ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะเปิ้ล

๑๔ ม.ค. ๒๕๕๒

 

คณะเปิ้ล
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม ๑๔ มกราคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เริ่มต้น เริ่มต้นเราทำ เราไม่กลัวใคร คือว่าไม่ห่มผ้า ห่มผ้าไม่ห่มผ้า ห่มผ้าเพราะว่าในวินัยมันมีอยู่แล้ว นั่นคือสอนพวกเอ็งไง ถ้าพูดถึงเอ็งไปเรียนหลักเลยแล้วเอ็งจะไม่กลัวใครเลย เพราะในวินัย พระป่า พระป่า พระบ้าน พระป่านะ พระป่า เขตบ้าน เขตวัด เขตอาวาส นุ่งผ้าอาบได้ นุ่งได้เพราะเขตวัด ถ้าเขตวัดก็เหมือนอยู่ในบ้านเรา

สมมุติเราอยู่ในบ้านเรา เราจะใส่เราจะเลือกชุดอะไรก็ได้ใช่ไหมตามสะดวกของเรา เราอยู่ในบ้านเรา แต่ออกนอกบ้านไปเราควรทำอย่างนั้นไหม ภิกษุออกนอกเขตอาวาส ต้องนุ่งสบง ต้องห่มผ้า ธุดงค์ไป พอธุดงค์ไป เขตบ้าน บ้านคืออะไร บ้านคือหมู่บ้านหรือบ้านตัวบ้าน อ้าว! ตีความนะ พระเถียงกันเวลาเรื่องธรรมวินัย

บ้านคือหมู่บ้าน เข้าเขตหมู่บ้านคือเข้าบ้านแล้ว เขตรั้ว ภาษาบาลีมันคือขื่อคาหรือเถียงบ้าน เถียงบ้าน คือว่าจะเข้าในเขตบ้าน แค่ไหนคือเขตของบ้าน เดินเฉียดเข้าไปในเขตบ้าน ใส่รองเท้าไป ใส่รองเท้าเข้าบ้าน กางร่มเข้าบ้าน เป็นอาบัติทุกกฏหมดในเสขิยวัตร

ทีนี้พระก็เถียงกันว่าบ้านคืออะไร บ้างก็ว่าบ้านคือ ๓ หลังขึ้นไปเรียกว่าหมู่บ้าน คือบ้าน บ้านหลังหนึ่งไม่เรียกว่าบ้าน ทีนี้ภาษาเรา ภาษาปัจจุบัน เรียนตามกฎหมาย ตามกฎหมายต้องตีตัวตามอักษรว่าบ้านในสมัยพระพุทธเจ้า บ้านหมายถึงหมู่บ้านหรือหมายถึงตัวบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ปัจจุบัน บ้านคือตัวบ้านเรา ทีนี้เข้าบ้านใช่ไหม เข้าบ้านมารยาทสังคม กางร่มเข้าไปก็น่าเกลียด ใส่รองเท้าก็ไม่ได้ ใส่รองเท้าเข้าไป ภิกษุ ธรรมดาถ้าเป็นองค์อื่นเราตีอาบัติทุกวันเลย

เขตของสงฆ์ เราล้างเท้า แล้วเท้าเราเช็ดเท้าไม่เกลี้ยง รอยที่เราเหยียบไป รอยเท้าเรา ๑ รอยเป็นอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว แล้วเราใส่รองเท้าเดินทุกวันเลย เราเป็นอาบัติวันหนึ่งกี่ร้อยตัว แต่วินัยเว้นไว้แต่ป่วย เราเป็นโรคภูมิแพ้ เราแพ้ความเย็น เราป่วย ถ้าป่วย ยกเว้นอาบัติ นี่คนป่วย พระอยู่กับพระเขาทำกันไหม? ไม่กล้า

นี่ไง ถ้าพูดถึงห่มผ้า อันนี้มันก็โลกเป็นใหญ่ไง ประสาเรา ถ้ามันสวยงามเราก็ยอมรับนะว่ามันสวยงาม ที่เขาทำกันอย่างวัดในกรุงเทพฯ เราดูถูกแล้ว วัดในกรุงเทพฯ ไม่ใช่วัดเดี๋ยวนี้ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่ามันเป็นที่สาธารณะของโยมเขา ที่จอดรถ ที่หาผลประโยชน์ ที่ตลาดนัด ที่ทุกอย่างเลย แล้วพระอยู่ไหนวะ

ทีนี้พระจะออกมาต้องห่มผ้านะ ภาษาเรานะ ถ้าเราพูดภาษาเราว่า ดัดจริต ตอแหล คือว่าวัดในบ้านของเรา ในเขตอาวาส เจ้าอาวาสเป็นเจ้าบ้าน เจ้าบ้านมีอำนาจในบ้านเราไหม ใครจะเข้ามาในเขตวัดเรา กูจะปิดกุญแจ กูจะล็อกกุญแจ กูจะไม่ให้ใครเข้า มันเรื่องของเจ้าอาวาส แต่เจ้าอาวาสกลายเป็นไปเคารพหัวหมา ไปหางเสือเลย หัวหมากับหางเสือไง เพราะอะไร เพราะกรรมการเป็นใหญ่ใช่ไหม กรรมการหาผลประโยชน์เข้าวัดใช่ไหม ก็เลยไปปล่อยให้โลกเป็นใหญ่ไง อย่างที่พูด พอเขาทำเป็นประเพณีแล้ว พวกเอ็งไปวัดไหนก็จะ โอ้โฮ! พระออกมานี่ห่มผ้าเรียบร้อยนั่นน่ะถูกต้อง กลายเป็นใครเป็นใหญ่

แต่ถ้าเราถ้าวัดของเรา เราเป็นใหญ่ กูทำอย่างไรก็ได้ ถ้าพูดถึงเวลาเป็นกิจกรรม เป็นสังฆกรรม เวลาอุโบสถ กูเรียบร้อยกว่าพวกมึงอีก กูมีสังฆาฏิพาดอย่างดีเลย สังฆกรรมต้องถูกต้อง แต่ไม่ใช่สังฆกรรม คือเราไม่ผิดกฎกติกาทั้งหมด เราถูกต้องหมด แต่โลกมองว่า ทีนี้พระไม่มีจุดยืน พอโลกเขาเสียดสี แรงเสียดสีโลกขึ้นมา เห็นโลกเป็นใหญ่ไง

หลวงตาพูดบ่อยนะ เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไป เหยียบหัวธรรมวินัยคือเหยียบหัวกติกานี้ไปไง ฉะนั้นว่านู่นดีนี่ดี ดีของใครล่ะ ดีเพราะไปเห็นสังคมเป็นอย่างนั้นใช่ไหม แล้วไปดูกฎหมายสิ เซ็ง สังคมทำกับกฎหมาย กฎหมายถูกต้อง สังคมทำไม่ถูกต้องนะเว้ย มึงไปเห็นการกระทำของสังคมมันมาตามนั้น แล้วกฎ แล้วธรรมวินัยอยู่ไหน

โธ่! เราไปวัดเทพศิรินทร์นะ กูเข้าไปถึงอย่างนี้เลย กูเดินเข้าไปในโบสถ์เลย เฉยเลย ไอ้พวกโยมเขาก็นั่งกันอยู่เต็มเลยนะ เรียบร้อยหมดเลย กูบอก “พระป่า ขอเที่ยวหน่อย” ไม่สน กูไม่รู้จะพูดอย่างไร ไม่พูดนะ วันนั้นไปเผาศพแม่ไอ้เกรียง กูเดินเที่ยวอย่างนี้ เดินทั่ว คือเข้าไปในโบสถ์เฉย เขานั่งกัน ตื่นกันหมด ไม่สน

ไม่ใช่ ไม่ใช่อวดดี ไม่ใช่อะไร ประสาเรา เขาเรียกตรวจสอบไง ลองดู ดูแรงกระทบไง ดูถึงสังคม ดูถึงกาลเวลาของสังคมมันวิปริต มันไปถึงไหนแล้ว เวลาเราไป เราจะตรวจสอบเลยว่าสังคมมันอัปลักษณ์ มันวิปริต มันเป็นขนาดไหน แล้วกูนี่ทำถูกต้อง กูดูซิว่าแรงเสียดสีมันจะแรงขนาดไหน

แต่ถ้าพูดประสาเรานะ นี่เวลาพูด ความคิดเราคนเดียวนะ แต่ไปคิดกับพระผู้ใหญ่นะ เราตายเลย เพราะอะไร เพราะนี่สังคมเขายอมรับกันแล้วไง เขาหาว่าพระชายขอบ พระบ้านนอก มาจากไหนมาลองดี มาลองดีกับพระผู้มีอำนาจ

ทีนี้เวลาเราไปทำ เราไปทำของเราคนเดียวนะ ไม่มีพระไง เราไป ถ้ามีพระ กูก็หลบแล้ว เราไม่ไปยุ่งกับใครทั้งสิ้น มีพระ กูแฉลบออกแล้ว กูไปทางอื่น เพราะเราไม่ต้องการมาหาเรื่องกับใคร นี่เขาเรียกว่าปลงธรรมสังเวชไง ไปดูสัจธรรมไง นี่หัวกู ไม่ใช่หัวพวกมึง แต่หัวพวกมึงปั๊บนะ มึงต้องไปฟังให้เขาชักใยไง แต่ของกูไม่ใช่ เพราะกูจับหลักของกูได้ นี่พูดถึงห่มผ้าไม่ห่มผ้า

ทีนี้อย่างที่ว่าไอ้เรื่องหนาวนั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าห่มแล้วถูกต้อง หรือว่าห่มแล้วดีงาม แล้วสวยงามนะ สวยงามมึงก็ไปร้านทอผ้าสิ ไปเวอร์ซาเชก็ได้ จะตัดให้มึงสวยๆ เลย

โยม ๓ : อย่างนี้ก็คือเท่ากับว่าในเขตของวัด รั้ววัดทั้งหมดเลย เป็นเขตอาวาส

หลวงพ่อ : เป็นเขตอาวาส ใช่

โยม ๓ : ถ้ากางร่มนี่ไม่ได้

หลวงพ่อ : กางร่มได้ เพราะกางร่มในวัด ไม่ใช่กางร่มในบ้าน

โยม ๓ : ก็มันเป็นบ้านแล้วไม่ใช่หรือ

หลวงพ่อ : วัดกับบ้านมันคนละเรื่อง มึงแยกไม่เป็นแล้ว วัดกับบ้านคนละอัน ในวัดทำได้ ในบ้านทำไม่ได้

โยม ๓ : อ๋อ ในบ้านของคนทำไม่ได้

หลวงพ่อ : ใช่ เพราะในบ้านของคน เพราะว่าอะไร เพราะภิกษุนี่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ไง ภิกษุทำให้ศรัทธาตกล่วงไง คือว่าพวกนี้พวกมิจฉาทิฏฐิหมดเลย ไม่สนใจเลย แล้วกูพยายามจะโน้มนำเข้ามา แล้วมีคนมายุแยงให้ออกไปไง ศรัทธาไง เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์สอนก็สอนเพื่อ เขาเรียกคณะศรัทธา พอดึงศรัทธาเข้ามา เข้ามาถึงศาสนา แล้วคนที่มันทำลายศรัทธาอันนี้ พระองค์ไหนที่มันทำลายศรัทธา เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ทำศรัทธาไทยให้ตกล่วง

เวลาพระไตรปิฎก การแสดงธรรม คนที่ศรัทธาแล้วให้มั่นคง คนที่ศรัทธาให้ศรัทธามากขึ้น คนที่ไม่ศรัทธา ไม่สนใจ ให้เขาสนใจฟัง นี่ถ้าพูดถึงเวลาเทศน์โปรดโยมนะ แต่เวลาเทศน์เอาพระไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว พอเทศน์เอาพระขึ้นมานะ ดูสิ อนุปุพพิกถา พูดเรื่องของทาน เรื่องของศีล เรื่องของสวรรค์ เรื่องของเนกขัมมะ เรื่องของนิพพาน ทีนี้พอเอ็งศรัทธาเข้ามาแล้วนะ เอ็งศรัทธาแล้วใช่ไหม ทีนี้ได้เวลากระทืบแล้วไง บี้ บี้เพื่อฆ่ากิเลสไง ก่อนนั้นต้องให้ศรัทธาก่อน พอศรัทธามาก่อนแล้วก็บี้ บี้ บี้ให้แหลกไปเลย ถ้าไม่บี้ กิเลสมันก็ออกไม่ได้

ทีนี้คนมันไม่เข้าใจ ว่าเวลาทำเขาให้เสื่อมศรัทธาคือเราทำตัวชั่ว เราทำเราชั่วใช่ไหม เราทำให้เขาเห็นแล้วเสื่อมจากศาสนาไป แต่เวลาการเทศนาว่าการมันไม่ใช่ชั่ว คือบี้กิเลสไง หลวงตาจะบอกประจำเลย เราไม่ได้ด่าคนนะ เราด่ากิเลสของคน ท่านไม่ได้ว่าใครเลย ท่านว่ากิเลสบนหัวมึงน่ะ

โยม ๓ : ดีมากเลยมันเหมือนกล่าวถึงบุคคลที่ ๓ ไม่ด่าเราตรงๆ

หลวงพ่อ : อ้อ! อ้อสิ โธ่!

โยม ๓ : มันฟังแล้วมันไม่ใช่เรานะ

โยม ๓ : มันชื่อกิเลส

โยม ๓ : มันแค่เฉียดๆ อะไรอย่างนี้ กิเลสมันอย่างนั้น กิเลสมันอย่างนี้ บอกไม่ใช่เรา

หลวงพ่อ : ไอ้อย่างนี้ทำให้เสียหาย นี่คนฟังเทศน์ไม่เป็นนะ ถ้าฟังเทศน์เป็นนะ กูอย่างเดียวเลย ต้องเรา ต้องเรา มันถึงสะเทือนถึงกิเลส

โยม ๓ : เฉียดๆ เฉยๆ ผ่านๆ

หลวงพ่อ : เพราะอะไร เพราะพวกนี้ยังไม่ใช่นักปฏิบัติ ถ้านักปฏิบัตินะ โอ้โฮ! ขนาดเทศน์ใครก็แล้วแต่นะ น้อมเข้ามา โอปนยิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรมไง ธรรมมันอยู่ที่นี่ไง เวลามันโดนด่าทีหนึ่งมันก็ ธรรมก็เกิดแล้ว

โยม ๓ : เฉียดๆ บุคลที่ ๓

หลวงพ่อ : ไม่เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม ไปปฏิเสธธรรมะ เอ็งก็ได้แต่ขี้กลากไง เอ็งก็ไม่ได้เนื้ออะไร

โยม ๓ : หลวงพ่อ แล้วตกลงที่หนูถามหลวงพ่อเพราะหนูสงสัยจริงๆ เรื่องศีล มันเหมือนกับว่าที่หนูเข้าใจนะ คือหนูสงสัยว่า

หลวงพ่อ : ไม่หรอก

โยม ๓ : ศีล ๕ คือศีลของฆราวาสรักษาง่ายกว่า

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๓ : การล่วง การล่วงผิดศีลมันยากกว่าเพราะมันรักษาได้ง่ายใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : กำลัง

โยม ๓ : แต่ทีนี้มันก็ทำให้เราภาวนาได้ง่าย ถ้าเราเป็นฆราวาสแล้วอยู่วัด กับพระถือศีล ๒๒๗ นี่เหมือนกับว่า คือพอมันผิดแล้วการภาวนามันไม่ก้าวหน้า ถูกไหม

หลวงพ่อ : มันปลงอาบัติได้ไง ไอ้อย่างนี้เป็นกังวล เพราะศีลมากขึ้นไป กิเลสมันโดนจำกัด โดนขีดวงมาก มันจะอึดอัด ต้องตีมุมกลับ ต้องมองมุมกลับว่า ศีล ๕ คือว่าตาข่ายมันกว้าง เราลอดตาข่ายได้ตลอดใช่ไหม พอตาข่ายมันถี่ขึ้นมา กูไปไม่ได้แล้ว ชักลำบากแล้ว ทีนี้การกระทำมันเกิดตรงนี้ไง เวลาศีล เขาเรียกว่าศีลไม่พอ ศีลไม่พอตรงนี้ไง

ศีล ๕ ใช่ ปฏิบัติได้ ศีล ๕ เป็นพระอรหันต์ได้ แต่ศีล ๕ เป็นพระอรหันต์ได้มันต้องคนที่ปฏิบัติแล้วมีช่องทางไปได้ ศีล ๕ เป็นพระอรหันได้ แต่ไม่เคยไปสักที เพราะอะไร เพราะปฏิบัติง่าย แต่เพราะมักง่าย เพราะง่าย ก็เลยเหลวไหลไง

แต่ถ้าพอศีล ๘ ขึ้นมา มันชักเริ่มขึ้นมาแล้ว ข้อจำกัดมันมากขึ้น พอข้อจำกัดมากขึ้นปั๊บ เพราะไม่กินข้าวเย็น กินข้าวเย็นไม่กินข้าวเย็น ความต่างมันเยอะแยะเลย ที่ว่าไม่กินข้าวเย็น ศีล ๘ ไม่กินข้าวเย็นแล้ว ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล ๒๒๗ ปั๊บ มันยิ่งมีความระวังมากขึ้น พอมีความระวังมากขึ้น มันก็เหมือนกับจำกัด ตาข่ายมันจะถี่มากขึ้นเป็นธรรมดา คำว่า “ศีลพอไม่พอ” ถ้ารักษาได้มันจะมีประโยชน์มากกว่า

มุมกลับนะ เราอยู่ในวงการพระ เรารู้ เวลาพวกโยมมา มาถาม มาทุกวันเลย มาทีไรถามทุกทีเลย ไอ้พระมันก็งงนะ เอ๊! กูอยู่วัดเป็นปีๆ กูไม่มีปัญหาจะถามนะ แต่ไอ้พวกนี้มันมาถามปัญหาตลอดเลย นี่มันมุมกลับนะ เราบอกกับพระ พระเข้าใจไง พระ เราบอกพระนะว่าเราอยู่ในนี้ อยู่ในพระ เราอยู่ในที่เขาเรียกว่าไม้แห้ง ของนี่นะ ปลา ปลาอยู่ในน้ำใช่ไหม เวลาปลาขึ้นมา เบอร์กระชังบนที่ตากปลา ปลาตากไว้มันก็แห้ง ปลาแดดเดียวไง งอกิ่งงอขิงเลย ไอ้โยมพวกนี่ปลาในน้ำ ปลาอยู่ในน้ำไง มันก็สดชื่นนะ เวลามันจะมาวัดนะ มันก็เตรียมตัวเลยนะ เสพทุกอย่างให้อิ่มหนำสำราญเลย แล้วก็มาวัด มันก็ไม่คิดอะไรใช่ไหม ภาวนา อืม! ก็ไปดีอยู่พักหนึ่ง

บางทีพระมันไม่ค่อยเชื่อเรานะ พระทุกองค์บอก พระเราไม่ค่อยมีปัญหาถามเรา มันบอกว่านี่โยมทำไมมีปัญหาถามได้ทุกวันเลยวะ แล้วโยมมาวัด คนนู้นก็ภาวนาดี คนนี้ก็ภาวนาดี แต่กูภาวนาไม่ดี ย้อนกลับมาศีลเยอะศีลน้อยนี่ไง ภาวนาดี แต่มันดีฟ้าแลบไง ฟ้าแลบแว็บ หายเลย ฟ้าแลบ ดีแบบฟ้าแลบ ดีวันสองวัน

การทำต่อเนื่องนี้แสนยาก การทำฉาบฉวยนี้ง่ายดายนัก เลียนแบบนี้ง่ายนัก แต่ถ้าเลียนแบบแล้วจะทำให้มันต่อเนื่อง ทำให้มันดีขึ้นไปนี่แสนยาก การตีเมืองโคตรยากเลย แต่รักษาเมืองยากกว่าการตีเมืองอีก เมืองที่ประเทศนี้กว่าจะตีเขาได้เกือบเป็นเกือบตายเลย แต่ยึดเขาได้แล้วเอาอยู่ไหม ดูอัฟกานิสถานยังเอาไม่อยู่เลย อิรัก ๘ ปี เอาอยู่แล้ว ยึดได้แล้วเอาเมืองเขาอยู่ไหม

การปฏิบัติได้แล้วแต่ละขั้นแต่ละตอน จะรักษาทรงไว้นี่นะ โคตรยากเลย สมาธิเดี๋ยวก็เสื่อม ปัญญาเกิดแว็บๆ หายแล้ว ทีนี้พระมันทำต่อเนื่องไง คือมันครองเมือง ต้องครองให้ได้ ไม่ใช่ตีเมือง การฆ่ากิเลสมันมีหยาบมีละเอียดไปอีกหลายชั้นนัก

อันนี้เรื่องศีลอย่างที่เอ็งว่า มันก็จริงอย่างที่เอ็งพูด เราถึงบอกเวลาเราเทศน์ โลกียปัญญา เอ็งจะปฏิเสธโลกียปัญญาไม่ได้ เอ็งจะปฏิเสธความคิดสามัญสำนึกของเราไม่ได้ เพราะคนมันมีความคิด มีสามัญสำนึก เราจะปฏิเสธสามัญสำนึกเราได้อย่างไร แต่สามัญสำนึกเกิดจากเราใช่ไหม มันกิเลสชัดๆ แต่มันก็ต้องเกิดจากกิเลสนี่แหละ เพราะจะฆ่ากิเลส แต่เพราะไปปฏิเสธว่าจะฆ่ากิเลส จะไม่ให้มีกิเลสก่อน ก็พระอรหันต์เท่านั้นที่มาปฏิบัติ จริงไหม

ทีนี้พอย้อนกลับมาที่ศีล พระในสมัยพุทธกาลไง โอ้โฮ! ภาวนาดีมากเลย อย่างนี้เราบวชมาเป็นพระอรหันต์แน่ๆ เลย พอบวชเข้าไป นู่นก็ผิด นี่ก็ผิด ไปลาพระพุทธเจ้าสึกเลย

พระพุทธเจ้าบอกว่าทำไมจะสึกล่ะ

โอ้โฮ! นึกไม่ถึง นู่นก็ผิด นี่ก็ผิดไป ยุ่งหมดเลย เยอะ ยุ่งมาก

พระพุทธเจ้าบอกรักษาศีลข้อเดียวได้ไหม

ได้

ถ้ารักษาได้ อยู่ไหม

อยู่

รักษาใจสิ รักษาใจข้อเดียว เป็นพระอรหันต์เลย เป็นพระอรหันต์เลย ถ้าใจเรา รักษาใจเรา เรารักษาใจเรา ไม่มีเจตนา ไม่มีอะไรเลย มันจะผิดพลาดก็เรื่องของกรรม เรื่องของกิริยา มันแก้ไขได้ เว้นไว้แต่ปาราชิก ๔ เท่านั้นน่ะ ถ้าทำแล้วยอดด้วน ขาดไปเลย ถ้าเป็นผู้หญิงภิกษุณี ปาราชิก ๘ พระปาราชิก ๔ ถ้าไม่ปาราชิกนะ แก้ไขได้หมด

โยม ๓ : แล้วสรุปแล้วหลวงพ่อยังไม่สรุปเลย

หลวงพ่อ : สรุปว่าอย่างไร

โยม ๓ : สรุปว่า

หลวงพ่อ : ศีลมากดีกว่า ดี

โยม ๓ : ศีลเยอะมันทำให้ภาวนาดีหรือหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : ดี ดี

โยม ๓ : ก้าวหน้ากว่า

หลวงพ่อ : ก้าวหน้ากว่า

โยม ๓ : ทั้งๆ ที่ อย่างสมมุติว่ามันอาจจะทำให้เกิดอุปสรรคเช่น โอ้โฮ! นู่นนี่ ปวด ไม่สบายก็กินยาไม่ได้

หลวงพ่อ : ได้

โยม ๓ : หรือมีปัญหา ไม่ๆ กินได้ สมมุติว่ายาบางอย่าง ไม่สบาย ไม่มีโยมถวายยา สมมุติๆๆ

หลวงพ่อ : ใช่ ไม่ต้องสมมุติ

โยม ๓ : ยากลำบาก

หลวงพ่อ : ลำบาก ถ้าเป็นพระ นี่กู

โยม ๓ : เพราะหนูเคยถามพระ ท่านทำไมท่านลำบากขนาดนี้ ทำไมท่านไม่สึกก่อนแล้วภาวนาให้มันได้ก่อนแล้วท่านค่อยไปบวช นี่หนูพูดอย่างนี้จริงๆ นะ

หลวงพ่อ : นั่นน่ะสิ กูจะบอกมึงว่านะ กูจะบอกมึง กูจะบอกมึง กูจะบอกมึงว่าไม่ยาก

โยม ๓ : ง่ายกว่า

หลวงพ่อ : ง่ายกว่า มันยากเพราะเอ็งไง

โยม ๓ : สรุปแล้วคือมันทำให้ยาก ภายนอก

หลวงพ่อ : ไม่ยาก ไม่ยาก ไม่ยาก มันยากสำหรับมึง ยากสำหรับคฤหัสถ์ที่มองมาพระ แต่ตัวพระเองไม่ยาก ตัวพระไม่ยากเลย ถ้าเราอยู่นะ เราอยู่กับครูบาอาจารย์นะ ถ้าไม่สบาย ก็ไม่สบายก็พุทโธ ตายก็ตาย หายก็หาย ก็เท่านั้น มีอะไรยาก

โยม ๓ : ก็มันอยากได้ ได้ธรรมะก่อนตาย หลวงพ่อ

หลวงพ่อ : ก็ได้ก่อนตาย ก็ตอนที่มันจะตายมันจะได้ธรรมะ

โยม ๓ : ก็มันกลัวตายก่อน

หลวงพ่อ : ก็ไปกลัวเอง แล้วไปบอกว่ามันยาก ก็ไอ้ตรงที่มันยากน่ะกิเลสมันหลอก

โยม ๓ : ฉะนั้น สรุป สรุป ถ้าหนูอยาก เฮ้ย! ภาวนา กูอยากภาวนาได้ว่ะ ไปถือศีลภิกษุณีเลยแล้วภาวนาง่ายกว่าไหม ง่ายกว่ามาเป็น โทษนะ หลวงพ่อ หนูถามดูเฉยๆ

หลวงพ่อ : ถ้าเป็นภิกษุณีจริงๆ ภาวนา มันก็ประสาภิกษุณี ไอ้คำว่าภาวนานี่นะ ไอ้ศีลนี่นะ พอเมื่อกี้เอ็งพูดเรื่องนี้ปั๊บ เราอยากจะเอาเทปมาให้เลยนะ ไตรสิกขา กูพูดไตรสิกขาเป็นครั้งสุดท้าย

โยม ๓ : อ๋อ! หลวงพ่อพูดไปแล้วใช่ไหม

หลวงพ่อ : เออ

โยม ๓ : หนูไปฟังก็ได้

หลวงพ่อ : เมื่อวานกูพูดไตรสิกขานะ ปัญญาของศีล ปัญญาของสมาธิ ปัญญาของขั้นปัญญา มันคนละปัญญา ฉะนั้นจะบอกว่าเรื่องของศีลนี่นะ เรื่องของศีลที่ว่าศีลเยอะ ศีลมากศีลน้อยแล้วภาวนาได้ง่าย ถ้าศีลมากภาวนาง่ายนะ พระเป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้ว พระเราเป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้ว เพราะพระในเมืองไทยถือศีล ๒๒๗ ทั้งนั้นเลย แล้วเอ็งว่าพระชั่วมากหรือพระดีมาก

ศีลมันเป็นสิ่งที่ กูบอกเมื่อวานว่าเป็นเรื่องของตาข่าย มันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก แต่มันอยู่ที่วาสนาของคนด้วยไง ถ้าคนไม่ได้สร้างมานะ มึงตะบี้ตะบันทำขนาดไหนนะ ปัญญามันไม่ทะลุไง แต่ถ้ามึงมี สมมุติอย่างเรา เรามีอยู่ ๕๐-๕๐ ว่าเราปฏิบัติก็มีโอกาสหลุด ถ้าเราไม่ปฏิบัติ เราก็อยู่ในกระแส คือ ๕๐ เรามีโอกาส ๕๐ ถ้าเราบวชขึ้นมาปั๊บ แล้วเรามีศีล อันนี้จะชัวร์มากเลย เพราะศีลมันจะช่วย เพราะมันมีโอกาสอยู่แล้ว ๕๐ ศีลนี่ก็ส่งพรวดเลย แต่ถ้าสมมุติโอกาสเรานี่นะ มีสัก ๑๐ เปอร์เซ็นต์หรือ ๕ เปอร์เซ็นต์ หรือแทบไม่มีเลย ศีลมันก็แค่ทำให้เราอยู่ได้ดีเท่านั้นเอง

มันไม่ได้อยู่ที่ศีล มันอยู่ที่การปฏิบัติของเรา เพราะอะไร ศีลสิกขาใช่ไหม สมาธิสิกขาใช่ไหม ปัญญาสิกขาใช่ไหม ศีลก็คือศีล ศีลไม่ใช่ปัญญา แต่ตัวศีลมีประโยชน์มาก มีประโยชน์มาก ถ้าพูดถึงเราก้ำกึ่ง เรามีโอกาส ตัวศีลจะส่งพรวดเลย แต่ถ้าเราไม่ก้ำกึ่ง ตัวศีลมันก็ไม่ทำให้เราไม่เสีย ตัวศีลทำให้เราไม่เสียนะ มันกั้นไว้

อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ อย่างพวกเอ็ง มันอยู่ในสังคมของพวกเอ็งไง อย่างสังคมของเรานี่นะ เราอยู่ทางอีสาน เราอยู่ด้วยกัน มีพระตายทุกปี ป่วยตายต่อหน้ากันอย่างนี้ ตายทุกปี ตายเสร็จก็เผากันเดี๋ยวนี้ คือเรามันเหมือนสมัยพุทธกาล ไอ้ที่พระไปกัน ๗ องค์ไง พระไป ๗ องค์แล้วขึ้นไปบนหน้าผาตัด ภูเขาตัด ทำบันไดลิง นั่งร้านขึ้นไป พอทำ สัญญาทำไว้แล้วถีบทิ้งเลย คือถ้าใครภาวนาได้แล้วลงมาได้ ใครภาวนาไม่ได้ให้สละตาย

ขึ้นไป ๗ องค์ ๒-๓ วันแรก เหาะลงวันแรก องค์แรกเหาะลงมาเลย พระอรหันต์ สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์แรก องค์ที่ ๒ สำเร็จเป็นพระอนาคามี ลงมาเลย ๒ องค์ อีก ๕ องค์เป็นปุถุชนแล้วตาย ตายจากนั้นหมดเลย พอตายแล้วปั๊บ ไอ้ ๕ องค์ที่ตายมาเกิดเป็นพระพาหิยะ พระพาหิยะที่ฟังเทศน์พระพุทธเจ้าหนเดียวแล้วเป็นพระอรหันต์เลย ที่เรือแตกแล้วขึ้นจากน้ำมา

ไอ้ ๕ องค์นี้ องค์ที่อยู่นั่น องค์นั้นมาเกิดเป็นพระพาหิยะ แล้วเรือแตก พอเรือแตก มันก็ มันก็ชีเปลือย เรือแตกมันก็ขึ้นมาชีเปลือยจากน้ำ พอขึ้นมา โอ้โฮ! ชาวบ้านเขาเห็นนุ่งใบไม้ ชาวบ้านบอกพระอรหันต์ เขาตื่นเต้น เขาศรัทธานะ ก็เลยลืมตัวว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ไม่ยอมไปไหน

พระอนาคามี เพื่อนพระองค์นั้นมาเตือนว่า “ท่านไม่ใช่พระอรหันต์หรอก ปัจจุบันนี้พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ให้ไปฟังพระพุทธเจ้า” พอเพื่อนเตือนปั๊บ นี่บารมีไง พอเพื่อนเตือนก็สลดใจยอมรับว่า เออ! กูไม่ใช่พระอรหันต์หรอก เพียงแต่กูเห็นลาภเยอะ กูก็ตื่นไปพักหนึ่ง ก็เลยเชื่อ ไปฟังพระพุทธเจ้า ไปถึงพระพุทธเจ้าบิณฑบาตอยู่ ขอฟังเทศน์

พระพุทธเจ้าบอกเราไม่มีเวลา เรากำลังบิณฑบาตอยู่

ขอฟังเทศน์ คนเราอายุอาจจะสั้นก็ได้

พระพุทธเจ้าเทศน์ทีเดียวเป็นพระอรหันต์เลย ขอบวชเดี๋ยวนั้นเลย “เธอไม่มีบริขาร เธอไปหาบริขาร”

ไปหาบริขารอยู่ โดนควายขวิดตายเลย

ทำไมเขาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าทีเดียวเป็นพระอรหันต์ล่ะ แล้วเอ็งคิดดูสิ เอ็งเคยสละตายมากี่ชาติ นั่นน่ะ เราถึงได้พูดบ่อย เราพูดในซีดีนี้มากเลยว่า คนปฏิบัติง่ายหรือคนปฏิบัติยาก อันเดียวกันทั้งนั้นแหละ คือถ้าปฏิบัติง่าย มันก็ยากมาเก่า แต่ถ้าปฏิบัติเดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนี้มันไม่ยาก เก่าเราก็ทำมาน้อย คือเขาเคยทุกข์ยากมาก่อน มันต้องแลกด้วยอย่างนี้หมด มันต้องมีทุนทั้งนั้นน่ะ ทุนใครหนาทุนใครบาง มันอยู่ที่ทุนทั้งหมด ทีนี้ถ้ามีทุนมากขึ้นมามันฟังแล้วปิ๊งหมดนะ

โธ่! เราไปอยู่กับหลวงตานะ กูอยากฟังฉิบหาย กูจะได้ข้อมูลใหม่ๆ ทุกวันเลย กูจะฟังตลอด มันฟังแล้วมันเก็บ อย่างที่เอ็งพูดเมื่อกี้ พอฟังมา พอมาหากู กูหลบปั๊บ บอกไม่ใช่ ไม่ใช่ มึงจะบ้าหรือ ทิ่มเข้ามาหาเรา ไอ้นี่ขนาดเทศน์มา บอกไม่ใช่ๆๆ นี่ความคิดมันต่างๆ เห็นไหม แล้วกิเลสเป็นอย่างนี้ กูไม่ว่าเอ็งหรอก

เพราะหลวงตาเวลาท่านพูดนะ ท่านพูดบ่อย เราขำมากเลย เวลาท่านเทศน์อยู่ที่บ้านตาด เวลาพวกโยมมาเยอะๆ ท่านด่านะ โทษนะ “พวกนี้ไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนั้น” พอพูดเสร็จนะ “ไม่ได้ว่าที่นั่งที่นี่นะ ว่าไอ้ฟากแม่น้ำโขงฝั่งนู้นน่ะ” แต่จริงๆ แล้วกูว่าไปแล้วไง แต่พูด กลัวเขาเป็นกรรม กลัวเขาเป็นบาปเป็นกรรม “ไม่ได้ว่าพวกนี้นะ ว่าไอ้พวกฟากน้ำโขงนู่นน่ะ ประเทศลาวนู่นน่ะ” ไอ้พวกนี้ก็ เฮ้อ! ชื่นใจ

โอ๋ย! เทคนิคมันเยอะ การสอนคนต้องมีเทคนิค กิเลสนี่นะ โอ้โฮ! มันร้อยสันพันคม ความรู้สึกของเรา

ฉะนั้น ไอ้เรื่องศีล เขารับประกัน ศีลมีมากต้องดีกว่าศีลน้อย ล้านเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าศีลมีมากแล้ว เราก็เอาจำนวนศีลมาวัดกัน ว่าศีลกูมากกว่ามึง กูต้องทำได้ดีสิ แต่ศีลกูมีมากกว่ามึง แต่กูไม่มีวาสนา ถ้าศีลมันมากกว่ามึงแล้วศีลดี พระเรา ๔-๕ แสนองค์ต้องเป็นพระอรหันต์หมดแล้ว ยิ่งศีลมีมากเหมือนกฎหมายมีมาก กฎหมายมีมากเอาไว้แถกัน เอาไว้ปลิ้น เอาไว้เลาะตามตะเข็บกฎหมายขึ้นไป

แต่ถ้าผู้ประพฤติปฏิบัติ ศีลคือศีล ถ้าเราผิดแล้วนะ ก็พุทโธๆๆ แล้วไอ้พวกนี้มันไม่เหมือนเราไง พวกเราอยู่ในป่านะ ของกูนั่งอยู่อย่างนี้ อยู่กับพวกอาจารย์เถียร หน้าหนาวห่มผ้า หน้าหนาวอยู่ในป่า ห่มอย่างนี้ เอาผ้าปิดหมด ทีนี้พอจะออก จะออกไง ก็คลายผ้าออก พอคลายผ้าออก ช้างมันมาหากิน มันไม่เห็นพระ สะบัดผ้าออก แปร๊น! โอ้โฮ! ความรู้สึกเรานะ เหมือนใครบีบแตรรถบัส แปร๊น! ในป่านะ พอมัน แปร๊น! มันตกใจมันก็ พรึ่บ! พรึ่บ! พรึ่บ! ไปเลยล่ะ ไอ้พวกเรา ๔-๕ องค์ก็ เฮ้ย! อะไรวะ มาดู ช้างไปนู่นแล้ว เราอยู่ในป่ากัน ถ้าอย่างนี้นะ ถ้ามึงไม่มีศีล มึงตายห่าหมด

พูดถึงไอ้พระที่ว่าเหี้ยๆๆ มันไม่เคยปฏิบัติ มันไม่เคยเข้าป่า ถ้าเข้าป่าไปนะ กลางคืนนะ ดูสิ ถ้ำสาริกาที่หลวงปู่มั่นไป พระตายแล้ว ๒ หรือ ๓ องค์ แล้วท่านคือองค์ที่ ๓ ไง แค่บิณฑบาตมา บิณฑบาตมา อย่างวันนี้ฉันเสร็จแล้ว ถ้าอะไรดีๆ ไข่เค็มกูเก็บไว้กินพรุ่งนี้ไง อาหารสะสมไว้กินแรมคืน แค่นี้เองนะ เทพารักษ์หักคอตายเลย แค่สะสมอาหารไว้กินแรมคืนนะ แล้วดูพระเดี๋ยวนี้มันทำเหี้ยอะไรกันขนาดนั้นน่ะ แล้วมันจะเหลือหรือ มึงลองเข้าป่าสิ

ไอ้พวกนี้มันไม่เคยเข้าป่า มันอยู่กับพวกเปรต เด็กคอยส่งเสริมมันไง ไปส่งเสริมมัน มันก็ชอบน่ะสิ ถ้าเอ็งศึกษาหลักอันนี้ปั๊บ เอ็งจะรู้เลยนะ ไอ้คำพูดนี้นะ เราไม่ได้พูดเองนะ มันมาจากพระไตรปิฎก มันเหมือนรัฐธรรมนูญ มันมีอยู่แล้ว เราไม่ได้เขียนมันมา พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ของนี้มันมีอยู่แล้ว ไม่มีใครบัญญัติ กูยังเสียใจเอ็งเลย เอ็งพูดอย่างนี้ เพราะเอ็งเวลาพูดใช่ไหม เอ็งบอกว่าอาจารย์เอ็งมาจากพม่า

พม่าเขาเคร่งมากนะเรื่องนี้ เรื่องวินัย พม่าจะชัดเจนมาก ทำไมเอ็งอยู่กับพระพม่ามา ทำไมเรื่องนี้เอ็งไม่รู้ กูงงเลย

โยม ๓ : พม่าเคร่งบางอย่างมากกว่าเมืองไทย แต่บางอย่างไม่เคร่ง อย่างเช่นสบู่ห้ามมีกลิ่น

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๓ : ถ้ามีสบู่ อย่างของเราใช้สบู่ลักส์ได้ เขาก็ดูถูกว่าพระไทยใช้สบู่ลักส์อะไรอย่างนี้นะ

หลวงพ่อ : เออๆ ว่าไป

โยม ๓ : ของเขาสบู่ไม่มีกลิ่น แต่ว่าบางอย่าง อย่างเช่นว่า ผู้หญิงประเคนของให้พระได้เลย

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๓ : มันก็ไม่เหมือนกัน

หลวงพ่อ : นวดพระได้ด้วย จับพระได้ นวดเส้นพระได้ เพราะพระเราเคยไปธุดงค์มา ตกใจเลย

โยม ๓ : เขาบอกว่ามันอยู่ที่ใจใช่ มันอยู่ที่ใจ คือจิตท่านมันแค่กระทบ แค่ร่างกายกระทบเฉยๆ

หลวงพ่อ : ไอ้อย่างนี้มันเหมือนกับไอ้นั่นไง ไอ้นั่น อะไรนะ อาจริยวาทไง เราถึงบอกว่าเราธุดงค์มา เรื่องอย่างนี้เราเข้าใจนะ เราธุดงค์มา ภาคใต้ก็อย่างหนึ่ง ภาคเหนือก็อย่างหนึ่งนะ ภาคเหนือนี่วัฒนธรรมเขาอย่างหนึ่ง ทีนี้พม่ากับไทย วัฒนธรรมก็อย่างหนึ่ง เขายังชมเลยนะ อย่างนั่งอย่างนี้เขาเรียกดัดจริตนะ นั่งอย่างนี้ แล้วยิ่งนั่งพับเพียบ ถ้าพระมานั่ง เขาจะนั่งยองๆ เหมือนหลวงพ่อคูณ เขานั่งอย่างนั้น ท่านั่งอย่างนั้นเขาถูก

โยม ๓ : ไม่ดัดจริต

หลวงพ่อ : เพราะอะไร เพราะว่าในรูป พระเวลาขอปลงอาบัติกันไง เขาจะนั่งยองๆ แล้วยกมือไหว้ นั่งยองๆ อย่างนั้นหมด แต่ไอ้ของเรามันแบบว่าชาววัง ออกมาจากผู้ดีไง ต้องเรียบร้อยไง

เขาทำวิจัยเรื่องนี้เยอะ อย่างเช่นพม่าใส่รองเท้าไม่ได้ ใครใหญ่โตขนาดไหนก็ใส่รองเท้าไม่ได้ ต้องถอดรองเท้าหมด แต่เวลาพระไทยเราตีว่าเคารพด้วยเครื่องแบบไง เห็นคนมีฐานะมา ศักยภาพเขาสูงใช่ไหม ขุนนางไง เคารพด้วยเครื่องแบบ คือพระตอแหล ว่าอย่างนั้นเถอะ พระไปตอแหลกับโยม นี่โลกเป็นใหญ่ พอโลกเป็นใหญ่ปั๊บก็ถือตามๆ กันมาแล้ว เพราะประเพณี เพราะกษัตริย์ สมัยนั้นสมัยโบราณ สมัยกษัตริย์ พอกษัตริย์มาถือว่าการแต่งตัวทรงเครื่องกษัตริย์นั้นคือการเคารพ ฉะนั้น กษัตริย์ไม่ต้องถอดรองเท้า แต่ถ้าเป็นพม่านะ ถอดหมด

มันอยู่ที่ผู้นำ ถ้าผู้นำได้วินิจฉัยอะไรแล้ว โธ่! ที่เราไปหาหลวงตาครั้งแรกเราตกใจไง เพราะหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเวลาให้พรไม่พนมมือนะ ท่านบอกพนมมือมันเป็นการไหว้ตอบโยม การไหว้ตอบเป็นอาบัติทุกกฏ ในบุคคลไม่ควรไหว้ ๑๐ อย่าง แล้วไปถามหลวงตาว่าหลวงตาทำไมยกพนมมือล่ะ

หลวงตาท่านพูดอย่างนี้จริงๆ หลวงตาท่านบอกว่าท่านเห็นว่ามันสวยงาม แล้วท่านก็พูดเอง ท่านเห็นว่ามันสวยงาม คำว่า “สวยงาม” มันอยู่ที่นิสัยไง นิสัยคนว่ามันสวยงามขนาดไหน แต่ท่านพูดอย่างนี้ปั๊บ แล้วท่านก็เป็นคนเฉลยเองด้วย บอกสมัยโบราณเรา สมัยโบราณในศาสนาพุทธ การให้พรเขาถือตาลปัตร เขาไม่พนมมือนะ พระยกมือไหว้โยมนี่ผิด พระยกมือไหว้พระนานาสังวาสไม่ได้ พระไหว้ภิกษุที่พรรษาอ่อนกว่าไม่ได้ พระไหว้เณรไม่ได้ แล้วพระเสือกไหว้โยมได้อย่างไรล่ะ หลวงปู่มั่นท่านไม่ทำนะ

ก่อนเข้าบ้านตาด เราเคยอยู่กับหลวงปู่หลุย หลวงปู่หลุยก็ไม่ให้ทำ เราไปอยู่กับหลวงปู่จวน หลวงปู่จวนเวลาให้พร โอ้โฮ! อย่างนี้เลย ยถา วาริวหาฯ ท่านไขว่ห้างเลยล่ะ เพราะอะไร พวกนี้มาจากหลวงปู่มั่น นี่หลวงปู่มั่น

เราถ้าเราไปดูในพระไตรปิฎก คือในพระไตรปิฎกบัญญัติไว้ พวกเราเข้มแข็งกล้าทำไหม พวกเราอ่อนแอกันไง ไม่กล้าทำตามกฎหมายไง ไม่กล้าทำตามวินัย กลัวกระแสสังคม ถ้าเรามีความมั่นใจว่าเราทำถูกต้องตามธรรมวินัย อ้าว! มึงฆ่ากู มึงฆ่ากูไปเลย ไม่สนเลยล่ะ คือของพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ แต่ไม่มีใครทำ ปล่อยไหลกันไป แล้วพอใครทำก็กลายเป็นหมาหางด้วน อยากดัง

พวกนี้ไม่ได้ศึกษานะ เราไปศึกษา เราไปอีสาน เราศึกษามาก แม้แต่ กปฺปิยํ กโรหิ หลวงปู่มั่นท่านพาทำอยู่แล้ว แต่สมเด็จมหาวีรวงศ์ฯ ท่านไม่ยอม อย่างไรก็ไม่ยอม สุดท้ายมายอมเพราะหลวงปู่ฝั้น ตอนอยู่ที่วัดป่าศรัทธารมย์ พวกนี้ไป หลวงปู่ฝั้นเอาพระไตรปิฎกไปให้ดูไง บอก กปฺปิยํ กโรหิ มันอยู่ในพระไตรปิฎกนะครับ ในพระไตรปิฎกบอกเลย บอกว่าถ้าของที่มันคมแข็งอย่างเช่นพริกไทย ให้ใช้ไฟจี้ มันอยู่ในพระไตรปิฎกหมด ท่านถึงยอมรับไง

คือว่าพวกนี้ตอนที่หลวงปู่มั่นท่านเริ่มออกมาเป็นผู้นำองค์เดียวกับหลวงปู่เสาร์ มันก็เหมือนกับคน ๒ คนไม่มีศักยภาพไง แล้วพอหมู่คณะมันขยายไป มันเห็นศักยภาพของคณะสงฆ์ คือตัวเอง เหมือนเรา เรามีปัญหากับใครแล้ว พูดกับคนนี้ไม่รู้เรื่องแล้ว แต่ไปพูดกับบุคคลที่ ๓ คือหลวงปู่ฝั้นท่านมีฤทธิ์ด้วย

อย่างเช่นหลวงปู่ลี วัดอโศการาม สมเด็จมหาวีรวงศ์ฯ พิมพ์ ที่ว่าท่านไปเพ่งไฟใส่ ดัดเอาจนได้ พอดัดจนได้ก็เห็นด้วย เห็นด้วย สังคมก็ทำได้ ท่านทำมา เราทำไป เหมือนกับเรานี่นะ พระชายขอบ พระอย่างเรานี้เขาดูถูกมาก เพราะเราไม่มี ไม่ใช่อยากมีนะ เราไม่มีพระครู เราไม่มีเจ้าฟ้าเจ้าคุณ เราไม่มีศักยภาพอะไรเลย เป็นเหมือนกับไอ้ขี้ครอกคนหนึ่ง

ของเขานี่เจ้าฟ้าเจ้าคุณ สมเด็จสังฆราช ใหญ่โตมโหฬาร คำพูดกูต้องศักดิ์สิทธิ์ เขาไปดูกันตรงนั้นน่ะ ทีนี้พอเราพูดอะไรไปเขาถึงดูถูกมาก แต่ดูถูก เมื่อก่อนดูถูกเพราะอะไร เพราะว่าเราไม่มีศักยภาพ แต่ตอนนี้เขาไม่กล้าดูถูกแล้วนะ เดี๋ยวนี้ไอ้ดูถูก ไอ้พวกดูถูกๆ พลิกจากหน้ามือเป็นหลังตีนหมดแล้ว บอก “ไอ้หงบหรือ อ๋อ! ไอ้หงบดี อ๋อ! ไอ้หงบๆ ไอ้หงบใช้ได้” แต่ก่อนนี่สัตว์ตัวหนึ่ง สัตว์ตัวหนึ่ง เพราะอะไร เพราะเราฝืน เราไม่สนน่ะ ไม่เคยสนเลย มึงตีมาเลย ใครมีความสามารถ อัดมาเลย ไม่สน เพราะอะไร เพราะทำตามพระธรรมวินัย

แต่อย่างพูดเมื่อกี้นี้ เรื่องศีลสำคัญ ทีนี้สำคัญมันก็มันระดับของศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีลมึงเต็มที่ สมาธิยังไม่เกิดก็เท่านั้นน่ะ แต่ถ้าสมาธิยังไม่เกิด ขนาดศีลมาก สมาธิยังไม่เกิด แล้วศีลน้อย สมาธิจะเกิดไหม

โยม ๓ : ไม่เกิดสิ ยิ่งไม่เกิดใหญ่เลย

หลวงพ่อ : ใช่ ทีนี้มันจะเกิดไม่เกิดมันอยู่ที่เรา ศีลมากศีลน้อยมันอยู่ที่เรา ความสมดุลเราถูกไม่ถูก ไอ้นี่พูดถึงเรื่องศีลนะ ทีนี้บางคนปฏิบัติไปแล้ว ถ้ามันก้ำกึ่งอย่างที่เราพูดเมื่อกี้ เรามีโอกาสอยู่แล้ว ถ้าศีลมันดี พุ่งเลย เพราะมีคนปฏิบัติหลายคนมากที่มันไปแล้วมันมีปัญหา แล้วไปถามครูบาอาจารย์ ทำไมเป็นอย่างนี้

ก็ศีลมันไม่พอ ศีลมันไม่พอนี่ไง แต่เราก็ไม่เข้าใจ ฉะนั้น อย่างนี้พวกเราถึงได้พยายามรักษาตรงนี้มาก

เมื่อกี้พูดถึงเรื่องนั้นเรื่องหนึ่ง แล้วเรื่องศีล แล้วเรื่องอะไรอีกเรื่องหนึ่ง ๓ เรื่องเมื่อกี้จำไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง

โยม ๓ : หนูแก้เรื่องพม่าก่อนนะ

หลวงพ่อ : เออ

โยม ๓ : คือที่หนูพูดมันอาจจะถูกมันอาจจะผิดก็ได้นะหลวงพ่อ อย่าไปถือคำของหนูนะ เท่าที่หนูรู้ ผิดบ้างถูกบ้าง ผิดบ้าง

หลวงพ่อ : ไอ้เรื่องนี้มันเป็นทั่วๆ ไปหมด

โยม ๓ : ไม่ หนูก็กลัวมันเป็นบาป อีกเรื่องหนึ่ง พระอรหันต์ทำไมถึงโมโหได้ หลวงพ่อ คนเรานี่นะ หลวงพ่อ หนูโดนด่าบ่อยค่ะหลวงพ่อ หลวงพ่อฟังดีๆ นะ คนเรานี่มันเหมือนมีพัฒนาการนะ พอเวลาอายุมากขึ้น อารมณ์ อารมณ์เสีย เขาเรียกอะไร

หลวงพ่อ : ตัณหา เราจะพูดอย่างนี้บ่อย

โยม ๓ : คือเหมือนกับว่าอายุมากขึ้นแล้วมันจะปลงได้อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ก็น่าจะไม่ต้องมีโมโหแสดงกิริยา

หลวงพ่อ : ใช่ พระอรหันต์ไม่ต้องโมโห อะไรนะ พูดพระอรหันต์ไม่ต้องโมโห

โยม ๓ : หรือไม่แสดงกิริยาก็ได้

หลวงพ่อ : อย่างนี้คนแก่ต้องไม่มีกิเลสหมด คนแก่ในโลกนี้ ใคร ๙๐ ปีปั๊บ ตั้งให้เป็นพระอรหันต์หมดเลย เพราะแก่แล้ว พอแก่แล้วไม่โกรธ เพราะพัฒนาการมาเยอะแล้ว ทีนี้พอใครแก่ปั๊บ ใคร ๘๐ ปีปั๊บ ติดตราเป็นพระอรหันต์ๆ เพราะอะไร เพราะจิตมันพัฒนาการมาเยอะแล้ว ไม่ต้องโกรธอีกแล้ว

โยม ๓ : ก็ หนูพูดได้ไหมหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : พูดสิ

โยม ๓ : หลวงพ่ออย่าว่านะ คืออย่างลูกศิษย์ทำผิด แหม! หลวงพ่ออย่าด่านะ อย่างวันก่อนนี้ลูกศิษย์ก็ทำผิด หลวงพ่อก็น่าจะปลงได้แล้ว ก็ลูกศิษย์เขาสติคือมันไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เหมือนพระอรหันต์นี่ อะไรอย่างนี้

โยม : ลูกศิษย์ที่ไหน ลูกศิษย์ที่ไหนทำผิด อย่างเช่นพี่โตเป็นต้น หลวงพ่อ แต่หนูเข้าใจหลวงพ่อ หลวงพ่อตั้งใจที่จะเคาะกิเลสกับพี่โต ทำไมหลวงพ่อไล่กลับ หนูก็เลย เอ๊ะ! แต่หนูไม่ได้ตำหนิเลยนะ แต่หนูสงสัยหนูสงสัยว่า

หลวงพ่อ : ต้องไล่กลับ ยังดีไม่ยิงเป้า จับยิงเป้าเลย

โยม ๓ : ทำไมต้องรำคาญ คือก็ไม่มีอะไร ก็นั่นน่ะ

หลวงพ่อ : ยิงเป้าเลย

โยม ๓ : คือหนูสงสัยตรงแค่ว่ามันอย่างไร ใช่ กิริยา มันเหมือนกัน

หลวงพ่อ : วันนั้นเราพูดไปมันติดไปในซีดี พอติดในซีดีไป เมื่อสองวันนี้หมอเต้ยมันมาถาม ถามคำนี้เลย บอกว่า หลวงพ่อบอกว่าหลวงปู่เจี๊ยะนี่โมโห แล้วพระอรหันต์โมโหได้อย่างไร

โยม ๓ : เออ ใช่ๆ

หลวงพ่อ : พระอรหันต์โมโหนะ เราบอก อือ! กูก็พูดอย่างนั้นจริงๆ กูพูดว่าหลวงปู่เจี๊ยะบางทีท่านโมโหขึ้นมา ท่านโมโหขึ้นมา ท่านใช้เณรไม่ได้ทันใจ มันโมโหขึ้นมา เราก็ไปคอยดูแล เราพูดอย่างนั้นนะ ถ้าหลวงปู่เจี๊ยะโมโห เราพูดบ่อย หลวงปู่เจี๊ยะท่านโมโห

คำพูดอย่างนี้นะ ไอ้จูเรา ไอ้จูที่เอ็งให้มันทำอาหาร มันพูดกับพวกนี้ไง บอกว่าถ้าวันไหนเห็นหลวงพ่อโมโหนะ มันฉิบหายเลย ถ้าวันไหนไม่โมโหไม่มันเลย ไอ้จูมันพูด ถ้าวันไหนโมโหนี่มันฉิบหายเลย เพราะเวลาโมโหมันออก ธรรมมันออก มันฟังแล้วโคตรมันเลย ใช่ไหม แต่วันไหนไม่โมโหนะ ฟังแล้วเซ็งฉิบหายเลย เห็นไหม เอ็งว่าโมโหไง

โยม ๓ : ถ้าไม่โมโหปุ๊บแล้วหลวงพ่อไม่ค่อยจะเทศน์ออกมาหรืออย่างไรคะ

หลวงพ่อ : คำว่า “โมโห” ของมึงนี่นะ มึงต้องคิดวิทยาศาสตร์ไง คิดวิทยาศาสตร์ว่าถ้าโมโหคือโกรธ คือกิเลส แต่ถ้าพูดถึงนะ พูดถึงนะ อย่างน้ำ น้ำสกปรก เราสาดน้ำ กิริยาของการสาดน้ำ สาดไป น้ำก็คือสาดไปใช่ไหม น้ำสกปรกมันก็เหม็นไปหมดใช่ไหม ถ้าน้ำสะอาดก็คือสะอาดเหมือนกัน ถ้าเราสาดน้ำสะอาดไปรดน้ำต้นไม้ เราก็สาดน้ำไปเหมือนกัน

ทีนี้กิริยาที่แสดงออก คำว่า “โมโห” โมโหคือพวกปุถุชนโมโหเด็ดขาด เพราะโมโหแล้วมันตาเขียวหน้าเขียว มันจะแดกมันให้ได้เลย แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์นะ การแสดงกิริยาของธรรม ธรรมคืออะไร ธรรมคือเหตุและผล เหตุนะ ธรรมทั้งหลายมาจากเหตุ เหตุและผลรวมเป็นธรรม เหตุใช่ไหม เหตุดี ผลก็คือธรรม เหตุชั่ว ผลก็คืออธรรม เหตุกับผลรวมลงเป็นธรรม

ทีนี้เหตุมันผิด เหตุมันผิด แล้วเหตุมันผิดมันไม่ใช่ผิดเพราะเหตุ เพราะว่าเราทำผิด เหตุมันผิดเพราะอะไร เหตุมันผิดเพราะเราเผอเรอ แล้วความผิดอย่างนี้มันผิดซ้ำซากไง ไอ้เขียนหนังสือผิดมาทั้งชาติ แล้วก็บอกมาทั้งชาติแล้วว่าต้องเขียนอย่างนี้ๆ บอกเวลาเขียนมึงตั้งใจเขียน มึงอย่า ไอ้นี่ก็ฉอดๆๆ ปากก็จะพูด มือก็จะเขียน ก็จะเถียง ต้องจับยิงเป้า

คนทำงาน เราพูดไว้ในข้อวัตร ข้อวัตรนะ ข้อวัตรนี้ก็เป็นศีลนะ ข้อวัตรที่เราทำก็เป็นศีล โดยสามัญสำนึกนะ เวลาเราบวชเข้ามา เราเป็นเศรษฐี ดูสิ อย่างรัฐมนตรีเข้ามาบวช นายพลก็มาบวช บวชเสร็จก็ต้องจับไม้กวาดเหมือนกัน ถ้าเอ็งเป็นนายพล เอ็งจะกวาดถนนไหม

โยม ๓ : ไม่

หลวงพ่อ : พอเอ็งเป็นพระ พระทำกิจของสงฆ์คือกวาดลานเจดีย์ ถ้างานอย่างนี้มองไปแล้วนี่งานของเทศบาล งานของพวกคนชั้นล่าง แต่ถ้าเป็นพระนี่งานของพระอริยเจ้า อริยประเพณีประเพณีของพระอริยเจ้า ประเพณีของสงฆ์ มึงมองงานสิ

ทีนี้พอใจเรามาอย่างนี้เราจะทำไหม ข้อวัตรไง ถ้าใจเราทำ เราลงพระพุทธเจ้า ถ้าใจเราไม่ทำ ใจเรากระด้าง เราลงให้กับพญามาร อีโก้เต็มที่เลย กูใหญ่ กูไม่ทำ ใครจะใหญ่มาจากไหนก็แล้วแต่นะ พอบวชแล้วต้องล้างส้วม วัจกุฎีวัตร นี่ไง นี่พูดถึงถ้ามันทำตามข้อวัตรใช่ไหม นี่เหตุและผลรวมลงเป็นธรรม แล้วถ้าพูดถึงถ้ามันทำโดยสติมันก็ไม่ผิด แล้วที่มันผิด เอ็งถามมันผิดมากี่ล้านครั้งแล้ว แล้วถ้าจะยิงเป้า ยิงเป้ามันแหลกไปหมดแล้ว

โยม ๓ : หลวงปู่เจี๊ยะที่ว่า ที่ว่าท่านโมโหหรืออะไร คือการแสดงนั้นเป็นธรรม แสดงว่ามันต้องทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่โดนธรรมที่มันเหมือนกิริยาโกรธนั่นน่ะ คือมันจะต้องมีอะไรดีขึ้นกับบุคคลนั้นสักนิดหนึ่ง

หลวงพ่อ : มันต้องดีขึ้น ไม่ เหมือนกับเราบอกไว้ตลอดเวลาใช่ไหม แล้วอย่างสมมุติเราเป็นมะเร็ง แล้วห้ามกินของแสลง เอ็งเป็นคนสั่งเพราะเอ็งเป็นหมอ ทีนี้เอ็งสั่งว่าเราห้ามกินของแสลงเพราะเราเป็นมะเร็ง กินแล้วเดี๋ยวเราจะตาย แล้วเราก็อยากจะกิน แล้วเราก็แอบกิน เอ็งจะว่าเราไหม

โยม ๓ : ก็ว่า

หลวงพ่อ : แล้วว่ามันผิดตรงไหน แล้วกูโกรธ โกรธตรงไหน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะกูกิน กูกินด้วยความอยากกู มีกิเลสแล้วนะ แล้วกินไปแล้วกูก็ต้องตายด้วย แล้วมึงก็บอกให้กูอย่ากินนะ ถ้ากูกิน เดี๋ยวโดนของแสลง โรคกูจะแรง ไอ้กูก็ฟังจากมึงแล้วกูอยากกิน แต่กูก็ยังอยากจะกินเพราะกูอยาก ทำผิดก็เหมือนกัน กูบอกอย่าทำๆ มันจะผิด มันจะผิด แล้วก็เสือกทำ

โยม ๓ : มันก็ต้องมีเหตุผลที่มาที่ไปเป็นธรรม

หลวงพ่อ : ไอ้อย่างนี้มันอยู่ที่ สมมุติกูเป็นพระ กูนั่งเทศน์ทุกวัน แล้วคนเต็มศาลาเลย ทุกคนจับผิดกูหมด เพราะอะไรรู้ไหม เพราะทุกคนที่มาเขาได้ยินศักยภาพว่าพระองค์นี้แน่เว้ย แน่เว้ย พระองค์นี้ยอดเยี่ยมเว้ย พอดูแล้ว ไอ้เหี้ย พระเหี้ยนักเลงฉิบหาย

ถ้ามึงจะหวั่นไหวกับการกิริยาของคน มึงไม่ต้องทำเหี้ยอะไรหรอก เช้ามานะ กูจะนั่งอย่างนี้ กูไม่กล้าขยับ เดี๋ยวเขาจะจับผิดกู เช้าขึ้นมานะ เอาไม้ดามกูไว้ เอาไม้ดามกูไว้หน่อย เดี๋ยวมันไหว เดี๋ยวเขาจะบอกว่ากูนี่ไหล่เอียง

โยม ๓ : หลวงพ่อแล้วมีอีกคำถามหนึ่ง หลวงพ่อจะนั่งนาน เมื่อย หนูมีคำถามหนึ่ง ก็เลย...

พระพุทธเจ้าองค์ปฐมมีจริงหรือ

หลวงพ่อ : ใครล่ะ มีหรือเปล่าล่ะ เอ็งว่ามีหรือเปล่าล่ะ

โยม ๓ : มี น่าจะมี แล้วทำบุญ หมายถึงว่าต้องแบบหลายอสงไขยมากกว่าพระพุทธเจ้าธรรมดา

หลวงพ่อ : อทาสิ เม อกาสิ เม พระพุทธเจ้าล้านๆๆ พระองค์ แล้วองค์ไหนเป็นองค์ปฐม

โยม ๓ : องค์ปฐมเริ่มแรกเลย

หลวงพ่อ : ดัดจริต ไอ้พระดัดจริต

มันไม่มีต้นไม่มีปลาย มึงจะเอาอันไหนเป็นต้น ปฐมเจดีย์ พระปฐมเจดีย์ เจดีย์องค์ปฐม มันเป็นเจดีย์ใช่ไหม ด้วยความคิดของวิทยาศาสตร์ ด้วยความคิดของพวกเราไง ไอ้ข้อกรณีอย่างนี้กูเคยสงสัยมาแล้ว เพราะกูปฏิบัติเต็มที่เลยล่ะ มันขึ้นไป พอมันจะปล่อย มันจะละตัวมันเอง ละ เอ็งไปอยู่ที่ไหน มันไม่ยอม มันไม่ไป มันติด ย้อนกลับเลย จิตนี้มาจากไหน จิตนี้มาจากไหน มึงมาจากไหน แล้วมึงจะไปไหน แล้วไปจบกันที่ไหน โอ้โฮ! ไปๆๆ ไปเรื่อย

ทีนี้องค์ปฐม เราจะพูดเลยนะ องค์ปฐม องค์ปฐมมันพระตอแหล

พระพุทธเจ้าบอกพระพุทธเจ้าองค์ปฐมอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าสอนบอกว่าอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าเรา ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าสอนว่าพระพุทธเจ้าองค์ปฐมคือใคร

โยม ๓ : ไม่รู้ ไม่ได้เรียน

หลวงพ่อ : เหอะ! พุทธวิสัย พุทธวิสัยยังสาวไป อนาคตวงศ์พยากรณ์ได้หมดเลย นี่เป็นองค์ที่ ๔ องค์ต่อๆ ไป พระพุทธเจ้ายังมีต่อไปอีก แล้วไอ้คนพูดเป็นใคร

โยม ๓ : เขาเอาหนังสือมาให้

หลวงพ่อ : นี่ไง กูด่าประจำไง กูด่าประจำว่าไอ้หนังสือเหี้ยๆ ไอ้คนเขียนมันเหี้ย

โยม ๓ : ทำบุญ ทำสร้างพระพุทธรูปองค์ปฐมแล้วมันได้บุญ

หลวงพ่อ : เอามาเช็ดก้นเสีย

หลวงพ่อฤๅษีหรือ กูคิดว่าธรรมกาย

โยม ๓ : หนูไม่ได้พูดนะ

หลวงพ่อ : ถ้าอย่างนี้ เพราะเพื่อนเรา เพื่อนเรานี่ลูกศิษย์เขา ลูกศิษย์หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ไปเขากุลา เขายังถามว่าสุรพงษ์มานี่หรือเปล่า

กูบอกมา

แล้วเขาบอก ถามอะไรกูบ้าง

กูบอกกูไม่ตอบ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะทิฏฐิของคน เขาเรียกอุจเฉททิฏฐิ ทิฏฐิที่เห็นผิด ทิฏฐิที่เห็นถูก ทิฏฐิมันมีหลายทิฏฐิ อุจฉทิฏฐิ ทิฏฐิที่ผิด ทิฏฐิมีตั้งหลายทิฏฐิว่าโลกนี้มี โลกนี้ไม่มี ทีนี้พอเขาเข้าใจว่านิพพานไม่มี เพราะเมื่อก่อนเขาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เขาภาวนาอย่างไรก็แล้วแต่ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำจะเข้ามาสอนเขาตลอดเวลา

แล้วกูบอกไอ้นี่ผิดนะ ระวังผิด ระวังผิดนะ เพราะว่าคำสอนมันผิดใช่ไหม เขาเชื่อมั่นว่าเขาถูกมาก

แล้วพอกรณีธรรมกายเกิดขึ้น นิพพานดวงแก้ว นิพพานเป็นอะไรนะ เป็นขอบข่ายอะไร เขาถึงบอกว่ามันไปเข้ากับนิพพานดวงแก้วของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำไง เพราะเขาเองเขาเชื่อเรื่องหลวงพ่อฤๅษีลิงดำมาก แต่เขาคัดค้านธรรมกาย แล้วพอเขาค้นคว้าไปแล้ว ความเห็นมันไปจบที่เดียวกัน คือเป็นแก้วเหมือนกัน เขาเลยจดหมายมาหาเราเองเลย บอกว่าที่เราเตือนเขาไว้เป็น ๒๐-๓๐ ปี เขายอมสารภาพว่ามันผิดแล้ว ผิดแล้วเขาก็มาหาเราหลายรอบแล้ว

ทีนี้พอมาหาเราหลายรอบแล้ว พอมาหาเราแล้วเขาเลยก็บอกว่าหลวงปู่มั่นก็เห็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน เห็นนิมิตเห็นอะไร ก็ผิดอีก เขาเลยเข้าใจว่าตอนนี้พระอรหันต์ไม่มีไง วันนั้นที่มา มาคุยกัน ๒ วันนะ เขาฟังเราพูด เราก็แย้งไป เราไม่ตอบ คือถ้าเราตอบไปแล้ว ประสาเรา เขาพูดด้วยวิทยาศาสตร์ คือแบบว่า สวรรค์อยู่ที่ละติจูดที่เท่าไร มรรคผลอยู่ที่ไหน เขาจะพูดอย่างนี้ แล้วไปพูดทำไม เราไม่พูดดีกว่า เราหลบ

โยม ๓ : ทุกอย่างก็ต้องมีองค์แรกใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : มีองค์แรก มีองค์แรก เอ็งคิดดูสิ ดูสิ ฟอสซิลมนุษย์ ฟอสซิลไดโนเสาร์ ๑๕๐ ล้านปี ตอนนี้พิสูจน์ได้ ๑๕๐ ล้านปี ฟอสซิลมนุษย์ก็มี แต่เมื่อก่อนมนุษย์เรามันเผากันหมดไง มันฝังหรือมันเผา มันโดนทำลายหมดไง มันไม่ได้เก็บไว้ไง ทีนี้ฟอสซิลมนุษย์มีนะ แต่ฟอสซิลมนุษย์เขาเจอที่ออสเตรเลีย มีนะ หลายล้านปีอยู่ มี

ทีนี้ไอ้ที่มีมันสาวไปไม่ได้ไง คือประสาเราว่า วัฏวนอย่างนี้มันจะไม่จบ เพราะมันจะมีการเกิดการตายอย่างนี้มาตลอด แล้วเอ็งจะสาวไปตรงไหนล่ะ ทีนี้ประสาเรา เราจะบอกว่า พุทธวิสัย พระพุทธเจ้าต้องรู้ต้องเห็น พระพุทธเจ้ายังไม่พยากรณ์เลย คือว่าประสาเรา มันได้กี่ล้านๆๆ ปี มึงจะพูดอย่างไร อย่างเช่น อย่างพวกเรานี่นะ แค่พระพุทธศาสนา ๒,๕๐๐ เราก็ โอ้โฮ! ดีอกดีใจกันนะ เดี๋ยวนี้เขาพิสูจน์กันนะ กี่หมื่นกี่ล้านปี ไอ้คำว่า “ล้านๆๆ” ปีนี่นะ แค่ภัทรกัปขณะที่โลกมันปรับตัวนะเว้ย

โยม ๓ : หลวงพ่อ แล้วเป็นพระอรหันต์แล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์มรณะนิพพานไปแล้วนี่นะ ไม่มีสิทธิ์กลับมาเกิดอีกแล้วจริงหรือ

หลวงพ่อ : ล้านเปอร์เซ็นต์

โยม ๓ : หรือ

หลวงพ่อ : เออ

โยม ๓ : อะไร จะรู้ได้อย่างไร

แล้วทีนี้ถ้าเป็นกันไปหมดแล้ว พระพุทธเจ้าก็มาเป็นในอนาคตไปเรื่อยๆ ก็อีกหน่อย สัตว์โลกทั้งหลายก็หมดเกลี้ยงเลยสิหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : ไม่มีทางหมด ไม่มีหมด

โยม ๓ : แล้วมันมีการมาเกิด มีไหมหลวงพ่อว่า ไอ้จิตของสัตว์โลกมันสามารถมาเกิดได้อีก

หลวงพ่อ : ไม่มี ไม่มี พระอรหันต์คือพระอรหันต์ไปเลย ไม่มีกลับมาเกิดอีกแล้ว แต่มีอยู่

โยม ๓ : แต่มีอยู่

หลวงพ่อ : มีอยู่ ดูจิต ดูสิ ในปรมาณูหนึ่งมีจิตกี่ดวง จิตมีเยอะแยะไปหมดเลย แล้วพอจิตเยอะแยะไปหมด พอเราเกิดเป็นสัตว์เซลล์เดียว สัตว์เซลล์เดียว เชื้อโรคนี่ โอ้! จิตเยอะมาก

โยม ๓ : มีจิตเยอะมากก็คือหมายความว่ามันมีไหมหลวงพ่อที่ว่ามันจะมีจิตเกิดมาใหม่เหมือน โดยไม่เกี่ยวกับจิตพระอรหันต์นะ คือมีจิตที่เกิดขึ้นมาใหม่ได้ ไม่มีใช่ไหม

หลวงพ่อ : มันต้องเกี่ยวเนื่องกันหมด มันต้องมีที่มาที่ไป ถ้าเรื่องจิตนะ มันเป็นเรื่องภพ เพราะถ้ามันจิตล้วนๆ จิตมันเกิดใหม่ มันจะเป็นจิตอะไร ถ้าจิต เพราะจิตมันมีกรรม ดูพระไปเกิดเป็นเล็น ใช่ไหม ใช่ไหม

โยม ๓ : ต้องมีกรรมด้วย

หลวงพ่อ : ตัวจิต ตัวจิตตัวพลังงานมันมีพลังงานของมัน คือว่ามันไม่เคยตายไง จิตไม่เคยตาย มันมีแรงขับ คือตัวกิเลส ตัวกรรม มันมีตลอดของมันไป แล้วมันเกิดไปภพชาติใดล่ะ พระสมัยพุทธกาลที่ติดจีวร ที่ไปเกิดเป็นเล็น ทำไมคนไปเกิด เล็นตัวเล็กขนาดไหน แล้วระหว่างเล็นกับคน ใครมีคุณค่ามากกว่ากัน แล้วระหว่างคนกับเทวดาล่ะ

เป็นอจินไตย กรรมเป็นอจินไตย ๔ อย่าคิด เดี๋ยวหัวแตก กรรม โลก ฌาน พุทธวิสัย อันนี้ที่เมื่อกี้เราพูด เราคิดถึงธรรมกายไง พระพุทธเจ้าองค์ปฐม อะไรก็แล้วแต่ เขาจะคิดว่าเป็นหนึ่ง คือว่านี่คือโวหาร นี่คือการจะคุยว่าข้าแน่กว่าเอ็งทุกคน คำพูดคำนี้เราไม่ยอมรับ แล้วยังไม่ยอมฟัง เพราะว่าเขาว่าข้าแน่กว่าเอ็ง กิเลสล้วนๆ

โยม ๓ : หนูอ่านตอนแรกหนูก็เชื่อ พระพุทธเจ้าองค์ปฐมหรือ พออ่านไปอ่านมา นิพพานเป็นเมือง เฮ้ย! ชักอย่างไรๆ แล้ว ปิดดีกว่า ไม่อ่านต่อแล้ว

หลวงพ่อ : พูดเรื่ององค์ปฐม มันจะองค์ปฐมเลย มันเก่าแก่มานานไง

โยม ๓ : ....

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ไม่ใช่ มันจะมีมาอย่างนี้มาตลอดอยู่แล้ว พระพุทธเจ้ามี นี่ ๔ องค์อยู่แล้ว แล้วองค์ไหนปฐมล่ะ

โยม ๓ : องค์ปฐมก็กว่านี้ไง ปฐมองค์แรกของพระพุทธเจ้าของสายเลย

หลวงพ่อ : ปฐมก็นครปฐมนี่ไง เดี๋ยวเขาก็ไปกราบพระที่นครปฐมกัน คิดดูสิ ภัทรกัปนี้ ๕ องค์ มันยาวมาเยอะแล้ว ก็หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ไง ท่านบอกว่า อทาสิ เม อกาสิ เม พระพุทธเจ้าล้านๆๆ พระองค์ คิดดูสิ ๕ องค์นี้เวลากี่แสนล้านปีแล้ว ไอ้แค่ ๕ องค์เรานี่นะ

โยม ๓ : หลายองค์ หลายคนที่อยู่เป็นอนาคามี แล้วแต่พระพุทธเจ้า พระพุทธพระติสสะก็ยังเป็นอนาคามี ก็เป็นพระพุทธเจ้าก่อนภัทรกัปนี้อีกใช่ไหมคะ นางวิสาขาอะไรพวกนี้บำเพ็ญบารมีมากับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนทั้งนั้น

หลวงพ่อ : ใช่ก็มาจากองค์ก่อนทั้งนั้นแหละ ก็มันวนไปมันเวียนไป ก็อย่างเวลากูเทศน์ ทำไมที่พระอินทร์ไปเป็นพระอินทร์ คนที่อยู่ใต้ปกครองแสงมากกว่า แล้วแสงมากกว่า เขามาใส่บาตรพระพุทธเจ้า มาใส่บาตรพระกัสสปะสมัยพระพุทธเจ้า แล้ว ๒ องค์นั้นทำบุญกับพระพุทธเจ้ามา พระพุทธเจ้านั่งอยู่นั่น ยังไม่ตาย แล้วอยู่ๆ นั่งตั้งนานแล้ว แล้วมันพระพุทธเจ้าองค์ไหนล่ะ พระพุทธเจ้าคนละองค์ทั้งนั้นน่ะ มันเวียนไป

โยม ๓ : หลวงพ่อ แล้ว จะถามอะไร ลืมเลย

หลวงพ่อ : โธ่! ไอ้เรื่องโกรธเกิดมันอย่างนี้นะ มันอยู่ที่เราใครเชื่อไม่เชื่อใครเท่านั้นเอง

โยม ๓ : เออ พระศรีอารย์นี่นะ ท่านต้องบำเพ็ญมาเยอะมากเลย แล้วคนที่จะเกิดเป็นพระอรหันต์ในยุคพระศรีอารย์แปลว่าต้องทำบารมีมากกว่าแสนกัปหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ใช่ๆ

โยม ๓ : มากกว่าแสนกัปใช่ไหมถึงจะได้ไปยุคนั้น

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆ

โยม ๓ : แต่ว่าอย่างของเรานี่แสนกัปก็ได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่าน ๔ อสงไขยเอง อะไรอย่างนี้หรือเปล่า

หลวงพ่อ : เอ็งจะไปยึดตรงนั้นไม่ได้

โยม ๓ : อ๋อ ยึดไม่ได้ใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : เพราะว่าเอ็งไปยึดตรงนั้นหรือไม่ยึดตรงนั้นก็แล้วแต่นะ ตอนนี้เอ็งแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เพราะนี่ชีวิตเอ็ง ถ้าเอ็งยึดตรงนั้นปั๊บนะ เอ็งเป็นทุกข์ตายห่าเลย เพราะคำว่า “แสนกัป” คือสิ่งที่ได้สร้างมาแล้ว ปัจจุบันนี้คือเรา คิดดูสิ ถ้าเอ็งตายแล้วเกิดใหม่แค่ชาติเดียว มันยังเหลืออีก สี่แสนเก้าหมื่น

ฉะนั้น นี่คือตรรกะที่มึงมาคิดไง เราเห็นโทษอย่างนี้มาเยอะมาก เราถึงพูดบ่อย เวลาคนมาบอกว่าจะไปเกิดพบพระศรีอริยเมตไตรยๆ

กูถามว่ามึงมีสิทธิอะไร กูถามบ่อยมากเวลาคนมาคิดอย่างนี้นะ เพราะทุกคนคิดอย่างนี้หมด กูถามมึงมีสิทธิอะไร สหชาติต้องปรารถนาแล้วสร้าง อันนี้คนคิดอยากไป แต่ไม่เคยทำเหี้ยอะไรเลย แค่อ่านตำรามาแล้วก็คิด

ทีนี้ไอ้คำว่า “แสนกัป” เราไม่ต้องไปคิดตรงนั้น เพราะกูไปชนกับพวกอภิธรรมมาเยอะมาก เขาถามกูเลย พระอรหันต์ต้องแสนกัป ท่านทำอะไรมา

กูบอกว่า แล้วแสนกัป กูอาจจะเกิดมาสี่แสนเก้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยชาติแล้วก็ได้ มึงจะรู้ได้อย่างไรว่ากูไม่ได้สร้างมา มึงรู้ได้อย่างไรว่ากูสร้างหรือไม่สร้าง เพียงแต่เอาตำรามาขีดมาวัดกันไง

ทีนี้ประสาเรา ถ้าเป็นปัจจุบัน สร้างไม่สร้างไม่สำคัญ สำคัญที่มึงทำจริงหรือเปล่า มึงทำจริงหรือเปล่า เพราะกูถือตรงนี้ไง กูถึงอัดมึงคนเดียวไง เวลากูภาวนานะ อัดอยู่คนเดียวตลอด จนพระในบ้านตาด “เฮ้ย! บอกไอ้หงบมันเว้ย วันๆ นั่งทำหน้าเหม็นขี้อยู่ วันๆ พาลทั้งวัน” จนพระเขา โธ่! พระเขาคุยกับกูเยอะนะ พวกชัยณรงค์ เดี๋ยวนี้สึกไปบวชใหม่อีกแล้ว “เอ! ผมก็สงสัย เห็นเดินจงกรมทั้งวันๆ มันอยู่ได้อย่างไร ไอ้ห่าของเรานี่นะ เรานั่งฟังเทศน์หน้าเดียว กูยังนั่งหลับเลย”

มันเห็นเราไปถามปัญหาหลวงตา มันแอบเข้าไปฟัง ทุกคนเห็นกูตกใจหมดนะ เพราะเขาทำกันไม่ได้ แต่ของกูคิดอย่างนี้ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี

โยม ๓ : ถ้าหลวงพ่อไม่อัดแล้วหนูจะถามต่อ หนูว่าหนูไม่ประมาทแล้วนะ หลวงพ่อ ทำไมชีวิตมันเฮงซวยอย่างนี้ ไม่ใช่ชีวิตครอบครัวนะ ชีวิตครอบครัวหนูดีมากเลย แต่แบบหลวงพ่อคิดดูสิ

หลวงพ่อ : ก็เฮงซวยสิ กูก็ดูมึงเฮงซวย อะไรวะ เนอะ ไปพม่า ไปนู่น กูถึงถามเอ็งตอนเช้าว่าเอ็งไปไหนมา กูก็นึกว่าเอ็งไปพม่ามาอีกแล้วไง หายไปนานก็นึกว่าไปพม่ามาอีกแล้ว

โยม ๓ : หนูจะมาก็มาไม่ได้ไง เดี๋ยวนี้มีครอบครัวแล้วยาก หลวงพ่อคิดดูสิ สมัยหนู ๑๘ หนูก็ภาวนา แล้วพอหนูเรียนจบ หลวงพ่อเชื่อไหม พี่ญาติพี่น้องหนูนะ ทุกคนเรียนไปอเมริกาหมด หนูไม่สนใจ ไม่เรียน ไม่เอาอะไร ทำงานก็ไม่ทำ จะภาวนาก่อน ภาวนาได้โสดาบันแล้วค่อยมาทำงาน เรื่องอื่นค่อยว่ากัน แล้วหลวงพ่อดูซิ ก็ไม่ได้อะไร

หลวงพ่อ : ก็กรรมของมึงไง มึงไปเจอแต่ละตัวไง อาจารย์มึงแต่ละตัวที่มึงเล่าให้กูฟัง กูเห็นมีแต่ติงต๊องทั้งนั้นเลย

โยม ๓ : แล้วพอหนูจะมาภาวนา หนูก็มีลูก แต่คือครอบครัวหนูก็ดี ดีมากเลย แล้วหนูก็ทิ้งไม่ได้ มันเป็นหน้าที่

หลวงพ่อ : มันเป็นนิสัย มันเป็นนิสัยเอ็งด้วย เพราะว่าเอ็งมาภาวนาที่นี่ พวกโยมที่เขามาภาวนามาเล่าให้กูฟัง

โยม ๓ : อ้าว

หลวงพ่อ : เขาเล่าให้กูฟังนะ เขาบอกไอ้เปิ้ล เปิ้ลมันตั้งใจดีอยู่ แต่เอ็งมันเหมือนเจ๊กงก เจ๊กงกนี่นะ มันเอาทุกอย่างมาเป็นผลประโยชน์หมด เจ๊กงกอ่ะนะ นี่ก็เหมือนกัน ทุกอย่างต้องเป็นอย่างที่เอ็งคาดหวังหมด แล้วไม่เป็นอย่างเอ็งคาดหวังหรอก เพราะคนอื่นเขาเป็นคนอื่น ไม่ใช่เรา ในการปฏิบัติของเรามันต้องอยู่ที่ตัวเรา เราเดินจงกรมของเรา คนอื่นไม่เกี่ยวกับเรา แต่นี่ไปคาดหวังว่าสถานที่ต้องดีอย่างนั้น ทุกคนต้องดีอย่างนี้ มึงไปคาดหวังคนอื่น แล้วมึงก็ไปแบกโลกไง

แต่ในการปฏิบัตินี่นะ ความจริงโดยข้อเท็จจริง กูไปปฏิบัติที่ไหนก็แล้วแต่นะ พระมันจะผ่านโลกนี้มาเยอะ บางทีบางสถานที่นะ อาจารย์ดีมากเลย แต่พวกพระอิจฉาตาร้อนกันนะ มันก็วางยาพวกมึง กูโดนมาเยอะ ทีนี้ในวงปฏิบัติ ถ้าอาจารย์เป็นธรรมนะ อาจารย์ที่ดีนะ เขาจะปกป้องลูกน้อง แล้วพยายามจะให้โอกาสลูกน้องภาวนา แต่ถ้าอาจารย์ที่ไม่เป็นธรรมนะ ถ้าลูกน้องมีแววจะภาวนาเกินหน้าเกินตากู พาไปทำนู่นทำนี่ให้เสื่อมหมด โอ๋ย! กูอยู่ในวงการ กูเห็นมาเยอะ ทีนี้กูเห็นในวงการนะ มันเห็นอย่างนี้มา

ของกู สังเกตได้ไหม กูพยายามจะไม่ให้มีเหี้ยอะไรเลย ฝั่งนู้นกูให้ภาวนาอย่างเดียวนั่นน่ะ ใครมางี่เง่า กูเล่นเลยล่ะ เพราะอะไร เพราะไอ้เรื่องปัญหาอย่างนี้กูเจอมาเยอะ แล้วกูมาทำของกูเอง กูไม่ต้องการให้ปัญหาที่กูเจอมาต้องมาเป็นอยู่ที่นี่

แต่พอเอ็งภาวนาปั๊บ เอ็งก็บอกนู่นเสียงดัง ความเสียงดังของเขา เราคุยเราว่าเราไม่เสียงดังนะ เอ็งไปอยู่ข้างนอกสิ เสียงดังหมด แต่ขณะนี้มันเป็นการแสดงธรรม ใครบางทีเสียงดัง หรือกิริยาของเขา บางทีมันเป็นการทำของเขาโดยเขาไม่รู้ตัว เรานี่ เราจะควบคุมใจเราอย่างไร เพราะที่นี่เป็นที่สาธารณะ เราไม่มีสิทธิ์

แต่ถ้าเป็นเรา เราเป็นหัวหน้าใช่ไหม ดูสิ เขียนผิด กูยังไล่ออกจากวัดเลย ของกู ถ้าใครผิดต่อหน้ากูนะ กูฉะ บางทีถ้าผิดนะ กูจะดูก่อน ๑. นิสัยพื้นเพเขามาเป็นอย่างไร เขาได้รับข้อมูลฝังหัวมาเป็นอย่างไร ถ้าข้อมูลที่เขาฝังหัวมามันรกมาก เราก็ค่อยดัดแปลงขึ้นมาให้มันลดน้อยก่อน แล้วให้เป็นบวกขึ้นมาถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ จบ มึงไปเสีย ไม่ใช่ทุกคนจะแก้ไขได้หมด

แต่ถ้าเขาดีมา เขาแก้ไขมา เห็นไหม เวลามาจะถามว่ามาจากไหน นั่นล่ะคือสมุฏฐานของโลก เพราะการสั่งสอนแต่ละแนวทางมามันไม่เหมือนกัน คนมันจะมาอย่างนี้ตลอด แล้วเราจะให้คนเป็นอย่างที่เอ็งอ่านตำรามาว่าการปฏิบัติต้องเป็นอย่างนี้ ทุกคนต้องเป็นอย่างนี้หมด ไม่มีในโลกนี้ ไม่มี

นี่กูอ่านมึง ทีนี้มึงเป็นอย่างนี้ปั๊บ มึงก็หวัง ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น มึงคาดหวังเขาหมดเลย แล้วมึงค่อยดีคนสุดท้ายไง แต่ถ้ามึงจะเป็นคนดีก่อน คนอื่นช่างหัวมัน เพราะเขาก็เป็นโรคภัยไข้เจ็บเหมือนกัน เขาก็ไม่รู้ตัวเขาเองเหมือนกัน แต่มีอะไรมาบอกนี่ แล้วเราจัดการเอง ถ้าอย่างนั้นปั๊บ มึงจะเอาตัวรอดได้

กูไปอยู่ใหม่ๆ อีสานนะ บางที่ก็ดี บางที่รุมกระทืบเลย บางที่รุมเลยนะ รุม ไม่ใช่รุมด้วยการกิริยาท่าทางนะ รุมด้วยวางยา รุมด้วยแผนการ ด้วยเล่ห์กล

โยม ๓ : พระด้วยกันน่ะหรือคะ

หลวงพ่อ : ด้วยเล่ห์กลทั้งหมดน่ะ แล้วกูอยู่ในโพรงหนาม กูจะเอาตัวรอดอย่างไร ถ้าพูดถึงถ้าเราจะปฏิบัตินะ ถ้าไม่ปฏิบัติ ง่ายๆ เลย เก็บของแล้วเดินออกไป กูเจออย่างนี้เยอะ บางทีกูเก็บของ เดินออกไปเลย ถ้าที่ไหนกูเห็นแล้วไม่สู้ดี กูไม่เอาตัวกู ตัวเราหมายถึงว่าเราต้องการความดี เราเป็นน้ำที่สะอาด เราไม่ยอมให้น้ำเสียเข้ามาปนเป เข้ามาปนกับน้ำสะอาดเราให้เราเสียไปด้วย กูเก็บของหนีเลย

แต่บางที่เราเป็นน้ำที่ว่าน้ำเสียหรือน้ำปานกลางที่กำลังจะทำให้เป็นน้ำดีได้ แล้วอาจารย์ที่ดีจะสั่งสอนเราได้ แต่หมู่คณะบางคนมันก็มีปัญหา ที่วัดหลวงปู่มั่นก็มี หลวงตาท่านเล่าให้ฟังเยอะแยะ คน อำนาจนะ คือว่าครูบาอาจารย์เรามันเป็นสิ่งศูนย์แห่งธรรมะคือศูนย์แห่งอำนาจ ศูนย์ความบริสุทธิ์ สะอาดบริสุทธิ์ ทุกคนเข้าไปหาผลประโยชน์ บางคนเข้าไปหาเป็นผลประโยชน์ บางคนก็หาขุดธรรมะ บางคนก็ไปหาศักยภาพ บางคนก็ไปหาชื่อเสียง ทุกคนเข้าไปเกาะเพื่อผลประโยชน์ตัวเองทั้งหมดเลย

มันไม่มีหรอก ถ้าพูดถึงครูบาอาจารย์เราไม่เป็นธรรม หมาก็ไม่มอง ถ้าครูบาอาจารย์ไม่เป็นธรรมปั๊บ คนที่เข้ามา เข้ามาในแง่มุมไหน นี่พูดถึงพระนะ ไม่ได้พูดถึงโยมเลย นี่พูดถึงตัวพระเฉยๆ เลยนะ แล้วสังคมพระทุกสังคมเป็นอย่างนี้หมด มันก็อยู่ที่สังคม ตัวอาจารย์เราท่านจะคอนโทรลหรือจะบริหารอย่างไร นี่หลวงปู่ลีท่านถึงไม่เทศน์ไม่สอน เพราะว่าท่านไม่ยุ่งตรงนี้ไง แต่ครูบาอาจารย์ที่มีคุณธรรม ตรงนี้ ตรงนี้จะทำให้สังคมสงฆ์เราหมุนไปได้ เจริญไปได้

วันนี้เพลิน พูดไป อธิบายถึงทัศนคติของเอ็งไง

โยม : ...

หลวงพ่อ : ไม่จริง ข้างในเละมาก พวกมึงเข้าไม่ถึงหมด ข้างในนี่ โอ้โฮ! ตัวหลวงพ่อชาเองนี่นะ ท่านพูดเองนะ เราฟังในประวัติท่านเล่าเอง ที่เวลาท่านเทศน์ออกในเสียงธรรมเพื่อประชาชน ท่านบอกว่า เมื่อก่อน เหมือนหลวงตา หลวงตาท่านเรียนมาก่อน หลวงปู่ อาจารย์ชาก็เหมือนพระทั่วไป มหานิกายเรานี่ ถือสตางค์ สตางค์ในกระเป๋าเลย แล้วท่านเริ่มสละไม่ถือสตางค์ไง ท่านบอกเพื่อนเป็นมหา ๙ ประโยค ท่านตัดสินใจเลย ถ้าอ่าน นี่ไง ที่ธรรมวินัย รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างนี้ว่าภิกษุห้ามจับเงินและทอง แต่เราพกเงินในกระเป๋าเลย แล้วยังปฏิบัติ ท่านตัดสินใจเลย เอาเงินทั้งหมดวางไว้เลย

เป็นหมู่คณะท่านน่ะ เป็นมหา ๙ ประโยค “มหา มหาเอาสตางค์นี้ไปเลย ตั้งแต่บัดนี้ไป ผมจะไม่หยิบสตางค์ ผมจะไม่เอาอีกแล้ว”

แล้วท่านก็ปฏิบัติของท่านมา คือท่านเป็นแข็งมาก ท่านบอกท่านมาหาหลวงพ่อสด ท่านก็มาตรวจสอบ หลวงพ่อสดไม่ใช่ ท่านพูดเอง พระที่องค์ไหนดัง ท่านไปหมด อย่างเช่นหลวงปู่เภา ท่านก็มาหาหลวงปู่เภา เหมือนวัดสำเภาทอง ลพบุรี หลวงปู่มั่นชมองค์นี้ว่าเคยเจอกันอยู่ในป่า พวกนี้เขามาศึกษาของท่าน

ทีนี้เพียงแต่ว่า นี่พูดถึงท่านก็เอาตัวท่านได้ดีมากนะ หลวงปู่ชาท่านเอาตัวท่านดีมาก ทีนี้ท่านดีมาก ท่านพูด คนมันเชื่อถือ ทีนี้เชื่อถือเพราะว่าท่านคุมอยู่ไง โธ่! วัดป่านานาชาติ พระเราเข้าไปเล่าให้ฟังเยอะ พวกเราคนไทยตื่นฝรั่ง เห็นฝรั่งแล้ว แหม! พระดีทั้งนั้นน่ะ พระฝรั่งไปสึกเมืองนอกทั้งนั้นน่ะ ทิฏฐิ ทิฏฐิของฝรั่งก็อีกอย่างหนึ่งนะ

โยม ๓ : ถ้าศาสนาพุทธดี แต่บางคน โยมก็ไม่อยากให้ลูกมาบวช ท่านก็บอกว่าถ้าลูกมาบวชนี่ถือว่าพ่อแม่ประสบความสำเร็จนะ อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อ : นั่นท่านพูดจากว่า นี่พูดจากประสบการณ์สังคมทางโลกไง ประสบการณ์ของฝรั่ง ส่วนใหญ่ฝรั่งเป็นศาสตราจารย์ เป็นดอกเตอร์ทั้งนั้นน่ะ ไปสอนเป็นอาจารย์สอนหนังสือนะ แล้วมาบวชกัน ฝรั่งขี้นกก็มี ฝรั่งขี้นกคือฝรั่งเดินมาอย่างนี้ แล้วทีนี้พอเขามาอย่างนี้ ประสบการณ์ชีวิตเขา ประสบการณ์ชีวิต เหมือนเรา เราเคยทุกข์มา เราเคยอยากบวชมา แล้วเราได้บวช นี่ก็ประสบความสำเร็จแล้ว แต่ภาวนาอย่างไรล่ะ ฝรั่งพูดได้แค่นี้ เพราะการภาวนาไปมันต้องเอาชนะตัวเอง เสือกรู้มาก วิทยาศาสตร์ ฝรั่งภาวนาได้น้อยมาก กูจะบอกว่าแทบไม่มีเลย

โยม : ถ้าหลวงพ่อปัญญา

หลวงพ่อ : อันนี้ยกให้

โยม ๓ : แล้วหนูจะทำอย่างไรดีหลวงพ่อ หนูเป็นคนเครียด

หลวงพ่อ : ก็มึงไปเครียด มึงก็ทำเฉยๆ สบายๆ สิ แล้วภาวนาไป

โยม ๓ : เมื่อก่อนนี้ถือศีล ๗ ศีล ๘ หลวงพ่อ ไม่น่าเชื่อนะ ไอ้ตอนที่ถือศีลแล้วภาวนาไปด้วย ไม่รู้เรื่อง พอศีลมันสลายไปแล้ว ภาวนาสลายไปแล้วถึงรู้คุณค่าของตรงนั้น

หลวงพ่อ : นี่กูพูดเหมือนเมื่อกี้ ตรงนี้ไหม ที่กูพูดเหมือนอย่างนี้ไหม ที่กูอธิบายให้มึงฟังเมื่อกี้เรื่องศีล อย่างนี้ เหมือนอย่างนี้ไหม

โยม ๓ : ก็ใช่ แต่หนูไปคิดเรื่องศีล ๒๒๗ หนูรู้สึกว่ามันยาก

หลวงพ่อ : นั่นน่ะ บางคนเขาคิดกันอย่างนี้ว่ามันยาก ทีนี้เอ็งคิดดูสิว่า สมมุติเรานั่งกันอยู่นี่ เอ็งมีเงิน ๕ ร้อยทำธุรกิจ กูมีเงิน ๕ แสน ไอ้นี่มีเงิน ๕ ล้าน ไอ้นี่มี ๕ ร้อยล้าน เอ็งว่าใครทำง่ายกว่ากัน ศีลเยอะก็คือเงินเยอะไง แต่ ๕ ร้อยล้านนี่เอามาจากไหน เกือบตายกว่าจะได้มา เอ็ง ๕ ร้อย หาง่ายๆ เลย นี่มันบูมเมอแรง คือมันหมุน มันมีแรงหมุนกลับมาหมด ต้นทุนมันมีทุกอย่าง

โยม ๓ : แล้วหนูกังวลว่าอีก ๑๐ ปี ๑๐ กว่าปี กว่าลูกโต

หลวงพ่อ : เออ ก็แก่แล้ว ทีแรกกูเห็นเอ็งนะ กูเห็นว่าเอ็งตั้งใจดีมาก แต่ตอนหลังมาดูๆ ไป มันเหมือน ประสาเราเรียกอินทรีย์ พละอันนี้มันแปลก อินทรีย์ อินทรีย์สำรวมระวัง คือกำลังพื้นฐานไง ถ้าพูดถึงภาวนา

แปลกนะ เราไม่ได้ชมตัวเองนะ มันเหมือนมันไบรต์ มันมองอะไรมันอ่านเกมออกตลอด มันมองอะไรมันไม่ค่อยพลาดนะ มองแพลบๆ ประสาเราว่าคนหลอกกูยาก แล้วไม่เชื่อใคร จะเชื่อต้องมีเหตุผลที่ว่าต้องเหนือกู ถ้าพูดประสาเราเลยนะ ถ้าพูดเหตุผลอ่อนแอกว่ากู กูก็ไม่ฟังนะ แล้วกูไม่สนด้วย กูเก็บของไป ไม่สน เพราะกูมาเอาตัวกู กูต้องเอาตัวกูให้รอด ถ้ากูมองเลยนะ ไอ้คนที่สอนกูนี่โง่กว่ากู ทำอะไรเฮงซวยให้กูจับได้นะ ไม่สนเลยนะ ไปเรื่อยเลยล่ะ

เพราะทุกคนเราบวชแล้วเราก็ต้องหวังครูบาอาจารย์ที่ดีที่ชักพาเราได้ แล้วอย่างว่าเราไปเวลาเจออาจารย์ เจออาจารย์นี่ง่ายๆ เลย พอถามปัญหา ท่านต่อยเลย เปรี้ยง! โอ้โฮ! ใช่ๆ ถ้ายังเถียงกัน สู้กูไม่ได้ เออ! ถ้าไปชนช้างแล้วกูเพี้ยะ! เออ! ถ้าเราได้ชนช้างแล้ว ฟันกูขาดท่อน เออ! ใช่ นี่อาจารย์กู ถ้าฟันกูไม่ได้นะ

โยม : ...

ไม่ใช่ขี้หมูราขี้หมาแห้ง เห็นคนเข้า เห็นใครเข้าไปเยอะก็เข้าตามไป กูไม่เอาเลยนะ กูไปเจอใคร กูนั่งดูก่อน อย่างที่เอ็งพูดเมื่อกี้นี้ เมื่อก่อนกูจะบวช หนองขามมันใกล้บ้านกู กูจะบวช กูไปเจอ ทำก๋วยเตี๋ยวเสร็จ กูไปนั่งดูไง ท่านนั่งเทศน์ พอโยมมา เดี๋ยวกูเอากระโถนขว้างหน้าเลย เดี๋ยวกูเอากระโถนตบหน้าเลย

กูไปนั่งดูนะ เอ! อารมณ์นี้กูก็มีนี่หว่า อย่างนี้กูไม่เอา เราไม่บวช เราไปบวชที่อื่น

กับโยมนี่ เดี๋ยวกูเอากระโถนขว้างหน้าเลยนะ