ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เมาค้าง

๑o เม.ย. ๒๕๕๙

เมาค้าง

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “ปัญญาอบรมสมาธิหรือไม่

กราบนมัสการหลวงพ่อ ผมรบกวนขอเมตตาจากหลวงพ่อให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติของผมด้วยครับ แต่จะขอเริ่มจากการปฏิบัติก่อนหน้านี้ก่อน

ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยได้อ่านการปฏิบัติของครูบาอาจารย์เท่าไร ผมก็ปฏิบัติแบบที่ได้ยินกัน ผมปฏิบัติโดยการนั่งกำหนดลมหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ ซึ่งพอนั่งไปได้สัก ๒๐ นาทีจะเริ่มสงบ จนใจไม่คิดอะไรแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆ พอเปลี่ยนได้สักแป๊บเดียวก็จะเริ่มเกิดอาการทางร่างกาย มิติเปลี่ยนไปตัวยาวขึ้น แล้วจากนั้นผมก็เร่งคำว่า “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” แบบรัวๆ เลย จนกระทั่งเริ่มมีอาการตัวตนหายไป ลำตัวลีบลงเหลือเท่าเส้นด้าย จนกระทั่งไม่รู้สึกถึงลำตัวทั้งหมด (แต่ลมหายใจยังไม่หาย ความรู้สึกเจ็บที่ขายังไม่หายครับ)

คำถามที่ การเปลี่ยนจากลมหายใจบวกคำบริกรรมยาวๆ มาเป็นคำบริกรรมรัวๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่สงบอยู่ ถือว่าเป็นปัญญาอบรมสมาธิหรือเปล่าครับ หรือเป็นแค่ปัญญากิเลสฟุ้งซ่านก่อกวนสมาธิที่อยากให้เกิดผลกับทางร่างกายครับ

และช่วงหลังๆ ผมได้มานั่งอ่านการภาวนาของครูบาอาจารย์หลายๆ ท่านอย่างของหลวงตาที่เน้นพุทโธ ไม่เน้นลมหายใจ ผมก็เปลี่ยนมาเป็นพุทโธอย่างเดียวเลย พอไปอ่านของพระอีกองค์หนึ่งที่เน้นเรื่องลมหายใจ ผมก็เปลี่ยนมาทิ้งคำบริกรรมแล้วเน้นลมหายใจอย่างเดียวเลย ทำไปทำมามันไม่เกิดผลเหมือนอย่างที่เคยเลย แค่สงบแบบไม่มีความคิดอื่นเข้ามา แต่ผลทางร่างกายไม่มี คราวนี้ผมก็กลับมาใช้วิธีเดิมที่เคยทำ คือเริ่มด้วยลมหายใจออกพุท เข้าโธ แล้วพอนิ่งก็ค่อยเปลี่ยนมาเป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆรัวๆ แต่ผลก็ไม่เกิดเหมือนเดิมแล้ว

คำถามที่ ทั้งๆ ที่ตอนนั่ง ผมก็ไม่ได้มีความคิดอะไร เน้นแต่วิธีที่เลือกอย่างมุ่งมั่น แต่จริงๆ แล้วจิตใจผมฟุ้งซ่านกับการอ่านวิธีการปฏิบัติหลายๆ วิธีแล้วใจมันเลยฟุ้งซ่านโลเลอยู่ลึกๆ หรือเปล่าครับ (เรียกว่าเปลี่ยนวิธีไป เลยเขวไปเลยหรือเปล่าครับรบกวนหลวงพ่อให้ความเมตตาช่วยวิจารณ์หรือตบบ้องหู

ตอบ : นี่เขาพูดอย่างนั้นเลยนะ “หรือตบบ้องหูแรงๆ เลย

ไอ้คำว่า “ให้ตบบ้องหู อยากให้วิจงวิจารณ์” เพราะทุกคนปฏิบัติแล้วก็อยากจะจิตสงบไง อยากจะได้สัมผัสธรรม เราฟังครูบาอาจารย์พูดมาเยอะ แล้วเราก็อยากได้สัมผัสบ้าง แต่ถ้าได้สัมผัสบ้าง แต่คำว่า “สัมผัสบ้าง” เขาได้สัมผัสมาบ้างแล้ว อย่างเช่นที่คำถามเขา เวลาที่ว่าเขาพุทโธของเขา พุทโธ ธัมโม สังโฆของเขา เพราะเขาว่า “ผมไม่เคยได้อ่านหนังสือเลย ผมปฏิบัติแบบที่ได้ยินๆ กันมาแล้วพอพุทโธรัวๆ ไปแล้วมันเกิดอาการไง เกิดอาการ เกิดที่ว่าตัวตนหายไป ลำตัวลีบลงเหลือเหมือนเส้นด้าย จนกระทั่งไม่รู้สึกตัวเลย” นี่เวลาเขาพูด เขาพูดอย่างนี้

ทุกคนก็คิดเลยว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร ถ้าลีบเหมือนเส้นด้าย คนก็ต้องตาย ไอ้นี่เวลาเราคิดแบบวิทยาศาสตร์ไง แต่ถ้าพูดถึงนักปฏิบัตินะ พอเขาพูดมาอย่างนี้เรารู้ มันเป็นความรู้สึก เวลาความรู้สึกว่าตัวเราลีบ ตัวเรายาว บางทีคนที่ตกที่สูงมันจะวืดๆๆ ไปอย่างนั้นน่ะ แล้วไม่จบสักที วืดอยู่อย่างนั้นน่ะ

ไอ้นี่ลำตัว ความรู้สึกมันเป็น ความรู้สึกมันเป็น แต่ร่างกายปกตินี่ แต่อันนั้นมันเป็นเพราะอะไร มันเป็นเพราะ “ผมไม่เคยอ่านเลย ผมไม่เคยศึกษาใดๆ มาเลยผมปฏิบัติของผมโดยที่ผมได้ยินเขาทำกัน ผมก็ทำตาม

เพราะมันไม่มีข้อมูลไง มันทำโดยปัจจุบันไง มันไม่มีสัญญา ไม่มีสิ่งต่างๆแล้วพอมันเกิดขึ้น เราปฏิบัติโดยที่ไม่รู้สิ่งใดเลย แล้วปฏิบัติไปแบบไม่รู้ แต่มันรู้ขึ้นมา พอรู้ขึ้นมา อยากจะได้ พออยากได้ ทีนี้กลับมาแล้ว กลับมาอ่านประวัติหลวงตา อ่านวิธีการของหลวงตา อ่านวิธีการของพระองค์นั้นพระองค์นี้ แล้วทีนี้มันจะมาปฏิบัติ ไม่ได้อย่างนี้สักที

เวลาปฏิบัติโดยไม่รู้นี่มันเป็น เป็นเพราะอะไร เพราะมันไม่มี เหมือนกับมันไม่มีรูปแบบ มันจะเกิดอะไรขึ้นเราก็ไม่รู้ มันจะเกิดอะไรขึ้นเราไม่รู้ แล้วมันก็เกิดขึ้นสิ่งที่มันไปรับรู้นั่นน่ะ ทีนี้พอไปรับรู้ขึ้นมาแล้วมันเป็นอย่างนั้น เราอยากจะให้มันดีขึ้นไปกว่านี้หรืออยากให้มันถูกต้องดีงาม เราก็กลับมาเลย กลับมาศึกษา ศึกษามากเลย ศึกษาทางวิธีการของหลายๆ ครูบาอาจารย์เลย แล้วบอกว่ามันไม่ได้อีกเลย มันไม่ได้อีกเลย ไอ้อย่างนี้ แล้วเขาถามว่า “อย่างนี้เป็นเพราะผมลังเลหรือเปล่า ผมสงสัยหรือเปล่า

ไอ้อย่างนี้มันยิ่งกว่าสงสัย ไอ้คนที่สงสัยก็สงสัยโดยปกติใช่ไหม ไอ้คนที่สงสัย คนที่ลังเลสงสัยเป็นนิวรณธรรม นิวรณธรรมมันปิดกั้นจิตที่สงบไง

จิตของเรา ถ้าเราทำของเรา ทางการแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์เขาทำสิ่งใดทางวิชาการเขาสมบูรณ์แล้ว เขาทำตามนั้นเลย ทำตามนั้นเลย ทดลองทางวิทยาศาสตร์ในห้องแล็บ ส่วนผสมของเคมีต่างๆ ผสมเลย มันจะออกมาเป็นอย่างนั้นๆ เลย

นักปฏิบัติที่มีความชำนาญกำหนดพุทโธเลย ตั้งสติเลย ถ้าสติมันทันนะ พุทโธนี่ เพราะมันต้องเป็นแบบที่ทางวิทยาศาสตร์เขาพิสูจน์นั่นแหละ ทางวิทยาศาสตร์ผสมเคมีสิ่งใด สิ่งที่ทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ออกมาแล้วมันต้องให้ค่าอย่างนั้นๆ ถูกต้อง

พุทโธ ธัมโม สังโฆ ลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ ถ้าถึงที่สุดแล้วมันต้องเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แน่นอน ถ้าผู้ที่ชำนาญนะ

ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ทางวิชาการเขาสมบูรณ์แล้วใช่ไหมเขาก็ทดลองโดยทางความรู้ของเขา ทีนี้เวลาปฏิบัติขึ้นมามันมีกิเลส มันมีความอยากได้ มีความสงสัย มีความวิตกกังวล มีอำนาจวาสนา มีคนทำมามากทำมาน้อย ตัวนี้ทำให้รวนหมดเลย

แต่ถ้าโดยข้อเท็จจริงนะ ถ้าเขาทำได้ เราต้องทำได้ ในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยความถูกต้องดีงามนะอย่างน้อย  วัน  เดือน  ปี ต้องได้พระอนาคามีเด็ดขาด

ไอ้นี่พระเราปฏิบัติอยู่ - แสนองค์ เหลือมาสักองค์หนึ่งไหม ไม่เหลือเลยไม่เหลือเลย แต่ถ้าเหลือ เหลือกรรมฐาน เหลือวงพระปฏิบัติครูบาอาจารย์เรานี่

เพราะเวลาครูบาอาจารย์ ใครจะศึกษามีความรู้มากน้อยขนาดไหนไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่น ดูสิ พูดถึงมหาปิ่น น้องหลวงปู่สิงห์  ประโยค ครูบาอาจารย์ที่จันท์ฯ ดูสิ เวลาหลวงตา  ประโยค แล้วเวลาหลวงตาท่านพูดถึงมหาเขียน  ประโยค

ถ้ารู้สิ่งใดแล้วให้วางไว้ก่อน หลวงตาท่านไปฟังมหาเขียน ท่านเรียนมาด้วยกัน รุ่นเดียวกัน ท่านพูดเอง ลูกศิษย์เป็นกลุ่มเดียวกัน เวลาเขาจะไปทอดกฐินมหาเขียนที่กาฬสินธุ์น่ะ ท่านก็นิมนต์หลวงตาไปด้วย ไปถึงแล้วมหาเขียนท่านเทศน์ท่านบอกเลย ตอนที่ท่านปฏิบัติอยู่ เทศน์นี่ฟังรู้เลย นี่ปริยัติ ปริยัติเขาเทศน์ออกมาทางวิชาการนี่รู้ ไอ้คนที่ปฏิบัติมามันรู้

แล้วสุดท้ายแล้วท่านเป็นเพื่อนกัน ท่านก็ส่งอาจารย์บุญมี ลูกศิษย์ท่าน เป็นเพื่อนเรานี่แหละ ไปอยู่บ้านตาด ท่านส่งลูกศิษย์ของท่านเข้าบ้านตาด แล้วท่านติดต่อกัน แล้วอาจารย์บุญมีท่านก็เอาเทปของหลวงตาไปให้ฟัง ฟังทั้งวันทั้งคืนเลย แล้วฟังทั้งวันทั้งคืน ดูสิ เวลาอาจารย์สิงห์ทองเดินจงกรม  วัน  คืนน่ะ

มหาเขียนท่านเดินจงกรม ขนาดป่วย ท่านยังมีราว ทำราวไว้ที่กุฏิด้วย ทำราวไว้ข้างล่างด้วย เจ็บป่วยเป็นเรื่องของร่างกาย แต่ท่านขวนขวายของท่าน ท่านพิจารณาของท่าน นี่เวลาเรียนมาแล้ว เวลาจะปฏิบัติมันต้องวางตรงนั้นหมดน่ะ

ถึงบอกว่า ที่ว่าถ้ามันจะมีเหลืออยู่บ้างก็เหลือในวงกรรมฐานเรา ถ้าในวงกรรมฐาน เพราะครูบาอาจารย์ท่านสับท่านยำของท่าน หลวงปู่มั่นท่านสับท่านยำของท่านให้มันเป็นจริงขึ้นมา ถ้าเป็นจริงขึ้นมามันก็เป็นความจริง

นี่ไง มันเป็นวิทยาศาสตร์ ถ้าพุทโธๆ เหมือนเขาทดสอบทางวิทยาศาสตร์ในห้องแล็บเลย ทีนี้ถ้ามันปฏิบัติ เหมือนทดสอบในห้องแล็บ ทีนี้เราพุทโธจริงๆ หรือเปล่า เราทำได้จริงหรือเปล่า เราตั้งใจได้จริงหรือเปล่า ถ้าทำได้จริงต้องเป็นแบบนั้น ต้องเป็นแบบนั้นแน่นอน แต่นี่เราทำไม่ได้น่ะสิ เราทำไม่ได้

พอเริ่มถึงคำถาม คำถามบอก เริ่มต้นปฏิบัติโดยที่ว่าปฏิบัติเอง มันเป็นแบบนี้ แต่พอมาปฏิบัติแล้ว มันเป็นเพราะอะไรมันถึงไม่ได้ไง เพราะเป็นการลังเลสงสัยหรือไม่ เพราะเรางงๆ หรือไม่

เราจะบอกว่า เวลาปกติเหมือนคนกินเหล้า คนกินเหล้าแล้วก็เมานะ เมา แล้วพอมากินเหล้าเมาแล้ว พอมันเลิกแล้ว รุ่งขึ้นมันเมาค้าง มันเมาค้างนะ มันต้องถอน มันเมา ไอ้นี่มันเมาค้างไง

โดยปกติเรามีกิเลสไง กิเลสของเรามันทำให้ลังเลสงสัย อยากได้ อยากดีอยากเป็น แล้วก็จินตนาการไปเรื่อย เพราะอะไร เพราะอำนาจวาสนาของคน

ถ้าคนมีอำนาจวาสนา มีความสัตย์ ไม่หวังถึงผลเลย ปฏิบัติเอาแต่เหตุ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเราสร้างเหตุของเรา เราตั้งเหตุของเราให้ดี ทำอยู่อย่างนี้ถ้ามันไม่ได้ผล ช่างหัวมัน

ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโกหก หลวงตาท่านพูดประจำ ท่านบอกว่า “ให้ปฏิบัติไป ถ้าปฏิบัติแล้ว ถ้าปฏิบัติไม่ได้ตามจริงนะ จะพาไปประท้วงพระพุทธเจ้าว่าพระพุทธเจ้าโกหก

พระพุทธเจ้าสอนไว้ พระพุทธเจ้าทำไว้ มันเป็นความจริง ,๐๐๐ กว่าปี เรายังกราบยังไหว้กันอยู่ เรายังเชื่อถือศรัทธาอยู่ มันไม่จริงหรือ ถ้ามันไม่จริง มันอยู่มาได้อย่างไร แล้วต่อไปศาสนา ต่อไปพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ข้างหน้า มันจะอยู่ได้อย่างไรถ้ามันไม่มีความจริง

มันมีความจริงสิ ในสมัยปัจจุบันนี้ ความจริงเกิดจากหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นก่อน แล้วหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านก็ฝึกครูบาอาจารย์มา แล้วครูบาอาจารย์ท่านมันทดสอบกันได้ เวลาธมฺมสากจฺฉา ดูสิ เวลาหลวงตาท่านสงสัยในหลวงปู่แหวน ท่านก็ไปคุยกับหลวงปู่แหวนจบ หลวงปู่แหวนบอกเลย “มหาสงสัยสิ่งใดสงสัยสิ่งใด ค้านมา

คือพระอรหันต์น่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ไม่มีกำมือในเราแบหมด ธรรมะนี่สะอาดบริสุทธิ์ เปิดเผย

แล้วเวลามีความสงสัยก็ขึ้นไปถามหลวงปู่แหวน หลวงปู่แหวนท่านแจงหมดเลย เปิดหมดเลย “มหามีอะไร ค้านมา

หลวงตาบอกว่า กราบนะ กราบแล้วกราบอีก “เกล้ากระผมขอฟังธรรมแบบนี้เกล้ากระผม” เปิดเผยเหมือนกัน สิ่งที่สะอาดบริสุทธิ์มันเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน

นี่ไง พูดถึงว่า ดูสิ เวลาหลวงตาท่านไปคุยกับหลวงปู่แหวน ไปคุยกับหลวงปู่ขาว ไปคุยกับครูบาอาจารย์ ไปคุยเพื่ออะไรล่ะ ไปคุยกับหลวงปู่ชอบ ไปคุยเพื่อท่านจะเขียนประวัติหลวงปู่มั่น ท่านจะเขียนประวัติหลวงปู่มั่น แล้วสิ่งที่ได้ส่งต่อๆกันมามันสะอาดบริสุทธิ์จริงหรือไม่

ขนาดที่ว่าหลวงตาท่านเขียนประวัติหลวงปู่มั่นใช่ไหม เรื่องถ้ำสาริกา แล้วท่านก็มาตรวจสถานที่ ท่านไปเห็น โอ้โฮเพราะหลวงปู่มั่นบอก อู้ฮูต้นไม้  คน คนโอบ อู๋ยสัตว์ป่ามันเยอะแยะ

แล้วเวลาท่านไปถึงถ้ำสาริกา มันมีแต่ป่าเบญจพรรณไง ท่านวิตกในใจ นี่ท่านพูดเล่าให้ฟัง “เอ๊ะอย่างนี้ก็เหมือนกับเราหลอกโลกน่ะสิ เพราะเราเขียนเรื่องไม่จริง เราพูดเรื่องไม่จริงได้อย่างไร อย่างนี้เราก็หลอกโลกน่ะสิ

ฉะนั้น ท่านก็ขวนขวายๆ เขาก็ไปเอาชาวบ้านแถวนั้นมา ชาวบ้านแถวนั้นเขาเป็นเด็กที่นั่นโตขึ้นมา เขาบอกเขาเป็นคนรับบาตรหลวงปู่มั่นเลย เด็กๆ สมัยหลวงปู่มั่นอยู่ที่นั่น เขาอายุ - ขวบ เขาเคยรับบาตรหลวงปู่มั่น เคยดูแลหลวงปู่มั่น แล้วเขาบอกว่า “ที่ว่าหลวงปู่มั่นบอกว่าเมื่อก่อนป่ามันทึบมากอย่างนี้ จริงไหม

จริงครับ เมื่อก่อน โอ้โฮป่ามันใหญ่มาก แล้วมันก็โดนฝรั่งตัดไปแล้วรอบหนึ่ง แล้วพอป่ามันพัฒนาขึ้นมาแล้ว มันก็โดนญี่ปุ่นมาตัดไปอีกรอบหนึ่ง ป่านั้นโดนตัดไปแล้วสองรอบ แล้วที่เหลือที่ถ้ำสาริกาในปัจจุบันนี้

ท่านบอกว่า “เอออย่างนี้เราไม่โกหกโลก

เวลาท่านจะเขียนประวัติหลวงปู่มั่น ท่านไปหาข้อมูลของท่านน่ะ ท่านจะเอาสัจจะเอาความจริงไง ขณะที่ท่านเขียนเรื่องถ้ำสาริกา หลวงปู่มั่นเล่าไว้ว่า อู้ฮูป่ามันทึบ ลิงเต็มไปหมด ลิงมันคุยกัน นกมันคุยกัน ที่ว่าท่านได้ภาษาสัตว์ที่นั่นน่ะท่านเข้าใจคำพูดของสัตว์

แล้วพอท่านไปดูของท่าน “โอ้โฮอย่างนี้เราโกหกโลก” ก็เลยหาข้อมูลข้อมูลก็ถูกต้อง อันนี้ก็เหมือนกัน เวลาท่านจะเขียนประวัติหลวงปู่มั่น ท่านไปคุยกับครูบาอาจารย์ เพราะว่าท่านพูดเองว่าท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นช่วงปลายชีวิตของหลวงปู่มั่น  ปี  ปี แล้วช่วงก่อนหน้านั้นท่านไม่ได้อยู่ ท่านก็หาผู้ที่อยู่ ที่ได้สัมผัส นี่เวลาท่านคุยกัน ธรรมะมันเปิดเผย ไม่มีกำมือเลย แบหมด ถ้ามันเป็นความจริงอย่างนั้น

ฉะนั้น หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ยืนยัน เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะจิตมันอย่างนั้นน่ะ เพียงแต่ว่าที่ทำกันไม่ได้เพราะกิเลสหนา เวลาทำไม่ได้ อย่าไปโทษธรรมะนะ อย่าไปโทษครูบาอาจารย์ โทษเรา กิเลสหนา ทำไม่ได้ แล้วจะไปโทษใคร แต่ถ้าทำได้ เป็นอย่างนั้นเลย เป็นอย่างนั้นเลย เป็นอย่างนั้นจริงๆ

ฉะนั้น นี่พูดถึงบอกว่า เวลาชีวิตประจำวันของเรา สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ความแปรปรวน โลกนี้มันแปรปรวนของมันอยู่ตลอดเวลา สรรพสิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดคงที่ มันแปรปรวนของมันอยู่ตลอดเวลา แล้วเราก็อยู่ในโลกของความแปรปรวนแล้วกิเลสของเรามันก็แปรปรวนอยู่ในใจของเราอีกชั้นหนึ่ง ทีนี้ความแปรปรวนกับแปรปรวนที่มันอยู่ด้วยกันมันก็ทำให้เป็นการชินชา เป็นเรื่องปกติไป

นี่สงสัย มันก็เกิดความสงสัย เกิดความลังเลสงสัย มาอ่านประวัติของครูบาอาจารย์ขึ้นมา อ่านวิธีการปฏิบัติ เห็นไหม ธรรมดาเราก็สงสัยอยู่แล้ว พอไปอ่านมาอย่างนี้มันยิ่งทำให้สงสัยหนักขึ้นไปอีก มันจะเป็นจริงหรือ เพราะเราก็สงสัยใช่ไหม ต้องทดสอบๆ มันก็เลยเป็นการเมาค้างไง

เขาบอก “ผมสงสัยหรือเปล่าครับ

มันยิ่งกว่าสงสัยอีก สงสัยคือกินเหล้า กินเหล้าเมา แล้วนี่มันเมาค้าง คือว่ามันตกผลึกในใจ มันเลยยิ่งทำไปแล้วมันยิ่งงงเข้าไปใหญ่

ทีนี้พูดถึงคำว่า “งง” ฉะนั้น คำว่า “งง” อย่างที่เขาถาม คำถามของเขา สิ่งที่มันทำมานะ “เวลาที่ผมกำหนดพุทโธอย่างนี้มันใช่ปัญญาอบรมสมาธิหรือไม่

ไม่ใช่ ปัญญาอบรมสมาธิ หมายความว่า เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามีความสงสัยอยู่มาก แล้วเราตรึกในธรรม ตรึกในธรรมคือตรึกในคำสอนนั่นแหละ พอตรึกในคำสอนขึ้นมา เรามีสติรู้เท่ากับความคิดเราถ้าเรามีสติ เราคิดอะไรก็แล้วแต่ เราคิดอะไรก็ได้ เรามีสติ นั่นน่ะ สติตัวนั้นน่ะคือปัญญาอบรมสมาธิ เพราะสติมันจะทันความคิด

ปัญญาอบรมสมาธิคือสติปัญญาทันความคิดของเรา เพราะปัญญาในพระพุทธศาสนาคือปัญญารอบรู้ในกองสังขาร กองสังขารคือความคิด ความปรุงความแต่งไง แล้วเรามีสติปัญญารอบรู้เท่าทันความคิด ความปรุง ความแต่งไง นี่ปัญญาในพระพุทธศาสนา ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร

แต่ปัญญาของเรารู้ในวิทยาศาสตร์ รู้ในศาสตร์ต่างๆ เรารู้ทางวิชาการนั่นแต่ปัญญาในพระพุทธศาสนารู้เท่าทันความคิด รอบรู้ในกองสังขาร สังขารคือความคิด ความปรุง ความแต่ง แล้วเรามีสติปัญญาเท่าทันความคิด ความปรุงความแต่ง นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิคือมีสติปัญญาเท่าทันความคิดของตน พอมีปัญญาเท่าทันความคิดของตน ด้วยสติปัญญาที่มันรู้แจ้ง มันจะปล่อย ปล่อยคือมันหยุดคิดน่ะ

ถ้าใครตามความคิดของตนแล้วถ้ามีปัญญารู้เท่า มันจะหยุด การหยุดคิดนี่คือสมาธิ แต่มันหยุดได้แป๊บเดียว แล้วมันก็จะคิดอีก แล้วเราก็ตามต่อเนื่องๆ ต่อไปถ้าชำนาญแล้ว ที่มันหยุดจะยาวขึ้นๆ มั่นคงขึ้น ดีขึ้น นี้คือปัญญาอบรมสมาธิ

ทีนี้เขาบอกว่า เขามีลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ แล้วเขาวางแล้วเขามาพุทโธอย่างนี้ อย่างนี้มันใช่ปัญญาอบรมสมาธิหรือไม่

ไม่ใช่ พอเราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เราก็รู้เท่าไป อันนี้มันเป็นอานาปานสติกับพุทธานุสติ อานาปานสติคือกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก รู้เท่า พุทโธๆ คือพุทธานุสติ อานาปานสติกับพุทธานุสติ เรามารวมกันบวกกัน แล้วเราก็ฝึกหัดของเราเพื่อจะภาวนาได้ พอภาวนาได้ เพราะอะไร เพราะความรู้สึกเป็นนามธรรม เราจะเท่าทันความรู้สึกของเรา ถ้าเราเท่าทันความรู้สึกของเรามันเริ่มปล่อยวางๆ มันเริ่มดีขึ้นมา

ฉะนั้น คำถามของเขา นี่ข้อที่ ทีนี้พอบอกว่า เวลาเขามาอ่านถึงลมหายใจมาอ่านวิธีการปฏิบัติของหลวงตากับของพระอีกองค์หนึ่ง เรื่องลมหายใจกับเรื่องพุทโธ มันไม่มีผลกับร่างกาย

คำว่า “มีผลกับร่างกาย” สารเคมีอีกแหละ ทางวิทยาศาสตร์ นี่ตอบทางวิทยาศาสตร์เลย ทางวิทยาศาสตร์เวลามันทำปฏิกิริยาต่อกัน เวลาผสมเคมีมันแสดงปฏิกิริยาต่อกัน

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราปฏิบัติ พุทโธๆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ อานาปานสติเวลาร่างกายมันทำเคมีต่อกัน เคมีมันทำปฏิกิริยาต่อกัน คือจิตมันพอง เวลาจิตมันขนลุกขนพองอย่างนี้ จิตมันเบาอย่างนี้ ตัวมันเบา นี่เขาเรียกว่าปีติ

นี่เขาบอกว่า เวลาเขากำหนดพุทโธ เวลาศึกษาวิธีปฏิบัติของหลวงตากับพระองค์หนึ่ง มันไม่มีผลกับที่ว่าตัวลีบ มันไม่มี แต่มันมีแต่ความสงบแบบนิ่งๆ แต่ไม่มีผลกับร่างกาย ถ้าการไม่มีผลกับร่างกาย เขาเรียกปีติ เวลาจิตมันเกิดปีติทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นทางวิทยาศาสตร์ แต่นี่เป็นพุทธศาสน์

พระพุทธเจ้าบอกไว้เลย เวลาบอกว่านิวรณธรรมกางกั้นสมาธิ คือความลังเลสงสัย ความฟุ้งซ่าน ความง่วงนอน พวกนี้มันจะกางกั้นสมาธิ สมาธิจะเข้าไม่ได้เพราะไอ้พวกนี้มันจะทำให้ฟุ้งซ่าน แล้วเวลาถ้าจิตมันสงบ ปฏิกิริยาที่จิตมันจะสงบขึ้นมามันจะเกิดปีติ เกิดปีติก็คือเกิดตัวกลวงๆ ร่างกายนี้กลวงหมดเลย บางทีมันจะว่างหมดเลย บางทีตัวมันจะขนพองเลย บางทีน้ำตาไหล นี่มันเกิดปีติ ไอ้นี่มีผลทางร่างกาย

แต่ถ้ามันมีผล ถ้าจะเห็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั่นอีกเรื่องหนึ่งเลย อีกเรื่องหนึ่งเลย กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมันต้องจิตสงบแล้วไปเห็นกายพิจารณากาย แต่ถ้ามีผลทางกายอย่างนี้ มีผลทางกายเรียกว่าปีติ คือมันมีปฏิกิริยา ความรู้สึกกับจิตมันมีปฏิกิริยาต่อกัน มีปฏิกิริยาต่อกันมันจะเป็นอย่างนั้น นี่พูดถึงว่าถ้ามันเป็นปีตินะ เพราะเป็นคำถามไง นี่เป็นคำตอบ

ฉะนั้น เวลาเขาถามไปเรื่อยว่า จิตมันไม่มีอาการอย่างนั้น มันไม่มีผลปฏิกิริยาทางกาย มันสงบเฉยๆ ขึ้นมา

สงบเฉยๆ ขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบได้มันก็สงบไง ถ้ามันสงบแล้ว ถ้าพูดถึงนะเป็นขณิกะ เป็นอุปจาระ ถ้าสงบก็สงบเฉยๆ แต่ถ้าเป็นจิตที่มันคึกมันคะนองสงบแล้วมันจะมีรับรู้ มีต่างๆ ไอ้นี่ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติเป็นท่านจะค่อยๆ บอกค่อยๆ แก้ ค่อยๆ แก้ไป แก้เพื่ออะไร แก้เพื่อให้จิตเราละเอียดเข้าไป

ไอ้นี่เหมือนว่าเราไปรู้ ที่รู้คือเป้าหมายใช่ไหม ที่เรารับทราบ แล้วเราจะผ่านไป ทำอย่างไร พอเราผ่านมา อู้ฮูปฏิบัติเก่ง โอ้โฮจิตมันมหัศจรรย์ มันติดไงมันติดแล้ว ทีนี้ไอ้เก่งๆ นั่นน่ะ เอ็งต้องทำต่อไปไง ทำต่อไป กำหนดพุทโธอีก ให้มันละเอียดเข้าไปๆ มันจะผ่านพวกนี้เข้าไปหมดน่ะ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์

เอกัคคตารมณ์คือจิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่น ความตั้งมั่นของมัน เดี๋ยวมันก็คลอนแคลน คลอนแคลนออกมาเป็นปกติ เรากำหนดเข้าไปใหม่ พุทโธเข้าไปใหม่ พุทโธเข้าไป จิตละเอียดเข้าไป เข้าออกๆ จนมันชำนาญ พอมันชำนาญ เราเข้าออกโดยชำนาญ เหมือนคนชำนาญ ทำอะไรก็ โอ้โฮคล่องไปหมดน่ะ คล่องก็เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎี ผู้ที่รื้อค้น เขาชำนาญมาก เขาอธิบายชับๆๆ เลย เพราะอะไร เพราะเขาทำจนชำนาญ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราก็ฝึกหัดจนชำนาญไง จากเริ่มต้นล้มลุกคลุกคลานทำอะไรไม่เป็น แต่พอเป็นปั๊บ มันก็เป็นนักวิทยาศาสตร์แล้ว ชำนาญมาก พอชำนาญมาก จิตจะเสื่อมอย่างไรให้เสื่อมไป กูไม่เสื่อม

คนอื่นเสื่อมแล้วเสื่อมตายเลยนะ เวลาเสื่อมแล้วเอาขึ้นไม่ได้หรอก แต่ผู้ชำนาญนะ เอ็งจะเสื่อม เสื่อมไป มันเป็นวิธีการทั้งนั้น ไม่ใช่เรา เพราะตัวเรามีสติปัญญาพร้อม เราเท่าทันตลอด เท่าทันตลอด ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เหตุมันสมควร เหตุมันสมดุล ทุกอย่างดีหมดเลย มันจะเสื่อมไปไหน ทุกอย่างดีหมดเลยร่างกายแข็งแรงหมด ทุกอย่างดีหมด มันจะป่วยไปได้อย่างไร ไม่ได้ นี่ไง ถ้าอย่างนี้ปั๊บมันตั้งมั่น

ตั้งมั่น ทีนี้ถ้ารำพึงไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันจะเห็นกายการเห็นกาย กายานุปัสสนา มันจะเริ่มต้นใช้วิปัสสนา จิตสงบแล้ว ถ้าจิตไม่สงบอย่างนี้ ไม่มีวิปัสสนา วิปัสสนึก มันนึกเอง นึกเอง จินตนาการเอง เป็นนักวิทยาศาสตร์โดยตัวตนแต่งตั้ง ไม่ใช่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สังคมรับรู้

จิตนี้กลั่นออกมาจากอริยสัจ อริยสัจนี้เป็นความจริง ถ้าใครทำได้เป็นความจริง เป็นวิทยาศาสตร์หมด แต่วิทยาศาสตร์ พุทธศาสน์ มันชัดเจนกว่านั้น เพราะว่าเวลาทำถึงที่สุดแล้วมันรู้จำเพาะตน รู้จากภายใน แล้วมันจะเป็นความจริงอันนั้น

ฉะนั้น เขาบอกว่า “เวลากำหนดพุทโธ ลมหายใจแล้ว ที่มันค่อยเปลี่ยนไปผลมันไม่เหมือนเดิมอีก

ไม่เหมือน ผลไม่เหมือนเดิม ทุกคนที่ว่าผลจะเหมือนเดิมๆ คนได้สมาธิแล้วเหมือนเรียนจบ เรียนจบได้กระดาษมาใบหนึ่ง บอกเรียนจบแล้วมีความรู้ ทำอะไรไม่เป็นน่ะ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เป็นสมาธิ คลายออกมาจบแล้วนะ เคยทำสมาธิได้หนหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ เคยได้เมื่อที่เคยได้ ตอนนี้ทุกข์น่าดูเลย ไม่อยู่กับเราหรอกมันเป็นอดีตไปแล้ว

ฉะนั้น เขาบอกว่ามันไม่เหมือนเดิมเลย

ไม่เหมือน ทำปัจจุบันนี้เลวกว่าเดิมก็ได้ เสมอเดิมก็ได้ ดีกว่าเดิมก็ได้ นี่ถ้าจิตมันเป็นไปนะ มันเป็นปัจจุบันตลอด มันต้องเป็นปัจจุบันไง

ไอ้สิ่งที่ตกค้าง มันเมาค้างน่ะ จะว่างงค้างก็ไม่ได้ เมาค้าง เมา ถ้าคนที่เมาแล้วนอนเฉยๆ เมาแล้วไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ก็ยังพอทนนะ คนเมาแล้วเที่ยวทำลายคนอื่นนะ เมาแล้วเที่ยวหาเรื่องเขา นั่นเวลาคนเมา เมาเสร็จแล้วนะเมาค้างขึ้นมายังปวดหัว นอนแล้วหัวทิ่มดินเลย ไอ้นั่นเมาค้าง ไอ้นี่ความสงสัยยังไม่ปฏิบัติก็เรื่องหนึ่ง ปฏิบัติมาแล้วเสร็จแล้ว เมาในอารมณ์ของตน เมาในกิเลสตัณหาความทะยานอยาก พอเลิกแล้วก็เมาค้างเลย “ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้” ไอ้นี่เขาเรียกว่าเมาค้าง ธรรมเมา ไม่ใช่ความจริง

ทั้งๆ ที่ตอนนั่ง ผมก็ไม่ได้คิดอะไร เว้นแต่วิธีที่เลือกปฏิบัติมุ่งมั่น แต่จริงๆแล้วจิตก็ฟุ้งซ่านกับวิธีการอ่านปฏิบัติมาหลายวิธี จิตมันเลยฟุ้งซ่านโลเลอยู่ลึกๆหรือเปล่าครับ

ใช่ จิตมันเมาค้าง ถ้ามันเมาค้างแล้วเราก็ต้องค่อยๆ ถ้าจะวิธีแก้นะ ค่อยๆกลับมาพุทโธใหม่ ค่อยๆ ปฏิบัติของเราใหม่ ทำของเราไป เราต้องพิสูจน์ไง นี่ไงศึกษามามากขนาดไหนเป็นปริยัติ แล้วปฏิบัติ การปฏิบัติจะวัดเลย วัดภูมิกันเลยวัดภูมิกันว่าเราจะจริงจังแค่ไหน เราจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ามันทำได้แล้วนะมันจะเป็นประโยชน์กับเรา

แล้วทำได้แล้วนะ ใครจะพูดอย่างไรเรื่องของเขา ดูสิ นรกสวรรค์มีหรือเปล่ามรรคผลมีหรือเปล่า ทุกคนถามทั้งนั้นน่ะ แล้วถ้ามี หลวงพ่อเอามาตั้งให้ดูสิ เอามาให้ดูสิ

เอามาให้ดูก็พระพุทธเจ้าไง เปิดโลกไง เวลาพระพุทธเจ้าเปิดโลก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีวาสนาทำอย่างนั้น แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมันต้องรู้แจ้ง ถ้าไม่รู้แจ้ง มันมีความสงสัย ถ้ารู้แจ้งก็รู้แจ้งในใจอันนั้นไง นี่รู้จำเพาะตนๆไง นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก รู้จำเพาะตน แล้วเราจะล้วงออกมาให้คนอื่นได้เห็นได้ดูมันจะล้วงออกมาด้วยวิธีการใดล่ะ

ถ้ามันจะล้วงออกมาให้ดูก็ล้วงด้วยการเทศนาว่าการ บันลือสีหนาทนี่ แล้วถ้าคนที่มีอำนาจวาสนานะ เขาลงใจมันก็ได้ประโยชน์กับเขา แต่ถ้ามันบันลือสีหนาทคือพูดไม่ได้จริง ไม่รู้จริงไม่เห็นจริง มันพูดด้วยความลังเลสงสัย คนพูดก็ยังงงนะคนพูดก็ยังไม่แน่ใจ ไอ้คนฟังมันจะแน่ใจหรือวะ

หลวงตาท่านบอก “ให้เชื่อเถิด นรกสวรรค์มี” หลวงตาท่านพูดประจำ “ให้เชื่อเถิด นรกสวรรค์มี มรรคผลมี ทุกอย่างในใจเรียบร้อย” แล้วปฏิบัติมา เราก็ขวนขวายกัน ถ้าใครปฏิบัติเท่าปฏิบัติทันท่าน ถ้าทันมันก็ไปเป็นอันเดียวกัน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นพระโสดาบันเท่านั้นเองนะ ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังภูมิใจมาก “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” หมายถึงว่ามีพยานบุคคลที่  แล้ว

เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าพูดอยู่องค์เดียว มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นพยานบุคคลว่าบรรลุธรรม เป็นสงฆ์องค์แรกของโลก นี่มันเหมือนหมด นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันปฏิบัติไปแล้ว เวลาผู้ที่รู้จริงเห็นจริงยืนยันมา ถ้ายืนยันมาแล้ว เราทำให้ได้จริงตามนั้น แล้วพอทำแล้ว คนที่พยายามนะ จิตใจที่ต่ำกว่า เราพยายามขวนขวายพยายามปีน ปีนเหยียบหัวกิเลสขึ้นไปสู่ธรรม เวลาเราปีนป่ายอยู่นี่ ไอ้คนที่อยู่ข้างบนท่านจะช่วยเรา แล้วใครจะช่วยล่ะ

หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านดึงขึ้นๆ จิตใจที่สูงกว่าพยายามดึงจิตใจที่ต่ำกว่า

ไอ้เราต่ำกว่าก็เถียงอยู่นั่นน่ะ อวดดีอวดเก่ง อวดรู้อวดเห็น ตายอยู่นั่นน่ะ ผู้ที่เขารู้ดีกว่าเขาพยายาม เฮ้ยเอ็งปล่อย เอ็งปล่อยทิฏฐิเอ็งน่ะ เอ็งปล่อยที่ว่าเอ็งเก่งๆ นั่นน่ะ เอ็งปล่อยที่ว่าเอ็งมีความสามารถนั่นน่ะ แล้วเอ็งใช้ปัญญาให้เป็นปัจจุบันน่ะ มันจะพัฒนาขึ้นมา พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด โอ้โฮ!

อันนี้พูดถึงว่า “มันเป็นความฟุ้งซ่านอยู่ลึกๆ

ไอ้นี่เราว่ามันเมาค้างเลยล่ะ ถ้าเมาค้างแล้ววางไว้ซะ วางไว้ แล้วทำโดยเป็นปัจจุบัน คำว่า “ปัจจุบัน” ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง แต่สติปัญญาสมบูรณ์ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง คือเราไม่คาดหมาย เราไม่คาดหมาย เราไม่ได้หวังผล แต่เราทำขึ้นมาด้วยความเป็นจริง

การหวังผลหรือการคาดหมาย “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” การดำริ การตรึกตรอง มารทั้งนั้นน่ะ ถ้ามารทั้งนั้น เราต้องทำทำไมล่ะ

เราต้องทำตอนนี้ มันเป็นมรรคน่ะ เพราะเรายังมีกิเลสอยู่

ไอ้ที่ว่า “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” เป็นการที่พระพุทธเจ้าเยาะเย้ยมาร อันนี้เราอ่านมาจากพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเยาะเย้ยมารนะ “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ดำริถึงเจ้า” คือเจ้าจะมาขี่เราไม่ได้อีกเลย ไอ้มารน่ะ นี่พระพุทธเจ้าเย้ยมารเลยนะ

แล้วตอนนี้เราดำริไง ดำริ เราก็มีความคิด มีความวิตกกังวล ทั้งนั้นน่ะ ถ้าเราทำของเรา เราทำโดยไม่คาดหวังสิ่งใด ไม่ให้กิเลส ไม่ให้มารมันแซงหน้าแซงหลังไง ให้มันชักจูงไปก่อนไง แล้วเราทำโดยปกติของเรา นี่วิธีแก้

เขาบอกว่า “หลวงพ่อ วิธีแก้เลย หลวงพ่อ ตบบ้องหูเลย” เพราะอะไร

ถ้าคำพูดอย่างนี้แสดงว่าเขาเองเขาก็อยากได้อยากดี เขาก็อยากได้คนที่แก้ไข เหมือนคนป่วยอยากเจอหมอดีๆ ที่รักษาเรา นี่ก็เหมือนกัน เราถึงบอกว่าเอ็งเมาค้างอยู่ สงสัยหรือเปล่า สงสัยลึกๆ

เราจะบอกว่า คนมีกิเลสมันก็มีความคาดหมายไปทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น เวลาเรามีการคาดหมายไป เราวางตรงนั้นแล้วเรากลับมาพุทโธดีกว่า กลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราพยายามขวนขวายของเรา แล้วเวลาเราไปพบเห็นสิ่งใดประสบสิ่งใด นี้คือประสบการณ์ การประพฤติปฏิบัติมันจะมีประสบการณ์ประสบการณ์ ถ้าไปเผชิญกับกิเลส กิเลสตัวดิบๆ นะ

หลวงตาท่านปฏิบัติใหม่ๆ อดอาหารน่ะ โอ้โฮจนน้ำตาไหลนะ “โอ้โฮมึงเอากูขนาดนี้เชียวหรือ” คือทำให้เรางงน่ะ กิเลสของเราแท้ๆ ทำให้เรามึนงงไปหมดเลย แล้วมันมืดแปดด้านจนนั่งร้องไห้ หลวงตาท่านพูดเอง “ปฏิบัติปีแรกนั่งร้องไห้เลย อู้ฮูมึงเล่นกูขนาดนี้เชียวนะ” ท่านบอกว่ามันก็เกิดทิฏฐิว่า “มึง ถ้าวันไหนกูเอามึงได้ กูจะเอาเต็มที่เลย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาที่มันยังดิบๆ อยู่ กิเลสมันยังใหม่ๆ อยู่นี่ เราไปไหนไม่ถูกเลยล่ะ แต่ถ้าเรายังมีความจริงจังอยู่นะ มีความจริงจัง เราปฏิบัติให้เป็นปัจจุบันปัจจุบันคือเสมอภาคกัน ไม่ให้ใครมาชักมานำ ไม่ให้ใครมาคาดหมาย ไอ้การคาดหมายนั่นน่ะตายหมดน่ะ กิเลสซ้อนกิเลส ตัณหาซ้อนตัณหา มันกำลังสองกำลังสาม กิเลสน่ะ

ขนาดไม่ต้อง เสมอกันเรายังสู้มันไม่ไหวเลย แล้วนี่มันเพิ่มกำลังสอง กำลังสาม แล้วไปสู้กับมัน ตายน่ะสิ ฉะนั้น ให้เป็นปัจจุบันนี้ ปัจจุบันแล้วค่อยๆ ฝึกกับมัน นี่พูดถึงว่าให้หลวงพ่อแก้นะ จบ

ถาม : เรื่อง “ผมมีคำถามสองข้อครับ เกี่ยวกับการชดใช้กรรมและเส้นทางชีวิต

ผมเพิ่งโดนแฟนทิ้งมาครับ เนื่องจากอยู่ไกลกัน แล้วเขามีคนใหม่ ทำให้ช่วงแรกๆ เจ็บปวดและทุกข์มาก ถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ ขอยานอนหลับมากินเลยครับ เป็นหนักมาก มันเหมือนโดนหักหลังจากคนที่เราไว้ใจที่สุด แต่ตอนนี้ผมดีขึ้นจนปกติแล้วครับ ซึ่งผมอยากถามหลวงพ่อว่าสิ่งที่ผมเจอเป็นกรรมเก่าของผมที่เคยได้ทำแบบนี้กับคนอื่นหรือเปล่า แล้วผมต้องชดใช้กรรมนี้อีกไหมครับ มันหมดแล้วหรือยังครับ

ขณะนี้ผมเป็นนักศึกษาปริญญาโท เรียนอยู่คณะแพทย์ศิริราชครับ (ไม่ใช่หมอครับปีหน้านี้ผมจะเรียนจบแล้ว แล้วผมมีเป้าหมายที่จะกลับไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน (จันทบุรีอยากทราบว่า ผมจะได้เป็นสิ่งที่ผมตั้งใจไว้ไหมครับ แล้วถ้าไม่ได้ ผมจะได้ทำงานที่ไหนครับ ใกล้หรือไกลจากบ้านครับ

ตอบ : โอ้โฮอันนี้เราต้องไปเป็นหมอดู เราจะตั้งสถาบันเป็นหมอดู

อันนี้เพียงแต่ว่าเวลาเราพูดถึงธรรมะๆ กัน ทีนี้เวลาคนสูงต่ำก็แล้วแต่ จิตใจเขาทุกข์เขายากเขาก็คิดถึงพระ เขาก็เขียนมาไง ถ้าเขาเขียนมา เห็นไหม “ผมโดนแฟนทิ้งครับ แล้วอย่างนี้เป็นกรรมเก่าหรือเปล่าครับ

ไม่ใช่กรรมเก่าหรอก กรรมเดี๋ยวนี้ ยังเจ็บอยู่ ยังไปหาหมออยู่นี่ไง สดๆร้อนๆ เลือดยังไหล เลือดยังไม่แห้งเลย มันจะเป็นกรรมเก่าตรงไหน กรรมใหม่นี่แหละ กรรมสดๆ ร้อนๆ นี่แหละ กรรมปัจจุบันนี่แหละ

ไอ้กรณีอย่างนี้มันมีมามาก ฉะนั้น เพียงแต่ว่า นี่ดีมากนะ ดีมากที่ว่าฟื้นมาแล้วไง ถ้าไม่ฟื้นขึ้นมานะ ทำให้ชีวิตเรา คนเรานะ ถ้าผิดหวังแล้วมันประชดชีวิตนะ ทำให้ชีวิตเราเสียหายไปเลย แต่ไม่ได้คิดถึงพ่อถึงแม่เลย พ่อแม่ส่งมาศึกษาส่งมาเล่าเรียน พ่อแม่ก็รอความหวังอยู่ ญาติพี่น้องก็รอความหวังอยู่ ไอ้เราคนเดียวพอไปเจ็บช้ำน้ำใจ ทำลายตัวเอง ไม่เห็นถึงคนรอบข้างเลย ทีนี้ฟื้นมาแล้วไง

มันเป็นกรรมเก่าหรือเปล่าครับ

ไม่ ใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ สดๆ ร้อนๆ เลย

มันต้องชดใช้กรรม มันเป็นกรรมเก่าหรือเปล่าครับ

กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน กรรมนี้เป็นอจินไตยนะ กรรมเป็นอจินไตยกรรมมันมีซับซ้อนมามาก แล้วไม่รู้ว่ามันจะให้ผลเราเมื่อใด

ฉะนั้นว่า อจินไตย  พุทธวิสัย พุทธวิสัยคือความสามารถของพระพุทธเจ้าพุทธวิสัย เรื่องกรรม เรื่องฌาน เรื่องโลก เป็นอจินไตย คือมันจะเรียงให้แบบว่าชัดๆ อย่างนี้ มันซ้อนกันจนเอามาเรียงไม่ได้เพราะข้อมูลมันมากเกินไป ข้อมูลมันมากจนเราสามารถจะอธิบายให้เราเข้าใจได้ยาก แต่มันให้ผลแน่นอน นี่พูดถึงเรื่องของกรรม เพราะกรรมนี้เป็นอจินไตย

ฉะนั้น “สิ่งที่ทำมาๆ มันเป็นกรรมเก่าหรือเปล่าครับ

มันต้องมีเวรมีกรรมต่อกัน คำว่า “เวรกรรมต่อกัน” นั้นมันเป็นเรื่องอดีต เห็นไหม อดีต ปัจจุบัน อนาคต ถ้าปัจจุบันดี พระพุทธเจ้าสอนตรงนี้ สอนให้สุคโต ถ้าเราอยากจะไปดี อยากจะไปสวรรค์ อยากจะไปอะไร ให้ปัจจุบันนี้สุคโต ถ้าปัจจุบันนี้มันทุกข์มันยาก เวลาไปมันจะไปไหนล่ะ

ฉะนั้น เวลาโดนแฟนทิ้งมันเจ็บไหม เจ็บ ถ้าเจ็บ เจ็บก็เจ็บปัจจุบันนี้ ปัจจุบันถ้าเรามีสติปัญญา ธรรมะมันจะมารักษาเรา ธรรมะไง เพราะอะไร มันอนิจจังน่ะเป็นแฟนเราจริงหรือ มันไม่ใช่แฟนเรา เขาถึงได้ทิ้งเราไป ถ้ามันอยู่กับเรา เออแฟนเราจริงๆ ถ้ามันใช่แฟนเราจริงๆ แต่นี่เขาทิ้งเราไป เขาทิ้งเราไปมันก็ไม่ใช่มันก็เป็นอนิจจังไง ธรรมะมันรักษาได้ไง ถ้าเรามีธรรมะรักษา

ฉะนั้น ถ้าเรารักษาของเรา รักษาแล้วเรายังภูมิใจ ภูมิใจว่าเราเป็นชาวพุทธไง เรามีสัจธรรม สัจธรรมรักษาหัวใจของเรา เราถึงคิดได้อย่างนี้ คิดได้อย่างนี้ว่ามันหมดกรรมเก่าของผมหรือยังครับ มันจะเกิดอย่างนี้อีกหรือไม่

มันอยู่ที่สติปัญญาของเราแล้ว อยู่ที่สติปัญญาของเรา อยู่ที่พฤติกรรมของเราถ้าเราเป็นคนดีนะ ทุกคนก็เห็นความดีของเราทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าเขาจะมีเวรมีกรรมต่อกัน เขาจะเห็นไปทางอื่นนั่นเรื่องของเขา นั่นเรื่องของเขา

เพราะว่ากรณีอย่างนี้ เวลาเป็นคู่เวรคู่กรรมนะ เวลาเจอครั้งแรก โอ้โฮมันช็อกไปเลยล่ะ มันต้องผูกพันมาก แต่ถ้าผูกพันมากปั๊บ เขาก็ต้องมีสามีภรรยาคนเดียวใช่ไหม พอพลาดจากคนนี้ไป ไปมีอีกคนหนึ่ง เพราะมันมี ภาษาเรานะ เพราะเวรกรรมเราเกิดมาไม่มีต้นไม่มีปลาย มันใช้ชีวิตมามากมันเลยเกี่ยวพันกันมามากแต่มันมีเบอร์หนึ่ง เบอร์สอง

ถ้าเบอร์หนึ่ง ทางวิทยาศาสตร์ ทางจิตวิทยาเขาเรียกว่าโรคช็อก เจอทีเดียวแล้วช็อกเลยนะ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย เจอที เอ๊อะตายเลย นั่นเบอร์หนึ่ง ถ้าเบอร์สอง เบอร์สาม นั่นอีกเรื่องหนึ่ง นี่เบอร์หนึ่ง

นี่เวรกรรม ที่บอกว่าเวลาศีล  เราต้องเป็นคู่ครองกัน เราไม่ผิดคู่ครองของใคร เรื่องศีลเรื่องธรรม เพื่อจะให้อยู่ในศีลในธรรม หลวงตาท่านใช้คำว่า “ไฟในเตา” คือในเมื่อเรายังเป็นปุถุชนอยู่ มีความปรารถนาเรื่องธรรมชาติของจิตธรรมชาติของความคิด เราก็ต้องให้อยู่ในศีลในธรรม ฉะนั้น ถ้าได้เบอร์หนึ่งก็ต้องเบอร์หนึ่งตลอดไป ถ้าได้เบอร์สองก็เบอร์สองตลอดไป พูดถึงภาษาเรา มันก็อยู่ที่ภพชาติ นี่พูดถึงว่า กรรมเก่ากรรมใหม่นะ พูดไป พูดไปพูดมา คนพูดติดขัดไปไม่ได้ ขยายเรื่องกรรมไง

ขณะที่ผมศึกษาอยู่ ถ้าผมจบแล้วผมอยากกลับไปทำงานที่บ้าน แล้วจะได้ทำงานไกลบ้านหรือไม่

อันนี้มันอยู่ที่หน้าที่การงานไง เราก็ปรารถนาอย่างนั้น เราก็กลับไปทำงานที่บ้าน ถ้ากลับไปทำงานที่บ้าน เราก็ไปอยู่กับครอบครัว ถ้ามันไม่ได้ เราก็อยู่ของเราไป มันต้องอยู่ที่ความวิริยอุตสาหะ อยู่ที่ความพยายามของเรา

ทางโลกเขาสอนถึงความพยายามใช่ไหม ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น นี่เราก็พยายามของเรา ถ้าไม่ได้ใกล้บ้าน เราก็อยู่แถวนั้นก่อนก็ได้เรามีงานทำของเรานะ

พ่อแม่ปรารถนาตรงนี้ พ่อแม่นะ ปรารถนาให้ลูกมีความสุขเท่านั้นน่ะ พ่อแม่ไม่ต้องการปรารถนาอะไรเลย ถ้าลูกของเรามีความสุข ลูกของเราอยู่กับโลกได้นะพ่อแม่ชื่นใจมากเลย พ่อแม่ไม่ต้องการทรัพย์สินจากลูกๆ นะ พ่อแม่ต้องการแค่ความระลึกถึงเท่านั้นน่ะ ถ้ากลับบ้านกอดพ่อแม่ทีเดียวเท่านั้นน่ะ พ่อแม่ชื่นใจกลับบ้านแล้วกอดพ่อแม่ ถ้ากลับบ้านไปอ้อนนะ คิดถึงแม่จังเลย โอ้โฮแม่ยิ้มแป้นเลย แค่นี้ แค่บอกว่าระลึกถึงนะ โอ้โฮพ่อแม่หวังตรงนี้นะ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องต่างๆ นั่นมันก็เป็นวิธีการอีกอันหนึ่ง

ฉะนั้น ถ้าพ่อแม่คิดอย่างนี้ อยากกลับบ้าน อยากไปอยู่กับพ่อกับแม่ อยู่กับครอบครัว ทุกคนก็ปรารถนาอย่างนั้น สัตว์โลกคิดอย่างนั้นนะ แต่ในเมื่อเรื่องของโลกเขาต้องแสวงหา ต้องมีต่างๆ เขาก็ขวนขวายของเขา ความคิดคนมันแตกต่างหลากหลายกัน

ถ้าเราเป็นคนคิดที่ดี ความปรารถนาที่ดี เรามีคุณธรรมในใจ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี รักษาหัวใจของเรา ดูแลหัวใจของเราให้มันชุ่มชื่น ที่นี่สำคัญที่สุด สิ่งอื่นนั้นมันเป็นเรื่องของชีวิต สิ่งอื่นนั้นเป็นส่วนประกอบ สิ่งจริงๆ แล้วความสุขจริงแท้ของเรา ความสุขจริงๆ แท้ๆ หาที่นี่

ธรรมะสอนที่นี่นะ ธรรมะสอนให้ประหยัดมัธยัสถ์ รู้คุณคน รู้คุณพ่อ รู้คุณแม่รู้คุณที่นี่ มีความสุขที่นี่ ไอ้เรื่องนั้นเป็นเรื่องปลีกย่อยมาทีหลัง เอวัง