เทศน์บนศาลา

ก้าวเดินตามธรรม

๑๑ ส.ค. ๒๕๔๒

 

ก้าวเดินตามธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๒
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาเราปฏิบัติกัน เราอยากได้ธรรมเข้าสู่หัวใจทุกๆ คน อยากรับ ได้ธรรมเข้าสู่หัวใจ แล้วก็พยายามขวนขวายการประพฤติปฏิบัติ เกิดมาเป็นชาวพุทธ จะน้อยเนื้อต่ำใจว่าทำไมเกิดมาแล้วมันทุกข์กันๆ จนว่าเป็นทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริง แล้วพอมาเจอเข้าก็น้อยเนื้อต่ำใจ แต่เวลาจะเอาธรรมเข้ามาเพื่อกำจัดทุกข์ กำจัดทุกข์ให้ออกจากหัวใจนะ ให้หัวใจได้ดื่มกินธรรมของพระพุทธเจ้า

เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาโมกขธรรมสร้างสมบารมีมา ปรารถนาเป็นพุทธภูมิมาก่อน สร้างสมบารมีมาจนตรัสรู้ธรรม ธรรมอันนี้ประเสริฐสุด ธรรมอันนี้ธรรมแท้ๆ ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อพระธรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ธรรมอันนี้จะกำจัดทุกข์ ทุกข์ได้จริง

ทุกข์ที่ว่าอยู่ในหัวใจที่เราเกิดมาประสบนี้ไง มันเป็นตามหลักความจริงอยู่แล้ว เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยเรื่องของการเกิดนี่ การเกิดมาเป็นคนปฏิเสธไม่ได้เลย แล้วปฏิเสธไม่ได้ ปฏิเสธไม่ได้เปล่านะ การเกิดเป็นคนนี่กลับเป็นสมบัติอันเลิศ อันประเสริฐมากเลย ถ้าไม่ได้เกิดเป็นคน เราต้องเกิดเป็นสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เกิดเป็นสัตว์ในวัฏวน เห็นไหม เป็นสัตว์เทวดา จะเป็นสัตว์ สัตว์มนุษย์ จะเป็นสัตว์ สัตว์เดรัจฉาน จะเป็นเปรต เป็นผี สัตว์ทั้งนั้น หมู่สัตว์ไง สัตว์คือความเกาะข้องเกี่ยว สัตตะ สัตตะคือสัตว์ สัตว์หมุนเป็นวัฏวน ต้องเกิดแน่นอนเพราะในเมื่อยังมีหัวใจอยู่ หัวใจตัวที่พาเกิด พาเกิดนี่ มันต้องเป็นไปโดยตามธรรมชาติของมัน

แต่ในเมื่อเราเกิดเป็นมนุษย์ มันถึงว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดเลย เพราะเป็นอิสระ มันทำทั้งความดีและความชั่วได้ แล้วเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหามา ขนาดสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้านะ ยังอุตส่าห์ขวนขวายมา กำจัดทุกข์ได้จริง เสวยวิมุตติสุขในหัวใจอันนั้น แล้วเรามาเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะแสวงหาธรรมมาเพื่อกำจัดทุกข์ เราจะเป็นคนอ่อนแอได้อย่างไรล่ะ

เวลาเป้าหมายนี่ เป้าหมายจะกำจัดทุกข์ออกจากใจนะ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติมันปฏิบัติเป็นเรื่องของโลกๆ เป็นเรื่องของทุกข์ เอาทุกข์มาชนกับทุกข์ มันไม่ใช่เอาธรรมมาชนกับทุกข์นี่ ธรรมนี้เป็นสัจจะ เป็นความจริง ธรรม กิริยาของธรรม ธรรมคือหัวใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นสัมผัสจริงก่อน อันนั้นธรรมในหัวใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเอากิริยาของธรรมมาสอนสาวกนะ ตั้งแต่ อริยสาวกต่างๆ ออกมานั้นก็เอากิริยาของธรรมนั่นแสดงออก แล้ว แล้วอริยสาวกตั้งแต่พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอานนท์ พระอุบาลีต่างๆ นี้ก็ได้เข้าถึงธรรมอันนั้น เข้าไปสัมผัสธรรมได้จริงอันนั้น ถึงว่าธรรมในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่าพระธรรม

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วเราเวลาตั้งเป้าหมาย เราตั้งเป้าหมายเอาถึงขนาดนั้น แต่ในการประพฤติปฏิบัตินี้ ประพฤติปฏิบัติแบบโลกๆ “แบบโลกๆ” โลกๆ นี่เป็นอยู่ที่ของสัตตะ สัตว์ผู้ข้องอยู่ เราก็อยู่ในโลกที่สัตตะที่ข้องอยู่นี่ แล้วเราจะออกจากโลก การออกจากโลกถึงจะต้องปฏิบัติไม่เหมือนโลกเขาไง การปฏิบัติไม่เหมือนโลกเขาถึงจะต้องได้มาแสวงหาความจริงที่จะมาใส่หัวใจของตัวไง ฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติธรรมมันต้องเด็ดเดี่ยว

เพราะทุกข์นี้มันเป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริง แต่เราเอาของปลอมไปจับทุกข์ เห็นไหม เอาของปลอม คือความปฏิบัติปลอมๆ ความประพฤติปฏิบัติปฏิบัติก็ครึ่งๆ กลางๆ ไง สุกๆ ดิบๆ อยากจะให้มันเป็นไปตามความปรารถนา มันถึงไม่เป็นตามความเป็นจริง เพราะเราทำได้ไม่จริงอย่างที่เวลาทุกข์มันเกิดขึ้นจากหัวใจที่มันเป็นความจริงอันนั้น ฉะนั้น สัจจะเป็นความจริง ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ เราก็ต้องเอาสัจจะของเรา สัจจะอันประเสริฐของเราที่ตั้งขึ้นมาเข้าไปประหัตประหารกับมันสิ

ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านไปได้ล่ะ ทำไมพระอริยสาวกต่างๆ ผ่านไปได้ล่ะ ผ่านออกไปจากทุกข์นี่ ทุกข์ที่อยู่ในหัวใจของเรานี่ คิดดู เวลาทุกข์ขึ้นมา เราทุกข์แสนทุกข์ แต่เวลาที่มันหมดออกไป คิดดูว่าทุกข์ทั้งหมดออกไป ออกไปจากใจทั้งหมดเลยนะ แล้วมันจะสุขขนาดไหน สุขขนาดไหน ฟังสิ! สุขจนเสวยวิมุตติสุขตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ธรรม ถึงว่าเป็นธรรมทายาท

พระพุทธเจ้าวางธรรมไว้ เราอยากจะเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นทายาทโดยธรรม เป็นทายาทโดยธรรม ธรรมตามความเป็นจริง เราก็ต้องเอาความวิริยอุตสาหะที่เป็นธรรมจริงของเราเข้าไปให้ถึงกับเป็น...เข้าไปถึงหลักความจริงเหมือนกันสิ สิ่งที่จะเข้าไปถึงหลักความจริงเหมือนกัน มันต้องสมคุณค่าเสมอกัน มันถึงจะเป็นธรรมอันนั้นได้

ทีนี้การประพฤติปฏิบัติของเรามันไม่สมกับที่จะมีคุณค่าขนาดนั้นน่ะ มันต้องย้อนกลับมาโทษเรา นักปฏิบัติทั้งหลาย นักประพฤติปฏิบัติที่จะพ้นจากทุกข์นี่ มันจะขวนขวายขนาดไหนมันถึงจะเป็นตามความเป็นจริงที่สมกับคุณค่าของธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมอันที่ว่าทุกข์ออกจากใจทั้งหมด

ทุกข์แสนทุกข์ก็ว่าทุกข์ แต่ทุกข์ที่ว่ามันทุกข์แล้วมันมีสิ่งระบายออก เห็นไหม ทางโลกมันมีสิ่งระบายออก มันก็เป็นไป เวลามันคนเราถึงจุด มันไม่ใช่ทุกข์มากขนาดที่ว่ามันทุกข์มหาศาลนะ เพียงแต่ใจเบื่อหน่าย ก็คิดทำลายตัวเอง เห็นไหม ทุกข์ที่ว่าละเอียดอ่อน ทุกข์ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะยับยั้งนี่อันตรายมากนะ ไม่ใช่ว่าทุกข์จนว่าเราแบกหามจนเหนื่อยอ่อน ทุกข์จนเราแสวงหาจนเราทุกข์ยาก แค่อยู่เฉยๆ นี่ แต่ความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น นั่นคือกิเลส

ฟังสิ! คำว่า “กิเลส” มันน่าขยะแขยงขนาดไหน มันทำให้เราเกิดขึ้นมา แล้วมันก็จะให้เราทำลายตัวเองอีก ทั้งๆ ที่มันพาเราเกิดขึ้นมานั่นน่ะ มันพาเราเกิด เพราะมีกิเลสอยู่ กิเลสนี้เป็นเครื่องทำให้คนนี้เกิด ทำให้จิตนี้ต้องตายต้องเกิดไป การเกิดและการตายนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของจิตของใจที่ต้องแสวงหาที่เกิดไปเรื่อยๆ นี่เพราะมันมีกิเลสตัวพาให้เกิดอยู่ มันถึงต้องเกิด

แต่เกิดขึ้นมาแล้วมันอยู่ในหัวใจมันก็ยังจะทำให้เราทำลายตัวเราเองอีก เพราะทำลายตัวเองแล้วเราต้องอยู่ในอำนาจของมันไปเรื่อยๆ นี่กิเลสในหัวใจเรานี่มันต้องมองด้วยไง มองว่า ไอ้ที่ว่ามันทำให้เราทุกข์ๆ อยู่นี่มันเป็นเพราะมันเป็นกิเลสตัวนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ผ่านพ้นชนะกิเลสไปทั้งหมด ได้ชี้ไว้ไงว่า สิ่งที่ขัดข้องหมองใจ สิ่งที่ขวางใจอยู่ สิ่งที่การประพฤติปฏิบัติเราไม่เห็นเป็นประโยชน์ เป็นคุณประโยชน์พอสมควร เพราะไอ้กิเลสตัวนี้ไง กิเลสคือความนอนอยู่ในหัวใจนี่ กิเลสคือการมักความสะดวกสบาย มักอยากให้เป็นความสมปรารถนา

มักมากอยากใหญ่ ความมักมาก ความมักออกไป ความตัณหาทะยานอยาก ตัณหานี่คือกิเลส ๓ ตัณหา วิภวตัณหา ความประสบสิ่งที่ไม่พอใจมันก็ไม่ต้องการอยากให้มี มันผลักไส ความผลักไสนั้นยิ่งจะรุนแรงขึ้นมา เพราะยิ่งผลักไส คุณค่าของใจ กิเลสต้องอยู่ในหัวใจ มันคิดว่าจะผลักไสสิ่งนั้นออกไปให้พ้นจากความลำบากของกิเลส

ความคิดว่าจะผลักไสออกไป แต่มันจะมีแรงโถมเข้ามาเป็น ๒ เท่า ๓ เท่า เพราะถ้าเราไม่ผลักไสมันก็เกิดดับโดยธรรมชาติของมัน แต่เพราะความผลักไสอันนั้นมันทำให้สิ่งที่เราจะผลักไสนั้นเด่น เด่นแล้วโถมเข้ามาใส่หัวใจเราจนเรารับไม่ไหว เห็นไหม เพราะอะไร เพราะเราอยากให้มันไม่มี อยากให้มันไม่เป็นไปตามที่มันเป็นไปตามความเป็นจริง มันถึงโถมเข้าหาเราถึง ๒ เท่า ๓ เท่า อันนั้นเพราะกิเลสมันโง่

กิเลสนะ มันว่ามันฉลาด มันหลอกเราไง แล้วมันทำให้เราผลักไสออกไป แล้วสิ่งนั้นสะท้อนกลับมาเป็นบวก ๒ เป็นแรงบวกเข้ามาหาหัวใจของตัว แล้วใครมันฉลาดหรือใครมันโง่ล่ะ กิเลสมันทำของที่ว่าเกิดมีตามความเป็นจริงให้มีแรงบวกเข้ามาทับถมใจเป็น ๒ เท่า เราก็ยังไม่รู้ว่าอันนี้เป็นกิเลส

ก็โทษว่า “การประพฤติปฏิบัติ อยากประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ก็บอกว่าธรรมเหนือโลก ธรรมเหนือโลก ประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วจะชนะเหนือโลก ทำแล้วทำไมมันทุกข์ขนาดนี้ล่ะ ของเดิมมันก็มีความทุกข์สะสมอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว ทำไมต้องทำให้มันทุกข์เข้าไปอีก”

ต้องทำ! ต้องทำ! เพราะมันมีทางนี้ทางเดียว ทางที่จะพ้นออกไปจากทุกข์ตามความเป็นจริง ทางอื่นไม่มี ทางอื่นไม่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธวิสัย รู้แจ้งโลก ทั้งโลกนอก โลกใน มองทั้งหมดแล้วมันไม่มีทางไป มันมีทางจะชำระกิเลสได้ทางนี้ทางเดียวไง ทางที่ว่าเอาจิตแก้จิต มรรคอริยสัจจังเกิดขึ้นจากการที่เราแสวงหา เราสร้างสมขึ้นมา แล้วเข้าไปชำระไอ้จิตใต้สำนึกในหัวใจของเราเท่านั้นน่ะ

มันถึงเป็นเรื่องที่ว่า มันเกือบจะเป็นเรื่องสุดวิสัยของการกระทำเลยล่ะ จนถึงกับทอดหัวใจว่าใครหนอมันจะรู้ได้ขนาดนั้น ใครหนอจะรู้ได้ วิชาเทคโนโลยีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชำระกิเลสนี้ มันไม่มีใครรู้ ขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพุทธภูมิ ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังแสวงหามาด้วยทุ่มทั้งชีวิตเข้าแลกมา ธรรมอันนี้ทุ่มชีวิตเข้าแลกมา ผู้ที่มีปัญญาปรารถนาพุทธภูมิ ปรารถนาสร้างสมบารมีมาขนาดนั้นยังสลบถึง ๓ หน สลบ ไม่สลบ

คำว่า “สลบ” นี้ถ้าทางวงการแพทย์เขาบอกเหมือนกับตายฟื้นนั่นน่ะ ตายฟื้นถึง ๓ ครั้ง กว่าจะได้ความจริงเอามาชำระกิเลสให้หลุดออกไปจากใจองค์นั้น แล้วพอจะมาสอนพวกเรา พยายามจะหาทางออกให้ลูกศิษย์ของตถาคต ให้พวกลูกหลาน สุดท้ายภายหลังให้มีช่องทางเดิน มองหาแล้วมันไม่มี จนท้อใจไม่อยากจะสอน เพราะว่ามันจะเป็นสุดวิสัย เพราะมันเป็นเหนือโลก เหนือสงสาร เหนือทุกๆ อย่างเลย

แต่ใจของเราอยู่ใต้โลก ใต้สงสาร ใต้การครอบงำของ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาที่ควบคุมใจเราอยู่นี่ ควบคุมใจอยู่ อวิชชาคือความรู้ รู้แบบอวิชชา รู้ตามความอวิชชาพาให้รู้ไง มันไม่ใช่วิชชาที่จะถอดถอนออกจากกิเลสไง มันถึงว่า “รู้ใต้โลก”

โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือเรา เราเองโลกของเราไง โลกในโลกนี้จะมีมนุษย์ มนุษย์ขนาดไหน ในวัฏวนจะมีมนุษย์ มีสัตว์ มีพรหม มีเทวดาขนาดไหน มันก็เป็นวัฏวนที่ทุกๆ ดวงใจนี่แสวงไป แสวงหามาหรือว่าสะสมมาตามความเป็นจริงที่เขาจะต้องประสบทุกข์ อยู่บนพรหม อยู่บนเทวดาประสบความสุขของเขา ในเมื่อเขาสร้างสมบุญบารมีของเขามา เขาจะต้องเจ็บปวดแสบร้อนอยู่ในนรกเพราะว่าเขาสร้างกรรมของเขามา เราเป็นคนที่มาเจอพระพุทธศาสนาที่สอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่ว ชั่ว เห็นไหม ทำดีได้ดี เราทำดีแล้วเราก็อยากได้ดี ทำดีคือดี ทำชั่วคือชั่ว แต่จิตที่ไปแสวง ไปรับผลบุญอันนั้นต่างหากที่มันได้

ฉะนั้น เวลากิเลสมันปิดตาหลอกให้เราสร้างแต่ความพอใจของมัน กิเลสปิดตาหลอกให้ตามความพอใจของมัน มันถึงทำความชั่ว ทำความชั่ว ทำความลามกเข้าถึงหัวใจ แล้วมันก็จะไปได้ชั่วตรงวิบากที่จิตนั้นไปเสวยผลต่างหากล่ะ ถึงทำชั่ว ชั่ว ทำดี ดี ดีที่ติดนั้นจะไปเสวยผลบุญที่เขาทำความดีมาได้เสวยบนสวรรค์ บนพรหมนั้น อันนั้นเป็นความดีของเขา เป็นความดีของโลกที่เขาประพฤติปฏิบัติ เขาก็ได้ดีในหัวใจของที่ว่าเขาได้ดีตามหัวใจเขาที่เขาสะสมมาแล้วแต่ดวงใจดวงที่สะสม ดวงใจที่ทำมา มีความสุขขึ้นมา ดีที่ในหัวใจนั้นที่ได้ประสบ แล้วเขาดับขันธ์ไป เขาถึงเป็นไป

ฉะนั้น ในวัฏวน ในหมู่สัตว์นั้น เรื่องของแต่ละดวงๆ ใจนั้นเป็นเรื่องของเขา ความสำคัญคือในหัวใจของเราโลกคือหมู่สัตว์ คือเราน่ะ เราเป็นคนข้อง เราเป็นข้องติดวนอยู่ในวัฏฏะ เป็นคนข้องคือสัตตะ คือความข้องอยู่ในโลกนี้ไง โลกนี้ข้องอยู่เพราะในหัวใจมันเป็นทุกข์ไง ทุกข์อันนี้มันสาดไปทั่วโลกสงสาร ทั่วโลกธาตุ ทั่วทั้งหมดเพราะอะไร

เพราะเราเป็นห่วงเขามาหมด เราสงสารหมู่สัตว์ เราอยากให้ทุกคนมีปรารถนาได้ธรรมทั้งหมด แต่มองข้ามตัวเอง แล้วเราทำไมไม่อยากได้ธรรมบ้างล่ะ? เราต้องได้ธรรมก่อน เราต้องได้ธรรมก่อน เราต้องได้สบ ได้ประสบ ได้รสชาติของธรรมอันนั้นมาในหัวใจของเรา แล้วเราถึงจะเป็นผู้ชี้นำเขาได้ไง เราต้องเสวยดีก่อนในหัวใจของเรา ดีคือสุขในใจนั้น สุขในใจนั้นมันเป็นความดี แล้วเราจะเผื่อแผ่คนอื่นได้ตามสัจจะความเป็นจริงที่เรารู้ ดีในใจของเรานั้น

สำคัญ คือ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนมีความสุขมีความทุกข์ในหัวใจ อันนี้คือหมู่สัตว์ คือโลกของเราไง โลกของที่เป็นอยู่นั้นให้เขาเป็นไปตามวาสนาของจิตแต่ละดวง แต่ละดวงที่เขาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนั้น เราก็เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนั้นเหมือนกับจิตทุกๆ ดวงนั้นล่ะ

ฉะนั้น ความข้องในหัวใจของเราสำคัญกว่าทุกๆ อย่าง ความข้องของเรา ความข้องที่ส่งออกไปใน ๓ โลกธาตุ ในกามคุณ ๕ ในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง ในสัมผัสที่มันสัมผัสในใจนั้นน่ะ กามคุณ ๕ มันเป็นคุณ กามคุณ เห็นไหม กามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี้คือกามคุณ ๕ เท่ากับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัสอายตนะของเรากระทบกัน ถึงไม่เกิดกระทบกันมันก็เกิดขึ้นจากหัวใจในการสะสมภาพเดิม ภาพเก่า ความเห็นเดิมๆ นั้นในหัวใจ อันนั้นมันก็ปรุงแต่งขึ้นมาถ้าไม่มีอาหารใหม่ขึ้นมากระทบปัจจุบัน ในอายตนะที่มันกระทบ มันก็เอาของเก่าในหัวใจนั้นขึ้นมาต้ม ขึ้นมาต้ม ขึ้นมาหุงหากินเอาเองบนกองหัวใจของเรา

กามคุณ ๕ นี้ทำให้หัวใจนั้นเป็นความสงบ เกิดความสงบเป็นอิสระ เป็นเอกภาพของตัวเองไม่ได้ มันเป็นขี้ข้าของกิเลสที่อยู่ในหัวใจนั้นผลักไสความคิดออกไปตามความคิดของ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ตัวนั้น อวิชชาทำให้เกิดสังขารการปรุงการแต่ง อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาพาคิดออกไปตามแต่ความคิดของโลกๆ ในการกดถ่วง ในการคำนวณของเราไง ในการคำนวณ ในการเห็น ในการศึกษา นี่คือกรงขังของจิต ขันธ์ ๕ มันขังหัวใจไว้ หัวใจนี่อยู่ใต้อำนาจของขันธ์ ๕ เพราะขันธ์ ๕ ครอบงำไว้หมด นี่คืออวิชชาครอบงำเราไง

เราถึงไม่เคยเป็นอิสระ เราอยากจะข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามโอฆะ ข้ามกาม กามราคะมันทำให้เราทุกข์ร้อน บีบบี้สีไฟให้หัวใจนี้เร่าร้อน แต่ไม่มีใครเคยมองกามคุณ ๕ ที่ตัวชักนำให้เกิดกามราคะก่อนไง กามราคะเกิดขึ้นเพราะว่าหัวใจมันใฝ่หาออกไป เพราะความคิดดำริออกจากใจแล้วมันถึงไปสัมผัสอันนั้น เห็นไหม กามนี้ชุ่มอยู่ในใจ ชุ่มอยู่ในตัวเองมันเป็นกามอยู่แล้ว แต่มันสงบอยู่ได้เพราะว่าเราควบคุมไว้ด้วยศีล ด้วยสมาธิของเรา เราควบคุมไว้คือเตาไฟในหัวใจ เราคุมไฟไม่ให้มันลวกมือ ลวกไปเผาไหม้ เผาเรือนคนอื่น มันก็ทำให้เราคุมไม่ได้ สิ่งที่จะทำให้เชื้อมันปะทุขึ้นมามันคือกามคุณอันนี้ต่างหากล่ะ

รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เห็นไหม เสียงข้างนอก รูปที่สวยมันไปกวนอันนี้ให้ขุ่น พอมันกวนอันนี้ให้ขุ่น...เราไม่มองตรงนี้ กามคุณ ๕ นี้เป็นคุณของโลกเขาเพราะว่าการสมมติ การสื่อความหมายกันมันต้องใช้ภาษาทั้งนั้นแหละ มันต้องใช้ภาษา ใช้รหัส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส กามารมณ์ นี้มันเป็นสื่อของกามคุณ ๕...กามคุณ ๕ ถึงทำให้เราเกิด

พระพุทธเจ้าบอกพระโมคคัลลานะ “แม้แต่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดขึ้นมาจากกาม โมคคัลลานะ เธออย่าไปดูถูกว่ากามนี้เป็นของต่ำทรามจนเกินกว่าเหตุนะ” มันต่ำทรามขนาดที่ว่าเราจะเอาชนะมัน มันมีอำนาจเหนือเรานี้แหละมันถึงทำให้เราต่ำทราม หรือคนที่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งนั้นมันทำให้หัวใจต่ำทราม

มันต่ำทรามเพราะใจคนต่ำทราม มันไม่ได้ต่ำทรามเพราะกามนั้นทำให้ต่ำทราม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดขึ้นมาจากกาม ตอนบอกพระโมคคัลลานะที่พระโมคคัลลานะเห็นโทษของกาม ไปเพ่งโทษของกาม ไปทูลถาม ไปทูลบอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “กามนี้มันให้โทษเจ็บแสบปวดร้อนขนาดนี้ ทำไมชาวโลกถึงได้ติดอยู่ในกามราคะขนาดนั้น”

“โมคคัลลานะ เราก็เกิดขึ้นมาจากกาม แต่เราเอาสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากกามนั้นมาต่อสู้ให้พ้นจากกามได้” ต่อสู้กับ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ความหลงใหลได้ปลื้มในหัวใจอันนั้นน่ะ จนพ้นออกไปจากกามได้ เอาสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากกามมาแก้กาม เห็นไหม แก้กาม แก้ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา พ้นออกไปจากอวิชชาทั้งหมด เป็น เอโก ธัมโม เป็นเอก เป็นผู้ที่ชี้นำ เป็นเจ้าของธรรมะในศาสนาพุทธนี้ นั่นคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เราว่าเราอยากจะพ้นในกาม ในกามราคะในหัวใจ แต่ไม่มองกามคุณ ในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง ในความสัมผัสที่ทำให้ใจฟุ้งซ่านไง ใจจะฟุ้งซ่านขึ้นมาก็เพราะว่าสิ่งนี้มันกวนใจ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้ของมาร เป็นเครื่องมือของมารเอามาหลอกเฉยๆ ไม่ใช่ตัวมารเลย ตัวมารคือตัวอวิชชา นี่มันเจ้าวัฏจักร มันเป็นเจ้าวัฏจักรที่ควบคุมใจของเรา แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้พ้นจากมัน แล้วเราจะทำใจให้สงบ ให้ใจนี้เป็นเอกภาพ ใจนี้เป็นสิ่งที่ว่าเป็นเอกัคคตารมณ์ที่มันจะสร้างสมขึ้นมาให้ใจนี้มีคุณค่า เพื่อจะสร้างสมให้มีฐานที่มั่นของการจะเริ่มต้นในทำงานในการชำระกิเลสเท่านั้น

มันยังเอาบ่วงของมาร เอาพวงดอกไม้มาล่อไง รูป รส กลิ่น เสียง กามคุณที่ชาวโลกเขาใช้เป็นประโยชน์ มันเป็นประโยชน์ในการที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์นี้มีอายตนะ อายตนะ ๖ ข้างนอก ข้างใน ประสบสัมผัสกัน แล้วการส่งออกก็ส่งออกผ่านอายตนะที่กระทบกัน เห็นไหม นี่คือกามคุณ

เกิดมาในฐานะของมนุษย์นี่มันมีอายตนะ ๖ กามคุณมันถึงเป็นกามคุณ แต่มันเป็นกามโทษ กามกิเลสต่างหากล่ะ มันเอาคุณมาจากไหนในการประพฤติปฏิบัติ มันทำให้หัวใจนี่แสบปวดร้อนอยู่นี่ มันไปขุดคุ้ย ไปเป็นการเติมเชื้อต่อเหมือนชนวนไประเบิดหัวใจออกมาให้เป็นกามราคะอันนั้นน่ะ จะชำระกามราคะมันต้องให้เห็นโทษของกามคุณอันนี้ก่อน สำรวมระวังใจของตัวให้เกิดความสงบไง สำรวมระวังใจของตัว ของตัวของเจ้าของของผู้ปฏิบัตินั้น ให้ รูป รส กลิ่น เสียงที่มันเป็นไปนั้นให้มันเป็นไปตามความเป็นจริงของมัน แต่ต้องมีสติ มีสติมีสัมปชัญญะควบคุม

สติเกิดขึ้น เกิดขึ้นต่อเมื่อเราตั้งขึ้น เราตั้งขึ้นแล้วมัน ตั้งขึ้น ให้มันสืบต่อ ต่อเนื่องไปเป็นสัมปชัญญะ เห็นไหม สติเกิดขึ้น มันระลึกอยู่ แต่มันยังเผลอไป สัมปชัญญะมันกว้างขึ้น สติก็รู้ทันๆ มีสติมีสัมปชัญญะควบคุมใจของตัวไม่ให้เข้าไปหลงใหลในบ่วงของมาร มันจะเป็นอิสระจากบ่วงของมารแล้วจะเข้าไปผจญกับตัวมารไง

ขณะที่จะทำให้พ้นจากบ่วงของมาร เห็นไหม ต้องใช้สติ ต้องตั้งใจตัวเองให้ดี ให้จิตนี้สงบเข้ามาไง จิตสงบเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว เป็นเอกภาพเข้ามา จิตสงบเข้ามา สงบเข้ามา ต้องทำให้จิตนี่สงบก่อน มันถึงจะเป็นน้ำที่สะอาดสามารถชำระสิ่งสกปรกได้ ถ้าจิตนี้ไม่สะอาด มันเกิดขึ้น ความสงบอันนี้ อันที่อวิชชาพาให้สงบ ฟังนะ อวิชชาพาให้สงบ มันดูไป เห็นไหมมันดู อวิชชาพาดู อวิชชาพาดู อวิชชาจะทำใจให้สงบ เราตั้งใจจะปฏิบัติธรรม เราตั้งใจจะทำใจเราให้สงบเพื่อจะเป็นเอกภาพ เพื่อจะขึ้นมาทำงานนั้น

แต่ในเมื่ออวิชชามันฝังอยู่ใต้หัวใจ มันเป็นเจ้าของความคิดนี้ มันเป็นกรงขังความคิด เวลาคิดผ่านออกมามันบุกใช้เล่ห์เหลี่ยมของมันคิดออกไง ให้มองรูป นามรูป มาเป็นความว่างทั้งหมด ให้มองรูปนาม ให้ตามสิ่งกระทบให้เป็นความว่าง เป็นความว่าง มันว่างให้เป็นความว่างออกไป เป็นความว่างออกไป อายตนะกระทบภายในหรือนั่นน่ะ อายตนะกระทบนี้เราต้องควบคุมอายตนะ เห็นไหม ในกามคุณ แต่ในการกระทบนั้น อวิชชาพากระทบ อวิชชาจะพาปฏิบัติธรรมไม่ใช่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพาปฏิบัติธรรม อวิชชาพาปฏิบัติธรรมว่าจะพาพ้นจากกิเลสไง

รูป นาม รูปกระทบข้างใน แล้วให้ปล่อยว่างรู้ตามความเป็นจริง ปล่อยวาง ปล่อยว่าง ปล่อยวาง ปล่อยว่างให้รู้เท่าทัน ให้จิตมันว่างออกมาเป็นความสมาธิอย่างนั้นน่ะ มันก็เป็นความว่างอันหนึ่ง แต่มันเป็นความว่างที่ว่าไม่มีผู้รับผลไง จิตไม่เป็นเอกภาพ จิตเป็นเอกภาพมันต้องมีพลังงานตัวมันเองใช่ไหม จิตเป็นเอกภาพนี่จิตเป็นสมาธิไง เป็นเอกัคคตารมณ์ มันจะตั้งอยู่ มันจะมีความสุขดื่มด่ำในหัวใจ มันจะมีความสุขเพราะจิตนี้เสวยสมาธิธรรม เสวยสมาธิธรรมนั้นมันมีจิตตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่น จิตที่มีฐาน มีที่ก่อเกิดของการงาน จิตนี้เป็นสมาธิเพราะได้รับความสงบกล่อมใจเข้าไปเรื่อยๆ จนตั้งมั่น จนเป็นเอกภาพ จนสามารถยกขึ้นวิปัสสนาได้

แต่ถ้าอวิชชาพาทำ เห็นไหม รู้รส รู้เสียง รู้กลิ่น รู้พร้อม แล้วปล่อยวาง ปล่อยวาง ปล่อยวาง วางจนเป็นเอกภาพที่ไหน วางจนกลายเป็นอากาศธาตุไป มันไม่มีเอกภาพตรงที่เป็นหนึ่งที่รู้นี่ไง ไม่มีจิตเป็นเอกภาพ จิตนี้ไม่มีผู้รับรู้ ไม่มีฐาน พอไม่มีฐานนี้มันจะอะไรขึ้นมายกขึ้นวิปัสสนา ถ้ามีฐาน มีที่มั่นของการงาน มันยกขึ้นวิปัสสนาเพราะมันเป็นหนึ่ง เป็นสัมมาสมาธิไง แต่ถ้าเป็นความว่าง ว่างจนจับต้องไม่ได้ ว่างจนยกขึ้นไม่ได้ เลยไปให้อวิชชาพาต่อไป มันเป็นการปฏิบัติธรรมแบบอวิชชาพาปฏิบัติธรรมอย่างนั้นหรือ

นี่ขนาดว่ากามคุณกับกามโทษ เรายังไม่เห็นกามคุณและกามโทษตามหลักความเป็นจริง กามคุณกับกามโทษตามหลักความเป็นจริง กามคุณมันเป็นคุณต่อเมื่อเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร ในประโยชน์ของมนุษย์ เป็นคนไม่ใบ้บ้า เสียจริต มันเป็นคนมีสติสัมปชัญญะที่อยู่ในโลกเขาได้ คุณ

แต่เวลามาประพฤติปฏิบัติอยู่...โทษ โทษเพราะทำให้จิตฟุ้งซ่าน จิตฝ่อ จิตห่อเหี่ยว จิตหดหู่ เวลามันเกิดกระทบนี่มันเป็นไปอย่างนั้น เพราะความกระทบนี้เราไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริง เรารู้ไม่เท่าความเป็นจริง เพราะเราไม่มีสติหรือว่าปัญญาพอจะเข้าใจเรื่องของกิเลส เราถึงต้องหลบมาเป็นสมาธิ ให้จิตเป็นเอกภาพ ให้มันดื่มกินความสงบของใจ จิตหิวโหย จิตไม่เคยได้สัมผัสความสงบเลย มันจะส่งออกไปขนาดไหน มันจะทำงานไม่ได้ มันทำงานไม่ได้เพราะมันหิวโหย มันคว้าทุกอย่างที่ไม่เคยเห็นไม่เคยพบเข้ามาในหัวใจของมัน คนที่หิวจนไม่เคยมีอาหารตกถึงท้องเลยน่ะ เจอกระดาษ เจอท่อนไม้มันก็ยังคว้าใส่ปาก เคี้ยวกินจนได้ เพราะประทังความคิดไปก่อน

จิตที่หิวโหย จิตที่ไม่เคยสัมผัสธรรมเลย พอเจอสิ่งใดแปลกประหลาดเข้ามันจะคว้าไปหมดเลย เห็นไหม ถึงทำให้จิตนี้ตั้งมั่นด้วยความอิ่มของจิต คือมันเสวยอารมณ์ คือเสวยทุกข์ เสวย เสวยพุทโธ พุทโธคือชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยกรรมฐาน กรรมฐานห้องแรกจนมันอิ่มพอของมัน มันเป็นเอกภาพมันถึงมีฐาน มีที่ตั้ง มันยกขึ้นได้ สิ่งนี้เป็นนามธรรม เพราะมันเป็นเรื่องของหัวใจ แต่ยกขึ้นวิปัสสนาได้

แต่ถ้าอวิชชาพาทำ อวิชชาพากิเลส พากิเลสนะ อวิชชากับกิเลสไม่เป็นตัวเดียวกันเหรอ? เป็น แต่มันแยกกันทำงานคนละหนไง กิเลสมันเป็นก้อน เป็นกอง เป็นกองใหญ่เป็นกองทัพ อวิชชานี้เป็นผู้บัญชาการ ถึงว่าอวิชชาเป็นคนพาทำๆ มองไปตามความกระทบภายในจนหาที่เกาะที่เกี่ยวไม่ได้ เวิ้งว้าง ว่างหมดเลย ว่างอย่างไรนั่นน่ะ

ถึงว่าการประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติเพื่อจะให้พ้นถึงตามความเป็นจริงไง แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติมันสมจริงกับธรรมที่เข้าไปถึงสัจจะตัวนั้นไหม นี่มันจะย้อนกลับมาที่เรา เราทำตามตั้งใจ มุ่งหวังผลสูงส่งมาก แต่ในการก้าวเดินของเราไป เราก้าวเดินตามแผนที่ของใครล่ะ? เราก้าวเดินในตามการบอกกล่าว ในการบอกเล่าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเราก้าวเดินตามที่อวิชชาพาให้เราก้าวเดินตามนั้นไป นี่ทำจิตให้เป็นเอกภาพเข้ามา นี่คือการเริ่มต้นนะ เริ่มต้นทำใจของเรา ทำใจของเราให้มันอิ่มในตัวมันเองก่อน ไม่หิวกระหาย แล้วจับต้องได้ ไม่ใช่ว่าให้ปล่อยวาง ว่าง พอใจ แต่จับต้องไม่ได้ จับต้องไม่ได้มันก็ไม่เป็นสัมมาสมาธิสิ

สมาธิมันเป็นได้ ทำไมสมาธิมันถึงมีมิจฉาสมาธิล่ะ สมาธิมันจะมีสัมมาอย่างเดียวหรือ มันมีตรงข้าม มีทั้งสัมมาและมีทั้งมิจฉาอยู่แล้ว ถ้ามันเป็นสัมมา สัมมามันเป็นพลังงานที่มันมีพลังงานในตัวมันเอง พลังงานตัวนี้มันสามารถเป็นพื้นฐานแยกให้อวิชชานี้สงบตัวลง สงบตัวลงนะ แล้วธรรมนี้จะได้เผยอตัวเองขึ้นมา เผยอตัวเองขึ้นมาด้วยการค้นคว้าไง

การค้นคว้านี่ เรดาร์ ถ้าเราปิดเรดาร์อยู่นี่ เครื่องบินจะผ่านมาก็ไม่สามารถได้ประโยชน์ เพราะว่าไม่ได้เปิดเครื่องเรดาร์คอยจับเครือข่ายของการวัตถุสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในข่ายยานของเรดาร์นั้น อันนี้ก็เหมือนกัน จิตจะสงบขนาดไหนถ้าธรรมไม่ได้เผยอตัวขึ้น ไม่ได้เปิดยกเรดาร์ขึ้นมาให้กางข่ายออกมา มันจะไปเจอวัตถุแปลกปลอมในใจได้อย่างไร ฉะนั้น ถ้าจิตนี้เป็นสัมมาสมาธิ มีฐานที่ตั้ง เรดาร์ก็เปิดได้ ถ้าฐานที่ตั้งไม่มีมันจะเอาอะไรไปเปิดล่ะ เพราะฐานที่ตั้งมี เปิดเรดาร์ได้ ยกเครือข่ายขึ้นมา การขุดคุ้ยหากิเลสไง

จิตนี้สงบก็สงบในความเป็นจิตนี้สงบตัวลง แต่กิเลสมันซ่อนอยู่ในจิตนี้ ในจิตที่เราจะยกขึ้นมาวิปัสสนานี่ การยกจิตขึ้นวิปัสสนามันต้องยกเครือข่ายอันนี้ขึ้นมาให้หา...รู้ตามความเป็นจริงของผู้ที่จะประพฤติปฏิบัตินั้น เพราะกิเลสมันอยู่ที่หัวใจของเราใช่ไหม

โลกคือหมู่สัตว์ หมู่สัตว์คือเราข้องอยู่ที่ใจ ความข้องนี่มันข้องในวัฏฏะ ความสะสมมาในการที่เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนี้มันจะสะสมลงอยู่ในที่การข้องอยู่นี้ไง การข้องอยู่นี้ เวลาจิตสงบเข้าไป มันจะเห็นความเห็นแตกต่างมหาศาล ความเห็นแตกต่างมหาศาล เห็นไหม จิตนี้เป็นสัมมาสมาธิ ยกเครือข่ายของเรดาร์ขึ้นมา ค้นหาวัตถุที่แปลกปลอมเข้ามา ไม่ใช่ให้เรดาร์มันทำประกายกันหรือทำปฏิกิริยากันแล้วจับว่าสิ่งนั้นเป็นวัตถุ

เพราะวัตถุที่เข้าไปในเครือข่ายของเรดาร์นั้นเป็นวัตถุที่ว่าเข้าไปในเครือข่ายที่จับได้ กับภาพที่มันเป็นคำกิริยาที่มันขึ้น มันแปรปรวนในตัวมันเองนั้นอีกอย่างหนึ่ง อันนั้นมันถึงเป็นสิ่งที่จะเห็นได้ ถ้าเครือข่ายวัตถุที่เราจับได้นี่ จับได้ ความดีอกดีใจนะ ความเป็นไป ความรู้ตามหลักความเป็นจริง เพราะสิ่งนี้มันค้นคว้ากันได้ยาก เพราะสัตตะความข้องใน ๓ โลกธาตุที่มันสะสมมาอยู่ที่ใจ มันอยู่ตรงนี้ไง มันเป็นข้อมูลที่ลึกมากที่ไม่มีใครสามารถจะไปคิดข้อมูลนี้ขึ้นมาได้

ทีนี้พอจิตจะเข้าไป พอความสงบ มันจะเข้าไปจับไอ้วัตถุที่แปลกปลอมเข้ามา มันจะมีปฏิกิริยาขึ้นมา คือเกิดภาพต่างๆ ขึ้นมาไง เกิดภาพต่างๆ ขึ้นมา พอเราไม่เคยเห็นภาพต่างๆ นั้น เราก็จะว่าภาพต่างๆ นั้นมันเป็นอะไร มันมีความเข้าใจ มันมีความเปรอ นี่คือการขุดคุ้ยหากิเลส การขุดคุ้ยหากิเลสนี้มันต้องมีความละเอียดอ่อน มีความรอบคอบ มีความตั้งใจจริง ความตั้งใจจริง ความจงใจ ความเจาะจง ตัวนี้สำคัญมาก ใจที่มีความตั้งใจ ใจที่มีการกัดเพชรขาด ใจตัวนี้ต่างหากที่ว่ามันจะสามารถชำระใจตัวเองได้ เห็นไหม ความรอบคอบอันนี้ต้องมุมานะแล้วมีความรอบคอบ เพราะมันเป็นงานเหนือโลกไง มันไม่ใช่งานในโลก

งานในโลกนี้ยังว่ามันเป็นความทุกข์ๆๆ อยู่ แต่งานนี้ งานที่จะกำจัดทุกข์ จะเข้าถึงประตูของทุกข์ไง ถึงการเข้าไปทำลายไอ้สิ่งที่มันสะสมอยู่ในใจนั้นน่ะ ฉะนั้น ถึงว่าต้องมีความละเอียดรอบคอบ ความละเอียดรอบคอบ การยกขึ้นมามันเป็นเรื่องของหัวใจ เป็นเรื่องของนามธรรมอยู่ข้างใน มันไม่มีฐานออกมาข้างนอก แต่มันมีสภาวะ คือภพของใจที่จิตตั้งมั่นอันนั้นน่ะ แล้วพอสังเกตความเป็นไปของที่ว่าวัตถุแปลกปลอม...

...จริงๆ มันถึงไม่ใช่เรา มันถึงเป็นวัตถุแปลกปลอม เป็นวัตถุแปลกปลอมอยู่ที่ใจนั่นน่ะ ถ้าไม่เป็นวัตถุที่แปลกปลอมที่ใจ กิเลสมันจะขาดจากใจไปได้อย่างไร ถ้ากิเลสกับใจนี้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นอันเดียวกัน กิเลสจะขาดจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้อย่างไร

ถึงว่าวัตถุที่เข้ามาอยู่ในหัวใจมันละเอียดลึกซึ้ง เพราะมันเป็นข้อมูลในสัตตะ ในการเกี่ยวข้องกับใจ เห็นไหม นี่จิตตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่น ความละเอียดอ่อน ความขุดคุ้ยหานี่ นี่การดูจิต การดูจิต การหากิเลสในหัวใจไง ความสุขที่เกิดจากความตั้งมั่นอันนั้นเป็นอันหนึ่ง สุขอันนั้นเสวยไปเถิด สุขอันนี้เป็นเครื่องให้เรามีความพอใจไง มีความอยากกระตือรือร้น อยากประพฤติปฏิบัติ เพราะว่ามันมีความอิ่มใจ มีความพอใจ ถึงเป็นโลกุตตระ

โลกุตตระหมายถึงว่า เป็นธรรมเหนือโลก โลกียะ โลกียะคือการโลกพาคิด โลกพาทำ ความเห็นของโลก ความเห็นของโลกนี่กิเลสพาทำ กิเลสประพฤติปฏิบัติ นามรูป ว่าง นามรูป ว่าง นี่มันไปเรื่อย นามรูป ว่าง ว่างไป ว่างไป ว่างไป

กับโลกุตตระมันไม่ใช่ว่าง มันเป็นการขุดคุ้ย มันเอาความว่างมาจากไหนในเมื่อไม่มีการชำระสะสาง เอาความว่างมาจากไหน ในเมื่อยังมีส่วนสัตตะ ความข้องอยู่ในหัวใจ เอาความว่างมาจากไหน ความว่างที่เกิดจากการอิ่มหนำสำราญนี้มันเป็นพื้นฐานโดยปกติของใจที่เป็นมรรคอริยสัจจังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคนค้นคว้าได้ไง

ว่า สมาธิที่เป็นสมาธิๆ มันต้องเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิที่ว่าเป็นความเพียรชอบ เป็นความดำริชอบ สมาธิที่ตั้งมั่น สัมมาสมาธิคือสมาธิที่มีหลักมีเกณฑ์ไง หลักเกณฑ์คือฐานของมันตัวนี้ ตัวเอกภาพ ตัวที่จิตที่ตั้งมั่นนี่ล่ะ มันถึงว่าเป็นความว่างเหมือนกัน แต่ว่างที่มีหลักมีฐาน ว่างที่เริ่มต้นจะก้าวเป็นภวาสวะ คือภพของใจที่จะยกขึ้นได้ ยกขึ้นในมรรคอริยสัจจัง

การเพียรชอบ การเพียรลงเข้ามาดูใจ ความเพียรชอบคือการย้อนทวนกระแสเข้ามาดูใจ งานชอบก็งานค้นคว้าเข้ามาในใจ ความดำริคือว่าดำริหากิเลส ปัญญาตรงนี้คือปัญญาหากิเลส จนกว่ามันจะกระทบกัน เรดาร์คือข่ายของปัญญาที่ออกมาจากจิต ออกมาจากสมาธิธรรมอันนั้นแล้วค้นคว้าโดยกระทบกับวัตถุนั้น ความสัมผัสกันอันนั้นมันจะสะเทือนเลื่อนลั่น มันจะเกิดปฏิกิริยาขึ้นอย่างรุนแรงที่สุด เพราะสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็น มันไม่มีใน ๓ โลกธาตุนี้ ๓ โลกธาตุนี้เป็นเรื่องของวัตถุที่เวียนว่ายตายเกิด แต่การชำระกิเลสคือชำระสิ่งวัฏฏะ วัฏฏะคือแกนของการหมุนอันนั้น แกนของความข้องเกี่ยวกันในกระแสที่พุ่งออกไปใน ๓ โลกธาตุ

จับ เห็นไหม จับจิตตัวนี้ได้นี่ มันก็กระเทือนเลื่อนลั่นน่ะสิ มันก็อ๋อ! ขึ้นมาไง อ๋อ! ขึ้นมาก็นี่ เห็นแล้ว นี่คือว่าวัตถุที่กระทบกับตาข่ายของปัญญาไง จับตรงนี้ได้ จับตรงนี้ได้ นี่เห็นไหม ตัวนี้คือการเริ่มต้นค้นคว้าแล้ว

ถ้าจับได้ สิ่งใดที่มันข้อง ในวัฏฏะที่ว่ามันเป็นสัตตะข้องหมุนไป มันข้องเพราะเหตุไร? มันข้องเพราะความที่เราไม่รู้เท่า ฟังสิ! “ความไม่รู้เท่า” มันข้อง มันหมุนไปตามกระแสของกรรมดีและกรรมชั่ว วัฏวนนั้น เห็นไหม แล้วการเกิดตายๆ ที่สะสมอยู่ในสัตตะ ในความข้องของใจอันนั้นมันละเอียดอ่อนขนาดไหน สัตตะความข้องมา เห็นไหม มันผ่านภพผ่านชาติมา

เวลามันระลึกไป มันถึงย้อนกลับเข้าไป มันจะเห็นว่าการเกิดการตาย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก จิตแต่ละดวงที่เกิดเป็นมนุษย์นี้ เกิดมาไม่มีต้นไม่มีปลาย การเกิดมาซับซ้อนมานี่ เป็นล้านๆๆๆ ชาติ ความเกิดมา สัมผัสอันนั้นมันถึงทำให้แก่นกิเลสนี้มันเหนียวแน่นมาก

การรื้อค้นเข้าไป การจะชำระสะสางเข้าไป ความข้องของสิ่งที่สัมผัสกับใจ ใจว่ากายนี้ไม่ใช่เรา กายนี้ไม่ใช่เรา จิตนี้ไม่ใช่เรา จิตนี้มันเกิดดับอยู่พร้อมกับอวิชชา ไม่กล้าทำลายจิต ไม่กล้าทำลายกายไง เราว่าเราเห็นอยู่ว่ากายกับจิตนี้ไม่ใช่เรา ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เรา จิตนี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา เวลาสมาธิมันสงบอยู่ ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา โอ๋ย! สุขมาก

ความสุขที่เกิดขึ้นจากสมาธิเป็นพื้นฐาน ความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ สิ่งที่เราไม่เคยเจอ มันเข้าไปเจอนี่มันก็ต้องแปลกประหลาด มันก็ต้องวนเวียน วนวนไปวนมากันอยู่ตรงนั้นน่ะ อันนี้มันยังเป็นประโยชน์มากนะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นวิปัสสนา การที่ค้นหาจิต การเห็นเรดาร์จับวัตถุอันนี้ได้ อันนี้เริ่มเป็นการวิปัสสนาเกิดขึ้น วิปัสสนาที่เกิดขึ้น นี่โสดาปัตติมรรคเคลื่อนไปแล้วไง เคลื่อนให้เกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาในการค้นคว้าที่ว่าการข้องเกี่ยวของจิตกับขันธ์นี่มันผูกพันกันอย่างไร ความผูกพันมันเกิดดับพร้อมกันได้ เกิดดับพร้อมกัน เพราะความผูกข้องอวิชชาที่มันอยู่ที่จิตนี้มันพาให้คิดไป แล้วมันผูกมัดไว้ในตัวมันเองนั่นน่ะ เห็นไหม มันถึงเกิดดับได้

แต่ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมสักแต่ว่าธรรม จิตสักแต่ว่าจิต กิเลสสักแต่ว่ากิเลส มันว่า “สักแต่ว่า” สักแต่ว่า สักแต่ว่า เห็นไหม แต่ความเป็นจริงเราไม่เห็นจริง สักแต่ว่านี้เป็นธรรมนี่ เป็นกิริยาของธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานไว้ให้เราเดิน เป็นแผนที่ที่เราจะก้าวเดินตาม เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันไม่ใช่เป็นธรรมของผู้ที่ปฏิบัติธรรม

ผู้ที่ปฏิบัติธรรมนี้มันมีกิเลส คือหัวใจอยู่ในหัวใจเป็นพื้นฐาน กิเลสในหัวใจนั้นมันต้องแบ่งหรือพยายามกีดกันความเห็นที่เป็นวิชชานี้จะเข้าไปทำลายหัวใจนั้นเด็ดขาด มันจะทำให้ความเห็นนี้เคลื่อนไง ความเห็นนี้ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ เป็นธรรมแท้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความปล่อยวางก็ปล่อย ปล่อยนะ ฟังสิ! การปล่อยนี้มันปล่อยออกกว้าง กว้างออกเหมือนกัน

กลับ ย้อนกลับไปที่กิเลสพาทำตั้งแต่รูปนาม เห็นไหม มันก็ปล่อยเหมือนกัน แต่มันปล่อยไม่มีเหตุไม่มีผล ความปล่อยคือความกระทบกันแล้วต่างคนต่างแยกกลับ สิ่งที่เราเคยสัมผัสมาในโลกนี้มหาศาล เราไปเที่ยวงานมหรสพนี่ไหนก็แล้วแต่ เห็นไหม มันจะมีคุณค่า ประโยชน์ให้เราติดพัน เราก็ติดพัน เราก็ต้องแยกกลับ มันจะมีความทุกข์โศกขนาดไหนเราก็ต้องแยกกลับ ความแยกกลับมาอย่างนั้นเราได้อะไรขึ้นมา? เราไม่ได้

อันนี้วิปัสสนา อันนี้ก็เหมือนกัน กิเลสมันก็ยังมีอยู่ แต่ถึงกิเลสมีอยู่มันก็เป็นความจริง เพราะถ้ากิเลสไม่มีอยู่ เราจะไปฆ่าอะไรล่ะ ก็เราต้องการฆ่ากิเลสนี่นะ ทีนี้การฆ่ากิเลสเราก็ต้องหากิเลสให้เจอใช่ไหม แต่ขณะที่วิปัสสนาอยู่ การจะฆ่ามันอยู่นี้มันก็พยายามจะใช้บิดเบือน เบี่ยงเบนความคิดเห็นของเราตลอด

ฉะนั้น ถ้ากิเลสมีอำนาจเหนือกว่า ความคิด ความเห็นของเรานี่มันไม่ปลอดโปร่ง เราต้องกลับมาหาสมาธิธรรม หาความว่างนั้น พื้นฐานที่ว่าเราว่างๆ เห็นไหม ที่ว่าสมาธิที่ปลอดโปร่งนั่นน่ะ อันนี้เป็นพื้นฐาน เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นเอก เป็นเอกภาพ ฟังสิ! คำว่า “เป็นอกภาพ” แล้วหนุนขึ้นไป หมุนปัญญาขึ้นไป เพราะปัญญาเกิดขึ้นแล้วต่อเมื่อในการเราหาวัตถุสิ่งนั้นเจอ พอว่าสิ่งนั้นเจอแล้วมีการต่อสู้กันด้วยความคิดน่ะ ความคิดต่อสู้ความคิดไง

อวิชชา ความคิดโดยธรรมชาติไหลลงมาเลย ความคิดเดิมของอวิชชาไหลออกมาจากใจตลอด ความเห็นอย่างนั้น ปฏิบัติธรรมเห็นจริงอย่างนั้น ให้ปล่อยอย่างนี้ ปล่อยแล้ว ปล่อยแล้วให้เลิกได้ เป็นผลเป็นประโยชน์ เห็นไหม อวิชชาจะไหลลงมาโดยตามธรรมชาติของมันเลย ทั้งๆ ที่ปฏิบัติธรรมอยู่ ทั้งๆ ที่จะฆ่ามันอยู่ มันก็เอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาหลอกเราในวงประพฤติปฏิบัตินั้นน่ะ การวิปัสสนามันถึงจะมีการต่อต้านด้วยกิเลส

แต่กิเลสนี้มันแอบอ้างบังเงาอยู่ในธรรมไง ว่า “อันนี้เป็นธรรม อันนี้เป็นธรรม” แต่อันนั้นคือกิเลส มันอยู่หลังธรรมอันนั้น เพราะธรรมะพระพุทธเจ้านี้เป็นกลาง เป็นสมบัติสาธารณะ ใครๆ ก็สามารถจะประพฤติปฏิบัติน้อมนำเข้ามาในหัวใจได้ แล้วทำไมกิเลสมันไม่เอามาเป็นอาวุธของมันมาหลอกเราล่ะ

นี่ก็จะฆ่ามันนะ จะฆ่ากิเลสอยู่ กิเลสยังเอาธรรมของพระพุทธเจ้าหลอกเรานะ ทั้งๆ ที่เราว่าเราปฏิบัติธรรม อันนี้คือวิปัสสนา การวิปัสสนาขึ้นไป สิ่งนี้จะเกิดขึ้นตลอดกับดวงใจทุกๆ ดวง เพราะดวงใจทุกๆ ดวงเกิดขึ้นมากับกิเลส

เราเกิดมาแล้วมาเราพบพระพุทธศาสนา แล้วเราตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เราถึงเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามความเป็นจริงเข้าไปชำระ เข้าไปฟาดฟันกับมันตามหลัก ตามความเป็นจริงไง ตามหลักความเป็นจริงเราสร้างขึ้นมานี่ ธรรมอันนี้เราสร้างขึ้นมา เป็นธรรมของผู้ที่ปฏิบัติผู้นั้น ผู้ที่ปฏิบัติผู้นั้นเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ สามารถสร้างภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นมาจากบนหัวใจของตัว แล้วเอาธรรมความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาจากภวาสวะ กลางหัวอก กลางหัวใจที่พื้นฐานนี้ฟาดฟันเข้าไปตามหลักความเป็นจริง เห็นไหม มันต่างกับกิเลสที่มันไหลออกมา

ถึงว่าการสวนกลับขึ้นไป สวนกระแสขึ้นไป ช่วยภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นจากเรา มันถึงเป็นการลำบากไง มันถึงเป็นการเหมือนกับเกือบจะสุดวิสัยของผู้ที่ปฏิบัติ เห็นไหม ผู้ที่ปฏิบัติ ว่านักปฏิบัติมีธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมาวุธ หยิบอยู่กับมือที่ว่าจะฆ่ากิเลสอยู่ แต่เจอกิเลสมันหลอกเข้าไป กลิ้งลงมา ขลุกๆๆ เลย

ในเมื่อเราว่าเราถือธรรมาวุธอยู่กับหัวใจ ที่เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะต่อสู้กับมันอยู่นี่ กำลังจะต่อสู้ กำลังจะฟาดฟันอยู่กับไอ้กิเลสที่มันอยู่ในหัวใจนั่นน่ะ กิเลสมันหลอกหน่อยเดียววิ่งกลับลงมาเลยนะ “อ๋อ! รู้แล้ว ใช่ๆ ครับ ใช่ครับ” กิเลสว่าอย่างนั้นนะ “ครับ ครับ ครับ ใช่แล้ว ใช่แล้ว” มันก็ไม่ขาดตามความเป็นจริง

ถ้ามันขาดตามความเป็นจริง กิเลสมันจะตายออกไปจากใจ ความขาดตามความเป็นจริง ระยะห่างของใจกับกิเลสมันมาแบ่งให้ระยะห่างอันนี้ออกมา ระยะห่างที่ว่าเราจะเอามีดฟัน เห็นไหม การยุทธหัตถี การชนช้างกัน ง้าวของเรามันแค่เท่าไร อย่างมากไม่เกิน ๒ เมตร ระยะห่างที่เราจะฟันคอของอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นั่นน่ะ มันต้องเสือกช้างไสเข้าไป ไสเข้าไปงัดช้างเขาขึ้นมาไง ให้ได้ระยะระหว่างง้าวฟันเข้าไปในคอของอวิชชาได้

อันนี้ก็เหมือนกัน วิปัสสนาเข้าไปเรื่อย พยายามวิปัสสนาเข้าไปเรื่อย จิตนี้เป็นจิต อาการของจิตนี้ทำไมมันหลอกลวง อาการสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นเงา เกิดขึ้นเป็นความรู้สึก เกิดขึ้นเป็นภาพ เกิดขึ้นเป็นนี้ มันมาจากไหน สิ่งที่มานี้มันต้องมีต้นเหตุ เหตุทำให้เกิด เหตุ เหตุ เหตุปจฺจโย

พระสารีบุตรไปฟังพระอัสสชิ “ผลทุกอย่างเกิดขึ้นจากเหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าให้จับผล แล้วสาวเข้าไปหาเหตุ แล้วให้ไปทำลายเหตุนั้น” สิ่งที่เกิด แย็บ! แย็บ! แย็บ! ขึ้นมา เป็นกระแสของใจที่กิเลสพาเกิดนี้มันมาจากไหน มันต้องมีเหตุเหมือนกัน แล้วเราทำไมไม่สาวเข้าไปหาเหตุนั้น ในเมื่อเราสามารถจับวัตถุที่มันแปลกปลอมเข้ามาคือตัวกิเลสได้ ทำไมเราไม่สาวเข้าไปหาเหตุที่มันเกิดมันดับอยู่ที่กลางหัวใจ

มันเกิดมันดับโดยธรรมชาติของมันเองอยู่โดยตามหลักความเป็นจริงอันหนึ่ง มันเกิด มันเป็นไปเพราะว่ากิเลสมันพาเกิด ยุแยงตะแคงแหย่ออกมาเป็นอารมณ์ที่เราโกรธ เราไม่พอใจ มันทุกข์อยู่ในหัวใจอันหนึ่ง เห็นไหม ความเกิดขึ้นและดับอยู่ตามความเป็นจริงของเขามันก็มีส่วนหนึ่ง

แต่กิเลสที่มันอาศัยสิ่งที่เกิดดับโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แล้วตามน้ำออกมา ไสออกมาตามกระแสออกมา หลอกเรา แล้วยังเอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องมือหลอกเราอีกชั้นหนึ่ง นี่กิเลสมันโง่หรือมันฉลาด ผู้ที่ปฏิบัติว่าเป็นธรรมาวุธ มีมือ มีวุธ มีอาวุธอยู่ในมือ...

...ช้าง ทำไมไม่ไสเข้าไป ช้างคือสมาธินะ ในเมื่อเราไสเข้าไประยะห่างไม่ได้ มันต้องกลับมาพุทโธๆๆ กลับมาที่สมาธิ กลับมาที่สมาธิ พื้นฐานของสมาธินี้จะทำเกิดปัญญา พื้นฐานของปัญญาที่มีสมาธิอยู่นี้แล้วจะคมกล้าเป็นธรรมาวุธ ปัญญานี้มันเกิดได้ มันเกิดได้โดยอุปโลกน์ก็ได้ เกิดได้ด้วยแรงหนุนจากสมาธินะ แรงหนุนจากสมาธินี้เป็นโลกุตตระ สมาธินี้ทำให้กิเลสมันยุบยอบตัวลง ยุบยอบตัวลงจนใจนี้มีความสุขอิ่มเอมพอสมควร แล้วยกขึ้น เห็นไหม ระยะห่างมันห่างตรงนี้ไง ห่างตรงที่สมาธินี้แน่น สมาธิที่ดี กิเลสมันยุบยอบตัวลง ความยุบยอบตัวลง ความปลิ้นปล้อน ความหลอกลวงของมันน้อยลง ความปลิ้นปล้อนหลอกน้อยลง ระยะห่างต้องย่นเข้ามาให้เราเอาง้าวฟันคอได้สิ นี่ระยะห่างมันห่างเพราะเราไม่มีความมุมานะ ไม่มีความจงใจในการวิปัสสนาบ่อยๆ ซ้ำๆ ซากๆ นี่ไง

ความวิปัสสนาซ้ำๆ ซากๆ บ่อยๆ ทำโดยไม่มีเวลา ไม่นับกาล ไม่นับครั้งนี่ การไม่นับครั้ง การวิปัสสนาเข้าไป มันปล่อยออกไปก็ซ้ำอยู่นั่น ซ้ำอยู่นั่น ระยะห่างมันจะแคบเข้ามา แคบเข้ามา ถ้าระยะห่างมันยังห่างอยู่ เห็นไหม เพราะมันแก่น แก่นของกิเลส ความมุ ความแข็งของมัน ความที่มันเป็นสัตตะ ความข้องอยู่ในวัฏวนนี้ วัฏวนของแก่นของคนมันก็ไม่เหมือนกัน วัฏวนของคนที่เกาะเกี่ยว ความยึดมั่นถือมั่นในการยึดภพชาติ

คนเราเกิดมาต้องตายทั้งหมด แต่บางคนตายแล้วก็เดือดร้อนดิ้นรนจนไม่ยอมตาย บางคนว่าอยากจะตาย บางคนยอมรับความตาย เห็นไหม นี่อะไร เพราะในการยึดภพยึดชาติในการสะสมมาในแต่อดีตชาติก็เกี่ยวข้องมาอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เวลาเข้าไปทำลายไอ้ตรงยึดภพยึดชาตินี้ มันถึงว่าระยะห่างของคนไม่เหมือนกัน ความไม่เหมือนกันนี้เรายกไว้ว่าเป็นบารมีธรรมของเรา บารมีธรรมของผู้ที่ปฏิบัตินั้น ถึงต้องวิปัสสนาซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป ซ้ำเพื่อจะทำให้ระยะห่างนี้แคบเข้า แคบเข้า แคบเข้า จนถึงกับใช้ง้าวฟันคออวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา

ถ้าฟันคออวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ขาดออกตรงนี้ ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่จิต จิตนี้ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขาดสะบั้นอยู่กลางคอช้างนั่นน่ะ เห็นจะจะ ในตาธรรมของเราเห็นจะจะ ขาดออก สะบั้นออก ขาดออกไปเลย จนช้างต้องสลด แม้แต่เราก็สลด สลดสังเวช ปล่อยวางตามหลักตามความเป็นจริง ปล่อยวางหมด นี่มันจะเห็นขนาดนั้น

มันถึงบอกว่า ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมให้สมกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันถึงต้องเป็นผู้ที่ว่าเข้มแข็ง มันเป็นถึงว่าผู้ที่ต้องทุ่มทั้งชีวิตไง ชีวิตนี้เกิดมาแสนทุกข์ ชีวิตนี้อยากจะพ้นจากทุกข์ แต่การประพฤติปฏิบัติเหยาะๆ แหยะๆ การประพฤติปฏิบัติไปสักแต่ว่า แต่ผลจะเอาอย่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจะเอาอย่างของพระอริยสาวกต่างๆ ที่บุกบั่นใช้ชีวิตเข้าแลกมาทั้งนั้นเลย

ธรรมอันนี้ต่างหาก ธรรมที่ใช้ชีวิตเข้าแลกมันถึงสามารถทำลายชีวิตของกิเลสได้ ชีวิตของกิเลสมันอยู่บนหัวใจของสัตว์โลก มันเอาความตายของสัตว์โลกมาหลอกไง พอบอกว่าตาย กลัวหมดเลยไม่กล้าทำ เดี๋ยวจะเป็นเดี๋ยวจะตาย ต้องรักษาชีวิตไว้ก่อนเพื่อเอาไว้ต่อสู้กิเลส...มันไม่ใช่ กิเลสมันหลอกให้พ้นจากการบีบบี้สีไฟมัน การโจมตีมันไง

การเอาธรรมะเข้าโจมตีกิเลส กิเลสมันก็ไสหัวออกมา หลอกให้เราออกไปทางอื่น ยังมาภูมิใจอีกว่า “ฉันมีธรรม” ยังภูมิใจอยู่ “ฉันประพฤติปฏิบัติอยู่” กิเลสหลอกชัดๆ เลย มันถึงว่าไม่ใช่ธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันต้องเป็นคุณไปทั้งนั้น เป็นคุณแม้แต่เริ่มการประพฤติปฏิบัติ เป็นคุณแม้แต่จิตเข้าไปเสวยสัมผัสในใจที่ได้สัมผัสธรรมอันนั้นไง มองโลกนี้เป็นธรรม มองความเห็นของสัตตะ สัตว์ที่ข้องอยู่ เขาก็ข้อง เราก็ข้อง เขาข้องก็เป็นเรื่องของเขาก่อน เราข้อง เราต้องชักศรออกจากหัวใจเราให้ได้ก่อน อย่างไรๆ ยังเราก็ชักศรออกแล้ว ๑ เล่มที่มันข้อง มันเกาะเกี่ยวกับวัฏฏะนี้ มันเกี่ยวมันสักไว้เลย เห็นไหม

มันมีศรถึง ๔ เล่มปักอยู่ แล้วเกี่ยวกับวัฏฏะไว้ แล้วเราพยายามจะถอนออก ถ้าถอนศรอันแรกออกได้ เหลือ ๓ ศรอีก ๓ อันแต่ ๓ อันก็ทำให้ความแน่นของวัฏฏะนั้นคลอนแคลนแล้ว มันเริ่มไหวแล้ว มันจะทำลายวัฏฏะได้ทั้งหมดเลย ต้องทำลายได้ ในเมื่อถอนศรอันแรกออกได้ ศรอีก ๓ อันนั้นเราจะถอนได้เด็ดขาด เพราะอะไร เพราะงานเคยทำไง

คิดดูสิว่ามันแน่นหนาขนาดที่ว่าเป็นศรถึง ๔ เล่มปักอยู่ แล้วงัดมันให้มันแน่นหนากับวัฏฏะในหัวใจของเรา แล้วเราสามารถถอนได้ ๑ เล่มออกมาจากหัวใจ ในที่ว่าขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ทุกข์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ทุกข์ จิตนี้พ้นออกไปจากทุกข์ ในชั่วขณะที่จิตนั้นปล่อยวาง ว่าง โล่ง ไปหมดเลย...ว่างโล่ง ไม่ใช่แบบโล่งแบบไม่มีแก่นไม่มีสาร ว่างโล่งแบบว่ากิเลสมันชำระออกไป ว่างโล่งแบบเราเป็นคนว่าง ว่างโล่งแบบเรารู้ ว่างโล่งแบบผู้ที่แบกของหนักมาแล้วสลัดทิ้งออกหมด ทิ้งออกไปเลย ความว่างอันนี้มันเป็นความว่างตามความเป็นจริง นี่คือธรรมแท้ๆ ที่เราแสวงหามันอยู่ เราแสวงหาอันนี้ต่างหาก

การประพฤติปฏิบัติมันก็ต้องทุ่มกันทั้งชีวิต เห็นไหม ชีวิตของเราแลกกับกิเลสในหัวใจที่มันเกิดก่ออยู่ในหัวใจนั้น นี่ทุ่มเข้าไป ทุ่มเข้าไป มันจะเห็นตรงนี้ไง มันเห็นได้ ไม่พ้นวิสัยของผู้ปฏิบัติ ไม่พ้นวิสัยของจิตดวงที่ตั้งใจมุมานะนั้น เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก้าวล่วงไปก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้พยายามหาทางให้เดินสะดวกที่สุดนะ หาทางให้สะดวกที่สุด แล้วนี่ก็เป็นทางสะดวกที่สุดเพราะอะไร เพราะทางอันนี้มันทาบไปบนหัวใจ ทาบไปบนหัวใจของสัตว์ทุกๆ ดวง มันทาบไปบนหัวใจ เพราะเราจงใจ เราเอาทางนั้นขยายออกในกลางใจของเราเห็นไหม

ใจนี้มืด ใจนี้บอด ใจนี้หมักหมมอยู่กับความคิดของอวิชชาทั้งหมด มันแคบ มันไม่มีเส้นทางให้เดิน มันไม่มีทางก้าวออกได้เลย แล้วเราต้องเป็นผู้ขวนขวาย นี่มันหนัก ถ้ามันจะหนัก มันหนักตรงนี้ มันหนักตรงที่ว่า หัวใจที่มืดบอดไม่มีแสงสว่างในหัวใจนั้นเลย แล้วเริ่มถากถางออกมาให้เป็นทาง เป็นทางที่ว่าพระพุทธเจ้าวางไว้นั่นน่ะ ให้มันทาบขึ้นมาบนหัวใจของเรา ให้ทาบขึ้นมาในหัวใจของเรา แล้วให้เรามีช่องทางได้ก้าวเดินออกไปไง

ศรอันที่ ๑ ถอนออก ศรอันที่ ๒ ที่ ๓ ก็ถอนออกด้วยวิธีการแบบนี้ แบบนี้คือหลักเกณฑ์อันนี้ แต่พลิกแพลงการต่อสู้กับกิเลส มันต้องพลิกแพลงไปตลอด กิเลสมันเคยแพ้ศรอันแรก มันเห็นว่าเรารู้เท่าทันมันแล้วนะ ศรที่ ๒ ศรที่ ๓ เล่ห์เหลี่ยมการพลิกแพลง การหลอกลวงของมันในวิปัสสนานะ

ในวิปัสสนาที่เกิดขึ้นจากการขุดคุ้ยหากาย เวทนา จิต ธรรม ในการขุดคุ้ยหากิเลสแต่ละขั้นตอนเป็นงานขุดคุ้ย งานขุดคุ้ยหากิเลสนี้เป็นงานที่ว่าลำบาก ลำบากเพราะว่ามันเป็นนามธรรม มันเป็นวัตถุ เป็นกิเลสก้อนหนึ่งเหมือนกัน แต่มันก็ต้องยกเรดาร์ขึ้นหาทั้งนั้น วัตถุสิ่งหนึ่งเราตัดสายกระแสของวัตถุที่มันเข้าไปข้องอยู่ในหัวใจนั้น เราตัดออก วัตถุกับใจนั้นก็ต้องแยกออกจากกันโดยตามหลักความเป็นจริงที่ไม่มีกระแสไหนจะจับต้องได้อีก มันพ้นออกไปเพราะศรนั้นดึงออก กระแสก็ขาดออกไป

การจะค้นวัตถุอันต่อไปนี่ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรมก็เหมือนกัน แต่ในศรที่ ๒ นี้มันก็เป็นกายในกาย จิตในจิต อันนี้ยังง่ายอยู่ จิตในจิตคือจิตที่มันจับต้องได้เป็นมหาสติ มหาปัญญาที่ยังจับต้องจิตนี้กับกายนี้ได้อยู่ เพราะมันเป็นอุปาทานไง พิจารณากาย ถ้าจับต้องได้แล้ว พิจารณากาย ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ มันการแตกออก เห็นไหม การแตกออก เป็นไตรลักษณ์อย่างหนึ่ง การแตกออกคืนสู่สภาพเดิมอีกอย่างหนึ่ง การคืนสู่สภาพเดิม เห็นไหม การคืนสู่สภาพเดิมจนกระแสนั้นจับต้องอยู่ไม่ได้ กระแสนั้นมันต้องมีขั้วบวกและขั้วลบของการสัมผัสกัน ในเมื่อขั้วลบหรือขั้วบวกโดนทำลายไปอีกขั้วหนึ่งมันจะไปจับต้องกับสิ่งใด จับต้องกับสิ่งใดไม่ได้มันก็ต้องปล่อยออก การปล่อยออก การคลายออกอันนี้จิตถึงเป็นจิต เห็นไหม เมื่อไหร่กายเป็นในกาย จิตเป็นในจิต

แต่ถ้าจิตขาดออกไปนี้จิตเป็นจิตล้วนๆ กายเป็นกายล้วนๆ เป็นกายในกายไง เป็นจิตอิสระของจิตไง อิสระของจิตที่ถอนลูกศรออกไปอีก ๑ ลูกศรเหลือแค่ ๒ ศรอยู่ในหัวใจนั่นน่ะ นี่การก้าวเดินไป

แต่กิเลสมันพลิกแพลงไปเฉยๆ มันพลิกแพลงไปเรื่อย มันพลิกแพลงออกมาแล้วออกไป ทีนี้การที่วิปัสสนา การขุดคุ้ยนี้ก็เป็นงาน ยิ่งขุดคุ้ยนี่ก็เป็นงาน เห็นไหม งานที่จะหาฐานไง งานจะหาที่ว่าฐานที่การจัดตั้งเรดาร์ จับต้องวัตถุสิ่งใหม่ๆ วัตถุที่มันมีกระแสลึกๆ เข้าไปไง ขนาดที่ว่าเราเริ่มต้นแต่ขั้นตอนแรก เราก็ว่ามันลึกซึ้ง มันละเอียดอ่อน มันละเอียดอ่อนจนแบบว่าเราแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย แต่พอมันผ่านขั้นตอนเข้าไปแล้ว ทำไมมันจะผ่านไม่ได้อีกล่ะ มันละเอียดอ่อน จะลึกซึ้งเข้าไป จนที่ว่าสติปัญญาเราใช้อยู่นี้มันจับต้องไม่ได้เลย มันต้องเป็นมหาสติ มหาปัญญา มันถึงจะจับต้องจิตในจิตตัวนั้นได้ไง

ในจิตนอกๆ ที่ว่าเราจับได้แสนยาก เราก็ได้ทำลายมันไปแล้ว ทำลายด้วยความเต็มๆ ต่อหน้า เต็มๆ ต่อความเห็น เต็มๆ ต่อความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งที่ไม่มีความลังเลสงสัยอยู่ในหัวใจแม้แต่นิดเดียว สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉา หลุดออกไปหมดแล้ว ไม่มีความลังเล ความข้องเกี่ยว ความสงสัยไม่มี หลุดออกหมด เห็นการจับต้อง ถึงได้จับได้เต็มมือ จับได้เต็มมือ การทุ่มทั้งชีวิต การทุ่มทั้งหัวใจ การทุ่มเจตนาเข้าไปทั้งหมดไง นี่การจับต้อง ยกขึ้น นี่การขุดคุ้ยหา แล้วยกขึ้นมาวิปัสสนา วิปัสสนา กิเลสมันก็พาหลอก พาหลอก พาวนไป พาวนไปเรื่อย พาวนไปเรื่อย สู้อีก

การต่อสู้ การขุดคุ้ย การวิปัสสนา ภาวนามยปัญญาจะเกิดขึ้นจากการเจอหน้ากันจังๆ การต่อสู้กันให้กิเลสมันหลอกมาเถอะ มันจะหลอกมา หลอกมาอย่างไรก็แล้วแต่ ในเมื่อมีการมีแพ้ชนะ มีการให้คะแนนกันอยู่อย่างนั้น การให้คะแนน การตัดคะแนน เราไม่ อย่าไปตัด เราอย่าไปให้คะแนนเราเอง เราอย่าไปตัดคะแนนเราเอง แต่เราให้กำลังใจเราได้

เราเสวยความสุขที่เกิดขึ้นจากตามความเป็นจริงได้ ความสุขที่เกิดขึ้นจากความเป็นจริงในการปฏิบัติ อันนั้นเป็นโอสถที่ทำให้เราชุ่มชื่นไง ทำให้เรามีแรงต่อสู้กับไอ้สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวใจที่มันต่อสู้มา ถึงว่าถ้ามันเกิดขึ้นอย่างนั้นเราก็เสวยไป สู้ไป นี่คือการหนุนกำลังใจเรา เราถึงหนุนกำลังใจเรา เราให้กำลังใจ กำลังใจสำคัญมาก กำลังใจจากครูบาอาจารย์ กำลังใจจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ก้าวเดินไปแล้ว อันนั้นก็เป็นกำลังใจเยี่ยม

แต่เยี่ยมขึ้นมาของเรา เราต้องนึกเข้ามา เห็นไหม กำลังใจที่เกิดขึ้นจากข้างใน การกัดฟันกรอดๆ อยู่ในหัวใจน่ะ “มึงต้องตาย มึงต้องตาย” ในหัวใจเรานั่นล่ะ กำหนดวันตายให้กิเลสได้เลย กำหนดวันตายว่าเราต้องชนะสักวันใดวันหนึ่ง เพราะเราเคยชนะมาแล้วไง อันนี้คือกำลังใจ แต่คะแนนที่เราไปเสริมไปแต่ง เราไปให้ค่าหรือเราไปลดค่า อันนั้นมันเป็นการหดหู่เฉยๆ เห็นไหม นี่กิเลสมันจะชอบแทรกเข้าไปในวิปัสสนาญาณที่เราเกิดขึ้นในใจนั้นตลอดไป

ถ้าเรามีกำลังใจขึ้นมาเรากัดฟันกรอดๆ ทุกข์ยากขนาดไหน จะก้มคลานไปขนาดไหน จะกลิ้งตัวไปก็จะสู้ จะไม่มีเท้าเดิน จะเท้าขาด ทำจนทำไม่ได้ก็จะกลิ้งตัวไป กลิ้งตัวมาบนทางจงกรมให้ได้ เพราะอะไร เพราะการจะเอาผลอันนั้นไง เพราะการอยากจะชนะกิเลสของตัวไง เพราะกิเลสในหัวใจนี้มันเจ็บแสบปวดร้อนในใจนัก มันทำให้ทุกข์ขนาดนี้ มันสร้างเราขึ้นมาแล้ว ทำไมมันกลั่นแกล้ง บีบบี้สีไฟเราขนาดนี้ล่ะ แล้วทำไมเราจะชำระมันไม่ได้

ชำระ ๑ ๒ ๓ จนถอนลูกศรออกหมดทั้งใจ แล้วมาเปรียบกันดูสิว่าไอ้พวกมันสร้างความทุกข์มาให้ในหัวใจ วิมุตติสุขขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันจะขนาดไหน ความทุกข์ ทุกข์ในหัวใจมันทุกข์จนบีบบี้สีไฟ ทั้งๆ ที่มันพาเราเกิดนะ ทั้งๆ ที่ว่ามันเป็นกิเลส มันเป็นอวิชชาอยู่ในหัวใจที่เป็นเจ้าวัฏจักรนั้นพาเกิดมา ทำไมมันไม่ให้เรามีความสุขบ้างเลย มีแต่ความทุกข์สะสมมาในใจมาตลอดชีวิตนี้

จนวิปัสสนาญาณ จนฆ่ากิเลสออกจากใจทั้งหมด มีความสุข เลอเลิศเหนือโลก เหนือสงสาร เหนือวัฏฏะ ที่ว่าแม้แต่ในพรหมนะ ในพรหมในวัฏฏะน่ะ ในพรหมนี้เป็นอรูปภพยังไม่เคยเห็นน่ะ ในเทวดานี้เป็นกามภพ ในพรหมนี้เป็นอรูปภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ในพรหมนี้เป็นรูปภพ อรูปภพ ก็ยังไม่เคยพบความสุขแบบนี้ ขนาดผู้ที่เกิดบนพรหมมีแต่ความสุข ว่านอนสุขอยู่อย่างเดียว เป็นพรหมไง ยังไม่เคยเจอวิมุตติสุข

แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถึงวิมุตติสุข ถึงได้มาท้าทายในหัวใจกับกิเลส อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ในใจของตนนั่นน่ะ ถามอวิชชาหน่อยสิว่าเองพาข้าเกิดมา แล้วทุกข์ยากที่เอ็งบีบบี้สีไฟอยู่นี่ เอ็งหายหน้าไปไหน ทำไมมันมีแต่วิมุตติสุข สุขจริงๆ สุขที่ไม่ใช่ว่าสุขในขันธ์ ไม่ใช่สุขแบบในเวทนา ไม่ใช่สุขในการนึก ไม่ใช่สุขในการคาดหมาย มันเป็นเนื้อของสุข สุขที่จิตมันสงบ มันอิ่มตัวมันเอง โดยที่ว่าอิ่มตัว ไม่ใช่อิ่มตัวแบบสมาธิธรรมนะ สมาธิธรรมอิ่มเพราะมันกินอิ่ม แต่อันนี้มันสุขเพราะกิเลสมันหลุด อิ่ม หลุดออกไปจากใจ จนที่ไม่มีจุดบอด ไม่มีจุดมีแต้มอยู่ในหัวใจเลย มันไม่ใช่อิ่มด้วยสมาธิ มันพอ มันสุขในตัวเองไง ถึงว่าไม่ใช่สุขในเวทนาไง

ในสมาธิมันยังเป็นสุขเวทนาอยู่นะ สุขขนาดไหนก็มีเวทนารับรู้อยู่ แต่สุขอันนี้มันไม่สุขคลอนแคลน มันสุขแบบวิมุตติ ไม่สุขแบบทุกข์ไง สุขคู่กับทุกข์ มืดคู่กับสว่าง ดำคู่กับขาว เสียงดังคู่กับเสียงเบา ว่าอย่างนั้นเลย...นี้มันไม่มีคู่ มันอิ่มไม่มีจุดแต่งแต้มในหัวใจนั้น ถึงว่าเป็นวิมุตติสุขที่เกิดขึ้นจากธรรมจริงๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าระลึกหรือสัมผัสได้ก่อน แล้ววางไว้นี่ จนผู้ที่ปฏิบัติใจมืดๆ บอดๆ จนจุดไฟขึ้นมาถากถางทาง จนขยายทาง จนเข้าธาตุออกไปเป็นภาวนามยปัญญาให้ก้าวเดินออกไปจากใจที่ก้าวเดินนี้ ใจที่ก้าวเดินออกไปตามต้อยๆๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง เพราะเชื่อธรรมในครูบาอาจารย์ที่ชี้นำได้จริง เราก็ก้าวเดินไปตามหลักความเป็นจริงที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้เป็นภาวนามยปัญญา แล้วมันสามารถชำระกิเลสได้ตามหลักความเป็นจริง ถึงว่าย้อนกลับมาว่าไอ้อวิชชาที่พาฆ่าทุกข์มันอยู่ไหน เทียบเข้ามาตรงนี้ มันถึงว่าเป็นหลักความจริงของผู้ที่ปฏิบัติธรรม

ผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมกับธรรม เห็นไหม ผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมกับธรรม ธรรมะก็เกิดขึ้นกลางหัวใจนั้น ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมะก็สถิตในใจดวงนั้น เราจะเอาธรรมะจริง หรือจะเอาธรรมะปลอม ธรรมะที่นึกเอา ธรรมะปฏิบัติเราก็ต้องทุ่มทั้งชีวิตนี่ ถ้าเราจะเอาจริง เราก็ทุ่มชีวิตเราจริง

ถ้าเราทุ่มชีวิตเราจริง แล้วไม่มีการตาย ไอ้ตายไอ้เกิด มันหลอกกัน เกิดๆ ตายๆ แล้วไปรวมอยู่ที่วัฏฏะ อยู่ที่แก่น ที่สัตว์ที่ข้องอยู่ สัตตะคือความข้องของใจ เกิดดับ เกิดดับมากี่ร้อยกี่ภพชาติแล้วจะเอาอะไรมาตายอีก การตายหลอกกัน ไม่มีเกิดและไม่มีตาย ดับหมด การเกิด การตายอีก ไม่มี ถึงไม่กลัวการตาย ไม่มีกลัวสิ่งใดๆ ในโลกนี้ เพราะมันเป็นสมมติ สิ่งที่เป็นสมมติเอาอะไรมาให้ค่ากับดวงใจที่เป็นธรรม ดวงใจที่เป็นธรรมมันต้องสลัดออกทั้งหมด สมบัติใดๆ มีค่านี้สลัดทิ้งทั้งหมด มันไม่มีค่าอะไรเลย ถ้าสมบัติในโลกนี้มีค่า ธรรมอันนี้จะไม่มีค่า ธรรมอันนี้มีค่าแล้วอะไรในโลกนี้จะมาเทียบค่ากับมันได้ มันถึงได้สลัดออกหมด ไม่มีค่า ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ไม่มีทั้งนั้น แต่มีวิมุตติสุขอยู่อย่างเดียว เอวัง