ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

รู้ธรรม

๑ ก.ย. ๒๕๖๑

รู้ธรรม

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : ข้อ ๒๒๗๒. เรื่อง “จับต้นชนปลายไม่ถูกครับ”

กราบนมัสการหลวงพ่อ ผมขออนุญาตกราบเรียนสิ่งที่พบเจอในการปฏิบัติครับ ขอหลวงพ่อพิจารณาชี้แนะแนวทางตามที่เห็นสมควรครับ

เมื่อเช้าที่ภาวนา ผมจะทำความสงบใจโดยใช้คำบริกรรมพุทโธ หรือกำหนดลมหายใจ ซึ่งผมจะเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยสังเกตจากลักษณะจิตใจ ณ เวลานั้นๆ ว่าแบบไหนเหมาะสมกว่ากัน

มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะเดินจงกรม ผมบริกรรมพุทโธๆ ไปเรื่อยๆ จนจิตเริ่มมีความตั้งมั่น ผมสลับไปกำหนดลมหายใจโดยหวังให้ได้รับความสุขและความอิ่ม ซึ่งก็ได้รับปีติและความสุขนั้น จากนั้นเกิดความรู้สึกว่าอยากจะบริกรรมพุทโธให้ละเอียดให้หนักแน่นที่สุด เพราะอยากรู้ว่าจะเป็นผลอย่างไร ผมจึงสลับจากลมหายใจมากำหนดพุทโธตามที่ตั้งใจ

เมื่อทำไปสักพัก ผมสังเกตเห็นอาการของจิตเปลี่ยนไป ผมก็ไม่มั่นใจนัก แต่มีชั่วครู่หนึ่งที่รู้สึกว่าจิตกลายเป็นพุทโธ ด้วยความประหลาดใจจึงหยุดบริกรรมและสังเกตดู ผมเห็นว่า ขณะนั้นจิตกลายเป็นจิตที่สูงส่งมาก เหมือนเป็นคนละจิตกับที่ผมเห็นอยู่โดยปกติ ที่ว่าสูงส่งในที่นี้คือจิตในขณะนั้นเห็นกามสุขเป็นของต่ำ ไม่อยากเกลือกกลั้ว ผมประหลาดใจมากว่ามันสามารถเห็นได้ขนาดนี้เชียวหรือ ไม่เคยคิดว่าคำที่ครูบาอาจารย์เรียกว่าของสูงของต่ำ มันจะสูงต่ำต่างกันให้เห็นได้เพียงนี้

ผมสังเกตดูได้ไม่นานนักก็เริ่มเห็นจิตถอยกลับลงมาๆ คือมันเป็นการถอยลงจริงๆ จนกลายเป็นแบบที่ผมเห็นอยู่เป็นปกติ คือไม่เห็นกามสุขเป็นของต่ำอีกแล้ว เห็นกามสุขอยู่ในระดับเดียวกันเลย พร้อมที่จะวิ่งเข้าใส่เหมือนเช่นปกติ ผมยิ่งประหลาดใจเพราะมันเหมือนเป็นคนละคนกันเลย หรือที่หลวงพ่อพูดบ่อยๆ ว่า “จิตนี้เป็นได้หลากหลายนัก” จิตนี้เป็นได้หลากหลายนักจะหมายถึงอะไรประมาณนี้ คือจิตเปลี่ยนแปลงเหมือนเป็นจิตคนละดวงกันเลย

หลังจากนั้นผมก็พยายามนำสิ่งที่เห็นนี้กลับมาพิจารณาดูใหม่ แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก ผมแค่สังเกตเห็นได้บ้างว่าฐานของจิตมีความแตกต่างกันไปเป็นช่วงเวลา คือจะใช้คำว่า อารมณ์” มันก็รู้สึกไม่ตรงนัก เพราะขณะที่เป็นสมาธิ กับขณะที่ปกติทั่วไปก็เห็นมีอารมณ์เฉยๆ กลางๆ เหมือนกัน แต่ฐานของจิตก็แตกต่างกัน ผมไม่แน่ใจเรื่องคำเรียกนะครับ คือผมหมายถึงสิ่งที่จิตทรงตัวอยู่ หรือสิ่งที่จิตเป็นอยู่นั่นแหละครับ ซึ่งบางทีก็ไม่ค่อยดีนัก เช่น เป็นความเร่าร้อน เป็นความหยาบกระด้าง และชุดความคิดที่เกิดจากฐานต่างๆ กันเช่นนี้ก็จะมีความแตกต่างกัน

ช่วงนี้ผมก็ยังคงพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของจิตทั้งหลายนี้ แต่ก็ยังจับต้นชนปลายไม่ถูกครับ ยังรู้สึกมั่วๆ กันอยู่ แต่ก็จะพยายามพิจารณาต่อไป จึงเขียนมากราบเรียนหลวงพ่อ และขอหลวงพ่อพิจารณาช่วยชี้แนะด้วยครับ

ตอบ : นี่เขาบอกพิจารณา เห็นไหม เวลาเราหัดภาวนาๆ ทุกคนหัดภาวนา ถ้าเวลาภาวนาไปแล้วนะ ถ้ามันไปรู้ไปเห็นสิ่งใดนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาท่านบรรลุธรรม ท่านตรัสรู้ธรรม มีรัตนะ ๒ คือพระพุทธกับพระธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึกของเรา

แล้วเวลาหลวงตาท่านพูดประจำ ถ้าใครทำความสงบของใจแล้วใจมันเห็นนะ เห็นนรกเห็นสวรรค์ขึ้นมา แล้วจะไม่ทำความชั่วใดๆ เลย แล้วหลวงตาท่านพูดบ่อย ครูบาอาจารย์ท่านพูดบ่อย ถ้าใครทำความสงบของใจได้ ถ้าจิตมันสงบได้นะ มันจะเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา มันจะเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา

ไอ้พวกเราเข็นกันอยู่นี่ๆ ที่มันไม่เชื่อมั่น มันไม่มั่นคง มันโลเลอยู่นี่ก็เพราะว่าเรารู้โดยสมมุติไง รู้โดยสมมุติบัญญัติคือการศึกษาเรานี่แหละ การศึกษาหรือความรู้ของโลกนี่สมมุติบัญญัติๆ สมมุติบัญญัติมันก็แค่ความศึกษาความเข้าใจ ความศึกษาความเข้าใจแต่ยังไม่รู้ไม่เห็นไง

แต่ถ้ามันรู้มันเห็นขึ้นมานะ แค่จิตสงบเท่านั้นแหละ มันจะเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนามาก จิตสงบแล้ว อู้ฮู! อู้ฮู! เลยนะ “พระพุทธเจ้ารู้ได้อย่างไร พระพุทธเจ้ารู้ได้อย่างไร” นี่มันคิดไปนู่นนะ แต่ความจริงยังไม่ใช่ นั่นแค่จิตสงบ มันคิดว่านั่นนิพพาน จิตสงบเท่านั้นแหละ

หลวงตาท่านพูดบ่อย ถ้าใครทำความสงบของใจได้แล้วนะ จะไม่ไปเกลือกกลั้วกับโลก จะพยายามฝึกหัดพยายามฝึกฝนของเราถ้าจิตมันสงบได้

นี่มันเป็นการยืนยันไง ยืนยันเวลาผู้ที่กระทำ เห็นไหม ถ้าจิตมันสงบ จิตสงบมันมีสตินะ มีสติเป็นผู้ที่บริหาร มีสติเป็นผู้ที่ดูแล มีสติสัมปชัญญะตามความเป็นจริงนะ จิตสงบคือจิตที่เป็นอิสระ เป็นจิตที่เป็นอิสระกับอารมณ์ เห็นไหม อิสระกับอารมณ์ อารมณ์ความรู้สึกของเรา ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ จิตมันเป็นอิสระ ถ้าจิตเป็นอิสระ ถ้ามีสติปัญญาขึ้นมา อย่างคำถามที่ถามมานี่แหละ พอไปรู้ไปเห็นเข้ามันมหัศจรรย์ๆ ของมัน

เพราะมีคนที่ภาวนาเป็นสมาธิๆ มาเล่าให้ฟังเรื่องอย่างนี้ พอจิตมันสงบเข้ามาแล้วมันเป็นสมาธิ มันเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา มันเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา มีคนพูดอย่างนี้บ่อยมากเลย นี่ถ้าเขาทำได้ ถ้าเขาทำได้ เขาทำความจริงของเขาได้ ถ้าเราทำของเราได้

ทีนี้ถ้าเขาบอกว่าจับต้นชนปลายไม่ถูก

ถ้าคำว่า จับต้นชนปลายไม่ถูก” มันเหมือนกับคำที่หลวงตาท่านพูด เวลาในธรรมะนะ เวลาคนที่ธรรมเกิดๆ เวลามีคุณธรรมเกิดขึ้นมา นี่เขาเรียกว่า “ธรรมเกิด”

ธรรมเกิดมันอยู่ที่คน คนคนนั้นมีอำนาจวาสนาได้สร้างบุญกุศลมามันจะมีสิ่งนี้เกิดขึ้น แล้วเวลาเกิดขึ้น เวลาหลวงตาท่านอธิบายแล้วท่านแสดงธรรม ท่านพูดบ่อยมากว่า หลวงปู่มั่นเวลาท่านเกิด เกิดเป็นภาษาบาลีๆ แล้วเวลาของท่าน ท่านบอกว่าเวลาท่านเกิดเป็นภาษาไทย ท่านอาจารย์จวนท่านก็เกิดเป็นบาลี

แล้วดูหลวงปู่มั่นกับหลวงปู่จวนสิ หลวงปู่จวนเวลาเทศนาว่าการนะ โอ้โฮ! บาลีนี่ไหลเลย พวกที่บาลีพวกนี้พวกมีฤทธิ์มีบุญญาธิการ เหมือนตอนนี้ เหมือนพวกเรา นักเรียนต้องเรียนได้ ๓ ภาษา ๒ ภาษาน้อยไปแล้ว ต้อง ๓ ภาษา แล้วถ้าเด็กคนใดได้ภาษาอังกฤษ โอ้โฮ! แอ๊กน่าดูเลยนะ พูดภาษาอังกฤษได้นี่แหม! มันรู้สึกว่ามันมีเกียรติ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าใครได้บาลีไง ภาษาบาลีๆ ผู้ที่มีฤทธิ์ๆ หลวงตาท่านพูดว่าหลวงปู่มั่นเวลาท่านเกิดเป็นบาลี หลวงปู่จวนก็เกิดเป็นบาลี หลวงตาท่านบอกท่านเกิดเป็นภาษาไทย เวลาเกิดมันเป็นภาษาไทย แล้วท่านก็พูด ท่านบอกว่า โดยบาลี โดยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่บอกว่าธรรมเกิด เวลาคุณธรรมมันเกิดขึ้นมันผุดขึ้นมากลางหัวใจ แล้วถ้าคนไม่เคยเกิดมันก็จะไม่รู้ว่ามันเกิดอย่างไรไง

แต่คนเวลาว่าธรรมเกิด อย่างเช่นใครเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาอยู่ สงสัยในเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เวลาจิตมันสงบ ธรรมมันเกิด มันจะตอบปัญหาเรื่องนั้นน่ะ เรื่องที่เราสงสัยตอบพับๆๆ เลย มันเหมือนกับมีอาจารย์สอนเด็ก จะอธิบายให้เด็กเข้าใจได้หมดเลย โอ้โฮ! งงเลยนะ งง ต่างคนต่างงง นี่ธรรมเกิด กรณีนี้เวลาคนที่ปฏิบัติไปส่วนใหญ่มันจะเกิดอย่างนี้ กรณีแก้ไขในหัวใจของตน ใครมีอุปสรรคสิ่งใดแล้วธรรมะจะมาสั่งมาสอน ที่ว่าธรรมะมาโปรดไง พระธรรมๆ มาโปรด นี่มันมีของมัน แต่หลวงตาท่านบอกว่ากิเลสเกิด

เราฟังทีแรกก็งงๆ นะ พระไตรปิฎกบอกว่าธรรมเกิด หลวงตาบอกว่ากิเลสเกิด แล้วท่านก็อธิบาย กิเลสเกิดเพราะมันเกิดไปแล้ว เราอยากได้อยากให้เป็นอย่างนั้น เพราะธรรมดาคนเวลาธรรมมันเกิดมีความสุขมาก มันมีความสว่างกระจ่างแจ้ง มันมีวุฒิภาวะ มันมีปัญญา เหมือนกับเป็นนักวิทยาศาสตร์ใหญ่คนหนึ่งเลย มันก็อยากเป็นอย่างนั้น ใครอยากจะเป็นชาวนาทุกข์จนเข็ญใจ ใครๆ ก็อยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ ใครอยากจะเป็นคนทุกข์คนจน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาปกติเหมือนคนทุกข์คนจน เวลาธรรมมันเกิดขึ้นมาที โอ้โฮ! มันเหมือนนักปราชญ์เลย รู้แจ้งแทงตลอด มีความเข้าใจ รู้หมดเลย แต่มันก็เกิดด้วยอำนาจวาสนา แล้วหลวงตาท่านบอกกิเลสเกิด

กิเลสเกิดเพราะเวลามันเกิดแล้วมันมีความฝังใจ คนเรามันทุกข์มันยาก เวลามันมีความสะดวกสบายหนหนึ่ง ความสะดวกสบายอย่างนั้น เราก็มีเป้าหมายว่าอยากได้อย่างนั้นอีกๆ นี่กิเลสเกิด อยากได้โดยไม่มีเหตุมีผล อยากได้ด้วยตัณหาความทะยานอยาก อยากได้โดยกิเลส มันไม่ใช่เกิดโดยธรรม มันทำให้เราเร่าร้อนขึ้นเป็นสองชั้นสามชั้นไง

โดยธรรมดาเราก็อยากให้เป็นอย่างนั้น แต่ความเป็นอย่างนั้นได้มันเป็นอย่างนั้นได้ขึ้นมามันก็เกิดจากพุทโธ เกิดจากอานาปานสติ เกิดจากการกระทำของเรา มันเกิดจากการอบรมบ่มเพาะจิตของเรา ที่มันเกิด มันเกิดเพราะความอบรมบ่มเพาะ พอมันเป็นอย่างนั้นขึ้นมาได้แล้วมันก็เกิดความมหัศจรรย์ เพราะมันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นความรู้ของเรา เป็นปัจจัตตัง เป็นความที่เข้าไปรู้ไปเห็นโดยเฉพาะตนเฉพาะหน้ากับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ไง มันเกิดมาจากความบ่มเพาะ เกิดจากการกระทำ

แล้วพอเกิดการกระทำแล้ว สิ่งที่ได้มา เราก็ไปเอาที่ผลมันคือวิบาก สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ไปรู้ไปเห็นขึ้นมา แล้วก็อยากได้สิ่งที่รู้ที่เห็น แต่ไม่ได้อยากได้ที่การกระทำนั้นไง

ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ ถ้าคนที่ภาวนาแล้วท่านรู้เลย ที่มันได้มาๆ ได้มาเพราะอบรมบ่มเพาะ ได้มาเพราะว่าคำบริกรรม ได้มาเพราะอานาปานสติ ได้มาด้วยปัญญาอบรมสมาธิ ที่ได้มาเพราะจิตมันสงบแล้วมันถึงไปเห็นสิ่งนั้น เห็นสิ่งนั้นเพราะมันเป็นจริตนิสัยสิ่งนั้น มันก็เห็นสิ่งนั้น

ถ้าเห็นแล้วนะ ทุกคนก็จะเป็นแบบนี้ ทุกคนถ้ายังไม่เข้าใจมันก็กระเสือกกระสน พอกระเสือกกระสนก็จิตเสื่อมไง พอคนไม่เคยเป็นสมาธิเลยมันก็ไม่เห็นคุณค่า พอเป็นสมาธิขึ้นมาก็เห็นคุณค่ามาก แล้วพอมันเสื่อมขึ้นไปก็อยากจะได้คุณค่าอย่างนั้น

ความอยากได้โดยไม่มีเหตุมีผล ความอยากได้โดยการดิ้นรน ทุกข์มาก

แต่พอมันเข้าใจนะ มันต้องพาให้แถกเหงือกอย่างนั้นน่ะ จนเลือดซิบๆ นั่นแหละ จนเข้าใจแล้ว เออ! เลิกเลย พอแล้ว นั่นล่ะกลับไปพุทโธอีก

มันต้องโดนกิเลสมันหลอก หลอกไปจนเลือดซิบๆ นั่นแหละมันถึง อ๋อ! โดนกิเลสหลอกอย่างนี้เนาะ นี่กิเลสหลอก แต่พอมันเข้าใจนะ ถ้าคนที่มีวาสนายังคิดได้นะ ถ้าคนไม่มีวาสนาคิดไม่ได้ คิดไม่ได้ก็เหมือนว่าเราทำไม่ได้ เราไม่มีโอกาส เราเป็นคนวาสนาน้อย เลิกไปเลย หรือทำอย่างอื่นไปเลย นั่นคนไม่มีโอกาส ถ้าคนมีโอกาสยังคิดได้นะ ถ้าคิดได้ นี่พูดถึงว่าผลที่มันเป็น ไม่ต้องจับต้นชนปลายหรอก ความเป็นจริงมันเป็นจริงอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นจริงอย่างนั้นมันก็อยู่ที่วาสนาของคน

วาสนาของคน บางคนทำได้ง่าย บางคนทำได้ยาก ถ้าคนทำได้ยากขึ้นมา โอ้โฮ! มันลงทุนลงแรงมากกว่าเขา มันลงทุนลงแรงมากกว่าเขาเพราะคนทำได้ยากมันก็ทำมาได้ยาก เพราะทำมาได้ยากแล้ว ของที่เราได้แล้วมันหลุดมือไปจะเอาคืนมาๆ

เอาคืนมา เอาคืนมาต้องกลับไปพุทโธ ถ้ากลับไปพุทโธ กลับไปอานาปานสติ นั่นแหละ ตรงนั้นแหละ ถ้าตรงนั้นสงบขึ้นมา แล้วมันอาจจะได้คืนมา

คำว่า อาจจะได้คืนมา” เพราะคนที่ทำความสงบของใจแล้ว เวลาไปเห็นกายขึ้นมาแล้วก็อยากจะเห็นเหมือนเดิมๆ แต่เวลาพิจารณาไปแล้ว ถ้าเวลาไปเห็น เห็นกายเหมือนกัน แต่เห็นคนละสถานะ เพราะมันเป็นปัจจุบันไง สิ่งที่ได้มาแล้ว ได้มาแล้วคืออดีตไง

ฉะนั้นบอกว่าจะได้แบบนั้นๆ อีก

ไม่ได้ จะได้ดีกว่าเดิมก็ได้ เสมอเดิมก็ได้ หรืออ่อนด้อยกว่าเดิมก็ได้ แต่มันมีผล มันมีผลกับการประพฤติปฏิบัติ มันมีผลกับการฝึกหัดใจของเรา ใจของเรามีการฝึกหัดทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ฝึกหัดจนมันเข้มแข็ง ฝึกหัดจนมันแข็งแรง ฝึกหัดจนมันรักษาตัวมันเองได้มันก็จะดีขึ้นไปตามข้อเท็จจริงนั้น

นี่พูดถึงว่า ถ้าคำว่า จับต้นชนปลาย” คำว่า จับต้นชนปลายไม่ได้” หมายความว่า เราเรียงลำดับ ๑ ๒ ๓ ๔ ไม่ได้ เพราะเราเรียงไม่ได้เพราะเรายังไม่มีความชำนาญไง แล้วเราไม่จำเป็นจะต้องไปเรียงให้ได้ เราวางไว้มันเป็นอดีตไปแล้ว เรากลับมาอยู่กับปัจจุบันนี้ เวลาอยู่กับปัจจุบันนี้ ก็กลับมานี่แหละ กลับมาที่คำเขาถามนี่ไง ผมภาวนาพุทโธๆ พร้อมกับลมหายใจบ้าง แล้วก็เลือกเอาเป็นระหว่างความเหมาะสมว่าจะลมหายใจก็ได้ จะเป็นพุทโธก็ได้

แต่ถ้าเราพุทโธก็ได้ ลมหายใจก็ได้ เราทำของเราต่อเนื่องไปๆ แต่ที่มันเป็น มันเป็นของมันโดยข้อเท็จจริงของมัน โดยข้อเท็จจริงของมันนะ เราไม่มีความสามารถที่จะสั่งที่จะบังคับบัญชาให้มันเป็นจริงๆ เพราะเรามีเจตนา อธิษฐานบารมี เรามีเจตนาของเรา เราตั้งเจตนาของเราว่าเราจะทำอย่างนั้น แล้วเราก็วางไว้ แล้วเราก็มาประพฤติปฏิบัติของเราให้ถึงเป้าหมายนั้น

แต่เราไม่มีสิทธิว่าต้องเป็นอย่างนั้นๆ ไอ้นั่นมันเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมมันจะตั้งใจว่าทำอย่างนั้นๆๆ แล้วถึงที่สุดแล้วก็จะจบอย่างนั้น

แต่จิตของเรามันไม่เป็นอย่างนั้น หนึ่ง มีเรื่องเวรเรื่องกรรม เรื่องเวรเรื่องกรรม เรื่องอำนาจวาสนา เรื่องอำนาจวาสนานะ แล้วก็เรื่องปัจจุบันว่าเรามีสติปัญญามากน้อยแค่ไหน แล้วก็ยังมีเรื่องกิเลสของคน มีเรื่องของกรรมของสัตว์

กรรมของสัตว์ กรรมเราไปทำสิ่งใดไว้ มันมีเวรมีกรรมอะไร มันมีตัวแปรมากเลย มันมีตัวแปรมาก แต่เวลาถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไปแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนกัน อริยสัจเหมือนกัน อยู่ที่เวรกรรมของคนไม่ได้ทำเวรทำกรรมไว้มาก

ไม่ได้ทำเวรทำกรรมไว้มาก เวลาบ้านเรือนของเรา เรามีกระต๊อบห้องหอ เราทำความสะอาดเดี๋ยวก็จบใช่ไหม บางคนมีบ้าน ๓ ชั้น ๔ ชั้น เวลาทำความสะอาดก็ทำแล้วทำเล่าๆ เหงื่อไคลไหลย้อยเลย บ้านเขาหลังใหญ่ บางคนมีเป็นตึกหลายๆ ชั้น

มันอยู่ที่บ้านเล็กบ้านใหญ่ คำว่า บ้านเล็กบ้านใหญ่” หมายถึงว่า อุปาทานของคนฝังลึก ลึกมากลึกน้อยของคนไม่เหมือนกัน การทำความสงบของใจก็ไม่เหมือนกัน แต่เวลาจิตสงบแล้วสงบเหมือนกัน บ้านเล็กบ้านใหญ่มันก็มีอำนาจวาสนาตอนที่เวลาผลมันก็ได้กว้างขวางกว่ากัน คับแคบกว่ากัน มันก็แตกต่างกันไปบ้านเล็กบ้านใหญ่ใช่ไหม นี่พูดถึงว่าสิ่งที่เป็นตัวแปร

แต่ถ้ามันทำของเรา กลับมาที่นี่ สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นบุญกุศลของคน เวลาคนปฏิบัติเวลาจิตเขาละเอียดขึ้น สิ่งที่เขารู้เขาเห็นขึ้นมา เวลามันมีความสุขขึ้นมามันมหัศจรรย์ของมัน มหัศจรรย์ของมันจนจิตของมัน เวลาจิตที่มันสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของจิตของตัวเอง เวลาที่เห็นจิตของตัวเอง เห็นว่ากามสุขมันเป็นของต่ำต้อย

นั่นเรื่องของโลกๆ นะ ดูสิ ศีล เวลาศีลที่ขอ อาราธนาศีล วิรัติศีล อธิศีล ศีลก็เกิดมาแตกต่างกัน นี่ก็เหมือนกัน เวลาเจตนาที่ว่ามันรู้มันเห็น เวลาเห็นว่ากามสุขมันเป็นของต่ำๆ

เวลาของต่ำ แล้วเวลาสูงเวลาต่ำมันแตกต่างกันขนาดไหน เวลาจิตที่มันดีงามขึ้นมาแล้วมันไม่ลงมาเกลือกกลั้ว มันไม่ลงมาเกลือกกลั้ว ไม่มาเห็นอย่างนี้เป็นของมีค่า นี่ไง รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง เวลาคนที่ประพฤติปฏิบัติ รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง รสใน ๓ โลกธาตุต่ำต้อยทั้งนั้นเลยถ้าจิตมันเป็นจริงได้นะ ถ้าเป็นจริงได้แล้ว

เวลาประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่เป็นสมาธิ สมาธิมันหินทับหญ้า ถ้าเป็นสมาธิ เวลาเป็นสมาธิที่ดีมันก็เห็นว่าเป็นของต่ำของต้อย เวลามันคลายจากสมาธิขึ้นมาแล้วมันก็เป็นปุถุชนเหมือนกัน

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่ามันเข้าไปแล้วมันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ ถ้ามันยังเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญอยู่ เดี๋ยวมันก็เห็นสูงเห็นต่ำอยู่อย่างนี้ ถ้าเห็นสูงเห็นต่ำ

เห็นสูงเพราะอะไร เห็นสูงเพราะมีสติมีปัญญา มันอยู่กับพรหมจรรย์ของมันไง

ถ้าเห็นต่ำ เห็นต่ำเพราะว่าเราเป็นมนุษย์ปุถุชนไง มันก็เป็นกามคุณ เห็นไหม กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ ของปุถุชน

แต่พูดถึงถ้าเป็นธรรมๆ เป็นธรรมมันสูงส่งกว่านั้นเยอะ ถ้าสูงส่งกว่านั้นมันเห็นโทษ เห็นโทษต่อเมื่อเราทำความสงบของใจได้ เห็นโทษต่อเมื่อเขาไปเห็นจิตของเขา นี่เห็นจิตมันรู้ธรรมๆ ผู้รู้มันไปรู้ธรรม รู้ธรรมก็เกิดจากการกระทำของเรา

ถ้าเกิดจากการกระทำของเราแล้ว เรามีสติปัญญาแล้ว เราได้สัมผัส ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก เราได้รับรู้ รับรู้แล้ว เวลามันผ่านไปแล้วมันก็จบ จบแล้ว แต่มันฝังใจนะ มันฝังใจเพราะคนไปรู้ไปเห็นเข้า นี่ไง ที่ว่า ศรัทธา อจลศรัทธา

เวลาศรัทธาๆ มีศรัทธามีความเชื่อ ศรัทธาความเชื่อเดี๋ยวมันก็คลายได้ แต่อจลศรัทธา อจลศรัทธาเข้าไปรู้ นี่ศรัทธา ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ปุถุชนนี่คนหนา ถ้ามีศรัทธาความเชื่อก็ศึกษา ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชน รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร

รูป รส กลิ่น เสียง นี่กามคุณไง รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร แต่ถ้ามันมีสติปัญญามันรู้เท่า มันขาดหมดนะ รูป รส กลิ่น เสียงก็เป็นรูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รูปอันวิจิตร เสียงอันวิจิตร สิ่งที่สูงส่งแค่ไหนไม่ใช่กิเลส ตัณหาความทะยานอยากในใจของคนต่างหากคือกิเลส

ถ้ามันละที่ตัณหาความทะยานอยากแล้ว รูป รส กลิ่น เสียงมันจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นรูป รส กลิ่น เสียงนั่นน่ะ รูป รส กลิ่น เสียงมันก็เป็นธรรมชาติของมัน เป็นเรื่องของมัน มันอยู่นู่น ถ้าจิตใจของเรามันรักษาได้ นี่กัลยาณปุถุชน

ถ้าจิตมันสงบอีก ที่อาการของจิตที่เขาว่า ถ้าจิตมันสงบอีก สงบบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้าจนมีความชำนาญนะ เขาจะสร้างบ้านสร้างเรือน ไอ้พวกนั่งร้านมันต้องแข็งแรง ถ้านั่งร้านไม่แข็งแรง การก่อสร้างนั้นชำสุดเสียหายหมด แล้วช่างผู้ขึ้นไปก่อสร้างก็จะเกิดอุบัติเหตุด้วย

จิตสงบแล้วจิตสงบเล่า สงบแล้วสงบเล่าจนมันตั้งมั่น จนจิตมีกำลัง นั่งร้านนั้นแข็งแรง จิตใจที่มันแข็งแรง มีอำนาจวาสนา นั่นน่ะมันค่อยรำพึงไปเห็นกาย แต่นั่งร้านของเรายังไม่แข็งแรง เราจะสร้างตึกสร้างร้านใหญ่โตขึ้นไปมันเกิดความชำรุดเสียหายได้ แต่ด้วยความชำนาญของคนก็ผูกเอา พยายามขัดให้มันมั่นคงของมัน ด้วยความชำนาญก็ทำไป นั่นมันก็อันตราย นี่อันตรายนะ อันตราย ถ้าทำงานเสร็จมันก็เสร็จได้ อันตราย ถ้าทำงานไม่ได้นะ มันชำรุดเสียหายขึ้นมามีปัญหาทั้งนั้นน่ะ

นี่พูดถึงว่าการทำความสงบของใจ เราทำความสงบของใจขึ้นมา ถ้าใจมันสงบแล้ว ความสงบบ่อยครั้งเข้าๆ ทำซ้ำทำซาก ถ้ามันมีกำลังของมัน

ถ้าไม่มีกำลัง กำลังไม่พอ หรือว่าทำไปแล้วมันอยากรู้อยากเห็น มันอยากฝึกหัดใช้ปัญญาก็ใช้ไป ใช้ไป แต่มันต้องมีจุดยืนไปข้างหน้าว่าจิตของเราต้องมั่นคง เราทำของเราแล้วเราหวังประโยชน์กับเรา

ถ้าจิตเราไม่มั่นคงมันก็อย่างนี้ เวลามันทำไปแล้วนะ เวลาศรัทธามันดีมันก็ทำได้ แล้วพอภาวนาไป พอมันทุกข์มันยากขึ้นมา พอศรัทธามันเสื่อม แล้วความทุกข์ความยาก คนมันไม่มีขันติธรรม ไม่มีความอดทน เลิก

เราอยู่ในวงการพระ เราเห็นการประพฤติปฏิบัติของพระ พระเวลาปฏิบัติ พระบวชใหม่ๆ ปฏิบัติเข้มแข็งมาก พระปฏิบัติมา ทุกคนบวชมาแล้วอยากมาก

อย่างเรา เราสำมะเลเทเมามา เราไม่มีที่พึ่งที่อาศัย พอไปเจอครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ครูบาอาจารย์ที่แนะนำได้ เออๆๆ เอาอยู่พักหนึ่ง แล้วพอทำไม่ได้ ไปที่อื่นดีกว่า

การทำที่ไม่สม่ำเสมอ เราอยู่ในวงการพระ เราดูพระมาว่าพระปฏิบัติไปแล้วทำไมมันไม่ก้าวหน้า พระปฏิบัติไปแล้วมันไม่เข้มแข็ง พระปฏิบัติไปแล้วทำไม่ต่อเนื่อง แล้วสุดท้ายแล้วมาอ่านพระไตรปิฎก ภิกษุเราผู้ประพฤติปฏิบัติที่มันไม่ได้ผลเพราะขาดความเสมอต้นเสมอปลาย ขาดความสม่ำเสมอ การทำสม่ำเสมอแล้วทำต่อเนื่องๆ

ถ้ามันทำของมันสม่ำเสมอแล้วต่อเนื่อง แล้วถ้ามันทำของมันได้ ในพระไตรปิฎกอีกแหละ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างน้อยพระอนาคามี ถ้าทำต่อเนื่อง มั่นคง แล้วพยายามของเรา แล้วมีครูบาอาจารย์ชี้นำที่ดี ทำต่อเนื่อง ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างน้อยพระอนาคามี

แต่นี่เรากระทำกันไปแล้วล้มลุกคลุกคลาน แล้วมันก็อยู่ที่วาสนาด้วยนะ วาสนาถ้ามันขันติธรรม มันต่อเนื่องแล้วมันทำของเราไป เวลาคนที่มีวาสนามันจะมีปัญญาพยายามหาเหตุหาผลช่วยสนับสนุนการปฏิบัติของตน

หาเหตุหาผลนะ หาเหตุหาผล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มนุษย์ หลวงปู่มั่นก็มนุษย์ เราก็มนุษย์ ทำไมครูบาอาจารย์ท่านทำได้ แล้วครูบาอาจารย์เวลาท่านทุกข์ท่านยากขึ้นมาท่านทุกข์ยากขนาดไหน แล้วเวลาท่านหาทางออก หาทางออกอย่างไร

เพราะเวลาเราปฏิบัติมาใหม่ๆ เราอ่านประวัติหลวงปู่มั่น อ่านประวัติครูบาอาจารย์ แล้วเอาสิ่งนั้นเป็นคติ เป็นคตินะ มันมีอยู่ ๒ เล่ม พูดบ่อยมาก แล้วก็อยากจะพูดอีก ประวัติหลวงปู่เทสก์กับประวัติหลวงปู่หลุย องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๑ ปี องค์หนึ่งติด ๑๗ ปี ท่านเขียนเอง อัตตโนประวัติ ไปอ่านสิ

โอ้โฮ! เราอ่านนะ โอ้โฮ! ติดสมาธิถึง ๑๗ ปีเชียวนะ โอ้โฮ! กลัวน่าดูเลย ติดสมาธิ ๑๗ ปีคือเสียเวลาเปล่าๆ ๑๗ ปี องค์หนึ่งติด ๑๗ ปี องค์หนึ่งติด ๑๑ ปี นี่หลวงปู่หลุยกับหลวงปู่เทสก์ อัตตโนประวัติหลวงปู่เทสก์ ไปอ่านได้ เราอ่านหนังสืออย่างนี้ พออ่านเข้าไป โอ้โฮ! หูนี่ตั้งเลยนะ มันกลัว กลัวมาก กลัวติดสมาธิ พอกลัวติดสมาธิปั๊บ ตั้งแต่นั้นมานะ เราตั้งสัจจะเลย นิมิตไม่เอา เห็นอะไรไม่เอา เอาความสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา

เราอ่านประวัติครูบาอาจารย์มา เราก็ได้ประโยชน์จากประวัติครูบาอาจารย์มาเยอะ ที่เราปฏิบัติมาเพราะเราอ่านประวัติครูบาอาจารย์มา ครูบาอาจารย์องค์ไหนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ปฏิบัติอย่างไรแล้วมันก้าวหน้า เราก็เอาไอ้นั่นเป็นแบบอย่าง

ชื่นชมหลวงปู่หลุยมาก เราอยู่ทางอีสานนะ เวลาฝนตก เราเดินรอบกุฏิ มันคิดกระหยิ่มยิ้มย่องนะ อืม! เก่งเนาะ แม้แต่ฝนตกแดดออกก็ยังภาวนา เขาฝนตกเขาก็เลิกกันแล้ว ไอ้เราฝนตก เดินรอบๆ ชายคา เดินจงกรม เดินรอบชายคา ชื่นชมตัวเองนะ ขายขี้เท่อยังอวดอยู่นี่ ยังคิดชมตัวเองว่า เออ! เอ็งก็ยังเป็นคนดีอยู่เนาะ ยังไม่ทิ้งความเพียร

พอมาอ่านประวัติหลวงปู่หลุย ท่านบอกว่าท่านเดินจงกรมในกลด กลดหลังหนึ่งนี่ ท่านเดินจงกรมในกลด

โอ๋ย! กูแพ้เลย ราบคาบเลย แต่เดิมเราเดินจงกรมรอบชายคา เวลาฝนตก หน้าฝน เดินจงกรมรอบชายคานะ เพราะฝนมันตก ก็ยังคิดขึ้นมาในความคิด อืม! เราก็เร่งความเพียรของเรา เราก็ทำความเพียรของเรา มันไม่มีทางจงกรม เราก็พยายามหาหนทางทำจนได้ ยังชมตัวเองอยู่ว่ามันไม่ทิ้ง แต่พอมาอ่านประวัติหลวงปู่หลุย โอ๋ย! หงายท้องเลย ท่านเดินจงกรมอยู่ในกลด โอ้โฮ! อ่านอย่างนี้แล้วมาปลุกปลอบใจของตน อ่านอย่างนี้แล้วมากระตุ้น

เราอ่านประวัติครูบาอาจารย์มานะ อ่านมาเพื่อเป็นคติเพื่อเป็นแบบอย่าง เพื่อมาพลิกแพลงช่องทางในการปฏิบัติของเรา เพราะอะไร เพราะเรากระเสือกกระสน เราอยากหาทางออก เราอยากหาทางไป ถ้าทางไปแล้วเราทำของเราอย่างนั้น เราเห็นประโยชน์กับเรื่องนี้มาก ฉะนั้น เราเห็นประโยชน์กับเรื่องนี้มา เราถึงทำหนังสือประวัติครูบาอาจารย์ไปเพื่อประโยชน์ ถ้าใครมีแนวคิด ใครคิดจะเอาตัวรอด ใครคิดอยากจะมีคุณธรรม นี่มันสอนตลอดเวลา แล้วเราน้อมมา อกาลิโกไง ไม่มีกาลไม่มีเวลา เราจะปลุกปลอบใจเราได้ตลอดเวลา เราจะทำให้เราหมั่นเพียรได้ตลอดเวลา นี่ถ้ามีจิตใจคิดแบบนี้

นี่พูดถึงว่าเขาจับต้นชนปลายไม่ได้

คำว่า จับต้นชนปลายไม่ได้” สิ่งที่มันผ่านไปแล้ว เราเห็นประเด็นอยู่ ๒ ประเด็น คำถามนี้ ประเด็นหนึ่งคือเขาไปรู้ไปเห็น จิตสงบแล้วไปเห็นสัจธรรมอันนั้น ถ้าไปรู้ธรรมๆ พอรู้ธรรม มันเป็นการยืนยันว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับสัจธรรม แล้วก็อริยสงฆ์ ถ้าใครไปรู้ไปเห็นเข้าแล้วมันจะเชื่อมั่น เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้ามันเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราจะไม่ปล่อยให้ชีวิตเราเหลวไหลไป ถ้าไม่ปล่อยให้ชีวิตเราเหลวไหลไปมันจะเป็นประโยชน์ ประโยชน์กับการกระทำไง เรากระทำ

มันเหมือนกับเราสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ แต่สั่งเท่าไรก็ไม่เคยมาส่งสักที รอแล้วรออีก สินค้าไม่มาส่ง พวกเราก็เหมือนกัน ปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่า จิตไม่เคยสงบสักที ปฏิบัติแล้ว เฮ้ย! มันจะมีจริงหรือวะ ปฏิบัติแล้วมันแห้งแล้ง

แต่ถ้าใครปฏิบัติไปแล้วไปรู้ไปเห็นเข้า ยืนยัน เหมือนสั่งสินค้า เขามาส่ง อืม! ได้ เดี๋ยวนี้โลกเจริญ อยู่บ้านก็สั่งของได้ นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติแล้วจิตมันรู้ได้ จิตมันเห็นได้ ถ้าจิตมันรู้ได้ จิตมันเห็นได้ มันเป็นการยืนยันว่าปฏิบัติแล้วมันได้ผลตามความเป็นจริง ถ้ามันปฏิบัติแล้วมันได้ผลตามความเป็นจริง เห็นไหม

ที่เราเห็นประเด็นอยู่ ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่งคือประเด็นนี้ ประเด็นที่ว่า ถ้ารู้ธรรมแล้วมันเป็นการยืนยัน เป็นการยืนยันกับใจเราเองว่ามันมีอยู่จริง มันมีอยู่จริง แล้วถ้ามีอยู่จริงแล้ว ที่ทำความจริงทีนี้ก็อยู่ที่ความเพียรของเราแล้ว ความเพียรของเรา ความวิริยะ ความอุตสาหะของเรา นี่ถ้ามันเห็นความจริงนะ

สอง เรื่องการภาวนา เห็นไหม พอกำหนดพุทโธๆ พร้อมกับลมหายใจ

แล้วเวลาพูด มันอยู่ที่จังหวะและโอกาสคนกระทำนะ ถ้าเราพุทโธได้เราก็พุทโธของเราไป แต่ถ้าเราจะกำหนดลมหายใจก็กำหนดลมหายใจของเราไป

แต่ทีนี้เวลาเขาบอกว่า เวลาที่มันพุทโธอยากให้ละเอียดขึ้น

เวลาเราวางสิ่งใดมันต้องมีสติมีปัญญาไง เดี๋ยวเราก็พุทโธ เดี๋ยวเราก็อานาปานสติ แล้วถ้ากิเลสมันสวมรอยล่ะ เวลากิเลสมันสวมรอย เขาถึงบอกว่าเขาพยายามจะพุทโธให้ละเอียดๆ อยากรู้ผลว่าถ้ามันจริงจังขนาดไหน

อยากรู้ผล เห็นไหม ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เวลาถ้ามันเข้าอัปปนา พุทโธๆๆ ให้มันหนักแน่นขึ้นไป พุทโธๆ พุทโธจนพุทโธไม่ได้เลย

ถ้าพุทโธไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วพุทโธไม่ได้ หลวงตา ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติแล้วท่านบอกพุทโธๆ พอพุทโธมันจะหายหรือลมมันจะหาย ส่วนใหญ่แล้วกิเลสมันจะสวมรอย “เฮ้ย! อย่างนี้ตายนะ คนไม่หายใจไม่ได้นะ” นี่มันจะสวมรอยตลอด

แต่ถ้าพุทโธ คนที่จะลงอัปปนาสมาธิส่วนใหญ่แล้ว เริ่มต้นใหม่ๆ จะเจอประสบการณ์อย่างนี้ จะเจอเหตุการณ์แบบนี้ เจอเหตุการณ์ที่ลังเลสงสัย เจอเหตุการณ์ที่ไม่แน่ใจ เจอเหตุการณ์ที่ไม่กล้าทำ เจอเหตุการณ์ที่กลัว กลัวจะตาย

แต่ถ้าคนพอมันทำไป พูดอย่างไรก็แต่ ฟังมากน้อยขนาดไหนก็แล้วแต่ ถ้าใครไปเจออาการแบบนั้นมันต้องมีความรู้สึกอย่างนี้แน่นอน รู้ขนาดไหนก็แก้อะไรไม่ได้ ถ้ามันจะแก้ได้มันต้องแก้ด้วยปัญญาของตน

พอมันไปถึงตรงนั้นมันจะเกิดอาการอย่างนั้นเลย “อู๋ย! ไม่ตายหรือ อู๋ย! จะตาย”

อ้าว! ตาย อะไรตายก่อน ขอลองดู อะไรจะตายให้มันตาย ว่าไปเลย พอมันละเอียดไปๆ จนพุทโธไม่ได้ จนกำหนดลมหายใจไม่ได้ สักแต่ว่ารู้ รู้อันละเอียด รู้อันละเอียด นี่อัปปนาสมาธิ ถ้ามันเป็นทางโลก เป็นในทางฤๅษีชีไพรนี่เขารวมใหญ่ รวมใหญ่ รวมใหญ่แบบสมาธิ

แต่เวลาถ้าในพระพุทธศาสนา เวลาใช้ปัญญาพิจารณาไปแล้ว เวลามันพิจารณาไปนะ พิจารณาธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เวลามันขาดเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เวลาจิตกับกายมันแยกออกจากกัน กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส นั่นก็เป็นรวมใหญ่ รวมใหญ่ของธรรม ถ้ารวมใหญ่อย่างนั้นมันขาดหมดเลย

เพราะว่ารวมใหญ่ๆ มันมีรวมใหญ่ด้วยสมาธิก็มี มันพิจารณาไปแล้วเวลามันสมุจเฉทปหานโดยมรรค มันทำให้โลกนี้ราบไปหมด นั่นก็มี เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติไปท่านมีประสบการณ์ของท่าน คำว่า ประสบการณ์ของท่าน” ท่านจะรู้ถึงวุฒิภาวะ ถึงฐานจิตสูงส่ง สูงต่ำขนาดไหน องค์ความรู้ๆ ครูบาอาจารย์สำคัญ สำคัญตรงนี้

ฉะนั้น เราเห็นประเด็น ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่งที่ว่าเข้าไปรู้ธรรมเห็นธรรม กับประเด็นหนึ่งคือว่าจิตมันระหว่างอานาปานสติกับพุทโธ

เราจะต้องมีสติปัญญา เราเป็นผู้คัดเลือกคัดแยก ทำอย่างนี้ถูก แต่ถ้าเราพลั้งเผลอ ไม่มีสตินะ กิเลสมันหลอกเอง คือทำอะไรบางอย่างมันควรจะได้ประโยชน์ กิเลสมันพลิกแล้ว “อย่างนี้ดีกว่า อย่างนี้ดีกว่า” เราจะไม่เชื่อไง เราต้องมีจุดยืนว่าเราเป็นผู้กำหนด เราเป็นผู้กำหนด เราเป็นคนตัดสิน เห็นไหม สติสัมปชัญญะ สติควบคุมดูแลในการปฏิบัติ อย่าให้กิเลสมันมาชักนำ อย่าให้กิเลสมันมาโน้มน้าวไป ถ้าทำอย่างนี้ได้มันถึงจะเป็นประโยชน์ไง

เห็นประเด็นอยู่ ๒ ประเด็นในคำถามนี้

คำถามที่ว่า ระหว่างพุทโธกับอานปานสติ แล้วเราโยนไปโยนมา กรณีนี้หนึ่ง

อีกกรณีหนึ่งที่เราไปรู้ธรรมของเรา ถ้ารู้ธรรมคือไปเห็นรู้เห็นจิต จิตสงบแล้วเห็นความสูงส่งกับความต่ำต้อย

แต่เดิมเวลาฟังกรรมฐาน เวลากรรมฐานจะพูด เวลาสูง เวลาต่ำ ภายนอก ภายใน ฟังแล้วมันเหมือนกับเป็นสัญญาอารมณ์ไง “กายนอก กายใน กายในกาย มันมีมาจากไหน มันไม่มีหรอก เวลาพูดก็พูดกันไป มันเป็นสัญญาอารมณ์ มันไม่เป็นความจริง” แต่ถ้าคนไปรู้เข้าสะอึกทั้งนั้นน่ะ ไปรู้เข้าสะอึกเลย ถ้าไปรู้เข้า รู้ตามความเป็นจริง อืม! มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

ฉะนั้น เวลาหลวงตาท่านพูดไง หลวงตาท่านจบมหานะ ท่านบอกท่านจบมหามา บาลีนี่เข้าใจได้ ท่านบอกเลย สิ่งที่เวลาสมุจเฉทปหาน ขณะจิต ในตำราไม่มี ท่านเรียนมาแล้ว ในตำราไม่มี ในตำราบอกวิธีการทั้งนั้นน่ะ เวลาผลให้มันรู้เอง

หลวงปู่มั่นเทศนาว่าการ เวลาอะไรจำเป็นท่านข้ามเลย ไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร ไม่ได้ มันเป็นการทำลายลูกศิษย์โดยทางอ้อม เพราะมันไปรู้ไปเห็นก่อน รู้โจทย์ก่อน มันตอบโจทย์ได้ก่อน มันสร้างภาพทั้งนั้นน่ะ ทั้งๆ ที่ปฏิบัติแล้วมันควรได้ดี มันเลยไม่ได้ดีไง หลวงปู่มั่นเวลาอะไรที่เป็นความจำเป็นท่านข้ามไปๆ ท่านไม่บอกให้กิเลสมันเอาไปเป็นการทำร้ายผู้ปฏิบัติ นี่ความเห็นหลวงปู่มั่นนะ หลวงตาท่านก็ข้ามไปๆ

แล้วเวลาพระพุทธเจ้าไม่ฉลาดกว่าหลวงปู่มั่น ไม่ฉลาดกว่าครูบาอาจารย์เราหรือ ในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกนั่นน่ะ วิธีการดับทุกข์ทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาเป็นจริงๆ ขึ้นมามันเป็นจริงในใจของผู้ปฏิบัติ มันเป็นจริงในใจของเรา ถ้าเป็นจริงในใจของเรา ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก เวลาเป็นจริงขึ้นมาแล้วมันเป็นภาษาปัจจุบัน ถึงมีกายนอก กายใน กายในกาย ปัญญานอก ปัญญาใน รอบรู้จากข้างนอก ภายนอก ภายใน

แล้วคนแม่งไม่เป็นนะ “ภายในก็ดื่มน้ำเข้าไปเย็นๆ ภายใน” นี่ความคิดทั้งหมด ภายนอกหมด

ทำความสงบของใจเข้ามา ใจสงบระงับแล้ว ถ้าจิตยกขึ้นสู่วิปัสสนา นั่นน่ะภายใน ภายในนี่ภายในสมาธิ ภายในจิต ภายในที่ปฏิสนธิจิตที่จะไปชำระกิเลส แต่ถ้าความคิดเรานี่ภายนอกหมด เพราะมันเกิดจากจิต มันส่งออกหมด

ภายนอก ภายใน ถ้าไม่เป็นพูดออกมานะ มันปล่อยไก่ทั้งนั้นน่ะ เสร่อ ปล่อยไก่เป็นคอกๆ เลย “ภายนอก ภายในจะเป็นอย่างนั้น” ถ้าอย่างนั้นนะ เราก็บอกเลย จีวร กลับจีวรมันก็เป็นภายนอก ภายใน เวลาห่มจีวรก็กลับข้างเลย วันนี้ห่มภายใน พรุ่งนี้ห่มภายนอก จีวรกลับข้าง กลับข้างข้างนอก ข้างในไง มันเป็นวัตถุทั้งหมด

ภายในคือภายในมรรค ภายนอกคือสมมุติบัญญัติ คือความคิดเรานี่แหละ นี่ภายนอก

ภายนอก ภายใน ถ้าเป็นภายในนะ ฉะนั้น เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าละกิเลสทั้งภายนอกและภายใน ละกิเลสทั้งภายนอกและภายใน

ภายนอก เพราะเรามีกิเลสเราถึงไปติดรูป รส กลิ่น เสียงภายนอก ถ้าละกิเลสภายในแล้ว มันละกิเลสภายใน มันก็ละภายนอกด้วย ละกิเลสทั้งภายนอกและภายใน ไม่ใช่ว่าละกิเลสภายใน แต่ยังไปติดกิเลสภายนอกอยู่ มันไม่มีหรอก

ละกิเลสทั้งภายนอกและภายใน ถ้าเป็นความจริงนะ ถ้าจะพูดในเชิงปฏิบัติ ในทางบาลี ในทางวิชาการ แต่ถ้าเป็นกรรมฐานแล้ว ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรานะ ในวงปฏิบัตินะ พูดจากประสบการณ์ของตน แล้วมันพูดประสบการณ์เป็นสำนวน

หลวงตา ธรรมะหลวงตา ใครพูดนี่เราฟังออกเลยนะ นี่เป็นของหลวงตา ธรรมะอย่างนี้เป็นของหลวงปู่เหรียญ ธรรมะอย่างนี้เป็นของหลวงปู่ดูลย์ สำนวนใครสำนวนมัน สำนวนใครสำนวนมันมาจากไหน มาจากเขามีองค์ความรู้ แต่ถ้าไม่มีนะ เอาตำราตลอด

หลวงตา เราฟังใครจะพูดก็แล้วแต่ เรารู้เลย นี่จำของหลวงตามา ใครจะพูดก็แล้วแต่ อันนี้ของหลวงตา อันนี้ของหลวงปู่ดูลย์ ฟังทีเดียวรู้เลยว่าเป็นของใคร มึงจะไปลอกเลียนมาอย่างไร เพราะเอ็งภาวนาไม่เป็นไง

ถ้าวันไหนเอ็งภาวนาเป็นนะ มันจะเป็นความรู้ของเอ็ง ถ้าความรู้ของเอ็งก็พูดออกมาจากองค์ความรู้ พูดออกมาจากคุณธรรมของตน นี่คือพระกรรมฐาน

แต่นี่จะพูดไง จะพูดว่า มันจะต้องไปตามทฤษฎี ตามอย่างที่เขาว่า

ถ้าตามทฤษฎีนะ เวลาพระกรรมฐาน เวลาเทศนาว่าการในทางทฤษฎี เราจะบอกว่านั่นจำมา นั้นเป็นภาคปริยัติ ไม่ใช่ภาคปฏิบัติ ถ้าภาคปฏิบัติเขาจะต้องเอาประสบการณ์ เอาความจริงในใจของตนสั่งสอนลูกศิษย์ นั้นเขาจะมีความรู้จริง เอวัง