ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เทศน์หลังฉันจังหัน

๓ ส.ค. ๒๕๕๑

 

เทศน์หลังฉันจังหัน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

มันพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะมันมาพูดเลย พูดถึงเอดิสันกับไอน์สไตน์ ใครฉลาดกว่ากัน ไอน์สไตน์เขาคิดทฤษฎีสัมพัทธ์ไว้นะ เขาพูดเอง ถ้าเขาเลือกนับถือศาสนาได้ เขาขอเลือกนับถือศาสนาพุทธ เพราะอะไรรู้ไหม มันพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไง ทฤษฎีสัมพัทธ์

ดูอย่างพวกนักวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์มหาวิทยาลัยเขามาคุยกับเรา เขาบอกว่าทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีสัมพัทธ์เขาเข้าใจได้ แต่เขาเข้าใจจุดระเบิดไม่ได้ เขาถามมาอย่างนี้ เราเข้าใจเลย เขาเข้าใจจุดระเบิดไม่ได้นะ

แล้วของเรา ดูสิ ดูพระเราสิ ๙ ประโยค ๑๐ ประโยคน่ะ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ แหม! นกแก้วนกขุนทองเลย ท่องกันปากเปียกปากแฉะเลยนะ ปัจจยาการน่ะ แล้วเวลาหลวงตามา ที่สมเด็จวัดนรนาถฯ บอก “มหาดูนี่หน่อยสิ”

“ไม่ดู ไม่ดู เพราะความจริงไม่เป็นอย่างนี้”

แล้วของเราพิจารณาของเรา พิจารณาของเรา มันเป็นเพราะพวกเรา คือพวกเราเกิดมามีบุญ มีบุญเพราะอะไร มีบุญเพราะว่าปัจจยาการอย่างนี้มันเป็นพุทธวิสัย

นี่ของหลวงปู่ชานะ ปัจจยาการของหลวงปู่ชาท่านบอกว่า มะพร้าวตกหลุดจากขั้ว ตกลงโคนต้น

เราจะอธิบายว่ามะพร้าวอยู่ตรงไหนของต้น ปึ๊บ! ตกลงโคนต้นเลย มะพร้าวหลุดจากขั้ว หลุดจากขั้วจากต้นมันน่ะ คอมันน่ะ มันก็หลุดลงโคนมันใช่ไหม พรึบ! ลงโคนเลย นี่ปัจจยาการของหลวงปู่ชาเปรียบเทียบ

ทีนี้ปัจจยาการของหลวงตาล่ะ ถ้าใครไม่เห็นปัจจยาการ ใครไม่เห็นการกระทำของมัน เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมัน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา คือตัวเห็นอวิชชาไง คือเห็นตัวจิตเดิมแท้ไง ถ้าใครไม่เห็นปัจจยาการ ไม่เห็นการเกิดดับของจิต นามรูป หลวงปู่ดูลย์ก็พูด นามกับรูปคือตัวจิต นามกับรูป มันมีนามกับรูปเท่านั้น ถ้านามกับรูปนะ เวลาเราอธิบายนามกับรูป สังโยชน์ ๕ สังโยชน์ข้างบนไง รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

รูปราคะ อรูปราคะนั่นแหละนามรูป รูปราคะ รูป อรูปราคะ นาม ถ้าอธิบายทางโลกก็รูปฌาน อรูปฌาน ถ้ารูปฌาน อรูปฌานไง นั่นน่ะสังโยชน์เบื้องบน นี่เห็นสภาวะแบบนั้น

แล้วพอทางวิทยาศาสตร์เขาว่าปัจจยาการอธิบายได้ แต่จุดระเบิดไม่ได้

ไม่ได้หรอก เพราะมันอธิบายได้แค่ทางวิชาการนี้ ดูอย่างพระพุทธเจ้า ถ้าปัจจยาการอย่างนี้ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่อธิบายไว้นะ นี่ไง ทำไมถึงว่า มีพระพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ไอ้พวกเรานี้มีธรรมอยู่แล้วนะ แล้วเราพยายามจะเข้าไปให้ถึง แล้วเข้าไปให้ถึง มันเหมือนกับว่านะ อย่างเบนซิน เราจุดไฟ เบนซินจะติดทันทีเลย เพราะมันไวไฟ ความคิด ปัจจยาการมันจะเร็ว เร็วยิ่งกว่านั้นอีก พับ! พับ! พับ! พับ! แล้วใครจะอธิบายระหว่างช่วงปัจจยาการของมัน นี่พูดถึงความเห็นนะ

ทีนี้เพียงแต่ทางวิชาการเขาก็ยังเข้าใจได้ เพราะอะไร เข้าใจได้ด้วยปัญญาพระพุทธเจ้าไง พุทธวิสัย เห็นจริง แล้วเข้าใจจริง แล้วอธิบายไว้เป็นทางวิชาการ แล้วพวกเราไปซับเอาวิชาการนั้นมา ก็อปปี้มาไง ไปเห็นวิชาการของเขา ก็เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่ทดสอบทางวิชาการไว้ แล้วเราไปก็อปปี้เขามา แล้วเราทดสอบได้หรือยัง เราทดสอบได้นะ เราจะอธิบาย เราพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ เราต้องเขียนเป็นเชิงวิชาการออกมาใช่ไหม เพื่อลงในนิตยสาร เพื่อลงเป็นทางวิชาการให้เขาศึกษา ไอ้ตรงนี้ พระพุทธเจ้ามีปัญญาตรงนี้ไง มีปัญญาตรงที่เข้าใจตรงนี้แล้วอธิบายตรงนี้ไว้ ทีนี้พอเราเข้าไปปั๊บ มันเลยเป็นนกแก้วนกขุนทอง นกแก้วนกขุนทองเพราะอะไร เพราะไปอธิบายให้มันแยกส่วนไง อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ คือแยกส่วนไป ทีนี้มันไม่เหมือนกันเพราะอะไร

เพราะขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกส่วนเป็นกอง กองของรูป กองของเวทนา กองของสัญญา สังขาร วิญญาณ นี่แยกส่วนเลย เป็นเอกเทศ เป็นส่วนของมันเลย แล้วผสมกัน มันรวมตัวกันถึงจะเป็นอารมณ์ความรู้สึก เป็นความคิด ความคิดนี้แยกได้เป็นกองเลย แต่พอมันละตรงนี้ไปแล้ว มันเป็นตัวจิต ตัวจิตแยกไม่ได้ ถ้าแยกได้ พระพุทธเจ้าแยกแล้ว พระพุทธเจ้าฉลาดกว่าเราหลายเท่า

แยกไม่ได้เพราะอะไร เพราะมันเป็นสัมพันธ์กัน เป็นปัจจยาการ สิ่งนี้มีถึงมีสิ่งนี้ อิทปฺปจฺจยตา แล้วมันเกิดซ้อน เกิดซ้อนหมายถึงเกิดทีเดียว เกิด พรึบ! แต่มันซ้อนๆๆ กันอยู่ พรึบ! พรึบ! พรึบ! หลวงตาถึงบอกว่า อู้ฮู! หลวงตาท่านพูดเลยนะ ไม่เป็นอย่างนั้น มันพับ! พับ! พับ! เลย

แล้วพอเราประพฤติปฏิบัติกัน เรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์พูดไว้อย่างนั้น ทุกคนก็ มันก็เป็นสัญญาอีกล่ะ ขนาดว่าเขาจะนิมนต์เราไปพูดเลย มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์เขามาคุยกับเรา พอคุยกับเราเสร็จแล้ว นิมนต์หลวงพ่อไปพูดให้นักวิทยาศาสตร์ฟังได้ไหม

บอกกูไป เดี๋ยวมันถีบกูตกมาเลยล่ะ เดี๋ยวมันถีบกูหงายท้อง

คนที่ศรัทธา คนที่มีความเชื่อ เราคุยกันด้วยเหตุผล ถ้าคนที่เขาไม่มีศรัทธา ใจไม่เป็นกลาง เขาต้องยึดถือทางทฤษฏี ทางวิทยาศาสตร์ ฉะนั้น อย่างนั้นแล้วต้องพิสูจน์กัน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาไม่เปิดใจว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรมกับนามธรรม สิ่งที่เป็นเรื่องโลกกับเรื่องธรรม เขาไม่ใช่คนไม่ดีนะ แต่ในเมื่อใจเขายึดมั่นในทางโลก เขาต้องยึดอย่างนั้น แล้วต้องพิสูจน์กันให้เห็นได้ภาพอย่างนั้น ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่จริง ทำไมสร้างทำภาพให้ดูไม่ได้...ไม่เชื่ออีก พอไม่เชื่ออีก ไปพูดแล้วมันกลับจะไม่เป็นประโยชน์ไง มันจะไม่เป็นประโยชน์ต่อเมื่อยังก้ำกึ่งอยู่ ยังไม่เปิดรับ มีปัญหาพอสมควร

ทีนี้เวลาไปเทศน์ ดูสิ เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์ขึ้นมาแต่ละครั้ง คนที่มีศรัทธาความเชื่อจะสำเร็จไปเลย ไอ้คนที่ยังไม่เชื่อ อาจจะเชื่อมาบ้าง ไอ้คนที่คัดค้านก็คัดค้านไปเลย แม้แต่พระพุทธเจ้าเทศน์นะ ยังไม่มีใครเชื่อหมดเลย แล้วอย่างพวกเรา นี่พูดถึงว่าพุทธวิสัย แล้วพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วสาวกสาวกะมันก็อยู่ตรงนี้ อยู่ที่ว่าใครจะอธิบายได้มากแค่ไหน

แล้วอย่างเวลาภาวนาเป็นกับภาวนาเป็น มันจะลึกจะตื้น มันจะไม่เป็นอย่างที่เราคิดกันโลกๆ ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าจะแบ่งทำไม โลกียปัญญากับ โลกุตตรปัญญา แล้วอย่างปัญญา ๓ สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา

ทีนี้ปัญญาที่เรายิ่งสงสัย เรายิ่งคิดนะ มันยิ่งสงสัยเข้าไปใหญ่เลย แต่ถ้าคิดไปๆๆ เรามีสติตามไปนะ จากไปมันจะเป็นจินตมยปัญญา มันจะเริ่มปล่อย ซ้ำเข้าไปๆ เพราะอะไร เพราะหลวงปู่มั่นที่ลงมาจากเชียงใหม่ มาพักอยู่วัดในกรุงเทพฯ แล้วสมเด็จมหาวีรวงศ์พิมพ์ถามน่ะ “เฮ้ย! ทำไมเราชอบคิดวะ ทำไมเราชอบคิด”

“พระเดชพระคุณคิดมากๆ เลยครับ พระเดชพระคุณคิดมากๆ เลยครับ แต่มีสติตามความคิดไป ตามความคิดไป”

เพราะความคิดเรามันใช้ เหมือนกับว่าเราจะเอาเสือไง เราจะต้องให้เสือออกจากถ้ำเสือ ความคิดมาจากจิต ความคิดมาจากจิต ความคิดไม่ลอยมาจากไหนหรอก ความคิดของคนอื่นเป็นความคิดของเขา ความคิดของเรามันออกจากจิตของเรา

ทีนี้เมื่อกี้ที่ว่า อะไรกระทบกับอะไร มันกระทบกับอะไร

ถ้ามันไม่มีจิต ไม่มีอะไรกระทบหรอก เวลาเสียงมันกระทบหูเรา เราจะเข้าใจเสียงนั้น แล้วเสียงมันกระจายไปในอากาศ อากาศรับรู้ ใครได้ยินบ้าง ใครได้ยินเสียงบ้าง เสียงคลื่นต่างๆ มันไปในอากาศ ใครได้ยินบ้าง แต่ถ้ามันมากระทบหูเรา เราได้ยิน เพราะอะไร เพราะเรามีใจ แต่ถ้าใจเราเผลอ ใจเราไม่รับรู้ มันกระทบอยู่ตลอดเวลา ทำไมเราไม่ได้ยิน

มันต้องกระทบกับตัวจิต มันถึงมีความรู้สึกขึ้นมา ถ้าไม่กระทบกับตัวจิต มันจะรู้สึกอะไร เสียงมันมีอยู่แล้ว คลื่นมันมีอยู่แล้ว แต่ถ้ามันกระทบกับตัวจิตปั๊บ จิตมันกระทบกับอะไร ทีนี้คนมันเห็นไง นี่เวลาพูดไปเขาถามว่า แล้วทำไมต้องมาทำ ก็ชีวิตนี้ก็ทุกข์อยู่แล้ว ทำไมจะต้องมาทุกข์อีก เขาคิดกันอย่างนั้นไง ชีวิตนี้ก็ทุกข์อยู่แล้ว เกิดมาก็เท่านี้ ตายแล้วก็จบ มนุษย์ต่อไปนี้สูญพันธุ์ มันว่านะ

เราบอกว่าไม่จริง กูไม่เชื่อมึง

“หลวงพ่อไม่เชื่อ ไม่เชื่อหรือ ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วนะ”

บอกกูไม่เชื่อมึงหรอก กูบอกเลยนะ ในเมื่อมีคนอยู่นะ มีผู้หญิง ผู้ชาย คนจะเกิดตลอดไป กูไม่เชื่อมึง ไม่เชื่อ มันพยายามจะพูดบอกว่าสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มันจะมาพูดให้เราเชื่อให้ได้เลย

ก็อย่างที่ว่า มันก็ไม่เชื่อเรา เราก็ไม่เชื่อมัน กูไม่เชื่อมึงอยู่แล้ว มึงอธิบายอย่างไรกูก็ไม่เชื่อ ๓ คนช่วยกันอธิบายใหญ่เลย จะให้เราเชื่อมัน

เราจะพูดอย่างนี้ พูดแบบคนเริ่มต้น ศรัทธาเริ่มต้น โอกาสอย่างนี้เรารู้เลยนะ ถ้าฝังความรู้สึกหรือฝังประเด็นให้มันได้คาไว้ในใจนะ ถ้าต่อไปมันคิดได้นะ มันจะคิดถึงว่า โอ๋ย! ตอนเป็นเด็กมันไปเถียงเขา เหมือนเราเคยเถียงพ่อแม่น่ะ แล้วอาย ใครเคยเถียงพ่อแม่ไว้ พอโตขึ้นมา อายฉิบหายเลย ไม่น่าเถียงเลย มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

นี่ก็เหมือนกัน เด็กมันเพิ่งเข้ามา เพียงแต่พ่อแม่เขาอยากจะให้ พ่อแม่คงจะอึดอัดเต็มทีเหมือนกัน ลูกดีอยู่แล้วไง ก็อยากจะให้ดีทางนี้ด้วย ไม่ใช่เด็กไม่ดีนะ เด็กดี เด็กดีเพราะมันพูดมาได้ขนาดนี้ มันพูดถึงความคิดของสังคม ค่าเฉลี่ยของทางยุโรป ค่าของคนมันดีกว่า เราก็ยอมรับเพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าสังคมเขามันผ่านวิกฤติมามาก เห็นไหม ปฏิวัติฝรั่งเศส อังกฤษ มันสู้รบกัน ปฏิวัติกันมากี่ร้อยกี่พันหน แล้วสังคมของเขา ภูมิอากาศน่ะ เวลาหน้าหนาวมันบีบคั้นไง มันบีบคั้นให้มนุษย์ต้องพยายามหาทางดำรงชีวิตให้ได้ไง มันถึงต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญหาทางออกไง

ไอ้พวกเรามันเกิดในสังคม เกิดในประเทศสมควรไง นั่งนอนอย่างไรก็แล้วแต่นะ เข้าป่าไปมันก็มีอาหารให้กิน ผลไม้ ใครมาเห็นเมืองไทยตกใจนะ อู้ฮู! มีทุกอย่างเต็มไปหมดเลย เพราะลูกศิษย์มันพูดให้ฟัง “หลวงพ่อ อยู่อเมริกานะ ไอ้สับปะรดนะ แกร็นก็แกร็น เล็กก็เล็กนะ เปรี้ยวฉิบหายเลย มันกินกันอร่อยมากเลย เพราะมันไม่มีจะกินกันไง ไอ้ของเราดีๆ ทั้งนั้นเลย”

เราจะบอกว่าเราเกิดในอู่ข้าวอู่น้ำไง พอเกิดในอู่ข้าวอู่น้ำ ความดิ้นรนความขวนขวายมันก็น้อยลงกว่าเขา ของเขานะ ขนาดปัจจุบัน ลูกศิษย์เราไปอยู่อเมริกากลับมา เขาบอกเลยนะ “อู้ฮู! ไปอยู่ ผมสงสารมันเลยน่ะ สับปะรดก็แกร็นๆ เล็กๆ น่ะ เปรี้ยวก็เปรี้ยวนะ เขากินกัน อู้ฮู! เอร็ดอร่อย” มันเป็นหน้าของมันนะ ไม่มีก็ไม่มีเลย แต่ของเราทุกฤดูกาล มีให้กินตลอด นี่ไง เกิดในประเทศอันสมควร ประเทศอันดีนะ

ยิ่งเมื่อก่อนนี่นะ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว โธ่! แม่น้ำแม่กลอง หน้าน้ำนะ เวลาหน้าน้ำมา ไอ้ปลาสร้อยเป็นแพเลย เป็นแพเลย เป็นแพเลย โพธาราม ราชบุรีมันดังเพราะปลาสร้อย เพราะมันเหลือเฟือไง เขาก็เอามาหมักเป็นน้ำปลาปลาสร้อยไง โรงน้ำปลา เมื่อก่อนปลาจะเยอะมาก เยอะ เยอะจนมันลอยมาเป็นแพๆ เลย ไปช้อนเอาเลย ตักเอาได้เลย อุดมสมบูรณ์ขนาดนั้นน่ะ เดี๋ยวนี้ไปดูสิ ต้องเลี้ยงในกระชังนะ ของใครของมัน ไม่มีหรอก เลี้ยงในกระชังนู่นน่ะ กูหวงด้วย คนมันเยอะขึ้น

เราเทียบนะ เราดูข่าว เมื่อก่อนนะ ฟิลิปปินส์มันน้อยกว่าเรา ตอนนี้ฟิลิปปินส์ ๙๐ กว่าล้าน คนไทย ๖๐ ล้านเพราะอะไร เพราะศาสนาคริสต์ห้ามคุมกำเนิดไง ฉะนั้น คนของเขา ๙๐ กว่าล้าน พอ ๙๐ กว่าล้าน ต้องสั่งข้าวทั้งหมด ไอ้ของเรา เราเป็นพุทธ ทีนี้พุทธแล้ว ดูการวางแผนครอบครัว เราก็ดูแลกัน คุมกัน ต่างกันตั้งเท่าไร ๖๐ กับ ๙๐ ทั้งที่เริ่มต้นมาใกล้ๆ กันหมดเลย แต่ตอนนี้เขาไปแล้วเกือบ ๑๐๐ ล้าน ของเรายัง ๖๐ กว่าล้าน แล้วถ้ามันมากไปกว่านี้ มากไปกว่านี้มันก็ต้องกินต้องอยู่ อันนี้โทษใครไม่ได้ ให้สังคมมันปรับสภาพไปเอง

ธรรมะจัดสรรไง ถึงเวลามันก็ต้องปรับสภาพไป นี่มันก็อยู่ที่ฝ่ายปกครอง อยู่ที่อำนาจรัฐจะกำหนดนโยบายอย่างไร มันอยู่ที่นโยบาย ไอ้พวกเราก็เหมือนกับเหยื่อนะ กำหนดนโยบาย เราก็ต้องไปตามนั้นน่ะ ทางรัฐเขากำหนดกติกามา การดำรงชีวิตเราก็ต้องเป็นไปตามนั้น สัตว์มนุษย์ อันนี้อย่างนี้ปั๊บ ถ้าเราเข้าใจ เรามองตรงนั้นไง ที่ว่า ทำไมคนก็ลำบากอยู่แล้ว ชีวิตเกิดมาก็ลำบากอยู่แล้ว ทำไมต้องมาประพฤติปฏิบัติ เพราะมาประพฤติปฏิบัติมันก็ตรงนี้ไง พอถึงที่สุดแล้วมันไม่มีทางไป

มันยังเด็กวัยรุ่น เราดูเลย มันยังเป็นวัยรุ่นอยู่ เหมือนกับพ่อแม่กำลังจะผ่อนถ่ายไง สังเกตดู พ่อแม่กำลังจะมอบธุรกิจให้ลูกต่อไปน่ะ ทีนี้การกำลังจะผ่อนถ่าย มันเหมือนเรา มันเหมือนกับไฟแรงไง เพิ่งจบใช่ไหม เพิ่งมาใช่ไหม โอ้โฮ! มองโลกเหมือนเรากำลังเป็นวัยรุ่นเลย แล้วอายุมากขึ้นมันก็จะคอตกแล้ว เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโลกมีเท่านี้เองน่ะ กูสู้ไปขนาดนี้ก็มีเท่านี้ แล้วจะออกทางไหนล่ะทีนี้

แต่ตอนนี้มันยังว่าโลกนี้กำลังสวยงาม ดอกไม้เพิ่งผลิไง หน้าดอกไม้มันเพิ่งแตกหน่อ โอ้โฮ! ทีนี้ความคิดมันก็ฮึกเหิมมา ทีนี้พอฮึกเหิมมันถึง แต่พอมันคุ้นชินเข้าไปแล้วนะ นั่งคอตกแล้วนะ อย่างพวกเราพอแก่เฒ่านั่งคอตกแล้ว จะไปไหน จะไปไหน ต้องไปแน่นอน จะไปไหน แล้วจะไปกันอย่างไร แต่ถ้ามันพร้อมนะ เราพร้อมเราอะไร จะไปไหนก็ต้องไป มันหลอกตัวเองไม่ได้ แต่เพราะยังเด็กอยู่ มันคิดว่าเวลายังอีกยาวไกลใช่ไหม แล้วยังมีอะไรอีกเยอะแยะเลยที่ให้เราทำ โอ้โฮ! กำลังไฟแรง

เมื่อวานเรานั่งดูแล้ว เราคุยกับเขาไปเราก็สมเพชไป เราสมเพชไปตรงไหนนะ ถ้าพูดไปถึงถ้าเมื่อก่อนนะ เรายังคิดเลย ถ้าเมื่อก่อนเรายังเป็นพระวัยรุ่นๆ อยู่ อย่างนี้นะ เถียงกันตายเลย ต้องเอาแพ้เอาชนะกันไปข้างหนึ่ง เพราะเราก็มั่นใจในข้อมูลเราเต็มที่นะ ถ้าเป็นเมื่อก่อนนะ มึงกับกูได้ซัดกันแหลก แต่เมื่อวานพูดไปหัวเราะไปในใจนะ ขำก็ขำนะ แล้วลูกกับแม่ไง ก็นั่งดู แม่ก็ความเห็นไปอีกอย่างหนึ่ง แล้วแม่ก็อ่อนน้อมถ่อมตนนะ แม่บอกว่าที่แม่ทำอย่างนี้เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเมื่อก่อนแม่ก็มีการศึกษาน้อย แม่ทำอะไรแม่ก็ทำบุญ เอาบุญช่วยอย่างเดียวไง แล้วก็ประสบความสำเร็จมาอย่างนี้ๆๆ ไง

ประสาเรา พื้นฐานการศึกษา การตลาดเราไม่เข้าใจหมด มันก็ต้องหาเอกสารอะไรอิงมาใช่ไหม แต่ไอ้ลูกมันนี้ศึกษาเพราะพ่อแม่มันเตรียมพร้อมมาให้ไง มันก็เลยดูถูกไง ไอ้แม่ก็พูดไปอีกอย่างหนึ่งนะว่าที่เราเชื่อเพราะเหตุนี้ๆๆ เพราะเมื่อก่อน ทำบุญตักบาตร อธิษฐานอ้อนวอนตลอด แล้วทำธุรกิจมันก็มาได้ไง พ่อแม่เขาก็มาทางนี้ แล้วก็ส่งลูกไปเรียนนอกหมดเลย พอลูกมันกลับมามันถอนหงอกพ่อแม่มันเลย

เขาเป็นแม่เป็นลูกกันนะ ไอ้แม่ก็มีความเห็น แล้วแม่ก็เลี้ยงลูกมา เรายังบอกเลย พวกนี้มันยังไม่มีลูก ถ้ามีลูกมันจะไม่พูดอย่างนี้เลย เพราะเมื่อวานมันพูดขนาดว่า “ถ้าแม่ผมเอาผมไปทิ้งในถังขยะ...” พูดถึงบุญคุณไง “...แล้วมีคนเก็บผมไปเลี้ยง แล้วก็คนที่เก็บผมไปเลี้ยงให้ผมมาฆ่าแม่ผม ผมก็จะฆ่าแม่ผม” มันพูดอย่างนี้เลยนะ

เราบอกว่า อ้าว! พ่อแม่ที่ให้เกิดมาก็พ่อแม่มีบุญใช่ไหม แล้วไอ้คนที่เลี้ยงมาก็มีคุณเหมือนกัน ไอ้บุญคุณก็คือบุญคุณ กตัญญูกตเวทีก็คือกตัญญู คนทำดีกับเราก็คือดีใช่ไหม นี่เขาจะหักล้างเราไง เขาจะพูดหักล้างเรา เราฟังดูแล้ว อืม! คน แต่พูดถึงนิสัยใช้ได้ เพราะว่าเวลาเขาพูดถึงความดีความชั่วได้ชัดเจน เขาพูดถึงดีก็คือดี ชั่วก็คือชั่ว แต่เขาจะพูดว่าดีคือดีในวิทยาศาสตร์ไง ดีแค่นี้ไง ไม่มีสืบต่อไง ไม่มีอดีตอนาคต คือปัจจุบัน ตายแล้วสูญ ถึงบอกว่ามนุษย์สูญพันธุ์นะ มันกล้ายืนยันว่ามนุษย์จะสูญพันธุ์ แต่เราไม่เชื่อ

เราไม่เชื่อเพราะมนุษย์ ปัญญามันปรับตัวเองสุดยอดเลย ต่อไปถ้าเกิดวิกฤติขึ้นมา มนุษย์จะเข้าถ้ำ มนุษย์จะอยู่ในถ้ำ แล้วมนุษย์อยู่ในถ้ำแล้วจะปรับสภาพ แล้วสิ่งที่ฟื้นฟู มนุษย์ตอนนั้นจะออกมาขยายพันธุ์ใหม่ ต่อไปมนุษย์จะต้องปรับตัวลงจนมนุษย์เหลือส่วนน้อยไง เพราะทรัพยากรไม่มี ทุกอย่างไม่มี แล้วสภาพมันจะปรับไป

เมื่อวานมันพูดเอง มันบอกว่าโลกร้อน มันพูดนะ บอกว่าหมีขั้วโลกจะสูญพันธุ์แล้ว มันพูดอย่างนั้นนะ น้ำขั้วโลกมันละลาย

แล้วกูถามมัน แล้วน้ำขึ้นมาเท่าไร น้ำที่ว่าโลกร้อนๆ มันขึ้นมาเท่าไร มันก็พูดเองนะ โลกทางวิทยาศาสตร์ ทางประวัติศาสตร์ว่าโลกเคยร้อนกว่านี้มาแล้ว โลกเคยร้อนมามากกว่านี้แล้ว แล้วปรับตัวกลับมาจนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแล้ว แล้วตอนนี้โลกนี้จะปรับตัวอีกหนหนึ่ง แล้วพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ต่อไป แล้วโลกจะปรับตัวอีกหนหนึ่ง อนาคตวงศ์ก็จะมาตรัสรู้อีก ๑๐ องค์ เราเชื่ออย่างนี้

ฉะนั้น มันบอกมาว่ามนุษย์จะสูญพันธุ์ กูหัวเราะเลย เพราะมนุษย์ เราถึงบอกว่าไอ้ลิงชิมแปนซีที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์กัน กูไม่เชื่อ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะวิทยาศาสตร์มันพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ใช่ไหมว่ามนุษย์นี้มาจากไหน มาจากพันธุ์สายพันธุ์ไหน แต่สำหรับเรานะ เราย้อนกลับพระพุทธเจ้ามา ๔ พระองค์ พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์นี้กาลเวลามันกี่ล้านๆๆ ปีที่มันจะพิสูจน์กัน เพียงแต่หลักฐานนี้มันหาไม่เจอไง มึงหาหลักฐานก็ไม่เจอ มึงหาหลักฐานวิทยาศาสตร์ไม่เจอ แต่หลักฐานทางจิต เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่าจิตนี้เกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย จิตนี้เกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย คือสิ่งที่นามธรรม

เขาก็พูดอยู่ เมื่อวานเขาพูดคำนี้ เขาบอกว่าเขาทำดีไง ทำดี ทำดีไปทำดีที่ไหนก็ได้ ทำไมแม่ต้องให้มาบวช คือหงุดหงิดเพราะแม่ให้มาบวช หงุดหงิดมาก

เราทำดีที่ไหนก็ได้ เราบอกจริง เราก็พูดทำนองกลับไง เขาติ เราบอก ของเรานี่นะ ในสังคม เราชี้ให้เขาดูไง เพราะเขาคงเห็นวัดมามากเหมือนกัน เราบอกในวัดเรามีพระองค์เดียว เห็นไหม ทำไมถึงต้องมีพระองค์เดียว มีพระองค์เดียวเพราะอะไร เพราะว่าเราอยู่ในป่ากันไม่มีพระ เราธุดงค์ไป เราไม่เอาพระไปด้วย แล้วจะไปกราบพระกันที่ไหน เรากราบพระกันที่ใจไง ถ้าใจเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า เราก็กราบกันที่นี่ เราซึ้งหัวใจที่นี่ แต่ที่มีไว้องค์เดียวเพราะอะไร เพราะสังคม เด็กๆ มามันมานั่งอยู่ในวัดมันยังไม่รู้ว่าที่นี่เป็นวัดเลยนะมึง “แม่ แม่จะพาหนูไปวัด เมื่อไหร่จะไปวัดสักทีล่ะ” มันนึกว่าวัดต้องมีโบสถ์วิหารไง

อันนี้มันก็ต้องมีพระไว้องค์หนึ่งเพื่อสมมุติให้เข้าใจกันได้ เห็นไหม เพราะศรัทธาเด็กๆ ศรัทธาทั่วไปมันมีใช่ไหม เขาก็มากราบพระองค์นี้ นี่สัญลักษณ์ว่านี่พระพุทธเจ้า เพราะอะไร เพราะศรัทธามันมีสูงมีต่ำ มีคนลึกตื้นต่างกันตั้งเยอะใช่ไหม ก็ต้องมีจุดมีเป้าหมาย มีเป้าหมายให้คนยึดเหนี่ยว แต่ถ้าคนที่สูงกว่า เราสูงกว่าอยู่แล้ว สิ่งที่เรารับรู้อยู่แล้วมันจะเป็นอะไรไป นี่ไง ถ้าจิตใจมันเป็นธรรม มันจะเห็นประโยชน์ตั้งแต่สูงยันต่ำ แต่เราก็อยู่ตรงกลางเพื่อจะให้ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไอ้นี่มาบอกว่าลบล้างเลย ไม่ต้องให้มีเลย เราเจอพระอย่างนี้เยอะแล้ว มาทีแรกไม่ต้องไหว้พระๆ เสร็จแล้วก็มาไหว้ทีหลัง เพราะเราอยู่ในสมมุติ

โยม : พระอาจารย์ครับ อธิบายนิดหนึ่งครับว่า ท่านพุทธทาสท่านเขียนว่า ตัวกูไม่ใช่ของกู กูคืออะไร คือจิตหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าพูดถึงความเห็นของเขา ไม่ใช่ตัวของกู เราพูดเลย อย่างนี้ความรู้สึกเรานะ เป็นปรัชญา เพราะยังพูดอยู่ว่าไม่ใช่ตัวกูของกู สำหรับพวกเรานั่งอยู่ ลมพัดมาเราบอกเราไม่เย็น ลมพัดมานี่ เราบอกเราไม่เย็น ใช่ไหม ถ้ามันจะพูดอย่างแบบเขาว่าไม่ใช่ตัวกูของกู คือว่ากูก็ไม่รับรู้ร้อนรู้หนาว แล้วไอ้กูไม่รับรู้ร้อนรู้หนาวคือใคร

โยม : จิตหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ก็คือตัวกูไง ที่ว่าไม่ใช่ตัวของกูก็คือตัวกู ไม่ใช่ตัวกูของกู นั่นล่ะคือตัวกู เพราะกูพูด กูพูด กูรับรู้ของกูไง

โยม : คิดว่าเข้าใจว่าอย่างนี้ มนุษย์เรามันก็ประกอบด้วยส่วนร่างกาย ซึ่งเราเอาไปไม่ได้ มันไม่ใช่ของเรา ตายมันก็สูญ แล้วก็เผาเป็นเถ้าถ่าน

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : สิ่งที่มันไม่ตายคือจิต

หลวงพ่อ : แน่นอน

โยม : แล้วตรงนี้มันจะไปไหนครับ นับจากนี้

หลวงพ่อ : นี่ไง เราจะพูดอย่างนี้ก่อน เวลาพระพุทธเจ้าพูดนะ ครูบาอาจารย์พูด พูดแบบรู้จริง ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ทุกอย่างไม่ใช่เรา แต่ความจริงใช่ พระพุทธเจ้าพูดอย่างนี้ จริงตามสมมุติ จริงตามบัญญัติ จริงตามวิมุตติ

ทีนี้พอพวกเราคิดกันแล้ว คนไม่เป็นมันจะไปบอกวิมุตติเลย คือไม่มีสิ่งใดๆ เลย

จริงตามสมมุติก่อน ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเรา ถ้าไม่ใช่ของเรา เราต้องให้ใครตัด ให้ใครทำลาย ให้ใครเฉือนก็ได้ เพราะมันไม่ใช่ของเรา ใครทำบาดแผล ใครฟันเรา ใครทำเราเจ็บช้ำ ทำไมเราเจ็บ

เราจะบอกว่ามันเป็นสายบุญสายกรรม เพราะการเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์สมบัตินี้เป็นอริยทรัพย์ มนุษย์สมบัติ ถ้าไม่มีมนุษย์สมบัติ จิตนี้ไปเกิดก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นต่างๆ ทีนี้พอเกิดมา คนที่เกิดเป็นมนุษย์มีบุญมากเลย แต่ทำไมเกิดมาแล้วมันทุกข์ ทำไมเกิดมาแล้วมันจน เกิดมาแล้วมันขัดสน ทำไมมันเป็นอย่างนั้นน่ะ ไอ้นี่มันก็เป็นผลบุญผลกรรมที่มันสร้างมา เฉพาะสถานะที่เกิดนี้สำคัญที่สุดแล้ว เพราะการเกิดเป็นมนุษย์มันถึงมีกายกับใจนี่ไง

อันนี้ความจริงที่เกิด ไม่ใช่เราๆ...ใช่โดยสายบุญสายกรรมนะ มีบุญมากถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ แต่โดยที่ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันไม่ใช่เรา กายไม่ใช่เรา มันเป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่ใจมันเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วมันเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กายโดยธรรมชาติ แต่โดยปกติเรานี่ใช่ จริงตามสมมุติไง ถ้ามันไม่มีบุญมีกรรม พ่อแม่เรากับเรามีบุญกันไหม ไม่มีบุญไม่มีกรรมกัน ไม่มาเกิดเป็นพ่อแม่กันหรอก มันจริงตามสมมุติก่อน

นี่ชิงสุกก่อนห่าม ซื้อก่อนขาย การปฏิบัติตอนนี้ไปศึกษาปรมัตถธรรมกันมาแล้วก็มาตีความกันไป “นั่นก็ไม่ใช่เรา นี่ก็ไม่ใช่เรา” มีพระเทศน์ “สักแต่ว่า ไม่ใช่เรา” เราค้านหมดเลย ใช่ ต้องใช่ก่อน ใช่เสร็จแล้วจับมัน แล้วทำลายมัน ศึกษามันจนมันไม่ใช่ ถ้าเริ่มมาไม่ใช่นะ มึงไปไม่รอด เริ่มต้นไม่ใช่ใช่ไหม ก็ก้อนหินไง หุ่นยนต์ไง หุ่นยนต์กับเราคนละคนนะมึง

แต่นี่โดยเปรียบนะ ร่างกายนี้เหมือนหุ่นยนต์แต่มีหัวใจ ฉะนั้น หุ่นยนต์ตัวนี้มันเป็นเรานะ หุ่นยนต์โรงงานนี้ไม่ใช่เรา ทีนี้พอเป็นเราปั๊บ เราถึงมีศรัทธา เราถึงมาเริ่มต้นค้นคว้า แล้วให้มันไปถอนกันที่อุปาทาน ไปถอนกันที่จิตใต้สำนึกนั้น เพราะถอนแล้วนะ โธ่! โดยสามัญสำนึกนะ พวกเราเข้าใจกันว่า ถ้าเราเข้าใจว่ากายไม่ใช่เราแล้ว เราจะทิ้งมันไปเลยนะ ไม่ใช่หรอก

หลวงตานะ ท่านอยู่ที่อำเภอบ้านผือ แล้วพอจิตท่านกำหนดเข้าไปแล้วมันปล่อย ว่าง ว่าง จิตกำหนดรับรู้อารมณ์แล้วปล่อยอารมณ์ว่างหมดเลย อย่างนี้ อย่างนี้ไม่ใช่พระอรหันต์หรือ ไม่ใช่ เพราะอย่างนี้มันสงสัยไง แล้วท่านไปเป็นโรคเสียดอกไง ที่ว่าคนตายกันเยอะมาก ที่ท่านไปสวด แล้วท่านก็เป็นน่ะ ที่ว่าเป็นที่หัวใจน่ะ

จะบอกว่า ท่านบอกว่า เรายังไม่อยากตาย ฟังสิ เพราะถ้าตายไปแล้วมันต้องไปเกิดบนพรหมอีกชาติหนึ่ง เรายังไม่อยากตาย เราต้องการแก้ไขกิเลสให้จบก่อน ถ้าจบแล้วตายที่ไหนก็ได้ นี่เราจะบอกว่าพระอริยบุคคลนี่นะ ท่านถนอมร่างกายท่านน่าดูเลย ถนอมไว้ทำไม ถนอมไว้ปฏิบัติไง ถนอมไว้ เหมือนกับเรามีรถ เราจะขับรถเข้าจอดอู่ ไม่ใช่เรามีรถแล้วนะ จะขับชนภูเขา ชนอะไรไปทั่วส่งเดชเลย ไม่ใช่ พระอริยบุคคลนี่นะ เขามีรถอยู่คันหนึ่ง เขาถนอมมาก เช็คดู รักษา เครื่องยนต์จะถนอมรักษา เพื่ออะไรรู้ไหม เพื่อเอาเข้าอู่ไง เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางไง เพื่อให้พ้นจากทุกข์ไง ไอ้นี่ความเข้าใจของเรานะ ทุกคนจะถามเลย ถ้าไม่ใช่เราก็อย่ากินข้าวสิ ถ้าไม่ใช่เราก็อย่าเจ็บไข้ได้ป่วยสิ มันพูดแบบกิเลส เอาสีข้างเข้าถู

มันจริงตามสมมุตินะ เพราะมนุษย์สมบัติ เพราะในพระไตรปิฎกพูดไว้ มนุษย์สมบัติ มนุษย์สมบัตินะ พอได้มนุษย์สมบัติขึ้นมาแล้วเราถึงมาอยู่มากินกันอยู่นี่ แล้วไม่ใช่เราหรือ มนุษย์สมบัติไม่ใช่เราหรือ

แต่ถ้าเป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมนะ ไม่ใช่ แต่ต้องไม่ใช่ตามความเป็นจริง แต่นี้เรามีกิเลสเต็มหัวใจ แล้วก็ปากพร่ำๆๆ เลย ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ กูขำฉิบหายเลย ให้มันเป็นตามความเป็นจริงสิ มันไม่ใช่ที่ใจ ไม่ใช่ที่ปาก นี่พูดถึงการปฏิบัติมันจะเป็นอย่างนี้

แต่ทางวิชาการจะเป็นอย่างนั้น มันจะพูดทางวิชาการ แล้วพวกเราปัญญาชนอ่านแล้ว เพราะอะไร มันเป็นตรรกะที่มันกระทบ มันเข้าใจได้ แต่มาพูดถึงเรื่องธรรมะนี่นะ เข้าใจไม่ได้ ต้องรู้เอง ถ้าใครรู้ปั๊บ เอ๊อะ! เอ๊อะ! เลย แล้วเป็นจริงหมด แต่ถ้ายังไม่เข้าใจจะเป็นอย่างนั้นน่ะ ไอ้อย่างที่เช่นว่าไม่มีตัวกูของกู เพราะอะไรรู้ไหม ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ ฝ่ายปฏิบัติ เวลาครูบาอาจารย์เขาแก้ เขาแก้กันตรงนี้ “พูดมา”

หลวงตามหาบัวไปแก้หลวงปู่บัว อ้าว! อธิบายมา อ้าว! ขั้นแรก อ้าว! ผ่าน อ้าว! อธิบายมา ขั้นที่สองผ่าน อธิบายมา ขั้นที่สามผ่าน อธิบายมา

หมดแล้ว นี่นิพพาน

อย่างนั้นคืนนี้ไม่ต้องไปสวดมนต์

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันติดอยู่ ๑๐ กว่าปี มันรู้หมด รู้หมด รู้ นี่ไง รู้ไง ข้างนอกว่าง โมฆราช เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง ว่างหมดเลย นึกว่านิพพานไง หลวงตาบอกว่า ใครรู้ว่าว่าง ข้างนอกว่าง ข้างในไม่ว่าง ฉะนั้น คืนนี้ไม่ต้องสวดมนต์ ให้ย้อนกลับมาข้างใน พอท่านสวดมนต์เสร็จ ตี ๓ ตี ๔ มาแล้ว มาที่กุฏิ เสียงมาแล้ว

“นั่นใครน่ะ”

“กระผมเอง”

“เป็นอย่างไร”

“พอท่านอาจารย์บอก ผมก็กำหนดกลับเลย” พอกำหนดกลับ มันกลับปัจจยาการเข้ามาเลย แล้วถึงที่สุดมันรวมเข้าถึงใจแล้ว ขางกุฏิ ท่านบอกว่าท่านนั่งอยู่ในกุฏิไง คาน ขาง ภาษาอีสานขางคือคานกุฏิ เวลากำหนดปั๊บ เพราะจิตมันติดมา ๑๐ กว่าปี แล้วกำลังมันจะมีมาก พอมีมากปั๊บ พอกลับมาถึงที่จุดปั๊บ มันรวมลง พรึบ! เหมือนหลวงตาที่วัดดอยธรรมเจดีย์ เวลาขณะจิตที่มันเป็น โลกธาตุไหวหมด แล้วของหลวงปู่บัว เหมือนกับความรู้สึกเรายุบตัวลง จิตมันยุบตัวลงจนเหมือนตัวเองยุบตัวลงหมด กุฏิยุบลงหมดเลย ลงพรึบ! หมดเลย

นี่ไง ขณะจิตไม่เหมือนกัน หลวงปู่บัวไม่เห็นร้องไห้เหมือนหลวงตาบัวเลย พออย่างนั้นปั๊บ จบ แล้วพูดเลย จบแล้ว แล้วกูอยู่ไหน พูดอะไรไม่ได้เลย ถ้าพูดอยู่นะ ยังมีผู้พูดอยู่ แต่อันนั้นมันเป็นทฤษฏี เพราะข้อนี้เราดูมาบ่อย ถ้าทฤษฏี มันคุยทางทฤษฏีเพราะอะไร เพราะพวกเรา พวกมีการศึกษา เราก็ศึกษาทางทฤษฏี นี่ไง ปัญญาชนไง ตรรกะมันเข้าใจได้หมดล่ะ แล้วเข้าใจธรรมะได้ แต่เวลาฟังหลวงตาเทศน์ ฟังครูบาอาจารย์เทศน์นะ ทุกคนเลิ่กลั่กๆ ไม่รู้ เพราะมันเป็นธรรมเหนือโลก

เราจินตนาการนรกสวรรค์กันได้นะ ทุกคนจินตนาการสวรรค์ได้ จินตนาการนรกสวรรค์ได้ แต่ทุกคนจินตนาการนิพพานไม่ได้ เพราะมันไม่มีข้อมูล ไม่มีความตกผลึกในหัวใจ แต่จิตทุกดวงเคยเกิดนรกสวรรค์ เคยเกิดมาทุกภพทุกชาติ จินตนาการทุกภพทุกชาติที่เคยผ่านมาได้ แต่จินตนาการนิพพานไม่ออกก็แล้วกันล่ะ

อ้าว! ไม่เชื่อลองจินตนาการดูสิ เอ็งลองจินตนาการวาดภาพนิพพาน ลองดูสิ เอ็งจะวาดภาพกันได้ไหม แต่เอ็งวาดภาพสวรรค์ได้ เอ็งวาดภาพนรกสวรรค์ได้หมด แต่เอ็งวาดภาพนิพพานไม่ออก

โยม : แล้วก็ตัวกูของกู... เราปล่อยหรือวาง

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้ามันเป็นกรรมฐานเรา กรรมฐานเรามันต้องทำจิตสงบเข้ามาก่อน พอจิตสงบเข้ามา นั่นคือตัวจิต ตัวจิตมันตัวธรรม เพราะอะไรรู้ไหม เพราะกิเลสมันอยู่ที่จิตหมด จิตคน สมาธิ กรรมฐาน มันเหมือนออฟฟิศ คนทำงานต้องมีออฟฟิศทำงาน ทีนี้จิตที่มันจะทำงานกันมันต้องไปทำที่ตัวจิตนะ ทีนี้เราไม่มีจิตกัน เราไปกำหนดความว่างกัน เหมือนเราไปทำงานในที่สาธารณะ ดูสิ คนจะทำบัญชีไปนั่งอยู่กลางทุ่งนาแล้วเขียนบัญชีกลางทุ่งนา จะทำอะไร เดี๋ยวนี้ไม่ได้ เดี๋ยวนี้มีโน้ตบุ๊กนะ ที่ไหนเขาก็กดได้ใช่ไหม แต่นี่ไม่ได้ จิตนี้คือตัวโน้ตบุ๊กนะ ข้อมูลอยู่ที่นั่น จะลบ จะเติม จะแต่งกันอยู่ที่ตรงนั้น ฉะนั้น มันต้องมาที่นี่ก่อน

ทีนี้พอตัวจิตคือตัวกู ตัวกูมันก็ต้องมีการกระทำใช่ไหม แต่นี้ประสาเราเลย ความรู้สึกเราว่าพวกครูบาอาจารย์พวกนี้ไม่ได้ปฏิบัติ แต่เป็นนักวิชาการ เป็นนักค้นคว้าไง พอนักค้นคว้าก็บอกว่า ถ้ามีกูใช่ไหม ถ้าบอกว่าไม่ใช่ของกูก็คือจบไง แต่ความเป็นจริงของเรานะ มึงจะปฏิเสธขนาดไหน เอ็งเป็นหนี้นะ เราเป็นหนี้เขามาคนละร้อยล้านนะ แล้วบอกกูไม่เป็น แล้วใครมากูปฏิเสธ กูไม่เป็นหนี้ กูไม่เป็นหนี้ เอ็งจะเป็นไปได้ไหม

ในเมื่อมีอวิชชา ในเมื่อมีกิเลสตัวพาเกิด มึงจะปฏิเสธไปขนาดไหน มันก็มีโดยธรรมชาติ มึงจะศึกษาธรรมมาขนาดไหน มันก็ใช้หนี้ไม่ได้ มันจะไปใช้หนี้ต่อเมื่อเราเอาแบงก์ไปจ่ายเขา แล้วจ่ายเขานะ แล้วถ้าเขารับแล้วเขาไม่เซ็นรับรู้นะ จ่ายผิดอีก เอาเงินไปจ่ายเขา มึงต้องเซ็นรับกู แล้วออกใบเสร็จมาให้กูด้วย ใช้ถูกไง ไม่อย่างนั้นทุกคนก็บอกใช้หนี้แล้วไง นั่งกัน ๑๐ ปี ใช้ ๒๐ ปีไง ใช้หนี้ทุกวันเลย เสือกไปใช้มาร ไม่ได้ใช้ธรรมะ มารเอาไปกินหมดเลย เอาหนี้ไปใช้เขายังไปใช้คนผิดอีก

เพียรชอบ เพียรไม่ชอบ ตรัสรู้เองโดยชอบ ตรัสรู้เองโดยไม่ชอบ ไม่ชอบมันไม่เป็นไปจากความเป็นจริง เราเข้าใจว่าเป็น เดี๋ยวมันตีกลับมามึงจะรู้ ตีกลับเด็ดขาด มันปฏิบัติไป เพราะอะไรรู้ไหม ใครจะเห็นอย่างนี้ คนนั้นต้องเคยโดนตีกลับมาแล้ว ทุกคนต้องโดนตีกลับมาแล้ว ทุกคนต้องมีปัญหามาแล้ว มันถึงจะรู้ตามความเป็นจริง ทางวิชาการมันต้องเป็นอย่างนี้ๆๆ เลย แต่ปฏิบัติแล้วไม่เป็น ไม่เป็น

เมื่อวานมากับผู้ชายคนหนึ่ง อยู่ที่สวนแสงธรรมไง พูดดีมาก บ้านอยู่ที่แม่ฮ่องสอน พูดอย่างนี้ เวลาเขามาถามปัญหา เขามาถามปัญหาด้วย เขาบอกว่า หลวงตาบอกอยู่ การปฏิบัติจะไม่เหมือนกันเลย จิตของคนนี้ไม่เหมือนกันเลย ความรู้สึกคนจะไม่เหมือนกันเลย

แล้วจริง พอพูดปั๊บ ถ้าคนมีหลักมันจะรู้เลย การภาวนา เราภาวนาไปเถอะ ของใครจะเป็นอย่างไรเรื่องของเขา ของเราจะเป็นของเรา ทีนี้แต่ทางวิชาการนะ วิทยาศาสตร์ไง เรื่องของบนโต๊ะไง ต้องเป็นอย่างนี้หมดเลย หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง

ถ้าเป็นธรรมะนะ หนึ่งบวกหนึ่งเป็นศูนย์ หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง หนึ่งบวกหนึ่งเป็นล้าน อ้าว! ถ้าใครไม่เชื่อลองทำดู บางคนสมาธิลง บางคนสบายๆ ลงก็ลงเป็นสมาธิ บางคนลงก็ลงลึกหน่อย บางคนลงพับ! มันเกิดปีติ มันรู้เลยนะ รู้วาระจิตคนอื่นเลย แค่สมาธินี่แหละ

ไหนว่าหนึ่งบวกหนึ่งต้องเป็นสองไง ทำไมสมาธิมึงไม่เหมือนกันสักคนหนึ่ง ไม่เหมือนหรอก แล้วพอสมาธิไม่เหมือนปั๊บ เราก็คิดว่าสมาธิต้องเป็นอย่างนั้น เราถึงจะเป็นสมาธิ ก็เราทำงานใช่ไหม หน้าที่เราทำงาน เงินเดือนเราเดือนละ ๒๐๐ ปีหนึ่งได้เท่าไร เห็นเขามีเงินเป็นสิบๆ ล้านจะให้เหมือนเขา มึงทำจนตายก็ไม่ได้ ๒๐๐ มึงก็ดำรงชีวิตได้ใช่ไหม สมาธิมึงแค่ไหน สมาธิของมึงแค่ที่มันลงแล้ว ถ้ามึงใช้งานไปเลย ถ้ามึงวิปัสสนาไปเลย มึงก็ดำรงชีวิตได้ มึงก็ไปรอด

ไม่ใช่ว่ามึงเงินเดือน ๒๐๐ มึงต้องมีเงิน ๑๐ ล้านก่อนแล้วค่อยมาวิปัสสนา มึงรอจนตาย ชาติหน้าก็ไม่ได้วิปัสสนา เรามีเท่านี้ แล้วเราทำได้ เพราะ ๒๐๐ นี้เราดำรงชีวิตได้ เราเอาชีวิตเรารอดได้ เราก็ทำเขาไม่ได้ สุกฺขวิปสฺสโก เตวิชฺโช ที่ว่าพระอรหันต์แห้งแล้ง แห้งแล้งขอให้มึงไปให้ได้เถอะ แล้วมึงจะรู้ว่าแห้งไม่แห้ง

มันไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันเลย ทีนี้ถ้าไม่มีหลัก ไม่มีครูบาอาจารย์ ก็สอนแบบวิทยาศาสตร์ ต้องเหมือนกัน เราถึงดูอภิธรรม ที่เราเห็นที่อภิธรรมทำเราถึงไม่เชื่อ อย่างเช่น ๕๐๐ คน หรือจะ ๑,๐๐๐ คนก็แล้วแต่ เขาจะตั้งแถว แล้วเดินยุบหนอ เดินไปพร้อมกัน ย่างหนอ เหยียบหนอ ไปเป็นแถวเลย คือ ๑,๐๐๐ คนนี้ต้องมีรสนิยมเดียวกัน คือ ๑,๐๐๐ คนนี้ต้องมีดุลพินิจ มีความเห็นที่เหมือนกัน มันเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ แล้วเขาทำกันน่ะ แล้วคนก็เชื่อ แต่สำหรับเรานะ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น คนที่มาเดินปฏิบัติ ๕๐๐ คน ๑,๐๐๐ คนนั้นคือหุ่นยนต์ เหมือนตุ๊กตาเลย เด็กๆ มันจับเรียงแถวไง แล้วให้เป็นหุ่นยนต์ไป ก้าวไปก้าวมาเท่านั้นเอง

โยม : รบกวนพระอาจารย์ช่วยกรุณาอธิบายการใช้ปัญญา เวลาเข้าสมาธิไปแล้ว มันไม่สามารถใช้ปัญญาออกมาพิจารณาได้

หลวงพ่อ : มันอย่างนี้ ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ เหมือนกับศึกษาหรือฟังเทศน์มาเป็นทฤษฏี เป็นรูปแบบ แล้วจะพยายามทำจิตเราให้เป็นแบบนั้นเป็นขั้นตอน...ไม่เป็น

ขณะที่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอจิตมันสงบขนาดไหน ถ้าสงบ มันสงบนี่สงบ เหมือนอะไรนะ บางทีเรากินอาหารกัน บางคนกินอาหารเสร็จทำงานได้เลย บางคนกินอาหารเสร็จต้องนั่งพักก่อน ให้ข้าวมันเรียงเม็ดก่อน บางคนกินอาหารเสร็จต้องนอนพัก สักพักหนึ่งค่อยทำงาน

จิตก็เหมือนกัน ถ้ามันสงบเข้ามาแล้ว ถ้ามันยังไม่ยอมคิดเลย มันไม่ยอมคิดเลย ไม่ยอมใช้อะไรเลย เราก็อยู่กับมันไป พออยู่กับมันปั๊บ เดี๋ยวมันก็คลายตัวออกมา ไอ้เรื่องไม่คิดเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าจิตไม่คิดเลยนะ เราภาวนาไม่คิดเลย มันก็พระอรหันต์ไง สบาย ก็ไม่คิดเลย แล้วมันเป็นไปได้ไหมล่ะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก

กิเลสมันบังเงาตลอดนะ ทำดีขนาดไหนมันก็มากับดีเราตลอด พอจิตมันสงบขึ้นมา มันควรจะเป็นงานขั้นที่ ๒ ต่อไป มันก็ทำให้ขี้เกียจ ทำให้ขี้เกียจ ทำให้เนิ่นช้า ทำให้ นี่กิเลสทั้งนั้นน่ะ ทีนี้บางทีกิเลสปั๊บ เราไม่รู้ตัว

๑. ไม่รู้ตัว

๒. ขณะรู้ตัวจะไปต่อต้านมัน มันก็ยังหามันไม่เจอ ยังหาไม่เจอนะ

หาไม่เจอเพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราไม่รู้ว่าเป็นกิเลสไง พอเราไม่รู้ว่ามันเป็นกิเลสปั๊บ เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร ทีนี้พอมันสงบขึ้นมาแล้ว มันสงบอย่างนั้นนะ มันไม่มีโทษใช่ไหม เราก็อยู่กับมัน อยู่กับมัน หมายถึงว่า พิสูจน์ว่ามันควรจะออกเมื่อไหร่ มันจะควรขยับตัวอย่างไร ถ้ามันขยับตัวให้เราเห็นสักทีหนึ่ง หรือมันออกใช้ปัญญาสักหนหนึ่ง เราก็รู้ว่า อืม! มันก็เป็นได้นี่หว่า แต่ถ้าเราบอกว่าต้องเป็นอย่างนั้นโดยที่เราไม่รู้นะ เราพยายามจะให้เป็นนะ กิเลสก็ซ้อนมาเป็นตัวที่ ๓ กิเลสตัวที่ ๓ ที่ ๔ มันจะซ้อนเข้ามาเรื่อยๆ นะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันสร้างเหตุการณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ

โยม : ก็ปล่อยมันไป

หลวงพ่อ : ไม่ปล่อย ไม่ปล่อย ตั้งสติไว้ไง ตั้งสติอยู่กับมัน ถ้ามันสงบก็ให้มันสงบอยู่อย่างนั้น ถ้ามันคลายตัวออกมาแล้วเราก็ไปกับมัน ถ้ามันคลายตัวออกมามันก็คิดไง คำว่า “คลายตัวออกมา” คือมันคิด สิ่งที่จริงว่าเราจะออกใช้ปัญญา ก็คือปัญญาไง ถ้ามันคลายตัวออกมามันก็เป็นปัญญา ถ้ามันไม่คลายตัวออกมามันก็อยู่ตรงนั้น ถ้าอยู่ตรงนั้นปั๊บ ถ้าเราจะไปขยับให้มันออกมา ถึงบอกว่ากิเลสตัวที่ ๓ เกิด

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ถ้ามันอยู่ตรงนั้น ใช่ ใช่ มีสติ

โยม : ดูอย่างเดียว

หลวงพ่อ : ใช่ อยู่กับมัน แล้วมันอยู่อย่างนั้นไม่ได้หรอก เดี๋ยวมันต้องออก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะอยากให้มันออก เพราะอยากใช้ปัญญาไง กิเลสมันรู้ใช่ไหม มันก็แกล้งมึง พอจะอยู่กับมันนะ มันก็ไม่อยู่ มันจะออกอีกแล้ว พอจะอยู่กับมันนะ เดี๋ยวก็ออก ไอ้พอจะออกมันไม่ออก โอ้! ฝึกไป เดี๋ยวจะรู้

โยม : เกี่ยวอะไรกับความสมดุล

หลวงพ่อ : ใช่ เกี่ยว เพราะคำว่า “สมดุล” เราเปรียบเหมือนร่างกายคนสมดุลมันก็จะดีหมด ร่างกายคนเสียสมดุลมันก็ทำให้เราเสียหมด จิตถ้าเป็นสมดุลก็เป็นสมาธิ แล้วพอตัวสมดุล เขาบอกตัวสมดุล เราถึงบอกทำความสมดุลของจิต แล้วโดยภาคปริยัตินะ พอจิตสมดุลปั๊บ เขาคิดว่าเป็นนิพพานกันแล้ว เขาถึงได้กล้าพูดไง

เรารู้หนึ่งว่า เหตุผลของจิตมันเป็นอย่างนี้ หนึ่ง

สอง อวิชชาคนหลง มันถึงกล้าพูดว่านี่คือนิพพาน มันถึงได้พูดซ้ำเข้าไปอีกว่า ด้วยปรัชญาไง นิพพานสงบเย็น นิพพานเป็นความว่าง นี้คือเหตุผลที่เขาเอาคำพูดเขาไปรองรับความคิดเขา ถึงได้บอกว่านิพพานของพวกนี้นะ อย่างมากก็แค่สมถะ อย่างมาก ถ้าอย่างไม่มากก็คือตรรกะที่เขาจินตนาการกัน ถ้าไม่อย่างนั้นนะ ทฤษฏีอย่างนี้มันจะออกมาไม่ได้ ทฤษฏีอย่างนี้ออกมา มันออกมาจากใคร ก็ออกมาจากจิตที่มันโง่ๆ ที่ไปรู้ได้แค่นี้ไง เราถึงออกมาแฉ ประจานมันไง ไปฟังเอา

โยม : พอไปฟังแล้วเหมือนมันง่าย สำหรับเด็กใหม่มันง่าย

หลวงพ่อ : ใช่ เพราะ หนึ่ง ถ้าเรารู้ เราบอกที่ว่าปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิเราต้อนเข้าไป ถ้าเรารู้ว่าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราจะไม่ผิดพลาด แต่โดยความเข้าใจ พอใช้ปัญญา เขาคิดว่านี่เป็นวิปัสสนา เขาถึงใช้คำพูดว่าใช้วิปัสสนาสายตรง แต่มันเป็นความจริงคือมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ อย่างครูบาอาจารย์หรือผู้ปฏิบัติมา ปัญญาอย่างนี้มันใช้ประโยชน์ได้ แต่มันเป็นปัญญาที่ขั้นตอนของการทำให้ใจสงบ ทีนี้คนมันไม่เข้าใจใช่ไหม พอใจสงบ สงบเย็นคือนิพพานไง นิพพานสงบเย็น นิพพานคือความว่าง แล้วนิพพาน นิพพานมันแปรปรวนได้อย่างไรวะ เดี๋ยวก็ว่าง เดี๋ยวก็ไม่ว่าง ถ้านิพพานอย่างนี้ นิพพานต้องรักษาไว้ คือตั้งสติให้มันว่างไว้ คือความสามารถของจิตมันเป็นได้เท่านี้ คือมันจะไปมากกว่านี้ไม่ได้ มันก็เลยว่าเป็นคือนิพพาน

แต่สำหรับครูบาอาจารย์เราหรือสำหรับพวกเรานะ นี้คือแค่ ถ้าประสาเรานะ กัลยาณปุถุชน คือจิตมันเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน พร้อมที่เป็นกัลยาณปุถุชน แต่เขาไม่รู้ว่าเป็นกัลยาณปุถุชน เขาคิดว่านี่คือนิพพาน

เราถึงเวลาเราพูด เราพูดแรงตลอด นิพพานของควาย ควายกินหญ้าแล้วก็ไปนอนแช่น้ำเย็นๆ นิพพานอย่างนั้นน่ะ นี่จิตมันปล่อยวางมาไง นิพพานสงบเย็นก็นิพพานควายไง ไปนอนอยู่ในปลักนั่น เย็นสบายเชียว ควายทั้งตัวนะ นอนอยู่นั่น มันไม่เห็นน่ะ

โยม : เฝ้าดูทั้งใจและกาย ออกก็ออก ไม่ออกก็ไม่ออก

หลวงพ่อ : ใช่ ต้องฝึกไปอย่างนั้น เหมือนกับเด็กช่างกลฝึกงาน เราฝึกงานเลย เป็นขึ้นมาจากเรานี่เลย เป็นขึ้นมาจากเรา

โยม : ท่านอาจารย์ครับ สักนิดหนึ่งนะครับ คือว่า ศีล สมาธิ และปัญญาใช่ไหมครับ ถ้าเราจะไม่มีศีลกับสมาธิ แล้วปัญญา จะข้ามไปส่วนนี้ได้ไหมครับ แบบทั่วไป

หลวงพ่อ : โดยปกติ ศีล สมาธิ ปัญญา คำว่า “ศีล สมาธิ ปัญญา” ศีลมันสำคัญตรงไหนรู้ไหม สำคัญตรงที่ให้สมาธิมันเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าไม่มีตัวศีลนี่นะ เป็นสมาธิได้ไหม ได้ แต่ถ้าไม่มีศีลมันตามใจเราใช่ไหม พอตามใจเรา พอมันเป็นสมาธิ สมาธินี้ถ้าไม่มีศีลนะ มันเหมือนกับนี่ไง อริยสัจ อริยบุคคล คุณธรรมกับผู้วิเศษต่างกัน ผู้วิเศษคือมีสมาธิไง ไอ้พวกที่ฤๅษีชีไพรเขาเหาะเหินเดินฟ้าได้นะ เขารู้วาระจิตนะ ผู้วิเศษ พวกนี้เสื่อม เพราะอะไรรู้ไหม วิเศษเขาก็ทำคุณไสย ทำสิ่งต่างๆ ทำสมาธิได้ ทำไมเอาสมาธินี้ไปทำลายกัน เพราะไม่มีศีลใช่ไหม ถ้ามีศีล ปาณาติปาตา ทำร้ายไม่ได้ คิดอกุศลก็ไม่ได้ นี่ไง ตัวศีลนี้

เราจะบอกโยมว่า จริงๆ นะ ศีลไม่มี จะพูดอย่างนี้เลย ศีลไม่มีหรอก ศีลคืออะไร ศีลคืออะไร ศีลคืออะไร อ้าว! ศีลคืออะไร ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลคืออะไร คือข้อห้าม ข้อห้ามใช่ไหม ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ ข้อห้าม มันเป็นศีลหรือเปล่า ตัวข้อห้ามเป็นศีลไหม ตัวศีลคือตัวใจ ถ้าใจปกติคือศีล

อ้าว! เอ็งเขียนกติกาขึ้นมาก็กลายเป็นศีล จริงๆ ศีลไม่มี ศีลคือความปกติของใจ แต่เป็นข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าเห็นว่าเป็นโทษไง ถ้าแฉลบออกอย่างนี้มันผิด ก็เขียนไว้ ห้ามแฉลบอย่างนี้นะ ห้ามแฉลบอย่างนี้นะ ห้ามแฉลบอย่างนี้นะ แต่ถ้าเราไม่แฉลบมันผิดไหม ถ้าจิตไม่แฉลบไป แต่ท่านเขียนติดไว้ห้ามแฉลบไง ห้ามคิดออกตรงนี้นะ ห้ามทำอย่างนี้นะ ห้ามทำอย่างนี้นะ แต่สำคัญนะ

อันนี้พูดถึง เราพูดประสาเราผู้ใหญ่คุยกันไง ผู้ใหญ่คือจิตที่มันเป็นปกติ เราคุยกันได้ ถ้าไปคุยให้เด็กฟังมันว่าบ้า ศีลต้องมีสิเว้ย ศีล ดูสิ กูท่องทุกวันเลยศีล ๕ มันเป็นข้อห้าม เพราะถ้าปฏิบัติแล้วมันจะเป็นกังวลไง เราถึงบอกศีล ตัวจริงๆ ศีลไม่มี แต่มีมโนกรรม คิดผิดก็เป็นมโนกรรม ฉะนั้น พอตัวศีลก็ตัวไม่ให้คิดออกไปนอกลู่นอกทาง ฉะนั้น มันเป็นสมาธิมันเป็นสมาธิดี ศีล สมาธิ ปัญญา

ทีนี้พอปัญญา ปัญญาของศาสนาไม่ใช่ปัญญาอย่างที่เราคิดกัน เพราะมันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาของคนตามธรรมดาปัญญานี้เกิดจากสมองใช่ไหม แต่ของเราปัญญาเกิดจากจิต เกิดจากภพ ทีนี้ปัญญาเกิดจากภพ เกิดจากอวิชชา เกิดจากเรา ทีนี้เราไปศึกษาธรรมพระพุทธเจ้าคือสัญญาที่เราจำพระพุทธเจ้ามา จำสัญญามา เราไปดูทฤษฏีของคนอื่นมา แต่มันคิดจากกิเลสเรา คิดจากภพ คิดจากใจเรา

พระไตรปิฎกคิดไม่เป็น หนังสือพระไตรปิฎกคิดไม่เป็น หนังสือพระไตรปิฎกเป็นตำราที่เขียนจารึกมาเป็นหนังสือ แต่เราไปอ่านแล้วเราคิด เราจินตนาการ คิดมาจากภพ คิดขึ้นมาจากใจ นี่ไง คิดขนาดไหนก็ไม่ใช่ปัญญา

อ้าว! ว่าไป

โยม : คือที่บอกว่ามีสมาธิช่วยให้เกิดความสงบ แล้วเกิดความสงบแล้วมันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร

หลวงพ่อ : ไม่เกิดไง เกิดไม่ได้ ก็จะพูดตรงนี้ไง ที่เราจะอธิบายให้เห็นอยู่ว่าโลกียปัญญากับโลกุตตรปัญญาไง ถ้าไม่มีสมาธินะ ความคิดมันคิดมาจากเราหมดเลย มันมีเราบวกใช่ไหม ความคิดมีเราไหม ถ้าเราไม่คิดมันก็ไม่มีความคิดใช่ไหม เพราะเราคิดขึ้นมาถึงมีใช่ไหม เราคิดธรรมะ ตรึกในธรรมะก็เป็นความคิดเราใช่ไหม แล้วเราคิดว่าเป็นปัญญากันไง มันเป็นโลกียปัญญา คือปัญญายับยั้งไง อย่างเช่นถ้าเราคิดถึงศีลธรรมเราจะไม่ทำผิด อย่างถ้าเราปล่อยตามสบายเราก็ทำกิเลส แต่เราคิดเรื่องธรรมะมันก็ตรึกให้เราแบบมีกรอบไง กรอบให้เราไม่ทำชั่ว จะทำอะไรที่มันผิดพลาดเราก็รู้ว่าสิ่งนี้ไม่ดี ก็เหมือนกับดำรงชีวิต มันก็เป็นเรื่องศีลธรรมเรื่องชีวิตธรรมดา

เวลาจิตมันสงบ กำหนดพุทโธๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามาๆ สมาธิเกิดได้อย่างไรรู้ไหม สมาธิเกิดได้อย่างไร สมาธิเกิดได้เพราะตัวตน เพราะกิเลสนี้มันยุบตัวลง

สิ่งที่ไม่เป็นสมาธิเพราะอีโก้นี่ล่ะ ตัวตนนี่ กูแน่ กูรู้ กูเก่ง สมาธิลงไม่ได้ แต่ถ้าอีโก้มันสงบลง นั่นล่ะคือตัวสมาธิ อีโก้มันทำให้กิเลสออกช่องนี้ แล้วพุทโธๆๆ จนกว่ามันยุบตัวลง พอยุบตัวลงปั๊บมันก็เป็นความว่าง ความว่าง ทุกศาสนามีความว่าง มีสมาธิหมด แต่มันจะเป็นสัมมาหรือมิจฉาสมาธิ

ทีนี้สมาธินี้มันแก้กิเลสไม่ได้หรอก แต่มันเหมือนกับพื้นที่ที่เราจะสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ เราถึงได้ไปเทศน์อยู่กัณฑ์หนึ่ง มีคนมาพูดบ่อย รื้อแล้วสร้างไง รื้อแล้วสร้าง รื้อความคิดตัวตนเราออกให้หมดเป็นสมาธิ แล้วสร้าง สร้างปัญญาธรรมโลกุตตรปัญญาขึ้นมา

แต่โลกคิดผิด คิดว่าการรื้อคือการกระทำคือปัญญาแล้ว นี่ไง ที่ว่าวิปัสสนาสายตรง ปัญญาสายตรงไง คือการรื้อถอนความคิดไง รื้อถอนอีโก้ รื้อถอนตัวตนให้มันยุบลงไป มันก็เป็นความว่าง เป็นความว่าง เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนเราเข้าอยู่ใช่ไหม แล้วต้องพยายามน้อมไปให้เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม

ทีนี้เราก็บอก ทุกคนเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ทุกคนเห็นอยู่ตลอด เห็นกายก็เห็นกาย แต่เห็นด้วยตาเนื้อ เห็นด้วยสามัญสำนึก เห็นด้วยโลก ไม่เป็นวิปัสสนา แต่ถ้าเห็นด้วยใจนะ พอจิตสงบแล้ว ถ้าตัวจิตสงบ ไอ้ตัวใจถ้ามันเห็นนะ พอมันเห็นเพราะคนเคยเห็นมันจะรู้ พอมันไปเห็นกายมันสะเทือนหัวใจมาก เพราะหัวใจมันหลงผิดว่า อย่างที่ว่าจริงตามสมมุติที่ว่า โดยจิตใต้สำนึกมันคิดว่าตัวมันเป็นมัน แล้วมันก็คิดว่าร่างกายนี้เป็นของเรา

แต่โดยวิชาการ เราศึกษาธรรมะกัน เราบอกไม่ใช่เรา สักแต่ว่า แต่โดยจิตสำนึก โดยข้อเท็จจริงของความรู้สึกของนามธรรมลึกๆ มันว่าเป็นเรา แล้วพอจิตมันเข้าไปเห็นไง พอจิต ตัวมันไปเห็นกายปั๊บ มันสะเทือนแล้ว มันสะเทือนเพราะอะไร เพราะมันไปเห็นถูกเห็นผิดแล้ว เห็นถูกเห็นผิดตรงไหน เห็นถูกเห็นผิดเพราะจิตเป็นสมาธิ พิจารณากาย กายมันจะแปรสภาพ พอแปรสภาพ มันแปรสภาพมันทำลายไปแล้วมันไม่มีฐานให้ความคิดมันอยู่ได้ นี่ไง ความเห็นผิดในกายมันถึงหลุดไป มันถึงเป็นข้อเท็จจริงขึ้นมา ปัญญามันเกิดอย่างนี้ นี่เขาเรียกโลกุตตรปัญญา

ปัญญาที่เราคุยกัน ๙ ประโยค ๑๐๐ ประโยคนั่นมันโลกียปัญญา โลกียปัญญา ปัญญาในโลก กับโลกุตตรปัญญา ปัญญาจะออกจากโลก ออกจากโลกก็มีตัวสมาธินี้เป็นทางสองแพร่ง ไม่มีสมาธิมันเป็นแพร่งหนึ่ง มีสมาธิไปอีกแพร่งหนึ่ง ถ้ามีสมาธินะ อีกแพร่งไม่ไป มันไม่ไปนะ ถ้าคนมีวาสนามันไม่ไป ไม่ไปก็ต้องรำพึงขึ้นมา

โยม : มันยาก

หลวงพ่อ : ถ้ามันง่าย พระพุทธเจ้าไม่ท้อใจหรอก ถ้ามันง่ายนะ พระพุทธเจ้าจะไม่ท้อใจ

โยม : ท่านอาจารย์ครับ อย่างนี้ที่เขาเรียกว่าติดสมาธิหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ใช่ ติดสมาธิ มันเข้าใจว่าสมาธินี้เป็นผลไง เพราะเวลาจิตมันลงสมาธิมันดื่มด่ำมาก เพราะสมาธิของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน มันจะลึก จะกว้าง จะมหัศจรรย์ด้วยนะ บางทีมันรู้อะไรแปลกๆ แต่มันต้องผ่านตรงนี้ ถ้าไม่ผ่านตรงนี้นะ มันมีเราบวก คำว่า “ไม่เป็นมรรค” เพราะมีเราบวก ความคิดโดยสันดานเรามันลำเอียง ด้วยมุมมอง ด้วยความเห็น ด้วยทิฏฐิ ชาวพุทธถึงได้เถียงกันไง เวลาเถียงเรื่องปฏิบัติ พอนั่งตั้งปฏิบัติขึ้นมานะ ล่อกันแล้ว เพราะมุมมองของแต่ละคนมันไฟท์กัน พูดธรรมะเหมือนกัน แต่ฟัดกัน นี่มุมมองของคนมันไม่เหมือนกัน

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : นี่พูดแบบปริยัตินะ ต้องพูดนิ่มนวล ถ้าพูดแบบปฏิบัติต้องอย่างนี้ เพราะหลวงตาพูดยิ่งกว่านี้อีก หลวงตาบอกว่า ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การสนทนาธรรมเป็นมงคลอย่างยิ่ง แต่ถ้าหมากัดกัน ท่านไม่บอกว่าหมาฟัดกันนะ ท่านบอกหมากัดกัน หมากัดกันไม่เป็นมงคล เถียงธรรมะกันหน้าดำหน้าแดง ท่านบอกหมากัดกัน ไอ้นี่รับไม่ได้ไง ถ้าคนไม่เคยฟังรับไม่ค่อยได้ แต่ธรรมะนี้มันทิ่มกลางหัวใจ มันทิ่มใจดำเรา

แต่เวลาเราไปพูดไปเกรงใจกิเลสไง ไม่กล้าพูดอะไรให้มันสะเทือนใจ ถ้ามันสะเทือนใจแล้วมันจะฝังใจ การแสดงธรรมต้องพูดแทงใจดำ แล้วพอไปเดินจงกรมนะ คิดถึงคำนี้ทีไรนะขนลุกทุกทีเลย หลวงตาท่านพูดนะ คุยธรรมะกันน่ะ พูดจนชินปาก ฟังจนชินหู แต่ใจมันด้าน

ความคุ้นชินไง ชินหู ชินปาก แต่ใจมันด้าน ยิ่งคุยธรรมะยิ่งด้าน คิดว่าคุยธรรมะแล้วธรรมะจะเข้าไปกำจัดให้มันเบาบางลงนะ แต่จิตใจมันด้านชา ถ้ามันไม่ด้านชามันต้องมีความละอาย มันต้องมีความตื่นตัว ถ้าความตื่นตัวขึ้นมาทุกคนจะออกมาค้นคว้า ออกมาประพฤติปฏิบัติ

ไอ้นี่ฟังธรรมะกันแล้วก็นอน เออ! สบายๆ นั่นธรรมะๆ มันด้านนะ แต่โลกไม่เห็น แต่ธรรมะเห็น ธรรมะพูดได้ แต่โลกบอกอย่าพูดนะ นี่ไง เราบอกว่าพูดโดยมารยาทสังคม อย่าพูดให้กระทบกระเทือนใจกัน แต่หลวงตาบอกว่าต้องพูดทิ่มใจมัน ทิ่มเข้าไปที่กลางหัวใจมัน ทิ่มใจดำมัน นี่ถึงเป็นอาจารย์จริง ถ้าอาจารย์อุปโลกน์ โอ๋แล้ว โอ๋ๆๆ ตายกันอยู่นี่ ตายกันอยู่นี่นะ ตายกันอยู่นี่ นี่ไง สังคม เห็นไหม ถ้าหลากหลายมามันจะเป็นอย่างนี้

แต่นี่เราถึงบอกว่ามีไว้องค์หนึ่ง สูงมาก็เคารพได้ ต่ำมาก็เคารพได้ จริงอยู่ ถ้ามากเกินไป เอาเป็นจุดขาย ถ้าเป็นธุรกิจเราก็เห็นแก่ตัว เราก็ทุจริตแล้ว เขาไว้กราบเคารพบูชา ไม่ใช่เอามาเรียกร้องศรัทธา เอาพระเอาเจ้ามาเรียกร้องศรัทธา ต้องอย่างนั้นๆ นะ แสดงว่าใจเราทุจริตแล้ว

แต่ถ้าใจเราเป็นธรรม มัชฌิมาไง องค์เดียว สูงมันก็กราบได้ ต่ำมันก็กราบได้ ปานกลางมันก็กราบได้ เพราะเรากราบเคารพพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน แต่ไม่ให้ออกไปนอกลู่นอกทางไปทางหาผลประโยชน์ ผลประโยชน์ทางความชื่อเสียงก็ผลประโยชน์ ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางเงินนะ

โยม : มันไม่ใช่ว่าติดสินบนพระพุทธรูปหรือ คือไปขอแล้วให้เงิน

หลวงพ่อ : นั่นน่ะมันอยู่ที่ใจเราไง อยู่ที่นี่ไง อยู่ที่สัมมาอาชีวะกับมิจฉาอาชีวะ เราเป็นคน โยมก็เลี้ยงชีพเอง แล้วจะเลี้ยงชีพด้วยวิธีใด ถ้าเลี้ยงชีพด้วยทางถูกต้อง มือไม่มีแผลนะ สบายมาก จะไปโลกไหนก็ได้ จะไปขึ้นศาลไหนก็ได้ จะไปที่ไหนก็ได้ นี่ไง ถ้าเราสัมมาอาชีวะ แต่ถ้ามิจฉาอาชีวะสิ ไม่กล้าแม้แต่จะไปไหนเลย แผลเต็มตัว เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเวลาจนตรอกเขาไล่ขึ้นมามันออกไม่ได้

เพราะเวลาคุยธรรมะกัน เวลาเราเข้าธรรมะ นี่ไง เวลาคุย พระอยู่ด้วยกัน ศีลจะสะอาดบริสุทธิ์อยู่ด้วยกัน โทษนะ สามีภรรยาอยู่ด้วยกันรู้นิสัยกันน่ะ มันจะไปไหนก็อยู่ด้วยกันเป็นสิบๆ ปี ครูบาอาจารย์อยู่ด้วยกันเป็นสิบๆ ปี ศีลมันปิดกันไม่อยู่หรอก ธรรมะเวลาพูดแสดงธรรมออกมา ถ้าพูดออกไปลูกศิษย์มันแย้งได้ทุกคำ มันจะเป็นอาจารย์เขาได้อย่างไร ธรรมะมึงแย้งกูมา อ้าว! มึงแย้งมาเลย แต่ถ้ามันไม่ใช่นะ มันแย้งได้ มันตายตัวไง ที่เราว่าวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มันตายตัว สูตรทฤษฏีมันตายตัว กรอบมันตายตัว

แต่ธรรมะมันมีชีวิต มันพลิกได้ตลอดเลย มันแก้ไขทุกวิกฤติการณ์ได้หมด ลูกศิษย์ที่มันเคารพครูบาอาจารย์มันเคารพกันตรงนี้ ร้อยคนก็ร้อยปัญหา การปฏิบัติน่ะ ร้อยคนก็ร้อยอย่าง ในร้อยอย่างนี้ยังพลิกแพลงอีกนะ เพราะอะไร พอเวลามันทำไปแล้ว พอมันปฏิบัติไปแล้ว พอมันไล่กันไปแล้วมันพลิกอีก มันพลิกอีก มันพลิก แล้วเวลามาถามตอบมันไม่ได้ สอนมันไม่ได้ ใครเขาจะไปฟัง แต่ทางวิชาการ มาเถอะ มึงจะถามอะไรก็ “นั่งพิจารณากายสิ” ร้อยคนก็ “พิจารณากายสิ”

เราถามกลับเลย แล้วพิจารณาอย่างไรล่ะ ถามมันกลับ พิจารณาอย่างไร

สูตรสำเร็จไง ใครมาก็ “พิจารณากายสิ” มีพระมาหาเยอะมาก บอก “พิจารณากายสิ” แล้วพอทำไปนะ เขาทำแบบว่าเอาหัวชนฝาไปเลย แล้วพอสุดท้ายเขาวิ่งมาหาเรา

พิจารณากายมันต้องมีพื้นฐาน พื้นฐานของสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิมันจะไปเห็นกายไม่ได้ หรือเห็นกายขึ้นมาแล้วเดี๋ยวกายก็หลุดมือไป กายมันไม่คงที่ เหมือนกับทีวีของเรา ทีวีเสีย ไฟไม่เสมอ ๒ อย่าง ทีวีไม่ดีหรือไฟมันตก ไฟมันไม่สม่ำเสมอก็เข้าไปเห็นภาพนั้นเกิดมาไม่ได้

จิตก็เหมือนกัน ถ้าเห็นกาย เห็นกายด้วยอะไร เห็นกายด้วยไฟมันดี คุณภาพของไฟมันดี คุณภาพของไฟคือสมาธิไง แล้วที่ว่าเกิดปัญญา ปัญญาเกิดอย่างไร ถ้าไฟมันดี เครื่องส่งมันดี ภาพมันก็เกิด แล้วภาพเกิด ภาพมันไหวไหม ภาพมันคงที่ไหม แล้วทำอย่างไร แล้วภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว อุคคหนิมิต วิภาคนิมิต โดยหลักเป็นอย่างนี้

แล้วเวลาเขามาถามปัญหา ใครมันจะถึงตรงไหนๆ มันจะพูดเองนะ “ผมเห็นกายปั๊บ หลุดมือไปเลย” “ผมไม่เห็นครับ” เห็นก่อนเห็นหลัง โอ๋ย! มาเถอะ เพราะกูช่างทีวี กูรู้อะไรมันเสีย แล้วมันเสียตรงไหน ซ่อมไปได้เลย ซ่อมให้มัน บอกมันเลย เอาสกรูเข้าไปไขตรงนี้ เดี๋ยวภาพมึงจะดี มึงสับคัทเอาท์ทีวีสิ คัทเอาท์มึง คัทเอาท์มึงไฟมันไม่สม่ำเสมอ มึงกดแน่นๆ มันจะมาเรื่อยๆ

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ไปแอบดูทีวีเขาไง รถวิ่งมาแล้วไปเห็นทีวีเขา แว็บ รถวิ่งผ่านมาแล้วไปเห็นของเขา เอ็งต้องไปจอดรถแล้วตั้งให้ดีๆ

มันมีวิธีแก้ไข มันมีวิธีแก้ไข วิธีทำไป เพียงแต่ว่าวิธีแก้ไข ถ้าเอาทีวีไปให้ช่างซ่อม เรายกไปตั้งให้เขา เขาซ่อมให้เสร็จนะ แต่ด้วยความเห็นเรามันอยู่กับเราใช่ไหม ช่างเป็นคนบอก แล้วเราเองเป็นคนซ่อม แล้วเราเองจะเข้าไปซ่อมได้ไหม แต่ถ้าเอาทีวีไปให้ช่างนะ เอ็งไม่ต้องซ่อม ช่างทำให้เสร็จ แต่ถ้าเอ็งเป็นภาวนานะ ช่างบอกวิธีมึง แล้วเอ็งต้องกลับไปซ่อม กลับไปปรับจูนมันให้ได้ มันต่างกันตรงนี้ พระพุทธเจ้าถึงเป็นคนชี้ทางไง แล้วพวกนั้นก็เดินกันไปเอง เป็นคนบอกไง

ทีนี้คนบอก อย่างที่ว่าบอกก็ต้องมีเทคนิคอีกล่ะ มันมีเทคนิคบอก เป็นอย่างนั้น เพราะบอกแล้วไม่เชื่อไง พอบอก ไอ้คนได้ยินนะ “มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันจะเป็นไปได้อย่างไร” ไอ้คนฟังส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้นเลยนะ พอฟังทีแรกนะ “เอ๊! มันจะเป็นไปได้อย่างไร” เพราะอะไรรู้ไหม เพราะสมาธิทำมาก็เกือบตายแล้ว แล้วกว่าจะเห็นกายนิดหนึ่งก็นึกว่าสุดยอดไง นึกว่ามาจากยอดฟ้าไง มันก็คิดว่าสุดยอดไง แล้วมันสอนกันง่ายๆ อย่างนี้มันจะเป็นไปได้อย่างไร

เวลาใครมาใช่ไหม ให้ไปเก็บผักสิ ยอดผักนี้กินได้ มันไม่เอาหรอก มันเก็บง่ายเกินไปไง มันจะไปเอาผักพลาสติกมากิน ไอ้ยอดผักพลาสติกไอ้ที่เขาทำไว้ พอบอกให้มันเก็บผักตามชายทุ่งมันไม่เอา ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาภาวนาไป โอ๋ย! อย่างนู้น อย่างนั้นนะ พอบอกให้มันแก้นะ โอ๋ย!

แหม! เยอะมากเลย เราไม่อยากจะพูด ทุกคนคิดอย่างนี้นะ “โอ้โฮ! เรามากันตั้งขนาดนี้แล้ว ท่านจะมาสอนต่ำๆ ได้อย่างไร เรามาถึงขนาดนี้แล้วนะ สูงสุดขอบฟ้าแล้ว แล้วท่านจะมาสอนเราง่ายๆ อย่างนี้ โธ่! มันจะเป็นไปได้อย่างไร” คิดอย่างนี้กันทั้งนั้นเลย นึกว่าตัวเองนี้เหมือนกับจรวดยิงขึ้นไปแล้วไง มึงยังไม่ได้ภาวนาหรอก เดี๋ยวมึงจะรู้ ถ้ามันไม่ผ่านไปก่อนมันจะไม่รู้ไง เพราะทุกคนมันจะเป็นอย่างนี้มาหมด

เพราะพวกเราปรารถนาธรรมะใช่ไหม พอศึกษาธรรมก็นึกว่าธรรมะนี้ อู้ฮู! สุดยอดเลย แล้วเวลามหายานพูด ธรรมะอยู่ที่ใจ ธรรมะอยู่ที่ความรู้สึกเรา แต่พอเราศึกษาปั๊บ นิพพาน โอ้โฮ! สุดเอื้อม

สุดเอื้อมที่ไหน มึงไม่ต้องเอื้อมไปหรอก เข้ามาก็ถึงมึง มึงไปเอาที่ไหน นิพพานมันอยู่ที่ไหน มึงไปเอาที่ไหน มันอยู่ที่นี่ แต่เราศึกษาธรรมะนู่นเลย สวรรค์นรก โอ้โฮ! นิพพานอยู่นู่น จะไปเอื้อมมือหยิบให้ได้เลย มันเป็นบุคลาธิษฐานไง เป็นบอกให้ไปดู

มันดีอย่างหนึ่ง เวลาพูดมาอย่างนี้มันได้เคลียร์ เพราะเวลามุมมองนี้ เรามีมุมมองอย่างนี้มาตลอด นี่เวลามาพูดกับเรา มาพูดกับพวกนี้นะ มันเป็นแบบว่ามุมมองเดียวกันไง เวลาอธิบายไปแล้วพวกนี้ก็เถียงไงว่าไม่น่าจะคิดอย่างนี้ เพราะมุมมองอย่างนี้ใช่ไหม เราก็คิดว่าคนอื่นจะมีมุมมองเหมือนเรา แต่เวลาพูดอย่างนี้มันก็คนละมุมมอง เพราะเวลาเราคิดของเรามันจะเป็นอย่างนี้สิ เพราะอะไรรู้ไหม

เพราะหนึ่ง ประเด็นก่อน เป้าหมายเขาอย่างนี้ใช่ไหม แล้วสิ่งที่ทางวิชาการเหตุผลของเขามันรองรับไง เหตุผลของเขาที่อธิบายมามันรองรับทฤษฏีหรือไปรองรับมุมมองของเขา อย่างเช่นเมื่อวานนี้มันพูดเลย มันก็บอกบอกว่า ในพระไตรปิฎก มันเถียงนะ เด็กเมื่อวาน บอกว่า ในพระไตรปิฎกบอกว่าถึงพุทธกาลไม่มีพระอรหันต์

เราก็ถามมันบอกว่า มันเด็กใช่ไหม ๒ คน ผู้หญิงผู้ชายเสพกามกันจะมีลูกไหม เราถามเลย ระหว่าง ๒ คน ผู้หญิงผู้ชายอยู่ด้วยกันครอบครัวจะมีลูกไหม โดยธรรมชาตินะ ธรรมชาติต้องมีลูกใช่ไหม

เราจะย้อนกลับมาที่การปฏิบัติไง ถ้าเมื่อใดมีการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าบอกว่า อานนท์ ในเมื่อมีผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม การประพฤติปฏิบัติ เหตุและผล ผลออกมาคือธรรมะไง ในเมื่อมันมีเหตุมีผลอยู่ ทำไมนิพพานมันจะไม่มี เราจะบอกว่าธรรมะมีไง

เมื่อวานเขาจะปฏิเสธทุกอย่างไม่มีไง เขาบอกว่าพระอรหันต์กึ่งพุทธกาลแล้วไม่มี แล้วมันก็อ้างพระไตรปิฎกนะ

เราบอกว่าพระไตรปิฎก แล้วมันบอกว่าเราก็อ้างพระไตรปิฎกเหมือนกัน

มันก็ถามกลับว่า อย่างนั้นใครเป็นคนเขียนพระไตรปิฎก เพราะพระไตรปิฎกเขียนผิด มันพูดเลยนะ

คือแบบว่า เวลาพอเขาพูดออกมา เราเข้าใจ เราเข้าใจว่าพวกที่เป็นพวกทฤษฏีนี้เขาต้องยึดทฤษฏีของเขาเต็มที่ไง วิชาการไง ต้องมีเหตุมีผล ต้องมีที่มาที่ไปไง เราถึงได้บอกไงว่า หนังสือนี่นะ ถ้าเราเขียนผิดหรือเรียงพิมพ์ผิด ความหมายไปเลย แต่เวลาสมัยพุทธกาล ธรรมะออกจากปาก ธรรมะออกจากพระโอษฐ์ เพราะว่าท่องจำ เหมือนสวดมนต์ สวดมนต์ถ้าใครสวดผิดคนหนึ่งมันจะขัดกัน สวดมนต์ การท่องมา แต่เราไปมองมุมกลับว่าการท่องมานี้ผิด แต่ถ้าทางหนังสือแล้วจะถูก หนังสือใครเขียนผิด ใครเรียนผิดๆ ไปเลยนะ แต่การสวดมนต์ใครสวดผิดมันจะขัดแย้งกันเองเลย

นี่พูดถึงเวลาที่เขาจดจารึกมา มันอยู่ที่ใครจะดึงออกมาใช้ประโยชน์ด้วย ดึงออกจากพระไตรปิฎกมา มีคนพูดมากนะว่าธรรมะจากพระโอษฐ์ๆ เราจะถามว่าโอษฐ์ไหนวะ เพราะอะไร เพราะพระไตรปิฎกเรามันมาพิมพ์ครบ ๔๕ เล่มสมัย ร.๕ นี้เอง เพราะก่อนหน้านั้นมันเกิดศึกสงครามมาตลอด พระไตรปิฎกพิมพ์ครั้งแรกแค่ ๑๐ กว่าเล่ม ครบสมบูรณ์ หาข้อมูลมาสมบูรณ์ในสมัย ร.๕ ร.๕ พอพิมพ์เสร็จแล้วแจกจ่ายไปทั่วโลก มันมาสมบูรณ์เอาไม่กี่ปีนี้เองพระไตรปิฎก แล้วรื้อค้นกันมา เรียบเรียงกันมา

ที่พูดนี้ไม่ใช่ปฏิเสธนะ เพียงแต่เวลาเขาพูดไง ถ้าเขาศึกษาว่าหนังสือนี้มาอย่างไร แต่เวลาเราย้อนกลับไป ทุกคนต้องบอกเลยว่าสังคายนาเมื่อตั้งแต่ ๒๐๐ ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน เราได้พิมพ์มา พิมพ์มานี้เป็นภาษามคธ แล้วตอนหลังพอสิ้นสุดแล้ว พระจากอินเดียก็มาแปลกลับจากมคธไปเป็นบาลี แล้วมันถึงไปรวมอยู่ที่อังกฤษ เพราะอังกฤษเข้าไปยึดอินเดีย พระไตรปิฎกสื่อวิชาการไปรวมอยู่ที่อังกฤษ ที่เยอรมัน มันมีภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษนะ แล้วภาษาไทยค่อยมาตรวจทานกัน

อันนี้เราไม่เถียงเรื่องนี้ เพียงแต่ใครดึงออกมาใช้ แล้วบอกว่าเขาอ้าง เขาบอกว่าพระไตรปิฎกพูดอย่างนั้น

พระไตรปิฎกมันก็เหมือนอย่างเช่น มันหลายอย่าง ที่ไปดึงออกมาเป็นต้นขั้วเป็นนิกายของตัว ทีนี้อันนี้เราจะว่าผิด มันไม่ผิด เพียงแต่ว่าถ้าเราปฏิบัติเข้าใจแล้ว จบ ไม่เถียง ไม่เถียงพระไตรปิฎก ไม่เถียงเด็ดขาด เพียงแต่ว่าไปเริ่มจากพระไตรปิฎกเป็นตัวตั้ง แล้วเราไปอย่างนั้น จบ ไปไม่รอดเลย ไปไม่รอด

แต่ถ้าเรามาฝึกปฏิบัติอย่างนี้ แล้วพอเข้าใจแล้ว ทีนี้เพียงแต่เขายึดตรงนั้น เหมือนกับมันไปชิงสุกก่อนห่ามไง ไปยึดตรงนั้นเป็นหลัก แล้วตัวเองยังทำอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าเราทำของเราไป ประสาเรา เราสร้างฐานของเราไป พอถึงที่สุดแล้วถ้าเป็นจริงนะ เหมือนกันเลย ไม่ค้าน เหมือน

ไอ้นี่มันก็เป็นกรรมของสัตว์เนาะ เพราะว่าโลกเจริญแล้วเขาก็ต้องเชื่อกันตรงนั้น เชื่อกันทางวิชาการ แต่เราก็เชื่อนะ แต่เราเชื่อในมุมมองของปริยัติ เราถึงพูดบ่อยๆ ว่า ปริยัติ ปฏิเวธ ไม่มี คือปริยัติ ศึกษาให้เข้าใจ ไม่มี ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปฏิบัติถึงเป็นปฏิเวธ ปริยัติ ปฏิเวธไม่มี ปริยัติเท่าไร งงเท่านั้น ปริยัติมากเท่าไร งงเท่านั้น ปฏิบัติ ปฏิเวธ มี

ฉะนั้น ทางวิชาการเรารับแค่ปริยัติ มันต้องมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถึงจะแน่นอน แต่ถ้าไปยึดปริยัติเป็นหลัก แล้วในการปฏิบัติ แล้วเอาปริยัติเป็นหลักไง คือไม่ทิ้งหลักนี้ไง เรายึดหลักไว้มันก็อยู่หลัก มือกำไว้ไม่ยอมทิ้ง มันก็อยู่อย่างนั้นน่ะ รับรู้มาแล้วทิ้ง แล้วปฏิบัติ ทิ้ง ปฏิเวธ

จริงๆ แล้วไม่เคยปฏิเสธปริยัตินะ แต่ขณะปฏิบัติรู้ว่ามันมีข้อขัดแย้ง มันมีสิ่งที่มันทำให้เบี่ยงเบน มันไม่ใช่เบี่ยงเบนโดยปริยัตินะ มันเบี่ยงเบนโดยกิเลสเรา กิเลสเรามันอยากง่าย อยากสะดวกอยากสบาย ไอ้ตัวเบี่ยงเบนคือทิฏฐิของเรา ตัวปริยัติถูก แต่ตัวเบี่ยงเบนคือตัวนี้ แล้วมันชำระตัวนี้ปั๊บ พอเป็นจริงขึ้นมาแล้วอันเดียวกัน

อ้าว! ตอนนี้ให้ถามไม่ถาม เดี๋ยวคิดได้เยอะแยะเลย มา

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่ เข้าใจแล้ว จะถามว่าต้องนั่งหรือเดินใช่ไหม เพราะเราเน้นอยู่อิริยาบถ ๔

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ได้ เพราะเราเพิ่งไปเยี่ยมอาจารย์จันทร์เรียนมา ท่านบอกว่าหลวงปู่ชอบชอบท่านอน เพราะหลวงปู่จันทร์เรียนท่านไปธุดงค์กับหลวงปู่ชอบตลอด ท่านเป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ ท่านบอกหลวงปู่ชอบพานั่งสมาธิไม่เกินชั่วโมงนะ ถ้าพูดถึงการนั่ง หลวงปู่ชอบกลับนั่งน้อย แต่ท่านไปอยู่ในท่านอน เราก็คิดว่าคนขี้เกียจ คนนอนหลับไง แต่ท่านนอนภาวนานะ

นี่จะยืนยันอิริยาบถ ๔ ไง ยืน เดิน นั่ง นอน ท่านอน หลวงปู่ชอบท่านชอบภาวนาท่านอน ท่านนอนเฉยๆ ไม่ใช่นอนหลับ นอนภาวนา หลวงปู่ชอบ ทีนี้คนอื่นนอนจะนอนหลับ ถ้านอนหลับ ห้ามท่านอน

ยืน เดิน นั่ง นอนได้หมด อิริยาบถไง อิริยาบถมันเปลี่ยนการขบเมื่อยของร่างกาย การนั่งสมาธิเป็นท่ามาตรฐาน หมายถึงว่า มันนั่งท่านี้ สมมุติว่าเรานั่ง ไม่สมมุติ เรื่องจริง นั่งท่านี้นะ มันนั่งได้นานไง เพราะร่างกายมันสมดุลไง การเดิน ยืน นอนมันไม่สมดุล แต่ท่านั่งสมดุลที่สุด ทีนี้มันก็อยู่ที่จริตนิสัย

อาจารย์จันทร์เรียนท่านบอกท่านนั่งทีหนึ่ง ๗-๘ ชั่วโมงทุกวัน หลวงตาท่านนั่งตลอดรุ่ง เราตลอดรุ่ง เราอดนอนไป ๓-๔ เดือน แต่เราไม่อยู่ในอิริยาบถเดียว เรายืน เดิน นั่ง นอน เราอยู่ของเราตลอด แต่มากในท่าเดิน เราเดินทีหนึ่งหลายๆ ชั่วโมง ๗-๘ ชั่วโมง แล้วไม่ใช่เดินวันเดียว เดินเป็นจริตนิสัยเลย เดินจนเป็นพื้นฐาน

ฉะนั้น ไอ้ยืน เดิน นั่ง นอน หนึ่ง มันเป็นอิริยาบถที่เราแก้ไขการขบเมื่อย ถ้าเราไม่มีการขบเมื่อย เรารู้จักบริหารไง นั่ง ๒ ชั่วโมง เดิน ๔ ชั่วโมง นั่ง ๒ ชั่วโมง เราบริหารได้เราจะได้ไปตลอดเลย ถ้าเราฉลาดนะ แล้วบริหารโดยสังเกตใจเรา ถ้าเราเดินจงกรมสัก ๔-๕ ชั่วโมงอย่างนี้ จิตใจเรา ประสาเราเขาเรียกมันกำลังสมดุลอย่างนี้ เราจะไปนั่งแล้วมันจะดีหรือ ขณะที่เราจะไปนั่ง เราต้องรีบๆ ไปเลย แล้วทำให้ดี แล้วนั่งเลย พุทโธๆ ให้มันต่อเนื่องไง การภาวนาจากเดินมานั่งให้มันต่อเนื่องๆ ไป ต้องฝึก เราทำของเราอย่างนี้นะ

เราเดินก่อน เดินจนจิตใจดีแล้วค่อยไปนั่ง บางทีมันทำบ่อยๆ ครั้งเข้ามันรู้ทันน่ะ ก็นั่งก่อน บางทีไปนั่ง ๒-๓ ชั่วโมงแล้วก็มาเดิน เดินสัก ๗-๘ ชั่วโมงแล้วค่อยมานั่งอะไรอย่างนี้ เราทำของเราอย่างนี้นะ ถ้าเดินๆ อยู่ ถ้าจิตมันกำลังดี ยืน รำพึง ยืนเฉยๆ พุทโธๆ ยืน ยืนอยู่บนทางจงกรม เราเดินจงกรมไปนะ เห็นตรงไหนมันร่มไง แล้วก็ยืนเลย ยืนเฉยๆ พุทโธๆๆ ได้ ทำมาแล้ว

ทีนี้เราจะบอกอิริยาบถ ๔ ก่อนใช่ไหม แล้วเราบอก พระอานนท์ พระอานนท์ได้องค์เดียวที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างนั่งกับนอน ระหว่างนั่งกับนอนคือเอียงไง เพราะพระอานนท์ ตอนพระพุทธเจ้าจะนิพพานก็เป็นพระโสดาบัน ร้องไห้เลย ร้องไห้เสียใจมาก รำพึงขึ้นมาในใจ เราเป็นพระโสดาบันยังต้องการคนสั่งสอนอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปแล้ว เสียใจมาก เสียใจมาก เสียใจเหมือนกับคนมันรู้ว่าการปฏิบัติมันยากอยู่ ไม่มีคนสอน กลัวตัวเองจะติดขัดไง

แล้วประสาเรา อย่างเช่นหลวงตา หลวงตาท่านบอกเลย เวลาหลวงปู่มั่นตายนี่นะ ไปรำพึงรำพันนะ ครูบาอาจารย์เราก็ไปแล้ว คำนี้สำคัญมาก แล้วต่อไปนี้ถ้าเกิดหัวใจมันติดขัดจะไปฟังใคร จะให้ใครสอน เพราะหัวใจดวงนี้มันไม่ฟังใคร มันไม่ยอมฟังใคร มันยอมฟังเฉพาะหลวงปู่มั่นองค์เดียว แล้วหลวงปู่มั่นก็ตายไปแล้ว แล้วเราจะหาที่พึ่งได้อย่างไร ไปนั่งร้องไห้เป็นครึ่งๆ วันนะ ไปนั่งอยู่ปลายเท้าแล้วร้องไห้เป็นครึ่งๆ วัน ใจดวงนี้มันเชื่ออยู่เฉพาะพระองค์นี้ เชื่ออยู่กับอาจารย์ของเรา แล้วอาจารย์ของเราก็ตายแล้ว แล้วตอนนั้นจิตท่านหมุนเต็มที่ด้วย แล้วเราจะพึ่งใคร พระอานนท์ก็เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจะนิพพานเสียใจมาก แล้วถ้าพระพุทธเจ้าตายไปแล้วจะพึ่งใคร อ้อนวอนพระพุทธเจ้าอยู่นะ

ทีนี้อ้อนวอนพระพุทธเจ้า อานนท์ เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็ต้องดับไปเป็นธรรมดา เราจะตายในคืนนี้ แต่เธออย่าเสียใจ เราตายไปแล้ว ตอนนี้ไม่มีอะไรเลย เราตายไปแล้ว ๓ เดือนจะมีการสังคายนา เธอจะเป็นพระอรหันต์วันนั้น ไอ้คำนี้ เธอจะเป็นพระอรหันต์วันนั้น

แล้วพอถึงวันสังคายนา พระกัสสปะก็เว้นที่ไว้ที่หนึ่งว่าต้องมีพระอานนท์ แต่ต้องพระอรหันต์เท่านั้น ทีนี้พระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบัน ทีนี้เขาจะทำสังคายนากันอยู่แล้ว ตัวเองมีหน้าที่ใช่ไหม ตัวเองก็ต้องรีบขวนขวายให้ตัวเองให้ได้ เพราะมันมีปมในใจไง เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่าวันสังคายนาเธอจะเป็นพระอรหันต์ แล้วันนี้เขาสังคายนา เขารอเราอยู่ เดินจงกรมทั้งวันทั้งคืนเลย เร่งเต็มที่เลยล่ะ พอเร่งเต็มที่เหมือนกับความเพียรมันกล้า พอกล้าเต็มที่ใช่ไหม จนเต็มที่แล้วมันไม่ไหว พอไม่ไหว ก็นั่งสมาธิอยู่ใช่ไหม ขอพักนิดหนึ่ง ก็มันเพลียเต็มที ขอพักนิดหนึ่ง

เร่งอยู่ เร่ง จิตมันไปวิตกคำของพระพุทธเจ้าบอกว่าวันสังคายนาเธอจะเป็นพระอรหันต์ไง ก็เร่งใหญ่เลยเพื่อจะเป็นวันนั้น ส่งออกไง พอบอกจะพักผ่อนไง เออ! ถ้าอย่างนั้นมันไม่ไหวแล้ว ขอพักหน่อย พอพักหน่อยนะ มันปล่อย มันปล่อยสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก ปล่อยทุกอย่างหมดเลย แล้วจะเอียงลงนอนไง กึ่งระหว่างนั่งกับนอน พระอานนท์สำเร็จตรงนั้น มีองค์เดียว มีองค์เดียว

ไม่ต้องไปสงสัยหรอก มันเป็นบุญของท่าน เอ็งอย่าไปเอาแบบ เอ็งไม่ต้องเอาท่านั้นหรอก มันเป็นบุญของท่าน เพราะอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอยู่ ๒๕ ปี รับใช้พระพุทธเจ้าอยู่ ๒๕ ปีนี่บุญมาก มันเป็นบุญของท่าน เป็นบุญกุศลของท่านเอง ถึงบรรลุธรรมโดยไม่เหมือนใคร เป็นท่าระหว่างนั่ง จะเอียงนอน ไม่ใช่อิริยาบถ ๔ ไม่ใช่นั่ง ไม่ใช่เดิน ไม่ใช่ยืน ไม่ใช่นอน ไม่ใช่ เอียงๆ มันปล่อยหมดพอปล่อยหมดแล้ว จิตมันเร็วมาก นี่ไง ที่ว่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น สว่างโพลง พอเอียงลงจะนอน มันพัก พอจิตมันก็ถอนกลับ พอถอนกลับ ปึ๊ง! พอสำเร็จแล้วดำไปโผล่เลย

โยม : ถ้าอย่างท่านอาจารย์สิงห์ทอง

หลวงพ่อ : ถ้าสิงห์ทองไม่ใช่อย่างนี้ คือไม่ใช่ท่าอิริยาบถนี้ไง ถ้าของอาจารย์สิงห์ทอง หลวงตาพูดถึงมันเป็นอิริยาบถของใจไง มันเป็นอิริยาบถของใจ เพราะใจที่ว่าขณะมันขาด เขาเรียกมันขาด ทีนี้อิริยาบถของใจคือว่าธรรมดาสมมุติเรานั่ง ยืน เดิน นอน เรารู้ท่าใช่ไหม ทีนี้ของอาจารย์สิงห์ทองท่านหายไปเรื่อยๆ ไง มันเป็นอิริยาบถภายใน มันไม่ใช่ ของพระอานนท์มันเป็นอิริยาบถร่างกายเลย แต่ของอาจารย์สิงห์ทองมันเป็นเรื่องอิริยาบถของใจ

หลวงตา หลวงตาเวลาท่านกำหนดของท่าน ถึงที่สุดปั๊บ พอมันรวมปั๊บ ขาด มันก็มีอาการที่ว่าโลกธาตุไหว ของหลวงปู่บัวที่ว่าบึ๊บลงไง นั่นอิริยาบถ มันเป็นอิริยาบถของใจก็ขาดๆ แต่ของอาจารย์สิงห์ทองมันจางลงๆๆ มันจางลง จางลงไปเรื่อยๆ จนหายไปเลย แต่เราก็ว่าเป็นขณะอย่างนั้น

คือของอาจารย์สิงห์ทอง ในความรู้สึกเรานะ เราว่าขณะก็มี คือมีอย่างนั้นไง ของเราทีเดียวจบใช่ไหม ของท่านค่อยๆ จางๆๆ ค่อยๆ ไป แต่ก็เป็นอิริยาบถของท่าน ในความคิดเรานะ แต่หลวงตาท่านพูดอย่างไรเราก็ฟัง แต่หลวงตาพูดนะ มันเป็นดุลพินิจของหลวงตา แต่ถ้าเป็นดุลพินิจเรานะ เราว่านั่นก็คือขณะจิตของอาจารย์สิงห์ทองไง

แต่เวลาพระที่เขามาอ้างกันน่ะ เวลาพระเขามาอ้างกันเขาบอกว่าของอาจารย์สิงห์ทองไม่มีขณะ ไม่มีขณะบ้าง แต่ถ้าในความเห็นเรา อันนี้ก็คือขณะของอาจารย์สิงห์ทองไง เพราะมันไม่เหมือนกัน มันเป็นขณะของท่าน ฉะนั้น มันเป็นกิริยาภายนอก กิริยาภายใน

แล้วสงสัยนี้เพราะอะไร เพราะอยากจะทำหรืออยากจะเอามาเป็นตัวอย่าง เพราะอะไร

โยม : เพราะว่าอยากจะรู้ว่ามันมีวิธีอื่นอีกไหม

หลวงพ่อ : ยืน เดิน นั่ง นอนเรานี่แหละ เอาตัวเรานี้ให้จบ ยืน เดิน นั่ง นอน ไอ้นั่นมันเหมือนกับท่าพักผ่อน มันท่าระหว่างไง เหมือนท่าเราก้าวเท้า มันระหว่างก้าวเท้า อันนี้ท่าระหว่างเอียงลงนอน

โยม : คือความเพียรท่านถึงตรงนั้นแล้วจริงๆ ไม่ใช่ว่าเพราะแค่นี้

หลวงพ่อ : ใช่ๆ

โยม : กรณีท่านถึงเพราะความเพียร คือท่านทำอย่างอื่นมาเยอะ

หลวงพ่อ : ใช่ ก็เราจะพูดตรงนี้ไงว่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น หรือสว่างโพลง เป็นอย่างนั้นใช่ไหม ใช่ แต่กว่าจะเป็นมันพร้อมมาแล้วไง ไอ้คนไม่มองตรงที่เราสร้างฐานมาพร้อม แล้วถึงตรงนั้นปั๊บ อย่างของหลวงปู่มั่นบอกช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น แพลบ! ขาดเลย แต่กว่าจะขาดต้องสร้างฐานมา สร้างมาเยอะมาก พระอานนท์ท่านสร้างมาเยอะด้วย แล้วใจมันไปเกาะไง ใจไปเกาะที่คำพระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้น่ะ

คำว่า “ไปเกาะคำพูด” คือสัญญา แล้วจิตไปเกาะคำที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ไง คือสัญญาไว้ว่าต้องตรัสรู้วันสังคายนา แล้วนี่เขาจัด เขาปูพรมกันแล้ว จะสังคายนาอยู่แล้ว ทำไมยังไม่เป็นสักทีหนึ่ง พอปล่อยความคิดทั้งหมดมันก็รวมกลับมาเป็นตัวของมันเอง พรึบ! เรียบร้อย

โยม : แล้วอย่างนี้ถ้าเรากำหนดพุทโธตลอดเวลาก็ถือว่าเป็นการภาวนาด้วยใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าทำได้นะ ขอให้ทำอย่างนี้ไป ไม่กี่เดือน ทำไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวจะรู้ผล แต่มันจะมีอันหนึ่งเท่านั้นน่ะ อันหนึ่งที่ว่าเราอยากรู้มาก อยากอะไรมาก มันเป็นความอยาก เขาเรียกตัณหาซ้อนตัณหา แต่ก็ทำมันไปก่อนเถอะ แล้วค่อยแก้เอา อย่างที่พูดเมื่อวานนี้ เวลาสอนมันก็ต้องสอนกันมาอย่างนี้

เวลาเราคุยธรรมะกัน เราคุยกันบ่อยครั้ง อู้ฮู! ธรรมะต้องเป็นอย่างนั้นเลย เวลามีคนหัดใหม่มา เวลาเราสอน ไอ้พวกนั้นฟังแล้วจะงงเลย เอ๋! หลวงพ่อสอนผิด ทำไมสอนอย่างนั้นล่ะ

ไม่ใช่ เขาเป็นเด็กใหม่มาก พวกเรานี่นักรบ อะไรก็เก่งหมด เด็กมันเข้ามาต้องสอนวิธีจับปืนให้มันก่อน มันเข้ามาต้องสอนวิธีจับปืน คนเป็นนักรบนะ เขาสอนอะไรรู้ไหม เขาสอนวิธีล้างปืน เขาไม่สอนวิธีรบหรอก เขาสอนให้ถอดปืน แล้วทำความสะอาดมันน่ะ เอ็งทำความสะอาดปืน ประกอบปืนจนเป็นแล้วกูค่อยสอนมึง

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน พวกมาใหม่ ตั้งสติ กำหนดพุทโธไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ได้ก็พุทโธกับลมหายใจไป เดี๋ยวค่อยแก้ไขกันไป ทีนี้พอไอ้นั่น โอ๋ย! นักรบเขาต้องออกลาดตระเวนเว้ย มันต้องออกสนามสิ เอ๊! ทำไมสอน เอ๊! มาถอดปืน ล้างปืน

นี่ไง เวลาพูดไปเราก็พูดถึง โอ้โฮ! ออกสนามต้องเป็นอย่างนั้นๆๆ อู้ฮู! ใส่ไปเต็มที่เลยนะ เวลาคนใหม่มาไม่สอนอย่างนั้นนะ สอนถอดปืน มันจะงงกันนะ เอ๊! หลวงพ่อสงสัยติงต๊องแล้ว

แต่คนสอนมันรู้วุฒิภาวะของคนรับ ของคนฝึกหัด ถึงได้บอกมีสูงมีต่ำนี่ไง ไม่ใช่ว่ามาถึงก็จะสอนกันเลย จะออกรบเลยนะ เดี๋ยวไป ข้าศึกเขายิงตายนู่นไง มันก็ออกเต็มที่มันก็รบเต็มที่เลยนะ พอรบไปแล้วมันไม่ไหวไง เฮ้อ! เลิกเถอะ กลับบ้านดีกว่า จบ

มันใจคนไม่เท่ากัน ใจคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเวลามาหาเรา ไปวัดไหนมาบ้าง ไปมากี่ปี แต่ถ้ามีพื้นฐานมาแล้วนะ กูใส่เลย เพราะว่าเขาประกอบปืน เขาออกรบมาแล้ว แต่มันแพ้บ้างชนะบ้างนะ ใส่กันได้เลย แต่บางทีมาใหม่เลย แล้วมาใหม่ บางทีนะ เห็นบ่อย มาใหม่เริ่มต้นอะไรรู้ไหม กินข้าวมื้อเดียวไม่ได้ ไม่ได้ ต้องกิน ๒ มื้อ ถ้ามาใหม่นะ กินข้าวมื้อเดียวไม่ได้ ถ้ามาใหม่เป็นอย่างนี้เลย ไม่ได้ กินข้าวมื้อเดียวไม่ได้

แต่ถ้ามันไปอยู่วัดป่าเราแล้วนะ มันไม่กลัวแล้ว ถ้ามานี่สอนได้เลย แต่ถ้ามาจากวัดบ้าน มาจากหัดใหม่ ไม่ได้ ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ อ้าว! ไม่ได้ก็อยู่ไปก่อน พออยู่ไปก่อน ถ้ามันมีแววเดี๋ยวมันทิ้งเอง เดี๋ยวมันกินมื้อเดียวเอง เดี๋ยวมันสู้เอง ถ้ามันมาใหม่ ไม่ได้...ไม่ได้มาอีกแล้วเว้ย มันก็ต้องอย่างนี้แหละ

หลวงตาถึงบอกไง เราฟังเมื่อก่อนก็เฉยๆ พอตอนหลังมาคิดมาก ในวงกรรมฐานเรา ในครอบครัวกรรมฐาน ไม่ใช่ธรรมยุตนะ ธรรมยุตทั้งหมดคือฝ่ายธรรมยุต ธรรมยุตที่ออกปฏิบัติมันมีอยู่แค่ไหน ในครอบครัวกรรมฐาน แล้วในสายหลวงปู่มั่น แล้วในกลุ่มปฏิบัติ เหลือกี่องค์ ไม่ใช่ว่าใหญ่โตกว้างขวางหรอก นี่เราไปมองภาพทั้งหมดของสังคมไง

เวลาท่านพูดน่ะ ท่านพูดวงนอก สังคม แกงหม้อใหญ่ ท่านพูดถึงในครอบครัวเรา องค์นั้นเป็นอย่างนั้น ใส่แล้ว ไอ้นั่นผิด ไอ้นั่นถูก แต่ถ้าเป็นข้างนอก ครอบครัวใหญ่ สายหลวงปู่มั่น แต่บางทีท่านก็พูดนะ เรามั่นใจ มีคนไปถามไง วันนั้นฟังอยู่ในวิทยุนะ มีคนศรัทธามากเลย ไปกราบท่าน “อู๋ย! ดิฉันศรัทธามากเลย ลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่นสุดยอดเลยค่ะ”

ท่านพูดสวนเลยนะ สงสัยคนมันแบบกำลังศรัทธาเต็มที่ ท่านพูดนะ เราจำแม่นเลย “เรามั่นใจว่าในสายหลวงปู่มั่นก็มีดีและมีชั่วปนกัน”

คือคนนั้นมันกำลังเต็มที่มาต้องเบรกไว้ก่อนไง เดี๋ยวมันจะไปเสียใจ เหมือนเครื่องบิน ไปผิดหวังปั๊บจะดิ่งลงเลยไง ท่านเตือนไว้ก่อนเลย “ในสายหลวงปู่มั่น เราก็แน่ใจว่ามีดีและชั่วปนกัน” คือไม่ใช่ว่าสายหลวงปู่มั่นแล้วตัวเองมั่นใจมาก โอ้โฮ! เหมือนเครื่องบินเลย กำลังเหินเลยนะ ไปเต็มที่เลย ศรัทธามันขึ้นเต็มที่เลยนะ ไม่รู้วันไหนหัวปักนะ วันไหนมันไปเจออะไรผิดหวังก็หัวปักเลย หมดเลย ท่านพูดเลยนะ ท่านพูดมาเราฟังซึ้งมาก ท่านพูดเอง แต่เวลาท่านพูด ฉะนั้น เวลาพูดถึงวงปฏิบัติภายในมันถึงคุยกันได้เนื้อๆ

แต่ถ้ามาพูดวงกว้าง อย่างที่ว่า “พระไตรปิฎกว่าอย่างนั้น สายนั้นว่าอย่างนั้น”

อ้าว! ถ้าว่าอย่างนั้นนะ ถ้าจะให้พูดตามจริงนะ เราลบล้างหมดเลย ถ้าลบล้างหมดไปแล้วสะเทือนใจไหม ฉะนั้น ถ้ามันสะเทือนใจ ไม่พูดดีกว่า แต่ถ้าจะให้พูดนะ เพราะสายเป็นอย่างนั้นใช่ไหม เพราะคำว่า “สาย” เขาเชื่อผู้นำ ฉะนั้น ถ้าเชื่อผู้นำ มันต้องลบล้างว่าผู้นำผิด ให้เขาเห็นว่าผิดถูกก่อน เขาถึงจะปล่อยตรงนั้น แล้วถ้าเราจะไปลบล้างผู้นำเขาผิด สะเทือนใจไหม ถ้าอย่างนั้นนะ เราบอกว่าเราไม่พูดดีกว่า

แต่ถ้าจะแก้ไขกัน เราต้องบอกว่าตรงนั้นผิด ถ้าเขาถอนตรงนั้นปั๊บ เขาถึงจะมายอมรับความถูก ถ้าเขาไม่ยอมถอนความผิดมา เขาจะเอาความถูกนี้ไปเจือจานกับความผิดเขา มันก็มั่วกันอยู่นั่น นี่ในการปฏิบัติเวลาจะสอนกันน่ะ

ฉะนั้น เวลามาเราจะถามเลย มาจากไหน ไปอยู่กับเขามากี่ปี จะดูว่ามันเข้าสายเลือดลึกแค่ไหน แล้วค่อยๆ ร่อนกันมา เราถึงซึ่งหลวงปู่มั่นแล้วพูดบ่อย การแก้จิตไม่ใช่ของง่ายว่ะ คนไม่เป็นแก้ไม่ได้ แล้วผู้เฒ่าจะตายแล้วนะ ใครภาวนาให้รีบภาวนามา หาคนแก้จิต หาคนแก้จิตได้ยากมาก

ซึ้งใจมาก เพราะเราเองเราก็โดนท่านบี้มา ถ้าไม่บี้มาก็ไม่มาเป็นอย่างนี้ โดนบี้มาเหมือนกัน แล้วตอนบี้ก็ อื้อหืม! ใส่กันนะ เรารู้เราเห็นของเรา แต่รู้โดยกิเลส มันรู้อยู่ แต่มันมีผิดครึ่งหนึ่ง

ความเห็นที่เราเห็นกันอยู่นี่เริ่มต้นมันจะถูกครึ่งหนึ่ง ผิดครึ่งหนึ่งรวมกัน ๕๐-๕๐ ขณะที่จิตดีนะ ๕๐-๕๐ แต่พอถอยปั๊บ กิเลสหมดเลย แล้วเวลาไปรายงานท่าน ไปให้ท่านช่วย ท่านจะว่าอย่างไร เวลาปฏิบัติมา ๕๐-๕๐ ทั้งนั้นน่ะ ไม่เป็นไรมาเลย มันมีถูกมีผิดปนกันอยู่นั่นน่ะ เพราะเรามีกิเลส ไอ้เรื่องถูกเลยไม่มี ไม่ใช่ว่าปฏิบัติแล้ว ทางโลกจะคิดเลยว่าปฏิบัติแล้วขาวสะอาด จะดีไปหมดเลย

มึงยังไม่รู้จักกิเลสมึงหรอก กิเลสมึงจะซัดให้มึงหัวปักดิน ครูบาอาจารย์ท่านถึงรู้จักฤทธิ์กิเลสไง แล้วไม่ใช่ใครหรอก ใจมึงทั้งนั้นน่ะทำลายมึงเอง แล้วถึงที่สุดมันผ่านไปได้

หมดหรือยัง

โยม : เวลาที่มาหาอาจารย์ ความมุ่งหมายที่การให้มา พิสูจน์ในสิ่งที่เราทำ

หลวงพ่อ : เป็นคำถามโยมหรือเป็นคำถามใคร

โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าพูดถึงโยม โดยหลัก คำพูดนี้ต้องเป็นคำพูดของเรา ว่าถ้าเราเป็นครูบาอาจารย์ เราต้องชี้ถูกชี้ผิด ส่วนใหญ่เราจะชี้ถูกชี้ผิด แต่คำว่า “คำถามใคร” บางคนถ้าเขาปฏิบัติ เขาก็อยากจะตรงนี้ อยากให้ชี้ถูกชี้ผิด แต่บางคนเขาก็มีเล่ห์มีเหลี่ยม มีลับลมคมในมา เขาก็ไม่ต้องการชี้ถูกชี้ผิด บางคนเขาก็จะมาล้วงความลับ บางคนเขาจะมาดู

โยม : คือที่แบบพระอาจารย์บอกว่าคนเราเวลาปฏิบัติ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : มีส่วนผิด

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : แล้วไอ้ส่วนผิดส่วนถูก ตัวเราเห็นมันอยู่

หลวงพ่อ : ไม่รู้หรอก

โยม : ไม่รู้

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ต้องมีคนที่จะช่วยแนะนำ

หลวงพ่อ : ใช่ เพราะอย่างนี้ไง กรรมฐานถึงติดอาจารย์ ที่หลวงตาว่าไง เพราะส่วนใหญ่เราจะไปหาอาจารย์ ส่วนใหญ่เราจะฟังเทปของท่านก่อน อ่านหนังสือของท่านก่อน ถ้าเราเชื่อมั่นแล้วเราถึงเข้าไปหาท่าน พอเข้าไปหาท่านปั๊บ ถ้าจิตมันลงนะ มันจะรีบภาวนาเต็มที่เพื่อจะให้คนชี้แนะ แล้วพูดกับเราเลย เราลง ๒-๓ ปี ทีแรกที่เล่าให้ฟัง แล้วพอไปหลวงปู่จวนน่ะ “อวิชชาอย่างหยาบสงบตัวลง อวิชชาอย่างกลางไม่เห็น อวิชชาอย่างละเอียดยังเต็มในหัวใจเลย” มันก็รีบภาวนาเพราะมันเชื่อแล้ว พอภาวนาได้ผลปั๊บ เครื่องบินตก เราเข้าไปบ้านตาดเลย มันบังคับตัวเองเข้าบ้านตาดเลย เพราะไอ้คนชี้ถูกชี้ผิดมันไม่มี

แล้วพอเข้าไปอยู่บ้านตาดมันพูดกับตัวเองอย่างไรรู้ไหม มึงเข็ดไหม มึงอยู่เมื่อก่อนมามึงไปถามครูบาอาจารย์องค์ไหนก็สอนมึงผิดๆ หมดเลย แล้วมึงเองก็หลงผิด เพราะมึงหัวคว่ำ เพราะตัวเองมันเป็นสมาธิแล้วมันเสื่อมมาหลายร้อยหน ตัวเองก็หลงผิดหลงถูกมาตลอด ไปหาครูบาอาจารย์ก็สอนผิดสอนถูกมาตลอด บัดนี้ บัดนี้ครูบาอาจารย์อยู่บนกุฏิ กุฏิหลวงตาอยู่นี่ แล้วมึงอยู่ที่ร้าน มึงเร่งภาวนาสิ คนจะสอนมึงรอมึงอยู่นี่ รอมึงอยู่ โอ้โฮ! มันเร่งความเพียรนะ มันทุกข์ยากมามหาศาล เราเองนี่แหละ ความคิดอย่างนั้นมันจะปลุกเร้าตัวเองตลอดเวลาอยู่บ้านตาด

คนรอแก้มึงนั่งอยู่นี่ คนรอแก้มึงน่ะ นั่งอยู่บนกุฏินี่ มึงเร่งเข้า เร่งเข้าๆๆ อยู่บ้านตาดเราทำอย่างนี้ตลอด ถ้าออกมาจากวัดก็เร่งเข้าไป ก็เข้าไปถามอีก เวลาออกมาข้างนอกปั๊บ ต้องกลับไปชาร์จไฟ ต้องกลับไปให้ท่านด่า

ก็เป็นอย่างนี้ไง ถ้าคนเราภาวนายังไม่ติด ยังไม่เห็นถูกเห็นผิดมันก็ยังนอนใจ แต่ถ้าคนใดภาวนาเห็นถูกเห็นผิด เห็นการขัดแย้งแล้วมันจะหาคนบอก เพราะเหมือนเรางง ซื่อบื้อๆ ตลอด งง ไปไม่รอดหรอก ก็ต้องไปให้ท่านทุบหัวสักทีหนึ่ง

โยม : เหมือนมาให้อาจารย์ด่าเราตอนนี้

หลวงพ่อ : ไม่เหมือน เวลางงๆ ก็ต้องเข้าไปให้ท่านเอาไม้ฟาดหัวสักทีหนึ่ง มันก็หูตาสว่างออกมา เดี๋ยวมันก็เข้าไปให้ฟาดสักทีหนึ่ง เพราะในวงกรรมฐานมันเป็นกันอย่างนี้ ในวงปฏิบัติมันถึงเป็นของจริง ฉะนั้น พอฟังทฤษฏีแล้วมันถึงฟังออกไง แล้วฟังออกแล้วถึง โอ้โฮ! โอ้โฮ! เลย นี่เขาเรียกลงใจ ถ้าเราลงใจครูบาอาจารย์องค์ไหน เราจะเชื่อท่าน เราจะฟังท่าน แล้วมันจะแก้ไขกันได้ ถ้ามันไม่ฟังนะ หูซ้ายทะลุหูขวา ไม่ทะลุธรรมดานะ หัวใจมันยังเยาะเย้ยนะ “หืม! แค่นี้จะมาสอนกู กูเก่งกว่ามึงอีกน่ะ” แต่ข้างนอกทำกราบทำไหว้นะ แต่ใจทิฏฐิ โธ่! กิเลสไม่ธรรมดาหรอก มันอยู่ในหัวใจ มันว่ามันแน่ ทั้งๆ ที่มันโง่เป็นควาย

หมดหรือยัง เอาล่ะเนาะ เอวัง