เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๓ พ.ค. ๒๕๖o

 

เทศน์เช้า วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมะเนาะตั้งใจฟังธรรมๆเพราะเราฟังธรรมเพื่อจะประพฤติปฏิบัติธรรม เราเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกนะให้ปฏิบัติบูชาเราเถิดๆ การประพฤติปฏิบัตินั้นเหมือนการกินการอยู่ การอยู่การกิน ถ้าเราได้อยู่ได้กินเรามีความสุข

นี่ก็เหมือนกันครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ต่อไปนี้ศาสนาพุทธก็มีแค่พิธีกรรมๆ มันมีวัฒนธรรมกับพิธีกรรมไง แต่พิธีกรรมนั้นเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา การสืบต่อพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีไง แล้วพระพุทธศาสนาทำพิธีกรรมอย่างไรพระพุทธศาสนาจะเข้าถึงได้อย่างไร

การเข้าถึงพระพุทธศาสนา เราต้องมีรัตนตรัย ก่อนจะเป็นฆราวาสต้องเป็นพุทธมามกะเวลาจะบวชแล้วต้องถึงพระรัตนตรัย พอถึงพระรัตนตรัยแล้วเวลาบวชต้องญัตติจตุตถกรรม นี่ก็พิธีกรรมทั้งนั้นน่ะ แต่พิธีกรรมนั้นพิธีกรรมทำเพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของเราไง ถ้าความสะอาดบริสุทธิ์ก็คือการกระทำของเรา ถ้ามีการกระทำของเราพิธีกรรมก็เป็นพิธีกรรม ถ้าพิธีกรรมพิธีกรรมทำเพื่อศาสนพิธี แต่เวลาเสร็จแล้วเราจะประพฤติปฏิบัติของเราไง ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติของเรา เราทำความจริงความจังของเราถ้าเป็นพิธีกรรมๆ เราก็รังเกียจเดียจฉันกันว่านั่นเป็นพิธีกรรม ของเราเป็นความจริงๆ 

ความจริงมันคืออะไรล่ะ ความจริงคือหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ความจริงหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ นั่นก็เป็นพิธีกรรมวิธีการปฏิบัติทั้งหมดเป็นพิธีกรรมทั้งหมด แล้วถ้าพิธีกรรมศาสนาพุทธองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนบอกว่าให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด เราว่านั่นเป็นการปฏิบัติ มันก็เป็นการปฏิบัติพอเป็นพิธีไงถ้ามันเป็นการปฏิบัติพอเป็นพิธี มันก็เป็นพิธีกรรม พอพิธีกรรมขึ้นมาแล้วมันไม่มีรสชาติ 

คำว่า“รสชาติ” ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโกถ้าปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก ถ้าจิตเป็นสัมมาสมาธิถ้าจิตเป็นสัมมาสมาธิ เวลาเราทานอาหารทานอาหารเสร็จแล้วเวลาเราอิ่มหนำสำราญ เรามีความสุขนะเวลาเราทานอาหารเพียงแค่เป็นพิธีกรรมแต่เราไม่ได้ทานเลย ในท้องเราว่างเปล่า ไม่มีอาหารเลย แล้วเราก็จะหิวกระหายอย่างนั้นตลอดไปเพราะความหิวกระหายอันนั้นเราถึงได้มาประพฤติปฏิบัติเพราะความหิวกระหายนั้น เราถึงหาอยู่หากินมาเพื่อความอิ่มสำราญของเราเพื่อความสุขสมบูรณ์ของเราแต่เวลาเราทำไปแล้ว ทำไปแล้วในท้องเราไม่เห็นมีสิ่งใดขึ้นมาเลย มันก็เป็นพิธีกรรมอยู่ข้างนอกนั่นน่ะ 

เวลาหายใจเข้านึกพุธ หายใจออกนึกโธ เราก็ประพฤติปฏิบัติของเราว่าสิ่งนั้นเป็นสัมมาสมาธินั่นมันว่างๆว่างๆ ในท้องนั้นมันไม่มีอาหารเลยไงในหัวใจไม่มีความว่างความจริงในหัวใจเลย ถ้ามันไม่มีความว่างในหัวใจเลย เราก็มีความลังเลสงสัย

แต่ถ้าคนอิ่มหนำสำราญขึ้นมาแล้ว สิ่งนั้นอิ่มหนำสำราญ เขามีความสุขของเขา เวลาหิวกระหายมันมีแต่ความทุกข์ความยากนะเวลาหิวกระหายขึ้นมาเราก็พยายามขวนขวายเพื่อความอิ่มหนำสำราญในใจดวงนี้ เวลาหิวกระหาย เราก็ขวยขวายเพราะความหิวกระหายนั้นมันบีบคั้น เวลามันอิ่มหนำสำราญขึ้นมา มันมีความสุขไง 

นี่ก็เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติหายใจเข้านึกพุธ หายใจออกนึกโธ มันมีความอิ่มเต็มในหัวใจหรือไม่มันมีแต่ความหิวกระหายความหิวกระหายคือความลังเลสงสัย ความลังเลสงสัยคือความที่มันไม่มีรสไม่มีชาติไงไม่มีรสไม่มีชาติขึ้นมา แล้วจะทำอย่างไรต่อไป ทำอย่างไรต่อไป มันก็เป็นแค่พิธีกรรมไง

ถ้าเป็นความจริงๆ นะสุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มีเวลาจิตมันสงบระงับเข้ามามันก็มีความสุขแล้ว พอจิตสงบระงับมีความสุขแล้ว เราฝึกหัดพิจารณา เวลาฝึกหัดพิจารณาเวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถ้าจิตมันสะดวก จิตมันสบาย จิตมีความสุข จะคิดสิ่งใดมันปลอดโปร่งทั้งนั้นน่ะเวลาจิตมันเป็นสัมมาสมาธินะเวลามันพิจารณไปแล้วโอ้โฮ!มันทะลุปรุโปร่งมหาศาลเลย

แต่เวลาจิตมันไม่สงบขึ้นมา คิดแล้วคิดเล่าๆ มันไม่ได้ดั่งสมความปรารถนา มันไม่ได้อย่างที่เราคาดหมายอย่างที่เราต้องการเลยมันไม่ได้อย่างที่เราต้องการเพราะอะไร แล้วเราก็บอกว่า นั่นคือพิธีกรรม นั่นคือการปฏิบัติไง

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ก็ยังมาขวยขวายเพื่อจะให้มีสติมีปัญญาไง ถ้ามีสติมีปัญญา มีสติปัญญาโดยกิเลสมันหลอกใช้ไง เวลากิเลสสมุทัยมันหลอกเข้ามาเห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติของท่านถ้าจิตท่านสงบระงับขึ้นมาท่านพิจารณาของท่านเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปพิจารณาแล้วพิจารณาเล่ามันไม่ลงสู่ความจริง มันละล้าละลัง ละล้าละลังจนต้องมีครูบาอาจารย์บอก ให้กลับมาทำความสงบของใจให้มากขึ้น กลับมาทำความสงบของใจเข้ามาถ้าจิตมันสงบระงับขึ้นมา แล้วค่อยกลับไปใช้ปัญญา

เวลาเรายังทำของเราไม่เป็น ถ้าผู้ที่มีประสบการณ์ทำเป็นหรือไม่เป็น มันจะรู้ถึงความเจริญแล้วเสื่อมในหัวใจเลย แต่ที่เราไม่เป็นๆ เพราะมันยังไม่ประสบความจริงอะไรเลย แล้วมันจะหันกลับมาได้อย่างไร มันจะเข้ามาทำจิตสงบมากขึ้นได้อย่างไร เพราะคิดว่าจิตเราสงบแล้ว จิตเราเป็นแล้ว มันคาดหมายทั้งนั้นน่ะ นี่พิธีกรรมๆ ไง ปฏิบัติพอเป็นพิธี แล้วมีครูมีอาจารย์ท่านเทศนาว่าการเป็นแนวทางขึ้นมาเราก็พูดถึงแนวทางนั้นน่ะ แต่ความจริงไม่มีความจริงในหัวใจ

ถ้าไม่มีความจริงในหัวใจเวลาปฏิบัติไปแล้วมันสงสัย ห่วงหน้าพะวงหลังเป็นบ้าหอบฟางนู่นก็จะเอา นี่ก็จะเอา จะเอาไปทุกอย่างเลยแต่คนที่เขาเป็นแล้วเขาไม่ใช่บ้าหอบฟางเขาต้องการสิ่งใด เขาใช้เครื่องมือตามความจำเป็นนั้นเท่านั้น 

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราจะทำความสงบของใจเข้ามา เราก็หายใจเข้านึกพุทหายใจออกนึกโธ มันจะคิดสิ่งใด เราระงับไว้ เราไม่ให้มันแฉลบไปคิดเรื่องภายนอกนั้นเราก็พยายามพุทโธของเรา พุทโธของเรานะเราไม่ใช่บ้าหอบฟาง เราจะหอบไปหมดเลย นั่นก็สงสัยนั่นก็เป็นความดี นั่นก็เป็นปัญญา นั่นก็เป็นสติ โอ๋ย! สุดยอดไปหมดเลย

เวลามันเป็นจริงๆ มรรคสามัคคี เห็นไหม เวลาศีลสมาธิ ปัญญาเวลามันรวมลงเป็นหนึ่งๆ มันเป็นอย่างไรเวลามันรวมลงแล้วมันทำลายของมัน คายออกมาแล้วสิ้นกระบวนการของมันต้องจบสิ้นไป ทั้งกิเลสกับทั้งมรรคมันวางหมด มันวางหมด มันวางอย่างไร มันมีเหตุมีผลของมันตามความเป็นจริงไง

ถ้ามีเหตุมีผลตามความเป็นจริงนั้นน่ะมันย้อนกลับไปมันจะเห็นเลยอ๋อ! เราผิดเพราะแบบนั้นเราทำอย่างนั้นมันลุ่มๆ ดอนๆแต่ถ้ามันยังภาวนาไม่เป็นบ้าหอบฟางทั้งนั้นน่ะ อะไรก็จะเอาๆ แล้วจะเอาให้ได้ แล้วมันก็เลยไม่ได้ไง เพราะนู่นก็จะเอา นี่ก็จะเอาจะเอาให้มันประสบความสำเร็จ จะเอาให้เราทำแล้วมันมีมรรคมีผลในหัวใจ ก็เลยไม่ได้อะไรเลย 

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติของเราด้วยสติด้วยปัญญาประสบการณ์อันนั้น ดูสิ บอกว่าใจเป็นนามธรรมๆ พอใจเป็นนามธรรมถ้าหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เวลากำหนดอานาปานสติ พอจิตมันสงบเข้ามานามธรรมๆโอ้โฮ! มันชัดเจน นามธรรมๆ

ดูสิอารมณ์ของเรานะ แปรปรวนทุกวัน อารมณ์ของเรามันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่เวลามันเจ็บซ้ำน้ำใจ มันไปคิดของเก่าๆ มันก็เป็นนามธรรมนามธรรมมันต้องล่องหนหายไปหมดแล้ว มันต้องไม่มีอะไรตกค้างในใจมันเลย เห็นวัตถุๆ เจอนี่มันเป็นวัตถุใช่ไหมมันเป็นสิ่งจับต้องได้ เวลาเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ๆแต่มันเจ็บซ้ำน้ำใจ มันมาตลอดเลย นี่มันมาตลอด สิ่งนี้เป็นนามธรรมๆไง

สิ่งที่เป็นนามธรรม เวลามีสติ มีปัญญาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธนามธรรมนี้ชัดเจนมาก เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นจิตมีกำลัง ถ้าจิตตั้งมั่น จิตมีกำลัง มันมาจากไหนล่ะ มันต้องฝึกหัดตรงนี้ แล้วทำตรงนี้ให้มันชัดเจนถ้ามันชัดเจนขึ้นมาแล้ว ความก้าวหน้ามันจะมีไง เหมือนมีการศึกษา การศึกษา ลูกหลานเรา เราวางการศึกษาให้มั่นคงเวลามันศึกษาต่อเนื่องไป มันจะก้าวหน้าไปเลย การศึกษาเวลาเริ่มต้นขึ้นมาลุ่มๆ ดอนๆเวลาไปเรียนข้างหน้าล้มลุกคลุกคลานเพราะพื้นฐานมันไม่ดี

นี่ก็เหมือนกัน เราจะประพฤติปฏิบัติของเราเราไม่ต้องไปห่วง เราทำความสงบของใจของเรามาก่อน ถ้าใจเราสงบแล้ว เราไม่ใช่ปฏิบัติพอเป็นพิธีไงศาสนาพุทธมันจะเหลือแต่พิธีกรรมเท่านั้นน่ะ แล้วก็พิธีกรรมนี้เอาไว้อวดกัน อวดพิธีกรรมว่าพิธีกรรมใครสวยหรูกว่ากัน

แต่ถ้าพระพุทธศาสนา เห็นไหม เรียบง่ายหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่านไม่พาทำสิ่งใดที่ฟุ่มเฟือย สิ่งใดที่ทำให้เป็นภาระรุงรัง ไม่เคยพาทำกรรมฐานเขาไม่ทำกันหรอกถ้ากรรมฐานไม่ทำเพราะเหตุใด เพราะเขาเห็นคุณค่าในใจนั้นไง ถ้าใจนั้นมีคุณค่า สิ่งที่มีคุณค่า แล้วสิ่งที่มีคุณค่าโยนมันทิ้งเสียแล้วก็ไปอยู่ที่ความฟุ่มเฟือยที่ความหรูหราที่ความฟุ้งเฟ้อนั่นหรือที่ความร่ำรวย ที่ความหรูหรา ที่ความฟุ้งเฟ้อนั่นเพราะโลกเป็นรูปธรรมไง ใครก็จับต้องได้ใครก็เห็นได้ไงไปไหนล้อมหน้าล้อมหลังไปกันเป็นขบวนเลย

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่โคนต้นโพธิ์องค์เดียว หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านธุดงธ์ของท่าน ท่านมาของท่านองค์เดียว เวลาท่านไปเผชิญ เวลาคนจะทำงานเป็นทำงานไม่เป็น เขาทำงานเป็นมาจากหัวใจของเขาเขาไม่ได้ทำงานเป็นด้วยขบวนใหญ่โต หรูหราฟุ่มเฟือยบ้าบอคอแตกนั่นหรอกกรรมฐานเขาไม่ทำกันอย่างนั้น แล้วถ้ากรรมฐานไม่ทำกันอย่างนั้นเหมือนพ่อแม่พ่อแม่ที่รักลูกพ่อแม่ที่ไม่พาลูกเราให้ไปเสียหาย ถ้าพ่อแม่คนใดพาลูกไปฟุ่มเฟือย พ่อแม่พาไปให้อยู่แสงสีเสียง ให้ใจแตก ให้ติดในรูป รส กลิ่นเสียง อันนั้นเป็นพ่อแม่ที่ดีไหม

เวลาเราดู เราต้องดูอย่างนั้น ถ้าเราดูอย่างนั้น มันจะดูอย่างนั้นได้มันต้องมีคุณค่ารสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง รสของธรรมนะ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวงมันต้องมีรสมีชาติ คำว่า “มีรสมีชาติ” หัวใจถ้ามันมีคุณค่าขึ้นมา มันจะเห็นคุณค่าของหัวใจดวงนั้น

ถ้าหัวใจดวงนั้น ดูสิหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นหัวใจดวงนั้นน่ะมันฝึกฝนมาอย่างไร หัวใจดวงนั้นน่ะ ออกวิเวก ออกวิเวกเข้าป่าเข้าเขาไป เราเหมือนคนไร้ค่าเหมือนเศษคนเขามีความสุขกันอยู่ในบ้านอยู่ในเมือง เราออกไปในป่าในเขา เรามาอยู่ตามธรรมชาติเหมือนคนไร้ค่าความไร้ค่าอันนั้นฝึกฝนหัวใจดวงนั้นขึ้นมาไงธรรมะเป็นธรรมชาติๆ นี่ก็ธรรมชาติไงธรรมชาติของชีวิตไง ชีวิตอยู่ป่าอยู่เขามันก็ดูแลชีวิตนี้ได้ไงชีวิตไม่ต้องไปอยู่ในวัตถุสิ่งก่อสร้าง ในสิ่งที่โลกสร้างสมกันมา นั่นมันสัตว์ในฟาร์มฟาร์มสัตว์ มันไก่ในเล้า เขาเลี้ยงมา แล้วเราก็ไปตื่นเต้นกับเขา

ทางโลกถ้าทางโลกนะโลกเป็นอย่างนั้น ถ้าทางโลกโลกเขาต้องเข้าไปสู่ตลาดของเขา นั่นเพื่อประกอบสัมมาอาชีวะ อาชีวะที่ไหนเขามีตลาด เขาต้องเข้าไปที่นั่นเพื่อผลประโยชน์ของเขา นั่นคือทางโลก

แต่ทางธรรมๆ ถ้าเวลาเป็นจริงๆ ขึ้นมาเข้าป่าเข้าเขาไป เวลาอยู่ด้วยความสงบระงับขึ้นมา ถ้าความสงบระงับขึ้นมาถ้าใจมันมีคุณค่า มันเห็นคุณค่าอย่างนี้ถ้าเห็นคุณค่าอย่างนี้ เห็นคุณค่า ใจนี้มาจากไหน 

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาพระที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาสำเร็จแล้วจะไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาล ออกพรรษาแล้วทุกคนจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพยากรณ์ว่าใครถูกใครผิด แล้วถ้าพระองค์ไหนที่ถูกต้องนะ 

อ่านพระไตรปิฎกสิ ในพระไตรปิฎกจะถามประจำ“ใครทรมานมาใครทรมานมา”

ใครเป็นคนฝึกฝนมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามเลย เธอเป็นลูกศิษย์ใคร แล้วใครเป็นคนฝึกมาเพราะมันฝึกมาแล้วมันได้ ฝึกมาแล้วมันจริงฝึกมาแล้วมันเป็นของแท้ไม่ใช่มหาโจรไง เยินยอกันยกย่องกันสรรเสริญกัน ไอ้คนนั้นได้ขั้นนั้นไอ้คนนี้ได้ขั้นนี้ไอ้นั่นได้ขั้นบ้าไอ้นี่ได้ขั้นบอไอ้นี่ขั้นตอแหลมันได้ขั้นได้ตอน ใครเป็นคนพูด แต่เวลาไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามเลยใครทรมานมาใครเป็นคนทรมาน

การทรมานหัวใจทรมานหัวใจหัวใจมันดิ้นรนแล้วใครเป็นคนชี้ทาง ใครเป็นคนบอกมาเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามตลอดเพราะใครไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะถามเรื่องการประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ถามว่าเอ็งได้ยศได้ตำแหน่งอะไรมา วัดเอ็งสร้างสูงส่งขนาดไหนไม่เคยถามเพราะอะไรเพราะว่าในสมัยพุทธกาลเขาไม่มีการอยู่ประจำวัด ใครออกพรรษาแล้วต้องธุดงธ์ ถ้าไม่ธุดงธ์ ชาวบ้านไล่เลย อยู่ในพระไตรปิฎกไปอ่านได้ เขาให้ฝึกให้หัดเขาให้ฝึกฝนมาใจดวงนี้ได้แต่ใดมา ใจดวงนี้ใครเป็นคนค้นคว้ามันมา

ถ้าทำความสงบของใจเข้ามาความสงบใจเห็นไหม ผู้ประเสริฐไงพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบานพุทธะ เรากราบพระนะ กราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เวลาเรากราบกราบด้วยหัวใจไง แล้วกราบด้วยหัวใจ เวลาหลวงตาท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์ของท่านพุทธ ธรรม สงฆ์รวมลงอยู่ที่ใจรวมลงในหัวใจนี้ แล้วหัวใจนี้เราจะค้นคว้าอยู่นี่ไง ถ้าเราค้นคว้า

เราเกิดเป็นมนุษย์นะเราไม่ใช่ว่าโอ้โฮ! เราเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นคนแล้วเราต้องประพฤติปฏิบัติให้มันสิ้นสุดแห่งทุกข์ไปไอ้นี่มันเป็นเป้าหมายไงอธิษฐานบารมีบารมีสิบทัศขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเป็นชาวพุทธ แก่นของมันอยู่ที่นี่ไงแก่นของมันคือธรรมะ ธรรมะมันอยู่ที่ไหน

หลวงตาบอกว่าธรรมะ สิ่งที่จะสัมผัสธรรมะได้คือความรู้สึกของคน ความรู้สึกเท่านั้นความรู้สึกเท่านั้น หัวใจเท่านั้นที่สัมผัสธรรมได้สายตาอ่านมาศึกษาค้นคว้ามาด้วยสมองก็เท่านั้นน่ะ มันเป็นพิธีกรรมทั้งนั้นน่ะ เป็นพิธีกรรมที่จะเข้าไปหาสัจธรรมอันนี้แล้วถ้าเป็นความจริงๆหัวใจเท่านั้นที่สัมผัสธรรมๆ

ถ้าหัวใจสัมผัสธรรม สิ่งที่เป็นหน้าที่การงานนะ การเลี้ยงชีพ เราต้องเลี้ยงชีพของเราทั้งนั้นน่ะ แต่การเลี้ยงชีพแล้ว เลี้ยงชีพแล้วด้วยมีสติมีปัญญาเลี้ยงชีพแล้วไม่ต้องมาทุกข์มายากไง เลี้ยงชีพแล้ว เราเลี้ยงชีพมีชีวิตแล้วเราจะค้นคว้าหาสัจจะความจริงในใจของเรา ถ้าค้นคว้าหาสัจจะความจริงในใจของเรา สิ่งที่ว่ามันเป็นธรรมๆ ในหัวใจ ถ้ามันเป็นธรรมจริงขึ้นมา มันจะมีคุณค่าขึ้นมาพอมีคุณค่าขึ้นมาแล้วความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่สอง ความเป็นอยู่ ความที่เราจะขวนขวายนี่เป็นเรื่องภายนอกแล้ว 

ถ้ามันเป็นเรื่องภายนอก เราทำงานเป็นงานอดิเรก กับทำงานที่เรามุมานะ มันแตกต่างกันไหมทำงานเป็นงานอดิเรกมันไม่เครียดไงทำงานอดิเรกทำเพื่ออยู่เพื่อกิน ไม่ได้ทำด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากไม่ได้ทำเพื่อให้มันมาบีบคั้นเป็นเหมือนงานอดิเรก ทำเพื่อดำรงชีพ แต่งานจริงๆ ของเราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ไม่หายใจทิ้งเปล่าๆ

ทั้งๆ ที่คนเกิดมาต้องมีลมหายใจ ถ้าลมหายใจขาด๕ นาที ตายหมด สมองตายหมด ฉะนั้น ไอ้เรื่องลมหายใจออกซิเจนมันเพื่อร่างกายอยู่แล้ว โดยทางการแพทย์มันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แล้วหลวงปู่ฝั้นก็บอกว่าหายใจทิ้งเปล่าๆ ทั้งๆ ที่หายใจดำรงชีพนี่หายใจทิ้งเปล่าๆ ถ้าหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ หัวใจมันได้ประโยชน์ไง อานาปานสติ พุทธานุสติมันเกิดขึ้นมาหมดเลย มันไม่ทิ้งเปล่าๆ แล้วเพราะอะไรเพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก กว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ แล้วเกิดเป็นมนุษย์แล้วดูสิ สถิติศาสนาไหนมีศาสนิกชนมากที่สุด ศานาพุทธเป็นอันดับที่ ๓ที่ ๔ นู่นน่ะ แล้วผู้ที่เอาจริงเอาจังที่จะมาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธมันมีกี่คนไง 

เวลาถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ไม่หายใจทิ้งเปล่าๆ แล้วหายใจแล้วเพื่อประโยชน์กับเรา เพื่อประโยชน์กับหัวใจดวงนี้ไงเพราะหัวใจดวงนี้มีสติมีปัญญามันสามารถมีสติกำหนดลมได้ มันก็เลยเป็นอานาปานสติมันก็เลยเป็นการประพฤติปฏิบัติมันก็เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าจิตสงบมันระงับเข้ามา มันก็เป็นความจริงของเราๆ

ความจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ปฏิบัติบูชาเราเถิดๆ โยมขวนขวายมาวัดขวนขวายมาลงทุนลงแรงมาขนาดไหน นี่ก็เป็นบุญกุศลบุญกุศลนี้เป็นอำนาจวาสนาบารมีไง คำว่า“อำนาจวาสนาบารมี” ฟังธรรมๆ

เวลาเราเสียสละของเราหัวใจมันได้รับรสชาติไหมหัวใจที่เสียสละไป หัวใจเป็นเจ้าของบุญๆ นี่ไง สิ่งที่เสียสละไปให้สมณะๆสิ่งนี้เป็นเจ้าของบุญ เราเสียสละบ่อยครั้งเข้า ไอ้กิเลสมันก็โดนปราบปรามลงไป ทีนี้มันจะฟังเหตุฟังผลขึ้นมาไง นี่คืออำนาจวาสนาบารมีของเรา นี่คือบุญกุศลของเราถ้าบุญกุศลของเราแล้ว เราทำเสร็จแล้วเราอยากได้บุญมากกว่านี้อยากได้ความจริง อยากได้คุณธรรม

ที่เราศึกษาๆ ว่าสุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี เราแสวงหาความสุขกัน แล้วความสุขที่แสวงหามันสมปรารถนาเราหรือไม่ สิ่งนี้เป็นความสุขแท้ๆ ความสุขอันนี้ไม่ต้องมีเงินมีทอง ไม่ต้องเอาอะไรมาแลกเปลี่ยน แต่มันต้องแลกเปลี่ยนด้วยความเพียรของเราไง แลกเปลี่ยนด้วยหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธนะรักษาตรงนี้ไว้

ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุถ้ามันไม่มีเหตุมันก็ทำไม่ได้สิ่งที่เหตุ ถ้าเหตุของสมาธิ เหตุของปัญญาที่มันเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นจากความเพียรของเรา มันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติของเรา มันไม่ได้ลอยมาจากฟ้าหรอก พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ท่านต้องปฏิบัติของท่านเอง

อยู่ดีๆคนชี้ว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วบอกว่า “ผมเป็นอะไรครับ”

“อ๋อ! ก็เป็นพระอรหันต์ไง”

“แล้วผมไม่เห็นรู้เรื่องอะไรเลย”

“นั่นล่ะพระอรหันต์ไม่รู้เรื่อง”

แต่ถ้าเป็นจริงๆ ขึ้นมามันต้องเกิดจากเหตุ เกิดจากมรรคเกิดจากผล จะเป็นอะไรเราต้องรู้สิ เวลาทุกข์ก็รู้อยู่เต็มหัวใจ เวลาสุขขึ้นมานี่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยหรือ แล้วเวลามรรคมันเดินมรรค โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตตมรรคไม่รู้จักมันเลยหรือ ถ้าไม่มีมรรคก็เหมือนไม่มีเงิน ไม่มีวัตถุไปแลกของมา มันจะแลกมาได้อย่างไรคนเราจะซื้อของมันก็ต้องมีเงินใช่ไหม 

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีมรรค ไม่มีเหตุไม่มีผลในการประพฤติปฏิบัติ มันจะเอาผลมาจากไหน เวลาผลผลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษามาไง เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พิธีกรรมๆศาสนามันจะเหลือแต่พิธี พิธีคือไปศึกษาผลสำเร็จขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติแล้วสำเร็จแล้ว เราก็ไปศึกษาพิธีนั้นแล้วพิธีนั้นก็เอามาทำพิธีไง มันก็เลยเหลือแต่พิธีกรรมๆ ไงมันก็ไม่เป็นความจริงขึ้นมาไง ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา เป็นปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก 

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามพระสารีบุตร “พระสารีบุตร เธอไม่เชื่อเราหรือ”

“ไม่เชื่อ”

ถ้าเป็นความจริงแล้วไม่เชื่อใครทั้งสิ้น เชื่อสัจจะเชื่อความจริงในใจของตนเชื่ออริยสัจ เชื่อความสุขความทุกข์ในใจอันนี้อันนี้ไง สิ่งที่จะสัมผัสธรรมได้คือความรู้สึกของคน ความรู้สึกนี้เป็นธรรมทั้งแท่ง ฟังสิธรรมทั้งแท่ง

แล้วเราไปค้นหาในพระไตรปิฎก ไปค้นหาที่ไหนแล้วเวลาเป็นจริงขึ้นมามันเป็นจริงกลางหัวใจ ธรรมทั้งแท่งกลางหัวใจแล้วมันจะไปสงสัยอะไร มันจะไปค้นหาที่ไหน ค้นหาที่นี่ได้เป็นความจริงของเรา นี่ถ้าปฏิบัติจริงมันจะได้ผลตามความเป็นจริงไม่ใช่ทำพอเป็นพิธีเหมือนที่เขาทำกัน เอวัง