ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

วิปัสสนาเป็น

๒ เม.ย. ๒๕๕๙

วิปัสสนาเป็น

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง ล้มลุกคลุกคลาน

กราบหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง เป็นเวลาเกือบ ๓ เดือนแล้วที่ลูกไม่ได้เขียนมากราบเรียนหลวงพ่อเลย การปฏิบัติของลูกที่ผ่านมามีทั้งยามที่มีกำลังใจเต็มเปี่ยม จนบางครั้งก็เยอะเกินไป จนกลายเป็นมุ่งมั่นและคาดหวัง (กิเลสทั้งนั้นก็ต้องคอยปรับ บางครั้งก็วุ่นวายจนไปทำงานทางโลก จนหย่อนยานในการปฏิบัติ

แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะล้มลุกคลุกคลาน แต่สิ่งที่ลูกได้เรียนรู้มากที่สุดคือหาสมดุลของใจให้เป็นธรรมดา ให้มีความเพียรต่อเนื่อง ไม่คาดหวังและไม่ย่อหย่อนในการปฏิบัติ โดยอาศัยคติคำสอนจากหลวงพ่อว่า เรายอมทุกข์เพื่อจะพ้นทุกข์

ลูกขอโอกาสกราบรายงานการปฏิบัติ และความเมตตาหลวงพ่อสั่งสอนเจ้าค่ะ

ในบางครั้งที่นั่งสมาธิและกำหนดภาวนาพุทโธแล้วรู้สึกว่า พุทโธนั้นออกจากใจ การภาวนาครั้งนี้จึงมีความสงบอิ่มเอมและมีความสุข ขณะนั้นมีสติรู้ตัวตลอด เมื่อครั้งลูกลองน้อมจิตนึกพิจารณา เช่น ให้นึกถึงร่างกายหรือนึกถึงความตาย พบว่าใจยังอยากอยู่ในสมาธิ ไม่ยอมพิจารณา เหมือนใจยังไม่อิ่มในสมาธิ อย่างนี้คือว่ากำลังสมาธิยังไม่พอหรือเปล่าเจ้าคะ ลูกควรทำอย่างไรต่อไป

ลูกนั่งสมาธิตอนเช้าก่อนไปทำงาน ถ้าเช้าวันไหนที่นั่งได้สงบดี ในระหว่างวันเมื่อกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆ ยาวๆ จะมีความรู้สึกนิ่งสงบอยู่ภายใน แต่ใจเรายังติด แต่ถ้าใจเรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ทางโลก เราจะมีวิธีประคองให้ใจมีความสงบระงับได้อย่างไรเจ้าคะ

ตอบ : คำถาม ถาม ๒ ข้อ นี่ข้อที่ ๑เห็นไหม ข้อที่ ๑ถ้าเราต้องหาสมดุลของเรา นี้การประพฤติปฏิบัติมันก็เป็นแบบนี้ เวลาปฏิบัติแล้วมันไม่เหมือนทางการเรียนการศึกษา พอการศึกษาจบแล้วคือจบไง เวลาเรียนหมั่นขวนขวายเรียนให้จบ สอบแล้วจบก็คือจบ จบแล้วความรู้มีไม่มีก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่มันได้ใบประกาศมาแล้ว

แต่ในการประพฤติปฏิบัติ ในการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม เราจะต้องรักษาใจเราตลอดไป รักษาใจเราตลอดไปนะ ปฏิบัติให้มันเจริญก้าวหน้าของมันไปตลอด นี้การเจริญก้าวหน้า แม้แต่ปฏิบัติเรารักษาดีๆ แล้วมันยังเสื่อม 

ทีนี้ถ้าอยู่ทางโลก เห็นไหม ถ้าอยู่ทางโลก เราต้องอยู่กับโลกเขา ถ้าปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อประคองชีวิต ปฏิบัติเหมือนต้นไม้ เหมือนต้นไม้ ถ้ามันมีน้ำ ภัยแล้ง ภัยแล้งเวลาแล้งมันตายหมด ถ้ามันตายหมดนะ เพราะมันไม่มีน้ำ ไม่มีสิ่งใดคอยรดน้ำ คอยหล่อเลี้ยงมัน

ในการประพฤติปฏิบัติเราก็เหมือนกัน ในการปฏิบัติเรานะ เวลาเรามีสติมีปัญญาปฏิบัติ เหมือนกับเรารดน้ำใจเราตลอดเวลา ใจมันก็ไม่แห้งแล้งจนเกินไปถ้าเป็นต้นไม้มันตาย แต่จิตมันไม่เคยตาย จิตเวลามันทุกข์ มันทุกข์ยากขนาดไหน มันทุกข์ของมัน เวลาทุกข์แล้วมันประชด ประชดคือว่าถ้าทุกข์แล้วมันก็จะดีดดิ้นของมัน มันจะหาทางออกของมัน หาทางออกของมันก็สร้างบาปสร้างกรรมไง มันก็ไปสร้างเวรสร้างกรรมของมันต่อเนื่องไป

แล้วเวลาจะมาปฏิบัตินะ เวลาถ้ามันสร้างเวรสร้างกรรมต่อเนื่องไป พอมันคิดได้มันจะมาปฏิบัติ มันก็ต้องมาลบล้าง มันจะมาคอตกตรงนี้ ตรงว่าไม่น่าเลย ไม่น่าเลย ไม่น่าเลย ไม่น่าเลยก็ทำไปแล้ว แต่ถ้าเราปฏิบัติต่อเนื่องไป ต่อไปเนื่อง ต้นไม้มันจะเหี่ยวมันจะเฉา เราพยายามฟื้นฟูมัน เราพยายามรดน้ำพรวนดินมัน ถ้ารดน้ำพรวนดินมัน เห็นไหม มันก็ดีขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน ในการปฏิบัติต้องปฏิบัติต่อเนื่องเพราะเป็นสิ่งมีชีวิต ทีนี้ถ้าสิ่งมีชีวิตทำมันก็ต้องเป็นแบบนี้ มันต้องล้มลุกคลุกคลานของมันตลอดไป ถ้าล้มลุกคลุกคลานนะ ถ้ารักษาไว้ไม่ดี ถ้ารักษาดี ถ้าปฏิบัติแล้วดีนะ พระไม่สึกหรอก พระจะอยู่ในวัดเต็มไปหมด เพราะเขาปฏิบัติแล้วเขาได้

แต่ใจมันดิ้นรน เวลาใจมันดิ้นรนแล้วกิเลสมันมายุมาแหย่ พระปฏิบัติดีๆ นะ มั่นใจเลย องค์ไหนออกจากป่ามาก็พระอรหันต์ทั้งนั้น เวลาอยู่ไป อยู่ไป ไม่เหลือตกค้างไว้สักองค์ สึกหมด ก็เที่ยวป่าเที่ยวเขามาทั้งนั้น ใจมันเป็นแบบนี้ไง มันถึงบอกว่า การปฏิบัติมันแสนยากๆ ไง แต่ไม่พ้นวิสัยของมนุษย์

ถ้ามันปฏิบัติมันแสนยาก ถ้ามันแสนยากมันต้องทำจริงของมัน ถ้าทำจริงของมัน มันทำจริง ถ้าเราไม่ทำสิ่งนี้ เราไม่ประพฤติปฏิบัตินะ มันก็ออกนอกเรื่องนอกราว เพราะว่าเราแย่งเวลาของกิเลสที่มันจะควบคุมหัวใจเราด้วยความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะเป็นการแข่งขันกัน เวลาหลวงตาท่านเทศน์ของท่าน ระหว่างกิเลสกับธรรมแข่งกันในใจ ระหว่างกิเลสกับธรรม กิเลสกับธรรม

กิเลส กิเลสคือความท้อแท้ไง กิเลสคือความน้อยเนื้อต่ำใจไง กิเลสคือปฏิบัติแล้วคอตกไง กิเลส เวลาธรรม กิเลสกับธรรมมันแข่งกัน ถ้าปฏิบัติดีสติดีๆ โอ้โฮมันจิตดีมาก มหัศจรรย์มาก แล้วมันใช้สติปัญญาพิจารณาไป เวลาธรรม เห็นไหม เวลาธรรมมันเกิดขึ้น เวลาธรรมมันเจริญงอกงามขึ้นมา ระหว่างกิเลสกับธรรมแข่งขันกันในหัวใจ ในหัวใจก็ภวาสวะก็ภพในหัวใจ

ในหัวใจถ้ากิเลสมันครอบครองก็ทุกข์ของมันไป ถ้าใจมันครอบครองมันก็สุขมาชั่วคราว แล้วมันจะแข่งขันกันอยู่อย่างนี้ เพราะมันยังไม่จบสิ้น กีฬามันยังไม่จบสิ้น ยังไม่รู้แพ้รู้ชนะ มันก็จะแข่งขันกันอย่างนี้ตลอดไป ถ้าแข่งขันตลอดไป ถ้ายังเป็นนักกีฬาอยู่ เห็นไหม ดูสิ นักกีฬาอาชีพที่เขาอยู่ในวงการอยู่ เขายังมีเงินเดือน เขายังมีโบนัส เขายังมีรายได้เขาตลอดไป 

ถ้านักกีฬาคนนั้นเวลาเขาหมดอายุการใช้งาน เขาออกจากวงการนั้นไป เขาจะไม่มีค่าตอบแทนใดๆ เลย นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราเลิก เราไม่ปฏิบัติหรือเราท้อแท้ไป เราจะไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าเรายังประพฤติปฏิบัติอยู่ เหมือนนักกีฬาอาชีพที่ยังอยู่ในวงการนั้นอยู่อย่างไรๆ เขาก็มีผลตอบแทน 

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราปฏิบัติมันต้องปฏิบัติแบบนี้ ถ้าปฏิบัตินี้ตามข้อเท็จจริง ถ้าไม่ข้อเท็จจริงแล้วมันก็เป็นแบบเขาไป เลิก แล้วเลิกไปนะ เวลามาถามปัญหา ผมเคยเป็นอย่างนี้” “เมื่อไหร่” “เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว เมื่อ ๕ ปีที่แล้ว” จะเป็นอย่างนี้หมด เพราะเขาก็ท้อแท้ เขาก็เลิกของเขาไป พอเลิกของเขาไป ไปอยู่ทางโลกแล้วมันได้อะไรขึ้นมา มันไม่มีอะไรดีขึ้นหรอก 

เพราะชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด เราต้องตายไปข้างหน้าแน่นอน เราจะมีความดีความชั่วขนาดไหน มันจะเป็นเวรเป็นกรรมกับใจดวงนี้ไป แล้วถ้าออกไปมันจะมีสิ่งใดดีไปกว่าการประพฤติปฏิบัติ มันจะมีสิ่งใดดีกว่าพุทธานุสติ เราอยู่กับองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะมีอะไรดีไปกว่านี้ ถ้ามันไม่มีดีไปกว่านี้ เราก็ต้องเกาะสิ่งที่ดีที่สุด ถ้าดีที่สุด ก็การหมั่นเพียรของเรา

การภาวนาของเรา มันจะทุกข์มันจะยาก แน่นอนทุกข์ยากทั้งนั้น ทำงานทางโลกก็ทุกข์ยาก เวลาปฏิบัติยิ่งทุกข์ยากใหญ่ แล้วยิ่งทุกข์ยาก ดูสิ ระหว่างกิเลสกับธรรมมันแข่งขันกันนะ เวลาธรรมมันมีคุณค่ามันจะเอาให้ได้ เอาให้ได้ มันอดนอนผ่อนอาหาร ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมาฟากตายทั้งนั้น แต่ฟากตายแล้วเวลาชนะแล้วจบนะ เวลาชนะแล้วมันเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป เป็นขั้นเป็นตอน อกุปปธรรม ไม่เสื่อม ไม่แปรสภาพ แต่ถ้ามันยังไม่ได้ตรงนี้มันก็ยังเสื่อม ยังแปรสภาพอยู่ของมันไป 

นางวิสาขาได้เป็นพระโสดาบัน เห็นไหม เวลาหลานตายก็ยังร้องไห้ ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วิสาขา เธอเป็นอะไร

ก็หลานตาย หลานตายก็เศร้าเสียใจ

แล้วถ้าในโลกนี้ สิ่งมีชีวิตเป็นหลานเธอหมด แล้วตายทุกวันๆ เธอจะไม่ร้องไห้ตลอดไปเลยหรือ

ได้สติคิดขึ้นมา จบเลย ถึงเวลาแล้ว เวลาเป็นพระโสดาบันแล้วนะ อันนี้มันไม่เสื่อมสภาพ มันคงที่ของมัน ขนาดพระโสดาบันมันสังโยชน์ ๓ ละสังโยชน์ ๓ ไป แต่ยังมีทิฏฐิมานะ ยังมีความเห็นผิดเห็นชอบสูงๆ อยู่ ท่านก็ยังมีความทุกข์ความยากร้องไห้นั่นน่ะ ร้องห่มร้องไห้นะเวลาหลานตาย 

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเตือนขึ้นมา นั่นน่ะอกุปปธรรมไม่เสื่อมสภาพ แต่ของเราถ้ายังไม่สมุจเฉทปหาน ยังไม่กิเลสขาดไป มันจะเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อมอยู่อย่างนี้ ถ้าเจริญแล้วเสื่อมอย่างนี้ มันต้องมีสติมีปัญญาแล้วต่อสู้ เราพยายามต่อสู้ของเรา

ฉะนั้น เวลาที่ว่า คำถามข้อที่ ๑บางครั้งที่เรานั่งสมาธิ ถ้ากำหนดพุทโธ รู้สึกว่าพุทโธได้ออกมาจากใจ การภาวนานั้นจะมีความสงบอิ่มเอมและมีความสุข ขณะนั้นมีสติรู้ตัวตลอด และลูกขอน้อมจิตไปพิจารณากาย พิจารณากาย นึกถึงความตาย พบว่ามันยังอยู่ในสมาธิ ไม่ยอมพิจารณา เหมือนกับจิตที่ยังไม่อิ่มในสมาธิ

ตรงนี้เวลาฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญานะ ทุกคนจะเรียกร้องว่า เราต้องทำสมาธิก่อน ต้องทำสมาธิก่อนแล้วเมื่อไหร่จะฝึกหัดใช้ปัญญา

ถ้าสมาธิมันสงบนะ หรือเรามีกำลังพอ เราฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาต้องฝึกหัดใช้ ถ้าปัญญาไม่ฝึกหัดใช้ เวลาบอกว่า เวลาเข้าสมาธิแล้วมันอยู่ในสมาธิ เวลาจะออกใช้ปัญญามันเหมือนกับกำลังจะไม่พอ ตรงนี้มันว่ายกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่ยกขึ้นวิปัสสนา

ถ้ายกขึ้นวิปัสสนานะ จิตสงบแล้วสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน มีฐานที่ตั้งแห่งการงาน คือเรามีสติมีปัญญา เรารู้จักตัวตนของเรา ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ปุถุชนคนหนา คนหนาเป็นสมาธิก็ไม่รู้ว่าเป็นสมาธิ แล้วเป็นสมาธิก็เข้าได้ยาก มันลุ่มๆ ดอนๆ ถ้ากัลยาณปุถุชนทำสมาธิได้ แล้วทำสมาธิได้ต้องฝึกหัดใช้ปัญญา พอจิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา มันถึงจะเป็นปัญญา หลวงตาท่านใช้คำว่าวิปัสสนาอ่อนๆ” 

การวิปัสสนา วิปัสสนาอ่อนๆ ฝึกหัดใช้มัน ถ้าฝึกหัดใช้มันนะ พอมันฝึกหัดใช้แล้วมันฟุ้งซ่านไป มันติดขัดติดข้องไป เรากลับมาพุทโธต่อ เวลากลับมาพุทโธอีก ให้จิตมันสงบแนบแน่นขึ้น 

แล้วพอบางทีแนบแน่นขึ้น เพราะกิเลสมันต่อรองตลอด เวลาทำสมาธิมันก็บอกว่ามันจะใช้ปัญญา เวลาจิตมันเป็นสมาธิแล้วมันก็บอกว่าสมาธิยังไม่พอ เวลาทำสมาธิมันก็อยากใช้ปัญญา เวลาจิตสงบ กว่าจะใช้ปัญญาได้ มันบอกว่าตอนนี้สมาธิยังไม่พอ ใช้ไม่ได้ ขณะทำสมาธิมันก็บอกว่าเป็นสมถะ ฆ่ากิเลสไม่ได้ ฆ่ากิเลสก็ต้องใช้ปัญญา

เวลาทำมันก็ฟุ้งซ่าน ก็ปัญญาอย่างนั้นเป็นโลกียปัญญา ปัญญาที่เราคิด ปัญญาที่มันเกิดจากจิต ปัญญาสามัญสำนึกมันเกิดตลอดเวลา นี่เกิดตลอดเวลา เพราะเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราจะเอาคุณงามความดี เราจะเอาจิตสงบไง เราจะเอาสมาธิ เวลาสมาธิมันก็มายุมาแหย่ให้เราเรรวน เวลาจิตมันจะสงบขึ้นมาบ้าง เวลาจิตสงบบ้างแล้วฝึกใช้ปัญญา มันก็บอกว่าสมาธิยังไม่พอ ต้องหยุดสมาธิก่อน

ฉะนั้น ถ้าวิปัสสนาเป็น วิปัสสนาเป็นก็ฝึกหัดใช้ปัญญา คือทดสอบเราไป จิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ออกพิจารณา พิจารณาเรื่องธรรม พิจารณาเรื่องธรรมคือพิจารณาความสังเวชของโลกของวัฏฏะ ของสังคม ว่าอย่างนั้นเถอะ ในสังคมที่มันมีกระทบกระเทือนกันเพราะใครล่ะ ก็เพราะมนุษย์ มนุษย์มันมีความรู้สึกนึกคิดแตกต่างกันทั้งนั้น แล้วมันก็มีการกระทบกระเทือนกันไป

ถ้าจิตสงบแล้วนะ มันมองแล้ว มันเหมือนเราดูเขาเล่นกีฬา เราอยู่ข้างสนาม เราเห็นหมด แต่ขณะที่จิตยังไม่สงบ เหมือนเราเล่นกีฬา เราอยู่ในสนาม งงไปหมดเลยนะ ทำอะไรผิดพลาดไปทุกเรื่องเลย ไม่ทำอะไรประสบความสำเร็จสักอย่าง แต่พอไปอยู่ข้างสนามเห็นหมดเลย ควรทำอย่างนั้น ควรทำอย่างนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราจิตยังไม่สงบ มันก็เหมือนเราเล่นกีฬาอยู่ มันผิดพลาดไปหมด แต่ถ้าเราพุทโธๆ จนจิตสงบแล้ว เราอยู่ข้างสนาม แล้วเราดูเขาเล่น เราจะฝึกหัดใช้ปัญญาแล้ว แล้วเราอยู่สถานะไหนล่ะ สถานะผู้เล่นหรือสถานะของคนดู 

ทีนี้จิตของเรามันเปลี่ยนแปลงตลอด นี่พูดถึงสถานะก็เป็นอย่างนั้น ผู้เล่นก็อยู่ในสนามตลอด คนดูก็อยู่ริมสนามตลอด แต่จิตมันไม่อย่างนั้นน่ะสิ เดี๋ยวมันคิดท่านู้น เดี๋ยวมันคิดท่านี้ เดี๋ยวมันเล่ห์เหลี่ยมอย่างนั้น เดี๋ยวมันเล่ห์เหลี่ยมอย่างนี้ แล้วมันสอดตลอดไง มันสอดตลอด ฉะนั้น ถึงบอกว่า ตรงนี้เราฝึกหัด เราต้องหาทางของเราไง

เวลาจะใช้ปัญญาอย่างนั้น ถ้าโดยทั่วไปสามัญสำนึก คนเรานะ เวลาทุกข์เวลายากเราก็หาที่พึ่งใช่ไหม คนเรานะ ถ้าพูดถึงเรานับถือพระพุทธศาสนาในทะเบียนบ้าน เราก็หาอยู่หากินของเราอย่างเดียว เพราะว่าชีวิตคนเราเกิดมาต้องมีหน้าที่การงาน เราก็จะขวนขวายของเรา มันก็อยู่กับโลกนั้น แต่ถ้าคนเขามีสติปัญญาบ้าง งานก็ทำของเราแล้ว ขณะทำงานอยู่ถ้ามันมีเวลาของเรา เราก็กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของเรา เราก็ปฏิบัติได้ 

นี่พูดถึงว่า เวลาทางโลกเขาขวนขวายของเขาอย่างนั้น เขายังไม่ได้มีศรัทธามั่นคงพอ เขาก็ไม่มาประพฤติปฏิบัติ เวลาจะมาประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม มันก็คิดแล้วว่าทำอย่างไรถูกต้อง ทำอย่างไรมันจะได้ผลประโยชน์ แล้วในการปฏิบัติถ้าเขาปฏิบัติของเขา เขาปฏิบัติมาเพื่อความสุขสงบในใจของเขา อันนั้นมันก็ใช้ได้ มันก็แบบว่าเป็นชาวพุทธ เราเกิดมาแล้วไม่ใช่พุทธทะเบียนบ้าน เราเป็นชาวพุทธแล้วเราก็ขวนขวาย

หลวงตาท่านใช้คำว่า ศาสนาพุทธเหมือนห้างสรรพสินค้า ใครมีสติปัญญามากน้อยแค่ไหน เข้าไปในห้างสรรพสินค้าแล้วจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนไง

นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธ ถ้าระดับของทาน เราก็ได้แค่ทาน มันก็ได้อามิส ได้ผลบุญ ถ้าเราจะปฏิบัติภาวนา ปฏิบัติภาวนา เห็นไหม ถ้าเราทำความสงบได้ เราก็ได้สมถะ เราได้สมถะคือได้สมาธิ ได้ตัวตนของเราด้วยความมั่นคง ได้จิตมีกำลังขึ้นมา ถ้าเรายกขึ้นสู่ใช้ปัญญา มันก็เป็นวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาแล้วยกขึ้นวิปัสสนา มันก็จะเข้าบุคคล ๔ คู่

บุคคล ๔ คู่ จิตดวงเดียวเป็นถึง ๘ อย่าง เป็นโสดาปัตติ-มรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล บุคคลจิตดวงเดียวเป็นได้ถึง ๘ บุคคล บุคคล ๔ คู่ได้ ๘ บุคคล มรรค ๔ ผล ๔ แล้วยังเป็นนิพพาน ๑ อีก เป็น ๙ พอ ๙ แล้วมันเป็นศูนย์ เวลามันจะพัฒนาไปอย่างนั้นน่ะ

แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็เหมือนทางโลก ทางวิทยาศาสตร์ จะทำอยู่อย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าทางโลกเขาทำอย่างนั้นถูกต้องไหม ถูก เพราะวิธีการการกระทำมันเป็นวิธีการกระทำ ในการศึกษา เห็นไหม ในการศึกษาเราก็ต้องเรียนทางวิชาการ แต่ถ้าเราจบแล้ว เราจบเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา เราเรียนจบ เราได้ความรู้ขึ้นมา ถ้าเราเรียนจากทางวิชาการตำรานั่นน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราปฏิบัติมันก็ปฏิบัติอย่างนี้ แต่จิตใจมันพัฒนาหรือไม่ จิตใจมันสูงขึ้นมาหรือไม่ ถ้าจิตใจสูงขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เวลาที่ว่าจิตใจมันไม่ยอมวิปัสสนา มันไม่ยอมทำ เห็นไหม วิปัสสนามันทำเป็นหรือไม่เป็น ถ้าเป็นขึ้นไปแล้วมันจะรู้จะเห็น มันต้องฝึกหัด สำคัญตรงนี้มาก สำคัญที่ว่า ถ้าเราทำสมถกรรมฐาน เราทำจิตใจให้สงบ ถ้าจิตใจไม่สงบมันเป็นโลกียปัญญาทั้งหมด มันเป็นสามัญสำนึก มันเป็นเรื่องโลกๆ แล้วปฏิบัติไปเถอะ ปฏิบัติอย่างนั้น

แต่ทางโลกที่เขาปฏิบัติกัน เราเห็นด้วยนะ ไม่ใช่บอกว่าคนปฏิบัตินี้ผิดหมด แต่เวลาเขาจะปฏิบัติของเขา เขาปฏิบัติของเขาเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข มันเหมือนกับว่าเขาปฏิบัติมา ปฏิบัติเพื่อให้เขามีความร่มเย็นเป็นสุขเท่านั้น แต่เรื่องเอามรรคเอาผลยังอีกไกล พูดอย่างนี้เลย มันยังอีกไกล 

แต่เรา เราปฏิบัติแล้ว ถ้าเราเชื่อมั่น เรามีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เรามีที่พึ่ง เราก็ร่มเย็นเป็นสุขแล้ว แต่ถ้าจะเอามรรคเอาผล เราทำของเราจริงจังขึ้นมา ถ้าทำจริงจัง เพราะเราทำงานแล้วใช่ไหม เหมือนทำงานแล้วเราต้องมีผลตอบแทน เราทำงานแล้วเราต้องมีมรรคมีผล เราทำงานแล้วเราต้องมีคุณธรรมในใจ แล้วคุณธรรมในใจเป็นกุปปธรรม อกุปปธรรม 

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายต้องเป็นอนัตตา เราทำอะไรแล้วมันก็เป็นอนัตตา คือมันว่างเปล่าไปหมด ไม่มีแก่นสาร อันนั้นมันเป็นความเข้าใจของปริยัติ 

แต่ถ้าเป็นความเข้าใจของปฏิบัติ เห็นไหม กุปปธรรม อกุปปธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ใช่ มันเป็นกุปปธรรม กุปปธรรมก็สภาพความเป็นจริงไง ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ มันก็เป็นธรรมชาติของมันจริงๆ นี่แหละ แล้วเราก็รับรู้อย่างนี้ เราก็รู้หมด ทางวิทยาศาสตร์รู้หมด ใครมีการศึกษารู้เท่าหมด ธรรมชาติเป็นแบบนี้ 

แต่อกุปปธรรมมันเหนือธรรมชาติ เพราะธรรมชาติไม่มีผลกับใจดวงนี้ ธรรมชาติไม่มีผลกับใจดวงที่เป็นพระโสดาบันขึ้นไป เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี มีเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป จนถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วเหนือธรรมชาติทั้งหมด เพราะ เพราะมันไม่เวียนไปธรรมชาติไง มันไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ

เพราะธรรมชาติมันต้องเวียนว่ายตายเกิด สสารมันแปรสภาพของมันไป เป็นอนิจจัง ที่ว่าทางวิชาการมันพิสูจน์ได้ก็เท่านั้น แต่ถ้าเป็นวิมุตติสุขแล้วจบ เหนือไปหมดเลย ถ้าเหนือไปหมด สิ่งที่มันทำ ถ้ามันเป็นจริงมันจะเป็นอย่างนั้น 

กุปปธรรม อกุปปธรรม ถ้ากุปปธรรม ใช่ เพราะว่าทางปริยัติจะบอกว่า ในพระไตรปิฎกก็บอกว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นอนัตตา มันเป็นอนัตตา เป็นธรรมชาติ ถ้าบอกว่าเหนือโลกไปเลย เหนือโลกเหนือสงสารไปเลย แล้วจะเดินกันทางไหนล่ะ เอ็งจะไปสู่เป้าหมายอย่างไรล่ะ มันก็ต้องเอาความดีเป็นเครื่องดำเนินไง เอาสัจจะความจริงเป็นเครื่องดำเนินไง แต่ถ้าเอาความจริงเป็นเครื่องดำเนิน ไม่ทิ้งความจริงนั้นก็พ้นจากนั้นไปไม่ได้ ขับรถมา รถของฉัน รถของฉันอยู่นั่นน่ะ ไม่ลงจากรถ เป็นไปไม่ได้ ขับรถมาต้องทิ้งรถไว้ที่จอดรถนั้น แล้วเราต้องออกจากรถนั้นไป

นี่ก็เหมือนกัน วิธีการทั้งหมดที่เราใช้มา วิธีการทั้งหมดคือรถอันนั้น สิ่งเครื่องดำเนินอันนั้น ถึงที่สุดแล้วทิ้งมัน ต้องทิ้งมัน แล้วทิ้งให้เป็นด้วย เราทิ้งมันคือแกล้งลืมไว้ เออรถทิ้งไว้ เดี๋ยวพอมีอุบัติเหตุเขาดูทะเบียนเลย รถของใคร ทิ้งมัน ทิ้งมัน ติดคุกครับ เขาไปปล้นไปจี้อยู่นั่น 

ทิ้งมัน ต้องทิ้งมัน ต้องโอนให้หมด สละทิ้งไปเลย ถ้าเป็นจริงอย่างนั้นนี่คืออกุปปธรรม ฉะนั้น อกุปปธรรมมันอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น เวลาทำมันต้องทำให้จริงจังขึ้นไป

ฉะนั้น บอกว่า ถ้าวิปัสสนาเป็นหรือไม่เป็นนั่นอีกเรื่องหนึ่ง ทางโลกเขามันนกแก้วนกขุนทอง มันรู้เท่า รู้ธรรมะไปหมดล่ะ แต่ตัวตนของมันไง ตัวตนของมันไม่รู้ไม่เห็นเพราะมันเข้าสู่สมาธิไม่ได้

เพราะเราบอกว่า ถ้าเราเข้าสู่สมาธิได้ แล้วสมาธิยกขึ้นสู่วิปัสสนา ก็ตัวเราไปรื้อค้นตัวเราเอง จิตแก้จิต มันถึงละเอียดอ่อน แล้วมันเป็นเส้นผมบังภูเขา มันอยู่ในเรานี่แหละ แต่เราจับต้นชนปลายไม่ได้แล้วกันแหละ เรื่องในใจเรานี่แหละ แต่จับต้นชนปลายไม่ถูกสักอย่าง แล้วค่อยๆ ฝึกหัดไป ค่อยๆ ฝึกหัดไป ผิดบ้างถูกบ้าง ผิดบ้างถูกบ้าง จนจับต้นชนปลายได้ ขึ้นต้นได้นะ 

ฉะนั้น เวลาผู้ที่ชำนาญ อย่างหลวงตาท่านพูด เวลาติดสมาธิ ติดสมาธิ เวลาออกใช้ปัญญาไปแล้ว โอ้โฮพุ่งเต็มที่เลย แล้วไปหลวงปู่มั่น ไอ้บ้าสังขาร” คือว่าทำสุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง ท่านถึงบอกว่าต้องรั้งกลับมา รั้งกลับมา เห็นไหม รั้งกลับมาให้อยู่ในพุทโธ รั้งกลับมาให้สงบ พอปล่อยผลัวะไปเลย เวลามันทำเป็นแล้วนะ เวลามันพิจารณาของมัน มันจะไปท่าเดียวเลยๆ ต้องรั้งไว้ ต้องรั้งไว้ ผู้ที่รั้งไว้เคยมีนะ แต่ของเราไม่คิดว่าเรารั้งไว้หรอก เรายังไม่ได้รั้งหรอก พอบอกรั้งไว้ปั๊บ เดี๋ยวมันจะคิดไปอีกอย่างหนึ่งเลย

นี่พูดถึงว่า ถ้าพบว่าจิตมันอยากอยู่ในสมาธิ มันไม่ยอมพิจารณา เหมือนใจมันยังไม่อิ่มในสมาธิ อย่างนี้ยังมีสมาธิมากไม่พอใช่หรือไม่

ต้องฝึกหัด กำลังบางทีถ้ากิเลสมันไม่รุนแรง กำลังแค่นี้ก็พอ แต่ถ้ากิเลสมันรุนแรง เหมือนกระทบมารุนแรง สมาธิต้องแรงตาม มันเหมือนกับเวลาสัตว์เนื้อ ถ้ามันมีกระดูกหรือไม่มีกระดูกไง ถ้าเป็นเนื้อมันเฉือนมันก็ขาด แต่ถ้าเป็นกระดูก เฉือนอย่างไรก็ไม่ขาด มันต้องสับ เวลาอารมณ์มันแต่ละอารมณ์มันไม่เหมือนกัน เราถึงต้องตั้งสติของเรา 

นี่พูดถึงว่า สมาธิพอหรือไม่พอ วิปัสสนาจะเริ่มต้นอย่างไร มันถึงทำของมันได้

ลูกนั่งสมาธิตอนเช้าก่อนไปทำงาน ถ้าเช้าวันไหนที่นั่งสงบดี ในระหว่างวันกำหนดลมหายใจเข้าออกยาว จะมีความรู้สึกนิ่งสงบอยู่ในใจ ถ้าเราต้องใช้ชีวิตในการอยู่ทางโลก เราจะมีวิธีการประคองใจให้มีความสงบระงับอย่างไรเจ้าคะ” 

ทางโลก ทางโลกตั้งสติไว้อย่างเดียว ทำงานให้จบ ถ้างานจบไปแล้ว เวลาผลกระทบโลกธรรม ๘ ถ้าสติเราเท่าทัน เรื่องที่กระทบมันปล่อยวางได้หมดล่ะ แต่ถ้าสติเราเลือนรางหรือเราตึงเครียดในหน้าที่การงาน มันต้องมีหลุดบ้าง ไอ้คำว่า มีหลุด” หลุดแล้วเราก็ตั้งสติกลับมา แล้วเราก็มาทบทวนของเรา 

ถึงเวลามันผ่านไปแล้วนะ อย่างนี้มันไม่ดี วันหลังไม่ทำอีก มันก็อาศัยประสบการณ์ที่เราผิดพลาดนั่นแหละ ถ้าไม่อาศัยประสบการณ์ที่เราผิดพลาด มันเรื่องของคนอื่นไง เรื่องของคนอื่นมันคิดแล้วมันก็จืดๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องของเรานะ มันได้เสีย เราเป็นผู้ได้ผู้เสียในการกระทำนั้น มันก็ต้องมาคิดของเรา 

นี่พูดถึงว่าเราอยู่ทางโลก ทางโลกเป็นทางคับแคบ แต่คับแคบขนาดไหนเราต้องอยู่กับเขา เราหนีคนไม่ได้หรอก เวลาจิตเราเบื่อหน่าย เราก็บอกเราอยากจะหนีออกไป เวลาออกไปแล้ว โอ้โฮรู้อย่างนี้อย่าเพิ่งมาก็ดี เอาไว้แก่ๆ แล้วค่อยมาทำ เวลามันอยู่คนเดียวมันก็คิดไปอีกอย่างนะ ความคิด โอ้โฮมันร้อยแปด ฉะนั้น เรารักษาของเราๆ ยังมีสติปัญญารักษาของเราไป มันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา 

นี่อยู่ทางโลก ทางโลกเราก็อยู่ทางโลก มันหนีโลกไม่ได้หรอก ขนาดตายไปแล้วว่าจะหนีโลก ยังต้องหาสัปเหร่อเลย สัปเหร่อต้องเผาให้ มันเป็นเรื่องของสังคม เรื่องของโลก ถ้ามันจะหนีจริงๆ มันต้องหนีความรู้สึกนึกคิดของเรา ความรู้สึกนึกคิด อยู่กับโลกโดยไม่ติดโลกไง อยู่กับโลกนี่แหละ อยู่กับสังคมนี่แหละ แต่รักษาใจของเราได้ๆ จะรักษาใจของเราได้มันต้องฝึกหัด รักษาใจของเราได้ เราต้องผ่านการฝึกหัดมา

เวลาทุกคนรู้ธรรมะหมดเลย นี่มันเป็นปริยัติทั้งนั้น เรารู้ธรรมะหมดเลย ทำไมเขาแก้ไขกิเลสเขาไม่ได้ล่ะ เพราะยังไม่ปฏิบัติไง ถ้าลองปฏิบัติขึ้นไปแล้ว ปฏิบัติแล้วมันก็เหมือนกับเราต้องแยกออกมาจากโลก ถ้าแยกออกจากโลกแล้วทำอย่างไร แยกออกจากโลก เราก็แยกเวลาเราปฏิบัติสิ เวลาเราไปทำงานเราก็ทำงานของเรา แล้วเราก็หาหลีกเร้นของเรา เราทำของเราจนเขาเชื่อถือได้ เดี๋ยวเขาเห็นน้ำใจเอง

แล้วถ้าเราจะทำแล้ว ถ้าจิตใจเราเรียกร้องนะ โอ้โฮทุกข์น่าดูเลย ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้” จิตใจเราไม่ต้องเรียกร้อง เราทำอย่างนี้มาเอง กรรมของสัตว์ เมื่อก่อนเราก็คลุกคลีอยู่กับเขา เมื่อก่อนเราเป็นหัวหน้าพาเขาเที่ยวด้วย แล้วตอนนี้เราจะแยกตัวออกมา เขาไม่เชื่อหรอก เราต้องทำตัวให้เขาเชื่อถือได้ ถ้าเราเชื่อถือได้นะ มันถึงจะเป็นอย่างนั้นไป

เราอยู่กับโลก เพราะจิตใจคนมันจะพัฒนาขึ้นแล้วก็เสื่อมลง เวลาเสื่อมลงแล้ว ไปไหนทำไมไม่ชวนเลยล่ะ ไปไหนไม่เห็นเรียกเลย” จะไปกับเขาอีกแล้ว ถ้ามันดีมันก็อย่างหนึ่ง เวลาไม่ดีก็อีกอย่างหนึ่ง แล้วอารมณ์มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เร็วมาก ฉะนั้น ถ้าอยู่กับโลก เราก็มีสติปัญญาของเราเพื่อโลก จบ

ถาม : เรื่อง นอนฟังธรรมะ นอนฟังเทศน์หลวงพ่อในเว็บไซต์

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพ โยมฟังธรรมของหลวงพ่อในเว็บไซต์ บางทีนั่งฟัง นอนบ้าง จึงอยากกราบเรียนถามว่า ตอนนอนฟังจะเป็นบาปไหมคะ เนื่องจากเคยได้ฟังคำสั่งสอนตอนเด็กๆ ว่า ห้ามนอนฟังธรรม ตายแล้วจะไปเกิดเป็นงูเจ้าค่ะ

ตอนนี้โยมก็มาปฏิบัติภาวนาโดยวิธีหลวงพ่อสอนมาได้ ๓ - ๔ เดือนแล้วเจ้าค่ะ มีปัญญาอบรมสมาธิ โยมจะภาวนาตอนเช้าเวลาตี ๓ กว่าบ้าง ตี ๔ บ้าง บางวันตี ๕ ส่วนกลางคืนก็ก่อนนอนเจ้าค่ะ การภาวนาจิตสงบได้บ้างไม่ได้บ้าง เวลาสงบก็ตัวเบาได้นานประมาณชั่วโมงกว่า โดยมากจะเป็นตอนเช้า ตอนเย็นจะไม่ค่อยได้ถึงชั่วโมงเจ้าค่ะ เพราะทานอาหารเย็น ส่วนทุกวันพระจะสมาทานอุโบสถศีล

วิธีภาวนาของโยมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ บางทีก็มีสติตามลมหายใจเข้าออก ภาวนาพุทโธบางทีเพลินไปคิด จิตส่งออก ก็ภาวนาว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆ บางทีก็รัวพุทโธไวๆ เพราะต้องการให้จิตมันสงบ ส่วนใหญ่จะสงบ และโยมไม่ค่อยได้เดินจงกรมเจ้าค่ะ เพราะยังไม่เข้าใจวิธีเดินจงกรมว่าเดินอย่างไร ภาวนาอย่างไร จึงกราบเรียนถามเจ้าค่ะ กราบอาราธนาหลวงพ่อสอนวิธีเดินจงกรมด้วย

ตอบ : เดินจงกรมก็เหมือนนั่งสมาธิ ถ้านั่งสมาธิเรากำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก หรือเรากำหนดพุทโธ แต่เรานั่งไว้ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เดินจงกรมเราก็เดิน ขามันเดินไป เราก็กำหนดลมหายใจเข้าออก หรือพุทโธเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าเดิน แล้วเดินไปไม่ต้องวิตกกังวล เดี๋ยวจะรู้เอง เพราะเดินไปแล้ว พอชำนาญแล้วจะเข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วก็จบ

นี่พูดถึงว่า เขาจะเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนานะ แล้วเพิ่งฝึกหัดปฏิบัติไง 

แต่เรื่องคำถาม คำถามที่ว่า นอนฟังธรรม นอนฟังธรรม เวลาเป็นเด็กเป็นเล็ก ผู้ใหญ่เขาบอกไว้ว่าห้ามนอน ถ้านอนฟังธรรมแล้วเดี๋ยวจะเกิดเป็นงู” 

เราก็เลยกลัวว่าจะเกิดเป็นงูไง เป็นงูคือมันนอนซมทั้งวันไง นี่ก็เหมือนกัน นอนฟังธรรม นอนฟังธรรม เราจะบอกว่าถ้าเป็นปัญญาชนนะ นอนฟังธรรมได้ไหม ได้ ถ้าบอกไม่ได้เลยเดี๋ยวมันไม่ฟัง เวลานั่งไปเมื่อยๆ แล้วมันก็อยากนอน นอนฟังธรรมได้ไหม ได้ ถ้าไม่ได้นะ หายไปครึ่งหนึ่งเลย ไอ้อยากเปิดฟังเทศน์ไม่กล้าเปิดเลย เพราะเดี๋ยวมันนอนไม่ได้ มันจะนอนฟังธรรมไง 

แต่โดยที่เราอยู่กับหลวงตานะ หลวงตาท่านไม่ให้ทำเลย ถ้าเป็นกรรมฐานเป็นผู้ที่มีคุณธรรมในใจ ท่านพูดว่ามันเป็นการไม่เคารพ เห็นไหม เวลาเขาเรียกเคารพศีล เคารพธรรม ทำไมต้องเคารพ ถ้าเราเคารพแล้ว ที่อยู่ของผู้ทรงศีลเขาจะเคารพนะ ในประวัติหลวงตา เห็นไหม ที่แม่ชีแก้วท่านบอกว่า เวลาหมามันชื่ออะไรที่จันทบุรี ทางเดินจงกรมของพระมันไม่เดินข้ามนะ แม้แต่หมานะ สุนัขมันจะเดินผ่าน มันเดินอ้อมทางจงกรมมา 

ถ้าหมาที่มันมีความคิดดีๆ เห็นไหม แม้แต่ทางจงกรมมันยังไม่เดินข้ามเลย แล้วสังเกตได้เวลาทางจงกรมของหลวงปู่มั่น ทางจงกรมของครูบาอาจารย์เรา เขาจะเอาเชือกกั้นขึงไว้ไม่ให้คนเดินข้าม เพราะว่าเป็นการไม่เคารพไง แล้วคนที่เคารพบูชา มันเหมือนเหยียบย่ำน้ำใจเขา ถ้ามันคิดอย่างนั้นปั๊บ จิตใจมัน เห็นไหม จิตใจมันลง จิตใจมันลง เวลาประพฤติปฏิบัติมันจะง่าย จิตใจมันลงมันเชื่อฟัง

จิตใจคนที่เชื่อฟัง กับจิตใจที่แข็งกระด้างที่ทิฏฐิมานะไม่เชื่อฟังอะไรเลย แล้วเวลากิเลสมันเกิดในใจดวงนั้นเพราะมันมีทิฏฐิมานะ มันไม่เชื่อฟังใคร เวลามันเกิดอุปสรรคขึ้นมาแล้วมันก็ฟังใครไม่ได้ แล้วมันก็หาที่อยู่ไม่ได้ แล้วมันก็หาที่พึ่งไม่ได้ เพราะอะไร เพราะด้วยทิฏฐิมานะ ประชาธิปไตยไง กูมีสิทธิ์ สิทธิเสรีภาพ ก็สิทธิเสรีภาพมันก็เป็นสิทธิ์ แต่เราก็ต้องฟังคุณธรรม ฟังวิธีของครูบาอาจารย์ที่ท่านทำของท่าน แล้วมันเคารพบูชาไง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอานนท์นะ จะไม่ก้าวก่าย จะไม่เข้าไปสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าเคยนั่งเลย ท่านจะเช็ดจะถู จะปฏิบัติเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงชีพอยู่เลย ที่เคยนั่ง เคยนอนนะ จะทำความสะอาดอย่างดีเลย นั่นเคารพ เคารพแม้แต่ว่าท่านนิพพานไปแล้วก็ยังเคารพสถานที่นั้น

นี่พูดถึงว่า เคารพสถานที่ เคารพสิ่งที่ผู้ที่ทรงศีล แล้วถ้าเคารพธรรมๆ มันทำด้วยความเคารพ เหมือนไปหาหมอจะฉีดยานิ่งเลย กลัวหมอฉีดผิด ไอ้นี่ก็เหมือนกัน จะฟังธรรมๆ ถ้าจิตมันนิ่ง จิตมันดี ที่มันเคารพมันจะได้ความดีไหม

หมอจะฉีดยา หมอจะผ่าตัด ดิ้นใหญ่เลย อ้าวผ่าเลย ผ่าเลย อย่างไรก็ได้ ไอ้นี่จะฟังธรรม นอนก็ได้ ตีลังกาก็ได้ แต่ถ้าเรานั่งฟังธรรม เห็นไหม เหมือนหมอจะผ่าตัดเราก็ให้ความร่วมมือกับหมอเพื่ออะไร เพื่อบาดแผลเพื่อการผ่าตัดนั้นมันจะปลอดภัย การผ่าตัดนั้นมันจะประสบความสำเร็จ ฟังธรรม ฟังธรรมด้วยความเคารพ เขานั่ง 

อยู่บ้านตาดขนาดเดินจงกรม ถ้าลองมือแกว่งมือนะ หรือเอามือไขว้หลังนะ ประชุมพระ ใส่เลย ท่านบอกว่าดูไม่ได้ มันเป็นการทำด้วยความไม่เคารพ การทำด้วยความไม่เคารพมันจะไม่ได้ผล ถ้าได้ผลมันก็เป็นมิจฉา 

ถ้าทำด้วยความเคารพ ศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยความเคารพ จิตใจมันนอบน้อม เวลาเป็นขึ้นมามันก็เป็นสัมมา คือมันไม่คิดออกนอกเรื่องนอกราว ถ้าเป็นมิจฉา เห็นไหม มันทิฏฐิมานะอยู่แล้ว เรื่องของกู กูเก่ง กูแน่ เวลามันเป็นสมาธิมันก็นู่น อยู่บนพระจันทร์นู่น มันไปดาวอังคารนู่นเลย มันไม่อยู่กับตัวหรอก

นี่พูดถึงว่าครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็น ท่านเห็นประโยชน์กับคนฟังนั่นแหละ ท่านเห็นประโยชน์กับคนที่รับฟัง เห็นประโยชน์กับคนกระทำ แต่เวลาพูดไปแล้ว นู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้ โอ้โฮยุ่งมากเลย” เวลาเอ็งเจ็บไข้ได้ป่วยมันยุ่งกว่านี้ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเอ็งต้องไปหาหมอ หมอเขาจะผ่าตัดดูแลรักษาเอ็งก็เพื่อประโยชน์กับเอ็งนั่นแหละ

นี่ก็เหมือนกัน เราจะฟังธรรม ทีนี้เขาบอกว่าพ่อแม่ผู้ใหญ่เขาสอนไว้ว่าถ้านอนฟังธรรมแล้วมันจะเป็นงูไง ไอ้นี่มันก็เหมือนกับคำพังเพยเนาะ เวลาเขาสอนเด็ก นู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้ แล้วเด็กมันไม่มีเหตุผลเขาก็สอนอย่างนี้ ว่าถ้าฟังธรรมแล้วมันจะเกิดเป็นงู เราก็เห็นด้วยนะ เกิดเป็นงู แต่นอนฟังธรรมได้ไหม ได้ ถ้าไม่ได้หายไปครึ่งหนึ่งแน่ๆ เลย ไอ้คนจะฟังๆ มันไม่ฟังเลย แต่เหตุผลไง เหตุผล

เราเคยอยู่กับหลวงตามา เราเคยเห็นสภาพแบบนี้มา เราเห็นท่านสั่งสอนมา แล้วเรามาประพฤติปฏิบัติ เรามาปฏิบัติ เอาผลของการปฏิบัติมาเทียบเคียงไง อ๋อมันให้ผลร้ายอย่างนี้ มันให้ผลลบอย่างนี้ มันให้ผลลบกับตัวเราเองไง แต่เวลาท่านเมตตาเรา ท่านสั่งสอนเราก็เพื่อตัวเรา เพื่อประโยชน์กับเรานี่แหละ แต่กิเลสของเรามันก็เอาแต่คำสอนของท่านมาพลิกแพลง เป็นอย่างนู้น เป็นอย่างนี้ เบื่อหน่าย โอ๋ยน่าเบื่อหน่าย แต่ความจริงท่านก็พูดเพื่อเรานี่แหละ พูดเพื่อประพฤติปฏิบัติ

ฉะนั้น การนอนฟังธรรม ถ้ามันเมื่อยมันเหนื่อยนักจะนอนฟังก็โอเคเนาะ แต่ถ้ามันจะเป็นงูหรือไม่เป็นงู มันเป็นเวรเป็นกรรม

แต่ถ้าครูบาอาจารย์เราสอน ท่านสอนอย่างนี้ ท่านพูดด้วยเหตุผลนะ เพราะอยู่กับท่าน ท่านประชุมเรื่องนี้หลายรอบ ประชุมเรื่องพระเดินจงกรมโดยที่สติแตก เดินจงกรมโดยที่ไม่สำรวมระวัง ประชุมพระเลย แล้วใส่เต็มที่เลย ท่านบอกว่า เห็นแล้วมันดูไม่ได้ ท่านมองไม่ได้เลยเพราะว่าท่านเคารพธรรมไง

กว่าท่านจะได้คุณธรรมมามันแสนทุกข์แสนยาก แล้วถ้าท่านได้มาแล้วท่านก็อยากให้คนอื่นได้ด้วย แล้ววิธีการที่มันจะได้มันควรทำอย่างนี้มันถึงจะได้ ไอ้ทำอย่างนั้นมันจะไม่ได้ ถ้าได้มันก็เป็นมิจฉา ได้ความหลงผิด ได้อะไรไป ท่านกลับสงสาร ท่านกลับป้องกันเรา ท่านป้องกันพวกที่ประพฤติปฏิบัติ ท่านป้องกัน แต่ไอ้เราไม่รู้ ไม่รู้แล้วยังเพ่งโทษท่านอีกนะ นี่พูดถึง การฟังธรรมด้วยความไม่เคารพ

ฉะนั้น ของท่านไม่ได้นะ เวลาจะเทศน์ขึ้นมาต้องเงียบกริบ มันมีปัญหาก็ตอนโครงการช่วยชาติฯ นี่แหละ รถวิ่งขนาดไหนท่านก็ต้องเทศน์ เพราะว่ามันต้องการปัจจัยมาเพื่อสังคม แต่ถ้าจริงๆ แล้วเพราะท่านได้ทำมา ท่านขวนขวายมาทั้งชีวิต ทำไมท่านจะไม่เคารพ แล้วคนอื่นจะไม่เคารพมันเรื่องของเขา เพราะเขาไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น เขาเคารพแต่เงินทอง เคารพแต่ยศถา-บรรดาศักดิ์ แต่เขาไม่ได้เคารพคุณธรรมในใจของคน

แล้วคุณธรรมอันนั้นท่านได้ของท่านมา ท่านเคารพของท่าน แล้วท่านเห็นพวกเรา ท่านมีลูกศิษย์ พวกเราเป็นลูกศิษย์ ท่านก็จะสอน สอน ไอ้พวกเรายังไม่มีคุณธรรมในใจมันก็เลยจืดชืดไง มันก็ไม่รู้รสไง มันก็เลยเอ๊อะอยู่นั่นน่ะ ลองใครได้ใครเป็นสิ มันจะเคารพบูชาขนาดไหน แต่พวกเรายังไม่เป็นมันก็เป็นแบบนี้ นี่พูดถึงนะ

แล้วเวลาเขาบอกว่า จริงหรือไม่ นอนฟังธรรมแล้วจะเป็นงู” เป็น แล้วนอนฟังธรรมได้ไหม” ได้ เพราะมันจะไม่มีใครฟัง แล้วมันจะไม่มีใครปฏิบัติไง ได้ทั้งนั้น แต่มันก็เป็นจริงของมัน 

แล้วถ้าเดินจงกรม เดินจงกรมเราพยายามทำของเรา ทำเพื่อประโยชน์กับเรา ทำเพื่อประโยชน์กับเราเนาะ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาเพื่อเป็นศาสนทายาทให้หัวใจเราเป็นธรรม มันจะเห็นคุณค่าของศาสนา ถ้ามีคุณค่าของศาสนา ศาสนาจะเป็นประโยชน์กับสัตว์โลกไง จบ

ถาม : เรื่อง กรรมใดหนอที่ทำให้ข้าได้เจอย่าอย่างนี้

นมัสการหลวงพ่อที่เคารพ ชีวิตผมนั้นโดนย่าทำร้ายจิตใจมามากเหลือ ทั้งเรื่องคำพูด การกระทำ ผมเบื่อเหลือเกิน ผมทำมาหลายครั้งหลายคราวก็ไม่เคยปรับปรุง บอกคนนู้นว่าไม่ดี บอกว่าผมเป็นคนนิสัยไม่ดี ทำแต่เรื่องเสียหาย ขโมยของบ้าง ผมเบื่อนะครับหลวงพ่อ แล้วผมจะเอาคืนในสิ่งที่เขาทำกับผม แม่ก็พูดว่า เมตตาเขาเถอะ เราประเสริฐกว่าเขา แล้วผมก็ทนมาตลอดจนผมไม่ไหว ผมอยากให้หลวงพ่อเทศน์ในสิ่งที่ทำให้ผมไม่ต้องมาทุกข์กับย่าคนนี้ครับ

ตอบ : เรามันเหมือนคนที่ถ้าเปรียบเทียบเป็นวิทยาศาสตร์นะ เหมือนคนติดคุก ติดคุก ๒๐ ปี เขาต้องโทษ ๒๐ ปี เขาจะพ้นจากโทษ ถ้าติดคุก ๖ เดือน เขาต้องติดคุกครบ ๖ เดือน เขาจะพ้นความติดคุกนั้น

ไอ้เราก็เหมือนกัน เราเกิดมานะ เกิดมาจากพ่อจากแม่ แต่ย่าเป็นแม่ของพ่อ แล้วย่าเป็นแม่ของพ่อ เห็นไหม เราเกิดมา เกิดมาโดยเวรโดยกรรมไง เราเกิดมามีเวรมีกรรม เราถึงมาเกิดเป็นสายเลือดกันไง ถ้าเราเกิดเป็นสายเลือดกัน สิ่งนั้นเป็นสายเลือด มันทำใจยาก มันทำใจยากเพราะอะไร 

เพราะจิตใจเราเป็นโลก คือว่าคนที่มีมุมมอง มีคุณค่าเท่ากัน มันถึงกระทบกันไง แต่คนที่จะวางสิ่งนี้ได้ คนต้องจิตใจที่เป็นธรรม จิตใจที่เป็นธรรม จิตใจเห็นว่าเรื่องนี้เป็นโลกธรรม ๘ เห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องโลกไง จิตใจที่เราสูงกว่าคือใจที่จะวางได้มันต้องพัฒนา มันต้องทำใจของเราวางได้ 

แต่ถ้าอย่างนี้ ย่าของผมติเตียนผมมาตลอด” เหมือนกันทั้งนั้นน่ะ วัยรุ่นทนไม่ได้หรอก วัยรุ่นที่บ้านแตกสาแหรกขาด ที่ออกจากบ้านก็เพราะเหตุนี้ เพราะว่าเหตุที่ในบ้านกระทบกระเทือนไง ในบ้านมีสิ่งใดบีบคั้นแล้วมันทนไม่ไหวนะ หนีออกจากบ้าน หนีออกจากบ้าน

ฉะนั้น เราจะบอกว่า เราจะเอาเรื่องของสังคมมาให้โยมเห็นไง แต่เราไม่ได้ยุให้โยมออกจากบ้านนะ ไม่ออก เราไม่ออกจากบ้าน ถ้าออกจากบ้านไปมันทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไป เราเกิดมาด้วยบุญด้วยกุศลไง ด้วยจากพ่อจากแม่ มีปู่ มีย่า มีตา มียาย สิ่งนี้ที่กระเทือนมา แต่คนคิดอย่างนี้เยอะ คนคิดอย่างนี้หมายความว่า ย่าที่คิดอย่างนี้เขาถือว่าเขาเป็นสมบัติของเขา เขาถือว่าเขาเป็นแม่ของพ่อ แล้วพ่อเป็นพ่อของเรา โดยทิฏฐิมานะเขาถือกันมาอย่างนี้ 

แต่จริงๆ แล้วใจของเขา เขาก็เมตตา เพราะว่าไม่มีความรักที่สะอาดบริสุทธิ์ ความรักของพ่อของแม่กับลูก ความรักที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่ได้หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น แล้วลูกประสบความสำเร็จอย่างไรก็ประสบความสำเร็จ แต่ตอนนี้ที่ว่าเขายังติเตียนเรา เขายังคอยติเตียน คอยว่าให้เราเจ็บช้ำ เราก็คิดว่าเขาปรารถนาดี ถ้าเขาปรารถนาดีของเขา เราก็ดำรงชีวิตของเรา แล้ววางใจเราไง ทำใจเราให้ได้ไง

ทีนี้เขาบอก ผมเบื่อเหลือเกิน คอยว่าผมเสียๆ หายๆ คอยทำลายผม” 

ไอ้อย่างนี้มันเป็นเวรเป็นกรรมๆ นะ เราเจอคนแบบนี้ไง เราถึงยกขึ้นไง ติดคุก ๒๐ ปี พ้นจากคุก ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราเกิดมา เห็นไหม เป็นเวรเป็นกรรม เวรกรรมมันครอบงำไว้ในสถานะอย่างนี้ แล้วเราหนีไปอย่างไรก็ไม่พ้นหรอก มันต้องจบสิ้นกันไง มันต้องหมดเวรหมดกรรมมันก็จบกันไป

หมดเวรหมดกรรมนะ คำว่า หมดเวรหมดกรรม” ถ้าวันไหนย่าระลึกได้ว่าอ้อฉันเป็นคนจ้ำจี้จ้ำไชกับหลานคนนี้เหลือเกิน ฉันมีความผิดพลาด ต่อไปนี้ฉันจะเป็นคนดี” จบเลยนะ ถ้าเขาคิดของเขาได้ ถ้าเขาคิดของเขาไม่ได้ เขาก็มองอย่างนั้น เพราะมันไม่มีกฎหมายไปตัดสินไง กฎหมายในครอบครัวที่จะไปตัดสินอย่างนั้นไม่มี เว้นไว้ทำผิดอาญา

ฉะนั้น จะบอกว่า ถ้ามันจะแก้ได้ แก้ได้ที่ใจของเรา ใจที่สูงกว่า ใจที่สูงกว่า คำว่า ใจที่สูงกว่า” มันมองเห็นปัญหาอย่างนี้เป็นปัญหาที่เข้าใจได้ มันวางได้ 

แต่ใจที่ไม่สูงกว่า แล้วยิ่งเป็นวัยรุ่นนะ วัยรุ่นนี่พลังงานเยอะ มันจะมีปัญหา ถ้ามีปัญหาในบ้าน ในครอบครัวมันเป็นปัญหา ฉะนั้น เราแก้อย่างนี้ เห็นไหม ดูสิ เราดูสิ ตอนนี้นะ เขามีสามเณรน้อย เขาเอาเด็กน้อยไปบวช แล้วค่อยฝึกหัด ยิ้มแย้มแจ่มใส มันมีธรรมในหัวใจ เราดูรายการทีวีที่เขาเอาเด็กๆ ไปบวชกัน เขายังทำคุณงามความดีได้เลย

ฉะนั้น กรณีของเรา เราก็ทำคุณงามความดีของเราเพื่อเรา ถ้าย่าจะมีมุมมองอย่างไรมันเรื่องของย่า มันเรื่องของย่าเขา แล้วถ้าเขาจะมาพูดสิ่งใด ตั้งสติไว้ อย่าหลุด ไม่ใช่ว่าใครจะพูดอะไร เขาเดินเข้ามาก็กลัวจนวิ่งหนีแล้ว เพราะคนมันเข็ดเนาะ คนมันเข็ด แต่เราก็รักษาใจของเราไง มันเป็นเรื่องในบ้าน แล้วอีกอย่างหนึ่งชีวิตของเราๆ ถ้ามันยังเป็นย่า มันมีพลังงานเหลือใช้ๆ เราต้องหาทางออกของเรา เป็นเวรเป็นกรรมนะ 

ฉะนั้น เป็นเวรเป็นกรรม กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน แล้วเวรกรรมมันเป็นอจินไตย มันมีมาเก่ามาแก่ แล้วเราบอกว่าเรื่องกรรมๆ กรรมเป็นอจินไตยเลยล่ะ ถ้าเป็นอจินไตย อจินไตยคือว่าไม่ควรคิดเลยว่ามันจะมาเกิดเมื่อไหร่ มันมาอย่างไร แต่มันต้องมีที่มาที่ไปของมัน 

ถ้าไม่มีที่มาที่ไปนะ ย่าจะรักเราน่าดูเลย ถ้าเป็นกรรมดีนะ ย่าจะรักเรามาก เพราะอะไร เพราะย่าก็รักพ่อ แล้วพ่อมันก็มีหลาน มีหลานแล้วเขาก็อยากให้หลานเป็นหลานที่ดี เป็นเชิดชูสกุล ย่าเขาคิดอย่างนั้น แต่ด้วยจริตด้วยนิสัยของคนอย่างนี้ นี่ยังดีนะไม่ไปเจอปู่เจอย่าขี้เมา แล้วขี้เมาอยู่กลางถนน โอ้โฮอย่างนี้น่าอาย กรณีอย่างนี้มันก็มีของมัน เห็นไหม 

เราจะบอกว่า เราเห็นใจมาก เราเห็นใจมากนะ เราเห็นใจมาก มันเหมือนกับทางโลก ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยไปโรงพยาบาลเขาจะให้ยา โรคอะไร หมอจะฉีดยารักษา ถ้ามันควรผ่าตัดก็ผ่าตัด แล้วมันหายก็จบ เป็นโรคเป็นภัยมันรักษาแล้วหายเลย แต่นี่มันเป็นโรคเวรโรคกรรมอยู่ในบ้าน มันรักษาเราไม่ได้ หมอที่ไหนจะรักษาล่ะ แล้วหมอคนไหนจะไปผ่าตัดหัวใจย่า แล้วหมอคนไหนจะไปพูดให้ย่าได้คิด 

เราเจ็บไข้ได้ป่วยเข้าโรงพยาบาลยังจบนะ มีอะไรผ่าตัด ควรผ่าตัด มีอะไรแก้ ควรแก้เลย ไอ้เรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วย แต่เรื่องเวรเรื่องกรรมมันจะไปจบกันตรงไหนล่ะ ถ้ามันจบไม่ได้ กลับมารักษาใจเรา รักษาใจเรา เอาธรรมะเป็นที่พึ่ง เอาธรรมะเป็นที่พึ่งนะ

ถ้าคิดอย่างนี้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ญาติข้างพ่อกับญาติข้างแม่ เห็นไหม แย่งน้ำทำนากันน่ะ ไปห้ามถึงสองหน น้ำกับชีวิตอันไหนมีคุณค่ากว่ากัน ว่าชีวิตมีคุณค่ากว่า ก็เลิกกันไป ครั้งที่สองไปห้ามอีก ครั้งที่สามพระพุทธเจ้าไม่ได้ไป รบราฆ่าฟันกันตายทั้งสองฝ่าย ตายเกลื่อนหมดเลย เกิดศึกเกิดสงคราม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าห้ามญาติ ปางห้ามญาติ อย่าทะเลาะอย่าเบาะแว้งกัน ไอ้เรานี่ย่า มันเป็นเวรเป็นกรรม พระพุทธเจ้ายังห้ามญาติของตนรบกันไม่ได้เลย เห็นไหม อจินไตย เรื่องเวรเรื่องกรรม นี่เรื่องเวรเรื่องกรรม ฉะนั้น กลับมาที่ใจเรา รักษาใจเรา เอาธรรมะรักษาใจเรา เราพยายามแผ่เมตตา แผ่เมตตา แล้วถ้าใจมันสงบระงับได้ เรื่องนี้จะจบ 

เหมือนเข้าโรงพยาบาล ถ้าหมอมีฝีมือรักษาแล้วโรคหาย โรคหาย เราก็กลับมาปลอดภัย นี่ก็เหมือนกัน ไอ้โรคเวรโรคกรรม โรคน้ำใจ มันเบื่อหน่าย แล้วเรารักษาไม่หาย 

แต่ถ้าเราดูแลรักษาหัวใจด้วยธรรมะ เดี๋ยวรักษาหาย รักษาหายแล้ว ย่าจะพูดอย่างไรก็เรื่องของย่า ไอ้เรานั่งเย็นๆ ใจร่มๆ นั่งสุขสบาย ตอนนี้ย่าเครียดเลย พูดอย่างไรมันก็ไม่สะเทือน พูดอย่างไรเราก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เดี๋ยวมันจะกลับไปหาย่าเอง เห็นไหม 

เรารักษาใจเรา เพื่อประโยชน์กับเราเนาะ เอวัง