ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ชอบธรรม

๑๒ ธ.ค. ๒๕๕๘

ชอบธรรม

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : “ขอยกเลิกคำถาม” 

เขาบอกคำถามครั้งที่แล้วมาที่ว่าให้กดไว้นั่นน่ะ ถ้ามันกดไว้ เขาบอกว่าเขาเข้าใจแล้ว คำถามนะ ขอยกเลิกคำถาม แต่มันเป็นคำถามใหม่ไง ขอยกเลิกคำถาม แต่มันเป็นประเด็นน่ะ 

ขอยกเลิกคำถาม เพราะเข้าใจแล้วค่ะ เข้าใจว่ากามตัณหาเป็นมรรค ถ้าสมุจเฉทจะเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว

ตอบ : นี่เขาถามมา ถามเยอะมาก แต่เวลาถามแล้ว เวลามีปัญหาขึ้นมามันแบบว่าเขาไปค้นคว้าในเว็บไซต์เรา เขาฟังเยอะมาก พอเขาฟังไปแล้วเขาบอกเขาเข้าใจ 

เพราะในเว็บไซต์นะ เราจะอธิบายธรรมะไว้หลากหลาย เพราะคนถามมา คนที่เขาศรัทธาใหม่ คนที่เขาเริ่มประพฤติปฏิบัติ เขาก็ถามมา คนที่ปฏิบัติไปแล้วติดขัดสิ่งใด เขาก็ถามมา คนที่ปฏิบัติไปแล้วมันเคยหาครูบาอาจารย์มาเยอะมาก แล้วฟังแล้วสับสน ก็ถามมา คำถามมันหลากหลาย ถ้าคำถามหลากหลาย เราก็จะตอบไปหลากหลาย

แล้วเราอยู่กับครูบาอาจารย์มา เพราะครูบาอาจารย์นะ หลวงตาเนี่ยท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเวลาใครมาถามปัญหามันเฉพาะคนๆ มันมีอุปสรรคไปทั้งนั้นน่ะ มันติดขัดไปทั้งนั้น แล้วท่านแก้เฉพาะคน ฉะนั้น หลวงปู่มั่นท่านถึงพูดไงแก้จิต แก้ยากนะ แก้จิตแก้ยากนะ” แก้จิตคือแก้ความสงสัย

ฉะนั้น พอแก้ความสงสัย คนเรามันสงสัยหลากหลาย ความสงสัยมันมีมหาศาลเลย แล้วคนสงสัยมันก็สงสัยจากพื้นฐานแตกต่างกัน ถ้ามันสงสัยจากพื้นฐานแตกต่างกัน เวลาจะตอบปัญหาก็ตอบปัญหาเพื่อให้เขาเข้าใจ เพื่อให้เขาเข้าใจปัญหานั้น คือเขา ปลดเปลื้องความติดขัดปัญหานั้น แล้วเขาจะได้ก้าวเดินต่อไป

ฉะนั้น เวลาไปฟังในเว็บไซต์เรามันจะหลากหลายมาก แล้วฟังแล้วอันไหนชอบใจ อันไหนถูกใจ เขาบอก เออเข้าใจ อันไหนไม่ถูกใจก็หลวงพ่อพูดผิด หลวงพ่อโอ้โฮเที่ยวโจมตี คนนู้น คนนี้ เวลาถ้ามันไม่พอใจนะ แต่ถ้ามันพอใจบอก อู้ฮูหลวงพ่อพูดดีมาก” 

อันนี้พอเขาเข้าไปฟังมาก พอฟังมากมันถึงคำถามมานี่ไง เวลาเขาถามปัญหามา เขาก็ติดขัดมาตลอด แต่พอเขาถามมาแล้วเขาบอกเขายกเลิกคำถาม เพราะเข้าใจแล้ว เข้าใจว่า กามตัณหาเป็นมรรค ถ้าสมุจเฉทจะเกิดขึ้นเป็นครั้งเดียว” 

อันนี้ก็เลยเป็นประเด็นใหญ่เลย เป็นประเด็นใหญ่ เพราะกามตัณหาเป็นมรรค มันเป็นมรรคตรงไหน ชื่อมันก็บอกแล้วว่ากาม กามตัณหา ถ้ากามมันก็เป็นกาม กามก็เป็นกิเลสอยู่แล้ว ยิ่งตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามันก็เป็นกิเลสทั้งนั้น ฉะนั้น สิ่งนี้มันจะเป็นมรรคไปได้อย่างไรล่ะ สิ่งนี้มันเป็นมรรคไปไม่ได้ ถ้ามันเป็นมรรคไปไม่ได้ มันเป็นกิเลสชัดๆ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่ากิเลส แล้วมันบอกเป็นมรรคได้อย่างไร

แต่เพราะว่าไปฟังในเว็บไซต์เราเยอะมากไง ก็เลยบอกว่ากามตัณหาเป็นมรรค ถ้าเขาบอกกามตัณหาเป็นมรรค เราเข้าใจว่า เวลาเราตอบปัญหา ถ้ามีคนเขาเห็นโทษไง คนเห็นโทษคือเขาตกขอบหรือไปข้างใดข้างหนึ่ง จะตกขอบไปเลยนะ แบบว่าซ้ายตกขอบ ขวาตกขอบ ไม่มีปัญหาหรอก ไอ้เผด็จการน่ะ ซ้ายตกขอบ ขวาตกขอบ เห็นไหม มันใช้ประโยชน์ไม่ได้ มันใช้ประโยชน์ไม่ได้หรอก ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาคนจะปฏิบัติแล้วก็พยายามจะทำให้ดี ทุกอย่างดี เห็นไหม 

ฉะนั้น กรณีนี้เรายกประเด็นของพระโมคคัลลานะ พระ โมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์นะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พอเบื้องซ้าย อยู่ในธรรมบท เวลาท่านธุดงค์ไป ท่านเผยแผ่ธรรมไป ไปพักตามบ้านเรือนของคน มันมีผู้หญิงคนหนึ่งให้เป็นที่พัก พระโมคคัลลานะ ท่านไปพักที่นั่น ผู้หญิงคนนั้นชอบใจพระโมคคัลลานะ ก็พยายามจะมามีเพศสัมพันธ์กับพระโมคคัลลานะ

พระโมคคัลลานะพยายามห้ามแล้วห้ามอีกๆ เพราะพระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ ผู้มีฤทธิ์ เขาก็พยายามไง เขาถูกใจพระโมคคัลลานะ จนสุดท้ายพระโมคคัลลานะท่านก็เลยหลุดปากไง บอกว่า เน่า” อวัยวะนี้เน่าหมดเลย มีหนอนออกมาตามอวัยวะ ทั้งหมดเลย ตามอายตนะเนี่ย พระโมคคัลลานะก็สงสารเขามาก เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านก็ปรารถนาดีทั้งนั้น ท่านปรารถนาดี ท่านอยากจะให้เขาเข้าใจ ให้เขามีคุณธรรม แต่จิตใจของเขาคิดไปแต่อย่างนั้น

ทีนี้พอเห็นอย่างนั้นนะ อยากจะช่วยเหลือเขา เพราะท่านมีฤทธิ์ ท่านพูดคำไหนเป็นคำนั้นน่ะ ท่านบอกเน่า มันก็เลยเน่าเลย เน่ามันก็มีพวกหนอนไช เขาก็โอดครวญร้องเจ็บปวดมาก ก็ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอก ข้าพเจ้าทำอย่างนี้มา แล้วมันเป็นกรรม ข้าพเจ้าสงสารเขานัก ข้าพเจ้าอยากจะแก้ไขเขา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก กรรม เขากรรมหนัก มันแก้ไม่ได้หรอก เขาจะถวายกามพระอรหันต์

ถ้ามันมีกรรมหนักขนาดนั้น มันหนักขนาดไหน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า มันหนักยิ่งกว่าแผ่นดิน” 

อย่างนั้นก็ขอดูแผ่นดิน” 

ก็เลยเหาะออกไปไง ที่พระโมคคัลลานะหลงทิศๆ ก็เหาะ ออกไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งไว้นะ สั่งบอกว่า “เวลาเธอออกไป ถ้าเห็นแผ่นดินนี้เท่าใบมะขาม เธออย่าไป มากกว่านั้นนะ ถ้าออกไปแล้วมันจะหลุดไปเลยไง” 

พระโมคคัลลานะก็ไปเรื่อย พอขึ้นไปมันก็เหมือนสมัยเรานี่ยานอวกาศออกจากโลกไป มันก็เห็นโลกมันสวยงาม ทีนี้ไปเรื่อยๆ หลุดไปเลย แล้วนี่กรณีนี้กรณีหนึ่ง

ทีนี้เวลากลับมาแล้วก็มาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้า บอกว่า อู้ฮูยกามนี่มันมีโทษมาก เรื่องกามราคะโทษมหาศาล ทำให้เกิดปัญหาโลก ๓ โลกธาตุ เรื่องกามราคะมันมีโทษมาก” ก็เพ่งแต่ว่ากามราคะมีโทษมาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเตือนสติไง โมคคัลลานะ เธออย่าบอกว่ากามมันมีโทษอย่างเดียวไม่ได้นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือตัวท่านเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดจากกาม มนุษย์เราเกิดจากกาม พ่อแม่ไม่มีเพศสัมพันธ์จะเกิดเป็นคนขึ้นมาได้อย่างไร

ฉะนั้น บอกว่า เราก็เกิดจากกาม เราเกิดจากโลก เราเกิดจากกาม เราก็เกิดจากกาม จะบอกอย่างเดียวว่ามันมีโทษ มัน ผิดไปหมดเลย มันใช้ไม่ได้หมดเลย แล้วมนุษย์เกิดมาจากไหนล่ะ 

นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเตือนพระ โมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะก็เลยเข้าใจขึ้นมาได้ พอเข้าใจได้ มันเป็นผลของวัฏฏะ คือมันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ใช้เป็นประโยชน์ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาแล้วเป็นองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเทวทัตก็เกิดมาเหมือนกัน แต่เป็น เทวทัตนี่เกิดมาจากไหน เกิดมาจากกาม 

แต่ถ้าเกิดมาจากกาม เอากามมาทำคุณงามความดีไง นี่ไง แล้วเวลากามทำคุณงามความดี มันก็เป็นเรื่องปัญหาของโลก ใช่ไหม ปัญหาของโลกเขาเรียกกามคุณ ๕ กามคุณ ๕ ดูสิ เวลา ชาติตระกูลของเรา เศรษฐี โอ้โฮเขาอยากมีลูก เขามีลูกยากมากเลย จนเดี๋ยวนี้มันต้องอุ้มบุญกันน่ะ นี่ไง เพราะถ้ามันเกิดกามคุณ ถ้ามันเกิดมาแล้วมาช่วยเชิดชูชาติตระกูล เกิดมาแล้วมาส่งเสริม มาทำคุณงามความดี เห็นไหม นี่กามคุณ ๕

เวลาคนเกิดมาในตระกูลใดก็แล้วแต่ เด็กเกิดมาเป็นผู้ชาย โอ้โฮเขาจะยกย่อง เขาจะสรรเสริญ เขาจะจัดเลี้ยงมหาศาลเลย กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ มันเป็นคุณของโลก มันเป็นคุณของครอบครัว มันเป็นคุณ 

กามคุณ ๕ มันเป็นมรรคตรงไหน มันเป็นเรื่องโลกๆ มันเป็นมรรคไม่ได้หรอก มันเป็นมรรคไม่ได้ เพราะศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาแล้วเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ถ้าไม่มาตรัสรู้ด้วยมรรคญาณก็ไม่เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรคนั้นคือมรรค

แต่เกิดมา คนดีเกิดมาในโลกมันเป็นกามคุณ ๕ มันเป็นคุณ แต่ถ้ามันเป็นโทษล่ะ เป็นโทษก็ฆ่าฟันกันน่ะ ผิดใจกัน ทำร้ายกันนั่นก็เพราะกาม กามทำโทษ กามมันทำให้จิตใจคนเจ็บช้ำน้ำใจ กามทำให้คนเจ็บปวด กามทำให้คนฆ่าฟันกันเพื่อแย่งชิงกัน นั่นกามมันเป็นโทษ กามคุณ ๕ เป็นกามเป็นเรื่องของโลก มันไม่เกี่ยวกับมรรค กามมันก็เป็นกาม

ดูเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปเขาเรียกว่าวัตถุกาม วัตถุข้าวของ รถ อยากได้รถสวยๆ อยากได้เพชรนิลจินดา นี่วัตถุกาม อยากได้วัตถุกาม แล้วกิเลสกามล่ะ มันเป็นกิเลสทั้งหมด มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร มันเป็นมรรคไปไม่ได้

ทีนี้ประเด็นนี้ เวลาไปฟังในเว็บไซต์เรามันหลากหลาย มันหลากหลายเพราะเวลาคนถาม คนถามเขามีมุมมองอย่างไร พระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์นะ มีฤทธิ์มีเดชนะ แต่ความละเอียดรอบคอบยังไม่เท่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทีนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าสิ่งที่เป็นโลกก็เป็นเรื่องโลก เป็นโลก บุญไง ศีลธรรม ศีลธรรมจริยธรรมมันเป็นเรื่องของโลก วัฒนธรรมมันเป็นความดีทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าคนเอาไปใช้ในทางที่ผิด คำว่า ใช้ในทางที่ผิด” คือใช้ด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เรื่องตัณหาๆ อย่างนี้มันก็เป็นโทษ มันเป็นโทษ มันเป็นโทษมันก็เป็นกิเลส มันเป็นกิเลส มันไม่ใช่เป็นมรรค

ฉะนั้น เวลาโลกเป็นกันแบบนี้ไง ฉะนั้น เวลาอธิบาย อธิบายให้คนเข้าใจ ฉะนั้น เลยคำถาม ถามมาบอกว่า เดี๋ยวนี้เข้าใจแล้ว กามตัณหาเป็นมรรค” ปวดหัวเลย คือฟังไม่ได้ศัพท์หรือวุฒิภาวะไม่พอ ถ้าวุฒิภาวะพอ เขาพูดเพื่ออะไร พูดเพื่อใคร นั่นมันอีกเรื่องหนึ่งนะ ฉะนั้น บอกว่าถ้ากามตัณหาเป็นมรรค เราก็พูดไว้เยอะ เราพูดไว้เยอะมากในการตอบปัญหาเนี่ย

ในการตอบปัญหา เวลาเรื่องของทางโลก เห็นไหม กามเนี่ย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดจากกาม สามเณรราหุลก็เกิดจากกาม มนุษย์เกิดจากกามทั้งนั้น เกิดจากพ่อจากแม่ แต่เกิดมาแล้วจะทำดีทำชั่วล่ะ เกิดมาแล้วเราสร้างบุญกุศลอย่างไร นั้นมันเป็นเรื่องของวัฏฏะ ฉะนั้น เวลาสังคมก็เป็นปัญหาของสังคมใช่ไหม

แต่ถ้าเวลาจะมาประพฤติปฏิบัติ เวลาคนเราจะประพฤติปฏิบัติ เราหาครูบาอาจารย์ได้ยาก พอหาครูบาอาจารย์ได้ยากนะ เวลาถ้าเรามีครูมีอาจารย์ เห็นไหม เวลาหลวงปู่มั่นท่านธุดงค์ไป กับหลวงปู่เสาร์ ไปหมู่บ้านใด ชาวบ้านเขาจะเอาลูกเอาหลาน มาฝาก เอาลูกเอาหลานมาศึกษา พอศึกษาไปเขาจะมีแนวทางของเขา ถ้าเขามีแนวทางของเขา เขากำหนดลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ เขาฝึกหัดไป

อย่างแม่ชีแก้ว แม่ชีแก้วก็หลวงปู่มั่นธุดงค์มา มาเจอแม่ชีแก้ว ตอนนั้นยังเป็นเด็กๆ อยู่ แล้วเวลาภาวนาไปแล้ว ท่านบอกเลย ถ้าเป็นเด็กผู้ชาย เราจะเอาไปด้วยเพราะมีแวว แต่นี่เป็นผู้หญิง เอาไปแล้วลำบาก ถ้าจะมีครอบครัวก็มีไปเถอะ แม่ชีแก้วน่ะ แต่สุดท้ายแล้วจะมีคนมาแก้ไข นี่ไง เวลามีครูบาอาจารย์ธุดงค์ไปตามหมู่บ้านใดได้ไปวางรากฐานใด คนที่ประพฤติปฏิบัติเขาก็มีแนวทางของเขา

แต่ในปัจจุบันนี้โลกมันเจริญไง เวลาปฏิบัติเขาก็ศึกษากันในทางอภิธรรม ในทางอภิธรรมเขาบอกว่ามีความอยากปฏิบัติไม่ได้ ปฏิบัติต้องไม่มีความอยาก ความอยากเป็นกิเลส ก็เลยรู้ตัวทั่วพร้อม ก็ล็อกจิตเอาไว้เลย ห้ามขยับหมดเลย รู้เท่าทันไปหมดเลย มันก็คาอยู่นั่น มันเป็นอารมณ์อารมณ์หนึ่ง แต่ถ้าพออารมณ์หนึ่งนะ ถ้าเขาก็บอกว่าอยากปฏิบัติไม่ได้ แล้วก็บอกว่าเวลาใครหายใจ เข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ บอกนี่มันไม่ใช่ เพราะมันมีความอยาก ต้องใช้ปัญญาไล่ไม่ให้มีความอยาก

นี่ไง ตรงนี้จะเข้า บอกว่า ความอยาก เห็นไหม ความอยาก ความอยากประพฤติ อยากปฏิบัติ อยากทำความดี ความอยากเป็นความเพียรนี่เป็นมรรค เป็นมรรคมันเป็นตรงนี้ เป็นมรรคเป็นที่เราอยากทำคุณงามความดี แต่ถ้าเราอยากเกเร อยากกลั่นแกล้งคน อันนี้เป็นมรรคไหม เป็นกิเลส

มันต้องแยกตรงนี้ ที่ว่ากามตัณหาเป็นมรรคมันไม่มีหรอก กามมันก็เป็นกิเลสอยู่แล้ว ยิ่งตัณหาความทะยานอยากยิ่งกิเลสไปหมดเลย แล้ว กามตัณหาเป็นมรรค เข้าใจแล้วค่ะ” นี่เข้าใจอะไร เข้าใจว่ากิเลสเป็นธรรมหรือ ไปเข้าใจอย่างนี้ได้อย่างไร แต่ที่เราตอบปัญหา เราพูด ประสาเรา เราก็จำขี้ปากหลวงตามาตอบทั้งนั้นน่ะ

หลวงตานะ เราซาบซึ้งท่านมาก บุคคลที่ปิดทองหลังพระ หลวงปู่มั่น หลวงตา ปิดทองหลังพระ สมัย ๑๔ ตุลา เห็นไหม เขาบอกพ่อแม่ไม่มีบุญคุณ พ่อแม่ก็มีความสนุกสนานเท่านั้นก็เกิดลูก ท่านถึงได้เขียนหนังสือว่า อันชนกชนนี ผู้ที่มีบุญคุณ นั่นน่ะท่านฝืนกระแสสังคม ท่านพยายามบอกว่า พ่อแม่ไม่มีบุญคุณได้อย่างไร พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ชีวิตนี้ได้มาจากพ่อแม่ พ่อแม่จะไม่มีบุญคุณอย่างไร ท่านเขียนหนังสือนะ แล้วก็ออกไปในสังคม เพื่อให้กระแสที่บอกว่าพ่อแม่ไม่มีบุญคุณ ทุกคนเกิดมา มีเสรีภาพ มีสิทธิเท่ากันนั่นน่ะ... มันพูดไปน่ะ

นี้ในกรณีหนึ่ง เวลากระแสสังคมที่มันมีกระแสรุนแรงมา หลวงตาท่านจะเอาธรรมะของท่านออกเจือจานเพื่อประโยชน์กับโลก ผู้ปิดทองหลังพระ ในปัจจุบันนี้มันมีกระแส ก่อนหน้านี้มันมีกระแสที่ว่า อยากปฏิบัติไม่ได้ ไอ้พวกพุทโธมันมีความอยาก มันเป็นไม่ได้ ต้องรู้เท่าทัน ไม่มีกิเลสเลย ไม่มีความอยากเลย มันถึงจะปฏิบัติได้

หลวงตาท่านถึงพูดว่าอย่างนี้ไง บอกว่า ความอยากที่เป็นมรรคมันมี ความอยากที่จะทำคุณงามความดี ความอยากที่จะปฏิบัติมันเป็นมรรค ถ้าเราไม่อยาก ไม่ขวนขวาย ไม่จริงจังเลย การปฏิบัติของเรามันก็ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเราทำงานอะไรโดยที่ไม่ตั้งใจ ทำโดยไม่ตั้งใจ ทำโดยความขาดสติ อันนั้นน่ะ อย่างนั้นน่ะมันเป็นกิเลส

แต่ถ้าเราตั้งสติ เราฝึกหัดสติ แล้วเราอยากทำ เราอยากจะปฏิบัติ เราก็หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ อันนี้มันเป็นความเพียรชอบ ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ นี่เป็นมรรค มรรคมันเป็นตรงนี้ ไม่ใช่กามตัณหาเป็นมรรค ปวดหัวเลย ถ้ากามตัณหาเป็นมรรค โอ้โฮกรรมฐานโง่กันขนาดนี้เชียวหรือ กรรมฐานจะบอกว่าตัวกิเลสจริงๆ มันเป็นมรรคขึ้นมาได้อย่างไร ตัวกิเลสมันเป็นมรรคไม่ได้ กิเลสมันเป็นกิเลสอยู่แล้ว 

โจรมันก็เป็นโจรอยู่แล้ว ถ้าโจรกลับใจก็เรื่องหนึ่ง แต่โจรมันกลับใจหรือยัง เห็นโจรหรือยัง รู้จักโจรหรือยัง แล้วบอกโจรกลับใจได้อย่างไร โจรมันยังไม่ได้กลับใจ เรายังไม่รู้จักโจรเลย

แต่ถ้าเราไปเห็นใจของเรา เราพิจารณาของเราเป็นสมาธิขึ้นมา นี่มันไม่ใช่กามตัณหาเป็นมรรคไม่ได้ มรรคก็เป็นมรรค มรรคมันถึงว่าสติชอบ สมาธิชอบ ปัญญาชอบ งานชอบ เพียรชอบ ความชอบธรรมอันนั้นมันถึงเป็นมรรค มรรคมันเป็นมรรค ๘ มรรค ๘ สมาธิชอบ ความสงบที่ชอบธรรม ความสงบที่ไม่ชอบธรรมมันก็ไม่ใช่มรรค ความเพียรของเรา ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะของเรามันจะเป็นมรรค นี้ว่าเป็นมรรคๆ ไง

เวลาคนทำมาหากินเป็นมรรคไหม คนที่ทำงานสุจริตเป็นมรรค แต่เป็นฆราวาส เป็นมรรคของโลก แต่เวลาจะประพฤติปฏิบัติมันเป็นอาหารของใจ ความเพียรอันนี้ เห็นไหม อาชีพชอบ อาชีพในการประพฤติปฏิบัติ มรรคมันก็มีมรรคหยาบ มรรคละเอียด ถ้ามรรคหยาบๆ เขาทำคุณงามความดีของเขาเป็นมรรค ถ้าเป็นมรรคอย่างนั้นก็มรรคเพื่อชาติ เพื่อตระกูล เพื่อโลก มันไม่ใช่มรรคเพื่อชำระล้างกิเลส

ถ้ามรรคชำระล้างกิเลส มันต้องมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา มันเป็นมรรค เห็นไหม แล้วโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มันยิ่งไปใหญ่เลย โอ๋ยมันหลากหลายมาก

แต่นี่กำปั้นทุบดินเลย อันนี้เราต้องแก้ก่อน บอกเขาเข้าใจ แล้วเขียนมาอย่างนี้ พอเข้าใจนี่แสดงว่าพระสงบก็ยอมรับความเข้าใจอันนี้ใช่ไหม... ไม่ใช่!

เราถึงบอกว่าย้อนกลับไปในเว็บไซต์เรา เว็บไซต์เรามันตอบ ตอบปัญหาเยอะมาก แล้วตอบปัญหานี่มันอยู่ที่วุฒิภาวะของคน คนที่มันสงสัยแค่ไหน คนก็สงสัยเรื่องทางโลก เรื่องอาชีพ ก็ไปอย่างหนึ่ง สงสัยเรื่องชีวิต ชีวิตมันทุกข์มันยาก ชีวิตมันกดดัน นั่นก็ตอบปัญหาไปอย่างนั้น แต่ถ้ามันละเอียดขึ้นมาก็อีกเรื่องหนึ่ง

ทีนี้เราตอบปัญหาไปหลากหลาย ไอ้นี่ไปถึงก็เป็นวิทยาศาสตร์ สูตรสำเร็จ อย่างนี้คืออย่างนี้ ไม่มีหยาบ ไม่มีละเอียด ว่าไปเลย กามตัณหาเป็นมรรค รู้แล้วว่ากามตัณหาเป็นมรรค” เป็นกิเลส ไม่มีมรรค 

มรรคคือเพียรชอบ งานชอบ ระลึกชอบ สติชอบ ปัญญาชอบ ความชอบธรรมถึงจะเป็นมรรค แล้วบอกว่า ถ้าสมุจเฉทเกิดเพียงครั้งเดียว” แล้วมันสมุจเฉทจริงหรือเปล่าล่ะ มันกิเลสประหารหรือสมุจเฉทปหาน มันมีครั้งเดียว ใช่ มันมีครั้งเดียว แต่มีครั้งเดียวมันต้องคนเป็นไง

คนเป็นแบบที่หลวงตาท่านไปหาหลวงปู่มั่นนั่นน่ะ ท่านบอกว่า เวลามันพิจารณากายไปแล้ว พิจารณาเป็นธาตุไปหมด โอ๋ยมันขาดไป โอ๋ยมันเวิ้งว้างไปหมด แล้วก็ไปกราบหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอก เออเหมือนเราเลยที่ถ้ำสาริกา แต่ของมหาไม่มียักษ์ ของเรามียักษ์

มันมีปัญญาการไล่เข้าไปด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ไล่อะไร ไล่สังโยชน์ ไล่ความผูกพันน่ะ เวลามันปล่อย ปล่อยมา เวลามันขาด อารมณ์มันแตกต่างกัน แล้วมันซาบซึ้ง มันอยากได้อีก พออยากได้อีก ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นก็ชม พอชมแล้ว ชมก็คิดว่ามันมีอีกไง ก็ขึ้นไปอีก ท่านบอกว่ามีครั้งเดียว คำว่า มีครั้งเดียว” มันต้องจริง มีครั้งเดียว พอมีครั้งเดียวเพราะมันต้องจริง พอมีครั้งเดียวก็คิดว่ามีครั้งเดียว แล้วท่านก็เลยคิดว่านี่คือนิพพาน ก็หยุดอยู่ที่นั่น ติดอยู่ ๕ ปี เพราะอะไร

เพราะคำพูดนะ คำพูดที่จะแก้ไขปัญหาหนึ่งว่ามีหนเดียว คำว่า มีหนเดียว” ก็มันมีหนเดียวหนนี้ หนที่มันชำระล้างกิเลสตรงนี้ แต่กิเลสที่ละเอียดกว่าอยู่ครั้งนี้ เราต้องขึ้นไปต่อสู้กับมัน คำว่า มีหนเดียว” ก็เลยเข้าใจว่าหนเดียวก็เลยหยุดไง ไม่ไปอีกไง แล้วกว่าจะดึงออกมา ดึงบอกว่า ไอ้ข้างหน้ายังมีอีก ข้างหน้ายังมีอีก ๕ ปี เถียงกันอยู่ ๕ ปี กว่าจะยอมรับ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน บอกมีหนเดียวๆ มีเยอะแยะเลย พอพิจารณาไป มันปล่อย คือมันเข้าใจ มันปล่อย บอกว่ามีหนเดียว มันยังไม่ทำอะไรเลย บอกมีหนเดียว อันนี้คือกิเลสประหารไง กิเลสประหาร ไม่ใช่สมุจเฉทปหาน ถ้ากิเลสประหารมันเป็นอย่างนี้

คำว่า มีหนเดียว” หนเดียวอย่างไร ถ้ามันจะมีหนเดียว อย่างที่ว่ามรรคมันต้องมีผล ผลเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี โอ้โฮมันชัดเจนนะ มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เวลามันเป็นจริงขึ้นมา ดูสิ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าบอกว่า ถ้าสมุจเฉทปหานมันประหารมันตัดขาดดั่งแขนขาด

คนเราตัดแขนตัดขาตัวเองรู้ไหม ร่างกายของเรา แขนขามันก็งอกมาจากไหล่ จากสะโพก มันก็งอกมาจากลำตัว เวลาเราตัดออก เราจะรู้ไหม เวลาตัดกิเลสออกจากใจ มันจะรู้ไหม มันรู้ ถ้ามันรู้ นั่นอย่างนั้นสมุจเฉทปหาน ไอ้นี่ไม่รู้ อะไรหายไปก็ไม่รู้ อะไรมีอยู่ก็ไม่รู้ แต่มันรวมลง มันสว่างไปหมดเลย อย่างนี้เป็นสมุจเฉทปหานไหม

ท่านบอกว่ามีหนเดียวๆ คำว่า มีหนเดียว” ใช่ มันหนเดียว แต่มันต้องชัดเจน ชัดเจนเพราะอะไร ชัดเจนเพราะว่ามันมีครูมีอาจารย์ ชัดเจนเพราะมันมีครูมีอาจารย์เป็นคนชี้นำอย่างหนึ่งนะ แต่จริงๆ ชัดเจนก็เพราะว่าสัจธรรม ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก เวลามันเกิดมรรคเกิดผลในหัวใจ อันนี้สำคัญที่สุด เราเป็นคนทำงานเอง แล้วมันสำเร็จขึ้นมาเอง อู้ฮูมันชัดเจนมาก

ฉะนั้น ถ้ามันชัดเจนมาก ถ้ามีหนเดียวอย่างนี้ถูก เพราะ คำว่า มีหนเดียว” สมุจเฉทปหานมันมีครั้งเดียว มันทำให้คนปฏิบัติผิดพลาดมาเยอะ เราแก้อยู่นี่เยอะมาก เวลามาแล้ว เคยเป็น มาแล้ว แล้วก็มั่นใจว่าใช่ แล้วพอมาหาเรา บอกว่ามันเสื่อมหมดแล้วแหละ แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ถ้าทำก็ต้องไปสร้างฐานอย่างนั้น น่ะ ร้องไห้เลย บางคนนี่เจ็บช้ำมาก คือว่าประมาท ปล่อยไง พอปล่อยแล้วจะไปเริ่มต้นใหม่ มันเป็นไปได้ยาก

ไอ้คำว่า หนเดียวๆ” ผิดพลาดกันมาเยอะ แล้วเราฟังอยู่นี่เยอะ แล้วพยายามจะกระตุ้นเขา ให้เขาฟื้นฟูขึ้นมา ให้มีกำลังใจขึ้นมา

ร้องไห้ ร้องไห้ เราก็เข้าใจ เพราะว่ากว่าจะทำได้อย่างนั้นน่ะ มันลงทุนลงแรงไปมาก เราทุ่มเทไป โอ้โฮหมดเนื้อหมดตัวเลย แล้วก็คิดแค่ว่าเรารวยแล้ว พอสุดท้ายแล้วสูญเปล่า แล้วบอกจะให้ทำอย่างไร ก็ต้องกลับไปเริ่มต้นตรงนั้นอีก ทุนก็ไม่มี ศรัทธาก็ไม่ไหว สติหรือมันก็ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนแล้ว จะต้องกลับไปดึงมันกลับมาอีก ร้องไห้ นี่ไง ถ้ากิเลสประหารเป็นแบบนี้

อย่าไว้วางใจ ต้องตรวจสอบ ทดสอบ ต้องพยายามตรวจสอบตลอด ขณะที่เราตรวจสอบ สติมันยังดีอยู่ สมาธิยังมีฐานอยู่ ปัญญามันยังสามารถใช้ใคร่ครวญได้ เราจะต้องก้าวเดินสืบต่อไป ตรงนี้มันเป็นจุด จุดอันตราย

เวลาภาวนา จุดนี้อันตรายมาก อันตรายคือว่าไม่เคยได้ก็ไม่ได้ พอได้หนสองหนมันเป็นแนวทาง มันยังไม่สมุจเฉท แต่ตัวเองว่ามีหนเดียว เพราะอะไร เพราะฟังเทศน์หลวงพ่อไว้เยอะ หลวงพ่อบอกมีหนเดียว หนูก็เลยหนเดียวเลย หนเดียวก็คะมำ อยู่นั่น หงายท้องอยู่นู่น ขึ้นมาไม่ได้อีกต่างหาก นี่ไง ถึงบอกว่า ถ้ามันไม่ชอบธรรม มันไม่ชอบธรรม 

ฉะนั้น ถ้ามันชอบธรรม มันจะชอบธรรม เวลาเขาว่าเขาเข้าใจ แต่เราเข้าใจนี่ ต้องมาพูดอยู่นี่ เข้าใจ เข้าใจของเขา แต่ไม่ใช่เข้าใจของเรา อันนี้เรื่องหนึ่งนะ ยกเลิกคำถาม เลยมีคำถามใหม่ กามตัณหาเป็นมรรคหรือเปล่าคะ ถ้าสมุจเฉทปหานมีครั้งเดียวใช่ไหมคะ” จบ นี่ตอบแล้ว 

ถาม : เรื่อง อนาคามิมรรคต้องพิจารณาอสุภะอย่างเดียวหรือครับ

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพ คำถาม ๑อนาคามิ-มรรคต้องพิจารณาหรือต้องเห็นอสุภะอย่างเดียวเท่านั้นหรือครับ หรือพิจารณาอย่างอื่นก็ได้ด้วย 

ตอบ : พูดถึงถ้าเป็นอนาคามิมรรค เราต้องยกคำว่า อนาคามิ-มรรค” นี้ไว้ก่อน ก็เหมือนเขาบอก จะพูดถึงว่าถ้าใครเข้าฌานสมาบัติได้ อย่างน้อยต้องเป็นพระอนาคามีนะ แล้วฉันเข้าสมาบัติได้ ฉันเป็นพระอะไร เขาอยากโฆษณาว่าเขาได้อนาคามีไง จะบอกตรงๆ เขาก็มีความละอาย เห็นไหม จะบอกเลยว่า ถ้าใครผู้ใดเข้าฌานสมาบัติได้ นิโรธสมาบัติได้ อย่างน้อยต้องเป็นพระอนาคามี แล้วมีพระองค์นั้นองค์หนึ่งเข้าสมาบัติได้ประจำเลย จะเป็นพระอะไร เขาอยากจะโฆษณาว่าเขาเป็นอนาคามี

อันนี้ก็เหมือนกัน อนาคามิมรรคต้องพิจารณาอสุภะอย่างเดียวเท่านั้นหรือครับ” แล้วใครจะตอบเรื่องอนาคามีล่ะ ใครเป็นล่ะ ตอบไปมันก็ โอ้วอันนี้หน้าม้าหรือเปล่าวะ เป็นหน้าม้าหรือเปล่า อนาคามิมรรคต้องพิจารณาอสุภะอย่างเดียว แล้วใครจะตอบล่ะ มันก็เหมือนกับแหมถ้าใครเข้าฌานสมาบัติได้จะเป็นพระอนาคามี แล้วมีเข้าได้บ่อยๆ แล้วฉันเป็นพระอะไรล่ะ 

มันมีเลศนัย ถ้าความมีเลศนัยนะ ฉะนั้น เวลาเราตอบปัญหาเราจะพูดประจำว่า เราจำขี้ปากหลวงตามาตอบทุกที เราจำขี้ปาก หลวงตาพูดไว้แล้วเราจำมา เวลาตอบไปนี่ต้องมีหลวงตา มีหลวงปู่มั่นเป็นผู้รับผิดชอบ เราไม่เกี่ยว

ฉะนั้น นี่พูดถึงว่า อนาคามิมรรคต้องพิจารณาอสุภะอย่างเดียวหรือไม่ครับ

ถ้าพูดถึงการประพฤติปฏิบัติ ในธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในของครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม การพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ เห็นไหม ทุกข์ในทุกข์ เวลาพิจารณาทุกข์ พิจารณา เห็นไหม พิจารณาอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ใน สติปัฏฐาน ๔ ถ้าในสติปัฏฐาน ๔ มีกาย มีเวทนา มีจิต มีธรรม 

ฉะนั้น เวลาพิจารณา เขาว่า อนาคามิมรรคต้องพิจารณาหรือต้องเห็นอสุภะอย่างเดียวหรือเปล่าครับ

นี่ไง ถ้ามันพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ถ้ามันพิจารณากาย ถ้าพิจารณากายมันก็เป็นอสุภะ ถ้าพิจารณากายเริ่มต้น เริ่มพิจารณากายก็กาย พิจารณากายเห็นกายตามความเป็นจริง พิจารณากาย เห็นกายเป็นธาตุ ๔ ถ้าพิจารณากายต่อเนื่องไป มันก็เป็นอสุภะ นี่ไม่ต้องให้ใครมาพูดเลย ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริงไง 

เหมือนกับว่าเราจะซื้อทอง ๑ บาท ถ้าทอง ๑ บาท น้ำหนักของทอง ๑ สลึง มันมีกี่กรัมล่ะ น้ำหนักของทอง ๒ สลึง มันมีกี่กรัมล่ะ น้ำหนักของทอง ๓ สลึง มันมีกี่กรัมล่ะ น้ำหนักของทอง ๑ บาท มันมีกี่กรัม มันบอกชัดๆ ของมันอยู่แล้ว 

นี่การพิจารณากาย กายขั้นตอนแรก กาย กายของโสดาบัน สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส มันมีความทิฏฐิความเห็นผิดในกาย แล้วพิจารณากายครั้งที่ ๒ พิจารณากาย โดยสกิทาคามิมรรค ทองคำ ๒ สลึง มันมีน้ำหนักเท่าไรล่ะ พิจารณากายเข้าไป มันมีคุณสมบัติของมันอย่างไรล่ะ มันเป็น โดยน้ำหนักของทอง 

ถ้าพิจารณากายถึงขั้นที่ ๓ ขั้นอนาคามิมรรค มันก็น้ำหนักของทอง น้ำหนักของการพิจารณากาย มันก็เป็นอสุภะ โดยข้อเท็จจริงของมัน มันเป็นของมัน มันเป็นของมันโดยมรรค มันเป็นของมันโดยข้อเท็จจริง มันเป็นของมันโดยอริยสัจ มันเป็นของมันอย่างนั้น

ถ้ามันเป็นของมันอย่างนั้น มีแต่เราต่างหากมีคุณสมบัติทำอย่างนั้นได้หรือเปล่า เรามีคุณสมบัติทำได้ขนาดนั้นหรือไม่ ถ้าเราไม่มีคุณสมบัติทำได้อย่างนั้น เราทำได้แค่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ทอง ๑ สลึง มันก็มีคุณสมบัติของมันแค่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แล้ว ๒๕ เปอร์เซ็นต์ มันจะมีน้ำหนัก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ 

ถ้ามันเป็นไปได้ มันก็เป็นของมัน มันเป็นของมันโดยข้อเท็จจริง มันเป็นของมันโดยการกระทำ มันเป็นของมันโดยวิทยาศาสตร์ โดยมรรค มันเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้น เวลาพิจารณาถึงถ้าพิจารณากาย กายนอก กายใน กายในกาย มันก็เป็นอสุภะ มันเป็นอสุภะโดยข้อเท็จจริง มัน ไม่เป็นอสุภะโดยว่ากรรมฐานพูดอย่างนั้น แล้วพระไตรปิฎกบอก ว่า... ไม่ใช่ แล้วในบาลีพูดไปอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ใช่อย่างนั้น ไอ้อย่างนี้มันเป็นความเชื่อ มันเป็นความเชื่อของเขา ความเชื่อของเขา เขาศึกษาของเขามา เขามีความเชื่อของเขา มันเป็น กลุ่มก้อนของเขา

แต่ในวงกรรมฐานมันไม่ใช่ความเชื่อ มันเป็นความจริง ความจริงที่ไหน ความจริงที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติของท่านมา แล้วท่านก็วางแนวทางให้เราประพฤติปฏิบัติ ถ้าใครไปรู้ไปเห็นเหมือนกัน ไปเห็นเท่ากัน มันก็มีคุณสมบัติเหมือนกัน ถ้าคุณสมบัติเหมือนกัน แล้วมันจะไปไหนล่ะ

นี่ไง แล้วบอกว่า มันต้องเป็นอสุภะหรือเปล่าครับ” 

ไม่ใช่ เอ็งเห็นอสุภะหรือเปล่า ถ้าเอ็งรู้เอ็งเห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น มันก็มีคุณสมบัติอย่างนั้น มันเหมือนกับทองคำ ๓ สลึง มันก็มีน้ำหนักของมันขนาดนั้น ถ้าเป็นขนาดนั้นมันก็เป็นแบบนั้น คำว่า อสุภะๆ” ไม่ใช่เราพูดกันเอง ไม่ใช่ว่าเราต้องการให้มันเป็นอย่างนั้นจริง มันไม่ใช่ มันเป็นในคุณสมบัติของตัวมันเอง แล้วถ้ามันเป็นคุณสมบัติ นี่เขาเรียกเป็นมรรค ถ้ามรรค ปฏิบัติไปแล้วมันมีผลหรือไม่

แต่นี่มันไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราเป็นพระ ลูกศิษย์ลูกหา เยอะมาก เมื่อก่อนวัยรุ่นมาหาเยอะมาก สมัยโต้แย้งกับพระปราโมทย์ อู้ฮูเพราะลูกศิษย์เขาเยอะ แล้วเขามาหาเราเยอะมาก ทุกคนจะพูดอย่างนี้ กระผมพิจารณาอสุภะ กระผมพิจารณาอสุภะ” 

เพราะวัยรุ่นไง พวกวัยรุ่นมันมี เห็นไหม เพศตรงข้าม เราอยู่ร่วมกัน พอจิตใจมันไปเกาะเกี่ยวปั๊บ มันก็พยายามจะรักษาตัวเองไง ก็พยายามจะมองเพศตรงข้ามว่าเป็นอสุภะ ใครๆ มา ก็ผมเพ่งให้เป็นอสุภะ ใครๆ มาก็ผมเพ่งให้เป็นอสุภะ ถ้ามันเพ่งเป็นอสุภะได้มันก็ดี แต่เราพยายามจะบอกว่า การเพ่งอสุภะเนี่ย มันเป็นอนาคามิมรรค มันจะเป็นในตอนนั้น 

แต่ถ้าเราเป็นปุถุชน เราพิจารณากาย เราเพ่งตรงข้าม ให้เห็นว่าเราพิจารณาร่างกาย เปรียบเทียบไง เปรียบเทียบ เหมือนร่างกายนี้เหมือนโลงศพ โลงศพทุกโลงศพเขามีลายน้ำ มีลายเทวดาสวยงามไปหมด แต่ในโลงนั้นมันมีซากศพ ในความสวยงามของมนุษย์เรามันแค่ผิวหนัง พ้นจากผิวหนังไปมันก็ซากศพ

เราก็พิจารณาได้ เราพิจารณา แล้วมันผิดไหม ไม่ผิด นี่คือปัญญาของเราไง ถ้าปัญญาของเรา แต่ถ้าพิจารณาให้เป็นอสุภะๆ เราพยายามจะเพ่ง พยายามจะให้มันเป็นไป คือมันสูตรสำเร็จ เหมือนกับเรามีหน้าที่ต้องทำงาน ถ้าเราทำงานของเราได้ระดับไหน เราทำประสบความสำเร็จ มันก็เป็นงานของเรา แต่เรารับงานมา งานที่มันเกินกำลังของเรา แล้วเราต้องทำให้ได้ มันเคร่งเครียดนะ

ฉะนั้น ที่ว่าพิจารณาอสุภะๆ พวกวัยรุ่น เราจะพูดอย่างนี้ ไง พูดให้เขามีกำลังขนาดไหน เขาควรทำงานแล้วเขาควรได้ประโยชน์อย่างนั้น งานทำตามกำลัง ตามความสามารถของเรา นี่เราทำได้ ถ้างานที่มันเหนือความสามารถของเรา งานที่มัน หนักหนาสาหัสสากรรจ์จนเราทำไม่ได้ แล้วเราพยายามทำ มันเลยไม่ได้อะไรเลย เหตุที่พูด เราพูดอย่างนี้

แต่ถ้าพูดถึงอนาคามิมรรคๆ มันไม่ใช่การผูกขาด ทีนี้มันไม่ใช่การผูกขาดปั๊บ เราบอกว่า ถ้าพูดถึงการพิจารณาอนาคามิ-มรรคต้องเป็นอสุภะอย่างเดียวหรือเปล่าครับ” มันก็ไม่ใช่อีก มันไม่ใช่ หมายความว่า มันเป็นสติปัฏฐาน ๔ ถ้าสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าพิจารณากายเป็นอสุภะ แล้วพิจารณาเวทนาล่ะ เวทนานอก เวทนาใน ในเวทนา เวทนา เห็นไหม

แล้วเวลาพิจารณาจิตล่ะ พิจารณาจิตมันเป็นกามราคะกับกามฉันทะ ถ้ามันเกิดจากกามราคะ มันต้องมีกามฉันทะก่อน กามฉันทะคือพอใจในกาม พอใจในตัวตนของเรา ถ้ามีเรามันถึงจะมีเพศตรงข้าม เพราะมีเรามันถึงมีคู่ที่จะสัมพันธ์ ถ้าไม่มีเรา มันจะมีไหม นี่ไง ถ้าการพิจารณาจิต แล้วการพิจารณาธรรมล่ะ การพิจารณาธรรม

แต่เวลาพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาอย่างไรก็แล้วแต่ ผลของมันๆ มันมีระดับของมัน สติ สมาธิ ปัญญา แล้วก็สติ สมาธิ ปัญญา พิจารณาที่ว่าพิจารณากาย พิจารณาให้ กามราคะปฏิฆะอ่อนลง แต่ถ้าพิจารณาอสุภะ พิจารณากามราคะ ปฏิฆะมันต้องเป็นมหาสติ ถ้าไม่เป็นมหาสติ จับตรงนี้ไม่ได้ ไม่ทัน ไม่ทันหรอก แล้วถ้าเป็นมหาสติขึ้นมา มันเป็นมหาสติอย่างไร แล้วเวลามันจับได้ มันจะเป็นอสุภะ มันเป็นอสุภะอย่างไร

ทีนี้เวลาพิจารณาอสุภะไปแล้วนะ เวลาพิจารณาอสุภะ ไปแล้ว ดูสิ เวลาหลวงตาท่านพิจารณาอสุภะของท่าน ท่านติดตรงนี้อยู่ ๕ ปี พอออกมา หลวงปู่มั่นบอกให้ออกมาพิจารณา ท่านก็มาจับกายได้ ท่านเห็นอสุภะนี่แหละ แล้วท่านก็พิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะด้วยความชำนาญ โอ้โฮสุดยอด เข้มข้น พิจารณาปล่อยวางหมด เงียบหมดเลย แล้วมันเป็นอนาคามี ตรงไหนล่ะ มันไม่มีเหตุมีผล ท่านถึงพูดกับตัวท่านเองด้วยปัญญาของท่านนะ อย่างนี้ไม่เอา อย่างนี้ไม่เอา คือมันไม่จบโครงการ มันปิดโครงการไม่ได้คือมันปิดไม่ลง พิจารณาได้ ทำได้ ทุกอย่างเรียบร้อยหมด ทำได้ดีหมดเลย แต่มันปิดโครงการไม่ได้ แล้วทำอย่างไรล่ะ

หันรีหันขวาง เพราะหลวงปู่มั่นท่านเสียไปแล้ว ท่านถึง ไปเอาสุภะมาพิจารณา เอาสิ่งที่สวยงาม เอาสิ่งที่มันต้องการ เอามันออกมาพิจารณา มันก็ไม่ยอมพิจารณา เพราะมันสุดโต่ง นี่ไง ไม่มัชฌิมาปฏิปทา มันสุดโต่งไง มันสุดโต่งไป จะตั้งสุภะมามันก็พรวดไปอสุภะเลย ตั้งสุภะมาก็พรวดเป็นอสุภะเลย สุดท้ายท่านมัดไว้เลย ให้เป็นสุภะอย่างนั้น ให้มันสวยอยู่อย่างนั้น ให้เป็น สุดยอด ตรงจริตตรงสเปคเลย เอาสเปคสุดยอดเลยล่ะ แล้วมัดใจไว้ ท่านบอก ๒ วันผ่านไป มันเริ่มขยับ เริ่มรับรู้ ทั้งๆ ที่บอกว่าไม่มี

นี่ไง สุภะก็พิจารณาได้ ไม่ใช่อสุภะอย่างเดียว อสุภะมันเป็นโดยข้อเท็จจริง แต่คนที่ประพฤติปฏิบัติถ้าเราลุ่มหลงไปใน สิ่งที่ความพอใจ เราจะพิจารณาอสุภะ ถ้ามันลุ่มหลงไปสิ่งที่ว่าชอบใจ เราจะพิจารณาอสุภะ ถ้ามันคัดค้าน มันลุ่มหลงจนว่า เราไม่เอา เราไม่ต้องการ เขาพิจารณาสุภะ นี่หลวงตาท่านเอา สุภะมาพิจารณา

นี่ไง มันอสุภะอย่างเดียวหรือ อสุภะมันเป็นข้อเท็จจริง มันเป็นค่า เป็นค่าของมรรค มันมีคุณสมบัติอย่างนั้นอันหนึ่ง แล้วเราพิจารณาไปแล้ว เราทำหน้าที่การงาน มันไม่มีงานหน้าเดียว หรอก งานของเรามันต้องรอบ ต้องรอบคอบ ความเพียรชอบ งานชอบ งานชอบธรรม งานเราทำ เราทำด้วยมุมานะ เราคิดว่าทำอย่างนี้มันเป็นความดี เราก็ทุ่มเท ทุ่มเทมันก็เอียงไปข้างหนึ่ง เห็นไหม มันก็ไม่สมดุล ไม่สมดุลก็ไม่มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่เป็นกลาง ไม่สมดุล 

ถ้าไม่สมดุล มรรคมันก็รวมตัวไม่ได้ ไม่สมดุล มันไม่ สมุจเฉท มันสมุจเฉทไม่ได้ถ้ามันเอียงข้าง ดูสิ เวลาหลวงตาท่าน พิจารณาอสุภะ มันเอียงข้างจนหายไปเลยนะ มันเอียงข้างจนไม่มี เอียงข้างจนโล่งหมด ไม่มีโทษไม่มีภัย ไม่มีอะไรทั้งสิ้น เห็นไหม ดูกิเลสมันร้ายขนาดนั้นน่ะ ฉะนั้น เวลาดึงกลับ ท่านถึงเอานี่ขึ้นมา

ฉะนั้น บอกว่า อนาคามิมรรคต้องเป็นอสุภะอย่างเดียวหรือเปล่าครับ” 

ไม่หรอก สติปัฏฐาน ๔ แต่ผล ผล พิจารณาของมันนะ มรรคผลๆ เวลาพิจารณาไปแล้วมันมีเหตุมีผล มันมีมรรค แล้ว มีครูมีอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านคอยแก้คอยไข คอยบอกเรามา ครูบาอาจารย์ท่านผ่านนี้มาแล้ว เพียงแต่ว่าคำว่าอสุภะๆ” ทุกคนมันเห็นได้ง่าย แล้วทุกคนมันใช้ประโยชน์ได้

อย่างเช่น เรา เราอยู่ในสังคม ถ้าเราถือศีล ๕ คู่ครองของเรา ถ้าเรามีเพศสัมพันธ์ไม่ผิด แต่ถ้าไม่ใช่คู่ครองของเราล่ะ แล้วกิเลสมันมีอยู่นี่มันชอบแฉลบ พอชอบแฉลบก็อสุภะสิ อสุภะเอามาป้องกัน อสุภะ ถ้าคู่ครองของเรามันไม่ผิด เพราะคู่ครองของเรา เห็นไหม ศีล ๕ นี้คู่ครองของเรา แต่ถ้ามันนอกคู่ครองล่ะ อสุภะแล้ว อสุภะมานี่เราแก้ไขกันอย่างนี้ เราทำกันอย่างนี้ มันก็เลยกลายเป็นเด่น เป็นจุดเด่นขึ้นมาเรื่องอสุภะ

แต่ถ้าพิจารณากายมันเป็นอสุภะแน่นอน ถ้าพิจารณาเวทนา เวทนานอก เวทนาใน ในเวทนา เวทนาที่เป็นมหาสติ เวทนาที่มันลึกซึ้ง มันเป็นจังหวะเดียว มันไม่ใช่จังหวะ ๒ จังหวะ ๓ จังหวะ ๓ เห็นไหม ขั้นแรก มันคิดขึ้นมา สายที่มันกระทบกระเทือนมันจะแรง ถ้าพิจารณาเวทนา เวทนานอก เวทนาใน ในเวทนา โอ๋ยมันละเอียดมาก ถ้ามันทัน แล้วสติมันทัน 

ถ้าคนที่พิจารณาคนที่ปฏิบัติแล้วรู้ รู้ทันทีเลย อาการอย่างนี้ อารมณ์อย่างนี้ ไอ้อย่างนี้มันจะเป็นอย่างนี้ อย่างนี้จะเป็นอย่างนี้ ถ้ารู้นะ แต่ถ้ายังภาวนาอยู่นี่ยังไม่รู้ ยังเป็นงานของเราอยู่ ถ้ามันโตขึ้นไปมันจะเป็นไปได้ ฉะนั้น นี่พูดถึงว่าพิจารณาเวทนา ถ้าพิจารณาจิตนะ จิตเศร้าหมอง จิตผ่องใส

ฉะนั้นจะบอกว่า อนาคามิมรรคต้องพิจารณาอสุภะอย่างเดียวเท่านั้นหรือครับ” 

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ขัดไม่แย้งกับใครทั้งสิ้น มันเป็นไปโดยข้อเท็จจริงของมัน ศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล ๔ คู่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล เป็นข้อเท็จจริง แต่เราเดินกันถูกต้องหรือไม่ เราทำแล้วมันเป็นจริงหรือไม่ 

ถ้ามันเป็นความเป็นจริง มรรคผลไง ถ้าโสดาปัตติมรรคต้องมีโสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรคต้องมีสกิทาคามิผล อนาคามิ-มรรคก็ต้องมีอนาคามิผล อรหัตตมรรคก็ต้องมีอรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มันเป็นขั้นเป็นตอนของมันโดยสัจจะความจริง ครูบาอาจารย์เวลาท่านฟังเทศน์คนอื่น ท่านฟังตรงนี้ ถ้ามัน มีมันจะออกมา มันจะรู้ มันจะรู้ มันจะพูดเป็นขั้นเป็นตอน 

เหมือนรถ เราบอกรถมันมี ๔ เกียร์ใช่ไหม เราก็ตบเกียร์ ๑ ถ้าคนเข้าเกียร์ไม่ได้ก็ติดเครื่องรถแล้วก็เหยียบคันเร่งอยู่นั่นน่ะ ทำไมรถมันไม่ไป ทำไมรถมันไม่ไป คนที่ได้เกียร์ ๑ แล้วได้เกียร์ ๑ มันก็ขับเกียร์ ๑ ทั่วประเทศไทยหรือ แล้วได้เกียร์ ๒ ล่ะ ก็ได้เกียร์ ๒ แต่คนได้ ๔ เกียร์ คนเข้าได้หมดเลย ๑ ๒ ๓ ๔ ออกรถเกียร์ ๑ ก็ได้ ออกรถเกียร์ ๒ ก็ได้ ออกรถเกียร์ไหนก็ได้ ถ้ารถมันเบา ถ้ารถมันหนักก็ออกเกียร์ ๑ นี่ข้อเท็จจริงครูบาอาจารย์ท่านเป็น จบเลย

ฉะนั้น อนาคามิมรรคต้องพิจารณาอสุภะอย่างเดียวหรือไม่ครับ” 

จะเป็นมรรค ๔ ผล ๔ จะเป็นอย่างใดก็แล้วแต่ มันพิจารณาโดยสติปัฏฐาน ๔ โดยกาย โดยเวทนา โดยจิต โดยธรรม แต่ผลน่ะ ถ้าผลมันไม่มี ผิดหมด มรรคผลไง ถ้าพิจารณาแล้วมันได้ผล พิจารณาแล้วมันมีคุณธรรม อันนี้ถูกต้อง อันนี้ถูกต้อง

ฉะนั้น การพิจารณาอสุภะอย่างเดียวมันโดยหลัก มันโดยหลัก มันโดยการแก้กิเลส มันโดยส่วนใหญ่ก็เลยพูดถึงอสุภะเป็นหลัก อย่างเช่น เช่นครูบาอาจารย์ของเราบอก เห็นไหม เราบอกว่าหลวงตาใช้คำนี้นะ ท่านบอกว่า เราชอบพุทโธเราเลยถึงพูด พุทโธก่อน แต่การทำความสงบ ๔๐ วิธีการอะไรก็ได้ นี่ก็เหมือนกัน แต่ต้องมีคำบริกรรม ต้องมีการกระทำ

คนเราจะทำงานมันต้องมีเนื้องาน คนเราทำงานไม่มีเนื้องาน มันเป็นงานขึ้นมาได้อย่างไร นี่ก็เหมือนกัน เราทำสมาธิ เราทำความสงบของใจ มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อานาปานสติ มันมีเนื้องาน ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญามันใคร่ครวญ มันคิดอยู่นี่มันก็เป็นเนื้องาน ถ้าคนทำไม่มีเนื้องาน มันจะมีงานขึ้นมาได้อย่างไร คนจะทำงานมันต้องมีเนื้องานแล้วทำงานมันจบ งานมันเสร็จ 

นี่ไง หลวงตาท่านบอกว่า เพียงแต่เราชอบพุทโธ หลวงปู่ มั่นชอบพุทโธ ท่านก็เลยพุทโธ ทีนี้พอพุทโธ ก็เลยต่อต้านเลย พุทโธทำไม่ได้ พุทโธเป็นสมถะ พุทโธไม่มีปัญญา” เวรกรรม เวร มันเป็นพื้นฐาน มันเป็นการปฏิบัติ คนเป็น มันไม่มีขัดไม่มีแย้งกับใครหรอก ธรรมะไม่มีขัดไม่มีแย้งกับใคร ถูกหรือผิด เท่านั้น ปฏิบัติไปแล้วมีผลหรือไม่มีผล ถ้าเป็นมรรคก็ต้องมีผล มีผลมันก็เป็นความชอบธรรม

ฉะนั้น เวลาบอกว่า อนาคามิมรรคต้องพิจารณาอสุภะอย่างเดียวหรือไม่ครับ” 

ไม่ พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ เพียงแต่ขั้นภูมิของมัน มันจะบอกขั้นภูมิของจิต ขั้นภูมิของมรรค ขั้นภูมิของการกระทำ มันจะบอกเลยว่าเอ็งพูดมาอย่างไร แล้วมันอยู่ขั้นไหน จิตเอ็งอยู่ขั้นไหน จิตเอ็งอยู่ขั้นไหน เอ็งมีความรู้แค่ไหน แล้วออกมามันจะชัดเจนมาก มันเป็นอย่างนี้ไง

เราถึงบอก เวลาถามมาก็ถามมาอย่างนี้ แล้วจะบอกเลยนะ คนเข้าฌานสมาบัติได้ ท่านจะได้อนาคามีนะ แล้วฉันเข้าได้นั่นคืออะไร ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราก็โง่ๆ เซ่อๆ คุยกันอยู่นี่ ถาม เรื่องอนาคามิมรรค 

ฉะนั้น อนาคามิมรรคมันก็เป็นมรรคเป็นผล เป็นข้อเท็จจริงในการประพฤติปฏิบัติ เป็นข้อเท็จจริงในการที่ครูบา-อาจารย์เราทำมา ไอ้เราก็จำขี้ปากหลวงตามาพูด จำขี้ปากมาพูด พูดเพื่อสังคม พูดเพื่อหมู่คณะ พูดเพื่อการประพฤติปฏิบัติให้มั่นคง เอวัง