ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

หลงเชื่อ

๒๒ ส.ค. ๒๕๕๒

 

หลงเชื่อ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ซีดี “จิตจริงโสดาบันจริง” เขาเอาไปฟังนะ แล้วเขาโทรมา โอ้โฮ.. จิตจริงโสดาบันจริง เขาบอกว่าเขาใช้ว่าจิตจริงจิตปลอมไง ฟังแล้วรู้เลย เราจะพูด เมื่อวานเขาโทรมาพูด เราฟังแล้วก็สะอึกเหมือนกันนะ เขาโทรมารายงานผล “โอ้โฮ ฟังซีดีหลวงพ่อแล้ว ไอ้จิตจริงจิตปลอมนั่นน่ะ มันชัดมาก” เขาว่า ไอ้จิตจริงจิตปลอมน่ะ

เราจะพูดถึงการภาวนา การภาวนา จิตมันต้องมีหลักนะ แล้วเวลาเขาภาวนาไปด้วยความเห็นของเขา เขามั่นใจว่าเขามีคุณธรรม พอเขามีคุณธรรม แล้วเขาไปอยู่กับครูบาอาจารย์ แล้วเมื่อวานเขาโทรมาน่ะ เขาบอกเลย เขาไปอยู่กับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเยอะแยะเลย อยู่กับองค์นั้น ๓ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๔ ปี คำพูดอย่างนี้เรารู้อยู่ เขาจะพูดให้เราวิเคราะห์ว่ามันผิดถูกอย่างไรไง

แต่ความจริงเราไม่วิเคราะห์ตรงนั้น เรากลับไปวิเคราะห์ความรู้สึกของเขา ความรู้สึกของเขา พวกเราวุฒิภาวะนี่ต่ำมาก คิดว่าครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงนั้นคือความจริง แล้วไปอยู่กับคนที่มีชื่อเสียง แล้วคนมีชื่อเสียงนั้นจะค้ำข้อเท็จจริงในใจของเรา เพราะเราคิดกันเอง เราคิดว่าครูบาอาจารย์องค์นี้มีชื่อเสียงมาก ครูบาอาจารย์องค์นี้เป็นที่นับหน้าถือตาของสังคมมาก เราไปอยู่ใกล้ท่าน ไอ้ความมีชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือของท่านน่ะ มันจะค้ำจุนความประพฤติปฏิบัติของตัว

เราเคยเป็นอย่างนี้.. เราเคยเป็นอย่างนี้ ตั้งแต่เราปฏิบัติใหม่ๆ พอเราปฏิบัติใหม่ๆ เราไปหาครูบาอาจารย์ เวลาครูบาอาจารย์ตอบปัญหาเรา ถ้าตอบผิดหรือตอบแล้วมันไม่เข้าหลัก ในใจเรารู้เลยว่าอาจารย์องค์นี้ภาวนาไม่เป็น คำว่าภาวนาไม่เป็น คือว่าเขาพูดอะไรให้เราฟัง มันจะไม่มี เพราะเขาพูดน่ะ มันไม่ตรงกับความเห็นของเรา มันไม่ตรงกับความเป็นจริงในใจของเรา

ถ้ามันไม่ตรงความเป็นจริงในใจของเรา มันมีอยู่ ๒ ประเด็น

ประเด็นหนึ่ง คือถ้าไม่เราผิด ก็ท่านผิด

แต่เพราะเราเคยผิดมาก่อนไง เพราะเราเคยหลงทางมาก่อน ก็เราผิดพลาดมามหาศาลเลย พอเราผิดพลาดมามหาศาลแล้ว สิ่งที่ผิดพลาด เราก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามันผิดพลาด แล้วพอเรามาประพฤติปฏิบัติ เรามาตั้งแนวทางให้ดี แล้วจิตใจเรา พอมันมาถูกแนวทาง ความที่ผิดพลาด เราก็เป็นมาแล้วใช่ไหม ความที่ถูก แล้วพอเรามาสัมผัส เราก็รู้ว่าอันนี้มันถูก พออันนี้มันถูกแล้ว ถ้าเราปฏิบัติไป..ความถูก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ ถ้าเป็นความถูก มันเป็นความชอบธรรม

ดูสิ เขามีปัญหากัน เขาทำธุรกิจกัน ทำสิ่งต่างๆ กันน่ะ เขาแสวงหาความชอบธรรม ถ้าแสวงหาความชอบธรรม ความชอบธรรมอันนี้ มันจะเป็นเกราะคุ้มครองเรา นี่การแสวงหาทางโลกนะ ความชอบธรรมกับความไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมจะชนะความชอบธรรม นี้มันเป็นข้อเท็จจริงทางโลก แต่ในการประพฤติปฏิบัติ ไอ้ความชอบธรรมของเรา มันจะเป็นพื้นฐาน เป็นสมาธิโดยชอบ ให้ทานโดยชอบ เวลามันรักษาศีล ทานที่โดยชอบ คือทานที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ความที่ว่ามันจะให้ถือไปเกิดศีลโดยสัมมาทิฏฐิ

ความที่เป็นศีลโดยชอบ มันจะเกิดสมาธิโดยชอบ สมาธิโดยชอบ มันจะเกิดปัญญาโดยชอบ

ถ้ามีทานนั้นโดยไม่ชอบ การทุจริตฉ้อฉล การให้ทาน ผลของมันคือเกิดถือศีล ศีลก็เกิดด่างพร้อย ศีลที่เกิดที่การด่างพร้อย ศีลนั้นมันจะเกิดเล่ห์กล มันจะมีความฉ้อฉลของมัน ความฉ้อฉลของศีลที่ด่างพร้อย ดูสิ เขาถือศีลกัน เห็นไหม ทางโลก โอ๊ย.. เป็นคนดี

ถ้าทางโลกโวหารเขาบอกว่า มือถือสาก ปากถือศีลไง นี่ไง เพราะศีลมันฉ้อฉล สมาธิมันเป็นอย่างไร ? สมาธิมันก็ฉ้อฉล พอสมาธิฉ้อฉล มันก็เกิดปัญญาฉ้อฉล.. นี่ไง มันไม่ชอบ

ฉะนั้น เรา พอไปอยู่กับใคร เขาบอกว่า เขาไปอยู่กับครูบาอาจารย์องค์นั้น เขาโทรมาบอกด้วย คือจริงๆ คือเขาจะให้เราวิจารณ์อาจารย์องค์นั้น เรารู้แต่เราไม่มีวิจารณ์ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาก็เคยไปอยู่มาแล้ว ๕ ปี ๑๐ ปี แล้วมันก็ผ่านไปแล้ว แล้วจะให้เราวิจารณ์

เพียงแต่เรากลับสังเวช สังเวชว่า วุฒิภาวะของสังคมตอนนี้เป็นอย่างนี้ คนส่วนใหญ่แล้ว มีความคิดอย่างนี้ ความคิดว่าพระองค์นี้มีชื่อเสียง พระองค์นี้ดี พระองค์นี้คนไปหาเยอะ มันต้องเป็นความจริงสิ นี่ แล้วพอไปหาขึ้นมา.. พอในปัจจุบันนี้ เขามาฟัง “จิตจริงโสดาบันจริง” เขาบอกเขาสิ้นกิเลสแล้วนะ พอเขามาฟังจิตจริงโสดาบันจริง เขาบอกว่า อื้อหืม.. หลวงพ่อพูดนี่ถูกหมดเลย

คือว่าความเห็นของเขา ไม่เข้ากับสิ่งที่เราพูดไว้เลย เขาถึงได้คิด เขาถึงโทรมาพูดในทางน้อยใจไง น้อยใจว่าก็เคยไปอยู่กับองค์นั้นมา ๕ ปีนะ เคยอยู่องค์นั้นมา ๑๐ ปี

เราคิดในใจเลยว่า เอ็งไปอยู่กับท่าน แล้วเอ็งได้อะไร ?

ถ้าเป็นเรานะ เราอยู่กับท่าน แล้วเราภาวนามาอย่างนี้ ท่านไม่เคยแนะนำเราเลย หรือท่านไม่เคยบอกอะไรเราเลย แสดงว่าท่านไม่รู้ ถ้าเป็นเรานะ เราจะไม่น้อยใจอะไรเลย เราจะไม่คิดอะไรเลย เราจะคิดแต่ว่า เราต่างหากเข้าใจผิด เราต่างหากเข้าใจผิดว่าท่านมีชื่อเสียง ท่านมีความอะไรก็แล้วแต่ แล้วท่านจะแก้ไขเราได้ แต่ความจริงท่านแก้ไขเราไม่ได้ คือท่านไม่รู้จริงไหม? เขาไม่คิดมุมนี้ไง เขาไม่คิดว่าสิ่งที่เขาเชิดชูมาว่าเขาเคยอยู่กับองค์นี้มา ๕ ปี ๑๐ ปี สิ่งนั้นเขาไปอยู่กับคนที่ไม่รู้ เขายังคิดว่าเขาไปอยู่กับคนอย่างนี้แล้ว แล้วเขาก็มาพูดทำนองน้อยใจกับเราว่าเคยอยู่กับองค์นั้นมา ๕ ปี อยู่กับองค์นี้มา ๑๐ ปี แล้วพอมาฟังเทศน์เรา มันไม่เหมือนกัน

ความจริง แค่นี้เขาควรจะรู้ตัว แล้วเขาควรจะแก้ไข เพราะเรานี่นะ เราเป็นมาก่อน มันถึงบอกว่ามันเป็นมาด้วยอำนาจวาสนา อำนาจวาสนา เราพูดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ่อยนัก เราพูดบ่อยเพราะอะไร เพราะเรามีประสบการณ์อย่างนี้ เราบอกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะไปฝึกกับอาฬารดาบส อาฬารดาบส อุทกดาบส บอกเลยว่า “เจ้าชายสิทธัตถะมีความรู้ มีความเห็นเหมือนเรา มีฌานสมาบัติเหมือนเรา เป็นอาจารย์สอนได้” นี่อาจารย์ยกตูดเลย ยกย่องเลย

เจ้าชายสิทธัตถะบอกว่า “ไม่เอา ไม่ใช่” ไม่เอาเพราะอะไร เพราะทุกข์ในใจเรา เรารู้อยู่

ถ้าเป็นพวกเรา เห็นไหม ไปอยู่ ๕ ปี ๑๐ ปี เขาไม่ได้ยกย่องเลย ไปคิดเอาเอง นั่นอาฬารดาบสยกย่องแล้วนะ ประกาศต่อหน้าลูกศิษย์เลยว่า “เจ้าชายสิทธัตถะมีความรู้เหมือนเรา เป็นอาจารย์สอนได้เท่าเรา เป็นศาสดาได้เลย” เจ้าชายสิทธัตถะไม่เอาเลย

แต่นี่เขาไม่ได้ยกย่อง! ไปอยู่กับเขาเอง แต่เขามีชื่อเสียง มีคนนับหน้าถือตา ก็คิดว่ามันจะใช่ไง แล้วพอตอนนี้มันไม่ใช่ พอไม่ใช่ เพราะเขาพยายามดูใจเขาว่าของเขาใช่นะ แล้วเขาก็ไปคุยธรรมะกัน แล้วลูกศิษย์เราก็ไปคุยกับเขา เขาบอกที่เขามา เพราะว่าลูกศิษย์เรา ไม่มีอะไรเลยนะ ลูกศิษย์เรานี่เพิ่งหัดภาวนา แล้วภาวนาแล้ว กำลังใช้ปัญญาอยู่

เขาบอกว่า “ขนาดว่าลูกศิษย์หลวงพ่อนะ ภาวนาอย่างนี้ เวลาภาวนาว่ายังไม่มีอะไรเลย แต่เวลาปัญญาเขายังกว้างขวางกว่าของดิฉันเลยล่ะ ของดิฉันว่าสิ้นกิเลสแล้วนะ ของดิฉันยังแค่เกิดดับๆ อยู่เฉยๆ น่ะ ของลูกศิษย์หลวงพ่อนี่นะ ยังไม่ได้อะไรเลยนะ มันยังเจาะลึกเข้าไปขนาดนั้น มีงานทำมากกว่าเรา เราเป็นผู้ที่สิ้นกิเลสแล้ว ก็เห็นแค่การเกิดดับเท่านั้น”

ไอ้คนที่ยังไม่ได้อะไรเลยนะ มันยังใช้ปัญญา มันแยกแยะ ตีแผ่เข้าไปในจิต เข้าไปนะ “คนที่ไม่ได้อะไรเลยของหลวงพ่อนี่นะ ยังปัญญาดีกว่าเขา” เขาบอกเขาเอะใจ เขาเอะใจ เขาสงสัยมาก พอเขาสงสัยมาก เขาถึงมาหาเรา พอมาหา เราก็อธิบายให้เขาฟัง เขาบอก

นี่เขาโทรมาเขาบอกว่า “ตั้งแต่ฟังหลวงพ่อมา หัวใจมันตื่นตัวมาก คือมันไม่ไปชาชินอยู่กับความเกิดดับอย่างนั้น”

นี่มันไม่มีใครรับรองอะไรเลย แต่เป็นเพราะพวกเราเป็นคนปฏิบัติ เราเองอ่อนแอ ไปอยู่กับใคร แล้วใครที่เขาไม่ได้ชี้ถึงจุดบกพร่องของเราเลย ก็นึกว่าเขารับเราแล้วไง เขาคิดว่าเรานี่สิ้นกิเลส แล้วตอนนี้น้อยใจ.. นี่เป็นอย่างนี้กันหมด!

ทีนี้เราถึงย้อนกลับมาที่เจ้าชายสิทธัตถะ อาฬารดาบสรับประกัน อาฬารดาบสนี่ยกย่องเลย ไม่เอาๆ แม้แต่มีคนยกย่องก็ไม่เอา ไม่เอา ไม่เอาเพราะอะไร เพราะมันเป็นความจริงหรือไม่จริงจากเรา ดูสมัยพุทธกาลสิ พระอริยบุคคลในสมัยพุทธกาลน่ะ ไม่มีใครไปค้ำประกันนะ มันเป็นเองจากในใจของพระอริยบุคคลในสมัยพุทธกาลทั้งนั้นเลย แล้วไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพยากรณ์ว่าใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น

แล้วบางทีมีพระหลายองค์มากเลย บอกว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ส่งข่าวกันมาก่อนว่าเป็นพระอรหันต์จะมากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้พระไปดักหน้าเลย แล้วบอกไม่ต้องมา ให้เข้าไปเที่ยวป่าช้าก่อน พอไปเจอป่าช้า จิตใจมันหวั่นไหว พวกนั้นรู้ตัวหมดว่าไม่ใช่พระอรหันต์.. รู้ตัวเอง จริงๆ มันรู้ตัวเอง

ความจะเป็นโสดาบัน-ไม่เป็นโสดาบัน เราต้องรู้ก่อน เรานี่รู้! พอรู้แล้ว มันไม่มีความสงสัยเลย เราจะรู้ของเราก่อน แล้วถ้าเราไม่มีอะไรเลย ใครจะมอบให้ ใครจะเอาประกาศนียบัตร ใครจะเอาธรรมะฉีดเข้าไปในเส้นเลือด มันก็ไม่ใช่ ไม่ใช่! คนอื่นจะทำให้เราเป็นไม่ได้ คนอื่นจะพยากรณ์ไม่ได้! เพียงแต่ว่าคนนั้นเป็นขึ้นมา

อย่างนาย ก. คนหนึ่ง เขาเป็นโสดาบันขึ้นมา แล้วเขาว่าเขาเป็นโสดาบัน แล้วใครคนอื่นไม่เชื่อไง คนอื่นไม่เชื่อว่านาย ก. เป็นโสดาบัน.. นี่พระพุทธเจ้าจะพยากรณ์อย่างนี้

ดูสิ สมัยพุทธกาลนะ มีพระน่ะ ตัวเตี้ย ตัวเล็ก หรือว่าเป็นแบบว่าขี้ทูด แล้วเป็นพระอรหันต์น่ะ แล้วพระสมัยพุทธกาล เขาคิดว่าเป็นเด็ก หรือเหมือนบางคนเป็น คนแคระคนแกร็นอย่างนี้ มันไม่สมกับเป็นพระอรหันต์เลย ก็เอามือลูบหัวเล่นไง ก็พระด้วยกัน ก็เหมือน สังคมเราสนิทชิดเชื้อกัน ก็เล่นกันได้ ก็เราหยอกล้อกันน่ะ

พระพุทธเจ้าเห็นแล้วว่านี่พระอรหันต์ แล้วพระปุถุชนไปลูบหัวเล่น ไปหยอกไปล้อ พระพุทธเจ้าถึงพยากรณ์ “นั้นพระอรหันต์นะ นั้นน่ะ เป็นพระอรหันต์นะ” ดูพระอรหันต์ไม่แสดงตัวอะไรเลยนะ นี่พระปุถุชนไปลูบเล่น ไปกล่าวเล่น พอถึงมา “นั่นพระอรหันต์นะ” พวกนั้นต้องขอขมาเลยล่ะ เพราะเขารู้

เพราะพระอรหันต์เหมือนนิวเคลียร์ ถ้าในทางสันติจะบังเกิดประโยชน์มาก ถ้าเกิดในทางทำลาย ทำลายมหาศาลเลย ทำลายเพราะอะไร ทำลายเพราะว่า.. ตัวท่านเองไม่ได้ทำลาย แต่พวกที่เข้าไปวิจารณ์ เข้าไปทำลาย นี่ไง

ในพระพุทธศาสนา เขาบอกว่าพระพุทธศาสนานี่แหม.. ใครไม่เชื่อก็เป็นบาปๆ.. ไม่เป็นนะ พระพุทธศาสนา ถ้าไม่เชื่อ ไม่เป็นไรเลย ถ้าใครไม่เชื่อ คือคนนั้นหมดโอกาส ถ้าใครไม่เชื่อพระพุทธศาสนา เราถือศาสนาอื่น คนนั้นเขาไม่ศึกษา เหมือนยา ยาเอามาวางไว้ ถ้าเราเป็นโรคภัยไข้เจ็บ แล้วเรากินยานั้น เราก็จะหายจากโรคนั้น ถ้าเราไม่กินยานั้น เราไม่ต้องการยานั้น เราจะเป็นอะไรล่ะ แล้วใครเสียโอกาสล่ะ? คือคนไม่ต้องการยานั้นเสียโอกาสใช่ไหม ยามันจะไปเสียอะไร?

พระพุทธศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าใครไม่เชื่อ.. ไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร เพราะศาสนาเป็นธรรมโอสถ ธรรมโอสถนั่น ใครไม่เอาไปใช้ ไม่เป็นประโยชน์อะไรหรอก ไม่เป็นโทษหรอก.. ไม่เป็นโทษ.. พระพุทธศาสนาไม่เคยให้โทษใคร ธรรมะไม่เคยให้โทษใคร ความดีไม่เคยทำร้ายใคร

สิ่งที่ทำร้ายเรา คือกิเลส คือความชั่วทั้งนั้น ความชั่วทำร้ายเรา ความดีไม่ทำร้ายเราหรอก

พระพุทธศาสนา ธรรมะนี่ประเสริฐ ธรรมะนี่ธรรมเหนือโลก ไม่เคยทำร้ายใครเลย สุดยอดเลย แต่เวลาถ้าเราเป็นชาวพุทธแล้วสิ เราเป็นชาวพุทธ พอเราชาวพุทธเราเข้าไปใช้ยานั้น แล้วเราไปวิจารณ์ยานั้น เราไปติเตียนยานั้น เราไปติเตียนยานั้น ถ้าเรายังไม่ได้กินเลย เรายังไม่ได้ใช้ยาให้ครบสูตรของมัน ผลยังไม่ออกขึ้นมา เราบอกว่านี่ยานี้ไม่ดี ยานั้น.. นี่เหมือนกัน เวลาพบพระพุทธศาสนา แล้วไปติเตียน คำว่าติเตียนพระอริยเจ้า กรรมมันเกิดตรงนี้ ติเตียนพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าเป็นผู้ที่ไม่เป็นโทษกับใคร

คำว่า “ติเตียน” สมมุติพระ ก. เป็นพระอรหันต์ แล้วพระ ก. เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นพระอรหันต์ ก็พระ ก. เป็นพระอรหันต์ไปสิ แล้วเกี่ยวอะไรกับเราล่ะ? เราก็เป็นเรา พระอรหันต์ก็เป็นพระอรหันต์ จริงไหม? แต่พอเราไม่เชื่อไง “พระ ก. ขี้โม้ พระ ก. โกหก พระ ก. ฉ้อฉล” นี่ไง กรรมมันเกิดตรงนี้ คำว่า “ติเตียน” ถ้าเราไม่เชื่อ ส่วนใหญ่แล้วเราจะหาข้อมูลลบ ไอ้ข้อมูลลบนั่นน่ะเป็นกรรม เพราะเราข้อมูลลบ

แต่พระ ก. ไม่ใช่พระอรหันต์ แต่สังคมเขาเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วเราไปติเตียนว่าพระ ก. เป็นพระอรหันต์ นี่ข้อมูลจริงหรือเปล่า?

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะพระพุทธเจ้าพูดไว้คำหนึ่ง เวลามารดลใจพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า เวลาสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว มารพยายามดลใจ พยายามจะให้พระพุทธเจ้านิพพานไป เพราะพระพุทธเจ้าอยู่ จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ จะให้จิตวิญญาณพ้นจากมาร มารนี่ตามนิมนต์ พยายามจะบอกให้พระพุทธเจ้าตายเร็วๆ เพราะจะได้ไม่ต้องเป็นประโยชน์กับสังคมไง

แล้วเวลามารมา พระพุทธเจ้าจะคุยกับมารนะ

“มาร.. บัดนี้นะ ในเมื่อตถาคตพยายามสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดนี้ ทำเพื่อประโยชน์ขนาดนี้ ถ้ามันยังไม่มั่นคง ถ้าศาสนายังไม่มั่นคงเมื่อไร จะไม่นิพพาน”

มารก็นิมนต์ไปเรื่อย จนสุดท้ายนะ พระพุทธเจ้าฉลาดมาก ฉลาดมาก เวลาถ้าพูดถึงตัวเองจะทำอะไร พระอรหันต์ ฟังนะ พระอรหันต์จะไม่ทำประโยชน์อะไรเพื่อตัวเองเลย เพราะตัวเองมันไม่มี สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นผลของวัฏฏะ แม้แต่ผู้ที่เหลืออยู่ก็เป็นเศษของวัฏฏะ เหมือนคนเกิดมา เกิดมาจากพ่อแม่ ผลคือเกิดมาจากพ่อแม่ พระ คนทุกคนเกิดมาจากกรรม ในเมื่อเกิดมาจากกรรม แล้วมาทำ มาสิ้นกิเลสแล้ว ในใจนี่ไม่มีสิ่งใดในหัวใจเลย มันจะคิดอะไรเพื่อประโยชน์กับตัว

ทีนี้ถ้าจะอยู่เพื่อต่อๆ ไปมันก็ไม่มีเหตุไม่มีผลไง

ถึงพยายามบอกพระอานนท์ไง “อานนท์.. ผู้ใดปฏิบัติอิทธิบาท ๔ จะอยู่อีกกัปหนึ่งก็ได้” คือพยายามบอกพระอานนท์ถึง ๑๖ หน พยายามบอกเป็นอุบายไง ถ้าพระอานนท์ได้สตินะ แล้วพระอานนท์พยายามนิมนต์ไว้ คือขอไว้ พระพุทธเจ้าบอกเลย จะอยู่ได้อีกกัปหนึ่ง ทีนี้บอกพระอานนท์ถึง ๑๖ ครั้งนะ

ความจริงพระอานนท์นี่นักปราชญ์นะ แต่ทำไมบอกเป็นอุบาย บอกว่าให้พระอานนท์อาราธนาสิ เพราะประโยชน์ตัวไม่มี

ถ้าพระอานนท์อาราธนา พระพุทธเจ้าบอกเลยนะ ในพระไตรปิฎก “อานนท์ พอปลงอายุสังขารแล้วนะ” พระอานนท์รู้ไง พระอานนท์ โอ้โฮ.. เสียใจมาก ร้องไห้ พยายามจะอาราธนาให้อยู่ไง “อานนท์ เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายย่อมดับไปเป็นธรรมดา เราบอกเธอมาแล้วถึง ๑๖ ครั้งว่าให้เธออาราธนาเราไว้ ถ้าเธออาราธนาเราไว้ตั้งแต่ตอนนั้น เราจะปฏิเสธเธอถึง ๒ หน ถ้าเธอนิมนต์ซ้ำถึงหนที่ ๓ เราตถาคตจะรับนิมนต์ของเธอ”

ถ้าไปนิมนต์ครั้งแรกมันแบบว่าคนเรายังไม่แน่ใจ ในพระพุทธศาสนา เขาจะทำต้องพระพุทธ ทุติ ตติ เห็นไหม ถึง ๓ ครั้ง “ถ้าครั้งที่ ๑ เราจะปฏิเสธ.. ครั้งที่ ๒ เราจะปฏิเสธ.. ถ้าครั้งที่ ๓ เราจะรับนิมนต์ของเธอ แต่เราบอกเธอมาถึง ๑๖ ครั้ง เธอไม่เฉลียวใจเลย เธอไม่เคยนึกจะนิมนต์เราเลย บัดนี้เราได้ปลงอายุสังขารแล้ว”

พอปลงอายุสังขาร มันจะเกิดโลกธาตุหวั่นไหว พระอานนท์พอเห็นอาการโลกธาตุหวั่นไหว แปลกใจ ก็เข้าไปถามท่าน “มีโลกธาตุหวั่นไหว เป็นเพราะเหตุใด” พอพระพุทธเจ้าพูด พระอานนท์รู้เลยว่าเกิดเพราะ พระพุทธเจ้าเกิด พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร พระพุทธเจ้าปรินิพพาน โอ้โฮ.. พระอานนท์ร้องไห้เลย อาราธนาใหญ่เลย “ขอให้พระพุทธเจ้าอยู่เถิดๆ”

“อานนท์ เราบอกเธอมาแล้วถึง ๑๖ หนใช่ไหม เธอไม่อาราธนาเราเลย บัดนี้เธอมาอาราธนา มันช้าไปแล้ว แล้วเราปลงอายุสังขารแล้ว เราได้ปลงอายุสังขารแล้ว อีก ๓ เดือนข้างหน้า เราจะปรินิพพาน” โอ้โฮ.. พระอานนท์นี่คร่ำครวญเลย

นี่ไง เพราะพระอรหันต์จะไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเลย แต่ถ้าพระอานนท์นิมนต์ไว้จะอยู่ เวลาปลงอายุสังขาร บอกกับมารไง “มารเอย เมื่อใดภิกษุ-ภิกษุณี อุบาสก-อุบาสิกา ยังไม่เข้มแข็ง กล่าวแก้คำจาบจ้วงของลัทธิต่างๆ”

พระ ก. ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ แล้วมีคนเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ใช่ไหม มีความเข้าใจ เพราะพระ ก. ไม่ใช่พระอรหันต์ แล้วเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ การสั่งสอน การกระทำนั้น มันจะเป็นธรรมไหม เพราะตัวเองไม่เป็นพระอรหันต์ ถ้าตัวเองไม่เป็นพระอรหันต์ แล้วพูดถึงว่าเรากล่าวแก้ เราพยายามทำให้ศาสนานี้มั่นคง ทำให้ศาสนธรรม คำสั่งสอน สัจธรรมมันเป็นสัจธรรม ไม่ปฏิรูป มันเป็นสัจธรรมที่เป็นสัจธรรม พระอรหันต์ไม่ใช่พระอรหันต์ มันเป็นสัจธรรมปฏิรูป เพราะมันออกมาจากกิเลส ออกมาจากความรู้สึกของตัว มันไม่ใช่ออกมาจากสัจธรรม

ถ้าออกจากสัจธรรม พระอรหันต์ พระ ก. เป็นพระอรหันต์ออกมา ถ้าพระอรหันต์นะ พวกเรานี่นอนแบบลงใจ คือนอนแบบสบายใจได้เลยว่าพระอรหันต์ท่านจะทำประโยชน์เพื่อเราแน่นอนเลย นอน.. จะบอกว่านอนกระดิกเท้าได้เลย พระอรหันต์จะไม่ทำลายให้เสียหายเลย

แต่ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ มันจะทำความเสียหายไปหมดเลย ทำความเสียหายตั้งแต่ต้นกระบวนการ เช่น สมาธิไม่ต้องทำ ทุกอย่างอะไรไม่ต้องทำ ความเป็นพระอรหันต์มันจะลอยมาจากฟ้า มันจะเข้ามาในใจของเราเลย.. มันเป็นไปไม่ได้! นี่ไง เพราะพอบอกไม่ใช่พระอรหันต์ เห็นไหม

“มารเอย เมื่อใดภิกษุ-ภิกษุณี ไม่สามารถกล่าวแก้คำจาบจ้วงความทำลาย ในพระพุทธศาสนา เราจะไม่ปรินิพพาน” พอถึงสุดท้ายนะ พอวันมาฆะไง “มารเอย บัดนี้ภิกษุ-ภิกษุณี อุบาสก-อุบาสิกา สามารถกล่าวแก้คำจาบจ้วง สามารถกล่าวแก้ไอ้ความทุจริต สามารถกลั่นกรองความสะอาดบริสุทธิ์ในศาสนา สามารถดูแลสัจธรรม.. บัดนี้อีก ๓ เดือนข้างหน้า เราจะปรินิพพาน”

ถึงบอกว่าเป็นนิวเคลียร์ ถ้ามันเป็นความจริง เราไปติ อันนั้นน่ะเป็น

ดูสิ ดูอย่างเช่นหลวงตา ไปขอขมากันมากเลย ปากเบี้ยวปากบูดเอียง.. นี่ไง ไปขอขมากันเยอะแยะเลย นี่ไง ก็เมื่อก่อนก็คนเก่งไง ก็สัจธรรมไง ก็ซัดเข้าไปเต็มที่เลย ทำไมต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมากันล่ะ นี่ถ้าเป็นของจริง มันให้ผลนะ แล้วไปขอขมา เราเห็นด้วย แล้วเราอนุโมทนาด้วย เพราะสิ่งนี้เป็นอริยประเพณี

ความเป็นประเพณีเป็นอริยประเพณี คือคนใดนะ พระพุทธเจ้ายกย่องมาก ทำความผิดแล้วสารภาพ ประกาศตน อย่างเช่นพระเราปลงอาบัติ ทำผิดแล้วยอมรับผิด ถ้าใครทำผิด แล้วยอมรับผิด มีการแก้ไข นี่ไง “มหาปวารณา” พระพุทธเจ้าเปิดช่องทางไว้ เพราะคนเราไม่ทำผิดเลยไม่มี คนเราต้องมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา

แต่ถ้ามันมีความผิดพลาดแล้ว ยอมรับความผิดพลาดนั้น แก้ไขความผิดพลาดนั้น มีโอกาสนะ เพราะเรามีกิเลสกัน เรามีความผิดพลาดในหัวใจตั้งแต่ทีแรก ไอ้พวกเราที่จะไม่คิดผิดเลย ไม่มีวอกแวกเลยน่ะ เป็นไปไม่ได้หรอก หัวใจเรานี่ยิ่งกว่าลิง โอ้โฮ.. มันวอกแวก มันคิดไปร้อยแปด แล้วคนที่ไม่เคยคิดผิดเลย คนที่ไม่เคยทำผิดเลยไม่มี แต่คนทำผิดแล้ว พระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้ ขอขมา ทำสิ่งอะไรให้มันกลับมาเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ดี นี่ทำได้

ฉะนั้นสิ่งที่ว่ามันเป็นนิวเคลียร์ พอเป็นนิวเคลียร์ปั๊บ เราจะไม่กล้าไปแตะต้องสิ่งใดเลย

หลวงตาท่านพูดบ่อยนะ ท่านพูดถึงว่า “พระเรา พระที่ทำดีทำชั่ว ทำดีก็ดีไป ทำชั่ว ผ้าเหลืองมันคุ้มหัวนะ เพราะมีผ้าเหลือง ชาวบ้านเขาถึงไม่กล้าแตะต้อง พอไม่กล้าแตะต้อง พระก็ทำตามแต่นิสัยพระกันไป พระมันก็เลยเสียหาย” นี่พูดถึงความว่าเป็นนิวเคลียร์ แล้วการกระทำของเรา

ทีนี้พอ.. นี่เรื่องของพระ นี่เรื่องของเรา ถ้าเรื่องของเรา เราเข้าใจผิดกันเองไง เราเข้าใจผิดว่าสิ่งที่ท่านมีชื่อเสียง สิ่งที่มีคนนับถือ เราโดนบ่อยนะ ลูกศิษย์หลายคนมากเลย มาคุยกับเรา แล้วเรา นิสัยเรามันตรง ถ้าถูกก็ว่าถูก ผิดก็ว่าผิด ใส่เราต่อหน้า ใส่เราต่อหน้าเลยว่า “ครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง พรรษาก็เยอะกว่าหลวงพ่อทั้งนั้นเลยน่ะ รับประกันมาทั้งนั้นเลย หลวงพ่อมีอะไรถึงกล้าค้านเขา?” พูดต่อหน้าเราก็มี พูดต่อหน้าเราเลยน่ะ ยันต่อหน้าเราเลยน่ะ

แต่ถ้าเราพูดนะ ถ้าเราพูดมันก็พูดแรง แล้วพูดแรง ภาษาเรานี่มันแบบว่าพูดลับหลัง คือเราไม่ได้พูดต่อหน้าพระองค์นั้นไง พระองค์ที่มีชื่อเสียงองค์นั้นน่ะ ถ้าพระมีชื่อเสียงองค์นั้น เขาสอนมาในกรณีอย่างนี้ มันก็พูดได้ใช่ไหมว่าถูกหรือผิด เพราะมันมีประเด็นให้พูดใช่ไหม แต่นี่เราพูดลับหลังหมายถึงว่าเราพูดอยู่ข้างเดียวไง เราจะบอกว่าเขาผิดๆๆ เลย

ทีนี้ส่วนใหญ่แล้ว เราจะไม่บอกว่าสิ่งที่เขา ชื่อของเขา ส่วนเรื่องบุคคลนั้นยกไว้ เราจะพูดแต่ข้อเท็จจริงตลอด ข้อเท็จจริงคือคำสอนน่ะ คำที่เขาพูดออกมาน่ะ ส่วนใหญ่เราจะพูดตรงนี้นะ

ทีนี้เพียงแต่ว่าผู้ที่อ่อนด้อย เขาไม่สามารถเข้าใจไอ้ข้อเท็จจริงตรงนี้ แต่เขาไปเชื่อมั่นในความมีชื่อเสียงไง เขาไปเชื่อมั่นในความมีชื่อเสียง เชื่อมั่นในวุฒิภาวะ เชื่อมั่นในอาวุโสที่เขาสูงกว่าเรา เขาก็พยายามยืนประเด็นนี้ว่า “เขาสูงกว่า เขาอายุพรรษามากกว่า เขามีชื่อเสียงกว่า เขามีคนนับถือมากกว่า.. หลวงพ่อต้องยอมรับเขาสิ! หลวงพ่อต้องยอมรับเขา..” ไอ้เราก็แหม.. เวรกรรม

แล้วเรามันเคยโดนหลอกมาเยอะ ก่อนที่เราจะปฏิบัติ เราปฏิบัติของเราแล้วเราก็ไปถามปัญหาไว้อย่างนี้เยอะ แล้วปัญหาอย่างนี้เขาก็ตอบเราไม่ได้ ตอบเราไม่ได้ด้วย แล้วเราปฏิบัติมา มันผิดพลาดมาเยอะ ฉะนั้นเรื่องอย่างนี้เราไม่เคยคิดเลยว่า “ชื่อเสียง พรรษา จะมีประโยชน์ จะมีมาค้ำความผิดถูกได้”

เราอยู่กับหลวงตานะ หลวงตาบอก “พระจะพ้นนิสัยต้อง ๕ พรรษาขึ้น และเป็นผู้ฉลาด ท่องปาฏิโมกข์ได้ ถ้า ๑๐๐ พรรษา ไม่ฉลาด ไม่พ้นนิสัย” คือ ๑๐๐ พรรษา ก็ไม่พ้นนิสัยนะ คนจะพ้นนิสัยต้องฉลาด ต้องฉลาด ต้องรู้อะไรถูกอะไรผิด แล้วนี่เขามีชื่อเสียง เขาทุกอย่าง แล้วคำสอนเขาผิดหมดเลย มันจะฉลาดไปไหน? มันจะสูงส่งไปไหน? เรามองต่ำกว่าสามเณรน้อยนะ คนที่อายุพรรษา ๑๐๐ กว่าพรรษาก็แล้วแต่ ถ้าทำไม่ถูกใช่เป็นพระไหม ?

ถ้าเป็นธรรมวินัยนะ อย่างเช่น อาวุโสภันเต เวลาขึ้นเป็นประธานสงฆ์ ถ้าพรรษามากกว่า อาวุโสภันเต หลวงตาออกมาต่อต้านกับเรื่องธรรมวินัย ท่านบอกว่า “สมณศักดิ์ต่ำว่าธรรมวินัย ต่ำกว่าอาวุโสภันเต” เราก็เห็นด้วย คำว่าเห็นด้วยหมายถึงว่าเวลาเข้าเป็นศาสนพิธีอย่างนี้ เวลาเข้าสวดมนต์เข้าตามสิทธิ์ เราก็เคารพนะ เวลาประชุมสงฆ์ ภิกษุต้องไหว้ประธานสงฆ์ ทุกคนต้องไหว้ แล้วเราก็ไหว้ทุกที เราไม่เคยเห็นว่าเขาไหว้กัน เราไม่ไหว้เลย.. เราก็ไหว้ นี่มันเป็นพิธีกรรมไง คำว่าพิธีกรรม พระพุทธเจ้าวางไว้เป็นพิธีกรรม พิธีกรรมว่าต้องเคารพกันเพื่อความสวยงาม สมณสารูป เพื่อองค์กรที่มันจะได้เข้มแข็ง องค์กรนี้มันเป็นหนึ่งเดียวกัน เราก็เห็นด้วย

แต่ขณะที่ว่าข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงมันเป็นความรู้สึกส่วนบุคคลไง ความรู้สึกส่วนบุคคลนะ อย่างเช่น พระสารีบุตร ภิกษุชาววัชชี เขามีปัญหากันมาก เขาหยิบเงินหยิบทองอะไรนี่ แล้วมีพระมาฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าให้พระสารีบุตรไปแก้ไข เพราะว่าเป็นสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร พระสารีบุตรไม่ไปนะ พระสารีบุตรบอกกับพระพุทธเจ้าว่า “ไปไม่ได้หรอก พวกนี้นักเลงทั้งนั้นเลย โหย.. เกมาก ไปนี่ก็ต้องสู้เขาไม่ได้น่ะสิ” พระพุทธเจ้าบอกว่า “ให้เธอเอาพระไป เอาพระหมู่ใหญ่ไป เอาพระไปแล้วไปลงพรหมทัณฑ์” คือไล่ออกจากที่นั่นไป ถ้าเขาอยู่ที่นั่น เขาจะหาผลประโยชน์กับชาวบ้าน เขาให้ไปไล่ออกไป

แล้วเวลามันมีปัญหาขึ้นมา พระพุทธเจ้าบอกว่า “ให้ค้านไว้” อย่างเช่นทำสังฆกรรม ในเมื่อสงฆ์ ความเห็นของสงฆ์ส่วนใหญ่เห็นว่าทำอย่างนั้นถูกก็เป็นผลประโยชน์ พระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็นกรรมไง สภาคกรรม กรรมร่วมกัน พระพุทธเจ้าบอกว่า “ให้ค้านไว้ในใจ” คำว่าค้านไว้ในใจ คือเราไม่เห็นด้วย เราไม่เห็นด้วยกับการกระทำอย่างนั้น ถ้าเราไม่เห็นด้วยกับการกระทำอย่างนั้น การกระทำอย่างนั้นมันเกิดเป็นกรรมร่วม กรรมเป็นสภาคกรรม เราจะไม่มีกรรมร่วมด้วย เพราะเราไม่เห็นด้วยกับเขา

อย่างเช่นการลงอุโบสถสังฆกรรม เขาว่าหลวงปู่มั่นมีทิฏฐิมานะ ธรรมดาร่วมกัน ทำไมต้องแบ่งแยก หลวงปู่มั่นไม่ได้แบ่งแยก หลวงปู่มั่นเป็นพระ เป็นสาวก เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าที่เคารพธรรมวินัยสุดชีวิต

ในธรรมวินัยบอกว่า “นานาสังวาส ภิกษุถือศีลต่างกัน โดยศีลต่างกัน ให้ถือเป็นนานาสังวาส”

“ภิกษุนานาสังวาสร่วมอุโบสถกัน อย่างน้อยถ้ามันไม่ได้ทำให้มันชัดเจน เป็นโมฆียะ”

“ถ้าภิกษุนานาสังวาสร่วมอุโบสถกัน สิ่งนั้นเป็นโมฆะ”

คืออะไร ? เพราะพระธรรม มันพระธรรมมันไม่เหมือนกัน พอมาอุโบสถไม่เหมือนกัน มันเห็นค่าต่างกัน ให้เป็นโมฆะ ให้แยกกันทำ ในเมื่อภิกษุมีความเห็นอย่างนี้ ให้ทำอย่างนี้ ภิกษุให้ทำอย่างนี้ เขาเรียกนานาสังวาส นี่ไง พอมีนานาสังวาส เพราะกฏหมายบังคับไว้อย่างนี้ ธรรมวินัยเขียนไว้อย่างนี้ ธรรมวินัยพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้อย่างนี้ กติกาบังคับไว้อย่างนี้

หลวงปู่มั่นเป็นสาวก-สาวกะก็เชื่อฟัง เชื่อฟังลงในธรรมวินัยนั้น หลวงปู่มั่น ไม่มีทิฏฐิมานะอะไรหรอก แต่เขาเข้าใจผิดไงว่าพวกนี้มีทิฏฐิมานะ ไม่ยอมลง

ไอ้อย่างนั้นน่ะ มันมูตรคูถไง มันยำกันน่ะ แล้วเราเข้าใจอย่างนี้ เราไม่มีทิฏฐิมานะ แต่เราเชื่อในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราลงในธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาเราจะค้านไว้ เราค้านไว้ในใจได้ ความค้านไว้ในใจ เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันเป็น.. พระพุทธเจ้านะ หลวงปู่มั่นนะ ครูบาอาจารย์เรานี่เป็นพระอรหันต์ พอเป็นพระอรหันต์ ท่านจะรู้เลยว่าปุถุชน! ปุถุชน! มุมมองของปุถุชนมันมองด้วยอะไร? มองด้วยวิทยาศาสตร์ เพราะตัวเองเป็นที่พึ่งไม่ได้ เพราะหาที่พึ่ง เป็นคนหลักลอย.. ปุถุชน!

กัลยาณปุถุชนน่ะ มุมมองของกัลยาณปุถุชนมีความรู้ความเห็นอย่างไร

“โสดาปัตติมรรค” ขณะคนที่เดินโสดาปัตติมรรค ความคิดของโสดาปัตติมรรค มันมีอะไร ตะกอนในใจติดข้องในใจอย่างไร

“โสดาปัตติผล” ถ้าเป็นพระโสดาบัน เขาต้องมีการขับเคี่ยวกับกิเลสมา มันทำลายกิเลสมา พอมันขับเคี่ยวกิเลสมา มันฆ่ากิเลสต่อหน้ามันน่ะ จิตใจที่เป็นพระโสดาบัน มีมุมมองเกี่ยวกับธรรมะอย่างใด

“สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล”

ฉะนั้น วุฒิภาวะของใจมันต่างกัน มันหลากหลาย นี่เป็นขั้นตอนแล้วนะ

แต่ถ้าเป็นปุถุชนเรา เป็นคนหนา ไม่มีอะไรขอบเขตเลย ไม่มีขอบเขตใดมาวัดขอบเขตว่าเรามีวุฒิภาวะอย่างไร เรามีความเห็นอย่างไรเลย แต่ถ้าเป็นบุคคล ๘ จำพวก บุคคล ๘ จำพวกในสังฆกรรม ในสังฆคุณที่ว่านี่ วุฒิภาวะระหว่างที่เป็นโสดาปัตติมรรค มันจะสรุปรวม มันจะสรุปสมุจเฉท พลิกออกไป กลายเป็นพระโสดาบันขึ้นมา มันมีมุมมอง มีความคิดอย่างไร มุมมองความคิดอย่างนี้ แล้วเกิดถ้าอยู่ในสังคม อยู่ในการกระทำ อยู่ในการปฏิบัติ

ผู้ที่ปฏิบัติมีมุมมองแตกต่างกัน มันจะเกิดการโต้แย้งกัน

ถ้ามี.. เกิดการโต้แย้งในสังคมปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ พระอรหันต์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ ถึงว่า บุคคล ๘ จำพวก ความรู้ความเห็น เห็นไหม ดูสิ ในที่ว่าในพระอรหันต์ ในสวนมะพร้าว พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอุบาลี ต่างคนต่างคุยกันเรื่องธรรมะไง พระสารีบุตรบอกว่าปัญญาเลิศที่สุด พระโมคคัลลานะบอกฤทธิ์เลิศที่สุด พระอุบาลีบอกว่าวินัยเลิศที่สุด ถ้าไม่มีวินัย พระจะมีการเถียงกัน แล้วอีก ๒ องค์จำไม่ได้ชื่ออะไร สุดท้ายลงกันไม่ได้ ลงกันไม่ได้ก็อย่างนั้นเราไปหาพระพุทธเจ้าดีกว่า ก็ไปถาม ไปหาพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าบอกว่า ถามพระพุทธเจ้าว่า “ข้าพระพุทธเจ้าโต้เถียงกันอยู่ว่าอะไรมีความสำคัญที่สุด ระหว่างปัญญา ฤทธิ์ กับกฎหมาย อะไรสำคัญที่สุด”

พระพุทธเจ้าบอกว่า “อาสวักขยญาณ”

“สิ่งที่เป็นอรหัตตมรรค แล้วมันทำลายจนกิเลสขาดไปเป็นอรหัตตผล.. อันนี้เลิศที่สุด”

เลิศเพราะอะไร เลิศเพราะทุกๆ คนสิ้นกิเลส ไม่มีการเกิดและการตาย พ้นจากมาร พ้นจากวัฏฏะทั้งหมด อันนี้เลิศที่สุด สิ่งที่เหลืออยู่ มันเป็นความชอบส่วนตัว “ความถนัด” ไม่ใช่ความชอบ ความถนัดส่วนตัว ความถนัดส่วนตัว มันเกิดจากอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมา เหมือนเราเรียนหนังสือมา ใครเรียนมาโดยวิชาชีพใด เราจะมีความถนัดอย่างนั้น ถ้าใครพูดทางวิชาชีพเรา เราจะให้ดุลยพินิจได้อย่างเต็มที่เลย ถ้าเขาพูด เขาถามปัญหาโดยที่ไม่ตรงกับวิชาชีพตัว อืม.. รู้อยู่ แต่ไม่ค่อยคล่อง ไม่ค่อยเข้าใจ

เหมือนกัน! แต่วิชาชีพมันเป็นวิชาชีพ แต่สิ่งที่พ้นจากกิเลสไป มันพ้นจากกิเลส

สิ่งที่มุมมองอย่างนี้ ขนาดพระอรหันต์นะ พระอรหันต์ยังมีมุมมองแตกต่างกันโดยความถนัด แต่ด้วยความสิ้นกิเลส พระอรหันต์จะไม่มีความแตกต่างเลย พระอรหันต์จะต้องสิ้นกิเลสเหมือนกัน การสิ้นกิเลสเหมือนกัน เหมือนกับการเราได้ไปพบเห็นเหตุการณ์อันหนึ่งด้วย เห็นเหตุการณ์หนึ่งเดียว ถึงที่สุดแห่งทุกข์เหมือนกัน เราเข้าไปถึงเป้าหมายที่เดียวกันหมดเลย จะเถียงกันไหม ? พระอรหันต์ ๕ องค์ที่สวนมะพร้าวไม่ได้เถียงกันเรื่องการเป็นพระอรหันต์เลย แต่เถียงกันเรื่องว่ามุมมอง “มุมมอง”

ฉะนั้น พระที่อยู่ พระที่ประพฤติปฏิบัติ บุคคล ๘ จำพวก มันจะมีความเห็นมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย แล้วระดับต่ำ สูง-ต่ำ เยอะมาก เยอะมากๆ ฉะนั้นครูบาอาจารย์ท่านบัญญัติธรรมวินัยไว้แล้ว แล้วท่านจะให้หมู่สงฆ์ คณะสงฆ์เป็นไปอย่างใด

ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่ว่าเข้าไปว่าท่านมีชื่อเสียงๆ มีชื่อเสียงในพระไตรปิฎกเยอะแยะไป ที่พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่ใช่! แต่ถ้าใช่พระอรหันต์จะเป็นอย่างไร ? ใช่พระอรหันต์ นี่ไง เราปฏิบัติ เราปฏิบัติแล้วเราถามปัญหาท่าน หรือไม่ต้องหรอก เราไม่ต้องถามปัญหาท่านน่ะ ท่านบอกเราเอง เวลาท่านพูดนะ เวลาท่านแสดงธรรมขึ้นมา แสดงธรรมขึ้นมา พอเราปฏิบัติไปถึงตรงนั้น เห็นไหม

หลวงตาท่านพูดบ่อยว่าหลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศน์น่ะ หลวงปู่มั่นเทศน์ทุกกัณฑ์นะ เพราะคำเทศน์ มันก็ประสบการณ์ของจิต ตั้งแต่เริ่ม.. เหมือนกับเรา ลูกเราเกิดมา จนเราเลี้ยงลูกมา จนลูกอยู่ได้ จนลูกประกอบอาชีพ จนลูกแก่เฒ่า แล้วก็ลูกก็ตายไป การเทศน์ก็เป็นอย่างนี้

ธรรมะรอบหนึ่งก็เหมือนกับวงจรหนึ่งของการปฏิบัติน่ะ เริ่มต้นตั้งแต่ทำความสงบของใจ ทำความสงบของใจแล้วก็พิจารณาไป พอจิตมีความสงบของใจแล้วจิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นแล้วขุดคุ้ยหากิเลส หากิเลสก็ยกขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาครั้งแรกก็ได้ขั้นที่ ๑ ก็บอกว่าเพิ่งเกิดมาเป็นทารก โสดาบัน.. พอสกิทาคา ก็เออ.. เป็นวัยรุ่น เป็นวัยรุ่นแล้ว เป็นอนาคาก็กำลังวัยทำงาน พอถึงอรหัตตผลก็สิ้นสุดของชีวิต.. เทศน์มันก็อยู่อย่างนี้ เวลาเทศน์ วงจรของการเทศน์น่ะ

เวลาหลวงปู่มั่นเทศน์เหมือนเครื่องบินน่ะ เหมือนกับแท็กซี่ แล้วก็ขึ้น เหินขึ้นไป จนเครื่องบินลงจอด ทุกๆ กัณฑ์ท่านเทศน์อย่างนี้ นี่ไง พอเทศน์อย่างนี้ปั๊บ สิ่งที่เทศน์อย่างนี้ เทศน์อย่างนี้ แล้วพระในวัด พระในวัด.. หลวงตาท่านพูดเองนะ บอกว่า “ถ้าใครเข้ามาหาหลวงปู่มั่นใหม่ๆ มันก็ต้องทำความสงบของใจ” ทำความสงบของใจก็เหมือนแท็กซี่ เครื่องบินแท็กซี่จะขึ้น หาสนามบิน หาลานบิน แท็กซี่มันจะขึ้น

หาลานบินคือหากายเรา หาเครื่องบินมาเจอแท็กซี่ก็คือตัวจิตเรา

กายกับจิตหากันไม่เจอ กายกับจิต พูดกันปากเปียกปากแฉะ แต่ไม่เคยหาเจอ เวลาพูดก็พูดวิทยาศาสตร์ เวลาพูดก็พูดเปรียบเทียบ เวลาพูด พูดเรื่องตุ๊กตา แต่ไม่ได้พูดเรื่องตัวเราเลยนะ ตัวเองกูจับไม่ได้นะ แต่พูดเรื่องตุ๊กตาได้เลยนะ.. นี่ ตัวนี้ ๕๐๐ ตัวนี้ผมเปลี่ยนได้ด้วย ตัวนี้หลับตาได้นะ แต่ไม่เคยเห็นตัวเองไง เวลาพูด พูดเรื่องตุ๊กตาไง ตุ๊กตาคือธรรมะพระพุทธเจ้าไง พูดเรื่องสาธารณะไง พูดธรรมะพระพุทธเจ้าแจ้วๆๆ เลย แต่ตัวจริงไม่เคยเจอ

พอหลวงปู่มั่นจะเทศน์ ต้องหาลานบิน

เราเกิดมาเป็นกาย ชีวิตชุ่มชื่นไหม ? ถ้าจิตสงบนะ แล้วจับจิตได้ นั่นน่ะ กายกับใจ แท็กซี่มาแล้ว เครื่องบินมาแล้ว มันเริ่มแท็กซี่แล้ว แล้วมันจะเหินอย่างไร มันจะขึ้น เครื่องบินจะขึ้น ขึ้นอย่างไร? แล้วเครื่องบินจะขึ้น ท่านจะเทศน์เลย

ทีนี้พระเรา ผู้มาใหม่ เวลาเทศน์ เครื่องบินขึ้นแล้วต้องลงนะ พอจิตขึ้นไป พอเป็นปุถุชน กัลยาณปุถุชน เครื่องบินมันคาอยู่บนฟ้าแล้ว ถ้ามันจับได้ พอมันจับกาย เวทนา จิต ธรรมได้ นั่นน่ะ โสดาปัตติมรรค เครื่องบินมันขึ้นลงแล้วมันติดทีเดียว แต่จิตเรามันระดับ มันยกขึ้นไปแล้วอยู่แค่นั้นเลย คาอย่างนั้นเลย พอคาอย่างนั้น พิจารณาไป

เวลาท่านเทศน์ไป คนที่อยู่ในขั้นของความสงบนะ เวลาเทศน์ถึงความสงบ โอ้โฮ.. ฟังเข้าใจหมดเลยนะ พอเครื่องบินแท็กซี่ขึ้นแล้วนะ อ้าว.. งงเว้ย หาไม่เจอแล้ว จับอะไรไม่ได้แล้ว แต่ไอ้คนที่รออยู่ คือว่าไอ้จิตที่มันขึ้นมารออยู่แล้ว จิตที่มันเป็นอยู่ พอหลวงปู่มั่นเทศน์ พอเราทำขึ้นมาถึงตรงนี้แล้วนะ หลวงปู่มั่นจะชักนำเราขึ้นไปแล้ว แล้วโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค.. ไอ้คน.. เพราะพระอยู่กับหลวงปู่มั่น ระดับของจิตเยอะแยะไป

ดูยายกั้งสิ ที่ท่านบอกว่ามองไปในวัดหนองผือ “โอ้โฮ! จิตของหลวงปู่มั่นครอบโลกธาตุ ใสครอบ ๓ โลกธาตุเลย แล้วก็จิตของครูบาอาจารย์ดวงเล็กดวงน้อย เป็นดวงเล็กดวงน้อย ดวงสว่างมาก สว่างน้อย” นี่ไง วุฒิภาวะของใจแตกต่างหลากหลาย ความสว่าง โสดาบัน สกิทาคา อนาคา ความสว่างของจิต มันต่างๆ กันไป มันแตกต่าง.. เวลายายกั้งมองเข้าไปที่วัดหนองผือ เห็นหมดเลย

หลวงปู่มั่นเทศน์ปั๊บ เวลาเทศน์ขึ้นมา มันก็หลากหลายขึ้นมา พอหลากหลายขึ้นมา อยู่ที่คน อยู่ที่ใจระดับไหน ถ้าใจระดับนั้น สิ่งที่ใจระดับไหนในวัดนั่นน่ะ ในวัดที่ใจของพระในวัดหนองผือ สูง-ต่ำแตกต่างกัน พฤติกรรม วุฒิภาวะความคิดเคารพนบนอบหลวงปู่มั่นก็แตกต่างกัน คนยิ่งมีจิตใจสูงส่ง ยิ่งประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะเคารพ มันจะรัก มันจะดูดดื่ม คนที่มันฟังธรรม แล้วมันเข้าถึงธรรม มันก็เคารพบูชาแล้ว

แต่คนที่เข้าไปปฏิบัติใหม่ๆ นะ หรือคนที่เข้าไปแล้ว เครื่องบินก็หาไม่เจอ ลานบินก็ไม่มี ลานบินหาไม่เจอนะ แล้วเครื่องบินก็ไม่มีอย่างนี้ ก็อยู่กันเด้นๆ ด้านๆ

“เอ.. ทำไมหลวงปู่มั่นท่านมีชื่อเสียง”

“เอ.. ทำไมคนนั้นมาเคารพบูชา”

“เราก็อยู่เป็นทัพพีขวางหม้ออยู่ในวัดนี้ เราก็ไม่เห็นมันมีอะไร”

เราจะพูดถึงความเคารพ ความลงใจ ถ้าคนเคารพลงใจนะ มันจะเชื่อฟังจากหัวใจ ถ้าคนไม่เคารพ คนไม่ลงใจ ก็มาอยู่แบบเอาชื่อเอาเสียง มันก็ย้อนกลับมาที่ว่าไปอยู่กับครูบาอาจารย์มา ๕ ปี ๑๐ ปี

“ไปอยู่กับอาจารย์มา ๕ ปี ๑๐ ปีน่ะ องค์นั้นก็มีชื่อเสียง องค์นี้ก็มีชื่อเสียง” เรารู้อยู่นะว่าใจของเขาน่ะ รู้แล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่คนอย่างนี้ไม่แน่นอน ไม่แน่นอนเพราะอะไร เพราะรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก

แต่เวลาปฏิบัติมันยาก

ลูกศิษย์กรรมฐาน พวกเรา ลูกศิษย์หลวงตา ลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์เรา เลิกจากรรมฐานน่ะ ไปเรียนอภิธรรมเยอะพอสมควร เพราะเวลาทำกรรมฐาน ทำพุทโธ มันทำได้ยาก เหมือนเราอาบเหงื่อต่างน้ำ เราต้องทำนา ต้องลงไถนาทำนา มันตากแดดตากฝน มันลำบาก นี่ถ้าพูดถึงสมัยโบราณไม่มีการตลาด ทุกบ้านทุกเรือนก็ต้องมีไร่มีนาเพื่อเอาอาหารนั้นมา มียุ้งมีฉางเอาไว้กิน แต่ในสมัยปัจจุบันนี้ไม่ต้องทำไร่ทำนา ข้าวถุงเยอะแยะเลย ขนาดเดี๋ยวนี้นะ อาหารสำเร็จรูปส่งถึงบ้าน.. ส่งถึงบ้าน..

ทีนี้พอมีอย่างนั้นปั๊บ เราเอง เราก็ไม่เห็นคุณค่าของมันไง เราไม่เห็นคุณค่าของมัน

แต่ในการประพฤติปฏิบัติ มันต้องทำไร่ทำนาด้วยตัวเองทุกๆ คน ไม่มีทางสั่งอาหารมากินเองได้ การสั่งอาหารมา ก็อย่างที่เขาทำกัน ทำบุญกุศลเป็นอามิสไง

แต่ถ้าเป็นสัจจะความจริง ไม่มีทาง! ไม่มีทาง! ว่าจะเรียบจะง่ายน่ะ.. เราไม่เชื่อ!

เรานี่ยึดมั่น เราเชื่อพระพุทธเจ้าองค์แรก ถ้าสิ่งที่ทำแล้วง่ายๆ เป็นได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าขนรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปหมดแล้ว ขนาดพระพุทธเจ้าไม่มีคู่แข่ง สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา ทอดอาลัยเลย เพราะความรู้ของพระพุทธเจ้า ความรู้ของพระอรหันต์น่ะ ท่านก็เป็นปุถุชนมาก่อน ท่านประพฤติปฏิบัติมาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ แล้วความเห็นอย่างนี้ ความรู้สึกอย่างนี้ มันจะไปบอกใครให้เข้าใจได้ มันจะไปบอกใครให้ใครเข้าใจ แล้วให้ใครทำตามได้

ฉะนั้นมันก็ต้องมีสิ่งเปรียบเทียบ เรื่องของการทำทาน เรื่องของทำให้เห็น ทำทาน ทำบุญกุศล พอทำทาน ทำบุญกุศล ใจมันพลิกได้ ใจมันเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเราทำทานแล้วเรามีความดีใจ มีความสุขใจ ใจมันพัฒนาตรงนี้ ถ้าใจพัฒนาขึ้นมา มันก็มีประโยชน์ขึ้นมา ถ้ามีประโยชน์ขึ้นมา เวลาศึกษาขึ้นมา มันก็ศึกษาความจริง มันอยู่ที่บุญกรรมนะ เพราะบุญกรรมเชื่ออย่างนั้น

เพราะเวลาเขาถามมาว่าเขาไปอยู่กับครูบาอาจารย์มา ที่มีชื่อเสียงทั้งนั้นเลย เขาคงพลิก ประสาเรานะ ก็เขาปฏิบัติมาแล้ว ๓๐-๔๐ ปีเหมือนกัน เสียเวลาไปขนาดนั้นน่ะ

แล้วนี่ในปัจจุบันที่บอก ในวงกรรมฐานเราไปเรียนอภิธรรมกัน อภิธรรม ตัวอภิธรรม ตะกร้า พระไตรปิฎก ๓ ตะกร้า “วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก”

วินัยปิฎกเป็นข้อกฎหมายเลย สุตตันตปิฎกกับวินัยปิฎกไปด้วยกัน สุตตันตปิฎกมันเป็นการเปรียบเทียบ มันเป็นทางวิชาการ เราบอกเลย เป็นนิทานไง ภิกษุทำผิดอย่างนี้ อดีตชาติเป็นอย่างนั้นๆ มันเป็นสุตตันตปิฎก

ทีนี้พอทางวิชาการบอกว่านี่เป็นนิทาน นิทานเป็นชาดก ชาดกเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ นั่น! ว่าไปนั่นนะ เป็นชาดกไง แต่ไม่ได้บอกว่าชาดกนี่ชาดกเรื่องอะไร ชาดกเรื่องพระพุทธเจ้าไง พอบอกพระพุทธเจ้า ทำไมพระพุทธเจ้ามีวาสนามากล่ะ พระพุทธเจ้าบอก “เราปรารถนาเป็นพุทธภูมินะ” พอปรารถนาเป็นพุทธภูมิ ท่านก็พูดถึงที่มาไง พูดถึงว่า “เมื่อเราเคยเป็นพระเวสสันดร เราเคยเป็น พระเจ้า ๑๐ ชาติ เราเคยเป็น” ก็บอกเป็นนิทาน พวกนี้ไม่ปฏิบัติไง

เหมือนกับตอนพระพุทธเจ้าจะออกบวช พวกนางสนมมาฟ้อนมารำ แล้วพระพุทธเจ้า ด้วยอำนาจวาสนาพระพุทธเจ้า เวลาเขาฟ้อนรำอยู่ก็นอนหลับไปก่อน เขาฟ้อนรำกันใช่ไหม พอฟ้อนรำเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้ายังหลับอยู่ใช่ไหม พอไม่มีใครดู เขาก็หมดการเล่นของเขา เขาก็นอนพักกัน พอนอนพักกัน เขานอนพักเกลื่อนท้องพระโรง พระพุทธเจ้าก็ตื่นขึ้นมา พอตื่นมาเห็นเป็นซากศพ

ทางวิชาการบอกว่าเป็นไปไม่ได้นะ แต่ในทางปฏิบัติ ทำไมพวกเราเห็นอสุภะได้

แล้วตอนนั้นมันยังไม่มีธรรมะนะ พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ออกบวช แต่ใจของคนที่มีคุณธรรมน่ะ อย่างพวกเราปฏิบัติกัน บางทีจิตมันลง เราจะรู้อะไร เห็นอะไรแปลกๆ นี่ไง พอฟื้นไง พอฟื้นมา ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะยังเห็นนางฟ้อนรำอยู่ มันก็สวยงามใช่ไหม ทีนี้พอหลับไปก่อน พอหลับไปก่อน ตื่นขึ้นมา จิตหลับพักผ่อน มันก็เหมือนเข้าสมาธิ พอฟื้นมา พอตื่นมา โอ้โฮ.. เห็นนางสนมนะ เป็นซากศพหมดเลย

ในทางวิชาการบอกว่าเขาเขียนกันเกินไป เป็นนิทาน เป็นชาดก เขียนยัดเยียดเข้าไป เป็น อรชุนมันแต่งขึ้นมา

คนไม่เคยปฏิบัติ.. คนไม่เคยปฏิบัติ คนไม่เคยทำ มันไม่เห็นคุณค่าของความเป็นจริง

คุณค่าของความเป็นจริงนะ เวลาพระเราไปเจออสุภะ นั่นจิตมันลง จิตตภาวนา อันนี้อสุภะยังไม่มี แต่มันเป็นบารมีธรรม เราบอกบารมีธรรม เวลาเราเห็นกาย เห็นต่างๆ บารมีธรรมส้มหล่นได้ ถ้าส้มหล่นอย่างนี้มันไม่มีที่มาที่ไป เรานั่งสมาธิกันจิตมันลง โอ้โฮ! เห็นเลยนะ

แต่ถ้าเป็นอริยสัจไม่เป็นอย่างนั้น “อริยสัจ” เราทำใจเราสงบบ่อยก่อน ทำใจสงบ พิจารณากายเหมือนกัน พิจารณากายก็เพื่อสงบ พอใจมันสงบบ่อยครั้งเข้าๆ มันจะตั้งมั่น เหมือนเราเป็นผู้ใหญ่ เราเป็นผู้ใหญ่ แล้วเรามีเงินมีทอง เราใช้จ่ายจับสอยได้สะดวกสบายเลย แต่เวลาเป็นบารมีธรรม เหมือนลูกเราเกิดมา “พ่อขอตังค์”.. จ่าย.. จ่าย.. มันไม่ได้ทำงานหรอก มันได้เพราะเราให้

จิตเวลาสงบโดยธรรมชาติของมัน เวลามันเห็นของมัน “บารมีธรรม” คือจิตที่ใครสร้างบุญกุศลมา มันได้เป็นครั้งคราว มันไม่เป็นอริยสัจ คือว่ามันเป็นส้มหล่นไง คือมันมาวูบวาบ มันมาหนเดียวแล้วก็ไป มาหนเดียว มันเป็นการยืนยันว่าเราเห็นได้ เรารู้ได้ พอเห็นได้รู้ได้ มันจะเตือนว่าธรรมะมีจริง! ให้เรามุ่งมั่น ให้เราพยายามการกระทำ แต่พอเราทำกำหนดพุทโธๆ หรือปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันตั้งมั่นบ่อยครั้งเข้าๆ แล้วจิตตั้งมั่นบ่อยครั้งเข้า

ในอภิธรรม ในวิสุทธิมรรค ที่บอกว่าให้พระไปเที่ยวป่าช้า ให้ไปดูอสุภะ บอกเลยนะ ไปถึงมันบอกถึงสมาธิ แต่ท่านไม่ได้พูดตรงๆ ท่านไม่ได้บอกว่าต้องเป็นศีล สมาธิ แล้วบอกว่าต้องสอนสมาธิ สมาธิมีประโยชน์อะไรนี่ ท่านบอกว่าอย่างนี้ “นั่นคือผลของสมาธิไง”

ในวิสุทธิมรรค ไปเปิดอ่านได้ บอกว่าให้เที่ยวป่าช้า ให้เราเดินไปที่ป่าช้า ไปทางเหนือลม ไปถึงแล้วให้เพ่งซากศพ แล้วหลับตา.. หลับตา.. หลับตาแล้วภาพนั้นติดไหม? นี่ไง ถ้าภาพนั้นไม่ติด พยายามทำใจให้สงบแล้วลืมตา แล้วเพ่งที่ซากศพนั้น แล้วหลับตา ถ้าภาพที่ติดนี่ ให้เรากลับมาที่อยู่ ภาพนั้นน่ะเป็นผลของอสุภะ แล้วจิตเอาภาพนั้นมาขยายส่วนแยกส่วน

ถ้าภาพนั้นไม่ติด ไปดูได้ในวิสุทธิมรรคนะ ถ้าที่อยู่ของเรา หรือไปปักกลดไว้ที่ไหน มันไกลป่าช้านัก เราจะเดินไป มันไกลเกินไป นี่ฟังตรงนี้นะ มันไปกลับมันไกล

ท่านบอกว่า “ให้เอาซากศพนั้นมาไว้ใกล้ๆ”

วิธีการเอามา.. วิธีการเอามา.. ให้เอาไม้คีบ ให้เอาสิ่งใดคีบ อย่าเอามือไปแตะมัน ถ้าเอามือไปแตะมัน นี่ไง ความคุ้นชิน กิเลสคือความคุ้นเคย ความคุ้นเคย จะให้เห็นภาพอสุภะนั้นไม่ได้ พอไปจับปั๊บ “เฮ้อ.. มันก็เนื้อ ไม่เห็นมีอะไรเลย” จบเลย โอกาสที่จะเป็นอสุภะนั้นไม่มีเลย อย่าเอามือไปจับ! ให้เอาไม้คีบ คีบมาวางไว้ใกล้ๆ แล้วคอยมองเพ่ง เพ่งแล้วให้มันติดตาขึ้นมา

อสุภะเกิดจากจิตเห็น เกิดจากจิต แต่ขณะที่จิตเราลง บารมีธรรมมันมาเอง แล้วมันคุมไม่ได้ บารมีธรรมเห็นเป็นครั้งคราว วูบวาบพยับแดด เห็นเป็นครั้งคราว แต่ถ้าเป็นอริยสัจ เป็นความจริง จิตจะตั้งมั่นนะ แล้วพิจารณาจับขึ้นมา จับขึ้นมา มันติดขึ้นมาเลย ติดขึ้นมา เราทำงาน เราทำงานมือเราจับต้อง ทำงานตลอดเวลา งานมันจบก็จบ ไม่จบก็คือไม่จบ มันก็รู้อยู่นะ

งานของใจ จิตมันจับอะไร ? จิตมันจับอะไร ? จิตมันทำงานกับอะไร ?

ถ้าจิตมันมีอสุภะ มือก็จับ นี่มือจับงาน มือจับที่เนื้องานของเรา เห็นอสุภะ จิตมันจับเนื้องานของกิเลสไง เพราะเราไปติด จิตใจเราไปติดข้องกับมันไง ถ้ามันจับได้ มันจับได้ อสุภะมันเกิดอย่างนี้ไง ถ้าอสุภะมันเกิด เพราะจิตมันเป็นอสุภะใช่ไหม เพราะมันจับได้ พอจับแล้วมันคลี่คลายของมัน มันคลี่คลายคือว่าพอวิภาคะ ขยายส่วนแยกส่วน.. ขยายส่วนแยกส่วน แล้วมันสู่สถานะของมันนะ มันสถานะคือว่าพอพิจารณาไป กำลังมันมี มันจะพุพอง มันจะเน่าเปื่อยอย่างไร

หลวงตาท่านบอกเลย ท่านพิจารณากายจนมันคืนสู่สภาพเดิมหมดเลย เหลือแต่กระดูกอยู่ พอนึกถึงดิน ดินกลบพั๊บ! คำว่า “พั๊บ พั๊บ พั๊บ” นี่ เหมือนสวิตซ์ไฟฟ้า สวิตซ์ไฟฟ้าเพราะอะไร เพราะจิตมันเร็ว ถ้าเป็นความจริง แล้วเราดูสิ เอาของเน่าเปื่อยมาตั้งไว้ กว่ามันจะเน่าขนาดไหน แต่ถ้าเป็นวิปัสสนานะ “พั๊บ พั๊บ” มันไวแล้วเร็วมาก แล้วเห็นสะอึกทุกทีน่ะ “เอ๊อะ! เอ๊อะ!” คำว่า “เอ๊อะๆ” นี่คือว่ามันคาดไม่ถึง! สัจธรรม จิตนี้คาดไม่ถึง!

แต่ธรรมะที่เขาสอนกันอยู่ มันกางตำรา มันแจ้วๆๆ เป็นนกขุนทองเลย แต่ปัจจุบันมันเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง นึกไม่ได้ เรานึกไม่ถึงเลย ถ้านึกถึงนะ กิเลสมันหัวเราะ มันสร้างให้ “สัญญา” มันจะ โอ้โฮ.. อสุภะเป็นอย่างนี้นะ ปล่อยอย่างนี้นะ พอปล่อยเสร็จ “หลวงพ่อ.. ปล่อยแล้ว”

“ปล่อยอะไร ?”

“ปล่อยไม่รู้”

“ปล่อยไม่รู้” คือปล่อยแล้วไม่รู้ว่าอะไร คำตอบมันบอกหมดนะ เวลาถามปัญหา

“โอ้โฮ.. มันปล่อยหมดเลย”

“แล้วปล่อยอะไรล่ะ ?”

“ไม่รู้”

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ คนภาวนามันรู้ทันหมดแหละ ใครมาถามปัญหา ใครตอบปัญหา ไอ้คนถามปัญหา ปัญหามันฟ้องถึงคนเห็น ฟ้องถึงว่าจริงหรือไม่จริง แต่เวลาพูดไปมันไม่เชื่อนะ มันบอกว่า “แหม.. หลวงพ่อไม่ได้ฟังเลย หลวงพ่อพูดก่อนได้อย่างไร หลวงพ่อยังไม่ได้ฟังหนูบอกเลย แหม.. หลวงพ่อเอาก่อนทุกทีเลย โอ้โฮ.. น่าเบื่อๆ”

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันทำมายาก มันทำมาสุดลำบากลำเค็ญไง เราคิดว่าอันนี้ใช่แล้วไง “หลวงพ่อต้องรับสิ หนูเกือบตายมาแล้ว หลวงพ่อต้องรับว่าใช่สิ” แล้วพอบอกไม่ใช่ก็ “แหม.. หลวงพ่อไม่ฟังเลยๆ” มันเป็นอย่างนี้มาตลอด

อันนี้สิ่งที่พอมันสิ่งที่คาดไม่ถึง ถ้าคาดถึง มันก็เป็นความสามัญสำนึกไง ถ้าคาดไม่ถึง มันก็อยู่จิตใต้สำนึกไง จิตใต้สำนึก แม้แต่ความรู้สึก ความนึกคิดเรา เรายังคุมมันไม่ได้เลย สิ่งที่เป็นไปจากความรู้สึกเรามันมาจากไหน มันโผล่มาอย่างใด มันโผล่มาจากสิ่งตรงนั้นน่ะ นี่อุปาทาน มันฝังอยู่ในหัวใจ มันฝังลึกอยู่ แล้วเราตีแผ่มัน พิจารณา เอากายขึ้นมาพิจารณาแผ่มันๆ พอพิจารณาแผ่ มันก็ปล่อยๆ ปล่อยมันก็ถอน มันก็ทำให้ตื้นขึ้นๆ ถึงที่สุดนะ มันทำลายมันหมด

ถ้าทำลายมันหมด แล้วสิ่งนี้นะ เวลาเราพูด มันเป็นประสบการณ์.. ไม่ใช่ประสบการณ์หรอก

เราจะพูดอย่างนี้ “ถ้าเป็นความจริง มันเป็นอันเดียว! หนึ่งเดียว! ความจริงมีอันเดียว!”

“ถ้าเป็นของจริง พูดจะไม่แตกต่างเลย! ไม่แตกต่าง!”

เราฟังครูบาอาจารย์ที่เป็นความจริงมา ที่พอเทศน์ได้มา องค์ไหนที่เราเคารพบูชานะ.. ไม่แตกต่างจากความจริงเลย! แต่ถ้าองค์ไหนมันแตกต่างน่ะ.. ไม่ใช่! ไม่ใช่! แล้วนี่พอความแตกต่าง เขาพยายาม.. อย่างที่ว่าหลวงปู่ดูลย์บอกว่า “จิตส่งออกเป็นสมุทัย ผลของจิตส่งออกเป็นทุกข์”

เพราะความแตกต่าง เห็นไหม แล้วถ้าคนจริงนะ หลวงปู่ดูลย์พูด มันจะผิดไปไหน เขาก็เชื่อถือกันมา ตั้งแต่หลวงปู่ดูลย์มีชีวิตอยู่ หลวงปู่ดูลย์ท่านนิพพานไปแล้ว ทุกคนก็ยังเชื่อถืออยู่ ตอนนี้เขาเปลี่ยนใหม่แล้ว

เขาบอกว่าเขาเอามาวินิจฉัยใหม่ว่าจิตส่งออกไม่ได้ ความส่งออกนี่เป็นอารมณ์ความรู้สึก จิตส่งออกไม่ได้ ดูนี่! ความแตกต่าง เราจะบอกให้เห็นความแตกต่าง เขาเอามาเรียบเรียงใหม่ เรียบเรียงใหม่บอกว่า

ประเด็น : จิตนี้ส่งออกไม่ได้ จิตส่งออกเป็นไปไม่ได้ เขาว่านะ จิตส่งออกเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่จะส่งออกคืออารมณ์ความรู้สึกต่างหาก ถ้าอารมณ์ความรู้สึกส่งออกได้

หลวงพ่อ : มันบอกถึงความแตกต่างนี่ โอ้โฮ.. เหวกับฟ้าเลย เพราะอารมณ์ความรู้สึกมันเกิดจากจิตทั้งหมด อารมณ์ความรู้สึก สิ่งต่างๆ ที่เกิดกับเรา ทุกข์ยากเกิดกับเรา เกิดจากจิตเราทั้งหมด ถ้าไม่มีจิตเราสักอย่างหนึ่ง เราจะไม่ทุกข์ ไม่ยาก ไม่อะไรกันเลย เพราะร่างกายมันรู้สึกอะไรไม่ได้ ไม่มีอะไรมีความรู้สึกได้ นอกจากจิต

แล้วอารมณ์ความรู้สึกที่มันว่ามันส่งออก มันมาจากอะไร ? มันมาจากจิต

“ถ้ามันมาจากจิต มันไม่ใช่จิตเหรอที่ส่งออกมา”

นี่ไง ความจริงมีหนึ่งเดียว ถ้าความจริงนะ แล้วถ้าเป็นความจริงพูดนะ ฟังออกหมด มันมาจากรากฐานเดียวกัน ที่เราพูดตอนเช้าบอกว่าในการปฏิบัติในสมัยปัจจุบัน เราไปตัดรากตัดโคนกัน เราตัดรากฐานเลย อย่างเช่น จริตนิสัย ความเป็นมา จิตนี้มันสร้างสมมาขนาดไหน เราตัดทิ้งเลย เอาปัจจุบัน แล้วยังพูดด้วยนะ นรกสวรรค์ไม่มี อดีตอนาคตไม่มี ถ้าจะไปแก้อดีตอนาคต จะไปแก้นรกสวรรค์ มันต้องแก้ข้ามภพข้ามชาติ

โอ้.. คิดเอง เออเอง เหมาเอง สรุปเองหมดนะ แต่ถ้าในการปฏิบัตินะ ภพชาติ อดีต อนาคต มันรวมลงที่ปัจจุบัน

นาย ก. ทำความดีมาก ไปเกิดเป็นนาย ข. นาย ข. ได้บุญกุศลมหาศาลเลย นาย ข. มีความสุข นาย ข. ไม่ได้ทำอะไรเลยนะ แต่นาย ก. ทำเกือบตาย เวลาเกิดแล้วไปเกิดเป็นนาย ข. นาย ข. เกิดมา โอ้โฮ.. มีความสุขมากเลย เพราะบุญกุศลมันพาเกิด

นาย ก. ทำความชั่วไว้มหาศาลเลย ตายไป ไปเกิดเป็นนาย ข. นาย ข. ไม่ได้ทำอะไรเลยนะ มีแต่ทุกข์กับทุกข์ อ้าว.. แล้วนาย ข. กูไม่ได้ทำอะไรเลย ทำไมกู ต้องมาทุกข์ยากกับมึงด้วยวะ อย่างนี้เอาเปรียบกัน.. ไม่ใช่! ไม่ใช่!

นาย ก. จิตนาย ก. นาย ก. ตายลง นาย ก. ได้ตายแล้ว นาย ก. ได้ตายไป แต่จิตนาย ก. ไม่ได้ตาย ตัวจิตคือตัวพลังงาน มันแสวงหาที่เกิดใหม่ มันจะเกิดเป็นอะไรก็ได้ตามแต่บุญแต่กรรมของมัน บุญดีมันก็ได้ไปเกิดดี กรรมชั่วมันก็ไปเกิดชั่ว เพราะมันไม่มีที่สิ้นสุด ธาตุรู้ ธาตุที่มีชีวิตนี้ มันไม่เคยมีที่สิ้นสุด มันมีแรงขับของมันตลอดเวลา

ในเมื่อนาย ก. ทำความดีไว้มาก มาเกิดเป็นนาย ข. นาย ข. ก็สุขเปรมปรีดิ์เลย เกิดมานะมีแต่ความสุข กูไม่รู้ทำอะไรมา มีแต่สุขอย่างเดียวเลย ไม่รู้นาย ก. ทำเกือบตาย นาย ก. ทำมาเกือบตายนะ ตายไป ไปเกิดเป็นนาย ข. นาย ก. ทำเกือบตาย ไม่ได้อะไรเลย ไปเกิดเป็นนาย ข. นาย ข. มีความสุข แต่คือจิตดวงเดียวกัน

นาย ก. ทำความชั่วไว้มหาศาลเลย ไปเกิดเป็นนาย ข. นาย ข. บอกกูไม่ได้ทำอะไรเลยนะ เกิดมาชาตินี้ทำไมมันทุกข์ได้ขนาดนี้วะ เกิดมาชาตินี้มีแต่ทุกข์กับทุกข์เลย ก็จิตนาย ข. นี่ทำ ไม่มีใครรู้

แต่พอเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งแต่เข้าปฐมฌาน เข้าไปถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณ เจ้าชายสิทธัตถะเห็นว่าชาติที่แล้วเป็นพระเวสสันดร เป็นพุทธภูมิ เจ้าชายสิทธัตถะเห็นจิตของเจ้าชายสิทธัตถะเคยเกิดมาไม่มีต้นไม่มีปลายยาวไกลไปตลอดเลย แล้วถ้าไม่จบ มันจะไปอีก

นี่บอกว่าถ้าพูดถึง ถ้าแก้กิเลส มันต้องไปแก้ที่อดีตชาติ เขาบอกนรกสวรรค์ไม่มี ถ้ามี ต้องไปแก้ที่อดีตชาติ.. ไม่ใช่! อดีตชาติแก้ไม่ได้ อนาคตแก้ไม่ได้ เพราะจิตปัจจุบันนี้ นาย ก. มาเกิดเป็นนาย ข. อยู่ แก้ที่จิตนาย ข. นี้ ถ้าจิตนาย ข. ดับแล้ว.. พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว พระพุทธเจ้าต้องไปแก้ที่พระเวสสันดรไหม ? พระพุทธเจ้าต้องไปรื้อค้นอะไรที่นั่นอีกไหม ? ต้องไปอีกหรือเปล่า ? ไม่ต้องไป เพราะมันสะอาดที่ปัจจุบัน มันก็สะอาดหมด

นี่ไง คนไม่เป็น เวลาพูด มันจะข้ามภพข้ามชาติ มันจะเป็นอย่างนู้น เป็นอย่างนี้ แต่ถ้าคนเป็น ตามความเป็นจริงนะ “หนึ่งเดียว” แล้วปัจจุบันพอมันเป็นหนึ่งเดียวแล้วมันเห็น มันรู้มันเห็น มันเข้าใจหมดนะ ไม่ปฏิเสธอะไรเลย! ไม่ปฏิเสธอะไรเลย! นี่ความเห็นของเขา

เวลาเขาเกิดเขาตายของเขา เวลาเกิดตาย เกิดตายโดยความมืดบอดนะ แต่ถ้าพูดถึงนะ เราก็ต้องมืดบอดกันตลอดเวลา ถ้าเรายังไม่เห็นตรงนี้ หรือเห็นอดีตชาติต่างๆ ถ้าแก้ไขกิเลสไม่ได้ มันก็ยังเป็นอย่างนั้นตลอดไป

เราจะบอกว่า “เอาใจเราเป็นที่ตั้ง ถามหาครูบาอาจารย์นะ เวลาไปอยู่กับใคร” เราไปอยู่กับครูบาอาจารย์มาเยอะ แล้วเรากลัวผิดมาก เพราะเราอ่านประวัติครั้งแรก หลวงปู่เทสก์กับหลวงปู่หลุย องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๗ ปี องค์หนึ่งติด ๑๑ ปี มันกลัวมาก คือเราบวชใหม่ๆ พรรษา ๑ พรรษา ๒ เรากลัวมาก คือกลัวการผิดพลาด คือการหลง กลัวจริงๆ

เพราะเราเมื่อก่อนบวชใหม่ๆ นะ เราพยายามอยากบวชมาก แล้วบวชแล้วขวนขวายเอาจริงเอาจังมาก กลัวเสียเวลา แล้วไม่ใช่เสียเวลาเปล่านะ อ่านประวัติหลวงปู่มั่น อ่านประวัติครูบาอาจารย์น่ะ สมัยเกิดสงครามโลก แล้วผ้าผ่อนแพรพรรณมันอัตคัดขัดสนน่ะ แล้วเราเป็นพระเด็กๆ เราห่วงมาก เพราะตอนนั้นน่ะ มันสังคมเป็นปกติสุขอย่างนี้ พอปกติสุข เราก็อยากจะรีบภาวนาเพื่อจะให้จิตใจเรามันพัฒนาไป อย่าให้มันมาอยู่กับที่ เกิดวิกฤติขึ้นมา สังคมเกิดความเดือดร้อนขึ้นมา การปฏิบัติมันจะไม่มีโอกาสไง

เราขวนขวายเต็มที่ กลัวหนึ่ง กลัวจะติด กลัวสังคมมันจะแปรปรวน เราจะไม่มีโอกาสปฏิบัติ เรากลัวในใจลึกๆ น่ะ กลัวหลายอย่าง แล้วพยายามเต็มที่ พยายามประพฤติปฏิบัติ เต็มที่เลย

แล้วไปหาอาจารย์องค์ไหนนะ ไปหาองค์ไหนก็หลอกกูทุกองค์เลย ปฏิบัติไป ไปถามปัญหาองค์ไหน องค์นั้นก็หลอกกูทุกทีเลย ไปหาองค์ไหน องค์ไหนก็หลอก เขาตอบฉะฉานนะ ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนั้นนะ แต่เราฟังนะ มันโดนมาสักทีสองทีมันก็รู้ไง องค์นี้ก็หลอกกู.. องค์นี้ก็หลอกกู.. องค์นี้ก็หลอกกูอีกแล้ว.. โอ๊ย.. ปวดหัว ไปทำเองก็เอาตัวไม่รอด ทำเองก็เหมือนเอาหัวชนภูเขาไว้ ไปถามอาจารย์หรือ อาจารย์ก็พากูหลงทาง

แต่ตอนนั้นรู้จักหลวงตาแล้ว บวชใหม่ๆ ใครๆ ก็รู้จักหลวงตา แต่ใหม่ๆ ตอนนั้นตั้งใจว่ายังไม่เข้า จะฝึกตัวเองให้เข้มแข็งก่อน

พรรษา ๑ พรรษา ๒ โดนโกหกมาเยอะ พอมันโดนโกหกครั้งสองครั้ง มันก็เข็ด แต่ทำไมพวกโยมโดนโกหกซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. ทำไมไม่คิดล่ะ ? เราก็โดนโกหกมาเหมือนโยม เราโดนครั้งสองครั้งเท่านั้นแหละ ตั้งแต่นั้นไปหาพระองค์ไหนนะ พอตอบมาว่าโกหกกูอีกแล้วนะ เราก็เก็บบริขาร แล้วก็ออก.. เก็บบริขาร แล้วก็ออก เราไปเราเรื่อยๆ

ถ้าไม่มีใคร กูก็ขออยู่กับต้นไม้นี่แหละ ถ้าไม่มีใครนะ กูก็ขออยู่กับต้นไม้นี่แหละ กูไปอยู่อย่างนั้นแล้วมันพาไปผิดหมด

ก็ไปอีสานเรื่อยๆ พอไปเจอหลวงปู่จวนนี่แหละ ไปถึงอีสาน ไปอยู่พรรณา(นิคม) ไปอยู่ที่สว่างแดนดินกับหลวงปู่บุญ วัดที่สว่างแดนดิน หมู่คณะเขาบอกว่า “ถ้าเอ็งมาอีสานนะ เอ็งไม่ได้เข้าไปภูทอก-ภูวัว เหมือนกับเอ็งไม่ได้มาอีสาน”

“เฮ้ย จริงเหรอวะ ?”

ก็เลยธุดงค์เข้าไป พอไปเจอหลวงปู่จวนน่ะ ท่านเทศน์ เราก็คิดอยู่ในใจนะ เพราะว่ามันว่างหมด ว่างๆ อย่างที่เอ็ง พวกเราเป็นนี่แหละ ว่างๆ ว่างๆ “ว่างๆ ทำไมไม่เป็นพระอรหันต์วะ ?” ก็ว่างๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ

พออาจารย์จวนท่านเทศน์น่ะ “อวิชชาอย่างหยาบสงบตัวลง” มันก็เป็นอย่างนี้ มันทำให้ไม่มีความฟุ้งซ่าน ถ้ามันมีความฟุ้งซ่านมันก็เป็นอวิชชาหยาบๆ ทำให้เราฟุ้งซ่าน ให้เราเดือดร้อน ถ้าเรารักษาจิตเรา จิตเรานิ่ง จิตเรามีหลักมีเกณฑ์ก็ว่างๆ อย่างนี้

“อวิชชาอย่างหยาบสงบตัวลง อวิชชาอย่างกลางๆ อย่างที่เราจับมันไม่ได้ ในหัวใจเราอีกเยอะแยะเลย อวิชชาอย่างละเอียดที่มันซุกอยู่ในจิตใต้สำนึกเรา ไม่มีทางเห็นมันเลย!”

“เออว่ะ! จริงฉิบหายเลย เถียงไม่ขึ้นเลยสักคำหนึ่งว่ะ!” ของจริงพูดนะ ไม่มีผิดเลย! พูดอะไรก็ถูก! เพราะท่านพูดจากข้อเท็จจริงที่ใจท่านปฏิบัติมา เห็นตามความเป็นจริง

แต่ไอ้พวกขี้โม้นั่นน่ะ มันพูดจากจินตนาการของมัน มันไปเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาเป็นหัวประเด็นแล้ววิจัย แล้วก็จินตนาการคิดค้นไปว่า โอ้โฮ.. ปัญญาเยอะมาก ว่าพระพุทธเจ้าฉลาดสู้กูไม่ได้ พระพุทธเจ้าพูดอะไรเป็นแท่งเป็นอันเป็นทื่อๆ ไอ้เรานี่พูด โอ้โฮ.. ปัญญามันแตกกระจาย ปัญญามันครอบโลกธาตุ.. มันไม่รู้หรอกว่ามันเป็นควาย!

นี่ธุดงค์ไปเจอไป เราเห็นอย่างนี้มาเยอะไง แล้วเราใช้ประสบการณ์ของเรา แล้วหนึ่งประสบการณ์ด้วย ประสบการณ์คือความจริง

หลวงตาบอกนะ “ความจริงที่เราเผชิญเอง เราจับเอง มันไม่หวั่นไหว มันองอาจมาก เพราะมันเป็นความจริงที่เราประสบเอง”

เหมือนกับเหตุการณ์จริงของเราขึ้นศาล เอ็งพูดกี่ร้อยหนก็ถูกต้อง ถ้าพยานเขาแต่งขึ้นมานะ พอซักไปซักมา พยานมันงง แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริง เราพูดตามข้อเท็จจริงนะ จะขึ้นศาลไหนก็พูดตรง ความจริงที่เกิดขึ้นกลางหัวใจของเรา จะไปพูดที่ไหนนะ กี่ล้านหนกี่พันหนก็ตรง ความจริงอันนี้สำคัญมาก

ทีนี้ความจริง พอมันไปเจอความจริงอันนั้นแล้ว มันเป็นความจริงของมัน ถ้าความจริงอันนี้เกิดขึ้นมากับเรา มันจะเป็นประโยชน์กับเรา แต่ความจริงที่ไม่เป็นความจริง มันฟังออก มันฟังรู้ แล้วเราไปสัมผัส

แล้วเราไปอยู่กับหลวงตานะ เวลาไปอยู่กับหลวงตา สังคมพระมันก็เยอะใช่ไหม พรรษามาก พรรษาน้อย จะเอาสิทธิเอาอะไรกัน มันมีเวลาหลวงตาท่านตัดสิน ๑๐๐ พรรษาจะมีประโยชน์อะไร ถ้ามันไม่มีปัญญา พรรษานี่ไม่สำคัญเลย

เราเองเข้าเวร แล้วมันมีของให้แจก เราก็เข้าไปใหม่ๆ เราก็เอาพรรษาตามธรรมวินัย คือว่าใครอายุพรรษามากกว่าเราก็แจกคนนั้นก่อน พอแจกของไปเสร็จแล้ว เขาจับเราสอบสวนเลย เราโดนสอบสวนนะ สอบสวนว่าเราแจกผิด

เพราะในการถืออาวุโส มันมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งอาวุโสตามธรรมวินัย อย่างหนึ่งอาวุโสในสถานที่ คือใครเข้ามาอยู่บ้านตาดก่อน เขาถือว่าอาวุโสเหมือนกัน เรานี่พรรษา ๕ แต่เรามาอยู่บ้านตาดมา ๕ ปี ไอ้นี่มันพรรษา ๑๐ แต่เพิ่งมาอยู่บ้านตาดเมื่อปีที่แล้ว.. ๕ กับ ๑ อาวุโส

เวลาแจกของนี่นะ มันมีอะไรของมันหลายอย่างนะ มันมีเทคนิค มีทุกๆ อย่างเยอะมาก ถ้าคนไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่เข้าใจ แล้วงงมากนะ อ้าว.. เราก็ถือตามรัฐธรรมนูญ คือถามพระไตรปิฎกสิ อาวุโสภันเต คนที่อายุพรรษามากกว่าต้องอาวุโสใช่ไหม เออ.. กูก็แจกตามอาวุโสนั่นน่ะ พอแจกเสร็จแล้วกูโดนจับสอบสวนเลย บอกว่าคน.. “อ้าว.. ก็เรามาอยู่บ้านตาดก่อน เราจะเอาน่ะ!” โอ้โฮ.. ตายห่าเลย ก็กูแจกไปแล้ว แล้วกูไม่มีของให้เขา โอ้..

จะอ้าง นี่เราอ้างอย่างนี้ เรายกขึ้นมาให้ฟังโดยที่ว่าไม่เป็นประเด็นนะ ไม่ติดใจอะไรทั้งสิ้น นี่ประสบการณ์ชีวิตเฉยๆ แล้วกรณีอย่างนี้ คนที่มาขอเรา ที่มาอ้างเรื่องอาวุโส อาวุโสการอยู่ เขาเป็นพระที่บ้านตาด แล้วแบบว่าเดี๋ยวนี้เขารู้จักกัน เดี๋ยวนี้ยังบวชอยู่ เพื่อนเรานี่แหละ เพราะตอนนั้นอยู่ด้วยกัน แสดงว่าเขาเป็นคนที่แบบว่าจิตใจคับแคบ คือเขาอ้างสิทธิ์เพื่อจะได้วัตถุอันหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ถ้าเรา จิตใจเราเป็นธรรม เราไม่ใช่อ้างสิ่งนี้มาเพื่อเอาวัตถุสิ่งนั้น วัตถุอันนั้นก็คือแค่น้ำปานะกล่องเดียว น้ำผลไม้คั้นกล่องเดียวเท่านั้นแหละ

อ้างกันมาตลอด นี่พูดถึงว่าถ้าเราไม่เข้าใจ เราไม่เข้าใจเราจะงงมาก แต่ถ้าประสบการณ์เรามี อันนี้อันหนึ่งนะ เรามีประสบการณ์

๑. ความรู้จริงในใจเราด้วยที่โดนโกหกมาก่อน

๒. พระไตรปิฎกเป็นอย่างไร

แล้วอย่างที่เขาบอกว่าอรรถกถา คือการแต่งพวกอุบาสิขา นี่พวกอรรถกถา พวกฎีกา พวกมาทีหลัง แต่มาทีหลัง ถ้าเป็นธรรมไง เป็นธรรมหมายถึงว่ากฎหมายเป็นปัจจุบันที่จะให้พวกเราอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข อะไรที่มันวินิจฉัยแล้วเราร่มเย็นเป็นสุข คือเราไม่มีการขัดแย้ง สิ่งนั้นดีมาก

ถาม : ถามว่าเวลาภาวนาเข้าไป จิตมันลงไปแล้ว ปัญญาทำไมไม่เกิด?

หลวงพ่อ : จิตเวลาสงบแล้ว ถ้าปัญญาเกิดเอง มันไม่มี ไม่มีหรอก “ปัญญา” หลวงตาสอนว่า ปัญญาเกิดจากการฝึกฝน ปัญญาเกิดจากการฝึกหัด ถ้าปัญญาเกิดเอง มันไม่มี แต่พอจิตมันสงบเข้าไปแล้ว มันมี ๒ อย่าง

จิตสงบแล้วอาจหาญรื่นเริง มันเป็นสัมมาสมาธิ

จิตมันไม่ใช่สัมมาสมาธิ จิตมันหดหู่ อับเฉา จิตมันเป็นนิวรณ์

เวลาสงบมันไม่ใช่สงบธรรมดานะ สงบลงไปโดยที่ว่า อย่างเช่นเราสงบลงไปแล้ว จิตใจเราไม่สะอาดบริสุทธิ์ เห็นไหม ทานที่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดศีลบริสุทธิ์ ทำให้เกิดสมาธิบริสุทธิ์.. ทานสกปรก เกิดสมาธิ ศีล สมาธิ ศีลที่มันไม่สะอาดบริสุทธิ์

อันนี้เราก็ต้องใคร่ครวญ แล้วถ้าจิตมันลงแล้ว มันต้องหัดฝึกหัดค้นคว้าหัดออกไปให้มันเป็นไปได้ ไม่ใช่จะเกิดเอง! ต้นไม้ปักเลย แล้วบอกมันเกิดเอง เนาะ.. ปลูกเสร็จแล้วก็ทิ้งเลย มึงเกิดเอง ตายเกลี้ยงเลย ต้นไม้ใส่แล้วต้องให้ปุ๋ย ดูน้ำ ดูมันอะไรมันให้มันโตขึ้นมา เวลาจิตมันเป็นไป จิตมันสงบแล้วไม่เกิดปัญญา เราก็มาใคร่ครวญสิ ใคร่ครวญออกรู้ออกดู ออกค้นคว้า ทุกอย่างมันต้องฝึกหัดนะ ปัญญาไม่มีการเกิดเองหรอก

ถ้าปัญญาเกิดเองนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้เกิด ฤๅษีชีไพรเยอะแยะเลย อาฬารดาบสรับประกันเจ้าชายสิทธัตถะแล้วนะ ได้สมาบัติ มันต้องเกิดปัญญาสิ ทำไมไม่เกิดล่ะ? ทำไมพระพุทธเจ้าต้องมาค้นคว้าเองล่ะ? ปัญญาจะไม่เกิดเอง ปัญญาเกิดเอง คือปัญญาสามัญสำนึก คือโลกียปัญญา ปัญญาเกิดเอง นั่งอยู่นี่เดี๋ยวปิ๊งแล้ว นั่งอยู่นี่ปั๊บ เอ้อ.. กลับบ้านดีกว่า ไฟยังไม่ได้ปิดเลย นั่นปัญญาเกิดแล้วนะ โอ๊ย.. รถจอดที่นั่นๆ จะกลับแล้ว

ปัญญาเกิดเองคือความเคยชินของใจที่มันเคยเป็น.. ใจมันเคยเป็น พออยู่เฉยๆ น่ะ กลัวผี กลัวผี เราไม่เคยกลัวมัน ทำไมกลัวผี ? กลัวผีเพราะเราเคยเกิดเป็นผี เป็นเปรต เป็นเทวดา อินทร์ พรหม.. เราเคยเจอ สิ่งที่เราเคยเจอเคยมี

“ฝัน” เวลาฝัน บอกฝันเกิดจากสัญญา เวลาฝัน สัญญามันปรุงแต่งขึ้นมา สัญญามีข้อมูลและสังขารมันปรุง อ้าว.. ก็นอนอยู่ แล้วฝัน ฝันเรื่องที่ไม่เคยเห็นเลย ถ้าสัญญาในชาตินี้ก็จำได้ว่าไปไหนมาบ้าง เห็นไหม สัญญาจากอดีตชาติละ? บุพเพนิวาสานุสติญาณ มึงเกิดตายมากี่แสนชาติ อะไรมันผุดขึ้นมาในใจของมึง ในใจของเรา ข้อมูลของใจ ข้อมูลของใจ คือเกิดมากี่แสนกี่ล้านชาติ มันซับลงที่นี่หมด แล้วเวลาเราเกิด เหมือนกับคอมพิวเตอร์เลย มันจะดึงข้อมูลอะไรออกมาใช้ เวลาจิตมันถึงที่สุดแล้ว มันจะดึงข้อมูลอะไรในจิตนั้นออกมา มันจะดึงกรรมออกมา หรือจะดึงบุญออกมา.. อันนี้ก็แค่สัญญาอารมณ์ แค่ผลของวัฏฏะนะ

หลวงตาบอกเลย “ผลของวัฏฏะที่เราเกิดเราตาย เรามากระทบกระทั่ง เรามีปัญหากัน นี่ผลของวัฏฏะนะ คือเราเกิดมีเวรมีกรรมกันมา เราก็เกิดกระทบกระทั่งกันมา อย่าไปถือไปสากับมัน นี่มันผลของวัฏฏะ” “วิวัฏฏะ” ผลของการรื้อร้างวัฏฏะทั้งหมดอยู่ที่ไหน?

ประสาเรา มันไม่เกิดเอง ต้องฝึกหัด ทีนี้การฝึกหัด การฝึกหัดมันก็ต้องฝึกหัดแต่สิ่งที่ดี คือจิตมันเป็นสมาธิ จิตที่มันเป็นชุ่มชื่น ถ้าจิตที่มันหดหู่ มันหงอยเหงา กุศล-อกุศลไง ในการปฏิบัติเรา เราต้องดูตรงนี้ เราต้องดู ปัญญามันใคร่ครวญ มันจะแยกแยะ มันแยกแยะให้เราดีขึ้น

ถ้าเราไม่ได้แยกแยะอะไรเลย โอ้โฮ.. อย่างนั้นพวกเราก็นั่งกันอยู่นี่ เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้นน่ะ ต่างคนต่างมานั่งเอาก้นจิ้มดินกันน่ะ พุทโธๆ พระอรหันต์หมดเลย.. มันเป็นไหมล่ะ? มันไม่เป็นหรอก มันต้องฝึกหัด มันต้องแก้ไข อันนี้โดยพื้นฐาน แล้วพอถึงกรณีที่มันเกิดกับเรา กระทบกับอะไร? เวรกรรมอันไหนมันจะตอบสนองเราก่อน?

ฉะนั้นเวลาทำบุญกุศลกัน พระพุทธเจ้าฉลาดมาก ให้อุทิศกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร เวลาอุทิศกุศล เวลาเราทำบุญ อุทิศส่วนกุศล เจ้ากรรมนายเวร พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ให้บุญกุศล เห็นไหม เราเอาความดี กุศลความดีเผื่อแผ่ความดีไป เพื่อให้เราอยู่ในบุญคุณความดีต่อกัน สังคมที่ดี

อย่างที่เราพูดเมื่อกี้ ตั้งแต่สมัยเราบวชใหม่ๆ ไปอ่านหนังสือน่ะ ที่ว่าประวัติหลวงปู่มั่นน่ะ ไอ้เรื่องแจกพระที่หนองผือนั่นแหละ พออันนั้นน่ะ มันทำให้เราคิดตลอดเวลา นี่สำหรับครูบาอาจารย์นะ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ อัตคัดขาดแคลนไปตลอดเลย อะไรก็ไม่มี พระนี่ต้อง โอ้โฮ.. ชาวบ้านยังไม่มีจะกิน พระจะเอาอะไรมากินกัน แล้วถ้าสังคมมันเป็นวาระมันขึ้นมาเป็นอย่างนั้นน่ะ ใครมั่นใจบ้างว่าตัวเองมีบุญ จะไม่มีเจออะไรเลย? ใครมั่นใจตัวเองบ้าง? เรานี่ไม่เคยมั่นใจในตัวเราเองเลย

เราเห็นสมัยสงครามโลกที่หนองผือนั่นน่ะ เราเอามาเตือนเราตลอดเวลาเลย “ถ้าเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ แล้วเราเป็นพระขี้หมาอย่างนี้ ใครจะมาดูแลมึง มึงก็กินขี้ไง” มันก็เร่งภาวนาตัวเอง ต้องเอาตัวเองรอดให้ได้ ในเมื่อสังคมมันยังร่มเย็นเป็นสุข

เราพูดบ่อยมาก สังคมร่มเย็นเป็นสุข สมณะ ชี พราหมณ์มีโอกาสประพฤติปฏิบัติ สมณะ ชี พราหมณ์ แต่พวกโยมยังทำมาหากิน ยังไงมันก็ต้องดิ้นรนกันไป ฉะนั้นมีอย่างนี้มา เราเอามากระตุ้นเรา เร่งเร้าเรา เพื่อเราจะทำคุณงามความดี เพื่อเราจะทำคุณงามความดี!

เรื่องของเขานะ ใครจะมืดบอด ใครจะมีความโลดเต้นเผ่นกระโดด เรื่องของเขา ของเรา เราต้องรักษาใจเรา แล้วเราจะเอาอย่างไรให้เรารอดให้ได้ ไม่รอดให้ได้ มึงต้องมารอบใหม่ รอบใหม่คือเกิดใหม่ไง เดี๋ยวก็ตายไป แล้วเกิดรอบใหม่ แล้วได้เกิดหรือเปล่าก็ไม่รู้ แล้วเกิดมา ไปเกิดที่ไหนก็ไม่รู้ เกิดมาจะพบพระพุทธศาสนาหรือเปล่าก็ไม่รู้ เกิดมาไม่เจอพระ เจอแต่แพะแล้วตอนนี้ มันจะบูชายัญมึงน่ะ เกิดมาอีกรอบหนึ่งนะ เสียบบูชายัญตลอด แพะ ไม่ใช่พระ บูชายัญตลอด

แล้วจะเสียใจว่า โอ้โฮ.. ชาติที่แล้วกูทำก็ดี.. กูไม่ทำ แล้วปัจจุบันนี้ทำไมไม่คิด

กรณีอย่างนี้ เราไม่ได้พูดประชดประชันนะ กรณีอย่างนี้ เราเอามาเตือนตัวเราเองตลอด ที่เราปฏิบัติน่ะ กรณีอย่างนี้ เราเตือนใจเรามาตลอด เราเตือนใจตัวเองตลอด เพราะเราไม่ต้องการให้เราหลุดไปอีก เราปฏิบัติใหม่ๆ เราจะเตือนตัวเราตลอด เรื่องความเพียร เรื่องความวิริยะอุตสาหะ จะเตือนตัวเองตลอด! ใครจะเป็นอย่างไรช่างหัวมัน! แต่รู้เห็นหมดนะ เพราะกูก็อยู่ในวงการนั้นน่ะ ทั้งรู้ทั้งเห็น แต่ไม่เอากับเขา เตือนตัวเองตลอด “มึงต้องไปให้ได้ มึงต้องเอาตัวเองรอดให้ได้”

ฉะนั้น ไม่ต้องมาตีโพยตีพาย ไม่ต้องมาร้องแรกแหกกระเชอด้วยความเสียใจดีใจ.. เรื่องของเขา นี่เรื่องของเรา แล้วเราเอาตัวเรารอดให้ได้ เอวัง