สมควรแก่เรา” ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก การกระทำของเราเพื่อประโยชน์กับเรา

เขาถามว่า เขาทำแล้วจะได้อีกไหม

ได้ แล้วที่ว่า ถ้ามันจะเป็นเสียดอกเสียดเอิก มันจะเป็นสิ่งใด กิเลสมันสร้างภาพทั้งนั้นน่ะ กิเลสมันทำให้เราท้อแท้ ยิ่งข้อ เรากดดันแล้ว เราทำแล้ว ทำแล้วหลายรอบมันไม่ทะลุมันไม่ทะลวง เพราะเราคาดเราหมายไง เราคาดเราหมายของเรา

แล้วทีนี้ย้อนกลับไปธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัมโพชฌงค์เพราะอะไร เพราะการจะบรรลุธรรมมันมีการวิจัย วิจัยธรรมะ วิเคราะห์วิจัยความเป็นไปของเรา มันต้องมีอินทรีย์

อินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันมีพละ มีกำลัง มีกำลังแก่กล้า จิตใจมีพละมีกำลัง นี่สัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ แล้วเราทำอะไรกัน กินก๋วยเตี๋ยวกินข้าวมันไก่ แล้วนั่งสมาธิ อยากจะเป็นพระอรหันต์

ที่ว่าได้สัมโพชฌงค์ เห็นไหม สัทธินทรีย์ ศรัทธาเป็นอินทรีย์ ปัญญาเป็นอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นอินทรีย์ มีพละ มีกำลัง มีสมาธิ องค์ของสัมโพชฌงค์ นี่เวลามันจะเป็นไปมันเป็นอย่างนี้

ไอ้นี่ศึกษาอะไรก็ไม่รู้ ทำอะไรก็ไม่รู้ แล้วบอกว่าตัวเองจะเป็น ตัวเองจะได้ แต่ถ้าทำจริงๆ แล้วนะ เราไม่ต้องคาดไม่ต้องหมาย เราทำของเราไป

นี่เขาบอกว่า “ข้อสังเกตในตัวเองในการปฏิบัติ เวทนากายมี แต่มันทนได้อาการปีติ รู้ลมตลอด รับรู้เสียงภายนอก แต่ไม่รำคาญ จิตฟุ้งบ้างเป็นบางระยะ

ค่อยๆ ทำไง เวลาเรายังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ เราก็อีลุ่ยฉุยแฉกกับชีวิตของเรา ทีนี้เวลาปฏิบัติแล้วเราก็แบบว่าเวลาเราน้อย รีบใหญ่เลย เวลาปฏิบัติแล้วก็อยากจะ  วัน  วัน จะให้ได้มรรคได้ผล เวลาไม่ปฏิบัติเลยก็ใช้ชีวิตไปอีลุ่ยฉุยแฉกเลย

เราทำเพื่อสร้างอำนาจวาสนาบารมี เรานี่นักปฏิบัติ เราอยู่ในสังคมปฏิบัตินะครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านปฏิบัติท่านบอกเลย บอกว่า “หงบเอ้ยปฏิบัติของเรามรรคผลมันไม่ค่อยเกิดหรอก มันทำยาก แต่เราก็อยากจะประพฤติปฏิบัติ เพราะให้ระยะทางของชีวิตมันสั้นลงๆ ถ้าเรายังไม่จบสิ้นกิเลส ก็ชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิดให้มันสั้นลงแคบลง ไม่ต้องว่าไม่มีต้นไม่มีปลายให้เราทุกข์เรายากอย่างนี้” นี่เวลานักปฏิบัติเขาคุยกันไง เวลาคนที่ปฏิบัติแล้วมันไม่ทะลุปรุโปร่งไง

อย่างของเรา เราปฏิบัติแล้วเราจะคุยกันไง เราได้สิ่งใดมา ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ จะปรึกษากัน จะคุยกัน ไอ้ของเรามันมีเรื่องให้พูดอยู่เรื่อยเลยเวลาคุยไปคุยมา ท่านจะพูดกับเราไง บอกว่า เราปฏิบัติ ก็เหมือนกับผู้ถาม มันอั้นตู้ มันไปไหนมันไม่เจริญงอกงาม แต่เราก็จะขยันหมั่นเพียรว่ะ เราจะขยันหมั่นเพียรเพื่อให้ชีวิตมันสั้นลงๆ เห็นไหม นี่เวลาผู้ปฏิบัติ ถ้าเป็นสุภาพบุรุษคุยกันอย่างนี้ มันไม่มีเหตุมีผลก็ต้องบอกว่ามันไม่มีเหตุมีผล

ถ้าเราจะไปสร้างเองว่ามันเป็นอย่างนั้นๆ โกหกทั้งนั้นน่ะ แล้วถ้าโกหกแล้วมันก็กดดันตัวเองไง เหมือนเรา เราไปอวดเขาเลยว่าเราเป็นเศรษฐี พอบอกว่าแชร์ลงขัน ไม่มีสตางค์ ไปอวดเขาว่านี่เศรษฐีใหญ่ เขาก็ชวนลงขัน พอจะลงขันไม่มีสักสลึง ก็ไปพูดไว้ไง ก็กดดันตัวเอง

ถ้าเราบอกเลย ไม่มีสตางค์ ลงขัน ลงหุ้นลม เพราะบอกตั้งแต่ทีแรกว่าไม่มีอ้าวถ้าลงก็ลงหุ้นลมเพราะไม่มี แต่อยากร่วมด้วย หุ้นลม แต่ไปอวดเขาว่าเศรษฐีๆ เวลาลงขัน ตายเลย กดดันตัวเอง

ปฏิบัติแล้วเราปฏิบัติอย่างนี้ นี่พูดถึงนะ เวลาปฏิบัติไง เวลาเริ่มต้นประพฤติปฏิบัติมันจะทุกข์ยากอย่างนี้ หลวงตาท่านสอนไว้ มันจะลำบากลำบนตอนคราวเริ่มต้น เพราะเริ่มต้นก็เหมือนเราฝึกงาน เรายังทำงานไม่เป็น ฝึกงานก็ลำบากนิดนึง แล้วเราพยายามฝึกฝนของเรา พอทำงานเป็นทำงานได้ พอทำงานเป็นแล้วมันจะเหนื่อยมันจะยาก แต่คนทำงานเป็นมันทำได้นะ ถ้าคนทำงานไม่เป็นมันกดดันตัวเอง ถ้ามันทำได้มันจะประสบความสำเร็จเนาะ นี่พูดถึงว่าสภาวะในสมาธิ เอวัง