ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

วิธีนั้นใช่

๒ มี.ค. ๒๕๖๒

วิธีนั้นใช่

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๒

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : ข้อ ๒๓๒๔. เรื่อง “ยกขึ้นสู่วิปัสสนา”

กราบนมัสการหลวงพ่อ ประเด็นหลักคือผมอยากเข้าใจการกระทำที่เรียกว่า การยกขึ้นสู่วิปัสสนาครับ ผมได้ยินในบางเทศน์ของหลวงพ่อว่า นักปฏิบัติส่วนใหญ่ตายตรงนี้หมด หรืออยู่ที่วาสนาว่าจะทำได้หรือไม่ได้ ผมจึงอยากเข้าใจจุดนี้เพื่อที่จะได้ใช้ยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติของตนเองต่อไปครับ

ต่อไปนี้ขอกราบเรียนการปฏิบัติของผมที่ผ่านมาครับ และขอหลวงพ่อชี้แนะเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรครับ จนถึง ณ ขณะนี้ ผมสังเกตเห็นลักษณะการกระทำ และผลที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่ ๓ แบบดังนี้ครับ

๑. ธรรมผุดเมื่อจิตสงบ คือเกิดขึ้นหลังจากทำให้จิตสงบโดยใช้พุทโธหรือการพิจารณาใคร่ครวญ และจิตสงบลงจึงเกิดธรรมผุด แต่สิ่งที่ผุดขึ้นนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ใคร่ครวญอยู่ก่อนหน้า ผลของธรรมผุดเหล่านี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในการปฏิบัติ แต่หลวงพ่อก็เคยเตือนไว้ว่าให้ระวังกิเลสที่อยากให้ธรรมผุดอีก ผมเคยลองเอาธรรมที่เห็นนี้ไปพิจารณา พยายามต่อเนื่อง แต่มักจะไม่ค่อยได้ผลครับ

๒. การพิจารณาใคร่ครวญข้อธรรมตามตำรา ผมเริ่มจากการพุทโธ หรือจับลมหายใจก่อน เมื่อเห็นว่าเริ่มมีกำลังจึงนำข้อธรรมมาพิจารณาใคร่ครวญ แต่ลำพังการใคร่ครวญเฉยๆ ผมเห็นเหมือนการท่องหนังสือ ท่องตามความจำ ไม่รู้สึกว่าเห็นผลอะไรที่เป็นชัดเจน

๓. การพิจารณาไล่หาต้นตอของกิเลส ไล่หาสิ่งที่จิตเห็น ผมเริ่มจากการทำความสงบก่อนเช่นกัน เมื่อมีกำลังจึงเริ่มหยิบเอากิเลสที่ค้างคาใจมาไล่หาต้นตอของมัน สิ่งที่ผมทำคือการจี้เข้าไปในใจ ทิ้งคำถามเข้าไปในใจตรงๆ หรืออ่านความเห็นที่ออกมาจากใจตรงๆ ถ้าจิตตั้งมั่นพอจะเป็นกลาง จะได้คำตอบที่ตรงประเด็น และมักทำให้เกิดความประหลาดใจมาก คำตอบที่ได้มักเหนือความคาดหมาย เพราะมันไม่ใช่ความจำหรือความคิด แต่คือความเห็นที่ออกมาจากจิต ถ้าหากจิตไม่สงบ ไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นกลาง จะไม่สามารถทำแบบนี้ได้เลย คำตอบที่ได้จะดูผิดเพี้ยนบิดเบี้ยว หรือไม่ก็ไม่ได้คำตอบอะไรออกมาเลย

เมื่อได้คำตอบที่สามารถแก้ไขใจของตนเองในประเด็นนั้นๆ ได้ ผลที่ได้คือใจที่ปลอดโปร่ง มีความสุข อิ่มเอม ซาบซึ้ง ความรู้ชัดว่ายังไม่มีกิเลสใดๆ ตายไป แต่ก็รู้สึกว่าได้ค่อยๆ ขัดเกลา ค่อยๆ เปลี่ยนความเห็นผิดในใจไปทีละนิดๆ ความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นนี้มันเหมือนจะกลายเป็นสัญญาที่จะมาคอยเตือนสติ ขัดขากิเลสตัวเดิมๆ โดยอัตโนมัติ แม้จะเป็นกิเลสตัวเดิม แต่มันดูจะไม่สร้างความทุกข์ในใจได้เท่าเดิมอีก

คำถามครับ การกระทำทั้ง ๓ แบบของผมนี้มันใช่การกระทำที่เรียกว่ายกขึ้นสู่วิปัสสนาที่หลวงพ่อพูดถึงไหมครับ ถ้ายังไม่ใช่ ยังไม่ตรง ขอหลวงพ่อชี้แนะเพื่อเป็นแนวทางให้ผมพัฒนาต่อไปด้วยครับ กราบขอบพระคุณ

ตอบ : “การกระทำทั้งหมดนี้มันใช่การยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่ครับ”

การยกขึ้นสู่วิปัสสนาๆ ถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นผลชัดเจนกับผู้ที่ปฏิบัตินั้น แต่ที่ว่าสิ่งนี้มันใช่การยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่ครับ การยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่ครับ

นี้มันเป็นวิธีการ ใช่ วิธีการน่ะใช่ แต่ผลมันไม่ใช่ ผลมันยังไม่ถึงตรงนั้น ผลของมัน นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิคือเราใช้ปัญญาไล่ต้อนเข้ามาๆ แล้วผลของมัน เห็นไหม ผลของมันชัดเจนมาก มันมีความสุข มันมีความพอใจ มันมีความต่างๆ นี่ผลของมันๆ แต่มันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิไง แล้วบอกว่า มันใช่ยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่ มันใช่ยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่

ฉะนั้น ย้อนกลับมาคำถามเริ่มต้น “ผมได้ยินบางเทศน์ของหลวงพ่อว่านักปฏิบัติส่วนใหญ่ตายตรงนี้หมด หรืออยู่ที่วาสนาจะทำได้หรือไม่ได้”

นักปฏิบัติตายตรงนี้ทั้งหมด แล้วไม่ใช่ตายธรรมดานะ ตายแบบไม่รู้ตัว ตายไปแล้วก็ยังคิดว่าตัวเองภาวนานะ เพราะเราอยู่ในวงปฏิบัติ เราเห็นแนวทางการปฏิบัติมันร้อยแปด ในแนวทางปฏิบัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ ต้องการให้ชาวพุทธเราประพฤติปฏิบัติใช่ไหม ถ้าใครประพฤติปฏิบัติ คนนั้นก็เป็นคนดีแล้ว คนนั้นก็เป็นคนที่แสวงหาแล้ว แต่การประพฤติปฏิบัติที่ให้มันถูกต้องดีงาม ถ้ามันถูกต้องดีงามมันตรงต่อธรรมตรงต่อวินัย

เหมือนกับที่หลวงปู่มั่นท่านพูดไว้ ต้นตรง ปลายมันก็จะตรง ต้นมันคด ต้นมันคด ต้นมันคด ต้นมันคด จะปลายให้มันตรง เป็นไปไม่ได้ ต้นมันคดทั้งนั้นน่ะ มันคดที่ไหน มันคดที่กิเลสในใจของผู้ที่ปฏิบัติ มันคด นี่ชิงสุกก่อนห่าม อยากได้ ซื้อก่อนขาย มันยังไม่มีคุณธรรมในหัวใจก็ว่ามันมี ปฏิบัติยังไม่ได้ก็ว่ามันได้ ปฏิบัติไปแล้วลุ่มๆ ดอนๆ ก็ว่ามันเก่ง ปฏิบัติไปแล้วก็โฆษณาชวนเชื่อ

ยังพูดอยู่เมื่อวาน สมเด็จพระสังฆราชให้พรในวันมาฆบูชา “พุทธแท้ไม่ประกาศตน” คือไม่ขี้โม้ ไม่อวดไง

ซื้อก่อนขาย สุกก่อนห่าม มันไอ้พวกขี้โม้

ปฏิบัติๆ ปฏิบัติอย่างไร เวลาปฏิบัติไป ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนา ยกขึ้นสู่วิปัสสนา สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พระกรรมฐาน พระป่าๆ ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเริ่มต้นจากที่นี่แหละ

ถ้าการเริ่มต้น เริ่มต้นก็เริ่มต้นจากพุทโธหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ พุทโธๆ ของผู้ที่ปฏิบัติไปเรื่อย พอผู้ที่ปฏิบัติไปเรื่อย ถ้าจิตมันสงบระงับแล้วมันจะรักษาสมณเพศนั้นได้ มันรักษาถึงการประพฤติปฏิบัตินั้นได้ เพราะถ้าจิตมันมีสติปัญญามันรักษาของมันนะ เวลาจิตมันรักษาตัวมัน รักษาการประพฤติปฏิบัตินั้นได้ พอรักษาการประพฤติปฏิบัตินั้นได้ พอจิตมันสงบขึ้นมาแล้วมันจะเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา พอมันเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาแล้ว ถ้ามันมีอำนาจวาสนานะ สมถกรรมฐานยกขึ้นสู่วิปัสสนา ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนาได้ นั่นน่ะมันจะเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ในการประพฤติปฏิบัตินะ ผู้ใดเห็นธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้ที่ปฏิบัติตามความเป็นจริง มันจะพัฒนาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป นี่ถ้ามันเป็นจริง มันเป็นจริงอย่างนั้นน่ะ

แล้วเวลาคนที่ประพฤติปฏิบัติ ไม่มีอำนาจวาสนา เขาบอกว่า “นั่นวิปัสสนาๆ” แล้วแนวทางวิปัสสนาในพวกอภิธรรม “นั่นน่ะไอ้สมถกรรมฐาน พวกที่กำหนดพุทโธนี้เป็นสมถะ สมถะไม่มีปัญญา มันต้องใช้วิปัสสนาๆ วิปัสสนาใช้ปัญญาไปเลย ปัญญาไปเลย นั่นยกขึ้นสู่วิปัสสนา”

ในภาคปฏิบัตินะ ถ้าในภาคปริยัติ ในการศึกษาอภิธรรมของเขา เขาท่องจำจนเป็นนกแก้วนกขุนทอง เขาท่องจำได้หมดน่ะ เวลาเขาท่องจำได้ เขาท่องจำได้ แต่เวลาภาคปฏิบัติไร้สาระเลย เวลาภาคปฏิบัติ

อย่างนั้นมันเป็นภาคปริยัติ ภาคปริยัติคือการทรงจำธรรมวินัย คือการศึกษา การศึกษาการใคร่ครวญท่องจำได้หมด นกแก้วนกขุนทอง จะบรรทัดไหน ข้อไหน หน้าไหน จำได้หมด พอจำมันก็เป็นความจำไง ความจำนี่ปริยัติ การศึกษา ศึกษาทรงจำธรรมวินัยๆ ศึกษาแล้วปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ใช่ปริยัติ

เวลาปฏิบัติไม่ใช่ปริยัติ พอศึกษามาแล้ว ศึกษาทรงจำธรรมวินัยไว้ได้แล้ว เวลาจะปฏิบัติขึ้นไปแล้วปฏิเสธหมดเลย “ทำสมถะไม่ได้ๆ” ทำสมถะไม่ได้เพราะอะไร เพราะมีการศึกษาไง พอศึกษาแล้ว วิปัสสนาคือการรู้แจ้งในกิเลส เวลารู้แจ้งในกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจของตน ถ้าวิปัสสนามันต้องวิปัสสนาในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ก็ต้องวิปัสสนา วิปัสสนาก็วิปัสสนาโดยตรรกะ โดยความคิดของตน โดยตรรกะ โดยความคิดของตน นั่นเป็นวิปัสสนา

แต่ถ้าวิปัสสนาจริงๆ ยกขึ้นสู่วิปัสสนา ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนา ใครยก เอาอะไรยก ใครเป็นคนยก ยกอะไร

นี่มันเป็นการคาดหมายทั้งนั้นน่ะ มันเป็นการจินตนาการทั้งนั้น จินตนาการได้เพราะอะไร จินตนาการได้เพราะเราเป็นบริษัท ๔ อุบาสก อุบาสิกา เราเป็นอุบาสก ถ้าเป็นพระขึ้นมา มันเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มันเป็นบริษัท ๔ ศึกษาเล่าเรียนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็ใคร่ครวญตามธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเป็นธรรมชาติๆ ก็เป็นธรรมชาติของสัจธรรม ไม่ใช่เป็นธรรมชาติของเรา ถ้าไม่เป็นธรรมชาติของเรานะ เวลาแนวทางสติปัฏฐาน ๔ มันก็จินตนาการไปทั้งนั้นน่ะ นกแก้วนกขุนทองทั้งนั้นน่ะ

บอกว่า นักปฏิบัติส่วนใหญ่ตายตรงนี้หมด ตายหมด เพราะสมถะก็ทำไม่เป็น เพราะสมถะทำไม่เป็น มันไม่มีใครยกขึ้นสู่วิปัสสนา

มันไม่มีใครยกขึ้นสู่วิปัสสนา ไม่มีใครยกขึ้นสู่วิปัสสนา แล้วที่จินตนาการคิดอยู่นี่ใคร นี่ไง ก็มนุษย์ไง โลกียปัญญาไง ปัญญาของโลกไง ถ้าไม่คิดเรื่องนี้ก็คิดเรื่องอื่นไง มันเป็นเรื่องโลกๆ นี่ไง มันเป็นเรื่องโลกๆ เป็นเรื่องของมนุษย์ มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕

ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มีธาตุ ๔ คือร่างกาย ขันธ์ ๕ คือความรู้สึกนึกคิด แล้วความรู้สึกนึกคิดก็นึกคิดในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วใครยกขึ้นสู่วิปัสสนาล่ะ เพราะอะไร เพราะไม่รู้ต้นเหตุไง ไม่รู้ต้นเหตุ เห็นไหม

ดูสิ พระสารีบุตรตามพระอัสสชิไปไง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุๆ

พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะไปเรียนกับสัญชัย เรียนแบบโลกๆ ไง เรียนแบบมนุษย์ไง มนุษย์ที่เรียนกันก็เรียนโดยสามัญสำนึกนี่ไง นั่นก็ไม่ใช่ นี่ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ไง แล้วจบไม่ใช่แล้วทำอย่างไร จบไม่ใช่แล้วก็คอตกไง ก็ปรึกษากันนะ ปรึกษากันว่าถ้าใครเจอครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงแล้วอย่าปิดกันนะ ต้องบอกกันนะ

เวลาพระสารีบุตรไปฟังพระอัสสชิไง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ สิ่งที่ว่าการเวียนว่ายตายเกิดในต้องมีเหตุมีปัจจัยของมันทั้งสิ้น ถ้าธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ไปดับที่เหตุนั้น พอย้อนกลับไปดับที่เหตุนั้น บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยสติด้วยปัญญาของพระสารีบุตรเอง ไปเล่าให้พระโมคคัลลานะฟัง พระโมคคัลลานะกำลังใคร่ครวญอยู่ เพราะผิดหวังมา ผิดหวังกับนู่นก็ไม่ใช่ นี่ก็ไม่ใช่ นู่นก็เป็นธรรมชาติ นี่ก็เป็นสัจธรรม ไม่ใช่ทั้งสิ้นๆ

เวลาความเป็นจริงมันต้องมีเหตุมีปัจจัยของมันสิ ใครเป็นคนคิด ใครเป็นทุกข์ ใครเป็นคนยาก ถ้าใครเป็นคนคิด ใครเป็นคนทุกข์ ใครเป็นคนยาก มันก็กลับมาที่ใจของตน พอใจของตนมันเป็นต้นเหตุใช่ไหม ต้นเหตุ ถ้ามันไปดับที่ต้นเหตุ พอมันดับที่ต้นเหตุ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงต้องดับเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันเกิดขึ้นที่ไหน สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันมีที่เกิดที่ไหน สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เวลาถ้ามันจะดับ ใครจะไปดับมัน

เวลาปากเปียกปากแฉะ แต่เวลาเป็นจริงเวลามันดับ นี่ไง คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก บอกว่ายกขึ้นสู่วิปัสสนาๆ...ใครยก ใครยก

“อ้าว! สมถะทำไม่ได้ สมถะไม่ต้องทำ”

ไม่ทำก็ไม่มีคนยกไง ไม่มีสมถกรรมฐาน ห้องทำงาน สนามทำงาน ที่ทำงานไม่มี อย่าว่าแต่คนทำงาน ที่ทำงานก็ไม่รู้จัก คนทำงานยิ่งไม่รู้จัก แต่นกแก้วนกขุนทองนะ ปากเปียกปากแฉะนะ มันเป็นเรื่องไร้สาระไง มันเป็นเรื่องไร้สาระเพราะมันไม่มีบาทฐาน มันถึงว่า เพราะเราเน้นตรงนี้ประจำ เน้นตรงนี้ประจำเพราะอะไร

เพราะเวลาหลวงตาท่านพูด เวลาประพฤติปฏิบัตินะ ขณะที่มันจะยากที่สุดคือตอนเริ่มต้นกับตอนถึงที่สุด ตอนเริ่มต้นนี่ไง ตอนเริ่มต้นหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ตอนเริ่มต้น แม้แต่ทำสมาธินะ มันก็อกจะแตกแล้ว ทำสมาธิยังทำกันไม่เป็น ทำสมาธิยังทำกันไม่ได้ ถ้าทำสมาธิทำไม่ได้ มันจะเริ่มต้นกันตรงไหน ถ้าสมาธิทำไม่ได้ การเริ่มต้นนี้โลกียปัญญา ปัญญาแบบไอน์สไตน์ ไอน์สไตน์บอกเลย ถ้าให้เลือกได้จะเลือกนับถือศาสนาพุทธ เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและผล แต่เขาก็ไม่มีโอกาสได้นับถือ แต่เขาก็ศึกษาของเขา เขาก็ไม่มีโอกาสประพฤติปฏิบัติของเขา เพราะอะไร เพราะไอน์สไตน์เขามีไอเดีย จินตนาการยิ่งใหญ่กว่าความรู้ เขามีไอเดีย เขามีการจินตนาการของเขา แล้วเขามีปัญญารองรับการจินตนาการของเขา แล้วก็ด้วยเหตุด้วยผลของเขา ทางทฤษฎีของเขาถูกต้องหมด แต่ถูกต้องมันก็ธรรมชาติไง ธรรมะเป็นธรรมชาติไง แล้วใจของไอน์สไตน์ล่ะ แล้วหัวใจของเขาล่ะ แล้วในการที่เขาจะพ้นทุกข์ล่ะ

พระพุทธศาสนาสอนที่นี่ สอนที่กลับมาที่หัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธได้ ถ้าจิตมันสงบแล้ว จิตสงบนี้สำคัญมาก พอจิตสงบแล้วจะยกขึ้นสู่วิปัสสนา ยกเป็นหรือไม่เป็น

ถ้าไม่เป็น นี่ไง ที่เขาถามปัญหามานี่ ถามปัญหา นี่คือปัญญาอบรมสมาธิไง แล้วปัญญาอบรมสมาธิแล้วยิ่งมหัศจรรย์เลย เขามีความเห็นของเขา แล้วอย่างนี้เป็นการยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือยัง

วิธีการน่ะใช่ วิธีการน่ะใช่ แต่ผลยังไม่ใช่ เดี๋ยวจะอธิบายเป็นชั้นๆ ไป ผลยังไม่ใช่ ผลยังไม่ใช่เพราะเป็นปัญญาอบรมสมาธิไง ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ สิ่งที่เขาประพฤติปฏิบัติกันด้วยทางโลกๆ ด้วยโลกียปัญญา “ใช้สติใช้ปัญญา ใช้แนวทางสติปัฏฐาน ๔ ใช้แนวทาง”...จิตส่งออกหมด ความคิดส่งออก จิตส่งออกทั้งหมดนี้เป็นสมุทัย ผลของส่งออกเป็นทุกข์

เราดูทีวีของพระนะ มันมีอยู่ช่องหนึ่ง เขาเป็นทุกข์ยากนะ เขาบอกว่าเขาเป็นพระอรหันต์ เขาเป็นศาสดา เป็นหัวหน้าในการประพฤติปฏิบัติ แล้วเขาก็พูดนะ “เขาไม่เชื่อเราว่าเป็นพระอรหันต์น่ะ เขาไม่เชื่อเรา เขาไม่เชื่อเรา” เขาพูดนะ “เขาไม่เชื่อว่าเราเป็นพระอรหันต์นะ เราเป็นพระอรหันต์ เขาไม่เชื่อเรานะ เขาไม่เชื่อเรา”...นี่ไง เป็นทุกข์ เป็นพระอรหันต์แล้วยังเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะว่าเขาไม่เชื่อเราว่าเป็นพระอรหันต์

เราดูทีวีช่องเขานะ เราก็ขำ ขำ “เขาไม่เชื่อเราว่าเป็นพระอรหันต์นะ เรานี่เป็นพระอรหันต์ เรานี่เป็นพระอรหันต์ เขาไม่เชื่อเรา เขาไม่เชื่อเรา”

เรานั่งฟังนะ โอ้โฮ! พระอรหันต์ก็เป็นทุกข์เว้ย ทุกข์ของพระอรหันต์คือเขาไม่เชื่อความเป็นพระอรหันต์น่ะ นี่จิตส่งออกทั้งหมดเป็นทุกข์ จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย ความคิดที่ส่งออกไง ลืมตาไง ห้ามหลับตาไง ส่งไปทั้งหมด ฟุ้งซ่านไปทั้งหมดไง พอฟุ้งซ่านไปทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลของสมุทัยเป็นทุกข์ ทำความสงบของใจเข้ามา ทำความสงบของใจเข้ามา นี่เป็นโศลกของหลวงปู่ดูลย์ไง

โดยสามัญสำนึกของมนุษย์มันคิดได้ ถ้ามันคิดได้ก็คิดนี่ไง พอมันคิดได้ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม ศึกษาแล้วเราใคร่ครวญด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยอำนาจวาสนาของคนได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าคนมันได้มากๆ ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญา ปัญญาของเรานี่ปัญญาของสามัญสำนึก ปัญญาของปุถุชน แต่เราตรึกในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นใคร่ครวญในสัจธรรม ค้นคว้าขึ้นมาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมและวินัยนี้ไว้เป็นทฤษฎีให้เราศึกษาให้เราค้นคว้า เราค้นคว้า ค้นคว้าธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราใช้สติปัญญาค้นคว้าในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ตรึกในธรรม ตรึกในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่เรากิเลสตัณหาความทะยานอยากยังท่วมหัว ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราท่วมหัว แต่เราไม่คิดตามกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา เราบังคับหัวใจของเรา บังคับความคิดให้คิดในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรึกในธรรมๆ พอมันตรึกในธรรมๆ นะ ตรึกในธรรมพยายามบังคับให้จิตมันคิดแต่เรื่องธรรมะ ไม่ให้คิดเรื่องกิเลสไง พอมันคิดแต่เรื่องธรรมะ นี่ไง พอมันเห็นจริงตามนั้น เห็นจริงตามนั้นนะ นี่ไง วิธีการไง วิธีการที่ถูก แต่ยังไม่ถูก เพราะไม่ใช่ของเรา ของเรามันยังไม่ได้เกิดอย่างนั้น

เราใคร่ครวญธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรึกในธรรมๆ นี่ไง เราตรึกในธรรม พอตรึกในธรรมก็ปัญญาอบรมสมาธิไง มันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันเป็นสัจจะเป็นความจริงไง แล้วส่วนใหญ่ทางโลกทำได้แค่นี้แหละ สูงสุดได้แค่นี้ ถ้าสูงสุด ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าสูงสุดถึงจุดของมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เป็นปัญญาอบรมสมาธิเพราะเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ถูกต้อง

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ตรึกในธรรม ตรึกในธรรมอย่างนี้ เอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาวิเคราะห์วิจัย มาแยกมาแยะนะ โอ้โฮ! เข้าใจหมดเลย มันแจ่มแจ้งเลย โอ้โฮ! มันสุดยอดเลย ทะลุปรุโปร่งเลย เราสิ้นกิเลสเลยแหละ แต่เขาไม่เชื่อเรา เขาไม่เชื่อเราว่าเราเป็นพระอรหันต์ เขาพูดแล้วเขาตบพื้นผัวะๆ เลยนะ “เขาไม่เชื่อเราว่าเป็นพระอรหันต์น่ะ เขาไม่เชื่อเราว่าเราเป็นพระอรหันต์”

โอ้โฮ! เราขำก๊ากเลย ทุกข์ของพระอรหันต์เว้ย ทุกข์ของพระอรหันต์คือทุกข์เพราะเขาไม่เชื่อเรา เขาไม่เชื่อเราว่าเป็นพระอรหันต์

เป็นอรหันต์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ของมึงยังไม่มีหรอก

ถ้าของมึงมีนะ มึงจะรู้ถึงกิเลสของมึง มึงจะรู้เท่าทันกิเลสในใจของมึง มึงจะเห็นกิเลสในใจของมึงแบบที่หลวงปู่ดูลย์ท่านสอน “จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลของการส่งออกเป็นทุกข์” กำหนดพุทโธ ดูจิตไง ดูจิตนะ “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด” การหยุดคิด ตรึกในธรรม ปัญญาอบรมสมาธิ ถึงที่สุดแล้วมันหยุด “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด” พอมันหยุดคิดนะ จิตมันหยุด หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ หรือพุทโธๆ จิตมันสงบ นี่ไง ทำความสงบของใจ จิตเห็นอาการของจิต นี่ยกขึ้นสู่วิปัสสนา

จิตเห็นอาการของจิต ตามอภิธรรม ผู้รู้คือตัวจิต คือตัวหัวใจของเรา เห็นสิ่งที่ถูกรู้ อารมณ์ความรู้สึกทั้งหมดเป็นอารมณ์ที่ใจมันรู้ ใจคือธาตุรู้ ใจคือสัมมาสมาธิ เห็นความเคลื่อนไหว เห็นความคิด เห็นความเกิดดับในใจ นี่ยกขึ้นสู่วิปัสสนา ยกขึ้นสู่วิปัสสนาคือจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นอายตนะทั้งหมด พอจิตเห็นๆ ไง จิตเห็นอาการของจิต

ผล ผล ผล ผลจากจิตที่เห็นอาการของจิตเป็นนิโรธ นิโรธคือความดับทุกข์ นิโรธคือความดับทุกข์ นี่อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

แต่ตอนนี้นิโรธๆ ไง ทีนี้หลวงตาเวลาท่านนิโรธ ท่านก็อ่อนน้อมถ่อมตน ท่านถึงบอกเป็นขณะจิต ขณะจิตที่มันนิโรธ ขณะจิตที่มันสิ้นกิเลส

ไอ้คนที่ภาวนาไม่เป็น “ของเราไม่ต้องนิโรธก็ได้ ไอ้พวกนิโรธก็ส่วนนิโรธ ไอ้ของเราไม่ต้องนิโรธ”

กรรมฐานเกือบทั้งหมด ไม่มีขณะจิต ไม่มีขณะนิโรธ ไม่มีขณะในการดับทุกข์ ถ้ามันไม่มีการดับทุกข์ มันจะดับทุกข์ได้จริงหรือ ไม่มี ถ้าไม่มี มันก็เข้ากับคำถามนี้เปี๊ยะเลย ปัญญาอบรมสมาธิ เขาก็พิจารณาของเขา ใคร่ครวญของเขา มันก็เป็นโลกียปัญญาไง ก็ปัญญาเท่านี้ไง ปัญญาที่เป็นอยู่นี่ไง แล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างไรล่ะ ก็ไม่รู้ ก็ไม่เห็น ก็ไม่เคยยกขึ้นสู่วิปัสสนา ยกไม่เป็น ยกไม่เป็น ยกไม่ได้ ไม่เคยยก

ยกไม่เป็น หนึ่งนะ ยกไม่ได้คือคนทำสมาธิได้ ยกไม่ได้ แล้วไม่ยก

มันยกไม่เป็น ยกไม่ได้ ยกไม่ยก มันไม่ทำของมันน่ะ พอไม่ทำของมันปั๊บ มันก็อยู่คำที่สองที่ว่าไง “นักปฏิบัติส่วนใหญ่ตายตรงนี้หมด หรืออยู่ที่วาสนาเขาทำได้หรือไม่ได้”

อยู่ที่วาสนา ยกหรือไม่ยก ยกได้หรือยกไม่ได้ มีอำนาจวาสนาพอหรือไม่ ถ้ามีอำนาจวาสนาพอ มันก็ย้อนกลับมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย พระอรหันต์ต้องแสนกัป พระอรหันต์ไม่ได้สร้างมาแสนกัป ไม่มีอำนาจวาสนา ไม่มีความมุ่งมั่น ไม่มีพื้นฐานที่สามารถจะยกจิตของตนขึ้นสู่วิปัสสนาได้ ไม่สามารถ จิตมันอ่อนแอ จิตมันด้อยค่า จิตไม่มีวาสนา ไม่มีการกระทำ มันเป็นไปได้ยาก

นี่พูดถึงว่า ตรงนี้เขาเอาคำเทศน์เรามาถามเอง “ผมได้ยินในบางเทศน์ของหลวงพ่อว่านักปฏิบัติส่วนใหญ่ตายตรงนี้หมด หรืออยู่ที่วาสนาจะทำได้หรือไม่ได้”

ส่วนใหญ่ตายตรงนี้หมดเพราะทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ถ้าอยู่ที่วาสนา วาสนาคนมันอ่อนแอ วาสนาของคนมันไม่มีวาสนา ถ้าวาสนาของคนไม่มีวาสนาก็เหมือนเห็นเขาสร้างตึกสูงไหม สร้างตึกสูงเขาต้องมีนั่งร้านขึ้นไปใช่ไหม ไอ้ของเราไม่มีนั่งร้านก็นั่งมองเขาไง เพราะเราไม่มีนั่งร้าน คนที่เขามีนั่งร้านนะ ดูสิ ตึกสูงเดี๋ยวนี้เขามีเครน ร้อยชั้นสองร้อยชั้นเขายังสร้างได้เลย คนที่มีวาสนาเขามีเครนของเขา มีการยกเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป

ไอ้เรา อย่างเรา เราไม่มีความสามารถ เราไม่มีปัญญาที่จะจ้างใครมาทำ เราไม่มีเครน แต่เรามีความจำเป็นต้องทำ เราก็ก่อเจดีย์ทรายไง เราแค่ก่อเจดีย์ทราย พอคลื่นพัดมาก็จบ ไม่มีวาสนา เป็นไปไม่ได้ เพราะมันไม่มีเครน มันไม่มีนั่งร้าน มันไม่มีสิ่งใดที่สามารถจะยกขึ้นไปได้

เรามองสิ คนสร้างตึกร้อยชั้นพันชั้นเขามีอุปกรณ์ของเขาพร้อม เขาทำของเขาได้ แต่ถ้าคนเราไม่มี ไม่มีด้วย ไม่มีวาสนาด้วย ไม่มีอำนาจพอซื้อด้วย ไม่มีอำนาจจ้าง ไม่มีปัญญาทำได้ ไม่มีปัญญาทำได้นี่วาสนาของคน แล้วมันอยู่ที่ไหนล่ะ มันอยู่ในใจไง มันอยู่ในใจของมัน นี่พูดถึงว่า วิธีการน่ะใช่ แต่ในการประพฤติปฏิบัติมันจะเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป

เราเห็นมาส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้หมด “วิปัสสนาๆ แนวทางสติปัฏฐาน ๔”...๔ อะไรของมึง ๔ ของเขา ๔ ของคนที่ไม่รู้ ๔ ของคนที่มืดบอด ไอ้พวกนัดบอดไง นัดไง เขานัดบอด จะเจออะไรข้างหน้าไม่รู้ เออ! นัดบอด ไม่มี ไม่รู้อะไรเลย แล้วก็สำมะเลเทเมาของเขาไป แต่ถ้าคนเป็นฟังรู้หมด เพราะคนเป็นมันฟังแล้ว

ครูบาอาจารย์ท่านพูด ไม่เป็น เขียนไม่ได้ ไม่เป็น ตอบไม่ได้ ไม่เป็น ถามไม่ได้ ไม่เป็นคือไม่เป็น แต่คนเป็นรู้หมด

ฟังมาทั้งหมด เห็นแล้วมันแบบว่า อื้อหืม! มันมีความเป็นไปได้เพราะมีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น มีครูบาอาจารย์ของเราที่เป็นจริง แล้วยืนยันหลักความเป็นจริง กึ่งกลางพระพุทธศาสนา ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง แต่พวกสำมะเลเทเมามาไม่มีสิ่งใดเป็นชิ้นเป็นอันเลย แล้วก็พยายามนะ สัทธรรมปฏิรูป มันจะเขียนเองเออเอง

ส่วนใหญ่แล้ว หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเวลาท่านพูดของท่าน ท่านมีคุณธรรมในใจของท่าน ท่านจะพูดสิ่งใดเป็นภาษาพื้นบ้าน เป็นภาษาในสมัยปัจจุบัน เหมือนกับของหลวงปู่ดูลย์ จิตส่งออกทั้งหมด ความคิดทั้งหมดเป็นสมุทัย ความคิดทั้งหมดที่ส่งออก ความคิดโดยสามัญสำนึกของคนมันส่งออกทั้งนั้นน่ะ เพราะพลังงานมันส่งออก ธรรมชาติของความคิดคือพลังงาน พลังงานที่คิดคือมันส่งออก พอส่งออก ผลทั้งหมดเป็นทุกข์ ผลทั้งหมด แล้วถ้ากำหนด กำหนดจนจิตมันสงบได้ ถ้าจิตสงบ จิตเห็นอาการของจิต ผลของมันเป็นมรรค จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลของมันคือการดับทุกข์ ผลของมันคือนิโรธ ถ้ามันของจริงไง

ของจริงท่านพูดง่ายมาก เรียบง่าย พระพุทธศาสนาเรียบง่ายมาก แต่มึงทำเกือบตาย มึงหาไม่เจอหรอก มึงรู้ไม่ได้ รู้ไม่ได้เพราะอะไร เพราะไม่มีวาสนา แล้วไม่มีวาสนาแล้วก็ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอามาวิเคราะห์วิจัย วิเคราะห์วิจัยก็โลกียปัญญา ตรรกะ เป็นแบบโลก แล้วถ้าเอาความจริงขึ้นมาแล้วนะ มันน่าเศร้า มันน่าเศร้าเพราะมันสู้คอมพิวเตอร์ไม่ได้ ไอ้ที่มึงคิดมึงพูดกันนั่นน่ะ คอมพิวเตอร์ดีกว่ามึงหลายเท่า แล้วคอมพิวเตอร์มันได้อะไร

แต่ถ้าเป็นธรรมๆ นะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สาธุ ปริยัติต้องศึกษา ศึกษามาแล้วปฏิบัติให้มันเป็นความจริงขึ้นมา พอเป็นความจริงขึ้นมานะ จะพูดอะไรออกมาเป็นธรรมทั้งนั้นเลย เป็นธรรมนะ เป็นภาษาสมัยปัจจุบัน เป็นภาษาปัจจุบัน ไม่ใช่ภาษาโบราณ ภาษาที่เราเข้าใจไม่ได้ ภาษาปัจจุบัน เวลาหลวงตาท่านเทศน์ โอ้โฮ! ภาษาปัจจุบันนี้ แล้วถ้าคนมันมีหลักการมันฟังออก มันได้เลย แต่คนไม่มีหลักการ ไม่เป็นก็ไม่เข้าใจ

อย่างเช่นคำว่า ปัญญาอบรมสมาธิ” จะบอกว่า เมื่อก่อนมีสมาธิอบรมปัญญา สมาธิอบรมปัญญาโดยหลัก แต่เวลาท่านทำของท่านแล้วท่านเห็นผลของท่าน ท่านบอกว่าบางทีก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิด้วยได้ แล้วเวลาพวกปริยัติ พวกนักวิชาการมาศึกษาแล้วด้วยเหตุด้วยผล ไปคุยกับท่าน เออ! ใช่ ยอมรับ

ถ้าคนมันเป็น คนมันเป็นมันอธิบายออกมาเป็นทฤษฎีได้ เพราะมันมีความรู้จริง มันมีองค์ความรู้ไง

ไอ้ที่มันไม่เป็นนะ “เขาไม่เชื่อเราว่าเราเป็นพระอรหันต์ เขาไม่เชื่อเรา เขาไม่เชื่อเรา”

ทำไมต้องเชื่อ ทำไมต้องเชื่อเอ็งด้วยล่ะ พระพุทธเจ้าสอนกาลามสูตร เขาไม่ให้เชื่อนะ กาลามสูตร ไม่ให้เชื่อแม้แต่อาจารย์ของตน ไม่ให้เชื่อแม้แต่คนรอบข้าง ไม่ให้เชื่อคนสนิท ไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้น เชื่อของปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก เชื่อในการปฏิบัติ นี่เขาเชื่อกันอย่างนั้น นี่พูดถึงว่าโดยข้อเท็จจริงมันไม่มี สิ่งที่ทางโลก ไอ้ที่ยกขึ้นสู่วิปัสสนาๆ มันก็เป็นภาษาพูด มันเป็นสัญญาอารมณ์ มันไม่จริง ถ้าจริงแล้วจบในใจของคนคนนั้น

ทีนี้เขาบอกว่า ผลของการปฏิบัติ ๓ รูปแบบ รูปแบบหนึ่ง ธรรมที่มันผุดขึ้น เวลามันเกิดขึ้นมาจากจิตที่มันสงบแล้ว เกิดจากการใคร่ครวญที่จิตมันสงบแล้ว แล้วเวลาจิตสงบแล้ว สิ่งที่มันผุดขึ้นมันใคร่ครวญอยู่ก่อนหน้า เวลามันผุดขึ้นมามันไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยคิดอยู่

นี่มันเป็นความจริงของมัน เวลาธรรมผุดๆ ไง

แต่เวลาหลวงพ่อก็บอกว่าระวังกิเลสมันจะหลอกนะ

สิ่งที่มันเกิดขึ้นๆ มันเกิดขึ้นระหว่างที่เราประพฤติปฏิบัติ มันจะมีประสบการณ์ไปมากมายมหาศาล เวลามันมีประสบการณ์มากมายมหาศาลมากขนาดไหน เวลาเราปฏิบัติแล้วเราวางๆๆ วางแล้วเราปฏิบัติไปข้างหน้า ปฏิบัติไปข้างหน้านะ มันจะเกิดอุปสรรค เกิดการหลบซ่อน เกิดการลึกลับซับซ้อนของกิเลส มันจะพลิกมันจะแพลงตลอดไป กิเลสมันก็จะทรงความเป็นกิเลสของมันไว้ ไอ้เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็เพื่อจะต่อต้าน เพื่อจะคลี่คลายมันไง มันจะมีอุปสรรคต่อเนื่องไปตลอด

ฉะนั้น ธรรมมันผุดๆ เขาบอกเลย เวลาธรรมมันผุดมันดีมาก พอธรรมมันผุดขึ้นมาแล้วมันทำให้เราเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา เรามั่นคงของเรา นี่ถ้าจิตสงบมันก็เชื่อมั่นของมันอย่างนี้ มันมีความสุขของมันอย่างนั้นน่ะ แต่เวลาปฏิบัติไปๆ กิเลสที่มันละเอียดกว่ามันจะพลิกมันจะแพลง มันจะหลอกมันจะล่อไง ฉะนั้น เราจะวางสิ่งนี้ไว้

เหมือนกับเรา เรามีประสบการณ์อย่างนี้ แต่เวลากิเลสมันมารูปแบบใหม่ มันจะมีเทคนิคหรือวิธีการที่หลอกเราลึกซึ้งกว่านี้ไง แล้วเราก็ไปติดแต่ไอ้ปัญญาที่มันเบี้ยล่างกว่า มันสู้กันไม่ได้ไง

ปัญญาที่เราพิจารณาไปแล้วธรรมมันผุดขึ้นมา เรารู้ขนาดไหนเราก็วางไว้ ถ้ามันเจอรูปแบบใหม่ เราก็เป็นปัจจุบันกับมันไปข้างหน้า นี่ไง สิ่งนี้หลวงตาท่านเตือนไว้เอง เรื่องนี้หลวงตาท่านบอกกิเลสมันเกิด

แต่เวลาเราอ่านพระไตรปิฎก แล้วเราฟังหลวงตาท่านพูด เราก็แปลกใจ แล้วมาใคร่ครวญก็เออ! จริงของท่าน ในตำรา ในทฤษฎี ในอภิธรรมบอกว่าธรรมะผุด เวลามันผุด นี่ธรรมเกิดๆ ในพระไตรปิฎก เราไปเจออยู่ในพระไตรปิฎก แต่เวลาท่านเทศน์ท่านบอกว่ากิเลสเกิด แล้วท่านก็อธิบาย

เวลาคำว่า กิเลสเกิด” เพราะเวลามันผุดขึ้นมาแล้ว อย่างที่เขาว่า พอมันเกิดขึ้นมาแล้วมันมีความศรัทธา มันมีความเชื่อมั่น มีความอบอุ่น มันดีไปหมดเลยนะ ตรงนี้แหละ ไอ้ที่ปฏิบัติบอกนิพพานๆ เข้าใจธรรมะ บรรลุโสดาบัน สกิทาคามี...สูงสุดมันก็ทำได้แค่นี้แหละ การประพฤติปฏิบัติอยู่ในโลกนี้มันได้แค่นี้ แล้วมันบอกนี่แหละสิ้นกิเลส

โธ่! แค่ฟังก็รู้ แต่มันอยู่ที่วาสนาของคนไง มันก็เรื่องของเขา “เขาไม่เชื่อว่าเราเป็นพระอรหันต์ เขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อ”...แล้วใครจะไปเชื่อมึงล่ะ เชื่อมึงก็เป็นเหยื่อมึงอยู่นั่นไง เพราะมันก็ได้แค่นี้ไง มันไม่ก้าวหน้าไปมันก็ไม่รู้ไง สิ่งที่เป็น เห็นไหม นี่พูดถึงเวลาธรรมมันเกิด นี่พูดถึงว่าข้อที่ ๑.

“๒. เวลาใคร่ครวญตามตำรา ผมก็เริ่มจากการพุทโธแล้วจับลมหายใจ แล้วพิจารณาไป นำข้อธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญ”

ใคร่ครวญขนาดไหนก็แล้วแต่ มันเหมือนกับการท่องหนังสือ ท่องความทรงจำ พูดถึงทฤษฎีมันเป็นได้แค่นี้แหละ แล้วไม่ใช่เป็นได้แค่นี้นะ ในอภิธรรม เวลาเราศึกษาในการปฏิบัติของเขาแล้วเศร้า นี่มันพุทธพจน์นะ แล้วออกไม่ได้

ตามธรรมดาของทางวิทยาศาสตร์เขาบอกให้คิดนอกกรอบ ถ้าคิดในกรอบนี่เป็นสัญญา ถ้ามันคิดนอกกรอบ เวลานักปฏิบัติขึ้นมา เวลาปัญญามันเกิด คำว่า ปัจจุบัน” คือมันคิดนอกกรอบ มันไม่ได้คิดตามธรรมะตามทฤษฎีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัติตามทฤษฎีธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลามันเกิดความคิดเรามันเกิดของเราเอง พอมันเกิดของเราเอง มันไม่ได้จำสิ่งนั้นมา มันถึงจะเป็นของเรา เวลาที่มันสมุจเฉทปหาน เวลามันเป็นปัจจุบันธรรม มันเป็นอย่างนั้น

มันไม่ใช่เป็นการท่องหนังสือ เห็นไหม เขาบอกเหมือนกับท่องหนังสือ เหมือนกับท่องความทรงจำ

ไอ้นี่ก็ท่องความทรงจำ มันเป็นพุทธพจน์ๆ ไง แล้วห้ามออกนอกกรอบ ออกนอกพุทธพจน์ไง มันก็เป็นความท่องจำไง มันก็เป็นการบังคับเราให้อยู่ในสัญญา อยู่ในทรงจำอันนั้นไง มันไม่มีความคิดของตนเอง นี่มันผุดขึ้นมาได้ ไม่มีความคิดของตนที่มันจะรู้จริงขึ้นมาได้ ถ้ามันรู้จริงขึ้นมาแล้ว รู้จริงเป็นสัจจะความจริงของเรา แต่มันก็เหมือนกับพุทธพจน์นั่นแหละ

ฉะนั้น เวลาหลวงตาท่านไปหาหลวงปู่มั่น เวลาท่านสิ้นกิเลสไปแล้ว ท่านบอกการศึกษานั้น การศึกษานั้นกับการประพฤติปฏิบัติมันจะเป็นอันเดียวกัน การศึกษานั้นกับการปฏิบัติจะเป็นอันเดียวกัน เวลามันเหมือนกัน มันเหมือนกันโดยข้อเท็จจริงไง แต่มันก็มีองค์ความรู้จริงของเราด้วย มีองค์ความรู้จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย มันมีองค์ความรู้จริงของครูบาอาจารย์ที่ท่านรู้จริงๆๆ ด้วย มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก มันมีข้อเท็จจริงของมันไง ถ้ามีข้อเท็จจริง แต่เวลามันมหัศจรรย์มันก็อันเดียวกัน

แต่ถ้ามันบอกว่า “นี่เป็นพุทธพจน์ เราคิดไม่ได้ เราจะใช้ปัญญาของเราเองไม่ได้”

ถ้าเราใช้ปัญญาของเราเองไม่ได้ เราพิจารณาของเราไม่ได้ มันก็ไม่เกิดยกขึ้นสู่วิปัสสนา ไม่เกิดสู่สัจจะความจริง ถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันเกิดสัจจะความจริง วิปัสสนาคือการรู้แจ้ง รู้แจ้งในใจของเรา รู้แจ้งโดยศีล โดยสมาธิ โดยคุณธรรมของเรา โดยการกระทำของเรา ถ้ามันรู้แจ้งขึ้นมาก็เป็นสมบัติของเรา สมบัติของเรา มันก็ไปตรงกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็ไปตรงกับพุทธพจน์ นิโรธดับทุกข์

“ไม่ต้องนิโรธก็ได้ ไม่ต้องนิโรธก็ได้ ของเราไม่ต้องขณะจิตก็ได้ ของเราไม่ต้องสมุจเฉทปหานก็ได้ ของเราแค่คิดเอาๆ ก็ได้” เพราะอะไร เพราะมันมีวงปฏิบัติเขามาโต้แย้งกันอยู่ตรงนี้ โต้แย้งว่าไม่ต้องมีขณะจิตก็ได้ ถ้าไม่มีขณะจิตก็คือไม่มีนิโรธ ไม่มีนิโรธก็ไม่มีอริยสัจ ๔ มันก็เป็นอริยสัจ ๓ ไง ทุกข์ สมุทัย มรรค นิโรธก็เก็บไว้ก่อน เพราะกูไม่รู้ มึงก็ไม่รู้ สังคมก็ไม่รู้ หลอกใครก็ได้ ใครก็ไม่รู้หรอกในใจกูคิดอะไร

แต่คนที่รู้มี คนที่เขามีอริยสัจ ๔ มี หลวงตารู้มี คนรู้จริงมี ถ้ารู้ไม่จริงก็ไม่เป็นไร เพราะมันไม่รู้จริงมันเอามาพูดไม่ได้หรอก ไปงัดมาจากไหน มันไม่มี แต่ครูบาอาจารย์เราไม่ไปงัดมาจากไหน งัดออกมาจากหัวใจของตน งัดออกมาจากหัวใจของตน งัดออกมาจากการกระทำในใจอันนั้น นี่ข้อที่ ๒.

“๓. ในการไล่หาต้นตอของกิเลส ไล่หาสิ่งที่จิตเห็นก่อนที่มันจะสงบ ถ้ามันสงบแล้วยกขึ้นวิปัสสนา จี้เข้าไปในใจของตน เอาคำถามตรงเข้าไปในใจ”

เอาคำถามตรงเข้าไปในใจ สัจธรรมตรงเข้าไปในใจ เห็นไหม เราเอาคำถามตรงเข้าไปในใจ เราไปเห็นมันไหม แต่ถ้ามันเห็นจริงของมันนะ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถ้าเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง นี่เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงมันก็หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ จิตมันสงบแล้ว แล้วมีอำนาจวาสนา

คนที่มีอำนาจวาสนาขึ้นมา วิธีการนี่ใช่ วิธีการที่เราทำอยู่นี่ใช่ แต่ผลที่เห็นมันไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะมันไม่เห็นจริงไง ถ้าเห็นจริงมันเห็นลึกซึ้งกว่านี้ ถ้าเห็นจริงนะ เห็นอาการของจิต จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นจิต

ไอ้นี่เขาบอกว่าเขาเอาคำถามใส่เข้าไป

เอาคำถามใส่เข้าไป ยังไม่เห็นตัวมัน เห็นไหม แต่มันเป็นเหยื่อล่อ เหยื่อล่อให้มีรสชาติ แต่ถ้าเป็นความจริง ความจริงเป็นความจริงอันหนึ่ง ฉะนั้น จิตเห็นอาการของจิต จิตยกขึ้นสู่วิปัสสนา นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เขาบอกว่า สิ่งที่เขาทำมันเป็นการยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่ แล้วควรทำอย่างไร ให้หลวงพ่อช่วยชี้ทางให้ ช่วยชี้ทางให้ก็บอกว่า สิ่งที่ว่าการยกขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างนี้มันใช่หรือไม่ สิ่งที่ยกขึ้นสู่วิปัสสนา

วิธีการมันใช่ ถ้าวิธีการทำก็ทำแบบนี้เข้าไป ทำแบบนี้เข้าไปเรื่อยๆ ทำเข้าไปเรื่อยๆ แล้วพิจารณาไปเรื่อย ถ้าไปเรื่อย ถ้ามันจิตเห็นอาการของจิต เห็นตามความเป็นจริงนะ ขณะเห็นความเป็นจริงมันจับได้ อ๋อ! เหมือนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับคนปล้นธนาคาร พอจับได้จบเลย จับไม่ได้ ประชุมแล้วประชุมอีกนะ เอากล้องวงจรปิดไล่แล้วไล่อีกเลย ไล่ดูซิมันไปทางไหน ไล่ดูซิไปทางไหน

นี่ก็เหมือนกัน นี่ไง เขาบอกเลย เขาบอกว่า สิ่งที่เขาทำอยู่นี่มันซาบซึ้ง มันมีความสุข มันมีความอิ่มเอม นี่ไง เพราะมีความสุข มีความอิ่มเอม ปลอดโปร่งมาก โล่งโถงมาก

นี่ที่นักปฏิบัติเขาบอกเขาบรรลุโสดาบันกันน่ะ บรรลุโสดาบัน บรรลุสกิทาคามี บรรลุพระอรหันต์ เราเป็นพระอรหันต์แล้วเขาไม่เชื่อเรา เขาไม่เชื่อเราว่าเรามีคุณธรรม

หลวงตาท่านบอก มันมีคนไปถามหลวงตาว่า “หนูเป็นพระอรหันต์ ให้หนูทำอะไร”

หลวงตาท่านบอกเลยนะ “เราไม่เห็นถามใคร เราไม่ต้องถามใครเลยนะ”

พระอรหันต์ไม่ต้องถามใคร พระอรหันต์ไม่เคยถามใคร ไม่เคยถามใคร มึงจะถามใคร

ในโลกนี้มีแต่ขี้ เราเป็นสุภาพชน เป็นคนเห็นบาปบุญคุณโทษ จะไปถามขี้นี่หรือ ขี้มันมีแต่กลิ่นเหม็น ขี้มันเป็นอาหารของสัตว์ เป็นที่อยู่ของแมลง เอ็งไปถามขี้หรือ ในโลกนี้ขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลง มันมีแต่ขี้ แล้วคนที่มีคุณธรรมไปถามขี้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก

แล้วถ้ามันเป็นจริงขึ้นมาแล้วมันไม่วอร์รี่ ไม่มีความเกรงใจขี้ ขี้มันมีแต่กลิ่นเหม็น ไปเกรงใจอะไรมัน ไม่มีใครเขาต้องการหรอก นี่ไง มันไม่ต้องไปถามใคร พอไม่ถามใคร มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก

ทั้งๆ ที่เขาพูดอยู่นี่ สิ่งที่เขาทำมันปลอดโปร่ง มันมีความสุข มันอิ่มเอม มันซาบซึ้ง มันมีความสุขมาก อย่างนี้ยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือยัง

ถ้ามันยกขึ้น คนเขียนมามันก็รู้แจ้งแล้วไง ไอ้นี่มันยังสงสัยเลยเนาะ เอ๊ะ! นี่มันวิปัสสนาหรือไม่วิปัสสนาวะ ขณะที่มันทำอยู่นี่มันยังว่านี่วิปัสสนาหรือไม่วิปัสสนาวะ

แต่นี่เป็นวิธีการที่ถูกต้อง วิธีการที่ถูกต้องที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านวางข้อวัตรปฏิบัติไว้ให้ศากยบุตรพุทธชิโนรส ให้ชาวพุทธเราขวนขวายมีการกระทำ ฝึกฝนตามวาสนาของตนด้วยกำลังของตน ถ้าใครทำได้จะเป็นธรรมทายาท เป็นศากยบุตร บุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้จริง บุตรในหัวใจนั้น ในหัวใจนั้นเป็นสัจจะเป็นความจริงอันนั้น นี่ถ้าเป็นความจริงนะ

วิธีการน่ะใช่ แต่ผลของการปฏิบัติ ที่ปฏิบัติมานี้เราก็ชื่นชมแล้วนะว่าปฏิบัติแล้วได้รสของธรรม ได้ประสบการณ์ ได้สัจจะความจริง เกิดมาแล้วไม่เสียชาติเกิด ผู้ถามเกิดมาแล้วไม่เสียชาติเกิด เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา แล้วเราก็พยายามขวนขวายมีการกระทำ แต่เราทำได้ด้วยความสามารถของเราเท่านี้ แต่เราก็ยังจะทำต่อเนื่องไปๆ

เพียงแต่คำถามว่า สิ่งที่ทำมานี้ใช่ยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือยัง

เราบอกว่า วิธีการที่ทำถูกต้อง แต่ผลที่มันได้รับ ถ้าเป็นยกขึ้นสู่วิปัสสนามันจะเห็นกายชัดๆ จับเวทนา เวทนาสักแต่ว่าเวทนา เวทนาที่จับได้กับจิตมันเป็นคนละอันกัน แต่ของเรา เรามีแต่ความเจ็บปวด ความใคร่ครวญ เวทนามันเป็นเรา เราจับมันไม่ได้ไง เวทนากับเราเป็นอันเดียวกัน เป็นอันเดียวกันในสถานะของมนุษย์ไง เราถึงไม่เห็นเวทนา เห็นไหม ไม่เห็นกาย ไม่เห็นเวทนา ไม่เห็นจิต

จิตเห็นจิต จิตที่สงบระงับแล้วเห็นจิตมันผ่องแผ้วมันผ่องใส จิตเห็นจิต

จิตเห็นธรรมๆ จิตเห็นอาการของจิต จิตที่ธรรมะสัจธรรมที่มันเกิดขึ้นมันเป็นคุณธรรมหรือเป็นบาปอกุศล นี่มันพิจารณาของมัน จิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง นี้คือการยกขึ้นสู่วิปัสสนา จะยกขึ้นสู่วิปัสสนาคือจิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง

แต่ที่เราเห็นกันอยู่นี้ เราเห็นแต่ร่องรอย เห็นแต่สิ่งที่มันทิ้งไว้เป็นร่องรอยที่จะให้เรากวดขัน ให้เรากระทำ นี่ถ้าเห็นร่องรอย เรารู้ว่าสถานที่นี้ คนคนนี้เป็นคนทำผิด แต่เราจับตัวเขาไม่ได้ เรารู้ แต่เราไม่ได้ตัวเขา เราจะเอาเขามาไต่สวน เอาเขามาลงโทษไม่ได้

แต่ถ้าเราจับเขาได้ จิตเห็นอาการของจิต เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความจริง เห็นไหม เราได้ตัวด้วย เราใช้สติใช้ปัญญาใคร่ครวญถึงความผิด ความเป็นโทษของเขาด้วย แล้วเราจะลงโทษเขาหนักเบาตามกฎหมายตามอาญานั้นให้โทษมากโทษน้อยด้วย แล้วถ้ามันยอมรับเป็นความจริง พอจะลงโทษมันก็บอก “ไม่ได้ทำ ฉันไม่ได้ทำ เขาว่า เขากลั่นแกล้ง” เราก็ไต่สวนด้วยเหตุด้วยผล พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ

วิธีการมันถูกทั้งนั้นน่ะ แต่ผลของการปฏิบัติถ้ามันเป็นจริง เวลามันสมุจเฉทปหาน มันขาด นิโรธ นิโรธคือขณะจิต ขณะจิตคือนิโรธ อริยสัจ ๔ จิตนี้กลั่นออกจากอริยสัจ นี่ถ้ามันเป็นความจริง เป็นความจริงอย่างนี้

นี่พูดถึงว่าการกระทำของเราไง สิ่งที่ทำมานี้ใช่ยกขึ้นสู่วิปัสสนาหรือไม่

ยัง จะบอกว่าไม่ มันจะตัดทอนกำลังใจ ส่วนใหญ่แล้วเราจะให้กำลังใจ คนปฏิบัติมันต้องการกำลังใจนะ นักกีฬา หัวใจต้องอันดับหนึ่ง ใจไม่สู้นี่จบ ฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราจะให้กำลังใจ ให้ทีหนึ่งสองโป้ง สามโป้งเลย แล้วพอให้โป้ง มันก็บอกว่ากูรับประกัน

คนอื่นรับประกันให้ใครไม่ได้ ต้องจิตดวงนั้นทำความเป็นจริง แต่การคุยกัน การสนทนาธรรมคือการให้กำลังใจ แต่ถ้ามันเป็นจริงมันต้องเป็นจริงในใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นเป็นความจริงขึ้นมา มันจะเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ผู้ใดปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม เอวัง