ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จะทำบุญ

๓o ก.ค. ๒๕๕๙

จะทำบุญ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “ทำบุญกับพระแถวใกล้บ้าน

กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ โยมอยากจะใส่บาตร แต่เห็นพระแถววัดใกล้บ้านไม่ค่อยสำรวม เล่นหวย และอีกหลายอย่างที่ไม่อยากพูดเจ้าค่ะ จะไปทำบุญกับวัดที่มั่นใจก็ไกลเหลือเกินเจ้าค่ะ โยมอยู่พิษณุโลก ไปวัดที่ราชบุรีก็ไกล ใจอยากไปเจ้าค่ะ นานๆ ได้ไปครั้งหนึ่ง

โยมอยากกราบเรียนถามว่า ถ้าโยมใส่บาตรและระลึกถึงสงฆ์เพื่อสงฆ์โดยที่จะใส่บาตรกับพระที่เราไม่เคยรู้จักเจ้าค่ะ แล้วทำใจระลึกถึงสงฆ์ อุทิศให้ญาติ จะได้ไหมเจ้าคะ

และอีกคำถามหนึ่งเจ้าค่ะ ถ้าโยมไม่ค่อยได้ใส่บาตร แต่โดยปกติโยมจะทำสมาธิภาวนาแทบทุกวัน และแทบทุกวันพระ โยมจะสมาทานถืออุโบสถศีลและอุทิศบุญให้ญาติๆ จะได้กุศลเป็นอาหารการกินไหมเจ้าคะ กราบนมัสการหลวงพ่อช่วยอนุเคราะห์ด้วยเจ้าค่ะ

ตอบ : อันนี้พูดถึงเวลาเราพูดถึงนะ สิ่งนี้มันน่าเห็นใจ มันน่าเห็นใจนะ เวลาคนเรานี่นะ ถ้ามันยังดื้อดึงอยู่ ยังอยู่ทางโลกอยู่ ก็มองเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องของเล็กน้อย แต่คนนะ พอเวลาศรัทธาความเชื่อแล้วมันก็อยากทำสิ่งใดให้สมความปรารถนา พอสมความปรารถนา จะทำสิ่งใดมันก็ทำไม่ลง เพราะไปเห็นภาพอย่างนั้นเข้า เห็นพระ เพราะอะไร

เพราะวัดอยู่กับบ้าน บ้านอยู่ใกล้วัด มันจะเห็นว่าพฤติกรรมของพระเป็นอย่างไร ถ้าเป็นอย่างไรแล้ว จะทำสิ่งใดแล้ว เพราะอะไร เพราะถ้าก่อนดื้อดึง เราก็มองข้ามไป แต่เวลาเรามีศรัทธาความเชื่อแล้ว เราอยากจะได้บุญกุศล เราก็อยากได้เนื้อนาบุญที่ดี ถ้าอยากได้เนื้อนาบุญที่ดี เพราะอะไร เพราะเราจะหว่านพืชของเรา เราจะหว่านข้าวหว่านพืชหว่านผลของเราเพื่อประโยชน์กับเรา พอที่นามันไม่ดี ที่มันที่ดอน ที่นามันแห้งแล้ง ที่นามันปลูกพืชไม่ขึ้น เราก็ไม่อยากจะหว่านนี่มันน่าเห็นใจ น่าเห็นใจนะ

กรณีอย่างนี้ เวลาหลวงตาท่านมาที่สวนแสงธรรม ตอนท่านจะกลับ ท่านพูดบ่อยว่าท่านทำให้ลูกศิษย์บอบช้ำ ท่านทำให้ลูกศิษย์บอบช้ำ แล้วเวลาเทศนาว่าการนะ โครงการช่วยชาติฯ ของท่านๆ ท่านบอกว่าให้ช่วยกันคนละไม้คนละมือนะ มีคนที่เขาจะมาช่วยเหลือเจือจานให้เป็นก้อนเป็นกำ ท่านบอกท่านไม่อยากได้อย่างนั้น อยากได้จากน้ำใจของชาวพุทธคนละ  บาท ๑๐ บาท ท่านอยากได้ บาท ๑๐ บาทไง  บาท ๑๐ บาท มันแบบว่ามันเฉลี่ยเจือจานกันไป มันทั่ว

ฉะนั้น เวลาท่านพูดท่านบอกว่า เงินทองมันไม่ใช่ของหาง่ายๆ นะ คนเราปากกัดตีนถีบหาอยู่หากินกันก็เพื่อความมั่นคงของชีวิต แล้วถ้ามีศรัทธาความเชื่อขึ้นมามันก็อยากจะเสียสละๆ ไอ้คนเสียสละก็เสียสละจนไม่รู้จักเหตุจักผล เห็นไหมท่านถึงบอกว่า “ที่เราพูดอยู่นี่เราพูดถึงคนที่เขาไม่ให้” คือคนที่มีกำลังแล้วไม่ทำคือว่าจิตใจเขายังดื้อดึงอยู่ ธรรมะของท่านเพื่อเข้าไปหัวใจของคนพวกนั้น

นี่เวลาท่านตอกย้ำๆ ท่านตอกย้ำถึงหัวใจคนที่มันดื้อ หัวใจคนที่มันไม่รับเหตุรับผลน่ะ ท่านต้องการให้หัวใจพวกนั้นพลิกกลับมามีเหตุมีผล ถ้าหัวใจพวกนั้นมีเหตุมีผลแล้วมันจะเป็นประโยชน์ไง

ท่านบอกว่าท่านพูดสำหรับคนที่มันยังไม่ได้ให้หรือคนที่เห็นแก่ตัว ท่านไม่ได้พูดถึงหัวใจของคนที่เป็นธรรมๆ ไง ถ้าหัวใจที่เป็นธรรม ท่านถึงได้บอกว่าท่านทำให้หัวใจของลูกศิษย์ของท่านบอบช้ำ ท่านพูดเองนะ ท่านเองท่านเป็นคนพาทำนะ แต่เวลาท่านจะกลับอุดรฯ ท่านจะบอกเลย “เรานี่ทำให้ลูกศิษย์เราบอบช้ำ เราทำให้ลูกศิษย์เราบอบช้ำ

ท่านก็เห็นใจอยู่นะ เห็นใจอยู่ การหาอยู่หากินมันก็เป็นของยากลำบากใช่ไหม แล้วถ้าหัวใจที่เป็นธรรมแล้วมันไม่มีค่าหรอก มันสละของมันได้ทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้ามันสละได้มันก็ทำ

ท่านบอกว่า “มันไม่ใช่น้ำนะ จะไปตักเอาที่ไหนก็ได้ เงินทองมันก็หายาก จะทำอะไรก็ให้คิด” นี่หลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ “จะทำอะไรก็ให้รู้จักคิด ที่จะเสียสละนี่ก็ต้องรู้จักคิด ไม่ใช่ว่าจะให้อยู่อย่างนี้” นี่เวลาท่านพูด “ที่เราพูดอย่างนี้เราพูดถึงคนที่มันไม่ให้ คนที่มันไม่ให้ไง แล้วถ้าคนที่ให้แล้วก็รู้จักยั้งคิดๆ” ถ้าหัวใจที่เป็นธรรมมันเป็นธรรมอย่างนี้ มันไม่ลักลั่น มันไม่เหยียบย่ำใครทั้งสิ้น แต่เวลาท่านพูดท่านพูดเป็นธรรม

ท่านพูดเป็นธรรม ไอ้พวกเราลูกศิษย์เราก็ทุ่มเทกันๆ แต่ท่านพูด เราก็ยิ่งทุ่มเทเข้าไปใหญ่ ท่านถึงบอกว่า “เราทำให้ลูกศิษย์บอบช้ำ เราทำให้ลูกศิษย์บอบช้ำ” นี่พูดถึงว่าถ้าเป็นเนื้อนาที่ดี ทุกคนก็แสวงหา ทุกคนก็อยากได้

แต่นี่กลับมาคำถามที่โยมไง โยมบอกว่าโยมอยากจะทำบุญใส่บาตร อยากจะทำบุญใส่บาตร แต่ได้เห็นพระเขาเล่นหวย เขาทำอะไรที่ไม่สำรวม เราก็ไม่อยากทำๆ

ไอ้คำว่า “ไม่อยากทำ” นั้น กรณีนี้มันก็เป็นข้อเท็จจริง มันเป็นที่ข้อเท็จจริงนะข้อเท็จจริงที่ว่าเราก็ไม่อยากเป็นสายบุญสายกรรมของใครทั้งสิ้น เราอยากจะเป็นสายบุญสายกรรมของครูบาอาจารย์ ของพระที่ดีงาม เราอยากจะเป็นสายบุญสายกรรมของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราอยากเป็นสายบุญที่ดีไง เราไม่อยากเป็นสายบุญสายกรรม เราก็ไม่อยากทำ

ถ้าเราไม่อยากทำนะ นี่กรณีไม่อยากทำ เราก็ไม่อยากทำ แต่มันเป็นวัฒนธรรมของชุมชนของเราไง ถ้าเป็นชุมชนของเราในหมู่บ้านของเรา ถ้าเขามีงานมีการขึ้นมา เวลาเขาทำบุญกุศลขึ้นมา เราก็ร่วมทำไปกับเขา มันเป็นวัฒนธรรมไง

มันมีอยู่ในพระไตรปิฎก มีพระองค์หนึ่งเป็นพระที่สังคมรังเกียจ เขาเป็นอลัชชีสมัยพุทธกาล อยู่ในธรรมบท เราอ่านเจอ อยู่ในธรรมบทมันก็คัดลอกมาจากพระไตรปิฎก มันมีพระอยู่องค์หนึ่งเป็นพระที่เป็นอลัชชี ทุกคนเขาก็ไม่ต้องการเวลาเขาอยู่ในวัดนั้น ทีนี้มันก็มีถึงเวลา เขาเรียกอะไรนะที่ว่านิมนต์พระไปฉันที่บ้าน

ทุคคตะ ถึงเทศกาลทุคคตะ เขาก็นิมนต์พระไปฉันที่บ้าน แล้วทีนี้ในวัดใช่ไหม ทีนี้พอเป็นชุมชนนะ เขาก็ให้จับฉลาก เพราะเขาไม่ให้เลือกเอา ให้จับฉลาก

ทีนี้มีอยู่บ้านหนึ่งเขาก็จับฉลากได้พระอลัชชีองค์นี้ แล้วบ้านนี้เป็นเศรษฐีนะเป็นเศรษฐี เวลานิมนต์มาแล้วเขาไปจับฉลากเป็นทุคตะนี่ได้มาองค์หนึ่ง ได้มาองค์หนึ่งไปที่บ้าน เขาก็จัด เพราะว่ามันเป็นวัฒนธรรมของชุมชนนั้น เขาจัดของเขาอย่างดีเลยนะ โอ้โฮปูพรมอย่างดีเลย เพราะเขาถือว่าเขาจัดถึงทุคคตะ พระที่จะประพฤติปฏิบัติได้สำเร็จไง เขาก็บอกเขาจะจัดเหมือนกับรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ปูพรมอย่างดี เขาเป็นเศรษฐีนะ

ไอ้พระองค์นี้ก็ไป พอไป โอ้โฮเขาต้อนรับอย่างดีเลย ก็คิดว่าเขาไม่รู้จักความผิดเราไง นึกว่าความผิดเรา เขาจะปิดบังได้ไง เศรษฐีบ้านนั้นเขาอุปัฏฐากอย่างดี เขาทำอย่างดี เสร็จแล้วเขาได้รับอนุโมทนาเสร็จ เขาก็กลับ พอเขากลับไปตกบ่ายเขาคิดเอง พระองค์นี้คิดว่าบ้านนี้เขาจะไม่รู้จักพฤติกรรมของเรา ไม่รู้ว่าของเราข้างในมันเศร้าหมอง จะไปหาเขาอีก ตกบ่ายก็เดินไปหาเขาอีกที่บ้านนะ

มาคราวนี้นะ เศรษฐี ตอนเช้านะ มันเป็นวัฒนธรรมของชุมชนใช่ไหม เขาไปล้วงจับฉลากได้พระอลัชชีนี้มาฉันที่บ้าน เพราะมันเป็นเทศกาลทุคคตะ เขาก็จัดอย่างดีเลย เพราะเขาถือว่าเขาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เขาทำอย่างดีพระองค์นั้นก็ติดใจ ตกบ่ายมาเอง มาโดยส่วนตัวไง คราวนี้พอมาถึงเข้าไปหาเศรษฐีก็ถามว่า “โยมจำอาตมาได้ไหม ตอนเช้ามาต้อนรับอย่างดีเลย

เศรษฐีบอกว่า ที่เขาทำนั้นเขาทำเพื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าพระมาโดยส่วนตนนะ มาทำไม มาธุระอะไร ถ้ามานะ อยากจะมาใช่ไหม เศรษฐีเอาเท้าเขี่ยนะ เอาเท้าเขี่ยพรม “ถ้าประสงค์จะนั่งก็เชิญ ถ้าไม่ประสงค์จะนั่ง กลับไป” เอาเท้าเขี่ยเลยนะ

ตอนเช้ามานี่รับ อู้ฮูอย่างสุดยอดเลย เพราะเขาไปล้วงจับฉลากได้ แล้วตัวเองมันเป็นอลัชชี ก็คิดว่าเศรษฐีเขาไม่รู้ว่าเราเป็นอลัชชี คิดว่าเขายังศรัทธาเราอยู่คิดว่าเขาศรัทธาเราอยู่ แต่ความจริงมันไม่ใช่ เศรษฐีนั้นเขาศรัทธาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เขาศรัทธา เขาศรัทธาเรื่องศาสนา เขาไม่ได้ศรัทธาตัวบุคคล

ติดใจ ตอนบ่ายไปอีกไง คราวนี้เจอเท้าเลย เท้าเขี่ยเลย “ถ้าท่านประสงค์จะนั่งก็เชิญ ถ้าท่านไม่ประสงค์จะนั่งก็กลับไป” เขาไม่สนใจเลย นี่พูดถึงว่าคนมีปัญญา

นี่เราจะบอกว่า เราอยากจะทำบุญกุศล ถ้าในชุมชนของเรา เขามีงานมีการเราก็ร่วมงานในชุมชนของเรา แต่โดยส่วนตัวของเรา ถ้าเรารู้อย่างนี้เราก็ไม่ทำเหมือนเศรษฐีที่เขาทำ เศรษฐีเขาทำ อยู่ในธรรมบท นี่พูดถึงมันมีมาอย่างนี้มาตลอดใช่ไหม ฉะนั้น ถ้ามีอย่างนี้มาตลอด ตัวผู้ถามบอกว่า โยมอยากใส่บาตรแต่เห็นพระใกล้บ้านทำสิ่งนั้น จะทำบุญก็ไม่อยากทำ จะไปทำบุญที่วัดที่มั่นใจ มันก็อยู่ไกลเกินไป ทางนั้นอยู่พิษณุโลก จะมาถึงราชบุรีมันไกลมาก

ไอ้เรื่องบุญกุศลก็เรื่องบุญกุศลนะ ถ้าเราทำนะ เรามีโอกาสที่ไหนก็ทำที่นั่นแล้วถ้าบุญกุศล ระดับของทาน ระดับของศีล ระดับของภาวนา เห็นไหม ถ้าระดับของภาวนา ทำทานร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ถือศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับเราภาวนาจิตสงบหนหนึ่ง ฉะนั้น เวลาภาวนาขึ้นมาแล้วอันนั้นน่ะจะเป็นประโยชน์มาก ฉะนั้น ถ้าเรามีสติปัญญา เราก็ทำของเราอย่างนี้

ถ้าเรามีพระที่เราพอไว้ใจได้ ที่เราเข้าใจได้ เราก็ทำของเรา ถ้าเราทำของเราเวลาทำของเรา เราก็ไม่ได้นึกถึงพระองค์นั้น ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วใส่บาตรไป ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วใส่บาตรไป ถ้าจิตใจมันเรียกร้อง ใจมันอยากทำไง อย่างคนเรา คนเราหิว คนเรากระหาย คนเราก็อยากได้อาหาร อยากได้อากาศ อยากได้น้ำ

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจที่มันหิวมันกระหาย จิตใจที่มันอยากได้บุญ ถ้าเราอยากจะคิดจะทำที่ไหน ถ้ามันพอทำใจได้ เราก็ทำของเรา แต่เวลาทำ เราก็ทำอย่างนี้ไงนี่พูดถึงเวลาทำนะ แต่ถ้ามันเป็นประเพณีในบ้านเรา ในชุมชนของเรามีงาน ในบ้านเรามีงานน่ะ ไอ้อย่างนี้เราคิดว่ามันเป็นวัฒนธรรม ไอ้เรื่องนั้นยกไว้ เพราะเราเลือกไม่ได้ เราจะเลือกว่าให้ดีไปหมด ให้ดีไปหมด มันเลือกไม่ได้หรอก ในชุมชนทุกชุมชนมีทั้งคนดีและคนเลว แล้วมันอยู่ที่วุฒิภาวะ อยู่ที่หัวใจไง

ดูสิ หัวใจที่มันดื้อมันด้านไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น แล้วพอหัวใจมันเปิดมา หัวใจมันเป็นธรรมขึ้นมา มันก็จะคัด มันก็จะเลือก มันก็จะคัดแยก ถ้าคัดแยกมันก็ต้องคัดแยกแบบผู้ที่มีปัญญา นี่ผู้ที่มีปัญญา

เวลาเป็นงานของชุมชน เป็นงานของบ้านเราอย่างนี้ เราจะบอกว่า “ไม่เอาฉันไม่ชอบพระองค์นี้ ฉันไม่ไป” อย่างนี้มันก็น่าเกลียด ถ้าเป็นงานชุมชนมันก็อีกเรื่องหนึ่ง

แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวของเราไม่มี ถ้าเรื่องส่วนตัวของเรา เรามีสิทธิที่เราจะคัด เราจะเลือก เราจะแยกของเราได้ เราทำของเราอย่างนี้ ถ้าทำอย่างนี้มันทำด้วยปัญญา เห็นไหม ที่ว่าทำทาน ทำทานมันก็ต้องมีปัญญา รักษาศีล รักษาศีลก็ต้องมีปัญญา รักษาศีลก็เหมือนกัน เห็นไหม รักษาศีล เกร็งไปหมดเลย ทำอะไรก็จะผิด ทำอะไรก็จะผิด

เราไม่มีเจตนาทำผิดทั้งสิ้น เราตั้งใจทำของเรา แล้วใช้ชีวิตปกตินี่ เราใช้ชีวิตปกติ เราทำสิ่งใดไม่ต้องไปเกร็งไปหมดหรอก อะไรก็เกร็งไปหมด ถ้าทำแล้วมันก็จะไม่เกร็ง แล้วมีทาน มีศีล แล้วจะฝึกหัดภาวนา มันก็จะทำได้ ถ้าทำได้ก็เป็นประโยชน์กับเรา

นี่พูดถึงว่า จะใส่บาตรหรือ พระข้างวัดมันก็ไว้ใจไม่ได้ แล้วมันไม่อยากทำ

ไม่อยากทำก็คือไม่อยากทำ มันก็อยู่ที่กาลเทศะไง มันอยู่ที่โอกาสไง โอกาสเป็นงานของส่วนรวม เป็นงานของอะไร นั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นงานของเรา เราคัดเราแยกของเราเอง แล้วถ้าหัวใจมันเรียกร้อง หัวใจมันอยากทำ เราก็ทำที่มันลงใจ ที่ไหนก็ควรทำ

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เทวดาถามพระพุทธเจ้า “ควรทำบุญที่ไหน

เธอควรทำที่เธอพอใจ

ถ้าไม่พอใจ กิเลสมันบังหมดนะ ไม่ให้ทำๆ กิเลสน่ะ ของเราๆ มันหวงไว้หมดน่ะ

เธอทำที่เธอพอใจ” แต่เทวดาก็ถามอีก “แล้วถ้าวัดที่ผลล่ะ

ถ้าวัดที่ผลแล้ว ถ้าจะทำบุญให้ได้ผลมากที่สุดก็ไปทำบุญกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รองลงมาก็พระปัจเจกพุทธเจ้า รองลงมาก็อัครสาวก รองลงมาก็พระอรหันต์ พระอนาคามีลงมาเรื่อยๆ” นั่นพูดถึงเนื้อนาบุญๆ ไง ถ้าเราเลือกได้แต่ถ้ามันเลือกไม่ได้ “เธอควรทำบุญที่เธอพอใจ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตใจมันเรียกร้อง เราก็ทำของเรา เห็นไหม เราจะเลือกไม่ได้หรอก ครูบาอาจารย์ที่ดี หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านนิพานไปหมดแล้ว พระดีๆท่านก็นิพพานไปหมดแล้ว ไอ้พระใหม่ๆ ขึ้นมามันจะพอมีขึ้นมาบ้างหรือไม่ ถ้าพระใหม่ๆ ขึ้นมาเขามีสติมีปัญญาของเขา เขาฝึกหัดตัวของเขา เขาก็ได้ประโยชน์ของเขาก่อน

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ในใจดวงนั้นเขาจะเป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์ ในใจของเขา เขาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เขาจะมีมรรคมีผลขึ้นมาถ้ามีมรรคมีผลขึ้นมา หัวใจดวงนั้นเขาได้ประโยชน์ก่อน พอเขาได้ประโยชน์ก่อนแล้ว มันก็ได้ประโยชน์กับชาวบ้านชาวชุมชนอีก ชาวชุมชนก็ได้ทำบุญกุศลจากพระที่เขาไว้เนื้อเชื่อใจได้

นี่พูดถึงว่า จะทำบุญ แล้วทำบุญนะ มันเป็นอย่างนี้ กรณีนี้เป็นงูกินหาง มีคนถามมาตลอด กรณีอย่างนี้ เพราะอะไร เพราะถ้าไม่สนใจก็ไม่สนใจเลย “อ้าวพระก็ทำนาสิ พระมาขอกินได้อย่างไร” นี่เวลามันคิดไปเรื่องหนึ่งนะ

โอ้โฮเวลามันศรัทธาขึ้นมาแล้วนะ โอ้โฮถวายทั้งชีวิตนะ ถ้าจิตใจมันสูงส่งขึ้นมาแล้วมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าจิตใจมันยังต่ำต้อยอยู่นะ ยังอยู่ในอำนาจของมาร มันก็คิดไปอีกเรื่องหนึ่ง นี้พูดถึงว่า มันก็อยู่ที่วุฒิภาวะของใจ แล้วถ้ามันมีสติมีปัญญา มันก็จะผ่านเรื่องอย่างนี้มา

มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นกงกรรมกงเกวียน มันเป็นอนิจจังทั้งหมด มันไม่ใช่ของมันจะดีอยู่กับเราตลอดไป จะเลวกับเราตลอดไป เลวถึงที่สุดแล้วมันก็ต้องพลัดพรากไป แล้วถ้ามาใหม่ รุ่นใหม่ดีขึ้นมา มันก็เป็นดีกับเรา ถ้าไม่ดีขึ้นมา เราก็รอจนดีน่ะ รอจนมีพระดีๆ มาโปรดเรานั่นน่ะ ถ้าพระ ถ้าเขาปฏิบัติได้ เขาก็จะเป็นดีขึ้นมา ถ้าพระปฏิบัติไม่ได้ มันก็เป็นกรรมของสัตว์ เป็นกรรมของพระองค์นั้นเป็นกรรมของผู้ที่ทำกรรมดีกรรมชั่วนั้น เราจะทำคุณงามความดี เราจะทำคุณงามความดี นี่พูดถึงว่า ผลของการอยากจะทำบุญนะ

ฉะนั้น เขาบอกว่า “โยมอยากจะเรียนถามว่า ถ้าโยมใส่บาตรแล้วระลึกถึงสงฆ์เพื่อสงฆ์ โดยที่ใส่บาตรกับพระที่เราไม่เคยรู้จักนะเจ้าคะ แล้วทำใจระลึกถึงสงฆ์ จะได้บุญอุทิศให้ญาติจะได้ไหมเจ้าคะ แล้วอีกคำถามหนึ่งเจ้าค่ะ ถ้าโยมไม่ค่อยได้ใส่บาตร โดยปกติโยมก็ทำสมาธิแทบทุกวันเจ้าค่ะ และแทบทุกวันพระโยมจะอาราธนาอุโบสถศีล แล้วอุทิศบุญกุศลให้ญาติ จะเป็นกุศลเรื่องอาหารการกินหรือไม่เจ้าคะ

ไอ้นี่มันเป็นวัฒนธรรมของเรานะ แม้แต่เราไปบิณฑบาต เวลาชาวบ้านเขาถามกันน่ะ เขาตะโกนใส่กันนะ “เฮ้ยเอ็งไม่ใส่บาตรหรือ ตายไปจะไม่มีอะไรกินนะ” ไอ้โยมที่ใส่บาตร “โอ๋ยฉันใส่บาตรทุกวันเลย ถ้าฉันตายไปฉันจะได้อาหารอุดมสมบูรณ์” นี่เวลาเขาคุยกัน

เทวดานะ เวลาตายไป บุญเป็นชั้นๆๆ ขึ้นไป ไอ้เรื่องนี้ จาตุมฯ ใกล้ๆ มันจะเป็นแบบนี้ แบบที่ว่าพันเอกอะไรที่เขาไปเห็นว่าใครทำบุญอย่างใดก็ได้กินอย่างนั้นน่ะ ไอ้นั่นมันเป็นจาตุมฯ มันใกล้ๆ กับความเป็นภพของมนุษย์นี่แหละ แต่ถ้าพอผ่านจากนั้นไปแล้วนะ มันไม่มี มันไม่มีอาหารการกินอย่างนี้อีกแล้ว มันเป็นทิพย์ๆ

คำว่า “เป็นทิพย์ขึ้นมา” พอสูงขึ้นไปๆ เราจะบอกว่า ทำบุญกุศลแล้วเราจะกินอาหารอย่างนั้น เวลาขึ้นไปแล้วเขาไปกินทิพย์ เอ็งจะมากินไอ้ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยอยู่นี่หรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยเขาเอาไว้ให้มนุษย์กิน เทวดาเขาไม่ได้กินก๋วยเตี๋ยวผัดไทยนะเว้ย เทวดาเขากินทิพย์ กินทิพย์มันบอกระลึกแล้วอิ่มเลย ระลึกอะไรได้หมดระลึก วิญญาณาหาร

อาหาร  นะ อาหาร  มนุษย์เรา สัตว์ กวฬิงการาหาร อาหารเป็นคำข้าวคำข้าว นี่เป็นภพของมนุษย์ แล้วถ้าขึ้นไป ถ้าเป็นเทวดา เทวดามันมีหลายชั้น ถ้าเทวดาเขาทิพย์สมบัติ ทิพย์สมบัตินั้นมันอีกเรื่องหนึ่งนะ แล้วพอเวลาขึ้นไปสูงขึ้นไปเป็นพรหม พรหมเขากินผัสสะ พรหม ผัสสาหาร มันมีอาหาร  กวฬิงการาหารอาหารเป็นคำข้าว อาหารของมนุษย์ อาหารของเทวดา อาหารทิพย์สมบัติ เป็นทิพย์ นี่เป็นทิพย์

หลวงปู่เจี๊ยะพูดบ่อย “สวรรค์ไม่มีตลาดนะเว้ย” สวรรค์ไม่มีตลาดหรอก มึงไม่ต้องไปซื้อ ทำมาจากที่นี่ แล้วไปถึงตรงนั้นมันจะเป็นทิพย์ เป็นพรหมมันเป็นผัสสาหาร แล้วก็มโนสัญเจตนาหาร มโนสัญเจตนาหารนั้นมันเป็นอาหารของภพเลยรวมภพทั้งหมด

นี่พูดถึงว่า เวลาถ้าเราจะมาทานอุโบสถศีลแล้วอุทิศบุญกุศลอย่างนี้ ญาติจะได้กุศลเป็นอาหารการกินหรือไม่

อาหารการกิน เป็นห่วงไม่มีจะกิน ห่วงไม่มีจะกิน เวลากินมันกินอย่างไร พอไปถึงตอนนั้นแล้วมันเป็นทิพย์สมบัติ ถ้าทิพย์สมบัตินะ ถ้าทิพย์สมบัติแล้ว อาหารละเอียดกว่านี้ไง อาหารน่ะ เหมือนกับคน ศิลปินเขากินอารมณ์กินความรู้สึกศิลปิน เขาอารมณ์ศิลปิน โอ้โฮเขาละเอียดอ่อน นี่อารมณ์ของเรา พวกเราหยาบๆ นี่พูดถึงอารมณ์นะ แล้วเราเทียบไปสิ เทียบถึงอารมณ์นี้กับความเป็นทิพย์น่ะ กับความเป็นทิพย์มันกินอย่างนั้น ถ้ากินอย่างนั้นปั๊บ ไอ้เรื่องที่ว่า เราจะมีอาหารการกินหรือไม่

บุญกุศลอันนั้นมันกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่านี้ กว้างใหญ่ไพศาลกว่าสิ่งที่เราคิดไง เพราะเราเป็นมนุษย์ไง เราเป็นมนุษย์ สมองเรามีเท่านี้ไง เราก็คิดได้แค่นี้ไงว่าเราเป็นมนุษย์ เราชอบกินอาหารอย่างนี้ ไปเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหมก็อยากจะกินอาหารอย่างนี้อีก

อาหารอย่างนี้มันไม่มีให้กิน เขาไม่มีให้กิน เขากินดีกว่านี้ไง เขากินละเอียดกว่านี้ไง แล้วเขาไม่ต้องการ เขาไม่เอา เขาไม่ต้องการเลย แล้วถ้าตกนรกอเวจีไปล่ะ ที่ว่าเขากินฟืนกินไฟ กินถ่านก้อนแดงๆ นั่นน่ะ เวลาลงนั้นไป

นี่พูดถึงผลของวัฏฏะไง ถ้าผลของวัฏฏะปั๊บ เราจะพูดว่า ไม่ต้องไปห่วงเรื่องอาหารการกินแบบนี้ ถ้าเราอยู่ในภพชาตินี้ เรามีความชัดเจนอย่างนี้ เราว่าเราอยากจะทำบุญอย่างนี้ ที่ทำบุญกุศลกันนะ ภพชาติหน้าจะได้มีอยู่มีกิน ถ้าภพชาติหน้าก็ เอออย่างนี้ฟังได้ ภพชาติหน้าก็เป็นมนุษย์เหมือนกันไง ถ้าภพหน้าชาติหน้าเกิดเป็นมนุษย์ ทรัพย์สมบัติของเรา เราจะมั่นคงของเรา เราจะแสวงหา เราจะรู้จักบำรุงรักษาของเรา เห็นไหม ตระกูลที่มั่งคั่ง ตระกูลที่รู้จักประหยัดรู้จักมัธยัสถ์รู้จักการรักษาทรัพย์สมบัติของตน ไม่ปล่อยให้มันสุรุ่ยสุร่ายไง ถ้าการเกิดอย่างนี้เอออาหารแบบนี้ได้ แต่ถ้าพูดถึงผลของวัฏฏะมันไปอีกเรื่องหนึ่งเลยนะ

ไม่ต้องไปห่วงไง บุญมันเป็นบุญ คำว่า “เป็นบุญ” ย่อยสลายไปแล้วเป็นความรู้สึกเท่านั้น ถ้าความรู้สึกนี้ พอขยายออกไปข้างนอกมันถึงจะเป็นอาหาร เป็นภัตตาหาร เป็นต่างๆ นี้มันย่อยออกไปไง นี่อำนาจวาสนาบารมีของคนมันต่างกันไปอย่างนั้นนะ แต่รวมสุดท้ายแล้วมันลงเข้าไปที่ใจไง

มันรวมลงอยู่ที่ใจ เห็นไหม ดูสิ ระลึกอดีตชาติได้ โอ๋ยทิพย์สมบัติมากมายมหาศาลเลย แล้วมันรวมลง มันรวมลงที่ไหนล่ะ เหมือนคอมพิวเตอร์ เวลาข้อมูลมันนิดเดียว เวลาขยายเข้าไปนี่เรื่องมันร้อยแปดพันเก้าเลย

นี่ก็เหมือนกัน เรื่องของอาหารไม่ต้องไปคิดขนาดนั้น ไม่ต้องไปคิดว่า ถ้าเราไม่ได้ทำบุญกุศลด้วยเป็นอาหาร ชาติต่อไปเราจะไม่มีอาหารกินไง

อาหารกิน เราจะกินทิพย์ กินของทิพย์สมบัติ เราไม่ได้กินอาหารแบบนี้ ถ้ากินอาหารแบบนี้นะ ดูสิ ทำบุญกุศลก็ว่ากันไป ทำบุญสิ่งนี้จะได้ผลตอบแทนอย่างนั้น ทำบุญกุศลอย่างนี้จะได้ผลตอบแทนอย่างนี้ อันนี้มันเป็นคติธรรมมาจากพระไตรปิฎกไง

ในพระไตรปิฎก ดูสิ เวลาพระสีวลีร่ำรวยมาอย่างไร ทำบุญมาอย่างไรพระพุทธเจ้าก็บอกไว้ คนที่เป็นพระอรหันต์ เป็นทุคตะเข็ญใจ ไม่เคยทำอะไรเลยแล้วทำไมถึงเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาได้ล่ะ แล้วถ้าเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้วมันดีกว่าสมบัติเท่าไร

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่มันทำมาๆ มันเคยทำมา พอเคยทำมาแล้วมันก็เลยกลายเป็นประเพณี ตามวัดก็เลยจัดการทำบุญแบบนั้นๆ แล้วไปเลียนแบบไง ไปเลียนแบบอย่างนั้น จิตใจของเราคิดไปอีกอย่างหนึ่ง เราไม่ปรารถนาอย่างนั้น แต่สมัยพุทธกาลที่เขาทำ อย่างกรณีนี้ กรณีอะไรนะ ปล่อยปลาๆ กรณีปล่อยปลานี่นะ มันเป็นเพราะสามเณร ลูกศิษย์ของพระสารีบุตรไง ว่าอีก  วันต้องตาย ก็ให้ไปลาพ่อแม่ซะ

เด็ก เณร  ขวบมันรู้อะไร มันก็ไปลาพ่อแม่ ไปถึงกลางทางไปเจอปลามันอยู่ในแอ่งน้ำ น้ำแห้ง ก็เลยจับปลานั้นไปปล่อย นี่มันไม่มีใครสอนน่ะ เพียงแต่มันเป็นเพราะเด็กมันมีหัวใจมันคิดถึงชีวิตเขา มันสะอาดบริสุทธิ์ไง

ทีนี้พอถึงเวลาครบให้ไปลา อาจารย์ไม่ได้บอกว่าเณรจะตาย ให้เณรนี้ไปลาพ่อแม่ ไอ้เณรมันก็เล่นของมันไปเรื่อย เจออะไรมันก็จับปลาไปปล่อย ไปแก้ไปให้ชีวิตของสัตว์โลก ครบ  วัน เณรไม่ตาย พอเณรไม่ตาย เขาถามว่าเป็นเพราะอะไร

อ้าวก็หมดอายุขัยแล้วน่ะ พอหมดอายุขัยแล้วเขาไปต่ออายุของเขาไง เขาให้อายุผู้อื่นไง พอให้อายุคนอื่น ไปให้อย่างอื่น บุญมันก็สะสมกลับมาที่ตัวเณรนั้นไง เณรนั้นก็ไม่ตาย มันเลยกลายเป็นประเพณีปล่อยปลาเราไง การปล่อยสัตว์ๆมันเกิดจากตรงนี้ เกิดจากในพระไตรปิฎกนี่แหละ ตอนนี้ก็เลยปล่อยกันใหญ่เลยพอปล่อยก็เป็นกิจกรรมนะ เอามันมาขังไว้ ไปจับมันมา ไปล่ามันมา จนสังคมเขาเพ่งเล็งไงว่าชาวพุทธทำทำไม

ฝรั่งเขามาทำวิจัยนะ ทำวิจัยว่าชาวพุทธปล่อยปลาปล่อยนก เขาเห็นแล้วเขาบอกว่ามันทำอย่างนี้ได้อย่างไร เท่ากับไปส่งเสริมพวกพาล พวกทำธุรกิจ เขามองอย่างนั้น เขามองแล้วเขาสมเพชนะ ถ้าเขาอยู่นอกศาสนาเขามองพฤติกรรมของชาวพุทธ เขาสมเพชเลย ไอ้ชาวพุทธก็เลยทำกันเป็นประเพณี ด้วยความไม่ได้คิดไง ถ้าคิดเสียหน่อยนะ เราจะทำอย่างไร ดูสิ อย่างที่ว่า ถ้ากำลังจะตาย วัวมันจะตาย เราไปไถ่มันออกมา อย่างนี้ไม่มีใครซื้อใครขาย เราไปไถ่มันออกมา ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันจะเป็นจะตาย เราไปปล่อยมัน

พอทำอย่างนั้นปั๊บ มันมีช่องว่างไง มันมีช่องว่างให้โลกสอดเข้ามา ถ้าคิดเสียหน่อย ฉะนั้น ถ้าอย่างนั้นแล้วมันก็กรรมของสัตว์เนาะ

ถ้าหลวงพ่อไม่ปล่อย จะฆ่าเดี๋ยวนี้ เอาปลามาฆ่าเลยนะ อ้าวต้องปล่อยนะ

แล้วคิดเท่าไรล่ะ

 บาท ๑๐ บาท” เขาว่าไปเรื่อยแหละ ไม่ให้ฆ่านะ

ไอ้นี่มันกรรโชกทรัพย์ มันเป็นการกรรโชกทรัพย์จากความสงสารของเราจากความสงสารของเรา ถ้ามันจากความสงสารของเรา ภาษาเรานะ สาธุ กรรมของสัตว์เว้ย ไอ้สัตว์ตัวนี้มันถึงเวรถึงกรรมของมันน่ะ มันต้องตาย แต่ไม่ใช่เราทำให้ตาย มันกรรมของสัตว์ แต่ถ้าเราปกป้องไว้ เราดูแลได้ เราก็อยากจะดูแลแต่กฎหมาย เราไม่มีสิทธิอะไร เราไม่มีสิทธิอะไรเลย แล้วเราบอกเราจะต้องไปไถ่มันๆ...มันเป็นกรรมของสัตว์ เพราะความเชื่อ นี่ไง ความเชื่ออย่างหนึ่งมันก็บิดเบือนไป

นี่พูดถึง เราดูบ่อย แล้วไอ้เรื่องปล่อยสัตว์ แล้วเดี๋ยวเขาก็ทำวิจัยสักทีหนึ่งเดี๋ยวๆ ก็ทำวิจัยสักทีหนึ่ง มันซ้ำๆ ซากๆ ซ้ำๆ ซากๆ เพราะอะไร เพราะกงกรรมกงเกวียนก็อยู่นี่ มันเป็นเรื่องของสังคม เป็นเรื่องของชาวพุทธเรา ถ้าชาวพุทธเราศึกษาเสียหน่อยนะ ศึกษาเสียหน่อย

แล้วอย่างที่ว่า เขาบอกว่าเขาภาวนาทุกวันพระ ถ้าวันพระเขาถืออุโบสถศีลเพราะถืออุโบสถศีลนี่นะ แล้วเขาภาวนา แล้วอุทิศส่วนกุศล

อุทิศส่วนกุศลก็อุทิศส่วนกุศลให้ญาติของเราฉลาด ให้ญาติของเรามีปัญญาหากินได้ ไม่ต้องห่วงหรอก ถ้าเราไม่ได้อุทิศแล้วญาติเราไม่มีข้าวจะกิน เขาก็มีสมอง เขาก็ทำงานได้ ทุกคนก็หาอยู่หากินได้ทั้งนั้นน่ะ นี่พูดถึงว่า ไอ้นี่คิดไปเองคิดไปเองไง คิดว่าถ้าเรานั่งภาวนาแล้วเราไม่ได้มีข้าว ไม่ได้ทำบุญไว้ ชาติหน้าจะไม่มีจะกิน

เรามีอำนาจวาสนาบารมีนะ ไม่มีจะกินแต่มีแบงก์เยอะๆ ไม่มีจะกิน อู้ฮูเรามีทุกอย่างพร้อม มันไปแลกเอาข้าวได้ แลกเอาข้าวได้ มันไปทำอย่างไรก็ได้ ไปถึงแล้วมันมีทางออกไปมหาศาล แต่เราไปคิดแคบๆ ไง พอไปคิดแคบๆ มันก็คิดว่าถ้าอยากได้ข้าวก็ทำบุญเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้เราจะสั่งข้าว ประมูลข้าวสารแล้วแจกเดี๋ยวกลัวชาติหน้าไม่มีข้าวกิน

ไม่คิดอย่างนั้นเลย เราคิดแต่ว่า เรามีจิตใจ มีความคิดที่สะอาดบริสุทธิ์ปรารถนาให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข ปรารถนาให้สังคมมีสติมีปัญญา ปรารถนาให้สังคมให้อภัยต่อกัน อย่าแก่งแย่ง อย่าทำร้ายกัน เราปรารถนาอย่างนั้นน่ะ แล้วปรารถนาอย่างนั้นแล้วทุกอย่างแผ่นดินธรรมไง ถ้าแผ่นดินธรรมมันก็เป็นแผ่นดินทองไง ถ้าจะไปเอาแผ่นดินทอง ทุกอย่างต้องสมบูรณ์พูนสุขหมดเลย แล้วแผ่นดินทองมันเอามาอย่างไรล่ะ เอามาด้วยความสุจริตหรือทุจริตล่ะ

แต่ถ้าเป็นแผ่นดินธรรมแล้วนี่นะ สิ่งที่ได้มามันเป็นสุจริตหมดไง มันจะมีมากมีน้อย ถ้าเป็นแผ่นดินทอง มันก็เป็นสิ่งที่ได้มาด้วยสะอาดบริสุทธิ์ ถ้ามันไม่เป็นแผ่นดินทองก็ไม่เป็นไร ถ้ามีแผ่นดินธรรมแล้วในหัวใจมันมีความสุข ในหัวใจของคน ในสังคมนั้นมีความสุขมีความสงบแล้ว ถ้ามันไม่มีทองก็ไม่เป็นไร ไม่เป็นไรแต่มันมีความสุขอยู่แล้ว นี่ถ้าเราปรารถนา ปรารถนาอย่างนี้

ถ้าปรารถนาอย่างนี้ปั๊บ เราจะบอกว่า ในการฝึกหัดนั่งสมาธิทุกวัน ในการเวลาเข้าอุโบสถ สมาทานศีลอุโบสถแล้วอุทิศส่วนกุศล มันดีกว่ากลัวจะไม่มีข้าวปลาอาหารให้ญาติเรากิน แต่เราจะบอกว่า เราจะมีสติปัญญา เราจะอุทิศส่วนกุศลให้ญาติของเรามีสติมีปัญญาหาข้าวกินเป็น หาทุกอย่างได้เองเลย

ทำทานร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ถือศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับการทำให้เกิดภาวนามยปัญญาขึ้นหนหนึ่ง การทำภาวนามยปัญญาเกิดขึ้น มันมีคุณค่าเท่ากับการทำบุญกุศลเป็นกี่หมื่นครั้ง ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับทำสมาธิหนหนึ่ง สมาธิร้อยหนพันหนไม่เท่ากับปัญญาหนหนึ่ง แล้วเกิดปัญญาขึ้นมาแล้ว มีปัญญาขนาดนี้ ทำไมจะหากินไม่ได้ ทำไมจะหาอาหารนั้นไม่ได้ นี่ไง เวลาบุญกุศลเป็นชั้นๆ ขึ้นไป

เราจะต้องการแต่วัตถุไง เราจะต้องการแต่จำนวนที่ทรัพย์สมบัติที่เรานับได้ไงแล้วมันต้องมีบัญชีคุมใช่ไหม แล้วความรู้สึกของคน เวลาเรื่องระดับของธรรมมันกว้างขวางมันใหญ่โต นี่เวลาหลวงตาท่านสำเร็จนะ ท่านบอกว่า หัวใจนี้มันไปได้ โลกธาตุ

ท่านพูดของท่านเองว่ามัน  โลกธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ แล้วใจเรามันคลุมหมดเลยไง มันกว้างใหญ่กว่า  โลกธาตุ ตรงนั้นน่ะมันสำคัญมาก สำคัญมากคือว่ามันครอบคลุมทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่ในธรรมนั้นหมดเลย ถ้าเราทำอย่างนั้นได้ ถ้าทำอย่างนั้นได้แล้วนะ ไอ้เรื่องอาหารการกินจบแล้ว จบเลยเพราะว่าไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม กินวิญญาณาหาร ผัสสาหาร ไปนู่นแล้วไปนู่นแล้ว เขาไม่กินอาหารแบบโลกเราแล้ว แล้วถ้าในใจมีคุณธรรมด้วย ไปเลย

ใจมีคุณธรรม ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ท่านเข้าฌานสมาบัติ จะกี่วันๆ ไม่ต้องกิน ไม่กินเลย ทั้งๆ ที่ยังเป็นมนุษย์อยู่นะ ร่างกายนี้ต้องการอาหารนะ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเวลาเข้าฌานสมาบัติ พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าสมาบัติ กึ๊กหยุดเลย ไม่ต้องกิน อยู่ได้ โอ้โฮสบายมาก อันนี้พูดถึงว่าเวลาภาวนาไปแล้ว ถ้าภาวนาไปแล้ว

อย่างนี้เราจะบอกว่า บุญกุศลในศาสนามันมีหลายระดับหลายชั้นมาก หลวงตาท่านบอกว่า ในพระพุทธศาสนาเหมือนห้างสรรพสินค้า เราเข้าไปในห้างสรรพสินค้า สินค้ามากมายมหาศาลเลย ใครมีวุฒิภาวะมากน้อยแค่ไหนก็จะได้ผลตอบแทนอย่างนั้นน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน เราเข้ามาเรื่องระดับของทาน ระดับของศีล ระดับของภาวนาระดับของภาวนาไปแล้วยังมีบุคคล  คู่ มรรค  ผล  ใจมันจะเติบโตใหญ่โตขึ้นไป โอ๋ยสุดยอดๆ

ฉะนั้น ถ้าไปอย่างนั้นปั๊บ ย้อนกลับมาที่อาหาร ทีนี้เพียงแต่ผู้ถาม จิตใจเริ่มต้นตั้งแต่บอกว่า อยากจะตักบาตรทุกวัน แต่พระข้างบ้านทำตัวไม่สำรวมจนไม่อยากจะใส่

แล้วพอไม่อยากจะใส่ มันเป็นต้นเหตุไง มันเป็นต้นเหตุว่าเราอยากจะทำความดี แต่ความดีของเรา เราคิดได้แค่นี้ไง แต่ความดีของเรา ระดับของทานระดับของศีล ระดับของภาวนา ถ้าทำของเราขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปจะเป็นประโยชน์มาก ถ้าเป็นประโยชน์มากนะ ไอ้คำถามที่ถามมานี่มันจะบอกเลย “ไม่น่าถามเลย ของง่ายๆ” ถ้าภาวนาเป็นนะ ถ้าภาวนาเป็นไปแล้วมันจะเห็นไปหมด แต่ถ้าภาวนายังไม่เป็นก็เป็นอย่างนี้ นี่ยังบอกว่าเป็นวุฒิภาวะของสังคม เป็นวุฒิภาวะของจิต จิตของแต่ละคนมันเป็นมาอย่างนี้

นี่พูดถึงว่า ไม่ติเตียนกัน เพียงแต่ว่ามันเป็นปัญหาโลกแตก จะทำบุญมันยังมีปัญหาขนาดนี้ นี่เพียงแต่จะทำนะ แล้วถ้าทำไปแล้วนะ โอ้โฮปัญหาร้อยแปดเลยมันถึงน่าเห็นใจ น่าเห็นใจผู้ที่ภาวนาใหม่

หลวงตาท่านบอกว่า ผู้ที่ภาวนาใหม่นะ มันยาก ยากตอนภาวนาเริ่มต้น คือคนทำงานไม่เป็น คนมาฝึกงานมันเงอะๆ งะๆ ไปหมดน่ะ แต่พอทำงานเป็นแล้วนะโอ้โฮมันทำได้เลย ไปได้เลย ภาวนาเป็นแล้วมันไปแล้ว

การภาวนามียากอยู่  คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้น กับคราวหนึ่งคราวที่ทำงานเสร็จแล้วจะส่งมอบงานนี่ยุ่งน่าดูเลย จบไง คราวจะจบนี่อีกเรื่องหนึ่ง เวลาขึ้นมา ตั้งแต่โสดาบันนี่ยากที่สุด แล้วสกิทาคามี อนาคามี ไปได้แล้ว แต่จะไปสิ้นสุดก็ยากอีกรอบหนึ่ง นี่ถ้ายากอีกรอบหนึ่ง นี่พูดถึงว่า เวลาวุฒิภาวะของจิต จิตที่มันจะสูงขึ้นดีขึ้น มันจะยากอย่างนี้ ถ้ายากอย่างนี้ปั๊บ

ผู้ถามนี่ก็เหมือนกัน เริ่มต้นเราอยากจะได้ดี อยากจะเป็นดีไปหมด แต่ดีไปแล้วเราก็คิดได้ชั้นเดียว ก็แค่นี้ แต่ถ้าคิดได้สูงขึ้นๆ นะ พูดอย่างนี้ทางโลกเขาจะบอกว่า “นี่เลี่ยงบาลี เลี่ยงบาลีไปหมดเลย นู่นก็หลบๆ หลีกๆ

ไม่ใช่หลบๆ หลีกๆ มันเพียงแต่จิตใจสูงขึ้นๆ แต่ถ้าเราอยู่ในวุฒิภาวะอย่างนี้แล้วไม่พัฒนาสิ หลบๆ หลีกๆ คอยเอาตัวรอด หลบๆ หลีกๆ ไง แต่นี่ถ้าจิตมันสูงขึ้น มันเข้าใจ เข้าใจแล้วเห็นใจด้วย เห็นใจก็ย้อนกลับมาหลวงตาอยู่ดี หลวงตาท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านจบไปแล้ว ท่านเมตตาพวกเรา แล้วเมตตาพวกเรา ยังเมตตาไอ้คนที่ดื้อๆ ด้านๆ อยู่นั่นน่ะ พูดไอ้คนที่มันไม่ให้ ไอ้คนที่ให้แล้วก็รู้จักยับยั้ง รู้จักยั้งคิด มันไม่ใช่น้ำตักเอาที่ไหนก็ได้ แต่พูดถึงคนที่มันไม่ให้ คนที่จิตใจมันยังดื้อด้าน เพราะศาสนาอยากจะเปิดใจคนให้ใจของเขามันเปิดขึ้นมา นี่เวลาท่านปรารถนาที่นั่น ฉะนั้น ความคิดของเรามันก็คิดแบบนี้ ถ้าพัฒนาไปแล้วมันจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ

นี่พูดถึงว่า จะทำบุญที่ไหน จะทำบุญอย่างไร

แล้วเวลาตัวเราเอง จะทำบุญที่ไหน จะทำบุญอย่างไร ทำแล้ว เวลามาถึงขั้นของภาวนาก็ยังไปห่วงว่ามันจะไม่มีข้าวกิน มันจะไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้ญาติ

ก็เราไปคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบแง่ที่ไม่พัฒนา แง่ที่ว่าวุฒิภาวะมันไม่เจริญเป็นชั้นๆ ไง มันคิดในแง่มุมเดียวไง เสมอกัน ไม่มีจิตใจที่สูงขึ้น ไม่มีการพัฒนาขึ้น

มันมีสิ พอพัฒนาขึ้นไปแล้วเราจะเข้าใจ เข้าใจแล้วจะเห็นใจ ทั้งเข้าใจ ทั้งเห็นใจ เห็นใจเขานะ เมื่อก่อนเราก็เป็นแบบนี้ เดี๋ยวนี้เราพัฒนาแล้ว เห็นไหม มันจะพัฒนาขึ้นมา แล้วไม่ต้องสงสัย อย่าไปจินตนาการ ทำของเราไป พยายามทำของเราไป แล้ววางใจของเราให้เป็นสุข อย่าให้กิเลสมันเข้ามาบีบคั้น จะทำบุญจะภาวนา สงสัยไปหมด แล้วภาวนาก็ยาก

วางไว้ให้หมดเลย พุทโธเฉยๆ เวลาภาวนานะ เวลาทำบุญของเรา เราก็คิดของเรา มีสติปัญญาของเรา แล้วถ้าเป็นงานบุญในชุมชน เราก็ร่วมไปกับเขา ร่วมไปกับเขา เพราะนี่มันเป็นวัฒนธรรม มันไม่ใช่ความเห็นของเรา เราไม่ต้องแบกหามกรรมอะไรทั้งสิ้น เราทำของเราไป แต่ถ้าเราคิดเองเห็นเอง มันจะเป็นเวรเป็นกรรมของเรา เราทำของเรา รักษาหัวใจของเรา แล้วฝึกหัดภาวนาเพื่อความสุขความสงบระงับในใจเรา เพื่อผลประโยชน์ของใจเรา เอวัง