ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะ ก.ฟ.ผ.

๓o ก.ค. ๒๕๕o

 

คณะ ก.ฟ.ผ.
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาเราพูดถึงธรรมะเห็นไหม เราจะพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา เพราะคำว่าศีล สมาธิ ปัญญานี้ มันก็แยกออกมาจากมรรค ๘ นี้แหละ แล้วก็ในมรรค ๘ มันก็มีสมาธิด้วย ทีนี้เราก็ไปห่วงกันว่า เราจะต้องทำสมาธิใช่ไหม เราต้องทำสมาธิเราถึงจะเกิดปัญญาได้ แล้วเวลาเราพูด เราก็พูดอย่างนั้นจริงๆ เราก็เน้นนะ เราจะเน้นอย่างนี้บอกว่า ถ้าปัญญาเราเกิดขึ้นมานี่ ปัญญาที่เราคิดกันอยู่นี่ มันเป็นโลกียปัญญา

ปัญญาโดยสามัญสำนึก ปัญญาโดยวิชาชีพ ปัญญาเกิดจากอวิชชานี่มันแก้กิเลสไม่ได้ แต่ แต่มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิได้ ทีนี้เราไปคิดกันว่า เราไม่มีสมาธินี่ แล้วมันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร ทีนี้ก็มันเน้นตรงนี้ไง ตรงที่ว่า เป็นเจโตวิมุตติ หรือ ปัญญาวิมุตติ ถ้าเป็นปัญญาวิมุตตินี่ มันเวลาทำเราใช้ปัญญาไป เราใช้ปัญญาใคร่ครวญลงไป ใคร่ครวญลงไปนี่ ถ้ามันเห็นถูกเห็นผิดเห็นไหม มันปล่อยวาง

การปล่อยวาง การหยุดนั่นน่ะคือสมาธิ การหยุดนั้นคือสมาธิ แต่คำว่าสมาธินี่ก็ต้องดิ่งใช่ไหม สมาธินี่ ดูสิ หลวงตาท่านพูดเองนะ ว่าท่านออกศึกษาตอนเรียนอยู่ เรียนเป็นมหา ๗ ปีนี่ได้สมาธิ ๓ หน ๗ ปี ๗ ปีได้สมาธิ ๓ หน แล้วอยากได้มาก พออยากได้มากนี่ พอมีจินตนาการปั๊บ ไม่เคยได้สมาธินั้นอีกเลย แต่พอปล่อยมันปั๊บ มันก็ได้สมาธิ

นี่คือว่าเราไปติดสมาธิกันไง แล้ว ๓ หนนั้นน่ะ มันเป็นผลของจิตที่มันมีความสุข คือเป็นสมาธิขึ้นมา แล้วสมาธินี่เห็นไหม ถ้าเราไม่ได้ไปใช้งาน เพราะคำว่า ๓ หนนี้ประสาเรานะ มันได้โดย โดยที่ว่าไม่ได้ตั้งใจน่ะ ของที่ไม่ได้ตั้งใจ คือรักษาไม่เป็นใช่ไหม ของที่ไม่ได้ตั้งใจจะรักษาได้ไหม ของต้องตั้งใจสิ ของต้องควบคุมได้สิ เราถึงจะรักษาได้ ที่ไม่ได้ตั้งใจเพราะเรากิเลสเต็มหัวไง เวลาเราปฏิบัตินี่ เรากิเลสเรามาก เราไม่รู้เรื่องของเรา แล้วเราก็ทำของเรา ต่อสู้ไป แล้วมันเป็นได้

เหมือนกับเราทำงานไม่เป็น พยายามทำไป แล้วมันสำเร็จขึ้นมาเป็นชิ้นๆ ขึ้นมานี่ เอ๊ะ ทำอย่างไรมันถึงสำเร็จล่ะ นี่สมาธิอย่างนี้ นี่หมายถึงว่าจิตไม่ตั้งมั่นไง เป็นสมาธิ เป็นสมาธิที่ยังไม่ตั้งมั่น เป็นสมาธิบ่อยๆ เห็นไหม ทำความสงบบ่อยๆ จนจิตมันตั้งมั่น จิตตั้งมั่นแล้วนี่ เราถึงน้อมไป น้อมไปหากาย เวทนา จิต ธรรม ถึงเป็นวิปัสสนา อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ เมื่อกี้เราพูดกับโยม เห็นไหม บอกว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนังนี่เขาว่าเป็นอริยสัจ อริยสัจ อริยสัจนี่มันเป็นได้อย่างไร

ถ้าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นอริยสัจน่ะ นี่แผงขายเนื้อสัตว์ในตลาดเป็นอริยสัจหมดเลย ผม ขน ฟัน หนัง จะเป็นอริยสัจต่อเมื่อมีจิตที่เป็นสมาธิไปใคร่ครวญมันต่างหาก มันถึงจะเป็นอริยสัจขึ้นมา แต่ในตัวของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันก็เป็นธาตุ ศพที่คนตายแล้วเห็นไหม กับคนที่มีชีวิตอยู่น่ะ มันต่างกันตรงไหน คนไหนที่ตายใหม่ๆ นี่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง สมบูรณ์หมดเลย แต่ถ้าคนที่มีชีวิตอยู่ จิตมันมีประโยชน์ต่างหากล่ะ แล้วอย่างที่บอกว่า ถ้าจิตเรานี่ เราทำสมาธิอย่างนี้ไม่ได้นี่ จะเป็นปัญญาวิมุตติไหม จะชำระกิเลสได้ไหม

ได้ล้านเปอร์เซ็นต์เลย แต่ได้ล้านเปอร์เซ็นต์น่ะมันต้องบอกสิ แขนซ้ายและแขนขวานี่ คนถนัดซ้ายกับคนถนัดขวาเขียนหนังสือนี่ต่างกันไหม ตัวที่เป็นผลออก หนังสือนี่เหมือนกัน แต่ขณะที่เขียนน่ะ แขนซ้ายเขียนน่ะ เขาถนัดซ้ายของเขา เราจะบอก ให้เขาเขียนแขนขวานี่ เขาก็เขียนได้ แต่ออกมานี่ มันจะขรุขระไปหมดเลย คนถนัดขวาให้ไปเขียนแขนซ้ายก็เขียนได้ แต่ออกมา มันก็ขรุขระไปหมดเลย

ทีนี้ย้อนกลับมานี่ เจโตวิมุตติ กับปัญญาวิมุตติไง ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติเห็นไหม อย่างที่ปัญญาวิมุตติ คนเขียนด้วยแขนซ้าย เขาเขียนด้วยแขนซ้าย มันจะผิดไปไหนน่ะ ทีนี้คนเขียนแขนซ้าย นี่กิริยาของแขนซ้ายกับแขนขวาเขียน มันต่างกันแน่นอนอยู่แล้ว เพราะแขนมันคนละข้าง

นี่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติใช่ไหม เราก็ไม่ต้องไปสนใจสิ คนในโลกนี้คนถนัดขวามากกว่าคนถนัดซ้ายแน่นอน แล้วคนที่ทำสมาธินี่ คนที่ทำสมาธิแล้ววิปัสสนานี่ มันก็เป็นเรื่องธรรมชาติแน่นอน แต่เวลาใช้ปัญญาวิมุตตินี่ เราใช้ของเรานี่ คนถนัดซ้ายมันมีน้อย แล้วคนถนัดซ้ายจะเขียนอย่างไร นี่คน แขนซ้ายและแขนขวาเขียนหนังสือสำเร็จแน่นอน

ฉะนั้นถ้าเป็นปัญญาวิมุตตินี่นะ สมาธินี่มันไม่ลงอย่างนั้น มันจะไม่ลงแบบว่า ถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธนี่ เวลาจิตเป็นสมาธินี่นะ ขณิกสมาธินี่มันสงบเข้ามา สงบเข้ามาเพราะรู้ตัว อุปจาระนี่มันสงบลึกเข้าไปหน่อยหนึ่ง แล้วมันออกรู้ได้ ออกรู้ได้ มันเห็นนิมิตได้ เห็นนิมิตได้ แล้วถ้ากำหนดพุทโธต่อไป พุทโธต่อไป มันจะเป็นอัปปนานะ สักแต่ว่ารู้ มันจะดับหมด ลมหายใจเริ่มขาด ความรู้สึกขาด

ผิวหนังนี่ เรื่องของอายตนะ นี่ดับหมด แต่จิตนี้สักแต่ว่ารู้ นี่สักแต่ว่ารู้เป็นอย่างนี้ นั่นอัปปนา ลึกมาก แล้วมีความสุขมาก มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก มหัศจรรย์จริงๆ เลย แต่นั่นมันเป็นสมาธิใช่ไหม แต่ถ้ามันเป็น เราเป็นปัญญาวิมุตตินี่ มันไม่มีอาการอย่างนี้ อาการอย่างนี้เกิดขึ้นจากคำบริกรรมไง

นี่เพราะเรามีคำบริกรรมเห็นไหม อย่างน้ำสกปรกน่ะ เรารีไซเคิลมานี่มันมีการกระทำของมัน มันกิจญาณเห็นไหม กิจจะ กิจนี่คำบริกรรมพุทโธ พุทโธ ถ้าไม่มีคำบริกรรมพุทโธนะ เพ่งไว้เฉยๆ บอกให้น้ำสะอาดมาเถิด น้ำเจ้าจงสะอาดมา อีกร้อยชาติมันก็ไม่สะอาด อีกร้อยชาติก็ลงสมาธิไม่ได้ ไม่ได้หรอก อยู่กันอย่างนั้นน่ะ

อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิใช่ไหม แต่ถ้าเราใช้ปัญญานี่ ถ้าสมาธิเราเกิดไม่ได้เลย เกิดได้ แต่เพราะเรานี่มีความไขว้เขว ฟังธรรมะแล้วก็จับผิดจับถูกไง ว่าสมาธิต้องเป็นอย่างนั้น แล้วเรา แม้แต่เราใช้ปัญญาใคร่ครวญน่ะ ปัญญาแบบปัญญาอบรมสมาธินี่ โลกียปัญญา ปัญญาที่ศึกษาธรรม ปัญญาที่พอใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมนี่ เราใช้ปัญญานี้ ให้ปัญญานี้ตามความคิดไป ใช้สติตามความคิดไปเรื่อยๆ เลย โยมกลับไปทำเลย ๗ วันนี่ลองไปเรื่อยๆ ตามความคิดไปเรื่อยๆ นี่ ถึงที่สุดแล้วความคิดมันหยุดได้

ความคิดหยุด อันนั้นน่ะเป็นสมาธิ แต่หยุดเดี๋ยวเดียว หยุดแป๊บเดียวน่ะ หยุดก็คิดอีก เพราะอะไร เพราะมันไวมาก จิตนี่ไวมากเลย มันคิดๆๆ ไปนี่ แล้วเราตามไป ถึงเวลามันหยุด หยุดแล้วเดี๋ยวก็คิดอีก เดี๋ยวพอไปอีกก็หยุดอีก ก็คิดอีกอยู่อย่างนี้ แต่ แต่มันรู้นะว่าหยุดได้ คนเรานี่ทำงานเป็นกับทำงานไม่เป็น ต่างกันนะ คนทำงานเป็น ทำงานทุกอย่างนี่ องอาจกล้าหาญเพราะเคยทำ คนทำงานไม่เป็น เห็นเขาทำก็ทำตามอย่างเขา

จิตที่มันไม่เคยเห็นหยุดนี่ คือมันทำงานไม่เป็น จิตที่ใครเคยเห็นหยุดนี่ คือมันทำงานเป็น พอคนทำงานเป็นนี่ เจองานนี่ใช่ มันเหนื่อยมันยาก แต่เราจะกลัวจนลนลานไหม เพราะเราทำงานเป็น จิตมันเห็นการหยุดนั่นน่ะ มันรู้ของมันละ พอรู้ของมันไปเรื่อยๆ รู้ของมันไปเรื่อยๆ นี่ใช้ปัญญาไล่ไปเรื่อยๆ ปัญญาอย่างนี้มันสงบเข้ามาเรื่อยๆ สงบเข้ามาเรื่อยๆ

แล้วพอสงบเข้ามาเรื่อย เราก็ใช้ปัญญา ปัญญามันก็เริ่ม เริ่มใคร่ครวญ เริ่มใคร่ครวญว่านี่ แล้วเราจะมีสติ ถามไปเรื่อยๆ นี่จิต ทำไมจิตเราสงบยาก ทำไมจิตเราไม่ค่อยเป็น ไม่มีความสงบ ทำไมความคิดมันมีอำนาจเหนือเรา มันจะมีเหตุผลใคร่ครวญ ไอ้เหตุผลตัวนี้ มันจะเป็นการใคร่ครวญให้จิตนี่มันมั่นคงขึ้นมาให้ได้ พอจิตมั่นคงขึ้นมามันก็สงบเข้าไปเรื่อยๆ นะ

ความสงบอย่างนี้ มันเกิดจากปัญญานี่มันไม่ลงวูบวาบหรอก เราไปเข้าใจผิดไง ว่าสมาธิมีอันเดียวไง เรายืนยันมาตลอด แต่โยมจับประเด็นไม่ได้ ว่าอจินไตย ๔ พุทธวิสัย โลก กรรม ฌาน ฌาน ฌานคือสมาธินี่ สมาธินี่เป็นอจินไตยนะ มันละเอียด มันกว้างขวางจนไม่มีของใครเทียบของใครได้ คำว่าอจินไตยคือไม่มีขอบเขตไง ความว่างนี่ไม่มีขอบเขตเลย แล้วแต่จริตนิสัย แล้วแต่อำนาจวาสนา แล้วแต่ละบุคคลที่มันจะใช้มาก แล้วเวลาเอามาวิปัสสนานี่ คนจะใช้ เหมือนกับเราทำงานน่ะ บางคนต้องใช้เงินมาก บางคนใช้เงินน้อย

เหมือนอาหารก็เหมือนกัน บางคนต้อง ชอบกินรสจัด รสทางไหน มันก็จะใส่อันนั้นมาก แล้วมันจะเหมือนกันได้อย่างไร ในสมาธิก็ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนหรอก อารมณ์ความรู้สึกของคนไม่เหมือนกันหรอก เวลาพูดกันนี่ คนเป็นน่ะรู้หมด ไม่ต้องไปตกใจ ถึงบอกว่า ทำให้จริงจังนะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นกำหนดพุทโธ ก็พุทโธไป ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินี่ เราลองมาเอง ถ้ามันเป็นพุทธวิสัย เขาเรียกพุทธจริตนะ ศรัทธาจริต

พุทธจริตนี่ ส่วนใหญ่ที่ทำกันอยู่นี่นะ ที่ทำกันนี่ คนปัญญาชน เรามีการศึกษามานี่ มันเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จะกดให้ลงน่ะ ไม่ลงหรอก ไม่ลง เราก็เป็นมาแล้ว ไม่ลง แล้วถ้าพอมันไม่ลงปั๊บ หมดโอกาสหรือ ไม่นี่ ไม่หมดโอกาส แขนซ้ายแขนขวาไง ถนัดขวาก็เขียนแขนขวาไปสิ ถนัดซ้ายก็เขียนแขนซ้ายไป มันจะผิดตรงไหน

เพราะอะไร เพราะว่านี่ เวลาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม พระสารีบุตรน่ะธรรมเสนาบดีเลย เป็นฝ่ายปัญญาวิมุตติ ใช้ปัญญา เห็นไหม แล้วดูเวลาสำเร็จเห็นไหม ในถ้ำที่เขาคิชฌกูฏ นี่พระสารีบุตรน่ะบวชทั้งตระกูลเลย แล้วหลานนี่ไม่พอใจใช่ไหม จะมาต่อว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระสารีบุตรนี่ยืนถวายการพัดอยู่ข้างหลังไง มันเลยบอก ไม่พอใจ คือจะมาต่อว่าใช่ไหม ไม่พอใจ นี่ไม่กล้าพูดไง ไม่พอใจไอ้นั่น ไม่พอใจไอ้นี่ ไม่พอใจไปหมดเลย ทั้งๆ ที่จะมาต่อว่าพระพุทธเจ้า แต่พูดอ้อมๆ

พระพุทธเจ้าบอกเลย “ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเธอ เป็นวัตถุอันหนึ่ง”

พระสารีบุตรถวายการพัดอยู่ข้างหลังน่ะ เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเลย จากธรรมข้อนี้ แล้วเวลาสอนพระโมคคัลลานะล่ะ พระโมคคัลลานะเห็นไหมล่ะ นี่เขาพุทโธ พุทโธ พุทโธ นี่เจโตวิมุตติ ต้องจิตสงบก่อนนะ แล้วพอพุทโธ พุทโธ พุทโธไปเห็นไหม นี่ขนาดอัครสาวกเบื้องซ้ายนะ พุทโธ พุทโธไป ก็นั่งหลับไปไง ง่วงเหงาหาวนอน เห็นไหม

แม้แต่พระโมคคัลลานะยังเป็นเลย แล้วเราไม่เป็นหรือ นี่ถ้าเธอง่วงนอน พระพุทธเจ้าไปเลย

“ถ้าเธอง่วงนอนนะ ให้เอาน้ำลูบหน้า ให้ตรึกในธรรม ให้แหงนดูดาว”

ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนะ ปุถุชนนะ มีครอบครัวเห็นไหม มีสามเณรราหุลนะ นี่แล้วเวลาคิดดูสิ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรนี่ ไปดูการเล่น ไปดูการอะไร ก็ปุถุชนเรานี่แหละ ก็แบบเราๆ เรานี่แหละ

แต่ท่านมีความมุ่งมั่นของท่าน เพราะท่านสร้างบุญบารมีมา แล้วเราภาวนานี่ นี่มันไปวิตกวิจารไง อะไรก็กลัว อะไรก็ทำไม่ได้ เวลาเราปฏิบัตินะ เราจะเน้นย้ำกับใจเราตลอดเวลา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรมนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนี่มุมานะ เดินจงกรมเข้าไป ภาวนาเข้าไป แล้วมีครูบาอาจารย์นี่หมั่นตรวจสอบหมั่นถามน่ะถามเลย

เรานี่นิสัยแปลกนะ ไปอยู่กับใครก็แล้วแต่ เข้าไปนี่ มันเป็นคนที่แบบว่าใฝ่ดี จะไปอุปัฏฐากก่อน จะอุปัฏฐาก จะไปทำข้อวัตร จะไปสรงน้ำ จะไปนวดเส้น เสร็จแล้วก็จะถามว่า ของกระผมเป็นอย่างนี้ครับ ให้ท่านแก้ไง คือว่าเราจะให้ท่านเช็คมาตลอด นี่เหมือนเราทำงานเป็น เราเข้าไปนักวิชาการ เรามีผลงานอะไร เราเสนอไป ให้เขาช่วยตรวจสอบไง นี่มันเป็นอย่างนี้มาตลอดนะ แล้วมีอะไรผิดมีอะไรถูกนี่องค์นี้ก็ว่าอย่างนี้ องค์นี้ว่าอย่างนี้

ทำได้ เพียงแต่ต้องให้เข้าใจว่า ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ โดยสมาธิอบรมปัญญา มันไม่ต้องใช้สมาธิมากอย่างนั้นไง แต่ถ้าเป็นเจโตวิมุตติน่ะ สมาธิอย่างนี้ไม่พอ สมาธิไม่พอ มันเห็นภาพไม่ได้ไง ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติกำหนดพุทโธก็ได้

ปัญญาวิมุตติเราใช้ ดูสิ ปัญญาวิมุตตินี่แบบหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์บอกว่าพิจารณากายโดยต้องไม่เห็นกายไง ไปฟังตรงนี้ถ้าจับประเด็นได้นะ คนจะเข้าใจผิด อย่างเวลาครูบาอาจารย์น่ะ เช่น ท่านพิจารณาเจโตวิมุตตินี่ต้องเห็นกาย เห็นอุคหนิมิต และวิภาคะ ให้กายนี่แยกส่วนขยายส่วน แต่มีคนไปถามหลวงปู่ดูลย์ เราฟังเทปอยู่ ถามว่า หลวงปู่ครับ พิจารณากายต้องเห็นกายไหม หลวงปู่ดูลย์บอกไม่ต้อง เพราะเป็นปัญญาวิมุตติ

ปัญญาวิมุตตินี่ใช้ปัญญา ร่างกายประกอบด้วยแร่ธาตุอะไร สสารอะไร แยกแยะอย่างไร มันใช้ปัญญาใคร่ครวญไง ใคร่ครวญอย่างนี้ใช้ปัญญา แต่ปัญญาอย่างนี้ มันต้องแบบว่า อย่างที่เราว่าสงบเข้ามาก่อนไง หลวงปู่ดูลย์สอนมาอย่างนี้ ให้ดูจิต ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต อาการของจิตน่ะคือตัวกาย อาการของจิต ตัวจิตนี่ตัวพลังงานเฉยๆ จิตนี่คิดไม่ได้หรอก ตัวจิตเฉยๆ คือตัวพลังงานเฉยๆ

นี่เรากลั้นลมหายใจ นั่นคือตัวจิต กลั้นลมหายใจ กลั้นเลย กลั้นลมหายในนั่นน่ะจิต แต่เวลาเราคิดออกมานี่มันผ่านกระบวนการของขันธ์ ๕ อาการของจิต เพราะจิตนี่มันพลังงานตัวนี้มันส่งผ่านมาถึงอาการของจิตนี่ มันจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกออกมา แล้วอาการอย่างนี้ เราจับอาการได้นี่ แล้วเราพิจารณาของมัน แบบพิจารณาเปรียบเทียบเรื่องของร่างกายโดยปัญญาไง

ร่างกายเป็นอย่างนี้ มีกระดูกอย่างนี้ นี่ปอดอยู่ตรงนั้น มีอาหารอย่างนั้น ดำรงชีวิตอย่างนั้น เวลามันทุกข์มันทุกข์อย่างนั้น ปวดท้อง ปวดท้องเพราะเหตุนั้น อาหารบูดอย่างนั้น พิจารณาไปอย่างนี้ นี่อย่างนี้มันเห็นโทษได้ แต่เห็นโทษได้เพราะอะไร เพราะมันมีพื้นฐานของสมาธิ ของสมาธิคือว่า ถ้ามันมีฐานไง เราถึงบอกว่า ถ้ามันมีกิเลสอยู่นี่ กิเลสมันแบ่งกิน คิดอะไรไป กิเลสมันก็แบ่งไปครึ่งหนึ่ง แต่ถ้ามีสมาธินี่กดไว้ เห็นไหม กดไว้ก่อน แล้วมันคิดออกมา เป็นโลกุตรธรรม เป็นโลกุตรปัญญา

ถ้าโลกุตรปัญญานี่อาศัย แล้วเวลาปัญญานี่ เวลาใคร่ครวญไปในโลกุตรปัญญา ปัญญามันเกิดขนาดไหน ถ้ามัน ทำมานี่มันเข้าใจนะ ถ้ามันเป็นโลกุตรปัญญา แล้วปัญญามันกำลังหมุนนี่ มันคิดสิ่งใดนี่มันตัดพั้บ! พั้บ! พั้บ! ประสาว่าคิดอะไรก็ไม่สงสัย พอคิดแล้วมันปล่อยๆ ปล่อยไปเลย

แต่ถ้าสมาธิไม่พอนะ คิดอะไรก็แล้วแต่นะ มันคิดได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ไอ้นี่ต้องเป็นอย่างนี้ แต่มันก็จะเป็นอย่างนั้น อย่างนั้นมันก็จะเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ก็จะเป็นอย่างนู้น นี่สมาธิไม่พอละ มันคิดไปไม่ได้ พอมันคิดไปไม่ได้ กลับมาเลย กลับมาปัญญาอบรมสมาธิ คือไม่คิดออกไปใคร่ครวญ กลับมาที่นี่ แล้วถ้าทำไม่ได้ ก็พุทโธเลย

ทำไปมันจะเห็นเลย ผิดเป็นอย่างไร ถูกเป็นอย่างไร เพราะใจนี่มันจะเป็นสภาวะแบบนั้น ไม่จำเป็นจะต้อง นี่ถึงบอกว่า ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญานี่ใคร่ครวญความคิดของเราเข้ามา แล้วมันเห็นผิดเห็นถูกเห็นโทษอย่างนี้ไง ถ้าไม่มีเห็นอย่างนี้ เพราะถ้ามันไปดูเฉยๆ นี่นะ เราไม่อยากอ้างครูบาอาจารย์นะ เพราะเราเอาอย่างนี้ไปคุยกับครูบาอาจารย์มาเยอะ ท่านไม่รับหรอก มันคือว่า กระบวนการมันไม่จบสิ้น

อ้าว ว่าต่อไป

ถาม : อย่างพวกเรานี่ รู้ตัวหรือยังว่ามีขณิกสมาธิแล้วหรือยัง

หลวงพ่อ : มันขำไง ก็มี มาถามเยอะ เป็นโสดาบันโดยไม่รู้ตัวได้ไหมนี่ เขาให้โสดาบันโดยที่ตัวเองยังไม่รู้ว่าเป็นโสดาบัน คนให้โสดาบันเยอะ เป็นโสดาบันยังไม่รู้ตัวเองเป็นโสดาบันน่ะ ไม่รู้ไม่ได้ ขณิกสมาธินี่นะ ประสาเราน่ะ เด็กมันทำงานนี่ เด็กมันยกของหนักหรือของเบานี่ เอานี่ให้แม่ เอานี่ให้พ่อ เห็นไหม เราให้เด็กมันยกมานี่ มันไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรหรอก

ขณะที่เราหัดฝึกสมาธินี่ เราไม่รู้ขั้นไหนเป็นขณิกะ ขั้นไหนเป็นอุปจาระหรอก เราไม่รู้หรอก แต่เราทำได้ เราทำได้หมายถึงว่า พอทำแล้วนี่มัน จิตมันมีฐานของมัน คือว่านี่ โดยปกติถ้าพูดกันโดยวิทยาศาสตร์นะ โยมที่นั่งอยู่ทุกคนนี่มีสมาธิหมดเลย ถ้าคนขาดสมาธิคือคนอยู่ในโรงพยาบาลบ้าทั้งนั้น แต่สมาธิของปุถุชน คนขาดสติ เห็นไหม ดูสิ เวลาเราโมโหจัด เราขาดสติ เราทำตามความพอใจเลย แล้วเด็กนี่เวลาสมาธิสั้น เห็นไหม สมาธิสั้น สมาธิยาวนี่ต้องไปหาหมอนะ

นี่โดยปุถุชนมีสมาธิอยู่แล้วนะ แต่สมาธิอย่างนี้ เป็นสมาธิการดำรงชีวิต ถึงมีปุถุชนและกัลยาณปุถุชนไง แล้วจะมาบอกได้อย่างไรว่าเป็นขณิกสมาธิอะไรไม่รู้นี่ เพราะอะไร เพราะสมาธิเราต้องดีขึ้นสิ เด็กเวลาเรียนนี่ถ้าเด็กมันมีสมาธินี่มันเรียนดี

ฉะนั้นเวลาเด็กมันมาหาเราบางคนนี่ บางคนที่เรียนไม่ดี เราจะบอกว่ากลับมานั่ง กลับมาพยายามสงบใจก่อน ทีนี้โดยสามัญสำนึกของโลก โทษนะต้องพูดอย่างนี้ มันนิสัย ตะบี้ตะบันอ่านขนาดไหน กูยังไม่รู้เลย แล้วจะให้กูมากำหนดพุทโธ กูเรียนก็ไม่ทันเขา มันไม่ยอมหรอก มันไม่มองเห็นผล ตรงการมาพักให้จิตมันสบายก่อนไง แล้วค่อยกลับไปเรียนใหม่ไง

นี่เรากลับมาพักจิตของเราก่อน เหมือนกับเรานี่ เราทำงานมาล้าเต็มที่แล้ว ก็จะตะบี้ตะบันจะทำให้มันเสร็จ ให้มันเสร็จ งานกลับเสียหาย งานกลับไม่เสร็จ เอาวางไว้ก่อน ยอมเสียเวลาก็ไม่เป็นไร มาพักก่อน เออ หายเหนื่อยขึ้นมาแล้ว โอ๋ย ตอนนี้นะจะประณีตเลย ทำแบบบรรจงเลย จะไม่ให้เสียเลย เพราะมันได้พักผ่อนมาแล้วเห็นไหม

พออย่างนี้ปั๊บ นี่สมาธิมันมีกับเราอยู่แล้ว ถ้าสมาธิมีอยู่กับเรานี่ เพียงแต่ว่าสมาธิอะไร คำว่าสมาธินี่ สมาธิใช้กับอะไร เหมือนทานอาหารเลย นี่ช้อนอย่างนี้ มีดอย่างนี้ ตัดอย่างนั้น มันคนละชนิด ใช้คนละอย่าง แต่มันพอเวลาใช้ขึ้นมาแล้วนี่ ผลของมันคือออกมานี่ มรรคสามัคคี มรรคก็เป็นมรรค ๘ เหมือนกัน ค่อยๆ ทำไปนะ

นี่เมื่อกี้นี้มันมีผู้พิพากษามาถามตรงนี้เหมือนกัน ผู้พิพากษามา ๒ คน เขาเอาเทปมาให้ฟังไง เขามาถามตรงนี้ นี่จะเข้าตรงนี้ เขามาถามว่า เทปหลวงพ่อนี่แปลกมากเลย ผู้พิพากษาน่ะ ผมเก็บของหลวงพ่อหมดเลยนะ ฟังไปแล้วนี่รู้หมดเลยนะ แล้วมาฟังรอบ ๒ อ้าว ไอ้ตรงนี้ทำไมยังเก็บไม่หมดอีกล่ะ มันรู้อีกๆ บอกเก็บได้หมดเลยน่ะ ฟังทีเดียวนี่เก็บได้หมดเลย จะรู้ให้หมดเลย พอฟังรอบ ๒ ก็ได้อีกละ รอบ ๓ ก็ได้อีกละ รอบ ๔ ก็ได้อีกละ อ้าว ทำไมมันเก็บไม่หมดสักที

เราบอกว่า วุฒิภาวะของจิตแค่นี้ มันรับรู้ได้แค่นี้ วุฒิภาวะของจิตเราละเอียดขึ้น นี่ข้อมูลอันเดิม แต่เราได้ขยายให้กว้างขึ้น รู้ได้ลึกขึ้น แล้วเพิ่มวุฒิภาวะของจิตมันปรับขึ้นไปอีก ฟังเทปม้วนเดิมนี่แหละ ฟังคราวนี้ เก็บหมดเลย อ้าว ครั้งที่ ๒ ทำไมตรงนี้ยังไม่ได้เก็บอีกล่ะ มันแปลกใจตัวเองเห็นไหมนี่ ว่าเราไม่รู้ๆ

ตัวเองน่ะมันสงสัย เพราะอะไร นี่ไงอวิชชา ถ้าคนยังมีอวิชชาอยู่นี่ มันจะมืดบอดไปอย่างนี้ แม้แต่นะเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา ก็แล้วแต่ เรื่องธรรมะนี่ เพราะ มันพูดมันก็ตะขิดตะขวงเนอะ พูด เวลาเราปฏิบัติขึ้นมานี่ เราจะฟังหลวงตาพูด พอหลวงตาบอกจะตีความหมายให้เหมือนกัน ไม่เหมือนหรอก ไม่เข้าใจหรอก ไม่เข้าใจ เรารู้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนที่ไม่รู้นี่มันปิดไว้ จนภาวนาไปถึงที่สุดนะ

หลวงตาพูดอะไรมานี่รู้หมด เพราะอะไร คัด มันอยู่ตรงไหน ตรงไหน ก็ เรารู้อยู่ข้างล่างไง แล้วถ้าพูดข้างบน เราก็เอาความรู้ข้างล่างไปเปรียบเทียบไง เอาความรู้ของเรา หางอึ่งเรานี่ไปเปรียบเทียบว่าเหมือนกัน คำพูดเหมือนกัน กิน รับประทาน เสวย เห็นไหม คำพูดเหมือนกัน แต่คนพูดด้วยฐานะที่มันใช้คำนี้ต่างกันนะ เสวยนี่ต้องกษัตริย์นะ

จิตก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันมีภาวะอย่างนั้นน่ะ มันฟังแล้วมันเข้าใจ มันเข้าใจ แล้วเราเคยใช้มาทุกกิริยา เคยใช้มาทุกอย่าง มันจะเข้าใจ รู้ รู้อยู่ แต่มันรู้แล้วอธิบายความเข้าใจไม่ถูกต้อง เพราะเรารู้ไม่ครบวงจร ถ้าเรารู้กระบวนการของมันทั้งหมด เราจะอธิบายได้หมดเลย นี่เราไปรู้จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น ดูสิ เวลาที่ว่า เวลาจิตเขาสงบแล้วเขาไปเห็นนรก-สวรรค์ กันน่ะ อย่ามาคุย แม้แต่สวรรค์ชั้นเดียว เขาไปรู้ประเทศไทย ไปรู้เป็นบางอำเภอ ยังไม่เห็นทั้งประเทศไทยเลย

โดยแต่ละภพแต่ละชั้นน่ะ มันจะมีกว้างขวางขนาดไหน แล้วไปเจอที่นั่น มาโม้ไอ้นี่ มาโม้ไอ้นั่น เราฟังแล้วขำ แต่ไอ้คนฟังก็ทึ่งเลยนะ อ้าว เวรกรรม พอพูดอย่างนั้นปั๊บน่ะ วัฏฏะ วัฏฏะนี่มันกว้างขนาดไหน แล้วเขาเอาจุดใดจุดหนึ่งอธิบาย แล้วไอ้พวกนั้นก็ไปติดตรงนั้น ต้องทำอย่างนี้จะได้เป็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้จะได้อย่างนี้

แล้วมันจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่าล่ะ เขาเห็นอย่างนั้น เขาพูดอย่างนั้น เพราะเขาเป็นอย่างนั้น แล้วเราไม่มีคุณสมบัติอย่างนั้น เราจะไปทำอย่างนั้น จะไปเหมือนกันได้อย่างไร

แล้วสถานะของสวรรค์-นรกแต่ละชั้นน่ะ โอ้โฮ มันยังไปอีกนะ แม้แต่ชั้นเดียว เอ็งก็เห็นไม่หมดแล้ว แล้วเอ็งจะมาคุยว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ นี่ผลของวัฏฏะ แล้วมันเกิดจากไหนล่ะ น่าสลดนะ มันเกิดจากใจเรานี่ เราครอบวัฏฏะเลย ใจเวลามันปลดออกมาแล้วนี่ มันกว้างขวางที่ว่าวัฏฏะ มันครอบหมดเพราะอะไร เพราะใจเรานี่มันเคยเกิด เคยตาย เคยอยู่ในสถานะนั้นมาทั้งหมด

อย่า อย่า นี่พูดประสาเรานี่วิตกวิจารอย่างนี้ มันไปวิตกวิจารที่ผล เวลาเราประพฤติปฏิบัตินี่นะ ผลนี่ทิ้งเลย เพราะเรื่องของครูบาอาจารย์นี่มันเป็นคติ คนนะ ประสาเรานะ ไม่ใช่ยกตัวเองนะ คนใฝ่ดี คนใฝ่ดีนี่อ่านประวัติหลวงปู่เทสก์ กับหลวงปู่ (จำไม่ได้แล้ว) พูดบ่อย คราวนี้เราลืม ๒ องค์ องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๗ ปี องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๑ ปี

อ่านประวัติ ๒ เล่มนี้ เตือนใจตัวเองตลอดเวลา ว่าตัวเองนี่จะเสียเวลา คิดดู ติดสมาธินี่ ๑๗ ปีกับ ๑๑ ปี จำได้องค์หนึ่งคือหลวงปู่เทสก์ กับอีกองค์หนึ่งจำไม่ได้ ๒ องค์นี้ ท่านเขียนเองนี่อัตโนประวัติ ไปเปิดดูได้ ติดอยู่ตรงนี้ ๑๐ กว่าปี แล้วเราไปติดตรงนี้อยู่ ๑๐ กว่าปีนี่ เราก็ไปวิตกวิจารอยู่อย่างนี้ นี่ก็เหมือนกัน ไปวิตกวิจารนี่ สมาธิเป็นอย่างไร เป็นอย่างไร แล้วเหตุน่ะ เราสร้างเหตุไปเถิด

นี่เราถึงว่า นิสัยเราสร้างเหตุไป แล้วเวลามันท้อถอยนะ โธ่ ภาวนานี่มันล้านะ แล้วมันแบบว่าเดินไปเดินกลับ เดินไปเดินกลับ นี่เวลามันท้อใจนะ ปลุกใจตัวเองเลย พระพุทธเจ้าทำมาอย่างไร หลวงปู่มั่นน่ะดูสิ ท่านทุกข์ยากมากกว่าเราขนาดไหน อย่างเอ็งน่ะ สมาธิเอ็งความเพียรเอ็งน่ะ ไม่ได้ขี้เล็บท่านเลย เอ็งจะไปเรียกร้องเอาอะไร

มองไปสิ มองไปที่ครูบาอาจารย์เราท่านทุกข์ยากมาสิ มองไปสิที่เขาบุกบั่น ฝ่าฝืน ฝ่าอุปสรรคมานี่ แล้ววางธรรมวินัยไว้ วางวิธีการให้เราอยู่นี่ แล้วเอ็งทำไมไม่มีความมุมานะ แล้วว่าถ้ามันเป็นไปไม่ได้ อ้าว ดูพระธาตุ อ้าว มันก็คิดนะ จริงหรือเปล่าวะ อยู่อีสานนะ เดี๋ยวก็ต้องไปพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นทีหนึ่ง ไปกราบพระธาตุ เออ ของจริงๆ ปลอบใจตัวเอง

นี่อย่างที่หลวงตาท่านว่าน่ะ เชื่ออยู่ แต่มันมีในใจ จริงหรือเปล่า เวลาถามตัวเอง จริงหรือเปล่า กิเลสน่ะ นี่อวิชชาของเราเอง โทษใครไม่ได้นะ แล้วเป็นอย่างนี้ทั้งหมด ธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของกิเลสเป็นแบบนี้ แล้วอยู่ในทุกดวงใจ จะบอกว่าเราไม่สงสัยเลย เราเชื่อมั่นร้อยเปอร์เซ็นต์ เออ พูดไปเถอะ พอมันจะได้จะเสียนะ เดี๋ยวมันกระตุกขาล้มเลย เหนื่อยฟรีนะ ถามว่านี่เสียเปล่านะ

แต่ทำไปมันยืนยันตรงนี้ไง มันจะรู้ นี่มันจะ มันทำให้เราจริง ทำให้มันประสบแล้ว นี่สันทิฏฐิโก มันสำคัญกว่าให้คนการันตีอีก มันสำคัญกว่าทุกๆ คนที่จะมารับประกันนะ ถ้าเรารู้จริงขึ้นมานี่ ไม่ต้องใครรับประกัน ไม่ต้องใครมาบอกทั้งสิ้น มันเป็นของมันเอง สันทิฏฐิโกในหัวใจ องอาจกล้าหาญมาก แล้วผิด ผิดบอกมา ตรงไหนผิด ผิดอย่างไรว่ามาเลย มันมีเหตุมีผล มันตรวจสอบได้ไง อย่าไปวิตกวิจารผลสิ เหตุน่ะสำคัญ ทำไปเถอะ ทำไปเลย ถ้ามันขนาดไหนน่ะ

นี่เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราเลย น้ำหยดลงหิน ทุกวันหินมันยังกร่อนเว้ย แล้วความเพียรน่ะเติมไปสิ เติมไปเท่าไร วันนี้น่ะ ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง เรานี่จับเวลาเลยล่ะ ไม่ใช่จับเวลาแบบจะเอาชั่วโมง เอานาทีอย่างที่ว่านะ จับเวลาว่า วันนี้ได้กี่ชั่วโมง เดินจงกรมนี่

บวชใหม่ๆ นะ มันแปลก มันคิดขึ้นมาเอง ข้าราชการเขาทำงานวันหนึ่ง วันละ ๘ ชั่วโมง เขาหาอยู่หากินกัน ทำงานวันละ ๘ ชั่วโมง ไอ้มึงจะมาเอาพ้นทุกข์นี่ เดินจงกรมนี่ ถ้าวันไหนมึงต่ำกว่า ๘ ชั่วโมง มึงทุจริตต่อหน้าที่

ตั้งกติกากับตัวเองเลย อย่างน้อยวันหนึ่งต้องเดินจงกรม ๘ ชั่วโมงแล้ว นั่งสมาธิต่างหาก ทุกวัน ถ้าวันไหนมึงเดินจงกรมไม่ถึง ๘ ชั่วโมง มึงทุจริตต่อหน้าที่ จับผิดตัวเองตลอด ทำอย่างนี้มาตลอด จะได้ไม่ได้ไม่สนใจ เพราะที่ว่านี่ ถ้ามีปัญหามัน โธ่ เจ็บไข้ได้ป่วยนี่มีบัตรไหม เข้าโรงพยาบาลได้ทั้งนั้น

นี่ก็เหมือนกัน มีปัญหาถามอาจารย์ได้หมด มีปัญหาถามได้หมด มันไปกลัวอะไรล่ะ มีแต่ไม่มีปัญญาจะถามน่ะ นี่นั่งกันอยู่นี่ไม่เป็นอะไรกันสักคนหนึ่ง ไม่หาหมอด้วย เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยค่อยมาหา

นี่ก็เหมือนกัน ภาวนามาสิ ให้มันมีเข้ามาเถอะน่า ให้มันมีปัญหาขึ้นมา ครูบาอาจารย์นี่แก้ ถ้าครูบาอาจารย์แก้ไม่ได้ แสดงว่าสัจจะนั้นโกหก โอ้โฮ ตอนปฏิบัตินะคิดอย่างนี้ตลอด นี่ถึงบอกว่า แปลก ไม่ได้อวดนะ คนใฝ่ดี คนใฝ่ดี คนจะทำดี ชีวิตนี้เกิดมาทำไม ชีวิตนี้เกิดมานี่ทุกข์ยากขนาดไหน นี่ ทำอย่างนี้แล้วไม่มีใครสอนน่ะ

คิดเองทำเองนี่ ๒-๓ ปี แล้วก็ไปหาใครก็ตอบไม่ได้ เวลาจิตมันสงบขึ้นมา เพราะศึกษาตำราเองใช่ไหม อวิชชาดับต้องเป็นพระอรหันต์ เวลาจิตมันสงบหมดเลย เงียบ เอาพระอรหันต์มาให้กูสิ เอาพระอรหันต์ วิ่งหาพระอรหันต์ไม่เจอ ไปตอบใครบอก นี่อวิชชาดับล่ะ อวิชชาไม่มีน่ะเป็นพระอรหันต์ แล้วทำไมผลมันไม่มีล่ะ

รู้ๆ อยู่ว่าไม่มี แต่มันกิเลสไง นี่มันตีกลับ มันตีกลับว่านี่อวิชชาดับแล้ว ต้องเป็นพระอรหันต์ แล้วมันก็เข้าสงบได้นะ เข้าสมาธิได้นะ ไปถามใครก็ตอบไม่ได้ ไปถามใครก็ตอบไม่ได้ อู้ฮู ทุกข์ ทุกข์น่าดูเลย ก็มันจะเอาพระอรหันต์แต่มันไม่มีน่ะ ไปภูทอก ไปอีสาน ไปถึงสว่าง เขาบอกว่า ถ้ามาอีสาน ไม่เข้าภูวัว ภูทอก ไม่ได้มาอีสาน จริงหรือวะ อ้าว เข้า พอเข้าไป ไปเจออาจารย์จวน

นี่จิตสงบหมดเลย พระอรหันต์อยู่ไหนล่ะ?

“อวิชชาอย่างหยาบของเอ็งสงบตัวลง อวิชชาอย่างกลาง มึงไม่เห็นมันเลยแม้แต่นิดเดียว อวิชชาอย่างละเอียดในหัวใจอีกมหาศาลเลย”

มันแทงใจ ใช่! ใช่เลย ใช่เลย ก็มันสงบเฉยๆ แต่เรานึกว่ามันหมดแล้วไง ก็หมดแล้วก็จะเรียกร้องเอาผลไง พอพูดอย่างนั้นปั๊บก็ใส่เลย กลับมา ทำแล้วมันเรียกร้องเอาผลเห็นไหม

นี่เห็นผลอย่างนี้ เห็นผลเวลาท่านแก้ไขอย่างนี้ แล้วมันหันกลับมาน่ะ หันกลับมาก็ จากปุถุชนน่ะ ขึ้นกัลยาณปุถุชน แล้วขึ้นถึงได้เหตุได้ผลเลย แล้วมาเครื่องบินตกน่ะ โอ้โฮ ช้าง ควานช้าง ช้างไม่มีควานอีกแล้ว ช้างไม่มีควานอีกแล้ว “มึงต้องเข้าบ้านตาด มึงต้องเข้าบ้านตาด” บังคับตัวเองเข้าบ้านตาดเลย พอเข้าบ้านตาดไปนี่ ท่านก็รู้เอง อัดทุกวัน ด่ากลางศาลาทุกวันเลย ไหนว่ามึงเก่ง ภาวนาอดนอนนะ พูดจริงๆ ทำเองมากับตัวเอง อดนอนผ่อนอาหาร ๗ วัน ๗ คืน ขึ้นไปถึงท่านให้ “องค์นี้ให้พร” ชี้หน้าเลย ให้พร ให้พรเสร็จท่านจะหาวิธีสอนใช่ไหม

“ยะถา วาริวะหา” ถามทีละตัว ยะ หรือ ยะ วา หรือ ริ ผิดสิทำไมจะไม่ผิด จี้ทีละตัวใครจะไม่ผิด ท่านจะจี้ให้ผิด พอผิดขึ้นมาน่ะ ท่านก็พูดน่ะ ไอ้พระขี้เกียจ ไอ้พระขี้เกียจ ไอ้พระขี้คร้าน ไอ้พระไม่เอาไหน ย้อนกลับนะ คนนี่นะ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ๗ วัน ๗ คืน ไม่ได้นอน เพราะจะถือเนสัชชิกด้วย อดอาหารด้วย ทำตลอดเวลานี่ ขี้เกียจไหม งงไหม ท่านด่าว่าขี้เกียจนี่ เอ็งงงไหม

นี่เวลามันแก้กันไง ไอ้เราก็ว่า เออ แหม มันก็สุดยอดคนหนึ่งแล้ว แต่ท่านบอกเลย มึงน่ะขี้เกียจ ไอ้พระไม่เอาไหน ก็กลับไปสิ มานั่ง เดินจงกรมต่อ ท่านว่าขี้เกียจ อะไรขี้เกียจ ทำไมถึงว่าขี้เกียจวะ นี่เดินจงกรมไม่ได้นอนทั้งวันทั้งคืน ยังขี้เกียจอีกน่ะ ขี้เกียจยังไง เดินอยู่อย่างนั้นน่ะ พอเดินขึ้นไป มันปิ๊ง มันปิ๊งขึ้นมาน่ะ อื้อ ขี้เกียจนี่ไง มันไปจมอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกไง มันจมกับความรู้สึก เหมือนกับมันไม่ยอมทิ้ง นี่ที่ว่าอย่าเสียดายอารมณ์ความรู้สึกของตัวไง

มันขี้เกียจภายใน ขี้เกียจคือว่ามันไม่เห็นประเด็น ไม่เห็นแง่มุมไง แต่ท่านก็จุดประเด็น พอเวลาท่าน นี่เวลาสอน เราถึงเข้าใจไง เวลาลูกศิษย์ภาวนามา ท่าน อู๋ย ภาวนาเก่ง ภาวนาดี ยกขึ้นเลยนะ ไอ้นั่นตาย ไอ้นั่นตายเลย นอนสลบอยู่ตรงนั้นน่ะ มันไปไหนไม่รอด ภาวนามาขนาดไหนก็กระทืบ กระทืบ กระทืบอย่างเดียวน่ะ เรานี่โดนทิ่มหัวทิ่มบ่อมาตลอด จะดีขึ้นไปขนาดไหนก็กระทืบจมดินไปเลย จมดินไปเลย แล้วพอตอนหลังท่านมาชมคนนู้น ชมคนนี้ เราว่า อืม ไอ้นี่เสียหมด ไอ้นี้เสียหมด

เพราะอะไรรู้ไหม ทิฐิมานะ มันจะจองหอง มันจะพองขน กิเลสนี่ชมไม่ได้ ชมนี่หางชู ชูจรดฟ้าเลย นี่ครูบาอาจารย์ที่ดี ครูบาอาจารย์ที่เป็น การสอนนี่นะ ต้องสะกิดใจ ต้องทำอย่างไร นี่มันเป็นโปรแกรมในหัวใจ จะทำอย่างไรให้มันบิดเบือนข้อมูลอันนี้ แล้วมันจะมีทางก้าวเดินไป ไม่ใช่มีอะไรมาก็ โอ๋ โอ๋ โอ๋ นั่นมันเด็กๆ เขาเรียกว่ารับจ้างเลี้ยงเด็ก เขาไม่ได้ฝึกพระ เขาฝึกเด็ก

อัดก็อัด ยิ่งอัดยิ่งเห็นคุณ จิตมันปล่อยวางหมดเลย จิตมันปล่อยวางหมดเลย ไปไหนไม่รอดเลย ไปไม่ได้ ไปไหนก็ไปไม่ได้ เอ๊ะ ทำอย่างไรดี ก็เข้าใจเอง เห็นไหม ปล่อย โอ้โฮ มันปล่อยเข้ามานี่มันเข้าถ้ำ จิตมันเข้าถ้ำ ขึ้นกลางคืนเข้าไปหาท่านน่ะ หงายเตี้ยวลงมาจากกุฏิเลย นั่งภาวนาตั้งแต่หัวค่ำน่ะ พุทโธ พุทโธนี่ เสียใจ ไหนทำดีขนาดนี้ ทำดีก็ยังโดนด่า เสียใจ เสียใจ เสียใจ

นี่ไง ปัญญาอบรมสมาธิใช่ไหม ปัญญาอบรมสมาธิ มันปัญญาวิมุตติ พอมันเข้าไปมันปล่อยหมด มันขาดแล้วเข้าไป มันก็ไปว่างมันอยู่อย่างนั้น แล้วจะเข้า จะจับขุดคุ้ยหากิเลส หาไม่เจอ ท่านอัดลงมาเลยนะ เสียใจ เสียใจ เสียใจ จิตว่าง จิตว่าง จิตว่างต้องไม่มีเสียใจสิ แล้วนี่มันเสียใจอะไรล่ะ เสียใจมันว่างที่ไหนล่ะ ก็มึงว่าว่าง ว่าง ว่าง ไอ้เสียใจขวางนี่มึงไม่เห็นมันหรือ

พอจับ มั้บ! โอ้โฮ เสียใจคือเวทนาของจิตใช่ไหม ถ้าจิตมันว่างมันก็ต้องไม่มีเวทนาสิ พอเสียใจนี่ พอจับอาการของจิตก็จับผู้ร้ายได้ไง นี่งานขุดคุ้ยหากิเลส กับงานวิปัสสนานี่มันต้องเดินไปคู่กัน คนไม่เข้าใจว่าจะวิปัสสนา วิปัสสนา ที่เขาโม้ๆ กัน เราถึงไม่เชื่อไง เราจะจับจำเลย จับผู้ต้องหานี่ เราต้องจับตัวมันได้ก่อนนะ พอจับมาได้เราต้องมาไต่สวนมันนะ

มานั่งกันอยู่นี่ โอ้โฮ รู้จักจำเลยไปหมดเลย นี่ของหายมาตั้งแต่ชาติที่แล้ว เห็นไหม ภพชาติมันเกิดมานี่ รู้ไปหมด กิเลสอยู่ไหนรู้หมดเลย โอ้โฮ ศึกษามารู้หมดเลย แล้วเห็นมันไหม แล้วก็ แหม วิปัสสนา โอ๋ย ใคร่ครวญกิเลส จะฆ่ากิเลส กิเลสที่ชาติที่แล้วยังไม่เห็นเลย พอมันจับขึ้นมา พอมันจับอาการของใจ จับขึ้นมานี่ พอไต่สวน พอจับปั๊บได้นี่ โอ้โฮ นี่เทคนิคการสอนไง ขึ้นเลยนะ

กูจะกราบอาจารย์ ๑๐๐ หน กูจะกราบอาจารย์ ๑,๐๐๐ หน กูจะกราบอาจารย์ ๑๐,๐๐๐ หน กราบอยู่นั่นน่ะ

ถ้าบอกกูเมื่อกี้ กูจะเถียงฉิบหายเลย เพราะว่า เราก็มีของเราเหมือนกันใช่ไหม ถ้าท่านพูดมาก็ต้องเถียง เถียงอย่างเดียว เถียงอย่างเดียว ท่านไม่พูดเลย ถีบตกลงมาเลย แล้วไปหาเอา พอจับได้ พอจับได้ปั๊บนี่ก็เริ่มต้น เริ่มต้นวิปัสสนาต่อไป แยกต่อไป ต่อสู้ต่อไป ทีนี้พอกิเลสมันตัวใหญ่แล้ว ก็ โอ้โฮ มันกระทืบเอาหัวทิ่มหัวตำ เวลาวิปัสสนานะ สนุกมาก

เราพูดกับเด็กๆ บ่อย เกมส์คอมพิวเตอร์มึงสู้กูไม่ได้หรอก กูมันกว่าเยอะเลย เดี๋ยวก็แพ้มัน เดี๋ยวก็ชนะมันนะ มันกระทืบหัวทิ่มหัวตำ อยู่อย่างนั้นน่ะ เกมส์คอมพิวเตอร์อย่างไรอย่างนั้นเลย กดให้ดีล่ะ ถ้ากดดีได้คะแนน กดไม่ดีมึงแพ้มัน

ปัญญาที่มีสมาธิรับรองนะ มันวิปัสสนาไป มันปล่อยนะ มึงได้คะแนนเต็มเลย แหม สุขมาก วันไหนกดผิดนะ มันกระทืบเอาหัวทิ่มบ่อเลย ทุกข์มาก กลับมาพุทโธใหม่ กลับมาพุทโธใหม่ แล้วก็เอามันใหม่ อยู่อย่างนั้นน่ะ มันทำมานี่มันล้มลุกคลุกคลานมา แล้วก็มา นี่คุยกันน่ะ ที่สั่งสอนกันน่ะ นี่มา ๒ วัน ๓ วัน เป็นนู่นเป็นนี่ มันรำคาญนะ มันรำคาญ เบื่อหน่ายมาก ไอ้พวกนี้ทุจริต ไม่เชื่อ ไม่เชื่อ ถ้าเป็นจริงนี่นะ เริ่มต้นอย่างไร สงบนี่ยังทำจะเป็นจะตายอยู่เลย ไอ้สมาธินี่ มึงยังทำจะเป็นจะตายอยู่แล้ว

แล้วกว่า เป็นสมาธิแล้วนี่ถ้ามีวาสนา เราใช้คำว่าวาสนาบ่อยเลย ถ้าวาสนานี่มันจะเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม มันจะยกขึ้นวิปัสสนา ถ้ามึงไม่เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม มึงก็เป็นฤๅษีชีไพรอยู่อย่างนั้นน่ะ สมาธินี่ฤๅษีชีไพร สมาธินี่ฌานสมาบัตินี่ฤๅษีชีไพร เพราะปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างหาก แตกต่างจากสมาธิไง แต่ถ้าไม่มีฐานของสมาธิ มันก็เป็นปัญญาไปไม่ได้ มันเป็นโลกียปัญญา มันต้องอาศัยสมาธินี่แหละ เป็นตัวแบ่ง แบ่งว่าเป็นโลกียปัญญาหรือโลกุตรปัญญา

แต่ทีนี้เราเข้าสมาธิไม่ได้ เราทำสมาธิไม่ถนัด ใช่ไหม มันเป็นที่พันธุ์ไม้ ของเรานี่เป็นชมพู่ แต่เขาปลูกทุเรียน แล้วชมพู่ทำไมต้องให้มันเป็นทุเรียนล่ะ ในเมื่อเขาทำสมาธิได้ก็เรื่องของเขา ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ ชมพู่ก็กินชมพู่กูนี่ ชมพู่กูกินได้ ถ้าเรากินได้ เราก็ทำของเราไปสิใช่ไหม เราก็ทำความสงบของเราไป มันจะเป็นอะไรไปล่ะ

พันธุ์ไม้ต่างๆ จิตมันมาอย่างนี้ จิตมันสร้างสมมา จิตนี่ เราเทศน์บ่อยนะ พันธุกรรมนี่ เขาตัดแต่งพันธุกรรม เราก็ตัดแต่งจิตนี่ สร้างบุญทีหนึ่งก็ตัดแต่งทีหนึ่ง ทำดีทีหนึ่ง จิตมันก็พัฒนาทีหนึ่ง นี่เราตัดแต่ง ตัดแต่งพันธุ์ไม้เรานี่

แล้วถ้าตัดแต่งที่พันธุ์มันดี เห็นไหมทำบุญกุศลนี่ ปลูกต้นไม้ นี่ปลูก ทำเพื่อใครต้นไม้นี่ ทำไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง มันได้มานั่งภาวนาโคนต้นไม้นั้นนะ ฝันสิว่าต้นไม้ที่ปลูกนี้น่ะมันจะ ๔-๕ คนโอบ แล้วคนจะนั่งล้อมเลยนี่มันจะมีความสุขไหม เราทำให้ใคร นี่พอทำให้ใครปั๊บมันก็ตัดแต่ง เพราะเราทำให้เขา นี่ใจมันก็พัฒนาขึ้นมา พอใจมันพัฒนาขึ้นมา มันก็เป็นประโยชน์กับเราขึ้นมา

นี่บุญกุศลมันเป็นอย่างนี้ ทำนี่รู้ไม่รู้ มันเป็นบุญของเราแล้วล่ะ เพราะมันดีขึ้นมานี่มันไปภาวนา มันก็ทำได้ ทำแต่อกุศลนะ ปล้นจี้เขาอยู่ตลอดเลย กูจะพุทโธ พุทโธ น่ะ มึงพุทโธไปเถอะ พุทโธไปก็ติดห่วงติดคุกไป คือไม่ทำอะไรเลยไง ทำแต่อกุศล ทำแต่สิ่งที่หาผลประโยชน์ แล้วก็ ฉันทำดี ฉันทำดี มันพูดแต่ มันทำดีที่คำพูดน่ะ มันไม่ได้ทำดีที่เนื้อหาสาระ ถ้าทำดีที่เนื้อหาสาระนี่ มันเปลี่ยนแปลงใจ ใจนี่มันจะเปลี่ยนแปลงของมันไป แล้วมันพัฒนาของมันขึ้นไป แล้วมันทำขึ้นไปมันก็เป็นขึ้นไป

ไม่ต้องไปวิตกวิจารมากเกินไป หน้าที่เห็นไหม ศึกษามานี่ต้อง โอ้โฮ เวลาศึกษาต้องมีปัญญานะ ต้องใคร่ครวญ นี่ให้ทันคนนะ แต่เวลาปฏิบัตินะ มึงต้องให้ โทษนะ ต้องให้โง่เหมือนควายเลย พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย มันเป็นเอง แต่ถ้าปฏิบัติฉลาดนะ มึงเสร็จ กิเลสน่ะ เอาความฉลาดของมึง หลอกมึงอีกทีหนึ่ง

นี่มันย้อนกลับมาเลยเห็นไหม เวลาหลวงตาไปหาหลวงปู่มั่น เห็นไหม

“มหา มหาก็เรียนมาสมกับเป็นมหานะ ไม่ได้ดูถูกธรรมของพระพุทธเจ้านะ ขอให้เอาปัญญาที่เรียนมา ชั้นมหานี่ ใส่ลิ้นชักไว้ก่อน ถ้ามันออกมาภาวนาตอนนี้ มันจะมาขัดแย้ง มันจะมาเตะมาถีบกันเอง ระหว่างปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ศึกษามากับข้อเท็จจริงนี่ มันจะเตะ จะถีบ จะขัดแย้งกันเอง แล้วเราก็ไม่เข้าใจ เราก็จะไปหลงตามมันไป อันนั้นใช่ อันนี้ไม่ใช่ จะเสียเวลานะ สิ่งที่เรียนมานี่ ขอให้เอาใส่ไว้ในลิ้นชักก่อน แล้วเอากุญแจลั่นไว้ด้วย เดี๋ยวมันออก แว็บออกมาแล้วมันจะหลง”

นี่คนเป็นนะ คนเป็นสอนคนเป็น ฟังสิ แล้วเราก็ นี่ขนาดที่ว่าเรียนถึงขั้นมหา ยังต้องเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ ใส่ลิ้นชักไว้ก่อนนะ แล้วเอากุญแจล็อกมันไว้ด้วย เดี๋ยวมันแว็บออกมา นี่มันโลกียปัญญา มันธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมของเรา ไปศึกษามานี่ ไปดูสมบัติเขาไง ขอดูบัญชีสิมีเท่าไร ขอดูบัญชีนี้มีเท่าไร แล้วก็มาคำนวณว่าเป็นเงินของเราหมดเลย บ้าหรือ ทำงานหรือยัง มีเงินฝากธนาคารบ้างหรือเปล่า

ที่เรียนมาน่ะ สมบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหมดนะ ไปดูตัวเลขของพระพุทธเจ้ามา แล้วก็บอกว่าตัวเลขนี้ของกู ตัวเลขของกู รู้ไปหมดเลย ไม่ใช่ ไม่ใช่หรอก เป็นแต่ เอามาเป็นทฤษฎี เอามาเป็นแบบอย่างนะ ไปดูงานมา เออ ดูงานมาแล้ว แล้วเราจะทำงานได้ไหม ถ้าเราทำงานขึ้นมา เออ เราทำนู่นก็สำเร็จ เออ นี่งานของเราเว้ย ทำให้สำเร็จ นี่ผลมันเกิดขึ้นมาละ เออ นี่ใช่ ใช่ เราทำมากับมือ ทำมากับมือ แล้วพอทำมากับมือนี่สอนใครก็ได้

นี่พูด ๆ ปฏิบัติแล้วสอนคนไม่เป็น สอนไม่ได้ ทำไมจะไม่ได้ แหม ปั้นหม้อปั้นไหมา ทำไมกูจะสอนเด็กไม่ได้ สอนได้ทั้งนั้นน่ะถ้าจะสอน เพียงแต่วาสนาบารมีไง บางคนแบบว่าพูดไปก็สองไพเบี้ย อยู่สบายดีกว่า นี่อยู่ดีๆ สร้างสมบุญญาธิการมา ถ้ามันสร้างสมบุญญาธิการมา มันก็เป็นประโยชน์ เห็นไหม ทำไป ทำไปเรื่อยๆ ทำไป

เรานะ ปฏิบัติใหม่ๆ นะ มันจะไปยืนยันกับตัวเอง ขอเถอะ ขอให้มันมีจริงเถอะ ตอนที่ปฏิบัติใหม่ๆ กลัวอย่างเดียวน่ะกลัวฟรี กลัวปฏิบัติเปล่า ทีนี้ก็ไปพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นบ่อยเลย ไปกราบ อืม มีจริงๆ เว้ย มันก็ท้อถอยเห็นไหม จะพูดให้ฟัง ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่นั่นนะ เราเองก็ลังเลเห็นไหม เราเองก็ยัง บางทีก็ยังท้อถอยเลย แต่ท้อถอยขนาดไหน มันก็ยังปลุกใจตัวเองขึ้นมาให้ได้ ปลุกใจตัวเองขึ้นมาให้ได้ สู้มันอย่างเดียว สู้มัน สู้มัน ชีวิตนี้มันจะมีอะไรประเสริฐไปกว่านี้วะ

แล้วย้อนกลับมาดูโลกก็เป็นอย่างนั้นน่ะ ทุกคนเกิดมานี่ มันถึงที่สุดแล้ว ก็เข้าโลงหมด แต่จะเข้าโลงแล้ว จิตมันใครจะประเสริฐกว่าเท่านั้นน่ะ

โยม : ขอโอกาสเจ้าค่ะ คือถ้าขณะปฏิบัตินี่ค่ะ เราได้ทั้งภาวนาและก็เดินจงกรม ถ้ามีวิญญาณสำแดงฤทธิ์ มาให้เราเห็นนี่ เราก็คือภาวนาต่อไปใช่ไหมคะ คือเขาทำอะไรเราไม่ได้

หลวงพ่อ : ไม่ได้ ใช่

โยม : แล้ว ที่เขาว่าต้องแผ่เมตตาให้นี่ก็ ควรจะเป็นเช่นนั้น

หลวงพ่อ : ต้องเป็นอย่างนั้น ไอ้อย่างนี้นะ มันเป็นแต่ละบุคคลนะ มันมี ๒ กรณีการเห็นนี่ เห็นจริงอย่างหนึ่ง การเห็นจริงอย่างหนึ่งนี่ เห็นเพราะอะไร เพราะบุญกรรม ดูสิ พระนาคิตะ เห็นไหม เดินจงกรมอยู่นี่ แล้ววิตกวิจารเลย

โห เราเป็นคนทุกข์คนยาก ดูสิ มันมีงานมหรสพใช่ไหม แล้วคนเขาไปเที่ยวงานมหรสพ เขาก็ร้องรำทำเพลงกันไปไง ดูสิ เขามีความสุขรื่นเริง เพราะโลกน่ะ เห็นไหม ไปดูมหรสพมันก็ต้องสนุกสิ แล้วตัวเองก็ทุกข์ยากเลยนี่ ดูสิ โอ้โฮ เดินจงกรมนี่ล้าเต็มที่เลย เทวดานี่ หลวงตาบอกเลย เทวดากับพระนาคิตะ ต้องเป็นเครือญาติกัน ไม่เป็นเครือญาติก็เป็นเพื่อนที่ปฏิบัติร่วมกันมา แล้วขณะที่ตายไปแล้ว แต่จิตดวงหนึ่งไปเกิดเป็นเทวดาอยู่ จิตดวงหนึ่งไปเกิดเป็นพระนาคิตะ

แล้วพระนาคิตะเดินจงกรมอยู่ไง เทวดามายับยั้งกลางอากาศเลย นี่แล้วก็เปล่งเสียงออกมาไง คนที่เขายังไปเดิน เขาไปเที่ยวมหรสพนั่นน่ะ พวกนั้นน่ะเขายังหลงอยู่ในวัฏฏะ พวกนั้นเขาเป็นคนมืดบอด คนที่ประเสริฐคือท่านต่างหากล่ะ ท่านที่เดินจงกรมอยู่นี่ ท่านเป็นผู้ประเสริฐนะ ท่านเป็นผู้ประเสริฐ ท่านน่ะ เพราะคืนนั้นน่ะ พระนาคิตะได้สติขึ้นมา พระนาคิตะเดินจงกรมไปนะ พระนาคิตะเป็นพระอรหันต์ในคืนนั้นนะ เพราะเทวดานี่มาเตือน

ทีนี้ เพราะมันมี ถ้าเห็นจริงนี่ มันมีบุญมีกรรมกันมา แล้วอย่างเรา นี่โยมที่นั่งกันอยู่นี่นะ อย่าคิดนะว่าโยมไม่เคยเกิดเคยตายมา โยมต้องมี มีญาติ มีมิตร มีสหายมาทั้งนั้นเลย แล้วญาติ สหาย มิตรที่เคยคบตั้งแต่ชาติไหนๆ มานี่ เขาไปอยู่ในภพไหนนี่ เขาจะ ถ้าเป็นห่วงเป็นใยน่ะ เขามาเตือน ดูพระพาหิยะสิ พระพาหิยะเห็นไหม นี่เรือแตกมาน่ะ แล้วพอขึ้นฝั่งเห็นไหม ไปนุ่งเปลือกไม้เห็นไหม คนเขาก็กราบบูชากันใหญ่ว่าเป็นพระอรหันต์ เห็นลาภสักการะ ก็เลยติดไง

นี่ เทวดามาก็เตือนอีก ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ ท่านไม่ใช่หรอก บัดนี้พระอรหันต์เกิดแล้ว พระพุทธเจ้าเกิดแล้ว พระพุทธเจ้าอยู่ที่นั่น บอกเลยน่ะ เพราะเป็นเพื่อนกันมา เป็นเพื่อนกันมานี่ เป็นพระกันมาตั้งแต่สมัยก่อนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ๕ องค์ แล้วนัดกันไป ขึ้นไปบนภูเขาตัด แล้วนัดกันนะขึ้นไป ถ้าไม่สำเร็จจะไม่ลงมา ทำบันได เป็นบันไดผูกขึ้นไป แล้วถีบบันไดทิ้ง มี ๒ องค์สำเร็จไป พอสำเร็จก็เหาะลงมา อีก ๓ องค์ไม่ยอม และอีกองค์หนึ่งได้อนาคา ก็ตายบนนั้น แล้วนี่พระพาหิยะก็ตายบนนั้นด้วย

ได้สร้างบุญกุศลขนาดนี้ แต่มันไม่ถึงที่สุดไง แล้วพอมาเกิดเป็นพระหาหิยะนี่ เรือแตก เรือแตกกลับมาก็เห็น ขึ้นมานี่ก็ มันไม่มีอะไรมา เปลือยกายมา พอขึ้นไป ประชาชนก็เอา นุ่งเปลือกไม้ พอนุ่งเปลือกไม้ อู้หูย คนก็ เขาเคารพนบนอบกันใหญ่เลย โอ้โฮ มหัศจรรย์ สิ่งมหัศจรรย์ เขาตื่นเต้นกัน เขาก็เอาลาภสักการะมาถวายมากเลย ตัวเองก็สมอ้างเป็นพระอรหันต์ไปเลย กิเลสทั้งนั้นน่ะ

นี่ เพื่อน ในสิ่งที่เคยปฏิบัติกันนะ ๕ องค์ นี่มาเตือน ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ ท่านไม่ใช่ พระอรหันต์นู่น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดแล้วน่ะ ก็ไปฟังเทศน์ไง ไปฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ไง

“พระพุทธเจ้าบอกบิณฑบาตอยู่”

“คนเราชีวิตมันอาจจะสั้น ขอให้เทศน์เถิด อะไรก็ได้”

พอเทศน์ปั๊บ ปิ๊ง พระอรหันต์เลย เพราะอะไร เพราะสร้างมาขนาดนี้ ขอบวช เอหิภิกขุ “เธอไม่มีบริขาร”

ไปหาบริขารอยู่ควายขวิดตายเห็นไหม นี่เราจะบอกว่า การเห็นจริงน่ะ เห็นจริงได้ เห็นโดยนิมิตจากภายในก็ได้ จากภายในนิมิตนี่มันแบบว่ามันเห็นของมันเอง ทีนี้การเห็นยังไงก็แล้วแต่ เราจะบอกว่า เห็นสิ่งนี้มันเป็นเรื่องของส่งออก มันต้องเห็นนะ เรามีเครือญาติ เครือญาติก็เครือญาติใช่ไหม แต่เครือญาติเป็นเราหรือเปล่า ไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่นี่ สิ่งที่อะไรก็แล้วแต่ รับรู้ แล้วต้องกลับมาที่ตัวเรา

การแก้กิเลสคือการแก้ที่ใจเรา ภวาสวะภพนะ อวิชชาสวะ ภวาสวะ กิเลสสวะ ตัวภวาสวะ ตัวภพ ติวจิตน่ะ กิเลสมันอยู่ที่นี่ ถ้ากิเลสอยู่ที่นี่น่ะ จะไปทำอะไรก็แล้วแต่นะ สูญเปล่า เนิ่นช้า เสียเวลาทั้งนั้นเลย ย้อนกลับมาที่จิตนี่ กลับมาที่ฐานของมัน กลับมาแก้กิเลสที่นี่ ต้องกลับมาสงบที่นี่ แล้วเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น สิ่งอื่นแก้กิเลสไม่ได้ แต่จะบอกว่าไม่มีไม่ได้

เห็นไหม พอบอกว่าพุทโธ พุทโธนี่จะเกิดนิมิต จะติดนิมิต ไม่ใช่ ย้อนกลับมาพันธุกรรมอีกล่ะ พันธุ์พืชอย่างนั้น จิตอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนั้น สิ่งที่เห็นคือจิตมันสร้างมาอย่างนั้น เหมือนกับคนที่มันเป็นโรคเป็นภัย มันเป็นโรคนั้นน่ะ แล้วบอกมันห้ามไม่ให้เป็นได้อย่างไร จิตที่มันเป็นโรคนั้น มันเป็นคุณสมบัติอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น แล้วครูบาอาจารย์ต้องแก้ไขไปตามข้อเท็จจริงนั้น ไม่ใช่ว่าห้ามมี ไม่ให้มี ไม่ใช่ มันมีของมันอย่างนั้น พอมีของมันอย่างนั้น ทำไปมันถึงเกิดผลอย่างนั้น แล้วเกิดผลอย่างนั้น เราจะแก้ไขอย่างไร เราต้องมีครูบาอาจารย์ที่แก้ไข

นี่ไง ครูบาอาจารย์สำคัญตรงนี้ไง เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ มันทำมาเองทั้งนั้น ใจมันทำมา มันถึงเป็นผลอย่างนั้น นี่ไง พระพุทธเจ้าถึงมาเปิดกว้าง นี่ดูตามที่ว่า ขั้นของปัญญา เห็นไหม ขนาดของปัญญานี่ไม่มีขอบเขตเลย ขั้นของสมาธินี่ ขั้นของฌานนี่ ๔๐ ห้อง ๔๐ วิธีการ แต่พระไปพูดกันนะ อันนู้นผิดหมดเลย ต้องของฉันคนเดียว ไอ้เราพูดถึงคำบริกรรมไง คำบริกรรมต้องมีคำบริกรรม ถ้ามีคำบริกรรมมันมีการกระทำของมัน มีกิจจะ มีกิจ ไม่มีกิจเป็นสมาธิไม่ได้

ถ้ามันเป็นที่ว่า รู้ว่าว่างเห็นไหม เราใช้คำว่ารู้ว่าว่างทุกทีเลย รู้ว่าว่าง นี่เราดูสิ ดูข่าวสิ เราดูละครสิ เรามีอารมณ์ร่วมกับเขา แล้วเราดูภาพที่มันสะอาด ดูเพ่งกสิณสิ มันก็รู้ว่าว่าง แต่ตัวมันว่างหรือเปล่า ถ้าตัวมันไม่ว่างไม่ใช่สมาธิ มันไปรู้ว่าว่าง ตัวมันเองไม่ว่าง ถ้าตัวมันเองไม่ว่าง ตัวเองไม่มีกำลัง ถ้าตัวเองไม่มีกำลัง ตัวเองวิปัสสนาไม่ได้ รู้ว่าว่าง ว่าง ว่าง

นี่มันบอกเลยนะ โมกขราชนะ นี่ดูโลกให้ว่างๆ แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ ที่รู้ว่าว่างนั้น อัตตานุทิฏฐิ อยู่ที่ตัวจิตนี้ ไอ้นี่รู้ว่าว่าง แล้วก็ว่าง แล้วก็ว่างกันไป ก็เหมือนกับ ทางคฤหัสถ์ เห็นไหม พระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวาง มันก็ปล่อยวาง ว่างกันหมดน่ะ ว่างแบบขี้ลอยน้ำไง ขี้ลอยไปในน้ำนี่ ไปตามประสา ยถากรรมน่ะ มันว่ามันว่าง ก็ว่างซิ ก็ว่างเพราะมึงไม่มีประโยชน์ไง ว่างเพราะมึงไม่มีสติ ว่างเพราะมึงไม่รู้จักอะไรเลย

พระพุทธเจ้าไม่สอนอย่างนั้นหรอก ว่างมีสติเว้ย ตัวเราว่างเว้ย เรามีกำลังเว้ย แล้วมันจะว่างได้อย่างไร ถ้าไม่มีคำบริกรรม นี่ไงมันถึงบอกว่า ที่ปัญญาอบรมสมาธิกับที่เพ่งดูกันน่ะ ไม่ใช่หรอก เพ่งดูก็อย่างนี้ เพ่งดูก็เหมือนกับว่างนี่ล่ะ แต่ถ้าพูดถึงถ้าปัญญาอบรมสมาธินี่ ปัญญาอบรมสมาธิเห็นไหม คำว่าปัญญาอบรมสมาธินี้มีการกระทำไหม ถ้าไม่มีการกระทำ มันจะแบ่งแยกถูกผิดได้อย่างไร คิดอย่างนี้นะ เอ็งคิดมากี่ร้อยกี่พันหนละ คิดอย่างนี้ มึงเหยียบหัวใจตัวเองมากี่พันครั้งละ

เดี๋ยวก็ร้องไห้ เดี๋ยวก็ร้องไห้ เดี๋ยวก็คิดอีกละ แล้วทำไมมันถึงคิดละ ก็มึงมันโง่ มันก็เห็นผลเห็นโทษไง มันย้อนกลับไง นี่ปัญญามันจะแยกอย่างนี้ แล้วพอมันโง่ พอมันไม่คิด ไม่คิดอยู่ไหน ไม่คิดมันก็ปล่อยวาง ปัญญาอบรมสมาธิ แล้วพอมันสงบไปเรื่อยๆ สงบไปเรื่อยๆ มันทันไปเรื่อยๆ ช่องระหว่างความคิดมันก็ห่างขึ้นเรื่อยๆ ห่างขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าใหม่ๆ ว่า พอหยุดปั๊บ เดี๋ยวคิดแล้ว หยุดแค่แป๊บเดียว แล้วไหนสมาธิอยู่ไหนวะ หยุดแป๊บเดียว หยุดแป๊บเดียวก็เห็นเหมือนกับคนทำงานเป็นน่ะ แยกไปเรื่อยๆ แยกไปเรื่อยๆ แล้วพอมีสติ มีสติเห็นไหม นี่จับผู้ต้องหา จิตนี้มันเป็นตัวอวิชชา จิตนี้เป็นตัวพลังงาน แล้วมันคิดอย่างไร มันเสวยอารมณ์ไง ขณะที่มันเสวยอารมณ์นี่ เราจะเห็นการ จิตเห็นอาการของจิต จิต ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด อาการของจิตกับตัวจิตมันคนละอันกัน แต่มันธรรมชาติของมันไวมาก มันจะเร็วมาก มันจะประสานกันตลอดเวลา

แล้วเราไปเห็น เราไปหยุดมันได้ เราเห็นช่องว่างของมัน เห็นช่องว่างของมันปั๊บ แล้วมันกลับมาคิดอีกนี่ มันคิดอย่างไร จับได้หมดเลย พอจับได้ปั๊บ อ๋อ พอพลังงานเข้าไปปั๊บ มันก็เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรเป็นรูป ก็ความรู้สึก ความคิดนี่เป็นรูป เวทนาคือความพอใจ คิดดีก็ แหม สุข คิดไม่ดีก็ทุกข์ แล้วมันคิดได้อย่างไร มันต้องมีข้อมูล ข้อมูลคือสัญญา แล้วสัญญามันเป็นอย่างไร สัญญามันต้องมีสังขารปรุง ถ้าสังขารไม่ปรุงมันจะคิดได้อย่างไร

แล้วคิดขึ้นมานี่ ถ้าไม่มีการประสาน ใครประสานขึ้นมาให้เป็นอารมณ์ความรู้สึก มันจะประสานได้อย่างไร ก็มีวิญญาณ ชัดเจน ชัดเจนมาก แยกพั่บ! เหมือนกงล้อนี่มันหมุนไปไม่ได้ เพราะเราตัดกงล้อให้มันหมุนไปไม่ได้แล้ว หยุด ความคิดไม่ได้ กูจะกดให้หยุดตรงไหนก็ได้ กดไม่ให้คิดยังไงก็ได้ คิดไปจนถึงที่สุดแล้วนี่ มันกำลังมันพอ มันแตกนะ ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แยกพั่บ! โสดาบัน

ขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ชัดเจน ไม่ต้องมีใครบอกหรอก ถ้าคนบอกยังสงสัยอยู่ ไม่ต้องมีใครบอก จิตประกาศในหัวใจเอง มันมีคนทำมาได้แล้ว พยานหลักฐานยืนยันได้ นี่ปัญญาวิมุตติ ไม่ใช่มาโอ้โลม ปฏิโลม มาผูกข้อมือกันอยู่นั่น ผูกกันไปก็ผูกกันมา เวรกรรม

โยม : หลวงพ่อครับ เรารู้สึกว่า มันมีความคิด ๒ อัน เถียงกันอยู่ อันหนึ่งเรารู้สึกเหมือนกับว่า มันพยายามจะดึงเราไปให้หลุดวงโคจร อีกอันหนึ่งเราก็อยากจะดึงรั้งไว้ อันนี้มันเป็นความบ้าของเราหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ไม่ ที่เราพูดเมื่อกี้ ว่าเกมส์คอมพิวเตอร์ เกมส์ที่เด็กๆ มันเล่น เห็นไหม แพ้กับชนะไง แล้วความคิดอย่างนี้เกิดขึ้นมานี่ นี่เริ่มทำงานได้แล้ว ถ้าเริ่มทำงานได้แล้วนะ มันจะรั้งกัน ความคิด ๒ อันจะรั้งกัน ความคิดอันหนึ่ง นี่หลวงตาพูดอยู่ ถ้าธรรมนั่งในหัวใจ จะสุขมาก ถ้าความคิดบวก คิดแล้วเห็นผลเห็นโทษนะ คิดแล้วมันปล่อยหมด อู๋ย สุขจริงๆ แต่ถ้าความคิดนั้นกำลังไม่พอนะ โดยสัญชาตญาณของกิเลส มันต้องคิดให้เรา ไขว้เขว คิดให้เราผิดพลาด พอกิเลสมันนั่งในหัวใจนะ โห หงายเตี้ยวเลย

วิธีแก้ ถ้ามันคิด เรารู้ทันนี่ เราก็ต้องคิดไปในแง่บวก ถ้ามันเป็นไปได้ ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ ต้องกลับมาพุทโธทันที ขณะที่ความคิด มันคิดไปไม่ได้นี่ แสดงว่ากำลังไม่พอแล้ว กำลังไม่พอ ถ้ามันคิด ถ้ามันยังยื้อกันอยู่นี่ ถ้ามันยื้อปั๊บ ถ้าเราไปไม่ได้นะ ทิ้งทันที มีดน่ะทื่อแล้ว กลับมาลับมีดก่อน เอามีดมึงไปหาหิน อย่าเอามีดไปฟันเขา ฟันไม่เข้าหรอก ดึงมีดกลับมา แล้วก็ไปลับหิน ลับหิน พุทโธ พุทโธ พุทโธ เอาให้อยู่ก่อน ชัดเจนอย่างนี้

มันจะเป็นอย่างนี้โดยธรรมชาติ เพราะ เพราะกิเลสมันยังไม่ขาด กิเลสนี่ฉลาดมาก พอเวลาวิปัสสนาไป ถ้ากำลังเราดี มันหลบนะ หลบนี่มันก็ปล่อยว่างนะ นี่เป็นตทังคปหาน การประหารกิเลสชั่วคราว แล้วคนนี่เผลอ คนเรานี่ชะล่าใจ ปล่อยให้มันเสื่อมไป มันเป็นการหลบของกิเลส ที่มันซุกอยู่ใต้พรม แล้วเราเข้าใจผิด โอ๋ย ว่าง มีความสุขมาก เดี๋ยวมึงจะตาย ตื่นขึ้นมานะ กิเลสตื่นขึ้นมานะ มึงก็ล้มกลิ้งเลย

ถึงต้องซ้ำไง ไปดูธรรมะในมุตโตทัย ไปดูธรรมของหลวงตา ไปดูธรรมของครูบาอาจารย์ที่ภาวนาเป็น บอกต้องหมั่นคราด หมั่นไถ ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดไป ชะล่าใจไม่ได้ พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า ขั้นของปัญญาน่ะปล่อยวางแล้วปล่อยวางเล่า ปล่อยวางแล้วปล่อยวางเล่า มันต้องทำไปซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอด อย่างนั้นตลอดไป แล้วถ้าทำไม่ได้ กลับมาพุทโธทันที

ซ้ำถึงที่สุดแล้ว มันต้องเป็นไปสิ หน้าที่ของเรานี้ทุบหินน่ะ ทุบมันทุกวันน่ะ แตกไม่แตกช่างหัวมึง กูทุบทุกวันน่ะ ไอ้นี่มันทุบผิดไง ไปทุบเอาที่ว่างๆ ก็นึกว่าหินมันมี ถ้ามันกำลังไม่ได้ กลับมาพุทโธทันที ถ้ามันพิจารณาไปแล้ว มันผลัวะ!ๆ ผลัวะ! เลยนะ ถ้าปัญญา ไอ้สมาธิดีนี่ โอ้โฮ สนุก แล้วแบบว่า องอาจมากเลยนะ เหมือนท้าเลยนะ กิเลสอยู่ไหนวะ ไอ้ห่า ผลัวะ! หาย ว่างหมดเลย

ถ้าสมาธิดีๆ นะ ถ้าสมาธิไม่ดีล่ะ โอ้โฮ ยื้อแล้วยื้ออีกเลย เหนื่อยก็เหนื่อย ทุกข์ก็ทุกข์ กูจะไปได้ไม่ได้วะ เพราะมันถอยไม่เป็นไง มันไม่รู้จักถอยมาที่สงบ ใหม่ๆ ทุกคนไม่เป็น หัวทิ่มหัวตำมาตลอดทั้งนั้น คนที่ปฏิบัติแล้วถูกเลย ไม่มี พระพุทธเจ้า ๖ ปี

ฉะนั้นมันต้องหัวทิ่มหัวตำอย่างนี้ จนเข็ดน่ะ จนกิเลสมันหลอกจน โอ้โฮ เซ่อจน เอ้อ จนเข็ด จนเข้าใจ เอ้อ มึงหลายรอบแล้วนะ มึงหลอกกูหลายทีแล้ว มึงหลอกกูหลายที เดี๋ยวเอาใหม่

อย่างนี้จริงๆ ถ้าทำนะ ถ้าทำแล้วมันมีการก้าวเดิน มันมีการพัฒนา มันจะเป็นอย่างนี้ วิปัสสนานี่ก็เหมือนกันนะ เวลาเราเห็นกายนี่ เจโตวิมุตติน่ะ เห็นจิตสงบแล้ว ตั้งกายขึ้นมา ถ้ากำลังไม่พอนี่ มันยังหลุดเลย มันยังโยกยังจับไม่ได้เลย ไม่ได้ทิ้งเลย นี่เราได้อย่างนี้มาจากหลวงปู่เจี๊ยะ ของเราเองนี่ เราได้ทางปัญญามากับหลวงตา แล้วมาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะกระทืบเอา เห็นเราเป็นพระเด็กๆ ไง

มึงน่ะ จำของอาจารย์มาทั้งนั้นน่ะ ถ้ามึงจะทำได้ มึงต้องพิจารณากายได้ อ้าว ได้ก็ต้องได้สิวะ เราก็ภาวนาเห็นเลยนะขึ้นมา ถ้ากำลังดีๆ นี่มันละลาย ฟ๊าบ ฟ๊าบเลย ทำอีกๆ ถ้ากำลังไม่พอนี่ไม่ได้ละ ไม่ได้แล้วกลับมา กลับมาพุทโธ กลับมาพุทโธ กลับมาตั้งใหม่ ไม่ใช่พูดนะ นี่แบ่งตรงนี้ชัดเจน เพราะว่า ทำมา ๒ อย่าง แล้วชัดเจน แขนซ้ายแขนขวา ถนัดซ้ายก็เขียนไปอย่างหนึ่ง ถนัดขวาก็เขียนไปอย่างหนึ่ง แล้วกูเขียนได้ ๒ มือ

แล้วมันทำไม มันจะเป็นไปไม่ได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้ เพราะเราทำไม่ถึงเท่านั้นเอง จะเดินไปซื้ออาหารกินนี่ เดินไปไม่ถึงร้านก็บอกอาหารไม่มี ก็มึงเดินไปไม่ถึงร้าน มึงเดินไปที่ร้านสิ อาหารเต็มร้านเลย พอเดินยังไม่ครึ่งทางน่ะ หมดแล้ว กลับเถอะ ไม่มีแล้ว สงสัยปิดร้านแล้ว ไอ้นู้นก็ไม่มี ไอ้นี่ก็ไม่มี ก็เอ็งเดินยังไปไม่ถึงร้านมันเลย เอ็งยังไม่เห็นร้านเลย แล้วเอ็งจะเห็นอาหารได้อย่างไร

บางทีเราพูดบ่อยเลย ของทั้งๆ ที่มันอยู่ในหัวใจเรานี่นะ อยู่กลางอกนี่เอง แล้วหากัน เวลาเราคุยกับโยมนี่เราพูดอย่างนี้ แล้วไปดูพระเราสิ พระเรานี่ปฏิบัติมากี่ปีล่ะ ๑๐ ปี ๑๐ พรรษาก็มี ๙ พรรษา ๘ พรรษา ๗ พรรษานี่ ฝึกมาเต็มที่เหมือนกัน ดูสินี่ เรานี่พยายามอย่างเดียวเลย ทีนี้บางทีมันแรงไม่ได้ มันแรงไม่ได้เพราะแดดมันร้อน บางทีเราจะให้เขาทำทั้งวันๆ ไม่ได้ เขาหลบแดดเราก็ทำเป็นมองไม่เห็น แต่ถ้ามันเป็นต้นไม้ครึ้มๆ นะ มึงทำไมไม่ทำ งานมึงน่ะ มึงจะมายุ่งอะไรงานของเขา ไอ้นี่ไปแย่งโลกเขาทำนะ

งานนี้โลกเขาทำกันนะ งานของพระมันก็ทางจงกรมน่ะ ฉะนั้นพระบางทีถึงไม่ให้รับผิดชอบมากเกินไป ให้รับผิดชอบเฉพาะ ก็อย่างนี้ เหมือนกัน นี่เวลาพูดอย่างนี้ พูดเพื่อให้โยมออก ให้มีกำลังใจประพฤติปฏิบัติ แล้วพระมันนักปฏิบัติอยู่แล้ว นักสู้อยู่แล้ว ทำไมไม่บี้มัน แล้วบี้ขึ้นมา มันจะมีกี่องค์ขึ้นมา จะมีเป็นศาสนทายาท

ครูบาอาจารย์ที่มีหลักนะ จะพูดอย่างนี้ทุกคนน่ะ สร้างพระได้องค์หนึ่งน่ะ ประโยชน์มหาศาลเลย นี่พระเจ้าอโศกน่ะ สร้างวัด ๘๔,๐๐๐ วัดไง เป็นญาติกับศาสนาหรือยัง? ยัง ต้องไปเอาพระมหินมาบวชน่ะ สร้างวัด ๘๔,๐๐๐ วัด ยังไม่เป็นญาติกับศาสนาสักนิดหนึ่งเลย ก็สร้างวัตถุน่ะ ถามว่าแล้วตัวเองจะเป็นญาติกับศาสนาได้อย่างไร ก็ต้องไปเอาลูกมาบวช นี่ไง ประเพณีบวชลูกนี่ไง เอาลูกมาบวชจะเป็นญาติกับศาสนา

นี่ก็เหมือนกันน่ะ เราเอาลูกเข้าไปค้ำศาสนา เห็นไหม พ่อแม่นี่เอาลูกไปบวช ไปบวชเพื่ออะไร เพื่อตัวเองเอาไข่ เอาเลือด เอาเนื้อ เอาเชื้อไขของเรานี่ไปค้ำศาสนาไว้ สืบทอดศาสนา ๑๖ กับ แค่บวชนี่แหละ เพราะอะไร เพราะนี่ยามเฝ้าแผ่นดิน นี่ยามเฝ้าศาสนา พระนี่ ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมา พระไม่เคยขาดเลย ถ้าพระขาดไม่ครบสงฆ์ บวชไม่ได้

นี่เวลาเป็นญาติกับศาสนา เอาลูกมาบวชไง นี่เราสร้างวัดมา ๘๔,๐๐๐ วัด แล้วนี่เรา ถ้าปลุกปลอบใจไง นี่ครูบาอาจารย์ยังต้องปลุกปลอบใจ ปลุกปลอบใจไปที่ไหน มันก็ทวนกระแสกลับมาที่ใจเรานี่ไง สู้กับตัวเอง สู้กับกิเลส เวลาอย่างที่ว่านี่ เวลานี่โยมถาม เวลาภาวนาเป็นอย่างนั้นน่ะ สนุกนะถ้าภาวนา แต่เวลามัน มันไม่ใช่สนุกอย่างเดียว กีฬาน่ะแข่งชนะทุกนัด ทุกนัดไป มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันก็มีแพ้เหมือนกัน มันมีแพ้ มีท้อถอยเหมือนกันน่ะ แล้วไอ้แพ้นี่มันง่ายด้วย ไอ้ชนะนี่น้อยนัก

แล้วพอชนะได้นี่ พื้นฐาน เริ่มต้นนี่ การปฏิบัติเริ่มต้นนี่ยากที่สุด กับขั้นสุดท้าย เพราะ เพราะเริ่มต้นนี่มันจับต้นชนปลายอะไรไม่ถูกเลย แต่พอได้ขั้นแรกไปแล้วนี่ มันเป็นสาย มันเหมือนกับ มันเป็นข้อต่อ เพราะขันธ์นอก ขันธ์ใน เห็นไหม มันมีข้อต่อมันสืบต่อกันได้จาก โสดาบัน สกิทาคานี่มันข้อต่อกันได้ ถ้าพิจารณากาย เห็นไหม พิจารณากาย กายนอก กายใน กายในกาย

แล้วพอถึงที่สุดแล้วนี่ นี่กายไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่กาย มันตัดพั่บเลย มันจะหมด มันจะว่างหมด พอว่างหมดมันก็เหมือนกับขั้นแรก คือต้องหาใหม่ ต้องหาใหม่เห็นไหม หาใหม่หาใคร หาอวิชชา คือพลังงานน่ะ ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด คิดทีไรความคิดน่ะมันเป็นขันธ์ มันเป็นสัญญา มันเป็นสัญญาเห็นความคิด ความปรุง ความแต่งนี่ ปัญญาอย่างหยาบๆ เห็นไหม

แต่เวลาถึงที่สุดแล้วนี่ ไอ้ปัญญาญาณนี่มันคิดไม่ได้เลย ตัวมันเองมันคิดไม่ได้ แล้วตัวมันคิดไม่ได้นี่ มันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร แล้วปัญญา ตัวปัญญาที่มันจะทำลายตัวมันเองน่ะ มันทำลายได้อย่างไร นี่ที่ว่ามันยาก มันยากอย่างนี้ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยสะกิดนะ นิพพานแน่นอน เพราะมันว่างหมด ว่างหมด แต่ทิฐิในตัวมันเองมี

หลวงตาพูดเห็นไหม ว่างข้างนอก ข้างในยังไม่ว่าง ต้องว่างข้างนอกด้วย แล้วต้องตัวเองต้องว่างด้วย ว่างหมดเลย โลกนี่ บ้านนี่ว่างหมด แต่ยืนขวางอยู่นั่นน่ะ มันไม่เห็นหรอก แล้วใครสะกิดให้มันเห็นได้ล่ะ ในเมื่อมันคิดว่ามันว่างหมดน่ะ ก็เราเข้าไปในบ้าน มองไปสิ กวาดไป ว่างหมดเลย กวาดไปทางไหนมันก็เห็นหมด ว่างหมดทำไง เพราะตามันส่งออก แล้วมีอะไรสกปรกล่ะ ก็บ้านกูสะอาด แล้วใครจะบอกว่า มึงนั่นน่ะขวางอยู่ ก็ตัวกูเป็นคนบอกว่าง กูจะบอกมึงได้อย่างไร ก็กูเป็นคนบอกว่าว่างน่ะ

อ้า ลองทำไปสิ มันส์น่าดูเลย ตัวเองทะเลาะกับตัวเองนี่ล่ะ โอ๋ย เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปนี่ เจ๊าะ เจ๊าะ เจ๊าะ เล่นกันเองเลยล่ะ

โยม : อย่างหลวงพ่อบอกว่าเล่นกับตัวเอง เหมือนเกมส์คอมพิวเตอร์น่ะมันส์น่าดูเลย โลกทั่วๆ ไปน่ะ เขาชอบเล่นกับเกมส์ข้างนอก คราวนี้มีวิธี หรือว่ามี หรือประเภทของคนนี่ มันเป็นอย่างไร ทำไมถึงชอบ โดยจำนวนคนน่ะหลวงพ่อ ชอบเล่นกับเกมส์ข้างนอกมากกว่าเยอะมากเลย

หลวงพ่อ : แน่นอน เพราะมันเป็น นี่ไงพระพุทธเจ้าใช้คำนี้คำเดียว จบเลยนะ ตามกระแสกับทวนกระแส โลกคือการตามกระแสไป นั่นมันเรื่องของโลก แต่ธรรมะคือการทวนกระแส แล้วการทวนกระแสนี้ คนทำได้น้อยมากๆ มันทวนกระแสเข้าไปไง เหนื่อยว่าอย่างนั้นเถอะ ทุกคนน่ะ ลอยคอไปตามน้ำ แล้วมีอยู่คนๆ หนึ่ง คนบ้า มันดันว่ายน้ำ ว่ายทวนน้ำขึ้นไป นี่การปฏิบัติคือว่ายทวนน้ำ ทวนเข้าไปหาใจของตัวเองไง

โยม : แล้วอย่างคนตอนนี้ มันกำลังทวน กำลังตามๆ กระแสอยู่ ฟังคราวนี้เกิดปิ๊ง อยากทวนบ้าง กลับไปมันก็ตามอีกแล้ว

หลวงพ่อ : ก็เพราะมันมีเชื้ออวิชชามันครอบงำอยู่แล้วโดยธรรมชาติ มันก็ต้องแบบว่ามีความเข้มแข็ง มันต้องมีความเข้มแข็ง เพราะธรรมดานี่ อย่างโยมนี่ พูดจริงๆ พูดน่าสงสาร คิดได้เลยนะ อย่างเช่นไปปฏิบัติสิ

อย่างที่หลวงตาท่านพูดเห็นไหม เวลาท่านเรียนอยู่นี่ ไปเดินจงกรมสิ หูย จะไปนิพพานแล้วหรือ อย่าเพิ่งไปนะ แม้แต่พระยังแซวกันเลย นับประสาอะไรกับโยม พระก็พระ มึงปฏิบัติให้มันดูสิ มันหัวเราะเยาะมึงเลย นิพพานไม่มีหรอก เว้นไว้แต่ มาปฏิบัติกันในวงของกรรมฐาน ในวงครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นของจริงนี่ต่างหากล่ะ

ที่หลวงตาบอก ต่อไปไปวัดเขาหัวเราะเยาะจนไม่กล้าเข้าวัด ต่อไปน่ะ นี่พูดว่าอย่างนี้ ไม่ใช่ไปเอาส่วนที่สังคมนั้นเป็นใหญ่ไง เราคนเดียวต่างหากที่ต้องต่อต้านมัน เราคนเดียวต่างหากนี่แหละ ถ้าต่อต้านได้นี่ จิตใจมันเข้มแข็งจากภายในไง แล้วเราต่อต้านเอง แล้วเราทวนกระแสเอง เราเข้าไปทำของเราเอง มันอย่างนี้ มันถึงบอกว่า เวลาที่ว่า นี่พระพุทธเจ้าเห็นไหม

๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย พระอรหันต์น่ะแสนกัป จะบอกเลยว่ามันอยู่ที่จิตตัวนี้ด้วย ถ้ามีจิตตัวนี้ปั๊บนี่ ความคิด ความองอาจของมัน จิตตัวนี้มันยืนทวนกระแสได้ไง ไม่อย่างนั้นนะ มันบารมีไม่ไหว กำลังของจิตนี่มันไม่ไหว มันสู้ไม่ไหว ดูสิ นี่อธิษฐานเลยน่ะ ตลอดรุ่งอยู่คนเดียวในห้องนี่ มึงสู้ไหวไหมล่ะ ไม่มีใครเห็นน่ะ กูนอน ขอนอนสักหน่อยไม่ได้หรือ

คือเราตั้งสัจจะของเราเอง เราก็ต้องมั่นคงกับสัจจะของเราเองน่ะ เพราะยิ่งใหม่ๆ นี่ เรานะไปอยู่ในสังคมที่ว่า เขาบอกว่า วัดปฏิบัติก็ไปหาแล้ว แต่เวลาไปจริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้ทำกัน พอไปทำอย่างนี้ โธ่ มีพระนะ เวลามาอยู่โพธารามใหม่ๆ พระนี่ไฟแรงมาก จบหมอ แล้วทำฎีกาถวายในหลวงเลย บอกไม่รับปริญญา จะบวช บวชปีเดียวน่ะ เรากลับมาอยู่โพธาราม กลับมาสึกเลย

เรารู้แล้ว เราก็พยายามพูดนะ สัจธรรมมีนะมึง ไอ้นั่นมันศาสนบุคคล นี่ไปเจอในสังคมมันท้อถอยไง สึก แต่สึกไปเรากลัวเขาจะปฏิเสธศาสนาไปเลย เราพยายามกล่อม เขาบอกเขาเข้าใจ เขาว่าเขาเข้าใจ เขาเชื่อมั่นในศาสนา สึกแล้วจะไม่ทิ้งไง แล้วนี่พอสึกแล้ว ตอนนี้เป็นอาจารย์หมออยู่ขอนแก่น คนโพธารามนี่ ไฟแรงขนาดนี้นะ เข้าไปเจออุปสรรคหน่อยเดียว ทิ้งเลย

เราพูดให้เขาฟัง นี่คำนี้ เพราะเราพูดอย่างนี้ได้ เพราะเรามีประสบการณ์ไง เวลาเราพูดให้เขาฟังนะ เพื่อให้กำลังใจเขานะ มึงเห็นหมาทั้งฝูงไหม รุมกัดหมาตัวเดียว หมาตัวเดียวโดนหมาทั้งฝูงกัด เอ็งเห็นไหม เห็นภาพไหม กูคือหมาตัวนั้น กูเคยโดนหมารุมกัดมามากมายมหาศาลเลย เพราะบวชพรรษาแรก ไฟแรงมาก ไม่รู้ก็อ่านหนังสือเอา อ่านหนังสือว่า ต้องถือธุดงควัตรใช่ไหม ไม่นอน

ทั้งไม่นอน ทั้งถือธุดงค์ พอทีนี้คนก็ แปลกนะพระเพิ่งบวชพรรษาเดียว เพิ่งบวช ยังไม่มีพรรษาเลย คนเขาเห็นถือ เออ เขาก็ชื่นใจด้วย เขามาใส่บาตรมาก เขามาถามว่า “พระธุดงค์อยู่ไหน? พระธุดงค์อยู่ไหน?” ธุดงควัตรไง หัวหน้ามันก็อิจฉาใช่ไหม โอ้โฮ ทำอะไรไม่ได้เลยนะ ทีแรกก็ไม่รู้ ก็นึกว่าทำดีแล้วคือดีไง นี่มีคนมาบอก ทุกคน ลูกศิษย์มานี่ หลวงพ่อทำดีก็คือดี อู้ฮู ทำดีต้องมีคนสนับสนุน เออ มึงคิด มึงคิด เดี๋ยวมึงจะตาย ทำดีไปเถอะ

เหรียญมันมี ๒ ด้านทั้งนั้นน่ะ คนดีกับเราก็จะเห็นว่าดี ไอ้โจรมันมาเห็นไม่ดีหรอก ไอ้โจรมันเห็นน่ะ กูต้องฆ่ามึงก่อน มึงมาขวางกูนี่ มึงตายก่อน ทำดีแล้วคนจะเห็นดีกับมึงนี่ เขาจะวางยามึง เขาจะทำลายมึงก่อน ไม่รู้ เมื่อก่อนไม่รู้หรอก แต่มันมีประสบการณ์ โอ้โฮ พรรษาแรกนะ หมาตัวนั้นโดนกัด โดนกัด โอ้โฮ พอมารู้ โอ้ เป็นอย่างนี้เนอะ

แล้วก็ที่ว่า เราก็ดูหนังสือเอง อะไรเองนี่ จนเราก็ทำของเรา จนจิตมันเป็นสมาธินะ อดนอน พอเวลามันหิวนอนนี่ มันทุกข์มาก เวลานั่งเห็นไหม พอนั่งกลางคืนนี่ ตี ๓ ตี ๔ น่ะ มันสติมันวูบ หงายหลังนี่หัวฟาดพื้น ตึ๊ง! รีบลุกเลย เพราะอะไร เพราะเนสัชชิกนี่ขาดต่อเมื่อหลังติดพื้นไง แต่ขณะที่สติมันขาดนี่ไม่ถือ ตึ๊ง! หัวนี่ฟาดเลยนะ

นี่ เคยนะ แล้วพอเป็นอย่างนั้น กลับมาที่เรา กลับมาที่เรา เราทำอยู่ อุกฤษฏ์ขนาดนั้นนะ แล้วอุกฤษฏ์ขนาดนั้นมันก็เกิด เกิดสมาธินะ เกิดเห็นนี่ เราอย่างที่ว่า เราถึงกล้าพูด กล้าพูดว่าจริตนิสัยน่ะ แต่เราไม่รู้หรอก เราพอจิตมันสงบนะ เพราะมันถือเนสัชชิก มันไม่นอนเลย แล้วอดอาหารด้วย

พอจิตมันสงบนี่ มันเห็นเป็นก้อนเนื้อนี่ ก้อนเนื้อแดงๆ นะเหมือนกับเราหมุน เราหมุนย่างเนื้อวัว มันเป็นก้อนเนื้อ เป็นล้อใหญ่ๆ นี่ หมุนเข้ามาทับเราน่ะ พอหมุนเข้ามานี่ นั่งสมาธินี่ จิตนี่เรามารู้ทีหลัง รู้ทีหลัง เพราะเวลาเราปฏิบัติแล้วเราจะเข้าใจ

พอจิต ถ้าคนจิตมันไม่สงบ มันจะเห็นก้อนเนื้ออย่างนั้นไม่ได้ จิตสงบแล้วเห็นกายขึ้นมานี่ แล้วกายนี่มันเคลื่อนเข้ามาทับเรา จิตต้องสงบ ไม่สงบเห็นอย่างนั้นไม่ได้ ขนาดจิตสงบอย่างนั้นน่ะ ความตกใจนี่ สมาธินี่แตกออกจากสมาธิเลย ผงะออกจากสมาธิมาเลย

แล้วมันปรึกษาใครไม่ได้ สอนใครไม่ได้ เราก็คิด เราก็เข้าใจว่า เราต้องพิจารณากาย เพราะมันมีพยานยืนยันต่อเมื่อพิจารณาเห็น ๒ รอบ พรรษาหนึ่งเห็นอย่างนี้ ๒ ครั้ง

ก็ตัวเองเข้าใจว่า เราต้องพิจารณากาย พอทำไป ทำไป มันจืดไปเรื่อยๆ ชา ชินชาไปเรื่อยๆ ทำอย่างไรก็ไปไม่ได้ สุดท้าย เอ๊ะ อย่างนี้อะไรก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ โอ๋ย เสื่อมหมดเลย เวลาจิตเสื่อม เสื่อมเกลี้ยงเลย แล้วเสื่อมเกลี้ยงเลย แล้วก็นี่ทำอย่างนี้ มันก็นี่ ที่ว่าไปหาอาจารย์จวน

อาจารย์จวนก็อวิชชามึงยังหยาบนี่ ก็กลับมา นี่ถ้าอย่างนี้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิไปเรื่อยๆ แล้วมันก็เริ่มตัด มันเริ่มตัดเพราะอะไร เพราะว่า มัน มันจะแก้ตัวเอง แล้วพอมันแก้ตัวเองนี่ มันต้องผ่อนอาหาร

ทีนี้ผ่อนอาหารนี่อยู่ในป่านะ ที่นั่นอยู่ในป่านี่ดูสิ โอ้โฮ ถ้าว่าเมื่อก่อน มันลึกขนาดไหน แล้วเณรมันก็ไปเก็บไอ้นี่ ไอ้กลอยนี่ เอามาแช่น้ำ กลอยนี่แช่น้ำ เช้าขึ้นมาก็นึ่งกลอย ก็มีน้ำตาลคลุกก็เท่านั้นน่ะ ทีนี้เช้าขึ้นมานี่ เราก็ต้องจัดฉันอิ่ม มื้อเดียวใช่ไหม ทีนี้พอฉันมื้อเดียว ไปนั่งก็สัปหงก ก็จะผ่อนอาหาร มันผ่อนไม่ได้ มันผ่อนไม่ได้ มันเผลอไง เวลาอาหารมานี่ มันก็ตักว่า ๑ มื้อ

พอฉันเสร็จแล้วก็เสียใจ อ้าว ไหนว่ามึงจะผ่อนอาหารไง ทำไมเต็มท้องมาอีกละ อ้าว พรุ่งนี้เอาใหม่นะ เอาใหม่ก็ซ้ำเดิมอีก ซ้ำเดิมอีก จนมันตัดสินใจ เข้าทางจงกรม โทษนะ นี่มันเป็นเทคนิค ไม่มีใครว่า มึงมันชาติชั่ว มึงมันเลวทราม มึงมันต่ำช้า ครูบาอาจารย์ทำไมท่านไม่ติดในรส มึงทำไมติดในรส มึงทำไมชั่วขนาดนี้ เดินจงกรมนี่ด่าตัวเองอย่างนี้ ๓ -๔ วัน

พอเดินไปนี่ด่าตัวเองตลอด เช้าขึ้นไปมันก็ยังตัก มันยังไม่ได้ พอถึงวันที่ ๓ ที่ ๔ นี่ มันปิ๊งขึ้นมาเลยในทางจงกรมนะ นี่เวลาปัญญามันเกิดนะ แล้วมันขาดเลย ครูบาอาจารย์ไม่ใช่ตะเข้เว้ย ครูบาอาจารย์ไม่ใช่ตะเข้ ท่านไม่ใช่รู้รสนี่ ความหมายของพวกเรานี่ คือว่าถ้าทันรสคือไม่มีรส รสต้องดับหมด ก็คิดว่ารสมันจะดับ มันไม่ดับหรอก

“ครูบาอาจารย์ไม่ใช่ตะเข้นะ ท่านมีลิ้น ท่านมีสัมผัส ท่านก็รู้รสทุกอย่างแหละ แต่ท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นมันต่างหาก”

พอมันปล่อยพั่บนี่ไง เราถึงพูดว่า รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมารไง พอมันตัดพั่บ พรุ่งนี้เช้าไปนั่งที่ศาลานะ เวลาเขาเลื่อนกาละมังกลอยมานี่ แต่ทุกวัน ทุกวันเลื่อนมาก็ทัพพีตักปั๊บใส่บาตรทันทีเลย วันนี้เอาช้อนตักได้ไหมนี่

“กลอยคำนี้นะ มันก็มีรสชาติเท่ากับกาละมังนี่ กูกินกลอยคำเดียว กูเท่ากับกินกลอยกาละมังนี้”

ไม่ติดในรสเลย เมื่อก่อนต้องตักมาให้อิ่มใช่ไหม แล้วมันไม่ทันหรอก มันกลัวหิว กลัวบ่ายแล้วไม่มีอะไรในท้องไง คิดแต่วิทยาศาสตร์ไง เดี๋ยวหิว เดี๋ยวปวด เดี๋ยวอะไร

ตั้งแต่วันนั้นมานะ กลอยมานะ ตักชิ้นเดียว แล้วเย้ยมันด้วย กูกินมึงชิ้นเดียวนี่ กูเท่ากับกินทั้งกาละมัง เพราะกาละมังนี่คือรสนี้ ตั้งแต่วันนั้นมานะ กลอยผ่านไปผ่านมา เฉย สบายมาก นี่ตั้งแต่นั้นมา มันดีขึ้นไปเรื่อยๆ นี่พอรู้แล้วมันก็คุมสมาธิได้เรื่อยๆ คุมได้เรื่อยๆ เพราะเราทันมันละ นี่กัลยาณปุถุชน มันก็ละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ จนไปจับจิตได้

ไปจับจิตได้นะ นั่นเดินจงกรมเหมือนกัน แล้วทางจงกรมทางนั้น เดินจงกรมอยู่นี่ มันพอจับจิตได้นี่ มันเป็นข้างในมันจับได้แล้วมันเป็นนิมิตไง มันเป็นเหมือนกับผ้าแพรน่ะ ผ้าแพรเห็นไหม มันเป็นผ้าแพร เป็นผ้าแพรขาวๆ นี่ฟาดใส่หน้า พั่บ! พั่บ! เฮ้ย นี่มัน จิตมันเป็นรูปอย่างนี้เชียวหรือ โห ไหนว่าจิตเป็นนามธรรมที่มันไม่มีล่ะ แล้วจิตนี่มันจับต้องได้ขนาดนี้ นี่จับจำเลยได้ จับ นาย ก. นาย ข. ได้ไง

พอจับได้ โห จิตมันมีนี่หว่า ขึ้นไปหาอาจารย์เลย

“อาจารย์ครับ ไหนว่าจิตมันไม่มีไง”

“แล้วใครบอกมึงว่าไม่มีล่ะ”

แบะ! พอจับจิตได้ก็แยกเลยเห็นไหม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปั๊บ! ปั๊บ! แยกไปเรื่อยๆ แยกไปเรื่อยๆ แยกอยู่นั่นน่ะ พอแยกปั๊บ อารมณ์อื่นไปไม่ได้ อารมณ์อื่นไปไม่ได้

จากที่ว่าตัวเองนี่จะต้องเป็นพิจารณากายเห็นไหม แล้วคิดดูสมบุกสมบันอยู่ขนาดไหน ถึงจะค่อยมาถึงว่า เราต้องพิจารณาจิตด้วยปัญญาวิมุตติ ถ้าพิจารณากาย เรานี่นะ พุทธิโพธารามนี่เขามีเซียนซือ เราก็ไปขุดศพกัน สมัยที่ยังไม่ได้บวชน่ะ แล้วศพไหนที่มันยังอืดๆ อยู่นี่ เขาก็มารูดใช่ไหม รูดน่ะรูดเนื้อออก เพื่อเอากระดูกไปเผา เราก็ทำอย่างนั้นน่ะ เราพยายามจะนึก นึกขึ้นมาให้เห็นกายไง ให้เห็นมันสยดสยองไง นึกเท่าไรมันก็จืดชืด นึกเท่าไรมันก็ไม่เอาไหน นึกอย่างไรก็ไปไม่รอด

มันดีเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็ล้มอีกละ จนมาจับตรงนี้ได้น่ะ พอจับตรงนี้ได้มันก็ไปได้ พอไปได้ พอครบกระบวนการของมันปั๊บ เครื่องบินของอาจารย์จวนตก โอ้โฮ มึงอยู่ไม่ได้ มึงอิสระไม่ได้ มึงต้องหาควานช้าง มึงต้องหาควานนั่งคอมึง มึงอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ เพราะมึงผิดพลาดมาขนาดไหนละ กว่ามึงจะเข้ามาถึงตรงนั้นได้ มึงทุกข์มาขนาดไหน มึงอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ มึงต้องเข้าบ้านตาด มึงต้องเข้าบ้านตาด บังคับตัวเองเลย

พอเข้าไปนี่ โธ่ ของจริงมันไปเจอของจริงน่ะ กระทืบเอาหัวทิ่มดินเลยน่ะ กระทืบกับกระทืบ ไม่มีอะไรเลย

เวลามันพูดนะ ถ้ามันพูดไม่ดี มันพูดอะไรไปมันก็ แบบว่า เวลาคุยนี่ เหมือนอย่างครูบาอาจารย์ท่านพูด ทุกองค์ที่สอน สอนมาจากประสบการณ์ของแต่ละองค์ หลวงปู่เจี๊ยะก็เทศน์สอนที่ท่านเห็นมาที่ท่านรู้มา หลวงตานี่เป็นปฏิสัมภิทา

ขั้นแรกผ่านเวทนาที่นั่งตลอดรุ่ง ขั้นที่สองเป็นธาตุ แยกธาตุแยกขันธ์ แล้วรวมหมด ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า เป็นเหมือนเราที่ถ้ำสาริกา ติดตรงนี้ ๕ ปี ออกจากนั้นมาเป็นอสุภะ นี่คือ จากเวทนา จากธาตุ จากอสุภะ ขั้นสุดท้ายพิจารณาจิต เพราะจุดและต่อมคือจิต

หลวงตานี่เป็นพระที่มหัศจรรย์มาก คือพิจารณาหลายหลาก แต่หลวงปู่เจี๊ยะนี่ เป็นกายล้วนๆ หลวงปู่ชอบกายล้วนๆ หลวงปู่คำดีกายล้วนๆ หลวงปู่ดูลย์น่ะ นี่พิจารณา นี่ปัญญาวิมุตติ ปัญญาจิตก็เหมือนกัน ฉะนั้นเวลาถ้าพิจารณาจิตมาอย่างนี้นะ มันเวลา พูดธรรมะนี่ เพราะอะไร เพราะมันมีข้อเปรียบเทียบ มันมีข้อเปรียบเทียบ มันมีการสื่อความหมายได้

แต่ถ้าเป็นพิจารณากายนะ มันเปรียบเทียบได้น้อย เพราะมันเป็นการดู ดูแล้วขยาย เป็นการเห็นภาพ แต่มีฤทธิ์ เพราะจิตมันต้องใช้กำลังสมาธิ พวกนี้มีฤทธิ์ หลวงปู่ชอบนี่เห็นไหม เทวดาเคารพมาก แต่เวลาพูดธรรมะ มันจะไม่แตกฉาน ก็อย่างพระสารีบุตรนี่แหละ พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ

พระโมคคัลลานะไปเที่ยวสวรรค์ ไปเที่ยวนรกเอามาบอกพระพุทธเจ้า แต่พระสารีบุตรนี้เทศน์แทน นี่ไงปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ มันไปคนละแนวทางเลย ไม่ต้องไปตกใจ ไม่ต้องไปคิดว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องสมาธิ สมาธิไม่เป็นอย่างนั้น กูจะไม่มีสมาธิ ก๋วยเตี๋ยวน้ำกับก๋วยเตี๋ยวแห้งน่ะ ก๋วยเตี๋ยวแห้งมันจะเอาน้ำที่ไหน มันไม่มีน้ำ

โยม : หลวงพ่อคะ ขอโอกาส ที่ว่าท่านเดินจงกรม ๘ ชั่วโมงนี้ เป็นการต่อเนื่อง หรือว่ามี

หลวงพ่อ : ไม่ต่อเนื่อง มันต่อเนื่องไม่ได้ เราจะเริ่มนับตั้งแต่เช้า ทุกวันเช้าไป เริ่มตั้งแต่ฉันอาหารเสร็จใช่ไหม เริ่มตั้งแต่ฉันอาหารเสร็จปั๊บ ฉันเสร็จ เพราะเรา เรานี่มัน (นี่พูดอีกละ) คนใฝ่ดี อ่านประวัติหลวงปู่มั่น บอกว่าฉันข้าวเสร็จแล้วนะ เวลาพระธุดงค์น่ะ ปฏิปทานี่ เอาบาตรไปเก็บนี่ อย่าขึ้นกุฏินะ กิเลสนี้ร้ายมาก นี่ถ้าวงการปฏิบัติจะพูดกิเลสชัดๆ แต่เวลามาพูดกับโยมนี่ มันต้องมีมารยาท นี่จะพูดอย่างนั้น โอ้โฮ กิเลสมันขนาดนั้นเชียวหรือ

เวลานี่ในปฏิปทาของหลวงปู่มั่นไปดูสิ เวลาฉันข้าวเสร็จแล้วนะ เวลาไปกุฏิน่ะ อย่าเอาบาตรขึ้นไปนะ ถ้าเอาบาตรขึ้นไปนี่ ที่นอนมันจะเรียกให้นอนพักก่อน เอาบาตรขึ้นไปแล้วผลักเข้าไป ผึ่งผ้าเสร็จแล้วเข้าทางจงกรมเลย เราทำอย่างนั้นมาตลอด เรา บาตรนี่เราจะวางๆ เสร็จแล้วเราจะผึ่งผ้า แล้วเข้าทางจงกรมเลย จับเวลาไปเลยกี่ชั่วโมง

ส่วนใหญ่แล้วนะ เกือบบ่ายโมง เพราะว่าฉันน้ำร้อนไง ถ้าบ่ายโมงนี่นับไปเลยกี่ชั่วโมง ได้แล้ว ถ้าบางวันมีงาน พอมีงานขึ้นมานี่ ต้องไปชดเชยเอาเวลาหลัง ทำอย่างนั้นปั๊บ พอฉันน้ำร้อนเสร็จ น้ำร้อนเสร็จก็จะมาเดินจงกรมต่อ ถ้าวันไหนได้ ๘ ชั่วโมงแล้วสบายใจ นั่งสมาธิบ้าง เวลานั่ง เดินไปนี่ บางทีมันพักขึ้นมานะ นั่งสมาธิไม่นับนะ นับแต่เฉพาะเดินจงกรม นั่งนี่ไม่เกี่ยวนะ นั่งนี่ของแถม เพราะเราถนัดเดิน ไม่ถนัดนั่ง แต่นั่งนี่เอาไว้ผ่อน เปลี่ยนอิริยาบถ

นั่งด้วย ๘ ชั่วโมงนี่เฉพาะเดิน แล้วมีนั่งอีกต่างหาก แต่นั่งไม่ได้เอามานับรวม เราจะทำอย่างนี้ตลอดไป เพราะมันจะ พูดกับตัวเองว่า มึงทุจริต อายตัวเอง ไม่กล้าทุจริต อาย มันอายใจนะ มันตั้งไว้ ดูสิ เขาทำงานน่ะ นั่งโต๊ะเนอะ เขียนหนังสือ ๒ ตัวน่ะ เขายังนั่งวันละ ๘ ชั่วโมง แล้วเอ็งจะฆ่ากิเลสน่ะ เอ็งยังทำไม่ได้นี่ เอ็งอายเขา เอ็งอย่ามาคุยว่าเอ็งเป็นพระ แล้วดันเป็นพระปฏิบัติด้วย อวดเขาอีกนะ ธุดงค์อีกต่างหาก โชว์เขาอีก อายเขาเถอะ

มันจะทำของมันอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วนั่งต่างหากนะ ทำอย่างนี้ จะเกิดอะไรช่างหัวมัน แล้วมีเกิดมาก เกิดนู่น เกิดนี่ ใหม่ๆ นะนิมิตน่ะ โธ่ อย่ามาคุยนะ นิมิตพวกเอ็งน่ะไร้สาระ เรามีภาค ๑ ภาค ๒ ภาค ๓ ต่อได้ทั้งวันน่ะ นั่งที่นี่เป็นอย่างนี้นะ มีภาค ๑ เดี๋ยวไปต่อ นั่งใหม่มีภาค ๒ ต่อเลย พอมัน มันต่อไปเรื่อยๆ อ้าว เห็นนิมิตก็ทายเลย ไอ้นั่นเป็นไอ้นั่น เวลาเพื่อนมา เฮ้ย วันนั้นมึงนั่งกินเหล้ากันอย่างนั้น กูเห็นอย่างนั้นใช่ไหม ใช่ไหม ใช่บ้างไม่ใช่บ้าง อ้าว ตายห่า ผิดก็มีหรือวะ

แล้วก็มาอ่านหนังสือที่ว่าเจอนี่ ตั้งแต่นั้นมา เลยเข็ดไง นิมิตน่ะนะอย่ามาคุย เห็นมาทั้งนั้น นั่งอยู่ที่นี่เห็นที่บ้านว่าเพื่อนมันกินเหล้ากันขนาดไหน เห็นนู่น เห็นไปหมด ถูกบ้างผิดบ้างยำๆ กันไป เพราะกิเลสมันเต็มหัวใจ เวลาใครมาบอกว่านิมิตถึงเข้าใจ เราเห็นมานะ มีภาค ๑ ภาค ๒ นั่งตั้งแต่ตี ๔ น่ะเรื่องหนึ่งนะ เดี๋ยวไปนั่งตอนใหม่เดี๋ยวมีภาค ๒ ต่อได้เลย

หลวงปู่ฝั้น พูดนี่ซึ้งนะ ฝันดิบฝันสุกไง ฝันดิบฝันสุก ไอ้นั่งอยู่นี่ก็คิด ไอ้นอนก็เสือกฝัน ไอ้นั่งสมาธิก็ยังเป็น ครูบาอาจารย์ที่เป็นนะ พูดแล้วซึ้งมาก ผ่านมาเยอะนะ เที่ยวพูดว่าคนนั้นผิด คนนี้ผิด คนนั้นหลงนะ เราน่ะเป็นมาทั้งนั้นแหละ แต่เอามาพูดน่ะมัน พูดน่ะมันพูดเป็นคติ หลงมาเยอะ ถ้าให้พูดเรื่องหลงน่ะ ที่เอ็งเป็นๆ มานะ โทษนะ กูเป็นมาหมดแล้วล่ะ กูเป็นอย่างนั้นเลย กูหลงมาทั้งนั้นเลยล่ะ กูหลงมาก่อน แล้วหลงมาเยอะ พูดเรื่องหลงนี่ ๓ วันไม่จบแล้วกันล่ะ

แต่เวลามันไต่เต้าขึ้นมานี่ กว่าจะขั้นตอนแต่ละทีเห็นไหม ที่เขามาพูดเห็นไหม สว่างโพลง สว่างโพลงน่ะ ช้างกระดิกหูนะมึง เวลาสมุจเฉทปหานน่ะ มรรคสามัคคีมันรวม พั้บ! จบเลย แต่กว่าจะมาสามัคคีนะ มัน ตทังคบ้าง มันปล่อยบ้าง ไม่ปล่อยบ้าง โอ้โฮ ผิดๆ ถูกๆ ดีบ้างชั่วบ้าง ผิดบ้าง ทุกขั้นตอนเลย ไม่มีเข้ามาแล้วผลัวะ! จบ ไม่มีหรอก แต่ถ้ามันจะจบ ผลัวะ! เดียวจบเลย แต่กว่าจะผลัวะ! จบนี่ มันต้องลองผิดลองถูก ลองผิดลองถูก ผิดอย่างนู้น เดี๋ยวกิเลสหลอกอย่างนี้ เดี๋ยวกิเลสมันหลอกอย่างนู้น เดี๋ยวเป็นอย่างนี้ ต้อนไม่อยู่นะมึง

ทำมาทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาขาดนะ อย่างที่เซ็นพูดน่ะ ใช่ สว่างโพลง ปิ๊ง! แค่ก้าวข้ามธรณี เป็นพระอรหันต์เลย แล้วพวกนี้ก็อยากได้ เขามาหลอกกันนะ ไอ้พวกที่ชาวพุทธก็ แหม เชื่อเขานะ ไปทิ้งอะไรหมดเลยนะ รอจะก้าวข้ามธรณีกันไง มันจะก้าวข้ามกองฟอนต่างหาก เพราะมันไปทิ้งฐาน ไปเอายอดน่ะ มันจะก้าวข้ามกองฟอนน่ะ มันจะก้าวข้ามชีวิตมึงน่ะ

ไม่ได้คิดเลย เพราะเราศึกษาหมด เราลองหมด แล้วเราไปลองกลับไปในมหายาน ในเซ็นน่ะ มันนั่งกันที ๑๔ ชั่วโมง มันเข้าโกอานกันที นั่ง ๗ วัน ๘ วัน แล้วเวลามาบอกนะ ช่วงสว่างโพลง เราก็จะไปสว่างโพลงกับมัน แล้วเวลามันนั่งที ๑๒ วัน ๑๔ วัน เคยทำกันไหม เขาทำเกือบเป็นเกือบตาย แต่เวลามันเป็น มันเป็นเหมือนเรานี่แหละ นี่งูแลบลิ้นน่ะ ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น สว่างโพลง แว็บน่ะ ใช่ แต่กว่าจะเป็นน่ะ เขาสมบุกสมบั่นกันมาขนาดไหน แต่เราไปฟังคำสุดท้ายของเขาไง สว่างโพลง ง่ายๆ ทางลัด ลัดลงนรกไง

โยม : ท่านอาจารย์คะ ท่านอาจารย์ทำความเพียรไม่ต่อเนื่อง แล้วในช่วงเวลาที่จะนับต่อเนื่องถึง ๘ ชั่วโมงนี่ ประคองอารมณ์นั้นอย่างไร แล้วก็จำเป็นต้องขึ้นเวที ด้วยการเจริญพรหมวิหาร ๔ ไหมเจ้าคะ

หลวงพ่อ : ไม่ต้อง ทิ้งมันไปเลย ทิ้งมันไปเลยเพราะอะไร เพราะเราไปปฏิบัติจน จนชำนาญเห็นไหม คนชำนาญกับคนไม่ชำนาญมันต่างกัน เวลาเราออกมานี่ ใหม่ๆ นะ ใหม่ๆ นี่ทำสมาธิไม่ได้ เพราะมันหักดิบ เราบวชนี่หักดิบนะ ทำอะไรยากมาก แล้วนี่อยู่ตลอดเวลานี่ จับไม้ก็พุทโธ ดูหนังสือน่ะ ทำอะไรก็ได้ พุทโธตลอดเลย เพราะว่ามันทุกข์มาก หักดิบนะ โธ่ อยู่กับเพื่อนนี่ สัญญาเลย เพื่อนนี่รักมาก รักโอ้โฮ วัยรุ่นน่ะ แล้วอยู่ดีๆ บวช พรึ่บ! เลย

มันคิดถึงเพื่อนใจจะขาด เย็นวันศุกร์นี่นอนไม่ได้เลย เพราะเย็นวันศุกร์มันวันเที่ยว พอเช้าวันจันทร์ ฮ้า รอดตาย พอเย็นวันศุกร์นี่มันจะคลั่ง พุทโธอย่างเดียว พุทโธ พุทโธ พุทโธ นี่ขณะที่มันไม่เป็นไง แต่ขณะที่ทำชำนาญแล้วนะ เพราะอะไร เพราะเราไม่ได้ทิ้ง นี่เราเดินจงกรมอยู่ใช่ไหม อย่างสมมุติว่าบ่ายโมงนี่ ออกมาฉันน้ำร้อน มันก็มีสติพร้อมมาไง มันก็เหมือนเดินจงกรมนั่นแหละ แต่มันอีกกิริยาหนึ่ง ออกมาเดินจงกรมใช่ไหมล่ะ ออกมาฉันน้ำร้อนใช่ไหม เราฉันน้ำร้อนเพราะเราภาวนาอยู่ ใครจะรู้กับเรา

โทษนะ อยู่บ้านตาดนี่ คำนี้พระพูดบ่อย นี่เขาจะจำได้ไม่ได้นะ พระเขาคุยกัน แล้วเขาประชุมกัน แล้วมันมีเพื่อนสนิทชื่อ... สึกไปแล้ว เขาบอกว่า ...เว้ย มึงบอกไอ้หงบทีสิ วันๆ นี่อย่าให้มันทำหน้าเหม็นขี้ เคร่งขรึมไง นี่เพื่อน นี่วงการพระเขาคุยกัน เฮ้ย เอ็งบอกไอ้หงบทีสิ วันๆ อย่าให้มันทำหน้าเหม็นขี้ เหม็นขี้อะไร สติกูพร้อมขนาดนี้ เขาไม่รู้เรื่องหรอก

พระเด็กๆ น่ะ เด็กไม่เชื่อกันหรอก เขาส่งพระมาเตือนนะ เพราะธรรมดา เขาเล่นกันสนุกสนานใช่ไหม ในวงการพระก็อย่างว่านั่นแหละ ฉะนั้นพอเรามาจริงจังน่ะ พอจริงจังน่ะเขามาเตือนเลย เขาให้พระมาเตือน บอกว่า บอกไอ้หงบมันที แล้วเขามาพูดกับเราจริงๆ นะ บอกว่า หมู่เขาบอกว่า เอ็งอย่าทำหน้าเหม็นขี้สิ ให้รื่นเริงกับเขาบ้าง ให้เล่นกับเขาบ้าง แต่กูทำไม่ได้หรอก กูภาวนา

จะออกมาเห็นไหม ขณะที่เราเดินจงกรมแล้ว ออกมาฉันน้ำร้อน มันก็มีงานฉันน้ำร้อน ฉันน้ำร้อนเสร็จก็ทำข้อวัตร มันภาวนาได้ตลอดเวลาไง ทีนี้เราจะบอกว่า เราภาวนาตลอดเวลา เดี๋ยวโยมก็หาว่าเราโม้อีก อ้าว ภาวนาอะไรก็เห็นตีตาดอยู่ภาวนาอะไร ก็ตีตาด กูก็ตีตาดภาวนาไง กูกวาดวัดกูก็มีสติ กูทำอะไรกูก็มีสติ เพราะมันแบบว่า พอภาวนาไปแล้ว มันต่อเนื่องไปแล้ว

แหม จะต่อเนื่องก็ต้องแบบว่าจับมัดไว้เลย ห้ามกระดิกเลยหรือ ไอ้นั่นมันคนภาวนาไม่เป็น คนภาวนาเป็นเขาขยับ ขยับอะไร เขาก็ภาวนาทั้งวันน่ะ ขยับไปไหนก็ภาวนาทั้งนั้นน่ะ เพียงแต่ว่าเราไม่เอามานับใน ๘ ชั่วโมงนี้ไง เพราะมันไม่จดจ่อ เราจะนับใน ๘ ชั่วโมง เฉพาะอยู่ในทางจงกรมเท่านั้น ถ้านอกทางจงกรมเราไม่นับ เป็นของแถมไง นั่งยังไม่นับเลย

๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนะ นี่ยืนยันไง นี่บอกว่า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีน่ะ เราถึงบอกเลย มาอยู่ที่โพธารามใหม่ๆ นะ โดนเขารังแกมาก เพราะเขาไม่อยากให้เกิด เราไอ้โตนี่จะร้องห่มร้องไห้ ไอ้นี่ โยมอุปัฏฐากอยู่ เขาขอร้องบอก “หลวงพ่ออย่าบิณฑบาตได้ไหม? เพราะเขาจะฆ่า” เราบอก “ไม่ได้หรอก มึงขออะไรกูขอได้ ไอ้ห่า ขอไม่ให้บิณฑบาต ขอได้อย่างไร” เขาไม่ให้ออกไปถนนเลยไง เขาเอารถสิบล้อชน

แต่เราพูดกับพวกนี้ ตรงนี้แหละ บอกว่ากูไม่เชื่อนะ

“ผู้ใดปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ธรรมะต้องคุ้มครอง”

กูอยากเห็นพระพุทธเจ้าหลอกกู กูไม่เชื่อ กูไม่เชื่อ กูทำดีจะตาย กูจะตาย กูไม่เชื่อ ไปอยู่ไหนก็แล้วแต่ เขาจะฆ่าจะแกงนะ กูทำ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ทำความดี อ้าว ตายก็ตาย กูอยากดูว่าอะไรมันจะตายก่อน

นี่ไง ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีก็เหมือนกัน แล้วมันครบจริงๆ ๗ ปีจริงๆ ๗ ปีพอดีเลย ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี กูอยากดูว่าพระพุทธเจ้าโกหก แล้วกูทำของกูไป ๗ ปีจริงๆ อย่างนี้ไง มันถึงเชื่อมั่น นี่ไงที่ว่าเคารพธรรม เชื่อธรรม เชื่อจริงๆ แล้วพิสูจน์มาตลอด พิสูจน์ตลอด

มันถึงมีจุดยืนไง หมายถึงว่า ใคร โทษนะ ใครจะจูงจมูกกูไม่ได้หรอก ไม่ได้ แต่ที่หลวงตาพูดถูก ถ้าเอาธรรมะมา ยอม เหตุผล พูดกันด้วยเหตุด้วยผล ฟัง แต่ถ้าจะมาจูงจมูกนะ ไม่มีสิทธิ์น่ะ ไม่มีสิทธิ์ แต่ด้วยเหตุผลคุยกันได้ เพราะเหตุผลมันคือธรรม ต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผล ผิดถูก แล้วต้องยอมรับกัน เป็นบัณฑิตด้วยกัน เป็นสุภาพบุรุษด้วยกัน ต้องคุยกันด้วยเหตุผล รับฟังเหตุผล เพียงแต่ว่า เหตุผลใครตื้นใครลึก เหตุผลใครมีน้ำหนักไง

แล้วต้องเชื่อสิ ต้องฟังสิ แต่นี่ไม่อย่างนั้นน่ะ ตั้งธงมาเลย จะเอาอย่างนี้ แล้วจะมาหักเอา แล้วพอไม่ฟังก็ว่าไม่มีเหตุผล ไอ้นี่ก็ตั้งธงมาแล้ว มันไม่ใช่ว่าฟังเหตุผล มันมาขอ ฟังความเห็นเท่านั้นเอง จบยัง อ้าว ว่าไป

โยม : มีความสับสนในดวงจิตน่ะค่ะ

หลวงพ่อ : สับสนเรื่องอะไรล่ะ ว่าสิ พูดเลย ไม่ต้องกลัวใคร อ้าว พูดธรรมะต้องไปกลัวใครทำไม พูดเลยไม่ต้องกลัวใครเลย

โยม : คือลูกจะอยู่ทางโลกก็อยู่ไม่ได้ มันจะเกิด มันสุขอยู่นะคะแต่มันก็เกิดทุกข์ แต่พอมาอยู่ทางธรรม มันก็เหมือนกับว่ามันจะอยู่ไม่ได้อีก มันก็จะเกิด สักพักหนึ่งมันก็จะมาเกิดทุกข์ มันจะเป็นอย่างนี้สลับกันเหมือนกับ สรุปเราต้องยืนตรงไหนถึงจะดี มันมีความวิตก วิกฤต มันบอกไม่ถูก มันจะเห็น ก็คือ ทางโลก มันก็คือ..

หลวงพ่อ : เข้าใจ เข้าใจละ ฟังนะ เข้าใจละ คนเรานี่นะ นี่มันถึงเวลามันเป็นเรื่องของกรรม เราจะยกเรื่องของกรรมก่อนเลย ถ้าเรื่องของกรรมทำมาแล้วนี่ เวลากรรมมันให้ผล มันให้ผลอย่างนี้ เห็นไหม เวลาอยู่ทางโลกก็ทุกข์ อยากจะมาทางธรรม เห็นไหม เพราะเห็นว่าทุกข์ แล้วพอมาอยู่ทางธรรม ถ้าพูดทางธรรม เราก็พูดถึงหมอเมื่อกี้นี้ให้ฟัง เห็นไหม

หมอเมื่อกี้นี้ก็มีปัญหาอย่างนี้เห็นไหม ก็ตั้งใจ ดีสิ เพราะแม่เขาพามาหาเอง แม่พามาหา แล้วแม่มารับ เพราะแม่ก็คนรู้จักกัน แม่บอกเรียนปี ๒ ปี ๓ ก็ไม่ยอมละ จะออก จะ จะไปปฏิบัติ แม่ขอ อย่างน้อยขอให้จบก่อน ต้องเรียนหมอให้จบก่อน แล้วจบ พอจบเสร็จแล้วทำฏีกาถวายในหลวง เพราะไม่ยอมรับปริญญา เสียเวลา จะบวชเลย จะไปให้ได้ บวชไปปีเดียว วิ่งมาหาเราเลย มาขอสึก เห็นไหม แล้วก็นี่ อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ อยากจะตอบตรงนี้ไง

พูดเมื่อกี้เห็นไหม บอกว่า ศาสนบุคคล พระนี่นะ ถ้าพระที่ไม่มีคุณธรรม มันเป็นบุคคลคนหนึ่ง ก็เหมือนเรานี่แหละ เป็นปุถุชนคนหนึ่ง ห่มผ้าเหลืองเท่านั้น มันก็เห็นแก่ มันก็มีแรงอิจฉาริษยา มีทุกอย่างพร้อมเหมือนกันล่ะ ฉะนั้นถ้ามีแรงอิจฉาริษยา แล้วเราไปทำอะไรเกินหน้าเกินตาเขา แล้วเราเป็นผู้บวชใหม่ แล้วเราไปอยู่กับเขาอย่างนั้นน่ะ เขาบี้ตาย เราไปอยู่ที่ไหน เราก็ต้องเข้าสังคมเขา นี่โลกๆ นะ

นี่เห็นไหม พอเขา นี่อยู่กับโลกเขาก็เห็นทุกข์ เขาก็อยากจะมาบวช พอมาบวชแล้วใช่ไหม เขาก็สึกออกไปอยู่กับโลกอีก แต่อยู่กับโลกนี่ อยู่กับโลกเราถึงบอกเขาไง อย่าทิ้งนะ อย่าทิ้ง อย่าทิ้งธรรมะ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่ออยู่กับโลกมันทุกข์ ใช่ไหม เราก็รู้ว่ามันทุกข์ ทีนี้อยู่กับโลกมันทุกข์น่ะ เราอาศัยเพื่อดำรงชีวิตเว้ย แต่เราจะปฏิบัติธรรมของเรา เท่าที่เราจะทำของเราได้

ถ้าเราไปอยู่ในปฏิบัติธรรม ถ้าปฏิบัติธรรมจริงๆ มันมีนะ นี่พูดอย่างนี้ โทษนะ มันก็เกี่ยวกับพวกดาราเห็นไหม สังเกตได้ไหม เวลาพวกดารามันจะมาบวชกันน่ะ โอ๋ย เห็นทุกข์ เห็นทุกข์ เห็นทุกข์ โอ๋ย บวชนะ บวชไป ๗-๘ ปีนะ ศาสนาบอกว่าให้รับผิดชอบ ศาสนา มันจะสึก มันจะสึก นี่ไง เพราะอะไรรู้ไหม มันจุดยืนไง จุดยืนของเรานี่ มันจะยืน ตรงนี้มันจะย้อนกลับไป ถึงบอกว่าให้ปฏิบัติบูชา ให้ปฏิบัติบูชานะ

นี่มันสับสนไง สับสนนี่เพราะเราอยากไป จริงๆ นะเราก็เห็นใจ เห็นใจตรงไหนรู้ไหม เห็นใจตรงที่ว่า นี่มันเป็นทาง ๒ แพร่งของเราที่มันวัยรุ่นนี่ไง จะเลือกดำรงชีวิตอย่างไรไง จะเลือกดำรงชีวิตอย่างไร เราก็คิดอย่างนั้น ตอน นี่วกกลับมาที่เราก่อนนะ เปรียบเทียบ โหย เป็นวัยรุ่นนี่นะ ในวง เพื่อนๆ นี่มีอิทธิพลกับเพื่อนพอสมควร เพราะว่า เป็นผู้นำนะ เป็นผู้นำมีอิทธิพลพอสมควร

ทีนี้พอจะมาทางนี้นะ เพื่อนๆ ไม่ยอมหรอก เพื่อนๆ นี่ต่อต้านหมดนะ แล้วนี่ เรามีเพื่อนๆ ต่อต้านนะ แล้วเรามีคุณกับเขา เหตุที่จะบวช หลายๆ อย่างมัน ประสาเราน่ะ ตอนที่บวชไม่รู้เรื่อง แต่บวชมาแล้วนี่ ภาวนาแล้วนี่ แล้วมาย้อนดูของตัวเอง มันเป็นคุณสมบัติที่เราสร้างมาเอง ถึงคุณสมบัติของมันเองนี่ กรรมมันให้ผลนี่ มันต้องถีบเรามาบวชจนได้ล่ะ ถ้าเราไปอยู่ไหน มันก็ต้องถีบให้เรามาบวชจนได้ ว่าอย่างนั้นเลยนะ เราจะไปอยู่ไหนนะ เหตุที่สุดมันก็ต้องดันเราให้มาบวช

แต่ตอนนั้นที่มันจะบวช มันคิดอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้คิดเรื่องนี้มามากนะ ก็คิด ก็ใช้ชีวิตแบบคนดีคนหนึ่งนี่แหละ แต่พอมาถึงมีปัญหาขึ้นมานี่ ในโลกนี้ อะไรของจริงวะ คำถามที่เกิดขึ้นกับตัวเราเองคำแรกเลย เราคนจริงน่ะ ใจเราจริงน่ะ โลกนี้อะไรของจริง เพื่อนนี่รักขนาดนี้ มีปัญหา ดูแลกันขนาดนี้ ถึงเวลานี่มันด่ากูทุกทีเลย โลกนี้อะไรของจริง อยู่ทางบ้านนี่ อยู่ทางบ้าน นี่มีข้อต่อรองกับในพ่อแม่ ว่าถ้าทำกิจการอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้

อ้าว ครั้งแล้วก็ผิด ครั้งแล้วก็ เหมือนกับผู้ใหญ่ไม่เชื่อเด็กไง แล้วเรามาบวชแล้วเรารู้ว่าทำไมถึงไม่เชื่อเรา ไม่เชื่อเพราะมันไปคบเพื่อนหัวไม้หมด แล้วคนจีน เขากลัวโดนเพื่อนหลอก บวชแล้วนี่กลับไปมองเห็นภาพหมดเลย แต่ตอนนั้นไม่รู้ตัว เอ๊ะ ทำไมพ่อแม่อะไรก็ไม่ไว้ใจเลยสักอย่างหนึ่ง ทำดี คนดีขนาดนี้ ทั้งๆ ที่เขารู้ เขาก็รักอยู่ เพียงแต่ว่าเพื่อนรอบข้างนะ มันหัวไม้ทั้งนั้น

น่ะ ถึงถามว่าโลกนี้คืออะไรของจริงวะ หาไปเถอะ ไม่มีอะไรเลยนะ แต่นี่มันอยู่ที่บ้านมันเห็นพระไง พระบิณฑบาตผ่านหน้าบ้านไง ตอนเด็กไม่เคยไปวัดนะ ไม่เคยใส่บาตร ใส่บาตรเฉพาะปีใหม่หนเดียว ไปใส่บาตรกับเพื่อน ปีใหม่น่ะไปเที่ยวสนุกๆ กันไง ผู้หญิงผู้ชายก็ไปใส่บาตรกันน่ะ สวัสดีปีใหม่ เท่านั้นน่ะ ใส่บาตรเฉพาะปีใหม่เท่านั้นน่ะ ปีหนึ่งใส่บาตรหนหนึ่ง

แต่เวลาอยู่บ้านน่ะ เห็นพระเดินบิณฑบาตนะ เออ หรือนี่ว่าของจริง มันถามตัวเองตลอดนะ มันทำอะไรไปแล้วนี่ แหม มันวุ่นวายไปตลอดเลย ทำอะไรไปแล้ว ไม่มีผลตอบกลับมานะ ๕ เปอร์เซ็นต์นะ โลกนี่ ทุ่มไป ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ กลับมา ๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีจริงหรอก

มันก็เลยไปถามตัวเองตลอดว่า โลกนี้อะไรคือของจริงวะ แล้วมันมาเจอพระนี่ พอเจอพระก็เริ่มศึกษา ไปศึกษาหลวงพ่อ...ก่อน ทีแรกอ่านประวัติหลวงพ่อ... อย่างนี้กูทำไม่ได้น่ะ กูอดตายแน่ๆ เลย บิณฑบาตต้องห่างหมู่บ้านหนึ่งกิโลอย่างนี้ อะไรก็ โอ๊ย อย่างนี้กูทำไม่ได้ บิณฑบาตกับเทวดาไง ประวัติหลวงพ่อ...น่ะ อ่านประวัติหลวงพ่อ..แล้วกูทำไม่ได้ ไปวัดหลวงพ่อ...หลายรอบนะ สุดท้ายแล้วมาเจอประวัติหลวงปู่มั่น

พออ่านประวัติหลวงปู่มั่นน่ะ อย่างนี้กูทำได้ อย่างนี้กูทำได้ เลยเริ่มสนใจไง เริ่มสนใจ เริ่มมาค้นคว้า นี่ มันเกี่ยวกัน นี่จุดยืน แล้วมัน ประสาเรานี่ ถ้าเกิดเป็นพระนี่มันดันไม่ได้ เป็นพระดันไม่ได้นะ พระที่มาบวชกับเรานี่ สึกก็มี บวชก็มีนี่ มันอย่างนี้ พอมันเข้าไปหลายๆ ปีเข้า มันก็มีปัญหากันทั้งนั้นน่ะ เพราะจิตใจมันไม่เข้มแข็งไง แต่ตอนนี้ ๑ เราอยู่ในเห็นสภาพ แล้วมันโชคดี โชคดีที่มาบวช เข้ามาในวงจรของครูบาอาจารย์เราไง เพราะครูบาอาจารย์เราเขาชี้ให้เห็นทุกข์ เห็นโทษไง มันก็เห็นว่าโลกนี้เป็นทุกข์

ทีนี้โลกนี้เป็นทุกข์นี่ เราก็อาศัยมันอยู่ เห็นไหม ดูสิ หลวงตานี่อยู่กับโลกไหม ก็โลกนี่แหละ หาเงินอยู่นี่ไม่โลกหรือ ก็โลกทั้งนั้นแหละ แต่อยู่กับโลกโดยไม่ติดโลกไง นี่ถ้าเราจะทำอย่างนี้นะ ว่าอยู่ทางไหนก็ไม่ได้ ก็ต้องปรับตรงนี้ไง โลกนี้เราต้องอาศัยมันอยู่น่ะ เราต้องมีหน้าที่การงานน่ะ เราต้องมีอาชีพน่ะ ถ้าเราแน่จริง อ้าว โกนหัวเลย ทีนี้โกนหัวเลยน่ะ มันอยู่ในสังคมไหนล่ะ สังคมไหนล่ะ เขารับผิดชอบเราขนาดไหนล่ะ

นี่เพราะ นี่เรื่องอย่างนี้มันอยู่ในใจเราหมดล่ะ เราถึงที่จะทำบ้าบอคอแตกอยู่นี่ นี่เหมือนคนบ้านะ ทำให้คนอื่นทั้งนั้นน่ะ เพราะมันไปที่อื่นน่ะ พูดประสาเราเลยไว้ใจใครได้ ไว้ใจใครได้ ถ้าไปที่อื่นน่ะ ไว้ใจใครได้

โยม : ขอถามหลวงพ่อ เมื่อกี้ แล้วไว้ใจไปเพื่ออะไร

หลวงพ่อ : อ้าว ไว้ใจ ไว้ใจก็ปลอดภัยไง ถ้าไว้ใจ ชีวิตเราก็ปลอดภัยสิ เอาชีวิตเราไปผูก ไปแขวนอยู่บนเส้นด้ายหรือ ความปลอดภัย ความทุกอย่างน่ะ มันก็ปลอดภัยใช่ไหม แค่ความปลอดภัยนะ ยังไม่ได้พูดถึงการวิปัสสนาเลย ไม่ถึงการชี้นำเลย แค่ความดูแล ความปลอดภัยนี่ เขาดูแลใครบ้าง

โยม : ท่านอาจารย์เรียนถาม อย่างนี้คนเราก็ไม่มีใครรู้ว่าตัวเองจะบวชไปแล้วจะสึก หรือจะอยู่ได้หรือไม่ได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรครับ

หลวงพ่อ : รู้ได้ก็นี่มั่นใจ ถ้ามั่นใจเราอยู่ได้ ต้องทดสอบ ทดสอบ อย่างที่เขาบวชๆ กันมานี่ เห็นไหม ๑ ถ้ามันมีความจริงจัง เห็นไหม ถ้าอย่างเรานี่ พูดถึงถ้ามี ใช่ มีครูบาอาจารย์ชี้นำก็จริงอยู่ แต่ถ้าเราไม่เข้มแข็ง เราทำของเราไม่ได้ จะทำอย่างไรล่ะ แต่ถ้าทำไม่ได้อย่างไรมันก็สร้างบารมี มันประสาเรา มันไม่กลัดเพชรเหมือนเราน่ะเว้ย กูนี่มี กูไปข้างหน้าอย่างเดียว

แล้ว ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนี่ หลอกกูให้ดูสิ พระพุทธเจ้าหลอก กูอยากดูพระพุทธเจ้าหลอก อัดเข้าไปเลย แล้วเวลามันท้อถอยนะ หลวงปู่มั่น ความเพียรน่ะ มากกว่ามึงร้อยเท่า มึงน่ะขี้ตีน อ้าว ลุกขึ้นมาสู้กับมันใหม่ เวลามันท้อถอยนี่ ยกหลวงปู่มั่นตลอด หลวงปู่มั่นน่ะไปดูสิ ทุกข์กว่ามึงกี่เท่า ไปไหนก็มีแต่คนกลั่นแกล้ง ไอ้นี่ไปอยู่วัดสะดวกสบาย วัดป่าบ้านตาด เปิดทางให้มึงภาวนาเลย ไปอยู่ไหน ครูบาอาจารย์ก็พร้อมเสมอ

ใครเขามาทำทางจงกรมมารอมึงนั่นน่ะ สมัยท่านมีไหมล่ะ นี่ทางจงกรมไว้รอมึงเลยนะ มึงยังไม่เอาอีกหรือ เห็นไหม เวลามันขึ้นน่ะ มันก็ฮึดๆๆ เวลาอดอาหารน่ะ อดอาหารทุกข์มาก จำแม่นเลยนะ อยู่บ้านตาดน่ะ ได้แจกท๊อฟฟี่ไง ท๊อฟฟี่น่ะอมเม็ดหนึ่ง แล้วก็กรอกน้ำเยอะๆ โอ้โฮ มันฟิตได้อีก ๒-๓ รอบ หลายๆ ชั่วโมงเลยนะ เวลาได้แจกท๊อฟฟี่ เก็บไว้เลยนะ เอาไว้เวลามันเพลียๆ อมเม็ดหนึ่ง แล้วเอาน้ำกรอกเข้าไปเยอะๆ ซัดเข้าไป ซัดเข้าไป

ต้องทำใจอย่างนี้นะ ใช่ จะบอกเลยว่าที่มันทุกข์ มันทุกข์นี่ มันอึดอัดอย่างนี้ มันจะ ประสาเรานี่ โยมต้องตั้งสตินะ แล้วผ่อนกิเลสมันลง แบบแรงอัดไง ผ่อนกิเลสมันลง ๕๐-๕๐ ไง คำว่า ๕๐ นี่ เห็นไหม ถ้าเราจำเป็นอยู่กับโลก เราก็จะอยู่กับโลกอย่างนี้ ถ้าเรามีจุดยืนของเรานะ มีจุดยืนของเรา เราอยู่กับโลกเขา แล้วเราอาศัยโลกเขา เพื่อมีเวลาประพฤติปฏิบัติ แล้วนี่มัน อย่างที่ว่าเวลาบอกว่าในสังคม เหมือนกันน่ะ

ในครอบครัวนะ พ่อแม่คนไหนเขาเลี้ยงลูกมานี่ เขาจะรู้เลย ลูกคนไหนมีเชาวน์ปัญญา เรามารู้ทีหลังไง รู้ทีหลังว่านี่ ในบ้านนะ พ่อแม่เขาหวังกับเราไว้มาก เขาจะหวังให้เรานี่ แบบว่าเป็นผู้ที่รับผิดชอบเลย แล้วพอเราบวชนี่ มันคนจริงนะ เขาไม่ให้บวชหรอก พ่อแม่คนไหนจะให้ลูกบวช เรานี่นะ ทำงานในบ้าน โดยไม่รับอะไรเลย อยู่ในบ้าน อยู่เกือบ ๒ ปีแน่ะ จนไปบวชนี่ พ่อแม่ต้องอนุญาตนะ จนเขา แบบว่าเราทนอยู่อย่างนั้น จนพ่อ จนเตี่ยน่ะหลุดปากไง มึงไปไหนก็ไปเถอะ เวลาเขาโมโหไง

วิ่งไปหาอุปัชฌาย์เลย พ่อแม่อนุญาตแล้ว พอบวชทีเดียวนี่ ไปถามได้ อยู่โพธาราม เตี่ยนี่ช็อคเลย ช็อคเลย ช็อคไปเลย ส่งโรงพยาบาลซานคามิลโล เราบวชแล้วนะ เขาพยายามจะดึงเรามา ให้มาเยี่ยม เสียใจขนาดนั้นน่ะ ช็อคเลยนะ เข้าโรงพยาบาลเลย หมดสติไปเลย เตี่ยนี่ เราถึงบอกว่า โอ้โฮ เขาหวังกับเราไว้เยอะจริงๆ หวังไว้กับเรามาก คนไหนมั่งไม่มีอุปสรรค แต่ขณะที่เราอยู่นี่ มันก็น้อยใจไง ทำอย่างนี้ก็ไม่ได้ ทำอย่างนี้ก็ไม่ได้ บอกเลยนี่ ทำธุรกิจน่ะ ต้องเป็นอย่างนั้น

เขากลัว กลัวเพื่อนไง กลัวเพื่อนปอกลอก แล้วมันก็เลี้ยงเพื่อน ดูแลเพื่อน โอ้โฮ มันก็จริงๆ น่ะ แต่จริงๆ มันก็รู้ รู้ระดับ แหม บอกเลย บอกว่าเราจะเซ็นเช็คเองไง ไม่ยอม ยังไงก็ไม่ยอม บอกว่าเช็คนี่เราเซ็น เราจะเซ็นเช็ค เวลาเอาของเข้าเราจะเซ็นเช็คเอง ไม่ยอม กลัวเพื่อนเอาไปกินหมด

นี่เห็นไหม เราก็มีผ่านอุปสรรคมา เห็นไหม นี่เราก็มีอุปสรรค เราก็ต้องผ่อนมัน แล้วเราคิดว่า เราจะไปทางไหน เราก็นี่ ถึงเวลาแล้ว ผลไม้นะถ้ามันสุกงอมนะ มันจะคั่วเอง เราดำรงชีวิตอย่างนี้ไป ถึงที่สุดแล้วนี่ ถ้ามันจะไปทางไหนมันไปได้ มันต้องไปได้สิ แต่ตอนนี้ ถ้ามันยังอย่างนี้อยู่นี่ เราก็ดำรงชีวิตอย่างนี้ อย่างนี้อยู่หมายถึงว่า นี่ไปได้ ๒ ทาง มันอัดอั้นตันใจนี่ เราก็ดำรงชีวิตอย่างนี้

นี่ฟังเทศน์ ฟังธรรม แล้วเอามาใคร่ครวญของเราเอง ถ้าผลไม้มันแก่นะ มันหลุดจากขั้ว มันจะไปทางใดทางหนึ่ง ชัดเจนเลย มันเป็นกรรมน่ะ มันเป็นกรรมของทุกๆ คนน่ะ เกิดมานี่ กรรมพาเกิด ชาติปิทุกขา ชาติการเกิดเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง แล้วเราเกิดมาแล้วนี่มันทุกข์จริงๆ น่ะ มันก็ทุกข์ชัดๆ นี่แหละ เพียงแต่ทุกข์แล้วนี่ เราจะออกทางไหน อย่างที่ว่านี่ จะไปทางโลกหรือจะไปทางธรรม

จะตายในสถานะของโลก เราเทศน์ทุกวันตอนเช้า เราพูดอย่างนี้ประจำ เทศน์ตอนเช้าเราพูดอย่างนี้ทุกวัน เห็นไหม ว่าถ้าตายเกิด ตายเกิด กับตายแล้วไม่เกิดนี่ มึงจะไปทางไหน จะไปทางไหนกัน ถ้าไปก็ต้องมุมานะ แต่จริงๆ ภาวนาเถอะ มานั่งเถอะ ปวดแน่นอน เวทนาเกิดแน่นอน ทุกข์แน่นอน แต่ทุกข์เพราะพอใจน่ะ ทุกข์เพื่อจะพ้นทุกข์น่ะ ไม่ใช่ทุกข์เพื่อจะมาเกิดๆ ตายๆ อยู่นี่ มาภาวนาเถอะ ทุกข์แน่นอน อดอาหารไม่ทุกข์ก็ไม่มีหรอก อดอาหารน่ะหิวจ้อกๆ เลยล่ะ

เดินน่ะก้าวขาแทบไม่ออก ทุกข์แน่นอน มาเถอะน่า แต่มันพอใจ มันจะพ้นทุกข์ มันจะไปให้ได้ มันถึงทำ นี่ไง ที่เราบอกว่า อดอาหารเป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ใช่หรอก อดอาหารเป็นวิธีการ เป็นอุบาย ไม่ใช่อดอาหารเพื่อจะพ้นทุกข์ อดอาหารพ้นทุกข์ไม่ได้หรอก เพราะอะไร เพราะกระเพาะอาหารมันพ้นทุกข์ไม่ได้ เวลาอดอาหาร กระเพาะอาหารน่ะ มันเป็นหัวใจหรือ อดอาหารกระเพาะอาหารมันก็ไม่ได้กิน ใช่ไหม พอไม่ได้กิน ใจมันก็หิวโหย ใช่ไหม ใจมันก็หาทางออก

อดอาหารเป็นวิธีการ อดอาหารเป็นอุบาย อดอาหารพ้นทุกข์ไม่ได้หรอก แต่เป็นอุบายวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าให้ดาบไว้ แล้วมึงปฏิเสธดาบ โง่ฉิบหาย

โยม : ขอกราบเรียนถาม การสร้างตรงนี้ เรื่องเกี่ยวกับตอนที่ ช่วงที่ท่านได้พูดเมื่อสักครู่นี้ แล้วก็ตรงที่จะเอาความอดทนเข้ามา ขอธรรมจากเรื่องความอดทน ที่จะเข้ามาสู่ในตอนช่วงปฏิบัติ

หลวงพ่อ : อดทนนี่มันขณะที่มันทำนี่ อดทนนี่ ถ้าเราไม่ปฏิบัติใช่ไหม เราว่าเราอดทนได้ แต่ว่า โอ้โฮ เนี่ย เดี๋ยวจะเดินจงกรม ๕ ชั่วโมง พอไปเดินจงกรมนี่ ๒-๓ ชั่วโมงมันก็จะตายละ อดทนมันต้องอดทนขณะที่เป็นนี่ มันสุดยอด เรานี่เอาคตินี้มาใช้นะ เราไปอยู่ทางอีสานน่ะ ไปอยู่ที่ไหนนี่ พยายามจะเข้ากับหมู่คณะ แล้วครูบาอาจารย์จะเห็น จะชอบ ทีนี้พระมันจะไม่ค่อยเห็นใจ พระมันจะแบบว่า เป็นธรรมดา มันก็ไม่อยากให้ใครมีความสำคัญมากกว่า

เขาก็เอาเณรมาแกล้ง เวลาจะล้างบาตรนี่นะ เณรมันก็เอาขาไปเหยียบไอ้ยางล้างบาตรไว้ คือไม่ให้เราล้างบาตร ไม่ให้เราทำอะไร เราก็อมน้ำไว้นะ นี่แล้วอาจารย์ก็บอกว่า ให้อดทนให้ขันติไง แล้วเราก็ใช้ปัญญาของเรานะ นี่ปัญญามันเกิดตอนนั้นน่ะ ปัญญามันเกิดว่า คนที่สำคัญกับเรา คือผู้ที่มีอำนาจติเตียนเรา ด่าเราได้ เราทนได้ ขันติอย่างหยาบๆ คนที่เสมอกันนี่ ติเตียนเราได้ ขันติอย่างกลาง ไอ้คนที่มันต่ำต้อย เณรน่ะ มันจะมีอะไรอำนาจเหนือพระ แล้วมันจะมากลั่นแกล้งพระอย่างนั้นได้อย่างไร

แต่เรารู้อยู่ว่าพระนี่ มันเอาเณรมา เพื่อเป็น เพื่อให้เรามีเรื่องปัญหากับเณร แล้วมันจะกระเทือนไปถึงอาจารย์ไง พออย่างนั้นปั๊บ เราก็ไม่พูด เขาจะทำอย่างนั้น เราก็หลีกไปทางอื่น เราก็หลีกไปทางอื่น เวลาจะล้างบาตรก็อมน้ำไว้ เขาจะแหย่อย่างไร เราก็อดทนเอา อดทนนะ โอ้โฮ มันแทบระเบิดนะ แต่เวลากลับมาถึงกุฏิ เฮ้อ เมื่อกี้นะถ้ามึงหลุดนะ เรื่องนี้ต้องกระทบครูบาอาจารย์

ครูบาอาจารย์ก็ต้องมาเดือดร้อนเรื่องของมึง มึงทนมาได้นี่ มึงเก่ง นี่ทนมาบ่อยๆ เห็นไหม นี่จะบอกขันติอดทนไง อดทนนี่ ถ้าอดทนในเหตุการณ์เฉพาะหน้า ถึงจะเป็นความอดทนที่แท้จริง นี่ก็เหมือนกัน ในวงการปฏิบัติ มันมี ๑๐๘ น่ะ เรานี่โดนมา ประสบการณ์มาเยอะ ถึงได้พูดไง ที่ว่าใครจะให้ความปลอดภัยมึง ใครจะจริงใจกับมึง

ถ้าคนเขาหวังผลประโยชน์นะ เขาไม่มีใจกับเอ็งหรอก เอาพระนี่ไปเป็นฐาน เหยียบขึ้นไป แต่มีครูบาอาจารย์เราที่ของจริงนี่แหละ ท่านปกป้องดูแลลูกศิษย์ ฉะนั้นความอดทนนี่ มันก็ต้องอยู่ที่ว่าจังหวะมันจะขึ้นตรงนั้นไง คือว่าถ้าเป็นปัจจุบันนี่มันแก้กันตรงนั้นได้ มันก็ต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ

ตอนนี้คิดเลย จะ ๕ ชั่วโมง ๑๐ ชั่วโมง อดทนตั้งแต่ตอนนี้ ยังไม่เกิดเลย อดทนได้ พอเกิดขึ้นมาน่ะ ล้มทุกที ฝึกมันไปเรื่อยๆ ฝึกมันไปเรื่อยๆ มันจะอดทนในขณะนั้น อดทนไว้ อดทนได้

โยม : แล้วมันผ่านด้วย

หลวงพ่อ : ต้องผ่าน

โยม : เป็น เป็น ต้องฝึกบ่อยๆ

หลวงพ่อ : ใช่ ต้องฝึก ทุกอย่างเกิดจากการฝึก

โยม : เหงื่อตกพลั่กอย่างไร ก็ต้องสู้

หลวงพ่อ : สู้สิ ตรงนั้นแหละ มันกำลังจะได้เสีย ขณะที่ใหม่ๆ นี่ยังไม่มีอะไรหรอก ขณะที่กำลังเหงื่อแตกพลั่ก กำลังได้เสีย ถ้าตรงนั้น แว็บ ชนะแล้วนะ หายหมดเลย

โยม : มันไม่มีความสงบขึ้นมาเลยนะคะ ทำอย่างไรก็ไม่เกิด

หลวงพ่อ : นี่ พอไม่สงบอย่างนี้ แล้วมันเป็นอย่างนี้ มันรู้เลยว่า แผนนี่มันหลอกโยมได้ เวลาจะสงบขึ้นมา มันก็หลอกอย่างนี้ แล้วก็ไม่เคยชนะมันเลย ก็เลยแพ้มันตลอดไป ถ้าวันไหนมันสงบ พั้บ! เออ มึงก็สงบได้นี่หว่า อย่างที่หลวงตาว่าน่ะ พอหงายหมา หงายหมา พอกิเลสหงายท้อง เอ้อ มึงก็มีท้องให้กูเห็นเหมือนกันนี่หว่า ถ้าวันไหนมันชนะขึ้นมาทีเดียวเท่านั้นน่ะ มันมีโอกาสเลย เอ้อ ไอ้นี่แพ้มาตลอดน่ะ หงายให้มันดูทุกที วันไหนเอามันหงายทีเดียว โอ้ มึงก็มีท้องเหมือนกันนี่หว่า หลวงตาว่านะ

นี่พอพูดอย่างนี้ปั๊บ มันเข้ากัน มันซึ้งน่ะ แพ้ตลอดเห็นไหม น้ำตาร่วงมา แพ้ตลอดเลย พอเอาชนะแล้ว เอ้อ เอ้อ มึงก็ล้มเป็นนี่หว่า นี่ก็เหมือนกัน ได้เสีย ได้เสียนี่ แล้วแพ้ทุกที กิเลสมันมีแค่นี้น่ะ กิเลสนี่เหนือเรานิดเดียว นิดเดียว แล้วข่มมึงตลอดชีวิต นิดเดียว นิดเดียว แค่นี้แหละ ไม่มากหรอก นิดเดียว นิดเดียว ชนะมึงนิดๆๆ น่ะ แต่แพ้จนตาย ถ้าวันไหนชนะ เอามันได้ทีหนึ่งน่ะ เอ้อ มึงก็มีท้องนี่หว่า

โยม : ขออนุญาตเรียนถาม เมื่อคืนนี้ฟังเทศน์ พระอาจารย์เจ้าค่ะ พอเสร็จแล้วตัวเองก็เกิดทุกขเวทนา ก็นึกถึงความอดทนนะเจ้าคะ โห มันสุดยอดเจ้าค่ะ ขอพระอาจารย์เอวังอีกสักทีได้ไหมคะ คือพยายาม อันนี้จะถูกต้องหรือจะอย่างไร ขอท่านได้โปรดแนะนำด้วยเจ้าค่ะ ก็นึกถึงครูบาอาจารย์ นึกถึงอะไรนี่ มันเหมือนกับส่งจิต ยิ่งติดมันยิ่ง มันก็หาความสงบไม่ได้ พอเข้ามาถึงพุทโธ ก็ไม่ลง ไม่ลง พอเข้ามาถึงลมหายใจ ลมหายใจก็ได้นิดหนึ่ง แต่มันเอาไม่อยู่เหมือนกันเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : มันเป็นบางคราว บางคราวมันก็สงบง่าย บางคราวมันก็สงบยาก นี่เราเอาตรงนี้ก่อนนะ มันเป็นบางคราวนะ บางคราวเราทำได้ง่ายๆ บางคราวเราทำได้ยากมาก แล้วทีนี้ไอ้ที่ว่านี่ ขณะที่มันขึ้นมานี่ กิเลสมันได้ช่องแล้ว เหมือนกันนี่ เราเปิดทางน้ำแล้ว พอน้ำมันแตกแล้วนะ มันจะเบิกกว้างไปเรื่อยๆ

นี่ พอบอกเริ่มต้นว่า เมื่อไหร่มันจะจบสักทีนี่ มันไปแล้ว เปิดทางน้ำมาอย่างนี้แล้ว น้ำป่ามันแตกแล้วน่ะ พอน้ำป่ามันแตกนะ โอ๊ย อาจารย์องค์นั้น อาจารย์องค์นี้ ปิดไม่อยู่หรอก น้ำมันแตกแล้ว กราบพุทโธเลยล่ะ

โยม : เอาไม่อยู่ มันต้องเริ่มตั้งแต่ตอนแรก

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ไม่ให้มัน ไม่ให้มันออกไปข้างนอก

หลวงพ่อ : ใช่ เราเคยเป็น เมื่อก่อนน่ะนั่งภาวนานี่นะ ๗-๘ ชั่วโมงนี่ ยิ้มๆ เลย ง่ายๆ แล้วบางวันมันเผลอไง ของหมูๆ ก็นั่งไปเรื่อยๆ อย่างนี้ บางวันมันเผลอจริงๆ นะ แล้วพอเวทนามันมานะ โอ้โฮ เอาไม่ทันเลย แต่นิสัยเราแปลกนะ ถ้านั่งอย่างนี้แล้ว ต้องอยู่อย่างนี้ตลอด ถ้าพับเพียบต้องพับเพียบ ไม่ขยับเลย จะกี่ชั่วโมง มึงจะปวดขนาดไหน เอา เอากัน แต่วันนี้นะ แหม กูเกือบตาย

แต่ถ้าวันไหนกำหนดพุทโธตั้งสติดีๆ นะ เอาเราไม่ได้หรอก มาไม่ได้ แต่บางวันเผลอ เพราะคำว่าเผลอ มันชะล่าใจไง แล้วของอยู่กับมือ ของทำอยู่ทุกวันน่ะ บางทีก็นั่งเลย วันนี้สบายๆ อ้าว พอมันมาทีหนึ่งนะ บ๊ะ เอาเรื่องเว้ย เป็น เป็น เป็นทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าพูดถึง พออย่างนี้ปั๊บนะ ก็เข็ดนะ ต่อไปตั้งสติก่อนเลย พุทโธน่ะ ไม่มีทางได้กิน กูไปได้สบาย แต่บางทีมันชะล่าใจไง

โยม : ถ้าอย่างนั้นการที่ การที่เรา พอนั่งไป เราไปอาราธนาหลวงพ่อช่วยด้วยอะไรนี้ ไม่ถูกต้อง

หลวงพ่อ : อ้อนวอนเอาอย่างนี้ ไม่มีหรอก ไม่มี การปฏิบัติไม่มี ไม่มีใครสอน กรรมฐานไม่เคยมีขอ ถ้าขอนี่ไม่ใช่กรรมฐานแล้ว ไอ้นี่มันเจ้าแล้ว ปฏิบัติแล้วไปขอเจ้า มันจะได้อย่างไรล่ะ ไม่มี เอ้อ เอวังเนอะ เอาล่ะ เอวัง