เทศน์บนศาลา

อำนาจธรรม

๑๔ ม.ค. ๒๕๔๙

 

อำนาจธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๙
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ฟังธรรมนะ ตั้งใจ เรามาแต่บ้าน เรามาหาความสงบสุขในหัวใจ เวลาอยู่ของเรา หาความสงบสุขไม่ได้ เราถึงต้องหาที่ ที่มันสงัดไง นี่พระก็ปฏิบัติ เวลาปฏิบัติเราไม่มีครูมีอาจารย์ เราก็ยังขวนขวายของเราอยู่ ขณะที่มีครูมีอาจารย์ กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กันนะ กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน “ธรรม” ธรรมถึงจะจำแนกกรรมได้ไง ถ้าไม่มีธรรม จะเอาอะไรจำแนกกรรม เพราะกรรมดีก็มี กรรมชั่วก็มี

สิ่งที่เป็นกรรมนะ สิ่งที่เป็นกรรมมันสร้างสมมา แล้วกิเลสล่ะ กิเลสก็มีอำนาจ อำนาจเหนือกับในความรู้สึกของเราเพราะเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก กิเลสคืออะไร? กิเลส ต้นขั้วของกิเลสคืออวิชชา แล้วอวิชชามันก็ยังมีลูกมีหลานของมันออกมา ออกมานะ เพราะอะไร เพราะความรู้สึกของเรา ความคิดเห็นไหม มันเกิดตามแต่ธรรมชาติของมัน ตามแต่ธรรมชาตินะเราไปหักห้ามไม่ได้ ถ้ามีสติ เรามีสติสัมปชัญญะ เราจะยับยั้งได้บ้าง

สิ่งที่สติสัมปชัญญะเกิดจากอะไรล่ะ? เกิดจากรรมไง กรรมดีกรรมชั่ว เราสร้างกรรมดีมา คนมีสติ คนมีสติไม่สมบูรณ์ คนต่างๆ นี่สิ่งที่กรรมเกิดมาสภาวะแบบนี้ นี่สร้างสมมา แล้วกรรมอันนี้ใครจำแนกล่ะ? ก็ธรรมไง ธรรมของใคร ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้มาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นครู เป็นศาสดาของเราเพราะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมนะ ธรรมมีเป็นครั้งเป็นคราวไง แต่เรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยากจะมีตลอดไปนะ

ผู้ที่สร้างสมบุญญาธิการเป็นพระโพธิสัตว์ สิ่งที่เป็นพระโพธิสัตว์ต้องสร้างสมบุญญาธิการมา มีสถานะตามมรรคอย่างนี้ หัวใจอย่างนี้มันถึงจะมีสถานะความตรัสรู้เองโดยชอบไง ถ้าไม่ตรัสรู้เองโดยชอบ สิ่งนี้มันมีอยู่โดยดั้งเดิมไหม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าตรัสรู้ธรรม ธรรมนี้มีอยู่แล้ว เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ที่ ๔ ในภัทรกัปนี้ นี่ธรรมที่มีอยู่แล้ว มีอยู่ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ผ่านๆ มาไง พระอรหันต์ที่เป็นสาวก-สาวกะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ธรรมแล้ว นี่เพราะมีอยู่ จิตมีอยู่ จิตเกิดตายอยู่ตามอำนาจของกรรม อวิชชาควบคุมเห็นไหม กรรมนี้มีอยู่นะ ถึงต้องให้จิตนี้ต้องไปแต่อำนาจกรรม แล้วถ้าอวิชชาขับไสไป ก็ยังต้องเกิดต้องตายไป

แต่ถ้ามาประพฤติปฏิบัติ ถ้ามีธรรมจำแนกออกๆ ในเมื่อสัตว์เกิดพบอำนาจของกรรม ทำให้สัตว์เกิดต่างๆ กัน อำนาจของธรรมก็จำแนกออก จำแนกสิ่งการกระทำของอวิชชาตั้งแต่อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเข้ามา ให้เราเห็นหัวใจของเรา ถ้าเราเห็นหัวใจของเรา สถานที่นี้ สภาวธรรมอยู่ที่ไหน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่เสวยวิมุตติสุข วิมุตติสุขเห็นไหม เวลาเจ้าชายสิทธัตถะออกประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี เวลาเข้าฌานสมาบัติ สุขไหม? สุขอย่างนี้ทำไมไม่เสวยวิมุตติสุขล่ะ สุขอย่างนี้ทำให้ติดข้อง ติดข้องเพราะถ้าไม่มีปัญญา จะว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรมไง สิ่งนี้เป็นธรรม ธรรมนี้เป็นสมาธิธรรม สมาธิธรรมนี้เป็นสากล

ในการประพฤติปฏิบัติ ฤๅษีชีไพรที่เขาประพฤติปฏิบัติเขามีสภาวะแบบนี้ยังได้ เขาเหาะเหินเดินฟ้าด้วย นี่เขาทำสภาวะต่างๆ ได้ เห็นไหม เป็นฌานโลกีย์ ถ้าไปติดอยู่จะมีสภาวะแบบนั้น แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่ติดสภาวะแบบนี้ ปฏิเสธสิ่งนี้มา เพราะเวลาจิตสงบ มันก็มีความสุข เห็นไหม สุขคู่กับทุกข์ เวลาคลาย เวลาเสื่อมออกมา แบกแต่ความทุกข์ไว้ในหัวใจนะ เร่าร้อนมากในหัวใจเพราะอะไร เพราะปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ไง ในเมื่อสิ่งที่ปรารถนา เป้าหมายเรามี แล้วเราเดินไม่ถึงเป้าหมายของเรา แล้วจะหาใครสอน หาคนบอกก็ไม่มี เห็นไหม เที่ยวเสาะแสวงหาตามลัทธิต่างๆ ตามที่ในสมัยพุทธกาลที่เขาประพฤติปฏิบัติ ก็ไม่มีใครสามารถจะบอกสิ่งนี้ได้ นี่สิ่งนี้เป็นความกังวลไหม

นิวรณ์ธรรมนะ ความกังวล ความต่างๆ ในหัวใจ ทำให้เราเป็นทุกข์เป็นร้อน สิ่งที่เป็นทุกข์เป็นร้อน เวลาสุขก็มีความสุขมาก เวลาคลายตัวออกมามันก็มีความทุกข์อย่างนี้ “สิ่งนี้ไม่ใช่” ถ้าไม่ใช่แสวงหาอย่างไร แสวงเข้ามาในอำนาจของตัวเองไงเพราะตัวเองสร้างสมบุญญาธิการมา นี่ย้อนกลับมาให้จิตนี้เป็นความสงบ ให้เป็นสัมมาสมาธิแล้วเข้าไปชำระกิเลส ธรรมจำแนกอย่างนี้ แล้วจำแนกของกรรมล่ะ กรรมจำแนกให้เราเกิด เกิดมานี่ ถ้าคนมีอำนาจวาสนา ดูสิ คนเกิดมามหาศาลเลย เขามีศรัทธาไหม เขามีความเชื่อไหม เขาจะประพฤติปฏิบัติของเขาไหม เวลาเราออกประพฤติปฏิบัติ เราจะบอกว่า ผู้ที่อยู่นี่มีปัญหา ไม่สู้กับสังคมทางโลก โลกมันเร่าร้อนนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ในธรรม “ในสโมสรสันนิบาต ทุกจิต ทุกดวงใจเร่าร้อน” นี่โลกเขาเป็นอย่างนั้น แต่กิเลสไง ในเมื่อกิเลสเข้ากับกิเลสได้ ทุกคนมีกิเลส ทุกคนมีตัณหาความทะยานอยากก็เข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นความสุขเห็นไหม แสวงหาสิ่งที่เป็นสมมุติ สิ่งนี้เป็นสมมุติ สมมุติขึ้นมาเพราะเราเกิดมาด้วยอำนาจของกรรม กรรมเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพบพระพุทธศาสนา แต่เพราะธรรมในหัวใจไม่มี ถึงสิ่งนี้ อำนาจของธรรมในหัวใจเราอ่อนแอ แต่อำนาจของกิเลสมันมีกำลังเข้มแข็งกว่า อำนาจของกิเลสก็ไสไป ไสให้เราใช้ชีวิตไปกับโลกเขา เราแสวงหาตามโลกเขา แล้วสังคมหมู่มากเห็นไหมเพราะสังคมของกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันมีโดยธรรมชาติของเขาอยู่แล้ว นี่สิ่งนี้มันก็เข้ากันได้สิ แล้วผู้ที่แยกตัวออกมา “เนกขัมบารมี” เราสละออกมาจากสังคม สิ่งนั้นมีปัญหา สิ่งนั้นไม่สู้โลก คนนี้ต่างหากเป็นผู้ที่จะเอาชีวิตรอดนะ เอาตัวรอดนะ ชีวิตเห็นไหม

ชีวิตคืออะไร? ชีวิตคือพลังงานตัวนี้ แล้วพลังงานคือตัวจิตนี่ไม่มีใครไปบำรุงรักษามัน มันก็โดนกิเลสครอบงำอยู่ นี่อำนาจของกิเลสครอบงำอยู่มันก็ใช้ชีวิตไปประสาเขาแล้วเราเข้ามารักษาสภาวะแบบนี้ อำนาจของกิเลสนะ มันมีอยู่ในหัวใจของเรา ในหัวใจของสัตว์โลก เรื่องของสัตว์โลก เรื่องของบุคคลอื่นนั้นเป็นเรื่องของเขา เรื่องของเราคือหน้าที่ของเราต้องเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเราให้ได้ ถ้าเอาใจไว้ในอำนาจของเรา เรามีสติไหม

เราเวลาประพฤติปฏิบัติ เวลาเดินจงกรม ต้องให้มีสตินะ ถ้าไม่มีสติเดินนะ สุนัขมันก็เดินได้ สุนัขต่างๆ มันก็เดินของมัน สัตว์มันก็เดินของมันเห็นไหม ชาวโลกเขาเดินของเขา เดินจงกรมให้มีสติ แล้วนี่กิริยาต้องสำรวม ถ้าเดินจงกรมกิริยาไม่สำรวม มันแกว่งแขนไปสภาวะแบบนั้นน่ะ สติมันแตกออกไปหมดแล้วเราก็ปรารถนาอยากมีความสงบร่มเย็นในหัวใจ แต่กิริยามันไม่สมกับการประพฤติปฏิบัติเลย มันประพฤติปฏิบัติโดยกิเลสไง

ในเมื่อกิเลสในหัวใจเต็มหัวใจแล้วประพฤติปฏิบัติ ก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เห็นไหมนี่อำนาจของกิเลสมันมีอำนาจมากกว่านะ ทั้งๆ ที่เดินจงกรมอยู่นะ เราออกประพฤติปฏิบัติ เราได้บวชเป็นพระเป็นเณรมาแล้วเราประพฤติปฏิบัติ เวลาเราเดินจงกรม สติมันมีไหมนี่มันเหยียบหัวตั้งแต่ในทางจงกรมของเรานะ เรากำลังต่อสู้กับข้าศึก ดูสิ เวลาเกิดสงครามขึ้นมาระหว่างสงครามเขาก็ต้องทำสงครามต่อกัน เขามีอาวุธต่างๆ เขาต้องประหัตประหารกันเพื่อเอาชนะกัน เขามีกลอุบายวิธีการ

นี่ก็เหมือนกัน เรานี่สงครามธาตุ สงครามขันธ์ สงครามของการทำกิเลสในหัวใจเราจะประหัตประหารกัน ทำไมเราเซ่อขนาดนั้นนะ เดินจงกรมเหมือนกับสัตว์เดินอยู่ในทางจงกรมอย่างนั้นน่ะ แกว่งแขนไปสภาวะแบบนั้นเลย สติก็ปล่อยให้ลอยออกไป แล้วมันส่งออกหมดไง อำนาจของกิเลสมีอำนาจเหนือกว่า ส่งออกนะ

ดูสิ เราประพฤติปฏิบัติ ธรรมนี้เป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาตินะ เวลาธรรมชาติ เราพยายามค้นคว้ากัน เราต้องการเอาชนะธรรมชาติ โลกเขาต้องการสิ่งที่ว่ามีทรัพยากรเพื่อมาดำรงชีวิตของเขา เวลากิเลสมีอำนาจ มันจะบอก จะควบคุมธรรมชาติให้ได้ จะใช้วิชาการต่างๆ เพื่อจะดำรงชีวิตให้อยู่เหนือธรรมชาติ มันเป็นไปไม่ได้หรอก

เพราะสิ่งต่างๆ ของโลกเราขึ้นมา มันเป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นมันย่อยสลาย มันไม่มีความคงที่ เราจะสร้างสมขนาดไหนก็แล้วแต่ สิ่งนี้เป็นเครื่องอาศัยเท่านั้น มันจะไม่อยู่กับเราตลอดไปหรอก มันต้องบำรุงรักษา แม้แต่ชีวิตเรามันก็ต้องพลัดพรากไป นับแต่ร่างกายเรามันก็ต้องพลัดพรากไป อันนี้มันย้อนกลับเข้ามา ถ้าย้อนกลับเข้ามาถึงตัวเรา ในชีวิตของเรา ในหัวใจของเรา เราจะควบคุมใจของเรา แต่เราส่งออกไปทางโลกเห็นไหม

ธรรมชาติ สภาวะธรรมชาติ ดูสิ เวลาแผ่นดินไหวนะ เราสร้างสิ่งที่คงทนถาวรขนาดไหน มันก็ต้องพังทลายไป เวลาเราไปอยู่ในทะเล เวลาเราเกิดพายุขึ้นมา เวลาเกิด ถ้าเรือของเราล่ม เราจะต้องอยู่ในทะเลนั้น เราจะต้องดำรงชีวิต เราต้องเอาชีวิตเรารอดในทะเลนั้น แล้วมีพายุ มีคลื่นลมแรง สิ่งที่พัดมา แล้วสิ่งต่างๆ เข้ามากระทบเรา เราจะดำรงชีวิตของเราได้อย่างไร ถ้าตายไปก็ตามกรรมไง นี่กรรม!

กรรมมีอำนาจเหนือสัตว์โลก เพราะสัตว์โลกทำกรรมแล้ว สิ่งนี้มันจะเป็นวาระของจิตดวงนั้น เป็นวาระของบุคคลนั้นจะไปเจอสภาวกรรมแบบนั้น สภาวกรรมนั้น เวลาเราทำกรรม เราทำบาปอกุศล เราว่าสิ่งที่เราทำแล้วก็แล้วกันไป

คนเราเกิดมามันมีความจำเป็นนะ เวลากรรมเกิดขึ้นมา เราเกิดมาในครอบครัวที่เป็นสัมมาทิฐิไหม เราเกิดมาในครอบครัวสิ่งที่ว่าในประเทศอันสมควรไหม ถ้าเราเกิดในประเทศอันสมควร โอกาสของเราก็จะมีมาก เป็นสัมมาทิฐิ พ่อแม่เป็นสัมมาทิฐิอยากให้ลูกมีความสุขในหัวใจ นี่ความฉลาด ความเก่ง อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่ความดี ความสุขในหัวใจ อันนี้มันอยู่ที่ใจดวงนั้นไง เขาปรารถนาสิ่งใด เขาดำรงชีวิตอย่างไร ให้เขายืนในชีวิตของเขาได้ ความสุขในหัวใจเรานี่ สิ่งนี้พ่อแม่ต้องปรารถนาให้ลูกเจอสภาวะแบบนั้น ลูกก็พยายามค้นคว้ากับเรา นี่เป็นความคิดของโลกนะ

แต่ถ้าเป็นความคิดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความคิดของครูบาอาจารย์ ความสุขหาได้ในหัวใจของเรานี้ สิ่งที่หัวใจสงบเข้ามา มันจะเป็นความสุขเข้ามาจากพื้นฐาน นี่ธรรมชาติ สภาวะธรรมชาติจากภายนอก เรื่องของโลก เรื่องของความเป็นไป มันวิวัฒนาการของมันไปตามธรรมชาติของโลกอย่างนั้น ชีวิตการเกิดก็เหมือนกัน มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่งนะ เพราะอะไร เพราะจิตดวงนี้มันมีอยู่ จิตดวงนี้ไม่เคยตาย พลังงานตัวนี้ ธาตุรู้นี้มันมีตลอดไป แล้วมันมีอวิชชาครอบงำมันอยู่ มันมีกรรมอย่างนี้มันก็ต้องเกิดต้องตายไป

เวลาเกิดตายขึ้นมาเราก็ได้โลกหนึ่ง โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือเรา โลกคือเรานะ เพราะมีเรา โลกนี้ถึงมี เพราะเรามีหัวใจ เรามีร่างกายนี้ เราก็มีสภาวะแบบนี้แล้วมันอยู่กับธรรมชาติ ธรรมชาติ นี่การเกิดก็เป็นธรรมชาติ การตายก็เป็นธรรมชาติ ความรู้สึกความคิดก็เป็นธรรมชาติ เราก็ไปอยู่กับโลกภายนอกไง เราใช้ปัญญาจากภายนอก ปัญญาจากสัญญาอารมณ์อย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องของธรรมชาติอันหนึ่ง

แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกลับกว่านั้นมหาศาลเลย นี่สภาวธรรม อำนาจของธรรม ถ้ามีอำนาจของธรรม เราจะเริ่มค้นคว้าหาสัจจะความจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาอย่างนี้ สิ่งที่ว่าเราในปัจจุบันนี้ เราว่าโลกนี้เจริญ ทางวิชาการเจริญ

ในสมัยพุทธกาลก็เหมือนกัน ในสมัยพุทธกาล เห็นไหม ตักสิลา เขามีวิชาการมหาศาลเลย แม้แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์เขาผ่าตัดสมองได้ตั้งแต่ ๒,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว แล้วในปัจจุบันนี้ วิทยาศาสตร์เจริญ เขาหาซากฟอสซิล นี่เป็น ๑๕๐ ล้านปี เป็นร้อยๆ เป็นล้านๆ ปี แล้ว ๒,๕๐๐ ปี มันแค่ครู่เดียว...

สิ่งที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ว่าโลกเจริญ ปัญญาเจริญ ในสมัยพุทธกาลก็เจริญอย่างนี้ เจ้าชายสิทธัตถะก็ไปเรียนกับเขา ศึกษามากับเขาเหมือนกัน เป็นเรื่องของโลกนะ สภาวะนี้มีอยู่แล้ว โลกก็เจริญสมัยกาลและเวลา นี่อกาลิโก ตามแต่แล้วแต่คนจะเกิดในยุคใดสมัยใด ยุคใดสมัยใด เห็นไหม แล้วก็บอกว่าในปัจจุบันนี้ ถ้าอำนาจของกิเลสนะ มันปิดตานะ ตายในปัจจุบันนี้ นรกก็ไม่มี สวรรค์ก็ไม่มี ต่างๆ ก็ไม่มี วัฏฏะไม่มีได้อย่างไร ถ้าวัฏฏะไม่มี สภาวะความจิตที่มันเกิดตาย มันเวียนไป มันจะไปอยู่ที่ไหน สถานะของเรา ดูสิ เราอยู่บ้านของเรา เราก็มีบ้าน พระอยู่กุฏิก็มีกุฏิ ออกจากกุฏิมาก็มีทางเดินออกมา เห็นไหม โรงน้ำร้อน ศาลา วิหารต่างๆ เราไปอยู่ในสถานะไหนมันก็อยู่สถานะนั้น

จิตก็เหมือนกัน เวลาก้าวเดิน เวลาเคลื่อนออกไปจากร่างกายนี้ เวลามันตายไป มันก็มีสถานะรองรับ มีนรกสวรรค์ พรหมโลกต่างๆ นี่สถานะรองรับ เหมือนเราเดินอยู่ในวัด เราออกไปกุฏิไหน เปลี่ยนสภาวะไปๆ นี่มันมีสภาวะแบบนี้ นี้คือวัฏฏะไง จิตมันจะเวียนตายเวียนเกิดไปสภาวะแบบนั้น ด้วยอำนาจของกรรม

แล้วกรรมเกิดจากอะไร? เกิดจากกิเลส เห็นไหม กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เวลาสร้างสมขึ้นมา มันก็สร้างกรรมขึ้นมา จิตนี้ก็ต้องไปอำนาจของกรรมอันนั้น แต่การประพฤติปฏิบัติโดยธรรมล่ะ ถ้าโดยธรรม ถ้าเป็นธรรมชาติ เป็นกรรมดี กรรมดีก็หมุนเวียนไปในวัฏฏะอยู่อย่างนั้น เพราะอะไร เพราะมันเป็นอามิสไง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ เห็นไหม “อานนท์ ให้บอกบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา...” เพราะบริษัท ๔ เป็นเจ้าของศาสนา เทวดา อินทร์ พรหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานมากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ในพระไตรปิฎก ขณะที่พระที่ว่าทำการถวายการพัดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ขยับ เพื่ออะไร เพราะเทวดาเขาไม่พอใจ เพราะไปบังเขาอยู่

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้ ทำไมไม่ฝากกับเทวดา อินทร์ พรหมด้วยล่ะ ทำไมฝากกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาล่ะ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่จับต้องได้ไง เวลาเราศึกษา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นอะไร? เป็นมนุษย์ไง มนุษย์มันมีร่างกาย ร่างกายนี้ต้องการอาหาร ต้องการปัจจัยเครื่องอาศัยของมัน นี่มันบีบคั้นอยู่แล้ว แล้วจิตใจล่ะ จิตใจอยู่ในร่างกาย เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ฝากศาสนาไว้กับเรา

ศาสนาคืออะไร? ศาสนาคือคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการมา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นี่ตัวศาสนาคือศาสนธรรมตัวนั้นไง ถ้าศาสนธรรมนี่มันก็เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม เราศึกษาธรรมขึ้นมา ศึกษาโดยธรรมชาติ ศึกษาโดยสายตา เราอ่านหนังสือ เห็นไหม ฟังจากโอษฐ์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังจากครูบาอาจารย์เทศนาว่าการ นี่คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ สุตมยปัญญา ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาโดยธรรมชาติคือการศึกษา การเล่าเรียน การจดจำมา แล้วมันย้อนกลับมาเพราะอะไร เพราะในร่างกายเรานี่ ขันธ์ ๕ ขันธ์กับจิต สิ่งนี้มันจดจำมา สิ่งที่จำมามันเป็นธรรมชาติ จำได้มันก็ลืม พยายามคิดปรุงแต่งขึ้นมา เดี๋ยวก็เกิดดับ สิ่งที่เกิดดับ เหมือนกันเลย เวลาเกิดพายุ เกิดแผ่นดินไหวต่างๆ มันก็เกิดดับๆ สภาวะของเขา นี่ธรรมชาติ ธรรมชาติคือการเกิดดับ ธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สิ่งนี้เป็นธรรมชาติไง

เวลาประพฤติปฏิบัติ จิตสงบเข้ามาก็เป็นธรรมชาติ...ธรรมชาติสิเพราะอะไร เพราะชั่วคราว สิ่งที่สงบชั่วคราวนี่เป็นเรื่องของโลกไง สิ่งนี้เป็นเรื่องของโลก ถ้าส่งออกมาเป็นโลก มันไม่เข้าถึงอำนาจของธรรม

“ผู้ใดประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

แล้วถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เรามีอำนาจวาสนานะ ถ้ามีอำนาจวาสนา มันจะสงบเข้ามา ถ้าเรามีบุญญาธิการ สิ่งที่ติด ล็อคจิตไว้นี่ ถ้าพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จะทำฌานโลกีย์ได้ จะทำความสงบของใจได้ แต่เวลาคลายตัวออกมาก็ทุกข์อย่างนี้ แต่ถ้าเราจะปลดล็อคอันนี้ พระโพธิสัตว์ สิ่งที่หัวใจเรา เวลาประพฤติปฏิบัติเข้าไป พอมันจะเป็นกิจกรรม เป็นการงานขึ้นมา มันอาลัยอาวรณ์ มันลังเลสงสัย สิ่งนี้มันล็อคใจไว้ ถ้าล็อคใจไว้อย่างนี้ เราจะต้องทำใจของเราด้วยปัญญาของเรา

ถ้ามีครูมีอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะพยายาม นี่อาการของใจอย่างนี้ จะแก้ไขอย่างไร นี่ล็อคโดยธรรมนะ โดยคุณงามความดีนะ แล้วถ้าล็อคด้วยกิเลสล่ะ เวลากิเลสมันล็อคไว้ เวลาจิตสงบเข้ามา สิ่งนี้เป็นสภาวธรรม สิ่งนี้เป็นความรู้สึกของเรา เราเชื่อมั่น เชื่อมั่นโดยกิเลสไง

อำนาจกิเลสนะ ในการประพฤติปฏิบัติ เราเข้าใจว่าเราประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วนี่ กิเลสจะเปิดโอกาสให้เรา ให้ส่งเสริมเรา ให้เราทำประพฤติปฏิบัติได้ผลนะ กิเลสเป็นสิ่งที่ว่าทำลายตลอด ทำลายแม้แต่ความประพฤติปฏิบัติของเรา ทำลายขนาดที่ว่าเรานั่งสมาธิภาวนา เราเดินจงกรมอยู่ กิเลสจะให้เราสะดวกสบาย เป็นไปได้อย่างไร เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เราจะทำ มารไง มารในหัวใจนะ มันเป็นสิ่งที่อาศัยของเขา

เราเก็บ เรามีสมบัติของเราเห็นไหม เราจะต้องเก็บรักษาไว้อย่างดี สิ่งใดที่เป็นสมบัติของเรานี่ถนอมรักษามาก นี่ถนอมรักษาเพราะเป็นของเรา เป็นของเรา นี้ก็เหมือนกัน กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา มันว่าใจของเราเป็นของมัน เป็นของมันนะ มันถึงคิดว่ามันมีอำนาจมากกว่า แล้วมันฉลาดกว่าเรา เวลาประพฤติปฏิบัติ มันรู้ก่อนเราเพราะอะไร เพราะมันเกิดจากเราไง เราถึงต้องทำความสงบของใจ ให้สิ่งนี้สงบเข้ามา ให้กิเลสมันเปิดโอกาสให้การกระทำของเราเกิดขึ้นมา นี่ถ้าเปิดโอกาส ถ้าอำนาจของธรรมเหนือขึ้นมา มันจะมีความสงบได้ อำนาจของธรรมจะเกิดขึ้นมาจากสติ ถ้าเรามีสติ เรายับยั้งไว้ การประพฤติปฏิบัติ การกำหนดพุทโธ ด้วยศรัทธาจริต ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พุทธจริต ใช้ปัญญานี่มีสติตลอดไป ถ้ามีสติ การก้าวเดินของเราไป มันไม่เหมือนกับสิ่งที่สักแต่ว่าทำ

สักแต่ว่าทำ เราว่าเราสักแต่ว่าทำ เราทำความเพียรกัน เราทำความเพียร ทำเหมือน ถ้าขาดสติ เหมือนสัตว์ เหมือนสิ่งที่มันเดินของมัน มันใช้ชีวิตของมัน มันก็เป็นธรรมของมันนะ ธรรมของมันเพราะอะไร เพราะมันทำคุณงามความดีของมัน มันเป็นสัตว์ มันทำได้ขนาดนั้น เราเป็นพระ เราเป็นนักรบ เราจะต้องมีสติสัมปชัญญะของเรา ถ้ามีสติสัมปชัญญะ มันจะยับยั้งสิ่งนี้ได้ ยับยั้ง เห็นไหม

แม้แต่คำว่า “พุทโธๆ” เรากำหนดพุทโธได้ ๑๐ คำ ๒๐ คำ แล้วแต่ มันจะต่อเนื่องกันไป ถ้าขาดสติ มันขาดสติเราก็เริ่มต้นใหม่ สิ่งที่เริ่มต้นใหม่ เราต้องมีความพยายาม เราต้องมีความตั้งใจ ความพยายาม ความตั้งใจ คืออะไร? คือเจตนา ถ้าเรามีเจตนาแล้วมีสติต่อเนื่องไป นี่มันจะก้าวเดิน มันจะสืบต่อกันไป ถ้าสืบต่อกันไปมันจะซับสมไป ว่านาโนที่เล็กที่สุด ความรู้สึกของเรานี่เล็กที่สุด ซับซ้อนกันไป ซับซ้อนมันจะขึ้นมา เราจะสร้างสมขึ้นมาให้สิ่งที่มันเป็นฐานของจิตขึ้นมา จิตมันจะจับต้องได้

เวลาจิตสงบเข้ามา มันจะมีสติ สงบเข้ามาขนาดไหนก็รู้สึกตัว รู้สึกตัวทั่วพร้อม ความว่า รู้สึกตัวทั่วพร้อมนี่นะ มันจับต้องได้ มันมีความรู้สึกไง จิตถึงจับต้องได้ เรารู้ของเราเอง จิตสงบเข้ามา มันจะมีความร่มเย็น ถ้าจิตมันตกภวังค์ สิ่งที่ตกภวังค์หายไปเลย เราก็เข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นธรรม นี่กิเลสมันเปิดช่องไว้อย่างนี้ ทำให้เราตกคอสะพาน เวลาเราขับรถไปถ้าสะพานนั้นเกิดวาตภัย แล้วพัดจนคอสะพานขาดไป เราไม่เข้าใจ เราขับรถไป เราตกคอสะพานนั้น เราข้ามไปไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน เจตนา เจตสิก มันจะเข้าถึงตัวจิต เวลาจิต พลังงานของจิตส่งออกมาจากขันธ์ มันเจตนาของมันจะส่งออกมาที่ขันธ์ ขันธ์นี่ถ้ามีกิเลส จิตนี้มีอวิชชา ออกไปที่ขันธ์ก็เป็นสายทางให้มารนี้ออกไปหาเหยื่อ ออกไปหาเหยื่อในรูป รส กลิ่น เสียง สิ่งที่รูป รส กลิ่น เสียง เราไปแบกรับภาระเขาเอง รูป รส กลิ่น เสียง มันมีมาแต่โดยธรรมชาติของเขา

เสียงแล้วแต่คนจะคิดประดิษฐ์ขึ้นมาขนาดไหนก็ได้ สิ่งต่างๆ เสียง ถ้าเขาบวกเข้าไปเป็นรหัสขึ้นมา มันก็เป็นภาษา สิ่งที่ภาษาก็สื่อความหมายกัน สื่อความหมายไปมันก็เป็นการตีความ เขาพูดเจตนาดี เราเข้าใจว่าเขาว่ากล่าว ว่าร้ายเรา เราก็มีความเจ็บปวด เวลาออกมามันออกไปยึดมั่นรูป รส กลิ่น เสียง แล้วเอาไฟมาเผาใจของตัวเองโดยกิเลสนะ กิเลสมีอำนาจในหัวใจของเราเห็นไหม

การประพฤติปฏิบัติมันก็บิดเบือนแล้วมันก็ยังไปเอายาพิษ เอาสิ่งต่างๆ เข้ามาเหยียบย่ำหัวใจของเรา แล้วเราประพฤติปฏิบัติ เราว่าเป็นเราๆ สิ่งที่เป็นเราๆ มันถึงจะต้องมีสติยับยั้งไว้ก่อน ถ้าเรายับยั้งอย่างนี้เพื่ออะไร เพราะสิ่งนี้เป็นธรรมชาติไง สิ่งนี้เป็นเรื่องของอาการเกิดดับของใจ แล้วกิเลสมีอำนาจเหนือกว่า มันก็เอาสิ่งนี้ออกไปหาเหยื่อของมัน เอามาป้อนเรา เรากินของแสลงเข้าไป แล้วจิตนี้มันจะตั้งมั่นขึ้นมาได้อย่างไร

แม้แต่ประพฤติปฏิบัติ มันก็ตกภวังค์ มันก็ทำให้จิตนี้ไม่มีสติสัมปชัญญะ เราต้องฝึกฝน ฝึกฝนเริ่มต้นตั้งแต่ไม่ให้ขาดช่วง ถ้ามีขาดช่วงขนาดไหน เราเริ่มต้นใหม่ สติเราตั้งเริ่มต้นใหม่ สตินี่ฝึกได้ ถ้าเราฝึกสติขึ้นมา สติมันอยู่ในมรรค ๘ มีสติ ถ้าสติพร้อมขึ้นมา ความเพียรก็เป็นความเพียรชอบ ความเพียรชอบคืองานของเรา ถ้างานของเราชอบขึ้นมา งานของเราชอบ งานจากภายในนะ งานอาบเหงื่อต่างน้ำจากภายนอก เขาอาบเหงื่อต่างน้ำขึ้นมา เขาก็ยังพอใจทำกัน พอใจทำเพราะมันเป็นหน้าที่ มันเป็นสิ่งที่การกระทำ แต่ขณะที่ประพฤติปฏิบัติ เป็นงานอันละเอียด ที่ว่ามีศรัทธาๆๆ ศรัทธาตรงนี้ ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีความเชื่อ เราจะตั้งจิต สติของเราได้อย่างไร

เวลาเราเดินอยู่โดยธรรมชาติของเขา มีความสะดวกสบาย นั่งที่ไหนก็มีความร่มเย็นเป็นสุข เวลานั่งขัดสมาธิ จะทำความสงบของตัวเอง กิเลสมันจะต่อต้านทันทีเลย เหมือนเด็กๆ เห็นไหมเด็กๆ ปล่อยเขาเล่นตามธรรมชาติของเขา เขาจะมีความเพลินของเขานะ เด็กให้เขานั่งโดยปกติให้เรียบร้อย อยู่ไม่ได้นานหรอก

จิตก็เหมือนกัน จิตสภาวะแบบนี้มันดิ้นรนของมัน มันดิ้นรนของมัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบจิตนี้เหมือนช้างสารที่ตกมันนะ เวลาช้างตกมันเราจะบังคับมันอย่างไร เพราะมันตกมัน มันไม่ยอมรับสิ่งใด มันจะอาละวาด จิตนี้ก็เหมือนกัน มันอาละวาด แต่เราไม่รู้ เราไม่เห็นเพราะมันคิดขึ้นมา เราก็พอใจไปกับมัน แล้วเรามานั่งขัดสมาธิ เราให้ความสงบของใจ สิ่งนี้มันเป็นการโต้แย้งกับกิเลส โดยสัญชาตญาณของกิเลสมันมีอำนาจ มันต้องการความสะดวกสบายของมัน มันจะคิด มันจะแสวงหาอย่างไรของมัน มันก็ธรรมชาติของมัน แต่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราเพราะมันเอาสิ่งต่างๆ เข้ามาให้โทษแก่เรา

แต่เราจะประพฤติปฏิบัติ มันก็เบี่ยงเบนว่าสิ่งที่มันทำอย่างนี้ เป็นธรรมๆ ไง ถ้าเป็นธรรม มันต้องมีสติ ถ้าเป็นธรรมมันต้องมีความร่มเย็นเป็นสุข ความร่มเย็นเป็นสุข จิตมันจะสงบเข้ามาขนาดไหน ถ้ามันเข้าวิปัสสนาไม่ได้ นี่คือการติด

ถ้าการติดของเรา เราติดหมายถึงว่า จิตมันไม่เข้าใจ มันไปสงบเข้ามา ถึงว่าสิ่งนี้เป็นสภาวธรรม พอสภาวธรรมแล้วกิเลสมันสวมรอยนะ มันจะเกิดนิมิตต่างๆ ขึ้นมา แต่เกิดนิมิตเห็นสภาวะต่างๆ แล้วปล่อยวางเข้ามาชั้นหนึ่ง มันก็ว่านี่โสดาบัน สกิทาคา อนาคา มันอ้างอิงไปหมด นี่ติด ติดจนหลง หลงจนไม่เข้าใจสภาวะความจริงของความรู้สึกของเรา เราไปอ้างอิงธรรมไงว่าสภาวะแบบนี้เป็นธรรมๆ ขึ้นมา แล้วเราก็สวมรอยไปเห็นไหม กิเลสมันสวมรอยในการประพฤติปฏิบัติของเรา เราว่าเราจะประพฤติปฏิบัติ จะฆ่ากิเลส นี่กิเลสมันมีอำนาจไง อำนาจของกิเลสนี่ร้ายกาจนัก ทั้งๆ ที่ว่าเป็นนักรบ

ดูสิ ดูที่นักรบ ทหารเขาจะออกรบ เขาต้องฝึกฝนวิชาการของเขา เขาต้องฝึกทฤษฎีของเขา เขาต้องฝึกฝนมาเป็นหลายๆ ปีนะ กว่าเขาจะออกรบได้ นี่ก็เหมือนกัน เราจะออกรบกับกิเลส เราพยายามจะทำความสงบของใจเข้ามานี่มันอยู่กับเรา ทหารนะ เวลาเขาทำสงครามกัน เขาต้องมีการข่าว เขาต้องส่งคนเข้ามาสอดแนม นี่เขาส่งเข้ามาเพื่อจะให้รู้การเคลื่อนไหว เขาจะได้ทำลายจากข้างใน แต่ในการรบของเรา กิเลสมันอยู่กับเรามาตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มต้นเพราะการเกิด จิตนี้มีกิเลส มีอวิชชามันขับเคลื่อนไป มันถึงเกิดในสถานะต่างๆ

แล้วในปัจจุบันนี้เกิดในสถานะของมนุษย์ แต่เพราะเรามีอำนาจวาสนา เราถึงพบพระพุทธศาสนา ถ้าพบพระพุทธศาสนาโดยประเพณีวัฒนธรรมก็อย่างหนึ่ง พบพระพุทธศาสนาโดยที่ว่าเราก็เป็นศาสนวัตถุ ศาสนพิธี ศาสนบุคคล นี่มันเป็นศาสนา แต่เป็นชิ้นเป็นส่วน แต่ตัวจริงของศาสนาสิ ธรรมและวินัย

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ ถ้าเราตายไปแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วจะพึ่งใคร จะพึ่งใคร ให้พึ่งธรรมและวินัย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ไว้ใจสิ่งใดๆ เลยเพราะชีวิตของมนุษย์ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นิพพานไปก่อนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

แล้วขณะนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้ พระกัสสปะมีอายุพรรษาเท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อายุเท่าแต่บวชทีหลัง พยายามให้หลักการ ให้ต่างๆ เพราะอะไร เพราะพระกัสสปะจะมาสังคายนา สังคายนามาเป็นร้อยกรองขึ้นมา เป็นพระไตรปิฎก นี่ธรรมและวินัย นี่ตัวศาสนธรรม

แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สิ่งนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เป็นธรรมของเราหรอก ถ้าอำนาจของธรรมเรามีนะ มันจะทำให้การประพฤติปฏิบัติของเราอยู่ในร่องในรอย สิ่งใดที่เกิดขึ้นกับหัวใจของเรา อำนาจของกิเลสมันสอดแทรกขนาดไหน เราต้องใช้สติ ต้องใคร่ครวญไง ถ้าเราใคร่ครวญ เราพลิกแพลงในหัวใจของเรา พลิกแพลงนะ

เวลาจิตเสื่อม คนที่ประพฤติปฏิบัตินะ ภิกษุ ครูบาอาจารย์ของเราต้องเจอสภาวะแบบนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจอสภาวะแบบนี้ ๖ ปีนะ เจริญแล้วเสื่อมๆ เพราะอะไร เพราะมันไม่เข้าวิปัสสนาไง ถ้าไม่เข้าวิปัสสนา ไม่ได้ทำลายกิเลส กิเลสไม่ได้หลุดออกจากใจไปเลยแม้แต่เป็นกระพี้ ก็สิ่งที่เป็นเชื้อโรคในหัวใจ ก็ต้องมีสภาวะแบบนั้น มันต้องแสดงอาการของมัน

ขณะที่กิเลสแสดงอาการ เหมือนไฟ ไฟถ้ามันเกิด มันเผาบ้านเผาเรือน มันเผาทำลายหมดนะ แต่ถ้าเราเป็นธรรมขึ้นมา เราก็ต้องซ่อมแซม ต้องต่อสู้ ต้องซับสมของเราขึ้นมาเห็นไหม นี่สิ่งนี้เป็นสภาวธรรม กับสภาวะกิเลสในหัวใจของเรา เวลาประพฤติปฏิบัติมันจะโต้แย้งกัน มันจะขัด จะเคลื่อนกัน มันจะโต้แย้งกันในหัวใจของเรา อำนาจของสิ่งใดนี้มีอำนาจเหนือกว่าล่ะ นี่สิ่งนี้รวมลงอยู่ที่ใจทั้งหมด

อำนาจของธรรมก็เกิดจากจิตเพราะจิตวิปัสสนา จิตใคร่ครวญ จิตใช้ปัญญา นี้เป็นธรรม อำนาจของกิเลสมันก็ไขว้เขว ทำให้ไขว้เขว ทำให้สนเท่ห์ ทำให้สงสัย นี้อำนาจของกิเลส เห็นไหม อำนาจของกรรมคือสภาวะของที่จิตเกิดมาเป็นตัวเป็นตนเรานี้ไง การกระทำสิ่งที่อำนาจของกรรม ถ้าเราทำดี เราฝืนกิเลส โดยสติสัมปชัญญะ เราจะฝืนไปตลอด นี้อำนาจของกรรม กรรมคือการกระทำ ทำดีไป ทำดีไปก็ให้อำนาจของธรรมมีอำนาจเหนือกว่า

ถ้าอำนาจเหนือกว่า มันก็อยู่ในความสันทิฏฐิโก มันอยู่ในความรู้สึกของเรา นี่ใช้ปัญญาใคร่ครวญ ถ้าใช้ใคร่ครวญอย่างนี้ สงบขนาดไหนก็แล้วแต่ ความสงบอย่างนี้ มันสงบชั่วคราวนะ ถ้ามีสติสัมปชัญญะ เราประคองจิตนี้อยู่ จิตนี้ประสบอย่างนี้ แล้วถ้าเรามีสติ แล้วเราฝึกฝนจนชำนาญนะ กำหนดเมื่อไหร่ก็มีความสงบได้ตลอดไป นี่ถ้ามีความชำนาญ

เวลาจิตเราสร้างเหตุ กำหนดพุทโธๆ มันสงบได้ขนาดไหน เราต้องจำเหตุไว้ เหตุ ปฏิปทาเครื่องดำเนิน ถ้ามีปฏิปทาเครื่องดำเนิน เราจะเข้าถึงตัวของจิตได้ ถ้าปฏิปทาเครื่องดำเนินของเรา เราออกนอกลู่นอกทาง เวลาประพฤติปฏิบัติออกนอกลู่นอกทาง มันจะเกิดได้แล้วแต่จริตนิสัย ถ้าเกิดนิมิต เกิดเห็นสภาวะต่างๆ

เรามาวัด เราผ่านสิ่งใดมาบ้างล่ะ ถ้าเราเห็นสิ่งข้างทาง เห็นสิ่งที่ข้างทาง แสงสีเสียง สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราสนใจ เราจะแวะอยู่นั่น เราจะไม่มาถึงวัดนี้ได้ เราจะเข้าถึงความสงบของใจก็เหมือนกัน เกิดนิมิตก็วาง เกิดสิ่งใดๆ รับรู้แล้ววาง รับรู้นะเพราะสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะจิตมันรู้ สติสัมปชัญญะพร้อม สติพร้อม สั่งอะไรเกิดขึ้น รู้หมด ถ้าเกิดโดยไม่รู้สติมันอยู่ที่ไหน รู้แล้ววาง รู้แล้วไม่สงสัย ถ้ารู้แล้วสงสัย อย่าออกไป นั่นแหละธรรมชาติ

ธรรมชาติของการมี ธรรมชาติของจิตที่มันสร้างสมบุญญาธิการมา มันจะมีนิมิตอย่างนั้นไง แล้วเราก็ออกไป นี่ครอบเหมือนเดิม ครอบเหมือนของจิตที่มันมีอยู่นี่ เราค้นคว้าอยู่นี่ อยู่กับธรรมชาติไง

สภาวธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องย้อนกลับ ต้องทวนกระแสเข้ามาตลอด ถ้าทวนกระแส ทวนกระแสเข้าไปที่ตัวจิต ถ้าเข้าไปถึงตัวจิต นี้คือตัวพลังงาน เราออกไปเที่ยวเล่น ออกไปมหรสพ ไปดูมหรสพต่างๆ เขามีการละเล่น มีการฟ้อนรำ คนที่ชอบเห็นแล้วจะเพลิดเพลิน สิ่งที่เพลินออกไป นี่เวลาจิตมีนิมิตของมันเหมือนกัน เราออกไปดู ออกไปดูนิมิต แต่ถ้าเราย้อนกลับเข้าไปที่ใจเรา มันจะเข้าไปความสงบไง นี่ทวนกระแส ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างกับโลกตรงนี้

โลก เห็นไหม ส่งออกไป ต้องทางวิชาการ ต้องมีการวิเคราะห์วิจัย ต้องการศึกษา สิ่งที่ศึกษานั้นศึกษาแบบโลก แต่ถ้าศึกษาแบบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องสงบเข้ามาก่อน พอจิตสงบเข้ามานี่เข้าถึงฐาน เข้าถึงฐาน ถ้ามีอำนาจวาสนา มันจะเห็นสภาวะกาย กายที่เห็นสภาวะกาย ใครเป็นคนเห็น จิตนี้เป็นคนเห็นไง ถ้าจิตนี้เป็นคนเห็น นี่มันปลดล็อคได้นะ ถ้ามันปลดล็อคไม่ได้ ถ้าติดในโพธิสัตว์นะ ติดในอำนาจวาสนา จะไม่เข้าตรงนี้ จะเป็นฌานโลกีย์ตลอดไป

แต่ถ้าเราใช้ปัญญาใคร่ครวญ สิ่งนี้มันอาลัยอาวรณ์ การเกิดตายต่อไปข้างหน้าก็จะเป็นสภาวะแบบนี้ ถ้าเราแก้กิเลสได้ เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พระอรหันต์เหมือนกัน สาวก-สาวกะก็พระอรหันต์เหมือนกัน ต่างกันที่บารมี ต่างกันที่ปัญญากว้างขวางต่างกัน แต่ถ้าใช้ปัญญาแก้ไขกิเลสอย่างนี้ มันจะทำให้มีความสุขวิมุตติสุขเหมือนกัน ถ้าปัญญามีอย่างนี้เกิดขึ้น มันจะเข้าในอริยมรรค

แล้วถ้าเข้าอริยมรรค ถ้าเริ่มต้นวิปัสสนาไป เจอกายสภาวะแบบใด เจอกายโดยธรรม เจอกายโดยตาของใจ ใช้ปัญญาใคร่ครวญ ใคร่ครวญในกาย ในกายของเรา ไม่ออกจากผิวหนังเราไป แต่ถ้าเราเห็นกายจากข้างนอก เห็นสิ่งที่เป็นกายจากข้างนอก มันเป็นสภาวะแบบข้างนอก เห็นไหม กายนอก กายนอก-กายใน

กายนอกคือกายที่สัญญาอารมณ์ส่งออกไป จากกายนอกมันจะปล่อยวางเข้ามา ถ้าเราพิจารณาจากกายนอกจิตมันจะปล่อยสิ่งนั้นเข้ามา เข้ามาเป็นสมถะ แต่ถ้าเห็นกายโดยหัวใจของเรา เห็นสภาวะแบบนี้ แล้วใคร่ครวญอยู่ในกายของเรานะ

ถ้าเราจะเดินเที่ยวในกายนคร ผม ขน เล็บ ฟัน หนังต่างๆ จิตสภาวะแบบนี้หมุนเวียนอย่างนี้ ถ้าหมุนเวียนอย่างนี้ สิ่งที่หมุนเวียนอย่างนี้ นี่โลกนี้คือเรา ร่างกายของเราคือเรา จิตนี้อยู่ในโลกนี้ เราใคร่ครวญในโลกของเรานี้ ถ้าใคร่ครวญแบบนี้ ความเห็นสภาวะแบบนี้ นี่เห็นสภาวะไป แล้วจิต ถ้าใคร่ครวญไปด้วยวิปัสสนา มันจะเกิดกำลัง เกิดปัญญา เกิดความรู้แจ้ง เกิดสิ่งต่างๆ มันจะสลดสังเวชไง

สิ่งที่อยู่ในร่างกายนี้ ปัญญาใคร่ครวญไปในร่างกายนี้ เกิดปัญญาขึ้นมา มันจะเริ่มปล่อยวาง การปล่อยวาง ปล่อยวางอะไรล่ะ? ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นไง ปล่อยวางความเห็นผิดไง นี่ปัญญาอย่างนี้ต่างหากเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาการปล่อยวางอย่างนี้ออกมา พอสงบออกมา พอปล่อยวางไป จิตเข้าไปสู่ความสงบ มันจะเวิ้งว้าง มันจะปล่อยวาง กิเลสมันจะเบาบางลง สิ่งนี้เวลาออกจากสมาธิมา เห็นสภาวะต่างๆ ของร่างกายของโลกเขา มันไม่ออกไปรับรู้นะ เพราะอะไร

เพราะเรื่องของร่างกายเรานี้ มันก็เป็นเรื่องแสนที่จะหนักหนาสาหัสสากรรจ์ เพราะเราหลงในร่างกายนี้ เราถึงต้องเกิดต้องตายอยู่สภาวะแบบนี้ แล้วเรื่องของคนอื่นเขา เราจะไปรับรู้เรื่องของเขา สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นภาระรุงรังที่เราจะแบกรับเขาไม่ได้ สิ่งที่แบกรับไม่ได้ มันถึงจิตไม่ออกไปรับรู้ไง เห็นไหม ถ้าวิปัสสนาอย่างนี้ ปัญญาเกิดขึ้นอย่างนี้ นี่อำนาจของธรรมเกิด

“อำนาของธรรม” สิ่งที่อำนาจของธรรม การกระทำ อำนาจของกรรม การกระทำนั้นมันจะเข้าไปทำลายกิเลสออกไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป ถ้าวิปัสสนาไปบ่อยครั้งเข้าๆ รวมขนาดไหน อย่าให้กิเลสมันสอดแทรกเข้ามา ถ้าสอดแทรกเข้ามา รวม ปล่อยวาง สิ่งที่ปล่อยวาง แต่มันไม่ขาด ถ้ามีความประมาท เวลาถ้าจิตเสื่อมนะเพราะอะไร เพราะมันเป็นตทังคปหาน มันปล่อยวางชั่วคราว พอสิ่งที่ปล่อยวาง มันก็เวิ้งว้าง มีความสุข ความสุขมาก แล้วอำนาจของกิเลสมันมีอำนาจเหนือกว่าว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม

ถ้าคนที่เป็นหนี้ เราใช้หนี้ ยังไม่ใช้หนี้เขาหรือใช้หนี้เขาแล้วสิ่งนั้นมันยังไม่จบสิ้นกระบวนการ เราใช้หนี้เขา แต่ใช้หนี้ยังไม่จบสิ้น ใช้หนี้ไม่ครบจำนวน ถ้าใช้หนี้ไม่ครบจำนวน เราปล่อยไว้ ดอกเบี้ยมันก็ทบขึ้นมา มันก็เหมือนกับหนี้เท่าเดิม หรือหนี้พอกพูนมากขึ้นกว่าเดิม ตทังคปหานมันปล่อยวาง สิ่งที่ปล่อยวาง ปล่อยวางแต่มันอำนาจของกิเลสมันเหนือกว่า มันบิดเบือนไป เราก็ชะล่าใจเห็นไหม นี่ติด

สิ่งที่ติด ติดล็อคจิต จิตจะทำให้เจริญแล้วเสื่อม มันไม่สมุจเฉทปหาน เราถึงต้องใคร่ครวญบ่อยครั้งเข้า ถ้าใคร่ครวญนะ ใคร่ครวญบ่อยครั้ง เอาอะไรใคร่ครวญ? ต้องเอาจิตใคร่ครวญ แล้วจิตอยู่ไหน? ในเมื่อมันเสื่อมหมดไปต่อหน้าต่อตา เราจะเอาอะไรไปใคร่ครวญล่ะ เราก็ต้องทำความสงบของเราขึ้นมา นี่สมถกรรมฐานสำคัญอย่างนี้ไง ถ้าสมถกรรมฐานเพราะการใคร่ครวญต้องเอาจิตใคร่ครวญ เอาสิ่งที่กิเลสมันบอกว่าตัวจิตนี่มันหลง มันไม่เข้าใจตามสัจจะความจริง แล้วอำนาจของกิเลสมันมีอำนาจมากกว่า มันก็ใคร่ครวญไปโดยที่ว่าไม่สมควรแก่ธรรม

ถ้าไม่สมควรแก่ธรรม ด้นเดาธรรม มันก็เป็นสภาวธรรมด้นเดา จะเวิ้งว้าง จะปล่อยวางขนาดไหน สิ่งที่ว่าเป็นความว่างเพราะอาการของใจมันเป็นความว่างอยู่แล้ว มันเป็นนามธรรมอยู่แล้ว ถ้าสิ่งที่เป็นนามธรรมแล้วกิเลสมันสวมรอยเข้าไป มันก็ตีความได้ มันก็ว่าสิ่งที่ว่าเป็นความว่างอย่างนั้น แต่มันไม่มีเหตุมีผลไง เราถึงต้องกลับมาทำสมถกรรมฐานขึ้นมาเพื่อให้สิ่งที่ควรแก่การงาน

จิตเป็นพื้นฐานของตัวหลง เราต้องเข้าไปทำความสงบเข้ามาถึงตัวจิต ถ้าถึงตัวจิตแล้วถ้ามีกำลังออกวิปัสสนาใหม่ ออกไปวิปัสสนาใคร่ครวญในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม สภาวะแบบนี้ใคร่ครวญบ่อยครั้งเข้า นี่ถ้าจิตสงบขึ้นมา กำหนดได้นะ ให้พุให้พองขนาดไหนก็ทำได้ สิ่งที่ทำได้ ทำได้เพราะอะไร เพราะเรามีกำลัง ถ้าจิตมีกำลังสภาวะแบบนั้น นี่อำนาจธรรมมีอำนาจเหนือขนาดนั้นนะ อำนาจธรรมมันมีอำนาจเหนือกว่ากิเลสของเรา มันมีอำนาจสิ่งที่ว่าควบคุมใจตัวนี้ได้ แล้วกระบวนการของการเคลื่อนไหวไป การวิปัสสนาไป นี่ธรรมจักรมันเกิด

สิ่งที่ธรรมจักรมันวิปัสสนาไป มันปล่อยวาง นี่มันซึ้งใจมากนะ ขณะที่เป็นอำนาจของกิเลสในการวิปัสสนา นี่ปล่อยเหมือนกัน แต่ความรู้สึกไม่เป็นอย่างนี้ ความรู้สึกออกมาแล้วมันเป็นปกติไง แต่ถ้าเป็นอำนาจของธรรมนะ เวลาปล่อยวางออกมาแล้วมันจะไม่ออกไปยุ่งข้างนอก มันหดสั้นเข้ามา จิตมันจะหดสั้นเข้ามา หดสั้นเข้ามาถึงที่สุด จากตทังคปหาน ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันจะเป็นสมุจเฉทปหาน

สิ่งที่สมุจเฉทปหาน พิจารณากาย สภาวะกาย พิจารณาไปถึงกาย พอกายเป็นน้ำก็จะเป็นน้ำ มันจะรวมตัวกันจนไม่มีสิ่งใดแยกออกไป นี่กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จิตรวมลงอีกต่างหากนะ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่า ปล่อยวางหมด แล้วความลังเลสงสัยในสภาวธรรมแบบนี้ไม่มี เพราะต่างอันต่างจริง กายก็จริงของกาย จิตก็จริงของจิต ทุกข์ก็จริงของทุกข์ สภาวะต่างอันต่างจริง แยกออกจากกัน นี่สิ่งที่เป็นอำนาจของธรรมทำได้ขนาดนี้นะ

สิ่งที่ทำได้ขนาดนี้มันเป็นเครื่องยืนยัน เป็นสันทิฏฐิโก ไม่บอกกล่าว ไม่ถามใคร แต่เป็นความจริง เว้นไว้แต่มีครูมีอาจารย์ ตรวจสอบ รายงานครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์ฟังสิ่งที่เป็นความจริง มันจะเห็นจริงของมันเพราะอะไร เพราะมันมีเหตุมีผล มันสมุจเฉทปหาน สิ่งที่ขาดออกไป กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย ไม่ต้องให้ใครบอกหรอก “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา” มันเป็นธรรมดาของมัน เป็นธรรมดา เห็นไหม ต่างอันต่างจริงโดยสภาวธรรม

แต่ร่างกายของเรามันต้องเปื่อย มันต้องแยกย่อยสลายไป เวลาแก่เฒ่าขึ้นมา หรือคนเสียชีวิตไป ร่างกายก็เป็นสภาวะของมัน มันจริงตรงไหน มันจริงตามธรรมชาติไง มันจริงที่มันเกิดขึ้นมาอาศัยกันชั่วคราว มันอาศัยอาหารของมันอยู่ มันมีชีวิตอยู่ก็หล่อเลี้ยงกันไป นั่นเป็นความจริงของเขา แต่ขณะที่นี้เป็นเรื่องจริงของโลก เรื่องจริงของธรรมชาติ แต่เรื่องจริงของธรรมมันเป็นปัจจุบันในขณะนั้น มันปล่อยวางขนาดนั้น จิตดวงนี้ปล่อยสิ่งนี้ออกมา มันถึงมีหลักมีเกณฑ์ไง

ถ้าจิตมีหลักมีเกณฑ์ ต้องวิปัสสนา ยกขึ้นวิปัสสนา ไม่ให้มันไปล็อคไว้นะ ถ้าจิตไปล็อคไว้นะ จิตมันติด เรื่องของจิตนี้มหัศจรรย์มาก ถ้าติด เราเข้าใจว่าสิ่งนี้มันเป็นธรรม พอมันติดขึ้นไป มันจะปลดไม่ได้ ปลดไม่ได้เพราะอะไร เพราะกิเลสมันมีอำนาจเหนือกว่าไง เราต้องใช้ปัญญาเข้าไปแก้ไข สิ่งที่แก้ไขนะ แก้ไขทำความสงบของใจเข้ามา แล้วเทียบออกไป เทียบออกไปในเรื่องของกายนะ มันจะมีความรู้สึก นี่มันมีกิเลสอยู่

กิเลสนะ ถ้ามีของแสลงเข้าไป เหมือนเชื้อโรค เชื้อโรคถ้ามีของแสลง มีสิ่งต่างๆ ที่เข้าไปเชื้อโรค เชื้อโรคนี้จะลุกลามขึ้นมา นี้เหมือนกัน ถ้าเราเอากายเอาจิตเข้าไปเทียบในหัวใจ มันจะมีความรู้สึก ถ้ามีความรู้สึก เราจิตสงบเทียบกับความรู้สึก ความรู้สึกเกิดจากใครล่ะ? เกิดจากจิตไง คนตายไม่มีความรู้สึกหรอก ถ้ายังมีจิตอยู่ จิตยังมีอวิชชาอยู่ เทียบเข้าไป เพราะมันมีเชื้ออยู่ มันจะตอบรับ ถ้าตอบรับ สติมันจะจับได้ ถ้าจับได้นี่คือการวิปัสสนาต่อไป

นี่เราปลดล็อคได้ ปลดล็อคของกิเลสไง กิเลสมันจะล็อคไว้นะว่านี่คือธรรม นี่คือธรรม ถ้าเราปลดล็อคได้ เราก็ไม่ติด ไม่ติดด้วยปัญญาของเรา มันจะใคร่ครวญของมันไปนะ ใคร่ครวญโดยปัญญา ไม่ใช่ใคร่ครวญโดยกิเลส ถ้าใคร่ครวญโดยกิเลส เห็นไหม อำนาจของกิเลสมันก็ทำให้เราล้มลุกคลุกคลานนะ

ในการประพฤติปฏิบัติเรา อดนอนผ่อนอาหารเพื่ออะไรล่ะ? เพื่อไม่ให้กิเลสมันมีกำลังไง นี่พูดถึงกิเลส คำก็กิเลส สองคำก็กิเลส มันเป็นเรื่องที่ว่าซ้ำซาก ซ้ำซาก สิ่งที่คำว่า “ซ้ำซาก” พูดขนาดไหนมันก็ไม่ซ้ำซากเท่าความคิดเรานะ ความคิดเราซ้ำซากกว่านี้อีก นี่ความคิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่คิดอยู่นี้ คิดทำลายตัวเองอยู่นี้ เกิดจากไหนล่ะ แล้วมันเกิดเฉพาะชาตินี้ไหม มันเกิดมาทุกภพทุกชาติ ก็ไอ้กิเลสตัวนี้ ไอ้ความผูกพันในหัวใจนี้ จนเราเป็นนิสัยอย่างนี้ นิสัยโทสจริต โมหจริต สิ่งนี้มันหลอกลวงเรามาขนาดไหน

แล้วเวลามันจะเป็นปัญญาขึ้นไป เป็นปัญญาเข้าไปทำลายมัน เป็นปัญญาเข้าไปลดทอนอำนาจของมัน เราก็ไปรังเกียจ เห็นไหม ดูสิ กิเลสมันฉลาดขนาดนี้ ฉลาดขนาดที่ว่าจนไม่ให้เราไปเอ่ยชื่อมันเลย ไม่ให้เราไปทำลายมันเลย ไม่ให้เราไปเห็นหน้าของมันเลย ถ้าไม่เห็นหน้า เราไม่เห็นหน้าเขา เราจะไปต่อสู้กับเขาได้อย่างไร เราจะไปแยกแยะ เราจะไปใช้วิปัสสนาญาณเข้าไปทำลายเขาได้อย่างไร

ถ้ามันเข้าไปทำลายได้ มันเข้าไปแยกแยะได้นี้คือปัญญา ถ้าปัญญาอย่างนี้ขึ้นมา นี่อำนาจธรรม อำนาจธรรม ถ้าเกิดขึ้นมาด้วยสติ มันจะมีอำนาจครอบงำกิเลสได้ตลอด แล้วมันจะครอบงำกิเลสในหัวใจของเรา ไม่ต้องไปครอบงำกิเลสของคนอื่นนะ

“จากใจดวงหนึ่ง ให้กับใจดวงหนึ่ง” ใจของครูบาอาจารย์เราซักฟอกมาอย่างนี้ ด้วยปัญญาญาณของใจของครูบาอาจารย์เรา มันต้องผ่านมาอย่างนี้ก่อนไง ถ้าไม่ผ่านจากใจดวงนี้ จะเอาความรู้สึก เอาความรู้อันไหนจะไปสั่งสอนเขา เพราะมันมืดบอดด้วยกัน คนตาบอดกับคนตาบอดจะไปสั่งสอนกัน มันก็จูงกันไปตกทะเลนั่นล่ะ

แต่ถ้าคนหนึ่งหูตาสว่าง เขาเห็นนะ อันนี้เป็นที่ขวากที่หนามจะหลบหลีก จูงคนตาบอดนั้นไป ถ้าจูงคนตาบอดนั้นไป เรายอมรับไหมว่าตาบอด ถ้าเรายอมรับว่าตาบอด สิ่งที่ครูบาอาจารย์สอนมา เราจับเป็นประเด็นไว้ไง ตั้งสิ่งนี้ไว้ แล้วเราใช้ปัญญาเทียบเคียง

ในกาลามสูตรบอกว่าไม่ให้เชื่อ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อครูบาอาจารย์ แต่มีเหตุมีผลของเราไหม มีประเด็นที่เราจะใคร่ครวญในใจของเราได้ไหม เราไม่เชื่อ แต่เราตั้งเป็นประเด็นขึ้นมาเพื่อจะให้มีการก้าวเดิน เพื่อมีการวิปัสสนา เพื่อการให้เทียบเคียงเข้ามาในหัวใจของเรา มันจะต้องเป็นธรรมของเรา มันต้องเป็นความเห็นของเรา มันต้องเป็นความเกิดของเรา เป็นความรู้สึกของเรา เป็นปัญญาของเรา เป็นการแก้ความสงสัยของเรา

ถ้ามันเป็นสภาวะแบบนั้น เหมือนคนกินข้าว ถ้าเรากินข้าวเข้าไป ข้าวเข้าปากเรา เขาจะบอกว่าเปรี้ยว หวาน มัน เค็มขนาดไหน นั้นเป็นคำพูดจากข้างนอกนะ เวลาสัมผัสลิ้นเรา เราจะรู้เองว่าเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เรารู้ของเราตลอดไป

จิต ถ้ามันวิปัสสนาไป สิ่งที่มันจับต้องได้แล้วใคร่ครวญได้ ความปล่อยวางอันนี้มันจะบอกเราเอง ความปล่อยวาง ถ้ามันปล่อยวางอย่างนี้ มันใคร่ครวญอย่างนี้ แล้วมันปล่อยสิ่งนี้ ถ้ากิเลสมันออกมาแล้ว กิเลสมันไม่แสดงตัวนี่ถูกต้อง ถูกต้องก็พยายามใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำอีก การซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะสิ่งนี้มันเป็นความเคยใจ กิเลสคือความเคยใจ ใจเคยสภาวะแบบนี้ แล้วมันกว่าจะออกนอกลู่นอกทาง นอกลู่นอกทางโดยกิเลสไง

สิ่งที่วิปัสสนาปล่อยวางขนาดไหน ปล่อยวางแล้วมันออกไปเทียบเคียง เทียบเคียงสภาวะแบบนั้นก็ย้อนกลับเข้ามาในหัวใจของเรา ย้อนกลับเข้ามาในหัวใจ ทำแล้วทำเล่า ถึงที่สุดนะ ความเป็นสัจจะของมัน เวลากายกับจิตแยกออกจากกัน ราบเป็นหน้ากลอง เป็นสัจจะของเขา สิ่งที่อริยสัจจะเหมือนกัน จะวิปัสสนาทางไหน ใช้ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ หรือวิปัสสนากาย เวทนา จิต ธรรม เวลาแยกแยะอย่างนี้ ถ้าแยกแยะอย่างนี้ เวิ้งว้างมาก ถ้าเวิ้งว้าง กิเลสมันจะล็อคนะ ล็อคว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ

แล้วมีความลังเลสงสัย ถ้าสิ่งนี้เป็นธรรม จิตนี้ไปไหน เวลาเกิด เกิดไปไหน เพราะมันเกิดในกามภพไง สิ่งที่เกิดในกามภพ เกิดในเทวดา ในอินทร์ ในพรหม สิ่งที่เกิดนี่อะไรไปเกิดล่ะ ขณะที่ว่างล่ะ สิ่งที่ว่าง ก็กิเลสนะ อำนาจของกิเลส จะบอกว่านี่คือนิพพาน นิพพานต้องเป็นอย่างนี้ นิพพานต้องมีความรู้สึกอย่างนี้

ความรู้สึกของกิเลสล้วนๆ เลยอยู่ในหัวใจของเรานี่ มันยังบอกว่าสิ่งนี้เป็นนิพพานได้ ถ้าเป็นนิพพานเพราะกิเลสมันจะให้จิตนี้ไปเกิดในอำนาจของมัน ถ้าเกิดในอำนาจของมัน เพราะยังเกิดอยู่ กิเลสมันก็ยังมีความพอใจของมัน แต่ถ้าเราชำระของมันนะ มันจะมีแรงต้านนะ แรงต้าน เห็นไหม คำว่า “แรงต้าน” คือการประพฤติปฏิบัติ มันไม่เข้าอริยสัจ มันถึงล็อคไว้อยู่ในอำนาจของกิเลสไง

อำนาจกิเลส แม้แต่ผู้ที่ละกายกับจิตนี้ราบเป็นหน้ากลอง ก็ยังติดมันได้ ครูบาอาจารย์ ถ้ามีคุณธรรม สิ่งนี้จะเข้าใจเพราะอะไร เพราะการขึ้นบันไดไง เราจะขึ้นบ้านนะ ขึ้นบ้าน เราต้องก้าวขึ้นบันได ขึ้นไปจนถึงบ้าน แต่นี้เขาอยู่ที่บันได เขานอนอยู่คาบันไดนั้น เขาว่านี้คือบ้านของเขา แต่เขาไม่รู้เลยว่าสิ่งนี้มันเป็นบันไดนะเพราะอะไร เพราะจิตเขาไม่เคยเห็นบ้านไง เขาไม่เคยขึ้นถึงบ้าน เขาไม่เคยได้รับความสุขในบ้านของเขา ความสุขแค่บันได ก็ดีกว่าคนที่เขานอนอยู่บนถนนหนทาง ที่เขาไม่มีทางไป

สิ่งที่เป็นวัตถุ ถ้าเปรียบเทียบแล้วมันเห็นภาพชัด แต่เวลาจิตมันเป็นนะ มันเป็นนามธรรม มันมีความเห็นของมัน มันยึดของมัน มันล็อคของมันไว้อย่างนั้นน่ะ ถ้าเรามีปัญญา มีอำนาจวาสนา มันจะรื้อค้นของมันนะ สิ่งที่รื้อค้น รื้อค้นเพราะอะไร เพราะสติปัฏฐาน ๔ เพราะอริยสัจ สิ่งที่อริยสัจ เราจับต้องสิ่งนี้ได้ ถ้าจับต้องสิ่งนี้ได้ เราใคร่ครวญสิ่งนี้ มันเทียบเคียงได้ เทียบเคียง แล้วย้อนกลับมาในพระไตรปิฎกนี่มรรค ๔ ผล ๔

ถ้ามรรค ๔ ผล ๔ เราจะย้อนกลับมา การปล่อยวางโดยอริยสัจ โดยที่ว่ากายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันปล่อยวางอย่างใด ถ้าปล่อยวางอย่างนี้ นี่ผลสภาวะแบบนี้ แล้วเวลากายกับจิตแยกออกจากกัน แล้วสิ่งข้างหน้ามันไม่มี มันจะเป็นธรรมได้อย่างไร

มันเป็นธรรม มันเป็นธรรมโดยกิเลสแอบอ้าง มันเป็นธรรมโดยสิ่งที่อำนาจของกิเลสมันยังมีกำลังอยู่ มันก็ทำให้เราล็อคจิตให้มันเชื่อมสภาวะแบบนั้น แต่ถ้าเราใคร่ครวญ เราเอากายกับจิตนี้มาแนบไว้ที่ความรู้สึก เอาจิตมาแนบกับความรู้สึก คือเอาความรู้สึกมันไง เอาความรู้สึกมาแนบกับพลังงานตัวนี้ ถ้าพลังงานตัวนี้แนบอยู่ มันเกิดได้ เพราะอะไร

เพราะขณะที่ว่าเราย่นระยะห่างของจิต ออกไปเอารูป รส กลิ่น เสียง นี่คือเอาเรื่องของโลก เวลาเข้ามาเรื่องของสภาวะกายภายใน นี่มันทำลายโลก ทำลายสักกายทิฏฐิ ความเห็นของจิตที่มันไปติดในกาย พอมันระยะร่นเข้ามา มันจะย่นกายกับจิตนี้แยกออกจากกัน กามราคะ ปฏิฆะอ่อนลง อ่อนลงเพราะอะไร อ่อนลงเพราะสิ่งนี้มันไปติดที่ติดเราก่อน แล้วมันไปติดเขาใช่ไหม เราทำความที่ว่ามันติดเรา ร่นกลับมา ถ้าจิตนี้เอากายมาแนบ ตรงนี้แหละเป็นกามราคะ

สิ่งที่เป็นกามราคะ มันจะทำให้หัวใจหวั่นไหวมาก ถ้ามันปลดล็อคของกิเลสได้นะ กิเลสมันจะล็อคหัวใจไว้ ในการประพฤติปฏิบัติ เริ่มต้นตั้งแต่ล้มลุกคลุกคลาน มันมืดบอด หัวใจมืดบอดเลย จับต้นชนปลายไม่ถูกเลย แต่เวลาชำระกิเลสเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา กิเลสมันยังล็อคไว้เป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เวลาเราปลดล็อคอย่างนี้ได้ เข้าไปเห็นกามราคะนะ มันจะมีความขนพองสยองเกล้าในหัวใจของเรา

สิ่งที่ว่ามันเป็นความว่างๆ เวลาไปเจอขึ้นมาในหัวใจ มันเป็นเชื้อโรค เห็นไหม กามโอฆะ เพราะสิ่งนี้เอง มนุษย์ สัตว์ ในวัฏฏะนี้ เพราะสิ่งนี้ทำให้เกิดให้ตาย เพราะสิ่งนี้เป็นสัญชาตญาณของจิต จิตมันมีการเสพกามในตัวมันเองสภาวะแบบนี้ มันถึงเป็นกามโอฆะ มันถึงจะเกิดในกามภพไง

ถ้ามันเกิดกามภพ ถ้าย้อนกลับมาเห็นสภาวะความเป็นจริงของใจของเรานะ มันสลดสังเวชมาก สลดสังเวชเพราะเรา สิ่งนี้มันเป็นความสกปรกโสมมในหัวใจของเรา เราไม่มองสิ่งนี้เลย ไปมองแต่เรื่องของฌานโลกีย์ เรื่องของโลก เรื่องของความรู้จักภายนอก เห็นไหม เหาะเหินเดินฟ้า ความรู้ รู้ต่างๆ ว่าสิ่งนั้นเป็นคุณธรรมนะ มันไม่ใช่เข้าอริยสัจเลย มันไม่เข้าอริยมรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย มันไม่เข้าภาวนามยปัญญาที่เข้ามาชำระความหลงผิดในหัวใจเลย

ถ้ามันร่นกลับมา ถ้าชำระความหลงผิดของหัวใจ แล้วมันไปเจอเชื้อโรคไง กามราคะ ปฏิฆะ มันเป็นสังโยชน์ สิ่งที่สังโยชน์คือเรื่องร้อยรัดจิต นี่อนุสัยมันเกิดจากใจ นอนเนื่องมาในหัวใจ นี่อวิชชาเป็นอย่างนี้ อวิชชาคือตัวจิต มันอยู่ในเรือนยอดของกามราคะนี้ แล้วมันสืบต่อมา ที่ว่า มันออกมาจากเจตสิก ออกมารับรู้ ออกไปหาเหยื่อ ถ้าเราร่นเข้ามาถึงขันธ์อันละเอียด ตัวมันเองเป็นข้อมูลอันที่อยู่ในโอฆะ

สิ่งที่เหมือนกับพืชพันธุ์ เมล็ดพันธุ์พืช ถ้ามันยังมีชีวิตอยู่ ตกไปที่ดินไหนมันก็งอก จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้ายังมีกามราคะอยู่ กามภพอยู่ มันจะเกิดตายๆ ตลอดไป ถ้าเราใช้ปัญญาเข้าไปแผดเผามัน ถ้าใช้พิจารณากายจะเห็นเป็นอสุภะ สิ่งที่เป็นอสุภะ เวลาพิจารณากายจากภายนอก กายนอกมันจะพุพองขนาดไหน ปล่อยวางขนาดไหน สิ่งนั้นเป็นสักกายทิฏฐิ เวลาพิจารณากายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ มันจะแปรสภาวะกลับไปธรรมชาติของเขา

ถ้าพิจารณา สิ่งที่เป็นกามราคะนี้เพราะอะไร เพราะโดยสัญชาตญาณของเรา สัญชาตญาณของจิตมันรักสวยรักงามของมัน ว่าสิ่งนี้เป็นของเรา รักสวยรักงาม ถ้าที่ไหนมีปฏิฆะ มีความสวยความงาม มีความยึดมั่นถือมั่นของมัน ความสวย ความพอใจ เป็นความงามของจิต จิตกับพลังงานตัวนั้นมันก็เสพกามกัน เสพคือว่ามันพอใจ กามฉันทะไง มันพอใจอารมณ์ มันพอใจความคิด มันพอใจการแสวงหา สิ่งที่แสวงหานี่มันก็อยู่ในโอฆะ

แต่พิจารณากาย สิ่งที่พิจารณากาย เพราะจิตนี้มันเห็นสภาวะของกาย สิ่งที่สภาวะของกาย ให้มันเห็นความเป็นอสุภะ เพราะมันไม่สวยหรอก สิ่งที่มันไม่สวยเพราะอะไร เพราะมันมีกำลังของจิต จิตนี้สงบเข้ามาเห็นสภาวะแบบนี้ มันออกไป เห็นไหม ถ้ากำลังของจิตดี จิตนี้จะตั้งร่างกายขึ้นมา พิจารณาไปเป็นโครงกระดูก เป็นสิ่งต่างๆ

โครงกระดูกเพราะอะไรล่ะ? โครงกระดูกเพราะกำลังของจิตมีกำลัง มันจะเห็นเป็นโครงกระดูก เห็นต่างๆ แต่ถ้าเป็นโครงกระดูก เราต้องใช้ปัญญาให้มาก แยกแยะออกไป จากโครงกระดูก มันจะมีก้อนเนื้อขึ้นมา มันจะมีสิ่งต่างๆ ให้มันย่อยสลายไป ให้มันผุพังไป ให้ฝึกใจจนมีความชำนาญ ตั้งขึ้นมาขนาดไหนก็ทำได้ สิ่งต่างๆ แยกแยะออกไป จิตมันก็จะปล่อยวางเข้ามา ปล่อยนะ ปล่อย เพราะมันเข้าใจรอบหนึ่ง มันก็ปล่อย ปล่อยคือมันรวมตัว สงบลง เพราะมันใช้ปัญญา

วิปัสสนา ความใช้จิตวิปัสสนาในเรื่องของอสุภะ ในเรื่องของความเป็นไป เวลาปัญญามันทันรอบหนึ่ง มันก็ปล่อยรอบหนึ่งๆ เหมือนกัน สิ่งที่รอบหนึ่งเข้ามา มันก็มีความชำนาญมากขึ้น จิตจะเวิ้งว้างมากขึ้น จากที่สิ่งที่เป็นกามราคะ สิ่งที่มันยึดมั่นถือมั่น มันจะปล่อยวางออกมา ปล่อยวาง จิตมันก็เบาลงๆ จนมีความชำนาญไง สิ่งที่ชำนาญ ทำหมั่นคราดหมั่นไถ ต้องทำแล้วทำเล่านะ

เพราะการเกิดการตาย บุพเพนิวาสานุสติญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสะสมลงที่ใจนัก งานของการประพฤติปฏิบัติ งานอันละเอียด งานของโลกเขา ทุกข์ ประพฤติปฏิบัติกันจนเกิดจนตายขนาดไหน โลกก็จะเป็นอย่างนี้ ปัจจัยเครื่องอาศัยต้องหากันอยู่อย่างนี้ สุมกันอยู่อย่างนี้ไง สมมุติมาเพื่อเกิดมา เพื่อเป็นหาแสวงหาสิ่งนี้มา เพื่อการดำรงชีวิต

แต่ขณะที่งานภายในนะ ชีวิตนี้อาศัยแค่ปัจจัยแล้ววิปัสสนาเข้ามาโดยงานของจิต จิตมันละเอียดอ่อนเข้ามา จนปล่อยจากธรรมชาติ จากสิ่งที่เป็นธรรมและชาติ เพราะมันเป็นสภาวธรรมที่เกิดดับๆ ถ้ายังติดอยู่อย่างนั้น มันก็ยังจะเกิดตายไปในวัฏฏะนั้นนะ แล้ววิวัฏฏะ คือมันเข้ามาละเอียดเข้ามา จากธรรมชาติเป็นธรรมะ

ธรรมะคือปัญญา คือวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณมันชำระเข้ามา จากหยาบคือสักกายทิฏฐิ จากละเอียดคืออุปาทานในจิต อุปาทานในกายนั้น แล้วมันละเอียดเข้ามา ลึกเข้ามาจนเป็นสิ่งที่มันหดสั้นเข้ามาระหว่างขันธ์อันละเอียดกับจิตกับอสุภะ มันละเอียดเข้ามา สิ่งนี้เข้ามา ปัญญามันก็ละเอียดเข้ามา เป็นมหาสติ เป็นมหาปัญญา ปัญญาใคร่ครวญให้หัวใจนี้มันสว่างกระจ่างแจ้ง ให้หัวใจเข้าใจสัจจะความจริงว่าสิ่งที่เป็นความพอใจ พอใจจะคิด พอใจจะทำ พอใจจะเสพ พอใจจะแสวงหา สิ่งนี้เป็นกามราคะ

สิ่งที่เป็นกามราคะ ทำให้เกิดดับๆ ในหัวใจ จิตนี้มันจะแสดงตัวที่ขันธ์นี้ไง แล้ววิปัสสนาใคร่ครวญไปบ่อยครั้งเข้าๆ จิตนี้มันจะระยะสั้นเข้ามาถึงตัวจิต แล้วมันจะไปทำลายกันที่จิต ถ้าทำลายกันที่จิต เห็นไหม ขันธ์ละเอียด นี่สะเทือนเรือนลั่นกลางหัวใจ ปล่อยวางหมด ว่าง สิ่งที่ว่าง นี่ใช้ปัญญาใคร่ครวญจากเศษส่วนของมัน เพราะอนาคา ๕ ชั้น มันต้องทำลายสิ่งนี้อีก นี่อำนาจของธรรมนะ

“อำนาจของธรรม” ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม สิ่งนี้มันกังวานในหัวใจ การก้าวเดินของใจ มันก้าวเดินขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา แล้วมันทำลายตัวมันเอง ทำลายเราเอง ทำลายเชื้อในหัวใจ นี่อำนาจของธรรมของใจดวงนี้ สันทิฏฐิโก มันเป็นปัจจัตตังกลางหัวใจนี้ นี่คืองานไง นี่ตัวศาสนา ตัวธรรม ตัวธรรมคือตัวที่อยู่ในหัวใจของศาสนา เพราะศาสนานี้ทำให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติพ้นจากการเกิดและการตาย

จะพ้นการเกิดและการตาย นี่กามโอฆะทำให้เกิดให้ตายในกามภพ มันปล่อยวางขนาดไหน ซับซ้อนเข้าไป อนาคา ๕ ชั้น ฝึกซ้อมขึ้นไปจนถึงที่สุด มันจะว่างหมดเลย สิ่งที่ว่างหมด ว่าง ว่างเพราะอะไร เพราะมันปล่อยวางหมด สิ่งที่ปล่อยวางหมด มันเหลือแต่ตัวเขาเอง เหมือนเรา เราอยู่ในบ้านของเรา เราทำความสะอาดบ้านของเราหมดแล้ว ในบ้านเราสะอาดหมดเลย แต่เราก็อยู่ในบ้านนั้น แล้วเรานี่สกปรกโสโครก โสโครกเพราะอะไร เพราะเราทำงานมา เราเหนื่อยอ่อนมา เราถึงที่สุดของเรา เราทำงานเหงื่อเต็มตัว นี่เราจะล้างอย่างไร เราจะชำระตัวเราเองได้อย่างไร เพราะเราเป็นผู้ทำความสะอาดจากข้างนอกอยู่แล้ว

นี้พอเห็นที่ว่าสิ่งที่ว่าไม่ยอม ย้อนกลับมา นี่อำนาจกิเลส อำนาจของอวิชชานะ มันจะไม่เห็นตัวมันหรอก เพราะตัวความสกปรกที่ว่าอาบเหงื่อต่างน้ำ ทำความสะอาดบ้านเข้ามา เพราะเรา เรา ผู้มีอิทธิพล เขาฆ่าทุกๆ คน แล้วเหลือเขาไว้เป็นผู้มีอิทธิพล นี้ก็เหมือนกัน ตัวจิตมันทำลายเข้ามาทั้งหมด มันไม่ยอมให้ทำลายตัวมันเอง อรหัตตมรรค สิ่งที่จะเป็นอรหัตตมรรค ว่างขนาดไหน ความรู้สึกไง

ว่านี่ธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ธรรมชาติ นิพพานอยู่ที่ไหน? ไม่อยู่ในดินฟ้าอากาศ ไม่อยู่ในธรรมชาติ ไม่อยู่ในสิ่งที่ใดๆ เลย นิพพานมันอยู่ที่หัวใจ หัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แต่ขณะที่เข้าถึงตัวเขา เขาจะปฏิเสธ แล้วจะย้อนกลับเข้าไปอย่างไรล่ะ ถ้าย้อนกลับเข้ามา ด้วยสติ สิ่งที่มีความรู้สึก ธรรมชาติของเขา น้ำรู้สึกว่าน้ำไหม อากาศเขารู้สึกตัวเขาไหม สิ่งต่างๆ เขามีความรู้สึกของเขาไหม? ไม่มีใครรู้สึกสิ่งใดเลยเพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ถึงเป็นต้นไม้ก็มีชีวิต ชีวิตของเขาก็เป็นชีวิตที่ธรรมชาติ เพราะมันเกิดตายโดยจุลินทรีย์ แต่ถ้าเป็นตัวจิต มันมีความรู้สึก

เวลาภิกษุติดในผ้าอาบ ตัดจีวร เวลาตายไป ในพระไตรปิฎกจะไปเกิดเป็นเล็น นี่เกิดได้ขนาดเล็กเป็นเล็นนะ นี่พระโพธิสัตว์ไม่เกิดเล็กกว่านกกระจาบไป นี่สิ่งที่เกิด เกิดเป็นอินทร์ เป็นพรหม นี่จิตนี้มันเกิดได้หมดเลย สิ่งที่ไปเกิดไปตาย จากตัวจิตตัวนี้ เพราะมันมีชีวิต มันมีความรับรู้ สิ่งที่รับรู้ นี่นิพพานอยู่ที่นี่ไง อยู่ที่รับรู้ไง สภาวธรรมที่มันมีอยู่แล้วๆ นี่ไง จิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระอัครสาวกต่างๆ ในพุทธันดรนี้ ธรรมนี้มีอยู่นี้ไง

แต่จิตตัวนี้มันมีอวิชชาครอบงำอยู่ มันยังเข้ามา มันยังโดนอำนาจของกิเลสปิดบังไว้ไม่จับต้องมันได้ ถ้าเราใช้ปัญญาใคร่ครวญอย่างนี้ รู้ความรู้สึกอยู่ที่ไหน ความรู้ว่าว่างอยู่ที่ไหน เรารู้ว่าว่างหมด สิ่งที่ว่าง ความว่างนั้นคือตัวอวิชชา นี่อนุสัย อวิชชาอยู่ตรงนี้ไง นี่ไง อำนาจของกรรม อำนาจของกิเลส อำนาจของธรรม

ถ้าอำนาจของธรรมมีอำนาจเหนือกว่า จะย้อนกลับเข้ามาได้ ถ้าอำนาจของธรรมไม่เหนือกว่า ถ้าตายตรงนี้ก็ไปเกิดบนพรหม สิ่งที่เกิดบนพรหมแล้วก็จะต้องสิ้นไปเพราะจะไม่กามภพตัดสิ้นไปแล้ว แต่ถ้าในปัจจุบัน ในอริยสัจ มรรค ๔ ผล ๔ ขณะที่ใคร่ครวญ เศษส่วนเข้ามาแล้ว สิ่งนี้ย้อนกลับมา ย้อนกลับมาจับตรงนี้ได้ ถ้าย้อนจับตรงนี้ได้นะ งานอันละเอียดนะ เราจะเห็นเลยว่าระหว่างขันธ์กับจิต ใช้ความคิด ความคิด สังขาร สิ่งที่มีสมาธิกดให้กิเลสเบาบางลง แล้วออกใช้ปัญญา

สิ่งที่ปัญญา นี่ระหว่างขันธ์กับจิต นี่ปัญญาอย่างหยาบๆ นี่โสดาปัตติมรรค ปัญญาละเอียดเข้ามา สกิทาคามรรคแล้วละเอียดเข้ามาในอนาคามรรค นี่มหาสติ-มหาปัญญา มันก็ยังเป็นขันธ์อันละเอียด ละเอียดมาก เพราะเป็นปฏิฆะ เป็นกามราคะ สิ่งที่ละเอียด มันวิปัสสนากันเข้ามา แต่เวลาตัวมันเอง มันไม่มีสิ่งใดสัมผัส มันเป็นความคิด มันเป็นอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ มันเป็นปัจจยาการ มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันถึงละเอียดมาก

สิ่งที่ละเอียดมาก นี่ปัญญาอย่างนี้จะย้อนกลับมา จะย้อนกลับเข้ามาทำลายตัวมันเอง เหมือนสิ่งที่ตัวเองซึมซับจากใจดวงนั้นไง ตัวดวงนั้นมันจะพลิกตัวมันเอง ซึมซับจากตัวเขาเอง แล้วจะทำลายตัวของเขาเอง นี่อำนาจของธรรม อรหัตตมรรค เหนืออำนาจของกิเลสมหาศาลเลย มันจะซับสิ่งนี้เข้ามาจนพลิกออกไป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวแรกที่ชำแรกออกมาจากอวิชชา

นี่ว่าจิตนี่นิพพานอยู่ที่ไหน นิพพานอยู่ที่ไหน วิมุตติสุขอยู่ที่ไหน? อยู่ที่จิต แล้วจิตมันเข้านิพพานอย่างใด มันซับของมัน มันกลืนตัวของมันเข้ามา ถึงที่สุดแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการอยู่อีก ๔๕ ปีนะ จิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข จิตดวงนั้นก็อยู่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคลื่อนไหวไปไง

นิพพานมันอยู่ที่ไหน ภพของนิพพานมันอยู่ที่ไหน? มันอยู่ที่หัวใจ หัวใจมันชำระกิเลสออกไปแล้ว มันจะไปอยู่ที่ไหนล่ะ ความรู้สึกอันนี้เป็นสภาวธรรม นี่อำนาจของธรรมที่กดอำนาจของกิเลสมาตลอด นี่อำนาจของกรรมคือเราเกิดขึ้นมาแล้วเรามีชีวิต

พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวก เป็นพระอรหันต์ ยังโดนโจรทุบจนตาย นี่อำนาจของกรรม สิ่งที่อำนาจของกรรมเข้ามาถึงกับร่างกาย แต่ไม่สามารถเข้ามาถึงตัวจิตได้ เพราะตัวจิตนี่พ้นออกไป ดูสิ ดูอำนาจของกรรม อำนาจของความหิวโหย อำนาจต่างๆ พระอรหันต์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังบิณฑบาตฉันอีก ๔๕ ปี ครูบาอาจารย์ของเรายังต้องบรรเทา บรรเทาสิ่งที่บีบคั้นอยู่ นี่สิ่งนี้อำนาจของกรรม สิ่งที่อำนาจของกรรมคืออยู่เข้าถึงธาตุ เข้าถึงขันธ์ เพราะขันธ์ ความรู้สึก มันรับรู้สิ่งต่างๆ สิ่งนี้เป็นอำนาจของกรรม

อำนาจของธรรม เอโก ธัมโม จิตหนึ่งเดียว ไม่มีสอง ไม่มีการแบ่งแยก ไม่มีการบกพร่อง ไม่มีการต่อเติม ไม่มีสิ่งใดๆ เข้าไปถึงจิตดวงนี้ได้ จิตดวงนี้เป็นเอโก ธัมโม เป็นหนึ่งเดียว หนึ่งไม่มีสอง โลกนี้มืดคู่กับสว่าง สุขคู่กับทุกข์ สิ่งต่างๆ นี้คู่กันไป

ถ้าเป็นอวิชชา เห็นไหม อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้ก็หมอง เศร้าหมอง เศร้าหมอง ผ่องใส ถ้าเศร้าหมอง ว่างขนาดไหนมันก็คู่กับไม่ว่าง ถ้าพ้นออกไปจากกิเลสทั้งหมด มันเป็นเอโก ธัมโม มันเป็นหนึ่งเดียว มันเป็นสภาวธรรม นี่อำนาจของธรรม

ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าการประพฤติปฏิบัติมีสติ แล้วใช้ปัญญาใคร่ครวญ มันจะหยาบ จะละเอียดขนาดไหนก็เริ่มต้นจากนับหนึ่งจากหัวใจของเรานี่ เราอย่าไปแบ่งแยกว่าปัญญาจะต้องละเอียดขนาดนั้น จะต้องหยาบอย่างนั้น มันเริ่มต้นจากหนึ่ง เริ่มต้นจากความรู้สึก เริ่มต้นจากอวิชชา เริ่มต้นจากเรานี่ ถ้าเราก้าวเดินไป มันพัฒนาของมันไปเอง มันจะละเอียดของมันไป ถ้ามีสติคอยพยุงไป สติเราคอยบังคับบัญชาไป เป็นเชือก เป็นสิ่งที่บังคับให้มันละเอียดเข้ามา

ถ้าละเอียดเข้ามาก็คือการประพฤติปฏิบัติของเรา มันก็เป็นประโยชน์ของเราขึ้นมา มันก็เจริญขึ้นไป นี่ธรรมะเจริญ เจริญจากหัวใจของเรา โลกเขาจะเจริญ เขาจะเสื่อมอย่างนี้มันก็เป็นธรรมชาติของเขา แต่ถ้าธรรมเจริญในหัวใจของเรานะ เราจะเริ่มประพฤติปฏิบัติง่ายขึ้น เราจะมีสติ การกระทำของเรา เราจะพอใจ ถ้าเราพอใจ นี่สติมาแล้ว ถ้ามันไม่พอใจ การประพฤติปฏิบัติของเราต้องบังคับ สิ่งที่บังคับ นี่เราบังคับสัตว์ให้กินอาหาร มันไม่กิน นี่เราบังคับมัน มันก็ดิ้นรน

จิตก็เหมือนกัน ถ้าเราบังคับนะ มันก็ดิ้นรน แต่ต้องบังคับ ถ้าเราไม่บังคับ อำนาจของกิเลสมันจะเจริญงอกงามขึ้นไป อำนาจของธรรมมันจะท้อถอย ถ้าเราบังคับขึ้นไป นี่กรรม อำนาจของกรรมคือการกระทำ ดีหรือชั่ว ถ้าเป็นความดี เป็นมรรคเพราะเราต้องอาศัยทางดีเป็นปฏิปทาเครื่องดำเนิน สิ่งที่เป็นความชั่ว สิ่งที่เป็นกิเลส ไม่ต้องไปเจริญ มันเป็นเองโดยธรรมชาติ

แต่ธรรมนี่มันเกิดเป็นครั้งเป็นคราว เหมือนพลังงานเลย พลังงานในโลกนี้เราต้องแสวงหา สิ่งที่แสวงหา แล้วพอใช้หมดไป เราก็ต้องแสวงหา นี่เป็นธรรมในหัวใจของเรา เราต้องแสวงหา เราต้องทำขึ้นมา เห็นไหม จะเป็น เกิดขึ้นมา เพราะมันเป็นอนิจจัง มันเป็นเกิดดับๆ ตลอดไป แต่ถึงที่สุดนะ เรามีความชำนาญของเรา เรามีการวิปัสสนาของเรา มันเป็นอัตโนมัติของมันไป นี่เวลาปัญญาก้าวเดิน เวลาหมุนไปแล้วจะเป็นธรรมจักร มันจะหมุนของมันไป

ถึงที่สุด อกุปปะ คือมันคงที่ไง เป็นพระโสดาบันก็คงที่ของโสดาบัน เป็นสกิทาก็คงที่ของสกิทา เป็นอนาคาก็คงที่ของอนาคา ถึงที่สุดสิ้นกิเลสก็คงที่ของเขา เพราะมันอกุปปะ มันเป็นวิวัฏฏะ มันไม่เป็นวัฏฏะที่จิตที่จะหมุนไป มันเป็นวิวัฏฏะแล้ว เห็นไหม นิพพานอยู่ตรงนี้ นิพพานอยู่ที่จิต นิพพานอยู่ที่จิตนี้ มันเป็นของมัน มันอยู่รู้สึกรู้ของมันเอง สิ่งนี้เป็นสันทิฏฐิโก สิ่งนี้เป็นหัวใจ สิ่งนี้เป็นการประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้อยู่ในศาสนาพุทธของเรา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกสุภัททะไว้แล้ว “ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผลหรอก” มรรคอยู่ที่ไหน? มรรคอยู่ที่เวลามันรวมตัว สมุจเฉทปหาน นั้นคือตัวมรรค ตัวมรรคเกิดจากกาย เกิดจากจิต เกิดจากกรรมฐาน เกิดจากสถานที่ตั้งของการงาน ถ้าไม่มีฐานที่ตั้ง มรรคมันจะเกิดตรงไหน มรรคจะเกิดได้อย่างไร

สิ่งที่จะเกิด ดูสิ ดูเวลาเขายิงจรวดไปอวกาศ มันต้องมีฐานที่ขับเคลื่อนออกไป นี้ถ้าเคลื่อนออกไปอย่างนั้น มันเป็นโลก มันส่งออก แต่ถ้าเป็นกรรมฐานของเรา ฐานที่ตั้งอยู่ที่ไหน ต้องไปทำลายที่ตรงนั้น ถ้าทำลายที่ตรงนั้น มรรคเกิดตรงนี้ มรรคเป็นผลตรงนี้ แล้วเป็นจิตสงบตรงนี้ เวลานิพพานก็นิพพานที่จิตนี้ จิตนี้เป็นผู้รับรู้ จิตนี้เป็นผู้ที่การกระทำ จิตนี้เป็นผู้ที่เริ่มต้นขึ้นมา ก้าวเดินขึ้นมา จากที่ล้มลุกคลุกคลาน แล้วมันพัฒนาขึ้นมา เพราะอะไร

เพราะจากใจดวงหนึ่ง ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นคนของเรา แล้ววางธรรมและวินัยไว้ แล้วครูบาอาจารย์ของเราออกประพฤติปฏิบัติมา ค้นคว้าขึ้นมาเป็นธรรมของครูบาอาจารย์เรา แล้ววางธรรมไว้ไง วางธรรมไว้เป็นปฏิปทาเครื่องดำเนิน

ภิกษุ พระป่าๆ ที่เราทำข้อวัตรกันอยู่นี่เพื่ออะไร? ก็เพื่อให้หัวใจมันควรแก่การงาน เวลาเป็นการเป็นงานขึ้นมา ใครก็ไม่ชอบหรอก มันต้องการความสะดวก ต้องการมักง่ายทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าเราทำนี่ฝึกใจๆ ฝึกด้วยเอาหัวใจอยู่ในข้อวัตรนั้น ข้อวัตรปฏิบัติ นี่เกิดจากไหน เกิดจากหลวงปู่มั่น เกิดจากหลวงปู่เสาร์วางปฏิปทาเครื่องดำเนินนี้ไว้ให้เราก้าวเดินไง แล้วเราก็เดินตามนั้น ฝึกใจไปเรื่อย มันก็พัฒนาขึ้นมา พัฒนาคือว่ามันอยู่ในร่องในรอย

รถอยู่บนถนน วิ่งไปบนถนนมันไม่ตกถนนไป มันก็ถึงเป้าหมายได้ ถ้าเราปฏิปทาเครื่องดำเนิน เรามีอยู่ แล้วเราเดินปฏิปทาเครื่องดำเนินของเราเข้าไปนะ อย่าให้กิเลสมันออกนอกลู่นอกทาง อย่าให้กิเลสมันอยากประสบความสำเร็จโดยที่ว่าสุกก่อนห่ามไง ยังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติเลย กิเลสมันก็สมอ้างว่านี่เป็นธรรมๆ นี่สุกก่อนห่าม แล้วมันจะไม่สุกหรอก เพราะอะไร

เพราะมันไม่เป็นความจริงไง นี่มันไม่สุก เพราะถ้ามัน...ผลไม้แก่ มันจะสุกของมัน มันปฏิปทาเครื่องดำเนินสุกของมัน มันจะเป็นสมุจเฉทปหาน ตทังคปหาน เราไปเก็บผลไม้แล้วมันไม่แก่นะ บ่มไปเดี๋ยวก็เน่า สิ่งที่เน่า เน่าคือใคร? เน่าก็คือหัวใจของเรา นี่ล้มลุกคลุกคลาน แล้วก็น้อยเนื้อต่ำใจนะ นี่จิตเสื่อม

เวลาเป็นสมาธินะ จิตเจริญแล้วเสื่อมๆ ในการวิปัสสนามันก็เจริญแล้วเสื่อม มันเสื่อมเพราะอะไรล่ะ มันเสื่อมเพราะเรามักง่าย เราไม่อยู่ในปฏิปทาเครื่องดำเนิน รถเราตกจากถนน เราออกนอกลู่นอกทาง ถ้าเราอยู่ในลู่ในถนน เสื่อมขนาดไหน เดี๋ยวมันก็ถึงปลายทางได้ เพราะอะไร เพราะมันอยู่ในถนน สิ่งที่ถนนนี่ปฏิปทาเครื่องดำเนิน บังคับไว้ ถ้าบังคับไว้ มันเสื่อมขนาดไหน อยู่กับการบำรุงรักษา มันก็ต้องเจริญขึ้นมาได้ใช่ไหม

เจริญคู่กับเสื่อม เสื่อมคู่กับเจริญ ถ้ามันเสื่อมได้มันก็ต้องเจริญได้ ถ้ามันเสื่อมขึ้นมา เราก็ต้องใช้สติของเราควบคุมขึ้นไป มันจะเป็นสมประโยชน์ของเรา

ถ้าเราอยู่บนถนน อยู่ในมรรคา อยู่ในปฏิปทาเครื่องดำเนิน เราอย่าน้อยเนื้อต่ำใจ อย่ามักง่าย อย่านอนใจ แล้วเราจะถึงเป้าหมาย ถ้าเรามักง่าย เรามักง่ายของเรานี่อำนาจกิเลส ถ้าอำนาจกิเลสมันเหนือกว่านะ การปฏิบัติของเรามันจะไม่ถึงเป้าหมาย ถ้าอำนาจของกรรม กรรมดีปฏิบัติไป แล้วอำนาจของธรรมเกิดขึ้นมา แล้วเราจะเป็นธรรมในหัวใจ เอวัง