เทศน์บนศาลา

กิเลสหรือธรรมจูง

๒๙ ม.ค. ๒๕๔๙

 

กิเลสหรือธรรมจูง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๙
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมนะ ตั้งใจเลย เรามีวาสนามาก เพราะเราเกิดมาพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยธรรมวินัย แต่ถ้าเราเจอสมัยพุทธกาล เราเกิดมาเราเจอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์จริง เวลาฟังเทศน์ เวลาท่านสั่งสอนขึ้นมา อันนี้คือวาสนาไง เหมือนกับโลกมืดตลอดเวลา สิ่งที่มืดอยู่แล้วมันสว่างขึ้นมา

ในปัจจุบันเรามีมืดกับสว่าง เรามีสิ่งเปรียบเทียบใช่ไหม แต่หัวใจของเรามันมืดบอดตลอดเวลานะ ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันเกิดเป็นวรรคเป็นตอนไง อย่างเช่น สมณโคดมของเรา ๕,๐๐๐ ปี วางธรรมไว้ ๕,๐๐๐ ปี ๕,๐๐๐ ปีตรงไหน

ดูปัจจุบันนี้กึ่งพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ในพระไตรปิฎกนะว่ากึ่งพุทธกาลศาสนาพุทธเราจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญไง เจริญที่ไหน? เจริญในธรรม ในหัวใจของครูบาอาจารย์ของเราไง ถ้าเจริญในใจของครูบาอาจารย์ของเรา นี่มันเปิดใจไง

ถ้าหัวใจสว่าง มองเห็นสัตว์โลกมันเป็นเรื่องที่น่าสลดสังเวชนะ การเกิดและการตาย เรามืดบอด เกิดตาย เกิดตายมาตลอด เราก็ปฏิเสธนะ จนปัจจุบันนี้ถ้าพูดถึงการเกิดและการตายจะไม่เชื่อกันนะ ว่าตายสูญไง “สิ่งนี้ไม่มีหรอก ตายแล้วก็แล้วกัน เกิดมาจะหาความสุขใส่ตัวขนาดไหนก็ได้” ถ้าคิดอย่างนี้นี่กิเลสมันจูงไป จูงตั้งแต่การเกิดและการตายนะ ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้สิ่งนี้ คนตาบอดด้วยกันก็จูงคนตาบอดไปด้วยกันนะ

เจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนกับเจ้าลัทธิต่างๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็ปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ แต่เวลาออกประพฤติปฏิบัติก็ไปประพฤติปฏิบัติกับเจ้าลัทธิต่างๆ เพราะอะไร เพราะมีครูบาอาจารย์อยู่แล้ว เขาศึกษามาแล้วก็เชื่อเขา ก็ไปทำกับเขา แต่ในเมื่อทำกับเขาไปแล้ว มันเป็นอิสระชั่วคราว ถ้าทำความสงบของใจเข้ามาได้นี่มันเป็นอิสระชั่วคราว แต่มันไม่สามารถชำระกิเลสได้หรอก สิ่งที่ชำระกิเลส มันจะต้องมีสัจจะความจริง เป็นสันทิฏฐิโกในใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ในเมื่อใจประพฤติปฏิบัติขนาดไหน มันไม่ใช่สภาวะแบบนั้น

สิ่งที่ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ สิ่งนี้ว่า เวลาที่ว่ามันจะสว่างขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพิสูจน์มาแล้ว เวลาบุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนไปอดีตชาติ สิ่งนี้เกิดตาย เกิดตาย มามหาศาล สิ่งที่เกิดมหาศาล เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับไป เป็นพระเวสสันดร เป็นสิ่งต่างๆ อย่างนี้ นี่คือการสร้างสมบุญญาธิการ การสร้างบารมีมาไง สร้างบารมีให้หัวใจมันควรแก่การเปิดให้หัวใจให้สว่างขึ้นมาในหัวใจ แต่ขณะที่เราเกิดมา เราพบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันที่สว่างอยู่แล้ว แล้วเราทำไมยังให้กิเลสมันจูงไปล่ะ

ธรรมในใจของครูบาอาจารย์เรา ธรรมในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นสัตว์เกิด สัตว์ตาย เหมือนกิเลสจูงไป เหมือนกับเราจูงสัตว์ เราจูงสัตว์ไป สัตว์มันรู้อะไรกับเรา สัญชาติญาณของมันอย่างนั้น

นี่กิเลสเหมือนกับเจ้าของสัตว์จูงสัตว์ไป เหมือนนะ แต่ความจริงมันเป็นอันเดียวกัน อันเดียวกันคือว่ามันเป็นอวิชชาไง มันเบียดเบียนหัวใจของสัตว์โลกดวงนั้น สัตว์โลกตัวนั้นก็ต้องเกิดต้องตายไปตามอำนาจของสัตว์โลกนั้น ก็ยังปฏิเสธกันไงว่าตายสูญ ถ้าตายสูญ ทำไมจริตนิสัยของคนต่างกัน ตายสูญทำไมเวลาสิ่งที่เชาวน์ปัญญาของหัวใจมันต่างกัน ต่างกันเพราะการสร้างสมมาไง

เราทำคุณงามความดี ถ้าทำคุณงามความดีจนเป็นนิสัย สิ่งที่นิสัย สิ่งใดเกิดขึ้นมันจะโต้แย้ง ขัดแย้ง ในหัวใจของเรา สิ่งที่เราทำจนเคยชินไง เราเอารัดเอาเปรียบเขา เรามีสิ่งต่างๆ ในหัวใจ กิเลสในหัวใจเราก็... นี่มันเบียดเบียนตนเองก่อนนะ

คำว่า “ฉลาด” ใครว่าฉลาดก็แล้วแต่ คนนั้นเป็นคนโง่ คนโง่เพราะอะไร เพราะมันทำลายโอกาสของใจดวงนี้ไง การที่ทำข้อวัตรปฏิบัติ การที่เราทำคุณงามความดีของเรา สิ่งนี้มันสร้างสมบุญญาธิการทั้งนั้นล่ะ มันเป็นการเปิดหัวใจให้กว้างขึ้นไง ใครได้ธรรมมากขนาดไหน อันนั้นมันเป็นการซักฟอกใจ แต่ถ้าเราว่าเราทำแล้วเราเป็นฝ่ายเสียเปรียบเขา เราจะเอารัดเอาเปรียบเขา...สิ่งที่เอารัดเอาเปรียบ มันไปกว้านมาไง กว้านเอาความมืดบอดมาใส่หัวใจ นี่กิเลสมันจูงไปไง

แต่ถ้าธรรมจูงล่ะ ธรรมจูงไป เราจะเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ต้องเชื่อครูบาอาจารย์หรอก เพราะครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติมาก็ต้องค้นคว้าสิ่งนี้ขึ้นมา เพราะอะไร เพราะธรรมและวินัยนี้มีอยู่แล้วไง ใครจะโต้แย้งอย่างไร มันมีธรรมวินัยเป็นเครื่องพิสูจน์ เห็นไหม

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ การประพฤติปฏิบัตินี้ไม่ใช่เพื่อแก้ความเห็นของใคร ไม่ใช่เพื่อไปปฏิบัติแล้วจะไปสั่งสอนใคร ไม่ต้องคิดเลย แก้ใจของตัวนี้ให้ได้ก่อน พรหมจรรย์นี้เพื่อเรานะ พรหมจรรย์นี้เพื่อความมักน้อย เพื่อความสันโดษ ทำสิ่งใดเป็นการมักน้อยสันโดษ นั้นเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ธรรมที่เป็นความมักมาก อยากใหญ่ อยากโต อยากไปกดขี่ข่มเหงคนอื่น สิ่งนั้นไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย นี่ตัดสินกันง่ายๆ เลย นี้คือธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถ้าเราประพฤติปฏิบัติ ธรรมจะจูงเราไปนะ ถ้าธรรมจูงเราไป มันจะมีศรัทธามีความเชื่อ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ไว้ ตอนจะปรินิพพาน “อานนท์ บอกบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกานะ ให้ปฏิบัติบูชาเรา” ขณะที่โลกเขาเป็นอย่างนั้น ความเชื่อสิ่งนี้ก็ยังไม่เชื่อเลย ขณะที่เชื่อแล้ว คนเรามันอยากให้กิเลสจูงไง มันอยากจะสะดวก อยากสบาย อยากจะอ้อนวอนเอา การที่ว่า “ทำบุญกุศล สิ่งนี้ก็เป็นบุญกุศลแล้ว เป็นชาวพุทธ ชาวพุทธให้ปล่อยวาง” ปล่อยวางก็ปล่อยวางเหมือนกับสิ่งที่เป็นขยะลอยอยู่บนแม่น้ำไง มันปล่อยวางสภาวะแบบนั้น มันเข้าใจว่าปล่อยวาง นี่กิเลสมันจูงไปนะ

“แล้วผู้ที่ไปประพฤติปฏิบัติทำไมต้องทำตนให้ลำบากเปล่า ทำไมต้องทรมานตนขนาดนั้น” นี่คนตาบอดกับคนตาดีต่างกันตรงนี้ไง คนตาบอดมันตาบอดนะ มันอยู่ตามสบายของมัน มันเป็นสวะลอยไปในน้ำ มันก็ว่ามันมีความสุขนะ

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า สัตว์ที่เกิดในหลุมมูตรหลุมคูถ มันบอกว่ามันมีความสะดวกมาก ขณะที่ว่าอาหารเขามาให้มันเลย เราเกิดมาแล้ว เราต้องทำมาหากิน เราต้องมีอาชีพของเรา...นี่คนตาบอดมันคิดไปประสามัน ชาติสกุลของตัวเองจะขนาดไหนก็ไม่ยอมรับ สิ่งที่เกิดขึ้นมาเกิดมาจากกรรมนะ เวลาเราเกิดเราตายใครปฏิเสธได้ จิตนี้ไม่เคยตายนะ จิตนี้เวียนไปในวัฏฏะ

สิ่งที่เป็นวัฏฏะ เป็นสถานะที่รองรับการสูงและต่ำของจิตนี้ จิตนี้ถ้าเราทำคุณงามความดีไว้ ทำคุณงามสร้างสมบุญญาธิการไว้ เวลาสิ้นใจจากปัจจุบันนี้ ลมหายใจเข้าและลมหายใจขาดออก มันจะต้องไปตามสถานะของมัน สถานะของมัน นี่สันตติเกิดดับ เกิดดับในหัวใจ สิ่งที่เกิดดับ พลังงานตัวนี้มันเกิดดับตลอดเวลา สิ่งที่เกิดดับตลอดเวลา สภาวะกรรม ถ้าเราทำคุณงามความดีไว้ ขณะที่มันเกิดดับ ขณะที่เราจะตายไป ถ้ามันคิดถึงสิ่งที่มันกระทำ สิ่งที่ฝังใจ

ภิกษุในสมัยพุทธกาล นั่งเรือไปแล้วเอามือราน้ำไว้ แล้วไปทำเอาสิ่งที่ตะไคร่น้ำขาดมาเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฝังใจตรงนั้น แล้วเกิดตายลง เพราะไม่ได้ปลงอาบัติ เกิดเป็นตะเข้อยู่ในแม่น้ำนั้น เห็นไหม นี่เป็นภิกษุนะ เป็นภิกษุทำคุณงามความดี คุณงามความดีอยู่ในศีลในธรรม ประพฤติปฏิบัติ แต่จิตมันไปข้องเกี่ยว สันตติ การเกิดและการดับในหัวใจ อาการของใจไง

สิ่งที่อาการของใจไม่ใช่ใจ อาการขับเคลื่อนไปของใจ ใจดวงนี้มันเกิดตาย เกิดตายในวัฏฏะ วัฏฏะมันเป็นสิ่งที่รองรับตรงนี้ไง ถ้าทำคุณงามความดีก็ไปเกิดในสถานะที่เบา เห็นไหม กายทิพย์ ถ้าทำบาปอกุศล เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นเปรต เป็นผี สิ่งที่เกิดนี่วัฏฏะมันรองรับสภาวะแบบนี้ นี่คือวัฏฏะ แล้วหัวใจล่ะ หัวใจ มนุสสเปโต มนุสสติรัจฉาโน มนุสสเทโว

ขณะที่มันเกิดดับในปัจจุบันนี้ใครเป็นคนสอน? องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนในปัจจุบันนี้ ในปัจจุบันนี้หัวใจของเรามันคิดอะไร ถ้ามันคิดเบียดเบียนเขา คิดเห็นแก่ตัว คิดเหยียบย่ำตัวเอง เห็นไหม ดูสัตว์นะ สัตว์ เวลามันเป็นสัตว์ของมัน เวลาเป็นสัตว์มันเอารัดเอาเปรียบกัน มันคิดอะไร? มันไม่เคยคิดอะไรเลย มันจะทำตามความปรารถนาของมัน นี่มนุสสติรัจฉาโน มันอย่างนี้ไง มันคิดของมันเอง มันทำลายตัวของมันเอง แล้วมันไม่คิดว่าสิ่งนั้นเป็นการทำลายตัวของมันเอง นี่ใครทำ? หัวใจของเรานะ เวลามันเป็นสภาวะแบบนั้น เราต้องเตือนมัน

กิเลสนะ ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ เวลาเราทำมันนี่มันอายนะ ความคิดที่เราคิด คิดทำลายตัวเอง เวลาสติมันทันขึ้นมา เราอายไหม แล้วเวลาที่มันไม่มีสติ มันเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาอย่างใดล่ะ ทำไมมันเกิดขึ้นมา ทำไมมันทำไป เห็นไหม กิเลสในใจเราร้ายกาจมาก กิเลสในหัวใจของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเห็นสิ่งนี้ แล้วสอนสิ่งนี้ไว้ให้เรามีศรัทธามีความเชื่อไง

ถ้าธรรมจูงไปจากหัวใจของเรา เกิดจากการกระทำของเรา เกิดจากความคิดของเรา เกิดจากความคิดนะ แล้วความคิดมันเกิดดับ ในการประพฤติปฏิบัติของสัตว์โลก หรือของมนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ต่างๆ มันมีเวลาของมันนะ เวลาที่มันมีความศรัทธา มีความเชื่อ มีอารมณ์ความรู้สึก มันก็มีความมุมานะ มีความเข้มแข็ง เวลามันทดท้อ เวลามันทำไปแล้วมันไม่สมประโยชน์ของเขา ทำความสงบของใจก็ไม่ได้ดั่งใจ สิ่งนี้ทำให้ท้อใจ สิ่งที่ท้อใจเกิดจากอะไรล่ะ? เกิดจากสิ่งที่มันหมักหมมอยู่ในหัวใจ เราถึงต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ

ในการประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในอิริยาบถ ๔ เลย ยืน เดิน นั่ง นอน นอนนี่มีผู้ปฏิบัติได้นะ แต่เราถ้าไม่มีสติ เราไม่ควรทำ เราควรยืน เดิน นั่ง สิ่งที่นั่ง นี่ย้อนกลับมาดูใจ สิ่งที่เป็นงานของเรา ถ้าเราจะให้ธรรมจูงเรา เราต้องจูงเราเข้ามาที่การประพฤติปฏิบัติ อย่าให้จูงออกนอกลู่นอกทาง สัตว์เวลาเจ้าของจูงไป เขาจูงไปเพื่อความดีของเขา

นี่ก็เหมือนกัน ให้ธรรมจูงไป เวลาเขาออกกำลังกายกันตอนเช้า เขาจะมีจูงสัตว์ของเขาไป เขารักของเขา เขาทำของเขา เขาอยู่กันเป็นเพื่อน อยู่กันโดยความสุขของเขา เวลาธรรมมันจูงเรา มันจะมีความสุขอย่างนั้น เวลาสิ่งที่เขาจูงไป พวกที่ว่าเขามีอาชีพฆ่าสัตว์ เขาจูงไป สัตว์ของเขาเขาจูงไปฆ่า จูงไปทำเป็นอาชีพของเขา สัตว์มันไม่รู้นะ เวลากิเลสจูงมันเป็นอย่างนั้น มันทำให้เราไปตกทุกข์ได้ยาก เราก็ว่าสิ่งที่เราคิด ความคิดนี่เป็นเรา เราคิดสิ่งนี้ เราไปรักตัวเราเอง สิ่งที่เราคิดจะเป็นความดี เห็นไหม เพราะอะไร เพราะไม่มีครูมีอาจารย์คอยชี้นำไง

ถ้ามีครูมีอาจารย์คอยชี้นำนะ คนที่หูตาสว่างเป็นผู้ที่ชี้นำเรา สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับเรา ถึงสัปปายะ ๔ ต้องมีครูบาอาจารย์อันดับหนึ่ง หมู่คณะเป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ ที่อยู่เป็นสัปปายะ นี่ครูบาอาจารย์นี้สำคัญมาก แล้วตอนนี้ศาสนาเจริญอีกหนหนึ่งในพระไตรปิฎกนะ พระไตรปิฎกว่าไว้อย่างนั้น กึ่งพุทธกาล ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง

แล้วในปัจจุบันนี้ครูบาอาจารย์ของเรา สิ่งที่เปิดใจของครูบาอาจารย์เรามานี่ มันมาจากไหนล่ะ? มันมาจากสันทิฏฐิโกในใจดวงนั้น ถ้าในใจดวงนั้นไม่สันทิฏฐิโก ไม่มีความรู้สภาวะแบบนั้น เวลาประพฤติปฏิบัติในหมู่คณะนะ “สิ่งที่เราตีความหมายในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วการประพฤติปฏิบัติถ้าเกิดความอยากอย่างนี้ สิ่งนี้จะเป็นกิเลสถ้าปฏิบัติโดยกิเลส” นี่สิ่งที่กิเลสมันจูงมันก็ยังไม่รู้ มันว่าเป็นกิเลส

ในกิเลสก็มีธรรม ในธรรมก็มีกิเลสถ้าในการประพฤติปฏิบัติ ในการประพฤติปฏิบัติระหว่างก้าวเดิน สิ่งที่ระหว่างก้าวเดิน เห็นไหม ในกิเลสก็มีธรรม ในธรรมก็มีกิเลส สภาวะแบบนี้เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เกิดและตายตามสภาวะของกรรม แต่มันมีสถานะของใจไง ใจตัวนี้ ตัวที่มันรับสภาวะ ใจตัวนี้มันไม่เคยตาย แต่มันโดนอวิชชาครอบงำมันไว้

แต่ถ้าเป็นวิชชา วิชชากับวิชชานี่มันเป็นการกระทำ สิ่งที่การกระทำสิ่งนี้ ถ้ามันเป็นความอยาก เราอยากพ้นทุกข์ ถ้าผู้ที่กิเลสจูงไปนะ เวลาเราทำบุญกุศล ทำบุญกุศลแล้วปรารถนานิพพานก็ไม่ได้ ทำบุญกุศลต่างๆ ปรารถนาสิ่งที่เป็นสมบัติของเรา บอกว่า “สิ่งนั้นค้ากำไรเกินควร” นี่กิเลสมันจูงไปนะ

ถ้าเราไม่ตั้งเป้าหมายเป็นอธิษฐานบารมี เวลาพระโพธิสัตว์จะปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องตั้งเป้าหมายไว้ เราตั้งเป้าหมายของเรา แล้วเราพยายามทำของเรา นั้นคือการสร้างสมบุญญาธิการของพระโพธิสัตว์ แต่ในปัจจุบันนี้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ต่อหน้าเรา เหมือนปัจจุบันนี้มันเป็นเวลาของสิ่งที่สว่างอยู่ สว่างคือเราเห็นสิ่งต่าง ๆ เห็นสภาวะต่างๆ ที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่ก็ให้กิเลสมันจูงไปไง

แต่ถ้ามันเป็นธรรมจูงไป เราเห็นอยู่ เรารู้อยู่ เราสัมผัสได้อยู่ แต่ขณะที่ทำขึ้นมา มันไม่เข้ามาเพราะอะไร เพราะมันไม่มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่เป็นกลางในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง มันเป็นสิ่งที่กิเลสจูงไป กิเลสมันคาดมันหมาย มันปฏิเสธไง สิ่งสภาวะแบบนั้น เวลาประพฤติปฏิบัติก็อยากไม่ได้

อยากในเหตุได้ อยากในเหตุ ถ้าเราไม่อยากประพฤติปฏิบัติ เราไม่ตั้งสัจจะของเรา คนจะตั้งสัจจะ เนสัชชิกไม่นอนทั้งคืนเลย นั่งภาวนาตลอดรุ่ง ทำอย่างนี้ได้ ถ้าทำอย่างนี้ได้ ถ้าเราตั้งสัจจะอย่างนี้เป็นกิเลส ถ้าเป็นกิเลสแล้วเราไม่มีความมุมานะ มันจะเป็นความเพียรชอบมาจากไหน

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความเพียรชอบใช่ไหม ถ้าเพียรชอบเพื่ออะไร? เพียรชอบเพื่อการชำระกิเลส เพียรชอบเพื่อฆ่ากิเลส สิ่งที่ฆ่ากิเลส เราจะไปฆ่ากิเลสที่ไหน ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าต้องกลับมาฆ่าที่ในหัวใจของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคนที่ชี้ทาง วางธรรมไว้เท่านั้น

เราเป็นผู้ที่ปฏิบัติ เราจะปฏิบัติถึงครึ่งทางก็ได้ เราจะปฏิบัติถึงเป้าหมายก็ได้ ถ้าเราปฏิบัติถึงเป้าหมายได้ เรามีสิทธิ ทำไมเราทำบุญกุศลแล้วเราจะอธิษฐานไม่ได้? อธิษฐานได้ แต่ถ้ากิเลสมันจูงไป ในโลกกับวิทยาศาสตร์ “สิ่งนี้ก็ทำไม่ได้ สิ่งใดเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว”

ในเมื่อเราเห็นแก่ธรรม ไม่ได้เห็นแก่ตัว ถ้าเห็นแก่ตัว เห็นไหม เห็นแก่ตัวก็เบียดเบียนเขา ทำลายเขา เห็นแก่ธรรมคือเราชำระกิเลสของเรา เราตั้งสัจจะ เราจะควบคุมตัวของเรา เราจะเห็นแก่ตัวที่ไหน เราจะไปทำลายใคร ถ้าคิดแต่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เจ้าชายสิทธัตถะออกจากราชวังมา เจ้าชายสิทธัตถะต้องสละราชบัลลังก์มา ออกมาประพฤติปฏิบัติ

พระเจ้าสุทโธทนะเสียใจมาก นางพิมพาเสียใจมาก เสียใจมากเพราะอะไร เพราะครอบครัว สิ่งที่สละออกไป สละออกไปเพื่อจะไปหาโมกขธรรมกลับมา สิ่งที่การกระทำมันต้องสละออกไปก่อน มันต้องแยกออกมาจากสังคม เพราะอยู่ในสังคมเป็นการคลุกเคล้ากัน คลุกคลีกัน เวลาครูบาอาจารย์เราสอนไม่ให้คุยกัน ไม่ให้หมู่คณะคลุกคลีกัน ต้องแยกออกจากหมู่ นี่มันเป็นความสงัดไง สถานที่สงัด หัวใจมันก็สงัดเข้ามา สงัดเข้ามาเพื่ออะไร? เพื่อค้นคว้าหาเรา

นี่ก็เหมือนกัน เจ้าชายสิทธัตถะสละออกมาจนบรรลุธรรม จนบรรลุเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกลับไปเอาได้หมด นางพิมพาก็สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน สามเณรราหุลก็เหมือนกัน พระเจ้าสุทโธทนะก็เหมือนกัน แม้แต่แม่ก็ยังไปเอานะ นี่เป็นผู้ที่สอน สตฺถา เทวมนุสฺสานํ สอนได้ทั้งหมด ทั้งเทวดา ทั้งอินทร์ ทั้งพรหม สอนได้หมดเลย ถ้าไม่แยกออกมาจะไปสอนที่ไหน

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราจะออกประพฤติปฏิบัติ เราจะเห็นแก่ตัวที่ไหน เราเป็นคนเห็นแก่ตัว สิ่งที่ไปแบกหมู่คณะ แบกสิ่งนั้นมันไม่ใช่หน้าที่ของเรา มันเป็นหน้าที่ของครูบาอาจารย์ หน้าที่ของเราต้องรักษาหัวใจของเรา รักษาเพื่ออะไร? ศีล สมาธิ ปัญญาไง ในเมื่อมีการปฏิเสธ สิ่งที่ปฏิเสธ ในการให้กิเลสมันจูงไป “ในการประพฤติปฏิบัติต้องให้ใช้ปัญญาไปเลย” ปัญญาขนาดไหน ที่ใช้ไปเลยนี่เป็นปัญญาอบรมสมาธิ

สิ่งที่เป็นปัญญาอบรมสมาธิเพราะอะไร เพราะว่าสิ่งนี้เป็นโลกียปัญญา โลกียปัญญาคิดออกมาจากกิเลสไง สิ่งที่กิเลสในหัวใจอยู่นี่ เราโดนกิเลสครอบงำอยู่อย่างนี้ แล้วเราจะไปพิจารณา ไปฆ่ากิเลส เหมือนกับเราจะทำลายตัวเราเอง เป็นไปได้อย่างไร เราจะไม่ทำร้ายตัวเราเองหรอก โดยสิ่งที่ทำให้เราเป็นบาดแผล สิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวด ยกเว้นแต่คนเสียสติ

นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อหัวใจมันมีกิเลสอยู่ ความคิดเกิดจากมัน เป็นโลกียปัญญา มันจะไปชำระกิเลสที่ไหน แต่เพราะความหลงผิดไง แต่เพราะการว่าเราหลงผิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า การประพฤติปฏิบัติ การชำระกิเลสต้องชำระด้วยปัญญา

ปัญญาจริงๆ ปัญญาโดยภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาโดยสุตมยปัญญา สิ่งที่สุตมยปัญญา เราคิดใคร่ครวญไปขนาดไหนแล้วแต่ มันจะปล่อยวาง ถ้าปล่อยวางนะ สิ่งที่สิ้นสุดกระบวนการของมันก็คือสมถะ สิ่งที่เป็นสมถะ ทั้งๆ ที่การประพฤติปฏิบัติ การกระทำของตัวนี่เป็นสมถะ แต่กิเลสมันจูงไปว่า “นี่เป็นวิปัสสนา แล้วถ้าเกิดเราทำไปโดยทำความสงบของใจเข้ามาก่อน สิ่งนั้นจะไม่เกิดปัญญา”

สิ่งที่ไม่เกิดปัญญามันจะกลายเป็นปัญญา เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเกิดสมาธิขึ้นมามันจะย้อนกลับไปให้เกิดภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาเป็นโลกุตตรปัญญา โลกุตตรปัญญาจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีความสงบของใจเข้ามาก่อน คือไม่ใช่มีตัวตนให้กิเลสมันจูงไป

ถ้ามีตัวตน มีเราอยู่ กิเลสจูงไป ถ้ากิเลสจูงไปมันก็จูงไปตามแต่ความมืดบอด เหมือนกับเขาเลิกทาสนะ มนุษย์เรานี่นะ ถ้าเป็นทาสเขา เราจะไม่เป็นอิสระของเราเพราะอะไร เพราะมีกฎหมายไง สังคมเขายอมรับกันเรื่องทาส เราเกิดมาเป็นลูกของทาส เราก็จะเป็นทาสต่อไป ถ้าเป็นทาสต่อไปมันก็มีกฎของเขาให้เราต้องทำงานเพื่อเขา ทุกๆ อย่างเป็นเพื่อเขา แต่ถ้าพอเขาเลิกทาสแล้วนี่เป็นอิสระทุกคน ทุกคนต้องหาอยู่หากินของตัวเองขึ้นมาเพื่อดำรงชีวิตของเราขึ้นมา

จิตที่มันพิจารณาไปอย่างนั้น ถ้ามันทำความสงบของใจเข้ามา มันจะเลิกทาส มันจะไม่เป็นทาสของอารมณ์ ถ้าเป็นไม่เป็นทาสของอารมณ์ เราเป็นอิสรภาพขึ้นมา ถ้าเราเป็นอิสรภาพขึ้นมา เราทำอะไรสิ่งใดขึ้นมาก็เป็นสมบัติของเราใช่ไหม แต่มันเป็นทาสที่ไม่ยอมรับ เขาเลิกทาสแล้วมันก็ไม่ยอมไง มันจะยอมจำนนกับกิเลสตลอดไปไง นี่มันโง่ขนาดนั้นนะ

กิเลสของเรามันอยู่ในหัวใจ มันโง่ขนาดที่ว่า ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นความเสมอภาพ ทำความสงบของใจเข้ามา มันก็ยังโง่ให้กิเลสมันจูงไปว่า สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ให้เป็นอิสรภาพกับใจนี้ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์เพราะมันถึงไปหมักหมมอยู่ในโลกียปัญญาไง นี่ความหลงของจิต การประพฤติปฏิบัติมันจะไปติดอย่างนั้น

ถ้าติดอย่างนั้น มันก็อยู่ที่วาสนา ถ้าวาสนาของคนนะ ทำซ้ำทำซากอยู่อย่างนั้นแล้วมันไม่เกิดการพัฒนาการของมัน จิตไม่เกิดการพัฒนาการเพราะว่ามันไม่ปล่อยวางสิ่งใด สงบขนาดไหน เห็นนิมิต เห็นสิ่งต่างๆ เวลามันปล่อยวางเข้ามา ว่างขนาดไหนก็ว่าสิ่งนี้เป็นนิพพานไง เวลาจิตสงบเข้ามาก็ว่าธรรมะเป็นอย่างนี้ ความสุขเกิดจากความสงบอย่างนี้ ความที่มันเป็นสมถะอย่างนี้ ด้วยความเข้าใจผิดของจิต ด้วยความเข้าใจผิดของหัวใจดวงนั้นว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เพราะมันได้ใช้ปัญญามาแล้ว มันปล่อยวางสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นธรรม มันก็ติดอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าติดอยู่อย่างนั้นมันก็ย่ำเท้าอยู่อย่างนั้น

ถ้าติดอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนกับอาฬารดาบส ความสงบของใจก็มีอย่างนี้ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธไง แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีกระบวนการของการวิปัสสนาโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล นี่กระบวนการการก้าวเดินของจิตที่จะเข้าไปชำระกิเลส แล้วได้ผลของจิตมันมีกระบวนการขนาดนี้นะ

บุคคล ๘ จำพวก จิตของเราเป็นบุคคล ๘ จำพวก ถ้าทำความสงบของใจขึ้นมาเป็นกัลยาณปุถุชนแล้วยกขึ้นวิปัสสนาได้ นั่นจะเป็นโสดาปัตตมรรค แล้วถ้าวิปัสสนาไปจะเป็นโสดาปัตติผล ถ้ายกขึ้นอีกก็เป็นสกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล...นี่บุคคล ๘ จำพวก หมายถึงกระบวนการที่ทำต่อไป มันจะมีมหาศาล

แต่เราใช้ปัญญาของเราเข้ามาแล้วมันสงบเข้ามา เราว่า “สิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนั้นเป็นธรรม” สิ่งนี้เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธมาแล้วนะ ถ้ากิเลสมันจูงไปในหมู่การประพฤติปฏิบัติที่ความเห็นอย่างนี้ มันก็จะทำให้เราติดอย่างนี้ ถ้าติดอย่างนี้ นี่เวลาติด ใจมันติดนะ ถ้าใจติดสิ่งนี้ มันจะปลดไม่ได้ สิ่งที่ปลดไม่ได้เพราะอะไร เพราะมันหลงไง สิ่งที่ติดแล้วเข้าใจ เหมือนกับเรากดปุ่มได้เลย ถ้าแก้ปุ่มได้ เราแก้ออก เราพยายามตั้งใจ มันจะแก้ได้ แต่ถ้าเราแก้ไม่ได้ เห็นไหม นี่ปุ่มแก้ได้นะ

แต่จิตมันเป็นนามธรรม สิ่งที่ติดมันเป็นตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่เป็นตัณหาคือยางเหนียว แต่เราไม่เข้าใจเลย ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่กิเลสอยู่ในหัวใจเราก็ไม่รู้ คนมืดบอดอย่างนี้ มันมืดบอดจากใจ พอจิตมันปล่อยวางเข้ามาก็ว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม”

เวลามันเสื่อมนะ ศึกษาธรรมมาไว้โต้แย้งกัน เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมาวิเคราะห์วิจัย มีวิจัยแค่นั้น วิจัยแล้วยังมีทิฏฐิมานะว่า “มันหมดกาลหมดเวลา สิ่งนี้มรรคผลจะไม่เกิดขึ้นมา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะไม่สมไง ไม่มีความเป็นไป สิ่งนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธหมดกาล หมดเวลา” นี่กิเลสมัยจูง มันจูงได้ขนาดนี้ ถ้ามันจูงได้ขนาดนี้ แล้วประพฤติปฏิบัติทำไม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธบอกพระอานนท์ไว้ พระอานนท์ถามว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธปรินิพพานไปแล้ว เมื่อใดการประพฤติปฏิบัติมันจะหมดกาลหมดเวลา” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธบอกพระอานนท์ว่า “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม...” สมควรแก่ธรรมไง ถ้าเหตุมันมี ผลมันมีแน่นอน

“ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พระอรหันต์ไม่สิ้นจากโลกนี้ไปเลย” โลกนี้ไม่สิ้นจากพระอรหันต์ แม้แต่ไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าก็จะมาตรัสรู้ เพราะผู้ที่สร้างสมบุญญาธิการมันมีอย่างนี้มาตลอด สิ่งที่มีอย่างนี้มาตลอด แล้วเราเกิดมา นี่เราเกิดมา พระปัจเจกพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธท่านสร้างสมบุญญาธิการมามหาศาล แล้วพยายามค้นคว้า ค้นคว้าขึ้นมาได้มาตรัสรู้เอง

แต่เรามีอยู่ เหมือนสิ่งที่โลกสว่าง ตลาดนี้กำลังคึกคักไปด้วยสินค้ามากมายเลย แล้วเราทำไมจะไม่ขวนขวายของเรา สิ่งนี้เป็นวัตถุนะ แต่ถ้าเป็นเรื่องของหัวใจ มันเป็นเรื่องนามธรรม แล้วมันเป็นความรู้สึก ถ้าความรู้สึก เราเปรียบเทียบขึ้นมา สิ่งนี้มันก็สดชื่น สิ่งนี้มันก็มีกำลังใจ กำลังใจในหัวใจนะ การก้าวเดินออกไปจากหัวใจ ถ้าเรามีความสดชื่น เวลาบุญเกิดขึ้นมาในหัวใจ มันจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แต่เวลาบาปอกุศลที่มันมาบาดหมางใจล่ะ สิ่งนี้มันให้ผลเป็นทุกข์นะ

เวลาคอตก ความลับไม่มีในโลก เวลามันเศร้าหมอง เวลามันเหยียบย่ำในหัวใจ นี่เราปฏิเสธ เราพยายามจะไม่ให้เกิด แต่เพราะเราไม่ตั้งสติเอง เราไม่เชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธไง สตินี้ฝึกฝนได้ ทุกอย่างมีการฝึกฝน แม้แต่สัตว์เขายังฝึกฝนมาใช้งานของเขาได้ สิ่งที่ใช้งาน ดูสิ ดูอย่างสัตว์ที่เขาเล่นกีฬากัน ถ้าเขาฝึกของเขาดีๆ ขึ้นมา ราคามหาศาลเลย ต่างกับสัตว์ธรรมดานะ สัตว์ตัวไม่กี่สตางค์ แต่เวลาเขาฝึกขึ้นมาจนได้ตำแหน่ง ได้แข่งขัน ได้มีชื่อเสียงขึ้นมา เงินทองเขามหาศาล ฝึกสัตว์เลี้ยงเขายังฝึกได้

แล้วหัวใจของเรา เราก็เป็นมนุษย์ มนุษย์ เห็นไหม เราขึ้นมา เราพยายามประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมาให้ใจของเรามีความสุขขึ้นมา ทำไมมันฝึกไม่ได้ล่ะ มันฝึก ต้องฝึกได้สิ ถ้ามันฝึกได้เราก็มีกำลังใจขึ้นมา ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำได้ ทำไมครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติมาได้ เราก็ต้องทำได้ ถ้าทำได้ ทำได้ที่ไหน? ทำได้อยู่ในทางจงกรม ทำได้อยู่ในที่นั่งสมาธิภาวนา ไม่ใช่ทำได้แต่อยาก แล้วไม่ได้ประพฤติปฏิบัติไง

อย่าให้กิเลสจูงออกนอกลู่นอกทางนะ กิเลสมันจูงมันจูงไปอย่างนั้นน่ะ พร่ำบ่นแต่สิ่งที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่หัวใจไม่ได้เสพเลย ถ้าหัวใจได้เสพ เห็นไหม ตั้งสติให้ดี ถ้าเป็นศรัทธาจริต กำหนดพุทโธๆ เข้ามา ตั้งสติให้ดีๆ ทำได้ สัตว์ยังทำได้ ทำไมเราทำไม่ได้ พุทโธๆๆ เข้ามา หลุดไม้หลุดมือก็ตั้งต้นใหม่ ตั้งต้นใหม่นะ จนกว่าว่าสิ่งนี้ไม่ใช่นิสัยของเรา

ถ้าเราออกไปใช้พิจารณาบ้าง การพิจารณาบ้าง หมายถึงมันใช้ปัญญาออกไปใคร่ครวญไง ใคร่ครวญในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ใคร่ครวญในธรรมของเราหรอก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ “กาย เวทนา จิต ธรรม” ยกขึ้นวิปัสสนา เราก็วิปัสสนาไป รูป รส กลิ่น เสียง สิ่งที่ทำให้ทุกข์ให้ยากอยู่นี่ มันสิ่งที่ว่าเป็นประโยชน์ กามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สิ่งที่เป็นสื่อสัมพันธ์ ถ้าโลกไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีภาษา มันจะสื่อกันได้อย่างไร แม้แต่สัตว์มันยังมีภาษาสัตว์ของมันเลย นี่ก็เหมือนกัน รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นการสื่อความหมายของโลก โลกเขาใช้ประโยชน์กันตรงนี้ไง นี่เป็นกามคุณ

แต่เพราะกิเลสของเราไปยึด ไปต้องการให้อยู่ในการควบคุมของเรา ไปต้องการว่าให้มีแต่การสรรเสริญ การเยินยอ ไม่มีการนินทาว่าร้าย เห็นไหม เราไปคิดของเราเอง เวลาเขาพูดชมเรามา เราเข้าใจผิด เราก็ไปเจ็บปวดของเราเอง เราต่างหากไปยึดเขา สิ่งที่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง เขาเป็นธรรมชาติของเขา มีอยู่อย่างนี้เพราะว่าสังคมมันเจริญขึ้นมาอย่างนี้ มีภาษา มีการสื่อสาร สิ่งที่สื่อสารเพื่อประโยชน์ เพื่อการสื่อสาร สื่อสารทำความรู้จักมักคุ้นกัน

แต่ในเมื่อถ้าจิตมันมีกิเลสอยู่ มันก็ไปเอาสิ่งนี้มาบาดหมางใจของเรา นี่ปัญญาเราก็ใคร่ครวญสิ ใคร่ครวญสิ่งนี้เข้ามาให้มันปล่อยวางเข้ามา ถ้าปล่อยวางรูป รส กลิ่น เสียง จนเรามีสติยับยั้งได้ จนมีความชำนาญ มีความชำนาญ เห็นไหม มันปล่อยนะ รูป รส กลิ่น เสียงนี้เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร พวงดอกไม้ สิ่งที่เป็นพวงดอกไม้ มันบูชามารไง บูชามารแล้วเราก็ไม่เข้าใจ เราก็ว่าสิ่งนี้เราคิด เราเป็นเจ้าของ เราเป็นคนบริหารจัดการ เราต้องเอาแต่สิ่งคุณงามความดีมาให้เรา นี่กิเลสมันหลอกไปอย่างนี้

แต่ถ้าเราใช้ปัญญาของเราพิจารณาออกไป มันจะเห็นโทษของมัน มันจะวาง สิ่งที่วางบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเกิดสมาธินะ พอเกิดสมาธิมันจะไม่โดนการครอบงำ กิเลสครอบงำจิตที่เป็นสมาธิไม่ได้ ถ้ามันครอบงำได้ มันก็เป็นกลายเป็นสันตติ คือการเกิดดับ สิ่งที่เกิดดับมันก็เป็นอาการของใจ สิ่งที่อาการของใจมันก็เป็นขี้ข้าของรูป รส กลิ่น เสียง

แต่ถ้าเราใช้สติใช้ปัญญาใคร่ครวญ เป็นปัญญาอบรมสมาธิ สิ่งที่เราใคร่ครวญนี่จิตสงบเข้ามา เราก็พิจารณาอย่างนี้ พิจารณารูป รส กลิ่น เสียงมันเป็นธรรมชาติของเขา มันเป็นเรื่องการเกิดดับ ในธรรมชาติของเขา มันเป็นโลกธรรม ๘ โลกธรรม ๘ เวลาให้ผลกับเราเป็นกามคุณ ๕ สิ่งที่ให้ผลก็เป็นสื่อภาษากัน

สิ่งที่ให้โทษ เห็นไหม โลกธรรม ๘ เวลามันให้โทษกับใจนะ เหมือนกับเสาเข็มทิ่มกลางหัวใจ นี่ทิ่มเข้าไปกลางหัวใจ มันมีความเจ็บปวดของมันไง แต่เวลาให้ผล เขาสรรเสริญ เขายกย่อง มีความร่มเย็น เหมือนกับเรามีความร่มเย็นพักหนึ่งๆ ผลมันไม่คุ้มค่ากันหรอก สิ่งนี้ถ้ากิเลสมันจูง มันยังจูงในวัฏฏะ มันก็หมุนเวียนตายเวียนเกิดไปในโลก เห็นไหม ในอารมณ์ปัจจุบันนี้มันเกิดดับ ภพชาติก็เกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอดเวลา ปัญญาใคร่ครวญอย่างนี้มันก็เริ่มเข้าใจ เริ่มปล่อยวาง สติจะดีขึ้น

ถ้าสติของเราดีขึ้น ธรรมะเราจูงแล้ว เพราะอะไร เพราะสติธรรม ปัญญาธรรม ถ้าสติธรรม ปัญญาธรรมเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากไหน? เกิดขึ้นจากการฝึกฝน เกิดขึ้นจากเรามีสติสัมปชัญญะ แล้วเราพยายามทำให้มันสงบเข้ามาให้เป็นอิสรภาพ ให้ไม่มีการครอบงำของกิเลส ถ้าไม่มีการครอบงำของกิเลส แล้วน้อมไปวิปัสสนา นี่มันต้องมีสมาธิก่อน ถ้าไม่มีสมาธิก่อน เอาอะไรไปวิปัสสนา? เอาจิตที่เป็นสากล เอาจิตที่เป็นอิสรภาพนี่ออกวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาเห็นไหม

แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันใช้ปัญญาเข้ามาบ่อยครั้งเข้า มันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา แล้วถ้ามันออกเสวยอารมณ์ เราก็พิจารณาเข้าไปบ่อยครั้งเข้า นี้มันก็เป็นวิปัสสนา ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยส่งเสริมนะ มันใคร่ครวญในรูป รส กลิ่น เสียง ปล่อยวางเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามาเราก็ต้องทำบ่อยครั้งเข้า

เราซื้อเพชรนิลจินดามานี่มันมีอยู่คงที่นะ มันจะสึกกร่อนตอนเราไม่เห็นหรอก เพชรนิลจินดาเป็นวัตถุ เราเอามาจากไหน เราวางไว้ก็อยู่ตรงนั้นแหละ แต่อารมณ์ความรู้สึกมันเกิดดับ มันเป็นนามธรรม เวลามันสงบเดี๋ยวเดียว มันปล่อยวางเดี๋ยวมันก็ไปเสวยอารมณ์อีกแล้ว เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่หิวกระหายไง ใจถ้ามันบกพร่องอยู่ มันหิวกระหายมาก อะไรผ่านมานี่มันเสวยทันที คือมันจะยึดในอารมณ์ ขณะที่มันปล่อยวางมา

เราเข้าใจว่ามันปล่อยวางแล้ว พอปล่อยวางเราก็เผลอ ปล่อยวางมันก็เสวยอีกๆ เสวยต่อหน้า แต่เราก็ไม่เข้าใจนะ เพราะว่าเป็นอุเบกขา สิ่งที่เป็นอุเบกขามันก็พร้อมที่จะเอียงไปเวทนา สุขและทุกข์ มันพร้อมเสมอ ทั้งๆ ที่มันอยู่ในตัวมันเอง ถ้าสติเราปล่อยวางเข้ามามันจะเห็นสภาวะแบบนี้ ถ้ามันเป็นสภาวะแบบนี้ จิต สติมันละเอียดเข้า ละเอียดเข้า เวลามันออกไปเสวยอารมณ์ เราก็พิจารณาเข้าไป มันจะปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา

ถ้าทำอย่างนี้บ่อยๆ ครั้งเข้า ขณะที่มันเข้าไปเห็นอารมณ์อันที่ละเอียด สิ่งที่มันเสวยอารมณ์ออกไป เห็นอาการของจิตที่มันเสวยอารมณ์ออกไป ถ้ามันเห็นสภาวะแบบนี้ นี่มันจับตรงนี้ได้ มันเป็นระหว่างขันธ์กับจิต ความเกิดดับ อาการของใจ ไม่ใช่ใจ แต่ตัวใจมันไปเสวยเขาต่างหาก

ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชนการควบคุมจิตมันควบคุมได้ง่ายขึ้น จิตนี้มันเป็นอิสรภาพมากขึ้น เวลามันออกมาเสวยอารมณ์อย่างนี้ มันจะเห็นสภาวะแบบนี้ มันถึงว่า อารมณ์ความรู้สึกเป็นขันธ์ ๕ ตัวจิตเองคือตัวพลังงานตัวนี้ เวลามันเสวยอารมณ์เข้าไป แล้วเสวยโดยมีตัณหาความทะยานอยากเข้าไป มันถึงว่าเป็นอันเดียวกันไง สิ่งที่เป็นอันเดียวกัน มันถึงมีความรู้สึก มันถึงไปเอาสารพิษ เอาสิ่งต่างๆ มาทับถมใจไง ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ ความเห็นอย่างนี้ มันก็ปล่อยวาง อันนี้ก็เป็นวิปัสสนา

ถ้าเป็นสัทธาจริต เรากำหนดพุทโธๆๆ เข้ามาบ่อยครั้ง บ่อยครั้งเข้า ตั้งขึ้น ล้มก็ลุกขึ้นตั้งใหม่ พยายามทำของเรา สัตว์ยังฝึกได้ ทำไมจิตเราจะฝึกไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเรามีศรัทธาความเชื่ออย่างนี้ ทำกำหนดพุทโธขึ้นมาแล้วเรามีความสงบของเราเข้ามา สิ่งที่มีความสงบของเราเข้ามา เราก็ตั้งของเราไปบ่อยครั้งเข้า คำบริกรรม ถ้าไม่มีคำบริกรรม เราดูไว้เฉยๆ เราพยายามพิจารณาเฉยๆ มันล้มลุกคลุกคลานตลอดไป เหมือนกับมันไม่มีอะไรเป็นฐานที่รองรับ

ถ้ามีคำบริกรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม แล้วเราเกาะพุทโธเข้าไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า เกาะพุทโธนะ เกาะให้มันละเอียดเข้ามา ละเอียดเข้ามา สิ่งที่ละเอียดเข้ามา เวลามันรวมลงเป็นขณิกสมาธิ พอออกมาเสวยอารมณ์ มีความรู้สึก เราก็พุทโธเข้าไปอีก ตั้งอย่างนี้บ่อยครั้งเข้า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ เวลาอุปจารสมาธิไปเห็นสิ่งใดก็แล้วแต่ ปฏิเสธเพื่อจะไม่ให้มันติด ไม่ให้เสียเวลา

แต่ถ้าเห็นกายใช่ไหม เราก็จับ เห็นกายนะ จิตสงบแล้วเห็นกาย มันจะเกิดการขนพองสยองเกล้า สิ่งที่ขนพองสยองเกล้า สิ่งนั้นคือเห็นกาย เห็นกายมันเห็นเป็นชั่วครั้งชั่วคราว เหมือนพยับแดดเพราะอะไร เพราะกำลังนี้ไม่พอ พอมันเสวย มันออกไปเห็นสภาวะแบบนั้น มันสะเทือนหัวใจ สิ่งที่สะเทือนหัวใจมันเป็นสันทิฏฐิโกไง ให้เราเป็นความยืนยัน เป็นกรณียืนยันกับจิตของเราเองว่าถ้าเห็นกายต้องเห็นสภาวะแบบนี้

ถ้าเห็นกายจากภายนอก เห็นกายจากภายนอกคือเราไปเที่ยวป่าช้า เราไปเที่ยวป่าช้าต่างๆ เราไปเห็นซากศพต่างๆ เราก็นึกเปรียบเทียบเข้ามาที่เรา เกิดสลด เกิดสังเวช เกิดสลดนะ เขาก็ตาย เราก็ต้องตาย นี่คือเขาตายเก่า เราตายใหม่ เราตายแล้วจิตไปไหน ร่างกายก็ต้องทับถมอยู่กับกองป่าช้านี้ แล้วจิตมันไปไหน นี่ไปดูกายมันก็สลดสังเวชเข้ามา

สิ่งที่สลดสังเวช เราเห็นได้ชัดเจน เราไปดูที่ซากศพ ไปดูคนเจ็บ คนไข้ คนป่วย นี่ดูกายนอก ดูกายนอกมันก็สลด มันก็สังเวชเข้ามา สังเวชเข้ามา สลดสังเวชเข้ามา มันก็เป็นอิสรภาพ ไม่โดนครอบงำโดยกิเลสไง ไม่โดนครอบงำ ถ้ามันเป็นอย่างนี้นี่เป็นสมาธิ

แต่ถ้าจิตเป็นสมาธิแล้วเห็นกาย มันคนละกรณีกัน เพราะสิ่งที่จิตสงบแล้ว เพราะอะไร เพราะมันไม่มีกิเลสครอบงำใช่ไหม สิ่งที่เป็นกิเลสครอบงำคือใส่แว่นตาไง เราให้จิตใส่แว่นตาเพราะด้วยกิเลสตัณหา ใส่แว่นตามันก็มองเห็นซากศพจากภายนอก ขณะใส่แว่นตาเห็นมันยังสลดสังเวชเลย แล้วถ้าเป็นอิสรภาพ มันก็ถอดแว่นตาออก สิ่งที่ถอดแว่นตาออก มันเห็นกายมันเองไง เห็นตัวความรู้สึกของจิต

เพราะจิตนี้มันเกิดมามีสักกายทิฏฐิมีความเห็นผิด มีความเห็นว่าเราเกิดมาแล้ว ใครปฏิเสธว่าเราที่นั่งอยู่นี่ ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา ใครปฏิเสธบ้าง...มันเป็นของเราจริงๆ แต่จริงโดยสมมุติไง เพราะจริงโดยสมมุติถึงแก้กิเลสไม่ได้ แต่ถ้ามันจริงโดยธรรม จริงโดยธรรมมันก็เป็นของเราอยู่ แต่อุปาทานมันไปยึดมั่นมันไง ถ้าไปยึดมั่นมัน ถ้าหูตาสว่างขึ้นมาอย่างนี้ เราก็จะไม่มายึดมั่นมันอีก ถ้าไม่ยึดมั่นมันอีก เราก็จะไม่เกิดไม่ตายไปกับมันไง

แต่เพราะเราไปยึดมันไง เพราะเราไปยึดมัน เพราะสิ่งที่เป็นความเห็นผิดของจิต มันเป็นอุปาทานน่ะ เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย ตายแล้วก็ไปเสวยภพเสวยชาติ” นี่มันเป็นการกิเลสจูงไปนะ มันเป็นอดีตอนาคตนะ มันไม่เป็นปัจจุบันหรอก ถ้าเป็นปัจจุบัน จิตมันสงบเข้ามาเป็นสัมมาสมาธิ พอมันเห็นกายสภาวะแบบนั้น มันสะเทือนหัวใจ เราก็ย้อนกลับมาที่ตรงปัจจุบันนี้

ถ้าปัจจุบันนี้เพราะจิตมันเห็น ฝึกฝน ถ้าจิตมันหลุดไม้หลุดมือไป เราก็ทำความสงบของใจเข้ามา รำพึงอยู่อย่างนี้ สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาให้แปรสภาพอย่างไรก็ได้ ให้มันทำลายความเป็นไป ต้องทำลาย ต้องให้มันสอนจิตไง จิตมันโง่เง่านัก มันไปยึดมั่นถือมั่นของมัน ปากก็ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่เรา แต่ความยึดมั่น มันยึดมั่นขึ้นมา มันเป็นอุปาทานไปเกาะเขาล่ะ มันไปเกาะเขานะ กายกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน

เวลาคนตายไปแล้ว จิตมันไปไหน คนตายซากศพมันเผาไฟ มันเจ็บปวดของมันไหม เวลาเอาไปฝัง เอาไปทำลาย มันมีความรู้สึกไหม? มันไม่มีความรู้สึกหรอก แต่ในปัจจุบันนี้มันมีเราไง มีความรู้สึกอันนี้ หัวใจสำคัญมาก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สอนลงมาที่ใจ แล้วใจมันยังสถิตอยู่ในร่างกายนี้ มันยังขับเคลื่อนได้ มันยังเคลื่อนไหวได้ มันยังมีโอกาสในการประพฤติปฏิบัติ ทำไมเราประมาทนอนใจกันขนาดนี้ ทำไมเราไม่เข้าใจว่าโอกาสของเรา มันอายุไขเรา ทำไมงานที่เป็นงานประเสริฐ งานที่ทำความสุขที่แท้จริงด้วย ในหัวใจของเราด้วย งานในการประพฤติปฏิบัติ แล้วเวลาถ้าประพฤติปฏิบัติไม่ได้สิ้นสุด กิเลสเวลามันเกิดขึ้นมาก็เกิดอีกของมัน ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสมันจูงไปไง อันนี้ธรรมจะจูงเรา

ถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันก็สร้างสมบุญญาธิการของเรา สร้างสม เห็นไหม การปฏิบัติบูชา การทำบุญกุศล การทำสิ่งต่างๆ ที่เขาทำกันเป็นประเพณีวัฒนธรรม เขาทำเพื่อสังคมให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขหรอก ศาสนาอย่างหยาบๆ ไง ศาสนาอันละเอียดในหัวใจ ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เกิดในใจของเรา สิ่งที่สัมผัสขึ้นมาจากใจ ความสงบอันนี้ที่มันสงบเข้ามาแล้วเห็นกายนี่ก็เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาในใจของเรา แล้วถ้ามันออกวิปัสสนาได้ มันเห็นการใคร่ครวญของจิตนี้ได้มันก็เป็นปัญญาเกิดขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดจากใจของเราเลย นี่สิ่งนี้เป็นธรรมจูง จูงให้จิตดวงนี้มันมีผลงานของมัน วิวัฒนาการของจิตนี้

ไม่ใช่เป็นตั้งแต่ มนุสสติรัจฉาโน มนุสสเทโว มนุษย์สิ่งต่างๆ อะไรก็แล้วแต่ นั้นคือกิเลสจูงทั้งหมดล่ะ เพราะเราทำตัวเราเป็นคุณประโยชน์กับโลก มันก็เป็นเทวดาของเขา เป็นเทวดาของสังคม สังคมได้อาศัยพึ่งพาจากจิตดวงนี้ จะเป็นมนุสสเทโวก็เพื่อทำคุณงามความดีกับโลก เขาเป็นผู้ที่ให้คุณประโยชน์กับโลก นี่มันก็เป็นวัฏฏะ มันก็เป็นกิเลสจูงไป จูงไปตลอด มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก

สิ่งที่ไม่สิ้นสุด สิ่งนี้ สภาวธรรมอย่างนี้เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นธรรมสภาวะแบบนี้อยู่แล้ว สิ่งนี้เป็นประโยชน์กับโลกไง แต่ประโยชน์ภายในอันนี้ เป็นอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการกับคฤหัสถ์ต่างๆ ต้องพูดถึงสวรรค์ พูดถึงทานก่อน ให้จิตควรแก่การงาน

ถ้าอริยสัจ จิตที่มันไม่ควรแก่การงาน จิตที่หยาบ คนตาบอดเห็นไม่ได้หรอก มันต้องคนตาดี คนตาดีหมายถึงมีจิต มีศรัทธามีความเชื่อ มีศรัทธามีความเชื่อขึ้นมาแล้วต้องจิตสงบด้วย พอจิตสงบมันออกไปเห็นอะไร เห็นสิ่งที่เกิดเป็นทุกข์ไง ทุกข์เกิดจากอะไรล่ะ ทุกข์เกิดจากเพราะมีการเกิดและการตายดวงนี้ ทุกข์เกิดเพราะมีใจนี่ไง ใจเป็นภวาสวะ เป็นอนุสัย สิ่งนี้มันเกิด

คนตายแล้ว ซากศพไม่เคยทุกข์นะ เขาพุพอง เขาเน่าเปื่อยของเขาไปตามธรรมชาติของเขา คือธาตุ ธาตุ ๔ เป็นสภาวะแบบนั้น แต่เพราะมันเป็นความมหัศจรรย์ของวัฏฏะ ความมหัศจรรย์ของจิต จิตนี้เกิดปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา เห็นไหม จากไข่ จากไข่สิ่งที่มองด้วยตาเปล่ามองแทบไม่เห็น มันพัฒนาการของมันเป็นมนุษย์ในครรภ์ของมารดา ๙ เดือน แล้วก็เกิดออกมา เกิดมาเป็นเรา

ถ้าเกิดมาเป็นเรา เห็นไหม ในอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่มันพัฒนาการของมันขึ้นมา แล้วจิต ถ้ามีจิตมีพลังงานตัวนี้ มีไออุ่นตัวนี้ ชีวิตมันถึงอยู่ได้ ถ้าสิ้นสุดกระบวนการของจิต ของการดำรงชีวิตล่ะ คือไออุ่นที่มันเคลื่อนออกจากจิต จิตนี้เคลื่อนออกจากกายนี้ คือการตายไง นี่การเกิดและการตายของวัฏฏะ เกิดจากไหนล่ะ? เกิดจากกรรมๆ แล้วเกิดจากกรรม กรรมก็จะพาเกิดพาตาย เกิดจากรรมแล้วกรรมอยู่ไหนๆ? กรรมอยู่ที่การกระทำ

การกระทำเกิดมาจากอะไรฒ เกิดจากเจตนาใช่ไหม เกิดจากเจตนา เกิดจากความคิด เกิดจากมโนกรรม นี่สภาวะ ภพอยู่ที่นี่ ภพอยู่ที่ใจช แก้กิเลสต้องแก้ตรงนี้ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสัมผัสได้ด้วยใจ สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้นั้นเป็นกิริยา เป็นความรู้สึกจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้วเทศนาว่าการเป็นธรรมขึ้นล้วนๆ ธรรมเทศนาว่าการตั้งแต่ปัญจวัคคีย์ ตั้งแต่พระยสะ ๖๐ องค์นั้นน่ะ นี่พระอรหันต์ทั้งหมด ยังไม่มีวินัยเลย แต่เพราะมีสังคมสงฆ์มากขึ้น ถึงได้บัญญัติวินัยขึ้นมา เพราะสังคมสงฆ์ ความรู้สึกความละเอียด หยาบ ต่างกันของจิตนั้น ความละเอียด หยาบ ของจิตนั้น ทำให้สังคมของสงฆ์นั้นกระทบกระเทือนกัน บัญญัติเป็นวินัยๆๆๆ

วินัยเป็นกรอบ เป็นรั้วกั้น ไม่ให้จิตเราออกไปทำความผิด ความผิดอันนั้นเป็นอาบัติ เป็นสิ่งที่ว่าเป็นความเศร้าหมองของใจ ย้อนกลับมาที่เรา มีรั้ว แล้วรั้วนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิจะเกิดขึ้นมาเพราะมีรั้วนะ มีรั้วนั้นแล้วกำหนดพุทโธขึ้นมา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมา จิตละเอียดเข้ามา จิตละเอียดเข้ามาถึงวิปัสสนาเข้ามา นี่อริยสัจเกิดตรงนี้ไง

อริยสัจเกิดขึ้นมาจากจิต จากความรู้สึกจากภายใน จากความสัมผัสของจิตที่เห็นอาการของใจ นี่ศาสนธรรม ศาสนธรรมมันเป็นความละเอียดอ่อนในใจ สิ่งที่เป็นความละเอียดอ่อนในใจมันไม่เหมือนวัตถุ เราได้สิ่งใดมาเราก็เอาสิ่งนี้เก็บตู้เซฟ เก็บเข้าถนอมรักษาไว้ มันก็จะมั่นคงยืนยงไปกับเรา แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เป็นอาการของใจที่สงบ มันจะมั่นคงไปกับเราไหม เราถึงจะต้องเริ่มต้น ต้องตั้งสติฝึกฝนจนชำนาญ จนชำนาญนะ จนขนาดที่ว่าเราเคลื่อนไหวไปไหน จิตก็สงบอยู่กับเรา เพราะอะไร เพราะมันรู้จักการรักษาไง รู้จักการถนอมจิตของเราไว้

จิตนี้มันทุกข์เพราะอะไร จิตมันทุกข์เพราะสติมันไม่ควบคุมมัน เห็นอะไรที่ชอบใจ ที่พอใจ มันก็จะออกไปยึดอารมณ์สิ่งนั้น ถ้าชอบใจ พอใจสิ่งใด มันสะเทือนหัวใจ แล้วทำให้หัวใจนี่หวั่นไหว ทำให้สิ่งนี้มันเกิดความฟุ้งซ่านไง พอมันฟุ้งซ่านสมาธิมันก็เสื่อมไป สมาธิก็เสื่อมไป แล้วถามตัวเองสิว่าเห็นโทษไหม ถ้าเห็นโทษ วันหลังต้องตั้งสติให้ดีนะ ถ้าเจอสภาวะแบบนั้น ถ้าเราไม่มีปัญญาควบคุมมันได้ เราก็ตั้งสติของเรา พุทโธกลับมาหลบเข้ามาซะ

ถ้าเกิดลมแรง อาการสิ่งต่างๆ เกิดความกระทบกระเทือนรุนแรง เราก็หลบเข้ามาด้วยพุทโธ ด้วยคำบริกรรม คือเอาจิตที่มาบริกรรมมันก็มีที่เกาะใช่ไหม เราถ้าลมแรง เรามีที่มุงที่บัง เราก็ไม่โดนลมนั้น ไม่รุนแรงกับจิตดวงนั้นมากเกินไป สิ่งนี้มีการฝึกฝนแล้วต้องมีการทดสอบ มีการเข้าควบคุม “ชำนาญในวสี” ถ้าเราชำนาญในวสีนะ ควบคุมไว้สิ่งนี้

ถ้าเป็นสมาธิเกิด มันเจริญได้เสื่อมได้ เพราะสิ่งนี้มันเป็นกุปปธรรม คือเจริญแล้วเสื่อม สิ่งที่เจริญแล้วเสื่อม อาการอย่างนี้ถ้าได้ออกวิปัสสนาแล้ว มันจะเป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมคือสิ่งที่ว่าเราได้เพชรนิลจินดามา เราว่าสิ่งนี้มาอยู่กับเรามั่นคง ถ้าวิปัสสนาไปเห็นอาการของใจ จนพิจารณากาย ใคร่ครวญ ขยันหมั่นฝึกซ้อมบ่อยๆ ครั้งเข้า มันปล่อยวางนะ ถ้าเห็นกายแล้วมันสะเทือนหัวใจ วิปัสสนาไปมันก็ปล่อยขนาดไหน ปล่อยขนาดไหน มันปล่อยโดยสิ่งที่มันเป็นกุปปธรรมอยู่ มันไม่สิ้นสุดกระบวนการของจิตหรอก

ถ้ามันสิ้นสุดกระบวนการของจิต เห็นไหม พิจารณากายก็พิจารณาบ่อยครั้งเข้า พิจารณาธรรมารมณ์ ถ้าพิจารณาจิต เป็นธรรมารมณ์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันสืบต่อกันอย่างไร ใช้ปัญญาแยกออกไป เห็นไหม ถ้าไม่มีเหตุ คือสัญญาเทียบเคียง มันจะมีสังขารปรุงได้อย่างไร ถ้ามีสังขารปรุง พอสังขารปรุง มันมีรสชาติ มันมีสุขมีทุกข์ ถ้ามีสุขมีทุกข์คือเวทนา

ถ้าเวทนา รับรู้เวทนาด้วยอะไร? ด้วยวิญญาณความรับรู้ วิญญาณรับรู้ รับรู้ได้อย่างไร รับรู้เพราะเป็นรูปของจิต เพราะเป็นพลังงานของจิต ปัญญานี่นะเหมือนกับดาบเพชร เสียบเข้าไปตรงไหน มันจะแยกออกจากกัน ถ้าแยกออกจากกัน อารมณ์จะไปได้ไหม ความรู้สึกความคิดไปได้ไหม ถ้าไปไม่ได้ มันก็ปล่อยอารมณ์อย่างนี้ ปล่อยอารมณ์อย่างนี้ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ถ้ามันปล่อย มันก็ว่างขนาดไหน แต่มันไม่สิ้นสุดกระบวนการของมัน ต้องหมั่นฝึก หมั่นซ้อม หมั่นคราดหมั่นไถอยู่อย่างนี้ตลอดไป

วิปัสสนาโดยกาย โดยเจโตวิมุตติเห็นกายสภาวะแบบใด มันก็ต้องหมั่นฝึกหมั่นซ้อมอย่างนั้นแหละ สิ่งนี้กาย เวทนา จิต ธรรม ฝึกซ้อมบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดของมัน กระบวนการของมันต้องมีสิ ถ้ากระบวนการของจิต เห็นไหม อย่างนี้พิสูจน์ได้ไง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่สิ้นสุดกระบวนการของเขา มันไม่เกิดสังโยชน์ขาดออกไป

ถ้าสิ้นสุดกระบวนการของเขา กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ ๒๐ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ ๒๐ สิ่งนี้มันจะขาดออกไป ถ้าขาดออกไป ในกระบวนการของการวิปัสสนา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าธรรมและวินัยว่า เวลากิเลสขาดดั่งแขนขาด สิ่งที่แขนขาด ความขาดออกไป มันแยกออกไป

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เหมือนกับแยกออกเป็น ๓ ทวีปเลย แยกออก ห่างออกจากกัน ต่างอันต่างจริง เราเป็นเรา ทุกข์เป็นทุกข์ แยกออกจากกัน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จะแยกออกจากกันโดยสัจจะความจริง นี่อกุปปธรรม สิ่งนี้จะเกิดขึ้นจากใจผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ อกุปปธรรมนะ สิ่งที่คงที่ของโลก เป็นวัตถุ สิ่งที่เป็นวัตถุๆ เขาทำเหมืองแร่ ต่างๆ เขาเอาสิ่งนี้ขึ้นมาเป็นประโยชน์

แต่ถ้าจิต ถ้ามันวิปัสสนาจนขนาดนี้นะ มันจะไม่เวียนไปในวัฏฏะ สิ่งที่เป็นความมหัศจรรย์ของจิต การเกิดและการตายมันเป็นความมหัศจรรย์มาก แต่จิตที่มันเกิดมันตายที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ครูบาอาจารย์ท่านเห็นว่าเหมือนสัตว์ตัวหนึ่งที่ให้เขาจูงไปไง กิเลสมันจูงไป มันเกิดตาย มันเกิดตาย น่าสลดสังเวช เหมือนกับเราเป็นคนตาบอดแล้วให้คนจูงไปนะ กระทบกระทั่งกับสิ่งต่างๆ ตลอดไป บาดเจ็บในระหว่างเดินทาง

นี่ก็เหมือนกัน จิตมันเกิดมันตายในวัฏฏะ มันจะหมุนๆ ไปอย่างนี้ มันจะเกิดทุกข์เกิดยาก เกิดความสุขในสวรรค์ อินทร์ พรหม ขนาดไหน มันก็เวียนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ แต่ขณะที่เป็นอกุปปธรรม อีก ๗ ชาติเท่านั้น พระโสดาบันยังเกิดอีก ๗ ชาติอย่างมาก ถ้าอย่างมากนะ ทาสที่เขาเลิกทาส ต้องขยัน ต้องหมั่นเพียร ไม่ใช่ทาส เขาเลิกทาสแล้ว ยังจะยอมเป็นทาสตลอดไป มันก็ต้องทำวิปัสสนาเพิ่มขึ้น วิปัสสนาคือยกขึ้นสูงขึ้นไป สูงขึ้นไปนี่ งานของใคร งานของใคร? งานของจิตดวงนี้ไง

การทำความสะอาดจิต การทำให้จิตนี้ผ่องใสนะ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” จิตมันผ่องใสอย่างไร สิ่งที่มันปล่อยสักกายทิฏฐิความเห็นผิดในร่างกาย เพราะอะไร เพราะจิตออกมาร่างกาย มันเป็นเสต็ปหนึ่งที่จิตออกมา

เวลาความคิดของเรา ความรู้สึกมันรับรู้ของเราออกกายของเรา ความสัมผัสออกจากผิวหนังเราไป ลมพัดมามันยังมีความร้อนความหนาวอยู่ที่ผิวหนังเรา สิ่งนี้จิตมันขับเคลื่อนออกไปจากร่างกายนี้ แล้วเราพิจารณาจนกายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย มันก็หดเข้ามา หดเข้ามาจากกายนี้มันไปอยู่ที่ไหนล่ะ? มันอยู่ที่ความรู้สึกกลางหัวใจเราไง

ถ้ามันอยู่กลางหัวใจของเรา มันออกไปรับรู้สิ่งใดล่ะ ออกไปรับรู้ เห็นไหม มีอุปาทาน อุปาทานในกาย ในจิต นี่ยกขึ้น ถ้ายกขึ้นได้ สิ่งที่ย้อนกลับมามันจับได้ ถ้าจับได้ เราเข้าใจว่ามีผู้ลักสมบัติของเราไป เรารู้ตัวอยู่ แต่เราไม่เห็นตัวเขา เราจะลงโทษเขาอย่างไร นี่ก็เหมือนกัน ของเราหายไปแล้วคือหายใช่ไหม แล้วรู้ว่าคนเอาไป เพราะมันมีผู้นี้ มีคนร้ายนี้อยู่กับเราด้วยกัน ๒ คน แล้วเขาลักของเราไป เพราะของเราหายไป อยู่กัน ๒ คน ของหาย ต้องไม่เราก็เขา ต้องเอาของเราไปใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน เรารู้อยู่ ใครอยู่กับเรา จิตอยู่กับเรา แต่เราหาเราไม่เจอ เราไม่เห็น จิตอยู่ที่ไหน กายอยู่ที่ไหน เราเห็นไม่ได้ ถ้าเห็นไม่ได้ การขุดคุ้ย การค้นคว้า การเริ่มต้นสถานะการทำงานไง เหมือนนักกีฬา ถ้าเขาจะแข่งขันกีฬา เขาต้องมีเวทีของเขาใช่ไหม เขาต้องสมัครใช่ไหม เขาต้องมีคู่แข่งขันใช่ไหม ถ้านักกีฬาไม่มีคู่แข่งขัน มันก็ฝึกซ้อมเฉยๆ เท่านั้นแหละ

นี่ก็เหมือนกัน การทำความสงบของใจ การวิปัสสนาของเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันก็ว่าเป็นการวิปัสสนา นั่นล่ะ มันเป็นการฝึกซ้อมเฉยๆ มันไม่มีคู่แข่งหรอก มันไม่มีธรรมกับกิเลสต่อสู้กันไง ขณะที่เราพยายามขุดคุ้ยหากาย หาจิต กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าจับสิ่งนี้ได้ ธรรมกับกิเลสมันจะมีการแข่งขันกัน ขณะที่กิเลสมันมีกำลังมากกว่า เราก็ล้มลุกคลุกคลานไปโดยสัจจะความจริง

ขณะที่ธรรม ถ้าธรรมจูงขึ้นมา ธรรมมีกำลังขึ้นมา เรามีสติ มันมีเหตุมีผลนะ คนเรามีพื้นฐานของใจ คือทำงานเป็นแล้ว ถ้าทำงานเป็น การทำงานจะง่ายขึ้น การฝึกงาน คนทำงานไม่เป็นการฝึกงานต้องฝึกไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า แต่ถ้าคนฝึกงานเป็น คนทำงานเป็น ทุกอย่างมันจะง่ายขึ้น คล่องตัวขึ้น สิ่งที่คล่องตัวขึ้น เห็นไหม ถ้าเราจับ เราเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เราก็วิปัสสนาไป

กำลังมาก กำลังน้อยนะ มันไม่มีสิ่งที่เป็นสูตรตายตัวนะ “เราพิจารณากายมาแล้ว มันจะเป็นสภาวะแบบนี้ เราเคยทำมา” ไม่ใช่หรอก มันจะเป็นในปัจจุบันธรรม ปัจจุบันธรรมอาการอย่างไร ถ้าปัญญาเราทันนะ โดยกำลังของสมาธิ สิ่งนี้ก็เป็นปัญญา ให้มันแปรสภาพในปัจจุบัน มันเป็นไปในปัจจุบันนั้น เราจะคาดหมายสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย

ในปัจจุบันนี้ถ้าใครมีสภาวะแบบนี้ ในการกระทำในปัจจุบันนี้ มันปล่อยวางแล้ว เราคิดว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์กับเรา เราทำอย่างนี้อีก...ทำไปเถอะ ไม่เกิดหรอก เพราะอะไร เพราะเกิดตัณหาไง สิ่งที่สมุทัยซ้อนเข้ามา เห็นไหม ถ้าสมุทัยซ้อนเข้ามา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะบอก ในกิเลสก็มีธรรม ในธรรมก็มีกิเลส มันจะมีสภาวะแบบนี้ ไม่ใช่ว่าเราปฏิบัติมันจะเป็นความอยาก ความอยากนี้จะทำให้เราวิปัสสนาไม่ได้ เราจะปล่อยวาง เราต้องทำโดยที่ไม่มีความอยาก

ไม่มีความอยากคือไม่มีเจ้าภาพ ไม่มีผู้รับสถานะอย่างนี้ มันต้องมีเจ้าภาพ มีตัวจิต แล้วขับเคลื่อนตัวจิตนี้ไป ถ้ามีความอยากขึ้นมา ซ้อนขึ้นมา ความอยากอย่างนี้มันจะชุบมือเปิบ อยากได้สิ่งใดๆ โดยที่ไม่ต้องลงทุนลงแรง มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันจะเป็นปัจจุบันขึ้นมา มันต้องลงทุนลงแรง มันต้องลงสติ ลงสมาธิ ลงปัญญาเข้าไป ถ้าเข้าไปให้มันเป็นสัจจะความจริงของเขา เหมือนทดลองวิทยาศาสตร์ มันต้องเป็นตั้งแต่สารเคมีที่เราผสมให้ออกมาจะเป็นสภาวะแบบนั้น คราวนี้ผสมออกมาเป็นสภาวะแบบนี้ คราวนั้นมีความบกพร่อง ไม่มีความละเอียดรอบคอบ มันจะทำภาชนะไม่สะอาด ออกมามันจะเป็นสภาวะแบบนี้

นี่เหมือนกัน วิปัสสนานะ คราวนี้เป็นสภาวะแบบนี้ เริ่มต้นใหม่ มันปล่อยวางขนาดไหน ปล่อยวางอย่างนี้ ปล่อยวาง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ คือปล่อยวางไม่เต็ม ๑๐๐ ไง ปล่อยวางอย่างนี้มันปล่อยวางเหมือนกับว่ามันไม่ลงถึงฐาน เราก็กลับมาที่ความสงบก่อน ความสงบแล้วออกวิปัสสนาใหม่ มันจะปล่อยวางอย่างไร ปล่อยวาง ให้วิปัสสนา ถ้าเจอสิ่งใด กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างใด ก็จับสิ่งนั้นแล้ววิปัสสนา วิปัสสนาคือใช้กำลังเข้าไป

มันต้องมีการต่อสู้ระหว่างธรรมกับกิเลสนะ มันจะเกิดขึ้นมาลอยๆ สิ่งใด ไม่มีใครเกิดขึ้นมาลอยๆ หรอก สิ่งที่จะเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาจากความมุมานะ ความเพียรชอบ มุมานะคือความเพียรชอบ ความมุมานะนี่เป็นสติก็ได้ เป็นความเพียรก็ได้ สิ่งที่ความเพียร เห็นไหม เวลามรรค ๘ สิ่งใดเป็นสติล่ะ สิ่งใดเป็นปัญญาล่ะ มันเกิดในกระบวนการของมัน เหมือนอาหาร เวลาทำอาหารให้มันสุกขึ้นมา อะไรเกิดก่อน อะไรเกิดหลังล่ะ แต่กระบวนการของมันต้องเครื่องครบนะ มันถึงจะเป็นอาหารชนิดนี้ใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน การกระทำของเรา มรรค ๘ อะไรก่อน อะไรหลัง มันต้องฝึกฝนอย่างนี้ ทำให้มันกลมกล่อม ทำให้มันสุกพร้อมกัน ถ้าขณะที่มันสุกพร้อมกันขึ้นมา มันสมุจเฉทปหาน ถ้าสมุจเฉทปหาน เห็นไหม กาย เวทนา จิต ธรรม หลุดออกไป กามราคะ ปฏิฆะอ่อนลง อ่อนลง มันเป็นสันทิฏฐิโกในหัวใจ อ่อนลง จิตนี้ว่างมาก

สิ่งที่ว่างขนาดไหน ความว่างอันนี้ ความว่าง ขณะที่ติดสมาธิ เรามีความติดข้องในสมาธิ เวลาจิตสงบ เราว่านี่ก็คือผลของธรรม ไม่ใช่หรอก สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่กิเลสมันหลบตัวอยู่ มันซุกอยู่ในจิตเรานี่ เพราะจิตนี้เป็นนามธรรม ภวาสวะยังไม่เจอมันเลย นี่ก็เหมือนกัน ขณะที่มันปล่อยวางอย่างนี้ มันปล่อยว่างขนาดไหน ถ้าเราไปเผอเรอ เราไม่มีครูบาอาจารย์ สภาวธรรมมันไม่เป็น ไม่มีสติสัมปชัญญะเทียบเคียง นี่มันจะติดได้

ติดได้ขนาดไหน หรือว่าการค้นคว้าสิ่งนี้ สิ่งนี้ค้นคว้า ต้องหาจิตออกไป พยายามค้นคว้านะ ทำความสงบของใจให้มันสูงขึ้น ความสงบของใจ ทำไมว่าเน้นความสงบของใจสูงขึ้นล่ะ เพราะอะไร เพราะสิ่งที่ว่ามรรค แต่ละขั้นตอนของมรรค สติเป็นมหาสติ ระหว่างเวลาสมาธิพื้นฐานมันต้องมากขึ้น เหมือนกับผู้ที่มีปัญญา ผู้ที่ผ่านโลกมามาก เวลาเขาผ่านโลกมา เขาจะเข้าใจของเขา เขาจะไม่ค่อยหวั่นไหวไปกับโลก

แต่พวกเราเจอสิ่งใดใหม่ ตื่นเต้นเพราะอะไร เพราะเห็นครั้งแรก รู้ครั้งแรก นี่ก็เหมือนกัน จิตที่วิปัสสนาจากข้างต้นขึ้นมา สิ่งนี้เราเข้าไปเห็น มันเห็นแล้วมันจับต้องได้ แต่ขณะที่เราเข้าไปเห็นสิ่งที่ละเอียดขึ้นไป เราจะต้องใช้ความรอบครอบ ใช้สติไปค้นคว้ามัน มันละเอียดเข้าไปนะ มันละเอียดกว่า เช่น แบ็งก์ ๑๐๐ แบ็งก์ ๑,๐๐๐ แบ็งก์ ๑๐,๐๐๐ แบ็งก์ ๑๐๐,๐๐๐ คุณค่าของมัน กระดาษเหมือนกัน แต่ตัวเลขมันมีมากกว่านะ

นี่ก็เหมือนกัน อาการของใจเป็นนามธรรมนะ สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค สิ่งที่อนาคามิมรรค ถ้าเป็นอนาคามิมรรค มันเป็นอนาคามิมรรคเพราะอะไร มันเป็นมรรคเพราะมันเป็นสัมมา สัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมาปัญญา ดำริชอบ ความเพียรชอบ ถ้ามันชอบ มันก็เข้าไปจับกามราคะได้ ถ้ามันไม่ชอบล่ะ มันเป็นมิจฉา ถ้าเป็นมิจฉา สิ่งนี้คาดหมาย สิ่งนี้ลูบคลำ สิ่งที่ลูบคลำก็ลูบกันไป จับกันมา เพราะจิตนี้เป็นนามธรรม สิ่งที่การกระทำเป็นนามธรรมเหมือนกัน สิ่งที่เป็นนามธรรมก็จับต้องสิ่งใดไม่ได้ ก็ว่านี่เป็นธรรม เป็นธรรม นี่เป็นมิจฉา

ถ้าเป็นสัมมานะ จิตจับจิต ความรู้สึกมันมี เวลาเราเห็นกาย เห็นจากอะไร ใครเป็นคนไปเห็นมัน ใครจับต้องได้ ถ้ามีสตินะ การกระทำมันจะเป็นความเพียรชอบ ถ้ามันขาดสติ มันทำโดยลูบคลำ มันทำโดยการชุบมือเปิบ มันทำโดยกิเลส เห็นไหม นี่กิเลสมันจูงไป มันก็จูงเราออกนอกลู่นอกทาง แล้วสิ่งนี้จะไม่มีกับผู้ที่ไม่ประพฤติปฏิบัติ ไม่มี

แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๖ ปี พยายามบุกบั่นขึ้นมา ค้นคว้าขนาดไหน มันก็ยังมีการลองผิดลองถูกมา ใจมันต้องมีลองผิดลองถูกมาทั้งนั้น ในการประพฤติปฏิบัติ เราศึกษามามากขนาดไหน เราจำกระบวนการประพฤติปฏิบัติครูบาอาจารย์แต่ละขั้นตอน เราพยายาม เกรงกลัวมากว่าเราจะมีความผิดพลาด เอาสิ่งนี้มาเป็นแนวทาง เป็นประเด็นได้ แต่ในการประพฤติปฏิบัติจะเป็นอย่างนั้น เป็นไปไม่ได้

เป็นไปไม่ได้เพราะจิตมันคนละดวง อาการของคน กาลเวลาก็ต่างกัน สิ่งใดก็ต่างกัน ผู้ที่พิจารณากายเหมือนกัน ขณะที่พิจารณาออกมา บางคนต้องพิจารณาให้มากขึ้น บางคนพิจารณาพอสมควรมันก็ปล่อยมาได้ เพราะอะไร เพราะคุณค่าของจิตมันต่างๆ กัน มันเป็นความมหัศจรรย์มาก แม้แต่ร่างกายมนุษย์ก็ยังมหัศจรรย์เลย แล้วเรื่องของจิตมันมหัศจรรย์กว่าร่างกายนี้มหาศาลเลย

ในการประพฤติปฏิบัติ เจโตวิมุตติเหมือนกัน พิจารณากายเหมือนกัน การปล่อยวาง การเข้าใจก็ต่างกัน การเข้าใจ การเข้าใจคือเห็นกระบวนการของการวิปัสสนา ถ้ามันย้อนกลับจับสิ่งนี้ได้ ถ้าพิจารณาโดยเจโตวิมุตติมันจะเป็นอสุภะ ดูสิ ทำไมมันเป็นอสุภะล่ะ อสุภะเพราะอะไร เพราะสภาวะของธรรมไง ถ้าเป็นสภาวะของธรรม ธรรมในหัวใจของเรา ในหัวใจของเรานะ สภาวธรรม ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมะมีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วเพราะอะไร

เพราะเรื่องของธาตุ ๔ เรื่องของร่างกายมันเป็นเรื่องของธาตุใช่ไหม เรื่องของธาตุมันมีกรรมใช่ไหม มีกรรมเราถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ใช่ไหม สิ่งที่เกิดเป็นมนุษย์ สิ่งนี้มันเอาสถานะของจิตดวงนี้ มันมีร่างกายอันนี้อยู่ ถ้าร่างกายอันนี้อยู่ สิ่งนี้มันเป็นสมมุติใช่ไหม มันเป็นสิ่งที่เป็นชั่วคราว เป็นชั่วคราวต่อเมื่อเราอาศัยมัน อาศัยสิ่งร่างกายจนหมดชีวิตไป เราก็ตายจากร่างกายนี้ไปใช่ไหม นี้คือบุญกุศลที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์ไง

แต่ถ้าสภาวธรรมมันละเอียดกว่านั้น เพราะมันเป็นเรื่องของใจของเรา เป็นเรื่องของหัวใจที่สัมผัสกับธรรม ถ้าสัมผัสกับธรรม ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันเห็นสภาวะแบบนี้ได้ มันเป็นอะไร เพราะเห็นสภาวะแบบนี้ จิต จิตของเรา ความรู้สึกของเรา มันสงบเข้ามา แล้วมันมีตาจากใจ มันเห็นสภาวะของกาย มันเป็นอสุภะ อสุภะเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันต้องย่อยสลายไปในสิ่งที่เราตายไปแล้ว

แต่ในปัจจุบันมันเป็นอสุภะเพราะมันยังมีชีวิตอยู่ไง ถ้าอาการเป็นอนาคตนะ อนาคตจิตนี้เราต้องตายไป มันก็จะไปคืนสู่สภาวะดั้งเดิมของเขา การคืนสู่สภาวะดั้งเดิมของเขา มันก็ต้องเน่าเปื่อยไปโดยธรรมชาติใช่ไหม โดยการเผาผลาญของความร้อนต่างๆ แต่ถ้าในปัจจุบันนี้ ในสภาวธรรม มันเห็นสภาวะของในปัจจุบันนี้ ร่างกายมีอยู่ แต่ขณะที่สภาวธรรม ตบะธรรมที่มันแผดเผาอย่างนี้มันเห็นเป็นอสุภะ ถ้าเห็นเป็นอสุภะเพราะอะไร

เพราะมันจะเป็นสภาวธรรมเข้ามาสอนใจ ถ้ามาสอนใจ มันเป็นธรรมของใคร? มันเป็นธรรมของจิตดวงนี้ไง จิตดวงนี้มันมีอำนาจวาสนา เพราะมันสร้างสมบุญญาธิการมา แล้วมันวิปัสสนามาโดยเชื่อครู เชื่ออาจารย์ เชื่อธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วมันปฏิบัติขึ้นมาเห็นสภาวธรรมของจิตดวงนี้ มันเป็นความมหัศจรรย์ สิ่งที่มหัศจรรย์เพราะอะไร

เพราะจิตมันจะทำลายตัวมันเอง จะทำลายกิเลสในหัวใจ จะทำลายความหมักหมมของใจที่มันติดในความสวยความงาม ในสิ่งที่เป็นโอฆะ สิ่งที่โอฆะเพราะสัตว์มันก็สืบพันธุ์ของมัน มนุษย์ก็สืบพันธุ์ของมัน แม้แต่เทวดา อินทร์ พรหม ก็สืบพันธุ์ของเขา สืบพันธุ์ของเขาเพราะมันมีกิเลสตัวนี้ สิ่งที่ซุกอยู่ในหัวใจนี่ มันมีความต้องการ มีความปรารถนา ถ้าพิจารณาจิตมันจะเห็นอาการของจิตตัวนี้ จิตตัวนี้มันเป็นกามราคะ

สิ่งที่เป็นกามราคะ เป็นขั้นตอนของที่เกิดเป็นพรหมไง ถ้าเป็นขั้นตอนที่เกิดเป็นพรหม เพราะเป็นกามโลก รูปโลก อรูปโลก โลกวัฏฏะ กามภพ รูปภพ อรูปภพ แล้วตัวภาวะของจิตมันเป็นตัวภพ ตัวภพที่สำคัญที่สุดคือตัวภพของใจตัวนี้ ใจตัวนี้มันมีสถานะรองรับ ความรู้สึก ความคิดต่างหากเกิดจากใจดวงนี้ทั้งหมดเลย แล้วกิเลสอวิชชามันใส่แว่น มันก็หลงตัวมันเองต่อไป แล้วมันก็ออกไปยึดต่างๆ จากภายนอก แล้วมันวิปัสสนามาตั้งแต่กายนอก กายในเข้ามา จนถึงกายในกาย มันจะเห็นเป็นอสุภะไง

สิ่งที่เห็นอสุภะ วิปัสสนาไป ปล่อยวางขนาดไหน ต้องใช้วิปัสสนาด้วยความมุมานะ ด้วยความตั้งมหาสติ มหาสติพิจารณาไปมันจะย่อยสลาย มันจะหยาดเยิ้มขนาดไหน มันจะเป็นความสุข เป็นความเศร้าใจ เป็นความเห็นตื่นเต้นขนาดไหน นี่วิปัสสนาปล่อยครั้งเข้า

ถ้ามันปล่อยนะ กระบวนการของมรรคที่หมุนเข้ามาในหัวใจของเรา แล้วมันเห็นสภาวะ มันจะปล่อย ปล่อย ต้องปล่อยก่อน ปล่อยบ่อยครั้งเข้าๆ มันจะละเอียดไปเรื่อยๆ มันจะชำนาญการไปเรื่อย ถ้ากิเลสมันจูงนะ ในการประพฤติปฏิบัติขนาดนี้กิเลสมันยังจูงได้เลย ปล่อยหนหนึ่ง พอปล่อย เข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เพราะอะไร เพราะมันการต่อต้านไง เห็นไหม กระบวนการของธรรมที่เราเห็นสภาวะของจิตที่เป็นอสุภะ นี้คือกระบวนการของธรรม ธรรมจูงมา เพราะธรรมในหัวใจเราจูงนะ

ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการชี้นำ เป็นทฤษฎี ในการประพฤติปฏิบัติ เพราะเราเชื่อธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา จนจิตมันละเอียดเข้ามาจนเห็นเป็นอสุภะอย่างนี้ มันวิปัสสนาเข้ามา มันต่อสู้กันมันก็ปล่อย แต่ถ้ากิเลส กระบวนการของพญามารในหัวใจของเรา เจ้าวัฏจักร พญามาร ภพตัวนี้มันก็ต้องต่อต้าน ถ้ามันต่อต้าน มันปล่อยขนาดไหน มันก็ทำให้เข้าใจว่าเป็นผล

ถ้าเป็นผลหนึ่ง ถ้าเป็นผล เหมือนเขาวิ่งผลัด ถ้าผู้ที่วิ่งไม้ต่อไปไม่ได้รับไม้ วิ่งไปโดยตัวเปล่าๆ เขาจะถือว่าเป็นการแข่งขันไหม เพราะอะไร เพราะมันไม่ได้รับไม้นั้นมา นี่ก็เหมือนกัน ในการปล่อยวางมันไม่มีผลของมัน มันปล่อยวางเฉยๆ โดยไม่ได้รับไม้ ไม่ได้รับธรรมอันนี้มา มันจะปล่อยวางได้ไหม มันจะขาดไหม มันจะเป็นไปได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าเป็นไปไม่ได้ นี่คือการผิดพลาด กิเลสมันจูง กิเลสมันจูงก็ย้อนกลับมาวิปัสสนาใหม่ เราก็วิปัสสนาของเราจนกว่า...จนวิปัสสนาบ่อยครั้งเข้าจนกว่าเรารับไม้ได้ ถ้ารับไม้ได้ แล้วเราวิ่งออกไป การวิ่งผลัดก็จะเป็นการแข่งขันขึ้นมา

ระหว่างกิเลสกับธรรม ระหว่างกิเลสจูงกับธรรมจูง มันจะมีการวิปัสสนา มันจะมีสภาวะแบบนี้เกิดขึ้นตลอดไป วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า จนถึงที่สุดมันจะทำลายในหัวใจ มันกลืนมาที่ใจ แล้วทำลายครืนออกไป นี่พระอนาคามี ๕ ชั้น มันก็ต้องวิปัสสนาซ้ำ เศษส่วนของมัน บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันก็จะปล่อยไป ปล่อยไป ปล่อยเรื่อยๆ ไปนะ ตรงนี้เป็นเทคนิคของการปฏิบัติ

ถ้าไม่มีครูอาจารย์ ตรงนี้ติดหมด สิ่งที่ติด พอวิปัสสนาไปมันจะว่าง จะเวิ้งว้าง ติดหมด ติดเพราะอะไร เพราะจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ขณะที่มันปล่อยมันวาง มันจะผ่องใส มันจะว่างขนาดไหน ถ้ายังมีความว่างอยู่นะ นิพพานไม่ได้อยู่บนอวกาศ ไม่ได้อยู่บนภูเขาเลากา ไม่ได้อยู่ในวัตถุสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น นี่ก็เหมือนกัน นิพพานมันจะว่างอย่างนี้ได้อย่างไร ถ้ามันว่างอย่างนี้ได้ ความว่างอย่างนี้ใครไปรับรู้มัน...มันมีติดอยู่ นี่วิปัสสนาโดยเจโตวิมุตตินะ

ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ มันเป็นกามที่จิต จิตนี้เป็นกามเอง ตัวของจิตมันเป็นกามเอง แล้วจะทำอย่างไรล่ะ วิปัสสนาไป มันจะปล่อยวางขนาดไหน มันจะเวิ้งว้างขนาดไหนก็ต้องพิจารณาไง ขันธ์อันละเอียด ตัวกามทำอย่างไร สิ่งนี้เพราะอะไรถึงเป็นกามโอฆะ สิ่งที่กามโอฆะ เหมือนกับสิ่งที่เป็นอวกาศ จักรวาลนี่มันมีดวงดาวอยู่มหาศาลอยู่ในจักรวาลนี้ นี่ก็เหมือนกัน กามโอฆะมันทำให้จิตตัวนี้เกิดตาย เกิดตายอยู่อย่างนี้ มันเป็นกามราคะ มันก็เอากามของจิตดวงนี้ แล้วจะทำอย่างไร

วิปัสสนาก็ต้องจับสิ่งนี้เข้ามาใคร่ครวญ ขันธ์ละเอียด สิ่งที่ละเอียด วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้ามันจะมีความปล่อยวางเข้าไป ถึงที่สุดแล้วมันก็จะทำลายตัวนี้ออกไปเหมือนกัน สิ่งที่ทำลายตัวนี้มันก็ว่าง ว่างออกไปมันก็เป็นตัวภวาสวะ ตัวภพแท้ ตัวเจ้าวัฏจักร สิ่งต่างๆ ผู้ที่มีอิทธิพลโดนครอบงำโดยตัวนี้ โดยตัวอวิชชา ตัวเจ้าวัฏจักร โดยพญามารนี้ สิ่งนี้ละเอียดอ่อนมาก

ธรรมไม่ได้อยู่บนอวกาศ ไม่ได้อยู่ในสิ่งต่างๆ ตัวที่มันอ้างอิงว่ามันเป็นธรรม มันเป็นธรรม เราจะเอาสิ่งใดเข้าไปย้อนกลับมันล่ะ สิ่งที่ย้อนกลับมา นี่บุคคล ๘ จำพวก ผู้ที่บุคคล ๘ จำพวก จิตดวงนี้มันพัฒนาการขึ้นมา เราจะเห็นของมันเลยว่าจากโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล ขึ้นมาเป็นชั้นตอนขึ้นมา แล้วก็แอบอ้างว่าเทียบเคียงขึ้นมา อารมณ์ความรู้สึกปล่อยวางหนหนึ่ง ก็เทียบเคียงว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เป็นธรรม

มันหลอกได้ขนาดนั้นนะ เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่เจ้าอวิชชา แล้วเราจะต้องย้อนกลับ การหาสิ่งนี้ จุดและต่อมของจิต ตัวสถานะ ตัวภวาสวะ ตัวสิ่งที่เป็นเจ้าวัฏจักรที่มันหมุนไปในวัฏฏะ นี่โอ้โฮ! สุดยอดเลย ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสุดหัวใจ เพราะสิ่งนี้มันลึกลับมหัศจรรย์

ลึกลับมหัศจรรย์ไม่ต้องไปบอกใครหรอก จิตดวงนี้มันเห็นเอง จิตดวงนี้มันขุดเข้าไปในหัวใจของมัน มันจะเห็นสภาวะเป็นชั้นตอนเข้าไปของมัน แล้วเห็นสภาวะแบบนี้ มันเข้าไปจับต้องได้ มันจะคุกเข่าต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยว่ามันสุดยอด

ถ้าจับสภาวะแบบนี้ได้ ถ้าใช้ปัญญาเข้าไป ใช้ไม่ได้ เพราะปัญญานี้มันเป็นขันธ์ มันเป็นสิ่งที่หยาบ มันจะเป็นปัญญาญาณอันละเอียด เห็นไหม นี่ญาณหยั่งรู้ สิ่งที่เป็นญาณหยั่งรู้เข้าไปทำลายตัวนี้ ถ้าทำลายตรงนี้ออกไป ธรรมะจูงไปเรื่อยๆ จูงใจนี้เป็นธรรมนะ ถ้าใจนี้เป็นธรรม หัวใจนี้เป็นธรรม

“สิ่งที่ธรรมนี้เกิดมาจากไหน สิ่งที่ธรรมนี้เกิดมาจากไหน” เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ “ความสุขอย่างนี้เกิดขึ้นมาจากไหน” ความสุขนี้ไม่ใช่การกระทบ ความสุขของโลก ระหว่างความเกิดดับกับตัวจิตมันกระทบกัน มันถึงเป็นเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา แต่จิตมันเป็นตัวภวาสวะ มันเป็นตัวภพ แล้วมันทำลายตัวมันเอง พอมันทำลายตัวมันเอง มันไม่มีสิ่งใดกระทบ

ตัวจิต จิตที่ว่าเกิดตาย เกิดตายในวัฏฏะ เจ้าวัฏจักรสำคัญมาก แล้วพอเวลามันทำลายตัวภพ ตัวเจ้าวัฏจักร มันเป็นความสุขโดยวิมุตติไง โดยวิมุตติมันไม่เป็นขันธ์ไง มันไม่มีการกระทบ สิ่งนี้มันทำลายตัวมันเองจนสิ้นสะอาด

ในสมัยพุทธกาลนะ ลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติจนถึงที่สุด พญามารค้นคว้า ค้นคว้าจนแบบว่าฝุ่นคลุ้งไปในอวกาศ สิ่งนี้ฟ้ามืดหมด จะหาจิตตัวนี้ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “มาร เธอหาอะไร สิ่งนี้เธอหาไม่ได้หรอก” เพราะสิ่งที่เขาหาได้ เพราะมารเขาก็ต้องหาฐานที่ตั้งของจิต เขาถึงจะค้นคว้าสิ่งนั้นได้ แต่สิ่งนี้มันเป็นฐานของจิตนี้มันโดนทำลายออกไปแล้วไง มันถึงเป็นวิมุตติสุข

อย่าให้กิเลสจูงเราไปนะ ครูบาอาจารย์มองชีวิตของพวกเราเหมือนกับสัตว์ตัวหนึ่งนะ ให้กิเลสมันจูงไป มันสลดสังเวชนะ ดูคนจูงสัตว์สิ แล้วนี่ให้กิเลสมันจูงใจเรา แล้วถ้าเราประพฤติปฏิบัติมันจะเป็นธรรม ธรรมจะจูงใจเราไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุดใจเราจะเป็นธรรม เอวัง