ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะศรัทธาเช้า

๓o ก.ย. ๒๕๕๑

 

คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

โยม : มีคำถาม ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ แล้วก็อัปปนาสมาธิ เป็นการแบ่งแต่ละช่วง เวลาปฏิบัติ ความรู้สึกตรงไหนมันถึงจะแยกว่าถึงตรงนี้แล้วๆๆ

หลวงพ่อ : ไอ้นี่พูดถึง ถ้าจะพูดอย่างนี้ เวลาพวกเราเข้าใจมันจะเข้าใจกันอย่างนี้ อันนี้เราจะพูดอย่างนี้ก่อนนะ เราจะพูดอย่างนี้ ใช่ ความเห็นของเราคือว่า ขณิกะ อุปจาระ อัปปนา มันระดับไหน ทีนี้ถ้าเราจะพูดเรื่องอย่างนี้นะ มันบอกว่าในอจินไตย ๔ เรื่องพุทธวิสัย เรื่องกรรม เรื่องโลก เรื่องฌาน เรื่องสมาธิ เรื่องฌาน อจินไตย ๔ คือว่ามันกว้างขวางจนเราแบบว่า เราจะบอกว่าจะพูดตายตัวไม่ได้

ไม่ใช่ว่าจะตอบเพื่อจะหลบนะ เราจะพูดให้เห็นภาพก่อนไงว่าเราจะเอาหลักตายตัวว่าเป็นระดับไหนๆ มันเป็นอย่างนี้ อย่างเช่นโยมมีลูก แล้วอย่างโยม แล้วอย่างผู้เฒ่าผู้แก่ ประสบการณ์ของคนมันไม่เหมือนกันใช่ไหม ทีนี้ประสบการณ์ไม่เหมือนกัน แล้วความเข้าใจไม่เหมือนกัน เด็ก ความเข้าใจ เด็กเล็กๆ เด็กมันเข้าใจอย่างหนึ่ง ไอ้พวกเราเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง พวกที่เขาชำนาญการไปแล้ว อย่างผู้อำนวยการ พอเขาเห็นลูกน้องทำผิดเขารู้หมดเลย เพราะเขาผ่านงานมาหมดแล้ว

ทีนี้ตรงนี้เราจะบอกว่า ในขณิกสมาธินะ มันแบบว่าคนชำนาญการอย่างไร มันเป็นการผ่านมา แล้วอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แต่โดยหลักพูดได้ ขณิกสมาธิ เหมือนกับเราเข้าไปสงบใช่ไหม ขณิกสมาธิ พอเราเข้าไปสงบ สงบเล็กน้อย แล้วส่วนใหญ่เป็นได้แค่นี้เอง เป็นได้แค่นี้เพราะอะไร เพราะความเคยชินของใจ มันจะเข้าไปสงบเล็กน้อย เข้าไปสงบเล็กน้อย พอสงบเล็กน้อย หลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ ทำสมาธิบ่อยๆ ทำความสงบเล็กน้อยบ่อยๆ จนจิตเป็นสมาธิ สงบบ่อยๆ นะ ภาวนา ว่าไปภาวนากัน ภาวนาบ่อยครั้งเข้าจนจิตเป็นสมาธิ

พอจิตเป็นสมาธิ เพราะอะไร เพราะเราชำนาญใช่ไหม พอชำนาญ เรากำหนดพุทโธๆๆ เข้าไป มันสงบเล็กน้อย แล้วพอเรารักษามันด้วยสงบเล็กน้อยบ่อยครั้งๆ เข้า ไอ้คำว่า “สงบเล็กน้อย” มันต่อเนื่องบ่อยๆ พอมันต่อเนื่องบ่อยๆ มันตั้งมั่น พอตั้งมั่น เราทำงานได้แล้ว พอการทำงานแล้ว นี่มันเป็นอุปจารสมาธิ อุปจาระ หมายถึงว่า จิตมันสงบอยู่ แต่จิตสงบแล้ว เหมือนคนทำงาน เราทำงาน เวลาเราทำงานนะ เราทำงาน เรามีสมาธิไหม ถ้าวันไหนเราไม่มีสมาธิ งานของเรามันไม่ได้ดีหรอก แต่ถ้าเรามีความตั้งใจ เรามีความตั้งใจ เราตั้งใจมาก เราทำงาน งานจะออกมาสวยมากเลย

ฉะนั้น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เวลาที่บางคนมันชำนาญเข้าไป อัปปนา เวลารวมใหญ่ คนที่ภาวนาไม่ค่อยเข้าถึงตรงนี้ เพราะอะไร เพราะเข้าไปแล้วมันเป็นการเข้าไปพักจิต พอเข้าไปอัปปนาสมาธิ พอเข้าไป จะพุทโธก็ได้ จะอานาปานสติก็ได้ พอเข้าไปมันเป็นสมาธิล้วนๆ เลย ทำอะไรไม่ได้หรอก

ทีนี้เอาแค่ไหน แค่ไหนอุปจาระ แค่ไหนอัปปนา มันเหมือนคนชำนาญไง คนชำนาญ ถ้าคนเป็นเจโตวิมุตติ เรื่องสมาธิเข้าออกมาก โอ้โฮ! มันเหมือนเป็นของเล็กน้อยเลย แต่ถ้าเป็นอย่างเช่นทางหลวงปู่ดูลย์นะ หลวงปู่ดูลย์ท่านเป็นปัญญาวิมุตติ ไม่ต้องสงบขนาดนั้น ให้จิตแบบว่าจิตมันตั้งมั่น จิตเป็นสมาธิ แล้วจิตเป็นสมาธิอย่างนี้นะ มันเป็นสมาธิ แต่มันไม่เป็นสมาธิแบบเจโต ถ้าเจโตเวลามันเป็นอัปปนามันจะสักแต่ว่ารู้เลย แล้วเวลามันเข้า ตอนที่จะเป็นอย่างนี้ได้นะ ส่วนใหญ่เวลาเข้าไป มันจะเหมือนตกจากที่สูง มันจะอาการวูบจนเราตกใจ แต่ถ้ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันไม่มีอาการอย่างนี้หรอก แล้วพอเป็นสมาธิปั๊บ มันก็เป็นสมาธิ โอ้โฮ! สุขมาก มันเวิ้งว้าง ในปัญญาวิมุตติมันไม่มี

ทีนี้ในคำว่า “ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ” ในขณิกะมันก็มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด ในอุปจารสมาธิมันก็มีหยาบ กลาง ละเอียด เหมือนกับนักกีฬา กำลังของคนไม่เท่ากันหรอก เราเป็นนักกีฬาด้วยกัน เราออกกำลังกาย วิ่งเท่ากันเลย วิ่งรอบสนามฟุตบอลคนละ ๑๐ รอบทุกวันเท่ากัน แต่ออกมาแล้วร่างกายของคนจะแข็งแรงไม่เท่ากันหรอก

นี่ไง เราจะพูดตั้งแต่ตอนปีแรกว่ามันเป็นอย่างนี้ เพราะถ้ามันขีดเส้นตายตัวไป มันเป็นหมวดหมู่ได้ จัดเป็นหมวดหมู่ แต่จะบอกให้เป็นอย่างนั้นๆ โดยทุกคนให้เสมอภาคกัน...ไม่ใช่

โยม : อย่างนี้ในระดับอัปปนาสมาธิก็คือว่าลมหายใจไม่มี กายไม่มี มีแต่ตัวรู้อย่างเดียว อันนี้คือเขาอัปปนาแล้ว ไม่มีความคิด มีแต่ตัวรู้

หลวงพ่อ : ใช่ อัปปนา สักแต่ว่า แต่อย่างนี้นะ แต่เวลาเข้า โอ้โฮ! เข้ายากมากนะ อัปปนาเข้ายากมาก ไม่เข้ายากมากหรอก แบบว่าจิตมันเข้าไป ประสาเรา ครูบาอาจารย์เป็นกันไม่กี่หนหรอก เขาเรียกรวมใหญ่ ไม่กี่หนหรอก

โยม : ก็คือเวลามันเข้าอยู่ดีๆ มันก็เหมือนวูบลงไป ตกฟุบ แล้วก็ไปอยู่ตรงนั้นเลย

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ อันนี้ผิดแล้ว ถ้าพูดอย่างนี้ ขอให้พูดอย่างนี้มา แล้วพูดอย่างนี้มา อันนี้ไม่ใช่อัปปนาสมาธิ วูบหายไปเลยนะ วูบเข้าไปเลยนะ

โยม : ครับ

หลวงพ่อ : ผิด ถ้าอย่างนี้นะ ตกภวังค์ ถ้าวูบหาย มันพุทโธๆ วูบหายไปเลย แล้วพอถึงเวลาจะรู้สึกตัว จะออกมา

โยม : ผมยังสงสัยว่าคำว่า “ภวังค์” นี่มันคือส่วนไหนของสมาธิ

หลวงพ่อ : ภวังค์มันเป็นส่วนที่ว่ามันจะเข้าสมาธิไม่ได้ มันตัดตอนสมาธิไง แล้วตอนนี้นะ ๙๙ เปอร์เซ็นต์เป็นอย่างนี้หมด แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็น เราก็เป็น เคยผ่านอย่างนี้มา ตรงนี้มันเป็น เวลาทำสมาธิมันจะมีตรงนี้ เราจะเปรียบกับตรงนี้ บอกว่า ตรงนี้มันเหมือนว่า เราขับรถมาเมื่อกี้นี้นะ มันมีคอสะพาน บนถนนจะมีสะพาน สะพานข้าม สะพานเล็ก สะพานแคบหรือกว้างก็แล้วแต่ ทีนี้สะพานมันมีคอสะพาน ทีนี้ถ้าคอสะพานมันขาด เราจะตกคอสะพาน เราจะข้ามสะพานไม่ได้ เวลาจิตเข้าสมาธิเหมือนกัน มันจะตกภวังค์ คอสะพานคือกับดัก แล้วรถตกคอสะพาน ส่วนใหญ่ตกคอสะพาน แล้วเราต้องแก้ตรงนี้ ถมคอสะพานให้เต็ม รถจะได้ข้ามผ่านจากคอสะพาน แล้วข้ามเข้าสะพาน เข้าสมาธิไปเลย

โยม : แล้วจะแก้อย่างไรครับ

หลวงพ่อ : ตั้งสติดีๆ ตั้งสตินะ ตั้งสติแล้วพุทโธๆ หรือกำหนดลมไม่ให้มันเป็นสมาธิ อย่าให้เป็น ให้คอสะพาน อย่าให้เป็น เพราะลม กำหนดลมหรือกำหนดพุทโธมันเป็นคำบริกรรม มันให้จิตเกาะ มันเหมือนเราข้ามถนน รถวิ่งบนถนน แต่รถไม่ใช่ถนน ถนนเป็นถนน รถเป็นรถ จิตมันวิ่งไปบนถนน จิตมันวิ่งไปบนพุทโธ พุทโธมันเหมือนถนน พุทโธทิ้งไม่ได้เลยนะ เหมือนถนนเลย รถบังคับบนถนนเลย แต่ถ้ารถมันออกนอกทาง มันตกข้างถนนไป มันเข้าไปไม่ได้นะ พุทโธเหมือนถนนที่เราเข้าไป แต่พุทโธๆๆ มันจะหายวับไปเลย อันนี้เรียกว่าตกภวังค์เลย

แต่ถ้าเป็นอัปปนาสมาธินะ กำหนดลมหรือพุทโธก็แล้วแต่ มันจะพุทโธๆ ขนาดไหน จิตมันจะลงนะ พุทโธอยู่ จิตมันลง มันตก มันควงสว่าน มันลงขนาดไหน พุทโธๆๆ มันค่อยๆ จางไปๆ แต่สติเราพร้อมนะ เหมือนถนนนี่ชัดเจนมาก คนขับไม่ได้หลับใน คนขับ โอ้โฮ! ชัดเจนมาก ถนนมันก็ไปยาว โอ้โฮ! ไปเรื่อยๆ มันเข้าถึงจุดหมายเป้าหมายปลายทางเลย พุทโธๆๆ แก้เรา แต่ตรงนี้เวลาสติไม่ทันมันจะวูบ ไอ้วูบนี้เป็นทุกคน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเรื่องของการเข้าสมาธิ โดยธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนี้ จิตมันเป็นอย่างนี้

จิตเราเปรียบเหมือนส้มนะ เหมือนผลไม้นะ มันมีเปลือกส้มใช่ไหม ไอ้เปลือกส้มคือความคิด เปลือกส้มนี่เป็นความคิด ทีนี้พอถ้าเราปอกเปลือกส้มออกมันก็คือส้มใช่ไหม ทีนี้ส่วนใหญ่มันปอกเปลือกส้ม มันไปกินเปลือกส้มกัน เปลือกส้มขมนะ เอ็งกินเปลือก กูกินเนื้อ อาการของจิต ทีนี้พอจะเข้าไป โดยเปลือกส้มนะ เราจับส้ม เราจะหยิบส้ม เราต้องหยิบ เราต้องโดนเปลือกส้มแน่นอน เราเข้าสู่สมาธิ เราต้องผ่านอาการของจิตแน่นอน

ทีนี้อาการของจิต เวลาจิตจะเข้าไป อาการของจิตมันมีหลากหลายมาก แล้วแต่จริตนิสัยของคน ฉะนั้น พอจะเข้าไป เห็นนิมิตบ้าง เห็นโน่นบ้าง เป็นอาการร้อยแปดเลย ทุกดวงใจจะเป็นอย่างนี้หมด โยมไม่ต้องคิดมาก ทุกคนจะเป็นอย่างนี้หมด ทีนี้พอเป็นอย่างนี้หมด ในอภิธรรมถึงบอกไงว่า “กำหนดพุทโธเป็นสมถะแล้วมันจะเกิดนิมิต มันจะเกิด ผิดหมด ต้องอยู่เฉยๆ ต้องใช้กำหนดสติพร้อม ต้องใช้ปัญญา คือปัญญาสายตรง ห้ามเป็นสมถะ”

จะปัญญา จะนามรูป จะพิจารณาอะไรก็แล้วแต่นะ มันก็เปลือกส้มล้านเปอร์เซ็นต์ แล้วเราทำความเข้าใจว่าใจของคนคือส้ม ส้มมันมีเปลือกแน่นอนใช่ไหม มึงจะกำหนดอะไรก็ต้องมีเปลือกส้มใช่ไหม เปลือกส้มไปวางที่ไหนก็คือเปลือกส้มใช่ไหม

เขาพูดกันไปเอง ทีนี้เขาปฏิเสธตรงนี้ เราเศร้าใจตรงนี้รู้ไหม เศร้าใจที่เราเป็นสมถะ คือเราเข้าไปเผชิญมัน คือเราพยายามปอกเปลือกส้มเข้าไปถึงเนื้อส้ม แต่ของเขา เขาปฏิเสธว่าเปลือกส้มกับเนื้อส้มเป็นอันเดียวกันไง เขาไม่ยอมรับไง คือว่าเขาจะให้จิตของเรา ให้พวกการภาวนาของเรา ให้ความคิดเป็นจิตสำนึก มันไม่ลงสมาธิ เราจะบอกว่ามันไม่เป็นสมาธิหรอก มันเป็นความคิดพวกเรา

แต่ถ้าเป็นสมาธิ คำว่า “จิตที่เป็นสมาธิ” กับ “จิตเป็นปกติ” ปุถุชนมันต่างกันไหม ต้องต่างกันใช่ไหม เพราะจิตที่มีอาการแตกต่าง เขาบอกตรงนี้ผิด พอบอกตรงนี้ผิดปั๊บ มันก็ห้ามลงสมาธิใช่ไหม เพราะลงสมาธิไป ไอ้อาการที่โยมเป็นหรืออาการที่เราเห็นนิมิตต้องเป็นทุกคน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะลูกศิษย์เรา ไม่ใช่ลูกศิษย์หรอก เวลาพวกโยมพวกที่มาถามปัญหาเขากำหนดนามรูปอยู่นะ แต่เขาเห็นนิมิต เขาเห็นนิมิต แล้วเขากำหนดนามรูปไปแล้วจะไม่เห็นนิมิต อภิธรรมจะไม่เห็นนิมิต เพราะอะไร เพราะใช้ปัญญาอยู่จะไม่เห็นนิมิต คนเห็นนิมิตคือว่ามันตกไปในสมถะ

แต่ทีนี้สมถะ ถ้ามันจะเข้าสมาธิ เพราะอะไร เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าไม่มีสมถะ ไม่มีสมาธินะ มรรค ๘ เกิดไม่ได้ มรรค ๘ มีสัมมาสมาธิ คือว่าการภาวนาแบบครูบาอาจารย์เรา พระป่า คือมันภาวนาตามข้อเท็จจริง คือตามข้อเท็จจริงของหัวใจ ของจิต ของความเป็นจริง

แต่ถ้าเป็นอภิธรรม เขาภาวนาโดยเป็นการสร้างจิตให้อยู่อย่างนี้ ห้ามแปรเปลี่ยน มันแปลกเนาะ กินข้าวแล้ว ห้ามรู้สึกอิ่ม แปลกไหม นี่เราค้านอภิธรรม เราค้านตรงนี้ไง เราค้านตรงที่แบบว่า กินข้าวอยู่ แต่ห้ามมีอาการนะ ก็กูอิ่มแล้วจะไม่ให้กูรู้สึกว่าอิ่มได้อย่างไรวะ จิตที่เป็นสมาธิเป็นอย่างนี้ นี่ไง พระป่าที่ปฏิบัติเราเป็นอย่างนี้ แต่คนมาอธิบายตรงนี้เข้าใจได้ยาก แล้วคนอธิบายมันไม่มีจุดยืนไง เวลาพิจารณาเข้าแล้วเขวหมดไง

โยม : แล้วความรู้สึกที่ว่าตกภวังค์กับที่เป็นสมาธิต่างกันอย่างไรครับ

หลวงพ่อ : เยอะมาก การที่ตกภวังค์นะ เวลาเราพุทโธๆๆ แว็บหายไปเลย เหมือนคนนอนหลับ แล้วเวลาจะออกเหมือนคนตื่นจากหลับ จับตรงนี้ไว้ แล้วถ้าเกิดเป็นสมาธินะ พุทโธๆๆ มันรู้ทุกทีเลย พุทโธๆๆ ถ้าเป็นขณิกะนะ พุทโธๆ มันสบายๆ ขณิกะคือจิตมันแบบว่ามันสบายๆ แต่มันลงลึกไปไม่ได้ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะคนไม่กล้าพุทโธ เพราะความเข้าใจผิด เพราะตามตำราครูบาอาจารย์ท่านสอนบอกว่า ถ้าพุทโธๆ ไปแล้วพุทโธมันต้องละเอียดไปเรื่อยๆ จนพุทโธหายไป ตัวเองก็เลยไปสร้างการหายขึ้นมาด้วยการสร้าง คือพุทโธๆๆๆ เบาๆ ไป มันก็อยู่แค่นี้ เพราะอะไรรู้ไหม เราบอกเมื่อกี้ใช่ไหม รถวิ่งไปบนถนนใช่ไหม พุทโธเหมือนถนนไป แล้วถนนเรามันแคบ ถนนเรามันสั้น ถนนเราไม่ถึงที่หมาย มันจะไปถึงถนนได้ไหม ก็พุทโธๆ แล้วให้มันหายไปไง

พุทโธเป็นที่เกาะของจิตนะ จิตอยู่กับพุทโธเข้าไปเรื่อยๆ พุทโธๆๆ ถ้าถนนมันไปเรื่อยๆ มันจะไปไหนมันก็ไปได้ใช่ไหม พุทโธๆๆ พุทโธไปเถอะ เราตะโกนพุทโธไปเถอะ แต่จิตมันสงบนะ มันสงบของมันเอง มันจะรู้สึกคำว่า “พุทโธ” คือจิตมันเกาะพุทโธ เหมือนเราตื่นตลอด ทำงานตลอดเวลา มันไม่หลับ แต่เราไปนึกพุทโธๆ แล้วบอกว่า ถ้าพุทโธนี้มันหยาบเพราะวิตก วิจาร นึกเอา พุทโธๆ นึกขึ้นมา จิตเลยไม่สงบ

จิตสงบ พุทโธมันต้องหายไป...ใช่ เวลาอัปปนาสมาธิหายหมดเลย แต่มันหายด้วยข้อเท็จจริง มันหาย เหมือนจิตมันละเอียดเข้ามา เหมือนจิตมันไม่รู้สึกตัว เหมือนอย่างที่หลวงตาบอก กำหนดพุทโธๆๆ จนพุทโธไม่ได้เลย จนพุทโธไม่ได้เลย เราก็แปลกใจ เอ๊ะ! ทำไมพุทโธไม่ได้ เพราะจิตมันเป็นเนื้อ เหมือนถนนมันถึงเป้าหมายแล้ว เราเข้าไปจอดที่จอดรถแล้ว ลงรถเรา ถนนต่อไปไม่ได้ใช่ไหม แต่รถเราจอดอยู่นั่นใช่ไหม ไอ้นี่บนถนนมันไม่รู้ว่าอะไรเป็นถนน อะไรเป็นรถ มันหาย อันโน้นหายก่อน อันนี้หายก่อน มันไม่ยอมเข้าสมาธิไง สมาธิเหมือนเป้าหมายที่เราจะไป

โยม : อย่างนี้การตกภวังค์ก็ไม่มีตัวรู้

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : อย่างนี้ดูตัวรู้ได้ไหม ถ้าพอมันนิ่งไปแล้วเรารู้หรือว่าเราไม่รู้

หลวงพ่อ : ส่วนใหญ่แล้วไม่รู้ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าถ้ามีรู้อยู่ มีสติอยู่ มันตกภวังค์ไม่ได้ เวลาตกไปแล้วไม่รู้หรอก แต่เรานึกว่าเรารู้ แต่ความจริงไม่รู้หรอก แก้ไม่ได้หรอก ดูจิตอยู่ ดูๆ ก็หายไปเลย ทำไมรู้ไหม ที่หายไปเลยเพราะขาดสติ ถ้ามันไม่ขาดสติมันหายได้อย่างไร แต่ส่วนใหญ่แล้วคน ประสาเราเลยนะ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ไม่ยอมรับว่าหาย

มีลูกศิษย์เราอยู่คนหนึ่ง นั่งตลอดรุ่งนะ นั่งตั้งแต่ ๖ โมงเย็นถึง ๖ โมงเช้าทุกวันเลย แล้วเขาบอกว่านั่งทุกวันเลย แล้วเขาบอกว่าถ้านั่ง ๖ โมงเย็นถึง ๖ โมงเช้า ส่วนใหญ่แล้วอย่างนี้จิตต้องมีกำลัง ถ้าเป็นสมาธิต้องมีกำลัง ต้องวิปัสสนาได้สบายๆ เลย แต่เขาทำไม่ได้

เราบอก “นี่ตกภวังค์”

“ไม่ๆๆ”

เขาอยู่กันหลายคนใช่ไหม ผู้หญิง เขาอยู่ที่โพธารามเยอะมาก ผู้หญิงหลายคน ทีนี้เขาก็ดูกัน สังเกตกัน เขาบอกไม่ตกภวังค์ได้อย่างไร กรนเลย แต่ตัวเองไม่รู้ ก็ตัวเองนั่งอยู่นี่ มันก็ตกภวังค์หายไปไง แล้วจนกรนเลยนะ สุดท้ายแล้วผู้หญิงที่นั่นบอกเขายืนยันว่านั่งหลับ แต่เขาบอกเขาไม่ อย่างไรก็ไม่ แต่เขานั่งได้จริงๆ นะ แต่เขานั่งหลับ แต่เขาไม่รู้ตัว ทุกคนบอกว่าหลับๆๆ

แต่เราไม่ได้เข้าไปอยู่ร่วมกับผู้หญิง แต่เราบอกว่า ถ้าโดยเหตุผล ถ้าเป็นสมาธิ สมาธิเป็นพื้นฐานมันต้องมีกำลัง มันต้องมีความสุข มันพูดได้ชัดเจน แต่นั่งได้ตลอดรุ่ง แต่พูดถึงกำลังไม่มีก็ทำงานไม่ได้ โดยเหตุ โดยข้อเท็จจริงมันฟ้องตัวเอง แต่เขาก็ว่าของเขาเป็นอย่างนั้นน่ะ สุดท้ายพอพวกโยมที่อยู่ด้วยกันยืนยัน เขายอมรับว่าเขานั่งหลับ นั่งหลับคือตกภวังค์ไง คือมันหายไป พอพุทโธๆ ไป มันก็แว็บหายไปเลย ทีนี้หายไปมันก็อยู่ของมันอย่างนั้นน่ะ นี่เขาเรียกสมาธิหัวตอ พรหมลูกฟัก

โยม : แล้วอย่างนี้คือสมมุติพอออกมาแล้ว ถ้ามันเข้าสมาธิจริงๆ ออกมามันจะสดชื่นใช่ไหม

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆ

โยม : แต่อย่างนี้ถ้าออกมามันก็เหมือนปกติ เหมือนไม่ได้พักอะไรเลย

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆ

โยม : อย่างนี้เราดูตัวตอนออกได้ไหมว่าไอ้เมื่อกี้ที่เราเข้าสมาธิ มันเข้าสมาธิหรือตกภวังค์ ถ้าออกมาแล้ว เออ! รู้สึกว่ามันสว่างไม่ง่วงแล้ว อย่างนี้แสดงว่ามันเข้าสมาธิ

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆ ไอ้อย่างนี้มันข้อเท็จจริง มันพิสูจน์ได้ เราเป็นนักปฏิบัติ เราต้องทดสอบ การปฏิบัตินะ อย่างว่า ดูอย่างการศึกษาสิ เขายังต้องมีการวัดผลใช่ไหม อันนี้เราภาวนาก็ไม่รู้จักวัดผล ไม่รู้จักผลเป็นอะไรเลย ต้องวัดผล แล้วการวัดผลต้องให้ได้มาตรฐาน ไม่ใช่วัดผลเข้าข้างตัวเอง ส่วนใหญ่แล้ววัดผลจะเข้าข้างตัวเอง

โยม : อย่างนี้เวลาเข้าไปแล้ว เวลาออกอย่างนี้ คือมันคล้ายๆ กับว่าพอเรา เอ๊ะ! ขึ้นมา สมาธิมันก็จะคลาย อย่างนี้คือตกภวังค์หรือเปล่า

หลวงพ่อ : แน่นอน ถ้าอย่างนี้ตกภวังค์แล้ว เพราะธรรมดานะ โทษนะ เราจะบอกว่าโยมอย่าเสียใจนะ เราเป็นมาเหมือนโยม เราหายทีหนึ่ง ๗-๘ ชั่วโมง เราพูดอย่างนี้บ่อยในซีดีเรา เราเป็นมาแล้ว ตอนบวชพรรษาหนึ่งพรรษาสองไม่รู้ ก็ไม่รู้นี่แหละ แล้วจริงๆ แล้วยังถือตัวด้วยนะ ยังคิดในใจ เออ! เราเก่ง เพราะเวลานั่งสมาธิ เราไปอยู่กับสายหลวงปู่ฝั้นไง สายหลวงปู่ฝั้นเขาจะทำวัตรเย็น แล้วเขาจะนั่งสมาธิ นั่งรวมหมู่ เรานั่งได้สบายๆ เลย พอนั่งๆ สักพัก พุทโธๆ มันก็หายไปเลย แล้วบางทีเขานั่งกันที ๔ ชั่วโมง ๕ ชั่วโมงนะ เขานั่งกันนาน อย่างเช่นอาจารย์จันทร์เรียนนั่งที ๗-๘ ชั่วโมง เรานั่งสบายๆ เรานี่โอ้โฮ! สบายมาก มีอยู่วันหนึ่งออกมา มันเปียก เอ๊ะ! นี่มันอะไร น้ำลาย มันฟันธงเลยว่ามึงตกภวังค์ ตั้งแต่นั้นมามันก็แก้มาเรื่อย เพราะมันลึก

นั่งกำหนดเหมือนคอมพิวเตอร์เลย จะนั่งกำหนดกี่ชั่วโมงก็ได้หมดเลย เหมือนกับเราเลย เราก็ภูมิใจ แต่พอเห็นน้ำลายที่เปียกจีวร เฮ้ย! เอ็งนั่งหลับ ตั้งแต่นั้นมาก็แก้นะ เพราะตอนนั้นเราอยู่ด้วยกัน เพราะเราอยู่ เราคิดว่าอาจารย์ตอบอะไรเราไม่ค่อยได้ เราก็ต้องแก้เอง

พระพุทธเจ้าแก้พระโมคคัลลานะอย่างไร ตรึกอย่างไรเราก็หลับ แล้วมาแปลกใจว่า เอ๊ะ! ทำไมกูยังหลับอยู่วะ ตรึกในธรรม พระพุทธเจ้าสอนพระโมคคัลลานะในพระไตรปิฎก ๕ อย่าง ตรึกในธรรม ให้ดูดาว ให้เอาน้ำลูบหน้า แล้วพอไม่ไหวแล้วให้นอนก่อน ถ้าแก้ไม่ได้ให้นอนเสีย แล้วตื่นขึ้นมาค่อยมาทำใหม่ นี่พระพุทธเจ้าสอนพระโมคคัลลานะไว้นะ เราก็ทำอย่างนั้นเลย หลับทุกที

เราก็มาคิด ทำไมเป็นอย่างนั้นน่ะ อ๋อ! เหมือนกับตรึกมาก เวลาตรึกมาก เวลามันคิดมาก พอสติขาด เดี๋ยวมันก็หลับอีก สุดท้ายเราผ่อนอาหาร เรากินข้าววันละคำ ที่พูดบ่อย กินข้าววันละคำๆ เพราะเหตุนี้แหละ มันนั่งหลับ ๓-๔ เดือน กินข้าววันละคำนะ ทีนี้มันหิวมาก ทุกอย่างมันหิวมาก ร่างกายไม่มีพลังงานไง สบายมาก แก้ได้ พอเราแก้ได้มา เราก็ภาวนามาได้เรื่อยๆ

แล้วคิดดูสิ โดยสามัญสำนึกของคนมันเป็นอย่างนี้หมดไง เพราะจิตมันก็เหมือนคนคนหนึ่ง คนคนหนึ่ง ลูกเรามันต้องมีพัฒนาการของมันใช่ไหม เข้าอนุบาล เข้าประถม เข้าอุดมศึกษา มันต้องพัฒนาของมัน การภาวนาของจิตมันเป็นอย่างนี้ทั้งหมด เหมือนกับเด็กเอาเข้าอนุบาล พอเด็กเข้าอนุบาล เด็กมันเข้าอนุบาลมันจะรู้อะไร มันก็รู้อย่างที่ครูสอนมัน จิตของเราทุกคนที่หัดปฏิบัติเป็นอย่างนี้หมด แล้วมันต้องพัฒนาการของมัน ต้องตั้งสติของมัน เราต้องทำของเรา อันนี้เราจะบอกว่าอย่าเสียใจ มันเป็นอย่างนี้โดยพื้นฐานทั้งหมดเลย

โยม : แล้วอย่างเวลานั่งบางทีมันมีความคิดมันฟุ้งขึ้นมาอย่างนี้ แล้วเราก็ดูความคิด พอดูไป ความคิดมันก็มี ๒ มี ๓ มี ๔ เราก็ไล่ไปเรื่อยๆ มันเหมือนวินโดวส์ เปิดเป็นวินโดวส์ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ พอเราดูทันปั๊บ วินโดวส์มันปิดพับๆๆ ย้อนกลับไป แล้วก็วูบตกลงไปอย่างนั้นคือภวังค์ใช่ไหม

หลวงพ่อ : ภวังค์อีกแล้วเนาะ

มันไม่วูบหรอก ถ้าโยมทำอย่างนี้ถูกนะ อย่างที่เราสอนปัญญาอบรมสมาธิ เราพูดบ่อยในซีดีว่าปัญญาอบรมสมาธิ ถูก ให้มีสติตามไปนะ ให้ดูความคิดไป มันจะคิดอะไรให้มันคิดไป ความจริงมันต้องหยุด มันไม่ตกหรอก มันหยุด เรามีสติอยู่ ไม่ใช่หรือ อย่างนี้ถูกแล้ว ถ้าเรามีสติอยู่ มันหยุดปั๊บ เดี๋ยวก็คิดอีก วินโดวส์ปิดหมด ดับหมด เดี๋ยวก็เปิดอีก เป็นไหม

โยม : แต่มันวูบ คือเป็นอยู่ครั้งเดียวนะ นั่งตอนนั้น ๖ เดือน พอทันปั๊บ มันวูบลงไปแล้วก็รู้ ไม่มีกาย ไม่มีลม

หลวงพ่อ : โอ้โฮ! รู้ขนาดนั้นเลยหรือ อ้าว! ว่าไป

โยม : ก็เป็นอย่างนี้ ผมไม่รู้ว่า เอ๊ะ! อย่างนี้มันคืออัปปนาหรือว่ามันเป็นภวังค์

หลวงพ่อ : อยู่นานไหม

โยม : อยู่นานไหม

หลวงพ่อ : ลงไปนานไหม

โยม : ก็ไม่นาน

หลวงพ่อ : พูดถึงนะ เราเริ่มต้น ที่เราบอกว่าเจโตวิมุตติมันจะวูบ ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ ถ้าใช้ปัญญาดูไปมันไม่ค่อยวูบ มันจะหายไป ความคิดมันจะหายไป พอความคิดหายไป เขาเรียกอะไรรู้ไหม นี่เขาเรียกปัญญา ปัญญาของพระพุทธเจ้าไง รอบรู้ในกองสังขาร

ขณะที่เราตามความคิดไป ความคิดคือสังขาร แล้วเราตามมันไป ถ้ารู้เท่า มันครอบคลุมสังขาร สังขาร เปลือกส้มไง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่คือเปลือกส้ม ถ้าปอกเปลือกส้ม คือสมาธิมันทะลุขันธ์ ๕ ขึ้นไปเป็นตัวจิตนะ สมาธิคือตัวจิต ไม่ใช่ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ นี่เปลือกส้มนะ เพราะธรรมดาพวกเราไม่รู้จักจิต แต่รู้จักความคิด จับไปโดนส้มทั้งนั้นน่ะ ใครจะจับส้มต้องโดนเปลือกส้มแน่นอน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ไง ทีนี้พอรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สังขารมันคิด มันปรุง มันแต่งไง เพราะขันธ์ ๕ มันก็เป็นความคิดรอบไปเรื่อยๆ ไง แล้วเราไล่ตามมันไป พอมันหยุด มันดับ มันดับก็เข้าถึงนี่ไง นี่ปัญญาอบรมสมาธิ

แต่เราแปลกใจที่มันวูบ ถ้ามันทันปั๊บ มันหยุด หยุดแล้วอย่างนี้ อย่างนี้เลย หยุดแล้วอย่างนี้ ปล่อยหมดเลย ว่างๆ สบายๆ นี่สมาธิที่ใช้ปัญญา ถ้าสมาธิใช้คำบริกรรม ไม่ได้ โอ้โฮ! มันลึก เพราะถ้าเจโตวิมุตติมันใช้กำลังของสมาธิ พิจารณานิมิต พิจารณากายให้มันแปรสภาพ กำลังของปัญญาวิมุตติมันใช้ปัญญา เหมือนนักบริหาร เรากำหนดนโยบาย เราออกนโยบายให้มึงทำตายห่าเลย เข้าไป คนทำงาน

แต่ไอ้วูบๆ ปิดดับเลยเนาะ แต่ยังไม่ได้อีก ยังทำไม่ได้อีกเรื่อยๆ

โยม : อ๋อ! ไอ้นี่นั่ง ๖ เดือน มันเป็นอย่างนี้อยู่ครั้งเดียว

หลวงพ่อ : ครั้งเดียว เราจะให้พิสูจน์ไง

โยม : มันไม่ง่ายที่มันจะเข้าอย่างนั้น ก็ผมไปถามใคร ใครก็บอก โอ๋ย! ดีแล้ว จำไอ้อย่างนี้ไว้นะ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : บอกตอนนั้นมันเหมือนโมโหตัวเองไงว่ามันฟุ้ง แล้วเราก็ตามมัน จะไปไหนเราก็ตามๆๆ

หลวงพ่อ : ทำอย่างนี้อีกสิ ตามไป ของเราใช้คำว่า “หยุด” มันหยุด มันไม่วูบหรอก ถ้าตามไป จิตมันจะหยุด พอมันหยุด ขนาดลูกศิษย์เราในวัด พระ มันให้ตามไปเรื่อยๆ จนมันขณะที่มันเหนื่อยนะ เหนื่อยมาก เวลาตามไปนี่เหนื่อย พอตามไป บางทีมันทำบ่อยๆ เข้าใช่ไหม เขาพูดกับความคิดอย่างนี้เลย เฮ้ย! มึงอย่ากวนกูสิวะ กูเหนื่อยฉิบหายเลย มันพูดกับความคิดได้เลยนะ แล้วมันหยุด นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ เราให้ไล่ไป ไอ้พวกนี้เป็นจริตของพุทธจริต คือพวกปัญญาชน มันพุทโธไม่ได้ เพราะพุทโธมันเป็นสัทธาจริต เพราะเราศรัทธามีความเชื่อมั่นไง เราก็พุทโธๆ เชื่อมั่น แต่ถ้าเราไม่มีความเชื่อมั่น พุทโธมันแว็บ แล้วมันแบบมันจะหาเหตุผล ถ้าหาเหตุผล เราก็ต้องใช้ปัญญาไล่ไป

โยม : คือสมัยก่อนตอนที่ไม่รู้อะไรมาก มันพุทโธ มันแนบอารมณ์ มันก็สบายๆ แล้วไปเรื่อยๆ ไม่วูบ แล้วมันก็ไป ก็ดูมันอยู่ภายใน แล้วไอ้ที่ว่าตามไปก็คือมันครั้งนั้นครั้งเดียว ก็คือมันเหมือนฟลุก

หลวงพ่อ : ส้มหล่นนี่ไง มันฟลุก

โยม : แล้วคราวนี้พอช่วงตอนนี้มานั่งมันจะฟุ้ง รู้เลยว่ามันไม่แนบอารมณ์ พอพุท ไปหมดแล้ว โธ พอโธ มันออกหมด

หลวงพ่อ : มี ๒ กรณี กรณีหนึ่งเรากำหนดลมคืออานาปานสติ กำหนดพุทธานสติ พุทโธๆๆ เราลองอย่างนี้สิ ไม่ต้องพุทโธแนบกับลม ลมเป็นลม พุทโธเป็นพุทโธ ไวๆ พุทโธๆๆ อย่างนี้เลย

โยม : มันเหนื่อย พอสักพักมันก็ต้องผ่อน ผ่อนเป็น พุท โธ พุท โธ

หลวงพ่อ : มันเหนื่อยนะ เราช้าลง แต่หนึ่งนะ มันทำให้ไม่ให้คิดไง ไอ้ตรงนี้มันจะไปดับความคิด ไอ้นี่เขาเรียกอุบายไง วันไหนถ้ามันจะคิดมาก เราก็ทำอย่างนี้ เรามีนะ อย่างเมื่อก่อนเขาบอกว่า ก้าวเท้าซ้ายพุท ก้าวเท้าขวาโธ เราก็แปลกใจ ใครสอน ถ้าก้าวซ้ายพุท ขวาโธ มันเร่งไม่ได้ เพราะเวลาเราภาวนานี่นะ อารมณ์ของเรามันไม่ปกติ บางวันมันกระทบมารุนแรง ถ้าบางวันอารมณ์เราดีนะ เราพุทโธสบายๆ เลย เดินทอดน่องเลยนะ พุทโธ ก้าว เดินจงกรมสบายๆ เลย แต่วันไหนอารมณ์กระทบมันรุนแรง โอ้โฮ! มันเครียด เราเดินอย่างกับวิ่งเลยนะ เต็มที่เลย

ทีนี้พุทโธไวๆ ก็เหมือนกัน ถ้าพุทโธๆๆ เวลามันแรงมาเราก็พุทโธ วันไหนถ้าอารมณ์เราไม่รุนแรงก็พุทโธเบาๆ คำว่า “พุทโธ” จะมาแก้ตรงนี้หนึ่ง กับตกภวังค์หนึ่ง พุทโธแก้ตกภวังค์ แล้วผ่อนอาหารมัน ไม่ให้มันลงภวังค์ ลงภวังค์มันเป็นพรหมลูกฟัก วูบหายไปเลย เราเข้าใจว่าโยมเป็น ถ้าโยมเป็นต้องแก้ ถ้าไม่แก้นะ การภาวนาของเรามันไม่เจริญก้าวหน้าไง เหมือนนักกีฬามันซ้อมแล้วร่างกายไม่แข็งแรง มันจะทักษะดีขนาดไหน ขึ้นไปชกมันก็แพ้หมด จิตเรา ถ้าเราไม่พัฒนา ไม่มีกำลังขึ้นมา ไปสู้กิเลสไม่ไหว

โยม : แต่ช่วงนี้พอมันฟุ้งอย่างนี้ เราก็ดูความคิดมัน

หลวงพ่อ : เออ!

โยม : แล้วก็ถามมัน ใครคิดวะเนี่ย พอหาคนคิด หาไม่เจอ แล้วมันก็นิ่ง ความคิดหายมันก็นิ่งอยู่เฉยๆ สักพักหนึ่ง

หลวงพ่อ : เดี๋ยวก็คิดอีก

โยม : เดี๋ยวมาอีกแล้ว

หลวงพ่อ : นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ ไล่ไปเรื่อยๆ พอมันนิ่งขึ้นมา เราสบายนะ แล้วพอมาแล้ว ไปดูเฉยๆ ไม่ได้ เราต้องหาเหตุผล ใครเป็นคนคิด ความคิดนี้ เราคิดของเรากี่หนแล้ว คือเอาปัญญาไล่มัน ปัญญาอบรมสมาธิ มันตายเพราะปัญญา ปัญญามันแยกแยะแล้วมันมีเหตุผลเหนือกว่ากิเลส กิเลสสู้ไม่ได้

ที่เราปฏิเสธดูจิตเพราะอะไร เพราะดูจิตมันดูไว้เฉยๆ เหมือนกับเรายันไว้เฉยๆ เขาเรียกขันติบารมี มันไม่แพ้ไม่ชนะ แต่ถ้าใช้ปัญญาไล่เข้าไป อารมณ์ที่เกิดขึ้นมามันเป็นคำนินทาของสังคม แล้วสังคมที่นินทามา สิ่งนี้มันเป็นอดีตมาใช่ไหม แล้วเราไปแคร์กับสังคม สังคมคือสังคม เราคือเรา เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แต่ถ้ามันเกิดขึ้นมาสภาวะแบบนี้ เราเกิดขึ้นมาแล้ว แล้วใครทุกข์ล่ะ พอพูดอย่างนี้ปั๊บ เราใช้ความคิดไล่เข้าไปอย่างนี้ พอจิตมันได้รับการอบรมอย่างนี้ปั๊บ จิตมันจะแข็งขึ้นมา มันจะดีโดยตัวของมันเอง

ปัญญาอบรมสมาธินะ เราเอาเหตุเอาผลป้อนเข้าไปๆๆ ด้วยเหตุด้วยผลทำให้มันเป็นเอกภาพ มันเป็นสัมมาสมาธิเพราะอะไร เพราะมันเป็นเอกภาพในตัวของมันเองโดยมีสติพร้อม ปัญญาพร้อม สติพร้อม สมาธิพร้อม พอมันใช้ปัญญาไปเรื่อยๆ มันก็จะพร้อมขึ้นไปเรื่อยๆ มันจะมั่นคงขึ้นไปเรื่อยๆ มันจะเข้มแข็งขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นเอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น จิตอย่างนี้ ตั้งแต่เป็นปุถุชน เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล มันพัฒนาของมันขึ้นไป

ไปเพ่งไว้เฉยๆ นะ เหมือนกล้องวงจรปิด มันจะมีห่าอะไร ก็ดูไว้เฉยๆ ไม่มีประโยชน์อะไร ปัญญาอบรมสมาธิคือมันมีวิวัฒนาการของมัน ถ้าไปเพ่งดู มันไม่มีวิวัฒนาการอะไร มันไม่มีวิวัฒนาการอะไร มันจะเป็นวิปัสสนา มันจะเติบโตได้อย่างไร

โยม : หลวงพ่อ แล้วอย่างเวลานั่งๆ แล้วเกิดหูดับ มันเริ่มเข้าสมาธิหรือยัง

หลวงพ่อ : ไอ้หูดับ ถ้าพูดถึงโดยหลักเกณฑ์ โดยหลัก เวลาเข้าอัปปนามันจะเริ่ม มันดับหมด ตา จมูก หู ลิ้น กาย ดับหมดเลย สักแต่ว่ารู้ แต่ทีนี้คำว่า “หูดับ” มันดับ มันดับโดยอะไรล่ะ

โยม : คือกายยังรู้สึก แต่สมมุติว่ามีหลวงพ่อพูดอย่างนี้ เทศน์อย่างนี้ เราก็นั่งสมาธิไป เราเริ่มจะไม่ได้ยินแล้ว

หลวงพ่อ : มันเป็นนิสัยของคน ถ้ามันดับ มันหดเข้ามาอย่างนี้นะ เราบอกสมาธิเราเปรียบอย่างนี้ เวลาเข้าสมาธิมันเปรียบเหมือนกับแก้วน้ำ น้ำอยู่ในตะกอน ถ้าเราวางไว้ ตะกอนมันจะตกไปอยู่ก้นแก้วใช่ไหม นี่สมาธิ ทีนี้เวลาตะกอนลงก้นแก้วมันต้องลงที่ก้นแก้วหมดใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันสงบเข้ามา มันหดตัวเข้ามาหมด แต่ถ้าหูดับ ตัวมันไม่ดับ มันหดเข้ามาไหม มันไม่หดใช่ไหม

โยม : คือความคิดยังมี แต่ว่ามันยังอยู่ในกาย คือมันไม่พุ่งออกไปเหมือนตอนแรกๆ

หลวงพ่อ : ใช่ อันนั้นดีขึ้นมาไง เราจะบอกว่าวิญญาณในอายตนะไง โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ โสตวิญญาณ มันดับเฉพาะตัวไง แต่ถ้ามันดับเฉพาะตัว สมาธิมันเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้ามันดับเฉพาะตัว แต่มันยังรู้อย่างอื่นอยู่ แต่ถ้าเป็นสมาธิ มันหดเข้ามาหมดเลย มันต้องดับหมด เหมือนเราตัดไฟ ไฟ เราปิดไฟแล้วทุกอย่างต้องดับหมด แต่ทีนี้เราไม่ปิดไฟ หลอดไฟ ดวงเทียนมันขาด แต่ไฟมันยังมาอยู่ ความคิดยังมีอยู่ มันยังไปอยู่

โยม : อย่างนี้เป็นขั้นอุปจาระหรือยัง

หลวงพ่อ : ถ้าอย่างนี้เห็นด้วย ถ้าเป็นอุปจาระหรือเป็นอะไรพอว่าได้อยู่

ไอ้อย่างนี้เราอย่าเอาตรงนี้เป็นหลัก เราต้องเอาใจเราเป็นหลัก เอาใจที่สงบเป็นหลัก ไอ้ผิวนอกนี่นะ อย่างที่ว่ามันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นส่วนประกอบ มันจะเป็นอย่างนั้นๆๆ แต่โดยหลักแล้วคือกำลังมีไหม สงบไหม ว่างไหม เอาตรงนี้เป็นหลัก

โยม : แล้วอย่างเวลานั่งแล้วบางทีมันเหมือนกับตัวถูกล็อกอย่างนี้ มันอยู่ในสภาวะไหน เริ่มล็อก

หลวงพ่อ : เป็นบ่อยไหม

โยม : ก็เหมือนกับคือเวลาเข้าสมาธิมันเหมือนกับมันล็อกแล้วมันก็จะหูดับ แล้วมันก็จะอยู่ในตัว

หลวงพ่อ : เป็นบ่อยไหมล่ะ

โยม : ไม่บ่อย

หลวงพ่อ : มันเป็นไอ้นี่ไง บางทีคนเราเกิดเวลานั่งไป ตัวมันจะโยกจะคลอนจะเอียง มันเป็นอย่างนี้นะ ถ้ามันเป็นแง่บวกนะ เป็นปีติ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ เวลาเกิดปีติ ปีติแปลกมาก ปีติมันจะเป็นแบบว่ามันจะมีความสุข ปีติ ขนาดรู้วาระจิตได้เลยล่ะ ปีติกว้างไปหมดเลย ปีติมันกว้างขวางมาก

ทีนี้พอปีติแล้ว ถ้าเป็นใหม่ๆ มันจะมีความสุข มันจะตื่นเต้น แต่พอบ่อยๆ ครั้งเข้ามันก็จืดใช่ไหม ปีติแล้วก็สุข แล้วพอปีติแล้วสุข ปล่อยวาง ว่าง โล่งไปหมดเลย แล้วถ้าฝึกบ่อยครั้งมันก็ตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น องค์ของฌาน องค์ของสมาธิไง อันนี้ถ้าพูดถึงว่าถ้ามันเป็นปีติ

แต่ถ้ามันพูดถึงว่าถ้ามันเป็นกิเลสนะ บางทีมันเป็นไง เช่น เวลานั่งไป ถึงเวลาจุดหนึ่งแล้ว อย่างเช่นตกภวังค์วูบหายไป อย่างเวลาพอนั่งๆ ไป มันจะเกิดการโต้แย้ง บางคนนะ จะเกิด มันจะขัดแย้งให้เป็นสมาธิไม่ได้ ว่าอย่างนั้นเลย บางคนมันจะยึดไว้ คลอนไว้ มันเหงื่อซก เหงื่อแตก แล้วมันจะเป็นอย่างนั้นน่ะ แล้วมันจะแก้นะ ถ้าพุทโธก็ต้องพุทโธชัดๆ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะจิตออกรู้

อาการอย่างนั้น เราจะบอกเมื่อกี้ ถ้าเป็นปีติมันเป็นบวก เป็นผลดี เพราะมีความสุข แต่ถ้าเป็นกิเลส มันจะทำให้เราเจริญไปไม่ได้ไง มันจะล็อก ถ้าล็อก บางทีล็อกแล้วมันอึดอัดขัดข้อง อย่างนี้เราต้องแก้ไขนะ แก้ไขว่าพุทโธชัดๆ คืออย่าไปรับรู้มัน

มันมีใช่ไหม อย่างที่บอกเมื่อกี้ ย้อนมาตรงนี้เลย เปลือกส้ม พอถึงเปลือกส้ม เพราะเปลือกส้มเปลือกหนาเปลือกบาง พอมันมีอาการล็อกอาการอะไร อาการจะทำให้เราแบบว่า ตะกอน ถ้าแก้ววางไว้เฉยๆ ตะกอนมันจะหล่นจมลงสู่ก้นแก้ว จิตจะเป็นสมาธิ มันจะลงสู่สมาธิ ถ้ามันมีอาการอย่างนี้มันทำให้เรารับรู้ คือว่ามันจะกวนให้ตะกอนขุ่นอยู่ตลอดเวลา คือจะให้จิตรับรู้ ความจริงจิตมันต้องอิสระเข้ามาใช่ไหม ถ้ามันเป็นกิเลสมันจะเป็นอย่างนั้น

แต่ถ้าเป็นปีติ เป็นสมาธิ มันก็เป็นผลอีกอย่างหนึ่ง คือเราต้องรับรู้ มันมีอยู่แล้วใช่ไหม มันเกิดขึ้นมาแล้ว เรารับรู้แล้วปล่อยไง วางไว้ ดูที่จิตไง คือมันมีอยู่ เรารู้สึก เรารู้สึก เรามีสติ เรารู้สึก เราไม่เอา เราจะเอาสงบ

สิ่งที่มันเกิดขึ้นมามันเป็นอาการ อาการที่มันเป็น ตรงนี้นะ ถ้าเป็นเรื่องตรงนี้นะ มันเป็นเรื่องกรรมของสัตว์ คือว่ากรรมของจิตทุกดวงที่มันมีกรรมมีเวรกันมา จริตถึงไม่เหมือนกัน ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง คนหนึ่งชอบมากเลย อีกคนบอกไม่เห็นดีตรงไหนเลย สิ่งแวดล้อมหนึ่ง ไอ้คนนี้บอกสิ่งแวดล้อมนั้นดีกว่า แต่เราไม่เห็นดีกับเขาเลย มันเป็นความชอบส่วนตัว เวลาปฏิบัติเข้าไป มันเป็นความเห็นเอกเทศของแต่ละดวงใจ

เราคุยปรึกษากันเป็น ธมฺมสากจฺฉา ได้ แต่เราจะเอาให้วิธีการอย่างนั้นมาเป็นของเราไม่ได้ ชาวสวนกับชาวนา อาชีพพื้นฐานต่างกัน ชาวสวนทำสวน ชาวนาทำนา แล้วจะเอา บอกว่าทำสวนต้องทำแบบทำนา มันก็ไม่ใช่ ทำนาแบบทำสวน ก็ไม่ใช่ อันนี้ก็เหมือนกัน ปฏิบัติไปมันต้องตามข้อเท็จจริงของเรา ที่มันเกิดขึ้น แก้ไขที่เกิดขึ้น นี่ของเรา

โยม : บางทีตอนนั้นก็แบบกำลังคิดอยู่อย่างนี้ แล้วพอเราเข้าไปนั่ง เราก็ยังคิดอยู่ พอนั่งไปปุ๊บ ยังไม่ได้พุทโธอะไรเลยอย่างนี้ มันก็เหมือนกับว่ามันล็อก เหมือนมีครอบแก้วครอบอะไรมาปั๊บ แล้วพอความคิดจะพุ่งออก มันเหมือนติด มันไม่ออกแล้ว มันก็จะมีความคิดอันหนึ่งเด่นขึ้นมา เราก็ว่าไม่ออกก็ดีแล้ว แล้วเราก็คิดอยู่ข้างใน มันก็จะวนอยู่ข้างใน อย่างนี้มันถือว่าเป็นเข้าสมาธิหรือว่ายังไม่เข้าสมาธิหรือเป็นอย่างไร

หลวงพ่อ : สมาธินิดหน่อย สมาธิมันก็มีหยาบ มีกลาง ละเอียด ถ้ามันล็อก มันก็มีสมาธิได้

โยม : เพราะยังไม่ทันทำอะไรเลย แค่นั่งปั๊บ แล้วมันก็ไปล็อกอยู่เฉยๆ ผมก็ยังไม่ทันตั้งท่าอะไรเลย

หลวงพ่อ : ทำไม่ทำนี่นะ มันไม่สำคัญหรอก มันสำคัญว่าเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ ทำกำหนดอยู่เป็น ๔-๕ ชั่วโมงไม่ลงก็มี แล้วลงก็มี

โยม : ก็สงสัย บางทีนั่งชั่วโมงหนึ่งก็แบบเหมือนไม่ได้อะไร บางวันอยู่ดีๆ มันก็เป็นของมันเอง ก็ไม่รู้ว่า เวลาจะเข้า เราจำทางเข้าไม่ได้ไง

หลวงพ่อ : มันพอดีตรงนั้นมันก็เป็นอย่างนั้นน่ะ ทีนี้เวลาเรานั่งเราก็ต้องฝึกไปอย่างนี้ เขาเรียกว่าการทำต่อเนื่อง พอทำจนแบบว่า อย่างที่ว่ารถวิ่งบนถนน เราทำจนเราชำนาญไง เวลาเราทำสมาธิ เราพูดไว้ในซีดีเหมือนกัน ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ สมาธิก็มาแต่เหตุ ถ้าเราเข้าใจ เราฝึกฝนจนเราชำนาญแล้ว เรารักษาเหตุไว้ สมาธินะ เราพูดอย่างนี้เลยนะ ถีบมันให้ไปมันก็ไม่ไปหรอก เพราะเราชำนาญของเรา แต่นี่เราฝึกไป เราทำไปให้มันต่อเนื่อง

ที่ว่าสมาธิเสื่อมๆ เสื่อมเพราะว่าเราประมาท เสื่อมเพราะว่าเราไม่บำรุงรักษา เรารักษาของเรานี่นะ ไม่มีเสื่อมหรอก แต่นี่เรายังจับจุดไม่ได้ เรายังทำอะไรไม่ได้ เราพยายามฝึกของเราไป พอฝึกๆ ไป เราทำจนเรารู้ ถ้าเวลากระทบ บางทีกระทบ มีอะไรกระทบรู้เลย วันนี้กระทบแล้ว อย่างนี้ไม่ได้หรอก เหมือนกับเรามีหลักอยู่แล้วใช่ไหม อะไรกระทบ มันแกว่ง เราก็รักษาเรา มันก็หาย เราก็ทำสมาธิได้สบายๆ

สมาธิ อย่างหลวงตาท่านว่าไม่เสื่อม กำหนดคำบริกรรม ไม่เสื่อม เพราะอะไร เพราะท่านกำหนดอยู่กับคำบริกรรม อะไรจะเกิดขึ้น ไม่เกี่ยว อยู่กับคำบริกรรม

ทีนี้เป็นผู้ปฏิบัติ ๒๔ ชั่วโมงใช่ไหม อย่างโยมมันมีหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบ พอรับผิดชอบ ภาวนาก็ ๕๐-๕๐ แล้ว ต้องทิ้งสติทิ้งอะไรไปคลุกคลีกับงานไปแล้วส่วนหนึ่ง แล้วกลับมาต้องทำความสงบ อันนี้เราเห็นใจอยู่นะ อันนี้พูดถึงหลักไง

สิ่งที่เกิดขึ้นมา เวลามันเป็น นี่เพราะบุญ เรามีบุญ มันเป็นเอง เรามีลูกศิษย์อย่างนี้เยอะ เวลาจะเป็น เป็นเอง เวลาจะเอา เอาเกือบตาย ไม่ได้ มาบ่นอย่างนี้เยอะมากเลย เวลาจะเป็นไม่ได้ตั้งตัวเลย วับ! ได้เลย แล้วติดใจมาก อยากเอาอีก ไม่ได้ มาบ่นเยอะนะ ลูกศิษย์มาบ่นอย่างนี้เยอะมากเลย

โยม : แล้วจะให้ทำสภาวะให้มันอยู่อย่างนี้มันก็บิลด์อารมณ์อย่างนั้นไม่ได้

หลวงพ่อ : ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันธรรม ไม่ใช่อดีตอนาคต เพราะอดีตอนาคต ที่อภิธรรมบอกว่าอยากภาวนาไม่ได้ ถ้าเป็นปัจจุบัน มันเป็นเหตุ เราอยากในเหตุมันเป็นมรรค แต่พอเราไปอยากอารมณ์ที่เคยได้ นี่อยากในอดีตอนาคตไง อยากนี้อยากกิเลส ความอยากมี ๒ อย่าง เราไม่ได้อยากในอดีตอนาคต อยากผลใช่ไหม แต่ถ้าในปัจจุบันเราไม่ได้อยากผล เราอยากเหตุไง นี่การกระทำ คนทำดีไม่ผิดหรอก แต่คนทำดี ดี ๕ เปอร์เซ็นต์จะเอาพันเปอร์เซ็นต์นี่ผิด

โยม : หลวงพ่อ แล้วอย่างเวลานอนหลับอย่างนี้ จะให้มันมีสติในขณะนอนหลับด้วย เวลานอนแล้วมันจะคล้ายๆ กับกวางป่าอะไรอย่างนี้ที่ว่ามันนอนแล้วพอมีอะไรแก๊กหนึ่งมันจะรู้ทันที ก็คือหลับไม่ลึกไปเลยอย่างนี้

หลวงพ่อ : ไม่ได้หรอก ไม่ดีหรอก มันต้องอย่างนี้ไง เวลาเรานอน เรากำหนดพุทโธ ให้หลับไปกับพุทโธ หลับมีสติ แต่ถ้าหลับไปแล้ว ในหลับนะ ในหลับไม่มีสติ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมีสติ หลับไม่ลงหรอก หลับไปแล้ว ทีนี้ไอ้ที่ว่ามันหลับแล้วมันมีอะไรมาหรือเสียงมา คนนอนขี้เซา คนนอนแบบว่าไม่ขี้เซา มันเป็นนิสัยนะ แต่ถ้าเราจะฝึกมันก็เป็นไป แต่เวลาภาวนาเราก็เป็น แก้ได้ อย่างของเรานี่นะ อะไรมามันตื่นหมด อย่างก๊อกแก๊กไม่ได้หรอก ลุกทันทีเลย มันเดินจนรำคาญ เพราะเสียงอะไรมามันดังมากเลย มันรับรู้แล้วมันดังมาก

โยม : ถ้าอย่างเวลาเรา ปกติอย่างถ้าผมนอนปกติ คือนอนหลับง่าย ไม่ต้องพุทโธก็หลับง่าย แต่คราวนี้พอมาพุทโธ ดูลม มันกลับไม่หลับ

หลวงพ่อ : ไม่หลับเลยหรือ อ้าว! ว่าไป

โยม : ก็มันดูลมไง เห็นเขาบอกว่านอนไม่มีสติ ควรจะรู้ว่าหลับมันหายใจเข้าหรือหายใจออก

หลวงพ่อ : อ๋อ เอาอย่างนั้นเลยหรือ

โยม : เราก็นั่งดู พอดู มันก็ไม่หลับ

หลวงพ่อ : ไม่หลับหรอกอย่างนั้นน่ะ เราอยู่กับลม เราอยู่กับลมแล้วหลับไปเลย พุทโธๆ นี่หลับ พุทโธหลับได้ ให้หลับขณะหายใจเข้าหายใจออกเลย

โยม : มันไม่หลับ แต่ถ้าไม่คิดอะไรนะ มันก็

หลวงพ่อ : ใช่ ก็ความคิดทำให้ไม่หลับ มันตื่นอยู่ ความคิดมันตื่นอยู่ ไม่หลับหรอก ในขณะเรากำหนดลมเฉยๆ เรากำหนดลม เราไม่ได้กำหนดรู้ว่าเข้าหรือออก นี่เราไปตั้งว่าเราจะรู้หลับขณะเข้าหรือขณะออก คำนี้เราเพิ่งได้ยินเนาะ เป็นคำสอนของเขาเลยหรือคำนี้ เป็นคำสอนของเขาหรือเป็นความคิดเฉพาะพวกเราที่คุยกันเอง

โยม : ก็ฟังซีดีอย่างนี้ ซีดีธรรมะอะไรอย่างนี้ แล้วบางคนที่นอนจะรู้เลยว่าเขาหลับช่วงมีสติช่วงหายใจเข้าหรือหายใจออก เราก็ลองทำบ้าง จริงๆ ผมไม่ต้องกำหนดผมก็หลับง่ายสบายๆ

หลวงพ่อ : หลับสบายๆ เรายังคิดว่า เราจะพูดอย่างนี้นะ เวลาเราไปฟังซีดีหรือไปอ่านหนังสือธรรมะ หนังสือธรรมะส่วนใหญ่เขามาหาเรา เราไม่ค่อยให้แจก เพราะเราถือว่าไอ้คนที่เขียนมาไม่รู้จริง บางทีมันเป็นอารมณ์ความรู้สึกนิดหน่อย พอใครไปรู้อะไรเข้าเขาก็เขียนหนังสืออกมา ตำราออกมาผิดหมด

โยม : แล้วไปกำหนดลมอย่างนี้ บางทีมันฝันไปเลย แทนที่มันจะหลับแล้วหยุด พุทโธๆ ไปแล้วกลายเป็นฝันตามไปเลย

หลวงพ่อ : มันไม่ลงไง

โยม : แล้วผมฝันทุกครั้งนะ ถ้ากำหนดแล้ว ถ้าไม่กำหนดก็ไม่ฝัน

หลวงพ่อ : นี่พูดถึงเวลาของเราที่เราปฏิบัติอยู่ตอนเราเริ่มปฏิบัติ เราก็ฝึกจากคำสอน มโนมยิทธิเราก็ลอง อะไรๆ เราก็ลอง เราลองหมด แล้วเราถึงว่า แล้วทางไหนจะเป็นทางถูก อย่างเช่นพอเข้าฌานสมาบัติแล้ว ชั่วเคี้ยวหมากแหลก เป็นพระอรหันต์ ถ้าเผื่อเข้าฌานสมาบัติชำนาญมากนะ เข้าห้องน้ำขับถ่ายอยู่ก็เข้าได้ตลอดเวลา ถ้าหันมาวิปัสสนาชั่วเคี้ยวหมากแหลก มันก็จะเป็นพระอรหันต์เลย ทำได้ไหม บอกได้ แต่อย่างนี้ทำได้ไหม ไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร เพราะเวลาเข้าสมาบัติแล้วมันคิดว่าสมาบัตินั้นเป็นนิพพาน มันไม่ออกมาพิจารณาหรอก มันติด

เราลองของเรา เพราะอะไรรู้ไหม เพราะตามทฤษฎีเป็นอย่างนั้น จริง แต่โดยความรู้สึกของเรา พวกเรามีอารมณ์ใช่ไหม เรามีความถนัดใช่ไหม เรามีความชอบส่วนตัวใช่ไหม เราไม่เคยเห็นสิ่งมหัศจรรย์ พอเราไปเห็นสิ่งมหัศจรรย์ คือมันสงบขนาดที่ว่าลึกซึ้ง โอ้โฮ! มันแปลกประหลาด มันลึกลับ สำหรับเราก็ไปตื่นเต้น ไปตกใจ ไปดีใจ ไปดูตรงนั้น มันจะไม่ออกไปวิปัสสนา เราลองทำดูหมดแล้ว มันถึง อืม! ทฤษฎีมันถูกอยู่ แต่เวลาคนทำ คนทำไม่เป็นนี่ยาก

โยม : แล้วอย่างสมมุติว่าเวลาเป็นสมาธิแล้วออกมาพิจารณาอย่างนี้ ที่ว่าต้องตั้งรูปให้ได้อย่างนี้ อันนั้นมันเป็นขึ้นมาเองหรือว่าเราคิด

หลวงพ่อ : มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างเช่นเราพิจารณากายนะ ถ้าจิตสงบ คนมีอำนาจวาสนานี่ไง ตรงนี้มันถึงย้อนกลับแล้ว เวลาปฏิบัติ เวลาเราทำ ไอ้นี่เป็นทฤษฎีอันหนึ่ง สติปัฏฐาน ๔ การปฏิบัติมันเป็นบัญญัติของพระพุทธเจ้า ทีนี้พอเราจะมาปฏิบัติ มันก็ต้องมาดูที่จริตนิสัยด้วย ดูที่อำนาจวาสนาด้วย อำนาจวาสนานะ อย่างเช่นโยมกับเรา พิจารณาจิตสงบด้วยกัน ทำสมาธิเก่งทั้งคู่เลย ได้หมดเลย แต่เวลาโยม พอทำสมาธิ พอจิตสงบปั๊บ โยมจะเห็นกายขึ้นมาเลย เห็นรูปกาย เห็นเลย เป็นอุคคหนิมิต แยกได้เลย ไอ้อย่างเราภาวนาสงบลึกกว่าโยมอีก ทำไมเราเห็นไม่ได้ เพราะอะไร เราเห็นไม่ได้หรอก เราไม่เห็นก็คือไม่เห็น เราไม่เห็นแล้วเราจะเห็นทำอย่างไร

ถ้าเราอยากเห็น เราก็ต้องพยายามรำพึงขึ้นมา รำพึงขึ้นมา คือคุณภาพของจิตมันต่างกันไง คุณภาพของจิตโยมสร้างมาดี โยมได้สร้างบุญกุศลมา จิตนี้มีคุณภาพ มีบารมี เวลาจิตสงบปั๊บ ข้อมูลบารมีเก่าที่มันไปสร้างไว้มันจะเกิดภาพให้เห็น พอเกิดภาพให้เห็น พอเห็นปั๊บ ถ้ามีสติ มันจับรูปได้ มันวิปัสสนา มันให้ดูเลย พยายามพิจารณาให้เป็นไตรลักษณ์ นี่มันก็มีของมัน แต่สำหรับเรา เราก็ทำสมาธิเหมือนโยม ได้เหมือนโยมทุกอย่างเลย แต่เราไม่มีภาพเลย มันสงบเฉยๆ เพราะอะไร เพราะคุณภาพของจิตเรา เราทำบุญน้อยกว่า เราเคยสร้าง เราเห็นคนภาวนา เราไม่ช่วยเหลือเขา เราขัดแย้งเขา เราแกล้งเขา แต่เราก็มี เราก็สร้างบุญอย่างอื่นมา เราทำสงบได้

เราจะบอกว่านะ ไอ้ที่ว่าเห็นรูปนี่นะ ตามทฤษฎีเขาบอกจิตสงบแล้วต้องเห็นรูป แต่ข้อเท็จจริง บางคนก็เห็น บางคนก็ไม่เห็น

โยม : แล้วไอ้ไม่เห็นมันจะทำอย่างไร

หลวงพ่อ : ไม่เห็น พอไม่เห็นก็ต้องรำพึงไง คำว่า “รำพึง” รำพึงคือนึกในสมาธิ สมาธิคิดได้ไหม ทางทฤษฎีบอกคิดไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติบอกคิดได้ สมาธิคิดไม่ได้ได้อย่างไร ความรำพึงในสมาธิ ความคิดในสมาธิไง แล้วรำพึงมันขึ้นมา ถ้าไม่ขึ้นมา เราใช้ปัญญาพิจารณาได้ไหม ปัญญาเราพิจารณา พิจารณาโดยไม่เห็นรูปไง พิจารณาโดยใช้ปัญญาเทียบเคียงไง มันทำได้ทั้งนั้นน่ะ ถ้าเป็นปัญญาเทียบเคียงแล้ว อย่างคนที่เห็นรูป พอเห็นรูปขึ้นมา พอพิจารณาแล้วกำลังมันไม่พอ พิจารณาแล้วมันไม่ได้ผลก็ได้ ไอ้เราไม่เห็นรูป แต่เราพิจารณา ไม่เห็นรูปนี่นะ พิจารณากายโดยไม่เห็นกายของหลวงปู่ดูลย์ไง หลวงปู่ดูลย์ ไปถามว่าพิจารณากายอย่างไร พิจารณากายต้องเห็นกาย บอกไม่ต้อง พิจารณาไปเลย พิจารณาด้วยอะไร พิจารณาด้วยการเปรียบเทียบ โดยใช้ปัญญาใคร่ครวญ ไม่เห็นกายก็พิจารณาได้

ไอ้คนแบกกระสอบข้าวสารที่ท่าเรือคลองเตย กรรมกรที่แบกกระสอบข้าวสาร เราไม่ต้องแบกกระสอบข้าวสาร เราเป็นคนบริหาร เรารวยกว่ามันอีกนะ เห็นรูปก็แบกกระสอบข้าวสารไง แล้วทำไมคนจะรวยต้องแบกกระสอบข้าวสารอย่างเดียวล่ะ อาชีพเขาเป็นกรรมกร เขาต้องแบกกระสอบข้าวสาร สัมมาอาชีวะ ไม่ได้ดูถูกเขานะ นี่เปรียบเทียบให้เห็นว่ามันต้องใช้แรงงานไง มันต้องใช้งานหนักใช่ไหม แล้วเราต้องแบกกระสอบข้าวสารใช่ไหมเราถึงจะรวยขึ้นมา อ้าว! แล้วเราทำหน้าที่อื่น เราเป็นคนบริหารจัดการ เราสั่งคนแบกกระสอบข้าวสารได้นะมึง

คือว่ามันไม่จำเป็นจะต้องเป็นอย่างนั้น มันเป็นทางอื่นก็ได้ สติปัฏฐาน ๔ ถ้าทำเป็นนะ วิธีการหลายหลาก อาชีพคนมันเยอะแยะไปหมด อาชีพคนมีชนิดเดียวหรือ การวิปัสสนาก็เหมือนกัน มันหลากหลายนะ กาย เวทนา จิต ธรรม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เวทนา จิต ธรรมารมณ์ จิตที่เป็นสมาธิกระทบอารมณ์ความรู้สึก พิจารณากายโดยที่ไม่เห็นกาย นี่ธรรมารมณ์ สภาวธรรม แต่จิตต้องเป็นสมาธินะ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิมันเป็นโลก เป็นสามัญสำนึก เป็นความคิด แต่ถ้าจิตสงบแล้วมันเข้าถึงฐีติจิต เข้าถึงกรรมฐาน เวลามันออกพิจารณาไปมันเป็นธรรม ธรรมะ อารมณ์เรานี่แหละ ถ้ามีสมาธิมันเป็นธรรมะเพราะเราควบคุมได้ ถ้าไม่มีสมาธิ อารมณ์ควบคุมเรา แล้วทุกข์ยากไปกับอารมณ์

โอ๋ย! ถ้ากรรมฐาน ครูบาอาจารย์ที่เคยผ่านวิธีการมาแล้วมันเข้าใจหมด แต่ถ้าเราไปศึกษาตามทฤษฎีเป็นสูตร ทุกข์ด้วยนะ มันมีอยู่ใน “วงกรรมฐาน” เพิ่งได้ไป ไปเปิดดูสิ ที่แก้โครงกระดูกไง เขามานั่งอยู่ที่นี่ กลางคืนเราเทศน์ เขาเห็นเราเป็นโครงกระดูกหมดเลย เขาไม่เชื่อสายตา เขาขยี้ตาเขาใหญ่เลย เขาก็ยังเห็นเป็นโครงกระดูกอยู่ แล้วตอนเช้าเขามาถาม “หลวงพ่อ เมื่อคืนหลวงพ่อเป็นโครงกระดูกหมดเลย” เขาให้ตอบ

เราบอกว่าถ้าเป็นพระภาวนาไม่เป็นนะ เห็นกระดูก เห็นกาย พิจารณากาย พอมันปล่อยวางเป็นโสดาบัน เป็นสูตร เราบอกไม่ใช่หรอก อย่างที่ว่าบางคนมีวาสนา จิตเขามีบารมีของเขาใช่ไหม เขามองเห็น นี่นั่งเต็มศาลาเลย ทำไมคนนี้มองเห็นเราเป็นโครงกระดูกล่ะ แล้วคนนั่งเต็มศาลาเขาไม่เห็นเราเป็นโครงกระดูกเลย ทุกคนก็มองเราเหมือนกัน เพราะเราเทศน์อยู่คนเดียว ทุกคนก็มองมาที่เรา ทำไมคนนี้มองเราเห็นเราเป็นโครงกระดูกล่ะ ทำไมคนที่นั่งเต็มศาลาเขาไม่เห็นล่ะ

อันนี้เราบอกว่ามันเป็นบารมีธรรมไง มันเป็นบารมีธรรมที่ธรรมเกิดๆ ธรรมเกิดไม่ใช่อริยสัจนะ ที่เราไปเห็นกายๆ เห็นจริงหรือเปล่า แล้วเห็นแล้วได้ประโยชน์หรือเปล่า ถ้าเห็นโดยสติ เห็นโดยสมาธิ เห็นโดยปัญญา มันเป็นประโยชน์ ถ้าเห็นโดยอำนาจวาสนาเป็นบารมี แล้วอันนี้พอคนไม่เข้าใจปั๊บก็เป็นสูตร สูตรสำเร็จ พิจารณารูป พอปล่อยรูปเป็นโสดาบัน ปล่อยรูปเป็นสกิทาคามี ปล่อยรูปเป็นอนาคามี ปล่อยรูปเป็นพระอรหันต์ แล้วมันจริงหรือเปล่าล่ะ มันไม่จริงหรอก สร้างภาพ วิปัสสนึก

โธ่! อาจารย์ตรวจสอบลูกศิษย์ง่ายนิดเดียวเลย เห็นรูป เห็นแล้วเป็นอย่างไร ตอบไม่ได้ อย่างเราทำงาน ลูกเราทำงาน ให้ทำการบ้าน เอาการบ้านมาส่งสิ มันบอกทำการบ้านเสร็จแล้ว แต่มันไม่ยอมให้ส่งสมุด โอ๋ย! โดยสูตรทฤษฎีมันเป็นอย่างนั้น แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วยังอีกเยอะนัก หลวงปู่มั่นหรือหลวงตาท่านพูดเวลาไปถามปัญหาท่าน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ การปล่อยตามสูตรเป็นพันๆ หน เป็นหมื่นๆ หนนะ กว่ามันจะสมดุล กว่ามันจะเป็นจริง

เราเห็นตามสูตรอย่างที่ว่า เห็นรูป เห็นกาย เห็นต่างๆ แต่ทำแล้วซ้ำแล้วซ้ำอีก ทดสอบตรวจสอบๆ มาตรฐานของจิตมันพัฒนาไหม จิตพัฒนาขึ้นมา ปล่อยวางอย่างไร ถึงที่สุดแล้วมันขาดอย่างไร ตทังคปหานบ่อยครั้งเข้าถึงสมุจเฉทปหาน

พระพูดบ่อยมาก “ทำไมหลวงพ่อต้องสมุจเฉทฯ”

สมุจเฉทฯ คือจบกระบวนการ คือจบโครงการ แต่ถ้ายังไม่สมุจเฉทฯ โครงการยังไม่เสร็จ โครงการยังไม่เสร็จ โครงการยังไม่เสร็จ ดูสิ ดูอสังหาริมทรัพย์สิ โครงการสร้างขึ้นมาแล้วมีแต่ตออยู่อย่างนั้นน่ะ คาอยู่อย่างนั้นน่ะ ต่างคนต่างเสียหายหมดเลย ธนาคารให้กู้ก็เสียหาย ผู้ลงทุนก็เสียหาย ผู้ซื้อที่ซื้อไว้ก็เสียหาย เสียหายหมดเลย

นี่ก็เหมือนกัน พิจารณาไป “ปล่อยวางๆ” เดี๋ยวมันเสื่อมเสียหายหมดเลย คือไม่มีใครได้อะไรเลย แต่ถ้าซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆๆ พยายาม มันมีปัญหาขึ้นมาก็พยายามแก้ไขปัญหาขึ้นมา แล้วทำโครงการนั้นให้เสร็จสิ้นขึ้นมา ผู้ขายก็ได้ประโยชน์ ผู้กู้ก็ได้ทุนคืน คนซื้อก็ได้ประโยชน์หมดเลย

ไอ้ตรงซ้ำนี่คนไม่เข้าใจ ตามสูตรไง เขาทำโครงการเกือบเป็นเกือบตาย กูนึกฝันเอา จบ ไม่ได้ ไม่ได้ หมายถึงว่า คนที่เข้าใจแล้วรู้จริง เราเป็นพ่อค้าที่อาศัยทรัพย์ เราทำมาหลายร้อยโครงการ เราจะรู้เลยปัญหามันเกิดอย่างไร แล้วเราแก้ไขปัญหามันจนทุกวิกฤติมาแล้ว เราจะเข้าใจเรื่องการกระทำในโครงการต่างๆ หมด แต่ผู้ที่มาฝึกใหม่นึกว่าทำได้ง่ายๆ ลงไปทำ นึกเพ้อฝันเพ้อเจ้อเอา บางคนก็ทำประสบความสำเร็จ บางคนก็โดนหลอก บางคนก็เป็นหนี้เป็นสิน นี่ไง พิจารณากายก็เหมือนกัน ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่ใช่

โยม : หลวงพ่อ แล้วอย่างที่ว่าเพ่งกสิณหรือว่าเห็นนิมิตอะไรอย่างนี้ ที่ว่าเป็นบริกรรมนิมิต เป็นอุคคหนิมิต แล้วเป็นปฏิภาคนิมิต อันนี้เวลามันเข้าสมาธิมันเหมือนกันหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ไม่เหมือน เพ่งกสิณเป็นฌาน เพ่ง การเพ่งมันเป็นฌาน เป็นกสิณ มันเห็น เพ่งกสิณเขียว กสิณแดง กสิณอะไร มันก็เหมือนกับเราไปเพ่งดวงอาทิตย์ หลับตาเห็นดวงอาทิตย์ไหม แล้วขยายส่วน พวกนี้มันเป็นกสิณ มันเป็นฌาน มันจะเป็นฌาน ฌานสมาบัติมันจะมีกำลัง มันจะออกรู้สิ่งต่างๆ อันนี้ครูบาอาจารย์ถึงบอกว่า พวกฌานพวกแฌน หลวงตาท่านพูดว่าฌานเฌิน เราไม่อยากจะพูด เพราะทำให้คนติด คนอยาก คนชอบ โดยกิเลสมันชอบฤทธิ์ชอบเดชกัน อันนี้ชอบฤทธิ์ชอบเดช เขาเรียกว่ามันมิจฉาสมาธิไง มันส่งออก

โยม : แล้วฌานใช่ตัวเดียวกับที่วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ไม่ใช่อันเดียวกันหรือครับ

หลวงพ่อ : พระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้าไปเรียนกับอาฬารดาบสได้ฌานสมาบัติ ๘ ใช่ไหม แล้วอาฬารดาบสการันตีว่ามีปัญญาเท่าเรา ให้เป็นอาจารย์สอนไง พระพุทธเจ้าไม่เอา เพราะมันไม่ได้แก้กิเลส พระพุทธเจ้ากลับมากำหนดลมหายใจเข้าออก สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิเพราะอะไร สัมมาสมาธิเพราะมีศีล

มิจฉาสมาธิ พวกทำคุณไสย เขาทำสมาธิได้นะ เขาไม่มีศีลเพราะอะไร เพราะเขาทำสมาธิแล้วเขาเอาพลังงานสมาธิเพ่งเพื่อไปทำเป็นพวกคุณไสยเพื่อทำลายครอบครัวคนอื่น แต่ถ้าสัมมาสมาธิมันทำลายเขาไม่ได้ พอทำลายไม่ได้ มันไม่คิดออกนอกเรื่อง

อันนี้เป็นฌานสมาบัติ มันมีกำลังอย่างนั้นเหมือนกัน เหาะเหินเดินฟ้าได้นะ แต่มันจะเอาเข้ามาพิจารณา อย่างที่เราพูดเมื่อกี้นี้ มโนมยิทธิเข้าสมาบัติได้ไหม ได้ ถ้าเอามาพิจารณา ส่วนใหญ่แล้วมันไม่ยอมพิจารณา ประสาเราว่าส่วนใหญ่หลงตัวเอง มันจะเข้าใจผิดในตัวเอง มันหลงตัวเอง ทีนี้มันก็มาพิจารณายากใช่ไหม

แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ทำไมมันถึงเป็นสมาธิ มันเหมือนกับนักกีฬา เราทำ เราวิ่งออกกำลังกายมาเพื่อให้ร่างกายเรามีกำลัง เพื่อทักษะ เพื่อจะแข่งขันกีฬา แข่งขันกีฬา กีฬาคือการต่อสู้กับกิเลสไง ทีนี้จะบอกว่าเพ่ง ที่ไปเห็นอุคคหนิมิต นิมิตที่ไปเห็นโดยอย่างนั้น ที่เขาบอกว่าเห็นนิมิต นิมิตมันเป็นอาการของจิต จิตคือผู้รู้ ผู้รู้เห็นสิ่งที่ถูกรู้ ผู้รู้ไปเห็นสิ่งที่ถูกรู้ ทีนี้เราไปเห็นสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งที่ถูกรู้ถูกหรือผิด ถ้าผิด มันเป็นมิจฉา คือเราไปว่านี่เป็นอย่างนั้นๆ หลงไปหมดเลย

โยม : มันก็เป็นตัวไกด์อันหนึ่งซึ่งจะเข้าสมาธิ เหมือนกับเราบริกรรมพุทโธ มันก็เป็น

หลวงพ่อ : ใช่ เราเห็นด้วยๆๆ แต่ไง เราเห็นด้วย เพราะว่าอะไร ฌานสมาบัติ เราถึงพูดเมื่อกี้นี้ เรื่องอจินไตย เรื่องฌาน เรื่องสมาธินี่แหละ แต่เรื่องสมาธิ ถ้าเราทำสมาธิโดยที่เราใช้เป็นตบะเป็นธรรมอย่างนั้นมันพุ่งออกไง คือว่าฐานที่มันจะออกไปทางโลกกับฐานที่จะเข้ามาทางวิปัสสนาต่างกันนะ เพราะฐานที่จะเข้ามาเขาเรียกเข้าอริยสัจกับไม่เข้าอริยสัจ

คนทำสมาธิมากเลยนะที่เขาเข้าสมาธิแล้วเขาไม่เข้าอริยสัจ บางคนเข้าอริยสัจได้ยากมาก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโดยธรรมชาติของเรา โดยธรรมชาติก่อนที่จะมาเป็นศาสนาพุทธมันเป็นศาสนาถือผี ศาสนาชีพราหมณ์ ทีนี้โดยธรรมชาติของจิตที่มันเกิดตายๆ พระพุทธเจ้าบอกเวลาเกิดตาย บุพเพนิวาสานุสติญาณคือไม่มีต้นไม่มีปลาย ไอ้เราไม่รู้ชาติใดชาติหนึ่งที่มันเกิดมามันเกิดเป็นฤๅษีชีไพรมาอย่างนี้ มันก็มีพื้นฐานมาใช่ไหม มันชอบทำอย่างนี้ พอทำอย่างนี้ปั๊บ จะเข้าอริยสัจมันเข้าได้ยากไง โอ๋ย! แค่ทำสมาธินะ แล้วยกวิปัสสนาคือเข้าอริยสัจนี่ยากมาก

อันนี้โดยสามัญสำนึกของอภิธรรมเขาจะบอกว่าพิจารณาสายตรงเป็นอริยสัจ คือพิจารณาปัญญาคือไม่หลง แต่ความจริงในความรู้สึกเรานะ ไม่ใช่ มันเป็นเปลือกส้ม มันเป็นอารมณ์สามัญสำนึก คือคนเรามันจะวิวัฒนาการพัฒนาการ แต่เขากลับไม่อยากให้เป็น คือทำไม่ได้ ถ้าวิวัฒนาการคือผิด

มันผิดตั้งแต่ทฤษฎีเลย พัฒนาการของจิตมันต้องเข้าสมาธิใช่ไหม พอเป็นสมาธิ ตัวสมาธิ ตัวจิตมันเห็นอาการของจิต เห็นกาย ตัวจิตเห็น ไม่ใช่ความคิดเห็น เขาอยู่ที่ความคิด แล้วให้ความคิดอยู่โดยปกติ คือไม่ให้ความคิดเปลี่ยนแปลง คือห้ามลงสมถะ ห้ามลงสมาธิ แล้วมันจะมีวิวัฒนาการอะไรของมันล่ะ คือว่าหลอกตัวเองกันไปวันๆ หนึ่งไง ว่างๆ สบายๆ ไง

แต่พอมาเรื่องฌานก็อีกล่ะ พอเรื่องฌาน เราไปติดในฌาน พอเราเข้าสมาบัติ เข้าเรื่องฌาน เรื่องฤทธิ์เรื่องเดชมันมีรสชาติ มันเป็นผู้วิเศษไง มันไม่ใช่อริยภูมิไง หลงตัวว่าเป็นผู้วิเศษ ดีกว่าคนอื่น

โยม : ที่ว่าเป็นอัปปนาสมาธินี่ไม่ใช่ฌาน ๔ หรือ

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ฌานส่วนฌาน

โยม : ฌานส่วนฌาน

หลวงพ่อ : เออ! ฌาน ๔ รูปฌาน อรูปฌาน

โยม : แล้วอย่างอัปปนาสมาธิมันก็เป็นสมาธิอันหนึ่ง

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : แล้วก็ที่เขาเล่นกสิณมันก็เป็นสมาธิอันหนึ่ง หรือว่าไม่เป็น

หลวงพ่อ : ใช่ จะว่าอย่างนั้นได้หมดเลย แต่ความจริงมันก็เป็นอารมณ์ความรู้สึก สมาธิไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่สมาธิ เราพูดอย่างนี้บ่อยนะ สมาธิไม่ใช่จิต ถ้าสมาธิเป็นจิต เราอยู่เฉยๆ ต้องมีสมาธิ ทำไมสมาธิไม่เป็นสักทีล่ะ

จิตเป็นจิต สมาธิเป็นสมาธิ ทีนี้พอสมาธิเป็นจิต ที่ว่าเป็นฌานหรือว่าเป็นสมาธิ มันอยู่ที่ว่า ขับรถมานี่ ถ้าเราขับรถถูกกฎจราจรมันก็ถูกต้องหมด ถ้าขับรถตามใจมันก็ลงนอกทางไปเรื่อย เป็นฌานก็เหมือนกัน ถ้าฌานมันมีกำลังของมัน มันดึงใจเราไปไง เราทนมันไม่ไหวหรอก มันเห็นดีเห็นงามว่าอันนั้นถูกต้องไปหมดเลย แต่ถ้าเป็นสมาธิมันอยู่ในกฎ อยู่ในกฎจราจรไง เพราะอะไร มันมีศีลคุมไง

จิตกับใจอันเดียวกันไหม จิตกับใจอันเดียวกันไหม ใช้แทนกันได้ใช่ไหม ใจก็ได้ จิตก็ได้ใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน ฌาน สมาธิ นี่ไง

โยม : แต่ไม่ใช่ตัวเดียวกัน

หลวงพ่อ : เออ!

โยม : มันก็เข้าต่างกัน

หลวงพ่อ : เกือบคล้ายๆ กัน แต่มันต่างกันตรงที่สติควบคุม ตรงที่สติควบคุม ตรงที่ความเห็น เหมือนเงิน เงินของโจรกับเงินของเรา เงินเหมือนกันไหม แต่โจรมันปล้นมา แต่เงินเราหามาเกือบตาย

โยม : ขึ้นอยู่ที่ว่าเป็นสัมมาหรือเป็นมิจฉา

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : อย่างนั้นถ้าสมมุติว่าเราเพ่งกสิณแล้วเราก็หักเข้ามาทางวิปัสสนามันก็ได้เหมือนกัน

หลวงพ่อ : ได้ ทำได้

โยม : แต่มันทำยากกว่า

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : เพราะมันเป็นมิจฉาสมาธิ มันติด

หลวงพ่อ : ใช่ คือว่ามันอิสระไง มันปล่อยไปทางนี้ไง แต่ถ้าเราทำสัมมาสมาธิ เรากำหนดพุทโธหรือกำหนดอานาปานสติ เรารู้อยู่ว่าเราทำอันนี้เพื่อเป็นพื้นฐานจะไปวิปัสสนา มันรู้อยู่ว่าเรามีงานต่อไป เรารู้อยู่ใช่ไหม เราตั้งใจ เหมือนเราเรียนมา เราเรียนมาเพื่ออะไร เราเรียนมาเพื่อทำงานใช่ไหม เราเรียนจบแล้วเราจะทำงานต่อไป ไม่ใช่เรียนจบมาแล้วกูจะเป็นอาจารย์ มันยังไม่ทำงานอะไรเลย คนจะทำงานมันต้องเตรียมตัวทำงาน แล้วมันทำงานขึ้นไปมันมีงานต่อไป มันไม่ติด ไม่หลง แต่ถ้าอย่างนี้ปั๊บแล้ว กูทำแล้ว โอ้โฮ! กูเป็นอาจารย์แล้ว กูรู้วาระจิต ลูกศิษย์ลูกหาเข้ามาแล้ว แล้วเดี๋ยวก็เสื่อม

โยม : อ้าว! แล้วทำไมสมาธิจากกสิณอะไรพวกนี้ที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีศีลควบคุม เขาก็เข้าสมาธิได้

หลวงพ่อ : ได้ ก็ได้สิ

โยม : อย่างนี้ที่เราภาวนาพุทโธ เราก็ไม่ต้องมีศีล มันก็น่าจะเข้าสมาธิได้เหมือนกัน

หลวงพ่อ : ไม่มีศีลก็ได้ อย่างที่ว่า ไม่มีศีลแล้วทำได้จริงหรือเปล่าล่ะ ทีนี้มันมีศีล ศีลเป็นพื้นฐานของผู้สะอาดไง ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลก็เหมือนเราทำผิด มันก็ต้องผิดศีลอยู่แล้ว พอจิตมันสงบเข้ามา เพราะเราทำจนเป็นนิสัยไง เหมือนนิสัยคนดี ถ้านิสัยคนที่มันดี พอเราวางให้มันเป็นจริตนิสัยเลย วางให้ใจมันรับรู้อย่างนี้เลย เวลาเราทำอะไรมันมีละอาย มีหิริมีโอตตัปปะ มีความเกรงกลัวมีความละอาย แต่ถ้ามันไม่มีศีล มันไม่เกรงกลัวละอาย

ดูสิ คิดดูสิที่เข้าฌานสมาบัติ ทำเรื่อง ทำไสยศาสตร์ ทำลายของลูกศิษย์ที่ฝ่ายตรงข้ามนะ ทำลายครอบครัวเขา ทำลายเขาทั้งหมดเลย จริงๆ แล้วเราทำลงไหม เราเห็นเลยว่าไอ้บ้านนั้นต้องบ้านแตกสาแหรกขาด แล้วลูกเมียเขา ครอบครัวเขาต้องเจ็บปวดเจ็บช้ำกันทั้งนั้นเลย แล้วพ่อแม่เขาจะต้องเสียอกเสียใจขนาดไหน เราคิดถึงใจเขาไหม

แล้วอย่างที่บอกไง เขาทำสมาธิได้ สมาบัติได้ แล้วทำขึ้นมาแล้ว สุดท้ายแล้วนะ อาจารย์คุณไสยส่วนใหญ่แล้วพอใกล้ตายจะเป็นพวกผีปอบ กรรมมันให้ผล ตอนทำอยู่มันก็ดีอยู่ มีลูกศิษย์ลูกหา ทำได้ ลองของไง ลองวิชา เดี๋ยววิชาจะเข้าหาตัวเอง แต่ถ้าเรามีศีลอยู่เลย เราฝึกเราตั้งแต่ตอนนั้น ฝึกไม่ให้มันรังแกใคร ถ้าดีแล้วก็ให้ดีในตัวเราเอง

ฉะนั้น โยมพูดอย่างนั้นถูก ไม่มีสมาธิ เขาเรียกว่ามนต์ดำไง สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ มนต์ขาว มนต์ดำ แต่ไอ้เรื่องทำสมาธิได้ไหม ได้ โธ่! ขุนโจรมหาโจรเขามีวิชาของเขานะ เขาวางแผนของเขานะ ดูสิ ดูอย่างคนที่มันโกงสิ เราคิดไม่ทันมันเลยล่ะ คนที่คิดมีสมาธิไหม ไม่มีสมาธิแล้วคิดได้ลึกซึ้งอย่างนั้นไหม

เพียงแต่เรา เหมือนกับเราเป็นบัณฑิตไง เราพูดอะไรเราพูดกันโดยเปิดเผยไง พูดกันด้วยเหตุผลชัดเจน เพราะอะไร เพราะมันเป็นความถูกต้อง แต่ว่าเขาทำอย่างไร เขาคิดอย่างไร เขาพูดไม่ได้นะ นั่งทับขี้ไว้ ตัวเองคิดคนเดียว ก็มันคิดจะเอาเขา คิดจะโกงเขา มันจะพูดออกไปได้อย่างไร

แต่ของเราปรึกษาหารือกันได้ เราคุยกันได้ เพราะเราเป็นสัมมา เราเป็นสิ่งที่ดี ใช่ เวลาพูดอย่างนี้เราสะเทือน พูดที่ว่าเขาไม่มีศีล เขาทำ เราก็เทศน์บ่อย มิจฉาสมาธิเขาไม่ต้องใช้ศีลเลย เขาก็เป็นสมาธิได้ ถามว่าสมาธิต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาหรือ ไม่มีศีลสมาธิได้ไหม ได้ แต่น้อยคนที่จะทำได้ เพราะน้อยคน เพราะคนที่จะทำอย่างนั้นได้ต้องใจเข้มแข็ง ใจอำมหิต ใจโหด เพราะมันรู้อยู่ใช่ไหมว่าเราให้คุณไสย เราให้ของเราไปกับลูกศิษย์เราคนใดคนหนึ่งที่เขามาขอไป เขาต้องไปทำลายคนอื่น

โยม : อย่างเรานั่งสมาธิอย่างนี้ กว่าเราจะทำได้มันก็แทบตาย ขนาดไม่ได้ไปโลภว่าจะอะไรอย่างนี้ แต่พวกนั้นเขากลับแบบโลภอยากได้โน่นอยากได้นี่ แต่ทำไมมันยังทำได้อยู่

หลวงพ่อ : ไอ้นี่มันเป็นของเขาไง แล้วเขาทำได้ เราถึงบอกว่าพวกคุณไสย เราเชื่อว่ามันมีจริง แต่เราไม่ค่อยเชื่อว่าคนที่ทำแล้วแบบว่าคุณภาพของมันจะมีตลอดไป มันเป็นเฉพาะส่วนไง ถ้าตอนไหนถ้าจิตเขาดี คุณภาพเขาดี สิ่งนั้นทำมา เหมือนกับเรามีอาชีพ อาชีพทำเหมือนคุณไสย เหมือนยาเอาไปขาย แล้วคนที่เอาไป รุ่นนี้มันก็เก็บไว้ ถ้ามันดีนะ เอาไปใช้

แต่เราเห็นนะ ลูกศิษย์ที่ราชบุรี เด็กๆ ผู้หญิง พ่อแม่เขาพามา พวกกรรมกรก่อสร้างมันดีดน้ำมันใส่ โอ้โฮ! มันติดเขาเลย คนไม่เคยเห็นหน้ากัน ไม่รู้จักกันนะ แล้วเด็กผู้หญิง เด็กๆ ไม่รู้เรื่องหรอก มันโหยหาเขาตลอดเวลา จนพ่อแม่ต้องจับผูกไว้กับเสาเลย โอ้! เราก็เห็น เออ! มันก็มีจริง แต่มันมีจริงอย่างที่ว่า มันเป็นกรรมของเขา คนอยากสบาย คนอยากโลภมันเยอะ แล้วเขาก็ทำของเขา เขาต้องมี เขาต้องเรียนนะ เขาต้องไปเรียนอาจารย์ของเขา แล้วก็ส่งวิชากันมาเรื่องคุณไสย

โยม : แล้วอย่างนี้เรากันได้ไหมไม่ให้เขาทำ

หลวงพ่อ : ศีล ๕ ศีล ๕ เราคิดบ่อย เราพูดกับลูกศิษย์บ่อยว่าหลวงตา หรือเช่นเรา อย่างเรานี่นะ เพราะว่าเราปากดี เราว่าคนไว้เยอะ ของอย่างนี้มันมีเยอะแยะไป เขาต้องเอาปล่อยใส่เรา คนเวลามันโกรธ อย่างหลวงตา เราว่าโดนของเยอะนะ แต่ไม่เคยเข้าท่านเลย เพราะใจเรามีหลักไง

ศีล ๕ ศีล ๕ นี้ป้องกันได้เลย มันยกเว้นแต่กรรม เวลากรรมมันถึงผลนะ เพราะบางครอบครัวก็มี เรื่องอย่างนี้มี คือเรื่องอย่างนี้มันมีอยู่แล้ว เพราะใจคนมหัศจรรย์ มันเป็นไปได้ทั้งหมด ใจเราจะปั้นเป็นอะไรก็ได้ ถ้ามีอย่างนั้นแล้วถ้าเรามีศีล มันกันให้เราไม่ตกไปในที่ต่ำ มันกันเราไม่ให้ตกไปในที่ชั่วนะ ถ้าตกไปในที่ชั่วนะ ตกไปที่ชั่ว ดูสิ ธรรมะบอกตกไปในที่ชั่ว แต่มันไม่รู้ มันบอกตกไปในที่ดี ก็มันพอใจ มันชอบใจ

ฉะนั้นถึงว่า ไอ้นั่นวางไว้ เราเชื่อพระพุทธเจ้า เริ่มต้นไง เหมือนอนุบาลเลย เด็กอนุบาล การศึกษาวางรากฐานให้มันดี มันจะโตมาดีหมดเลย เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลวางรากฐานให้ใจเราดี แล้วอย่างที่โยมว่าคนดีทุกข์ฉิบหายเลย ทำยากฉิบหายเลย ไอ้คนเกกมะเหรกเกเรทำไมมันอยู่ของมันได้ล่ะ ไม่รับผิดชอบอะไรเลย แต่กรรมมันน่ะ ไอ้เด็กดีๆ เราต้องกันไว้เลยนะ เดี๋ยวมันจะเสีย ไอ้พวกนั้นมันจะชักจูงไป ไอ้คนเกมันอยู่กันสบายๆ ทำดีทำยาก ทวนกระแส ถ้าคิดอย่างนี้ได้แล้วเราจะไม่เสียใจ จะไม่น้อยเนื้อต่ำใจ ก็สิ่งที่ว่ามันยาก มันเป็นรั้ว ศีลนี้เป็นรั้วนะ ป้องกันเราไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าไม่มีรั้วมันก็สบายน่ะสิ เราต้องมีรั้วของเรา ศีล สมาธิ ปัญญา

โยม : หลวงพ่อ แล้วอย่างศีลข้อ ๒ อย่างนี้ เล่นคอมพิวเตอร์ใช้วินโดวส์ก็อปปี้ อย่างนี้ผิดหรือเปล่า ถ้าพระไปเล่นอย่างนี้

หลวงพ่อ : จริงอยู่ พระผิดเยอะ ถ้าไปเล่นนะ ของเราคอมพิวเตอร์มีอยู่ตัวหนึ่งตอนนี้ เอาไว้เฉพาะอัดเสียงอย่างเดียว แล้วต่อไปเราจะมีเว็บไซต์ ต่อไปต้องทำเว็บไซต์เพราะว่ามันเป็นเรื่องเทคโนโลยี มันมีกันทั่วไปอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้ให้พระทำ เราจะอยู่ข้างนอกให้โยมเขาทำ แล้วเราไม่ทำอย่างนั้น เราจะตอบปัญหาอย่างเดียว เราจะมีเว็บไซต์ เราจะมี ธรรมะเราจะเอาเข้าหมดเลย ปัญหาอย่างนี้ถามมา กูจะตอบเอง เพราะเรารู้อยู่ ต่อไปพระไม่กล้าตอบปัญหา คือปัญหาที่เราคุยกันนี่นะ พระตอบยากนะ ตอบยากเพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันเป็นเรื่องพื้นฐานเริ่มต้นนี่ตอบยากมาก

เวลาไปหาพระนะ “โอ๋ย! ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างนั้น นิพพานเป็นอย่างนั้น” ตอบผิดตอบถูกก็ไม่รู้นะ ไอ้คนตอบก็ไม่รู้ ไอ้คนฟังก็ไม่รู้ แต่ไอ้หญ้าปากคอก เมื่อก่อนลูกศิษย์บอกบ่อย “หลวงพ่อ ไอ้พื้นฐานง่ายๆ ไม่ต้องไปหาพระหรอก ทำกันเองก็ได้ ใครๆ ก็ตอบได้”

เพราะพื้นฐาน รั้ว เพราะพื้นฐานมันเสีย เสียหมดเลย พื้นฐานมันเสียแล้วมันฝัง แล้วมันแก้กันนะ โอ้โฮ! พวกอภิธรรมมาที่นี่มาร้องไห้ทุกคนน่ะ พอมาหาเรานะ เราบอกพุทโธ พุทโธเพราะอะไร เพราะพุทโธ จิตมันต้องเกาะพุทโธไว้ มันจะได้เปลี่ยนแปลงอาการของมัน ถ้ามึงยังกำหนดนามรูปอยู่ เราบอกนามรูปนะ คือเอายาสลบปะจมูกไว้ “สบายๆ” เอายาสลบนี่นะ แล้วก็แปะจมูกไว้ คือมันต้องวางยาสลบตัวเองไว้อย่างนั้นน่ะ คือเป็นหุ่นยนต์ เป็นหุ่นยนต์เลย “ว่างๆ ว่างๆ” แล้วทำอะไร ว่างๆ แล้วพอจะขยับปั๊บ จะเปลี่ยนอะไร เราก็บอกว่าไม่ได้ ให้กำหนดพุทโธไว้

พอกำหนดพุทโธไม่กี่วันนะ เขาเห็นการเปลี่ยนแปลง จิตเขาเริ่มหดตัวเข้ามา เขาตกใจ ตกใจเพราะอะไร เพราะเขาบอกในทฤษฎีของเขา เขาบอกห้าม ห้ามทำสมถะ เพราะทำสมถะมันจะผิด มันจะเห็นนิมิต เห็นนิมิตคือจิตมันเข้าสมถะคือผิด

แล้วพอจิตหดเข้ามา เขาทำอยู่หน ๒-๓ หนแล้วเขามาหาเรา เราบอกว่า กูเปรียบเทียบให้มึงฟังนะ เมื่อก่อนเอ็งอยู่บ้าน เอ็งเลี้ยงหมาตุ๊กตา ตุ๊กตาหมาอยู่ที่บ้าน เอ็งเลี้ยงมันน่ะ นามรูปๆ มันเป็นตุ๊กตาหมา พอเอ็งมาหากู กูให้ลูกหมามึงเลี้ยง ลูกหมาๆ ลูกหมามันต้องกินใช่ไหม ลูกหมามันต้องขี้ใช่ไหม ลูกหมามันต้องเยี่ยวใช่ไหม ลูกหมาต้องเลียปากมึง มันเล่นกับมึง คือจิต คือหมาที่มีชีวิต มันเป็นความจริง กับตุ๊กตาหมามันตั้งไว้เฉยๆ แล้วใจของคนทำให้เป็นเหมือนตุ๊กตาหมา แล้วมึงเปลี่ยนมาอยู่กับกู กูให้ลูกหมามึง แล้วพอจิตมันเปลี่ยนแปลง มันตกใจ โอ้โฮ! มันตกใจ มันกลัว

เราถึงบอก โอ้โฮ! เราสังเวชใจนะ “โอ๋ย! สมถะ ไม่ได้ๆๆ” ทั้งๆ ที่สมถะมันอยู่ในญาณของอภิธรรม คือจริงๆ ตามทฤษฎีมันถูกต้อง มันมี แต่เขาไปตัดตอนมัน เขาไปบอกว่าไม่มี เพราะเขาไม่ต้องการให้ทำสมถะกัน ห้ามทำสมาธิไง แต่ความจริงมันตัดไม่ได้ มรรค ๘ มึงตัดอะไรออกไม่ได้ แต่เขาไปตัดออก ทั้งๆ ที่ทฤษฎีเขามีนะ ไปเปิดสิ มีญาณที่มันเป็นสมถะ มันขาดสมถะ มันเป็นมรรคไม่ได้ แต่ด้วยการเมือง ด้วยความเห็นของเขา เขาก็สั่งสอนกันมา

แล้วอภิธรรมมา เช้าๆ ที่ถามปัญหานี่อภิธรรมทั้งนั้นน่ะ ร้องไห้น่ะ อยู่กับเขามาเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปี โอ้โฮ! มาหาเรา เราให้ทดสอบ ให้เขาทำเลย แล้วมันเห็นการเปลี่ยนแปลงเลย เปลี่ยนแปลงคือว่าเห็นเรื่องสมาธิมันหดเข้ามา มันมีความรู้สึกเข้ามา มีความสุขของมันเข้ามา ไม่ใช่ว่าเอายาสลบไปแปะจมูกไว้ “ว่างๆ ว่างๆ”

ว่างๆ มันคิดให้ว่าง ความคิดมันคิดให้ว่าง แล้วจิตมันว่างไหม แต่ถ้าเป็นสมาธิมันมีความสุข มันต่างกับว่างๆ มึงเยอะนัก มันเป็นอย่างนี้ไปหมดเลย นี่พื้นฐานไง นี่ไงว่าอาจารย์ไม่จำเป็น ง่ายๆ ใครก็สอนได้ แล้ววางพื้นฐานผิดกันไปหมดเลย

โธ่! แล้วพอวางพื้นฐาน เพราะพื้นฐานนี่ไง มันเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยไง พอเล็กน้อย ทุกคนไม่เห็นโทษของมันไง เลยพูดถึงโทษมันไม่เป็นหรอก เข็มทิศมึงจะเดินออกตัวผิดตรงนี้ จะไปทิศใต้ มึงไปทิศเหนือ มึงไปมึงตายห่าแล้ว ก็จุดสตาร์ตน่ะเล็กน้อย พอออกสตาร์ตผิดทาง ไปแล้ว มันถึงยาก แต่มันเป็นกรรมของสัตว์แล้วเนาะ เพราะสังคมเป็นอย่างนี้

โยม : หลวงพ่อ แล้วอย่างคอมพิวเตอร์อย่างนี้ มันอย่างไรก็ยังผิดศีลอยู่

หลวงพ่อ : ถ้ามันผิด เราละอายไหมล่ะ ไอ้อย่างนี้มันอยู่ที่เรานะ เขาเรียกว่าศีลของคนที่ละเอียดหรือหยาบ ถ้าคนที่หยาบเขาเห็นว่าเล็กน้อย แต่คนที่ละเอียดนะ เราคิดว่าเราไม่ทำ ถ้ามันผิด เราไม่ทำ มันจะเป็นนิสัย

ทีนี้เขาถามกลับนะ “หลวงพ่อ แล้วเล่นหุ้นล่ะ”

ถ้าเล่นหุ้นเป็นการพนัน เราก็ว่าผิด แต่ถ้าเป็นการลงทุนล่ะ เพราะลูกศิษย์เป็นโบรกเกอร์เยอะ ทำงาน มาบ่นมากเลย “หลวงพ่อ แล้วงานผมเป็นอย่างนี้ ทำอย่างไรล่ะ” หน้าที่การงานของมึงใช่ไหม มันทำงานในบริษัทเงินทุน แล้วทำอย่างไรล่ะ มันก็บอกหน้าที่การงานไง แต่ถ้าเราทำหน้าที่การงานด้วยความซื่อบริสุทธิ์ ด้วยใสสะอาดของเราใช่ไหม ก็เราเป็นโบรกเกอร์ เราเป็นพนักงานในบริษัทเงินทุน ต้องให้เขาเล่นหุ้นน่ะ

โยม : แต่มันก็เหมือนคนแจกไพ่มากกว่า แล้วบอกฉันไม่ได้เล่น

หลวงพ่อ : สัมมาอาชีวะนะ มันอยู่ที่การเลือก อันนี้บางทีคนเรามันมีกรรม มีความจำเป็น มีหลายอย่างบีบคั้น อันนี้ศีลของคนมันถึงไม่เท่ากันไง นิ้วคนไม่เท่ากัน เราจะบอกว่าขีดเส้นเป็นอย่างนี้มันไม่ได้ บางคนใช่อยู่ มันไม่ถูก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่หน้าที่การงานล่ะ แล้วต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ล่ะ ความรับผิดชอบของเราล่ะ อย่างนี้อยู่ที่เราต้องเลือกนะ เราจะเลือกอะไรสำคัญ ถ้าสำคัญแล้วต่อไปเราจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรถ้ามันสะอาดเข้ามา ถ้าจิตมันดีเข้ามามันทิ้งเอง อย่างตลาดหลักทรัพย์มันต้องพูดอย่างนี้ทุกที ถ้าเราคิดว่าคนนี้ลงทุนโดยคิดว่าไปลงทุน แต่มันก็น้อยคน ทุกคนต้องการกำไร มันก็การพนัน ถ้าเป็นการพนัน เราก็ไม่ไปทำ

โยม : ลงทุนมันก็ต้องกำไรไม่ใช่หรือหลวงพ่อ ค้าขายก็ต้องกำไร

หลวงพ่อ : ใช่ ไอ้กำไรอย่างนี้ถ้ามันเป็นการลงทุนอย่างนี้ เราต้องหาปัจจัยเครื่องอาศัย หน้าที่การงานไง ไอ้อย่างนี้ แต่ถ้าอย่างโยมพูดเมื่อกี้ เขาต้องแบบว่า ไอ้พวกที่ต้องเสียสตางค์อย่างนี้ เราก็ต้องทำไปตามนั้น เราไปลักของเขา ถ้าเราไปก็อปปี้ ไปลักของเขา มันไปลักทรัพย์ แต่ถ้าเป็นหน้าที่การงาน เราไม่ได้ทำใช่ไหม เราไม่ใช่ลักทรัพย์ เราเป็นหน้าที่ หน้าที่ เหมือนคนขายประกัน ไอ้นี่ก็ต้องหาลูกค้าไง เป็นธุรกิจไง คือเป็นธุรกิจการค้า ไม่ใช่ลัก

โยม : ไม่ แต่เราก็รู้ว่าเราก็ใช้มัน

หลวงพ่อ : เราใช้ เราลักเขามาหรือเปล่าล่ะ ถ้าเราจะใช้มัน เขาต้องเสียสตางค์ไง เขาต้องซื้อลิขสิทธิ์ใช่ไหม ไอ้อย่างนั้นก็ถูกต้อง แต่เราใช้โดยที่เราไม่เสียสตางค์นี่เราลัก คิดดูสิ แค่ง่ายๆ แค่เสียสตางค์ก็จบ ใจก็ไม่เสีย ไอ้นี่มันอยู่ที่เราคิดนะ แต่พูดถึงถ้าเราคิดว่ามันเป็นสาธารณะ บางทีเป็นของสาธารณะที่เราใช้กันเราก็ใช้

โยม : อย่างสมมุติว่าผมเอาคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งลงโปรแกรมมาหมดแล้วมาให้หลวงพ่ออย่างนี้ แล้วหลวงพ่อใช้อย่างนี้หลวงพ่อผิดศีลไหม

หลวงพ่อ : พูดถึงถ้าเราใช้ ถ้าสมมุติเราใช้แล้วนะ ถ้าสมมุติถ้าเราใช้เราไม่ผิดศีล เราไม่ผิดนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโยมเอามาให้เรา เราไม่รู้

โยม : อ้าว! แล้วถ้าผมมาบอกทีหลังว่าอันนี้ผมใช้โปรแกรมก็อปปี้นะหลวงพ่อ หลวงพ่อรู้แล้วหลวงพ่อใช้อยู่ ผิดไหม หรือว่ายังไม่ผิด

หลวงพ่อ : ถ้าพูดถึงถ้ารู้ว่าก็อปปี้มา มันรู้ว่าผิดกฎหมายไม่ผิดกฎหมาย เพราะพระที่ดีเขาไม่ใช้ เขาไม่ทำ เขาไม่เอา อะไรที่ผิดมา หนึ่งนะ ย้อนกลับมานะ พระเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ แล้วโยมเป็นลูกศิษย์ใช่ไหม ปฏิคาหก การทำบุญไง ถ้าสิ่งใดมันผิดกฎหมาย โยมจะไม่เอาไปถวายพระ

อ้าว! โยมมาถวาย นี่โยมเอามาถวายเรา ถ้าโยมเอาแม่โขงมาถวายเรา ถ้าเรารับ เราดื่มเข้าไปเราผิดไหม โยมรู้เลยนี่แม่โขง พระกินเหล้าไม่ได้ แล้วโยมจะเอาเหล้าไปถวายพระทำไม คอมพิวเตอร์ถ้ามันผิด โยมเอามาทำไม โยมก็ต้องเอาคอมพิวเตอร์ที่มันถูกมาถวายพระถ้าพระจะใช้ เขาเรียกว่าปฏิคาหก ผู้ให้ให้ด้วยของที่บริสุทธิ์ ถ้าของไม่บริสุทธิ์ ผู้ให้ บุญมันไม่เกิด การให้ทานนี่นะ โยมซื้อของมาถวายพระใช่ไหม ถ้าโยมไปลักมา โยมจะได้บุญไหม

โยม :ไม่ได้

หลวงพ่อ : แล้วถ้าโยมซื้อมาถวายได้บุญไหม คอมพิวเตอร์ก็เหมือนกัน

โยม : แล้วสมมุติว่าโจรอยากได้บุญอย่างนี้ ก็ขโมยสตางค์ปล้นเงินเขามาแล้วก็แบ่งมาทำบุญอย่างนี้

หลวงพ่อ : ไอ้กรณีอย่างนี้ไอ้พวกเอ็นจีโอมันว่ามากเลย บอกพระเป็นฐานให้คน ให้พวกโสเภณีเป็นฐานหนุนให้พวกโสเภณีไปค้าตัวไง แล้วเอาเงินมาทำบุญกับพระไง ไอ้อย่างนี้บางอย่าง เราไม่ใช่พูดเพื่อพระนะ บางอย่างพระรู้ไม่ได้ คนมาทำบุญ พระบางทีมันรู้ไม่ได้ว่าเขามาจากไหนกัน แต่ทีนี้มันโดยหลักไง โดยหลัก ปฏิคาหก ของผู้ที่จะเป็นบุญกุศลที่สะอาดบริสุทธิ์ ผู้ให้มันต้องเป็นสัมมาหมด คือได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ได้มาด้วยความสุข ขณะให้ เจตนานี้บริสุทธิ์ ให้แล้วชื่นใจ นี่ไง ผู้รับรับด้วยความบริสุทธิ์ มันต้อง ๒ ฝ่าย ผู้ให้ก็บริสุทธิ์ ผู้รับก็บริสุทธิ์ นี่คือบุญกุศลที่สุดยอดมากเลย

ผู้ให้ให้บริสุทธิ์ แต่ผู้รับเป็นโจร พระเป็นโจร ผู้รับข้างในเน่าเฟะมารับ บุญนั้นก็เหลือน้อย นี่ไง ที่บอกผู้รับเหมือนเนื้อนา เนื้อนา ถ้าเนื้อนาดีไม่ดี พระไม่สะอาด พระไม่บริสุทธิ์ พระลับหลัง ลับหลังพระทำธุรกิจ พระทำตัวเลวทราม บุญเกิดน้อยนะ อันนี้ผู้ให้ มันต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับด้วยนะ ผู้รับก็ต้องบริสุทธิ์ด้วย อย่างนี้ลักของมา ผู้รับรับด้วยความบริสุทธิ์ รับมาแล้ว รับด้วยความบริสุทธิ์ เอาเข้าเป็นกองกลาง ผู้ใช้ใช้ด้วยความบริสุทธิ์ โอ๋ย! บุญเกิดมหาศาลเลย ทั้งผู้ให้และผู้รับ ไม่ใช่ผู้ให้อย่างเดียวและผู้รับอย่างเดียว ไม่มีผู้ให้ก็ไม่มีผู้รับ มีผู้รับ ไม่มีผู้ให้ ก็ไม่เกิดผล

โยม : อย่างหลวงพ่อไม่รู้อย่างนี้ แล้วผมไปปล้นเขามา ผมก็อยากได้บุญ ผมก็เอาเงินมาถวาย

หลวงพ่อ : ต้องมีส่วน ต้องมี นักการเมืองโกงมาทั้งนั้นน่ะ แล้วทำบุญกัน เราเห็นในสังคมเยอะแยะไปหมด

โยม : อย่างนี้ก็ได้บุญ

หลวงพ่อ : นิดหน่อย บาปก็ได้ บุญก็ได้ ได้ด้วยกัน

โยม : อ้าว! แล้วอย่างนี้หลวงพ่อรู้ สมมุติรู้ว่าไอ้คนนี้เงินไม่บริสุทธิ์แล้วเราจะรับไหม

หลวงพ่อ : มันอยู่ที่จังหวะ จังหวะ ถ้าเราทำ หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเวลาท่านบิณฑบาตไป นี่หลวงปู่มั่น ประวัติหลวงปู่มั่นนะ บิณฑบาตไป แล้วมีอยู่คนหนึ่งเขาใส่บาตร ท่านไม่ให้ใส่บาตร ท่านไม่รับ ท่านปิดบาตรแล้วเดินผ่านไปเลย แตกตื่นเลยนะ ชาวบ้านแอนตี้เลย เพราะอีสานนะ ชาวบ้านก็ว่าเป็นเพราะอะไรๆ พอไปสืบเข้า มันทำตัวไม่ดี มันผิดศีล

ไอ้อย่างนี้ถ้ามันทำไปแล้วนะ พูดถึงนะ ทำไปแล้ว เช่น เขามาถวายของทุกอย่าง เรารับทุกคนเลย อีกคนหนึ่งบอกไม่ให้ใส่อย่างนี้ มันต้องมีความผิด นี่พูดถึงถ้าคนผิด เป็นโอกาสที่จะแก้ไขคนนะ แต่ถ้าไม่แก้ไขคน เขากลับรับ รับเพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันทำชั่วมา มันได้บาปมาแล้ว มันก็ให้ได้บุญบ้างเล็กน้อย สิ่งที่มันเอามานี้ไม่บริสุทธิ์หรอก

ทำบุญ อย่างทำบุญ อย่างเช่นเราจะพูดบ่อย เช่น โยมพาครอบครัวมา โยมมีศรัทธา โยมได้บุญ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เมียไม่ค่อยศรัทธาเลย ไม่ค่อยมีเวลา แต่เพราะเกรงใจมา ได้ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ไอ้ลูกๆ ไม่อยากมาเลย โดนพ่อแม่บังคับมา ได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่เท่ากันนะ หลวงตาบอกว่าเปิดใจไง การเปิดใจ อากาศเข้าได้มาก บางคนไม่เปิดใจ แง้มนิดเดียว อากาศเข้าเฉพาะรูนั้น

อย่าคิดว่าทำบุญแล้วจะได้เท่ากันนะ ไม่ใช่หรอก มันอยู่ที่เจตนา มาแต่ละครั้ง มาแล้ว วันนี้มาแล้ว เวลาไปทำบุญที่วัด เวลาพระเทศน์ด่าหน่อย กลับไปฉุนฉิบหายเลย ทำบุญแล้วกลับบ้านโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง บางคนไปแล้วสุขสบายใจ มันอยู่ที่ใจหมดนะ

ทีนี้เวลาเราพูดกัน เราจะพูดแบบวิทยาศาสตร์ ทำบุญแล้วได้ค่าเท่าไรๆ

ทำบุญแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน ความชื่นใจ ความดูดดื่ม ความอะไร โอ้โฮ! ต่างกัน แต่นี่มันเป็นนามธรรม ทีนี้โยมถามก็ตอบ ตอบยากฉิบหายเลย หมุนอยู่นี่แหละ เพราะไอ้คนตอบมันจะเอารูปธรรมใช่ไหม เอาไปวัดค่าอย่างนี้ๆ เลย...ไม่ ลมพัดมาเย็นแล้ว เห็นไหม ลมไม่มาแล้วร้อน แล้วลมจะมาอย่างไรล่ะ แล้วมันก็ว่าเป็นธรรมชาติของมัน นามธรรม

โยม : อย่างนี้ถ้าผู้รับไม่รู้ก็ถือว่าไม่ผิด

หลวงพ่อ : ถือว่าไม่ผิด เพราะในเนื้อ ๓ ส่วนไง ถ้าโยมนิมนต์เราไปฉันข้าว บอก “หลวงพ่อ พรุ่งนี้ไปฉันข้าวบ้านผม ผมจะฆ่าไก่ แกงเขียวหวานไก่ให้กิน” พอไปถึง ถ้าเราตักข้าวใส่ปากคำหนึ่งเป็นอาบัติปาจิตตีย์คำหนึ่ง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโยมบอกจะฆ่าไก่เพื่อเรา เรารู้

แต่ถ้าโยมนิมนต์ “หลวงพ่อ พรุ่งนี้ไปฉันข้าวที่บ้านผมนะ” โยมไม่พูดอะไรเลย แล้วโยมจะฆ่าไก่ร้อยตัวพันตัวมันเรื่องของโยม เพราะเราไม่รู้ไม่เห็น แต่ถ้าบอก “พรุ่งนี้ไปฉันบ้านผมนะ ผมจะฆ่าไก่แกงเขียวหวาน” รู้ ตักแกงเขียวหวานนั้นใส่ปากคำหนึ่งก็ปาจิตตีย์คำหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ทุกคำกลืน ไอ้รู้เห็นนี่สำคัญ แต่ไม่รู้ไม่เห็นมันสุดวิสัยไหม พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ กฎหมายให้ปฏิบัติได้ไง ไม่อย่างนั้นนะ พระปฏิบัติไม่ได้ เป็นอาบัติอยู่อย่างนั้นน่ะ

โยม : แล้วอย่างเวลาแบบห้ามพระขุดดินอย่างนี้ แต่ว่าเราอยากจะปลูกต้นไม้ตรงนี้ เราจะบอกญาติโยมว่าอย่างไรว่าฉันอยากจะขุดตรงนี้

หลวงพ่อ : พิจารณาให้หน่อย พิจารณาตรงนี้ให้ เขาเรียกกัปปิยโวหาร

โยม : จะบอกตรงๆ ไม่ได้ สั่งให้ขุดนะ ขุดเลยนะ

หลวงพ่อ : ไม่ได้ ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะในนั้นมันมีจุลินทรีย์ มันมีสาร มีสิ่งมีชีวิต แต่เวลาเขาขุดแล้วพระปลูกได้ พระเรารดน้ำต้นไม้ ปลูกต้นไม้ แต่เวลาพวกโยมเขาขุดให้ แต่เราเป็นบุคคลบอกนโยบายจะเอาอย่างไรๆ โยมเขาทำให้หมด แต่พระเรามีหน้าที่รดน้ำต้นไม้

โยม : แต่หลวงพ่อไปชี้ไม่ได้

หลวงพ่อ : ชี้ได้แล้วบอก เว้นไว้แต่สมมุติ อันนี้ภิกษุห้ามจับเงินและทอง เป็นอาบัติปาจิตตีย์ใช่ไหม ทีนี้โยมถวายพระทองคำองค์หนึ่ง พระทองคำ ภิกษุจับพระทองคำเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทีนี้พระทองคำใครจะรักษา พระทั้งหมด สมมุติพระองค์หนึ่ง สมมุติพระองค์หนึ่งให้เป็นผู้รักษา สมมุติคือตั้งหน้าที่ พอตั้งหน้าที่ให้เป็นผู้รักษา ผู้รักษานี้จับพระทองคำไม่ผิดนะ เพราะทำความสะอาดมัน รักษามัน เว้นไว้แต่สมมุติไง ในวัด สมมุติให้พระองค์นี้เป็นผู้รับกิจนิมนต์ ทีนี้พอพระเณรสมัยพุทธกาล ในวัดนี้พอใครจะมานิมนต์ เราจะเป็นคนจัดให้ เขาว่าเว้นไว้สมมุติไง เว้นไว้ใครคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่แทนไง ทีนี้คนที่เว้นไว้แต่สมมุติ ดูวินัย หนังสือ เว้นไว้แต่สมมุติ ความผิดที่เว้นไว้แต่สมมุติ สมมุติตั้งพระให้เป็นหน้าที่ดูแล

โยม : หลวงพ่อ แล้วอย่างจีวรที่เขาว่ามี ๘ ขันธ์ ๙ ขันธ์ มันคืออะไร

หลวงพ่อ : จะบวชหรือ ศึกษาขนาดนี้

๙ ขันธ์ ๘ ขันธ์ ผ้านี่นะ มันได้มา บังสุกุลมา การได้ผ้าบังสุกุลมานะ ผืนผ้ามันไม่เท่ากัน ทีนี้การตัด ๙ ขันธ์ ถ้าผ้ามันเล็ก คือว่าผ้ามันชิ้นเล็กชิ้นน้อยเขาต่อกัน การมาต่อ ถ้ามันชิ้นเล็กมันก็ ๙ ขันธ์ ถ้ามันได้ผ้าชิ้นใหญ่มามันก็เหลือ ๗ ขันธ์ เหลือ ๕ ขันธ์อะไรอย่างนี้ มันผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย

ทีนี้ผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผ้าบังสุกุล พระถือบังสุกุลเป็นวัตร เขาไม่ได้ผ้าด้วยความปรารถนาของเขา พระนี่ไม่ได้ผ้าตามปรารถนานะ คนโน้นถวายนี่ คนนี้ถวายนั่น แล้วเอ็งจะมาตัดให้เป็นอย่างนั้น บางที เราได้ผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมา เราก็ตัด ๙ ขันธ์

คำว่า “ขันธ์” นะ เหมือนแบบว่า จีวร สมมุติ ๒ เมตร คูณเมตรครึ่ง อันนี้มันก็แบ่งกันไปพอดีใช่ไหม แล้วถ้าผ้าเรามันเล็กกว่าอย่างนี้ เราก็แบ่งเป็น ๙ แล้วมันต่อไง คือต่อให้มากขึ้น คือเศษผ้าต่อให้มากขึ้น ไม่เกี่ยวอะไร ๙ ขันธ์ ๑๐ ขันธ์ บางคนตัด ๑๑ ขันธ์ก็มี ๒๑ ขันธ์ก็มีนะ

โยม : แล้วอย่างเวลาถวายอันไหนก็ได้หรือ

หลวงพ่อ : ใช่ อันไหนก็ได้ เพียงแต่ว่ามาถวายแล้วพระเขาไม่ได้ใช้หรอก ถ้าไปถวายวัดอื่นเขาใช้กันนะ เพราะว่าซื้อจากตลาด สังเกตได้ไหม พระเราไม่เคยใช้เลย เราจะตัดกันเอง

โยม : ซื้อก็ซื้อเป็นผ้าขาว

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ที่เขาตัดเสร็จแล้วแต่ยังไม่ย้อม

หลวงพ่อ : ไม่ ซื้อผ้าขาวไปเลย พระตัดกันเอง พระเราไปตัดเองกันหมด พระเราตัดเย็บเองหมด เพราะว่าจะเป็นพระต้องเรียน ต้องศึกษา ต้องรู้ ต้องทำได้ ไม่ใช่พระพิธีกรรม บวชพระมานั่งเฉยๆ ให้คนมากราบมาไหว้ มึงจะบ้าหรือ โยมมีวิชาชีพอะไรโยมก็ต้องมีวิชาชีพของตัวเพื่อเป็นวิชาชีพ เพื่อเป็นหน้าที่การงานใช่ไหม พระไม่รู้ห่าอะไรเลย เป็นพระโกนหัวโล้นๆ เฉยๆ อย่างนั้นหรือ

โยมมองพระผิดแล้ว พระก็มีวิชาชีพของพระนะ พระต้องทำเป็น พระทำไม่เป็นรับกฐินเป็นอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดต้องกะผ้ากี่ขันธ์ๆ กะผ้าเป็น ตัดผ้าเป็น เนา เย็บ เนาไว้ก่อนเพราะมันไม่มีจักร เย็บด้วยมือ ต้องเนาผ้า เนาผ้าให้เป็น เนาไว้ก่อนแล้วเย็บตาม ภิกษุกะผ้าเป็น เย็บผ้าเป็น ตัดผ้าเป็น เนาผ้าเป็น เย็บผ้าเป็น ย้อมผ้าเป็น มีมาติกา ๘ เขาเรียกมาติกา ๘ เหมือนกัน ๘ หัวข้อ ถ้าภิกษุโง่เขลารับกฐินเป็นอาบัติ พระเขามีวิชาชีพ ไม่ใช่บวชมาแล้วซื่อบื้อๆ ต้องทำได้หมด แล้วเดี๋ยวนี้พระมันทำกันไม่ได้ มหานิกายเขาถึงบอกว่าเวลาถวายจีวรให้ถวายผ้าสำเร็จรูป

ทีนี้ในพระไตรปิฎก ไม่มีมาติกา ๘ อานิสงส์กฐินไม่มี ไม่มีมาติกา ๘ มาติกา ๘ เพื่ออะไร เพื่อให้พระสามัคคี ผ้าผืนหนึ่งเย็บด้วยมือ ถ้าวัดไหนไม่มีความสามัคคี คนจะทำไม่ได้ กฐินนี่นะ มีอุบายทำให้ศาสนาเข้มแข็งเยอะมากนะ คราวกรานจีวร คราวกะจีวร คราวเย็บจีวร ในสมณวรรค ไปอ่านสิ ในโภชนวรรค คราวภิกษุมากเข้า คราวกรานจีวร คราวตัดจีวร คราวตัดจีวรให้เสร็จภายในวันเดียว ถ้าพระไม่มีความสามัคคีกัน พระไม่รักกัน พระทำไม่ได้ วินัยบัญญัติไว้มีผลประโยชน์มากเลย แต่เพราะคนมันซื่อบื้อ ประสาเรามันไม่เห็นคุณค่าไง “โอ๋ย! ยุ่งยาก เจ๊กตัดมาเสร็จพร้อม สบาย” แล้วพระก็กลายเป็นง่อยไง

เขาเรียกมีข้อวัตรปฏิบัตินะ การเคลื่อนไหว การหมุนไป มันทำให้กิเลสมันเกาะใจไม่ได้ ข้อวัตรปฏิบัติ เครื่องอยู่ ธรรมะเป็นเครื่องอยู่ ข้อวัตรปฏิบัติเป็นเครื่องอยู่ แล้ววันๆ ว่างๆ มันก็เข้าไปอินเทอร์เน็ตกันไง ไปดูหนังโป๊กันไง ไม่มีอะไรทำ

แต่ถ้ามีอะไรทำ วันทั้งวันพระไม่อยู่เฉยนะ ฉันเสร็จแล้วภาวนา เดี๋ยวบ่ายโมงฉันน้ำร้อน ฉันน้ำร้อนเสร็จทำข้อวัตร ทุกอย่างจะมี พระเคลื่อนไหวตลอด พระไม่ใช่แพะเว้ย

ทีนี้ไอ้ ๕ ขันธ์ ๘ ขันธ์มันเป็นที่เศษผ้า มันเป็นที่ว่าพระขยัน พระไม่ขยัน ถ้าไปเย็บมากตัดมากมันกระดูกมาก ผ้ามันจะแข็งแรง ตอนที่พับกระดูก เขาเรียกกระดูก เหมือนโครงกระดูกเรือ กระดูกของจีวร มันจะมีกระดูก ไม่ได้เอาจีวรมาให้ดู มันจะมีกระดูก เวลาตัดเย็บ มีกุสิ มีอนุวาต มีอะไร โอ้โฮ! พระเราเป็นหมดล่ะ ไม่เป็นก็ให้เป็น

โยม : แล้วอย่างไปซื้อจีวรสำเร็จรูปอย่างนี้ บางทีเขาจะบอกว่ามี ๑ ชั้น มี ๒ ชั้น มันคืออะไร

หลวงพ่อ : สังฆาฏิ สังฆาฏิต้อง ๒ ชั้น กรรมฐานเราสังฆาฏิซ้อน ๒ ชั้น

โยม : เพราะตอนไปซื้อมันก็งง พอเขาถาม ผมไม่รู้เรื่อง

หลวงพ่อ : ไม่รู้เรื่อง เขาถามเพราะว่ามันเป็นกติกาไง มันเป็นกติกา เพราะธรรมดาธรรมยุติเราต้อง ๒ ชั้น เพราะพระพุทธเจ้าให้ใช้ผ้า ๓ ผืนนะ ไม่มีผ้าห่งผ้าห่ม พระธุดงค์มีผ้าห่มที่ไหน ไม่มีอะไรหรอก

ทีนี้ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะบัญญัติ พระพุทธเจ้าจะขึ้นไปบนเขา ห่มจีวรชั้นหนึ่งยังหนาวไหม หนาว ๒ ชั้นก็ยังหนาวอยู่ ถ้า ๓ ชั้น พอใช้ได้ ก็เลยบัญญัติว่าสังฆาฏิต้องเป็น ๒ ชั้น ถ้าจีวรชั้นหนึ่ง ใช้ออกบิณฑบาตเราจะซ้อนผ้าหมด ๓ ชั้นนะ เพราะมันมีบริขาร ๘ ถือผ้า ๓ ผืนไง มีบริขาร ๘ เช้าขึ้นมาต้องห่มออกไป เพราะอรุณขึ้นมันขาดครองไง ถ้าขาดครอง การขาดครอง พระธุดงค์ไปอยู่ในป่าแล้วไม่ห่มไป ขโมยมันลักไป แล้วบัญญัติด้วยเพราะขโมยมันลักไปใช่ไหม เมื่อก่อนผ้าเขาตัดกันตามสบายใช่ไหม แล้วพอโจรมันลักไป ขโมยมันไปเลาะออกมาไปใช้ประโยชน์ได้ สมัยพุทธกาลใช่ไหม พระพุทธเจ้าถึงให้ตัดเป็นขันธ์ ตัดให้มันแหลกเลยไง ตัดเป็นกุสิ ถ้าไปเลาะออกก็ใช้อะไรไม่ได้เลยเพราะมันเป็นเศษผ้า ฉะนั้น จีวรมันตัดเป็นชิ้นๆ ผ้าดีๆ มาตัดเป็นชิ้นๆ ตัดทิ้งเลย แล้วเย็บกลับไปใหม่

ถ้าเราศึกษานิยามสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ สิ่งที่มาที่ไปนะ ซึ้งมากเลย แล้วถนอมรักษาอยากให้เป็นไป แต่ถ้าอายุมากขึ้นมามันก็ไม่ไหว เช่น หลวงตาเมื่อก่อนท่านถือผ้า ๓ ผืน เราไปดูท่านอยู่ เราซักผ้าท่านอยู่ เมื่อก่อน ๓ ผืน เดี๋ยวนี้ไม่ไหวหรอก เพราะท่านแก่เฒ่า พอแก่ขึ้นมามันจะยืนหลักยาก หลวงปู่มั่นท่านถึง ๘๐ นิพพานเลย ท่านรักษาครบทุกอย่าง แต่เราจะเอาชีวิตต่อไปเพื่อประโยชน์โลกเนาะ เราก็ต้องแบบชีวิตเราเอง

โยม : หลวงพ่อ แล้วอย่างเวลานั่งสมาธิ เวลาออกจากสมาธิแล้วลุกขึ้นมาอย่างนี้ บางทีขาก็ชา ขาไม่ชา มันจะเป็นตัววัดได้ไหม

หลวงพ่อ : ไม่ ขาชาไม่ชามันอย่างนี้ ถ้าเรานั่งสมาธิดี จิตมันลงดี มันไม่ชา ถ้านั่งสมาธิไม่ลงนี่ชา เพราะเรากดทับไว้เฉยๆ ไอ้ชาไม่ชามันวัด ทีนี้พอชาไม่ชา เรารู้ใช่ไหม เพราะไอ้อย่างนี้เราจะเลือกไม่ได้ อาหารที่มีรสชาติดีที่สุด เรากินมื้อแรกจะอร่อยมาก มื้อ ๒ มื้อ ๓ ไปมันก็จืดชืด ไอ้ชาไม่ชา พอเรารู้ว่าชา หลวงตาท่านนั่งตลอดรุ่ง บางวันท่านลุกเดินได้เลยเพราะว่ามันสมาธิเข้าได้ง่าย บางวันท่านเคยลุกแล้วล้มเลย ท่านถึงบอกเวลามันชาต้องยืดขาไปก่อน วางไว้ เรารู้นี่ ถ้ามันชา อย่าลุก คือยืดขาให้เลือดลมมันเดินก่อนแล้วก็ลุก ไม่มีอะไรหรอก

โยม : ไม่ เอาตัวนี้เป็นตัวชี้วัดได้ไหม

หลวงพ่อ : ได้

โยม : สมาธิดีๆ ลุกเลย มันไม่มีอะไรเลย

หลวงพ่อ : ใช่ วัดได้ แต่มันเป็นปลายเหตุ แล้ววัดทำไม เดี๋ยวก็ล้ม เราแค่รู้สึกพอ เราลุก ถ้าเรารู้สึกชาก็รู้แล้วนี่ ถ้าเราไม่รู้สึกชา เออ! วันนี้ดี

โยม : ถ้าชามันลุกไม่ได้ ลุกขึ้นไปก็กะเผลก

หลวงพ่อ : ใช่ แล้วกะเผลกแล้วเราก็นั่งให้เลือดลมมันเดินดีก่อน เพื่อไม่ให้ร่างกายเรามันเสียหาย ร่างกายเรา เรือนะ ได้เรือมันคนละลำ แล้วจะพาเรือเข้าฝั่ง จะเข้าได้ไม่ได้ แล้วเรือมันชำรุดต้องปะ ไม่ปะเดี๋ยวเข้าฝั่งไม่ทัน ก็ต้องดูแลมันบ้าง แต่ก็อย่าไปตามใจมัน มันอยากโน่น อยากนี่ไง ไม่ให้ๆ แต่ก็ไม่ทำลายให้มันถึงกับทำอะไรใช้ประโยชน์ไม่ได้ จบ