ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะศรัทธาเช้า

๑ ม.ค. ๒๕๕๒

 

คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เมื่อวานตอนเย็นเขามาถามปัญหาเยอะมาก ส่วนใหญ่แล้วนี่ คนที่มาถาม เขามาถามเอาตอนแก่นะ เมื่อวานมานี่มันเคยปฏิบัติมาทั่ว แล้วไปสร้างวัดมาหลายวัด แล้วก็ไปกันทั่ว แล้วพอเมื่อวานมาถาม

เริ่มต้นปฏิบัติ จะปฏิบัติอย่างไร?

เริ่มต้นปฏิบัติ จะปฏิบัติเริ่มต้นอย่างไร? เพราะปฏิบัติไปแล้วไง มาถามว่าเริ่มต้นปฏิบัติอย่างไร? ต้องกำหนดพุทโธใช่ไหม? เขาบอกต้องกำหนดพุทโธใช่ไหม? ต้องทำ นี่เพราะอะไร? เพราะลองไง ลองไปทั่ว ลองไปหมดแล้ว ลองไปหมดแล้วมันไปไม่รอด พอไปไม่รอดกลับมาแล้วจะเริ่มต้นอย่างไร?

เริ่มต้นอย่างไร? เพราะเราทำแล้วเราทำไม่ได้ผลนะ แล้วเริ่มต้นอย่างไรนี่มัน พอเราจะตอบปัญหาเมื่อวาน เราจะปูพื้นไปอีกยาวเลย ต้องปูพื้นก่อนไง ปูพื้นว่าเวลาพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่ ทอดอาลัยเลย จะสอนเขาได้อย่างไรนี่ แล้วเราคิดว่ามีธรรมะ มันเหมือนเราเลย เราคิดว่านักการปฏิบัตินี่มันไปปั๊มมาไง ในเมื่อมีแม่แบบแล้วก็ปั๊มออกมาเลย ทีนี้ปั๊มออกมาก็นั่งกันอยู่นี่ไง หัวดำๆ นี่ปั๊มออกมา ปั๊มออกมาก็เป็นมนุษย์นี่ไง แต่หัวใจมันปั๊มออกมาไม่ได้

ความรู้สึกนามธรรมนี่ มันหลากหลายมากเพราะอะไร? เพราะพระโสดาบันมันก็มีทั้งหมดหลายระดับ ในพระโสดาบันเองนะ พระโสดาบันเกิดอีก ๗ ชาติ แล้วเกิดนี่ ขนาดของพระโสดาบันมันยังมีระดับของมัน มันละเอียดต่างกัน แล้วอย่างพระสกิทาคา อนาคานี่ มันละเอียดต่างกันนี่ มันลำดับของใจ

เราบอกถ้าย้อนกลับเลย ย้อนกลับไปที่ว่าพื้นฐาน ถ้าพื้นฐานนี่เรามันปฏิบัติแล้วนี่ ปฏิบัติแล้วถ้ามันไม่ได้ผลล่ะ ถ้ามันไม่ได้ผล ทีนี้พอมันไม่ได้ผลนี่เราคิดกันแบบทางโลกไง คิดทางวิทยาศาสตร์ไง ว่าเราจะมีทางเลือกใหม่ๆ แล้วอย่างนี้ชอบมาก ว่าปฏิบัติโดยทางลัดๆ นี่ชอบมาก เพราะทางลัดแล้วสบาย แล้วสบายนะ ก็เหมือนเรานี่ เรานี่เป็นคนที่ไม่รับผิดชอบ ดูสิดูลูกเราแต่ละคน เด็กมันดีนี่โอ้โฮมันดีมากเลย เด็กที่มันไม่เอาถ่าน มันไม่เอาถ่านแล้วมัน บอกอย่างไรก็ไม่ฟังนะ

คำว่าไม่เอาถ่านคือว่าไม่เอาไหนเลยใช่ไหม ไอ้นี่ก็ปฏิบัติไง ว่างๆ ว่างๆ มันไม่เอาถ่านไง คือมันไม่ได้อะไรเลยไง จับอะไรก็ไม่ติดเลยแต่สบายนะ เพราะมันไม่รับผิดชอบ แต่ถ้าคนรับผิดชอบนะ นี่คำว่ารับผิดชอบนี่ เวลาย้อนกลับไปที่เจ้าชายสิทธัตถะ แล้วไปดูพระเวสสันดร รับผิดชอบมาตลอด

พระเวสสันดรนี่ เวลาเขามาขอลูกขอเมีย แล้วคนเป็นสุภาพบุรุษ คนรับผิดชอบ ถ้าคนไม่รับผิดชอบมันให้ได้ง่ายๆ แต่ถ้าคนรับผิดชอบนี่ เวลาให้ไปนี่มันสะเทือนใจไหม? มันสะเทือนใจมากนะคนรับผิดชอบนี่ ของของเรา ของรักของหวงแล้วเขามาขอ แล้วเขาไม่ได้ขอเรา เขาขอลูก ต้องเสียสละ การเสียสละนี่มันสะเทือนหัวใจมาก นี่มันสะเทือนหัวใจ เพราะรับผิดชอบมันถึงเจ็บ ถ้าไม่รับผิดชอบมันไม่เจ็บหรอก คนไม่เอาถ่านนี่มันไม่รับรู้อยู่แล้ว

นี่เรื่องของใจมันเป็นอย่างนั้นไง แต่รับผิดชอบนี่มันสะเทือนใจมาก พอสะเทือนใจเรามันก็ฝังใจมาก พอมันฝังใจมาก ของรักของหวง ของรักของหวงแล้วมันต้องเสียสละออกไป ต้องหลุดมือออกไป สิ่งที่หลุดมือออกไป สิ่งนี้สิ่งที่ออกไป ออกไปเพื่ออะไร? นี่เสียสละอย่างนั้นไป แต่มันได้บารมีธรรมมา สิ่งนี้เป็นบารมีธรรม

ทีนี้พอมาประพฤติปฏิบัติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาออกประพฤติปฏิบัตินี่ อาฬารดาบสนะรับประกันเลย พอเวลาไปฝึกกับอาฬารดาบสนี่ได้สมาบัติ ๘ อาฬารดาบสบอกเลยนี่เป็นศาสดาเหมือนเรา มีความรู้เท่าเรา เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธนะ ปฏิเสธเพราะอะไร? เพราะมันเข้าสงบแล้ว พอมันออกมาแล้วมันก็อันนั้นไง พอออกมาแล้วมันก็กิเลสอย่างเก่า

ปฏิเสธ นี่สิ่งที่ปฏิเสธ อย่างพวกเรานี่ นี่ขนาดที่ว่าอาจารย์ยังไม่เคยค้ำประกันเลย เราไปขอเขาเอง แล้วไปยึดว่าถูกๆ ๆ เอง ขนาดนี่อาจารย์ค้ำประกันเลยนะ ว่าทำเหมือนเรานี่ถูกแล้ว เป็นศาสดาได้อย่างเรา เจ้าชายสิทธัตถะยังไม่ต้องการ ยังมีปัญญาเลือกว่าไม่ใช่ มันก็ย้อนกลับ ไม่ใช่ก็นี่ไงที่เสียสละมา ที่เสียสละลูกสละเมีย เสียสละมา มันมีบารมี มันมีเชาวน์ปัญญา พอมาเจอการสรรเสริญเยินยอมันไม่ฟัง

ไอ้เราไม่ต้องเขาสรรเสริญเยินยอหรอก พยายามจะสร้างภาพอีกต่างหาก เราจะสร้างภาพให้เขายอมรับเลย แต่นี่ขนาดคนยอมรับ ถ้าไม่จริงท่านยังปฏิเสธได้ นี่ถ้าอย่างนี้ปั๊บนี่มันย้อนกลับมาที่เริ่มต้นปฏิบัติ ถ้าเราเริ่มต้นปฏิบัตินะ เราเองนี่เรารู้ เวลาเราทำไปมันได้ผลไม่ได้ผลเรานี่รู้ ถ้าเรารู้นี่มัน เรารู้ใช่ไหม ถ้ามันไม่ใช่ทำไมเราไม่ยอมรับความจริงล่ะ?

ถ้าเรารับความจริงนี่ เวลาปฏิบัติ เวลาเรากำหนดพุทโธ หรือเราตั้งสตินี่ โธ่ คนทำงานมาเหนื่อยทั้งนั้นแหละ ถ้าของจริงนี่ ความจริงมันได้มายาก แต่สิ่งที่ได้ ของจริงได้มายาก ได้แล้วมันของจริงนี่ ได้แล้วมันของจริงๆ นี่เงิน ปัจจุบันดูสิที่ว่าเงินปลอมนี่ แบงก์ปลอมนี่ไม่มีใครอยากได้หรอก ทุกคนอยากได้แบงก์จริง แล้วแบงก์จริงในท้องตลาดมันมีอยู่แล้ว

แต่ของเรานี่เวลาปฏิบัติขึ้นมา ความจริงใจมันก็มีอยู่แล้ว ชีวิตนี่สำคัญมาก ชีวิตนี่สำคัญเพราะอะไร? เพราะขณะที่เราปฏิบัตินะ หรือถ้าเรามีบุญญาธิการนะ มันแค่แวบเดียวนี่มันได้ผลเลยล่ะ เวลาจิตมันมรรคสามัคคีมันรวมลงนี่มันทำลายหมดเลย ถ้ามันทำลายหมดแล้วนี่ นี่แป๊บเดียวแต่ แต่กว่าจะเป็นอย่างนั้นได้ มันต้องมีพื้นฐาน มันมีพื้นฐานของมัน มีพื้นฐานของมันมันต้องสร้างมา ถ้าไม่มีพื้นฐานของมันเลยนี่ไปทำที่ไหน

นี่เราบอกเลยนะ ถ้าจิตสงบนี่ นั่นล่ะคือสถานที่ จิตสงบเข้ามา นั่นคือสถานที่ ที่ทำงานที่จิตมันจะทำงานได้ สถานที่ เราบอกเลย การจะเข้าเอาลูกเสือต้องเข้าไปถ้ำเสือ เด็กมันบอกนะไม่ต้องเข้าก็ได้ เอาเหยื่อล่อเอา (หัวเราะ) แล้วบอกไม่ต้องเข้าเอาเหยื่อล่อเอา เราบอกว่าถ้าเอาเหยื่อล่อเอานะ มันหลอกกินแต่เหยื่อเอ็งหมดเลย เหยื่อเอ็งนี่โดนกินหมดเลย มันไม่ออกมาหรอก

นี่คนเรานี่นะมันคิดแต่เข้าข้างตัวเอง คือว่าไม่ต้องทำสมาธิก็ได้ไง ไม่ต้องเข้าถ้ำเสือ ใช้เหยื่อล่อมันใช้เหยื่อล่อมัน นี่เพราะเราคิดกันอย่างนี้ เวลาเอาเหยื่อล่อเอานี่ เราคิดว่าเอาเหยื่อล่อนะ เสือหรือสิ่งสัตว์มันออกมากินเหยื่อ แต่นี่เราไม่เห็นตัวมันไง ดูสิเวลาธรรมของพระพุทธเจ้านะ เขาบอกว่า น้ำใสจะเห็นตัวปลา พอจิตสงบแล้วจะเห็นกิเลส ทุกคนก็คิดกันอย่างนั้น ภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธไปนะ หรือทำให้จิตมันสงบ พอสงบแล้วนี่รอให้กิเลสมันมาให้เราเชือด

พระนี่ภาวนาติดตรงนี้มาก บางคนนี่นั่งตลอดรุ่งตลอดรุ่งเลย สมาธินี่ดีมาก แต่ไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดปัญญานี่ เราเคยไปคุยกับเขา บอกทำไมไม่ออกวิปัสสนาล่ะ วิปัสสนาไม่ได้ มันต้องรอเหมือนมะม่วงนี่ มะม่วงนี่เวลามันต้องออกดอกใช่ไหม? พอออกดอกแล้วมันก็จะเป็นลูกใช่ไหม? แล้วลูกมันก็จะแก่ไปเอง นี่ความคิดของเราเป็นอย่างนั้น

แต่ความจริงพระไตรปิฎกนี่ ในบาลีพูดอย่างนั้นจริงๆ ว่า ถ้าน้ำขุ่นหรือน้ำที่มันไม่ใสสะอาดนี่เราจะไม่เห็นตัวปลา ต้องทำให้น้ำนี่ใส คือจิตมันใสสะอาดแล้วจะเห็นตัวปลา แต่การเห็นตัวปลานี่ มันเป็นการยืนยัน ถ้าใสแล้วนี่มันต้องวิปัสสนาต่อไป

เราตีความอย่างนั้นนะ ตีความว่าถ้าจิตมันสงบแล้วนี่มันต้องมีงานต่อเนื่องไป แต่นี่ถ้าพวกเราจิตยังขุ่นมัวอยู่ เราคิดว่าถ้าเราทำให้มันใสแล้วเราจะเห็นตัวปลา แต่พอมันใสแล้วมันก็ไม่เห็น เพราะมันเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธินี่ นี่ถ้ามันไม่เห็นกิเลส ไม่เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม โดยจิต

เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม โดยจิตนะ ไม่ใช่เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม โดยสามัญสำนึก โดยเราคิดเอา ถ้าเราคิดเอา พอมันจะเห็นนี่จิตมันต้องมีกำลัง มีอำนาจวาสนา นี่น้ำใสแล้วเห็นตัวปลา พอเห็นตัวปลานี่ เห็นกายนี่ การเห็นกายเห็นเวทนาเห็นจิตเห็นธรรมนี่ การเห็นนี่มันสะเทือน มันสะเทือนมาก อย่างเช่นเวทนานี่ เรานั่งไปนี่เจ็บมากนี่เวทนา อันนี้เวทนานอก เวทนาใน

เวทนานอก นี่ผมขนเล็บฟันหนังเป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา เวทนาก็เหมือนกัน เวทนานี่มันเป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา เป็นได้ทั้งสมถะ ดูสิเวลาเราเจ็บปวดนี่ เรามีบาดแผลนี่ ร่างกายนี่มันจะเจ็บมาก ร่างกายนี่เจ็บ นี่เวทนากาย เวทนาจิต เวทนากาย เจ็บไข้ได้ป่วยนี่เวทนากาย เวทนาจิต เราอยู่เฉยๆ ไม่มีอะไรเลย ทำไมมันทุกข์ล่ะ? มันเศร้าหมอง เวทนาจิต จิตมันก็มีเวทนา ความเจ็บปวดของหัวใจไง ความเจ็บปวดของร่างกาย ความเจ็บปวดของหัวใจ

นี้เวลาเรานั่งไปมันเกิดเวทนา ถ้าเกิดเวทนานี่ เวลาเรารับรู้เวทนา ถ้าจิตมันไม่สงบจิตมันไม่มีกำลัง มันสู้เวทนาไม่ได้ มันสู้ความเจ็บปวดนั้นไม่ได้ เราเจอความเจ็บมันจะทนเอาเฉยๆ การทนเอาเฉยๆ นี่บางทีมันหยุดได้ การทนเอาเฉยๆ นี่คือขันติบารมี บารมีธรรม มันไม่ใช่วิปัสสนาธรรม

ขันติธรรม บารมีธรรม ศีลธรรม ธรรมมันคนละชั้น แต่ถ้ามันเป็นวิปัสสนาธรรม พอมันเกิดเวทนา แล้วจิตมันสู้กับเวทนา แล้วมันปล่อยเข้ามา คือว่า จริงๆ แล้วนี่จะเป็นเวทนากายหรือเวทนาใจก็แล้วแต่ มันเพราะจิตโง่ จิตมันถึงไปรับรู้ ถ้าจิตมันไม่โง่นะ มันมีปัญญาของมันนะ ร่างกายนี่มันเจ็บปวดไม่ได้ ร่างกายของคนนี้เจ็บปวดไม่ได้ เนื้อเจ็บปวดไม่เป็น เอ็นเจ็บปวดไม่เป็น ทุกอย่างเจ็บปวดไม่เป็น แต่เพราะมันมีเนื้อมีเอ็นมีต่างๆ

เพราะการมีจิต จิตมันเผาผลาญร่างกาย ร่างกายนี่การไหลเวียนของโลหิต การไหลเวียนของมันดี แล้วพอมันนั่งทับนี่ การไหลเวียนมันไม่ดี มันมีการไหลเวียน แล้วนี่ความรู้สึกของจิตมันไปรับรู้ ถ้าจิตไปรับรู้นี่ ไปรับรู้แล้วมันไปวิตกกังวล ถ้ามันรับรู้แล้ว แล้วมีปัญญาของมันนะ มันเป็นธรรมชาติของมันใช่ไหม ถ้ามันปล่อยเข้ามามันก็สักแต่ว่า แล้วมันปล่อยเข้ามานี่มันรวมลงเลย ถ้ารวมลงนี่ เห็นเวทนา กาย เวทนา จิต ธรรม

การต่อสู้กับเวทนา เวทนานอกเวทนาใน เวทนาในเวทนา ถ้ามันสู้ไป มันต่อสู้ไป นี่ถ้ามันทำอย่างนี้ ของเรานี่นะ เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เรายังไม่เข้าใจ และเรายังไม่เห็น เราก็ศึกษาแล้วนี่มันเป็นทฤษฎีเราก็เข้าใจอยู่ แต่ แต่อุปาทานยังมีความยึดของมันอยู่ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาของเราเอง แล้วมันปล่อย จิตมันปล่อยเองนี่ อุปาทานมันจะมีได้อย่างไร? ในเมื่อจิตมันรู้เองจิตมันปล่อยเอง

นี้การสู้กับเวทนานะ ถ้าการสู้กับเวทนา การปฏิบัติใหม่ๆ มันสู้ไม่ไหว พอสู้ไม่ไหวนี่เราพุทโธ พุทโธ พุทโธ พอพุทโธนี่จิตมันจะหด หดเข้ามารับรู้ที่พุทโธ จิตนี่ ความรับรู้นี่เหมือนกระแสน้ำนี่ เราปล่อยไปกว้าง แล้วเราบังคับน้ำให้ไปทางใดทางหนึ่ง ถ้าน้ำไปทางใดทางหนึ่ง อีกทางที่มันเจ็บปวดมันไม่ไป น้ำนี่มันจะมารับรู้ติดกับพุทโธ

พุทโธ พุทโธนี่คือขันติธรรม มันไม่ใช่วิปัสสนา มันเป็นขันติธรรม เพราะมันดึงความรู้สึกมา เพราะคำว่าดึงความรู้สึกมานี่มันบังคับน้ำมา น้ำมันยังไม่สะอาดเพราะมันทำความสะอาดของน้ำไม่ได้ เราบังคับน้ำเปลี่ยนทิศทางเท่านั้นเอง แต่ถ้าในการต่อสู้ของเรานี่ เราพิจารณาไปนี่ จิตนั้นมันจะสะอาดขึ้นมาได้มันปล่อยวาง มันปล่อยวาง มันปล่อยวาง นั่นคือวิปัสสนา มันไม่ใช่บังคับให้น้ำมันเปลี่ยนทิศทาง แต่มันสะอาดโดยตัวของมันเอง มันเข้าใจโดยตัวของมันเอง มันจะเข้าใจ แล้วมันปล่อยของมัน

นี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เวทนามันมีอยู่ แต่นี่ทำไมเราถึงวิปัสสนากันไม่ได้ ทำไมเราถึง ขณะความที่เจ็บปวดมันมีอยู่นี่ เรายังสู้มันไม่ได้ เรายังรับรู้มันไม่ได้ เรายังปล่อยวางมันไม่ได้ เพราะกำลังมันไม่พอ ๑. กำลังไม่พอ ความเข้าใจของมันไม่พอ ๒.มันเป็นสิ่งที่สร้างสมมา คือบารมีของเราสร้างสมมาได้แค่ไหน ได้แค่ไหน ถ้าได้แค่ไหนจิตมันดีกว่านี่มันจะพิจารณาของมัน แล้วมันจะเข้าใจของมัน

น้ำหยดลงหิน ทุกวันหินมันยังกร่อน ในการปฏิบัติของเรานี่ ถ้าเราต่อสู้ เหมือนนักกีฬาเลย บางคนนี่พรสรรค์ดีมาก แต่ไม่หมั่นฝึกซ้อม เขาก็ไปได้แกร็นๆ บางคนนี่พรสวรรค์ไม่เท่าไรเลย แต่ขยันหมั่นเพียรนี่ เขามีโอกาสมากนะ นี่ก็เหมือนกันความเพียรของเราไง ทุกคนจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ความเพียรของเรา ความวิริยะอุสาหะของเรานี่ การฝึกฝนของเรา ประสบการณ์ของจิตมันต้องมี สิ่งนี้มันต้องมี

นี่โอกาสไง ที่บอกชีวิต ชีวิตสำคัญ สำคัญตรงนี้นะ สำคัญที่เขามีชีวิตแล้วนี่มีการฝึกฝน มีการ เหมือนทางโอกาสเลยโอกาสทางโลกนี่ เขาทำโอกาสกันได้ขนาดไหน นี่ก็โอกาสของเรา โอกาสของเรานี่ ถ้ายังมีลมหายใจเข้าและลมหายใจออก มีลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แล้วจิตมันเกาะอยู่กับพุทโธ อยู่กับความรู้สึก ถ้าจิตมันเกาะอยู่กับลมหายใจและลมหายใจออก เหมือนเด็กหัดเดิน เด็กหัดเดินมันจะเกาะไม้ของมันไป

นี่ก็เหมือนกันจิตมันหัดเดิน จิตมันหัดเดินนี่มันเกาะคำบริกรรมไป เกาะคำบริกรรมไป พอมันสงบเข้ามา มันสงบเข้ามา นี่สิ่งที่สงบเข้ามา มันมีความต่าง ความต่างของมันมี เพราะมีสติมันมีความต่างของมัน ถ้าความต่างอันนี้มันเกิดขึ้นมานี่ มันมีกำลังของมัน แล้วถ้ามันออกมาดูเวทนา ออกมาพิจารณา อะไรเป็นเวทนา เอ็นไม่เป็นเวทนา เนื้อไม่เป็นเวทนา ทุกอย่างไม่เป็นเวทนา แล้วเวทนามันมาจากไหน? เวทนามันมาจากไหน?

เวทนามันเกิด อุปาทานของจิตมันไปยึด ถ้ามันปล่อย มันปล่อยนอกปล่อยในนะ ปล่อยทั้งร่างกายด้วย ปล่อยทั้งจิตใจด้วย แล้วนี่กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ นี่ แล้วมันรวมตัวลง จิตมันรวมตัวลงอย่างไร? มันปล่อยอย่างไร? มันปล่อยขาดเลย สิ่งนี้มันปล่อยขาด นี่ไงธรรมมันเกิดอย่างนี้ ถ้ามันเกิดอย่างนี้ปั๊บนะเข้าใจเวทนา

เวลาครูบาอาจารย์ท่านพิจารณาแล้วท่านบอกว่า

“เวลามันจะตายนี่มันจะเอาเวทนาหน้าไหนมาหลอกเราวะ”

เวทนามีเท่านี้ เวทนาถึงที่สุดนะมันจะบังคับให้เราตายไง สิ้นสุดแล้วเราจะเป็นจะตาย แต่ถ้ามันจะเป็นจะตายขึ้นมานี่ เราจะเป็นจะตายเพราะ เพราะเราโดนหลอกไง แต่เวลาถ้ามันชนะขึ้นไปแล้วนี่ เวทนาขาดไปแล้วใครตาย อะไรเหลือ อะไรตาย นี่ถ้ามันได้เข้าไปต่อสู้นะ นี่เหมือนกับทหารไง ทหารถ้ายังไม่ได้ออกสงครามนะ ทหารนี่ฝึกมาทั้งชีวิตเลย แต่ไม่เคยออกสงครามรบเลยนะ ทางประสบการณ์ของเขาจะไม่เหมือนกับทหารที่เคยออกรบ

นี่ก็เหมือนกัน ทางการศึกษาเรา เรารู้หมดเลย แต่จิตของเรานี่ยังไม่เข้าไปเผชิญกับ สงครามธาตุ สงครามขันธ์ไง สงครามธาตุสงครามขันธ์นะ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ที่มันอยู่กับเรานี่ แล้วเวลาธรรมะมันเกิดมันเกิดสงคราม สงครามระหว่างกิเลสกับธรรมมันต่อสู้กัน แล้วกรรมการคือใจเรานี่มันเป็นกรรมการรับรู้

เวลาจิตมันวิปัสสนาไปนี่มันข้ามพ้นทั้งดีและชั่ว สุขและทุกข์มันผ่านหมด เพราะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ ไม่มีอะไรคงที่เลย มันแปรสภาพตลอด แล้วแปรสภาพตลอด นี่โดยสามัญสำนึกใช่ไหมที่เราเคลื่อนไหว เราเปลี่ยนอิริยาบถ ก็เพราะมันเจ็บไง เพราะมันเมื่อยไง มันเป็นสัญชาตญาณ เราทำจนเป็นความเคยชิน ความเคยชินว่าสิ่งนี้มันเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งๆ ที่มันเป็นความจริงอยู่ แต่เราเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่เวลาเราจะต่อสู้มันจริงๆ ขึ้นมา กลับไม่เอาไง กลับว่ามันเป็นเรื่องการหาทุกข์ใส่ตัว

อ้าว ก็อยู่เฉยๆ มันก็สบายอยู่แล้วไง ทำไมจะต้องมาต่อสู้กับมัน ถ้าไม่มีการต่อสู้กับมัน ไม่มีการใช้หนี้ เราจะพ้นจากหนี้ได้อย่างไร? ไม่มีการต่อสู้เราจะพ้นจากกิเลสได้อย่างไร ก็กิเลสมันอาศัยตรงนี้หลอกเราไง อาศัยตรงนี้ เวลาเอาจริงเอาจังขึ้นมานะ มันก็บอกว่าเดี๋ยวจะพิการ เดี๋ยวจะเจ็บไข้ได้ป่วย เวลามันเอาชีวิตเราหมดไปวันๆ หนึ่ง เวลามันเอาให้เราหลงเชื่อมันไปนี่ มันไม่ได้บอกเลยว่า ชีวิตเอ็งจะสั้นไปเรื่อยๆ นะ มันไม่ได้บอกเลย แต่เวลาเราจะทำจริงทำจังขึ้นมา มันบอกว่าเดี๋ยวเราจะมีปัญหา

นี่มันหลอกอย่างนี้ปั๊บเราก็เชื่อมัน กิเลสมันเป็นเรา เราเป็นกิเลส พอกิเลสเป็นเรานี่มันจะหาหนทางของมัน หลอกลวงเราตลอดไป พอหลอกลวงตลอดไป เราก็ทุกข์ตลอดไป ทุกข์นะ ทุกข์โดยสามัญสำนึกในหัวใจ อาลัยอาวรณ์นี่เป็นทุกข์ตัวสุดท้าย ดูสินางตัณหา ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่พระอนาคาละได้ เพราะพระอนาคาในความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่เป็นแม่ทัพ แต่แม่ทัพนี่มันมีพลังงาน พลังงานคือตัวอวิชชา

นี่เวลาต่อสู้กับความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโกรธ ความหลง ความไม่เข้าใจนี่ พระอนาคาพ้นจากข้อมูล ข้อมูลในหัวใจออกไปหมดเลย ถึงที่สุดเข้าไปนี่นะ มันเป็นพลังงานเฉยๆ ความอาลัยอาวรณ์ตัวนั้นนี่ มันทุกข์ ทุกข์อันละเอียดไง นี่โลกนี้ว่างๆ ไอ้ว่างๆ นี่มันมีความเฉาในหัวใจ จะว่างขนาดไหนนี่ใจมันจะเฉา มันจะอยู่ของมันไม่ได้

พลังงานอันไหนที่มันคงที่ มีพลังงานอะไรบ้างในโลกนี้คงที่ แต่พลังของจิตมันมหัศจรรย์ มันสันตติ คือว่ามันสืบต่อ พอมันสืบต่อนี่ อย่างเวลามันเฉานะ เวลามันเฉามันอาลัยอาวรณ์มันก็มี มันเป็นความรับรู้คือความทุกข์อันละเอียด ความทุกข์นะ แค่ในตัวมันเองจริงๆ ไอ้ว่างๆ ว่างๆ นี่ พลังงานอันนั้นมันยังอาลัยอาวรณ์เลย

นี่มันถึงสัจจะความจริงมันเป็นแบบนี้ แต่เราคุ้นเคยกับมัน เราอยู่กับมันนะ เราอยู่กับมันเลยทำสิ่งนี้เป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา มันก็เป็นอย่างนั้นแก้ไม่ได้ นี่เห็นไหมมันถึงคำว่าที่มันละเอียดมันละเอียดอย่างนี้ มันละเอียดที่ว่าสิ่งที่ มันเหมือน เหมือนของเราเลยเห็นไหม เวลาเราพูดธรรมะเสมือนจริง เหมือนธรรมะเลย คิดได้รู้ได้เหมือนเลย แต่ไม่จริง

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เพราะคำพูดออกมานี่มันเป็นคำพูดมันเป็นกิริยาเท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช่เป็นกิริยาอย่างนี้ แต่กิริยาอย่างนี้มันเป็นการแสดงธรรม มันเป็นการสื่อ เป็นการให้เราเข้าใจ แล้วทวนกระแสกลับ ทวนกระแสกลับ ทีนี้พอใครทวนกระแสกลับ คนนั้นจะรู้ พอคนนั้นจะรู้นะ นี่มันรู้มาในใจ พอรู้ในใจ แล้วจะรู้ จะรู้ได้อย่างไร? ถ้าไม่มีการกระทำ ไม่มีความเป็นไปมันจะรู้ได้อย่างไร?

ความที่ว่ามันต้องสำรอก มันต้องคายออก คายกิเลสออก กิเลสนี่มัน ดูสิน้ำนี่ น้ำพูดถึงอยู่ในแก้วนี่ ถ้าเราไม่มีสีน้ำเต็มแก้วเลย ถ้าเป็นน้ำสะอาด เรานึกว่าไม่มีน้ำในแก้วนั้นเลย พอเติมสีลงไป จะสีอะไรก็แล้วแต่ น้ำมันจะเป็นสีนั้น กิเลสเป็นอันนั้นไง กิเลสเหมือนสี สีที่มันอยู่ในใจนี่ ผ่องใสผ่องใส กิเลสมันอยู่ในนั้น กิเลสมันอยู่ในใจเรานี่ มันเป็นอนุสัย มันนอนมากับใจ

แล้วเวลามันออกมันออกอย่างไร? เวลามันปล่อยมันปล่อยอย่างไร? มันต้องปล่อยได้ พอมันปล่อยนี่มันจะเฉา มันจะหงอยเหงาขนาดไหนก็แล้วแต่ นี่ความทุกข์อันละเอียด แล้วที่ความทุกข์อันละเอียดนี่มันอยู่กับใจ แต่นี่ความทุกข์ของเรานี่มันเป็นความทุกข์ที่ความคิด ความคิดเห็นไหม นี่ตั้งอนาคาขันธ์อันละเอียด ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลางและขันธ์อย่างหยาบ

สิ่งอย่างหยาบๆ เลยนี่ ความคิดนี่ ความคิดนี่มันมีหลายขั้นตอน ขันธ์อย่างกลาง เวลาเราพิจารณาไปนี่มันความคิด นี้ความคิดนี่ นี่ขณะที่พิจารณาขันธ์นะ พิจารณาเรื่องขันธ์ต้องขาด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ นี่ขันธ์มันขาด แต่ในปุถุชนเรานี่ ความคิดนี่มันเกิด-ดับ ไม่ใช่ขันธ์ขาด เวลาความคิดดับนี่ ความคิดที่มันคิดแล้วไม่คิดนี่ ไม่ใช่ขันธ์ขาด มันเหมือนกับข้อมูลมันเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนั้นล่ะ แต่มันไม่ขาด นี่ที่เราดูความคิด ความคิดกันนี่มันไม่ขาดหรอก ความคิดนี่มันเกิดดับ ความเกิดดับแต่ถ้าเวลาเราวิปัสสนานี่ไม่ใช่เกิด-ดับ วิปัสสนานี่ไปดูเหตุให้เกิด เหตุให้ดับ

เหตุให้เกิดนี่ ทำไมมันถึงเกิด ความคิดนี่มันคิดมาจากไหน โดยธรรมชาติของมันความคิดนี่เกิดจากสัญญา เกิดจากข้อมูล สังขารมันปรุงมันแต่งความคิดนี่ เกิดจาก ถ้า ดูสิ ถ้าเรามีวิชาชีพอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราไม่ได้ศึกษาทางทฤษฎีมานี่ เราคิดเรื่องนี้ไม่เป็น แต่ถ้าเราเรียนทฤษฎีมา ทางวิชาการมาทางไหนก็แล้วแต่ จะคิดทางนั้นด้วยความคล่องตัวมาก คล่องตัวมากเพราะอะไร? เพราะเราได้ศึกษาทฤษฎีนั้นไว้ในสมอง เวลาเราเอาสมองนั้น เข้าไปตรึกในเรื่องนั้น มันก็คิดเป็นเรื่องนั้นออกมา

พอเราคิดเรื่องนั้นออกมานี่ มันคิดจากข้อมูลของเรา นี่คิดจากสัญญา นี่คิดจากสัญญา แล้วคนถ้ามีวิชาการ เขาศึกษามาทางวิชาการ วิชาชีพทางอื่น เขาก็มีมุมมอง มีความคิดไปทางอื่น มันเกิดดับเหมือนกันหมดเลย เพียงแต่ว่ามันมาจากต้นขั้วของใคร? มันมาจากมุมมองของใคร? มันมาจากวิชาชีพของใคร?

ฉะนั้นถ้ามันเกิดดับอย่างนี้ มันเกิดดับโดยข้อมูล โดยวิชาชีพ แต่มันไม่ใช่เกิดดับด้วยสิ่งที่ทวนกระแส คือมรรคญาณที่ไปทำลายมัน จะต้องทำลายเลย ทำลายตรงไหน ทำลายสิ่งการเกิดดับนี่

ดูอย่างพลังงานนี่ ไฟฟ้านี่มันไปตามสื่อ สุดท้ายมันไปแสดงออกที่ความสว่างนั้น หรือเข้าไปที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น สิ่งนี้มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติของมัน แล้วเวลาไฟมันดับไปนี่มันก็ไม่มี มันก็ไม่ไป ความเกิด-ดับมันก็เป็นอย่างนั้น แต่เวลาปัญญามันเกิดมันไม่ใช่เป็นอย่างนั้น มันต้องมีที่มาที่ไป แล้วไฟฟ้านี่ดูสิไฟฟ้าที่เราใช้งานนี่นะ ไฟนี่ถ้ามันไปตามสื่อนี่มันจะเป็นประโยชน์นะ ถ้ามันลัดวงจรล่ะ ถ้ามันรั่ว เราไปจับมันล่ะเราตายไหม?

ความคิดก็เหมือนกัน ความคิดเวลามันไปนี่ ไฟฟ้ามันไปตามธรรมชาติ นี่ๆ ธรรมชาติของมัน ที่เวลาไฟมันไปนี่ พลังงานมันออกไป มันเป็นประโยชน์อย่างนั้น นี่ความคิดของเรานี่ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น แต่มันมีการลัดวงจร มันมีกิเลสเราไง มันมีสิ่งที่เข้าไปลัดวงจรนั้น แล้วถ้าเราเข้าไปนี่ ความคิดคืออะไร? อ้าว ความคิดเป็นอะไร? ความคิดมันเกิดมาจากไหน?

พอมันจับได้ ความคิดเป็นรูป ความคิดเป็นความรู้สึกเป็นอารมณ์ อารมณ์นี้ประกอบไปด้วยอะไร? ในอารมณ์นี้ประกอบไปด้วยอะไร? ไฟฟ้าที่มันมานี่ พลังงานมัน กำลังมันมีเท่าไร แรงส่งกำลังไฟฟ้ากำลังมันเท่าไร นี่ก็เหมือนกัน พอความคิดนี่มันคิดเกิดมานี่ มันเกิดมาจากอะไร? ความคิดเกิดมานี่ นี่ความคิดเหมือนกัน ถ้ามันจับได้มันเป็นอารมณ์ มันเป็นรูป

รูป ในรูปนั้นมีอะไร มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ ถ้าไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีส่วนประกอบอย่างนี้ ความคิดเกิดขึ้นมาไม่ได้ ความคิดมันหมุนไปไม่ได้ ความคิดนี่มันหมุนไม่ได้นะ แล้วถ้าพอจิตมันสงบนะ พอเราใช้นี่ความคิดนี่เราทันมัน มันปล่อย มันปล่อย มันปล่อยเข้ามา พอปล่อยเข้ามานี่จนเห็นจิต เห็นอาการของจิต คือจิตเห็นความคิด ถ้ามันจับอย่างนี้ได้ มันถึงวิปัสสนาได้

ถ้ามันจับไม่ได้ มันก็เหมือนไฟฟ้านี่ มันไม่มีชีวิตใช่ไหม ไฟฟ้านี่มันไปตามสื่อ แล้วพลังงานมันก็หมดไป แล้วมันก็ไปอย่างนั้นตลอดเวลา ความคิดเราส่งออกตลอดเวลา โดยธรรมชาติของปุถุชน แต่เวลาเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา อบรมสมาธิเข้ามา เราไม่ใช่ดูมันเกิดดับ เราอบรมสมาธิ คือปัญญาเราไล่ความคิด เห็นความคิดนี่เป็นโทษ

รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันเกิดเพราะรูปกระทบ มันพอใจไม่พอใจสิ่งใดนี่ พอมันเกิดมันเกิดอารมณ์ ถ้าเราเห็นโทษของมัน เห็นโทษของมัน นี่กำปั้นทุบดินนะ เห็นความเกิด-ดับนี่เป็นกำปั้นทุบดิน ไม่ใช่ปัญญา มันเป็นปัญญาวิชาชีพเหมือนกัน อย่างที่เราใช้ เราใช้เห็นความเกิด-ดับนี่เป็นโลกียปัญญา เป็นวิชาชีพ เป็นปัญญาจากสมอง

แต่เริ่มต้นของเรานี่ เราเริ่มต้นมาจากศูนย์ เราเริ่มต้นจากมนุษย์ เราก็ต้องเริ่มต้นมาจากสมองก่อน เพราะมันเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เราปฏิเสธความเป็นมนุษย์ไม่ได้ เราปฏิเสธความคิดไม่ได้ เราปฏิเสธพลังงานของใจไม่ได้ ในเมื่อเราปฏิเสธไม่ได้ อันนี้มันเป็นสามัญสำนึกของเรา

แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ทวนกระแส พอทวนกระแสนี่ เราใช้ปัญญาของเรานี่ไล่เข้าไป ใช้ปัญญาเพราะเราเชื่อ เรามีศรัทธา เชื่อเอาความคิดไล่ความคิดเข้าไป พอไล่ความคิดเข้าไป พอไล่ความคิดเข้าไป นี่ความคิดมันเกิดจากอะไร? เกิดจากรูป รส กลิ่น เสียง เกิดจากข้อมูล พอมันไล่เข้าไปนี่มันเห็นโทษของมัน

นี่ความเกิด-ดับอย่างนี้มันเป็นสมถะ มันเป็นปัญญาอมรมสมาธิไง มันเป็นกำปั้นทุบดิน พอมันสงบเข้ามาบ่อยๆ สงบเข้ามาจนมันมีหลักของมัน หลักอันนี้ ถ้าหลักอันนี้ จิตเห็นอาการของจิต ถ้ามันสงบเข้ามาโดยมีสติ เพราะเราใช้ปัญญาไล่เข้ามานี่มันจะมี นี่ที่ถ้ำ ที่ถ้ำคือว่าเราจะไปเอาลูกเสือนี่ ถ้าเราจะไปเอาลูกเสือนี่ มันจะมีถ้ำของมัน คือจิตมันเกิดจากที่นี่ ดับที่นี่ เสือมันออกมาจากถ้ำนี้ เวลามันกลับ มันกลับเข้าถ้ำนี้ พอเราไปเห็นที่ถ้ำนี้ปั๊บนี่ เราจะจับมันได้ พอเราจับมันได้ปั๊บนี่ จิตเห็นอาการของจิต คือตัวเราเห็นความคิด ว่าอย่างนั้นเลย

คือตัวเราเห็นความคิด ตัวเรานี่เห็นอารมณ์เป็นความรู้สึก จับความคิดได้ พอจับความคิดได้ ถ้าเรามีกำลังของเรา เราจะแยกเลยนะ ในความคิดนี้ประกอบไปด้วยอะไร? ถ้าความคิดมันเกิดดับใช่ไหม นี่อารมณ์มันเกิดดับใช่ไหม ถ้าเราจับความคิดได้ เราจะแยกความคิดได้ว่าในความคิดนั้นมันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

แล้วมันประกอบไปด้วย แล้วสิ่งที่มันประกอบไปด้วยนี่เหมือนเชือกเส้นหนึ่ง มันมีเชือก เขาฟั่นเป็นเชือกมา โดย ๕ เส้นฟั่นเป็นเส้นเดียวกัน เส้นมันมีกำลังโดยที่เราไม่สามารถทำให้มันขาดได้ เราฟั่นเกลียวเชือกนั้นออกให้มันเป็น ๕ เส้น ให้มันเป็นเส้นเล็กลง นี่แล้วเราใช้ปัญญาเข้าไป เชือกที่มันฟั่นเป็นเกลียว แล้วเราคลายออก มันจะไม่เป็นเชือก

อารมณ์ความคิด ถ้าเราจับได้เราแยกมันออกไง ไอ้ที่มันพอใจไม่พอใจ อารมณ์นี่ อันนี้เวทนา นี้พูดนี่ พูดอย่างนี้อธิบายอย่างนี้ ถ้าคนจิตไม่สงบมันจับไม่ได้ มันบอกความคิดอารมณ์นี่มันแยกได้อย่างไร? แยกได้เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนประกอบไง นี่ความที่มันพอใจไม่พอใจนี้เป็นเวทนา ความคิดอารมณ์นี้เป็นรูป แล้วเวทนากับรูปนี่มันเกิดจากอะไร? มันเกิดจากข้อมูล ข้อมูลข้อเปรียบเทียบ

เขียว เหลือง แดง ใครเป็นคนแยก? สีอะไรคือเขียว? สีอะไรคือเหลือง? ถ้าเขาเปลี่ยนกลับ เขาสมมุติว่าเขียวเป็นเหลือง หรือเหลืองเป็นเขียวนี่ มันก็ต้องเรียกมุมกลับ นี่คือสมมุติว่ามันแบ่งแยก นี่คือข้อมูล พอข้อมูลมันรับรู้ข้อมูลปั๊บ รับรู้ข้อมูลมันต้องมีสังขารปรุง สังขารปรุงคือพลังงาน คือความคิดที่มันปรุงขึ้นมา แล้วมีวิญญาณ วิญญาณคือว่าสิ่งที่ให้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี่รวมกัน รวมกันเป็นอารมณ์ รวมกันเป็นความรู้สึก ออกมาเป็นรูป

นี่พอเราแยกไป พอมันแยกออกไปนี่ พอมันแยกออกอารมณ์เกิดไม่ได้ คือความคิดมันเกิดไม่ได้ กระบวนการของความคิดคือพลังงาน คือสื่อไฟฟ้านี่เราตัดตอนมัน ไฟฟ้านี่ถ้ามันสะดุด ไฟฟ้านี่มันจะไปไม่ได้ ไฟฟ้ามันจะไปกับสื่อไม่ได้ นี่ไฟฟ้ามันจะไปสื่อได้มันต้องสะดวก มันต้องมีพลังงานของมัน ไฟฟ้ามันถึงจะไปได้ ความคิดถ้าเราแยกออกมา มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?

อันนี้มันแค่ใช้ปัญญานะ ถ้าปัญญาแยกความคิดนี่ นี่ๆ วิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาเกิด วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า แต่นี่มันการปล่อย การที่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ไปเห็นโทษมันก็หยุดเป็นสมาธิ เวลาวิปัสสนานี่เพราะมันมีสมาธิ มันถึงไปใช้ปัญญาเข้าไป มันเอาอารมณ์นี่แยกออกเป็นส่วน พอแยกออกเป็นส่วนนี่ ปัญญามันแยกเป็นส่วน มันเห็นความคิดเรานี่กระจายออก เห็นความคิดเรา เราคิดแยกมันออก ให้มันกระจายออก พอกระจายออก สิ่งที่ความคิดมันเป็นรูปขึ้นมานี่ มันเอาอะไรสมานมัน ก็สังโยชน์ไง ก็ความต้องการไง

พอมันเห็นบ่อยครั้งนี่ เขาเรียกตทังคปหาน กับสมุจเฉทปหานนะ มันไม่ใช่เกิดดับเกิดดับที่ไปเพ่งกันบ้าบอคอแตกอย่างนั้นหรอก มันต้องมีเหตุมีผลของมัน อาหารที่กินเข้าไปนี่ มันไม่รู้จักรสจักชาติมันเลยเหรอ อาหารที่กินเข้ามานี่ รสชาติเราก็ต้องรู้ว่าอาหารรสชาติมันเป็นอย่างไร? รสชาติอย่างไร รสมันเป็นคุณเป็นโทษกับร่างกายมันเป็นอย่างไร?

นี่ก็เหมือนกัน ความคิดที่มันเกิดขึ้น ความคิดถ้ามันเกิดจากกิเลสมันจะให้โทษ ความคิดขันธ์เหมือนกัน แต่มีสมาธิเป็นเครื่องรองรับนี่มันเป็นวิปัสสนา มันเป็นปัญญา ความคิดอันหนึ่งถ้ามีสมาธิ มรรคญาณมันสมดุลนี่มันจะเป็นปัญญา เป็นสัมมาทิฐิ เป็นมรรคญาณ ความคิดอันหนึ่ง เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะมันไม่มีสมาธิ เกิดจากมุมมอง เกิดจากข้อมูล เกิดจากสมอง

ความคิดอันหนึ่งนี่มันเป็นของกิเลสใช้ ความคิดอันหนึ่งมันเป็นของปัญญาใช้ ตัวแบ่งแยกคือสมาธินี้ไง ตัวแบ่งแยกคือข้อเท็จจริงที่มันแบ่งแยก แบ่งแยกอารมณ์ความรู้สึก แล้วมันวิปัสสนาเข้าไปมันปล่อยเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป ปล่อยเป็นชั้นเป็นตอน ถึงที่สุดมันขาดนะ พอขาดขึ้นไป พอวิปัสสนาเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จากขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด เข้าไปนี่เป็นชั้นๆ เข้าไป จนถึงที่สุดขันธ์ไม่มี เป็นตัวพลังงานเฉยๆ

ปัจจยาการนี่ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ ส่วนสิ่งที่เป็นปัจจยาการ นี่ตัวที่เป็นอาลัยอาวรณ์ ตัวที่เป็นจิตอยู่ข้างในหัวใจ ความคิดของเราเหมือนกัน มันหยาบมันละเอียดนัก ในการประพฤติปฏิบัติมันถึงมีขั้นตอนของมัน ไม่ใช่ว่ามันจะมีกำปั้นทุบดินอย่างนั้น เป็นกำปั้นทุบดินต้องเป็นอย่างนี้ทั้งหมด มันไม่ใช่เป็นอย่างนั้นทั้งหมด ถ้าเป็นอย่างนั้นทั้งหมดนี่ มรรคมันก็ไม่มีหยาบไม่มีละเอียดล่ะสิ มันก็ไม่มีพระโสดาบัน พระสกิทาคา พระอนาคา

ทำไมมันถึงมีพระอริยบุคคลเป็นชั้นเป็นตอนล่ะ? แล้วพระอริยบุคคลเป็นชั้นเป็นตอนแล้วยังไม่เท่ากันล่ะ? มันมีตัวแปรเยอะมาก ในการปฏิบัตินี่ตัวแปรพื้นฐานของเราอันหนึ่ง จริตอันหนึ่ง จริตมัน ดูสิ ดูอย่างข้าราชการแต่ละกระทรวง เขาก็ทำงาน กระทรวงหนึ่งยังมีแยกออกไปกันเลย ทำตามหน้าที่ของตัว

นี่ก็เหมือนกันใจของคนนี่มันแยกเป็นประเภทๆๆ ไปเลย มันแยกไป วิปัสสนาไปมันจะเห็นเรื่องอย่างนี้เยอะมาก แล้วพอมันแบ่งแยกออกไปนี่ เราจะทำให้มันเหมือนกันๆ นี่มันเป็นไปได้อย่างไร? เราอยู่คนละกรมนะ แล้วเรามีเจ้านายก็คนละคนนะ แล้วทำงานกันจะมาก้าวก่ายกันได้อย่างไร? จิตก็เหมือนกัน ถ้ามันไขว้ไปแล้วนี่มันจะมีปัญหาไปหมดเลย ถ้าพอมันทำงานตรงกับกิเลสของตัว ตรงกับความเห็นของตัว มันจะเข้าไปชำระกิเลสในใจของตัว

นี่ไงมันถึงจำเป็น ครูบาอาจารย์สำคัญตรงนี้มาก เวลาธรรมะนะ ใครๆ ก็อยากเกิดพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าใครพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะชี้เลย เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนาคสตางค์สญาณ จะรู้จักอดีต รู้จักสิ่งที่เราทำมา

แต่ในปัจจุบันนี้เรามีครูบาอาจารย์ที่รู้เรื่องสัจธรรมจริง แล้วคอยแนะนำนี่ อันนี้ก็บุญวาสนาแล้ว เพราะสิ่งนี้เวลาสืบต่อมา ศาสนาสืบต่อมานี่ต้องมีพระบวชมานะ ถ้าพระไม่ถึง ๑๐ องค์ ๕ องค์ ๑๐ องค์นี่บวชพระไม่ได้ แล้วพระมีต่อมานี่มันสืบศาสนามา พอสืบศาสนามา พระที่บวชนี่เป็นสมมุติสงฆ์ แล้วอริยสงฆ์ สงฆ์ที่รู้จริงนี่ ใครเป็นคนรู้จริง แล้วจะเอาอะไรมาบอกเรา?

เวลาฟังเทศน์นี่ฟังเทศน์สิ ไปฟังเทศน์ปริยัติสิ อ่านหนังสือให้ฟัง อ่านหนังสือให้ฟังมันกระเทือนใจไหม? เวลาเทศน์อ่านหนังสือกัน แต่เวลาครูบาอาจารย์เรานี่ เวลาเทศน์ออกมาจากใจ ออกมาจากใจ ออกมาจากแรงขับอันนั้นน่ะ ออกมาจากการกระทำอันนั้นน่ะ เพราะการกระทำอันนั้น มันมีการกระทำมา มันมีการดัดแปลงมันมา

นี่วิธีการดัดแปลงนี่ พระไตรปิฎกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเราทำได้เสร็จแล้ว เอาอารมณ์ความรู้สึกเราไปเทียบสิ มันอันเดียวกัน เพราะอันนั้นคือข้อมูล คือทฤษฎี มันทฤษฎีนี่ แต่ภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติที่เกิดกับเรานี่มันยังไม่เกิด ทฤษฎีก็คือทฤษฎีสิ ถูก ทฤษฎีนี่ถูก แต่การปฏิบัติเรานี่ไม่รู้เรื่องหรอก แต่ถ้าเราปฏิบัติถูกต้องแล้วนี่ มันจะผิดจากทฤษฎีไปได้อย่างไร? ในเมื่อเราปฏิบัติได้แล้วนี่ ทฤษฎีมันจะขัดแย้งกับภาคปฏิบัติเป็นไปได้อย่างไร? แล้วพอภาคปฏิบัติแล้ว ปฏิบัติแล้วไปเขียนทฤษฎีมันยิ่งละเอียดเข้าไปอีก

นี่เวลาปฏิบัติ ปริยัติมันต้องมีปฏิบัติ มันถึงมีปฏิเวธ ทีนี้การปฏิบัติของเรา ตอนนี้ในปัจจุบันนี้มันปฏิบัติโดยทฤษฎีไง ปฏิบัติโดยแนวทางทฤษฎีว่าเป็นวิทยาศาสตร์ไง แล้วพิสูจน์ได้ไหม? นี่พิสูจน์ได้เลย นี่พูดออกมาเป็นทฤษฎีได้หมดเลย นี้มันก็เลยกลายเป็นสัญญาไง กลายเป็นการจำทฤษฎีมา แล้วปฏิบัติตามทฤษฎีนั้น แล้วมันก็เลยกลายเป็นทฤษฎีเฉยๆ ไม่มีภาคปฏิบัติไง

อ้างว่าปฏิบัติกัน แต่ปฏิบัติโดยทฤษฎีแล้วเดินตามนั้น เป็นกรอบไง นี่กิเลสหลอกอีกชั้นหนึ่ง แล้วปฏิบัติมาแล้วนี่อธิบายได้หมดเลย มันก็อธิบายทฤษฎีไง อธิบายธรรมะพระพุทธเจ้าไง แต่ความรู้จริงในใจนี่ไม่มีสักหยดหนึ่ง แต่ถ้ามีความรู้จริงในหัวใจนะ ทฤษฎีสาธุ ยกไว้ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ยกไว้สุดยอดเลย

แต่เราอธิบายตามที่ภาคปฏิบัติเราทำนะ มันจะพ้นจากทฤษฎีไปได้อย่างไร มันจะต่างจากทฤษฎีไปได้ที่ไหน ในเมื่อปฏิบัติมาถึงเป้าหมายแล้วนี่ เวลาเราอธิบายถึงเป้าหมายแล้วนี่ มันจะต่างจากทฤษฎีไปได้อย่างไร แต่ แต่มันเป็นความที่เราชี้ได้ชัดเจนมากว่าพอปฏิบัติแล้วออกมาเป็นรูปแบบนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ แล้วมันไปถึงเป้าหมายแล้วมันก็ทฤษฎีอันเดียวกัน ทีนี้มันเป็นทฤษฎี ทฤษฎีที่เราปฏิบัติแล้วนี่มันเป็นจริง มันเป็นจริงแล้วมันสื่อไง

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ เวลาใครไปอ่านนะ มันเป็นภาษาโบราณ ดูสิภาษาไทยนี่ ภาษาเขียนไปดูหนังสือโบราณสิ เขียนต่างจากปัจจุบันนี้นะ นี่แล้วภาษามันจะต่างไปเรื่อยๆ แล้วเวลาถ้าใครปฏิบัติแล้ว มันจะสื่อเป็นภาษาปัจจุบันไง สื่อให้เรารู้ในปัจจุบันนี้ แล้วเราจะเข้าใจได้ เราจะเข้าใจได้เวลาฟังธรรมๆ นี่ ฟังธรรมแล้วงงไปหมดเลย ธรรมนี้คืออะไร ธรรมนี้คือความรู้สึก สื่อความรู้สึกในใจเรานี่ให้ตรงกับความรู้สึกของเรา แล้วพยายามสื่อ

ทีนี้ครูบาอาจารย์พูดไปอย่างหนึ่ง กิน เราก็คิดถึงรับประทาน เราคิดไปเลยล่ะ คำๆ เดียวมันตีความหมายได้เยอะไง แล้วเวลาความเป็นจริงนี่ เวลาจริงเรานี่ ดูสิเวลาพระพุทธเจ้าบอกไว้ในพระไตรปิฎก แล้วหลวงปู่มั่นพูดไว้ในมุตโตทัย ธรรมแท้ๆ นี่นะมันเหมือนไม้ในป่า คือถ้าใจใครเป็นธรรมนะ มองไปในโลกนี้สิ มันเป็นธรรมหมดเลย เพราะ เพราะมันเป็นกฎเดียวกัน มันเป็นเรื่องของทฤษฎีเหมือนกันหมด คือมันเป็นอนิจจัง

มันเป็นสมมุติไง แต่สมมุติมันมีจริงนะ แต่เราจะเข้าใจว่าสมมุติคือไม่มีอะไรใช่ไหม สมมุติคือหลอกกัน ไม่ใช่ สมมุติมันเป็นความจริงอันหนึ่งนะ สมมุตินี่จริงๆ ดูสิ ดูกระดาษนี่ กระดาษนี้มาจากไหน กระดาษมาจากไม้ไง เยื่อกระดาษเอามาต้มไง แล้วก็เอามาทำเป็นแผ่นกระดาษไง มันก็เป็นแผ่นกระดาษชั่วคราวใช่ไหม เราเผาแล้วกระดาษไปไหน? แต่กว่าจะเป็นกระดาษนี่เกือบตาย

กระดาษเป็นสมมุติหรือเปล่า สมมุติ แต่กว่าจะมาเป็นมันนี่ นี่ในความเป็นจริงนี่มันก็เป็นสมมุติหมดแหละ แต่มันเป็นความจริง จริงตามสมมุติ ทีนี้เราก็ต้องเข้าไปรู้จริงตามสมมุติ รู้สมมุติตามความเป็นจริง รู้หมดเลยแล้วปล่อยสมมุติ แต่นี่บอก เฮ้ย นี่สมมุติ กูรู้แล้วกูไม่เอา ทฤษฎีนะ ไม่เป็นจริงหรอก นี่ถ้ามันเป็นจริงนี่ สมมุติแล้วบัญญัติ บัญญัติคือธรรมของพระพุทธเจ้า แล้ววิมุตติล่ะ? ผู้รู้จริงล่ะ? มีใช่ไหม?

สมมุติมันก็จริงตามสมมุตินะ มันมีหมด ทีนี้คิดว่าสมมุติคือหลอก สมมุติคือไม่มี สมมุติไม่มี นั่งอยู่นี่อะไร? นั่งอยู่นี่อะไร? จริงตามสมมุตินี่ เกิดเป็นมนุษย์นี่สมมุติ แล้วก็ตายไป แล้วคนนี่มีไหม? คนมีไหม? มี ก็นั่งอยู่นี่ไง แต่มีชั่วคราว มีชั่วอายุขัย แล้วมันก็ตายไป แล้วไม่มีเหรอ มี แต่มันไม่ยั่งยืนไง แต่ถ้าเป็นวิมุตตินี่มันยั่งยืน คือมันไม่แปรสภาพ นี้จริงตามสมมุติ จริงตามวิมุตติ มันจริงหมดนะ

ถาม : การภาวนาโดยนึกถึงส่วนต่างๆ ของร่างกายไล่ลงมาทุกๆ ส่วน สลับกันไปมา ถูกต้องหรือเปล่าคะ? เพราะถ้าภาวนาแบบนี้แล้ว จะอยู่กับการภาวนาได้นานกว่า ต้องพุทโธหรือว่าสลับ

หลวงพ่อ : ได้ การท่องพุทโธนี่ เวลาพูดถึงพุทโธ มันเป็นกรรมฐาน ๔๐ ห้องใช่ไหม เวลาพุทโธ พุทโธนี่ มันเป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ มรณานุสติ เทวดานุสติ มันเป็นคำพุทโธ

ฉะนั้นหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์นี่ เวลาท่านจะสอนท่านจะสอนพุทโธก่อนเพราะ เพราะเราเคารพศาสดาไง เราเคารพพระพุทธเจ้าไง พุทโธนี่เป็นชื่อพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าเกิดนี่ พระพุทธเจ้าเรานี่ ๒,๐๐๐ กว่าปี แล้วพระพุทธเจ้าไม่ใช่มีองค์นี้องค์เดียว พระพุทธเจ้านี่ในสัมพุทเธมีเป็นล้านๆ องค์ นี้พระพุทธเจ้าทุกๆ องค์ก็ชื่อพุทโธ

ทีนี้พอชื่อพุทโธนี่ พอเรานึกถึงพุทโธ เทวดา อินทร์ พรหม นี่เขาเคยทำบุญกัน แล้วก็เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เวลานึกพุทโธนี่มันเป็นชื่อคำเดียวกันที่ชาวพุทธนี้รับรู้ พอเราพุทโธปั๊บมันก็เหมือนกับเราคนไทยนี่ ไปอเมริกาไปเจอกันนี่ อู้ฮู โอ๋ยคนไทยๆ จะชอบมากเลย

นี่ก็เหมือนกัน พอนึกพุทโธนี่เป็นสัญชาติเดียวกันหมดเลย “สัญชาติพุทธ” นี้เวลาพุทโธนี่ ใครจะสอนจะสอนถึงพุทโธ แต่ แต่ถ้าเวลาเอาธัมโมก็ได้ สังโฆก็ได้ คิดถึงความตายก็ได้ ได้หมด แต่ถ้านึกพุทโธนี่ หมายถึงคำว่าพุทโธ ไม่ใช่ผูกมัดว่าต้องพุทโธคำเดียว แต่มันเป็นประธานว่าอย่างนั้นเลย มันเป็นประธาน มันเป็นชื่อของเจ้าของศาสนา มันเป็นเนื้อหาของศาสนา พุทธะคือผู้รู้ ในหัวใจของเรามีความรู้สึกทั้งหมด

นี้เวลาพูดนี่จะเอาพุทโธก่อน แต่ถ้าเรานึกถึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หลวงปู่เจี๊ยะท่านก็สอน หลวงปู่เจี๊ยะบอกว่าให้กำหนด กำหนดไปตามข้อ ตามข้อนี่ แล้วท่านพูดด้วย คนภาวนาเป็นนี่ฟังทีเดียวเข้าใจ ถ้าคนภาวนาไม่เป็นฟังไม่เข้าใจ ท่านบอกให้พิจารณาร่างกายไปตามข้อ ไปตามข้อนิ้วนี่ ไปตามข้อมือ ข้อศอก หัวไหล่ ไปตามร่างกาย ให้หมุนอยู่ในร่างกายนี้ตลอดไป ถ้าจิตมันหมุนแล้วนี่ มันปล่อยนี่ ท่านบอกนี่เป็นสมถะ

หลวงปู่เจี๊ยะพูดไว้ในเทศน์ของหลวงปู่เจี๊ยะ ไปฟังให้ดีๆ นะ เวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านเทศน์นี่มันมีอยู่ ๒ ประเด็น ประเด็น ๑ เวลาจิตเดินในร่างกายนี่เป็นสมถะ คือมันเข้าใจ มันปล่อยวาง แล้วพอมันเป็นเอกภาพ คือจิตมันตั้งมั่นแล้วนี่ แล้วมันเดินกายซ้ำนี่ เดินเหมือนกัน แต่เดินอันหนึ่งเป็นสมถะ เดินอันหนึ่งเป็นวิปัสสนา มันเป็นวิปัสสนาเพราะว่าจิตมันสงบแล้ว มันมีหลักแล้วมันถึงไม่วิปัสสนา นี่ท่านถึงบอกว่าไปตามข้อ ไปเดินตามกระดูกนี่ โครงสร้างกระดูกเรานี่ เอาความรู้สึกเราให้อยู่ตรงนั้น

แล้วพิสูจน์ได้ง่ายๆ ถ้าจิตเราเป็นภาวนานะมันจะอยู่กับร่างกายนี้ มันจะไปตามข้อกระดูกมันจะไป นึกถึงข้อ ข้อมือ แล้วจากข้อมือมาข้อศอก ถ้าจิตมันเป็นสมาธิ หรือเป็นวิปัสสนานี่ พอมันนึกถึงข้อศอก ข้อมือไปข้อศอก มันก็จะมาข้อศอก คิดถึงหัวไหล่มันก็จะมาที่หัวไหล่ แต่ถ้าจิตมันไม่เป็นสมาธินะ จากข้อมือคิดไปข้อศอกนะ มันออกไปนอกโลกนู้นเลย มันไม่ไปข้อศอกหรอก

ถ้าจิตมีสติ มีสมาธิ มันจะไม่วอกแวก มันจะอยู่ที่เราบังคับให้มันเดิน นี่มันวัดง่ายๆ เลย เวลาคนมาพูดนี่ ไอ้คนพูดมันพูดไม่เป็นนะ นั่นคือผิด ถ้าคนมันพูดถูกต้อง นั่นคือเขาคุมจิตเขาได้ นี่ถ้ามันเป็นสมาธิปั๊บมันอย่างนี้ ถ้ามันอยู่ตามส่วนของร่างกาย ถ้าบังคับได้ ถูกต้อง

นี่คำว่าพุทโธนี่มันก็อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ เริ่มต้นจากว่าถ้าพุทโธ ถ้าคนมันศรัทธาจริต หรือว่ามีพื้นฐานมาดีนี่มันอยู่โดยมั่นคง ถ้าพื้นฐานมาหรือว่าเป็นพุทธจริตนี่ มันอยู่กับพุทโธไม่ได้ เราเองนี่นะ เราก็ใช้พุทโธ แต่ แต่ถ้าพอเริ่มต้นไป ถ้าบางทีนี่เราก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันใช้พุทโธ พุทโธนี่มันลงได้ แต่มันไม่เป็นความถนัดนะ ถ้าความถนัดของเรานี่ เราจะใช้ความคิด ความคิดจะไล่ไปเลย ไล่ความคิดออกไป แล้วมันหยุด นี่คือความถนัด แต่พุทโธก็ได้

นี้ก็ได้นี่หมายถึงว่ามันต้องจริงจัง นี่ถ้าพูดถึงบางส่วน การภาวนาโดยนึกถึงส่วนต่างๆ นึกถึง ความนึกนั่นคือจิตนะ นึกนั่นคือจิต ถ้ามีสติ นึกนั่นคือจิต เพราะมีสติ ตัวนึกตัวสติ แล้วนึกอยู่ตามร่างกายนี่ ได้ แล้วถ้านึกอย่างนี้นะ นึกไปเรื่อยๆ นี่กลับไปแล้วไปนึกอยู่ในร่างกายนี้ อย่าให้ออกจากร่างกาย นึกอยู่อย่างนี้ เป็นชั่วโมง สองชั่วโมงยิ่งดี สามชั่วโมงยิ่งดี แล้วคอยดูความเปลี่ยนแปลงของจิต

จิตที่เป็นคนนึกคนคิดนี่ แล้วมันจะเปลี่ยนแปลงเอง เหมือนเราร่อนทรายนี่ ทรายนี่เรามีตะแกรงร่อนนี่ ทรายที่ละเอียดมันจะหล่นจากตะแกรงไป เวลาจิตนี่มันเดินตามร่างกายไปนี่ มันเหมือนกับร่อนตะแกรง แล้วจิตจะละเอียด ละเอียดไป ทำอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนะ (เรามันพูดแรง) เราให้กระทืบเลย ถ้าทำได้นะ ถ้ามันอยู่กับจิตอย่างนี้ ถ้ามันอยู่กับร่างกายอย่างนี้ตลอดไปนี่ ถ้ามันไม่มีการเปลี่ยนแปลงนะ กลับมา

ได้ ถูกต้อง เพราะบอกแล้วไงว่ามันมีหลากหลายมาก แล้วอย่างที่ว่านี่ บางทีนี่พอเรานึกไป นึกอยู่กับร่างกายนี่มันดีขึ้นมา บางทีมันเหนื่อย เวลานึกอย่างนี้มันจะเหนื่อยมาก พอเหนื่อยนี่เรากลับมาพุทโธบ้างก็ได้ พุทโธนี่คือว่าพักไง เวลาเราบังคับให้มันอยู่กับร่างกายนี่มันจะไปเรื่อยๆ เพราะถ้ามันไป แต่เหนื่อยมากนะ การบังคับจิตให้ไปตามนี้จะเหนื่อยมาก แล้วเหนื่อยปั๊บเราก็มาอยู่ที่พุทโธ พุทโธ คือเรามาพัก มาพักมันเป็นคราวๆ ไป

ข้อ ๑ นี่อ่านไม่ออก อ่านไม่ออก อันนี้ขอเขียนใหม่ได้ไหม อันนี้อ่านไม่ออก ตานี่มันตายาว สายตายาว

โยม : ๑.ในอาชีพที่ทำกินทุกวัน

หลวงพ่อ : อ๋อ อาชีพเนาะ อ่านอาชีพไม่ออก

โยม : บางครั้งอาจตัดเสียงที่จะพูด ถือเป็นบาปไหมคะ? ในอาชีพที่ทำกินทุกวันนี้ บางครั้งอาจตัด

หลวงพ่อ : อาจตัดอะไร ตัดคำพูด ไม่เป็นไร อันที่ ๒

โยม : ๒.หากต้องการจะพาแม่มาทางธรรม ทำอย่างไรดี?

หลวงพ่อ : อาชีพเนาะ อาชีพมันก็พูดแล้วอย่างที่ว่านี่ อาชีพนี่มันหลากหลายนะ เราเคยบวชใหม่ๆ แล้วมาเที่ยวบ้าน ไม่อยากจะพูดเลย แล้วพระก็มาด้วย พอมาเจอที่บ้านทำโรงก๋วยเตี๋ยว เขาดีใจมากนะ เขาบอก เฮ้ย บ้านมึงนี่สัมมาอาชีวะฉิบหายเลย คือไม่สิ่งอะไรมาผูกพัน คือข้าวไง เอาข้าวมาโม่มาทำกัน มันก็เป็นอีกอาชีพอย่างนั้น อย่างโรงน้ำแข็งก็เอาน้ำมาปั้นเนาะ เป็นสัมมาอาชีวะเนาะ ไม่มีอะไร

อันนี้มันก็เป็น อันนี้นะแล้วแต่ อาชีพบางทีนี่เราไปเกิดนี่ ความบังเกิด แล้วนี่ในอาชีพของทุกคน ถ้าพูดไม่หมด พูดไม่ได้เสียง แปลกนะถ้าพูดไม่หมดนี่ไม่เข้าใจ เพราะเราไม่ได้มีอาชีพนี้ ถ้าพูดไม่หมดแสดงว่าเหมือนกับข่าวสารแล้วเราพูดไม่จบ คือเขาไม่รู้ข่าวเต็มเนาะ

(อันนี้ได้)

ถ้าอาศัยคำพูดแล้วพูดไม่หมด ถ้าอย่างนี้แสดงว่าจะบอกว่า โกหกหรือเปล่าใช่ไหม? พูดไม่หมดกับโกหกนี่อันเดียวกันหรือเปล่า? เราพูดอย่างนี้เลยนี่ ทุกคนนะพอทำอาชีพนี่ แล้วบอกว่าถือศีล ๕ ไม่ได้ ได้ เราเป็นแม่ค้า เราซื้อของมา พอเราซื้อของมานี่นะ ของนี่ราคา ๕ บาท เราจะขาย ๑๐ บาท เราจะขาย ๑๐ บาทนี่ เราบอกว่าของนี้ เราซื้อมา ๕ บาท เราจะบอกเขา ๕ บาท เราจะขาย ๑๐ บาทจะแบบว่าเราเอากำไรเกินควรไหม? มันไม่ใช่ ๕ บาท ค่ารถล่ะ ค่าเวลาล่ะ ค่าตัวเราล่ะ มันบอกได้ไง

นี่อย่างต้นทุนใช่ไหม เราคิดต้นทุนใช่ไหม เรานี่เราคิดต้นทุนเราเท่าไร? เราโกหกตรงไหนล่ะ เราไม่ได้โกหกใช่ไหม แล้วเราจะเอากำไรเท่าไรล่ะ? มันพูดได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้นะโธ่ ของเรานี่ห้ามคอรัปชั่นนะ แต่ทางอเมริกาบอกว่า ค่าคอมมิสชั่น ค่าคอมมิสชั่น แต่พอพวกเราบอกเป็นคอรัปชั่น มันมีกี่เปอร์เซ็นต์ล่ะ ดูสิซื้อเครื่องบินนี่ ๓ เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติเลย เขามีเลยมีค่าเลี้ยงดู มีเงิน นี่เขาบวกไง เพราะกฎหมายเขาเขียนไว้ใช่ไหม พอกฎหมายเขียนไว้ปั๊บนี่เขาก็ต้องอยู่ในต้นทุน

แต่ของเรานี่นะต้นทุนไม่ได้คิดถึงเลย ซื้อมา ๕ บาทจะขาย ๕ บาท แล้วเราล่ะ ก็แล้วอย่างนี้เพราะ เราเองคิดกันไม่เป็นไง เราถึงบอกไง โอ๋ย ทำธุรกิจแล้วถือศีล ๕ ไม่ได้ ได้ ได้ทั้งนั้นแหละ ทำไมจะไม่ได้ ไม่โกหกเลย เราบวกของเราเข้าไปไง

อันนี้อันหนึ่งนะ พูดถึงสัมมาอาชีวะ นี่เมื่อคิดอันหนึ่ง แล้วข้อที่ ๒ นี่ ข้อที่ ๒ นี่เยอะมาก เวลาพระมาบวชนี่ ใครจะเอาพ่อเอาแม่มาวัดนี่ คือเอาพ่อเอาแม่เข้ามา ถ้าเอาพ่อเอาแม่นี่เราพูดบ่อยมากเลย เอาพ่อเอาแม่มานี่บุญมาก เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะพ่อแม่นี่เป็นพระอรหันต์ของลูก

พ่อแม่คลอดเรามานะ จริงๆ แล้วนี่เราจะบอกว่า เรานี่เป็นสมบัติของพ่อแม่ เพราะพ่อแม่คลอดเรามา พ่อแม่เลี้ยงดูเรามา ถ้าพ่อแม่ไม่เลี้ยงดูมา ตายตั้งแต่ตอนเด็กๆ อุ้มอยู่ในท้องนี่ ๙ เดือน คลอดออกมาแล้วนะยังเลี้ยงมานี่ อายุ ๑ ขวบ ๒ ขวบนี่มันเลี้ยงตัวมันได้ไหม มันตายชัดๆ เด็กนี่โตไม่ได้หรอกถ้าพ่อแม่ไม่ได้เลี้ยง นี่พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก นี้เป็นพระอรหันต์ของลูกปั๊บนี่ เราจะเคารพพ่อแม่ไหม? เราอยากให้พ่อแม่ได้ของดีไหม? เราก็อยากให้พ่อแม่ได้ของดีใช่ไหม? เราก็อยากพามาวัดใช่ไหม? แต่พ่อแม่ไม่มาหรอก ไม่มา เพราะอะไร?

ถ้าพ่อแม่มานะ พ่อแม่ศรัทธาเอง พ่อแม่เข้าใจเองพ่อแม่จะมา แล้วพ่อแม่จะพาลูกมาวัดง่าย แต่ลูกจะพาพ่อแม่มาวัดนี่ยาก ยากเพราะอะไร? เพราะพ่อแม่นี่จะมีทิฐิมาก พ่อแม่นี่กลัวจะเสีย กูเลี้ยงมึงมาไง อะไรๆ ก็ ดูสิเป็นอธิบดี เป็นปลัดกระทรวงนี่ กลับไปที่บ้านนะ หนู หนูยังไม่ได้สตางค์เลยนี่ หนูทั้งนั้นเลย ออกนอกบ้านนะมันเป็นเจ้านายนะ พอกลับบ้านหนูทันทีเลย เพราะว่าพ่อแม่เห็นมาตั้งแต่เด็ก เขาดูไม่โตหรอก เขาดูมึงเป็นลูกกูตลอดไป

นี่พูดอย่างนี้ปั๊บมันก็ย้อนเข้าไปในพระไตรปิฎก พระสารีบุตร พระสารีบุตรนี่ทั้งตระกูลเป็นพระอรหันต์หมดเลย แล้วแม่ก็เสียใจมาก พระเรวัตตะ พระจุนทะ พระสารีบุตร พระอะไรอีกตั้ง ๔-๕ องค์เป็นพระอรหันต์หมดเลย แล้วพ่อแม่นี่ พ่อแม่ก็อยากจะให้ครอบครัวมั่นคงไง แล้วลูกหนีไปบวชหมดเลย เสียใจมาก คับแค้นมาก ทีนี้พระสารีบุตรก็ เอ๊ะ แม่เรานี่มีบุญนะ เพราะลูกของแม่นี่เป็นพระอรหันต์เยอะไปหมดเลย แต่ทำไมพ่อแม่เป็นมิจฉาทิฐิล่ะ ก็อยากจะเอาพ่อแม่มาก

นี่ขนาดอัครสาวกเบื้องขวานะ ทีนี้เอาไม่ได้ ก็คิดว่า เอ๊ะ พอถึงวันจะนิพพานก็กำหนดดูว่าแม่เรานี่มีบุญมากเลย ลูกๆ นี่เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้นเลย แต่แม่นี่ทำไมมิจฉาทิฐิ ก็นึกว่าพระพุทธเจ้าจะเอาแม่เราได้ไหม? นึกแล้วก็ไม่ได้ต้องกำหนดดู อ๋อ เราเองต้องไปเอา คือเราเองต้องไปแก้แม่

ฉะนั้นกำหนดรู้วันตาย พอวันตายก็ไปลาพระพุทธเจ้าก่อน

พระพุทธเจ้าบอกว่า “เธอจะไปตายที่ไหนล่ะ?”

“จะไปตายที่ห้องคลอด ไปตายที่ห้องเกิด ไปตายที่บ้าน”

พอบอกไปตายที่บ้านก็เดินกลับบ้าน นี่แม่พระสารีบุตรนะเห็นลูกชายเดินมานี่

“โอ้ ลูกเราจะมาสึกเนาะ บวชตั้งแต่หนุ่มยันแก่ สงสัยจะเบื่อแล้วแหละจะกลับมาบ้าน อยากจะมาสึก”

ก็คิดว่าอยู่นอกบ้านมันทุกข์ไง อยู่ในบ้านนี่เศรษฐี มันก็มีแต่ความสุข ออกนอกบ้านมีแต่ทุกข์ใช่ไหม? ทุกข์ทั้งชีวิตเลย นี่คงจะเบื่อแล้ว จะกลับมาสึก

คิดอย่างนั้นนะ ทีนี้พระสารีบุตรก็รู้วาระจิตก็ไม่พูด ก็กลับเข้ามาบ้าน มาทำไม? ก็จะมาปลงอายุสังขารใช่ไหม ปลงที่ไหน? ก็ปลงในห้องคลอด ทีนี้พอเริ่มหัวค่ำนี่ พอเริ่มเป็นท้องเสีย เป็นโรคถ่ายเป็นเลือด พอถ่ายนี่เทวดามาเป็นแสง เป็นลำแสงพุ่งเข้ามาในห้องนอนนี่ แม่เห็นไง ก็วิ่งเข้าไปถาม

“ลูกๆ ใครมานี่”

“เทวดามา” เอ้อ งงนะ เทวดามา

“มาทำไม?”

“ก็มาอุปัฏฐาก มาดูแล”

ทีนี้พระสารีบุตรก็บอกเทวดาบอกว่า

“ไม่ต้อง เพราะมีพระตั้ง ๕๐๐ อุปัฏฐากอยู่”

เทวดาก็กลับไป เพราะเทวดาก็อยากได้บุญ พอถึงเที่ยงคืนนี่ พระอินทร์มาเลย แสงก็สว่างกว่า เป็นลำแสงพุ่งเข้ามาในห้องเลย

“ใครนี่”

“พระอินทร์มา”

“อู้ฮู ลูกเรานี่ขนาดพระอินทร์มาอุปัฏฐากเชียวเหรอ?”

เพราะอะไร? เขาเป็นพราหมณ์ พราหมณ์เขาถือพรหมไง ถือพวกพราหมณ์ไง เขาถือพวกนี้ พอชักสงสัย พอสงสัยนี่คนมันเริ่มคิด พอเริ่มคิดนี่พระสารีบุตรเทศน์เลย เพราะโอกาสมันมาแล้ว แม่ พระอินทร์นี่มันแค่เด็กอุ้มบาตรนี่ เด็กล้างบาตรพระพุทธเจ้าน่ะ พวกพระอินทร์ พวกเทวดานี่ มันแค่เด็กเช็ดบาตร เด็กรับบาตรของพระนี่

พออย่างนั้นมันกระเทือนใจ พอกระเทือนใจปั๊บพระสารีบุตรเทศน์เลย เทศน์ถึง พระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พอเทศน์จบแม่เป็นพระโสดาบัน บรรลุธรรมเลย พอบรรลุธรรมนี่ร้องไห้ ร้องไห้แล้วร้องไห้อีกนะ

“โอ๋ย ลูกไม่รักแม่ ลูกไม่รักแม่ ถ้าลูกรักแม่ลูกต้องสอนแม่มานานแล้ว”

มันพลิกเดี๋ยวนั้นเลยนะ เวลาทิฐิมันว่านี่มันยังว่าจะมาสึกอยู่เลยนะ แต่พอเวลาเทศน์ได้แล้วนี่ โอ้โฮ ร้องไห้นะ ร้องไห้โทษว่าลูกไม่รักแม่ ถ้าลูกรักแม่ ทำไมลูกไม่สอนแม่ตั้งแต่ต้น คือทำไมไม่สอนให้เป็นพระโสดาบัน

สอนให้เป็นพระโสดาบันมันมีทฤษฎีนะ คือธรรมะนี่ แต่หัวใจมันปิดไงมันสอนไม่ได้ คือไม่ฟังไง ยาเราดีขนาดไหนก็แล้วแต่นี่ เราไปให้คนไข้ คนไข้ไม่กินนี่ ยามันไม่มีประโยชน์อะไรเลย พูดขนาดไหน เทศน์ขนาดไหนนะ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา มันไม่ฟังหรอก มันพูดแล้วมันทะลุไปทะลุไป

นี่เราจะบอกว่า นี่ในพระไตรปิฎกมี แล้วเวลาเราบวชมานี่ พระที่มาบวชกับเรานี่ส่วนใหญ่คิดอย่างนี้หมดเลย พอมาบวชปั๊บนะ เอ๊ะ ทำอย่างไรเอาแม่มาวัด เอ๊ะ ทุกคนคิดอย่างนี้หมดเลย เราจะบอกว่ามึงใจเย็นๆ มึงใจเย็นๆ เพราะเวลาเอ็งไปบ้านนี่นะ แม่จะบอกว่าพระลูกชาย พระลูกชายอยากได้อะไร? คือมีบุญคุณไง พระลูกชายอยากได้อะไรก็จะซื้อให้ เขาไม่ได้เขาจะมาวัดนะ เขาจะอุปัฏฐากพระลูกเขา

นี่พ่อแม่เป็นอย่างนี้ ทิฐิของพ่อแม่นี่กับลูกนะ กับคนอื่นอีกอย่างหนึ่ง แต่กับลูก นี่มันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงของใจ มันเป็นเรื่องธรรมดา ทีนี้ถ้าจะเอา ถ้าจะเอานะง่ายๆ ทำตัวเราดีๆ แล้วก็บอกแม่ นี่เมื่อก่อนนะ พวกหนูนี่เป็นคนไม่ดี เป็นคนที่ไม่ เดี๋ยวนี้พอไปวัดแล้วหนูดีขึ้น ให้เขาเห็นไง

เห็นไอ้นั่นไหม ไอ้เด็กๆ ที่อยู่โพธารามนี่ ไอ้อะไรนะที่อยู่บางแค ปั๊มน่ะชื่ออะไร? ไอ้ที ตีน่า ตีน่านี่นะพ่อแม่เอามาวัด แล้วกลับไปบ้านนะ

“ไม่ได้นะไปวัดไม่ได้ เดี๋ยวหลวงพ่อเอ็ดนะ ไอ้นู้นก็ผิดนะ หลวงพ่อว่านะ ไอ้นู้นก็หลวงพ่อว่าไม่ถูกนะ”

จนอากงต้องมาดูว่าพระองค์ไหนวะ? ตีน่านี่มันเอาอากงเข้าวัด เอาอาม่ามันเข้าวัด เอาพ่อแม่เข้าวัด ไอ้ทีก็เหมือนกัน ไอ้ทีนี่ไปถึงนะ

“ไม่ได้นะ หลวงพ่อว่า หลวงพ่อว่าผิดหลวงพ่อว่า”

จนเขาต้องมาดูว่าพระองค์ไหนวะ? ไอ้ทีนี่มันเอาอากงมันเข้าวัด เอาอาม่ามันเข้าวัด เอาเข้าวัดหมดเลย

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรามาวัดนะ ความเป็นไปของเราเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปของเราดีขึ้น พ่อแม่คนไหนบ้างไม่อยากให้ลูกดี พ่อแม่คนไหนบ้างไม่อยากให้ลูกเป็นสิ่งที่ดี แล้วถ้ามันดีแล้วนี่ อันนี้สำคัญ นี้ถ้าจะเอาพ่อเอาแม่ดูตรงนี้ ต้องทำเป็นตัวอย่างไง เอาเรานี่แหละเป็นตัวอย่างให้เห็นการเปลี่ยนแปลง แล้วก็เปลี่ยนแปลงเพราะอะไร แล้วก็ไปดูกันไหม? จะได้มา ถ้าไม่อย่างนั้นยาก

เว้นไว้แต่เขาคุยกับเพื่อนเขา หรือเขามาเอง ถ้าเขามาเองนี่นะ แต่ลูกกับแม่นี่ ลูกนี่พูดกับแม่ไม่ค่อยรู้เรื่อง แม่นี่พยายามจะบังคับลูก แต่ลูกมาพูดให้แม่ฟังนี่ กูอาบน้ำร้อนก่อนมึงนะ กูอาบน้ำร้อนก่อนมึงนะ เรื่องนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาของกิเลสนะ ทีนี้ถ้าเอามาได้นี่สุดยอด สุดยอด แล้วพวกนี้มันเป็นกรรมของสัตว์นะ มันเป็นกรรมของแต่ละบุคคล ใครเอาได้ก็เอา ใครเอาไม่ได้นี่มัน ไม่ใช่ว่าจะเอาได้ทุกคนหรอก พ่อแม่ทุกคนก็อยากให้ลูกเป็นคนดีหมด แล้วลูกบางคนทำไมมันไปตามโลกล่ะ

ถาม : ผมเคยมีศรัทธาและมีความเข้มแข็งของธรรมะมาก แต่ปัจจุบันนี้มีน้อยลง มีวิธีการอย่างไรจะทำให้เป็นเหมือนเดิมได้ครับ และเพราะเหตุใดมันถึงเสื่อมลง

หลวงพ่อ : นี่ไง ศรัทธา ศรัทธามันยังไม่เป็นอจลศรัทธา มันถึงเสื่อมได้ ศรัทธานี่มันคลอนแคลนได้เป็นธรรมดา นี่พอเวลาศรัทธานี่ พอเวลามีคุณงามความดีเราก็ศรัทธา พอเราไปเห็นสิ่งใดแล้วเราก็เสื่อมถอยหมด ทั้งที่ปัจจุบันนี้ เหมือนกับอากาศนี่มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ความคิดของคนนี่มันแปรปรวนตลอด นี่ไงใจนี่มันไว้ใจไม่ได้

พระพุทธเจ้าสอน เปรียบเหมือนใจเราเป็นเหมือนช้างสารที่ตกมัน มันมีกำลังมันกระฟัดกระเฟียดมันไปตามธรรมชาติของมันเลย แต่นี่เราไปศรัทธา ศรัทธานี่เหมือนอาหารเลย อาหารเวลาเรากินอะไรที่มันถูกใจนี่ เราก็อยากกินอย่างนั้นอีก

ทีนี้พอศรัทธานี่มันถึงคิดอย่างนั้นมันก็ศรัทธา แต่ แต่ธรรมชาติของมัน อะไรก็แล้วแต่มันเสื่อมเป็นธรรมดา แต่ถ้าเรามีกำลังของเรา เราปฏิบัติของเรานะ จนจิตมันสงบได้ พอจิตสงบนี่มันเข้าไปสัมผัสไง

ความสัมผัสมันสงบ เหมือนความร้อนนี่ ถ้าเราไปสัมผัสถึงความเย็นนี่ เราจะติดใจความเย็นนั้นมาก เราอยู่ในที่อากาศร้อนตลอดเวลา เราเคยไปสัมผัสความอบอุ่น คือความร่มเย็นอันหนึ่ง ความร่มเย็นอันนี้จะฝังใจเรา

จิตที่มันเคยสัมผัสความสงบปั๊บนี่ มันไปสัมผัสถึงรสของธรรมนี่ นี่คืออจลศรัทธา อจลศรัทธา ตั้งแต่ทำจิตสงบแล้วนี่มันจะเริ่มเป็นอจลศรัทธา อจลศรัทธาคือว่ามันจะขึ้นเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล มันขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลปั๊บนี่ นี่ผลของธรรมนี่มันรัดใจดวงนี้ไว้ ใจดวงนี้จะไม่เสื่อมจากตรงนี้ มันจะเดินไปเรื่อยๆ แต่ถ้ายังเป็นปุถุชนนี่ ยังเป็นศรัทธานี่ ศรัทธาของปุถุชนนี่ เจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม

วิธีการแก้ วิธีการแก้ เขาก็ต้องคิดแต่ครูบาอาจารย์ที่เราศรัทธา อย่างเช่นถ้าในปัจจุบันนะ เวลาคิดถึงพระพุทธเจ้า เราเคยเป็นนะ เวลาปฏิบัติแล้วมันท้อถอยนี่ เราจะคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงหลวงปู่มั่น เราจะคิดถึง ๒ องค์นี้เป็นส่วนใหญ่เมื่อก่อน คิดถึงหลวงปู่มั่น เพราะอ่านมาว่าหลวงปู่มั่นท่านสมบุกสมบันมาแค่ไหน ท่านสมบุกสมบันมามาก ท่านทุกข์มามากนะ เหมือนเรานี่ พ่อแม่เรานี่ เสื่อผืนหมอนใบมาจากเมืองจีนนะ ดูสิเศรษฐีของเรา นี่ไม้คานนี่เลี่ยมทองกันน่ะ เอาไว้บนบ้านน่ะ

ท่านทุกข์มา เสื่อผืนหมอนใบ ปากกัดตีนถีบขึ้นมา สร้างครอบครัวมา นี่ถ้าเราคิดอย่างนั้น แล้วทำไมเราทำไม่ได้อย่างนั้นเหรอ เรานี่สะดวดสบายอยู่แล้ว แต่พวกเรานี่นอนใจกันเอง นี่ครูบาอาจารย์ท่านทุกข์มากว่าเราเยอะนะ นี่ถ้าคิดอย่างนี้ ดูพระพุทธเจ้าสิ ๖ ปีทรมานตัวขนาดไหน แล้วเวลาเป็นพระพุทธเจ้าไปแล้วนี่ ไปไหนพระพุทธเจ้า

เวลาเราทุกข์นะเมื่อก่อนนี่ มันมีปัญหาขึ้นมาเราจะคิดถึงพระพุทธเจ้าเลย เวลามันมีแรงกระทบกระเทือนนี่ อย่างที่ว่านี่ อย่างมีแรงเสียดสีนี่ พระพุทธเจ้าบอกไว้ในพระไตรปิฎก ถ้าใครโดนเขาติฉินนินทา ใครโดนเขาทำร้ายนี่ ให้คิดถึงเรา ให้คิดถึงพระพุทธเจ้าเพราะ เพราะพระพุทธเจ้านี่กระทบกระเทือนโลกธรรม ๘ มาหนักที่สุด เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนางมาคันทิยาจ้างคนด่า นี่เทวทัตให้คนไปฆ่า

เทวทัตนะ จะฆ่าพระพุทธเจ้า ให้นายแม่นธนู ๔ คนไปยิงพระพุทธเจ้า แล้วบอกอีก ๔ คนไปฆ่านายแม่นธนูนั้น แล้วเอาอีก ๔ คนไปฆ่าอีก ๔ คนนี้ ตัดตอนกันตั้ง ๔-๕ ช่วงนั่นล่ะ แต่ไปหาพระพุทธเจ้า ไอ้ ๔ คนนั้นจะไปฆ่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเทศน์เอา ๔ คนนั้นบวชก่อน ไอ้ ๔ คนที่จะรอฆ่านะ เอ๊ะ กูจะรอยิงไอ้ ๔ คนนี้ ไม่มาสักที เดินไปหา เดินไปถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเทศน์บวชอีก ๑๖ คนบวชหมดเลย

เทวทัตนี่ ไอ้มือปืนรับจ้าง มือปืนรับจ้างนี่ เทวทัตมันทำมาก่อนมึงนะ ฆ่าตัดตอนหมด เอา ๔ คนแรกไปยิงพระพุทธเจ้าก่อน แล้วอีก ๔ คนไปยิงไอ้ ๔ คนที่ฆ่าพระพุทธเจ้า แล้วอีก ๔ คนไปฆ่าอีก ๔ คนนี้ เทวทัตใช้มา พระพุทธเจ้าเอาบวชหมดเลย

นี่คิดดูสิว่าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ไปอยู่กับเวรัญชพราหมณ์ ที่นิมนต์ไว้ ๓ เดือนแล้วลืมใส่บาตร ไม่ได้กินข้าวเลย พระตั้ง ๕๐๐-๖๐๐ ไม่ได้กินข้าวเลย พอดีบังเอิญเขามีพวกพ่อค้าม้า เขาเอาม้ามาขาย เขาก็มีเสบียงมาด้วย เขามีข้าวกล้อง เขาให้กินข้าวกล้อง แล้วทีนี้พระมันเกิดวาตภัยไง มันไม่มีอาหาร ก็เห็นพระมาเขาก็ให้ข้าวกล้องนั้น เอาข้าวกล้องมาแล้วนี่ ข้าวกล้องนี่

พระนี่ตามวินัยพระหุงข้าวไม่ได้นะ พระทำอาหารสุกเองไม่ได้ ต้องมีแม่ครัว แม่ครัวต้องทำให้ พระทำไม่ได้ ทีนี้ไปอยู่นั่นไม่มีแม่ครัว ไม่มีแม่ครัว พระอานนท์เอาข้าวมาแล้วบด บดให้เป็นผง เอาน้ำพรมๆ ๆ ให้พระพุทธเจ้าฉันอยู่ ๓ เดือน พระโมคคัลลานะทนไม่ไหวนะ พระโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก บอกจะไปบิณฑบาตอีกทวีปมาเลี้ยงไง

“พระพุทธเจ้าบอกไปอย่างไรล่ะ พระพวกนี้มันปุถุชนมันไปไม่ได้”

“ไม่เป็นไรครับ ผมจะจับมือแล้วผมจะพาเหาะไป”

ถ้าไม่จริงนี่พูดกับพระพุทธเจ้าได้ไหม? ของนี้เป็นจริงนะ ถ้าของนี้เป็นไม่จริงนี่ ไปพูดกับพระพุทธเจ้านี่ พระพุทธเจ้าจะปล่อยให้พูดไหม? เนี่ยผมจะไปบิณฑบาตอนุทวีป” “แล้วจะไปอย่างไรล่ะ? พวกนี้เขาเป็นปุถุชนนี่” “ถ้าเป็นปุถุชนผมจะจับมือ แล้วผมจะพาเหาะไปเอง”

พระพุทธเจ้าบอก “ไม่ได้”

“ไม่อย่างนั้นผมจะพลิกดินขึ้นมา” (ง่วนดินมันเหมือนกับดินแบบว่าพวกดินสีพองมันดินหวานไง)

“ข้าพเจ้าจะพลิกง่วนดินขึ้นมา”

“พลิกขึ้นมาได้อย่างไรล่ะประชาชนเต็มไปหมดทั้งทวีปนี่ ชมพูทวีปประชาชนเต็มไปหมดจะทำอย่างไร”

“ผมจะกางมือของผมนี่ให้เป็นแผ่นดิน แล้วผมจะเอาประชาชนนี่อยู่บนมือผมก่อน แล้วผมจะพลิกดินนี้ขึ้นมา”

โอ้ ฤทธิ์ของพระโมคคัลลานะนะ พระโมคคัลลานะเดือดร้อนมาก เวลาพระพุทธเจ้ากรรมมาถึงนี่ สุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าบอก “ไม่ได้ไม่ยอม”

ไม่ยอมก็กินข้าวกล้องบดไปนะ จนออกพรรษา พอออกพรรษาปั๊บพระพุทธเจ้าชมพระนะ พวกเธอชนะแล้ว ชนะแล้ว ชนะด้วยความลำบากนี้ได้ พอชนะแล้วปั๊บพราหมณ์นั้นก็นึกได้ไง มาขอขมาพระพุทธเจ้าน่าดูเลย

นี่คำว่าศรัทธา ศรัทธาถ้ามันเสื่อม ถ้าคิดอย่างนี้ ดูพระอรหันต์นะ อย่างพวกพระสารีบุตรนี่ พระที่มีสร้างบุญญาธิการมานี่ เวลาเอหิภิกขุ บวชพระพุทธเจ้านี่มันจะมีบริขาร ๘ เป็นทิพย์ลอยมา ได้หนเดียว แต่ถ้าพาหิยะ เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ฟังเทศน์พระพุทธเจ้าหนเดียวเป็นพระอรหันต์เลย แล้วจะขอบวช

พระพุทธเจ้าบอก “เธอจะบวชอย่างไรล่ะ? เธอไม่มีบริขาร”

พระอรหันต์นะ เดินไปหาบาตร พระอรหันต์หาบาตร หาจีวร หาบริขาร ๘ ไม่ได้ โดนควายขวิดตายเลย พอควายขวิดตายนะ พระพุทธเจ้าพาพระไปเผาเองเลย นี่คือพระอรหันต์ แต่ยังไม่ได้บวช เพราะหาบริขาร ๘ ไม่ได้

เราจะบอกว่า สิ่งที่เป็นไปอยู่นี่ มันเป็นบุญเป็นกรรมของแต่ละดวงจิตที่สร้างมา ผลบุญมันสร้างมา แต่นี่เมื่อก่อนเราเคยศรัทธา แล้วมันเสื่อมนี่ ประสาเรานี่ถ้าเรื่องกิเลสมันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่เราพูดนี่เราพูดถึงการปลุกเร้า จะให้มันกลับมาศรัทธาอีกไง

แล้วถ้าเราภาวนาไปนี่ ถ้าจิตมันสงบมันได้สัมผัสแล้วนี่ มันจะเป็นอจลศรัทธา คือศรัทธาที่มั่นคง ศรัทธาที่ไม่เสื่อม แต่ถ้าจิตเรานี่ยังไม่สัมผัสธรรมะเลยนี่ มันก็งงๆ ไง มันสงสัย เพราะสงสัย เพราะคาดหมายมันถึงเสื่อม ศรัทธามันถึงคลอนแคลน แต่ถ้ามันได้สัมผัสสมาธิแล้วนะ มันมั่นคงในสมาธินะ นั่นคืออจลศรัทธา แล้วถ้าเป็นอจลศรัทธามั่นคงจริงๆ คือพระโสดาบันขึ้นไป

ถ้าเป็นพระโสดาบันเด็ดขาดนะ จะไม่ถือมงคลตื่นข่าว จะไม่ฟังอะไรแล้ว จะฟังธรรมพระพุทธเจ้าอย่างเดียว พระโสดาบันขึ้นไปแล้ว จะไม่ถอย จะไปข้างหน้าอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นอจลศรัทธานี่ ตั้งแต่กัลยาณปุถุชนนี่น่าจะได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเมื่อใดเป็นพระโสดาบันนะ ล้านเปอร์เซ็นต์จะไม่มีเสื่อมถอย จะก้าวหน้าอย่างเดียว

ถาม : ๒. วิธีการใดจะลดความไม่พอใจ อาฆาต พยาบาท ได้อย่างเด็ดขาดบ้างครับ พยายามหลายครั้งแล้ว แต่มัน

หลวงพ่อ : ไม่ได้หรอก วิธีการใดจะลดความอาฆาต ลดความโกรธ นี่เวลาคนที่ปฏิบัติกันแล้วส่วนใหญ่จะบอกว่า เมื่อก่อนนี่ผมเป็นคนที่โกรธมาก ผมเป็นคนที่กินเหล้ามาก เดี๋ยวนี้ผมเป็นคนดีแล้ว ผมไม่กินเหล้าเมายา มันไม่กินเหล้าเมายานี่มันเป็นเพราะว่าศีลไง

ฉะนั้นไอ้จะไม่โกรธนี่นะ จะไม่สิ่งนี้มันต้องเป็นพระอนาคา พระอนาคาจะละความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ ถ้ายังไม่เป็นพระอนาคา นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน นี่เวลาหลานตายยังร้องไห้ เวลาพระอานนท์เป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันยังเสียใจ ยังดีใจยังทุกข์ใจอยู่นะ แต่พระโสดาบันเข้าใจเรื่องสักกายทิฏฐิได้ตามความเป็นจริง

พระสกิทาคานี่จิตกับกายแยกออกจากกัน สัจธรรมในหัวใจนี่เต็ม แต่สิ่งที่ความเคยใจ สิ่งที่ความพอใจไม่พอใจมันยังมีอยู่ แต่เป็นพระอนาคานี่มันเริ่มตัดตรงนี้แล้ว พระอนาคานี่จะละความโกรธได้ นางตัณหากับนางอรดี ลูกของพญามารนี่ อวิชชาคือตัวมาร คือตัวพ่อ ถ้าฆ่าพญามารแล้วเป็นพระอรหันต์

แต่ฆ่านางตัณหา นางอรดีนี่คือฆ่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นพระอนาคา ถ้าฆ่าความโลภ ความโกรธนี่ ถ้าจะไม่มีความโกรธนี่ก็ต้องเป็นพระอนาคา แล้วเราไม่ได้เป็น มันก็ต้องโกรธเป็นธรรมดา แต่เราต้องควบคุมมัน เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะถ้าพูดอย่างนี้มันจะเป็น เขาเรียกว่าคน “โทสจริต”

คนธาตุไฟ อย่างเรานี่เราเป็นคนธาตุไฟ คนโทสะ จะโมโหร้าย จะโมโหไว แต่คนอย่างนี้คนมีปัญญา คนธาตุดิน คนนิ่ง คนเย็น ธาตุดิน ไม่ค่อยมีปัญญา คนมีปัญญานี่ นี่มันเป็นธาตุ การเกิดมานี่มันเกิดมาด้วยธาตุนะ มันเกิดมาด้วยบุญด้วยวาสนาของคนนะ คนธาตุน้ำ คนธาตุไฟ นี่ธาตุไฟนี่มันจะเอาเผาผลาญตลอด แต่พวกธาตุไฟนี่มันจะมีปัญญา มันจะคิดคิดดี แต่ถ้าคนธาตุดิน ถ้าคนธาตุดินนี่มันจะนิ่มนวล มันจะไปประสาธาตุดิน

ฉะนั้นถ้ามันเกิดมาอย่างนี้ปั๊บนี่ ก็เหมือนที่เราบอกเวลาเรื่องการภาวนา ตามจริตตามนิสัย ถ้าจริตนี่ ถ้าคนอย่างนี้ปั๊บต้องแผ่เมตตาบ่อยๆ การแก้นี่ ความโทสะ โทสะต้องแผ่เมตตา โลภะ โลภะต้องตั้งสติ มันมีการแก้ วิธีแก้กันต้องคิดอย่างนั้น ต้องคิด ต้องคิดแผ่เมตตา

เรานี่ เราเป็นคนอย่างนี้จริงๆ แล้วเวลาเราบวชใหม่ๆ นี่เราจะคิดนะว่า เรายกเป็นเพศเลย เพศแม่ อันนี้เป็นเพศแม่ พอเพศแม่ปั๊บ ดังนั้นต้องคิดถึงแม่เรา คือให้ใจเรา อย่างน้อยต้องคุมใจเราไว้ก่อน ไม่ให้ใจเราไปยุ่งกับใคร ตอนบวชใหม่ๆ เพราะพระมาถามบ่อย หลวงพ่อทำตัวอย่างไร รอดมาได้นี่ โอ๋ย กูคิดอย่างนี้ของกูตลอดนะ กูคุมใจกูมาตลอด เราจะทำอย่างนี้

แต่ทีนี้มันเป็นเรื่องของกรรม พอเรื่องของกรรมนี่ เวลามันไปที่ไหน? มันไปตกในสภาพไหนนี่มันก็มี พอเวลาเรื่องของกรรมนะ ดูสิเรานั่งนี่สบายหมดแหละ เดี๋ยวแดดออกมานี่ พอตอนบ่ายแดดไล่มานี่ ตรงนี้ต้องหนีหมดเลยนะ นี่เป็นกรรมนี่มันไปตกที่ไหน พอตกที่ไหนมันจะไปเจอสภาพแบบใด แล้วที่ว่าจะคุมใจๆ จะคุมได้ไหม? เราคุมได้เป็นปกติอย่างนี้นะ แต่เวลากรรมมันมานี่ ฉะนั้นจะว่าคุมได้ส่วนหนึ่ง แล้วเราต้องเร่งภาวนา อย่าชะล่าใจ

นี่ถ้าไอ้ที่พูดนี่ พูดถึงว่าสิ่งที่ความโกรธนี่เราแก้ได้ อย่างที่ว่าเป็นศีลธรรม จริยธรรมนี่ มันยังแก้ไม่ได้ ดูพระอรหันต์นะ พระอรหันต์นี่เวลากิเลสขาดไปแล้วนี่ นี่เป็นพระอรหันต์แล้ว นี่พระอรหันต์ทุกองค์ตัดกิเลสได้ แต่ตัดความเคยชินไม่ได้ พระอรหันต์ทุกองค์ กิเลสนี้ตัดขาดหมดเลย แต่มารยาท อำนาจวาสนานี่มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวที่ว่ากิเลสขาดด้วย กิริยาพวกนี้ขาดหมด แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์นะ

โธ่ หลวงปู่มั่นนี่ หลวงตาท่านเล่าให้ฟังบ่อย เวลาเทศน์นี่ มือนี้ปัดกระโถนกระเด็นไปเลย พอกระโถนกระเด็นไปแล้วนะ อื้ม นี่เทศน์ให้พระฟังนะ ไม่ใช่กระโถนฟัง โอ้โฮ กระโถนกระเด็นไปเลยนี่ ยังย้อนกลับเลย

เราจะบอกว่า เราไม่เคยเห็นนะ เพราะว่าหลวงปู่มั่น อู้ฮู สุดยอดเลย หลวงตาบอกว่าไปหมดทั้งตัวเหมือนกัน นี่เวลาเทศน์นี่ปัดทีเดียวกระโถนกระเด็นเลย เพราะมันออกมาจากใจไง ถ้ามันตัดกิเลสแล้วนะ ไอ้เรื่องกิริยานี่มันเป็นเรื่องปกติ คือ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ที่สะอาด คือขันธ์ไม่มีกิเลส แต่ถ้าปุถุชนนี่เขาเรียกขันธมาร กิริยานี้เป็นกิริยาของมาร คำพูดของมาร การเคลื่อนไหวของมาร

แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ การเคลื่อนไหวของกิริยาไม่มีมาร ไม่มีกิเลส น้ำสกปรกกับน้ำสะอาดเท่านั้น น้ำสาดไปก็คือน้ำ แรงดันของน้ำก็คือแรงดันของน้ำ เพียงแต่ว่าน้ำสกปรกหรือน้ำสะอาด ถ้าน้ำสกปรกน้ำโสโครก แรงดันนั้นเสียหมด แต่ถ้าเป็นน้ำสะอาด แรงดันนั้นเป็นประโยชน์หมด มันแก้ไขไม่ได้ มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว พระสารีบุตรยังกระโดดข้ามคลองเลย พระสารีบุตรนี่ ขนาดพระพุทธเจ้าบอกลิง ลิง ลิง

ไม่ได้ มันจะได้ ก็ทำไมพระพุทธเจ้าถึงสร้างมา ๔ อสงไขยล่ะ แล้วสาวกมันไม่ถึงนี่ คนเราต้นทุนมันต่ำกว่ากัน มันจะให้เหมือนกันได้อย่างไร? ต้นทุนคนหนึ่งลงทุนไปขนาดนั้น แล้วต้นทุนเรา ๕ บาท แล้วเรา ๕ บาทจะไปขายเท่าเขา มันเป็นไปไม่ได้ ต้นทุนเราต่ำ แต่ต้นทุนพระพุทธเจ้าสูง ออกมาเป็นรูปแบบนั้น แล้วต้นทุนพวกเรานี่ เอาตัวรอดได้ก็เก่งแล้ว ขอให้เอาตัวรอดเถอะ ไม่ต้องไปคาดหวังมาก

ถาม : หากความยินดีพอใจในเรื่องต่างๆ ลดลง เช่นเคยไปเที่ยวแล้วสนุก ปัจจุบันไม่ว่าจะไปไหน ก็เฉยๆ อย่างนี้ถือว่าเริ่มจะละวางได้ไหม?

หลวงพ่อ : ใช่ มันมีบ้าง คนเรานี่มันแค่ปัญญานี่ ไปที่ไหนก็แล้วแต่นะเราคิดสิ ในสถานที่ตากอากาศนี่ เราไปแล้วนี่ เราไปเห็นใหม่ๆ เราก็ชื่นใจจริงไหม แต่คนที่เขามีอาชีพอยู่ที่นั่น เขาอยู่ทุกวันเขาจำเจ เขาเห็นเขาอยู่ของเขานะ เขาอยู่ของเขาเลย เขาเป็นคนอยู่ที่นั่นเลย เขาก็เห็นทุกวันใช่ไหม แต่เรานานๆ ไปเห็นทีหนึ่งเราก็ตื่นเต้นเป็นธรรมดา

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ไปเที่ยวที่ไหนแล้วมันสนุก นี่ถ้าเรามีปัญญา เรามีความคิดนี่ มันเป็นเรื่องเราไม่ต้องไปยุ่งกับมัน คือว่ามันเป็นวาระมันเป็นเรื่องปกติ ถ้ามันเป็นเรื่องปกติแล้วนี่ หัวใจเราจะไม่ฟูไง การปฏิบัติเราหัวใจจะไม่ฟูไม่แฟบ เขาชมก็ โอ้โฮ ก้นลอยเลยล่ะ พอเขาติหน่อยเดียวนี่ อู้ฮู หัวใจหายตูมเลย แต่ถ้าเรามีหลักแล้วนะ เราจะไม่ลอยไปกับเขา เขาชมก็คือเขาชม คือความทำดีเพื่อดี เราทำความดีกันเพื่อดี เราทำกันเพื่อใจของเรา เราปฏิบัติกันเพื่อใจของเรา ให้มันมีอำนาจวาสนา ไอ้คำชมคำติข้างนอกนี่ มันเรื่อง

มันก็มีผลนะ นี่โลกธรรม ๘ ธรรมะเก่าแก่ มันมีมาดั้งเดิม พระพุทธเจ้าโดนหนักมาก แล้วพวกเรามันจะไม่โดนมันเป็นไปไม่ได้ แต่ทีนี้พอเวลาโดนบ้างแล้วนี่ เราก็ไม่ฟูมไม่แฟบไปกับเขา นี่ไงไปไหนก็สนุกไม่สนุกมันก็ ถ้าเราเผลอมันก็สนุกไปกับเขา เหมือนเราพาลูกไปเที่ยวเลยล่ะ เราพาลูกไปเที่ยวสิ ลูกไปนี่โอ้โฮมันวิ่ง โอ้โฮ มันตื่นเต้นนะ แม่ต้องคอยระวังลูก มันจะวิตกนะ

นี่ก็เหมือนกันถ้าเราทันเราเป็นผู้ใหญ่แล้วนี่ เราจะไปไหนนี่มันก็เรื่อง เราก็ไป แต่มันไม่ตื่นเต้นไปกับเขา มันไม่หลุดไง เด็กๆ นี่พอเวลามันเจอพอใจนี่ มันหลุดเลยล่ะ นี่เด็กเหมือนกับจิตที่ยังไม่ได้มีปัญญา เรายังไม่ได้ใคร่ครวญ ยังไม่ได้ดูแลจิตเรา เหมือนเด็ก แต่ในเมื่อปัญญาเราควบคุมแล้วก็เหมือนผู้ใหญ่ นี่ไงวุฒิภาวะที่จิตมันเปลี่ยนแปลง ถ้ามีปัญญาขึ้นมานี่ ปัญญามันดีมันพิจารณาของมัน มันเปลี่ยนแปลงมัน มันจะดีกับเราแต่หมดไปนะ

อันนี้มันปัญหาข้างนอก จบแล้วล่ะ จบเนาะ เอวังแล้ว