เทศน์บนศาลา

รู้ตาม-รู้เท่า-รู้จริง

๑๘ ม.ค. ๒๕๕o

 

รู้ตาม-รู้เท่า-รู้จริง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

วันนี้ตั้งใจฟังธรรม ธรรมะเป็นของประเสริฐ ธรรมะนี้ประเสริฐมาก แต่เพราะพวกเรามันใช้ตรรกะไง ใช้ตรรกะ ใช้ธรรมชาติของมนุษย์ไปวิจารณ์ธรรม เราถึงไม่ได้ธรรมอะไรกันเลย ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นมาแล้ว

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างศักยภาพเป็นพระโพธิสัตว์ กว่าจะรื้อค้นมา ๖ ปี ๖ ปีนี่ไปรื้อค้นกับเจ้าลัทธิต่างๆ เจ้าลัทธิต่างๆ ที่มีการสั่งสอนกันอยู่แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนมาทั้งนั้นเลย แล้วออกมาประพฤติปฏิบัติเองไง เพราะมันไม่มี มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เพราะมันไม่ได้ชำระกิเลสเลย เห็นไหม จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาค้นคว้าด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ค้นคว้าเองเพราะอะไร เพราะการสร้างสมบุญญาธิการมามหาศาล มหาศาลจริงๆ นะ

ถ้าไม่มหาศาล จิตใจจะอ่อนแอ จิตใจอ่อนแอ จิตใจไม่มีศักยภาพ พอจิตใจนี่อ่อนแอ มันจะเชื่อสิ่งที่โลกเขามีอยู่ไง ว่าสิ่งนี้เขาค้นคว้ามาแล้ว เหมือนเรา อาหารที่เขามีอยู่แล้วก็จะกินแต่อาหารอยู่อย่างนั้นล่ะ สิ่งที่แปลกกว่านี้ไม่กล้าทำ สิ่งที่แปลกกว่า สิ่งที่ดีกว่าไม่กล้าทำนะ เพราะอะไร เพราะโลกเขามีอยู่แล้ว ถ้าทำออกนอกจากโลกไป มันจะเป็นเหมือนกับเราทำแปลกเขาไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพิสูจน์แล้ว พิสูจน์สิ่งต่างๆ อย่างนี้แล้ว มันไม่ใช่ธรรม ถึงมาค้นคว้าเอง มาสยัมภู ตรัสรู้เองโดยชอบ แต่ขณะที่ตรัสรู้เองโดยชอบ เพราะเวลาก่อนที่ออกประพฤติปฏิบัติ ออกมาจากราชวัง พระเจ้าพิมพิสารเข้าใจว่าที่ออกมาเพราะมีปัญหา ให้กองทัพครึ่งหนึ่ง ให้กลับไปยึดเอาสถานะของกษัตริย์คืน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไม่ต้องการ ฟังสิ “ไม่ต้องการ...ออกมานี้ ออกมาเพื่อโมกขธรรมแท้ๆ” นี่ความตั้งใจที่ออกมาแสวงหา แสวงหาสิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เพราะเห็นที่สวน ออกชมสวน เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย นี่มันมีศักยภาพอย่างนี้ เพราะได้สร้างสมบุญญาธิการมามีศักยภาพอย่างนี้

พยายามออกรื้อค้นสิ่งที่เป็นสัจจะความจริงที่ตรงข้ามกับไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เวลาออกมา แต่ความคิดของโลก พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์อยู่ราชคฤห์ มีกำลังมาก แบ่งกำลังทหารให้ครึ่งหนึ่งเลย ให้กลับไปเอาคืน เอาสถานะของกษัตริย์นี้คืน แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่ต้องการ ไม่ต้องการสิ่งนั้น นี่บอกถึงแนวทาง ถึงความมั่นคงของใจไง

ใจมั่นคง ทั้งๆ ที่ออกมาด้วยสัจจะความจริงของใจ ด้วยบารมี ด้วยความเห็นของใจ ด้วยความพอใจ แต่โลกเขาเข้าใจผิด เขาพยายามจะหาให้กลับไปเอาสถานะนั้นคืน นี่ไม่เอา ไม่เอา พระเจ้าพิมพิสารถึงได้ขอสัญญาไว้ข้อหนึ่ง ถ้าตรัสรู้ ถ้าได้ธรรมจริง...พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ เป็นกษัตริย์ปกครองประชาชน ผู้ปกครอง ผู้นำ ต้องมีปัญญามาก ถึงบอกว่า ถ้าได้จริงให้กลับมาสอนด้วย นี่ได้ขอสัญญาไว้ข้อหนึ่ง เจ้าชายสิทธัตถะออกไปค้นคว้าอยู่ ๖ ปี พระเจ้าพิมพิสารก็ปกครองอยู่โดยสถานะของกษัตริย์ ปกครองประชาชนอยู่ มีอาจารย์ด้วย ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นอาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสาร

เจ้าชายสิทธัตถะออกค้นคว้า ออกพิสูจน์มากับต่างๆ จนถึงที่สุด ค้นคว้ามาแล้ว ไปศึกษาทดสอบมาแล้ว สิ่งนี้เป็นเรื่องของโลกๆ ทั้งๆ ที่มีฤๅษีชีไพรนะ ที่เที่ยวเหาะเหินเดินฟ้านะ ชฎิล ๓ พี่น้องบูชาไฟน่ะ มีฤทธิ์ด้วย เอาพญานาคมาไว้อยู่ในที่บูชาไฟด้วย เขามีฤทธิ์มีเดชขนาดนั้นน่ะ โลกเขาตื่นเต้นกันไป

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก นี่เรื่องโลกๆ สิ่งที่มีอยู่แล้วนี่เรื่องโลกๆ ไม่สนใจเลย เพราะสิ่งนี้ไม่ได้ชำระกิเลส ค้นคว้าอยู่ จนถึงเพ็ญเดือน ๖ “ไปพิสูจน์มาหมดแล้ว คืนนี้ถ้าไม่ได้บรรลุธรรม นั่งตั้งแต่คืนนี้แล้วจะไม่ลุก” ตั้งแต่ปฐมยาม มัชฌิมยาม จนถึงยามสุดท้าย อาสวักขยญาณ สิ่งที่อาสวักขยญาณนี่ชำระกิเลส มรรคญาณเกิดตรงนี้นะ

มรรคญาณเกิดเพราะอะไร เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงของจิต กิจจญาณของจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกอดีตชาติ อดีต อนาคตไม่ใช่เป็นอย่างปัจจุบัน ปัจจุบันของจิตไม่ใช่ปัจจุบันของปัญญาที่เราใคร่ครวญกัน ไม่ใช่ปัจจุบันของปัญญาที่เราตรรกะ ที่เราตัดสินกัน ตัดสินกันด้วยสิ่งนี้ วิทยาศาสตร์ตัดสินสิ่งนี้ไม่ได้ เพราะวิทยาศาสตร์เคลื่อนตลอดเวลา

แต่สัจธรรมอันนี้ อดีต อนาคต บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกได้ไม่มีต้นไม่มีปลาย รื้อค้นได้หมดเลย มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ควรจะติดเพราะอะไร เพราะว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าโลกเขาไม่รู้กันหรอก แล้วเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ สมัยนั้นมหัศจรรย์มาก จิตนี้ไปเกิดที่ไหนก็มหัศจรรย์ แต่มหัศจรรย์ แต่เพราะมีปัญญา เพราะตอนนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้

บุพเพนิวาสานุสติญาณ อดีต อนาคตนี้ยังไม่ตรัสรู้ แต่ก็ไม่ติด เพราะการทดสอบกับเจ้าลัทธิต่างๆ มานี่ มายืนยันกับความรู้สึกอันนี้ไง ถ้ายืนยันกับความรู้สึกอันนี้ “อันนี้ไม่ใช่” ถึงย้อนกลับไปในปัจจุบันที่ว่าอาสวักขยญาณ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาตัวต้นเหตุ ตัวต้นเหตุของใจ ตัวไม่รู้ จิตที่มันไม่รู้เข้าไปชำระ นี่อาสวักขยญาณ

ขณะที่เกิดอาสวักขยญาณ ขณะที่จิตมันรวมตัวนั่นแหละ สิ่งที่จิตรวมตัว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้โดยใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่โคนต้นโพธิ์นั้นล่ะ ขณะตรัสรู้ในใจ สิ่งนี้กิเลสขาดออกไป มันพลิกฟ้าคว่ำดินนะ นี่เป็นความสุข เป็นสิ่งที่ประเสริฐมาก เป็นวิมุตติสุข

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขอยู่ เห็นไหม รำพึงรำพัน รำพึงรำพันว่าจะสอนใครได้ จะสอนใครได้ ธรรมะนี่ลึกซึ้งมาก สมัยนั้นนะ นักปราชญ์ ราชกวีต่างๆ มีมหาศาลเลย สิ่งที่ลึกซึ้งขนาดไหน แล้วจะสอนเขา ยังสอนไม่ได้เลยนะ นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐอย่างนี้ แล้วเราเป็นชาวพุทธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรากล่าวกันอยู่แล้วว่าในทะเบียนบ้านเราก็เป็น แล้วในปัจจุบันบวชเป็นพระ นั่งอยู่นี่เป็นพระ ภิกษุ ภิกษุณี

ภิกษุณี ถ้าเป็นภิกษุณีในหัวใจ เอหิภิกขุ บวชขึ้นมาเอง เป็นภิกษุณีจากหัวใจ “ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา” แล้วศึกษาศาสนา เป็นชาวพุทธไปศึกษาศาสนา มันใช้ศาสนาโดยศักยภาพน้อยมาก ศาสนานี้ลึกซึ้งมาก ขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าจะสอนได้อย่างไร ลึกซึ้งขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปัญญากว้างขวางขนาดนั้นนะ

แล้วอธิบายธรรม วางธรรมและวินัย เวลาตรัส เวลาพิสูจน์แล้ว เวลาใคร่ครวญแล้วจะเทศน์สั่งสอน พรหมมานิมนต์ด้วย เห็นไหม สิ่งนี้วางธรรมและวินัย บัญญัติไว้เป็นศาสนา เป็นธรรมและวินัย สิ่งนี้วางไว้เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ เพราะปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ สิ่งนี้มันเข้าไปลึกซึ้ง

แต่ในสมัยปัจจุบันเราศึกษาธรรมกัน เราศึกษาธรรม ธรรมก็ด้วยการรู้ตามไง รู้ตามใช่ไหม เพราะเราหลงในตัวมันเอง เราหลงมาก หลงในสถานะของมนุษย์ แล้วเราศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เราบอกโลกนี้เจริญมาก สรรพสิ่งในปัจจุบันนี้เจริญมาก เครื่องอำนวยความสะดวกมาก เราเป็นคนที่มีปัญญามาก เราจะไม่ยอมให้ใครหลอก เห็นไหม ทิฏฐิอันนี้มันเข้าไปฝังในหัวใจ ทิฏฐิอันนี้เพราะเราศึกษามาก เรารู้มาก

ถ้าเราศึกษามากรู้มาก เราก็ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยปัญญาของเรา ด้วยปัญญาของเราก็ด้วยทิฏฐิของเรา ด้วยความเห็นของเรา การกระทำอย่างนี้ การศึกษาอย่างนี้มันเป็นการรู้ตาม รู้ตามธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นอดีตอนาคตไง มันเป็นเรื่องของอนาคตนะ

ธรรมะ เราศึกษาเป็นปัจจุบัน กว่าจะเราศึกษาธรรม เราปฏิบัติกันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จิตเรามันอยู่อนาคต มันอยู่อีกมหาศาลเลย มันอยู่ลึกมาก พออยู่ลึกมาก ศึกษา เวลาเรื่องธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เรื่องของจิต” เรื่องของจิตนี้มหัศจรรย์มาก

ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ไปเรียนกับอาฬารดาบส เข้าสมาบัติมันเหาะเหินเดินฟ้าได้ กาฬเทวิลระลึกอดีตชาติได้ ๔๐ ชาติ แล้วขณะที่ยังมีชีวิต ขึ้นไปอยู่บนพรหมได้ สิ่งนี้มันมีอยู่แล้ว สิ่งต่างๆ ที่สิ่งที่มันมีของเขา สิ่งนี้มันเป็นเรื่องฌานโลกีย์ สิ่งที่เป็นฌานโลกีย์ สภาวะแบบนี้มันแก้กิเลสได้ไหม? มันแก้กิเลสสิ่งใดไม่ได้เลย

แต่สิ่งใดไม่ได้ แล้วเราศึกษาอะไรกัน เราทำอะไรกัน เราจะศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาจากไหน? ศึกษาจากโลกๆ ศึกษาจากวิทยาศาสตร์ ศึกษาอย่างนี้เหรอ นี่มันเป็นการรู้ตามนะ ถ้าตามนะ ความมหัศจรรย์ของจิตมันมหาศาลมาก ถ้าจิตมันรู้ตาม รู้ตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็มีผล เพราะความมหัศจรรย์ของจิตมี

จิตมหัศจรรย์มาก ผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะ ผู้ที่รู้ตาม มันสร้างอารมณ์ความรู้สึก มันเป็นการเคลิบเคลิ้มในธรรม มันเป็นการเคลิ้มนะ เราเคลิ้มในธรรม เห็นไหม ดูสิ เวลาวางธรรมและวินัยไว้ จนเป็นชาวพุทธ เราเป็นผู้รับมรดกตกทอดจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบริษัท ๔ อยู่นี่ แล้วปัจจุบันนี้ทุกอย่างเป็นเรื่องโลกหมด การปฏิบัติก็เป็นประเพณี การปฏิบัติก็เป็นการปฏิบัติ ปฏิบัติที่เปลือก เปลือกๆ เลย ไม่เข้าถึงใจเลย เพราะอะไร

เพราะปฏิบัติ เราเป็นคนที่มีความรู้ เรามีความพยายามศึกษา เราปฏิบัติ เราจะไม่ให้กิเลสหลอกเรา พอไม่ให้กิเลสหลอกเรา เราก็ศึกษาธรรม ศึกษาธรรม แล้วความมหัศจรรย์ของจิต จิตเราศึกษา ไม่ศึกษามันมหัศจรรย์อยู่แล้ว เพราะมันมีกรรมของมัน กรรมของจิตมันมีกรรม จิตที่สร้างกรรมมาก็เกิดทิฏฐิมา มันจะรู้ว่าตัวเองเกิดทิฏฐิมานะ เกิดจากใจ พอเกิดจากใจ มันศึกษาตามตรรกะ ศึกษาธรรมเข้าไป มันก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ

มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ มันเป็นคุณสมบัติของจิต จิตนี้มันมีคุณสมบัติมาก ดูสิ เราเข้าใจสิ่งใดมันจะปล่อยหมด เวลาเราทุกข์ ทุกข์จนจะเป็นจะตายนะ เวลาทุกข์นี่มันเดือดร้อนมาก มันอัดอั้นตันใจมาก แล้วมันเป็นอนิจจัง “สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” เวลามันแปรสภาพไป ทุกข์อยู่ไหน แต่เวลามันทุกข์อยู่ มันบีบคั้นใจจนไม่มีทางจะออก มันจะทำลายตัวเองเลยล่ะ

แต่ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะประคองจิตนี้ไป “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา มันแปรสภาพธรรมดา” แต่เพราะเรารู้ตาม เราไม่เข้าใจ เราแบกรับไว้ หนักหนาสาหัสสากรรจ์จากหัวใจมาก ถ้าไม่มีวาสนา ถึงทำลายตัวเองก็มี ถ้าถึงทำลายตัวเองก็ตายไป สิ่งนี้กรรมก็เพิ่มซ้อนๆๆ เข้าไป เห็นไหม จิตถ้ามันมีสิ่งที่อวิชชาในหัวใจ มันบีบคั้นมาก

สิ่งที่รู้ตาม ที่เราศึกษา เราใคร่ครวญเป็นตรรกะไป มันก็รู้ตาม มันก็มีความสุขได้ นี่เราใช้ศักยภาพศาสนากันเท่านี้ เท่านี้จริงๆ มันไม่เข้าถึงสัจจะความจริงเลย มันไม่เข้าสัจจะเพราะมันเป็นการรู้ตาม รู้ตาม เห็นไหม เราศึกษาธรรม เราศึกษาแล้วเราได้อะไร? เราได้ประกาศ เราได้สถานะ เราได้มหาศาลเลย ได้ทั้งนั้นเลย แล้วมันแก้กิเลสสักตัวไหม? มันได้ทำกิเลสถลอกปอกเปิก

กิเลสมันไม่ได้ไปแตะต้องมันเลย ไม่ได้แตะต้องกิเลสเลยนะ กิเลสกลับมีทิฏฐิมานะอีกด้วยว่า “การปฏิบัติสมัยนี้เจริญรุ่งเรือง เจริญรุ่งเรืองมาก” รุ่งเรืองของใคร? รุ่งเรืองของกิเลส กิเลสมันอ้างธรรมนะ อ้างธรรมนี่ การรู้ตาม รู้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ปากเปียกปากแฉะ ถ้าการอธิบายธรรมนี่ปากเปียกปากแฉะเลย แต่มันไม่เป็นสัจจะความจริงตรงไหนรู้ไหม

ถ้าสัจจะความจริง เราเป็นผู้ใหญ่ เราทำงานของเรา เราจะรู้เลย การทำงานของเราจะถูกต้อง หรือผิดพลาดตรงไหน เราจะมองออกหมด แต่ถ้าเป็นเด็กนะ มันเข้าใจว่าทำถูกๆ มันถึงไม่เข้าสัจจะความจริงเลย “รู้ตาม” รู้ตามมันเป็นการลูบคลำ มันเป็นอดีตอนาคต มันไม่เป็นสัจจะความจริงเลย

ถ้าการปฏิบัติ เพราะครูบาอาจารย์มีมาก การกำหนด ว่าการทำ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้าศีล สมาธิ ปัญญา เราต้องทำจิตให้สงบ ถ้าทำให้จิตสงบขึ้นมาเพื่ออะไร? เพื่อให้เห็นจิต ให้เห็นจิต รู้จักจิต แต่เราไม่รู้จักจิต เรารู้แต่อาการของจิตโดยสัญชาตญาณ

ในเมื่อจิตมันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ เกิดเป็นสัตว์ ถ้ามันมีปัญญาของมัน มันก็รักลูกของมัน มันก็ดูแลลูกของมัน มันเป็นสัตว์มันก็เป็นสัตว์ที่ดี เกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์มีปัญญา ปัญญาช่วยในการบริหารจัดการในชีวิต มีเชาวน์ปัญญา เกิดเป็นสิ่งต่างๆ จิตนี้มหัศจรรย์มาก นี่พอเกิดมหัศจรรย์ สิ่งต่างๆ อย่างนี้ เราออกจะมาประพฤติปฏิบัติ

ครูบาอาจารย์สอนให้กำหนดพุทโธ พุทโธก็ได้ ถ้ากำหนดพุทโธนะ ถ้ากำหนดดูจิตก็ได้ ดูนามรูปก็ได้ จะดูอานาปานสติก็ได้ คำว่า “ก็ได้” นะ ต้องมีสติ “สติ” ถ้าขาดสติ คำว่า “ขาดสติ” เราคิดว่าสติไม่มีเลยเหรอ คำว่า “ขาดสติ” มันมีสติ สติโดยปุถุชนไง คนเราเป็นปุถุชนมีสติสัมปชัญญะนะ แต่สติสัมปชัญญะของปุถุชน สติปัญญา สติของกัลยาณปุถุชน สติของพระโสดาบัน สติของพระสกิทาคามี สติของพระอนาคามี สติของพระอรหันต์ต่างกันทุกอย่าง สติมันต้องฝึกได้ ถ้าไม่ขาดสติ

การขาดสติ คือการฝึกฝนไป กำหนดสิ่งต่างๆ ถ้าขาดสติ...คำว่า “ขาดสติ” สติมันไม่สมดุล ไม่สมบูรณ์ แต่สติมันมีอยู่ มีอยู่โดยสถานะของจิตในขณะนั้น เหมือนกับถ้าดูดอกไม้ ดูดอกไม้ธรรมชาติ ของเขาถ้าเก็บไว้มันจะเน่ามันจะเสีย มันจะเฉา มันจะแห้ง แต่ถ้าเป็นดอกไม้พลาสติก ดอกไม้พลาสติกเราเก็บไว้ขนาดไหน มันจะไม่เน่าไม่เสีย มันจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลย ถ้าเป็นดอกไม้พลาสติกเห็นไหม

เราก็เข้าใจว่าสติไม่ต้องฝึกฝน สตินี้ไม่จำเป็น ถ้าสตินี้ไม่จำเป็น ดูดอกไม้นะ เวลามันเปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยน เราต้องบำรุงรักษาใช่ไหม แล้วดอกไม้มันจะเกิดบ่อย เวลาถึงเวลาของเขา เขาออกดอกออกผล เราเก็บแล้วเราต้องถนอมรักษา รักษาเพราะอะไร เพราะมันเป็นดอกไม้ธรรมชาติ มันเหี่ยวเฉา มันจะเป็นอะไรของมัน ถ้าสติมันดีขึ้นมามันก็ดอกไม้ดอกหนึ่ง เวลามันเหี่ยวเฉาก็จะเป็นอย่างนั้น นี่สติมันต้องฝึกบ่อยๆ อย่างนี้ไง

สติมันเกิดจากจิต ไม่ใช่จิต สตินี่เกิดจากจิต สติกับจิตถ้าเป็นอันเดียวกันเราจะไม่เผลอ ถ้าสติเกิดจากจิต สติเป็นอัตโนมัติ สติมันเป็นความจริงขึ้นมา สติมันต้องอยู่กับจิตตลอดไป สติไม่ได้อยู่กับจิตนะ ถ้ามันอยู่กับจิต ทำไมเดี๋ยวเราเผลอ เดี๋ยวเราไม่เผลอล่ะ การเผลอและไม่เผลอนี่อยู่ที่อำนาจวาสนา เพราะคำว่าอำนาจวาสนาตลอด

เพราะอำนาจวาสนา เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย แสนมหากัป จิตนี่มีต่างๆ กันไป มหัศจรรย์มาก แล้วถ้ามีสติ สติสมบูรณ์ขนาดไหน การกำหนด เห็นไหม กำหนดดูจิต ถ้าเราดูจิตเข้าไปเรื่อยๆ การดูจิต ถ้ามีสติมันจะตามเข้าไป ตามเข้าไป ตามเข้าไป ถ้าเรากำหนดนามรูป กำหนดนามรูปมันก็เป็นนามรูปไป ถ้ามีสตินะ

ถ้าไม่มีสติ มันกำหนดไปเรื่อยๆ ความเห็น ความเข้าใจ ถ้าเรามีอำนาจวาสนา เรามีตรรกะ เราเป็นผู้ปฏิบัติ มันจะรู้เท่า สิ่งที่รู้เท่า มันจะตามเข้าไปเรื่อยๆ พอรู้เท่าแล้วมันจบ

เรานะ เวลาเราเข้าโรงพยาบาลกัน เราจะผ่าตัด เราผ่าตัด ถ้าเป็นผ่าตัดใหญ่เขาต้องวางยา เพื่อจะไม่ให้เรารู้สึกตัว เพื่อจะผ่าตัด เพื่อรักษาชีวิตของเรา แต่อย่างนี้พอมันรู้เท่านี่ สติมันไม่มี สติมันไม่มี มันรู้เท่าเฉยๆ พอรู้เท่าเฉยๆ นี่ไม่รู้จักจิต เราใช้นามรูป นามธรรมตามหาจิต แล้วต้องรู้จักจิต ถ้าไม่รู้จักจิตนี่เป็นการรู้เท่า เหมือนกำหนดพุทโธเหมือนกัน พุทโธเหมือนกัน การปฏิบัติทุกแขนง ทุกวิธีการ ถ้าไม่เข้าใจแล้วขาดสติ มันจะเป็นการรู้เท่า ถ้าเป็นการรู้เท่า มันไม่ใช่รู้จริง ถ้าเป็นการรู้จริงมันจะเป็นสมาธิ

ถ้าการรู้จริงเป็นความรู้จริง เห็นไหม การรู้ตาม เรารู้ตามของเรากันไป เรารู้ตามนะ รู้ตามไปแล้วก็มีอารมณ์เคลิบเคลิ้มไป ขณะผู้ที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ แล้วแต่เกิดมาปรารถนาพุทธภูมิ ปรารถนาสิ่งต่างๆ ก็เกิดมาเพื่อสร้างสมบุญญาธิการ เกิดมาเพื่อสร้างบุญกุศล สิ่งนี้เขาก็มีความสุขของเขา เขาพอใจของเขานะ นี่การรู้ตาม

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีประโยชน์มาก เพราะธรรมอันนี้มันละเอียดลึกซึ้ง แล้วคนใช้ ใช้แต่เปลือกๆ ใช้ไม่ถึง ๕ เปอร์เซ็นต์นะ ใช้ประโยชน์จากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ถึง ๕ เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ ถ้าเราขวนขวาย แล้วเราประพฤติปฏิบัติให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันจะเห็นความละเอียดลึกซึ้งข้างหน้าอีกมหาศาลเลย

ถ้าความละเอียดลึกซึ้ง ขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท้อใจเลยว่าจะรู้ได้อย่างไร จะปฏิบัติกันได้อย่างไร เพราะมันลึกซึ้ง ลึกซึ้งมาก มันธรรมเหนือโลก มันไม่ใช่ธรรมจากโลก ธรรมจากสติปัญญาของเรา เราใช้สติปัญญาของเรา นี่โลกียปัญญาทั้งนั้นเลย แต่เพราะรู้ตาม เพราะอาศัยแอบอิงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง มันถึงมีความสุข ความสุขเพราะอำนาจของจิต ความสุขเพราะกำลังของจิต ความสุขเพราะจิตมันเป็นสิ่งที่ได้ดื่มกิน เหมือนเราหิวอาหาร เราได้กินอาหารขึ้นมาเราก็มีความสุข ความสุขอย่างนี้มันก็เป็นเรื่องของโลกๆ นี่ปฏิบัติแบบโลกๆ มันถึงเข้าไม่ถึงสัจจะความจริง

ถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าสติ สติเราไม่สมบูรณ์ มันเข้าไปถึงปั๊บ ตกภวังค์ รู้เท่า ตกภวังค์ พุทโธๆ เหมือนตามรอยโค ถ้าเราตามรอยโค พุทโธๆ ไป เราจะถึงตัวโค แต่ถ้าพุทโธๆ ถึงตัวโคแล้ว สติไม่สัมปชัญญะ ไม่สามารถจับโคได้ ไม่สามารถจับว่าเราไม่เป็นโค โคกับเราต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างอยู่มันได้ประโยชน์อะไร

การรู้เท่าคือขาดสติ การรู้เท่าเป็นมิจฉาสมาธิ มันเป็นมิจฉา การกำหนดนามรูป เห็นไหม กำหนดนามรูปต่างๆ ว่าสิ่งนั้นเป็นปัญญา เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้เป็นปัญญา มันก็เป็นนามรูป นามรูปมันเป็นอารมณ์ความรู้สึกใช่ไหม มันเป็นอาการของใจใช่ไหม มันไม่ใช่ตัวใจ

ถ้ามันเป็นอาการของใจ ไม่ใช่ตัวใจ ถ้าเรารู้เท่าก็วางยาสลบตัว นี่มันวางยาสลบ มันว่าง ว่างไหม? ว่าง เพราะอะไร เพราะมันเป็นคุณสมบัติของจิต สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของจิต เหมือนกับเราแบกรับภาระสิ่งใดอยู่ เราปล่อยวางภาระสิ่งนั้นไป สิ่งนั้นต้องไม่มี เพราะมันเบาขึ้นมา เพราะสิ่งนั้นเราปล่อยไปแล้ว แล้วเรารู้จักตัวเราไหมล่ะ เราปล่อยเพื่ออะไร? เดี๋ยวก็แบกอีก เดี๋ยวก็เป็นอีก เดี๋ยวก็แบกขึ้นมาใส่บ่า เดี๋ยวก็โยนทิ้งไป เดี๋ยวก็แบกขึ้นใส่บ่า...นี่ไง นามรูปไง

แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ ปัญญาอบรมสมาธิมันจะมีสติ ถ้าไม่มีสติ ความคิดนี้จะฟุ้งซ่าน ความคิดจะฟุ้งไปตลอดเลย แต่ถ้ามีสติตามไป ความคิดขนาดไหนเราตามรู้ ตามรู้ความคิดไปเรื่อยๆ เพราะถ้าขาดสติมันหยุดไม่ได้ไง การที่ทำ เหมือนกับเรา เราเข้าใจสิ่งใดๆ เราบริหารจัดการได้ ถ้าการบริหารจัดการขึ้นไป ถ้ามีสติสัมปชัญญะขึ้นไป สิ่งนี้จะรู้ รู้ตามไป รู้ตามไป รู้ตามก่อน เห็นไหม การรู้ตามเพราะว่าสิ่งนี้มันฟุ้งซ่าน

เพราะครูบาอาจารย์สอน หลวงปู่ดูลย์ท่านสอน “จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัยให้ผลเป็นทุกข์” สิ่งที่ส่งออกก็ความคิดนี่มันส่งออกหมดล่ะ มันให้ผลเป็นสมุทัย สิ่งที่เป็นสมุทัยเป็นความทุกข์ ความทุกข์ ต้องหยุดความคิด การหยุดความคิดก็ใช้ปัญญาไล่ไป หยุดความคิดมันจะเห็นจิต ถ้าไม่หยุดความคิด ไม่เห็นจิต คือว่าเวลาเราว่าง เวลาเราปล่อยวาง เราไม่มีสติ เราไม่สามารถเห็นจิตของเรา เราเห็นอาการของจิต แล้วอาการของจิตดับลงเท่านั้น อาการของจิตดับลง แล้วไม่รู้สิ่งใด ถึงบอก “ว่าง ว่าง แล้วทำอย่างไรต่อไป ว่างๆ”

ว่างๆ อย่างนี้ทำไมบริหารจัดการไม่ได้ ถ้าเป็นสมาธิไม่เป็นอย่างนี้หรอก สมาธิเป็นความรู้จริงของสมาธิเป็นอีกอย่าง นี่แค่รู้ตามก็เป็นอารมณ์หนึ่ง รู้เท่าก็เป็นอารมณ์หนึ่ง รู้จริงเป็นอีกอารมณ์หนึ่งนะ อารมณ์ความรู้สึก อารมณ์นี่เป็นความจริงไหม อารมณ์เกิดดับทั้งนั้น ในเมื่อเป็นขั้นของสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิความจริง ความจริงนะ ถ้าเราไม่ใช้ประโยชน์ เรากำหนดพุทโธ พุทโธพร้อมกับสติเข้าไป กำหนดพุทโธๆๆ สติพร้อมตลอดไปนะ ถ้าจิตมันสงบ

แต่ถ้ามันเป็นการเข้าใจโดยตรรกะ ความเข้าใจโดยที่เราศึกษามา แล้วกิเลสมันหลอก เห็นไหม ในภาคปฏิบัติของครูบาอาจารย์บอกว่า กำหนดพุทโธๆๆ ไป พุทโธมันจะหาย เพราะพุทโธนี่เป็นชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำบริกรรม แต่ขณะที่จิตมันเป็นพุทโธแล้ว มันจะเป็นคำเดียวกัน...นี่ก็ไปเซ่อกับจิตอีก ไปเซ่อกับกิเลสมันหลอกอีก พอพุทโธๆ ไปกิเลสมันก็สวมเขา กิเลสบังเงา บังเงา พุทโธๆๆ ก็อยากจะได้สมาธิไง พุทโธๆๆ ไป เบาไปๆ...นี่มันไปเปิดทาง เห็นไหม มันไม่รู้จริงเลย มันเป็นความจริงไม่ได้เลย

แต่ถ้าพุทโธๆๆ ไปเรื่อยๆ มันจะรู้ขนาดไหนก็แล้วแต่ สติจะพร้อมไปตลอด เวลาเป็นน่ะมันเป็นโดยสัจจะความจริงนะ ถ้าสัจจะความจริงนี่สติพร้อม จิตจะลงขนาดไหน จะตกจากที่สูง จะพองตัวขนาดไหน เรื่องสภาวะแบบนี้มันเป็นที่อำนาจวาสนา คนถนัดซ้าย คนถนัดขวา คนถนัดอะไรก็แล้วแต่ จิตทำ ถ้าทำโดยความถนัดของตัวมันจะทำได้คล่อง

นี่ก็เหมือนกัน จิตมันได้สะสมบุญญาธิการมา มันจะแสดงออกโดยสัญชาตญาณของจิต จิตนี้แสดงออกตามสัญชาตญาณ ถ้าเราใช้สติปัญญาควบคุมตามสัญชาตญาณ สิ่งนี้มันจะแสดงตัวออกมา ยิ่งแสดงตัวออกมา ดูสิ เราถนัดด้วยมือซ้ายและมือขวาก็แล้วแต่ เราทำถูกก็ได้ ผิดก็ได้ สิ่งที่เห็นที่เป็นนิมิต สิ่งที่เห็นมันก็ผิดก็ได้ถูกก็ได้ เพราะมันยังเป็นสมมุติอยู่

เราก็ต้องกำหนดพุทโธๆ เข้ามา สิ่งนี้เราวางไว้ รู้แล้วผ่าน รู้แล้วผ่าน...ถ้ามี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่มี เห็นไหม เราถนัดซ้าย เราถนัดขวาก็แล้วแต่ เราทำถูกต้องดีงามเข้าไป ผลงานของเราจะออกมาเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา เราจะเก็บเอกสารของเรา ทำได้ถูกต้อง นี่ก็เหมือนกัน กำหนดพุทโธๆๆ เข้าไป ขอให้ความสงบเกิดขึ้น แล้วมีสติสัมปชัญญะตลอดไป

ถ้ามีสตินะ มันจะเป็นความรู้จริง สิ่งที่รู้จริง นี่เห็นจิต เราต้องเห็นจิตนะ ในภาคปฏิบัติ ถ้าเห็นจิต แล้วจิตเห็นจิต มันถึงจะเป็นมรรค “จิตเห็นจิต” ต้องมีตัวจิต คือตัวสมาธิ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าไม่มีสมาธิมันเป็นอาการของจิต พยายามค้นคว้าหาจิต ไม่ใช่สมาธิ มันไม่ใช่มรรค ไม่ใช่มรรคเพราะอะไร ไม่ใช่มรรคเพราะสิ่งนี้มันไม่มี

เหมือนกับเราไม่มีสิทธิฟ้อง เราเห็นคนทำผิด เราไม่มีสิทธิฟ้อง เราฟ้องเขาไม่ได้นะ แต่ถ้าผู้เสียหาย ผู้ทำผิด ฟ้องผู้ที่ทำผิดได้ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อว่าอาการของจิตมันไม่มีตัวจิต มันไม่มีผู้รับรู้ มันไม่มีฐานที่ตั้ง มันไม่มีสิ่งรับผลประโยชน์ มันไม่มีใครแก้ไขไง มันเป็นการรู้เท่าและการรู้ตาม การรู้เท่าและการรู้ตามมันก็เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ้าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่อาการของจิตกับเรา การปฏิบัติอย่างนี้มันปฏิบัติโดยความเห็นของตัว ถ้าเป็นความเห็นของตัว เห็นไหม สิ่งที่ความเห็นของตัว มันก็เป็นความเห็นของตัว แต่ถ้าจิตนะ เราเห็นจิต เห็นจิตนะ จิตเห็นจิตก็เป็นสมาธิ เป็นสัมมา เป็นสัมมาเป็นอะไร? เป็นหินทับหญ้า ถ้าจิตไม่สงบ ถ้ากิเลสไม่สงบตัวลงจะไม่เห็นจิตของตัว ขณะที่ใครทำสมาธิก็แล้วแต่ ถ้าจิตมันสงบเข้ามานะ มันจะมีความสุข จะฝังใจ

หลวงตาท่านพูดประจำ เรียนหนังสืออยู่ ๗ ปี กำหนดพุทโธได้สมาธิ ๓ หนเท่านั้นเอง ๗ ปี จิตนี้เป็นสมาธิ ๓ หน แล้วอยากได้มาก มีความสุขมาก เห็นไหม ถ้ามีจิตอย่างนี้ เวลาครูบาอาจารย์ท่านออกปฏิบัติ กำหนดจิต กำหนดความสงบของใจ ตั้งมั่น จิตนี้เข้มแข็งมาก จิตเข้มแข็งเพราะอะไร เพราะยังเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ แล้วมาทำกลดหลังหนึ่ง ทำกลดหลังหนึ่งจิตเสื่อมหมดเลย เสื่อมแล้วพยายามขึ้นขนาดไหนก็ไม่ได้ เพราะไม่มีหลัก

โดยหลักต้องมีสติตลอด สตินี่ฝึกได้ แล้วต้องฝึกด้วย ถ้าขาดสติมันก็เป็นเรื่องของ...มันเป็นได้ เป็นสมาธิได้ แต่มันไม่เป็นสัมมา ถ้าเป็นสัมมา แล้วถ้าเป็นสัมมา ขณะที่เราจิตสงบเข้าไปเห็นอาการต่างๆ สิ่งที่เห็นต่างๆ ถ้าจิตสงบ จิตเป็นสัมมาสมาธิ เห็นนะ ไก่ได้พลอย ถ้าไก่ได้พลอย หินทับหญ้า คือมันไม่ยกเป็นมรรค ไก่เห็นพลอย ไก่ขณะว่าเห็นพลอย พลอยนี้กินไม่ได้ กินข้าวสารไป เห็นข้าวสาร คุ้ยเขี่ยอาหารหาตัวหนอนกินไป แต่ไม่รู้จักพลอย พลอยไม่เอา

ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ถ้ามันน้อมไปเห็นกาย ถ้าน้อมไปเห็นกาย เพราะอะไร เห็นกาย เห็นจิต ถ้าเห็นจิตนะ จิตเห็นจิตเป็นมรรค เป็นมนุษย์ มนุษย์รู้จักคุณค่าของพลอย พลอยอยู่ในดิน ถ้าเรารู้จักคุณค่าของพลอย เราจะเอาสิ่งนี้มาเป็นประโยชน์ ขณะที่จิตเป็นสัมมาสมาธิแล้วนะ จิตไม่เห็นจิต รู้จักจิต แต่ยังไม่เห็นจิต รู้จักจิตแล้วต้องจิต จิตไปเห็นจิต

มีครูบาอาจารย์หลายองค์มาก เพราะทำความสงบของใจเข้ามา พอจิตสงบเข้ามา สรรพสิ่งนี้เป็นสักแต่ว่า เข้าใจว่าสมาธินี้เป็นนิพพานไง เข้าใจว่าสมาธินี้เป็นผล เห็นไหม นี่ไก่ได้พลอย ไก่ได้พลอยเพราะเห็นสรรพสิ่งนี้เป็นสักแต่ว่า สรรพสิ่งนี้เป็นธรรม เป็นธรรมเพราะอะไร เพราะพิจารณาเข้ามาแล้ว ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้เป็นสัจธรรม พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้วก็ปล่อยวางเข้ามา นี่ไก่ได้พลอย เพราะอะไร เพราะจิตมันสงบ จิตมีหลักมีเกณฑ์ แต่จิตไม่เห็นจิต จิตเห็นอาการของจิตดับมาเฉยๆ

ครูบาอาจารย์หลายองค์มาก หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนไว้นะ สอนให้ดูจิต ถ้าหลวงปู่ดูลย์สอนให้ดูจิต เวลาครูบาอาจารย์ประพฤติปฏิบัติ พอจิตสงบเข้าไป ไปถามท่าน “นี่เห็นอาการของจิต ยังไม่เห็นจิต” ถ้าจิตเห็นจิตแล้ว มันจะสงบเข้ามา มันจะมีสติ มันจะมีสมาธิ แล้วจิตเห็นอาการของจิตถึงเป็นมรรค จิตส่งออกทั้งหมด จิตที่พิจารณาไป ส่งออกความคิดของเรานี่เป็นทุกข์ ที่ตรึกธรรมนี่ส่งออกทั้งหมดเลย แต่ก็มีสติไล่ไป ไล่ไป ไล่ไปจนจิตมันสงบ

จิตสงบขนาดไหนก็ไล่เข้าไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า จนเห็นตัวมันเอง เห็นจิตมันปล่อยวางเข้ามา เพราะอะไร เพราะปุถุชนนะ ปุถุชนไม่เห็นความคิดของตัว...ความคิดเป็นเรา สรรพสิ่งนี้เป็นเราหมด เราบวก บวกเข้าไปกับธรรม บวกเข้าไปกับความคิดหมดเลย เป็นปุถุชนทั้งหมดเลย

แล้วสติเราตามไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า พอบ่อยครั้งเข้านี่กัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนมันเห็นนะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เสียงนี่ เสียงต่างๆ เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร แล้วถ้าเสียงนี้มันเป็นมาร ทำไมเสียงที่มันมีอยู่ในโลกนี้ เสียงทุกอย่างมีหมดแล้ว มันเป็นมารไหมล่ะ มันเป็นมารที่ไหนล่ะ? มันเป็นมารที่ใจเรานี่ ใจของเรา มันเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร

ถ้ามันพิจารณาเห็นความคิดโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ ความคิดนี่ ความคิดต่างๆ มันเกิดมาจากไหน? เกิดมาจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ...รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดมาจากไหน อาการของจิตไง อาการของจิตเห็นสภาวะแบบนี้มันก็ปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามา

ถ้ามันปล่อยเข้ามา พอเห็นว่า รูป รส กลิ่น เสียง เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เราคิด เราทุกข์อยู่นี่ แบกรับภาระหนักอกอยู่นี่ ก็ไอ้การเกิดดับนี่ พอมันเข้าใจมันตัด มันตัดนะ บ่อยครั้ง บ่อยครั้ง ที่ไล่ตามเข้าไปบ่อยครั้งเข้า พอมันตัดรูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วง เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันเป็นมาร มันมาล่อใจให้ใจเสวยมัน ทุกข์ตลอดเวลา มันก็เป็นปุถุชน

แต่ถ้าสติมันไล่ตามเข้ามาด้วยปัญญา พอมันตัดขาด รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นธรรมชาติของเขา รักษาจิตได้ง่าย จิตพอมันจะขยับ เกิดเป็นความรู้สึกขึ้นมานี่สติจะตามทันตลอด ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชน เห็นไหม กัลยาณปุถุชนมันสติมันพร้อมเข้ามา มันเห็น นี่เห็นจิตเห็นอย่างนี้ไง

เวลาขึ้นไปถามว่า “ดูจิตแล้วเห็นจิตไหม” เห็นอาการของจิตกับเห็นจิตต่างกันตรงนี้

เห็นอาการของจิต คือเห็นที่เป็นอารมณ์ ถ้าเห็นตัวจิตมันต้องตัดรูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชน ตัวจิต เพราะอะไร เพราะมันมีสติ มันตัด มันเข้าใจ มันปล่อยวางหมด พอมันปล่อยวางหมด นี่รู้จักจิต รู้จักจิต จิตนี้ก็ย้อนกลับมา ย้อนกลับเข้าไปไล่ ถ้ารู้จักจิตก็เหมือนไก่ได้พลอย ไก่ได้พลอยนะ เพราะจิตยังไม่เห็นจิต ถ้าจิตเห็นจิตแล้วยกขึ้นวิปัสสนาได้ อันนั้นถึงเป็นมรรค

เห็นไหม “จิตที่ส่งออกทั้งหมด ให้ผลเป็นทุกข์ เป็นสมุทัย” แต่ถ้าจิตเห็นจิตเป็นมรรค จิตเห็นจิตเป็นมรรคเพราะจิตมันปล่อยจากอาการของจิตเข้ามา แล้วมันเป็นตัวของจิต “จิตเห็นจิต” เห็นตรงไหน ถ้ามันจิตเห็นจิต เพราะจิตมันเสวยอารมณ์ สิ่งที่ว่าเราตัดรูป รส กลิ่น เสียงเข้ามา มันเป็นเปลือก มันเปลือกจากนอกเข้ามา จิตมันก็เป็นตัวของมันเอง

ถ้าจิตเห็นการกระทำของตัวของมันเอง มันเสวยอารมณ์อย่างไร มันรู้สึกอย่างไร ถ้ามันจับได้...นี่คนรู้จักพลอยนะ เราเป็นคน สัตว์นะ สัตว์มันต้องการอาหารของมัน สัตว์โลก สัตตะเป็นผู้ข้อง แต่มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ จิตก็เหมือนกัน ถ้าเป็นปุถุชน มันเหมือนสัตว์ มันกินอาหาร มันไม่สนใจพลอย มันสนใจแต่เมล็ดข้าว มันสนใจแต่ตัวหนอน มันจะจิกกินแต่ตัวหนอน เพราะเป็นอาหารของมัน นี่ปุถุชนเป็นอย่างนั้น

กัลยาณปุถุชน เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นมาร เป็นพวงดอกไม้ของมาร มันล่อใจ เห็นไหม ไม่กิน ไม่กินมันก็เป็นสัตว์ประเสริฐ แล้วสัตว์ประเสริฐ ถ้าไม่น้อมมา ถ้าไม่น้อมจิตมาให้เห็นการเสวยอารมณ์ เห็นจิตที่มันฟุ้งขึ้นมา มันเป็นได้ นี่มรรคมันอยู่ตรงนี้ไง มรรคมันอยู่ที่ว่า ถ้าเป็นมรรคขึ้นมา เราใช้ปัญญาใคร่ครวญอย่างไร ถ้าเราใช้ปัญญาใคร่ครวญของเราขึ้นมา มรรคมันเริ่มเดินออกไป แล้วปัญญามันเกิดอย่างไร อะไรเป็นมรรค

มรรคของปุถุชนนะ เราเข้าใจกันว่ามรรค สัมมาอาชีวะก็มรรค ต่างๆ ก็มรรค มรรคอย่างนี้มันเป็นมรรคของคฤหัสถ์ไง ที่บอกว่า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราใช้ธรรมแค่โลกียปัญญา ปัญญาของเราเป็นตรรกะ อาชีพก็ชอบ ทุกอย่างก็ชอบ ชอบไปหมดเลย...ชอบโดยกิเลสไง กิเลสพาชอบ เพราะกิเลสมันอยู่กับใจ กิเลสมันคุมหัวใจ มันไม่เห็นจิต ไม่เป็นอิสระกับตัวเอง มันตกอยู่ในบ่วงของมาร บ่วงของมารพาไปก็ชอบหมดเลย แล้วก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เคลิบเคลิ้มกัน นี่ธรรมะแค่รู้ตาม

ถ้าธรรมะรู้เท่า โลกปัจจุบันนี้ “ธรรมะรู้เท่า” รู้เท่าเข้าไปแล้วมันไม่ก้าวเดินไง รู้เท่าเข้าไปมันไม่ยกขึ้นเป็นมรรค ไม่ยกขึ้นเป็นมรรคเพราะรู้เท่าก็อยู่แค่นั้น แล้วติดกันอยู่อย่างนี้ ว่า “ว่างๆ” น่าสลดใจมาก เพราะคำว่า “ว่างๆ” นั่นน่ะ มันไม่ใช่ความรู้จริง ถ้าความรู้จริงนะ มันมีความสุข ความว่างมีเจ้าของนะ

ความว่างนี้ใครเป็นคนสร้างมา ความว่างมันเกิดจากไหน ถ้ามันไม่เกิดจากจิตของเรา อะไรมันว่าง สิ่งที่เป็นความว่างๆ ของโลกมันมีประโยชน์อะไรกับใคร สิ่งที่เป็นความว่างในโลกนี้มันได้ประโยชน์กับใคร มันให้โทษกับใคร ใครรู้จักมันบ้าง เรารู้จักไหม ความว่างอย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้ามันเป็นสมาธิของเรา มันเป็นความผูกพันของใจนะ เพราะอะไร ความผูกพันของใจ เพราะมันเป็นอนิจจัง ความว่างนี้เป็นอนิจจังนะ ความว่างนี้เรารู้จักมัน พอรู้จักมันจะมีความสุขมาก ความสุข แค่ใครทำความสงบของจิต มันพออยู่พอกินไง พออยู่พอกินเพราะอะไร พออยู่พอกินเพราะสิ่งนี้ “สมาธิธรรม” ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าปฏิบัติสมควรแก่ธรรม มันก็ได้สมควรกับสมาธิ เพราะเราสร้างเหตุได้แค่สมาธิไง

ถ้าเราสร้างเหตุได้สมาธิ มันเป็นอริยมรรคตรงไหน? มันเป็นมรรคของปุถุชน มันเป็นมรรคของผู้ที่ก้าวเดินแล้ว มันเป็นมรรคของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ มันเป็นมรรคของผู้ที่จะก้าวเดินเข้าไป แต่ถ้ามันเริ่มเป็นคน เป็นสัตว์ประเสริฐ แล้วมันเห็นอาการของจิต นั่นล่ะจิตเห็นจิตมันเป็นมรรค เป็นมรรคตรงไหน เป็นมรรคเพราะอะไร เพราะมันมีสัมมาสมาธิ มันไม่เป็นมิจฉา ไม่เป็นความเห็นของเรา มันเป็นสัจจะความจริง

ถ้าเป็นสัจจะความจริง เวลาเราเคลื่อนไป มันก็ต้องเป็นโสดาปัตติผลไปสิ มันไม่เป็นหรอก มันไม่เป็นเพราะอะไร เพราะแก่นของกิเลส มันมีการแยกแยะไง ในเมื่อจิตเห็นจิต จิตเห็นจิต มันการกระทำของจิตเป็นอย่างไร จิตมันทำอย่างไร แล้วผลของจิตมันเป็นอย่างไร ถ้ามันเป็นกิเลส มันก็ว่าปล่อยวางอย่างนี้ มันเป็นความเห็นอย่างนี้

สิ่งที่ปล่อยวาง ปล่อยวางแล้ว ปล่อยวางเล่านะ ในมุตโตทัยของหลวงปู่มั่น ถ้าการใช้ปัญญา ครูบาอาจารย์บอกว่า ขั้นของปัญญาไม่มีขอบเขต มันจะกว้างขวางมาก เพราะขณะที่เราใช้ปัญญา เหมือนกับนักกีฬานะ นักกีฬา ขณะที่เราฝึกซ้อม เราทำต่างๆ เราฝึกซ้อมของเรา เราจะฝึกซ้อมนี่เล่นได้ดีมากเลย เพราะไม่มีคู่แข่ง ขณะที่มีคู่แข่ง นักกีฬา ถ้าเป็นรอบคัดเลือก โสดาบันเป็นแค่รอบคัดเลือก รอบคัดเลือกนักกีฬาคุณภาพยังไม่เข้มหรอก

แต่ถ้าเป็นรอบ ๒ รอบ ๓ รอบตัดเชือก รอบต่างๆ ไป นี่ไงโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี กิเลสมันจะเข้มไปเรื่อยๆ ความต่อต้านของกิเลสที่มันจะต่อต้าน เห็นไหม สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นมามันลึกซึ้งอย่างนี้ไง แล้วปฏิบัติกันไม่ได้แข่งขันเลย ขนาดซ้อมก็ยังซ้อมผิดซ้อมถูกเลย แล้วจะลงไปแข่งขันมันจะไปแข่งขันตรงไหน

ขณะประพฤติปฏิบัติถ้าปัญญามันเกิด ถ้าเป็นการวิปัสสนา ถ้าเป็นการเห็นจิต เห็นไหม มันทำงานอย่างไร มันเผลอตรงไหน มันเสวยอารมณ์...สำคัญมากถ้าเราไม่มีสิทธิฟ้อง ฟ้องศาลแล้วศาลไม่รับฟ้องเราจะเจ็บช้ำน้ำใจมาก เราเป็นผู้เสียผลประโยชน์ เราโดนฉ้อโกง แล้วฟ้องศาลทำไมศาลไม่รับฟ้อง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันไม่เห็นจิต มันฟ้องไม่ได้ มันผลเกิดไม่ได้ ถ้าจิตเห็นจิต เห็นไหม ฟ้องนี่ศาลรับฟ้อง ศาลคืออะไร? ศาลคืออริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อริยสัจ สัจจะความจริงนี้มันเกิด ถ้าสัจจะความจริงนี้มันเกิดขึ้นมา เกิดจากไหน? เกิดจากท่ามกลางหัวใจไง สัจธรรมอยู่ที่ไหน? สัจธรรมอยู่ที่ใจของสัตว์โลก สัตว์โลกเวลาทุกข์ ทุกข์มาก แต่เวลาสุข สุขเกิดจากอะไร

ถ้าสุขของโลกก็เป็นสุขโดยอามิส อามิสก็เวียนไปในวัฏฏะ บุญกุศล เห็นไหม นี่รู้ตาม ผู้รู้ตาม ปฏิบัติโดยไม่เข้าใจ รู้ตาม มันได้แค่อันนี้ มันได้แค่ในวัฏฏะ ได้ผลเหมือนกับทางโลก ทางธุรกิจ ซื้อ ๕ ขาย ๑๐ ได้กำไรขาดทุนอย่างนั้นน่ะ นี่บุญกุศล บาปอกุศลมันเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นอริยสัจไม่เป็นอย่างนั้น

ถ้าอริยสัจมันเป็นสัจจะความจริง มันเป็นอฐานะที่จะเคลื่อนไปกับวัฏฏะ จิตนี้จะพ้นออกจากวัฏฏะ จิตนี้จะเข้ามาวิปัสสนาของมัน มันวิปัสสนาขึ้นมา มันเป็นมรรค มรรค อริยมรรคมันเกิดอย่างนี้ อริยมรรคมันเกิดด้วยอะไร? ความเพียรชอบ งานชอบ งานชอบงานอะไร งานในขั้นของสมถะนะ งานในขั้นของความทำใจให้สงบ ถ้าไม่มีสมาธิ มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นปรัชญา มันเป็นตรรกะ

แล้วเดี๋ยวนี้เราศึกษากันจนเราเข้าใจนะ เรามีฐานการศึกษากันมาก การมีฐานการศึกษามันทำให้เราเข้าใจธรรมะ เพราะฐานการศึกษาอันนี้ มันไปเอาธรรมะมาเชือดคอตัวเอง มาปิดกั้นความเห็นของตัวเองไม่ให้เป็นสัจธรรมความจริงไง เพราะมันคาดมันหมาย ผู้ใดปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม นี่มันน่าสังเวชมาก ในการประพฤติปฏิบัติ น่าสังเวชมาก

เพราะมีว่ามีการศึกษา การศึกษาโดยกิเลสนะ ทำไมมันมีปริยัติขึ้นมา ทำไมต้องมีปฏิบัติ ถ้าไม่มีปฏิบัติมันมีปฏิเวธไม่ได้ แล้วผู้ที่มีปฏิเวธ มันจะเห็นผล เห็นความหยาบละเอียดของใจที่มันพัฒนาการ ความพัฒนาการของจิตมันเป็นมรรค มรรคตรงนี้ ถ้าเป็นมรรคตรงนี้ มันการกระทำ ผู้ที่ประกอบสัมมาอาชีวะ การที่จะประสบความสำเร็จแต่ละขั้นแต่ละตอนมันได้มาแบบชุบมือเปิบเหรอ

ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้แล้ว แล้วเราประพฤติปฏิบัติกันน่ะ มันจะชุบมือเปิบเหรอ ถ้าขิปปาภิญญา ผู้ที่ปฏิบัติรู้เร็วเห็นเร็ว ขณะที่ปฏิบัติรู้เร็วเห็นเร็วขนาดไหน แบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัตินี่รู้ อาสวักขยญาณ ทะลุ ๔ ขั้นตอนไปเลย ๔ ขั้นตอนนะ แต่เวไนยสัตว์ ตั้งแต่โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บุคคล ๘ จำพวกไง เราสวดมนต์อย่างเมื่อกี้ “อัฐ” บุคคล ๔ จำพวก บุคคล ๔ จำพวกก็ต้อง ๘ คนเชียวเหรอ...ไม่ใช่

จิตเดี๋ยวนี้พัฒนาการจากโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติผล สกิทาคามรรค สกิทาคาผล อนาคามรรค อนาคาผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล เห็นไหม การพัฒนาการของจิตมันยังมีอีกลึกซึ้งมหาศาลเลย แล้วมันละเอียดนะ ขันธ์อย่างหยาบๆ ที่ว่าจิตเห็นจิตแล้วเป็นมรรค นี่มันเป็นแค่ขั้นตอนแรก ขั้นตอนที่การแยกแยะ การแยกแยะ การรื้อ การหมั่นวิปัสสนา วิปัสสนา ถ้าเราวิปัสสนาไป ถ้ามีสมาธิ นี่มันสำคัญตรงนี้ มันสำคัญถ้ามีสมาธิ มีสติ มันก็เป็นมรรค

แต่ถ้าสมาธิอ่อน สติอ่อน มันก็เป็นกิเลส ทั้งๆ ที่วิปัสสนาอยู่นี่ ทั้งที่เราเป็นสัตว์ประเสริฐ เรามีพลอยอยู่ เราเจียระไนพลอย เราจับไม่ดี พลอยนี้ก็แตก พลอยนี้ก็เสียหาย แต่ถ้าเรามีของเราดี เราจับเครื่องมือเราดี เราเจียระไนดี มันจะออกมาเป็นพลอย เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสิ่งที่มีราคา

แล้วสิ่งที่มีคุณค่ามีราคา เราขายได้หรือยัง ที่มีคุณค่ามีราคา เราวิปัสสนาหนหนึ่ง เราก็เจียระไนหนหนึ่ง มันเป็นประโยชน์ขึ้นมาหนหนึ่ง เห็นไหม มันปล่อยวาง มันประสบความสำเร็จ สวยงามมาก เหลี่ยมสวยมาก สีแสงสวยมาก...ปล่อย มีความสุข กิเลสไม่ขาด ไม่ขาดหรอก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕...ไม่ใช่ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่แล้วเป็นอะไรล่ะ? ไม่ใช่ ถึงว่าสักแต่ว่าไม่ใช่

เวลาไก่ได้พลอย เวลาจิตสงบเข้ามา “สรรพสิ่งนี้ไม่ใช่ รักษาจิตไว้ให้ดีๆ นี่คือยอดของธรรมะ ยอดของธรรมะคือรักษาจิตไม่ให้เสวยอารมณ์ ถ้าไม่ได้เสวยอารมณ์ กิเลสเต็มหัว กิเลสในหัวใจมหาศาล” เราเป็นโรคภัยไข้เจ็บ โรคร้ายแรง แล้วไม่ได้รักษาเลย เพียงแต่ว่าดูแต่อาการ แล้วว่า “เราหายแล้ว เราหายแล้ว” มันจะหายไปได้อย่างไร อวิชชาเต็มหัวใจเลย แต่ถ้ามันวิปัสสนานะ มันจะเห็นการกระทำ เห็นปัญญา มันจะพูดไม่ได้เลยว่ารู้เท่า “รู้เท่าแล้วรักษาจิตไว้ นี่คือยอดธรรม” นี่ไก่ได้พลอย

แต่ถ้าเป็นธรรมะนะ มันต้องเจียระไน มันต้องรักษา มันต้องค้นคว้า มันต้องแยกแยะ ความแยกแยะคือการรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยไง จิตนี้มันป่วยด้วยกิเลส กิเลสในหัวใจมันแยกแยะออกไป ถ้าแยกแยะด้วยธรรมะ “ธรรมโอสถ” นี่จะหาย คำว่า “หาย” หมายถึงว่ามันปล่อยวาง มันว่าง มันมีความสุข ความสุขเพราะอะไร เพราะกิเลสมันจางไป

ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินี่นะ มันรู้เท่า รู้เท่าการเกิดดับของจิต การเกิดดับของอาการของจิต จิตมันมีอาการของมัน ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่มันรู้เท่า รู้เท่ามันก็อาย กิเลสมันอายมันก็สงบตัวลง สงบตัวลง นี่หินทับหญ้า ถ้าหินทับหญ้าอย่างนี้ ความสุขอย่างของขั้นปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิคือความสงบอย่างนี้ มีความสุข ความสุขที่ว่าแบบรู้จริง

รู้จริงนี่มีความสุขมาก มีความสุขจริงๆ แต่ถ้าไม่ก้าวเดินต่อไป ถ้าไก่มันกินตัวหนอน ตัวหนอนมันเน่ามันเสีย จิตมันเสื่อม แล้วก็จะทุกข์ แต่ถ้ามันมีสติสัมปชัญญะ เห็นไหม รู้เท่า แล้วสร้างสติขึ้นไป จนจิตเห็นจิต เห็นไหม วิปัสสนา พอขันธ์ ๕ มันปล่อยวาง...ขันธ์เหมือนกัน เพราะมีขันธ์นอก ขันธ์ใน ขันธ์ในขันธ์ เวทนาในเวทนา สุขในสุข มันจะลึกลับซับซ้อนมาก

แต่ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไป สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว ในธรรมะ “ไม่มีกำมือในเรา อานนท์เราไม่ได้เอาธรรมของใครไปนะ ไม่มีกำมือในเรา” คือไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อนเลย ถ้าปัญญามันสอดแทรกเข้าไปในหัวใจ ในจิต ในกิเลสที่มันฝังอยู่ในจิต สิ่งนี้มัน ลูกศรที่เสียบอยู่ กิเลสที่เสียบอยู่ในใจ ถ้าไม่แยกแยะ ไม่พลิกแพลงในการรื้อค้น มันสะอาดไม่ได้ มันสะอาดไปไม่ได้หรอก

ถ้ามันสะอาด “จิตเห็นจิตเป็นมรรค” เป็นมรรคอย่างนี้ มันแยกมันแยะ ถ้ามันปล่อยนะ พอปัญญามันเกิด นี่สติ สมาธิสมบูรณ์ ความคิดเกิดขึ้นมา ปัญญาจะสอดแทรกทันที สอดแทรกเข้าไปนะ ถ้ามันปล่อยแล้ว ถ้าปล่อยแล้วปล่อยเฉยๆ...ปล่อยเฉยๆ ไม่สมุจเฉทปหาน ถ้าไม่สมุจเฉทปหาน ต้องย้ำ ต้องซ้ำ

หลวงปู่มั่นบอกแล้ว ต้องหมั่นคาดหมั่นไถ หมั่นคาดหมั่นไถ หมั่นการกระทำ การกระทำนะ เพราะกิเลสมันเหนียวแน่นหนึ่ง เพราะสิ่งที่ว่าธรรมะในปัจจุบันนี้ เราฟังธรรมของครูบาอาจารย์มามาก กิเลสมันก็ฟังด้วย มันสร้างภาพ มันให้มันเป็นความเป็นไปของเรานะ เราจะเป็นไปตามอำนาจของกิเลส ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติไป กิเลสมันสวมรอยมาตลอดนะ

ถ้ามันสวมรอยนี่เป็นสัญญา แม้แต่ขั้นของปัญญา กิเลสมันยังตามมาหลอกลวงตลอดเวลา ถ้าตามมาหลอกลวง แล้วการประพฤติปฏิบัติของเรา ปัญญาของเราเราไม่ใคร่ครวญ เราไม่มีประสบการณ์ เห็นไหม พอไม่มีประสบการณ์ ขณะนี้กิเลสหรือธรรมมีอำนาจเหนือกว่า เราก็ยอมจำนนกับมัน แล้วมันก็จะเสื่อม

แต่ถ้าสิ่งที่เป็นประสบการณ์ของจิตเคยทุกข์เคยยากขนาดไหนนะ มันจะรักษาไว้ อย่างไรก็แล้วแต่ให้อยู่ในระดับนี้ ไม่ให้เสื่อมกว่านี้นะ แล้วอยู่อย่างนี้มันอยู่ได้อย่างไร? มันอยู่ด้วยเหตุไง เราเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เห็นไหม สตินะ เราดูนะ เวลาเช้า สาย บ่าย เย็น สิ่งที่เป็นอากาศ สิ่งที่เป็นบรรยากาศต่างๆ สติเราจะระลึก เราชอบสิ่งใด...เราจะฝึกอย่างนี้ ฝึกแล้วย้อนกลับมาดู

ถ้ามันไม่สมประโยชน์ มันเพราะอะไร เพราะที่เราปฏิบัติมันขัดแย้งอย่างไร เห็นไหม พอเห็นคุณค่าของธรรมะ ถ้าเห็นคุณค่าของธรรมะ เวลาพระเรานี่ธุดงควัตรเพื่ออะไร? มีธุดงควัตร มีสติ เห็นไหม การฝึกสติ การดื่ม การเหยียด การคู้นี่ฝึกสติตลอดไป การฝึกอย่างนี้มันจะย้อนกลับมา ถ้ามันฝึกอย่างนี้ย้อนกลับ ย้อนกลับไปที่ไหน

เหมือนกับเราออกกำลังกาย เราเหนื่อยไหม เราได้เหงื่อได้ไคล แต่ร่างกายเราแข็งแรงขึ้นมาตลอด การฝึกก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันเข้มแข็งขึ้นมา เพราะมันมีการฝึกฝนขึ้นมา จิตจะเข้มแข็งขึ้นมา สติสัมปชัญญะจะสมบูรณ์ดีขึ้น ตามรู้ตามเห็นทันขึ้น เร็วขึ้น สิ่งต่างๆ สิ่งนี้ขึ้นมา พอขึ้นมาปั๊บ ถ้าเราจิตเห็นจิตมันเป็นมรรค เราแยกแยะแล้ว ถ้ากำลังพอเราก็เข้าไปแยก

ถ้าจิตมันปล่อย ปล่อยแล้วมันไม่ขาด ในรูปมีอะไร? ในรูปก็มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในเวทนาก็มีรูปนะ ถ้าในเวทนาไม่มีรูป มันเป็นเวทนาขึ้นมาได้อย่างไร เวทนาในจิต ความรู้สึกนี่ จากเดิมอาการของจิตเข้าไปหัดดูจิต สิ่งนั้นเราจะจับต้องสิ่งใดไม่ได้เลย แต่ขณะที่จิตเห็นจิต มันเห็นได้หมด มันจับได้หมดนะ ในรูป ในเวทนา มันจับ จับได้จนเป็นรูปธรรมเลย เหมือนกับเราทำงานทางเอกสารเลย

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันเห็นนะ นี่ความเห็นของจิต มันจะเห็นเป็นรูปของจิตเลย จิตนี้มันเป็นรูปร่างได้ ความรู้สึกเป็นรูปร่าง เป็นตัวตน ถ้าไม่เป็นรูปร่าง เป็นตัวตน มันเกิดมาอย่างไร เหมือนเรากินน้ำ เราดื่มน้ำเข้าไปในคอ น้ำผ่านคอเข้าไป มีความเย็น นี่น้ำเป็นวัตถุไหม น้ำเป็นสสารที่เราจับต้องได้ไหม? ได้ แต่ถ้าเราไม่เคยดื่มน้ำเลย เราไม่เห็นน้ำเลย “เออ น้ำอยู่ข้างนอก” เพราะน้ำก็คือน้ำ สิ่งต่างๆ เพราะมันไม่เคยสัมผัส

จิตก็เหมือนกัน ถ้ายังจับจิตไม่ได้ ก็ว่า “จิตเป็นนามธรรมๆ” แต่ถ้าจิตเห็นจิตนะมันเป็นรูปธรรม จิตนี้จับได้เลย แล้วแยกได้ด้วย แยกด้วยรูปก็ได้ แยกด้วยเวทนาก็ได้ แยกด้วยสัญญาก็ได้ แยกด้วยสังขารก็ได้ แยกในวิญญาณก็ได้ เพราะในวิญญาณ พอแยกบ่อยครั้ง นี่การฝึกซ้อม การฝึกซ้อมคือมรรคญาณ การฝึกซ้อมคือมรรค นี่ปัญญา “ธรรมจักร” จักรมันเคลื่อน ความเป็นไปของจิตมันวิปัสสนา ปัญญามันใช้อย่างนี้

ถ้าปัญญามันใช้อย่างนี้ แล้วปัญญาอย่างนี้ ครูบาอาจารย์นี่พูดรู้เรื่อง แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าเห็นปัญญาแล้วจะเข้าใจ ถ้าไม่เห็นปัญญานะ “นี่มันจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อมันเป็นนามธรรม...” ถ้าบอกว่า “มันจะเป็นไปได้อย่างไร” ไม่เคยเห็น ไม่เคยประสบนั่นไง เพราะไม่มีประสบการณ์ เพราะไม่เคยรู้จริง เพราะไม่เห็นมรรคญาณ เพราะไม่เคยเห็นธรรมจักร ถ้าเห็นธรรมจักร จักรมันเคลื่อน เคลื่อนเพราะอะไร? ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ สิ่งที่มันชอบ ชอบอะไร? ชอบเพราะมันบดบี้กิเลสไง

แต่เดิมปัญญาที่กิเลสพาใช้มันบดบี้เรา มันบดบี้จิต จิตนี้โดนความคิดเหยียบย่ำ ต้องการปรารถนาสิ่งใด มันก็ต้องให้เราตอบสนองมัน เราต้องหาสิ่งต่างๆ บำรุงบำเรอมันตลอด เราเป็นขี้ข้าตลอดเลย ขี้ข้าพญามารใจหัวใจนี่ แต่ขณะที่จิตมันพลิกกลับด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราพยายามใช้ เราพยายามฝึกฝนทดสอบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนมันเห็นตัวจิต เห็นเจ้าทุกข์

เจ้าทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะอาการที่มันเป็นไปอย่างนี้ อาการ เห็นไหม จิตเห็นจิต มันเป็นความเป็นไปของมันอย่างนี้ พอเจ้าทุกข์เห็นทุกข์ มันก็เริ่มไต่สวนสอบสวนกัน การไต่สวนสอบสวนนี่คือมรรค การไต่สวนสอบสวนนี้คือมรรคญาณ คือธรรมจักรที่มันหมุน มันจะหมุนไป แล้วมันหมุนไป ถ้าเราไม่เคยมรรคสามัคคี ไม่มรรคสามัคคีมันไม่ชำระกิเลส มันไม่ขาด

ถ้าหมุนไป ซ้อนไป เห็นไหม ซ้อน แยกออกตลอดไป...ในรูปมีอะไร ในรูป ในรูปอะไรล่ะ? รูปมีพอใจไหม พอใจคือเวทนา ความรู้สึกคือวิญญาณ แล้วข้อมูลคือสัญญา แล้วมันปรุงแต่งไหม นี่จิต ในขันธ์ ในรูปก็มีขันธ์ ๕ ในเวทนาก็มีขันธ์ ๕ แยกบ่อยครั้งเข้าๆ ด้วยความชำนาญ ปล่อยที่หนึ่งก็มีความสุขทีหนึ่งนะ เพราะมันปล่อยด้วยปัญญา ปัญญาอบรมสมาธินี่ การวางอย่างนั้นมันวางแบบหินทับหญ้า คือโรคภัยไข้เจ็บไม่หาย

แต่ถ้ามันเป็นปัญญา มันเป็นมรรค เวลามันปล่อยวางนี่ โรคมันเริ่มหายไง จากโรคที่รุนแรง โรคมันเริ่มฟื้นตัว คนไข้เริ่มฟื้นตัวนะ ปล่อยวาง จิตมันเริ่มฟื้นตัวจากโรคกิเลส เพราะอะไร เพราะยาเข้าไปชำระแล้ว ปัญญาเข้าไปใคร่ครวญ ปัญญาเข้าไปแยกแยะ เห็นไหม นี่แยกแยะบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า จนถึงความสมดุลของจิต มรรคสามัคคี มรรคสามัคคีจะเป็นสมุจเฉทปหาน การปล่อยวางแต่ละหนเป็นตทังคปหาน

การตทังคปหาน คือว่า ขณะที่เราให้ยา เราให้ยาคือให้ยาเพื่อรักษาอาการไข้ รักษาอาการเจ็บป่วย นี่เราให้ยาขึ้นไป พอฤทธิ์ของยาเข้าไป ความเจ็บไข้ได้ป่วยมันจะเบาลง คนไข้จะมีความสดชื่นขึ้น นี่ตทังคปหานมีอาการอย่างนั้น ที่ว่า เวลาปัญญาหมุนเข้าไป มันปล่อยวางชั่วคราว ปล่อยวางชั่วคราว แต่โรคไม่หายนะ ถ้าโรคไม่หาย ถ้าเผลอ ถ้ากิเลสมันรุนแรง ไม่มีครูบาอาจารย์เป็นผู้คอยสนับสนุน มันจะจับผิดจับถูกอย่างนี้ เพราะอะไร

เพราะในการประพฤติปฏิบัติในหัวใจของเรา เราเกิดมาจากกิเลส เกิดมาจาก อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา โดยสัญชาตญาณ กิเลสมันฝังอยู่กับใจ แล้วธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ แล้วพบพระพุทธศาสนา แล้วเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธาความเชื่อ ออกบวชเป็นพระ เป็นพระเพื่อเป็นนักรบ ถ้าจะรบกับกิเลส เห็นไหม แล้วรบกับกิเลส

นี่กราบองค์สมเด็จพระสัมมาด้วยหัวใจ เพราะเรากล่าวคำพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์กับหัวใจของเรา แล้วเราใช้ธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “พุทโธ พุทโธ” จนจิตมันสงบเข้ามา เห็นไหม จิตสงบเข้ามา ย้อนกลับเข้ามา นี่เราได้เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส เดินตามองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหัวใจ แล้วสมุจเฉทปหานขาด

ถ้าขาดออกไป เห็นไหม เป็นพระ เอหิภิกขุ บวชโดยมรรคญาณ “มรรคญาณ” บวชหัวใจนี้เป็นอฐานะ ถ้าเป็นสมุจเฉทปหาน ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แยกออกจากกันโดยสัจจะความจริง “โอปนยิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม” มาดูหัวใจที่มีอริยธรรม ธรรมที่เป็นโสดาบันในหัวใจ มันมีภูมิรองรับ “เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม” เพราะสิ่งนี้มันเป็นประสบการณ์ของจิต

จะเทศนาว่าการให้เทวดา อินทร์ พรหม ฟังก็ได้ จะทำสิ่งใดก็ได้กับหัวใจนี่ เพราะมันรู้จริง ความรู้จริงจากมรรคญาณ เห็นไหม มันต้องมีความเป็นไป สิ่งที่ความรู้จริงมันเป็นอฐานะ ถ้ามันเป็นตทังคปหาน มันเป็นประสบการณ์ของจิต จิตมีสมาธิ จิตมีปัญญาใคร่ครวญอย่างนี้ แล้วทำไปแล้ว ธรรมไม่ถึงสมุจเฉท เพราะมันเป็นตทังคะ แล้วเสื่อมไป แล้วไม่มีอำนาจวาสนา ไม่มีกำลังใจ ท้อถอย ไม่ยอมสู้ สิ่งนี้ก็จะฝังใจไป ถ้าตายไป ผลบุญอันนี้ก็ไปเกิดในเทวดา อินทร์ พรหม แต่ก็เป็นปุถุชน

แต่ถ้าเป็นพระโสดาบันนะ จิตนี้เป็นโสดาบัน ถ้าขณะนี้ตายไปก็ไปเกิดเป็นเทวดา แต่เกิดเป็นเทวดา เป็นอริยภูมิ เพราะจิตอันนี้เป็นสถานะ จะเกิดใหม่เกิดเก่า จิตเป็นโสดาบันก็คือโสดาบันตลอดไป จะสถานะไหน จะเกิด จิตอย่างไร เพราะจิตนี้คงที่ไง เห็นไหม ความมหัศจรรย์ของจิต

จิตที่เกิดตายๆ มันเกิดตายๆ มามาก แต่ถ้าเกิดตายมามาก สิ่งต่างๆ อย่างนี้ เพราะว่ามันไม่เคยตาย แล้วถ้าสิ่งที่เราวิปัสสนา จนสมบูรณ์เป็นมรรคญาณโดยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราไม่แซง เราไม่คาดไม่หมาย ให้เป็นไปตามความต้องการของตรรกะ ของสิ่งที่เป็นปัญญาของเราไง เราต้องให้เป็นความสมดุล ให้เกิดเป็นปัจจุบัน ให้เกิดความเป็นไป ซ้ำๆ ซ้ำบ่อยครั้งเข้า แยกแยะออกไปตลอดไป นี่ปัญญามันเกิดอย่างนี้ แล้วมันยังละเอียดอ่อนไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปนะ เพราะอะไร

เพราะว่าสิ่งที่จริงๆ แล้ว ยอดของธรรมคือนามรูป นามรูปนะ แต่มันเป็นนามรูป เห็นไหม ครูบาอาจารย์บอก “จุดและต่อมของจิต” จิตมันจะเกิดอย่างไร ความรู้สึกเกิดอย่างไร สิ่งที่ยอดของธรรม ยอดของธรรมคือตัวอวิชชา ตัวอวิชชาเป็นยอดของกิเลส ยอดของธรรมคืออรหัตตมรรค ถ้ายอดของธรรมเข้าไปถึงตรงนั้น มันจะจับตรงนั้น แต่ความเข้าไป เห็นไหม การก้าวเดิน ถ้ามันปล่อยวางอย่างนี้ รู้เท่าทันสัจจะความจริงนะ

เราพิจารณาขันธ์ พิจารณาจิตนี่แหละ แต่มันไปขาดที่สักกายทิฏฐิ เพราะจิตมันไปยึดมั่นสิ่งที่เป็นเรา จิตนี้เป็นเราไหม ความรู้สึกเป็นเราไหม สรรพสิ่งที่ได้มานี่สมบัติเป็นของเราไหม? มันต้องเป็นหมดเลย แต่ความจริงมันเป็นโดยสมมุติไง เพราะอะไร เพราะเรามีจิตปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา แล้วเลี้ยงมา เราจะเกิดมาเป็นคน เป็นมนุษย์ รับมรดกตกทอดจากมารดา จากพ่อแม่ของเราถ้ามีมรดก นี้เป็นมรดกของโลก แล้วเราออกมา เอาร่างกายมาประพฤติปฏิบัติ มาบวชเป็นพระเป็นเณร แล้วออกต่อสู้กับกิเลส

แล้วเอหิภิกขุบวชเกิดขึ้นมาในธรรม จิตนี้มันเป็นธรรมขึ้นมา เห็นไหม สิ่งที่เกิดขึ้นมาในธรรม นี่ใจมันเป็นธรรมแล้ว ถ้าใจมันเป็นธรรมขึ้นมา สิ่งที่มันเป็นในวัฏฏะ มันก็ไม่เคยตาย ธรรมะนี้ก็ไม่เคยตาย สิ่งนี้ไม่เคยตายมันก็ไม่ไปตามแรงเหวี่ยงของโลก โลกนี้แรงเหวี่ยงของดวงอาทิตย์ โลกก็หมุนไปตามในดวงอาทิตย์ แรงเหวี่ยงของโลก เป็นวัฏฏะอยู่ตลอดไป

จิตก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นปุถุชน มันจะเหวี่ยงไปในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ในวัฏฏะมันจะเกิดตายเกิดตาย ไม่มีต้นไม่มีปลายตลอดไปเลย แต่พอเราวิปัสสนา เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส เอหิภิกขุบวชขึ้นมา ปรากฏขึ้นมาในหัวใจ มันรู้นะ ถ้าจะเกิดตายก็อีก ๗ ชาติ เห็นไหม มันไม่เป็นแบบเขาแล้ว มันเป็นแบบเขาไม่ได้เพราะคุณภาพของจิตมันคนละชนิด คุณภาพของจิต เห็นไหม ดาวคนละดวง ทุกอย่างไม่เหมือนกัน จะไม่ไปตามแรงเหวี่ยงอย่างนั้น หมุนอยู่เพราะมันยังมีกิเลสอยู่ มีกิเลสอยู่ก็มีสถานะที่มีแรงดึงดูดอยู่

แต่ถ้าเราวิปัสสนาเข้าไปล่ะ นี่ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างละเอียดไง ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด ในตำรานะ บอกว่า “พระโสดาบันขันธ์ ๕ ขาด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ทุกข์ไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในทุกข์” สิ่งนั้นเป็นบาทฐาน แต่ถ้าพิจารณาจิตเข้าไป ถ้าขันธ์ ๕ มันขาด ทำไมความรู้สึกเรายังมี ทำไมเรายังมีความสุขความทุกข์ ทำไมเรายังต้องการปรารถนาตามแรงกิเลส

ความปรารถนาเป็นสังขารไหม ความปรารถนา ความพอใจ ความสุขความทุกข์มันเกิดจากอะไร? เกิดจากวิญญาณรับรู้ แล้ววิญญาณมีในขันธ์ไหม? มันมีอยู่ แต่ถ้าเป็นประสบการณ์ตรงเข้าไป ถ้าจิตเข้าไปวิปัสสนาซ้อนเข้าไป...เพราะในโลก การฉ้อโกง ฉ้อโกงเล็กน้อยก็ได้ ฉ้อโกงปานกลางก็ได้ ฉ้อโกงมากก็ได้ นี่การฉ้อโกงมาก ในการไต่สวน เราต้องวางศาลมาก เราต้องใช้ต้นทุนมาก

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่มันละเอียดอ่อนไปกว่านี้ สมาธิ เห็นไหม สติมันถึงได้ต่างกันไง ถึงเป็นสติ เป็นมหาสติ เป็นปัญญา เป็นมหาปัญญา แม้แต่ว่าใช้ปัญญาเป็นมรรคนี่นะ เวลามันวิปัสสนาขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันยังมีละเอียดๆๆๆ ไปอีก สิ่งที่ละเอียดไป ละเอียดเพราะใคร? ละเอียดเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันมรรค ๔ ผล ๔...มรรค ๔ ผล ๔ แล้วจะสั่งสอนใคร? จะสั่งสอนใคร?

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นจาก รุกฺขมูลเสนาสนํ ธรรมเกิดจากมหาวิทยาลัยป่าไง ป่าเขานี่แหละ ธรรมชาตินี่แหละ จะสร้างสิ่งที่เป็นคุณสมบัติความจริงขึ้นมา แต่เราว่า “สิ่งนี้ไม่มีการศึกษา”

ศึกษาจากจิต ศึกษาจากภายใน ศึกษาจากความเป็นจริง ศึกษาจากการประพฤติปฏิบัติ การศึกษาอย่างนี้ มันศึกษาแล้วถูกต้อง กิเลสมันฆ่ากิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปนะ ถ้าการฆ่ากิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป คุณสมบัติของจิต ในเมื่อมโนกรรม ในเมื่อความคิดนั้น สิ่งที่โลกเขาทำกันอยู่นี่ เราไปมองแต่ที่ปลายเหตุ เห็นไหม “สังคมจะมีความเดือดร้อน ทุกอย่างต้องมีการ...” คนเก่งกับคนโกง มันยิ่งเก่งมันยิ่งโกง เพราะกิเลสมันมาก แต่ถ้าเราชำระกิเลสของเรา สิ่งที่ว่ามันเป็นคนดีขึ้นมา สิ่งที่คนดี “มโนกรรม” ความคิดชั่วจากใจเกิดไม่ได้ เพราะความคิดชั่วเป็นอกุศล แล้วเราเป็นคนคอยสังเกต เราเป็นคนคอยจับกิเลส เราเป็นคนคอยตรวจสอบใจของเรา

สิ่งที่เกิดขึ้นมานี่เรารู้ใช่ไหมเราคิดอะไร เรารู้ใช่ไหมว่าเราทำอะไร แต่ถ้าเป็นกิเลส มันรู้แล้วมันก็คล้อยตาม มันรู้และคล้อยตาม แล้วไม่ยอมต่อต้าน เพราะการต่อต้านมันใช้กำลัง มันเหนื่อย มันทุกข์ แต่ถ้าทำตามกิเลสนี่มันสุข มันพอใจ มันว่ามันสุขนะ มันไม่รู้เลยว่าสิ่งนั้นจะพาเราไปเสวยกรรม สิ่งนั้นจะทำให้หัวใจยิ่งเศร้าหมอง ทำให้ใจของเรายิ่งอ่อนด้อยค่า ด้อยค่าไปมันไม่สร้างบารมีธรรมขึ้นมาไง

แต่ถ้าเรายกขึ้น ทุกข์ก็ทน ทุกข์นะ การปฏิบัตินี่ทุกข์ เพราะอะไร เพราะมันเป็นการต่อสู้ไง ถ้ากินมาก นอนมาก สุขสบายมาก กิเลสอ้วนมากๆ กิเลสขี่หัว การประพฤติปฏิบัติอ้างอิงว่าเป็นธรรมๆ มันเป็นธรรมโดยกิเลสไง กิเลสนี่นะมันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลอกเรา หลอกเราให้เคลิบเคลิ้มไปกับมัน แล้วมันก็เสียเวลา ผัดวันประกันพรุ่ง ประพฤติปฏิบัติโดยกิเลสนำหน้า มันไม่เป็นผล

แต่ถ้าปฏิบัติโดยตัดทอนกิเลส เห็นไหม ครูบาอาจารย์เราทำไมต้องทุกข์ล่ะ ทำไมต้องอดอาหาร ทำไมต้องอดนอน? การอดนอนผ่อนอาหาร มันจะทำให้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ในการปฏิบัติมันจะมีเวลามาก มันทำให้กิเลสอ่อนตัวลง กินมากนอนมากกิเลสมันอ้วน ถ้าเราไปผ่อน เห็นไหม ผ่อนตรงนั้นปั๊บ กิเลสมันก็เบาบางลง

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้ามีสมาธิ โอกาสที่เราจะไปค้นคว้าจับจิต จิตในจิตนะ ถ้าจับจิตตัวนี้ได้ แล้ววิปัสสนาไปนะ วิปัสสนาแยกไปเรื่อยๆ มันจะกลับไปเป็นธรรมชาติของเขา ถ้าวิปัสสนาไปบ่อยครั้งมันก็ปล่อยวางไปๆ จนถึงจุดหนึ่งนะ กายกับจิตแยกจากกันโดยสัจจะความจริงเลย สัจจะความจริง โลกนี้ราบเป็นหน้ากลองเลย โลกนี้ราบเป็นหน้ากลองเลย กามราคะ ปฏิฆะอ่อนลง สิ่งที่อ่อนลงมันเป็นผลตอบรับจากจิตนะ เรานี่นะเป็นคนกินอิ่มนอนอุ่นอยู่ในหัวใจ เรากินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง แล้วเราไม่รู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนี้เป็นผลหรือไม่เป็นผล

จิตเวลามันขาดขึ้นมานี่มันขาดจากใจ โลกนี้ราบหมดเลย กามราคะ ปฏิฆะอ่อนลง แล้วว่าง ว่าง ที่ว่า “ว่างๆ ว่างๆ” กันน่ะ การว่างของสมาธินะ นี่เป็นไก่ได้พลอย เห็นพลอยแล้วมันไม่เอาพลอย มันไปกินตัวหนอน แล้วมันว่างอันหนึ่ง ว่างอย่างนี้กิเลสปิดหูปิดตา แต่ขณะที่เราวิปัสสนาขึ้นมาจน จิตกับกายแยกออกจากกันเป็นสัจธรรม สิ่งนี้สกิทาคามี ผลของขั้นสกิทาคามี

ถ้าพิจารณากายนะ กายพิจารณาไปเป็นเจโตวิมุตติ ขณะจิตที่สงบแล้วจับกายได้ พิจารณากาย ปล่อยกาย นี่จะตามปัญญาเลย ปัญญาจะให้กายผุพังอย่างไรก็ได้ เห็นสัจจะความจริง กลับสู่สภาพเดิมของเขา ถ้าเห็นจิตอย่างนั้นจนเห็นโทษ เห็นโทษมันก็ปล่อย

กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ นี่โสดาบัน ถ้าพิจารณากายซ้ำ ก็พิจารณา ถ้าจับกายได้อีก พิจารณาไป มันจะกลับคืนสู่ธรรมชาติเดิมของเขา ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ กลับคืนสู่ธาตุ ๔ นี่สัจธรรมในร่างกายมีธาตุ ๔ โดยสัจจะความจริงเลย แล้วมีขันธ์ ๕ ไปยึดมัน วิปัสสนาไปบ่อยครั้งๆ ก็ปล่อย กายกับจิตแยกออกจากสัจจะความจริง

พิจารณาขันธ์ก็เหมือนกัน พิจารณาขันธ์คือพิจารณาจิต ถ้าพิจารณาจิตมันพิจารณาซ้ำ มันก็ปล่อยกลับไปสู่ธรรมชาติเดิมของเขา คือสู่ความรู้สึก สู่ความเป็นนามรูปไง แล้วจิตมันไม่ใช่นามรูป จิตมันเป็นธรรมชาติของจิต แต่จิตนี้มันเกิดอาการของจิตนี้แล้วไปยึด แล้วพิจารณาบ่อยครั้งมันก็ปล่อย กายกับจิตแยกออกจากกันเป็นสัจจะความจริงเลย “สัจจะความจริง” นี่ปัญญามันเกิดอย่างนี้ มรรคญาณมันเกิดอย่างนี้

แล้วว่าง ว่างอย่างนี้ติด เพราะอะไร เพราะสิ่งที่ถ้าสาวต่อขึ้นไป เห็นไหม ถ้าไปพิจารณากายมันจะไปเจออสุภะ คำว่า “อสุภะๆ” ถ้าปฏิบัติเริ่มต้น บอกว่า “พิจารณากายแล้วเจออสุภะ กลัวผี กลัวสาง” กลัวบ้า กลัวบอ กิเลสมันหลอก ผีส่วนผี อสุภะไม่ใช่ผี อสุภะคือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราคิดค้นขึ้นมาแล้วจับได้ มันเห็นเป็นอสุภะ อสุภะเพราะจิตมันเห็น จิตจากภายในมันเห็นอสุภะ

อนาคามรรคมันจะไปกลัวผีที่ไหน อนาคามรรคมันจะไปตื่นเต้นกับผีที่ไหน เพราะมันเห็นผีคือกิเลสที่หัวใจนี่ มันจะไปแยกแยะ แล้วมันจะไปกลัวผีที่ไหน แต่ปุถุชนนี่กลัว ปุถุชนว่า “อสุภะจะเป็นผีๆ” ถ้ามันย้อนกลับนะ สิ่งนี้ถ้ามีครูมีอาจารย์ แล้วเราฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มันเป็นธรรมสิ ให้มันเป็นธรรมนะ มรรค ๔ ผล ๔ ขณะที่มันปล่อยวางขนาดไหน เราเทียบ เราตรวจสอบจิตได้ ถ้าจิตมันปล่อย กายกับจิตแยกออกจากกัน สิ่งนี้เป็นขั้นที่ ๒ มันจะมีงานทำอีก อย่าไปนอนใจ ถ้านอนใจ...จิตมันจะเป็นความสงบเข้ามา มันจะเป็นมหาสติแล้วนะ ถ้าจิตขั้นอนาคามรรคนี่มันจะเป็นมหาสติ

แล้วบอก “สติมันฝึกไม่ได้ สติมันไม่ต้องฝึก ดูเฉยๆ ไม่ต้องฝึกสติ” มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นสติ มหาสติ ถ้าสติฝึกไม่ได้ ทำไมสติมันไม่เหมือนกัน สติที่เข้ามาเป็นอนาคามรรคกับสติของขั้นโสดาบันกับสกิทาคามีมันไม่เหมือนกัน คุณสมบัติต่างกัน มรรคต่างกัน ความละเอียดของจิตต่างกัน ความเป็นต่างกัน

เห็นไหม ที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ธรรมะลึกซึ้ง” เห็นไหม ลึกซึ้งอย่างนี้ไง ลึกซึ้งเข้าไปถึงขั้นตอนสูงขึ้นไป สติสัมปชัญญะมันจะเร็วกว่านี้มาก มันจะตามความรู้สึกของจิต จิตนี้จะไปอยู่เหมือนลูกไก่อยู่ในกรงเลย สติปัญญามันจะใคร่ครวญ มันจะตรวจสอบ มันจะแยกแยะ มันจะจับ

นี่ขณะที่จิต ขณะที่กิเลสมันมีอำนาจ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดไม่ได้เลย จะเป็นลูกไก่ของมัน มันจะเหยียบย่ำตลอดเวลา แต่ขณะที่เป็นอนาคามรรค เพราะอนาคามรรค ขั้นกามราคะจะรุนแรงมาก รุนแรงเพราะอะไร เพราะจะเข้าไปทำลายกามราคะ สิ่งที่กามราคะนี้มหาสติเกิดขึ้นมา พอเป็นมรรคขึ้นมา พิจารณากายจะเห็นกาย พิจารณากายให้กายมันเปื่อยมันพัง มันผุมันพังขนาดไหนมันจะเป็นความสลดสังเวช มันจะหดเข้ามาๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ

ถ้าดูจิต จิตเห็นจิต พิจารณาจิต มันเป็นอาการ มันเป็นฉันทะ มันเป็นกามราคะ กามฉันทะคือตัวใจเป็นกลาง ใจนี่เป็นกลาง ตัวใจเป็นกลางเพราะมันมีข้อมูล มันมีปฏิฆะ กามราคะ มันมีสัญญา มันไม่มีข้อมูลไง ใครที่เป็นข้อมูล ใครที่พอใจของใจ ใจมันเกิด...กามต่างหากอยู่ที่ใจ ใจต่างหากเสพกาม ร่างกายมันเป็นเรื่องของการแสดงออกของกายเท่านั้น ร่างกายเป็นการแสดงออกของใจเท่านั้นล่ะ เพราะใจมันปรารถนา แล้วมันพาร่างกายไปเสพกัน แต่จริงๆ มันอยู่ที่จิต

พออยู่ที่จิต ถ้าพิจารณาจิตมันจะเห็นสภาวะความเป็นอยู่ของมัน พิจารณาบ่อยครั้งๆๆ บ่อยครั้งเข้า มันก็หลอกลวง หลอกลวงมา นี่ถ้าเป็นปัญญาอย่างนี้ เป็นความเห็นของจิต โอ้โฮ! มันจะหลอกลวงมาก มันจะบอกว่า “สิ่งนี้เป็นธรรมๆๆ” แล้วก็จะเคลิบเคลิ้มไป นี่ต้องมีการต่อสู้ ขั้นของปัญญามันต่อสู้กันนะ

ฟังสิ ในการปกครองประเทศชาติ กษัตริย์ เห็นไหม เจ้าวัฏจักรเป็นกษัตริย์ เป็นพญามาร แม่ทัพนายกอง ทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศ...ความโลภ ความโกรธ ความหลง เวลาปฏิบัติกันนะ “โอ๋ย! ปฏิบัตินะ กำหนดดูจิตนะไม่มีความโกรธเลย” มันโม้! มันโม้! มันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะความโกรธมันอยู่ขั้นกามราคะนี่ ถ้ามันผิดใจจากผลของที่มันปรารถนานี่ มันเป็นความโกรธ มันเป็นความผูกโกรธ โกรธมันเกิดตรงนี้ ถ้าจะตัดโกรธได้มันต้องเป็นพระอนาคามี

พระอนาคามี เพราะมันไม่มีปฏิฆะ ข้อมูลที่มันจะให้ไปเคียดแค้นไปไม่พอใจฝ่ายตรงข้ามมันไม่มีไง มันต้องทำลายตรงนี้ไง เห็นไหม ทำลายตรงนี้ แล้วมันเข้มแข็งเพราะอะไร เพราะมันเป็นแม่ทัพ มันเป็นแม่ทัพ ๓ กองทัพ ความโลภ ความโกรธ ความหลง คนนี้แม่ทัพ ถ้าไม่พอใจ ทางโลกเขาปฏิวัติได้ เขายึดอำนาจได้ แต่ทางธรรมไม่มีสิทธิ์ เพราะอะไร เพราะมันเข้าไม่ถึงกัน มันคนละชั้นกัน มันเข้าต่อถึงเจ้าวัฏจักรไม่ได้ มันถึงใช้พลังงานของเจ้าวัฏจักร ใช้พลังงานของกษัตริย์เข้ามาให้แม่ทัพนายกองมีอำนาจมาก

นี้เราวิปัสสนาเข้าไป เพื่อขั้นของกามราคะ เพื่อจะดับความโลภ ความโกรธ ความหลง...ความโกรธ โกรธเพราะมันไม่ได้ตามความพอใจ โกรธเพราะมันไม่ได้ความสมความปรารถนา นี่วิปัสสนาซ้ำ บ่อยครั้ง บ่อยครั้งเข้า สุดท้ายแล้วมันทำลายเข้ามา ดูดกลืนเข้ามาที่จิต ทำลายจิตนะ พอทำลายจิต ครืน! ออกไปจากจิต แม่ทัพนายกองโดนทำลาย แต่ฐานของแม่ทัพ ฐานคือทหาร คือขุนพลของแม่ทัพมีนะ ถึงตรวจสอบเข้าไป

นี่การประพฤติปฏิบัติครูบาอาจารย์ต้องมีตรงนี้นะ เพราะขั้นของอนาคามี ๕ ชั้น สุทัสสา สุทัสสี ขั้นของอนาคามี ๕ ชั้น มันมีเศษส่วน วิปัสสนาเศษส่วน นี่พระติดมาก พอวิปัสสนาเศษส่วนก็เข้าใจว่าทำความสะอาดของใจแล้ว นึกว่าทำลายเจ้าวัฏจักร ทำลายกษัตริย์แล้ว...ไม่ใช่เลย เพราะทำลายตรงนี้เสร็จปั๊บ เห็นไหม ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ ใครว่าว่าง? ว่างขนาดไหนแล้วแต่ความว่างถ้ายังมี

โมฆราชนะ “จงพิจารณาโลกนี้เป็นความว่าง แล้วให้กลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ”

ถอนตัวรู้ว่าว่าง คำว่า “ว่าง” นี่ใครเป็นเจ้าของ ใครเป็นลิขสิทธิ์ ใครเป็นคนบอกคำว่าว่าง อวกาศสิ่งต่างๆ นี้มันมีความว่างของมันไหม เป็นความว่างมันก็ไม่มีชีวิต ไม่มีข้อมูล ไม่ใช่ผู้เสียหาย ฟ้องใครไม่ได้ใช่ไหม แล้วความว่างของจิตล่ะ จิตนี้ว่างๆ เอาอะไรมาว่าง

นี่ย้อนกลับมา ถ้าย้อนกลับเป็นอรหัตตมรรค มรรคอย่างนี้ สติอย่างนี้สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นะ เวลาประพฤติปฏิบัติ สติปัญญาจะสมบูรณ์มาก เพราะมันเป็นการต่อสู้กับกิเลส มันเป็นการทำลายกิเลส ต่อสู้กิเลสเข้าไปจากภายใน สิ่งนี้สำคัญมาก ถ้าเข้าไปต่อสู้ทำลายกิเลส สิ่งนี้ถ้ามันทำลายกันเข้าไปถึงหัวใจ ปัญญาอย่างนี้ ถ้าผู้ที่ครูบาอาจารย์ประพฤติปฏิบัตินะ ปัญญาของการซึมซับ

เพราะถ้าขยับปั๊บมันเป็นอุทธัจจะ...รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มันเป็นสังโยชน์ สิ่งที่เป็นปัญญา ปัญญาจากการใคร่ครวญต่อสู้กับกิเลสขึ้นมาที่เป็นผลงานที่ฆ่ากิเลสมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ถ้าเอามาใช้ส่วนนี้มันหยาบเกินไป มันเป็นอุทธัจจะ มันเป็นสังโยชน์ตัวหนึ่ง มันเป็นเครื่องมือของกิเลสที่มันหยาบที่เข้าไปชำระกิเลสไม่ได้

นี่ปัญญามันละเอียดลึกซึ้งมาก มรรคญาณละเอียดมาก แล้วเข้าไปถึงความเป็นไปของมัน ถ้าจับสิ่งนี้ได้ ปัญญาที่ลึกซึ้งเป็นปัญญาญาณอย่างนี้ มันจะเข้าไปทำลายอวิชชา เข้าไปทำลายเจ้าวัฏจักร จิตนี้ถ้าจะเป็นมรรค จิตนี้เป็นความเป็นมรรค มรรคหยาบ มรรคละเอียด แล้วจิตนี้จะทำลายจิตไปเรื่อยๆ ด้วยมรรคญาณ เห็นไหม

จากใช้สิ่งที่เป็นนามธรรม เราเกิดมาเป็นชาวพุทธนะ ตามรู้ด้วยนามธรรม แล้วถ้าเข้าไปรู้จริง สิ่งนั้นเป็นความรู้จริง จะไปรู้จักจิต “รู้จักจิต” จิตตัวนี้ไปเห็นอาการของจิต ไปเห็นจิตถึงเป็นมรรค จิตนี้ไปเห็นจิตถึงเป็นมรรค รู้จักจิตนี่ไม่มีใครรู้จริงเลย ตอนนี้ไม่มีใครรู้จริงเลย เคลิ้มๆ ทั้งนั้น เคลิ้มๆ ตามอาการของจิต ไม่รู้จักจิต ถ้ารู้จักจิตจะพูดแบบที่เขาพูดกันไม่ได้ เพราะเราไปรู้จักคนที่ทำความผิด แล้วเราบอกว่าอีกคนหนึ่งทำความผิด มันเป็นไปได้อย่างไร

ต้องไปรู้จักจิต แล้วจิตเห็นจิต เป็นมรรค จิตเห็นจิตเป็นมรรค แล้ววิปัสสนา ปัญญาที่มันใคร่ครวญเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา จนไปทำลายอวิชชาทั้งหมด นี่สิ่งนี้ถึงเป็นอริยสัจ สิ่งนี้ถึงเป็นสัจจะความจริง สิ่งนี้ครูบาอาจารย์ที่สอนถูกต้อง มี

แต่ถ้าเราศึกษา เรามาเป็นพุทธชิโนรสแล้วเราเดินตาม พอเดินตามเข้าไป แล้วเราใช้ปัญญาของเราใคร่ครวญไป มันเป็นสมความจริงไหม มันสมกับความจริงกับผู้ที่รู้จริงที่เขาเห็นจริงไหม สิ่งนี้ถึงว่าศาสนาเราใช้กันแค่ไหน? เราใช้กันแค่ ๕ เปอร์เซ็นต์ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นล่ะ มันเป็นการรู้ตาม ก็ว่า “สิ่งนี้ศาสนาพุทธเจริญๆ” เจริญโดยกิเลส อีก ๙๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องของกิเลสทั้งหมดเลย แต่ในสัจจะความจริง ถ้ามันฆ่ากิเลส มันเป็นธรรมะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จะพูดอย่างนี้ไม่ได้ เอวัง